มีวัตถุมงคลสายพระป่ากรรมฐานให้บูชาราคาเบาๆ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Somchai 2510, 8 กันยายน 2019.

  1. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 746 พระกริ่ง+พระชัยวัฒน์อวโลกิเตศวรหลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน พระอรหันต์เจ้าวัดป่าโสติถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร หลวงปุ่บุญหนาเป็นศิษย์หลวงปุ่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม (ศิษย์รุ่นใหญ่หลวงปู่ม้่น ภูริทัตโต) พระกริ่งสร้างปี 2549 เนื้อโลหะผสม ชื่อ รุ่น ภาวนา ไตรมาส 49 ก้นทองทองเหลืองอุดทองเเดง มีตอกโค๊ต คำว่า ภาวนา เเละ ธัมมทินโน มาพร้อมกล่องเดิม >>>>> มีพระเกศาขาวๆใสๆของหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ......***** (......รุ่นนี้หลวงปู่อธิฐานจิตตลอดไตรมาส 3 เดือนปี 2549) >>>>>>บูชาที่ 525 บาทฟรีส่งems ประวัติย่อๆหลวงปู่บุญหนา
    HCtHFA7ele6Q2dULkSgScfuvZRlEuzjy2F2WsLfd7uIfOKyqUFWgPeF0GS0z2wUmMy.jpg
    หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน แห่งวัดป่าโสตถิผล ศิษย์หลวงปู่มั่นรุ่นสุดท้าย
    เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 6 เมษายน 59 รถพยาบาลฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีนครินทร์ นำหลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน เจ้าอาวาสวัดป่าโสตถิผล เดินทางกลับถึงกุฏิวัดป่าโสตถิผล ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ภายหลังอาพาธหนักเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น โดยหลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน อาการทรุดลงอย่างต่อเนื่องจากอาการอาพาธรุมเร้ามานาน ล่าสุด มีอาการเลือดท่วมปอด แต่หลวงปู่บุญหนายังรู้สึกตัวดี ระหว่างรักษาตัวที่โรงพยาบาล จึงประสงค์ขอตัวกลับมารักษาเองที่วัดป่าโสตถิผล ขณะที่เดินทางกลับมาถึงวัดนั้น บรรดาศิษยานุศิษย์ ญาติโยม ที่เลื่อมใส และเคารพศรัทธา ต่อหลวงปู่บุญหนา ต่างทยอยเดินทางมาเฝ้ารับหลวงปู่บุญหนากันจำนวนมากจนแน่นวัด
    ทีมแพทย์ ที่เฝ้าทำการรักษา ได้ดูแลอาการอาพาธอย่างใกล้ชิด โดยขณะเดินทางมาถึงนั้นหลวงปู่ไม่มีอาการตอบสนองใดๆ คณะแพทย์ผู้ทำการรักษาได้ดูแลอย่างใกล้ชิด จนกระทั่งเวลาประมาณ 14.30 น. หลวงปู่เริ่มมีอาการตอบสนองและกลับมารู้สึกตัวดี ทีมแพทย์ได้เรียกถามหลวงปู่ตลอดเวลาและกราบเรียนหลวงปู่ว่า ได้พาหลวงปู่กลับมาถึงวัดแล้ว
    4DQpjUtzLUwmJZZIQFE01NwUXAJgwwaxwgWdCgc2m0E0.jpg
    ทีมแพทย์จากโรงพยาบาลศรีนครินทร์ นำหลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน เจ้าอาวาสวัดป่าโสตถิผล เดินทางกลับถึงกุฏิวัดป่าโสตถิผลต่อมาเมื่อเวลา 14.52 น. หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน จึงได้ละสังขารไปอย่างสงบ สิริอายุ 84 ปี 9 เดือน 1 วัน 64 พรรษาหลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน เกิดวันที่ 5 กรกฎาคม 2474 แรม 6 ค่ำ เดือน 8 ปีมะแม เข้าบรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ 12 ปี เป็นหลานแท้ๆ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร พระเกจิชื่อดังของจังหวัดสกลนคร นอกจากนี้หลวงปู่บุญหนายังเป็นศิษย์ธรรมสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอริยสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีในบวรพุทธศาสนา พระสายวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยและหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นรุ่นสุดท้ายที่ดำรงอยู่ ณ วัดป่าโสติถิผล ต.ช้างมิ่ง อ.พรรรณานิคม จ.สกลนครตลอดเวลาที่ครองสมณเพศ หลวงปู่ได้ปฏิบัติธรรม เผยแผ่หลักธรรมคำสอนพระพุทธศาสนา โดยใช้หลักแนวคิด สอนญาติโยมให้รู้จักครองตนอยู่ในศีลธรรม ประพฤติตนเป็นคนดี ให้เป็นผู้มีสติ ระลึกรู้ในกาย วาจา คำพูด สติ อยู่เสมอ

    sam_0336-jpg.jpg sam_6796-jpg.jpg sam_6797-jpg.jpg sam_6798-jpg.jpg sam_6800-jpg.jpg sam_6801-jpg.jpg sam_6802-jpg.jpg sam_6803-jpg.jpg sam_6804-jpg.jpg sam_1610-jpg.jpg
     
  2. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 747
    เหรียญรุ่นเเรกหลวงปู่จันทา ถาวโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูน จ,พิจิตร หลวงปู่จันทาเป็นศิษย์หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถํ้ากลองเพล เหรียญสร้างปี 2539 สร้างเนื่องที่ระลึกสร้างโรงพยาบาลวังทรายพูน เนื้อทองเเดง มีตอกโค๊ต ร.พ. 39 ข้างเเขนรูปเหมือนนั่งหลวงปู่ขาว ,มีพระเกศาหลวงปู่จันทามาบูชาด้วยครับ >>>>>>>บูชาที่ 280 บาทฟรีส่งems ******ประวัติย่อพอสังเขปเเละปฏิปทาของหลวงปู่จันทา ถาวโร
    หลวงปู่จันทา เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2465 บวช‌เมื่อปี พ.ศ. 2490 หรือบวชเมื่ออายุ 25 ปี

    ปฐมบทของท่านในผ้ากาสาวพัสตร์นั้น เป็น‌การตั้งใจบวชให้แม่“นางเลี่ยม ชมพูวิเศษ”

    แม่ผู้สิ้นชีพไปขณะท่านอายุเพียง 7 ขวบ ‌แต่แค่ 7 ขวบ พระคุณแม่ก็แผ่ปกจนลูกคนนี้มิเคยลืมเลือน

    นั่นอาจเพราะรักของแม่เป็นเสาค้ำยันที่‌สำคัญที่สุดในชีวิตที่ท่านสรุปไว้เองว่า แสนทุกข์‌ยาก แสนลำบาก คิดถึงแล้วน้ำตาไหล

    ไม่ว่าจะกล่าวถึงประวัติของท่านแบบรวบ‌รัดอย่างไร ร่องรอยดังกล่าวก็ปรากฏอย่างชัด‌แจ้ง

    ลองพิจารณาดูเถิดว่า หากเรื่องราว 25 ปี ‌ของคนหนุ่มคนหนึ่งเป็นเช่นต่อไปนี้ ริ้วรอยใน‌จิตใจของเขาจะเป็นอย่างไร?
    มีพี่น้อง 6 คน แม่ตายอายุ 7 ขวบ พ่อ‌แต่งงานใหม่ แม่เลี้ยงเลี้ยงลูกแบบหมากับแมว ‌สุดท้ายพ่อก็ไปอยู่กับแม่ใหม่ ทิ้งให้เป็นลูกกำพร้าให้อยู่กับญาติๆ ไม่ได้รับการศึกษา ได้แต่‌เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย อายุ 23 ปี แต่งงานกับแม่ม่ายลูกติด 3 คน ชีวิตครอบครัวล่มสลาย ‌เพราะวันหนึ่งไปหาปลาจนเหน็ดเหนื่อยกลับมา‌ถึงบ้านแทนที่ภรรยาจะเห็นใจ กลับด่าขู่ตะคอก‌ว่า มันมัวแต่ไปเที่ยวเถลไถลจนมืดค่ำ ต่อว่าไม่‌พอ ยังถลกผ้าถุงปัสสาวะใส่เครื่องมือหาอยู่หา‌กินอย่าง ข้อง แห ฯลฯ สุดท้ายเลยได้หย่าขาด‌จากกัน

    88293F602F864A1F8E5241CDF0EB963C_1000.jpg
    ใครผ่านชีวิตเยี่ยงนี้ คงมีทางแยกให้เลือก‌เพียงสองทาง

    หนึ่ง คือ ทุ่มชีวิตใส่โลกนี้อย่างเกรี้ยวกราด

    สอง ใช้ความโศกสลดเก็บเกี่ยวความทุกข์‌มาเป็นปัญญา

    หนุ่มจันทาเลือกประการหลัง

    ถึงเช่นนั้นก็ใช่ว่ามันจะดำเนินต่อไปอย่าง‌เรียบง่าย เพราะความที่ไม่รู้หนังสือ อ่านไม่ออก ‌เขียนไม่ได้ แค่ขานนาคขอบวชก็ต้องท่องแล้ว‌ท่องอีก คนอื่นท่องได้เป็นประโยค เป็นท่อน ‌ของท่านได้วันละคำ แต่ก็เพียรเอาจนได้
    บวชได้แล้ว ผู้รู้หรือครูบาอาจารย์บางรูปก็‌ใช่ว่าจะอดทนต่อความไม่รู้หนังสือของท่าน แต่‌บางรูปก็เมตตาอดทนสอนให้ แต่หลวงปู่หนู วัด‌บ้านปลาผ่า พระอุปัชฌาย์นั้นไม่เพียงเมตตา‌อบรมสั่งสอนโดยไม่ระย่อ หากแต่ยังสั่งไว้ด้วย‌ว่า เธอเป็นคนทุกข์คนยาก ไม่มีความรู้ วาสนา‌น้อย บุญน้อย เป็นคนกำพร้า อนาถา ฉะนั้น‌บวชแล้วอย่าสึก ชีวิตนี้ได้พบธรรมะแล้วให้‌เจริญในธรรม

    พระหนุ่มจันทาก็รับปาก และตั้งอกตั้งใจบำเพ็ญเพียร เพราะเกรงว่า“จะได้บุญน้อย ไม่‌ได้ไปช่วยแม่”

    หลังบำเพ็ญเพียรทุกครั้ง ท่านอุทิศส่วน‌กุศลไปให้แม่ทุกคน

    ทำเช่นนั้นมาเรื่อย จน 25 ปีให้หลัง จึงเห็น‌ผลจากเรื่องแปลกประหลาดประการหนึ่ง

    หลานสาววัย 2 ขวบของท่านเอ่ยปากออก‌มาในวันหนึ่งว่า เธอคือแม่ท่าน พอซักถามเรื่อง‌ในอดีตก็ตอบได้หมด พอถามว่าตอนตายไป‌แล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้ได้รับไหม เธอว่าได้รับ‌ทุกคืนตอน 5 ทุ่ม ซึ่งเป็นเวลาที่ท่านไหว้พระ‌สวดมนต์และอุทิศส่วนกุศลให้แม่หลังเดินจงกรม นั่งสมาธิ และด้วยอำนาจบุญนั้นเองทำให้ได้หลุดพ้นจากนรกมาเกิดอีกครั้งหนึ่ง

    หลวงปู่จันทาญัตติจากมหานิกายเป็นธรรม‌ยุตเมื่อปี พ.ศ. 2493 เป็นการนับพรรษาหนึ่ง เริ่ม‌ฝึกจิตกับหลวงปู่ทับ เขมโกในพรรษาแรกนั่น‌เอง จิตท่านก็พอสงบ หรือที่เรียกว่า ขณิกสมาธิ

    พอพรรษาที่สอง ติดตามหลวงปู่จันทร์ไป‌วิเวก จิตรวมลงฐานใหญ่กว่าขณิกสมาธิ ส่อง‌สว่างกระจ่างแจ้ง กลางคืนราวกับกลางวัน ผู้รู้‌เอ่ยขึ้นว่า นัตถิ สันติปะรัง สุขัง ความสุขอื่นยิ่ง‌กว่าความสงบไม่มี

    เป็นความสงบในระดับ อุปจารสมาธิ

    ในพรรษาที่สาม ขณะภาวนาที่วัดป่าวิเวก‌การาม บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี จิตรวม‌ลงละเอียดกว่าเดิมอีก แต่ไม่รู้วิธีถอน พอออก‌มาแล้วถามว่า ไม่ได้เอากายมาด้วยหรือ จึงเอา‌มือคลำดูกายก็ยังอยู่ พอคลำดูอีกทีกายหายไป

    ต่อเมื่อมาพบหลวงปู่บัว สิริปุณโณพระ‌อรหันต์แห่งวัดป่าหนองแซง เล่าความนี้ให้ท่าน‌ฟัง ท่านจึงวินิจฉัยว่า จิตลงถึงขั้นอัปปนาสมาธิ ‌แต่เป็นอารมณ์เดียว พิจารณาอะไรไม่ได้ ‌เพราะขาดปัญญา เมื่อจิตถอนขึ้นมาอยู่ระหว่าง ‌อุปจารสมาธิ แล้วจะรวมลงอีก ก็กำหนดไว้อย่า‌ให้รวม ให้เดินวิปัสสนา ค้นคว้าในภพชาติ‌สงสาร น้อมลงสู่สภาพความแก่ ความเจ็บ ‌ความตาย พอตายแล้วก็เพ่งขึ้นอืด ขึ้นพอง เน่า‌เปื่อย ถึงสภาพเน่าเปื่อยแล้วให้ยึดดาบเพชร ‌คือ สติ ปัญญา ถอนสังโยชน์ 5 คือ สักกาย‌ทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ ‌พยาบาท ขาดจากใจ

    ถ้าจิตรวมได้ฐานนี้ เป็นมูลฐานอันใหญ่ ‌สำหรับที่จะถอนสังโยชน์ 5 ออกจากใจได้บรรลุ ‌อนาคามีผล

    หลวงปู่จันทาตั้งมั่นได้แล้ว จากนั้นก็เจริญ‌ในธรรมตามลำดับ

    ท่านได้ฝากตัวเข้ารับการฝึกอบรมจากพ่อแม่‌ครูอาจารย์หลายรูป อาทิหลวงปู่บัว หลวงปู่ฝั้น ‌อาจาโร หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่หลุยจันทาสาโร หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    รูปที่ท่านอยู่อุปฐากนานที่สุดคือ หลวงปู่‌ขาว

    เมื่อมาสู่สำนักถ้ำกลองเพลนั้น หลวงปู่ขาว‌ให้อดนอน ผ่อนอาหาร เร่งความเพียร

    เดือนแรกให้เดิน 1 ชั่วโมง ยืน 10 นาที ‌นั่งสมาธิ 1 ชั่วโมง

    เมื่อเข้าสู่ทางจงกรมให้ยกมือไหว้ครู พุทโธ ‌ธัมโม สังโฆ สรณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าจะฝึกจิต ‌บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทางกาย ‌วาจา ใจ ขอจงให้เป็นไป ให้รู้ธรรมเห็นธรรม‌เกิดขึ้น แล้ววางมือซ้ายใต้พกผ้า เอามือขวาทับ ‌ก้าวขวาว่า พุทโธ ก้าวซ้าย ธัมโม ก้าวขวาว่า ‌สังโฆ เดินไม่ช้า ไม่เร็ว สุดท้างจงกรมเลี้ยวขวา ‌ทำอย่างนั้น 3 รอบ รอบที่ 4 ให้หยุดเอาอารมณ์‌เดียวคือ ขวาว่า พุธ ซ้ายว่า โธ

    ยืนภาวนา 10 นาทีนั้นให้ผินหน้าไปทิศ‌ตะวันออก หายใจเข้าว่า พุทธ ออกว่า โธ ผ่อน‌ลมให้เป็นที่สบาย

    ส่วนนั่งสมาธิอีก 1 ชั่วโมงนั้น ให้ไหว้พระ‌ย่อๆ ก่อน แล้วปล่อยวางความยากก่อนภาวนา ‌เพราะถ้าอยากให้สงบมันไม่สงบ ฉะนั้นให้‌ปล่อยวางความอยาก ปล่อยวางความอาลัยใน‌สังขาร

    ท่านว่า การทำความเพียรทุกประโยคต้อง‌ปล่อยวางความอยากเสมอ เมื่อประกอบเหตุ‌พร้อม ผลจะสนองเอง ไม่ต้องสงสัย

    การนั่งสมาธิก็ให้ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้าไม่ให้ก้ม ไม่ให้เงย ไม่เอียงซ้าย ขวา วางกาย ‌วางใจ ให้อ่อน หายใจเข้าพุธ หายใจออกโธ ถ้า‌เข้ายาวก็ออกยาว ให้มีสติรู้ ผ่อนลมจนเป็นที่‌สบาย ถ้าเกิดเวทนาคันยุบยิบก็อย่าลูบคลำ อย่า‌เกา อย่าพลิก ให้นั่งทับทุกข์ เผากาย เผาจิต

    จะเดิน ยืน นั่ง ให้เจริญวิปัสสนา

    ระหว่างทำความเพียรนั้น ห้ามเอาหนังสือ‌มาอ่าน การงานแม้แต่น้อยนิดก็อย่าให้มี เพราะ‌การอ่านหนังสือคือส่งจิตออกนอก เดิน ยืน นั่ง ‌ให้เอาอารมณ์เดียวคือ พุธโธ ธัมโม สังโฆ

    ปฏิบัติมาเดือนที่สอง หลวงปู่ขาวให้เร่งขึ้น‌เป็นเดิน 2 ชั่วโมง ยืน 15 นาที นั่ง 2 ชั่วโมง

    เดือนที่สาม เร่งเป็นเดิน 3 ชั่วโมง ยืน 20 ‌นาที นั่ง 3 ชั่วโมง

    สุดท้ายฝึกอย่างอุกฤษฏ์คือ นั่งคืนยันรุ่ง ‌โดยไม่กระดุกกระดิก ไม่พลิกไหว

    ด้วยวิถีเช่นนั้น จิตท่านสงบจากขั้นขณิก‌สมาธิ ลงถึงอุปจารสมาธิ เกิดสุขจากสมาธิ ‌หลวงปู่ขาวก็กำกับว่า อย่าติดสุข ให้พิจารณา ‌ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ

    เมื่อจิตยึดสติปัญญา เห็นความไม่เที่ยง เห็น‌อนัตตา จิตก็ตั้งมั่น ในพระพุทธ พระธรรม พระ‌สงฆ์ โดยไม่หวั่นไหว

    ท่านว่า ออกพรรษาปีนั้นใจมันเปลี่ยน‌สภาพ จากเดิมมามั่นคงอยู่กับการเจริญสมถ‌วิปัสสนาธรรม เลยยืน เดิน นั่งแบบนั้นตลอด‌ไตรมาส เป็นเวลาถึง 5 ปี ปีที่ 5 นั้นทำต่อ‌เนื่องอยู่ถึง 7 เดือน

    ระหว่างภาวนากับหลวงปู่ขาวนั้น เช้าหนึ่ง‌หลวงปู่ขาวได้ถามท่านว่า“ทา...พ้นทุกข์หรือยัง ผมเข้าใจว่า ท่านพ้นทุกข์แล้วนะ ‌เพราะเห็นท่านนั่งภาวนาแล้วมีรัศมีรุ่งโรจน์‌คืนยันรุ่ง”

    หลวงปู่จันทากราบเรียนท่านว่า ยังหรอก‌ครับหลวงปู่ เพียงแต่เมื่อคืนสำคัญที่สุดกว่าทุก‌คืน และคืนที่ว่านั้นคือ คืนที่จิตรวมพรึ่บเหลือ‌แต่ผู้รู้กับสติ และจิตตั้งมั่นในพระพุทธ พระ‌ธรรม พระสงฆ์ ถวายชีวิตเป็นพรหมจรรย์ ไม่‌กลับคืนโลกอีกแล้วนั่นเอง

    หลวงปู่จันทา เล่าไว้ถึงการสิ้นความลังเล‌สงสัยในมรรคผลนิพพานว่า เมื่อก่อนก็สงสัยว่า ‌มรรคผลธรรมวิเศษนั้นหมดสมัยไปแล้ว ไม่มีอีก‌แล้ว แต่ก็เชื่ออยู่ว่า ถ้าปฏิบัติจริงต้องได้รู้ได้เห็น ‌จึงตั้งใจอธิษฐานที่วัดป่าแก้วบ้านชุมพล อ.สว่าง‌แดนดิน จ.สกลนคร ว่า ถ้าบุญพาวาสนาส่งที่‌ได้ประพฤติปฏิบัติมาแต่ภพก่อนและชาตินี้‌ประกอบกันเข้า ก็ขอจงเห็นเป็นไป จะได้สิ้น‌สงสัย จะทำความเพียรบูชาพระพุทธ พระ‌ธรรม พระสงฆ์ เพื่อว่าจะได้แลกเปลี่ยนเอาซึ่ง‌บุญกุศลมรรคผลเท่าที่ควรนั้นขอจงเป็นไป

    จากนั้นตั้งสัตย์ว่า 6 วัน 6 คืน จะไม่นอน ‌แต่ละวันจะฉันเพียง 5 คำ

    ท่านว่า พอดำเนินไปตามนั้นครบ 6 วัน ‌นอนลงพักผ่อน โดยวางความอยาก วางหมด‌ความอยากรู้ อยากเห็น อะไรทั้งหลายวางหมด ‌จิตก็รวมพั่บลงถึงขณิกสมาธิ หนังแขนขวาแตก‌ออกตั้งแต่สุดปลายมือจนถึงแขนศอก กระดูก‌แทงทะลุหนังขึ้นมา เป็นอสุภกรรมฐาน มรณ‌กรรมฐาน

    เกิดนิมิตหนนี้ต่างจากคราวก่อน เพราะ‌ตอนนี้ได้ครูบาอาจารย์แนะนำสั่งสอนมาแล้ว ‌ท่านว่าได้มีดในนิมิตมาจากไหนไม่รู้ ค่อยๆ ปาด‌หนัง ค่อยๆ แล่ออกทั้งแขน ทั้งขาออกหมด ‌เหลือแต่เนื้อห่อหุ้มอยู่ ปาดศีรษะ ลอกออก ‌เหลือแต่ตา ดึงไม่ออก จากนั้นหลังได้กลับเข้า‌ไปหุ้มร่างกายตามเดิม จิตพับกลับเข้าไปสู่ภพ‌เก่าที่มาถือปฏิสนธิในครรภ์มารดา

    เมื่อกำหนดถามว่า ธรรมที่เกิดขึ้นนี้เป็น‌ธรรมอะไร ก็มีคำตอบว่า เป็นผลมาจากการ‌ปฏิบัติ และตราบใดที่มีผู้ปฏิบัติตามคำสอนของ‌พระพุทธองค์ ตราบนั้นบุญกุศลมรรคผล ธรรม‌อันวิเศษยังมีอยู่ตราบนั้น ไม่มีหมดไปจากโลก ‌ไม่มีสาบสูญไปจากผู้ปฏิบัติ

    จากนั้นเมื่อน้อมลงสู่ไตรลักษณ์ เพ่งอยู่‌อย่างนั้น แบบ“ไม่กลัวตาย ใจกล้าแข็ง อาจ‌หาญ ชาญชัย กำหนดปล่อยวางเสมอ อุปาทาน ‌ความยึด น้อมลงสู่ไตรลักษณ์”

    พอหนังแตก กระดูกโผล่ขึ้นมา อนิจจาทุกขตา อนัตตา อนิจจตา ความไม่เที่ยง เป็น‌ทุกข์ ความแปรปรวน การไม่ถือตัวตนเราเขา ‌ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่เที่ยงแท้คลายกำหนัด ‌ไม่ยึดไม่ถือต่อไป

    “เมื่อไม่ยึดไม่ถือต่อไปแล้ว ก็เร่งความเพียร‌เผากิเลส สิ่งเป็นเหตุให้เกิดภพชาติสังขารซ้ำๆ ‌ซากๆ ให้กิเลสนั้นเร่าร้อนกระวนกระวาย ผล‌สุดท้ายกิเลสนั้นก็ทนไม่ไหว ก็คงจะออกไปได้ ‌ถ้าไม่ขาดจากใจไปอย่าง สมุจเฉทปหาน ก็จะ‌ออกจากใจไปอย่างที่เรียกว่า ตทังคปหาน ‌ประหารอยู่ด้วยความเพียร เดิน ยืน นั่ง หรือ‌วิกขัมภนปหาน ประหารอยู่ด้วยสติปัญญาข่มขู่‌ฝึกสอนจิตให้เห็นชอบทุกอย่าง

    น้อมลงสู่ไตรลักษณ์ กิเลสนั้นก็พลอยที่จะ‌อ่อนกำลัง จะหมดสิ้นไปแล้ว กายกับจิตกับสติ‌นั้นจะรวมเข้าไปเป็นมรรคสามัคคีอารมณ์เดียว ‌เห็นจริงแจ้งชัดทุกอย่างนั้นแหละ โดยไม่ต้อง‌สงสัย

    จากนั้นจิตก็จะสงบ ลงขั้นไหนก็ไม่ทราบ ‌สงบลงไปนั้น แสงสว่างเกิดขึ้น ปีติก็เกิดขึ้น ก็‌เป็นกำลังของจิตนั่นแหละ จิตนั้นได้ดื่มรสของ‌ความสงบและเห็นธรรมเกิดขึ้น จิตนั้นก็สิ้น‌สงสัยในไตรวัฏโลกธาตุ ไม่มีอะไรเป็นเขา เป็น‌เรา หมดเสียสิ้น”

    หลวงปู่จันทา หยุดวัฏฏะสงสารในชาตินี้‌แล้วด้วยวัย 90 ปี 11 วัน

    sam_0322-jpg.jpg sam_6666-jpg.jpg sam_6667-jpg.jpg sam_1450-jpg.jpg

     
  3. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    *****เพื่อนสมาชิกที่สนใจ สามารถโอนเข้าบัญชีธนาคาร กรุงเทพ สาขาบ้านเเพง เลขบัญชีที่ 496-055842-9,ธนาคาร กรุงไทย สาขาบิ๊กซี ลำพูน เลขบัญชี 854-0-31280-8,ธนาคาร กสิกรไทย สาขาเสนา เลขที่บัญชี 016-3-45911-6, ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเสนา เลขที่บัญชี 770-270878-6 ขอขอบคุณครับ
     
  4. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 748
    เหรียญเสมามหาเศรษฐี+ เหรียญเมตตา คํ้าจุนโลกหลวงปู่ท่อน ญาณธโร พระอรหันต์เจ้าวัดศรีอภัยวัน อ.เมือง จ.เลย หลวงปู่ท่อนเป็นศิษย์ผู้ใหญ่หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถั้าผาปู่ เหรียญเสมามหาเศรษฐีสร้างปี 2553 เนื้อกะไหล่ทอง มีตอกโค๊ตตัวเลข ๙๙ หลังเหรียญเเละโค๊ตยันต์ หน้าเหรียญ ส่วนเหรียญเมตตา คํ้าจุนโลก สร้างปี 2551 มีตอกโค๊ต ยันต์หน้าเหรียญ เนื้อทองเเดงรมนํ้าตาล มีพระเกศาหลวงปู่ท่อนมาบูชาด้วยครับ>>>>>>>>>บูชาที่ 310 บาทฟรีส่งems sam_5595-jpg.jpg sam_5597-jpg.jpg sam_5593-jpg.jpg sam_5594-jpg.jpg sam_1885-jpg.jpg
    >>>>>>>ประวัติย่อๆพอสังเขปหลวงปู่ท่อน ญาณธโร ประวัติ หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
    วัดศรีอภัยวัน อำเภอเมือง จังหวัดเลย
    หลวงปู่ท่อน ญาณธโร มีนามเดิมว่า ท่อน ประเสริฐพงศ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ ณ บ้านหินขาว ต.สาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น บรรพชาอุปสมบทเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๑ ณ วัดศรีจันทร์ (พระอารามหลวง) อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยมีพระเทพบัณฑิต (อินทร์ ถิรเสวี ป.ธ.๕) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพิศาลสารคุณ วัดศรีจันทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูคัมภีรนิเทศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาสุพจน์ อุตตโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ สังกัดธรรมยุติกนิกาย
    ภายหลังอุปสมบทแล้ว ท่านได้เดินทางไปพำนักจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่คำดี ปภาโส
    ณ วัดป่าชัยวัน โดยหลวงปู่คำดีเป็นอาจารย์กัมมัฏฐาน คอยสอนให้ทำภาวนา นั่งสมาธิกัมมัฏฐาน ในช่วงออกพรรษา ท่านได้เป็นหัวหน้าออกเดินธุดงค์เข้าป่าเป็นกิจวัตร ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๗ หลวงปู่คำดีนำคณะเข้าป่าและถ้ำต่างๆ ท่านได้ภาวนา ทำความเพียร ตลอดจนให้ศรัทธาญาติโยมมาฟังธรรมะ และในพรรษานี้เอง หลวงปู่ท่อนได้อยู่จำพรรษา ณ วัดถ้ำผาปู่นิมิตร อ.เมือง จ.เลยกับหลวงปู่คำดีด้วย
    ครั้งหนึ่งท่านได้มีโอกาสพบหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า และได้รับโอวาทอันทรงคุณค่าอย่างหาที่เปรียบมิได้จากหลวงปู่มั่นว่า “ให้เร่งทำความเพียร มิให้ประมาท ชีวิตนี้อยู่ได้ไม่นานก็ต้องตาย” หลังจากนั้น ท่านมีโอกาสได้ไปกราบเยี่ยมครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่หลุย จันทสาโร, หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงพ่อมหาปิ่น ชลิโต เป็นต้น
    เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ คณะศรัทธาญาติโยม ได้นิมนต์ให้หลวงปู่ท่อนไปอยู่ที่ป่าช้านาโป่ง อ.เมือง
    จ.เลย ซึ่งต่อมาได้สร้างเป็น “วัดศรีอภัยวัน” โดยหลวงปู่ท่อนได้จำพรรษาที่วัดศรีอภัยวันเรื่อยมา จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๕๕๘ ท่านได้เมตตามาจำพรรษาที่ วัดป่ามณีกาญจน์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดียิ่ง ที่คณะศรัทธาทางกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีโอกาสได้ร่วมทำบุญกับท่าน รวมถึงได้รับโอวาทธรรมจากท่านอย่างใกล้ชิด
    หลวงปู่ท่อน ญาณธโร ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ “พระราชญาณวิสุทธิโสภณ” ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ ปัจจุบัน ท่านสิริอายุ ๘๗ ปี พรรษา ๖๗ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีอภัยวัน และที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเลย (ธรรมยุต) เป็นพระเถราจารย์ผู้ใหญ่สายวิปัสสนากัมมัฏฐาน ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีความเชี่ยวชาญด้านจิตตภาวนา การเทศนาธรรม และวิทยาคมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
     
  5. Peterbn

    Peterbn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2018
    โพสต์:
    442
    ค่าพลัง:
    +290
    จองครับ
     
  6. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 749
    พระรูปเหมือนกริ่งปโมฑิโตหลวงปู่หลอด ปโมฑิโต พระอรหันต์เจ้าวัดสิริกมลาวาส เขตลาดพร้าว จ.กรุงเทพมหานคร หลวงปู่หลอดเป็นศิษย์หลวงปุ่มั่นยุคกลาง รูปเหมือนกริ่งสร้างปี 2537 สร้างเนื่องหลวงปู่อายุครบ 80 ปี เนื้อโลหะรมดำ ก้นทองเเดง มาพร้อมกล่องเดิม มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชา >>>>>>บูชาที่ 490 บาทฟรีส่งems sam_7267-jpg.jpg sam_6326-jpg.jpg sam_6327-jpg.jpg sam_6329-jpg.jpg sam_2721-jpg.jpg sam_6330-jpg.jpg
    ประวัติย่อๆหลวงปู่หลอด ปโมฑิโต หลวงปู่หลอด ปโมทิโต วัดสิริกมลาวาส(วัดใหม่เสนา) แขวงลาดพร้าว เขตบางกะปิ กทม.
    กรุงเทพมหานครเมืองหลวงของประเทศไทยของเราที่กำลังสับสนไปด้วยการจราจรที่วุ่นวาย แต่ก็ยังคงมีดินแดนที่สงบภายใต้ร่มเงาของพระศาสนาอันเป็นที่พึ่งทางจิตใจของพุทธศาสนิกชน ที่แห่งนั่นก็คือ บริเวณอันเป็นอาณาเขตของวัดวาอารามซึ่งก็มีอยู่หลายต่อหลายแห่งทั่วกรุงเทพฯ แต่ในวันนี้จะขอนำทุกท่านไปรู้จักกับวัดแถวๆย่านลาดพร้าว บริเวณซอยเสนานิคม หรือที่ชาวบ้านร้านค้าส่วนใหญ่นิยมเข้าไปกราบไหว้พระเกจิอาจารย์ในเขตนี้ ต่างให้ความเคารพนับถือท่านผู้มีนามว่า หลวงปู่หลอด หรือพระครูปราโมทย์ธรรมธาดา ซึ่งท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดสิริกมลาวาส หรือ วัดใหม่เสนา อันมีทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้ๆกับห้างสรรพสินค้าจัสโก้วังหิน แม้ว่าจะอยู่ท่ามกลางแหล่งชุมชน แต่ภายในวัดนั้นดูสงบร่มเย็นและเป็นระเบียบเรียบร้อยไม่วุ่นวายจอแจเหมือนข้างนอก ตามเจตนารมณ์ของหลวงปู่หลอดผู้บุกเบิกก่อสร้างวัดนี้ขึ้นมาตามคำแนะนำของพระอาจารย์ท่าน บางท่านอาจจะเคยได้ยินชื่อของหลวงปู่หลอด แห่งวัดสิริกมลาวาสมาแล้ว แต่วันนี้เราจะมาทำความรู้จักถึงความเป็นมาของท่านพร้อมกับชีวประวัติของท่านโดยสังเขปกัน
    หลวงปู่หลอด ท่านเป็นพระที่สมถะ และเป็นพระที่มีกิจวัตรปฏิบัติที่น่าเลื่อมใส และถ้าเจาะลึกไปถึงอดีตของท่านแล้ว ทุกท่านจะเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า ไม่ใช่แค่การบวชเรียนเท่านั้น หลวงปู่หลอดท่านพยายามศึกษาวิชาความรู้ และพยายามปฏิบัติจนเข้าใจถึงความลึกซึ้งในพระบวรพระพุทธศาสนา ย้อนไปในอดีตของท่านนั้นหลวงปู่หลอดท่านเปิดเผยให้ฟังว่า แต่เดิมนั้นท่านเป็นคนบ้านขาม ต.หัวนา อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี หรือที่ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู ท่านเป็นเพียงลูกชาวนาธรรมดาคนหนึ่ง มิได้เกิดมาพร้อมกับความสะดวกสบาย โยมบิดาท่านมีนามว่าพ่อบัวลา โยมมารดา มีนามว่า แม่แร่ นามสกุล ขุริมน ท่านมีพี่น้องทั้งหมด 3 คนโดยหลวงปู่หลอดท่านเป็นคนสุดท้อง ท่านเกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2458 ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 2 ค่ำเดือนอ้าย ปีเถาะ จส.1277 ณ บ้านขาม ต.หัวนา อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี ชีวิตของท่านในช่วงวัยเยาว์นั้นก็มิได้มีอะไรผิดแปลกแตกต่างไปจากเด็กทั่วๆไปในท้องถิ่นของท่าน ท่านเริ่มได้รับการศึกษาในโรงเรียนประชาบาล วัดบ้านหิน ต.หัวนา อ.หนองบัวลำภู ซึ่งในสมัยนั้นนักเรียนส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยได้รับความสะดวกสบายในการเล่าเรียนเหมือนสมัยนี้เพราะทั้งหนังสือเรียนและสมุดดินสอก็เป็นเพียงกระดานชนวน การเรียนการสอนจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ความตั้งใจมากกว่าการเรียนให้ผ่านๆไป และก็ต้องมีการสอบเพื่อจะผ่านไปแต่ละชั้นเรียน หลวงปู่หลอดนั้นเรียนจนกระทั่งจบหลักสูตร ซึ่งในสมัยนั้นหลักสูตรการเรียนก็จะเป็นหลักสูตรชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เท่านั้น และหลังจากที่หลวงปู่หลอดท่านจบการศึกษาแล้วท่านก็จะออกมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา ตามหน้าที่ของบุตรที่มีความกตัญญูรู้คุณต่อบุพการี ชีวิตของหลวงปู่หลอดในช่วงนี้ดูแล้วไม่น่าที่จะเข้าสู่ร่มกาสาวพัตรได้ จนกระทั่งหลวงปู่หลอดท่านมีอายุครบ 16 ปี ในพ.ศ.2475 โยมมารดาของท่านก็ได้ถึงแก่กรรมไปด้วยวาระแห่งสังขารที่ไม่เที่ยง เป็นผลให้ชีวิตภายในครอบครัวของท่านนั้นไม่อบอุ่นเหมือนดังที่เคยเป็นมา ความว้าเหว่และหดหู่เริ่มเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาถึง 2 ปี จบจนกระทั่งหลวงปู่หลอดท่านมีอายุได้ 18 ปีท่านจึงได้ตัดสินใจลาโยมบิดาของท่านเพื่อหันเหเข้าสู่ทางสงบด้วยการบรรพชาเป็นสามเณร ณ พัทธสีมา วัดศรีบุญเรือง ต.หัวนา อ.หนองบัวลำภู ด้วยความตั้งใจที่จะหาทางธรรมเพื่อเป็นที่พึ่งทางจิตใจ และอยากที่จะศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์หลังจากที่บรรพชาเป็นสามเณรแล้วได้ไม่นานนัก ความตั้งใจของหลวงปู่หลอดท่านก็ต้องเปลี่ยนไปอีกครั้ง เหตุเพราะว่า โยมบิดาของท่านได้ถึงแก่กรรมลงไปอีกคนหนึ่ง พี่ๆสองคนต้องทำหน้าที่ในการประกอบอาชีพแทนโยมบิดาทำไร่ทำนา พี่ๆของท่านได้มาขอให้ท่านลาสิกขาบทไปช่วยอีกแรงหนึ่ง หลวงปู่หลอดหรือสามเณรหลอดในครั้งนั้นก็มีความเห็นอกเห็นใจ จึงได้ลาสึกจากการเป็นสามเณรสู่การเป็นชาวนาอีกครั้งเพื่อเป็นกำลังสำคัญแทนโยมบิดาที่เสียชีวิตไป ด้วยการเสียสละทั้งๆที่ตัวท่านเองที่มีความตั้งใจที่จะบวชเรียน
    หลวงปู่หลอดท่านได้เพียรพยายามช่วยเหลือครอบครัวอยู่จนกระทั่งท่านอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ หลวงปู่หลอดท่านจึงได้มีโอกาสเข้าบรรพชาอุปสมบทอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2479 ณ พัทธสีมา วัดธาตุหันเทาว์ ต.บ้านขาม เป็นพระภิกษุในสังกัดมหานิกาย ตรงกับวันจันทร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือนสาม ปีจอ โดยมีพระอาจารย์ชาลีวัดโพธิ์ชัยสะอาด บ้านจิก อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์ขาน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้พำนักที่วัดธาตุหันเทาว์ ในขณะนั้นมีพระอาจารย์มหาตัน สุตตาโน เป็นเจ้าอาวาส ด้วยความที่ท่านรู้สึกเสียดายที่ท่านต้องสึกจากการเป็นสามเณร ในพรรษาแรกของหลวงปู่หลอดนั้นท่านมีหน้าที่ที่จะต้องคอยรับใช้เจ้าอาวาส ในช่วงนี้หลวงปู่หลอดได้มีโอกาสพบกับอาจารย์มณฑา ซึ่งท่านเดินทางมาจากวัดบ้านโกทา จ.ขอนแก่น จึงได้ปรึกษากันว่าจะพากันไปศึกษาธรรมะ ณ วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี ซึ่งมีพระเดชพระคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลอยู่ นับว่าเป็นสำนักเรียนที่มีชื่อเสียงที่สุดในภาคอีสานในขณะนั้นก็ว่าได้ หลวงปู่ได้เดินทางมาถึงวัดโพธิสมภรณ์ ในเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ.2479 เมื่อหลวงปู่ได้พำนักอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านจึงได้สมัครเรียนนักธรรม และพระบาลีตามประกาศของสำนักเรียนในวัดโพธิ์สมภรณ์ เมื่อเปิดเรียนไม่นาน หลวงปู่ก็ลาออกจากการเรียนพระบาลี เหลือแต่นักธรรมอย่างเดียว
    หลวงปู่หลอดท่านเล่าว่า ท่านโชคดีที่ท่านได้ไปพบกับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่วัดป่านิโครธารามและได้มีโอกาสเรียนกรรมฐาน กับหลวงปู่อ่อนพร้อมทั้งการศึกษาเกี่ยวกับขันธ์ 5 จึงถือได้ว่าหลวงปู่อ่อนท่านเป็นพระอาจารย์เกี่ยวกับทางกรรมฐานของท่านเป็นรูปแรก
    และเนื่องจากการที่ท่านเป็นพระมหานิกาย จึงทำให้เกิดความไม่สะดวกต่อการทำสังฆกรรม เช่น การลงประชุมฟังพระปาติโมกข์ หลวงปู่ก็มิได้ลงร่วมฟังสังฆกรรมดังกล่าว เมื่อเป็นเช่นนั้น หลวงปู่ท่านรู้สึกไม่ค่อยสะดวกและสบายใจเท่าไรนัก ในพรรษาที่ 4 หลวงปู่หลอดท่านจึงได้ขอแปรญัตติเป็นพระนิกายธรรมยุติ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2479 ที่วัดทุ่งสว่าง ต.โพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย เพื่อความสะดวกในการทำสังฆกรรม พร้อมทั้งการเรียนภาษาบาลีโดยครั้งนั้นท่านได้รับฉายาทางธรรมว่า "ปโมทิโต" ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่หลอดอายุ 21 ปี
    จนกระทั่งท่านศึกษาจบนักธรรมชั้นตรี ท่านจึงมาเป็นครูสอนนักธรรมตรีที่วัดธาตุหันเทาว์ ซึ่งขณะนั้นขาดแคลนครูสอน และอยู่จำพรรษาที่นี่เพื่อที่จะศึกษาธรรมะกับท่านมหาเส็ง ปุสโส ทั้งทางด้านทฤษฏีและปฏิบัติเมื่อศึกษาและสอบนักธรรมสำเร็จ ท่านได้พบพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อพระอาจารย์วิฤทธิ์ ปุญญมาโน ซึ่งเคยอยู่วัดโพธิสมภรณ์มาก่อนได้ชวนหลวงปู่หลอดออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมด้วยกัน ท่านจึงตกลงและต้องถือว่านี่เป็นการธุดงค์อย่างแท้จริงครั้งแรกของหลวงปู่หลอดที่จะต้องผ่านทางธุรกันดาร สัมผัสธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น ป่าทึบ และสัตว์ร้าย อีกทั้งภูเขา น้ำตก ถ้ำ ซึ่งทุกอย่างยังอุดมสมบูรณ์มาก และเป็นสิ่งที่หาได้ยากยิ่งในปัจจุบันทำให้การทำความเพียรได้ผลดีมาก หลวงปู่หลอดท่านเล่าว่าบางครั้งท่านเองก็เกือบเอาชีวิตไม่รอดเพราะเสือโคร่งที่หิวโซมาประชันหน้ากับท่าน หลวงปู่หลอดท่านใช้เวลาในการปฏิบัติธรรมในระหว่างธุดงค์อยู่นานถึง 18 ปี จะอาศัยวัดบ้างในช่วงระยะจำพรรษาเท่านั้นและวัดแต่ละวัดท่านก็จะไม่ยึดติด การเดินทางตลอดเวลาของท่านทำให้ท่านได้มีโอกาสในการศึกษาหาความรู้จากพระอาจารย์หลายต่อหลายรูป เช่นหลวงปู่หลุย จันทสาดร และพระอาจารย์ซามา อจุตโต พระอาจารย์อ่อนสี สีลขันโธ หรือแม้แต่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระสุดยอดเกจิอาจารย์ ไปจนถึงหลวงปู่แหวน สุจิณโณ แห่งล้านนา หลวงปู่เทศก์ เทสรังสี หลวงปู่ขาว อนาลโย พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินธโร พระอาจารย์บัวพา ปัญญาพาโส พร้อมทั้งพระอาจารย์อีกหลายท่าน ตลอดระยะเวลาท่านปฏิบัติบำเพ็ญอย่างต่อเนื่องในระหว่างออกธุดงค์ หลวงปู่หลอดท่านก็ได้พัฒนาถาวรวัตถุไว้หลายแห่ง เช่นที่สำนักสงฆ์อัมพวัน ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาเป็นวัดเจริญธรรม นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างสำนักสงฆ์ นฤมลวัฒนา อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ และร่วมกับหลวงปู่เหรียญสร้างวัดจันทรารามที่บ้านนาคำ อ.ผือ จ.อุดรธานี จากนั้นหลวงปู่หลอดท่านได้ไปจำพรรษาทางภาคเหนืออยู่ที่วัดสันติวนาราม อ.เถิน จ.ลำปาง จนกระทั่งกลางปี พ.ศ.2509 หลวงปู่ตัดสินใจจะเข้าอยู่กรุงเทพฯ โดยการชักชวนของเพื่อนพรหมจรรย์ ที่เคยร่วมทุกข์ร่วมยากกันมา ในที่สุดหลวงปู่ก็ตัดสินใจเข้าอยู่จำพรรษาที่วัดธรรมมงคล พระโขนง กรุงเทพฯ กับเจ้าคุณวิริยังค์ ซึ่งในอดีต หลวงปู่เคยอยู่ด้วยที่วัดป่าบ้านโคกนามน ตำบลตองโขบ จังหวัดสกลนคร โดยขณะนั้นพระอาจารย์ใหญ่ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นประธานสงฆ์ ส่วนเจ้าอาวาสคือพระอาจารย์กงมา ส่วนวัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ เพิ่งสร้างเมื่อปี พ.ศ.2506 หลวงปู่ได้จำพรรษาที่วัดนี้เมื่อปี พ.ศ.2509 และหลังจากออกพรรษาในปี พ.ศ.2511 แล้ว หลวงปู่จึงได้เดินทางไปประเทศอินเดีย ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2511 เพื่อไปสถานที่ต่าง ๆ ที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ นับเป็นการเดินทางที่หลวงปู่ประทับใจมิรู้ลืม
    หลวงปู่หลอดอยู่ที่วัดธรรมมงคลเพียง 3 ปี (พ.ศ.2509-2511) พอปี พ.ศ.2512 ได้มีผู้ใจบุญถวายที่ดินจำนวน 6 ไร่ กับอีก 33 วา แก่พระเทพเจติยาจารย์ (ท่านเจ้าคุณวิริยังค์ สิรินฺธโร) หลวงพ่อวิริยังค์จึงให้หลวงปู่มาช่วยสร้างวัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนา) ในที่ดังกล่าว และขอร้องให้มาอยู่ เดิมทีนั้นหลวงปู่ได้มาสร้างวัดสิริกมลาวาส ในฐานะรักษาการเจ้าอาวาส ต่อมาเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2517 ท่านก็ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระครูสามัญที่ “พระครูปราโมทย์ ธรรมธาดา” พร้อมกันนั้นท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดสิริกมลาวาส ต่อมาในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2519 ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ท่านก็ได้รับการพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรพัดยศในทินนามเดิม คือ พระครูปราโมทย์ธรรมธาดา ถึงแม้ว่าหลวงปู่ท่านจะไม่ค่อยถนัดในงานด้านคันถธุระมากนัก แต่ท่านก็ได้เพียรพยายามปฏิบัติหน้าที่ตลอดมาจนเป็นที่ยอมรับของพระภิกษุสามเณรและฆราวาสทั่วไป
    **************************************** >>>>>หลวงปู่หลอด ปโมทิโต (พระครูปราโมทย์ธรรมธาดา)แห่งวัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนานิคม) ลาดพร้าว บางกะปิ กรุงเทพฯ ท่านละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพานเมื่อวันที่ 7 กรกฏาคม 2552 สิริรวมอายุ 94 ปี 73 พรรษา

     
  7. Karoonsur

    Karoonsur Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    431
    ค่าพลัง:
    +224
    จองครับ
     
  8. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 750
    เหรียญเจริญสุข 77 ปี หลวงปู่เเสง ญาณวโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าอรัญญาวิเวก อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ หลวงปู่เเสงเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร,หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถํ้าผาปู่ เป็นต้ เหรียญสร้างปี 2544 เนื้ออัลปาก้า มีพระเกศาหลวงปุ่มาบูชาด้วย>>>>>>>>บูชาที่ 310 บาทฟรีส่งems sam_6139-jpg.jpg sam_5936-jpg.jpg sam_5938-jpg.jpg sam_2209-jpg.jpg
    >>>>>ประวัติย่อๆพอสังเขปหลวงปู่เเสง ญาณวโร สำหรับ ประวัติย่อหลวงปู่แสง ญาณวโร เดิมชื่อ นายแสง ดีหอม เกิดเมื่อวันที่1กันยายน 2467 อ.ฟ้าหยาด จ.อุบลราชธานี(17เมษายน2482 กระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนชื่อ อ.ฟ้าหยาด เป็น อ.มหาชนะชัย และเมื่อ1มีนาคม 2515 อ.มหาชนะชัย ย้ายไปขึ้นกับจ.ยโสธร จนถึงปัจจุบัน ) อุปสมบทเมื่อ วันที่1มิถุนายน พ.ศ.2490 ณ วัดศรีจันทร์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ท่านได้จำพรรษา ได้ศึกษาหลักธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และ วิเวกธุดงค์ทั้งในประเทศไทย ลาว และพม่า อีกด้วย ปัจจุบันหลวงปู่ยังดำรงค์ธาตุขันต์อยู่ครับ อายุ 96 ปี 73 พรรษา

    050_o.jpg
    620_n.jpg

     
  9. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 751
    รูปหล่อปั๊มเหมือนรุ่นเเรกหลวงปู่เนย สมจิตโต พระอรหันต์เจ้าวัดป่าโนนเเสงคำ อ.เจริญศิลป์ จ,สกลนคร หลวงปู่เนยเป็นศิษย์หลวงปู่ดี ฉันโน วัดป่าสุนทราราม,หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนทราม องค์พระสร้างปี 2553 เนื้อกะไหล่เงิน มีตอกโค๊ตตัวเลข 196 ใต้องค์พระ มาพร้อมกล่องเดิม มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาป็นมงคล >>>>>>>>>บูชาที่ 285 บาทฟรีส่งems sam_6047-jpg.jpg sam_6049-jpg.jpg sam_6050-jpg.jpg sam_6051-jpg.jpg sam_2258-jpg.jpg sam_5901-jpg.jpg

     
  10. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 752
    รูปหล่อปั๊มเหมือนรุ่นเเรกไตรมาส 2538หลวงตาพวง สุขินนทริโย พระอรหันต์เจ้าวัดศรีธรรมมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร หลวงตาพวงเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคสุดท้าย องค์พระสร้างปี 2538 เนื้อทองเหลือง มาพร้อมกล่องเดิม มีตอกโค๊ต พ หลังองค์พระ พิเศษรายการนี้มีเเถมมอบเหรียญรุ่นมหาโชคลาภ-มหามงคล 2544 เนื้อทองเเดงรมนํ้าตาล มาบูชาเพิ่มอีก 1 เหรียญ มีพระเกศาหลวงตาขาวๆใส ๆ มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ >>>>>>>>บูชาที่ 495 บาทฟรีส่งems sam_6175-jpg.jpg sam_5714-jpg.jpg sam_3893-jpg.jpg sam_3894-jpg.jpg sam_3896-jpg.jpg sam_3897-jpg.jpg sam_5913-jpg.jpg sam_5914-jpg.jpg sam_1262-jpg.jpg sam_1264-jpg.jpg sam_1610-jpg.jpg

     
  11. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 753 รูปหล่อปั๊มเหมือนรุ่นเเรก+เหรียญรุ่นสมาคมผู้ปกครองเลยพิทย์หลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ พระอรหันต์เจ้าวัดศรีสุทธาวาส(วัดเลยหลง) อ.เมือง จ.เลย หลวงปู่ศรีจันทร์เป็นศิษย์ผู้ใหญ่หลวงปู่มั่น รูปหล่อปั๊มเหมือนสร้างปี 2538 เนื่อทองเหลือง ชื่อรุ่น เพชรนํ้าหนึ่ง มีตอกโค๊ตใต้องค์พระ 2 โค๊ต โค๊ตตัวเลข 5747 เเละโค๊ต เลย มาพร้อมกล่องเดิม มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล>>>>>>บูชาที่ 285 บาทฟรีส่งems sam_7005-jpg.jpg sam_4849-jpg.jpg SAM_7232.JPG SAM_7237.JPG SAM_7235.JPG
    805-9d4b.jpg

    หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ
    วัดศรีสุทธาวาส (เลยหลง) อ.เมือง จ.เลย

    กายเหมือนเรือ ใจเหมือนนายเรือ ถ้านายเรือไม่รับการฝึกหัดให้ชำนิชำนาญ หรือประมาทไป
    ก็จะพาเอาเรือไปเป็นอันตรายเสีย ต่อเป็นผู้ได้ศึกษาและมีสติ จึงจะสามารถพาไปถึงท่า
    ......ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
    หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ ชื่อเดิม ศรีจันทร์ จันทิหล้า เกิดเมื่อวันพุธ ขึ้น 13 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง ซึ่งตรงกับวันที่ 18 มกราคม 2447 เกิด ณ บ้านฟากเลย ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย บิดาของท่านชื่อ อมาตย์ เพี้ยฤทธิ์ (ลี จันทิหล้า) มารดาของท่านชื่อ นางตุ๊ จันทิหล้า ท่านหลวงปู่ศรีจันทร์เป็นบุตรคนที่ 12 ตระกูลจันทิหล้า เป็นครอบครัวที่อุดมสมบูรณ์มาก มีฐานะญาติมิตรมากมาย เพราะบิดาของท่านหลวงปู่เป็นเพี้ย ซึ่งเป็นชื่อตำแหน่งของข้าราชการในภาคอีสานนับได้ว่าหลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ เป็นบุตรของข้าราชการไทยในยุคหนึ่งนั่นเอง และท่านได้ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติในฐานะที่ท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งอย่างสมเกียรติ

    หลวงปู่ศรีจันทร์ สมัยเป็นเด็กเล็กๆ อยู่ ท่านได้รับความอบอุ่นจากบิดาและมารดาตลอดจนญาติพี่น้องทั้งหลายพออายุได้เกณฑ์เข้าโรงเรียน บิดาของท่านได้นำไปฝากเพื่อศึกษาเล่าเรียน ณ โรงเรียนประจำอำเภอวังสะพุงจังหวัดเลย

    ในชีวิตปฐมวัย ท่านสามารถศึกษาเล่าเรียนได้ในเกณฑ์ดีพอใช้ กิริยามารยาทของท่านนั้นตามปกติแล้วเป็นเด็กที่เชื่อฟังบิดามารดาและญาติพี่น้องเสมอ เมื่อได้มาอยู่โรงเรียน จึงเป็นที่รักใคร่จากครูบาอาจารย์มากท่านเป็นคนเงียบ พูดน้อยมีสติปัญญามาแต่เด็ก จิตใจของท่านนั้นมีความเมตตา ปราณี อ่อนโยนมีความสงสารสัตว์ไม่ชอบการเบียดเบียน ไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ ท่านมีความเข้าใจว่า ทุกชีวิตที่เกิดมาย่อมมีความรักตัวกลัวตาย กลัวเจ็บ กลัวไข้ด้วยกันหมดทั้งสิ้น ดังนั้นการเบียดเบียนกันจึงเป็นเหตุให้ผู้ถูกเบียดเบียนเกิดทุกขเวทนา มีเวรกรรมต่อกันหาที่สิ้นสุดลงไม่ ส่วนผู้เบียดเบียนผู้อื่นก็ไม่มีความสุข เกิดทุกข์ มีบาปกรรมอีกทั้งยังส่งผลให้ได้รับทุกขเวทนาเช่นกัน ฉะนั้นความคิดเช่นนี้ ท่านจึงพึงระวังไม่ให้เกิดบาปกรรมและระวังมาตั้งแต่สมัยเด็กจนได้บรรพชาอุปสมบท

    การศึกษาของท่านสามารถเรียนจบชั้นประถมบริบูรณ์ (ชั้น ป.3) ในสมัยนั้น

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรมและปฏิปทา

    ในกาลต่อมา หลวงปู่ศรีจันทร์ ได้ความคิดเห็นจากบิดามารดาของท่านให้เพิ่มวิชาความรู้ เพื่อจะได้นำความรู้นั้นๆ มาประกอบกิจชีวิตอันดีงาม

    การศึกษาในสมัยนั้นยังไม่กว้างขวางอย่างเช่นปัจจุบัน ถ้าบุคคลใดมีความประสงค์ที่จะก้าวหน้าต่อไป ก็จำเป็นอยู่ที่จะต้องศึกษาในแหล่งนักปราชญ์ราชบัณฑิต ซึ่งเป็นวัดวาอารามนั่นเอง ที่เป็นแหล่งศึกษาแก่กุลบุตรผู้หวังความเจริญ

    ในปี 2461ท่านได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดศรีชมชื่น ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2461 ได้รับความเมตตาจากพระครูหวดเป็นพระอุปัชฌาย์ ขณะนั้นท่านมีอายุได้ 15 ปีเต็ม เนื่องจากได้บวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านมีจิตใจรักในการศึกษามากอยู่แล้ว ท่านจึงเข้าศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม

    การศึกษาพระวินัยนั้น ท่านมีความสนใจมากในการศึกษาด้านการปกครองหมู่คณะ ท่านจึงได้ออกเดินทางมาอยู่จำพรรษาที่กรุงเทพฯ และได้พำนักที่วัดสัมพันธวงศ์

    ภายหลังท่านได้รับความเมตตาอันสูงสุดให้ได้แปรญัตติเป็นสามเณรฝ่ายธรรมยุต

    เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2462 โดยได้รับพระเมตตาจากพระเดชพระคุณ สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตฺโต นพวงศ์) เป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์ พระมหารัชมังคลาจารย์เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    หลวงปู่ศรีจันทร์ (ในสมัยเป็นสามเณร) ท่านได้มานะพยายามเป็นยิ่งยวด ศึกษาธรรมวินัยอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะท่านได้รับความเอ็นดูจากพระอุปัชฌาย์จารย์ และครูบาอาจารย์ผู้ฝึกสอนจนมีความรู้ความเข้าใจขึ้นอีกมากมาย และยังเป็นที่ไว้วางใจจากครูบาอาจารย์เป็นพิเศษ

    สมัยที่เป็นสามเณรศรีจันทร์ จันทิหล้า นั้น ท่านได้เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ อยู่ในหมู่ของนักบวชนั้นท่านเป็นบุคคลที่รักความสงบมีความเมตตาปราณี กิริยาวาจาเรียบร้อยรู้จักบาป-บุญ-คุณ-โทษ รู้จักนอบน้อมผู้ใหญ่กว่า และยังเป็นบุคคลที่เกิดมาในสกุล "เพี้ย" คนหนึ่งจริยาขันธนิสัยจึงได้รับการอบรม มาจากบิดามารดาและบรรดาญาติพี่น้องของท่านมาก่อน จึงเป็นเหตุให้ท่านเรียบร้อยนอบน้อม กายวาจาที่แสดงออกมาเป็นที่พึงจิตพึงใจแก่ผู้พบเห็นและผู้ที่อยู่ใกล้ชิด

    เมื่อได้บรรพชาอุปสมบทเข้ามาในทางพระพุทธศาสนา และได้มาอยู่จำพรรษาใกล้ชิดกับครูบาอาจารย์ ที่เป็นมหาราชบัณฑิตและท่านนักปราชญ์ทั้งหลายในกรุงเทพฯ ตลอดจนถึงความเจริญก้าวหน้า มีเหตุมีผลได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศสอนสั่งไว้แล้ว ท่านยังได้มาอยู่ใกล้ชิดรับใช้พระอุปัชฌาย์จารย์ คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ และยังมีพระเดชพระคุณเจ้าอีกหลายพระองค์ที่ประกอบด้วยสติปัญญาอันแหลมคมรอบตู้ในพระธรรมวินัย ท่านจึงได้นอบน้อมจดจำมาเป็นเยี่ยงอย่างใส่จิตใส่เกล้าของท่านมาตลอด ความที่หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ หรือ วณฺณาโภภิกขุ ขณะศึกษาเล่าเรียนอยู่ ณ สำนักวัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ในสมัยนั้นท่านได้พยายามศึกษาวิชาครูผู้ดำเนินตามครูบาอาจารย์ไว้ ดังบทความที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ติสสเถร นิพนธ์ไว้ ณ วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ดังนี้

    "อันธรรมดาว่าผู้เป็นครู เมื่อจะทำการสอนควรบำเพ็ญพรหมวิหารธรรมให้มีก่อนแล้วจึงจะสอนภายหลัง" พรหมวิหาร 4 อย่างก็คือ

    1. เมตตา ได้แก่ ตั้งใจส่งความรักใคร่ไปให้ผู้อื่น ถอนความเกลียดชังแก่ผู้อื่น

    2. กรุณา ได้แก่ ตั้งใจช่วยทุกข์ของผู้อื่น

    3. มุติตา ได้แก่ ตั้งใจยินดีต่อผู้อื่น ในเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดิบได้ดี ถอนความริษยาลาภผลจากผู้อื่น

    4. อุเบกขา ได้แก่ ตั้งใจวางเฉยในเหตุการณ์ทั้งมวล แต่มิใช่เฉยอย่างปราศจากสติ คือเฉยในเมื่อได้วิจารณ์เห็นว่าหมดอำนาจเมตตา กรุณา และมุติตา ที่ได้แผ่ไปแล้วจึงเฉย

    คุณทั้ง 4 ประการนี้ เมื่อผู้เป็นครูบำเพ็ญให้เกิดมีย่อมเป็นที่ตั้งแห่งความรักเคารพนับถือของผู้ฟัง และเป็นผู้ฉลาดในเชิงปราชญ์ ท่านมีความสังเกตจากครูบาอาจารย์ หมั่นศึกษาหาความรู้ใส่จิตใจ ของท่านไว้เป็นอันมากและวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระเบียบวินัย แผนศึกษาอบรม การปกครองหมู่คณะ ความรู้เหล่านี้หลวงปู่ศรีจันทร์ ได้มาปรับปรุงหมู่คณะที่ท่านรับผิดชอบนำความสงบสุขเจริญรุ่งเรือง ในที่สุดขณะที่ท่านเป็นสมเณรท่านสามารถสอนนักธรรมชั้นตรีและนักธรรมโทที่สนามหลวงได้ซึ่งเป็นปี 2466 ต่อมาท่านได้อุปสมบทต่อโดยได้รับความเมตตาธรรมเป็นครั้งที่ 2 จากสมเด็จพระอุปัชฌาย์จารย์ของท่าน โดยได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ ณ วัดสัมพันธวงศ์ ตำบลสัมพันธวงศ์ อำเภอสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์จารย์ พระมหารัชชมังคลาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2467

    ภายหลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ เจริญข้อวัตรพระธรรมวินัย ตามแบบฉบับท่านผู้รู้ทั้งหลาย อันเป็นเกียรติประวัติแก่ท่านในกาลต่อมาแล้ว หลวงปู่ศรีจันทร์ ท่านได้มีความพยายามที่จะศึกษา หาความรู้แก่ตนเองได้มากขึ้น ในพรรษาปี 2467 หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ ท่านได้พยายามศึกษา พระธรรมวินัยอย่างยิ่งยวดไม่ปล่อยเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ท่านได้ใช้เวลาส่วนมากทุ่มเทให้แก่การศึกษา ท่านพยายามสนองพระเดชพระคุณของพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ที่พระเดชพระคุณเมตตา พึงหวังในตัวของท่านไว้ ความพยายามที่เกิดจากกำลังใจที่ครูบาอาจารย์คอยส่งเสริมท่านนี้ เป็นผลสำเร็จอย่างง่ายดายในปีเดียวกันคือ หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ สามารถสอบนักธรรมชั้นเอก ในสนามหลวงได้เมื่อปี 2467 นั่นเอง หลวงปู่ศรีจันทร์ สมัยอยู่จำพรรษาที่วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ แม้ว่าท่านจะมีการศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม แต่ส่วนลึกของจิตใจท่านในยามนั้น หลวงปู่มีความสนใจประพฤติปฏิบัติภาวนาธรรมมาก และท่านได้เริ่มต้นปฏิบัติทางด้านพระกรรมฐาน ที่วัดสัมพันธวงศ์อีกด้วย สามารถกระทำควบคู่กันไปอย่างได้ผล และมีความชำนาญในสมาธิภาวนามาก

    ท่านได้ถือข้อวัตรไว้อย่างเคร่งครัด เช่น ฉันในบาตร ฉันหนเดียว รักษาความสันโดษ ไม่ชอบคลุกคลีกับหมู่คณะ ถ้าแม้ยามใดว่างจากภารกิจอื่นแล้ว หลวงปู่ศรีจันทร์จะเข้าที่บำเพ็ญเพียร ภาวนาทันที ดังนั้นก่อนที่จะหันเข้าไปอบรมอยู่กับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต นั้น หลวงปู่ศรีจันทร์ พอมีความเข้าใจในการปฏิบัติมาบ้างแล้วในช่วงแรกๆ อย่างไรก็ตาม หลวงปู่ศรีจันทร์ได้ศึกษา มาเป็นตัวหนังสือในข้อธุดงควัตรขณะศึกษาปริยัติธรรม แต่ท่านถือหลักที่ว่ามีความเชื่อธรรม คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า หลวงปู่ศรีจันทร์จึงพิสูจน์และมีความรู้จริงดังการที่ได้พิสูจน์มาแล้วนั้น หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ สมัยเป็นพระมหาได้เทียบด้วยสติปัญญาแล้วว่า "เป็นสถานที่ที่ควรตั้งมหาวิทยาลัย และเป็นวิชาที่ควรบรรจุเข้าในหลักสูตรมหาวิทยาลัยทางโลก

    ธุดงควัตร 13 กับขันธวัตร 14 ในทางพระศาสนาก็สามารถเป็นได้ทั้งสถานที่ตั้งมหาวิทยาลัย และหลักวิชาแห่งมหาวิทยาลัยสงฆ์ โดยแยกออกจากธุดงค์บางข้อที่ควรเป็นสถานที่มหาวิทยาลัย แห่งการบำเพ็ญภาวนาศึกษาตามควร
    คือข้อถือการอยู่ป่าเป็นวัตร อยู่รุกขมูลใต้ร่มไม้เป็นวัตร อยู่ป่าช้าเป็นวัตร การเยี่ยมป่าช้าเป็นวัตร สถานที่ควรอนุโลมเข้าในที่เหล่านี้ก็ควรอนุโลมได้ เช่นถ้ำเงื้อมผา เรือนว่างที่ปราศจากคนอยู่อาศัยเป็นต้น แต่หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ ท่านถือว่าท่านเป็นพระสงฆ์ ท่านจึงมั่นในการประพฤติ จึงจำเป็นอยู่ที่จะต้องสงเคราะห์เข้าในหลักธรรมของพระพุทธเจ้า เช่น การถือผ้าบังสกุลเป็นวัตร การถือเฉพาะผ้าสามผืนเป็นวัตร การบิณฑบาตเป็นวัตร การฉันในบาตรเป็นวัตร การฉันหนเดียวในวันหนึ่งๆ เป็นวัตร การห้ามภัตต์ที่ตามมาที่หลังเป็นวัตร การไม่พักนอนเป็นคืนๆ ไปเป็นวัตร กรรมฐาน 40 ห้อง ซึ่งเป็นหลักวิชาทางภาคปฏิบัติ ก็สงเคราะห์เข้าด้วยกับธุดงค์ภาควิชาการ
    สรุปแล้ว พระพุทธศาสนาเป็นความสมบูรณ์ด้วยวิชาในแขนงต่าง ๆ เป็นมหาวิทยาลัยศาสนา มาแต่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เริ่มประกาศธรรมสอนโลก หลวงปู่ศรีจันทร์ จึงเข้าใจในหลักนี้ และมีความสนใจเป็นพิเศษ ส่วนการศึกษาทางโลกนั้นท่านก็สามารถเรียนรู้ได้ คือ

    1. ท่านเป็นนักปกครอง

    2. ท่านเป็นนักพัฒนา

    3. ท่านเป็นนักปฏิบัติธรรม

    ความจริงทั้งหลายเหล่านี้เป็นที่ประจักษ์แก่ท่านพระเดชพระคุณ ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ตลอดจนศิษยานุศิษย์ที่เคารพนับถือมาเป็นอย่างดียิ่ง
    หลวงปู่ศรีจันทร์ ในฐานะที่ท่านดำรงสมณเพศอย่างสันโดษ ท่านออกบิณฑบาตทุกวัน ฉันเอกาวันละมื้อเดียว ไม่เคยแปรเปลี่ยนความตั้งใจเดิมตลอดเวลาอันยาวนาน ความสนใจในเรื่องพระกรรมฐานนี้ทำให้ท่านได้บุกบั่นไปนมัสการหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และได้ฝากตนเป็นศิษย์ในสายพระกรรมฐานรูปหนึ่ง หลวงปู่ศรีจันทร์ ได้รับอุบายธรรม จากพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต ในแนวทางปฏิบัติทางจิตโดยอาศัยการเจริญสมณธรรม ในป่าดงพงไพร เพราะเราชาวพุทธทุกคนมีความกล้าที่จะยืนยันได้ว่า ความรู้ความสามารถที่ได้รับมาอย่างเต็มภาคภูมินั้นเป็นหลักสูตรในป่าดง
    พระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าทรงอำนวยการสร้าง และการสอนด้วยพระองค์เอง
    และพระองค์ทรงรับสั่งพระสาวกทั้งหลายให้สั่งสอนแทนในสมัยนั้น ย่อมหมายถึงหลักวิชาที่ล้ำเลิศ ในโลกไม่มีวิชาใดเสมอเหมือนในไตรภพนี้ มนุษย์ เทวดา อินทร์พรหม ยมยักษ์ ต่างก็มีความเคารพนับถือยกย่องพระพุทธเจ้าว่า เป็นครูเอกในสามภพ ดังในบทพระพุทธคุณว่า สตถา เทวมนุสฺสานํ เป็นครูผู้สอนเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย อันวิชชา "วิมุตติ" ทั้งหลายดังกล่าวมา จึงเป็นที่ยกย่องเทิดทูนสถาบันป่าเหล่านี้มาประจำศาสนาของพระพุทธองค์

    เวลาใดที่กุลบุตรเข้ามาบวชเป็นพระ ก็ทรงสอนกรรมฐาน 5 และอนุศาสน์ มีการอยู่ร่มไม้ เป็นต้น ให้วางเข็มทิศทางเดินของปฏิปทาข้อปฏิบัติอันเป็นเครื่องมือฟาดฟันบุกเบิกดงหนาป่าทึบ คือกิเลสชนิดต่างๆ ภายในจิตใจที่มาปิดกั้นกันจิตไม่ให้มองเห็นทางเดินเพื่อมรรคผลนิพพาน ทำให้เตียนโล่งไปด้วยธรรมาวุธที่ประทานให้ ดังนั้นเวลาบวชเป็นสามเณร พระอุปัชฌาย์จึงสอนกรรมฐาน 5 ให้เป็นเครื่องมือต่อสู้กับมารร้ายต่างๆ ให้พินาศขาดสูญไปจากจิตใจ พระอุปัชฌาย์จารย์เป็นผู้รู้ผู้จำแนกเจริญรอยตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

    เพียงแต่ไม่สอนอนุศาสน์เกี่ยวกับการอยู่ป่าเท่านั้นทั้งนี้อาจทรงเห็นว่าสามเณรยังเล็กอยู่ จึงยังไม่ส่งเข้าแนวรบอันเป็นชัยสมรภูมิสำคัญ พระสาวกอรหันต์จำนวนมากในสมัยพุทธกาล แทบพูดได้ว่าร้อยทั้งร้อยที่สำเร็จธรรมจากป่าดังกล่าวมาแล้ว

    หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ ภายหลังจากได้รับอุบายธรรมปฏิบัติจากหลวงปู่มั่นแล้ว ท่านก็มิได้นิ่งนอนใจ หลวงปู่ศรีจันทร์ รีบออกขวนขวายหาทางปฏิบัติธรรมในป่าดงพงไพรต่อไป หลวงปู่ได้เคยออกเดินธุดงค์ โดยไปอาศัยตามป่าภูเขาเงื้อมผาบุกไปตามป่าดงดิบต่างๆ หลายหนหลายแห่งเพื่อบำเพ็ญเพียรภาวนาธรรม หลวงปู่ศรีจันทร์ ได้ถือกำลังใจดำเนินตนไปด้วยความสะดวกราบรื่นไม่ขลุกขลัก ขึ้นชื่อว่ากิเลสแล้วไม่ว่าชนิดใดมากน้อยเพียงใด มันต้องแสดงตัวเป็นข้าศึกของเราตลอดเวลา มันจะสำแดงฤทธิ์เดชของมันให้เห็นอยู่เสมอ ดังนั้น การออกเดินธุดงค์เพื่อขัดเกลามันออกจากจิตใจนี้ หลวงปู่ศรีจันทร์ มีความมานะอดทนเป็นอย่างยิ่ง ท่านเป็นพระนักต่อสู้เป็นนักปฏิบัติธรรม จึงถือว่ากิเลสเป็นข้าศึกแก่ตัวของท่านเอง และเป็นกองทุกข์ที่จะเกิดขึ้นแก่มนุษย์ทุกคน ท่านจึงย่อมไม่นิ่งนอนใจที่จะเลี้ยงกิเลสไว้ ท่านกลับเห็นเสียว่า "ถ้าได้ทำลายเสียให้สิ้นซากลงไปในขณะนี้ ก็จะเป็นที่พอใจอย่างยิ่ง ประเสริฐกว่าจะเลี้ยงไว้ทำพิษแก่ตนเองในภายหลัง หรือในวันอื่นต่อไป SAM_1986.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2020
  12. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    ายการที่ 754 พระผงสมเด็จบรรจุพระบรมธาตุเเละพระธาตุของพระอรหันต์เยอะมาก พระองค์นี้ผมบูชามาจากวัดป่าโนนเเสนคำ ของหลวงปู่เนย ห้อยคอมานานครับ ผมได้นำไปให้พระอรหันต์อฐิษฐานจิตปลุกเสกเพิ่มเเล้วครับ มีเกศารวมพระอรหันต์สมัยปัจจุบันมาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ>>>>>>บูชาที่ 855 บาทฟรีส่งems SAM_7211.JPG SAM_7212.JPG SAM_7213.JPG SAM_2379.JPG sam_2512-jpg.jpg sam_2541-jpg.jpg sam_9000-jpg.jpg sam_9167-jpg.jpg sam_9173-jpg.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2020
  13. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 755
    ล็อกเก็ตกลมฉากส้ม 68ปี บารมี ทวีคูณหลวงปู่ไม อินทสิริ พระอรหันต์เจ้าวัดป่าเขาภูหลวง อ.วังนํ้าเขียว จ.นครราชสีมา หลวงปู่ไมอดีตชาติเป็นศิษย์พระอุปคุตเถระ ชาติปัจจุบันเป็นศิษย์ของหลวงปู่อ่อน ญานสิริ พระอรหันต์เจ้าวัดป่านิโครธาราม ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นใหญ่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ไมท่านเป็นพระที่มีฤทธิ์มาก ผีเเค่ได้ยินชื่อหลวงปู่ก็กลัว ด้านหลังล็อกเก็ตเป็นยันต์พลังจักรวาลของหลวงปุ่ ล็อกเก็ตสร้างปี 2559 สร้างเนื่องหลวงปู่อายุครบ 68 ปี มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วย *****พิเศษรายการนี้มีเเถมมอบพระผงคะเเนนนาคปรกสร้างปี 2558 สร้างเนื่องฉลององค์พระประธานพระสมเด็จองค์ปฐมพระพุทธเจ้า >>>>>>>>>>บูชาที่ 475 บาทฟรีส่งems sam_0259-jpg.jpg sam_6393-jpg.jpg sam_6394-jpg.jpg sam_6395-jpg.jpg sam_6396-jpg.jpg sam_6397-jpg.jpg sam_3418-jpg.jpg sam_3419-jpg.jpg sam_3936-jpg.jpg

     
  14. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 756
    พระกริ่งรูปหล่อเหมือนหลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน พระอรหันต์เจ้าวัดป่าโสติถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร หลวงปู่บุญหนาเป็นศิษย์หลวงปุ่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม องค์พระสร้างปี 2555 ชื่อรุ่นบุญสยาม เนื้อโลหะผสม ก้นทองเเดง มีตอกโค๊ต 2 โค๊ต โค๊ตบุญหนา ,โค๊ต B ,ใต้องค์พระ มาพร้อมกล่องเดิม มีพระเกศาขาวใสของหลวงปุ่มาบูชาเป็นมงคล พิเศษรายการนี้มีเเถมมอบเหรียญเม็ดเเตง+ พระผงระฆังมาบูชาเพิ่มอีกเหรียญ >>>>>>>>บูชาที่ 295 บาทฟรีส่งems sam_6025-jpg.jpg sam_6027-jpg.jpg sam_6028-jpg.jpg sam_6029-jpg.jpg sam_3648-jpg.jpg sam_3649-jpg.jpg sam_1618-jpg.jpg sam_6361-jpg.jpg sam_6362-jpg.jpg

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 สิงหาคม 2020
  15. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    8,073
    ค่าพลัง:
    +6,784
    ขอจอง755ครับ
     
  16. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 757 กริ่งรูปเหมือนลอยองค์หลวงปู่วิไลย์ เขมิโย พระอรหันต์เจ้าวัดถํ้าพญาช้างเผือก อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ หลวงปู่วิไลย์เป็นศิษย์หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถํ้ากลองเพล องค์พระสร้างปี 2555 ชื่อรุ่นกายทิพย์ เนื้อโลหะผสม สร้างเนื่องในฉลองสร้างองค์พระใหญ่บนยอดเขา มาพร้อมกล่องเดิม มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล บูชาที่ 395 บาทฟรีส่งems
    sam_6364-jpg.jpg sam_6365-jpg.jpg sam_6366-jpg.jpg sam_6367-jpg.jpg sam_2209-jpg.jpg


    ด้วย >>>>>>บูชาที่ 395 บาทฟรีส่งems
    sam_0379-jpg.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 สิงหาคม 2020
  17. Peterbn

    Peterbn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2018
    โพสต์:
    442
    ค่าพลัง:
    +290
    จองครับ
     
  18. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    >>>>>เมื่อวานได้จัดส่งวัตถุมงคลให้เพื่อนสมาชิก 1ท่านครับ เลขที่จัดส่งems ตามใบฝอยครับผม SAM_7238.JPG
     
  19. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 758
    พระสมเด็จหินหยกพิมพ์เล็กหลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร พระอรหันต์เจ้าวัดธรรมมงคล เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร หลวงปู่เป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคสุดท้าย องค์พระสร้างปี 2536 มาพร้อมกล่องเดิม >>>>>>>ประวัติโดยสังเขป พระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) เจ้าอาวาส วัดธรรมมงคล เกิดเมื่อวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ในครอบครัวของนายสถานีรถไฟ
    ปากเพียว(สถานีสระบุรี ในปัจจุบัน) ท่านเป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวนพี่น้อง ๗ คน ของท่านขุนเพ็ญภาษชนารมณ์ และนางมั่น บุญฑีย์กุล
    เริ่มต้นชีวิตในวัยเด็ก
    เนื่องด้วยท่านขุนเพ็ญภาษชนารมณ์ ผู้เป็นบิดา เข้ารับราชการเป็นนายสถานีรถไฟ จึงจำเป็นจะต้องโยกย้ายที่อยู่ไปประจำที่อื่นอยู่บ่อยครั้ง ครอบครัวก็ต้องย้ายติดตามไปด้วย เมื่อครั้งบิดาได้ย้ายมาประจำอยู่ ณ สถานีรถไฟบ้านใหม่สำโรง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมานับว่าเป็นความโชคดีของครอบครัว บุณฑีย์กุล ที่ได้มาพบกับพระอาจารย์ ฝ่ายกรรมฐานรูปสำคัญ และท่านยังเป็นถึงศิษย์ของ “หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ” อีกด้วย นั้นคือ “พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ” และด้วยบิดามารดาของด.ช.วิริยังค์ เป็นผู้มีความชอบในการทำบุญ เข้าวัดฟังธรรมอยู่อย่างสม่ำเสมอ ด.ช.วิริยังค์ จึงมีโอกาสได้ติดตามท่านทั้งสองไปวัดบ้าง แต่ก็ด้วยวัยที่ยังเด็กเกินไป ในขณะนั้นจึงทำให้ ยังไม่มีความสนใจในการปฏิบัติสมาธิเลยหากแต่ยังคงชอบเที่ยวเล่นสนุกไปตามประสาของเด็กทั่วๆ ไป ด.ช.วิริยังค์ เมื่ออายุได้ ๑๑ ขวบ ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดสุปัฏนาราม ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในขณะนั้นของจังหวัดอุบลราชธานี ที่ต้องมาเรียนที่นี่เพราะ บิดาได้รับคำสั่งให้ย้าย ไปปฏิบัติราชการณ สถานีรถไฟวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และที่โรงเรียนวัดสุปัฏนารามนี่เอง ด.ช.วิริยังค์ ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมาย ทั้งกีฬา และการสมัครเป็นลูกเสือชาวบ้าน หรือแม้แต่กระทั่งเข้าโบสถ์ฟังธรรมในวันพระ แต่ด้วยความเป็นเด็กจึงไม่ได้ให้ความสนใจ ในการเข้าวัดฟังธรรมมากนัก พยายามที่จะหาวิธีหลีกเลี่ยงอยู่เป็นประจำเรียกว่า “พอหลบหนีได้ก็หลบหนีไป” กันเลยทีเดียว เมื่อ ด.ช.วิริยังค์ เรียนจบชั้นประถมศึกษาพอที่จะอ่านออกเขียนได้แล้ว บิดา มารดาก็ส่งให้ไปอยู่วัดกลาง (ปัจจุบันคือ วัดนารายณ์มหาราช) จังหวัดนครราชสีมา เพื่อฝากเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์ปลัดตา ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดกลางในขณะนั้น ณ วัดกลางแห่งนี้ ด.ช.วิริยังค์ มีความมุมานะในการเรียนบาลีไวยากรณ์ เป็นอย่างมาก แต่ด้วยกฎระเบียบที่เคร่งครัด และมักจะโดนเพื่อน ๆ เด็กวัดด้วยกันกลั่นแกล้งอยู่เสมอ ๆ ทำให้ ด.ช.วิริยังค์ เคยหนีออกจากวัดมาแล้ว แต่เมื่อย้อนกลับมานึก ถึงอาจารย์ปลัดตาที่ท่านรักและให้ความเมตตามาโดยเสมอทำให้ ด.ช.วิริยังค์ กลับตัวและพยายามทำดีตั้งหน้าตั้งตาเรียนบาลีไวยากรณ์กับท่านอย่างตั้งใจ สมาธิครั้งแรกกับการเปลี่ยนแปลงชีวิต
    หลังจากที่เด็กชายวิริยังค์ เล่าเรียนบาลีไวยากรณ์กับท่านอาจารย์ปลัดตา ณ วัดกลาง ได้สำเร็จแล้ว บิดาก็ได้มารับกลับไปอยู่ที่บ้าน ณ บ้านใหม่สำโรง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมาเพื่อให้มาช่วยเหลืองานที่บ้าน จนในวันหนึ่งได้รับการร้องขอจาก น.ส.ขลิบ ซึ่งเป็นเพื่อนผู้หญิงในหมู่บ้านเดียวกันที่ ด.ช.วิริยังค์ มีความสนิทสนมอย่างมาก ให้ช่วยเป็นเพื่อนไปวัดป่าสว่างอารมณ์ เพราะต้องไปต่อมนต์กับพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ทุกๆ คืน เช่นเดียวกับคนอื่นๆ แต่เนื่องจากวันนี้เพื่อนๆ ของเธอนั้นเสร็จธุระไปก่อน จึงได้ไปที่วัดกันหมดแล้ว น.ส.ขลิบ จึงขอให้ ด.ช.วิริยังค์ ช่วยเดินไปส่งที่วัดป่าสว่างอารมณ์ด้วยความที่ ด.ช.วิริยังค์ ยังไม่คุ้นเคยกับสำนักปฏิบัติธรรมกรรมฐาน จึงทำให้ไม่เข้าใจในขนบธรรมเนียมเมื่อเข้าไปถึงศาลาวัด ก็เข้าไปนั่งปะปนกับผู้หญิงที่กำลังนั่งต่อมนต์กัน พระอาจารย์กงมา จึงกล่าวว่า “วิริยังค์ นี่เธอทำไมไปนั่งข้างผู้หญิง เธอนั่งที่นั้น ต้องกราบก้นผู้หญิงมานั่งที่นั่งของผู้ชายทางนี้” ด้วยความตกใจที่จะต้องเข้าไปนั่งใกล้ พระอาจารย์เป็นครั้งแรก บวกกับการที่อยากจะกลับบ้านแต่ก็ไม่กล้ากลับ เพราะกลัวผี สร้างความลำบากใจ ทั้งรำคาญและหงุดหงิดให้แก่ ด.ช.วิริยังค์ เป็นอย่างยิ่ง ด.ช.วิริยังค์ จึงมานั่งรำพึงในใจว่า “เราจะไม่มาอีกแล้วๆๆ” นานเท่าไรไม่ทราบ ก็บังเกิดเหตุอัศจรรย์ใจ ปรากฎว่าจิตของ ด.ช.วิริยังค์ รวมสงบนิ่งลง พลันปรากฎมีอีกร่างหนึ่ง เดินออกจากร่างกายเดิม ลงจากศาลาเดินไปตามลานวัด และหยุดยืนอยู่ ณ บริเวณที่ปัจจุบันเป็นสถานที่สร้างอุโบสถ ปรากฎมีลมชนิดหนึ่งพัดโชยเข้ามาสู่ใจ ทำให้เกิดความสุข อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในชีวิต ทันใดนั้นเอง ด.ช.วิริยังค์ ถึงกับอุทานออกมาว่า “คุณของพระพุทธศาสนายังปรากฎอยู่ถึงปัจจุบันนี้หรือ ?” จากนั้นจึงเดินกลับมายังศาลาที่นั่งอยู่ มองไปที่ร่างกายจึงนึกขึ้นว่า เราจะกลับเข้าร่างเดิมได้ยังไง ทันใดนั้นเองก็พลันรู้สึกตัวขึ้น ได้แต่นั่งรำพึงในใจว่า “อัศจรรย์ใจจริงๆ ทำไมถึงดีอย่างนี้ๆ” นับแต่นั้นเป็นต้นมา ด.ช.วิริยังค์ ก็ได้เปลี่ยนนิสัยเก่าโดยสิ้นเชิง เริ่มเข้าวัดฟังธรรม จำศีลสวดมนต์ภาวนาเรื่อยมานับแต่วันนั้น

    >>>>>>ตอนต่อสู้ในช่วงบวชเป็นสามเณร
    เมื่ออายุได้ ๑๔ ปี จากที่ ด.ช.วิริยังค์ ได้รับรสพระสัจธรรมอันเกิดจากสมาธิ และการสวมมนต์ภาวนา รักษาศีล ก็ยิ่งทำให้เชื่อมั่นในคุณของพระพุทธศาสนายิ่งขึ้นเพิ่มความศรัทธาในการที่จะออกบรรพชา เป็นสามเณรเป็นกำลัง หลังจากที่บิดามารดาได้อนุญาตแล้ว พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ จึงได้นำบวชเป็นชีปะขาว และนำไปบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๑๖ ปี ณ วัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา โดยมี พระธรรมฐิติญาณ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ หลังจากบรรพชาแล้ว ส.ณ.วิริยังค์ ก็มาพักอยู่ที่วัดป่าสาลวันก่อน
    ซึ่งในขณะนั้นถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของการเผยแผ่การปฏิบัติธรรมกรรมฐาน โดยมี (พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์) พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นเจ้าอาวาส เพื่อความสะดวก ในการทำหนังสือสุทธิ จากนั้นจึงลาพระอุปัชฌาย์กลับไปวัดป่าสว่างอารมณ์ตามเดิม เมื่อย้ายกลับมาวัดป่าสาลวัน แล้ว ส.ณ.วิริยังค์ ก็ตั้งใจบำเพ็ญเพียรภาวนาอย่างเข้มงวดเป็นอย่างมาก โดยมี พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ได้เมตตาอบรมสั่งสอนวิชากรรมฐาน ส่งผลให้การบำเพ็ญความเพียร ของสามเณรวิริยังค์ ได้พัฒนาขึ้นไปตามลำดับอย่างน่าพอใจ นับเป็นความโชคดีอีกครั้งหนึ่งของ สามเณรวิริยังค์ เนื่องจากพระอาจารย์กงมา มีกิจนิมนต์ไปกรุงเทพฯ แต่ด้วยความเป็นห่วงศิษย์ จึงนำสามเณรวิริยังค์ ไปฝากไว้กับ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าศรัทธารวม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อฝึกปฏิบัติข้อวัตรต่าง ๆ รวมถึงการปฏิบัติด้านสมาธิให้พัฒนายิ่งขึ้น พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้ชื่อเป็นพระผู้มีพลังจิตแก่กล้า และที่สำคัญท่านก็ยังเป็นศิษย์ของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ อีกด้วย
    >>>>>>ตอนต่อสู้ในช่วงเป็นพระภิกษุ
    นับแต่บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ประพฤติธรรมฝึกปฏิบัติกรรมฐาน อุปัฏฐากรับใช้พระอาจารย์ อายุของสามเณร วิริยังค์ก็ร่วงเลยมาเหมาะสมแก่การอุปสมบทเป็นพระภิกษุ พระอาจารย์กงมา ท่านจึงเมตตาจัดเตรียมการอุปสมบทให้อย่างง่าย ๆ ณ วัดทรายงาม (อุทกสีมากลางทะเล) บ้านหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี โดยมี พระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาทองสุข สุจิตฺโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทเป็นพระภิกษุได้ ๑ พรรษา มีความตั้งใจอย่างแรงกล้าอยากที่จะพบและศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ การทำสมาธิจากพ่อแม่ครูอาจารย์ “หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ” เป็นอย่างมาก จึงรบเร้าพระอาจารย์กงมา ให้เมตตาช่วยนำไปฝากให้ประพฤติปฏิบัติ กับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ ซึ่งในขณะนั้นท่านพำนักอยู่ ณ วัดบ้านโคก ตำบลตองโขบ อำเมือง จังหวัดสกลนคร แต่ในใจก็นึกกล้าๆ กลัวๆ เพราะได้ยินกิตติศัพท์ เล่าลือมาว่า
    ๑. ท่านอาจารย์มั่น รู้จักใจคน จะนึกจะคิดอะไรทราบหมด
    ๒. ท่านอาจารย์มั่น ท่านดุยิ่งกว่าใครๆ ทั้งสิ้น
    ๓. ท่านอาจารย์มั่น ท่านเทศนาในธรรมปฏิบัติยอดกว่าใคร ๆ ทั้งนั้น
    ๔. ท่านอาจารย์มั่น ท่านปฏิบัติตัวของท่านเป็นตัวอย่างแก่ศิษย์อย่างยอดเยี่ยมยอด
    ๕. ท่านอาจารย์มั่น ท่านจะต้องไล่พระที่อยู่กับท่านถ้าหากทำผิด แม้แต่ความผิดนั้นไม่มากแต่เป็นเหตุให้เสื่อมเสีย
    แต่ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจในการปฏิบัติสมาธิ ที่หวังจะให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดแก่ตนเองและผู้อื่น ดังที่ได้ตั้งปนิธานไว้แล้ว ความกลัวทั้งหลายก็ไม่อาจมาขวางกั้น ความมุ่งมั่นตั้งใจในการเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ ท่านผู้ได้ชื่อว่าเป็นสุดยอดแห่งยุค ในด้านการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน อย่างองค์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ ลงได้เลยประกอบกับนึกถึงคำพูดของพระอาจารย์กงมา ที่ได้เมตตากล่าวแก่ท่านว่า “วิริยังค์ หลวงปู่มั่นท่านเป็นปรมาจารย์ และเป็นอาจารย์ของเรา สมาธิทุกๆ ขั้นตอน ผมได้สอนท่านไปหมดแล้ว ต่อไปนี้ท่านจะได้เรียนสมาธิกับท่านปรมาจารย์ ท่านอย่าประมาท จงปฏิบัติหลวงปู่มั่นแบบถวายชีวิต ท่านจะได้ความรู้อย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ผมสอนอีกมากนัก” พบพระอาจารย์ผู้เป็นเนื้อนาบุญอันยิ่งใหญ่
    ในที่สุดแล้วความปรารถนาของพระวิริยังค์ ก็สำเร็จผลดังตั้งใจ ณ วัดบ้านโคก ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร อันเป็นสถานที่มงคลที่ท่าน ได้พบกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ มีโอกาสอยู่ศึกษาพระธรรมวินัย ข้อวัตร และการปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน และในขณะเดียวกันก็ได้รับหน้าที่อันสุดประเสริฐของตัวท่านเอง คือ “การเป็นพระอุปัฏฐากรับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ อยู่เป็นเวลาทั้งสิ้น ๔ ปี” ในช่วงเวลานี้เองที่ท่านได้มีโอกาสได้จดบันทึกคำสอนของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ อันสุดแสนประเสริฐและเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันอย่างกว้างขวาง ในชื่อหนังสือ “มุตโตทัย”
    นอกจากการได้รับโอกาสให้เป็นพระอุปัฏฐากแล้ว พระวิริยังค์ยังได้รับโอกาสครั้งสำคัญสุดในชีวิตของท่านเอง นั้นคือ การได้ออกเดินธุดงค์ กับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ สองต่อสอง โดยมีจุดหมายปลายทางที่วัดเลียบ (วัดบูรพาราม) จังหวัดอุบลราชธานี อันจะเป็นสถานที่ถวายพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล พระมหาเถระผู้เป็นพระอาจารย์ของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ นั้นเองการเดินธุดงค์ร่วมกับหลวงปู่มั่นในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสอันสำคัญที่พระวิริยังค์ จะได้ปฏิบัติสมาธิให้พัฒนามากยิ่งขึ้น รวมถึงได้มีโอกาสเรียนถามปัญหาข้อธรรมและข้อปฏิบัติต่างๆ ทั้งตื้น ลึก หนา บาง ที่ได้นำมาสั่งสอนอบรมศิษย์ ทั้งพระภิกษุ สามเณร และฆราวาสจนถึงปัจจุบัน นับเป็นการธุดงค์ที่ล่ำค่าสุดจะประมาณนำมาพรรณนาความได้เลย

    นับเป็นเวลากว่า ๔ ปี ที่พระวิริยังค์ ได้อยู่อุปัฏฐากรับใช้ใกล้ชิด “หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ” และที่เคยได้อุปัฏฐากรับใช้ “พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ” ผู้ที่ท่านนับถือว่าเป็น พระอาจารย์องค์แรก เป็นเวลา ๘ ปี รวมเป็นเวลากว่า ๑๒ ปี ท่านได้ใช้โอกาสที่ได้รับนี้ พยายามศึกษาพระธรรมวินัย ข้อวัตร และหลักการปฏิบัติสมาธิ ทั้งอย่างหยาบ อย่างละเอียด ตื้น ลึก หนา บาง จนเป็นที่แน่ใจแล้วในหลักการและแนวทางการปฏิบัติ จึงได้กราบลาพระอาจารย์แสวงหาความวิเวกส่วนตัวตามแต่โอกาสจะอำนวย แม้พระอาจารย์ก็ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่เช่นกัน วิชาสมาธินี้ เป็นวิชาที่เลิศและประเสริฐโดยแท้ แต่หากจะรู้เพียงคนสองคนแม้เป็นสิ่งที่มีค่ามากเพียงใด ก็คงต้องหายไปจากโลกนี้ไปสักวัน เมื่อมานึกถึงสิ่งนี้หลวงพ่อวิริยังค์ ก็บังเกิดจิตเมตตาอยากที่จะเผยแผ่วิชาสมาธินี้ให้แก่ชาวโลก สมดังปณิธานที่มั่นคงตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ในระหว่างปี พ.ศ.๒๕๒๙ – พ.ศ. ๒๕๓๔ ท่านได้พัก ณ วิทยาลัยสงฆ์น้ำตกแม่กลาง (วัดเทพเจติยาจารย์ ในปัจจุบัน) อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้ท่านได้มีเวลาทบทวนหลักการต่าง ๆที่ได้เคยไตร่ถามอัตถปัญหาสมาธิ พร้อมทั้งคำแนะนำจากหลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ จึงได้เขียนเป็นตำราสมาธิขึ้นมา เรียกชื่อว่า “หลักสูตรครูสมาธิ” เป็นจำนวนทั้งสิ้น ๓ เล่ม โดยรวมหลักการปฏิบัติอันเป็นทฤษฎี นับตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ขั้นกลาง และขั้นสูง ตามลำดับ อันแพร่หลายไปทั่วประเทศไทยแล้วกว่า ๑๑๐ สาขา ในปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๗) ภายใต้นาม “สถาบันพลังจิตตานุภาพ” และ ขยายไปยังต่างประเทศถึง ๘ สาขา ทั้งใน ประเทศแคนาดา และสหรัฐอเมริกา >>>>>>>( ......อนึ่งเกศาหลวงปู่ผมได้รับมอบจากพระที่เคยไปอยู่จำพรรษา 14 พรรษากับหลวงปู่ตั้งเเต่หลวงปู่ยุังไม่เเก่มากครับ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชา ********บูชาที่ 305 บาทฟรีส่งems sam_3243-jpg.jpg sam_7087-jpg.jpg sam_7096-jpg.jpg sam_7091-jpg.jpg sam_2209-jpg.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 สิงหาคม 2020
  20. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 759 เหรียญโต๊ะหมู่บูชารุ่นมั่นในธรรมหลวงปู่ขันตี ญาณวโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าม่วงไข่ อ.ภูเรือ จ.เลย หลวงปู่ขันตีเป็นศิษย์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เป็นต้น เหรียญสร้างปี 2555 สร้างเนื่องจากอายุครบ 70 ปี เนื้อทองเเดงผิวไฟ มีตอกโค๊ต ศ ใต้ผ้าสังฆาฏิ เหรียญใหม่ไม่เคยใช้ ประวัติและปฎิปทาหลวงพ่อขันตี ญาณวโร
    49fc4d3905845c73ea8e8aeb8973e831-1-jpg.jpg
    ประพอสังเขปหลวงพ่อขันตี ญาณวโร
    วัดป่าม่วงไข่ ต.สานตม อ.ภูเรือ จ.เลย
    หลวงพ่อขันตี เกิดเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2486 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะแม เป็นชาวขอนแก่นโดยกำเนิด ปัจจุบัน สิริอายุ 74 พรรษา 54 (เมื่อปี พ.ศ.2561) ปัจจุบันจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าม่วงไข่
    หลวงพ่อขันตี เกิด ณ บ้านเลขที่ 136 หมู่ 8 ต.บ้านทุ่ม อ.เมือง จ.ของแก่น(ปัจจุบันคือ บ้านหนองบัว อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น) โยมบิดาชื่อ นายชัย แสนคำ โยมมารดาชื่อ นางแพง แสนคำ มีพี่น้องร่วมบิดา มารดาทั้งหมด 7 คน โดยหลวงพ่อขันตี ญาณวโร เป็นลูกคนโต หลวงพ่อทวี ปุญฺญปญฺโญ เป็นลูกคนเล็กสุด(ชื่อเดิมนายทวี แสนคำ)
    21578100512f10b-jpg.jpg ในวัยเด็กของหลวงพ่อขันตีนั้น ท่านเป็นคนขยันขันแข็น ช่วยงานพ่อแม่ทำไร่ ทำนาและดูแลน้องๆ แทนพ่อแม่อยู่เสมอๆ เป็นคนที่มีความอดทน อ่อนน้อม และหลวงพ่อท่านในวัยเด็กยังเป็นคนสนใจ ใฝ่ธรรมะ ชอบไหว้พระสวดมนต์อยู่เป็นประจำ หลวงพ่อขันตีท่านกล่าวว่า "สมัยตอนท่านเด็กๆท่านเป็นคนไม่ค่อยแข็งแรงนัก เจ็บป่วยออดๆแอดๆ อยู่เสมอบางทีก็เกือบถึงแก่ชีวิตหลายต่อหลายครั้ง โยมแม่ของหลวงพ่อ จึงได้ไปฝากให้หลวงพ่อขันตีเป็นลูกบุญธรรมหลวงปู่คำดี ปภาโส อาการเจ็บป่วยต่างๆก็ค่อยๆหายไป" เมื่อหลวงพ่อท่านเรียนจบชั้น ป.4 ท่านก็ขออนุญาตโยมพ่อโยมแม่เพื่อขอบวชสามเณร โยมพ่อแม่ก็เห็นดีด้วยและอนุญาตให้หลวงพ่อบวชเณรได้..

    552-jpg.jpg
    สามเณรขันตี
    หลวงพ่อขันตีท่านได้บวชเณรครั้งแรกเมื่ออายุ 12 ปี ในปี พ.ศ.2499 ณ วัดศรีจันทร์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยมีท่านพระครูพิศาลสารคุณ เป็นผู้บรรพชาให้ในปีนั้น เมื่อบวชเณรแล้วหลวงพ่อขันตีก็อยู่ดูแลอุปัฏฐาก ท่านพระครูเจ้าอาวาสอย่างใกล้ชิตและมีความขยันอดทนหมั่นเพียรในการศึกษาธรรมะ ท่านพระครูพิศาลสารคุณ เจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ จึงได้เรียกชื่อหลวงพ่อขันตีใหม่ จากเดิมชื่อตรีเฉยๆ เรียกใหม่ว่า "ขันตี" หรือ ขันติ แปลว่าผู้มีความอดทน


    u97z5_1456467352-jpg.jpg พระอุโบสถวัดศรีจันทร์
    ท่านได้บวชเณรมาเรื่อยๆ จนท่านมีอายุครบบวชพระ อายุ 20 ปี ท่านจึงได้รับการอุปสมทบในวันอังคาร ขึ้น8ค่ำ ปีมะโรง โดยได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อปี พ.ศ.2507 ณ พัทธสีมาวัดศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น มีท่านพระ ครูพิศาลสารคุณเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูศรีธรรมาลังการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระมหาศรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า "ญาณวโร" แปลว่า ผู้ปรีชาหยังรู้สูง
    lp-boonpeng-jpg.jpg
    หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก
    ในพรรษาที่ 1 ปี พ.ศ.2507 ในปีแรกนี้หลวงพ่อขันตีท่านได้ไปอยู่จำพรรษากับ หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก ณ วัดป่าคีรีวัน จ.ขอนแก่น ในพรรษาแรกนี้ หลวงปู่บุญเพ็ง ท่านจะสอนพระเณรในพรรษานั้น ในเรื่องการพิจารณาการ มีสติเป็นไปในกาย ขอวัตรปฎิบัติต่างๆ ในส่วนของหลวงพ่อขันตีนั้น ท่านก็เป็นพระบวชใหม่หลวงปู่บุญเพ็งท่านจะเน้นสอนการภาวนา และ ข้อวัตรต่างๆในเบื้องต้นกับหลวงพ่อขันตี
    268_1263214635-jpg_177-jpg.jpg
    หลวงปู่คำดี ปภาโส
    ครั้งออกพรรษา ท่านก็ได้ย้ายมาจำพรรษา ณ วัดถ้ำผาปู่ อ.เมือง จ.เลย ในพรรษาที่ 2 ปี พ.ศ. 2508 เพื่อมาฝึกหัดการภาวนา โดยท่านกล่าวว่า "ท่านกับหลวงปู่คำดี เป็นคนบ้านเดียวกัน(คนจังหวัดขอนแก่น) จึงมีความคุ้นเคยกับท่านมาก่อน จึงได้มาอยู่จำพรรษากับท่านที่จังหวัดเลยเพื่อมาฝึกอบรมณ์ภาวนา" หลวงปู่คำดี ปภาโส ท่านก็ให้ความเมตตาหลวงพ่อขันตี โดยสอบถามหลวงพ่อขันตีครั้งมาอยู่จำพรรษาวัดถ้ำผาปู่ครั้งแรกว่า "ท่านใช่อะไรภาวนา" และสอบถามถึงเรื่องจริตต่างๆ ครั้งหลวงพ่อขันตีก็กราบเรียนหลวงปู่คำดีตามความรู้ ความเข้าใจแล้ว หลวงปู่คำดีก็บอกสอนเกี่ยวกับจริตภาวนา แจกแจงความเป็นมาและความเหมาะสมของจริตพร้อมอธิบายหลักการภาวนาให้หลวงพ่อขันตีฟังอย่างละเอียดลึกซึ้งจนเข้าใจ
    ในปีดังกล่าวที่ท่านได้มาจำพรรษาที่วัดถ้ำผาปู่ มีพระเณรทั้งหมด 40 รูป หลวงพ่อขันตีท่านกล่าวว่า"ในปีนั้นจิตใจท่านฟุ้งซ่าน วุ้นวายเป็นอย่างมาก" ซึ่งหลวงปู่คำดีท่านก็ทราบดี ท่านจึงแนะนำให้หลวงพ่อขันตีมีความอดทน ปรารบให้เร่งความเพียรมากยิ่งขึ้น ให้หลีกเร้นจากหมู่คณะ ให้หาที่สงบภาวนาให้มาก ให้ละความกังวนต่างๆ กลับมาตั้งสติตั้งใจภาวนาเร่งให้เกิดความสงบ..."
    จนในพรรษาที่ 3 ปี พ.ศ.2509 หลวงปู่คำดี จึงพาหลวงพ่อขันตีไปจำพรรษา ณ วัดป่าหนองแซง จ.อุดรธานี กับ หลวงปู่บัว สิริปุณโณ ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น เมื่อไปถึงที่วัดหลวงปู่บัวท่านก็ให้โอวาทธรรมว่า"เรื่องจิตใจที่หลอกลวงตลอดเวลานั้น เป็นเพราะการ
    lp-bua-jpg.jpg
    หลวงปู่บัว สิริปุณโณ
    ขาดสติ ขาดปัญญา จึงกลายเป็นตัวกิเลสทำให้เกิดทุกข์ หรือพาไปหาความทุกข์ไปที่ไหนถ้าใจไม่มีสติ ไม่มีปัญญา ความศรัทธาความเชื่อความ เลื่อมใสในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ยังไม่มีหลักสรณะทางจิตใจ หากมีแต่ปล่อยจิต ปล่อยใจไปตามสัญญาแห่งอามรณ์ทั้งวัน ทั้งคืนไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ก็จะมีแต่ความทุกข์ร้อนเป็นไฟ เพราะใจได้ถูกแผดเผาด้วย ราคะ โทสะ โมหะ ดังนั้นควรที่จะมีสติระลึกรู้ตัวอยู่ตลอดไป จะมานั่งมานอนรอความตาย ให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ จะต้องหมั่นภาวนาศึกษา ให้จิตให้ใจมีที่พึ่ง ไม่ใช่ปล่อยเวลาให้เสียไปวันๆ" เป็นโอวาทสำคัญที่หลวงปู่บัว ท่านอบรมณ์สั่งสอนหลวงพ่อขันตี ในพรรษที่มาจำที่วัดป่าหนองแซงนี้
    ครั้งพอออกพรรษาในปี 2509 นั้นหลวงปู่คำดีท่านก็กลับไปอยู่ที่วัดถ้ำผาปู่ โดยหลวงพ่อขันตีกราบเรียนขออนุญาตจากหลวงปู่คำดี ไม่กลับไปวัดถ้ำผาปู่ด้วย แต่จะอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่บัวนี้ก่อนสักระยะหนึ่ง หลวงปู่คำดีท่านก็เมตตาอนุญาต ในระหว่างที่อยู่วัดป่าหนองแซงนี้ หลวงพ่อขันตีท่านก็อยากเที่ยวไปกราบครูบาอาจารย์ในที่อื่นๆ หลวงปู่บัวท่านก็ทราบว่า หลวงพ่อขันตีท่านตอนนี้ มีจิตใจที่ยังวุ้นวายอยู่ท่านจึงให้โอวาท หลวงพ่อขันตีเตือนใจว่า"การที่เราจะเที่ยวไปหาครูบาอาจารย์ทั้งหลายนั้น ต้องพิจารณาดูว่าไปด้วยเหตุผลอันใด การปฏิบัติทำความเพียรนั้นร่วนเกิดแต่ตัวเราทั้งสิ้น ครูบาอาจารย์ท่านจะปฎิบัติแทนเราไม่ได้ การบำเพ็ญเพียรภาวนา เราต้องทำด้วยตัวเราเองเท่านั้นผลจึงจะเกิดกับตัวเรา ครูบาอาจารย์จะมาทำแทนเราได้หรือ ท่านเป็นแต่เพียงผู้บอก ผู้สอนเราเท่านั้น" ท่านจึงกลับมาพิจารณาในคำสอนเตือนสติของหลวงปู่บัว จึงทำให้ท่านมีกำลังใจใน ความพากความเพียรเพิ่มมากขึ้น ทั้งแล้วก็ทำให้จิตใจท่านสงบลงมาก ท่านจึงอยู่ภาวนากับหลวงปู่บัว ที่วัดหนองแซงนี้อีก 4 พรรษา รวมเป็น 5 พรรษากับการอยู่ปฎิบัติที่นี้...
    ต่อมาในพรรษาที่ 13 ปี พ.ศ. 2519 ท่านได้จาริกธุดงค์ไปจำพรรษา
    2-png.png
    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    ปรนนิบัติ และอยู่ปฎิบัติ กับ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ณ วัดป่าสานตม อ.ภูเรือ จ.เลย โดยหลวงพ่อขันตีท่านได้มีโอกาสอยู่อุปัฏฐากหลวงปู่ชอบ และได้รับอุบายธรรมกับหลวงปู่ชอบ เพื่อนำไปปฎิบัติ ซึ่งในช่วงนี้ เป็นช่วงที่หลวงปู่ชอบ ท่านมาสร้างวัดใหม่ชื่อว่าวัดป่าสานตม หลวงพ่อขันตีท่านกล่าวว่า"ในช่วงนี้ลำบากมาก เพราะที่นี้อากาศหนาวมาก หลวงปู่ชอบท่านก็ไม่ให้พระที่มาอยู่ด้วยก่อไฟผิง เพราะจะมีแต่มาสุมหัว พูดคุยกันในเรื่องไม่เป็นเรื่อง แต่หลวงปู่ชอบจะให้พระเดินจงกรมแทน เพื่อเป็นการกระตุ้นธาตุไฟให้เกิดความอบอุ้นภายใน"
    ในพรรษาที่ 14-15 ประมาณปี พ.ศ. 2520-2521 ท่านได้ธุดงค์ไปจำ
    1e68337c4ca9d191dd06e19d888992b5-jpg.jpg พรรษา ณ วัดป่าแม่ริน(ห้วยน้ำริม) อ.แม่ริมจ.เชียงใหม่ และที่ อ.ปาย แม่ฮ่องสอน สถานที่แห่งนี้ทำให้จิตใจหลวงพ่อขันตี ได้มีโอกาสรละว่างความโกรธความพยาบาทลงได้ เพราะได้ตั้งใจทำความเพียรทั้งวันทั้งคืน ทำให้จิตสงบทำให้ได้เห็นอานิสงค์ ว่าคนที่ดุด่าว่ากล่าวตนล้วนแต่เป็นผู้มีพระคุณทั้งนั้น หลวงพ่อขันตีท่านกล่าวว่า"อยุ่ปฎิบัติที่นี้ ท่านก็ได้นำคำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์หลวงปู่คำดีมา พิจารณาว่าหากใจยินดีในสุข ก็ต้องเป็นทุกข์ ทุกข์นี้ก็มีคุณมากเพราะจะทำให้เราเห็นโทษเห็นภัย และจะได้ตั้งใจให้ออกจากทุกข์ เร่งการบำเพ็ญให้มากเพื่อจะได้หนีจากทุกข์ เพราะถ้ามีแต่สุขจะไม่เห็นโทษแห่งทุกข์ที่มีอยู่เลย จะประมาทมัวเมาในชีวิต ไม่ตั้งใจบำเพ็ญภาวนา ก็ต้องตกเป็นธาตุของกิเลสตลอด แล้วก็ตายโดยไม่พบแสงสว่าง ตายโดยไม่ได้มรรค ไม่ได้ผลอะไรเพราะใจนั้นมืดบอด อยู่กับวัตถุข้าวของ เงินทอง ที่ไม่มีแก่นสารอะไร" นี้คือคำสอนของหลวงปู่คำดีที่สอนหลวงพ่อขันตี ให้ภาวนาตั้วใจบำเพ็ญเพียร อย่าอยากได้โน่น ได้นี้ ให้ตั้งใจปฎิบัติบูชาคุณพระพุทธเจ้า ไม่ต้องส่งจิตส่งใจออกไปภายนอก ทั้งคดีทั้งอนาคต ให้กำหนดรู้ปัจจุบันภายในจิตเท่านั้น วันเวลาล้วงไปล้วงไปบัดนี้เราทำอะไรอยู่ ถ้ามีสติธรรมก็จะเกิด ละทุกข์ได้ ให้ตั้งใจปฎิบัติตามคำสอน ไม่ใช่เอาแต่หลับนอนเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ สิ่งที่หน้ากลัวที่สุดคือกิเลสภายในใจเรานี้เอง...
    135-u1511924-635025692578317235-1-jpg.jpg หลวงปู่ขาว อนาลโย
    พรรษาที่ 16 ประมาณ พ.ศ.2522 หลวงพ่อขันตี ท่านก็ได้จาริธุดงค์ไปพักจำพรรษา ณ วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี กับหลวงปู่ขาว อนาลโย เป็นเวลา 1 พรรษา ในหว่างอยู่จำพรรษากับหลวงปู่ขาวนี้ หลวงปู่ขาวท่านสอนหลวงพ่อขันตี ให้บำเพ็ญเพียร โดยการตั้งสัจจะ รักษาสัจจะ ในการบำเพ็ญภาวนา
    ช่วงพรรษาที่ 17 พ.ศ.2523 ท่านได้กลับไปจำพรรษาที่จังหวัดเลยอีกครั้ง ในช่วงพรรษาที่ 18 ราวปี 2524 ได้ธุดงค์ไปจำพรรษา ณ วัดอโศการาม จ.สมุทปราการ พอพรรษา 19-23 ใน พ.ศ.2525-2529 ท่านกลับมาจำพรรษาที่วัดห้วยเดื่อ อ.วังสะพุง จ.เลย ในช่วงพรรษาที่ 24 ท่านได้มาจำพรรษาวัดป่าบ้านบง อ.ภูเรือ จ.เลย ในปี พ.ศ.2530
    ช่วงพรรษาที่ 25-34 พ.ศ.2531-2540
    ท่านก็ได้มาจำพรรษา ณ วัดป่าห้วยเดื่อ อ.วังสะพุง จ.เลย(วัดป่าสันติธรรม) ซึ่งในช่วง 10 ปีนี้ ท่านได้มีโอกาสแวะเวียนไปดูแล ปฎิบัติกับหลวงปู่ชอบ ที่วัดป่าโคมน อยู่เป็นประจำ จนถึงปี 2538 หลวงปู่ชอบท่านก็ละสังขาร ซึ่งหลวงพ่อขันตี ท่านก็อยู่ช่วยงานตั้งแต่แรก จนงานพระราชทานเพลิงแล้วเสร็จ
    222-jpg.jpg

    หลวงปู่ไชย สัญตุฏฐิโก
    ในปี 2529 หลวงปู่ไชย สัญตุฏฐิโก วัดป่าห้วยเดื่อ โยมบิดาของหลวงพ่อขันตี ญาณวโร(ที่มาบวช) ก็ละสังขารมรณะภาพ เมื่ออายุได้ 88 ปี 29 พรรษา ทำให้ท่านปรงอนิจจังการเกิด แก่ เจ็บ ตาย คนเราเกิดมาไม่มีอะไรมาด้วย ไปก็ไม่มีอะไรไปด้วย ทั้งหลายทั้งมวลเป็นอนิจจังจึงทำให้หลวงพ่อขันตี ออกภาวนาเร่งความเพียรเพิ่มมาขึ้น หลวงพ่อขันตีท่านกล่าวว่า "เพราะได้พิจารณาแล้ว อายุย้อมจะมีแต่ผ่านพ้นและหมดไป ไม่มีอะไรที่จะยังยืนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีแต่เกิดมาแก่ เกิดมาเจ็บ เกิดมาตายด้วยกันหมดทั้งโลก ร่างกายก็เต็มไปด้วยของที่ไม่สะอาดมีประการต่างๆไม่ว่าจะ ผม ขน เล็บ ฟันหนังเนื้อ ที่มีเต็มอยู่ภายใน ไม่มีอะไรที่จะอยู่คงทนอยู่ได้ มีแต่เสือมโทรม ลงไปทุกขณะลมหายใจ ถ้าหมดลมปราณเมื่อใดก็ไม่มีอะไรเหลือ บางคนตอนมีชีวิตอยู่อวัยวะบางส่วนยังต้องเสียไป บางคนเป็นเบาหวาน ต้องตัดขา ตัดแขนไปก็มี หรือประสบอุบัติเหตุต้องสูญเสียอวัยวะบางแห่งไปก็มี แม้เรารักเราหวงแหนมากขนาดไหน ก็ไม่อาจรักษาคงทนอยู่กับเราได้ตลอดไป ควรเร่งความเพียรให้มาก อย่าไปวนเวียนเพียรเป็นคนมักมาก ความเสียใจจะตามมาในภายหลัง...."
    image1158_4-jpg.jpg
    พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ชอบ วัดป่าม่วงไข่

    ปัจจุบันหลวงพ่อขันตี ญาณวโร มาจำพรรษา ณ วัดป่าม่วงไข่ ตั้งแต่ ปี 2545 จวบจนปัจจุบัน ซึ่งที่วัดป่าม่วงไข่แห่งนี้ ท่านเคยมาอยู่พักภาวนาก่อนแล้วสมัยหลวงปู่ชอบ และหลวงปู่ชอบ ท่านก็ได้สร้างไว้ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล *******บูชาที่ 195 บาทฟรีส่งems SAM_6707.JPG SAM_6708.JPG SAM_4062.JPG sam_6211-jpg.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...