มีวัตถุมงคลสายพระป่ากรรมฐานให้บูชาราคาเบาๆ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Somchai 2510, 8 กันยายน 2019.

  1. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 721 เหรียญเจริญพรล่างพระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน พระอรหันต์เจ้าวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี เหรียญสร้างในงานมุฑิตาจิต 12 สิงหาคม 2552 ชื่อรุ่น เจริญพร เนื้อดีบุก มาพร้อมกล่องเดิม มีตอกโค๊ตยันต์ นะ หน้าเหรียญ >>>>>มีพระเกศาพระธาตุมาบูชาด้วยครับ........บูชาที่ 365 บาทฟรีส่งems SAM_5375.JPG SAM_6815.JPG SAM_6816.JPG SAM_6817.JPG SAM_1822.JPG
     
  2. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 722 เหรียญกลมไข่+เหรียญใบโพธิ์หลวงปู่จันทา ถาวโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร หลวงปู่จันทาเป็นศิษย์เอกหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถํ้ากลองเพล เหรียญสร้างปี 2555 เนื้อทองเเดงรมนํ้าตาล มีตอกโค๊ต ข น 55 ตรงปลายผ้าสังฆาฏิ ,ส่วนเหรียญใบโพธิ์ เนื้อทองฝาบาตร สร้างปี 2555 มีตอกโค๊ต 55 เเละโค๊ต ว พ/ 22 หน้ารูปหลวงพ่อเงิน สร้างเนื่องในงานเเตงโมเเละโชว์กรงนกอำเภอวังทรายพูน(ทันหลวงปู่ครับ) ประวัติย่อสังเขปหลวงปู่จันทา ถาวโร
    88293F602F864A1F8E5241CDF0EB963C_1000.jpg ใค
    หลวงปู่จันทา เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2465 บวช‌เมื่อปี พ.ศ. 2490 หรือบวชเมื่ออายุ 25 ปี
    ปฐมบทของท่านในผ้ากาสาวพัสตร์นั้น เป็น‌การตั้งใจบวชให้แม่“นางเลี่ยม ชมพูวิเศษ”
    แม่ผู้สิ้นชีพไปขณะท่านอายุเพียง 7 ขวบ ‌แต่แค่ 7 ขวบ พระคุณแม่ก็แผ่ปกจนลูกคนนี้มิเคยลืมเลือน
    นั่นอาจเพราะรักของแม่เป็นเสาค้ำยันที่‌สำคัญที่สุดในชีวิตที่ท่านสรุปไว้เองว่า แสนทุกข์‌ยาก แสนลำบาก คิดถึงแล้วน้ำตาไหล
    ไม่ว่าจะกล่าวถึงประวัติของท่านแบบรวบ‌รัดอย่างไร ร่องรอยดังกล่าวก็ปรากฏอย่างชัด‌แจ้ง
    ลองพิจารณาดูเถิดว่า หากเรื่องราว 25 ปี ‌ของคนหนุ่มคนหนึ่งเป็นเช่นต่อไปนี้ ริ้วรอยใน‌จิตใจของเขาจะเป็นอย่างไร?
    มีพี่น้อง 6 คน แม่ตายอายุ 7 ขวบ พ่อ‌แต่งงานใหม่ แม่เลี้ยงเลี้ยงลูกแบบหมากับแมว ‌สุดท้ายพ่อก็ไปอยู่กับแม่ใหม่ ทิ้งให้เป็นลูกกำพร้าให้อยู่กับญาติๆ ไม่ได้รับการศึกษา ได้แต่‌เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย อายุ 23 ปี แต่งงานกับแม่ม่ายลูกติด 3 คน ชีวิตครอบครัวล่มสลาย ‌เพราะวันหนึ่งไปหาปลาจนเหน็ดเหนื่อยกลับมา‌ถึงบ้านแทนที่ภรรยาจะเห็นใจ กลับด่าขู่ตะคอก‌ว่า มันมัวแต่ไปเที่ยวเถลไถลจนมืดค่ำ ต่อว่าไม่‌พอ ยังถลกผ้าถุงปัสสาวะใส่เครื่องมือหาอยู่หา‌กินอย่าง ข้อง แห ฯลฯ สุดท้ายเลยได้หย่าขาด‌จากกัน

    รสผ่านชีวิตเยี่ยงนี้ คงมีทางแยกให้เลือก‌เพียงสองทางหนึ่ง คือ ทุ่มชีวิตใส่โลกนี้อย่างเกรี้ยวกราดสอง ใช้ความโศกสลดเก็บเกี่ยวความทุกข์‌มาเป็นปัญญาหนุ่มจันทาเลือกประการหลังถึงเช่นนั้นก็ใช่ว่ามันจะดำเนินต่อไปอย่าง‌เรียบง่าย เพราะความที่ไม่รู้หนังสือ อ่านไม่ออก ‌เขียนไม่ได้ แค่ขานนาคขอบวชก็ต้องท่องแล้ว‌ท่องอีก คนอื่นท่องได้เป็นประโยค เป็นท่อน ‌ของท่านได้วันละคำ แต่ก็เพียรเอาจนได้บวชได้แล้ว ผู้รู้หรือครูบาอาจารย์บางรูปก็‌ใช่ว่าจะอดทนต่อความไม่รู้หนังสือของท่าน แต่‌บางรูปก็เมตตาอดทนสอนให้ แต่หลวงปู่หนู วัด‌บ้านปลาผ่า พระอุปัชฌาย์นั้นไม่เพียงเมตตา‌อบรมสั่งสอนโดยไม่ระย่อ หากแต่ยังสั่งไว้ด้วย‌ว่า เธอเป็นคนทุกข์คนยาก ไม่มีความรู้ วาสนา‌น้อย บุญน้อย เป็นคนกำพร้า อนาถา ฉะนั้น‌บวชแล้วอย่าสึก ชีวิตนี้ได้พบธรรมะแล้วให้‌เจริญในธรรมพระหนุ่มจันทาก็รับปาก และตั้งอกตั้งใจบำเพ็ญเพียร เพราะเกรงว่า“จะได้บุญน้อย ไม่‌ได้ไปช่วยแม่”หลังบำเพ็ญเพียรทุกครั้ง ท่านอุทิศส่วน‌กุศลไปให้แม่ทุกคนทำเช่นนั้นมาเรื่อย จน 25 ปีให้หลัง จึงเห็น‌ผลจากเรื่องแปลกประหลาดประการหนึ่งหลานสาววัย 2 ขวบของท่านเอ่ยปากออก‌มาในวันหนึ่งว่า เธอคือแม่ท่าน พอซักถามเรื่อง‌ในอดีตก็ตอบได้หมด พอถามว่าตอนตายไป‌แล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้ได้รับไหม เธอว่าได้รับ‌ทุกคืนตอน 5 ทุ่ม ซึ่งเป็นเวลาที่ท่านไหว้พระ‌สวดมนต์และอุทิศส่วนกุศลให้แม่หลังเดินจงกรม นั่งสมาธิ และด้วยอำนาจบุญนั้นเองทำให้ได้หลุดพ้นจากนรกมาเกิดอีกครั้งหนึ่งหลวงปู่จันทาญัตติจากมหานิกายเป็นธรรม‌ยุตเมื่อปี พ.ศ. 2493 เป็นการนับพรรษาหนึ่ง เริ่ม‌ฝึกจิตกับหลวงปู่ทับ เขมโกในพรรษาแรกนั่น‌เอง จิตท่านก็พอสงบ หรือที่เรียกว่า ขณิกสมาธิพอพรรษาที่สอง ติดตามหลวงปู่จันทร์ไป‌วิเวก จิตรวมลงฐานใหญ่กว่าขณิกสมาธิ ส่อง‌สว่างกระจ่างแจ้ง กลางคืนราวกับกลางวัน ผู้รู้‌เอ่ยขึ้นว่า นัตถิ สันติปะรัง สุขัง ความสุขอื่นยิ่ง‌กว่าความสงบไม่มีเป็นความสงบในระดับ อุปจารสมาธิในพรรษาที่สาม ขณะภาวนาที่วัดป่าวิเวก‌การาม บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี จิตรวม‌ลงละเอียดกว่าเดิมอีก แต่ไม่รู้วิธีถอน พอออก‌มาแล้วถามว่า ไม่ได้เอากายมาด้วยหรือ จึงเอา‌มือคลำดูกายก็ยังอยู่ พอคลำดูอีกทีกายหายไปต่อเมื่อมาพบหลวงปู่บัว สิริปุณโณพระ‌อรหันต์แห่งวัดป่าหนองแซง เล่าความนี้ให้ท่าน‌ฟัง ท่านจึงวินิจฉัยว่า จิตลงถึงขั้นอัปปนาสมาธิ ‌แต่เป็นอารมณ์เดียว พิจารณาอะไรไม่ได้ ‌เพราะขาดปัญญา เมื่อจิตถอนขึ้นมาอยู่ระหว่าง ‌อุปจารสมาธิ แล้วจะรวมลงอีก ก็กำหนดไว้อย่า‌ให้รวม ให้เดินวิปัสสนา ค้นคว้าในภพชาติ‌สงสาร น้อมลงสู่สภาพความแก่ ความเจ็บ ‌ความตาย พอตายแล้วก็เพ่งขึ้นอืด ขึ้นพอง เน่า‌เปื่อย ถึงสภาพเน่าเปื่อยแล้วให้ยึดดาบเพชร ‌คือ สติ ปัญญา ถอนสังโยชน์ 5 คือ สักกาย‌ทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ ‌พยาบาท ขาดจากใจถ้าจิตรวมได้ฐานนี้ เป็นมูลฐานอันใหญ่ ‌สำหรับที่จะถอนสังโยชน์ 5 ออกจากใจได้บรรลุ ‌อนาคามีผลหลวงปู่จันทาตั้งมั่นได้แล้ว จากนั้นก็เจริญ‌ในธรรมตามลำดับท่านได้ฝากตัวเข้ารับการฝึกอบรมจากพ่อแม่‌ครูอาจารย์หลายรูป อาทิหลวงปู่บัว หลวงปู่ฝั้น ‌อาจาโร หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่หลุยจันทาสาโร หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนรูปที่ท่านอยู่อุปฐากนานที่สุดคือ หลวงปู่‌ขาวเมื่อมาสู่สำนักถ้ำกลองเพลนั้น หลวงปู่ขาว‌ให้อดนอน ผ่อนอาหาร เร่งความเพียรเดือนแรกให้เดิน 1 ชั่วโมง ยืน 10 นาที ‌นั่งสมาธิ 1 ชั่วโมงเมื่อเข้าสู่ทางจงกรมให้ยกมือไหว้ครู พุทโธ ‌ธัมโม สังโฆ สรณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าจะฝึกจิต ‌บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทางกาย ‌วาจา ใจ ขอจงให้เป็นไป ให้รู้ธรรมเห็นธรรม‌เกิดขึ้น แล้ววางมือซ้ายใต้พกผ้า เอามือขวาทับ ‌ก้าวขวาว่า พุทโธ ก้าวซ้าย ธัมโม ก้าวขวาว่า ‌สังโฆ เดินไม่ช้า ไม่เร็ว สุดท้างจงกรมเลี้ยวขวา ‌ทำอย่างนั้น 3 รอบ รอบที่ 4 ให้หยุดเอาอารมณ์‌เดียวคือ ขวาว่า พุธ ซ้ายว่า โธยืนภาวนา 10 นาทีนั้นให้ผินหน้าไปทิศ‌ตะวันออก หายใจเข้าว่า พุทธ ออกว่า โธ ผ่อน‌ลมให้เป็นที่สบายส่วนนั่งสมาธิอีก 1 ชั่วโมงนั้น ให้ไหว้พระ‌ย่อๆ ก่อน แล้วปล่อยวางความยากก่อนภาวนา ‌เพราะถ้าอยากให้สงบมันไม่สงบ ฉะนั้นให้‌ปล่อยวางความอยาก ปล่อยวางความอาลัยใน‌สังขารท่านว่า การทำความเพียรทุกประโยคต้อง‌ปล่อยวางความอยากเสมอ เมื่อประกอบเหตุ‌พร้อม ผลจะสนองเอง ไม่ต้องสงสัยการนั่งสมาธิก็ให้ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้าไม่ให้ก้ม ไม่ให้เงย ไม่เอียงซ้าย ขวา วางกาย ‌วางใจ ให้อ่อน หายใจเข้าพุธ หายใจออกโธ ถ้า‌เข้ายาวก็ออกยาว ให้มีสติรู้ ผ่อนลมจนเป็นที่‌สบาย ถ้าเกิดเวทนาคันยุบยิบก็อย่าลูบคลำ อย่า‌เกา อย่าพลิก ให้นั่งทับทุกข์ เผากาย เผาจิตจะเดิน ยืน นั่ง ให้เจริญวิปัสสนาระหว่างทำความเพียรนั้น ห้ามเอาหนังสือ‌มาอ่าน การงานแม้แต่น้อยนิดก็อย่าให้มี เพราะ‌การอ่านหนังสือคือส่งจิตออกนอก เดิน ยืน นั่ง ‌ให้เอาอารมณ์เดียวคือ พุธโธ ธัมโม สังโฆปฏิบัติมาเดือนที่สอง หลวงปู่ขาวให้เร่งขึ้น‌เป็นเดิน 2 ชั่วโมง ยืน 15 นาที นั่ง 2 ชั่วโมงเดือนที่สาม เร่งเป็นเดิน 3 ชั่วโมง ยืน 20 ‌นาที นั่ง 3 ชั่วโมงสุดท้ายฝึกอย่างอุกฤษฏ์คือ นั่งคืนยันรุ่ง ‌โดยไม่กระดุกกระดิก ไม่พลิกไหวด้วยวิถีเช่นนั้น จิตท่านสงบจากขั้นขณิก‌สมาธิ ลงถึงอุปจารสมาธิ เกิดสุขจากสมาธิ ‌หลวงปู่ขาวก็กำกับว่า อย่าติดสุข ให้พิจารณา ‌ชาติ ชรา พยาธิ มรณะเมื่อจิตยึดสติปัญญา เห็นความไม่เที่ยง เห็น‌อนัตตา จิตก็ตั้งมั่น ในพระพุทธ พระธรรม พระ‌สงฆ์ โดยไม่หวั่นไหวท่านว่า ออกพรรษาปีนั้นใจมันเปลี่ยน‌สภาพ จากเดิมมามั่นคงอยู่กับการเจริญสมถ‌วิปัสสนาธรรม เลยยืน เดิน นั่งแบบนั้นตลอด‌ไตรมาส เป็นเวลาถึง 5 ปี ปีที่ 5 นั้นทำต่อ‌เนื่องอยู่ถึง 7 เดือนระหว่างภาวนากับหลวงปู่ขาวนั้น เช้าหนึ่ง‌หลวงปู่ขาวได้ถามท่านว่า“ทา...พ้นทุกข์หรือยัง ผมเข้าใจว่า ท่านพ้นทุกข์แล้วนะ ‌เพราะเห็นท่านนั่งภาวนาแล้วมีรัศมีรุ่งโรจน์‌คืนยันรุ่ง”หลวงปู่จันทากราบเรียนท่านว่า ยังหรอก‌ครับหลวงปู่ เพียงแต่เมื่อคืนสำคัญที่สุดกว่าทุก‌คืน และคืนที่ว่านั้นคือ คืนที่จิตรวมพรึ่บเหลือ‌แต่ผู้รู้กับสติ และจิตตั้งมั่นในพระพุทธ พระ‌ธรรม พระสงฆ์ ถวายชีวิตเป็นพรหมจรรย์ ไม่‌กลับคืนโลกอีกแล้วนั่นเองหลวงปู่จันทา เล่าไว้ถึงการสิ้นความลังเล‌สงสัยในมรรคผลนิพพานว่า เมื่อก่อนก็สงสัยว่า ‌มรรคผลธรรมวิเศษนั้นหมดสมัยไปแล้ว ไม่มีอีก‌แล้ว แต่ก็เชื่ออยู่ว่า ถ้าปฏิบัติจริงต้องได้รู้ได้เห็น ‌จึงตั้งใจอธิษฐานที่วัดป่าแก้วบ้านชุมพล อ.สว่าง‌แดนดิน จ.สกลนคร ว่า ถ้าบุญพาวาสนาส่งที่‌ได้ประพฤติปฏิบัติมาแต่ภพก่อนและชาตินี้‌ประกอบกันเข้า ก็ขอจงเห็นเป็นไป จะได้สิ้น‌สงสัย จะทำความเพียรบูชาพระพุทธ พระ‌ธรรม พระสงฆ์ เพื่อว่าจะได้แลกเปลี่ยนเอาซึ่ง‌บุญกุศลมรรคผลเท่าที่ควรนั้นขอจงเป็นไปจากนั้นตั้งสัตย์ว่า 6 วัน 6 คืน จะไม่นอน ‌แต่ละวันจะฉันเพียง 5 คำท่านว่า พอดำเนินไปตามนั้นครบ 6 วัน ‌นอนลงพักผ่อน โดยวางความอยาก วางหมด‌ความอยากรู้ อยากเห็น อะไรทั้งหลายวางหมด ‌จิตก็รวมพั่บลงถึงขณิกสมาธิ หนังแขนขวาแตก‌ออกตั้งแต่สุดปลายมือจนถึงแขนศอก กระดูก‌แทงทะลุหนังขึ้นมา เป็นอสุภกรรมฐาน มรณ‌กรรมฐานเกิดนิมิตหนนี้ต่างจากคราวก่อน เพราะ‌ตอนนี้ได้ครูบาอาจารย์แนะนำสั่งสอนมาแล้ว ‌ท่านว่าได้มีดในนิมิตมาจากไหนไม่รู้ ค่อยๆ ปาด‌หนัง ค่อยๆ แล่ออกทั้งแขน ทั้งขาออกหมด ‌เหลือแต่เนื้อห่อหุ้มอยู่ ปาดศีรษะ ลอกออก ‌เหลือแต่ตา ดึงไม่ออก จากนั้นหลังได้กลับเข้า‌ไปหุ้มร่างกายตามเดิม จิตพับกลับเข้าไปสู่ภพ‌เก่าที่มาถือปฏิสนธิในครรภ์มารดาเมื่อกำหนดถามว่า ธรรมที่เกิดขึ้นนี้เป็น‌ธรรมอะไร ก็มีคำตอบว่า เป็นผลมาจากการ‌ปฏิบัติ และตราบใดที่มีผู้ปฏิบัติตามคำสอนของ‌พระพุทธองค์ ตราบนั้นบุญกุศลมรรคผล ธรรม‌อันวิเศษยังมีอยู่ตราบนั้น ไม่มีหมดไปจากโลก ‌ไม่มีสาบสูญไปจากผู้ปฏิบัติจากนั้นเมื่อน้อมลงสู่ไตรลักษณ์ เพ่งอยู่‌อย่างนั้น แบบ“ไม่กลัวตาย ใจกล้าแข็ง อาจ‌หาญ ชาญชัย กำหนดปล่อยวางเสมอ อุปาทาน ‌ความยึด น้อมลงสู่ไตรลักษณ์”พอหนังแตก กระดูกโผล่ขึ้นมา อนิจจาทุกขตา อนัตตา อนิจจตา ความไม่เที่ยง เป็น‌ทุกข์ ความแปรปรวน การไม่ถือตัวตนเราเขา ‌ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่เที่ยงแท้คลายกำหนัด ‌ไม่ยึดไม่ถือต่อไป“เมื่อไม่ยึดไม่ถือต่อไปแล้ว ก็เร่งความเพียร‌เผากิเลส สิ่งเป็นเหตุให้เกิดภพชาติสังขารซ้ำๆ ‌ซากๆ ให้กิเลสนั้นเร่าร้อนกระวนกระวาย ผล‌สุดท้ายกิเลสนั้นก็ทนไม่ไหว ก็คงจะออกไปได้ ‌ถ้าไม่ขาดจากใจไปอย่าง สมุจเฉทปหาน ก็จะ‌ออกจากใจไปอย่างที่เรียกว่า ตทังคปหาน ‌ประหารอยู่ด้วยความเพียร เดิน ยืน นั่ง หรือ‌วิกขัมภนปหาน ประหารอยู่ด้วยสติปัญญาข่มขู่‌ฝึกสอนจิตให้เห็นชอบทุกอย่างน้อมลงสู่ไตรลักษณ์ กิเลสนั้นก็พลอยที่จะ‌อ่อนกำลัง จะหมดสิ้นไปแล้ว กายกับจิตกับสติ‌นั้นจะรวมเข้าไปเป็นมรรคสามัคคีอารมณ์เดียว ‌เห็นจริงแจ้งชัดทุกอย่างนั้นแหละ โดยไม่ต้อง‌สงสัยจากนั้นจิตก็จะสงบ ลงขั้นไหนก็ไม่ทราบ ‌สงบลงไปนั้น แสงสว่างเกิดขึ้น ปีติก็เกิดขึ้น ก็‌เป็นกำลังของจิตนั่นแหละ จิตนั้นได้ดื่มรสของ‌ความสงบและเห็นธรรมเกิดขึ้น จิตนั้นก็สิ้น‌สงสัยในไตรวัฏโลกธาตุ ไม่มีอะไรเป็นเขา เป็น‌เรา หมดเสียสิ้น” >>>>>>หลวงปู่จันทา หยุดวัฏฏะสงสารคือละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพานในชาตินี้‌แล้ว เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 ด้วยวัย 90 ปี 11 วัน >>>>>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ******บูชาที่ 275 บาทฟรีส่งems SAM_0322.JPG SAM_7169.JPG SAM_7168.JPG SAM_7170.JPG SAM_7171.JPG SAM_1360.JPG
     
  3. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 723 เหรียญรุ่นสมปรารถนา+เหรียญรุ่นมหาลาภ 61หลวงปู่เนย สมจิตโต พระอรหันต์เจ้าวัดป่าโนนเเสนคำ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร หลวงปู่เนยเป็นศิษย์หลวงปู่ดี ฉันโน,หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนทราราม เป็นต้น เหรียญสมปรานาสร้างปี 2554 เนื้อะไหล่ทอง,ส่วนเหรียญมหาลาค 61 สร้างปี 2541 เนื้อทองเเดงผิวไฟ ·
    16715682994_o.jpg?_nc_cat=105&_nc_sid=43edb5&_nc_ohc=IuImZg2iFxsAX-SUAzw&_nc_ht=scontent.fkkc2-1.jpg
    หลวงปู่เนย สมจิตฺโต ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เอาจริงเอาจังปฏิบัติธรรมขั้นอุกฤษ์ ถือธุดงควัตร องค์ท่านเป็นศิษย์ หลวงปู่ดี ฉันโน และได้ไปศึกษาธรรมอยู่กับหลวงปู่คำ สุมังคโล ,หลวงปู่กงแก้ว ขันติโก ซึ่งครูบาอาจารย์ทั้ง ๓ ท่านนี้เป็นศิษย์รุ่นใหญ่ของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    >>>>>>๏ อัตโนประวัติย่อๆ “พระครูวิมลสีลาภรณ์” หรือ “หลวงปู่เนย สมจิตฺโต” มีนามเดิมว่า เนย มูลสธูป เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๘๐ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีฉลู ณ บ้านกุดแห่ ตำบลกุดเชียงหมี อำเภอเลิงนกทา จังหวัดอุบลราชธานี (จังหวัดยโสธร ในปัจจุบัน) โยมบิดาชื่อ นายเอี่ยม มูลสธูป โยมมารดาชื่อ นางสุรีย์ มูลสธูป มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๙ คน ครอบครัวมีอาชีพทำไร่ทำนา
    ช่วงชีวิตในวัยเด็ก เมื่ออายุ ๗ ปี ได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนบ้านกุดแห่ อายุ ๘ ปี ป่วยเป็นโรคท้องเรื้อรัง ทำให้ขาดการเรียนอยู่ ๓ เดือน พออายุได้ ๑๑ ปี เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ แล้วออกมาช่วยโยมบิดา-มารดาทำไร่ทำนาตามประเพณี ด้วยในสมัยนั้นการเรียนภาคบังคับอยู่ที่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เท่านั้น สำหรับการที่จะเรียนต่อให้สูงขึ้นนั้นต้องเดินทางไปเรียนต่อยังโรงเรียนต่างถิ่นต่างอำเภอ พออายุได้ ๑๖ ปี ก็กลับมาช่วยโยมบิดา-มารดาทำไร่ทำนาตามเดิม ด้วยความขยันหมั่นเพียรเต็มกำลังความสามารถ

    >>>>>>๏ การบรรพชาและอุปสมบท
    พออายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ โยมบิดา-มารดา พร้อมทั้งเจ้าภาพผู้ที่จะถวายผ้าป่า นำท่านไปมอบถวายให้เป็นศิษย์ ท่านพระอาจารย์ดี ฉนฺโน ซึ่งเป็นศิษย์พระกรรมฐานรุ่นใหญ่ของ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระองค์สำคัญ

    ท่านได้ฝึกขานนาคอยู่เป็นเวลา ๓ เดือนเต็ม จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ เขตวิสุงคามสีมาวัดป่าสุนทราราม (วัดบ้านกุดแห่) ตำบลกุดแห่ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยมี พระครูภัทรคุณาธาร (บุญ โกสโล ป.ธ. ๔) วัดพรหมวิหาร ตำบลสวาท อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสุนทรศลีขันธ์ (พระอาจารย์สิงห์ทอง ปภากโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระสมุห์อุ้ย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้เข้ารับฟังธรรมจากท่านพระอาจารย์ดี ฉนฺโน เจ้าอาวาสวัดป่าสุนทราราม (วัดบ้านกุดแห่) ในขณะนั้น อยู่เป็นสม่ำเสมอและบ่อยๆ
    >>>>>>๏ ลำดับการจำพรรษา

    ******พรรษาที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๐๐) ได้จำพรรษาที่วัดป่าสุนทราราม โดยมี ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ปภากโร เป็นผู้ให้นิสัยรับโอวาทการปฏิบัติธรรม ในพรรษานั้นหลวงปู่เนย ได้ถือธุดงค์ห้ามภัตตาหารที่นำมาถวายภายหลังเป็นวัตร (ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์) ตลอด ๓ เดือน
    *****พรรษาที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๐๑) ได้จำพรรษาที่วัดป่าสุนทราราม และถือธุดงค์ห้ามภัตตาหารที่นำมาถวายภายหลังเป็นวัตร (ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์) เหมือนเดิม
    ******พรรษาที่ ๓(พ.ศ. ๒๕๐๒) ได้จำพรรษาที่วัดป่าสุนทราราม และคือธุดงค์เนสัชชิก คือไม่นอนตลอดเวลากลางคืน ธรรมดาธุดงค์ข้อนี้ต้องอดนอนตลอดทั้งวัน แต่ท่านอดนอนเฉพาะกลางคืน กลางวันพักบ้างตลอดพรรษา ด้วยสุขภาพท่านไม่แข็งแรง
    *****พรรษาที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๐๓) ได้กราบขออนุญาตท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ปภากโร เพื่อไปพำนักจำพรรษาที่ภูถ้ำพระ บ้านคำไหล ตำบลดงเย็น อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม (จังหวัดมุกดาหาร ในปัจจุบัน) พร้อมทั้งกราบเรียนท่านว่าจะท่องปาฏิโมกข์ให้จบ ครั้นพอออกพรรษาก็ท่องปาฏิโมกข์จบพอดี
    *****พรรษาที่ ๕ - พรรษาที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๐๔ - ๒๕๐๗) ได้จำพรรษาที่ภูถ้ำพระ
    *****พรรษาที่ ๙(พ.ศ. ๒๕๐๘) ได้จำพรรษาที่ภูถ้ำพระ ท่านได้ประกอบความเพียรด้วยความวิริยะอุตสาหะแรงกล้า ไม่จำวัดตลอดกลางวัน เพราะที่ภูถ้ำพระนั้น ถ้าพระหรือสามเณรรูปใดจำวัดในเวลากลางวันจะป่วยเป็นไข้ ส่วนตัวท่านไม่เป็นไข้เลยตลอดพรรษา
    ****พรรษาที่ ๑๐(พ.ศ. ๒๕๐๙) ได้จำพรรษาที่ภูกระแต บ้านฮ้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม กลางพรรษาได้ป่วยเป็นโรคไอเจ็บหน้าอก ได้ไปให้แพทย์ตรวจรักษาที่โรงพยาบาลประจำจังหวัดนครพนม แพทย์ลงความเห็นว่าเป็นโรคหลอดลมอักเสบ หมอจัดให้ไปฉีดยาที่ตำบลอาจสามารถ แต่ท่านไปฉีดยาที่โรงพยาบาลทุกวันไม่ไหว เพราะวัดที่จำพรรษาห่างจากตัวเมือง ๘ กิโลเมตร ถ้าไม่ทันรถก็ต้องเดินไป
    พอหายเป็นปกติแล้วก็ประกอบความเพียรอย่างจริงจังต่อเนื่อง จนปรากฏว่าจิตได้รับความสงบนิ่งดิ่งเข้าสู่สมาธิ ได้รับความสงบเยือกเย็นในสมาธิภาวนาพอสมควร เมื่อออกพรรษาแล้วได้ไปพักที่วัดโนนนิเวศน์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี และเดินทางไปพักบ้านหินฮาว ต่อจากนั้นก็ไปที่อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
    *****พรรษาที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๑๐) ได้จำพรรษาที่วัดกลาง บ้านหนองสูง อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม (จังหวัดมุกดาหาร ในปัจจุบัน) ท่านพระอาจารย์กงแก้ว ขนฺติโก เป็นเจ้าอาวาส ท่านพระอาจารย์กงแก้ว เคยกล่าวว่า “เวลาจิตเป็นสมาธิ อยากให้ท่านทั้งหลายได้เห็นด้วย มันมีความสุขสงบที่สุดไม่มีอะไรเหมือน สุขใดในโลกไม่เท่าสุขของสมาธิ”
    ในพรรษานี้ท่านตั้งใจประกอบความเพียรอย่างแรงกล้าจนเป็นลม ๒ ครั้ง เนื่องจากฉันอาหารน้อย บางวันถึงกับอดอาหารเพราะทำให้การประกอบความเพียรเป็นไปได้ด้วยดี ไม่ต้องวิตกกังวลกับเหตุการณ์ภายนอก จิตมุ่งอยู่แต่ภายในร่างกาย ต่อสู้กับกิเลสขันธมารตลอดเวลาอย่างไม่ย่อท้อ ท่านได้ตั้งสัจจะอธิษฐานว่า ถ้าจะตายขอให้ตายไปเลย อย่าได้เดือดร้อนญาติโยมหรือโรงพยาบาลเลย ท่านปรารถนาจะไม่ให้ใครเดือดร้อนลำบากด้วยเรื่องของสังขารของท่าน แม้ในปัจจุบันท่านก็รักษาร่างกายด้วยตัวท่านเอง
    หลวงปู่เคยพิจารณาที่จะปฏิบัติสมาธิแบบอุกฤฏ์ คือหวังจะสำเร็จมรรคผลนิพพานภายใน ๗ วัน ถ้าไม่สำเร็จก็จะยอมตายถวายชีวิตเป็นเดิมพัน แต่ได้รับการขอร้องจากโยมบิดา-โยมมารดาให้เลิกคิดที่จะปฏิบัติเช่นนั้นเสีย ขอให้ปฏิบัติแบบค่อยเป็นค่อยไป จะได้อยู่อบรมญาติโยมนานๆ ได้นำเพื่อนร่วมโลกไปตามทางพระพุทธองค์ได้ทรงวางไว้ให้ได้มากเท่าที่จะทำได้ สมกับที่ว่ากว่าที่จะได้เกิดในภพภูมิความเป็นมนุษย์ได้นั้นแสนลำบากยากเข็ญ
    *****พรรษาที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๑๑) ได้กลับไปจำพรรษาที่วัดป่าสุนทราราม บ้านกุดแห่ ในพรรษานี้ได้เพิ่มธุดงค์ข้อเยี่ยมป่าช้ามิได้ขาด พอออกพรรษาได้เดินทางไปกราบ ท่านพระอาจารย์บัว สิริปุณฺโณ ณ วัดป่าหนองแซง (วัดราษฎรสงเคราะห์) ตำบลหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวชอ จังหวัดอุดรธานี อยู่รับโอวาทจากท่าน ๑๐ คืน จากนั้นก็ออกเดินธุดงค์ต่อไปยังอำเภอบ้านผือ ข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปเมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว
    ****พรรษาที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๑๒) ได้รับการแนะนำจากท่านพระอาจารย์คำ บ้านเศรษฐี จังหวัดอุบลราชธานี ให้เดินทางมาจำพรรษาที่วัดป่าโนนแสนคำ ตำบลทุ่งแก อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร (ตำบลเจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร ในปัจจุบัน) ในพรรษานี้มีพระ ๒ รูป สามเณร ๑ รูป คือ (๑) พระอาจารย์เนย สมจิตฺโต (๒) พระอาจารย์สมหมาย องค์เดียวกับที่จำพรรษากับหลวงปู่ชอบ ที่ดอยแม้ว และ (๓) สามเณรสม
    หลวงปู่เนยได้จำพรรษาที่วัดป่าโนนแสนคำ นับแต่นั้นมาจนปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๐)
    ทุกๆ ช่วงออกพรรษา หลวงปู่เดินทางออกไปธุดงค์ แต่มาระยะหลังสุขภาพท่านไม่แข็งแรง ท่านจึงเลือกที่จะปฏิบัติอยู่ที่วัดป่าโนนแสนคำ หลวงปู่เนยเป็นพระที่มีศิลาจาริยวัตรอันงดงาม เป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง สงบเสงี่ยมเรียบร้อยงดงามด้วยข้อวัตรปฏิบัติ
    >>>>>>๏ หลวงปู่เนย ท่านเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอันมาก
    หลวงปู่ท่านสอนญาติโยมเสมอๆ ว่า ถ้าประเทศไทยเราไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ ประเทศไทยจะไม่สงบร่มเย็นอย่างปัจจุบันนี้ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของราชวงศ์จักรี ท่านจะนำพระภิกษุสามเณรสวดมนต์ถวายพระพรเสมอๆ มิได้ขาด ท่านสอนว่า เมื่อนั่งสมาธิภาวนาเสร็จแล้วให้แผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลถวายองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ แล้วจึงแผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวร สรรพสัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ให้ถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมออย่าให้ขาด
    หลวงปู่เนย ได้ถือเอาโอวาทธรรมของหลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร เป็นหลักการปฏิบัติของท่านคือ เอาตายเข้าสู้ โดยจะอดนอน เร่งความเพียร เมื่ออาพาธก็จะใช้ธรรมโอสถ ท่านได้ตั้งสัจจะอธิษฐานว่า ถ้าจะตายขอให้ตายไปเลย อย่าได้เดือดร้อนญาติโยมหรือโรงพยาบาลเลย ท่านปรารถนาจะไม่ให้ใครเดือดร้อนลำบากด้วยเรื่องของสังขารของท่าน แม้ในปัจจุบันท่านก็รักษาร่างกายด้วยตัวท่านเอง

    >>>>>>>หลวงปู่เนย สมจิตฺโต ละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพานลงด้วยโรคไตวาย ที่กุฏิท่านด้วยอาการสงบเมื่อเวลา ๑๖.๓๒ น. ของวันศุกร์ที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๕ สิริอายุ ๗๔ ปี ๗ เดือน ๑๗ วัน พรรษา ๕๔ ตามพินัยกรรม หลวงปู่เนย สมจิตฺโต ท่านสั่งห้ามไม่ให้มีการกระตุ้นหัวใจ หรือต่อเครื่องช่วยหายใจ เมื่อมรณภาพแล้ว ท่านห้ามไม่ให้ฉีดยาฟอร์มาลีน ห้ามไม่ให้เก็บสรีระไว้ที่หีบแช่เย็น และห้ามไม่ให้จุดธูปเทียนบูชา สำหรับการจัดงานประชุมเพลิง ท่านสั่งห้ามไม่ให้ขอพระราชทานเพลิง ให้ทำพิธีภายใน ๗ วัน หรืออย่างช้า ไม่เกิน ๕๐ วัน ให้จัดงานให้เรียบง่ายที่สุด
    หลวงปู่เนย ท่านสอนว่า “..เรียนรู้เรื่องทางโลกมันไม่รู้จบรู้สิ้น เรียนอันนั้นเหลืออันนี้อยู่ตลอดไป คนทั้งหลายไม่สนใจจิตใจตนเอง สนใจแต่เรื่องที่ก่อให้เกิดความทุกข์วิปโยควังเวง เรียนทางโลกไม่เหมือนเรียนทางธรรม เรียนทางธรรมไปสิ้นสุดที่นิพพาน ใครไปถึงนิพพานก็จบ..” >>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชา ******บูชาที่ 205 บาทฟรีส่งems SAM_5901.JPG SAM_7177.JPG SAM_7175.JPG SAM_7178.JPG SAM_7180.JPG SAM_1606.JPG
     
  4. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 724 เหรียญบาตรนํ้ามนต์ 90 ปีหลวงปู่อุดม ญาณรโต พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสถิตย์ธรรมาราม อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ หลวงปู่เป็นศิษย์หลวงปู่เเหวน สุจิณโณ วัดดอยเเม่ปั๊ง,หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม เป็นต้น เหรียญสร้างปี 2559 เนื้อทองเเดงผิวไฟ สร้างเนื่องหลวงปู่อุดมมีอายุครบ 90 ปี มีตอกโค๊ต ตัวอักษร น พ หน้าเหรียญ ****** ชีวประวัติหลวงปู่อุดม ญาณรโต
    วัดป่าสถิตย์ธรรมวนาราม อ.พรเจริญ จ.หนองคาย
    ชาติภูมิ
    หลวงปู่อุดม ญาณรโต ท่านเกิดในตระกูลชาวนา บิดาและมารดาท่านเป็นชาวนา ที่บ้านดงเฒ่าเก่า ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม อยู่ในสกุล เชื้อขาวพิมพ์ รูปร่างสันทัด สีผิวดำแดง โดยมีโยมบิดาชื่อ นายแว่น เชื้อขาวพิมพ์ และมารดาชื่อนางบับ เชื้อขาวพิมพ์ และมีพี่น้องร่วมสายเลือดทั้งหมด 4 คน รวมหลวงปู่
    ชีวิตในสมัยเด็ก ท่านก็เหมือนเด็กชาวนาทั่วไปบิดามารดาทำนา ท่านก็ไปช่วยทำนา ท่านชอบในเพศบรรพชิตมาก ท่านเห็นพระภิกษุสงฆ์เดินผ่านมาท่านเกิดความเลื่อมใสขึ้นมาเองตั้งแต่วัยเด็ก นี่ก็เนื่องมาจาก โยมบิดามารดาของท่านได้พาปฏิบัติศาสนกิจต่อพ่อแม่ครูอาจารย์ในพุทธศาสนา เช่น ครูบาอาจารย์ในสมัยท่านพระอาจารย์มั่น บิดามารดาท่านมักพาไปปฏิบัติศาสนกิจมาโดยตลอด เช่น หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม วัดป่าสาลวัน หลวงปู่มหาปิ่น ซึ่งเป็นน้องชายของหลวงปู่สิงห์ เป็นต้น ท่านเล่าต่อว่าโยมบิดาท่านเคยได้บวชเณรอยู่ และสึกออกมามีครอบครัว ส่วนมารดาของท่านก็เข้าวัดทำบุญอยู่เป็นปกตินิสัย จึงทำให้ท่านมีความสนิทสนมและใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนามาโดยตลอดนั่นเอง
    *****บรรพชา
    เนื่องจากในวัยเด็ก ท่านเห็นพระภิกษุสงฆ์แล้ว เกิดความปีติเลื่อมใสในสมณะสงฆ์ (มีความสุขเมื่อได้เห็นพระสงฆ์) ท่านคงมีความคิดที่อยากออกบวชอยู่ภายในใจมาโดยตลอด จากนั้นเมื่อท่านเริ่มโตเป็นหนุ่มท่านเคยได้อ่านหนังสือสวดมนต์และปฏิบัติ สมาธิภาวนา ของหลวงปู่สิงห์ ขัตยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น ซึ่งทำให้ท่านจับจิตจับใจ มีจิตใจเข็มแข็งเด็ดเดี่ยว และมั่นใจในการที่จะได้บวชถือคลองเพศสมณะ ท่านได้ช่วยบิดามารดาทำนา หาปูหาปลาตามประสาชาวโลก ท่านเล่าว่าปูปลาสมัยก่อนหาง่ายมาก ตัวก็ใหญ่โตทั้งนั้น ท่านเคยดำน้ำเพื่อหาปลา น้ำลึกมากๆหลายเมตรอยู่ ทำให้ท่านเลือดไหลออกมาจากหู (หูหนวก) ท่านมีอาการหูหนวกอยู่แรมเดื่อนกว่าจะหายเหมือนเดิม ท่านบอกว่าชีวิตฆราวาสนั้นเป็นทุกข์ ต้องทำบาป สร้างกรรมเวรอยู่โดยตลอด จนในที่สุดเมื่อท่านมีอายุครบ ๒๓ ปี ท่านจึงได้ขอบิดามารดาของท่าน เข้าบรรพชาอุปสมบท ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นปีที่หลวงปู่มัน ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส มรณะภาพนั่นเอง โดยมีพระอุปัชฌาย์คือ พระครูอรุณสังฆกิจ (มหาเถื่อน อุชุกโร) วัดกุดเรือคำ ต.กุดเรือคำ อ. วานรนิวาส จ. สกลนคร และพระครูพิพิธธรรมสุนทร (พระคำฟอง เขมจาโร) วัดสำราญนิวาส อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้ฉายาทางภิกษุว่า ญาณรโต (ซึ่งแปลว่าผู้ทรงไว้ซึ้งญาณ) และในปีนั้นนั่นเอง ท่านได้เดินทางไปร่วมพิธีเผาศพหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร พร้อมทั้งพระอุปัชฌาย์ และพระกรรมวาจาจารย์ของท่านทั้งสองด้วย ท่านบอกว่างานศพหลวงปู่มั่นใหญ่โตมาก มีพระกรรมฐานมากมายเต็มไปหมด โดยสมัยก่อนวัดป่าสุทธาวาสยังคงมีสภาพเป็นป่าดงพงไพรอยู่ มีต้นไม้ใหญ่มากมายไม่เหมือนสมัยปัจจุบันที่เต็มไปด้วยหมู่บ้านเต็มไปหมด
    พรรษาที่1-2 (พ.ศ.2492-2493)
    ท่านอยู่กับพระอุปัชฌาย์ ที่วัดกุดเรือคำ ต.กุดเรือคำ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร
    พรรษาที่3-5(พ.ศ.2494-2497)
    ท่านเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆและกลับมา อยู่ที่วัดภูข้าวหลวง อ.สหัสขัน จ.กาฬสินธุ์
    พรรษา ที่7-15(พ.ศ.2498-2506)
    วัดบ้านนาโสก อ.นาแก ต.บ้านแก้ง จ.นครพนม ซึ่งเป็นบ้านญาติของท่านและเป็นบ้านเกิดของท่านเองต่อจากนั้นท่านได้ไปพักอาศัยอยู่กับหลวงปู่ลี ฐิตธัมโม ตอนนั้นหลวงปู่ลี ท่านอยู่วัดศรีชมพู ต.โคกสี
    อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    พรรษาที่ 20 (พ.ศ.2507-2515)
    ท่านธุดงค์ไปอยู่ทางภาคเหนือบ้าง เช่น สุโขทัย แพร่ น่าน ลำปาง อุตรดิตถ์ พิจิตร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ เลื่อยมา โดยท่านได้ไปพบกับ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง หลวงปูตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอาจารย์ตื้อ จ.เชียงใหม่ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ หลวงปู่แว่น ธนปาโล วัดถ้ำพระสบาย จ.ลำปาง หลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดคีรีสุบรรพต ต.พระบาท จ.ลำปาง โดย
    ช่วงระยะเวลาที่ธุดงค์ในแถบภาคเหนือ ตั้งแต่จังหวัดเพชรบูรณ์นั้น ท่านมีสหธรรมมิกที่ร่วมเดินทางไป
    ด้วยกัน คือ หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล วัดอนาลโย จ.พะเยา และหลังจากที่ท่านไปธุดงค์ที่เชียงใหม่
    กลับมาท่านจึงได้มาอยู่ที่วัดป่า สถิตย์ธรรมวนาราม ต.ศรีชมภู อ.พรเจริญ จ.หนองคาย จนกาละสมัย
    ปัจจุบันนี้ (นี้เป็นเพียงประวัติย่อๆเท่านั้น)
    ครูบาอาจารย์ที่หลวง ปู่ได้ไปพำนักอาศัย และฟังธรรม
    ครูบาอาจารย์เท่าที่หลวงปู่จำได้และเล่าให้ฟังมานั้น ในอดีตที่ผ่านมาแล้วทั้งหลาย ในบางคราวท่านก็ลืมไปบ้าง ซึ่งอาจจะไม่ละเอียดมากนัก เท่าที่ท่านพอจะจำได้นั้น มี ดังนี้
    1. หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
    2. หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอาจารตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    3. หลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
    4. หลวง ปู่แว่น ธนปาโล วัดถ้ำพระสบาย จ.เชียงใหม่
    5. หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์
    5. หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม วัดเหวลึก ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    6. เจ้า คุณแดง วัดป่าประชานิยม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
    7. หลวงปู่เอี่ยม วัดภูข้าวหลวง อ.สหัสขัน จ.กาฬสินธุ์
    ******การ เดินธุดงค์
    ท่านเล่าว่าตั้งแต่โยมบิดาของท่านเสีย ชีวิตด้วยโรคชรา ตอนอายุ ได้ 73 ปี ก่อนท่านออกเดินธุดงค์ และมารดาท่านก็เสียชีวิตด้วยโรคชราเช่นกัน เมื่อตอนอายุได้ 79 ปี หลังจากที่ท่านธุดงค์กลับมาจากจ.เชียงใหม่ ท่านเล่าว่าตอนที่ท่านได้ไปพำนักอยู่ เพื่อฟังธรรมกับหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ที่วัดดอยแม่ปั๋งนั้น ท่านเกิดความประทับใจมาก ท่านเล่าว่าหลวงปู่แหวนท่านเทศแบบง่ายๆ สั้นๆ แต่มีคุณภาพมากๆ คำพูดของท่านลึกซึ้งกว้างขวางมากนัก น่าเลื่อมใสมากๆ ซึ่งในเวลานั้นหลวงปู่ลี วัดเหวลึก ท่านก็ได้ไปร่วมฟังธรรมกับหลวงปู่แหวน กับท่านด้วย ท่านอยู่ฟังธรรมกัน ประมาณ๒-๓ คืน
    จากนั้นท่านได้เดินทางไปจังหวัดลำปาง และเพชรบูรณ์ โดยเดินเท้าไป บางทีฆราวาสเห็นก็อาสาพาไปส่งเป็นบ้าง ท่านใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 เดือนเศษ โดยท่านเดินทางผ่านจังหวัด สุโขทัย แพร่ น่าน ลำปาง อุตรดิถต์ พิจิตร และเพชรบูรณ์ และใช้เวลาเดินทางจากเพชรบูรณ์ไปเชียงใหม่ ใช้เวลาเดินทางประมาณอีก 2 เดือน ท่านเล่าว่าตอนเดินทางผ่าน จ.สุโขทัย ได้พบฆราวาสที่กินเจ มักใส่ขนมปัง และน้ำตาลอ้อย โดยบางครั้งเขาจะนำขนมกับข้าวสุกใส่ให้เต็มบาตรเลย ไม่มีกับข้าวคาวเลย ท่านฉันทีแรกๆก็อร่อยดี แต่หลายวันเข้ามันชักไม่อร่อย โดยในตอนนั้นท่านได้เดินเท้าธุดงค์ร่วมกับพระอาจารย์ไพบูรณ์ สุมังคโล วัดอนาลโย จ.พะเยา ซึ่งท่านทั้งสอง สนิทสนมมักคุ้นกันอยู่
    ******การปฏิบัติธรรม
    โดยปกติหลวงปู่อุดมท่านชอบเดินจงกรม และนั่งสมาธิภาวนาเพื่อปฏิบัติทางจิตของท่านอยู่โดยตลอด ท่านบอกว่าถ้าวันไหนไม่ได้เดินจงกรมแล้วหล่ะก็ เดือดร้อนไม่ได้เลยนะ จิตจะเศร้าหมองทันที สมัยที่ท่านอยู่ที่เชียงใหม่ ท่านปฏิบัติธรรมอยู่นั้น จิตของท่านเกิดความสว่าง มีความสุขมาก จิตตกถึงฐานของจิต เข้าสู่พื้นเดิม ท่านเปรียบเหมือนการสักผ้า ถ้าผ้ามันลาย พื้นเดิมของจิตมันก็ลาย ถ้าผ้ามันดำ จิตพื้นเดิมมันก็ดำ (สำนวนของหลวงปู่อุดม) ท่านบอกว่ามันถึงฐานของมัน มีความสุขมากไม่มีอะไรจะมีความสุขเท่า มันมีความปีติอิ่มอกอิ่มใจมาก ท่านจึงเอาตรงนี้มาเป็นอารมณ์ และค้นหาเข้าไปในจิตต่อจนถึงที่สุดของใจ ท่านเล่าว่ามันมีปัญญามากมายหลายอย่างเกิดขึ้นมา ท่านบอกว่าท่านอดนอน อดอาหารเพื่อทำความเพียรภาวนา อยู่ ๕ วัน ๕ คืน ท่านบอกว่า อดนอนนี่ทุกข์ยิ่งกว่าอดอาหารอีก แต่เพราะว่ามีปีติอยู่ ท่านจึงสามารถทำได้ ภายหลังจาก ๕ วันผ่านไป จิตของท่าน ก็เบาสบายได้กำลังใจ และกำลังกายยังแข็งแรงดีอยู่ เวลาธรรมเกิดขึ้นมา ๑๐๐ % ท่านนั่งสมาธิไปได้จนถึงแจ้งเลย(เช้าเลย) การปฏิบัติของท่านในเวลา ๖ โมงเย็น จนถึง ๕ ทุ่ม ท่านมักจะเดินจงกรม และในเวลา ๕ ทุ่มขึ้นไป ท่านจะนั่งสมาธิภาวนาไปเรื่อยจนบางทีถึงสว่างก็มี ในคราวที่ใจของท่านรวมลงจนถึงสภาวะเดิมของจิต ท่านเล่าว่ามีความสุขมากๆ ธรรมะของพระพุทธเจ้าที่เกิดขึ้นนั้น เหมือนกับอยู่ตรงหน้า สามารถยื่นมือแทบจะจับได้ต่อหน้านี้เลยทีเดียว จิตมันไม่ท้อไม่ถอย กระจ่างหมดทุกอย่าง มันหาใจ แก้ใจตัวเองได้หมดทุกอย่าง ในเวลาฟังธรรมพ่อแม่ครูบาอาจารย์ เพียงนิดหน๋อยเท่านั้นจิตท่านก็สว่างโพรงเลย ท่านบอกว่าจิตท่านเห็นธรรมที่วัดป่าอาจารย์ตื้อ จ.เชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นท่านพำนักอาศัยอยู่กับ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโมนั่นเอง ท่านยังเล่าต่ออีกว่า หลวงปู่ตื้อนั้น ท่านจะเป็นพระที่เทศตรงไปตรงมามาก จนในบางครั้งดูแล้วอาจจะไม่ไพเราะ แต่ท่านก็บอกว่า ผู้มีปัญญาก็ต้องเลือกฟังให้ถูกกับจิตของตนเอง อันไหนดีก็นำมาปฏิบัติให้ถูกกับจิตของตน ในยามที่ท่านเข้าไปนวดแขน นวดขาให้กับหลวงปู่ตื้อนั้น หลวงปู่ตื้อท่านจะเทศให้หลวงปู่อุดมฟัง หลวงปู่อุดมท่านเล่าว่าจับจิตจับใจมาก เลยทีเดียว ทำให้เกิดความเลื่อมใสในองค์ของหลวงปู่ตื้อมากมายยิ่งขึ้นเลยทีเดียว องค์หลวงปู่ตื้อนั้น ท่านขุดดิน ฟันต้นไม้ ต้นกล้วยได้ ซึ่งจริงๆแล้ว สำหรับพระต้องปรับเป็นอาบัติ ส่วนองค์หลวงปู่ตื้อนั้นท่านคงอยู่เหนือสมมุติไปแล้ว เพราะในคราหนึ่งหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง ท่านห้ามหลวงปู่ตื้อไม่ให้ทำเช่นนี้ แต่หลวงปู่ตื้อกลับหันมากล่าวกับหลวงปู่แหวนว่า ไม่ต้องมาสอนหรอกน่า เราพ้นแล้ว(จิตท่านหลุดพ้นไปแล้วนั่นเอง)... >>>>>
    มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ *******บูชาที่ 215 บาทฟรีส่งems SAM_2151.JPG SAM_2152.JPG SAM_2154.JPG SAM_2153.JPG SAM_6786.JPG SAM_6787.JPG SAM_2147.JPG
     
  5. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 725 เหรียญกลมรูปไข่ 84 ปีหลวงปู่ท่อน ญาณธโร พระอรหันตืเจ้าวัดศรีอภัยวัน อ.เมือง จ.เลย หลวงปู่ท่อนเป็นศิษย์รุ่นใหญ่หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถํ้าผาปู่ เหรียญสร้างปี 2555 เนื้อทองเเดงผิวไฟ สร้างเนื่องจากหลวงปู่อายุครบ 84 ปี ประวัติย่อๆพอสังเขป หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
    วัดศรีอภัยวัน อำเภอเมือง จังหวัดเลย
    หลวงปู่ท่อน ญาณธโร มีนามเดิมว่า ท่อน ประเสริฐพงศ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ ณ บ้านหินขาว ต.สาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น บรรพชาอุปสมบทเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๑ ณ วัดศรีจันทร์ (พระอารามหลวง) อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยมีพระเทพบัณฑิต (อินทร์ ถิรเสวี ป.ธ.๕) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพิศาลสารคุณ วัดศรีจันทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูคัมภีรนิเทศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาสุพจน์ อุตตโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ สังกัดธรรมยุติกนิกาย
    ภายหลังอุปสมบทแล้ว ท่านได้เดินทางไปพำนักจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่คำดี ปภาโส
    ณ วัดป่าชัยวัน โดยหลวงปู่คำดีเป็นอาจารย์กัมมัฏฐาน คอยสอนให้ทำภาวนา นั่งสมาธิกัมมัฏฐาน ในช่วงออกพรรษา ท่านได้เป็นหัวหน้าออกเดินธุดงค์เข้าป่าเป็นกิจวัตร ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๗ หลวงปู่คำดีนำคณะเข้าป่าและถ้ำต่างๆ ท่านได้ภาวนา ทำความเพียร ตลอดจนให้ศรัทธาญาติโยมมาฟังธรรมะ และในพรรษานี้เอง หลวงปู่ท่อนได้อยู่จำพรรษา ณ วัดถ้ำผาปู่นิมิตร อ.เมือง จ.เลยกับหลวงปู่คำดีด้วย
    ครั้งหนึ่งท่านได้มีโอกาสพบหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า และได้รับโอวาทอันทรงคุณค่าอย่างหาที่เปรียบมิได้จากหลวงปู่มั่นว่า “ให้เร่งทำความเพียร มิให้ประมาท ชีวิตนี้อยู่ได้ไม่นานก็ต้องตาย” หลังจากนั้น ท่านมีโอกาสได้ไปกราบเยี่ยมครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่หลุย จันทสาโร, หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงพ่อมหาปิ่น ชลิโต เป็นต้น
    เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ คณะศรัทธาญาติโยม ได้นิมนต์ให้หลวงปู่ท่อนไปอยู่ที่ป่าช้านาโป่ง อ.เมือง
    จ.เลย ซึ่งต่อมาได้สร้างเป็น “วัดศรีอภัยวัน” โดยหลวงปู่ท่อนได้จำพรรษาที่วัดศรีอภัยวันเรื่อยมา จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๕๕๘ ท่านได้เมตตามาจำพรรษาที่ วัดป่ามณีกาญจน์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดียิ่ง ที่คณะศรัทธาทางกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีโอกาสได้ร่วมทำบุญกับท่าน รวมถึงได้รับโอวาทธรรมจากท่านอย่างใกล้ชิด
    หลวงปู่ท่อน ญาณธโร ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ “พระราชญาณวิสุทธิโสภณ” ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ ปัจจุบัน ท่านสิริอายุ ๘๗ ปี พรรษา ๖๗ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีอภัยวัน และที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเลย (ธรรมยุต) เป็นพระเถราจารย์ผู้ใหญ่สายวิปัสสนากัมมัฏฐาน ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีความเชี่ยวชาญด้านจิตตภาวนา การเทศนาธรรม และวิทยาคมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ >>>>>>
    องค์หลวงปู่ท่อน ญาณธโร ละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพานอย่างสงบแล้วเย็นวันนี้ ตรงกับวันเสาร์ที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๑ ณ รพ.วิชัยยุทธ สิริอายุ ๘๙ ปี" >>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่ท่อนมาบูชา ******บูชาที่ี 225 บาทฟรีส่งems SAM_5671.JPG SAM_4870.JPG SAM_4871.JPG SAM_1986.JPG
     
  6. Khun Kriang

    Khun Kriang สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2019
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +4
    จองนะครับ
     
  7. surasakkarun

    surasakkarun Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    265
    ค่าพลัง:
    +136
  8. Peterbn

    Peterbn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2018
    โพสต์:
    442
    ค่าพลัง:
    +290
    จองครับ
     
  9. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 76 เหรียญรุ่นเเรกหลวงปู่บุญหลาย พระอรหันตืเจ้าวัดป่าโนนทรายทอง อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ หลวงปู่เป็นศิษย์หลวงปู่เเปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร เหรียญสร้างปี 2550 เนื้อทองเเดงรมมันปู มีตอกโค๊ต รูปพระเจดีย์ หน้าเหรียญ เหรียญใหม่ไม่เคยใช้ ประวัติย่อพอสังเขปหลวงปู่บุญหลาย ชีวิตเมื่อเยาว์วัย
    หลวงปู่บุญหลาย หรือ เด็กชายบุญหลาย ไชยมาตย์ ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2483 ตรงกับวันอาทิตย์ขื้น 15 ค่ำ เดือน 12 ปีมะเส็ง คุณแม่เปี่ยง เคยเล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะตั้งท้องของทารกคนนี้ ได้ฝันว่ามีคนนำพระพุทธรูปมามอบให้ แม่เปี่ยงก็น้อมรับด้วยความดีใจ นั่นก็เป็นนิมิตรหมายที่ดีเป็นนิมิตรอย่างหนึ่ง เพื่อจะบอกให้รู้ว่าจะมีผู้มีวาสนาบารมีมาเกิดด้วยนับว่าเป็นบุญของโยมแม่ท่านอย่างมาก เมื่อตอนเป็นเด็กอายุประมาณ 2-4 ขวบ เป็นผู้มีร่างกายไม่สู้แข็งแรงนักเจ็บป่วยออดๆ แอดๆ เลี้ยงยาก สมัยก่อนเรียกกันว่า เป็น ซางพุงโร และเป็นฝีที่ก้น ใครพบเห็นก็อดสงสารไม่ได้ แต่เนื่องจากเป็นผู่ที่มีนิสัยดี ไม่ขี้อ้อน ไม่งอแงเหมือนเด็กทั่วๆไป จึงเป็นที่รักใคร่ และสงสารของบรรดาพ่อแม่ พี่น้อง
    >>>>>ชีวิตในวัยเรียน
    เมื่อออกจากโรงเรียนก็ไม่ได้ศึกษาต่อ แต่เนื่องจากว่าท่านเป็นผู้มีลักษณะนิสัยเรียบร้อย อยู่อย่างเรียบง่าย ไม่โลดโผน ไม่ชอบการเที่ยวแตร่ ไม่ดื่ม ไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้หญิงและอบายมุขใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อออกจากโรงเรียนมา 2-3 ปี คิดอยากจะบวช จึงขออนุญาตพ่อแม่ ซึ่งท่านก็ยินดีให้บวชเณร ก็จำพรรษาที่วัดบ้านนาเยีย โดยมีอาจารย์ พรขันติโก เป็นเจ้าอาวาสและเป็นพระอาจารย์สอนธรรมะด้วย
    การอุปสมบทเป็นพระครั้งแรก
    เมื่อมีอายุครบพอจะบวชพระได้ คุณพ่อคุณแม่ รวมทั้งแม่เลี้ยงกุ่นและครอบครัว จึงจัดให้บวชตามประเพณี และอีกอย่างก็เป็นโอกาสที่จะได้อุทิศส่วนกุศล ทดแทนบุญคุณผู้อุปถัมภ์ คือพ่อเถี่ยน เชี้อขาว ผู้มีพระคุณอย่างล้นเหลืออีกด้วย อุปสมบท ณ วิสงคามสีมาวัดบ้านนาเยีย สังกัดหมานิกาย เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2505 โดยเจ้าอธิการอ่วม อัคควโร เป็นพระอุปัชณาย์ เจ้าอธิการคำ จันทโชโต วัดบูรพา บ้านนาหมอม้า เป็นกรรมวาจาจารย์ พระอธิการ เผือก โชติโก วัดศรีมงคลบ้านน้ำปลีก เป็นอนุสาวนาจารย์และหลวงปู่ดา เป็นเจ้าอาวาส
    >>>>>การอุปสมบทครั้งที่ 2
    อุปสมบทเมื่อวันที่ 28 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ 2529 ณ วัดป่าอุดมสมพร ตำบลพรรณนา อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร สังกัดนิกายธรรมยุติ โดยมีพระอาจารย์ทองใส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอุดมธรรมสุนทร ( พระอาจารย์แปลง ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่มีอายุได้ 42 ปี
    นิมิตเห็นหลวงปู่มั่น
    หลังจากวันเข้าพรรษามาได้ 10 วัน หลวงก็ฝันเห็นหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่ ในฝันนั้นหลวงปู่มั่นยืนหันหลังให้ ห่างกันประมาณ 3 เมตร ก็จำได้ว่าเป็นหลวงปู่มั่น เพราะเคยเห็นในภาพมาแล้วหลายครั้ง ท่านออกเดินนำหน้า ก้าวเท้าค่อนข้างเร็ว เราก็รีบเดินตามทันที ด้วยหวังจะให้ท่านมองเห็นและทักทายบ้าง แต่หลวงปู่ท่านก็ไม่มองและไม่พูดว่ากระไร เดินตามหลังท่านไปหน่อยเดียวก็ไปเจอแม่น้ำขวางหน้าอยู่ความกว้างประมาณส่วนกว้างของแม่น้ำมูลหลวงปู่มั่นนั้นท่านไม่หยุด ท่านเดินลุยลงไปในน้ำ เราก็เดินตามไปถึงกลางแม่น้ำซึ่งลึกถึงหน้าอกนี่แหละ จากนั้นภาพของหลวงปู่มั่นก็หายวับไปเลย ขณะนั้นเราเกิดอาการงงอยู่พักหนึ่ง บรรยากาศก็มืดสลัว พอตั้งสติได้ก็แลซ้ายมองขวาครั้นมองเหลียวหลัง ก็พลันเหลือบไปเห็นงูตัวหนึ่ง ลำตัวขนาดเท่าแขนกำลังเลื้อยตามมาอย่างกระชันชิด นี่คงเป็นงูเห่าน้ำกระมัง คิดหาทางป้องกันมิให้เจ้างูเลื้อยเข้ามาถึงตัวได้ บังเอิญที่มือยังมีไฟฉายอยู่กระบอกหนึ่ง จึงกวัดแกว่งไปมาเป็นการขู่และปัดป้องเอาไว้ เรารีบขึ้นฝั่งโดยมิชักช้า พบไม้ขนาดเท่าด้ามพร้ายาวประมาณ จึงรีบคว้ามาได้หวังจะตีงูนั้นให้ตายคามือ ด้วยความตกใจทั้งกลัวงูจะฉก และคิดกลัวบาปกรรมที่จะต้องฆ่าสัตว์ พอเงื้อไม้ขึ้นสุดช่วงแขนปากก็ตะโกนร้องไล่ ก็พลันเกิดเสียงออกมาจริงๆ จนสะดุ้งตื่นขึ้นมา
    เมื่อตื่นขึ้นมาและตั้งสติได้ นึกทบทวนภาพนิมิตที่พึ่งผ่านไปใหม่ๆ คงเป็นภาพทำนายบอกอนาคตให้เห็นว่า “ เราเดินตามหลังหลวงปู่มั่น ” คงจะเป็นเพราะแนวทางที่ปฏิบัติอยู่ เป็นไปตามแนวสายทางของท่าน พระอาจารย์ผันเป็นลูกศิษย์ปู่ฝั้น และหลวงปู่ฟั่นก็เป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่นตามลำดับก็เท่ากับว่าเราคือลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่นเหมือนกัน การที่หลวงปู่เดินนำหน้าในการข้ามแม่น้ำคงจะเป็นปริศนาธรรมให้รู้ว่า แม่น้ำ คือโอฆะสงสาร งูอสรพิษ ก็คือกิเลสตัณหาที่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่างๆ ไม่ให้ข้ามพ้น ส่วนไฟฉายก็น่าจะเป็นปัญญาส่องสว่างหรือพระธรรม ที่นำพาไปสู่ทางแห่งความสำเร็จวิมุติ มรรค ผล และพระนิพพาน อันเป็นที่สุดแห่งวัฏฏะสงสารที่ได้หวังไว้ ตั้งแต่วันแรกที่ได้บวชเข้ามาการที่ได้ข้ามน้ำไปถึงฝั่งก็คงจะได้หลุดพ้นจากบ่วงมาร กิเลสตัณหาได้อย่างแน่นอน เมื่อได้รับการเอิบอิ่มจากภาพนิมิตดังกล่าว หลวงปู่ก็รีบเร่งภาวนาอย่างเอาเป็นเอาตายตลอดพรรษา เพื่อจะได้ถึงที่หมายอย่างรวดเร็ว
    >>>>>นิมิตครั้งที่ 2
    ต่อมาประมาณช่วงกลางพรรษา หลวงปู่เกิดนิมิต ฝันเห็นหลวงปู่มั่นอีกเป็นครั้งที่ 2 ในฝันนั้นเห็นหลวงปู่มั่นท่านกำลังทำพิธีปลุกเสก ทำน้ำพระพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์อยู่ เป็นอ่างกะละมังขนาดใหญ่ ภายในอ่างเป็นน้ำใสสะอาดแล้วท่านก็ช็มือกวักเอาน้ำมาชโลมลูบไล้ไปตามส่วนต่างๆทั่วร่างกายของท่านเองประหนึ่งว่าท่านกำลังออกสู่สงครามครั้งยิ่งใหญ่ เพราะมองออกไปข้างหน้าอันไกลโพ้น มีขบวนรถถังรถหุ้มเกราะ ปืนใหญ่ ทุกกระบอกเล็งมาที่ท่านจุดเดียว แล้วในบัดดลก็มีเสียงรัวระดม เสียงดังสนั่นหวั่นไหว ส่วนข้างบนก็เป็นปืนจากเครื่องบินรัวลงมาดังห่าฝน แต่ปรากฏว่าร่างของหลวงปู่มั่นยังคงแน่นิ่ง มั่งคง ไม่สะทกสะท้านหวั่นไหวใดๆเลย เมื่อเห็นดังนั้นในความรู้สึกของหลวงปู่เอง ก็เกิดความกล้าหาญ ชาญชัย มั่นใจในบารมีที่คิดว่าหลวงปู่คงจะปกป้องคุ้มครองได้ จึงเดินออกไปข้างหน้าพระอาจารย์ใหญ่ แล้วใชมือกวักเอาน้ำชโลมลูบตามเนื้อตัวเหมือนกับที่เห็นกับภาพตัวอย่างที่พระอาจารย์ใหญ่กระทำให้ดู สังเกตดูอากัปกิริยาของท่านพระอาจารย์ก็ไม่เห็นท่านว่ากระไร เพียงแต่มองดูแล้วยิ้มนิดๆ เท่านั้น แล้วหลังจากนั้นก็ตื่นจากความฝันนั้น มาคิดดูอีกครั้งก็คงยังเป็นปริศนาธรรม บอกให้รู้ว่า ต่อไปหลวงปู่จะได้ทำน้ำมนต์และมีความศักด์สิทธิ์เหมือนในฝัน ปัจจุบันจึงมีญาติโยม ลูกศิษย์ลูกหา มาขอให้หลวงปู่เสกเป่าพระพรมน้ำมนต์ให้ เพื่อขจัดปัดเป่า เสนียดจัญไร มิให้มารังควาญ และเพื่อให้เกิดเป็นสิริมงคลแก่ตัวและครอบครัวตลอดไป แต่ในความเป็นจริง ความตั้งใจของหลวงปู่แต่ตอนแรกๆนั้น หลวงปู่ไม่เคยแม้แต่จะคิด ว่าจะเป็นพระผู้ทำหน้าที่เสกเป่า ทำน้ำมนต์ให้แก่ใครเลย หากแต่ว่าญาติโยมมาขอความเมตตาให้ช่วยขจัดปัดเป่าหลวงปู่ก็ทำไปเพราะความเมตตาสงสารเท่านั้นเอง และก็ปรากฏว่าทุกคนที่ขอความช่วยเหลือ ก็มักจะพบกับสิ่งที่ดีๆ ในชีวิต รู้ได้จากการ บอกเล่าของบุคคลเหล่านั้น จึงต้องอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถปฏิเสธคำขอนั้นได้อีกอย่างก็เป็นการสงเคราะห์ช่วยเหลือแก่ญาติโยมที่เดือดร้อนไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ หากเขาเหล่านั้นมีความรู้สึกดี หรือมีอาการที่ดีขึ้น ก็เป็นการเสริมพลังศรัทธาปสาทะอีกทางหนึ่งเช่นกัน
    เมื่อออกพรรษาใหม่ๆ จิตใจยังเกิดความมุ่งมั่นอยากทำความพากเพียรภาวนาให้เต็มที่ หวังให้เกิดพลังจิตสมาธิธรรมที่แก่กล้าและสูงยิ่งขึ้น แม้จะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า เจ็บปวดทรมานตามร่างกายก็ไม่ย่อท้อ อดนอน ผ่อนอาหาร ทรมานร่างกายเพื่อให้จิตสงบนิ่งเป็นสมาธิ ไม่หวั่นไหวตามอารมณ์ของกิเลสและนิวรณ์น้อยใหญ่บางครั้งเมื่อการภาวนาไม่ค่อยสู้ดี หลวงปู่ก็จะหาวิธีกำราบด้วยการ อดนอน ผ่อนอาหาร อันเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่พ่อแม่ครูอาจารย์ในอดีตเคยกระทำบำเพ็ญภาวนามามากต่อมาก เมื่อทำอยู่พักใหญ่ สังเกตได้ว่าร่างกายได้ผ่ายผอมลง แน่นอนทีเดียวเมื่อกำลังภายนอกอ่อนลงกิเลสภายในก็อ่อนลงเช่นกันทั้งนี้เพราะเกิดจากอุบายภาวนาในการอดนอน ผ่อนอาหาร ฉันน้อย นอนน้อย ภาวนาให้มากนั่นเอง เมื่อเร่งภาวนาจิตก็เกิดปิติสุข อิ่มเอิบใจมากเมื่อได้เจริญจิตภาวนามากขึ้น ยิ่งทำก็ยิ่งเกิดปิติมากขึ้นตามลำดับ เป็นปกติของผู้มีความเพียร อุปมาเหมือนคนทำงาน ยิ่งทำงานในสิ่งที่ตัวเองถนัดยิ่งทำมากขยันทำมากงาน ก็ย่อมเสร็จไปตามลำดับลำดามากมาย เช่นเดียวกันกับการภาวนายิ่งทำมาก ความเพียรมาก กิเลสน้อยใหญ่ก็ยิ่งถอยห่างออกไปเรื่อยๆ สืบเนื่องมาจากความเพียรนั่นเอง พระพุทธองศ์จึงได้ตรัสว่า ขันตี ปรมัง ตโป ตีติกขา ขันติคือความอดกลั้น ความพากเพียร เป็นเครื่องธรรมเป็นเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่งเมื่อเป็นเช่นนั้นหลวงปู่จึงใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับการทำสมาธิภาวนาทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่ย่อมปล่อยเวลาให้เสียเปล่ายกเว้นเวลาทำภัตตะกิจ ทำวัตรสวดมนต์ และภารกิจห้องน้ำเท่านั้น
    เกิดภาวะจิตปั่นป่วน
    อาจจะเป็นเพราะความตั้งใจมุ่งมั่นพากเพียรภาวนาไม่ยอมหยุดลดละ อยากเร่งให้เห็นผลเร็วเกินไป จึงมิได้สนใจศึกษาขั้นตอนการปฏิบัติ และไม่ยอมปรึกษาใคร รับการทดสอบจากครูบาอาจารย์ ด้วยหวังจะให้บรรลุผลสำเร็จก่อนใครอื่น และเมื่อถึงขั้นนั้น มันไม่ง่ายอย่างที่คิด นี่คืออวิชชาที่กำลังบดบังห่อหุ้มจิตใจของหลวงปู่ในขณะนั้น
    ด้วยเหตุนี้ เมื่อทุกอย่างมันไม่เกิดขึ้นได้ตามที่คาดหวัง จึงเกิดภาวะปั่นป่วนในจิตใจ มีความว้าวุ่นกระวนกระวายในจิต จิตที่เคยสงบเป็นสมาธิในการบำเพ็ญภาวนาก้ไม่มีสมาธิ เกิดอาการฟุ้งซ่าน เกิดท้อแท้ เบื่อหน่าย เมื่อหายใจเข้าลึกๆมีอาการสั่นไหว คล้ายสะอื้นภายใน จนบางครั้งถึงกับเอาน้ำเย็นมาลูบไล้ตามร่างกาย เพื่อให้เกิดความเย็นในร่างกาย ส่งผลให้จิตสงบมีสติสมาธิดีขึ้น แต่ก็ไม่เป็นผล จนเกิดคำถามขึ้นภายในจิต พิจารณาตัวเองในใจว่า นี่เราเป็นอะไรไปแล้วหรือ โรคจิต ? ประสาท ? หรือเป็นบ้า ? นี่หรือที่เขาเรียกกันว่า “ ธรรมแตก ” แล้วถ้าเป็นอย่างที่เขาว่านั้นจริง ชาวบ้านญาติโยมเขาคงจะเล่าลือไปในทางเสียหายต่างๆ นาๆ เป็นแน่ เราคงไม่กล้าบากหน้ากลับไปเยี่ยมบ้านได้อีก ต่อไปนี้เราจะจัดการกับตัวเองอย่างไร ? ตอนนั้นคิดได้อย่างเดียวคือ ไปเล่าอาการให้อาจารย์ฟังเพื่อจะมีช่องทางแก้ไขอารมณ์เหล่านี้ได้ ก่อนที่จะเตลิดเปิดเปิงไปจนควบคุมตัวเองไม่อยู่ อาจารย์ผันบอกว่าพรุ่งนี้จะพาไปกราบอุปัชฌาย์อาจารย์ ที่วัดป่าอุดมสมพร
    พอตกกลางคืนก็นิมิตฝันอีก ไม่ทราบว่าจะเป็นเพราะสัญญาวิปลาสจิตวิปลาส หรือทิฐิวิปลาสที่สืบเนื่องมาจากตอนกลางวันหรือเปล่า หลวงปู่ฝันเห็นม้าสีขาว วิ่งมาบนผิวน้ำมองเห็นแต่ไกล พอวิ่งตรงเข้ามาใกล้ ก็ปรากฏว่าน้ำได้แหวกทางออกให้จนมองเห็นเป็นดินเป็นถนน แล้วก็มาหยุดยืนอยู่ตรงหน้าพอดีแปลกจริงม้านั้นมันพูดได้ ว่า “ ขึ้นเร็ว เดี๋ยวจะไปไม่ทันเขา ” เราไม่มีทางเลือกอื่นจึงรีบขึ้นขี่บนหลังม้า ม้านั้นก็เหาะทะยานขึ้นไปเบื้องบน สูงเท่าไรไม่อาจคาดคะเนได้ ไปพบศาลาหลังใหญ่ม้าก็หยุด พอม้าหยุดแล้วหลวงปู่ก็รีบลงไปเอาดอกไม้มาให้ม้านั้นกิน ด้วยความเมตตาเหมือนกับเรารู้มาก่อนแล้วว่า ม้ากินดอกไม้ได้หลังจากนั้นหลวงปู่ก็รีบเตรียม สบง จีวร สังฆาฏิ สะพายบาตรใส่บ่า แล้วขึ้นบนหลังม้าอีกทีหนึ่ง ม้าก็เหมือนรู้ใจ รีบทะยานขึ้นสูงอย่างรวดเร็วด้วยอารมณ์ความรีบร้อน ตื่นเต้น จึงทำให้ตกใจตื่นขึ้นมา พอรู้สึกตัวว่าฝัน ก็ยิ่งให้เกิดอาการวิตกจริตคิดไปต่างๆ นาๆ ว่าจิตของเรานี้ฟุ้งซานแน่นอนแล้ว จึงชวนพระที่เป็นน้องชายของอาจารย์ผันไปเป็นเพื่อนพาไปพบพระอุปัชฌาย์เพื่อแก้อารมณ์ให้ วันนั้นไปด้วยรถยนต์ ก่อนจะถึงรถเขาพาไปแวะบ้านนาผือก่อน เพราะที่นั่นมีวัดพระอาจารย์มั่นเคยมาอยู่ ไปแวะกราบอาจารย์เศียร เดินผ่านกุฏิหลังหนึ่งมีป้ายบอกว่า “ กุฏิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ” ลักษณะเป็นเรือนไม้จึงเดินขึ้นไปแล้วก้มกราบ 3 ครั้ง อธิษฐานวิงวอนว่า “ หลวงปู่ขอรับ ขณะนี้ลูกหลานมีความตั้งใจจริงในการเข้ามาบวช หวังเจริญรอยตามหลวงปู่ เพื่อให้บรรลุธรรมขั้นสูง แต่ลูกหลานกับมีปัญหาอุปสรรคทางด้านจิตใจที่ไม่มีสมาธิ จิตใจปั่นป่วน ฟุ้งซ่าน หรือหากว่าบุญบารมีของลูกหลานจะไปไม่ถึง ที่มาวันนี้ลูกหลานมาขอพึ่งบุญบารมีของหลวงปุ่ สาธุ ขอได้โปรดดลบันดาลให้ลูกหลานได้หายจากอาการดังกล่าวนี้ด้วยเถิด และต่อจากนี้ไปขอให้ลูกหลานได้พบกับความสำเร็จในอริยธรรม บรรลุ มรรค ผล พระนิพพาน เห็นอรรถ เห็นธรรมตามที่พ่อแม่ครูอาจารย์เคยดำเนินพบเจอมาด้วยเทอญ สาธุ ! ว่าแล้วก็กราบอีก 3 ครั้ง จึงลงมาขึ้นรถ มุ่งหน้าไปสู่วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณนานิคม ระหว่างทางจิตใจก็ครุ่นคิดแต่เรื่องทางความวิปริตของอารมณ์พร้อมหาเหตุผลต่างๆ มาเป็นคำตอบให้กับตัวเองมาถึงกลางทางเกิดอาการวาบหวิว ใจสั่น ขนลุกขนพอง น้ำตาไหลพราก เมื่อสูดลมหายใจลึกๆ มีอาการสะอื้นคล้ายกับร้องไห้ เป็นอย่างนี้นานพอประมาณต่อมาไม่นานก็เกิดปิติซาบซ่าบไปทั่วสรรพางค์ ร่างกาย ในแว็บเดียวของความคิดขณะนั้น จิตก็เกิดความคิดได้คำตอบให้กับตัวเองว่า โอ ! ที่เราเป็นอย่างนี้ก็เพราะความทะเยอทะยานอย่างมาก เพราะความอยากมากตัวนี้แหละจึงทำให้เกิดอาการหวั่นไหวทางจิตเพราะเมื่อความอยากรู้อยากเห็นมากจิตก็มีความพากเพียรมาก เมื่อเร่งมากแต่กลับไม่พบกับสิ่งที่ต้องการ ทั้งๆ ที่การปฏิบัติก็ไม่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนมาโดยตลอด ทั้งนี้คงจะเป็นเพราะภูมิจิตและสมาธิธรรมยังน้อย สติยังอ่อน ไม่มีกำลัง ความอยากมันมากเกินเหตุอันสมควรเจ้าความทะเยอทะยานอยากนี่เองคือตัวกิเลส แสดงว่าเรายังละไม่ได้ จึงเริ่มสำรวจหาความบกพร่องของตัวเองต่อไปอีก ยังพบว่าตัวเองยังมีเงินอยู่ 80 บาท เราต้องแก้ไขที่ตัวเราเองก่อน ก่อนที่จะไปให้คนอื่นแก้ไขให้ เริ่มต้นที่เงิน 80 บาท นี่แหละ พอไปถึงวัดป่าอุดมสมพร ซึ่งมีสระน้ำอยู่ในวัด จึงเอาเงินผูกติดก้อนหินแล้วกล่าวคำสัจจะวาจาว่า “ แต่นี้ต่อไป เราจะไม่ยึดถือครอบครอง ทรัพย์สิน เงินทอง แม้แต่บาทเดียวขึ้นไป ” ว่าแล้วก็โยนเงินที่ผูกติดกับก้อนหินนั้นลงในน้ำเป็นอันว่าได้แก้ปัญหาให้กับตัวเองแล้ว 1 เปราะ จากนั้นก็ขึ้นไปกราบอาจารย์เล่าความเป็นมาให้ทราบโดยละเอียด อาจารย์ก็แนะนำตามขั้นตอนต่างๆ ในการภาวนาและแก้ไขนิวรณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติสมาธิซึ่งเป็นปกติของผู้บำเพ็ญภาวนา เพื่อหาหนทางออกหนีจากความทุกข์ย่อมไม่เป็นที่พอใจของพญามาร มารย่อมรำควาญไม่ให้จิตสงบเป็นสมาธิได้ เหมือนครั้งหนึ่งที่พระพุทธองศ์กำลังจะเสด็จออกผนวชตอนใกล้รุ่ง พอถึงกำแพงเมืองที่เป็นประตูทางออกพญามารก็มาขวางทางเดิน แล้วกล่าวด้วยวาจาอันโกรธแค้นว่า “ ดูก่อนสิทธัตถะ ท่านกำลังจะทำอะไร ” ท่านเป็นบ้าไปแล้วหรือ การเสวยความสุข เสพสมการมณ์ต่างๆ ภายในพระราชวังเป็นสิ่งที่มนุษย์ทั้งหลายล้วนแล้วแต่ปรารถนาทั้งนั้น มีประโยชน์อะไรกับการที่จะออกบวช การบวชจะเกิดอะไรกับท่าน นับแต่นี้ไปอีก 7 วันข้างหน้า ท่านก็จะได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นแดน ท่านไม่ต้องการหรือ ? มารนั่นคือสิ่งที่กีดขวางความดีทั้งสี่จะกระทำทางด้านร่างกายและจิตใจสิ่งใดก็แล้วแต่ที่จะเป็นบุญ เป็นคุณความดี เราคิดว่าจะกระทำบำเพ็ญหากเราทำช้า มารก็จะเข้าแทรกแล้วกล่าวขึ้นมาในจิตในใจของเราว่า จะทำๆไม จะเกิดประโยชน์อะไรกับการกระทำนั้น ทำอย่างอื่นดีกว่า นี่แหละคือลักษณะของมาร หากบุคคลใดเป็นอย่างที่ว่า ก็ให้รีบหาทางแก้ไข จะกระทำสิ่งใดที่เป็นบุญเป็นกุศลก็ให้รีบทำ อย่างให้ช่องหรือโอกาสแก่มารเป็นอันขาด เมื่อได้รับการแก้ไขจากท่านอาจารย์แล้วท่านก็กล่าวต่ออีกว่า “ อันเงินทองนั้น เป็นของที่มีค่า ไม่น่าทิ้งลงน้ำเลย เพราะมันไม่ได้เกิดประโยชน์อันใด ถ้าไม่ยึดถือครอบครองก็น่าจะบริจาคเป็นทานสงเคราะห์คนยากจน หรือเอาไว้สร้างน้ำหรือทำบุญก็ยังดี ” เราก็รับฟังเอาไว้ ไม่กล้าโต้แย้งแต่ในใจยังไงก็ยังไม่คิดเปลี่ยนแปลงจากความตั้งใจเดิมเป็นแน่
    หลังจากนั้นมาอีก 3 วันสมเด็จพระนาง เจ้า พระบรมราชินี พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาบำเพ็ญพระราชกุศล ที่วัดป่าอุดมสมพรวัดของหลวงปู่ฝั้น ตามที่เคยปฏิบัติเหมือนเช่นทุกปีที่ผ่านมา จำได้ว่าตอนนั้นหลวงปู่ได้นั่งอยู่ท้ายสุด เพราะอาวุโสทางพรรษาน้อย วันนั้นได้รับปัจจัยทางการถวายจำนวน 5000 บาท ( เป็นใบปวารณา ส่วนเงินจริงฝากผ่านธนาคาร ) จึงเป็นปัญหาให้คิดหนักอีกว่า เราก็พึ่งตั้งสัจจาธิษฐานมาได้แค่ 3 วัน ว่าจะไม่รับเงินแต่คราวนี้ผู้ถวายคือ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ แล้วเราจะทำอย่างไรกับเงินจำนวนนี้ซึ่งก็เป็นจำนวนไม่น้อยเลย
    ในที่สุดก็ได้คำตอบ โดยเอาแนวความคิดของพระอาจารย์อุปัชฌาย์มาประกอบการตัดสินใจว่า เงินทองที่ได้รับจากการพระราชทานมา มีคุณค่ามากจงอย่ายึดมั่นว่าเป็นสมบัติของเรา แต่เงินยังเป็นสื่อกลางให้เราได้ “ สร้างน้ำทำบุญได้อยู่ เช่น การบริจาคให้เป็นทาน การจัดหาปัจจัย 4 เป็นต้น ไม่ควรจะโยนทิ้งลงน้ำอีกต่อไป
    ความวุ่นวายจากทางบ้าน
    กล่าวถึงทางบ้านนาเยีย ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมหลังจากบุญบั้งไฟอำนาจเจริญพ่อบุญหลายก็หายไปจากบ้านโดยไม่มีร่องรอย ไม่ทราบข่าวคราว ซึ่งสร้างความกังวลใจให้กับพี่น้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พี่สาวต่างบิดาทั้งสอง คือ แม่บุญมีและแม่จันทีเป็นอย่างมาก พยายามสืบถามหาก็ไม่ได้วี่แวว จึงตั้งข้อสันนิษฐานเอาว่า คงจะหนีไปบวช เพราะเท่าที่สังเกตอากัปกิริยาก่อนหน้านี้แล้ว พ่อบุญหลายมีทีท่าว่าจะออกบวช ห้วงเวลานั้นก็พอดีหน้านา ทุกคนมีภาระต้องเร่งปักดำ เพื่อให้เสร็จเร็วไว ตกลงกันว่า เมื่อเสร็จหน้านาออกพรรษาแล้วจึงจะไปตามหาน้องชายต่อไป
    พอออกพรรษา ทั้ง 3 คนคือพ่อพวง ปางชาติ พี่เขย แม่บุญมีและแม่จันทีพี่สาว จึงเริ่มต้นตามสืบหาน้องชายอย่างจริงจัง เป้าหมายแรกที่คิดว่าน้องชายน่าจะไปอยู่ คือ ภูจ้อก้อซึ่งขณะนั้นหลวงปู่หล้าจำพรรษาอยู่ที่นั่น พอไปถึงก็กราบเรียนถามและเล่าถึงรูปพรรณสัณฐานให้ฟัง หลวงปู่ได้เรียกลูกวัดมาสอบถามแล้วท่านก็สรุปเป็นคำตอบเป็นนัยๆว่า “ ถ้าเป็นคนนี้โยมไม่ต้องห่วงไม่ต้องไปตามเขาไปสวรรค์นิพพานแล้ว ” ในความหมายของหลวงปู่ ท่านหมายถึงการไปดีไปทำความเพียร เพื่อหาหนทางสู่สวรรค์นิพพาน มิได้หมายถึงการตาย แต่พี่ทั้ง 3 เข้าใจว่า น้องชายได้ตายจากไปแล้ว เลยปล่อยโฮกันยกใหญ่ กว่าจะรู้ความหมายที่แท้จริงต้องสาธยายอีกนาน
    ก่อนจากไป หลวงปู่หล้าก็ได้บอกเป็นนัยๆอีกว่า ถ้าจะตามหาต้องไปตามสายของหลวงปู่มั่น คือไปหาทางบ้านกุดไห บ้านกุดบาก ทางสกลนครนะโยมจากนั้นทั้ง 3 ก็กราบลาและมุ่งหน้าไปสกลนครโดยขึ้นรถโดยสารประจำทางแล้วก็เดินตามหาไปเส้นทางที่หลวงปู่หล้าบอก บ้านกุดไห บ้านกุดบาก แต่ก็ไร้วี่แวว จนกระทั่งถึงบ้านนาขาม พบพระอาจารย์ผัน จึงเข้าไปกราบและถามหาโดยบอกรูปพรรณสัณฐานและตำหนิ ท่านบอกว่า ถ้าชื่อบุญหลายโยมจะได้เห็นหน้ากันวันนี้แหละ จากนั้นท่านก็ให้พระตามมาพบ พอเจอหน้ากันเท่านั้นแหละโยมพี่ทั้ง 3 ก็ปล่อยโฮอีกยกใหญ่ เพราะเห็นรูปร่างแล้วจนจำเค้าเดิมแทบไม่ได้ เมื่อพูดจาถามข่าวคราวสารทุกข์สุกดิบกันเป็นที่เข้าใจเรียบร้อยแล้ว โยมพี่ทั้ง 3 จึงได้ขอนิมนต์ให้กลับไปอยู่ที่บ้าน ท่านก็รับปากแต่ต้องไปกราบลาครูบาอาจารย์ก่อน ขอให้โยมพี่กลับไปก่อนอาตมาจะกลับทีหลังในเวลาที่เหมาะสมควรต่อไป
    >>>>>กลับคืนบ้านเกิด
    หลังจากออกพรรษา ก็ไปกราบลาครูบาอาจารย์ขอกลับไปเยี่ยมญาติโยมที่บ้านนาเยีย ตามที่ได้รับปากไว้กับโยมพี่ จากนั้นก็เดินทางกลับโดยมีพระผู้เป็นน้องชายของอาจารย์ผัน คือพระผดุงกับโยมอีก 3 คน ติดตามมาส่ง ครั้งแรกเข้าพักที่ป่าช้าบ้านนาเยีย ( ปัจจุบันคือวัดป่าโพธิธรรม) โดยให้โยมทั้ง 3 คนเข้ามาแจ้งข่าวแก่ญาติโยมในบ้าน อยู่ที่นั่นไม่นานชาวบ้านก็ไปนิมนต์ให้มาพักวัดบ้านนาเยีย ซึ่งเป็นวัดฝ่ายมหานิกาย อยู่ที่วัดบ้านนาเยียได้ไม่นานเนื่องจากรู้สึกไม่สบายใจที่มาอยู่วัดบ้านที่เป็นฝ่ายมหานิกาย ตั้งใจว่าพรุ่งนี้จะอำลาญาติโยมไปอยู่ที่วัดภูจำปา ครั้นพอรุ่งเช้ายังไม่ได้ออกรับบิณฑบาต โยมวิเชียร วงศ์คำจันทร์ ซึ่งเป็นชาวบ้านนาเยีย แต่ไปมีครอบครัวที่บ้านร่องคำ มานิมนต์ให้ไปฉันเช้าและเพลที่บ้านร่องคำ ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ตั้งใหม่และยังไม่มีวัด พระที่วัดบ้านนาเยียทั้ง 5 รูป ก็ถูกนิมนต์ไปด้วยกัน พอฉันเพลเสร็จกำลังจะกลับวัดนาเยีย โยมวิเชียรและผู้ใหญ่ขน สมุทรเวช ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านร่องคำ ก็เข้ามานิมนต์ขอให้อยู่จำพรรษาเพื่อโปรดญาติโยมที่นั่นสัก 1 พรรษา ส่วนสถานที่และเสนาสนะชาวบ้านรับรองจะจัดหาให้ แต่ได้บอกบ่ายเบี่ยงแก่ญาติโยมไปว่า อาตมาเพิ่งบวชมาได้แค่พรรษาเดียว ยังไม่ชำนาญในกิจของสงฆ์และวัตรปฏิบัติ แต่ทางผู้ใหญ่บ้านก็คะยั้นคะยอว่า ยังไงก็ขอนิมนต์ให้อยู่เพื่อโปรดญาติโยม จึงจำต้องรับนิมนต์ ทางฝ่ายหลวงปู่บุญเถิง เมื่อทราบข่าวท่านก็เดินทางมาจำพรรษาอยู่ด้วย จนครบ 1 พรรษา อยู่ที่นั่นมีความสงบดี ชาวบ้านร่องคำ ถึงแม้จะเป็นชมชนขนาดเล็ก เป็นหมู่บ้านตั้งใหม่ แต่ชาวบ้านก็มีความสามัคคี มีศรัทธาพระต่อพุทธศาสนามาก ดังจะเห็นจากการร่วมกันสร้างวัดใหม่เป็นการชั่วคราวซึ่งได้ร่วมกันคนละไม้คนละมือ ไม่นานก็เสร็จทันก่อนเข้าพรรษา ตอนเช้ามาร่วมกันทำบุญตักบาตรแทบทุกครัวเรือน พอตกตอนเย็นเล่า ญาติโยมจะจุดไต้ ( ภาษาอีสานเรียกว่ากะบอง ) ใช้จุดให้แสงสว่างส่องนำทางเวลากลางคืน แทนแสงตะเกียงเดินตามกันมาเป็นสายยาวเหยียด เพื่อมาร่วมทำวัตรเย็นและฟังธรรม ทุกวันตลอดพรรษา เป็นอันว่าพรรษาที่ 2 พ.ศ 2528 ที่วัดบ้านร่องคำ
    ขึ้นภูลังกา
    เมื่อหลวงปู่ตัดสินใจจะย้ายที่อยู่ออกไปจากวัดบ้านนาเมืองแล้ว ความตั้งใจก็อยากจะไปตามนิมิตที่หลวงปู่มั่นท่านแนะนำ คือตามภูตามผา ได้ข่าวว่าหลวงปู่เสน เดชา ซึ่งแต่ก่อนท่านเป็นชาวบ้านนาเยียด้วยกัน ได้อพยพครอบครัวไปทำมาหากินที่บ้านใหม่ คือบ้านนาโด อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม เมื่อลูกหลานมีครอบครัว และมีฐานะมั่นคงดีแล้ว ท่านก็ออกบวชอยู่วัดบ้านนาโดนั้นเอง จนกระทั่งท่านมรณภาพ และอีก 2 วัน ข้างหน้านี้จะมีพิธีฌาปนกิจศพ ซึ่งบรรดา-ลูกหลานทางบ้านนาเยียก็คงจะไปร่วมงานนี้ จึงเป็นโอกาสที่หลวงปู่จะขออาศัยไปด้วย โดยรถยนต์ของโยมเจียง ทาตาสุข เมื่อช่วยงานศพของหลวงปู่เสนเสร็จ ทุกขั้นตอนตามประเพณีแล้ว หลวงปู่หมูน ซึ่งพื้นเพเดิมท่านเป็นชาวบ้านโคกนาโก จังหวัดยโสธร ไปบวชอยู่อำเภอเซกา เป็นผู้นำทางขึ้นภูลังกา พอไปถึงก็หนีไม่พ้นงานก่อ-งานสร้างอีก นั่นก็คือ ทางวัดกำลังมีการก่อสร้างอัฐธาตุเพื่อบรรจุอัฐิของอาจารย์วัง ซึ่งมรณภาพไปก่อนหน้านี้ จึงได้ช่วยหลวงปู่ตอง ทำการก่อสร้างอัฐิธาตุ ใช้เวลาก่อ-สร้างอยู่ 42 วัน ก็เสร็จ แต่ยังไม่สมบูรณ์ เพราะยังไม่ได้ฉาบ การไปปฏิบัติธรรมอยู่ภูลังกานั้น กลางวันก็ทำงาน กลางคืนจึงมีเวลาทำสมาธิ บรรยากาศก็เงียบสงบดีอยู่ จึงมีความมุ่งมั่นในการนั่งสมาธิภาวนาอย่างเข้มข้น บางครั้งก็มีเสียงสัตว์รบกวนบ้าง แต่ก็ไม่ถือเป็นอุปสรรคไม่รู้สึกกลัว เพราะได้ศึกษาเรียนรู้จากหลวงปู่ตอง ผู้ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์มาก่อนจะลำบากก็เรื่องน้ำอุปโภคบริโภค แต่ก็ยังดีที่มีแม่ชีอยู่ 2 คนที่ได้ทำหน้าที่ลงมาตักน้ำหาบขึ้นไปให้อาบวันละ 1 เที่ยว นับว่าการอยู่ที่นั่นค่อนข้างจะอัตคัดจึงคิดหาทางย้ายไปยังสถานที่ใหม่ บังเอิญในช่วงนั้นมีชาวบ้านขึ้นไปเที่ยวบนภูลังกา เขาเล่าให้ฟังว่ามีสถานที่แห่งหนึ่งเป็นสัปปายะ เหมาะสำหรับเป็นที่ทำเพียรภาวนาเพราะอยู่ห่างจากชุมชน 3 กิโลเมตร อยู่ริมฝั่งน้ำและเงียบสงบดี คือวัดร้างบ้านนาอ่าง ตำบลนาตาล อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร พอทราบข่าวก็รู้สึกสนใจอยากจะไปอยู่ มีพระบวชใหม่รูปหนึ่งเป็นชาวอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่นขอติดตามไปด้วย จึงพากันออกเดินทางมาอำเภอเซกา-อากาศอำนวยผ่านวัดป่าสุนธาวาส ซึ่งเป็นวัดป่าที่หลวงปู่มั่นเคยจำพรรษาและท่านละสังขารที่นั่นพักอยู่ 2 คืน พอคืนที่ 2 ก็นิมิตเห็นหลวงปู่มั่น ท่านพาไปพักตามโคนต้นไม้ซึ่งก็เป็น 1 ใน 13 ของกิจธุดงควัตร คือ รุกขมูลิกังคะในนิมิตนั้นมีความรู้สึกภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสเดินตามหลวงปู่มั่นไปในที่ต่างๆซึ่งก็ถือว่าท่านเป็นพระอาจารย์ใหญ่สายวิปัสสนา แต่เป็นนิมิตเพียงแค่ระยะสั้นๆเท่านั้น ตอนเช้าก็ออกรับบิณฑบาตตามปกติปรากฏว่า มีญาติโยมออกมาทำบุญตักบาตรกันมากมาย ทราบว่าวันนั้นมีญาติโยมเดินทางมาจากกรุงเทพ เขาตั้งในมาทำบุญทักษิณานุปาทานถวายแด่หลวงปู่มั่นที่วัดป่าสุนธาวาสเป็นการเฉพาะ ......
    หลวงปู่บุญหลาย อัคคจิตโต ละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพานเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2554 เวลา 14.6 น. สิริอายุ 70 ปี 11 เดือน 4 วัน 28 พรรษา >>>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชา ********บูชาที่ 205 บาทฟรีส่งems(>>>>>>รูปที่ 2 คือรูปหลวงปู่เเปลง สุนทโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าอุดมสมพรปัจจุบัน ศิษย์ก้นกุฏิหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ครับ) SAM_7835.JPG SAM_4981.JPG SAM_7183.JPG SAM_7184.JPG SAM_1854.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 สิงหาคม 2020
  10. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 727 เหรียญหน้ายักษ์(พิมพ์รุ่นเเรก ปี 2533)หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสุนทราราม อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร หลวงปู่สิงห์ทองเป็นศิษย์หลวงปู่ดี ฉันโน วัดถํ้าภูพระ เหรียญสร้างปี 2539 เนื้อทองเเดงผิวไฟ(ผิวหิ้งเดิมๆ) สร้างเนื่องหลวงปู่อายุครบ 71 ปี ประวัติย่อๆหลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร
    01345655442_o.jpg?_nc_cat=100&_nc_sid=ca434c&_nc_ohc=RNKn7pIt41kAX8-x7Qu&_nc_ht=scontent.fkkc2-1.jpg
    paragraphparagraphparagraph__11_128.jpg

    ประวัติและปฏิปทา
    พระครูสุนทรศีลขันธ์
    (หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร)
    วัดป่าสุนทราราม (วัดบ้านกุดแห่)
    ตำบลกุดแห่ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
    >>>>>๏ ชาติภูมิ

    “พระครูสุนทรศีลขันธ์” หรือ “หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร” มีนามเดิมว่า สิงห์ทอง ประมูลอรรถ เกิดเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๖๘ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๔ ปีฉลู จุลศักราช ๑๒๘๗ ณ บ้านกลางใหญ่ ต.กลางใหญ่ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายบ่อง และนางอูบ ประมูลอรรถ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๓ คน ท่านเป็นบุตรคนโต มีรายชื่อตามลำดับดังนี้
    (๑) หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร
    (๒) นางรั้ว ประมูลอรรถ
    (๓) นางทองดำ ประมูลอรรถ (แม่ชีทองดำ)
    ก่อนที่ท่านจะมาปฏิสนธิในครรภ์โยมมารดานั้น ในคืนหนึ่งโยมมารดานิมิตฝันว่า มีชายแก่คนหนึ่งเอางาช้างยาวใหญ่สีขาวบริสุทธิ์มามอบให้ แล้วสั่งกำชับว่า “งาช้างนี้เป็นมงคล ขอให้รักษาไว้ให้ดีเพื่อเป็นมรดกของเจ้า ห้ามไม่ให้ผู้ใดใครคนหนึ่งเอาไปเป็นกรรมสิทธิ์อย่างเด็ดขาด” ไม่นานนักโยมมารดาของท่านก็ได้ตั้งครรภ์ และได้พยายามถนอมรักษาครรภ์เป็นอย่างดี จนครบทศมาส ๑๐ เดือนแล้วคลอดออกมา เมื่อถึงเวลาคลอดตามปกติของผู้มีบุญญาบารมี แต่โบราณว่าไว้จะผิดธรรมชาติ นั่นคือเวลาคลอดท่านเอาก้นหรือขาออกมาก่อน เป็นที่ลำบากของโยมมารดาอย่างยิ่ง เมื่อคลอดออกมาได้โยมมารดาเจ็บปวดอย่างหนักแทบขาดใจถึงกลับสลบไป ผู้เฒ่าผู้แก่ต้องเอาผ้าถุงมาพัดโบกให้จนฟื้นเป็นปกติ หมอตำแยได้ตัดสายรกสายสะดือ ล้างเช็ดตัวให้สะอาด เอาไปวางนอนในกระด้ง หลังจากนั้นโยมบิดา-โยมมารดาก็เลี้ยงดูด้วยความรักตลอดมา โดยมี “โยมป้าตาล” เป็นผู้อุปการะดูแลเปรียบเสมือนโยมมารดาอีกคนหนึ่ง เมื่อท่านอายุได้ ๒ ขวบโยมป้าตาลก็ตายจากไป โยมบิดา-โยมมารดาจึงได้เลี้ยงดูจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่
    ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ โยมบิดา-โยมมารดาได้อพยพย้ายครอบครัวมาอยู่บ้านกุดแห่ ต.กุดเชียงหมี อ.เลิงนกทา จ.อุบลราชธานี (จ.ยโสธร ในปัจจุบัน) เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ดี
    >>>>>>๏ การบรรพชาและอุปสมบท
    ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ เมื่ออายุ ๑๙ ปี ท่านได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสำราญนิเวศ (พระอารามหลวง) ต.บุ่ง อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี (อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ ในปัจจุบัน) โดยมี พระครูทัศนวิสุทธิ์ (พระมหาดุสิต เทวีโร) เป็นพระอุปัชฌาย์
    หลังจากบรรพชาแล้ว ได้มาจำพรรษาอยู่กับ พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ณ วัดป่าสุนทราราม ต.กุดแห่ อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร เป็นเวลา ๑ ปี แล้วก็ได้ลาสิกขามาประกอบอาชีพเลี้ยงดูโยมบิดา-โยมมารดา และน้องสาวทั้งสอง เพราะโยมบิดาป่วยด้วยโรคเรื้อรัง โรคหืด ครั้นเมื่อน้องสาวทั้งสองของท่านมีครอบครัว ท่านได้มอบสมบัติให้น้องๆ ไปทั้งหมด แล้วท่านก็ออกไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุตามคำสั่งของพระอาจารย์ดี ฉนฺโน
    นิมิตก่อนที่หลวงปู่สิงห์ทองท่านจะตัดสินใจออกบวช มีความดังนี้ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ คืนหนึ่งท่านได้ฝันไปว่า มีผู้เฒ่าผมขาวทั่วหัวถือฆ้อนกระบองเพชรมีหนาม ไล่ตามหมายจะเอาชีวิตท่าน ท่านก็วิ่งหนีตั้งแต่บ้านของท่านจนถึงนานายแปลง ห้วยหินลับ วิ่งไล่กันขึ้นไปบนเถียงนา ท่านก็กระโดดจากเถียงนาหนีไปหลบซ่อนที่กองฟาง ผู้เฒ่าคนนั้นหาไม่เจอจึงไปถามนายเผย คูณศรี เพื่อนของท่านว่า “แกเห็นเซียงสิงห์ทองวิ่งมาทางนี้ไหม” นายเผยตอบว่า “ไม่เห็น” ผู้เฒ่าคนนั้นจึงเดินไปอีกทาง ส่วนท่านพอผู้เฒ่าไปแล้วก็วิ่งหนีกลับบ้านด้วยความกลัว จนสะดุ้งตื่นขึ้นมาด้วยความรู้สึกกลัวอยู่ เหนื่อยจนหายใจหอบ
    เมื่อตั้งสติได้ ท่านก็ได้สวดมนต์ไหว้พระ ระลึกถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เมตตาพรหมวิหาร ๔ แล้วตั้งใจนั่งสมาธิ ตั้งแต่เวลาประมาณตีสองจนถึงเช้า พอสายท่านได้ไปกราบนมัสการเพื่อขอรดน้ำมนต์กับพระอาจารย์ดี ฉนฺโน ทำให้รู้สึกสบายใจขึ้น จากนั้นจึงได้พิจารณาถึงความตาย ว่าสัตว์ทั้งหลายหนีไม่พ้น ดังเพื่อนๆ หลายคนที่ได้ตายลงไป จึงมีความคิดที่จะออกบวช
    และในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ท่านได้ฝันว่าตัวเองถึงแก่ความตาย ร่างถูกบรรจุลงโลงถูกหามจะนำไปเผาที่วัดป่าสุนทราราม มีผู้ชาย ๔-๕ คนหามไป ไม่มีพระมาสวดมาติกาบังสกุลเลย หามเวียนรอบกองฟอนครบสามรอบ ก็ยกโลงศพวางบนกองฟอนใกล้ต้นมะตูม วิญญาณของท่านออกจากร่างไปอยู่บนกิ่งต้นมะตูม แล้วมองดูร่างของท่านซึ่งกำลังถูกเผาไหม้ ท่านร้องตะโกนบอกว่า “สูเอากูมาเผา แต่กูไม่ร้อนดอก” แต่ไม่มีใครพูดตอบ ชายเหล่านั้นก็กลับบ้านไป ปล่อยให้ท่านอยู่เพียงคนเดียว ท่านจึงลงมาดูศพของท่านที่ถูกเผาจนหมด ไฟก็ดับมอดลง ในกองฟอนเหลือแต่เถ้ากับกระดูก จึงคิดตรองว่าจะทำอย่างไรดี ทันใดนั้นก็คิดว่าเราจะเอากระดูกมาปั้นเป็นรูปพระ จึงหาเอาครกกับสากมาบดตำให้ละเอียด เอาน้ำสะอาดมาผสม แล้วปั้นเป็นรูปพระ เมื่อปั้นเสร็จไม่รู้จะเอาไปไว้ที่ไหน คงต้องทิ้งลงกองฟอนอีกเป็นแน่ แต่แล้วท่านก็สะดุ้งตื่นจากฝัน เมื่อตั้งสติได้จึงแปลความฝันว่า เราคงตายจากเพศคฤหัสถ์แน่ คงได้อุปสมบทเร็ววันนี้เป็นแน่แท้
    ครั้นมีอายุ ๒๖ ปี ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ ณ อุโบสถวัดป่าสุนทราราม โดยมี พระครูภัทรคุณาธาร เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ก็อยู่ศึกษากับพระอาจารย์ดี ฉนฺโน และเป็นพระอุปัฏฐากรับใช้ตลอดมา
    พระครูวิมลสีลาภรณ์ (หลวงปู่เนย สมจิตฺโต) วัดป่าโนนแสนคำ ต.เจริญศิลป์ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ เขตวิสุงคามสีมาวัดป่าสุนทราราม (วัดบ้านกุดแห่) จ.ยโสธร เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยมีพระครูภัทรคุณาธาร (บุญ โกสโล ป.ธ.๔) วัดพรหมวิหาร ต.สวาท อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสุนทรศีลขันธ์ (พระอาจารย์สิงห์ทอง ปภากโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระสมุห์อุ้ย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว หลวงปู่เนยท่านได้เข้ารับฟังธรรมจากพระอาจารย์ดี ฉนฺโน เจ้าอาวาสวัดป่าสุนทราราม (วัดบ้านกุดแห่) ในขณะนั้น อยู่เป็นสม่ำเสมอและบ่อยๆ

    268_1242818991.jpg_376.jpg
    พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ผู้เป็นพระอาจารย์

    paragraph__144.jpg
    พระครูวิมลสีลาภรณ์ (หลวงปู่เนย สมจิตฺโต ผู้เป็นลูกศิษย์หลวงปู่สิงห์ทอง ................ >>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ******บูชาที่ 305 บาทฟรีส่งems( อนึ่ง.....หลวงปู่สิงห์ทองผมสำหรับตัวผมเองถือเป็นพระอาจารย์ผมรูปหนึ่ง ที่ผมเคารพมากม๊ากครับ ผมไปถวายนวดรับใช้เเละสรงนํ้าบ่อยมาก ตอนนี้ท่านอาพาธรักษาตัวที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขอนเเก่นครับ) SAM_7181.JPG SAM_7182.JPG SAM_2209.JPG







     
  11. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 728 เหรียญรุ่น 2 หลวงปู่ประไพ อัคคธัมโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าอรรคธรรมมาราม อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม หลวงปู่เป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร ,เเละหลวงปู่ผาง วัดอุดมคีรีเขตอำเภอมัญจาคีรี จ.ขอนเเก่น เหรียญสร้างปี 2552 เนื้อทองเเดงรมดำ สร้างเนื่องจากหลวงปู่อายุครบ 84 ปี ชาติภูมิ นามเดิมมีชื่อว่า นายประไพ ไชยพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 3 พ.ค.2468 ณ บ้านขามเตี้ยน้อย อ.ท่าอุเทน (ปัจจุบัน อ.โพนสวรรค์) มีบิดา-มารดาชื่อนายไสย ไชยพันธุ์ อดีตกำนัน ต.นาขมิ้นและนางสั้น แผ่นพรหม มีพี่น้อง 7 คน ซึ่งท่านเป็นบุตรคนที่ 2 จบชั้นประถมปีที่ 2 จากโรงเรียนในหมู่บ้าน มีอาชีพทำนาทำสวน
    หลวงปู่ประไพเข้าสู่ร่มกาวสาวภัสตร์ เมื่อปีพ.ศ.2492 ในวัย 24 ปี ก่อนจะญัตติเป็นพระธรรมยุต เมื่อวันที่ 31 ธ.ค.2495 ท่านเดินธุดงค์ที่ จ.ขอนแก่น นาน 3 ปี ก่อนฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ผาง และออกเดินธุดงค์ไปเรื่อย กระทั่งสังขารย่างเข้าสู่วัยชรา จึงมาจำพรรษาที่วัดศรีประไพวนารามบ้านเกิด >>>>>>ประวัติหลวงปู่ประไพ อัคคธัมโม ในการสร้างวัดต่างๆเป็นต้น ดังนี้
    1.วัดโนนศิลา (เดิมชื่อวัดไพรศิลา)
    บ้านหนองหว้า ต.ช่องสามหมอ อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ
    2.วัดป่าห้วยพระ
    เป็นวัดแรกใน จ.นครพนมที่ท่านจำพรรษาและสร้างเสนาสนะด้วยตัวท่านเอง)
    3.วัดป่าศรีประไพวนาราม
    (วัดป่าขามเตี้ยน้อย บ้านขามเตี้ยน้อย เป็นถิ่นฐานบ้านเกิดของหลวงปู่ )
    4.วัดป่ากุดกุ่มน้อย ( บ้านกุดกุ่มน้อย )
    5.วัดป่าภูเงิน
    ( ชื่อเดิมภูกำพร้า บ้านโพธิ์ทอง อ.โพนสวรรค์ )
    6.วัดป่าโนนสาวเอ้ บ้านโคกก่อง อ.โพนสวรรค์
    7.วัดป่าโพนบก
    (วัดป่าหลวงปู่ประไพพัฒนาราม บ้านโพนบก )
    8.วัดป่าขามเตี้ยใหญ่
    (วัดป่าวังมน บ้านขามเตี้ยใหญ่ ต.นาขมิ้น)
    9.วัดป่าอรรคธรรมาราม
    (วัดป่าบ้านอ้อ ต.นาขมิ้น อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม )
    10.วัดป่าแก้วมณี
    บ้านหนองโสน ต.โพนสวรรค์
    (แม่ชีกาบ้านหนองโสนพร้อมลูกหลานพี่น้องได้ถวายที่ดินสร้างวัดเมื่อปี พ.ศ.2552 หลวงปู่ตั้งชื่อวัดให้แต่หลวงปู่ไม่ได้ไปจำพรรษา หลวงปู่ยังคงอยู่จำพรรษาที่วัดป่าอรรคธรรมาราม และได้ให้พระจากวัดศรีเทพประดิษฐาราม จ.นครพนม ไปจำพรรษา ๑ รูป )
    11.วัดป่าเพชรประไพ
    บ้านต้าย ต.โพนจาน อ.โพนสวรรค์ (คุณโยมหนูลาและคุณโยมเพชรประไพชาวบ้านต้ายได้ถวายที่ดินสร้างวัดเมื่อปี พ.ศ.2555 และได้ขอลูกศิษย์หลวงปู่จากวัดป่าอรรคธรรมาราม บ้านอ้อ ไปจำพรรษาหนึ่งรูป )
    12.วัดป่าห้วยหินกอง
    (ป่าช้าบ้านดง ต.นาขมิ้น อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม
    ได้ลูกศิษย์ไปจำพรรษาหนึ่งรูป )
    ช่วงปี พ.ศ.2555 ขณะหลวงปู่จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าอรรคธรรมาราม บ้านอ้อ หลวงปู่เริ่มมีสุขภาพร่างกายไม่ค่อยแข็งแรงบ่อยครั้งเพราะความชราภาพ จนเมื่อช่วงเข้าพรรษา ได้เข้ารับการตรวจรักษาจากโรงพยาบาลนครพนมและได้ทำการส่งตรวจโรคอย่างละเอียดที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น ขณะที่หลวงปู่ได้รักษาตัวและทำการพักฟื้นที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์นี้ได้มีบรรดาแพทย์ พยาบาลและญาติโยมเป็นจำนวนมากเข้าเยี่ยมและรับฟังธรรมะจากหลวงปู่ในแต่ละวันมิได้ขาด หลวงปู่ท่านก็มีเมตตาให้ธรรมะ
    เสมอๆ บ่งบอกถึงความมีเมตตาต่อบรรดาลูกศิษย์ทุกคนโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ซึ่งเป็นคุณธรรมที่ทุกคนสำผัสได้จากองค์หลวงปู่ประไพ
    หลังจากออกจากโรงพยาบาลศรีนครินทร์
    ลูกหลานหลวงปู่จึงกราบนิมนต์ท่านไปจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าศรีประไพวนาราม บ้านขามเตี้ยน้อย ซึ่งเป็นถิ่นฐานบ้านเกิดของท่าน เพื่อความสะดวกในการดูแลอย่างใกล้ชิดจากพระอุปัฏฐากซึ่งเป็นหลานแท้ๆขององค์หลวงปู่ประไพ
    ปัจจุบันนี้ (พ.ศ.2559)หลวงปู่ประไพ อัคคธัมโม ท่านอายุได้ 91 ปี พรรษาที่ 64 อยู่ประจำที่วัดป่าศรีประไพวนาราม ในแต่ละวันจะมีลูกศิษย์ทั่วทุกสารทิศ แวะเวียนมากราบนมัสการท่านมิขาดสาย เพราะหลวงปู่มีนิสัยอ่อนโยน โอบอ้อมอารี ยิ้มแย้มแจ่มใส มีเมตตากับทุกคนอย่างเห็นได้ชัด มักจะสอนหลักธรรมสั้นๆเข้าใจง่าย บ่อยครั้งท่านจะยกเรื่องราวสมัยพุทธกาลเพื่อให้เรารู้บาปบุญ รู้ศีล รู้ธรรม และอุบายการเจริญจิตภาวนาเป็นการกระตุ้นให้พวกเราได้มีกำลังใจในการปฏิบัติภาวนาเพื่อความหลุดพ้น ดังคำที่หลวงปู่ท่านพูดอยู่บ่อยๆกับทุกคนว่า
    คติธรรมของหลวงปู่ “ แยกกาย แยกจิต
    ถอนใจออกโลก ไม่ติดในโลก
    เลิกเป็นหญิง เลิกเป็นชาย
    เลิกเกิด เลิกตาย หายโง่ ”
    " ห่วงหลายทุกข์หลาย
    ห่วงน้อยทุกข์น้อย
    บ่ห่วงเลย ก็บ่ทุกข์เลย
    หมดทุกข์ "

    ท่านเป็นพระป่าปฏิบัติดีปฏิบัติชอบด้วยจริยาวัตรที่งดงาม เป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธาแก่สาธุชนทั่วไป จนมีลูกศิษย์ลูกหาที่แวะเวียนไปกราบไหว้ไม่เว้นวัน ช่วงที่ท่านอาพาธท่านงดรับกิจนิมนต์ ขณะที่ท่านอาพาธอยู่ที่วัดที่จำพรรษานานกว่า 2 ปี ท่านไม่เคยเข้ารักษาที่โรงพยาบาลแต่อย่างใด กระทั่งละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพานลงอย่างสงบที่กุฏิ สิริอายุ 92 ปี 64 พรรษา >>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ *******บูชาที่ 255 บาทฟรีส่งems SAM_1894.JPG SAM_3009.JPG SAM_7185.JPG SAM_7186.JPG SAM_2147.JPG
     
  12. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 729 เหรียญรุ่น 2 หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป พระอรหันต์เจ้าวัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี เหรียญสร้างปี 2518 เนื้อองเเดงรมดำ 4dqpjutzluwmjzy369efpjbuvx60ree5idwyekmslgol-jpg.jpg
    พระอุดมญาณโมลี หรือหลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป อายุ 105 ปี ประวิติพอสังเขป sam_7096-jpg.jpg
    “หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป” หรือ “พระอุดมญาณโมลี” เป็นพระมหาเถระสายพระป่ากรรมฐานศิษย์ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺตมหาเถระ แม่ทัพธรรมแห่งอีสานฝ่ายวิปัสสนาธุระ, เป็นพระผู้มากด้วยเมตตาที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา
    หลวงปู่จันทร์ศรี มีนามเดิมว่า จันทร์ศรี แสนมงคล เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2454 ตรงกับวันอังคาร แรม 3 ค่ำ เดือน 11 ปีกุน ณ บ้านโนนทัน ต.โนนทัน อ.เมือง จ.ขอนแก่น โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายบุญสาร และนางหลุน แสนมงคล ก่อนที่โยมมารดาจะตั้งครรภ์ ในคืนวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 นั้น ฝันเห็นพระ 9 รูป มายืนอยู่ที่ประตูหน้าบ้าน พอรุ่งขึ้นตรงวันขึ้น 15 ค่ำ เพ็ญเดือน 3 ซึ่งเป็นวันมาฆบูชา ได้เห็นพระกัมมัฏฐาน 9 รูปมาบิณฑบาตยืนอยู่หน้าบ้าน จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงรีบจัดภัตตาหารใส่ภาชนะ ไปนั่งคุกเข่าประนมมือตรงหน้าพระเถระผู้เป็นหัวหน้า ยกมือไหว้ แล้วใส่บาตรจนครบทั้ง 9 รูป แล้วนั่งพับเพียบประนมมือกล่าวขอพรว่า “ดิฉันปรารถนาอยากได้ลูกชายสัก 1 คน จะให้บวชเหมือนพระคุณเจ้าเจ้าค่ะ”
    พระเถระก็กล่าวอนุโมทนา หลังจากนั้นอีก 1 เดือน นางหลุน แสนมงคล ก็ได้ตั้งครรภ์ และต่อมาก็คลอดบุตรชายรูปงามในวันอังคารที่ 10 ตุลาคม พุทธศักราช 2445 หลวงปู่ได้ละสังขารเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2559 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เวลา 20.00 น. สิริอายุ 105 ปี 85 พรรษา
    ด.ช.จันทร์ศรี แสนมงคล มีแววบวชเรียนตั้งแต่เมื่อครั้งเยาว์วัย ด้วยโยมบิดา-โยมมารดาได้พาไปใส่บาตรพระทุกวัน จนเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา ในบางครั้ง ด.ช.จันทร์ศรี จะนำเด็กรุ่นราวคราวเดียวกันทั้งชายและหญิง 7-8 คน ออกไปเล่นหน้าบ้าน โดยตนเองจะเล่นรับบทเป็นพระภิกษุเป็นประจำ
    อายุได้ 8 ขวบ โยมบิดาเสียชีวิตลง จนอายุได้ 10 ปี โยมมารดาจึงนำไปฝากไว้กับเจ้าอธิการเป๊ะ ธัมมเมตติโก เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรี, เจ้าคณะตำบลโนนทัน และเป็นครูสอนนักเรียนโรงเรียนประชาบาล โดยรับไว้เป็นลูกศิษย์ใกล้ชิด อยู่รับใช้ได้เพียง 1 เดือน เจ้าอธิการเป๊ะนำเด็กชายเข้าเรียนภาษาไทย ตั้งแต่ชั้น ประถม ก.กา จนจบชั้นประถมบริบูรณ์ เจ้าอธิการเป๊ะเห็นว่ามีความสนใจในทางสมณเพศ จึงได้ให้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2468 ณ วัดโพธิ์ศรี บ้านศิลา ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น
    ระหว่างปี พ.ศ.2468-2470 สามเณรจันทร์ศรี หมั่นท่องทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำ สวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน และพระสูตรต่างๆ จนชำนาญ อีกทั้งได้ศึกษาอักษรธรรม อักษรขอม อักษรเขมร จนอ่านออกเขียนได้คล่องแคล่ว แล้วมาฝึกหัดเทศน์มหาชาติชาดกทำนองภาษาพื้นเมืองของภาคอีสาน แล้วอยู่ปฏิบัติธรรมถึง 3 ปี
    จากนั้นได้ร่วมเดินทางกับ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ และพระอาจารย์ลี สิรินฺธโร ออกไปแสวงหาความสงัดวิเวกตามป่าเขา และพักตามป่าช้าในหมู่บ้านต่างๆ เพื่อเข้ากรรมฐานและศึกษาอสุภสัญญา ปฏิบัติธุดงควัตร 13 ตามแบบพระบูรพาจารย์สายพระป่ากรรมฐานอย่างเคร่งครัด
    ครั้นต่อมาได้ขึ้นไปแสวงหาวิโมกขธรรมบนภูเก้า อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู เลยขึ้นไปที่ถ้ำผาปู่ จ.เลย วัดป่าอรัญญิกาวาส อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี พักที่วัดหินหมากเป้ง และได้เดินทางข้ามแม่น้ำโขงไปนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว พักที่โบสถ์วัดจันทน์ 7 วัน แล้วกลับมาหนองคายแล้วเข้าอุดรธานี
    ครั้นเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ พัทธสีมาวัดศรีจันทร์ (วัดศรีจันทราวาส) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2474 โดยมี พระครูพิศาลอรัญญเขต (จันทร์ เขมิโย ป.ธ. ๓) เจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดขอนแก่น และเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ (วัดศรีจันทราวาส) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญญาพโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีพระอาจารย์กรรมฐานจำนวน 25 รูปนั่งเป็นพระอันดับ ท่านได้รับนามฉายาว่า “จนฺททีโป” อันมีความหมายเป็นมงคลว่า “ผู้มีแสงสว่างเจิดจ้าดั่งจันทร์เพ็ญ”
    อุปสมบทได้เพียง 7 วัน ท่านก็ได้ติดตาม พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี พระกรรมฐานผู้เคร่งวัตรปฏิบัติแห่งวัดหินหมากเป้ง ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย และ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ศิษย์สายกรรมฐานท่านพระอาจารย์มั่น เจ้าสำนักวัดป่านิโครธาราม ต.หมากหญ้า อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี เดินรุกขมูลคืออยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร ซึ่งเป็นหนึ่งในธุดงควัตร 13 ตั้งแต่เดือนมกราคมไปจนกระทั่งถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.2475 ก่อนกราบลาหลวงปู่เทสก์เพื่อขอไปศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรมต่อ
    ๏ การศึกษาพระปริยัติธรรมและงานด้านการศึกษา
    พ.ศ.2474 สอบได้นักธรรมชั้นตรีได้ในสนามหลวง คณะจังหวัดขอนแก่น
    พ.ศ.2475 สอบนักธรรมชั้นโทได้ในสนามหลวง คณะจังหวัดขอนแก่น
    พ.ศ.2477 สอบนักธรรมชั้นเอกได้ในสนามหลวง สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    พ.ศ.2480 สอบเปรียญธรรม 3 ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    พ.ศ.2485 สอบเปรียญธรรม 4 ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    พ.ศ.2484 เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) สมเด็จพระสังฆราชเจ้าวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ทรงมีบัญชาให้ไปเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและบาลี ณ สำนักเรียนวัดป่าสุทธาวาส ต.พระธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร
    ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ.2484 ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺตมหาเถระ ได้ไปพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร เป็นเวลา 15 วัน ทำให้หลวงปู่จันทร์ศรีได้มีโอกาสใกล้ชิดกับท่านพระอาจารย์มั่นชั่วระยะเวลา หนึ่ง ถือเป็นกำไรแห่งชีวิตอันล้ำค่า
    พ.ศ.2475 ท่านได้กลับมาอยู่จำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อศึกษาเปรียญธรรม 5 ประโยค
    พ.ศ.2486 เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) ทรงมีบัญชาให้ไปเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและบาลี เปรียญธรรม 3-4 ประโยค ณ สำนักเรียนวัดธรรมนิมิตร ต.บางแก้ว อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม เป็นเวลานานถึง 10 ปี
    ๏ ตำแหน่งงานปกครองคณะสงฆ์
    หลังจากจบเปรียญธรรม 4 ประโยคแล้ว ท่านได้ช่วยเหลืองานพระศาสนา โดยเมื่อปี พ.ศ.2486 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดธรรมนิมิตร ต.บางแก้ว อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม
    ต่อมาวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2497 เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) ก็ทรงมีพระบัญชาให้มาอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี เพื่อทำศาสนกิจคณะสงฆ์ เนื่องจาก พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) มีอายุเข้าปูนชรา โดยแต่งตั้งให้เป็นรองเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ และในปีเดียวกันก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี (ธรรมยุต) อีกตำแหน่งหนึ่ง
    พ.ศ.2498 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ประเภทวิสามัญ และในปีเดียวกันก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี (ธรรมยุต) อีกตำแหน่งหนึ่ง
    พ.ศ.2505 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ วัดราษฎร์
    พ.ศ.2507 โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ และในปีเดียวกันท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ พระอารามหลวงชั้นตรี
    พ.ศ.2519 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองเจ้าคณะภาค (ธรรมยุต) และรักษาการเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี
    พ.ศ.2522 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะจังหวัดหนองคายและจังหวัดสกลนคร
    พ.ศ.2531 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะภาค 9 (ธรรมยุต) และเจ้าคณะภาค 9 (ธรรมยุต)
    รวมทั้ง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษามหาเถรสมาคม (มส.)
    หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป ( พระอุดมญาณโมลี )พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป)
    ถ่ายภาพอยู่ด้านหน้า “พระบรมธาตุธรรมเจดีย์” วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี
    ๏ ลำดับสมณศักดิ์
    พ.ศ.2475 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกที่ พระครูสิริสารสุธี
    พ.ศ.2498 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสิริสารสุธี
    พ.ศ.2505 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชเมธาจารย์
    พ.ศ.2517 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเมธาจารย์
    วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2533 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมบัณฑิต
    วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2544 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองหิรัญบัฏ หรือรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระอุดมญาณโมลี นับเป็นพระมหาเถระฝ่ายธรรมยุตรูปแรกที่อยู่ส่วนภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้รับการสถาปนาเป็นพระราชาคณะชั้น “รองสมเด็จพระราชาคณะ”
    รวมทั้ง ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 9 (ธรรมยุต)
    ๏ งานด้านสาธารณสงเคราะห์
    ท่านได้ให้ทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนที่มีฐานะยากจน เรียนดี และมีความประพฤติดี ปีละ 40 ทุน ทุนละ 1,000 บาท ให้รางวัลแก่พระภิกษุ-สามเณรที่สามารถสอบไล่ได้บาลีชั้นประโยค 1-2-เปรียญธรรม 3 ประโยค เป็นประจำทุกปี รูปละ 500 บาท ส่วนครูรูปละ 1,000 บาท
    แม้จะมีพรรษายุกาลมาก แต่ยังคงปฏิบัติกิจของสงฆ์และปฏิบัติธรรมอย่างคร่ำเคร่ง บิณฑบาตโปรดเวไนยสัตว์อย่างต่อเนื่อง จนศิษยานุศิษย์ขอร้องให้หยุดบิณฑบาต เนื่องจากเคยโดนวัยรุ่นซิ่งรถจักรยานยนต์ชนมาแล้ว ข้อวัตรนี้ชาวอุดรธานีทราบชัดดี และที่สำคัญท่านเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรชาวอุดรธานีอย่างแท้จริง ไม่เคยขาดงานนิมนต์ ไม่ว่าจะไกลหรือใกล้ ไม่เคยทอดธุระ ซึ่งท่านยึดเป็นหลักในการปฏิบัติเสมอที่ว่า
    “กยิรา เจ กยิราเถนํ” แปลว่า “ถ้าจะทำการใด ให้ทำการนั้นจริงๆ ทุกสิ่งทุกอย่างถ้ามีความขยันหมั่นเพียร สิ่งนั้นต้องสำเร็จตามความตั้งใจจริง”
    นับได้ว่าหลวงปู่เป็นพระมหาเถระที่ประชาชนชาวจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดใกล้ เคียง ให้ความเคารพศรัทธามาก ไม่น้อยกว่าพระบูรพาจารย์สายพระป่ากรรมฐานแต่เก่าก่อน ทุกวันนี้หลวงปู่จันทร์ศรีท่านยังมีความจำเป็นเลิศ แม้อายุย่างเข้าวัยชรา แต่ยังจำเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีตได้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะเมื่อเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง หลวงปู่จะบอกชื่อคน วันเวลา ได้อย่างละเอียดเป็นที่น่าอัศจรรย์
    สิ่งสำคัญในชีวิตหลวงปู่ คือการมีโอกาสได้ปฏิบัติใกล้ชิดกับพระเถระผู้ใหญ่ อาทิ เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ, สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) วัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน กรุงเทพฯ, ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺตมหาเถระ, พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นต้น
    ดังนั้น หลวงปู่จึงมีความรอบรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งในเมือง ในราชสำนัก ในสำนักพระกรรมฐาน และธรรมเนียมชาวบ้านเป็นอย่างดี หลวงปู่จันทร์ศรีเป็นหลวงปู่ใจดีของลูกหลานญาติโยม โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ไม่ยึดติดลาภสักการะ และไม่ยึดติดในบริวาร ชีวิตของหลวงปู่สมถะเรียบง่าย เป็นอยู่อย่างสามัญ แม้ท่านจะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการปกครองคณะสงฆ์ แต่หลวงปู่ก็ไม่ทิ้งการปฏิบัติกัมมัฏฐาน >>>>>>>
    มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล ********บูชาที่ 265 บาทฟรีส่งems SAM_7155.JPG SAM_7156.JPG SAM_1627.JPG
     
  13. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    *******สมาชิกที่สนใจ โอนเข้าบัญชีธนาคาร กรุงเทพ สาขาบ้านเเพง เลขบัญชีที่ 496-055842-9,ธนาคาร กรุงไทย สาขาบิ๊กซี ลำพูน เลขบัญชี 854-0-31280-8,ธนาคาร กสิกรไทย สาขาเสนา เลขที่บัญชี 016-3-45911-6, ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเสนา เลขที่บัญชี 770-270878-6 ขอขอบคุณครับ
     
  14. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 730 เหรียญลายกนกรุ่น ปัญญา อิทธิฤทธิ์หลวงตาสมหมาย อัตตมโน พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสันติกาวาส อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี (ด้านหลังเหรียญเป็นรูปพระโมคคัลลานะเเละรูปพระสารีบุตร อัคารสาวกซ้าย,ขวา พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน เนื้อทองเเดงผิวไฟ มีตอกโค๊ต ส หน้าเหรียญ เหรียญใหม่ไม่เคยใช้ >>>>>>ประวัติย่อพอสังเขป : หลวงพ่อสมหมาย อตฺตมโน
    วัดป่าสันติกาวาส จ.อุดรธานี
    “หลวงพ่อสมหมาย อตฺตมโน” หรือ “พระครูเมตตากิตติคุณ” เป็นพระผู้ใหญ่ที่ชาวบ้านชาวเมืองอุดรธานี กราบไหว้ยกย่องนับถือในวัตรปฏิบัติและปฏิปทา รวมทั้ง การเทศนาสอนธรรมกัมมัฏฐานแก่ญาติโยม
    ท่านบริหารจัดการวัดตามแนวของหลวงปู่บุญจันทร์ กมโล อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าสันติกาวาส ด้วยการสร้างศรัทธาปสาทะให้ญาติโยมรอบวัดเลื่อมใสก่อน ส่วนการปฏิบัติธรรมได้ยึดตามแนวหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต คำเทศนาหรือบทธรรมของท่าน ส่วนใหญ่จะเน้นในเรื่องหลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ภัยในชีวิตประจำวันของ ผู้คน
    หลวงพ่อสมหมาย อตฺตมโน มีนามเดิมว่า สมหมาย จันทรรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ตรงกับวันศุกร์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๘ ปีขาล ณ บ้านไชยวาน ต.ไชยวาน อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายขันตี และนางสุดี จันทรรักษ์ ปัจจุบัน สิริอายุได้ ๖๙ พรรษา ๔๙ (พ.ศ.๒๕๖๒)
    ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าสันติกาวาส บ้านหนองตูม ต.ไชยวาน อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี
    หลวงพ่อสมหมาย อตฺตมโน ( พระครูเมตตากิตติคุณ )
    >>>>>ชีวิตปฐมวัย
    ในวัยเด็กมีอุปนิสัยใฝ่ทางธรรม ครั้งหนึ่งได้มีโอกาสพบกับ หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล (พระครูศาสนูปกรณ์) พระภิกษุชื่อดังสายธรรมพระกัมมัฏฐานของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้ออกเดินธุดงค์มาสร้างวัดป่าสันติกาวาส ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๓ เพื่ออบรมสั่งสอนคณะศรัทธาญาติโยมในพื้นที่ให้สนใจการปฏิบัติภาวนา โดยได้ติดตามโยมบิดาไปฟังเทศน์จากหลวงปู่บุญจันทร์ แล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง
    ลวงพ่อสมหมาย อตฺตมโน ( พระครูเมตตากิตติคุณ )
    >>>>>>การบรรพชาและอุปสมบท
    พออายุ ๑๒ ขวบ โยมบิดาได้ล้มป่วย และต่อมาได้เสียชีวิตลง ทำให้ท่านเกิดความปลงตกในชีวิต เบื่อหน่ายทางโลก จิตใจขอมุ่งแสวงหาทางธรรมเพื่อความหลุดพ้น จึงได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๗ ณ วัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชเมธาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์
    ครั้นเมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๓ ณ พัทธสีมาวัดอัมพวัน (วัดม่วง) ต.หนองหาร อ.หนองหาร จ.อุดรธานี โดยมี หลวงปู่ทัน ปภสฺสโร เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงปู่พวง สุวีโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ หลวงปู่บุญมาก อุตฺตโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “อตฺตมโน” ซึ่งแปลว่า “มีใจของตน คือมีจิตยินดีแล้ว”
    หลวงพ่อสมหมาย อตฺตมโน ( พระครูเมตตากิตติคุณ )
    >>>>>อุปัฏฐากหลวงปู่บุญจันทร์ กมโล
    ภายหลังอุปสมบทแล้ว ท่านได้ทำหน้าที่อุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล ณ วัดป่าสันติกาวาส จ.อุดรธานี มาโดยตลอด ต่อมาได้เดินทางออกไปปฏิบัติธุดงค์หลายแห่งด้วยเท้าเปล่า และมีโอกาสได้ไปกราบ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ณ วัดป่าบ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี ครั้นเมื่อเดินทางกลับมาอยู่ที่วัดป่าสันติกาวาส ท่านมีหน้าที่อุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่บุญจันทร์มาโดยตลอดเช่นเดิม
    กระทั่งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕ หลวงปู่บุญจันทร์อาพาธเป็นวัณโรคกระดูก รักษาตัวอยู่ที่ตึก ๗๒ ปี โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ ด้วยการทำหน้าที่การอุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่บุญจันทร์ ขณะอยู่โรงพยาบาลหลังการผ่าตัด ทำให้หลวงพ่อสมหมายได้พิจารณาธรรมหลายอย่าง ได้เห็นทุกข์ ความเปลี่ยนแปลงของสังขาร ได้อุบายธรรมจากการเจ็บป่วย อุบายธรรมดังกล่าวได้น้อมเข้ามาให้เห็นทุกข์ของสังขาร เกิด แก่ เจ็บ ตาย รู้สึกเข้าใจสังขาร รูป กาย จิต อย่าไปสำคัญมั่นหมายหลงตัวเอง หลงว่าเป็นของเรา จึงเกิดทุกข์วุ่นวายเดือดร้อน
    หลวงพ่อสมหมาย มีความรู้สึกผูกพันกับหลวงปู่มาก ช่วงหนึ่งหลังจากบวชพระได้ ๘-๙ ปี มีพระอาจารย์รูปหนึ่งมาคุยกับหลวงปู่ ท่านบอกว่าต่อไปจะมอบให้ท่านสมหมายดูแลรับผิดชอบวัดป่าสันติกาวาส
    อยู่ต่อมา เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐ มีเหตุบังเอิญต้องออกไปสร้างวัดป่าโนนม่วง (วัดโคกใหญ่) รวมทั้งได้อบรมสั่งสอนคณะศรัทธาญาติโยมในพื้นที่ให้เลิกไหว้ผี และหันมานับถือพระพุทธศาสนา
    หลวงพ่อสมหมาย อตฺตมโน ( พระครูเมตตากิตติคุณ )
    >>>>>ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าสันติกาวาส
    จนกระทั่งหลวงปู่บุญจันทร์ กมโล ได้มรณภาพลง เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๘ หลวงพ่อสมหมายท่านจึงกลับมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าสันติกาวาสสืบแทน กระทั่งถึงปัจจุบัน ส่วนวัดป่าโนนม่วง (วัดโคกใหญ่) นั้น ท่านได้มอบหมายให้พระอาจารย์อัศวินไปดูแลแทน
    หลวงพ่อสมหมาย เคยปรารภว่า “แต่ก่อนมักจะสงสัยว่าหลวงปู่ถึงที่สุดหรือยัง (ความบริสุทธิ์ของจิต) จึงคิดจะทดสอบจิต หลังสรงน้ำหลวงปู่บุญจันทร์เสร็จ คิดในใจว่าท่านบริสุทธิ์แน่จริงไหม ทันใดนั้นท่านได้พูดออกมาเลยว่าจะมาสงสัยอะไรในครูบาอาจารย์ วันต่อมายังคิดอีก ในเวลาเดียวกัน หลวงปู่ท่านก็พูดเหมือนเดิม แต่จิตก็ยังคิดอีก วันที่ ๓ ท่านก็พูดอีก แต่คราวนี้ท่านพูดเหน็บว่า น่าจะสงสัยตัวเจ้ามากกว่า พอไปภาวนาก็เห็นหลวงปู่ใสสว่างมาก จึงหมดความสงสัยในตัวท่าน”
    หลวงพ่อสมหมาย อตฺตมโน ( พระครูเมตตากิตติคุณ )
    >>>>>ธงธรรมเมืองอุดรธานี
    หลวงพ่อสมหมาย ถ่ายทอดประสบการณ์ที่ได้รับจากหลวงปู่บุญจันทร์ ว่า “หลวงปู่สอนให้ล้างบาตร ล้างเท้า แต่อาตมาล้างไม่เป็น คือ ใช้น้ำขันเดียวทำอย่างไรจึงล้างเท้าได้ทั่ว หลวงปู่ไม่บอกให้ใช้ปัญญาคิดเอง ได้แต่พูดว่าคนล้างเท้าไม่เป็น เวลาญาติโยมมาวัดต้องจัดหาน้ำมาต้อนรับ ปูเสื่อให้ ขณะหลวงปู่นั่งรับแขก เราจะต้องนั่งอยู่ในที่ที่อันควร ถ้ายังไม่ย้ายที่ ท่านจะมองด้วยสายตา แล้วจะโดนเทศน์ว่า คนไม่ฉลาด จนกว่าเราจะคิดได้เอง”
    เวลาหลวงปู่นั่งสมาธิ ของใช้ต่างๆ ต้องจัดวางอยู่ในตำแหน่งที่เคยวาง เช่น กาน้ำ กระโถน กรองน้ำใส่กาให้ได้ระดับที่กำหนด ถ้าไม่ใช่ตามนั้นหลวงปู่สามารถรู้ได้ เวลาท่านยกกาขึ้นเทน้ำ ความหนักเบาไม่เท่ากัน และจะโดนเทศน์ คนไม่มีสติ ไม่มีปัญญา ไม่รู้ประมาณ ท่านฝึกให้ทำงานอย่างมีสติ
    “กุฏิหลวงปู่บุญจันทร์อยู่กลางน้ำ สะพานที่เดินไปถึงกุฏิทำด้วยไม้ไผ่ยาว เดินอย่างไรจึงจะไม่มีเสียง การวางฝ่าเท้า ส้นเท้า เมื่อไปถึงประตูกุฏิ ถ้าหลวงปู่ยังไม่ลุกจากที่ภาวนา ห้ามทำเสียงดัง ต้องนั่งภาวนาคอยอยู่หน้ากุฏิก่อน ไม่ส่งจิตให้ฟุ้งซ่าน”
    การเดินจงกรมไม่ได้นับว่าเดินได้กี่รอบ ต้องเดินจนจิตสงบ กำหนดลมหายใจเข้า-ออก จิตแน่วแน่กับลมหายใจ ให้เพ่งไปตรงหน้าอก ถ้าสงบจิตจะใสสว่าง มองเห็นร่างของตนเองเป็นโครงกระดูก ถ้าตกใจจิตจะถอนทันที แล้วนิมิตจะหายไป
    หลวงพ่อสมหมาย ปรารภอีกว่า ทุกอย่างต้องทำอย่างมีสติตลอดเวลา ฉันภัตตาหารห้ามทำเสียงดัง ก่อนฉันภัตตาหารทุกวัน เวลาภาวนาท่านจะสอนว่าอย่าปล่อยให้ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ ต้องตั้งสัจจะอธิษฐานเข้าไปหนุนความเพียรให้มีขันติ แล้วพิจารณาดูจะเห็นความหยาบ ความละเอียดของจิต
    ทุกวันนี้ หลวงพ่อสมหมาย ยังปฏิบัติศาสนกิจได้เป็นตามแนวปฏิปทาของหลวงปู่บุญจันทร์ ยังปฏิบัติตามแบบอย่างที่ครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่นนำพาดำเนินไป

    ปฏิปทาของหลวงพ่อสมหมาย จึงเป็นดั่งดวงประทีป ดวงชีวิต เป็นหลักชัยและหลักใจของลูกหลานชาวเมืองอุดรธานี และผองชาวพุทธตลอดไป ตราบนานเท่านาน เป็นพระสุปฏิปันโนที่ควรค่าแก่การกราบไหว้ สักการะเป็นอย่างยิ่ง. >>>>>>มีพระเกศาหลวงตามาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ******บูชาที่ 185 บาทฟรีส่งems SAM_2818.JPG SAM_2819.JPG SAM_7189.JPG SAM_7188.JPG SAM_1606.JPG
     
  15. Khun Kriang

    Khun Kriang สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2019
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +4
    จองครับ
     
  16. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 731 พระกริ่งดักเเด้หลวงปู่วิริยัง สิริธโร พระอรหันต์เจ้าวัดธรรมมงคล เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร หลวงปู่วิริยังเป็นศิษย์รุ่นสุดท้ายหลวงปู่มั่น พระกริ่งสร้างปี 2535 ชื่อรุ่น พิเศษ 72 มีตอกโค๊ตหลุม หลังองค์พระ มาพร้อมกล่องเดิม >>>>อนึ่ง.....หมายเหตุ .....พระเกศาหลวงปู่ผมได้มาจากลูกศิษย์ท่านที่เคยไปอยู่จำพรรษากับหลวงปู่ตั้ง 14 พรรษาสมัยที่หลวงปู่ยังไม่เเก่มากนักครับผม มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ *******บูชาที่ 345 บาฟรีส่งems SAM_3243.JPG SAM_6929.JPG SAM_6935.JPG SAM_6933.JPG SAM_6934.JPG SAM_1854.JPG
     
  17. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 732 เหรียญ 99 ปีหลวงปู่บุญฤทธ์ ปัณฑิโต พระอรหันต์เจ้าวัดสวนทิพย์ อ,ปากเกร็ด จ.นนทบุรี หลวงปู่บุญฤทธิ์เป็นศิษย์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ เหรียญสร้างปี 2556 เนื้ออัลปาก้า สร้างเนื่ององค์หลวงปู่อายุครบ 99 พรรษา มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล >>>>>>>บูชาที่ 345 บาทฟรีส่งems SAM_0351.JPG SAM_6947.JPG SAM_6949.JPG SAM_1885.JPG
     
  18. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 733 เหรียญเศรษฐีหลวงปู่แก้ว สุจิณฺโณ พระอรหันต์เจ้าวัดถ้ำเจ้าผู้ข้า อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ท่านเป็นศิษย์ในองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถํ้าผาบิ้ง ,หลวงปู่เเบน ธนากโร วัดดอยธรรมเจดีย์ เหรียญสร้างปี 2556 เนื้ออัลปาก้า สร้างเนื่องเป็นที่ระลึกสร้างโบสถ์วัดถํ้าเจ้าผู้ข้า มีตอกโค๊ตตัวเลข อ 122 เเละโค๊ตรูป โบสถ์ หลังเหรียญ,
    >>>>>"คติธรรมของหลวงปู่เเก้ว.. ถ้าอยากจะชำระก็ขอให้ชำระกิเลสตัณหาที่มีอยู่ในใจของเรา อย่าไปชำระบาป บาปนั้นชำระไม่ได้ ถ้าไม่อยากจะรับผลของบาป ก็อย่าไปทำเสียตั้งแต่วันนี้ .." โอวาทธรรมหลวงปู่แก้ว สุจิณโณ
    >>>#อัตโนประวัติหลวงปู่แก้ว_สุจิณฺโณ
    ท่านมีนามเดิมว่า "ทองแก้ว ฮ่มป่า" เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๖ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะแม ณ บ้านห้วยหีบ ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายจันทร์ และนางวงศ์ ฮ่มป่า
    ในช่วงวัยเยาว์ หลังจากที่ได้เรียนจบภาคบังคับในหมู่บ้านแล้วออกมาช่วยพ่อแม่ทำนา ทำสวน ทำไร่ เหมือนชาวชนบทภาคอีสานทั่วไป
    เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หลังจากที่ผ่านการคัดเลือกเกณฑ์ทหารแล้ว จึงได้คิดอุปสมบทเพื่อทดแทนบุญคุณพ่อแม่ อย่างไรก็ดี ท่านยังหาโอกาสเหมาะสมมิได้ เนื่องจากติดขัดที่ฐานะทางบ้านต้องช่วยเหลือครอบครัว แต่จิตใจก็ยังคิดใฝ่หาที่จะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ตลอดเวลา
    กระทั่งอายุได้ ๒๕ ปีพอดี โยมพ่อแม่จึงได้ให้นายทองแก้วเข้าไปบวชเป็นตาผ้าขาวอยู่กับหลวงพ่อแบน ธนากโร ที่วัดดอยธรรมเจดีย์ เพื่อให้ทราบถึงข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับพระภิกษุ ซึ่งผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุหรือสามเณรนั้นในวัดพระกัมมัฏฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต จะให้บวชเป็นตาผ้าขาวก่อน เพื่อให้หัดท่องคำขานนาค ท่องบทสวดมนต์ และให้ทราบถึงข้อวัตรปฏิบัติ
    รวมทั้งอยู่ดูนิสัยไปก่อน เรียกง่ายๆ คือ อยู่ดัดนิสัยเดิมเสียก่อน ฝึกกิริยามารยาทให้งดงาม ให้รู้จักครรลองครองธรรมของพระสงฆ์ ฝึกความอดทน ฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง ต้องใช้เวลานานพอสมควร บางคน ๑ เดือน ๒ เดือน ๓ เดือน หรือเป็นปีสองสามปีก็มี แล้วแต่ใครจะฝึกหัดได้ง่ายได้ยาก
    จนเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๑ หลวงพ่อแบน ธนากโร จึงได้นำนายทองแก้วเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในทางพระพุทธศาสนา ณ วัดป่าสุทธาวาส ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร โดยมีพระวิบูลธรรมภาณ (ไพบูลย์ อภิวณฺโณ) วัดศรีโพนเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์แว่น ธนปาโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อแบน ธนากโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ภายหลังจากอุปสมบทแล้วท่านก็ได้กลับไปพักปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อแบน ธนากโร ที่วัดดอยธรรมเจดีย์ อยู่ปฏิบัติธรรมและศึกษาพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เร่งรัดปฏิบัติข้อวัตรมิให้ตกหล่น ตรงตามเป้าหมายที่ประสงค์ไว้ จนเกิดความช่ำชอง
    เมื่อเห็นว่าสามารถที่จะดูแลตัวเองได้แล้วจึงได้กราบลาหลวงพ่อแบน ธนากโร ออกเดินธุดงค์จาริกปฏิบัติธรรมไปตามสถานที่ต่างๆ และได้ขึ้นมาอยู่ศึกษาปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ที่วัดถ้ำเจ้าผู้ข้า อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    ครั้นต่อมา หลวงปู่หลุยได้มรณภาพลง จึงได้จำพรรษาตั้งแต่ครั้งนั้นจนกระทั่งปัจจุบัน
    พระอาจารย์ทองแก้วเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบองค์หนึ่ง ที่เดินตามรอยครูบาอาจารย์ โดยเฉพาะหลวงปู่หลุย จันทสาโร ที่เป็นต้นแบบ เป็นพระที่ต้องการอยู่ที่เงียบสงบอยู่แต่ป่า จึงนับได้ว่าเป็นเนื้อนาบุญของชาวโลกอย่างแท้จริง
    พระอาจารย์ทองแก้วมักสอนญาติโยมทุกครั้งในเรื่อง "มาแต่ตัวก็ต้องไปแต่ตัว ขอให้เร่งสร้างความดีงามเอาไว้ อย่าเบียดเบียนกัน"
    พระอาจารย์ทองแก้วถือเป็นร่มธรรมองค์หนึ่งของชาวสกลนคร ที่มีความตั้งใจทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

    ******#ประวัติวัดถํ้าเจ้าผู้ข้า
    บ้านทิดไทย ต.ไร่ อ.พรรรณานิคม จ.สกลนคร
    .. ก่อนที่จะมีการเรียกว่าวัดถ้ำเจ้าผู้ข้านั้นก็มีประวัติความเป็นมาตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ที่ข้าพเจ้าได้สอบถามข้อมูลด้วยตนเองดังนี้ ในอดีตเมื่อสมัยร้อยกว่าปีมาแล้วได้มีชาวบ้านไฮ่ ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ในปัจจุบันได้ออกบวชห่มขาวถือศิล ๘ มาพักปฏิบัติธรรมอยู่ที่บริเวรถ้ำแห่งนี้โดยที่ท่านไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เป็นอาหารเพราะเมื่อท่านรับประทานเข้าไปแล้วจะอาเจียนออกมาหมดก่อนที่ท่านจะสละทางโลกเข้ามาทางธรรมนั้นท่านก็มีครอบครัวเช่นเดียวกับชาวบ้านทั่วไป มีบุตรสาวหนึ่งคน จากการบอกเล่าของลูกหลาน เชื้อสายเจ้าผู้ข้าอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือก่อนที่ท่านเจ้าผู้ข้าจะออกบวชห่มขาวถือศิล ๘ นั้น วันนึงในฤดูทำนาภรรยาท่านเจ้าผู้ข้าก็ได้ไปเก็บหอยขมมาทำอาหาร การที่นำหอยขมมาทำอาหารนั้น บางคนก็ตัดก้นหอยเพื่อที่จะนำมาแกง บางคนก็ต้มเลยไม่ต้องตัดก้นหอย การที่นำหอยเป็นๆมาต้มก็เหมือนกับเราต้มเปรตปลาไหลนั้นเอง หอยเป็นๆพอถูกน้ำร้อนมันจะร้อนแค่ไหน ลองพิจารณาเอาเองก็แล้วกัน
    ภรรยาของท่านเจ้าผู้ข้าก็เช่นกันนำหอยขมที่ได้มานั้นต้มเพื่อเป็นอาหาร ขณะที่น้ำในหม้อต้มหอยกำลังเดือด ท่านเจ้าผู้ข้าก็ได้ยินเสียงหอยขมในหม้อต้มนั้นร้องว่า “โอ้ยร้อนจัง ช่วยด้วย ร้อน ร้อน ” ซึ่งเสียงนั้นท่านเจ้าผู้ข้าได้ยินเพียงผู้เดียว ตั้งแต่นั้นมาท่านเจ้าผู้ข้าก็มีอาการผิดปกติคือรับประทานอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ไม่ได้ รับประทานเข้าไปก็มีอาหารเคลื่อนไส้ อาเจียนทันที มีการบันทึกไว้ว่าก่อนที่จะมีการเรียกชื่อเจ้าผู้ข้านั้น ท่านมีนามว่า น้อยหน่า ส่วนนามสกุลนั้นมีการแต่งขึ้นในภายหลังจากท่านออกบวชแล้ว
    ******สาเหตุทำไมถึงเรียกว่า.. "เจ้าผู้ข้า"
    ท่านเจ้าผู้ข้านั้นชอบเรียกตัวเองว่า ผู้ข้า ซึ่งไปเป็นภาษาภูไท หมายความว่า กระผม หรือ ข้า หรือ ข้าพเจ้าประมาณนั้น และมีคนพบท่านเจ้าผู้ข้าครั้งสุดท้ายที่ถ้ำแห่งนี้ ท่านนอนป่วยอยู่จึงนำท่านลงไปรักษาในหมู่บ้านที่มีผู้ศรัทธาท่านจนท่านเจ้าผู้ข้านั้นเสียชีวิตในเวลาต่อมาจึงมีผู้คนเรียกถ้ำแห่งนี้ว่า "ถ้ำเจ้าผู้ข้า" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    และถ้ำเจ้าผู้ข้าแห่งนี้เป็นที่ละสังขารของท่านพระอาจายร์กู่ ธมฺมทินฺโน ก่อนที่ท่านจะมรณะภาพ เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕ ท่านพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน และลูกศิษย์ซึ่งมีสามเณรบุญหนา (หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินฺโน.รวมอยู่ด้วย ท่านได้มาปฏิบัติธรรมอยู่ที่ถ้ำเจ้าผู้ข้าแห่งนี้โดยมีกุฏิหลังเก่าไว้เป็นหลักฐาน เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๖ ท่านพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ก็ได้ละขันธ์ในท่านั้งสมาธิในกุฏิหลังนี้เพระท่านเป็นโรคฝีฝักบัวอยู่ที่ก้นจนทนไม่ได้จึงละขันธ์เมื่อ สิริอายุ ๕๓ ปี พรรษา ๓๓ และเพื่อระลึกถึงท่านพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ที่ท่านมาละขันธ์ที่สถานที่แห่งนี้ ข้าพเจ้าจึงได้ขออนุญาติ หลวงปู่แก้ว สุจิณฺโณ สร้างรูปเหมือนเท่าองค์จริงของพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ไว้ที่หน้ากุฏิที่พระอาจารย์ท่านละขันธ์ เพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ได้กราบไว้บูชา >>>>หมายเหุต..... หลวงปู่แก้ว สุจิณฺโณ วัดถ้ำเจ้าผู้ข้า อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพานอย่างสงบแล้ว ตรงกับวันศุกร์ที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ณ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร สิริอายุ ๗๖ ปี ๗ เดือน ๒๘ วัน พรรษา ๕๒ >>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วย *******บูชาที่ี 345 บาทฟรีส่งems SAM_8872.JPG SAM_6953.JPG SAM_6954.JPG SAM_6955.JPG SAM_2008.JPG
     
  19. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    gเหรียญรุ่น 2 หลวงปู่สาย เขมธัมโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าพรหมวิหาร อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู หลวงปู่สายเป็นศิษย์พระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด เหรียญสร้างปี เนื้อทองเเดงรมดำ ประวัติย่อพอสังเขปหลวงปู่สาย เขมธัมโม หลวงปู่สาย เขมธัมโม “พระอริยสงฆ์ผู้มีธรรมอันเกษม” แห่งวัดป่าพรหมวิหาร บ้านภูศรีทอง ต.โนนเมือง อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู แม้ท่านจะบวชเมื่อวัยชราแล้ว แต่เมื่อเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ท่านได้มุ่งประพฤติ ปฏิบัติธรรมตามปฏิปทาของพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตพาดำเนินมาโดยตลอด ครูบาอาจารย์องค์สำคัญที่ให้คำแนะนำในการประพฤติปฏิบัติ คือ พระธรรมวิสุทธิมงคล หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน แห่งวัดป่าบ้านตาด ซึ่งหลวงปู่ได้ให้ความเคารพองค์ท่านมาก
    “..พระธรรมไม่อยู่ไกล ถ้าแก้ไขตัณหากิเลสเสร็จแล้ว ธรรมดวงแก้วอยู่ที่นั้น ท่านเข้าใจไหม รีบแก้รีบไข ถ้าอยากเห็นธรรมะ..” โอวาทธรรมคำสอนหลวงปู่สาย เขมธัมโม “พระอริยสงฆ์ผู้มีธรรมอันเกษม”

    หลวงปู่สาย เขมธมฺโม นามเดิม สาย แสงมฤค เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๔๖๕ ตรงกับวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๙ ปีจอ ณ บ้านดอนกลาง ต.กุดน้ำใส อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด บิดาชื่อ นายทอก แสงมฤค มารดาชื่อ นางเคน แสงมฤค หลวงปู่สายมีพี่น้อง ๗ คน หลวงปูสาย เขมธัมโม ท่านเป็นบุตรคนที่ ๕ และมีน้องชายคนสุดท้องบวชเป็นพระอีกรูปหนึ่ง คือ หลวงปู่วิชัย โกสโล
    ......การศึกษา
    หลวงปู่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จากโรงเรียนวัดบ้านนาชมซึ่งเป็นโรงเรียนที่อยู่ใกล้บ้านของหลวงปู่ ในช่วงเป็นหนุ่มอายุประมาณ ๑๘ ปี หลวงปู่มีโอกาสได้เรียนธรรมบาลีไวยากรณ์ - เรียนปาฏิโมกข์ควบคู่ไปกับการเรียนหมอลำกลอน ที่ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม โดยมีท่านอาจารย์มหานาม เป็นผู้สอน ในสมัยนั้นฆราวาสก็สามารถเรียนธรรมบาลี เรียนปาฏิโมกข์ได้ หลวงปู่ท่านเป็นผู้ที่มีความจำดีมากทำให้ท่านท่องปาฏิโมกข์จนจบได้ทั้ง ๆ ที่เป็นฆราวาสอยู่ นอกจากนั้นยังสามารถท่องกลอนลำกลอนต่าง ๆ ได้เป็นจำนวนมาก จนได้ชื่อว่าเป็นหมอลำกลอนคนหนึ่ง รู้จักกันในนาม "หมอลำสายทอง" และท่านยังมีพื้นฐานเกี่ยวกับธรรมบาลีไวยากรณ์ประดับอีกด้วย

    1421595837-1093731681-o.jpg
    ชีวิตครอบครัว
    หลวงปู่ได้ย้ายครอบครัวมาอยู่ที่บ้านชาติ (บ้านคูฟ้า) ซึ่งไม่ไกลจากบ้านเดิมมากนัก และได้สมรสกับ นางปาน ผายม มีบุตรด้วยกัน ๒ คนคือ
    ๑. นายมาย แสงมฤค (ปัจจุบันอุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่)
    ๒. นายสมหมาย แสงมฤค
    ต่อมาหลวงปู่ได้ย้ายครอบครัวอีกครั้งหนึ่ง มาอยู่ที่ บ้านหนองหิน (บ้านดอนอีไข) อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยประกอบอาชีพทำนา และเลี้ยงสัตว์ เป็นอาชีพหลัก ส่วนความสามารถในการลำกลอนของท่านก็เป็นอาชีพเสริม ทำให้ครอบครัวมีรายได้อีกทางหนึ่ง
    ชีวิตในเพศพรหมจรรย์
    .....อุปสมบทครั้งที่ ๑
    การบวชในครั้งแรกของหลวงปู่เป็นการบวชตามประเพณี พอมีอายุครบบวช คือ อายุครบ ๑๐ ปีบริบูรณ์ ก็ต้องบวชทดแทนบุญคุณ บิดา มารดา อันนี้เป็นหน้าที่ของลูกผู้ชายที่พึงกระทำหลวงปู่ ท่านก็ได้ทำหน้าที่ดังกล่าว ในครั้งนั้นท่านบวช ณ พัทธสีมาวัดบ้านนาชม ซึ่งเป็นวัดใกล้บ้านท่าย โดยมีหลวงปู่สี เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระอาจารย์จูม เป็นพระกรรมวาจารย์ สังกัดฝ่ายมหานิกาย ซึ่งส่วนมากจะเน้นทางด้านปริยัติเป็นหลัก การบวชในครั้งนั้นแม้ท่านจะบวชตามประเพณี แต่ท่านก็มีความวิริยะอุตสาหะในการศึกษาเล่าเรียนเป็นอันมาก จนสามารถสอบนักธรรมชั้นตรีได้ พอบวชครบ ๑ พรรษาท่านก็ลาสิกขาออกมาใช้ชีวิตฆราวาสตามเดิม
    ......อุปสมบทครั้งที่ ๒
    สาเหตุที่หลวงปู่ออกบวชครั้งที่ ๒ เพราะหลวงปู่ป่วยเป็นโรคปวดหัวโดยไม่รู้สาเหตุ พยายามรักษาอยู่หลายวิธีแต่ก็ไม่หาย หลวงปู่ลองบนดู โดยบนไว้ว่าถ้าหายป่วยแล้วจะบวชแก้บน ต่อมาอาการป่วยของหลวงปู่ก็หายจริง ๆ จึงทำให้หลวงปู่ต้องตัดสินใจบวช โดยบวชในฝ่ายธรรมยุต ณ พัทธสีมาวัดโยธานิมิต ซึ่งมีหลวงปู่อ่อนตา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ด้วงเป็นพระกรรมวาจาจารย์ บวชแล้วมาอยู่จำพรรษาที่วัดดอนอีไข แม้หลวงปู่จะบวชเพื่อแก้บนแต่หลวงปู่ ก็หมั่นปฏิบัติภาวนาเป็นประจำมิได้ขาดยังธรรมปีติให้เกิดมีแก่องค์หลวงปู่ การบวชในครั้งนี้ของหลวงปู่บวชอยู่นานถึง ๖ พรรษา และยังได้ริเริ่มสร้างว่าหนองหัวหมูขึ้น จากนั้นจึงได้ลาสิกขา จริง ๆ แล้วหลวงปู่ไม่คิดอยากจะสึกแต่เพราะกลัวจะผิดสัญญาที่ให้ไว้กับครอบครัว จึงทำให้ท่านตัดสินใจสึก
    1421298063-1090489580-o.jpg
    .....อุปสมบทครั้งที่ ๓
    หลังจากที่หลวงปู่ไดลาสิกขา ท่านก็กลับมาอยู่กับครอบครัวโดยประกอบอาชีพทำนาและเลี้ยงสัตว์ตามเดิม วันหนึ่งท่านได้บรรทุกปลาใส่รถสามล้อถีบเพื่อจะนำไปขาย และขณะเดินทางรถสามล้อเกิดเสียหลักลงข้างทาง ในตอนนั้นมีกลุ่มผู้หญิงกำลังเดินทางกลับจากทำบุญที่วัดมาพบเข้า พวกเขามองดูปลาในรถสามล้อแล้วคนหนึ่งก็พูดขึ้นว่า "ปลาพวกนี้เป็นปลามีบุญนะ ฉันไม่กล้าซื้อหรอกกลัวบาป" พอหลวงปู่ได้ยินแม้หลวงปู่จะแปลกใจในคำพูดนั้น แต่ก็ทำให้หลวงปู่เกิดความสลดสังเวช คิดตำหนิตนเอง เกิดเป็นผู้ชายแท้ ๆ บวชก็เคยบวชมาแล้วยังไม่รู้จักบาปบุญ ยังมาค้าขายชีวิตสัตว์อื่นเขาอีก ต่อมาหลวงปู่ท่านก็เลิกเลี้ยงปลาขาย ประกอบอาชีพทำนาอย่างเดียว การใช้ชีวิตในทางฝ่ายโลกนั้นย่อมประกอบกับปัญหาและทุกข์นานาประการเมื่อเทียบกับรสแห่งธรรมที่ท่านเคยได้สัมผัสเมื่อครั้งอยู่ในผ้าเหลืองมันต่างกันมาก
    ยิ่งนานวันนั้นความจริงอันนี้ยังเด่นชัด ทำให้หลวงปู่อยู่ครองเพศฆราวาสต่อไปไม่ไหว จึงตัดสินใจขออนุญาตภรรยาและลูก ๆ ออกบวชอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งครอบครัวก็ไม่มีใครขัดข้อง ต่างก็อนุโมทนากับหลวงปู่ จึงทำให้หลวงปู่ได้บวชอีกครั้ง
    หลวงปู่ได้อุปสมบทครั้งที่ ๓ ในฝ่ายธรรมยุต ณ วัดบุญญานุสรณ์ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๒๑ เมื่ออายุได้ ๕๖ ปี โดยมี พระครูประสิทธิ์คณานุการ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสุวัณโณปมคุณ (หลวงปู่คำพอง ติสโส) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูโสภณคณานุรักษ์ หลวงปู่ทองใบ) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ท่านได้ฉายาว่า "เขมธมฺโม" แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม
    การปฏิบัติธรรมของหลวงปู่เป็นการปฏิบัติโดบเพียงลำพัง ถ้าท่านติดขัดในปัญหาธรรมต่าง ๆ ท่านมักจะเข้าไปกราบเรียนถามองค์หลวงตามหาบัว ซึ่งองค์ท่านก็เมตตาตอบปัญหาและแนะอุบายในการปฏิบัติภาวนาแก่องค์หลวงปู่เสมอ ๆ จนกระทั่งมีเทพมานิมนต์ท่านให้มาอยู่ที่ภูน้อย - ภูพนัง ท่านจึงรับนิมนต์และได้มาสร้างวัดป่าพรหมวิหารขึ้น ในปี พ.ศ.๒๕๒๓ ณ บ้านภูศรีทอง ตำบลโนนเมือง อำภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู วัดนี้จึงวัดที่ท่านอยู่จำพรรษาเรื่อยมา จนถึงกาลมรณภาพนี้ หลวงปู่สาย เขมธัมโม ท่านละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพานตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๔๒ น. ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น สิริอายุ ๙๒ ปี ๕ เดือน ๓ วัน พรรษา ๓๗
    “..ให้ดูตน ให้ดูตัว ให้ดูหัว ให้ดูเท้า
    ให้ดูเขา ให้ดูเรา ให้ดูบาป ให้ดูบุญ
    ให้ดูคุณ ให้ดูโทษ ให้ดูโลก ให้ดูธรรม
    สิ่งที่ควรทำหรือไม่ควรทำให้ดู ให้รู้
    แล้วให้อยู่ในกรอบพระธรรม..”

    โอวาทธรรมคำสอนหลวงปู่สาย เขมธัมโม “พระอริยสงฆ์ผู้มีธรรมอันเกษม” >>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ *****บูชาที่ 185 บาทฟรีส่งems SAM_1589.JPG SAM_7190.JPG SAM_7191.JPG SAM_2320.JPG

     
  20. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    ายการที่ 734 เหรียญหันข้างครึ่งองค์รุ่นสร้างโบสถ์หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสีห์พนม อ.สว่างเเดนดิน จ.สกลนคร เหรียญสร้างปี 2562 เนื้อทองฝาบาตร ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม
    วัดป่าสีห์พนมประชาราม
    ต.บงใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    “หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม” ท่านถือกำเนิดตรงกับวันจันทร์ที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๑ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง ณ บ้านขาม ต.ค้อใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร บิดาท่านชื่อ นายเข่ง ธิอัมพร มารดาท่านชื่อ นางชาดา ธิอัมพร สำหรับบิดาของหลวงปู่บุญมา ภายหลังได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่ง มีชื่อและฉายาตามพระพุทธศาสนาว่า “หลวงปู่เข่ง โฆสธัมโม” ขณะนั้นหลวงปู่บุญมาได้พรรษาที่ ๑๐ แล้ว จากนั้นจึงได้ออกธุดงค์ไปในที่ต่างๆ และบั้นปลายชีวิตหลวงปู่เข่ง ท่านได้มาอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่บุญมา ที่วัดป่าสีห์พนมประชาราม จ.สกลนคร และได้มรณภาพลงเมื่อประมาณต้นปี พ.ศ.๒๕๓๗ ขณะมีอายุได้ ๙๐ ปี พรรษา ๓๓
    ชีวิตในวัยเด็กของหลวงปู่บุญมา ท่านได้เรียนจนจบชั้นประถมบริบูรณ์ แล้วได้ออกจากโรงเรียนมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพทำนา เมื่อ อายุได้ ๑๗-๑๘ ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรศึกษาธรรมอยู่ได้ ๑ พรรษา ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ (ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๔-๒๔๘๘) หลังจากสึกออกมาช่วยบิดามารดาทำนานั้น ในใจท่านก็คิดเสมอว่า “ถ้ามีโอกาสเมื่อไร ก็จะรักษาศีลอุโบสถเมื่อนั้น” ท่านปฏิบัติอยู่อย่างนี้ จนเป็นที่เลื่องลือของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านว่า ทำไมเด็กหนุ่มนี้จึงมีอุปนิสัยแตกต่างจากคนรุ่นราวคราวเดียวกัน ที่หันเหมาทางพระพุทธศาสนา เข้าวัดเข้าวารักษาศีลอุโบสถเหมือนคนเฒ่าคนแก่
    หลวง ปู่บุญมาท่านได้เล่าถึงชีวิตเมื่อวัยหนุ่มว่า “เมื่อเข้าหาครูบาอาจารย์ท่านก็เทศน์ให้ฟัง ในเรื่องอานิสงส์ในการรักษาศีล ๕ และทุกข์โทษของการละเมิดผิดศีลผิดธรรมเป็นอย่างไร ก็นำมาพิจารณา และครั้นเวลาครูบาอาจารย์ชวนไปวิเวก ฝึกสมาธิ ศึกษาธรรมะ ก็สนใจปฏิบัติตาม ทำให้จิตเกิดความสงบเยือกเย็น” นับว่าท่านเป็นผู้มีวาสนาบารมีที่ส่อแววให้เห็นมาตั้งแต่เด็กๆ
    หลวงปู่บุญมาเล่าถึงสมัยชีวิตฆราวาส ได้พิจารณาความตายถึง ๓ วาระ สมัยท่านเป็นฆราวาสได้แต่งงานมีเหย้ามีเรือน ใช้ชีวิตตามวิถีชาวโลก จนมีบุตรด้วยกันหนึ่งคน เหตุการณ์หลังจากนั้นวาสนาบารมีทางธรรมท่านได้ใกล้เข้ามา จึงดลบันดาลให้เหตุการณ์กระทบอารมณ์ เป็นทุกข์อย่างหนักทางโลก ปีแรก น้องสาวท่านตาย ปีที่สอง มารดาก็มาตายอีก หลวงปู่บุญมาท่านเล่าว่าตอนนั้น จิตของท่านเกิดธรรมะ ได้คิดว่า “ความตายมันได้ใกล้เข้ามาหาเรา...ถ้าเราอยู่ต่อไป ไม่กี่วันก็คงตาย ถ้าจะตาย ขอให้ไปส่งความดีก่อนตาย เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งในอนาคต” เป็นทางออกที่ดีที่สุด ก่อนความตายจะมาถึง แต่ไม่ทันที่ท่านจะได้ออกบำเพ็ญความดีตามที่ท่านตั้งใจไว้ พายุโลกโหมกระหน่ำซ้ำเติมซ้ำสามในระยะเวลาไม่นาน ภรรยาท่านก็มาเสียชีวิตลง “ทุกข์เกิดขึ้น” เป็นทุกข์ที่ทำให้ท่านต้องตั้งคำถาม และพิจารณาปัญหาต่อไปว่า “ลูกที่่เกิดมา จะทำอย่างไร ใครจะเลี้ยงลูก”
    แล้ว ท่านก็พิจารณาเรื่องลูกว่า “ถึงแม้ว่าแม่จะตาย พ่อก็ยังอยู่ เด็กบางรายเกิดมาไม่กี่วันก็ตาย บางคนเดินได้ วิ่งได้ แล้วก็มาตาย แล้วแต่บุญวาสนาของแต่ละคน ไม่ถึงวันตายก็ไม่ตาย ถ้าจะให้ทานลูกแก่ผู้ต้องการ ลูกก็คงเติบใหญ่ขึ้นได้ด้วยบุญวาสนาบารมีของตนเองที่สร้างสมมาแต่ปางก่อน” ท่านคิดได้อย่างนี้ จึงยกลูกให้แก่พ่อตา แม่ยาย เป็นผู้เลี้ยงดู และตัดสินใจออกบวช ช่วงนั้นประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๔ ใกล้เข้าพรรษาแล้ว ระหว่างช่วงจัดงานศพให้ภรรยาท่านนั้น ได้นิมนต์ หลวงปู่สิงห์ สหธัมโม ไปสวดบังสุกุล หลวงปู่สิงห์ พระอาจารย์ผู้ที่ให้ธรรมะแนะนำการปฏิบัติแก่ท่านอยู่ก่อนแล้ว ได้ถามท่านว่า “จะบวชไหม” ซึ่งท่านก็ตอบหลวงปู่สิงห์ไปว่า “บวชแน่นอนครับ” หลังจากจัดการงานศพของภรรยาเสร็จ ท่านก็ลาบิดา พ่อตา แม่ยาย เข้าไปวัดพระธาตุฝุ่น ต.ค้อใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เพื่อรอบวชในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๔
    ท่านอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๔ เวลา ๑๔.๑๕ น. ขณะอายุได้ ๒๔ ปี ณ วัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี พระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระครูสมุห์สวัสดิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “คัมภีรธัมโม” ซึ่งแปลว่า ผู้มีธรรมอันลึกซึ้ง
    เมื่อ อุปสมบทแล้วเสร็จ ท่านได้ไปอยู่จำพรรษาศึกษาข้อวัตรปฏิปทากับหลวงปู่สิงห์ สหธัมโม วัดพระธาตุฝุ่น จ.สกลนคร ในพรรษาแรก หลวงปู่สิงห์ได้ให้ท่านฝึกปฏิบัติสมาธิภาวนาขนานใหญ่ ขนาดยอมอดนอน ไม่ยอมหลับในตอนกลางคืน ช่วงเข้าพรรษาตลอด ๓ เดือน พระเณรที่อยู่ด้วยต้องยืน เดิน นั่ง ๓ อิริยาบถตลอดทั้งคืน ห้ามนอนเวลากลางคืน จึงทำให้ได้รับผลจากการภาวนามากตลอดพรรษา
    พอพรรษาที่ ๒ พระบุญมา จิตท่านเกิดฟุ้งซ่านอยากจะสึก ครั้นเมื่อออกพรรษาแล้ว หลวงปู่สิงห์ สหธัมโม จึงได้ให้ท่านไปหาหลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งขณะนั้นท่านอยู่ที่ถ้ำค้อ อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี ห่างจากวัดถ้ำฝุ่นไป ๒๐-๓๐ กิโลเมตร เมื่อ ไปถึงถ้ำค้อ ที่หลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านพำนักจำพรรษาอยู่ พระบุญมาได้เข้าไปกราบคารวะ หลวงปู่ขาวจึงได้พูดขึ้นว่า “ทำไมถึงอยากสึก แยกจิตออกนอกทำไม” พระบุญมา ท่านยังไม่ทันตอบ หลวงปู่ขาวก็พูดต่อไปอีกว่า “ออกก็ออกมาจากที่นั่น จะเข้าไปที่เดิม มันถูกรึ” หลวงปู่ขาวท่านรู้วาระจิต จากนั้นก็อบรมสั่งสอนให้ท่านอยู่ป่าเป็นวัตร อยู่กับช้าง กับเสือ กับผีสาง เป็นการให้มีสติอยู่กับตนไป ไม่ให้ฟุ้งซ่านส่งจิตออกไปไหน” หลวงปู่บุญมา ท่านเล่าว่า “ช่วง นี้กลัวมาก ถึงสวดมนต์อย่างไรก็กลัว กลัวตาย ช่วงที่อยู่กับหลวงปู่ขาว อนาลโย จึงตั้งใจบำเพ็ญเพียรภาวนาตามคำสอนขององค์ท่าน ปรากฏผลดีมาก จิตใจสบาย วิเวกดี จิตไม่ปรุงแต่งอะไร ไม่ออกไปสร้างบ้านสร้างเรือน สร้างครอบครัวอีก เพราะกลัวตาย คนกลัวตายต้องหาที่พึ่ง ถ้าได้ที่พึ่งทางจิตแล้วสบาย ไม่กลัวตายต่อไปอีกแล้ว”
    ครั้นออก พรรษาได้จาริกธุดงค์เข้ากราบรับข้ออรรถข้อธรรมจากพระเถระผู้ใหญ่ ศิษย์ในองค์หลวงปู่ใหญ่มั่น ภูริทัตโต หลายองค์ อาทิ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู, หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย และหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี เป็นต้น และได้จาริกธุดงค์ร่วมกันกับ หลวงปู่คำบุ ธัมมธโร ซึ่งเป็นพระอาจารย์รูปสำคัญของท่าน ออกวิเวกตามสถานที่ต่างๆ ไปยังป่าช้าง ป่าเสือ ฝึกจิตตามป่าตามเขาโถงถ้ำ ไปในที่ๆ ขึ้นชื่อว่าอาถรรพณ์ผีดุ เปลี่ยนที่จำพรรษาไปเรื่อยๆ ไม่ติดถิ่น ทั้งที่กันดารห่างไกลจากบ้านจากเรือนสลับกับการไปฝึกอบรมยังสำนักของพ่อแม่ ครูอาจารย์ ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานถึง ๒๙ พรรษา
    เริ่มจำพรรษาที่ วัดป่าสีห์พนมประชาราม บ้านหนองกุง ต.บงใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ในพรรษาที่ ๒๐ เป็นพรรษาแรก ตรงกับปี พ.ศ.๒๕๑๔ จากนั้นจึงออกจาริกธุดงค์ไปจำพรรษาในที่ต่างๆ แล้วเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ หลวงปู่บุญมา ท่านก็กลับมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดป่าสีห์พนมประชาราม มาโดยตลอดจวบจนกระทั่งปัจจุบัน
    35685333292_o.jpg?_nc_cat=109&_nc_sid=8024bb&_nc_ohc=uRyJAyg1FJoAX_jSW3a&_nc_ht=scontent.fkkc2-1.jpg

    08606387720_o.jpg?_nc_cat=106&_nc_sid=8024bb&_nc_ohc=xHJEOmTkIJkAX95Bo22&_nc_ht=scontent.fkkc2-1.jpg
    18679850004_o.jpg?_nc_cat=101&_nc_sid=8024bb&_nc_ohc=7d_4xDuxUckAX--6CNH&_nc_ht=scontent.fkkc2-1.jpg
    55462291958_o.jpg?_nc_cat=106&_nc_sid=8024bb&_nc_ohc=8j-UKBFQMcAAX-7il5z&_nc_ht=scontent.fkkc2-1.jpg หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม วัดป่าสีห์พนมประชาคมต.บงใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร >>>>>>>,มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล ******บูชาที่ 185 บาทฟรีส่งems SAM_4022.JPG SAM_4023.JPG SAM_2488.JPG
     

แชร์หน้านี้

Loading...