Album: ระบำโคมประทีปสุโขทัย

นายชัย วัฒน์ ทองศักดิ์ ได้กล่าวถึงหลักฐานที่ปรากฏในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ จารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตอนที่กล่าวถึงประเพณีการทอดกฐินเนื่องในเทศกาลออกพรรษาว่า “......เมื่อออกพรรษา กรานกฐินเดือนหนึ่งจึ่งแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ยพนมหมากมีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนนอน บริพารกฐินโอยทานแล่ปีแล้ญิบล้านไปสวดกฐินถึงอรัญญิกพู้น เมื่อจักเข้ามาเวียงเรียงกันแต่อรัญญิกพู้นเท้าหัวลาน ดํบงดํกลองด้วยเสียงพาทย์เสียงพิน เสียงเลื่อนเสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากประตูหลวง เทียนย่อมคนเสียดกันเข้ามาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดังจักแตก”<br /> เมื่อหมดเทศกาลกฐินแล้วในกลางเดือนของเดือนสิบสองจะมีประเพณีลอยกระทง ในสมัยสุโขทัยเรียกว่า “พิธีจองเปรียง – ลอยประทีป”<br /> สำหรับการทำโคมชัก โคมแขวน ในปัจจุบัน ท่านอาจารย์ทองเจือ สืบชมภู ได้กล่าวไว้ว่า โคมแต่ละโคม ต้องใช้ระยะเวลาทำประมาณ ๒-๓ เดือนจึงจะสำเร็จ โดยการนำเอาเมล็ดพันธุ์พืชเม็ดเล็ก ๆ ได้แก่ เม็ดมะกล่ำตาหนู, ข้าวฟ่างสีส้ม ขาว ดำ เหลือง, ข้าวเปลือกนก, งาขาว ดำ แดง เทา ถั่วเขียว, เข็มหมุด, เมล็ดผักกาด, เมล็ดข้าวเหนียว, เมล็ดผักชี, เปลือกไข่, เปลือกไหม, ใบลาน, ดอกตะแบก, ดอกบานไม่รู้โรย, ทราย, เชือกผักตบชวา, ไหมญี่ปุ่น, ดวงไฟ, กระดาษแข็ง, ไม้ไผ่, ไม้อัด, กระดาษสา, เชือก, เส้นด้าย และอื่น ๆ มาร้อยเรียง แต่งแต้มให้เป็นโคมชักโคมแขวน แต่ละเสี้ยวของโคมต้องใช้ ความประณีต ความอดทน และความพยายาม อย่างมาก เพื่อให้สมกับความวิจิตรตระการตาที่นำมาให้ได้ชมในงาน ลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ<br /> วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย เป็นสถานศึกษาที่อนุรักษ์ และสืบทอดศิลปะสาขาดนตรี นาฏศิลป์ จึงได้สร้างสรรค์ชุดการแสดงที่คิดประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ได้แก่ ระบำโคมประทีปสุโขทัย ซึ่งเป็นการแสดงที่สร้างสรรค์เพลงและท่ารำมาจากความงดงามของโคมชักโคมแขวนใน เทศกาลเผาเทียนเล่นไฟของจังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นการสืบทอดประเพณีที่มีมาแต่โบราณ ในรูปของการแสดงนาฏศิลป์ดนตรี และเป็นการปลูกจิตสำนึกให้นักเรียน มีส่วนในการอนุรักษ์ศิลปะให้เยาวชนรุ่น หลังได้รู้จักและร่วมกันอนุรักษ์สืบต่อไป

ระบำโคมประทีปสุโขทัย

อัปเดต 5 สิงหาคม 2010
65899.jpg  
Loading Photos......
Loading Photos......
rouenrarai
นายชัย วัฒน์ ทองศักดิ์ ได้กล่าวถึงหลักฐานที่ปรากฏในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ จารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตอนที่กล่าวถึงประเพณีการทอดกฐินเนื่องในเทศกาลออกพรรษาว่า “......เมื่อออกพรรษา กรานกฐินเดือนหนึ่งจึ่งแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ยพนมหมากมีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนนอน บริพารกฐินโอยทานแล่ปีแล้ญิบล้านไปสวดกฐินถึงอรัญญิกพู้น เมื่อจักเข้ามาเวียงเรียงกันแต่อรัญญิกพู้นเท้าหัวลาน ดํบงดํกลองด้วยเสียงพาทย์เสียงพิน เสียงเลื่อนเสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากประตูหลวง เทียนย่อมคนเสียดกันเข้ามาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดังจักแตก”
เมื่อหมดเทศกาลกฐินแล้วในกลางเดือนของเดือนสิบสองจะมีประเพณีลอยกระทง ในสมัยสุโขทัยเรียกว่า “พิธีจองเปรียง – ลอยประทีป”
สำหรับการทำโคมชัก โคมแขวน ในปัจจุบัน ท่านอาจารย์ทองเจือ สืบชมภู ได้กล่าวไว้ว่า โคมแต่ละโคม ต้องใช้ระยะเวลาทำประมาณ ๒-๓ เดือนจึงจะสำเร็จ โดยการนำเอาเมล็ดพันธุ์พืชเม็ดเล็ก ๆ ได้แก่ เม็ดมะกล่ำตาหนู, ข้าวฟ่างสีส้ม ขาว ดำ เหลือง, ข้าวเปลือกนก, งาขาว ดำ แดง เทา ถั่วเขียว, เข็มหมุด, เมล็ดผักกาด, เมล็ดข้าวเหนียว, เมล็ดผักชี, เปลือกไข่, เปลือกไหม, ใบลาน, ดอกตะแบก, ดอกบานไม่รู้โรย, ทราย, เชือกผักตบชวา, ไหมญี่ปุ่น, ดวงไฟ, กระดาษแข็ง, ไม้ไผ่, ไม้อัด, กระดาษสา, เชือก, เส้นด้าย และอื่น ๆ มาร้อยเรียง แต่งแต้มให้เป็นโคมชักโคมแขวน แต่ละเสี้ยวของโคมต้องใช้ ความประณีต ความอดทน และความพยายาม อย่างมาก เพื่อให้สมกับความวิจิตรตระการตาที่นำมาให้ได้ชมในงาน ลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ
วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย เป็นสถานศึกษาที่อนุรักษ์ และสืบทอดศิลปะสาขาดนตรี นาฏศิลป์ จึงได้สร้างสรรค์ชุดการแสดงที่คิดประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ได้แก่ ระบำโคมประทีปสุโขทัย ซึ่งเป็นการแสดงที่สร้างสรรค์เพลงและท่ารำมาจากความงดงามของโคมชักโคมแขวนใน เทศกาลเผาเทียนเล่นไฟของจังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นการสืบทอดประเพณีที่มีมาแต่โบราณ ในรูปของการแสดงนาฏศิลป์ดนตรี และเป็นการปลูกจิตสำนึกให้นักเรียน มีส่วนในการอนุรักษ์ศิลปะให้เยาวชนรุ่น หลังได้รู้จักและร่วมกันอนุรักษ์สืบต่อไป

จัดการ

แชร์หน้านี้

Loading...