มีวัตถุมงคลสายพระป่ากรรมฐานให้บูชาราคาเบาๆ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Somchai 2510, 8 กันยายน 2019.

  1. Peterbn

    Peterbn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2018
    โพสต์:
    446
    ค่าพลัง:
    +294
    ขอจองครับ
     
  2. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 627 เหรียญรุ่นสร้างกุฏิหลวงปู่หลวง กตปุญโญ พระอรหันต์เจ้าวัดสุคีรีบรรพต อ.เมือง จ.ลำปาง หลวงปู่หลวงเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นรุ่นสุดท้าย เหรียญสร้างปี 2542 เนื้อทองเเดงรมนํ้าตาล สร้างเนื่องฉลองหลวงปู่อายุครบ 79 ปี มีตอกโค๊ต ล ล ตรงผ้าสังฆาฏิหน้าเหรียญ >>>>>>มีพระเกศาเเละอัฐิธาตุหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ******* เหรียญใหม่ไม่เคยใช้>>>>บูชาที่ 350 บาทฟรีส่งems ประวัติย่อพอสังเขป
    "หลวงปู่หลวง กตปุญโญ" หรือ พระครูการุณยธรรมนิวาส พระสายปฏิบัติเมืองลำปาง หนึ่งในศิษย์ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่สายพระป่า

    นามเดิมชื่อ หลวง สอนวงค์ษา เกิดเมื่อวันที่ 27 ก.พ.2464 ตรงกับปีระกา ที่บ้านบัว หมู่ที่ 5 ต.สว่าง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    เนื่องจากเป็นพี่ชายคนโต จึงต้องรับภาระช่วยพ่อ-แม่ ทำไร่นาและดูแลน้องๆ อีก 5 คน เมื่ออายุได้ 7-8 ขวบไปปรนนิบัติหลวงลุง ซึ่งเป็นพระมหานิกายอยู่วัดใกล้บ้าน พร้อมกับเรียนหนังสือไปด้วย จึงมีจิตใจโน้มเอียงทางพุทธศาสนา จนได้อ่านหนังสือพระไตรสรณคมน์ ของพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม จนมีความเลื่อมใสมากขึ้น

    พออายุ 22 ปี เข้าพิธีอุปสมบทในสังกัดพระมหานิกาย เมื่อปีพ.ศ.2485 ที่พัทธสีมา วัดศรีรัตนาราม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ได้รับฉายา "ขันติพโล"

    มีความหมั่นเพียรขยันอดทนทั้งปริยัติและปฏิบัติจนสอบได้นักธรรมชั้นโท

    ระยะนั้น หลวงปู่สิม พุทธจาโร กลับไปเยี่ยมบ้านเกิด พระหลวงได้ไปกราบและศึกษาข้อวัตรปฏิบัติปฏิปทา ตลอดจนได้อุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่ สิมอยู่หลายเดือน

    ครั้งหนึ่งพระหลวงไปนมัสการ หลวงปู่แว่น ธนปาโล ที่ อ.เมือง จ.สกลนคร จึงมีโอกาสพบ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ฟังพระธรรมเทศนาคำสั่งสอนของหลวงปู่มั่นจนซาบซึ้ง

    จึงเดินทางแสวงหาครูบาอาจารย์ทางภาคเหนือ เข้าไปกราบนมัสการหลวงปู่สิม พุทธจาโร ที่วัดสันติธรรม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อขอญัตติใหม่ เมื่อวันที่ 9 ก.ค.2493 ที่วัดเชตวัน อ.เมือง จ.ลำปาง โดยมีพระครูธรรมาภิวงศ์ เป็นพระอุปัชฌายะ หลวงปู่แว่น ธนปาโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาใหม่ว่า "กตปุญโญ"

    เดินทางธุดงค์ติดตามครูบาอาจารย์หลายรูป เช่น หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่สิม พุทธจาโร, หลวงปู่แว่น ธนปาโล ไปในหลายจังหวัดเขตภาคเหนือ เพื่อฝึกปฏิบัติอบรมกัมมัฏฐานภาวนา จนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสำราญนิวาส ในปีพ.ศ.2506 ในปีเดียวกันเป็นเจ้าคณะตำบล อ.เกาะคา ต่อมาในปีพ.ศ.2509 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูการุณยธรรมนิวาส และปีพ.ศ.2511 เป็นพระอุปัชฌาย์
    4-jpg-jpg.jpg
    ประวัติหลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ
    พระครูการุณยธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ)
    วัดป่าสำราญนิวาส จังหวัดลำปาง
    หลวงปู่หลวง กตปุญโญ ท่านเป็นญาติกับ
    หลวงปู่สิม พุทธจาโร วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
    และหลวงปู่แว่น ธนปาโล วัดถ้ำพระสบาย อ.แม่ทะ จ.ลำปาง หลวงปู่หลวงเป็นพระนักปฏิบัติท่านออกธุดงค์กรรมฐานไปหลาย จังหวัดทั่วทุกภาคของประเทศไทย ท่านได้ถวายตัวเป็นศิษย์ ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และหลวงปู่เทสก์ เทสรังษี หลวงปู่หลวงท่านเป็นผู้ทรงศีลตามรอยพระพุทธบาท ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ควรค่ายิ่งแห่งความเคารพบูชาของพุทธศาสนิกชนชาวพุทธทั้งหลาย

    1-jpg-jpg.jpg
    พระธาตุหลวง กตปุญฺโญแปรสภาพจากเถ้าอังคาร

    2-jpg-jpg.jpg
    อัฐิธาตุของหลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ
    3-jpg-jpg.jpg อัฐิธาตุหลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ ส่วนไหปลาร้า sam_8604-jpg.jpg sam_8605-jpg.jpg sam_8606-jpg.jpg SAM_8774.JPG SAM_8775.JPG sam_8548-jpg.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2021
  3. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 628 เหรียญกลมใหญ่หลวงปู่จาม มหาปุญโญ พระมหาโพธิสัตว์โตวัดป่าวิเวกพัฒนาราม จ.มุกดาหาร มีตอกโค๊ตหลังเหรียญ สวยๆ หายาก หลวงปู่จามเป็นศิษย์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล,หลวงปู่มั่น ภูริทัติโต ตั้งเเต่บวชเป็นเณร เหรียญใหม่ไม่เคยใช้***********บูชาที่ 495 บาทฟรีส่งems
    cuyb0kppmtyfrwz-u-vbwzjva4tzxhijcfg9rue2wxjnrkzjvkxhoorcqmfafpwhvg-cs9eiodhw-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
    >>>>>>>ประวัติย่อๆพอสังเขปหลวงปู่จาม มหาปุญโญ เกิดในสกุล ผิวขำ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 พ.ค. 2453 ตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ที่บ้านห้วยทราย อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร บิดา-มารดา ชื่อ นายกา และนางมะแง้ ผิวขำ ครอบครัวมีพี่น้องร่วมอุทรรวม 9 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3
    เมื่อวัยเยาว์ อายุได้ 6 ขวบ พ่อแม่พาไปกราบหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า ซึ่งได้มาจำพรรษาอยู่ใกล้บ้านที่ภูผากูด คำชะอี
    กระทั่งอายุได้ 16 ปี โยมพ่อแม่ได้พาไปถวายตัวกับหลวงปู่มั่น ที่ จ.อุบลราชธานี ให้นุ่งขาวห่มขาวเป็นเวลา 9 เดือน
    ปีถัดมา เข้าพิธีบรรพชา อยู่รับใช้ หลวงปู่มั่น ที่บ้านหนองขอน อ.บุ่ง จ.อุบลราชธานี ได้มีโอกาสรับใช้ใกล้ชิดครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงพ่อลี ธัมมธโร, หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม เป็นต้น
    แต่ผ่านไปได้เพียง 2 ปี จำต้องลาสิกขาออกมา เพื่อรักษาโรคเหน็บชา อันเนื่องมาแต่ตกบันไดกุฏิ และการประกอบความเพียรมากเกินไป เช่น นั่งภาวนาในน้ำ ถือไม่นอน และฉันน้อย เป็นต้น ทำให้ต้องหันกลับไปใช้ชีวิตเป็นฆราวาส ประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา ค้าขาย
    เมื่ออายุได้ 27 ปี พ่อกา (โยมพ่อ) ได้บวชเป็นพระภิกษุ (ใช้ชีวิตอีก 6 ปี ก็มรณภาพ) ส่วนแม่มะแง้ (โยมแม่) ได้บวชชี (ใช้ชีวิตอีก 36 ปี จนถึงแก่กรรม) ก่อนที่จะไปกราบไหว้พระธาตุพนม จ.นครพนม เพื่ออธิษฐานขอบวชในพระพุทธศาสนา
    เมื่ออายุได้ 29 เต็มปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2482 ที่วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี พระเทพกวี (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์
    หลังอุปสมบท ท่านออกธุดงค์ไปทางภาคเหนือ ได้จำพรรษาสังกัดวัดเจดีย์หลวง ถึง 32 พรรษา โดยอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวง ปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
    อีกทั้ง ยังเคยออกธุดงค์หาประสบการณ์ในเขตภาคอีสาน เคยปฏิบัติธรรมร่วมกับเกจิอาจารย์หลายรูป อาทิ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย, หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู, หลวงพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทร ปราการ, หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าบ้านข่า จ.นครพนม เป็นต้น
    พ.ศ.2521 เดินธุดงค์กลับมาทางภาคอีสานและเดินธุดงค์มายังบ้านเกิด คือ บ้านห้วยทราย อ.คำชะอี และจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าวิเวกวัฒนาราม
    ชาวบ้านและคณะศิษยานุศิษย์ นิมนต์ให้ท่านจำพรรษาปักกลดที่วัดป่าวิเวกวัฒนาราม และพัฒนาให้เป็นที่พำนักนั่งวิปัสสนากรรมฐานเผยแผ่พระธรรมปรมัตถ์แผ่เมตตาให้แก่ชาวบ้านในละแวกนั้นตลอดจนปัจจุบัน
    ส่วนผลงานที่เป็นรูปธรรมอันทรงคุณค่านั้น หลวงปู่จามได้สร้างไว้เป็นที่ประจักษ์ชัดมากมาย อาทิ สร้างพระเจดีย์ทรงจุฬามณีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และสร้างกุฏิเสาเดียว จำนวน 11 หลัง รวมทั้งสร้างศาลาการเปรียญ และหอฉันสำหรับไว้เทศนาญาติโยมในวันสำคัญต่างๆ
    ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2553 ชาวจังหวัดมุกดาหารพร้อมใจจัดทำโครงการก่อสร้างพระพุทธรูปเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ปางมารวิชัยก่ออิฐถือปูนสีขาว ขนาดหน้าตักกว้าง 39.99 เมตร องค์พระสูง 59.55 เมตร ความสูงจากเศียรพระ 84 เมตร ประดิษฐาน ณ วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ ต.นาสีนวน อ.เมือง จ.มุกดาหาร
    ซึ่งเป็นโอกาสเดียวกับที่หลวงปู่จาม มีอายุครบ 100 ปี หลวงปู่จามพร้อมด้วย พระธัมมธโร หรือ ครูบาแจ๋ว รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกวัฒนาราม เมตตาอนุญาตให้จัดสร้างเหรียญที่ระลึก 100 ปี หลวงปู่จาม มหาปุญโญ เพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างพระพุทธรูปเฉลิมพระ เกียรติ
    >>>>หลวงปู่จามมรณภาพอย่างสงบด้วยโรคปอดติดเชื้อ สิริอายุ 104 พรรษา 75 ขณะนำตัวส่งโรงพยาบาลมุกดาหาร เมื่อช่วงเช้าวันที่ 19 ม.ค. 2556>>>>>>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล ***********(........หายากเเล้วครับวัตถุมงคลของหลวงปู่ลูกศิษย์เก็บหมด) SAM_7616.JPG SAM_8777.JPG SAM_8778.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2021
  4. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 629 เหรียญครบ 80 พรรษาหลวงปู่หลุย จันทสาโร พระอรหันต์เจ้าวัดถํ้าผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย หลวงปู่หลุยเป็นศิษย์รุ่นใหญ่หลวงปู่มั่น เหรียญสร้างปี 2524(ทันหลวงปู่ครับท่านละสังขาร 2532) เนื้อทองเเดงรมนํ้าตาล สร้างเนื่องหลวงปู่อายุครบ 80 ปี ,มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ**********บูชาที่ 375 บาทฟร่ีส่งems
    หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร

    วัดถ้ำผาบิ้ง บ้านนาแก ตำบลผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

    "พระอริยเจ้าผู้มีปฏิปทามักน้อยสันโดษหาผู้เสมอได้ยาก"


    1-png.png


    พระเดชพระคุณหลวงปู่หลุย จนทฺสาโร เดิมท่านนับถือศาสนาคริสต์ แต่มีนิสัยวาสนาน้อมมาในทางธรรมตั้งแต่วัยเด็ก

    อายุ ๗ ขวบ ธรรมเกิดเพียงเพราะการมองดูสายน้ำที่ไหลไปไม่มีวันกลับ ท่านคิดๆ พิจารณาเทียบชีวิตของคนที่ล่วงตายไป ไม่มีวันกลับคืนได้อีก จึงภาวนาโดยอาศัยสายน้ำนั้นเป็นอารมณ์

    อายุ ๙ ขวบ จิตตกภวังค์ นิมิตเห็นแสงสว่างคล้ายสีรุ้ง เกิดความชื่นชอบพระกรรมฐานและการออกบวชแบบพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมาก

    ท่านเป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่นที่ได้รับการยกย่องว่า "เป็นผู้ทรงธุดงค์ธรรม ว่าด้วยความเป็นผู้มักน้อยสันโดษ หาผู้ใดในยุคปัจจุบันเสมอได้ยาก" นอกจากความเป็นผู้มักน้อยสันโดษแล้ว ท่านยังเป็นผู้มีความเพียรกล้า เป็นผู้ที่มีบุญวาสนา ได้ร่วมสำนักปฏิบัติธรรมและได้อุบายธรรมกับสุดยอดพระบูรพาจารย์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานทั้งสองคือ หลวงปู่เสาร์ กนตฺสีโล และ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต

    นิสัยของท่านอยู่ง่ายไปเร็ว ชอบท่องเที่ยวไปตามป่าเขา ไม่ติดสถานที่ ชอบอยู่ป่าและถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และเป็นศิษย์ที่เข้าใจในอัชฌาศัยของท่านพระอาจารย์มั่นเป็นอย่างดี สามารถนิมนต์ท่านพระอาจารย์มั่น อยู่จำพรรษาที่วัดบ้านหนองผือได้ จนกลายเป็นสำนักกรรมฐานที่เลื่องชื่อผลิตพระอริยเจ้าเข้าสู่ตลาดแห่งมรรคผลนิพพาน

    ท่านได้รับอุบายธรรมอันสำคัญจากสหธรรมิกผู้เป็นพระดั่งเพชรน้ำหนึ่งคือ หลวงปู่ขาว อนาลโย ด้วยอุบายธรรมอันแยบยลที่ได้รับจากเพื่อนนี้เอง หลวงปู่หลุยจึงได้กล่าวว่า "การภาวนาจะเป็นไปได้ด้วยดีนั้น นอกจากจะต้องมีครูบาอาจารย์ที่ดีแล้ว ก็คสรจะต้องมีกัลยาณมิตรที่ดีด้วย"

    ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ พรรษา ๔๐ ท่านถึงที่สุดแห่งธรรม ถึงการประหารกิเลสเข้าสู่นิพพานด้วยวิชาม้างกาย ที่ถ้ำกกกอก อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย



    2-png.png

    ในหลวงทรงนมัสการหลวงปู่หลุย


    ท่านเกิดวันอังคารที่ ๓ ปีฉลู ณ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย เป็นบุตรของ นายคำผ่อย วรบุตร (ลูกชายเจ้าเมืองแก่นท้าว แขวงไชยบุรี ประเทศลาว) และนางกวย วรบุตร (เจ้าแม่นางกวย ธิดาของผู้มีฐานะเขตเมืองเลย)

    อุปสมบทครั้งแรก เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๖ ณ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ระหว่างพรรษาแรก ท่านได้พยายามศึกษาพระธรรมวินัย ทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระอาจารย์บุญ ปญฺญาวุโธ เกิดความเลื่อมใสจึงขอถวายตัวเป็นศิษย์ และได้ญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุตที่วัดศรีสะอาด อำเภอเมือง จังหวัดเลย

    ต่อมาท่านได้พบกับ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่เสาร์ที่วัดพระพุทธบาทบัวบก



    3-png.png

    รูปเหมือนหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร


    ในพรรษานี้ การภาวนาของท่านจิตรวมแล้วเกิดอาการสะดุ้ง พระอาจารย์บุญสงสัยว่าการญัตติครั้งที่แล้วคงจะไม่ถูกต้อง จึงได้ให้ญัตติเป็นคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตใหม่เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ เวลา ๑๓.๐๘ น. โดยมีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระอาจารย์บุญ ปญฺญวุโธ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ณ วัดโภธิสม๓รณ์ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

    หลังจากญัตติแล้ว พระอาจารย์บุญได้นำท่านไปกราบท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย หลังจากนั้นท่านจึงออกวิเวกไปทางจังหวัดเพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี นครราชสีมา ร้อยเอ็ด ขอนแก่น สกลนคร หนองบัวลำภู จันทบุรี ปทุมธานี นครนายก สมุทรปราการ ชลบุรี หนองคายและประจวบคีรีขันธ์

    ปีพุทธศักราช ๒๕๑๐ - ๒๕๑๕ ท่านจำพรรษาที่ถ้ำผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย นานติดต่อกัน ๖ ปี นับเป็นการจำพรรษายาวนานกว่าที่แห่งไหน

    ปีพุทธศักราช ๒๕๒๙ - ๒๕๓๒ ท่านได้จำพรรษา ณ ที่พักสงฆ์ พหลโยธิน กม. ๒๗ ดอนเมือง กรุงเทพฯ และที่พักสงฆ์เย็นสุดใจ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์



    4-png.png

    อัฐิธาตุของหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ที่วัดอโศการาม



    5-png.png

    อัฐิธาตุของหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร


    ท่านนิพพานเข้าสู่บรมธรรมในวันจันทร์ที่ ๒๕ พ.ศ. ๒๕๓๒ เวลา ๐๐.๔๓ น. ณ โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

    สิริรวมอายุ ๘๘ ปี ๑๐ เดือน ๑๔ วัน ๖๔ พรรษา



    6-png.png

    พระธาตุของหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร



    7-png.png

    เกศาและพระธาตุของหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร SAM_8776.JPG SAM_7644.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2021
  5. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,908
    ค่าพลัง:
    +6,808
    ขอจองครับ
     
  6. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,908
    ค่าพลัง:
    +6,808
    ขอจองครับ
     
  7. Higtmax

    Higtmax เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    2,342
    ค่าพลัง:
    +4,818
    บูชาครับ
     
  8. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 630 ชุดรูปเหมือนลอยองค์หลวงปู่จันทาเเละหลวงปู่อํ่า ธัมมกาโม +ผ้ายันต์มงกุฏพระพุทธเจ้าหลวงปู่จันทา ถาวโร 2พระอรหันต์เจ้าวัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูล จ.พิจิตร หลวงปู่จันทาเเละหลวงปู่อํ่าเป็นศิษย์เอกหลวงปู่ขาว อนาลโย พระอรหันต์วัดถํ้ากลองเพล องค์พระสร้างปี 2546 เนื้อชนวนระฆังเก่า ส่วนเหรียญเนื้อนวะ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ************บูชาที่ 755 บาทฟรีส่งems(ผ้ายันต์ผืนใหญ่) ประวัติประสบการณ์ผ้ายันต์ของหลวงปู่จันทา ส.จ.จังหวัดพิจิตรคนหนึ่งไปกราบเยี่ยมหลวงปู่จันทา ที่วัดเขาน้อย เพราะได้ยินกิตติศัพท์มาก่อน เมื่อเอ่ยปากขอเครื่องมงคล ท่านก็เมตตามอบผ้ายันต์ให้ผืนหนึ่งภายในบรรจุด้วยรูปหลวงปู่เป็นลายเส้น และยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้ากับคาถาพระไตรสรณคมน์ ทั้ง 3 บทของหลวงปู่

    ครั้นกราบลาแล้วก็ขับเก๋งคู่ใจ มุ่งตรงมาแวะจอดทำธุระที่ตลาด ขณะที่ยืนไขกุญแจล็อกประตูรถด้านคนขับนั่นเอง ปรากฏชายฉกรรจ์ 2 คน ซ้อนมอเตอร์ไซค์ขี่มาหยุดอยู่ข้างๆ และโดยไม่มีสัญญาณใดๆทั้งสิ้น ชายผู้ซ้อนหลังก็หยิบปืนออกจากเอวเบนปากกระบอกไปยังเป้านิ่งที่ยืนตะลึงตรงหน้า แล้วลั่นไก ปัง... ปัง...ออกไปราว 3-4 นัด จากนั้นก็บึ่งรถหายลับไป บนถนนราวกับภูตผี

    ร่าง ส.จ. เคราะห์ร้ายรูดลงไปกองอยู่กับพื้น เป็นเป้าสายตาที่ใครต่อใครต่างกรูกันเข้ามา พอประคองลุกขึ้นจะส่งโรงหมอ ก็ให้ประหลาดใจที่ไม่เห็นเลือดนองดังคิด ไม่เห็นความเจ็บปวดอะไรบนใบหน้านอกจากแววตาที่ตื่นตระหนกเมื่อรุมล้อมซักถาม ได้ความว่า ยมทูตทั้ง 2 ยื่นความตายให้ไม่ถึงตัว ห่างกันไม่พอ 2 เมตร กลับยิงไม่ถูกเลยสักนัด ต่อให้คนไม่เคยยิงปืน มันก็น่าจะถูกบ้าง

    เลยเป็นเรื่องอัศจรรย์ที่แคล้วคลาดได้ ต่างซักถามถึงพระดีว่าแขวนอะไร ส.จ.เคราะห์ร้ายผู้กลับมาเคราะห์ดีบอกว่า ไม่ได้แขวนพระอะไร แต่มีผ้ายันต์ ผืนหนึ่ง เพิ่งรับมาจากหลวงปู่จันทาสดๆ ร้อนๆ ไทยมุงก็ขอชมเป็นบุญตา เขาก็ล้วงจากกระเป๋าเสื้อออกมาคลี่ให้คนชม

    หัวกระสุนทั้ง 4 นัด นอนกลิ้งอยู่กลางผ้ายันต์ !!

    เสียงอื้ออึงก็สนั่นขึ้นอีก รวมถึง ส.จ.คนนั้น ที่แทบไม่เชื่อสายตาตัวเอง กระสุนปืนที่ถูกยิงออกมามีความรุนแรงแค่ไหนใครก็รู้ ไม่ถูกยังพอว่า นี่กลับมาอยู่ในผ้ายันต์ที่พับเป็นสี่เหลี่ยมไว้ในกระเป๋าเสื้อ >>>>>>
    อนึ่ง.....หลวงปู่จันทาเป็นศิษย์รุ่นพี่หลวงปู่อํ่า เป็นสหธรรมมิกกันเเละได้ชักชวนกันมาอยู่จำพรรษาที่วัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร เพราะมีลูกหลานญาติพี่น้องของหลวงปู่จันทาที่ย้ายอพยพมาจากจ.ร้อยเอ็ด มาตั้งรกรากอยู่ที่ต.นี้มากเลยครับ (พูดภาษาอีสานทั้งนั้นครับ ) sam_6500-jpg.jpg sam_8490-jpg.jpg SAM_8791.JPG SAM_8779.JPG SAM_8780.JPG SAM_8781.JPG SAM_8782.JPG SAM_8783.JPG SAM_8784.JPG SAM_8785.JPG SAM_8786.JPG SAM_8788.JPG SAM_8790.JPG เปิดดูไฟล์ 5738494 เปิดดูไฟล์ 5738495 SAM_8787.JPG เปิดดูไฟล์ 5738496 sam_7616-jpg.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2021
  9. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ ุ631 ล็อกเก็ตรูปไข่ฉากฟ้าขาวหลวงปู่ท่อน ญาณธโร พระอรหันต์เจ้าวัดศรีอภัยวัน อ.เมือง จ.ขอนเเก่น หลวงปู่ท่อนเป็นศิษย์รุ่นใหญ่หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถํ้าผาปู่ ล็อกเก็ตสร้างปี 2553 มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล **********บูชาที่ 345 บาทฟรีส่งems sam_5671-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_6260-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_6259-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg เปิดดูไฟล์ 5738520 เปิดดูไฟล์ 5738521 sam_1986-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
     
  10. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ ุ632 เหรียญเจรีญพรบนหลวงปู่เคน เขมาสโย พระอรหันต์เจ้าวัดป่าหนองหว้า อ.สว่างเเดนดิน จ.สกลนคร หลวงปู่เคนเป็นศิษย์หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม เป็นต้น เหรียญสร้างปี 2557 เนื้อทองเเดงรมดำมันปู มีตอกโค๊ตยันต์นะ หน้าเหรียญ(อนึ่ง.....เหรียญรุ่น 1 ของหลวงปู่เคนที่เป็นสีทองฝาบาตร ที่เเจกในงานกฐินวัดของหลวงปู่ ดังมาก เพราะว่ามีคนห้อยคอเหรียญรุ่นนี้เเล้วมีคนมาเเอบยิงด้วยลูกปืน เเต่ปืนยิงเท่าไหร่กระสุนด้านยิงไม่ออกครับ ทำให้คนที่ห้อยเหรียญหลวงปู่เคนรอดชีวิต) มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ *************บูชาที่ 195 บาทฟรีส่งems
    ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่เคน เขมาสโย วัดป่าหนองหว้า บ้านหนองหว้า ต.ทรายมูล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    -b2-e0-b8-99-e0-b8-ab-e0-b8-99-e0-b8-ad-e0-b8-87-e0-b8-ab-e0-b8-a7-e0-b9-89-e0-b8-b2-jpg-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่เคน เขมาสโย วัดป่าบ้านหนองหว้า อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    พระอริยสงฆ์ผู้ยินดีอาศัยในธรรม

    หลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านเป็นพระที่มีเมตตาธรรมสูง อารมณ์ดี เยือกเย็นเสมอ พร้อมให้การสังเคราะห์ต่อศรัทธาญาติโยม ท่านมีอัธยาศัยเป็นพระที่ไม่ค่อยเก่งในการปฏิสัณฐานกับศรัทธาญาติโยมมากนัก เรียกว่าไม่ค่อยพูด นอกเสียจากว่านาน ๆ ครั้งองค์ท่านก็มีเมตตาสอนให้ข้อคิดคติธรรมบ้าง ในลักษณะคำสอนสั้น ๆ แต่ก็ถึงใจกับลูกศิษย์ลูกหา เมื่อได้น้อมใจที่พยายามเข้าใจในธรรมที่องค์ท่านเมตตาสอน ทั้งผิวพรรณขององค์ท่านก็สดใส ขาวผ่อง สมกับความเป็นพระอริยเจ้าผู้มีคุณธรรมขั้นสูง หลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร ศิษย์ผู้มีความผูกพันกับหลวงปู่เคน เคยกล่าวไว้ว่า “พระผู้เฒ่าไม่ต้องห่วงแล้ว ท่านสบายแล้ว”

    หลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านมีชาติกำเนิดในสกุล “นิ่งแนน” ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๑ ตรงกับ วันจันทร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ณ บ้านนาเตียง ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    เป็นบุตรของคุณพ่อไพ คุณแม่บับ ท่านเกิดได้ไม่นานแม่ก็เสียชีวิต น้าสาวเลยเอาท่านไปเลี้ยงเป็นลูก แล้วเปลี่ยนนามสกุลเป็น “ฤกษ์งาม”

    หลวงปู่เคน เขมาสโย ในสมัยเด็ก ๆ องค์ท่าน มีจิตใจในทางเมตตา ใฝ่ใจใคร่รู้ในทางธรรมมาก และมีจิตเมตตา สงสารในสัตว์เล็ก สัตว์น้อย และมีชีวิตที่ไม่โลดโผนมากนัก ผิดกับวัยรุ่นวัยหนุ่ม ที่คะนองตามแบบหนุ่มบ้านนอกลูกทุ่งโดยทั่วไป ด้วยใจที่ใฝ่ในทางธรรม จึงออกปากขอโยมพ่อ โยมแม่ ขอออกบวช ก็เป็นที่น่ายินดีกับทุกคนที่ได้รับฟังเวลานั้น ช่วงนั้นเป็นเดือน ๑๑ เป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าว พอตอนเย็น ท่านกับเพื่อน ๆ ที่พร้อมจะบวชด้วยกันทั้ง ๔ คน ก็มาฝึกขานนาคกับหลวงปู่หอม ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ ที่วัดป่าสามัคคีบำเพ็ญผล บ้านนาเตียง

    -a7-e0-b9-89-e0-b8-b2-e0-b8-88-e0-b8-aa-e0-b8-81-e0-b8-a5-e0-b8-99-e0-b8-84-e0-b8-a3-jpg-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่เคน เขมาสํโย วัดป่าหนองหว้า จ.สกลนคร
    ท่านอุปสมบทเมื่ออายุ ๒๓ ปี ณ สิมกลางน้ำ วัดป่าบ้านหนองดินดำ (ภายหลังเปลี่ยนเป็น วัดป่าคามวาสี) ต.ตาลโกน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนอ้าย ปีขาล โดยมีพระอธิการพุฒ ยโส (ภายหลังได้รับสมณศักดิ์ เป็นพระครูพุทธิวาคม) เป็นอุปัชฌาย์ หลวงปู่นนท์ โกวิโท เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่หอม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    พระอาจารย์เคน ได้รับฉายาว่า “เขมาสโย” แปลว่า “ผู้ยินดีอาศัยในธรรม” ในการบวชครั้งนั้นได้มีการเข้าพิธีบรรพชาอุปสมบทพร้อมกัน ๔ นาค คือ
    ๑.นาคเคน ฤกษ์งาม หรือท่านพระอาจารย์เคน เขมาสโย
    ๒.นาคประสาร รำไพ หรือท่านพระอาจารย์ประสาร ปัญญาพโล
    ๓.นาคสมัย โสภาจาร หรือท่านพระอาจารย์สมัย ทีฆายุโก
    ๔.นาคชาลี โคตรสมบูรณ์ บวชเป็นสามเณร เพราะอายุยังไม่ถึง ต่อมาได้ลาสิกขาบท

    หลังจากท่านบวชแล้วก็ติดตามหลวงปู่นนท์ โกวิโท เที่ยวไปธุดงค์ที่ จ.นครพนม ได้ไปศึกษาธรรมอยู่กับหลวงปู่บุญมา มหายโส ที่วัดอรัญญิกาวาส อ.เมือง จ.นครพนม อยู่พักหนึ่ง

    ภายหลังพระอาจารย์วัน อุตตโม แห่งวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ได้ฝากให้ท่านไปอยู่จำพรรษากับหลวงปู่คำ ยสกุลปุตโต เพื่อให้ท่านสอนวิปัสสนากรรมฐานในเบื้องต้นให้ ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่คำ มีอายุ ๖๐ ปี ที่วัดศรีจำปาชนบท บ้านพังโคน อ.พังโคน จ.สกลนคร เป็นพรรษแรก คือปี พ.ศ.๒๔๙๔ หลวงปู่คำ ให้อาตมาฝึกนั่งสมาธิเจริญคำภาวนาว่า “พุทโธ” ด้วยการให้พิจารณาการหายใจเข้าหายใจออกอย่างสม่ำเสมอ และให้มีสติกำหนดรู้อยู่ในการหายใจ ฝึกอยู่ได้หนึ่งพรรษาจิตยังหยาบอยู่ จึงต้องตั้งสติอยู่ในความไม่ประมาทอยู่เสมอ

    จากนั้นจึงไปศึกษาธรรมอยู่กับท่านพระอาจารย์จันทร์ ไปอยู่บ้านนาเหมือง จ.สกลนคร ท่านพระอาจารย์จันทร์ ได้สอนการอ่านตัวธรรมที่จารอยู่ในใบลานต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการฝึกจิตเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนจิตใจสงบดีขึ้นเป็นลำดับ ทำให้จิตใจไม่ฟุ้งซ่านเหมือนเมื่อก่อน จึงทำให้หูตาสว่างไสวไปอีกขั้นหนึ่ง คือมองอะไรก็เป็นธรรมดา จิตใจไม่ว้าวุ่นเป็นสมาธิดี ท่านพระอาจารย์เคนอยู่อบรมธรรมกับพระอาจารย์จันทร์ อยู่ ๓ พรรษา คือปี พ.ศ.๒๔๙๕ ถึงปี พ.ศ.๒๔๙๗ จากนั้นก็ไปจำพรรษาที่วัดโนนแสนคำ บ้านทุ่งคำ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร ณ ที่นี้ ก็เป็นสัปปายะดี คือเป็นสถานที่ดี มีความสงบสงัด เป็นที่ถูกใจ เหมาะแก่การภาวนาปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง ท่านอยู่จำพรรษาที่นี่ ๑ พรรษ คือปี พ.ศ.๒๔๙๘

    จากนั้นจึงมาอยู่ศึกษาธรรมกับหลวงปู่หอม ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ ที่วัดป่าสามัคคีบำเพ็ญผล บ้านนาเตียง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ๔ พรรษา คือ ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ถึงปี พ.ศ.๒๕๐๒ จากนั้นท่านทราบข่าวว่าหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นลูกศิษย์รูปหนึ่งของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นพระที่มีปฏิปทาที่น่าเลื่อมใส จึงได้เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาอบรมธรรมอยู่กับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่วัดป่านิโครธาราม บ้านหนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี อีก ๑ พรรษา คือปี พ.ศ. ๒๕๐๓ หลวงปู่อ่อน ได้อบรมสั่งสอนในเรื่องทางการฝึกจิต ความเจริญทางจิตใจนั้น เราจะปล่อยไปเองตามธรรมชาติไม่ได้ เพราะใจจะไหลลงต่ำ ไม่ดีงาม เราต้องรู้จักควบคุมบังคับ ฝืนไม่ให้อาหารในทางเสื่อม ไม่อย่างนั้นจิตใจจะไม่เจริญก้าวหน้า ท่านสอนให้ยึดคำบริกรรม “พุทโธ” เป็นหลัก เพราะไม่มีคำบริกรรมอย่างใดจะดีเท่าการสรรเสริญพระพุทธเจ้า

    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ อบรมเรื่องการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปอยู่ป่าแล้ว อย่าไปยึดป่า อย่ามีอุปาทานในป่า เรามีนี่เพื่อทำปัญญาให้เกิด ถ้ายังไม่มีปัญญา ก็จะเห็นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น เป็นปฏิปักษ์กับเรา เป็นข้าศึกกับเรา ถ้าปัญญาดีแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น ไม่ใช่ข้าศึก แต่เป็นสภาวะที่ให้ความรู้ความเห็นแก่เราอย่างแจ้งชัด เมื่อสามารถกลับความเห็นอย่างนี้ แสดงว่าปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อท่านพระอาจารย์เคน รับการอบรมจากหลวงปู่อ่อนแล้ว ก็ได้กราบลา แล้วธุดงค์ไปที่ดงหม้อทอง แล้วไปอยู่ตามเขาตามถ้ำต่าง ๆ ที่ อ.บ้านผือ

    สมัยนั้นยังมีป่าไม้ให้ร่มเย็น สมัยที่องค์ท่านออกเดินธุดงค์ ไม่ต้องกล่าวถึงความสะดวกสบายในการเดินทาง เรียกว่า มีแต่ป่ากับป่า ท่านเล่าว่าสิงสาราสัตว์ อย่างเสือ กวาง เก้ง แม้ช้างป่า มากมายจริง ๆ แต่ก็ไม่ทำให้องค์ท่านท้อในการเดินทางเข้าหาพ่อแม่ครูอาจารย์ การไปอยู่ ณ ที่ใด ก็ได้พิจารณายึดเอาคำสอนของครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ที่ท่านได้แนะนำให้ไปปฏิบัติตามครรลองของพระพุทธศาสนา การบิณฑบาตในสมัยนั้นก็ได้แต่ข้าวเหนียว ไม่มีกับข้าว อดบ้างอิ่มบ้างก็อดทนอดกลั้น แม้จะพบความยากลำบาก ก็ไม่กังวลกับสิ่งใดใด

    ท่านพระอาจารย์เคน เขมาสโย ได้ธุดงค์ข้ามไปฝั่งลาว ขึ้นไปธุดงค์อยู่รุกขมูลตามร่มไม้ เพิงหิน โถงถ้ำที่ภูเขาควาย ประเทศลาว ที่ภูเขาควายนี้เป็นที่มีอาถรรพณ์ และศักดิ์สิทธิ์ เต็มไปด้วยภูตผีวิญญาณร้าย พระธุดงค์มากมายเอาชีวิตมาทิ้งไว้ที่นี่เป็นจำนวนมาก ท่านเล่าว่า ที่ภูเขาควายนี้เป็นภูเขาที่สูงมากของฝั่งลาว สูงกว่าดอยสุเทพเสียอีก เป็นภูเขาที่น่ากลัวจริง ๆ เพราะเป็นป่าทึบดงดิบหนา มีสัตว์ป่ามากมาย เช่นช้าง เสือ หมี งู และสัตว์มีพิษอื่น ๆ อยู่มาก ที่สำคัญอากาศบนยอดเขาภูเขาควายหนาวเย็นมาก ถ้ามองรอบตัวจะไม่เห็นอะไรเลย เพราะป่ามันทึบมาก

    เวลาขึ้นเขาไปต้องค่อย ๆ มีสติเหยียบก้อนหินขึ้นไปทีละก้อนอย่างเชื่องช้า เพราะหินบางก้อนลื่นมาก เขาก็สูงชันมาก กลัวจะพลาดตกลงไป ทั้งบนบ่าก็แบกกลด แบกบาตรอัฐบริขารหนักมาก ท่านนึกถึงตนเองสมัยนั้นก็น่าสงสารตนเองยิ่งนัก แต่เราเป็นพระที่ขึ้นชื่อว่าเสียสละในทุกสิ่งทุกอย่างก็เลยปลงได้ เพราะถือว่าครูบาอาจารย์ก็เคยลำบากมาก่อนแล้ว ท่านจึงได้ดีมีอรรถมีธรรม ครูบาอาจารย์ที่เคยมาเยือนที่ภูเขาควายแห่งนี้ในสมัยก่อน ได้แก่ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่เครื่อง ธัมมธโร หลวงปู่ขาว อนาลโย และพระอาจารย์ของท่านคือ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม ก็เคยมาเยือนที่ภูเขาควายเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้แล้วทั้งนั้น

    เมื่อขึ้นมาถึงยอดเขา ท่านพระอาจารย์เคน ได้เห็นตาผ้าขาว กำลังกวาดใบไม้อยู่บนพลาญหิน จึงรู้สึกดีใจว่าบนยอดภูเขาควายนี้ ก็มีผู้มาบำเพ็ญสมณธรรมเช่นกัน ท่านจึงรีบเดินตรงเข้าไปหาหวังพูดคุยเจรจาด้วย เพราะไม่ได้พูดคุยกับใครมานานแล้ว แต่พอไปถึงที่นั้นกลับไม่พบใคร มีแต่ความว่างเปล่า หรือจะเป็นเทพเทวดาอารักษ์รักษาป่าก็เกินจะคาดเดาได้ คืนนั้นท่านพระอาจารย์เคน พักอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ถ้ำที่ท่านไปอยู่ก็มีโครงกระดูก ไม่ทราบเป็นของพระธุดงค์หรือของโยมชาวบ้านที่มาล่าสัตว์ คงจะมาพักแล้วโดนงูกันตายก็เป็นได้ เพราะมีสิ่งของบางอย่างวางทิ้งไว้เช่นกาน้ำ การมาอยู่ที่ภูเขาควายก็ได้ความสงบสงัด ความวิเวกดี ได้ความก้าวหน้าในสมาธิตามลำดับ ท่านได้เที่ยวไปที่ต่าง ๆ ในเขตฝั่งลาวอยู่ถึง ๒ พรรษา คือปี พ.ศ.๒๕๐๔ ถึงปี พ.ศ.๒๕๐๕

    ในช่วงนั้นเกิดความไม่สงบของบ้านเมืองในประเทศลาว ชาวบ้านจึงให้ความเห็นให้ท่านเดินทางกลับมาฝั่งไทยจะดีกว่า ท่านธุดงค์ข้ามมาทางบึงกาฬ-ปากคาด-โซ่พิสัย เรื่อยมาทางคำตะกล้า-บ้านม่วง ผ่านวานรนิวาส จนมาถึงสว่างแดนดิน ท่านพระอาจารย์เคน เขมสโย ได้มาวิเวกมาบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่บ้านหนองหว้าครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ บริเวณด้านหลังกุฏิไม้(หลังเก่า)ขององค์ท่าน ท่านว่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เคยมาปักกลดอยู่ที่นี่ เมื่อก่อนแถบนี้เป็นป่ารกชัฏ แล้วก็ยังมีเสืออยู่ แต่ปัจจุบันก็เป็นอย่างที่เห็น กลายเป็นไร่นาของชาวบ้านหมดแล้ว สมัยที่ท่านพระอาจารย์เคน มาวิเวกอยู่ที่นี่ครั้งแรก มีชายรูปร่างสูงใหญ่ เป็นคนโบราณ ตัวดำทมึน เดินเข้ามาหา บอกว่าตามมาดูแลรักษา มิให้เกิดอันตรายใดใดทั้งสิ้น ขอให้ปฏิบัติธรรมไปด้วยความสบายใจ เขาบอกว่าเขาตามมาจากฝั่งลาว จะมาขออยู่ด้วยตลอดไป ท่านพระอาจารย์เคน ก็ไม่ได้ว่าอะไร

    จากนั้นท่านพระอาจารย์เคน ได้เข้าไปศึกษาอบรมธรรมอยู่กับท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม ที่ถ้ำพวง ภูผาเหล็ก อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ท่านพระอาจารย์วัน เป็นพระที่มีเมตตาธรรมมาก เป็นพระปฏิบัติดีเคร่งครัดพระธรรมวินัยรูปหนึ่ง มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ท่านพระอาจารย์วัน นับเป็นอาจารย์ใหญ่ของท่านพระอาจารย์เคน ที่ท่านมีแต่ให้มาตลอด ข้อธรรมที่ไม่รู้ ท่านก็สอนให้รู้โดยไม่ปิดบังแต่อย่างใด ท่านสอนให้พิจารณษสังขารร่างกายนั้นเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ อย่าไปยึดติดในสิ่งที่อยู่นอกกาย เช่น เนื้อหนังมังสาที่สวยงาม ล้วนแต่เป็นอนิจจังเป็นของไม่เที่ยงแท้ทั้งนั้น

    -88-e0-b8-b2-e0-b8-ab-e0-b8-99-e0-b8-ad-e0-b8-87-e0-b8-ab-e0-b8-a7-e0-b9-89-e0-b8-b2-jpg-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่เคน เขมาสํโย วัดป่าหนองหว้า
    ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๐๖ ท่านได้มากลับมาอยู่กับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่วัดป่านิโครธาราม บ้านหนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี มีโยมอุบาสกคนหนึ่งชื่อ “จันทร์เรียน” ได้มาฝึกขานนาคด้วย มีท่านพระอาจารย์เคน และท่านพระอาจารย์สมัย ทีฆายุโก ช่วยกันสอนการออกเสียงอักขระ การขานนาคให้กับท่านจันทร์เรียน ท่านพระอาจารย์เคน จึงถือได้ว่าเป็นพระอาจารย์ และเมื่อครั้งท่านอาจารย์จันทร์เรียน อุปสมบทที่วัดโพธิสมภรณ์ ท่านพระอาจารย์เคน ก็ได้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของท่านพระอาจารย์จันทร์เรียน คุณวโร แห่งวัดถ้ำสหาย อีกด้วย

    จากนั้นท่านพระอาจารย์เคน ได้กลับไปวิเวกอยู่ที่ป่าช้า บ้านหนองหว้าอีกครั้งนึง แล้วจึงได้อยู่โปรดญาติโยม จนได้สร้างเป็นวัดป่าหนองหว้า ได้อยู่จำพรรษาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    -89-e0-b8-b2-e0-b8-88-e0-b8-aa-e0-b8-81-e0-b8-a5-e0-b8-99-e0-b8-84-e0-b8-a3-970x1024-jpg-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่เคน เขมาสโย วัดป่าบ้านหนองหว้า จ.สกลนคร
    ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๔๖ หลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านไปจำพรรษาที่วัดถ้ำสหายกับหลวงปู่จันทร์เรียน คุณวโร เนื่องจากหลวงปู่เคนท่านอาพาธ หลวงปู่จันทร์เรียนเลยอาราธนานิมนต์ท่านไปอยู่ด้วย ท่านเล่าว่าสมัยอยู่วัดป่านิโครธาราม ญาติโยมเอาหลวงปู่จันทร์เรียนไปฝากท่านให้สอนขานนาคเนื่องจากหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ไม่อยู่ เพราะหลวงปู่อ่อนไปทำธุระที่กรุงเทพ ฯ ที่แรกท่านว่าจะไม่รับ รอหลวงปู่อ่อนกลับมาค่อยเอามาฝากหลวงปู่อ่อนใหม่ ญาติโยมไม่ยอม จำเป็นท่านเลยรับไว้ และก็สอนขานนาคให้ หลวงปู่จันทร์เรียน นึกถึงบุญคุณครูบาอาจารย์สมัยหลวงปู่เคน ท่านเคยสอนนาค และอยู่อบรมธรรมด้วยกันมาเสมอ

    หลวงปู่เคน เขมาสโย มีเพื่อนสหธรรมิกที่สนิทสนมกันมาตั้งแต่เป็นเด็ก คือ
    ๑.หลวงปู่ประสาร ปัญญาพโล วัดคามวาสี บ้านหนองดินดำ ต.ตาลโกน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ท่านมรณภาพแล้ว เมื่อวันพุธที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑
    ๒.หลวงปู่สมัย ทีฆายุโก วัดป่าโนนแสงทอง ต.แวง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    ท่านมรณภาพแล้ว เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
    ๓.หลวงปู่เกิ่ง วิทิโต วัดป่าสามัคคีบำเพ็ญผล บ้านนาเตียง ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ท่านมรณภาพแล้ว วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๖

    หลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านได้เข้ารับการรักษาตัวที่ โรงพยาบาลยุพราชสว่างแดนดิน เนื่องจากลื่นหกล้มที่กุฏิ ในช่วงก่อนวันคล้ายวันเกิดในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๗ ซึ่งทำให้สะโพกท่านหัก ภายหลังจึงได้นำตัวท่านส่งไปโรงพยาบาลสกลนคร และได้ละสังขารลงเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เวลา ๐๘.๔๕ นาฬิกา ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา สิริรวมอายุ ๘๖ ปี ๗ วัน พรรษา ๖๓
    -94-e0-b8-b4-e0-b8-99-e0-b8-aa-e0-b8-81-e0-b8-a5-e0-b8-99-e0-b8-84-e0-b8-a3-498x1024-jpg-jpg-jpg.jpg
    เจดีย์ หลวงปู่เคน วัดป่าบ้านหนองหว้า สว่างแดนดิน สกลนคร
    -99-e0-b8-94-e0-b8-b4-e0-b8-99-e0-b8-aa-e0-b8-81-e0-b8-a5-e0-b8-99-e0-b8-84-e0-b8-a3-jpg-jpg-jpg.jpg
    อัฐิธาตุ ของท่าน หลวงปู่เคน วัดป่าบ้านหนองหว้า อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    14100515_1133369610086050_7953009226358946418_n-jpg-jpg-jpg.jpg
    อัฐิธาตุของท่านหลวงปู่เคน เขมาสโย วัดป่าหนองหว้า sam_8109-jpg-jpg-jpg.jpg sam_8110-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7793-jpg.jpg
     
  11. Karoonsur

    Karoonsur Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +224
    ขอจองรายการที่630ครับ
     
  12. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 633 เหรียญรุ่นเเรกหลวงปู่เเฟ๊บ สุภัทโท พระอรหันต์เจ้าวัดป่าดงหวาย อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร หลวงปู่เเฟ๊บเป็นศิษย์หลวงปู่ประสิทธิ์ ปุญญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่,หลวงปู่เทศน์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง เป็นต้น เหรียญสร้างปี 2548 เนื้อกะไหล่ทอง สร้างเนื่องเป็นที่ระลึกฉลองพระพุทธนิมิตเจดีย์ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ>>>>>>>>บูชาที่ 445 บาทฟรีส่ง emsสส
    ชีวประวัติโดยย่อของหลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท

    Written By รพ.ผหส. on วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560 | มกราคม 17, 2560
    8%25AA%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2597%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%2597.jpg

    หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท วัดป่าดงหวาย บ้านจาร ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ ณ บ้านคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ท่านเป็นผู้มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาตั้งแต่วัยเยาว์ มีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาและถวายงานต่างๆ แด่องค์หลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่น ได้ฝึกปฏิบัติจิตภาวนาเจริญในธรรมต่อเนื่องมาโดยลำดับ
    หลังจากภรรยาเสียงชีวิตลง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ หลวงปู่ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุต เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๕ ณ วัดอรัญญิกาวาส อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ท่านมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนา และเป็นลูกศิษย์ครูบาอาจารย์หลายรูป เช่น หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ฯลฯ ท่านเป็นผู้ที่มีจิตใจกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว เข้มแข็ง อดทน ตั้งมั่นในการบำเพ็ญเพียร ปฏิบัติภาวนาเพื่อหาความหลุดพ้นทุกข์ในสามแดนโลกธาตุจนหายสงสัยในธรรมทั้งปวง ไม่ต้องการกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสารอีกต่อไป
    หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท เป็นผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาบารมี ท่านได้ทำการก่อสร้างและบูรณะศาสนสถาน ศาลา เจดีย์ วิหาร ตลอดจนเมตตาสร้างโรงพยาบาล พร้อมมอบพัสดุและครุภัณฑ์ต่างๆ แก่หน่วยงานหลายแห่ง อีกทั้งเป็นหนึ่งในกองทัพธรรมโครงการผ้าป่าช่วยชาติ มีลูกศิษย์ทั้งพระสงฆ์และฆราวาสมาขอความเมตตาฟังพระธรรมเทศนา และแนวทางการฝึกปฏิบัติภาวนาเป็นจำนวนมาก
    ท่านได้ละสังขารเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๓ สิริอายุรม ๘๐ ปี ๑๐ เดือน พรรษาที่ ๒๙ สามารถกล่าวได้ว่า หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท เป็นผู้สำเร็จกิจทั้งทางโลกและทางธรรมอย่างสมบูรณ์

    8%25AA%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2597%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%2597.png

    "วันนี้หลวงปู่มาแผ่เมตตา ให้ช่วยกันทำบุญทำกุศล สร้างโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย หลวงปู่มาบอกบุญนำหน้า นำทางบุญให้ญาติโยมทั้งหลายมาช่วยกัน หลวงปู่ไม่มีเงินหรอก หลวงปู่เป็นผู้บอกไปเฉยๆ ถ้าพวกเรามีศรัทธาก็ทำไป อันนี้ไม่ใช่ของหลวงปู่นะ คนไหนทำ คนนั้นเป็นเจ้าของ"

    หลวงปู่แสดงพระธรรมเทศนาในพิธีถวายผ้าป่าและวางศิลาฤกษ์ โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยสกลนคร หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท วันเสาร์ที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ SAM_6956.JPG SAM_8804.JPG SAM_8805.JPG SAM_8544.JPG
     
  13. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 634 รูปหล่อกริ่งลอยองค์ 98 ปีหลวงปู่มหาโส กัสสโป พระอรหันต์เจ้าวัดป่าคำเเคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนเเก่น หลวงปู่โสเป็นศิษย์หลวงปู่จูม พันธุโล(ศิษย์มือซ้ายหลวงปู่มั่นฝ่ายปริยัติ) รูปหล่อกริ่งสร้างปี 2556 สร้้างเนื่ององค์หลวงปู่อายุครบ 98 ปี เนื้อสัมริด มีตอกโค๊ตหลังองค์พระตรงผ้าสังฆาฏิ กริ่งดังดีมาก มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล **********บูชาที่ 245 บาทฟรีส่งems #ประวัติย่อๆหลวงปู่พระมหาโส กัสสโป#
    อดีตเจ้าอาวาส วัดคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น


    -หลวงปู่พระมหาโส กัสสโป นามสกุลเดิม ดีเลิศ เกิดเมื่อวันที่ วันจันทร์ ที่ ๘ พ.ย. ๒๔๕๘ เวลาตี ๒ (ตรงกับวันเพ็ญ เดือน ๑๒ ปีเถาะ)
    ที่บ้านก่อ ต.หนองไข่นก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี (บ้านเดียวกับพระอาจารย์บุญ ปัญญาวุโธ พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม และหลวงปู่พระมหาสีทน กาญจโน) โยมบิดาชื่อ เคน โยมมาดาชื่อ ค้ำ มีอาชีพทำนา ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๙ คน คือ
    ๑. นางพิมพา ๒. นางทุมมา ๓. นางสีทา ๔. นางสีดา ๕. นางทองสา
    ๖. หลวงปู่พระมหาโส กัสสโป
    ๗. นายพรหมมา อดีตผู้ใหญ่บ้านบ้านก่อ
    ๘. นางวรรณา ๙. นายสง่า ดีเลิส อดีตสหกรณ์อำเภอม่วงสามสิบ
    -บรรพชา
    ในปี พ.ศ.๒๔๗๗ เมื่อมีอายุ ๑๙ ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรกับหลวงปู่อุปัชฌาย์อ่อน ที่วัดบ้านก่อ (บ้านเกิดท่าน) เป็นการบวชหน้าไฟให้โยมมารดาซึ่งถึงแก่กรรมลง ตั้งใจจะบวชเพียง ๑ พรรษา แต่เมื่อได้ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ครบกำหนดแล้ว ก็ทำความรู้ในพระธรรมวินัยด้านปริยัติจนแตกฉาน สอบได้ นักธรรมตรี นักธรรมโท และนักธรรมเอก ติดต่อกันมาทุกปี จนทำให้มีศรัทธาบวชต่อ
    -อุปสมบท
    ปีพ.ศ.๒๔๗๘ อายุครบ ๒๐ ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาที่วัดบ้านเกิดนั่นเอง โดยมีพระอุปัชฌาย์อ่อน เป็นพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์สุ่น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้จำพรรษาอยู่ที่นั่น เป็นเวลา ๓ พรรษา
    -ญัตติเป็นธรรมยุติ
    ล่วงเข้าปี พ.ศ.๒๔๘๐ ท่านได้กราบลาพระอุปัชฌาย์อ่อนออกเดินทางติดตามพระอาจารย์มหาสีทน กาญจโน (ซึ่งเป็นญาติกันด้วย) โดยมีจุดหมายปลายทางที่ จ.อุดรธานี เมื่อเดินทางถึง จ.อุดรธานี หลวงปู่พระมหาสีทนได้นำท่านไปญัตติเป็นพระธรรมยุต ในวันที่ ๑๗ ก.ค.๒๔๘๐ ณ วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี ท่านเจ้าคุณพระเทพกวี (จูม พนฺธุโล) ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระธรรมเจดีย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระครูสาสนูปกรณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประสาทคณานุกิจ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อญัตติแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ ๑ พรรษา ซึ่งท่านตั้งใจไว้ว่าหากการไปในครั้งนี้ไปแล้วได้กำลังใจดีในการปฏิบัติธรรมจะขอบวชตลอดชีวิต
    -เป็นมหาเปรียญ
    หลวงปู่พระมหาโส เป็นพระผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยปฏิบัติตามคำสอนขององค์ศาสดามาโดยตลอด ท่านแสวงธรรมทั้งในด้าน ปริยัติ (แสวงหาความรู้) ปฏิบัติ (แสวงธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า) ปฏิเวธ (แสวงหาธรรมด้วยปัญญาของตนเองเพื่อแสวงหาวิโมกติสุข) ถึงเวลาต่อมาในพรรษาที่ ๑๒ ท่านก็ได้แตกฉานบาลี จนสอบเปรียญธรรมสนามหลวงเป็น "พระมหา" ได้สำเร็จ และในปีเดียวกันก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสที่วัดศรีหมากหญ้า อ.เมือง จ.อุดรธานีด้วย แต่เป็นเจ้าอาวาสอยู่ได้เพียง ๔ ปี หลวงปู่มหาโส ก็สละตำแหน่งเจ้าอาวาส และออกธุดงค์ต่อเพื่อแสวงหาสิ่งที่เรียกว่า "พ้นจากวัฏสงสาร" อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาต่อไป
    -ประวัติอื่นๆ
    หลวงปู่พระมหาโส กัสสโป เป็นศิษย์สายธรรมหลวงปู่มั่น และเป็นศิษย์ผู้พี่ของหลวงปู่ผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต (ผู้คนส่วนใหญ่จะคิดว่าท่านเป็นศิษย์หรือสหธรรมิกของหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต แต่ที่จริงไม่ใช่เพราะถ้านับพรรษาหลวงปู่มหาโสพรรษามากกว่าหลวงปู่ผางถึง ๑๐ ปี เพราะหลวงปู่ผางท่านอุปสมบทตอนอายุ ๔๐ ปี) ในขณะที่หลวงปู่ผางมีชื่อเสียง ผู้คนรู้จักนั้น หลวงปู่มหาโสยังคงธุดงธ์แสวงวิเวกอยู่ในป่าอยู่
    ท่านนับเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอีกรูปหนึ่งชึ่งผู้คนยังไม่ค่อยรู้จักท่านเท่าใด เพราะปฏิปทาท่านชอบบำเพ็ญหาความสงบทางจิตในป่ามาแต่ไหนแต่ไรแล้ว นับตั้งแต่อายุ ๗๐ ปี หลวงปู่พระมหาโสก็ไม่เคยออกจากวัดป่าคำแคนเหนือสู่สังคมทางโลกอีกเลยตราบจนมรณภาพ
    สมัยก่อนท่านธุดงค์บำเพ็ญเพียรที่หุบเขาต่างๆ เช่น ภูพาน ภูผาแดง
    ภูเม็งฯลฯ และตั้งสำนักสงฆ์ที่หุบเขาภูเม็ง แต่ด้วยอุบาสกอุบาสิกาที่ไปถือศีลเป็นไข้ป่า ท่านจึงตัดสินใจย้ายลงมาอยู่ที่เชิงเขาภูเม็ง ท่านก็ได้มาปักหลักสร้างวัดป่าคีรีวันอรัญเขต (วัดป่าคำแคนเหนือ) ต.คำแคน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น และอยู่จำพรรษามาจนมรณภาพ
    หลวงปู่มหาโส กัสสโป แห่งวัดคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ไม่เคยพบกับหลวงปู่มั่นโดยตรง แต่ก็มีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม) วัดป่าโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี เป็นพระอาจารย์สอนกรรมฐาน และเป็นพระอุปัชฌาย์ผู้ญัตติเป็นธรรมยุตให้หลวงปู่ด้วย และท่านก็ยังมีท่านพระอาจารย์มหาสีทน กาญจโน พระวิปัสสนากรรมฐานผู้เป็นเสาหลักใหญ่ของจังหวัดขอนแก่นในขณะนั้น คอยสอนกรรมฐานให้หลวงปู่มหาโส เมื่อครั้งพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม พาหมู่คณะพระกรรมฐานมาจำพรรษาเพื่อเผยแผ่ธรรมะในจังหวัดขอนแก่น ระยะประมาณ พ.ศ.๒๔๗๒ -๒๔๗๕ พระอาจารย์มหาสีทน ก็ได้ฝากหลวงปู่มหาโส และ หลวงปู่สิงห์ สุขปุญโญ (พระวิจิตรธรรมภาณี) อดีตเจ้าคณะ จ.อุบลฯ เป็นศิษย์พระอาจารย์สิงห์ด้วย
    หลวงปู่มหาโส เป็นพระเถราจารย์ชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดขอนแก่น มีพระฝากตัวเป็นศิษย์ผู้สืบทอดปฏิปทาจากท่านมากมาย เช่น หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก วัดป่าวิเวกธรรม จ.ขอนแก่น , เจ้าคุณพระธรรมดิลก (หลวงพ่อสมาน สุเมโธ) เจ้าคณะภาค ๙ ธรรมยุติ วัดป่าแสงอรุณ จ.ขอนแก่น , หลวงปู่เขี่ยม โสรโย อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าถ้ำขาม จ.สกลนคร , หลวงพ่อนงค์ ปคุโณ วัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนแก่น , หลวงปู่สมาน ถาวโร เจ้าคณะ อ.มัญจาคีรี (ธรรมยุต) วัดป่าโนนสำนัก จ.ขอนแก่น ฯลฯ

    หลวงปู่พระมหาโส กัสสโป มรณภาพ ที่กุฏิวัดป่าคำแคนเหนือ หมู่ ๒
    ต.คำแคน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ด้วยอาการชราภาพ เมื่อเวลา
    ๑๒.๒๐ น. ของวันที่ ๑๖ ก.พ. ๒๕๕๙ สิริอายุ ๑๐๐ ปี ๓ เดือน ๘ วัน sam_5599-jpg-jpg.jpg sam_8078-jpg-jpg.jpg sam_8080-jpg-jpg.jpg sam_8081-jpg-jpg.jpg sam_8082-jpg-jpg.jpg sam_7793-jpg-jpg.jpg
     
  14. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 635 รูปหล่อเหมือนพระพุทธชิณราชหลวงปู่อร่าม ชิณวังโส พระอรหันต์เจ้าวัดป่าถํ้าเเกลบ อ.เมือง จ.เลย หลวงปู่อร่ามเป็นศิษย์หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม เนื้อทองเหลือง มีตอกโค๊ต อ ใต้องค์พระ มีบรรจุมวลสารพลอยเสกใต้องค์พระ มาพร้อมกล่องเดิม >>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล ************บูชาที่ 275 บาทฟรีส่งems partiharn_1525936529_3410-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    จังหวัดเลย มีพระเถระที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบหลายรูป อาทิ หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน, หลวงปู่พัน จิตธัมโม วัดป่าน้ำภู, หลวงปู่ขันตี ญาณวโร วัดป่าม่วงไข่ ฯลฯ
    แต่ยังมีพระเถระผู้ใหญ่อีกรูปหนึ่ง เป็นพระสายปฏิบัติ คือ "หลวงปู่อร่าม ชินวังโส" วัดป่าถ้ำแกลบ บ้านท่าวังแคน ต.ศรีสองรัก อ.เมืองเลย จ.เลย
    ประวัติโดยสังเขปจากหนังสือที่บรรดาลูกศิษย์รวบรวม เนื่องในงานวันเกิดครบ 86 ปี บันทึกเอาไว้ว่า หลวงปู่อร่าม มีนามเดิมชื่อ อร่าม ศรีคำมี เกิดเมื่อวันที่ 10 พ.ค.2470 ที่บ้านท่ามะนาว ต.นาอ้อ อ.เมืองเลย จ.เลย ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา
    สมัยเป็นเด็ก ชอบไปวัดกับโยมแม่ ท่านเป็นผู้มีอัธยาศัยเรียบร้อย ไม่เคยก่อปัญหาให้กับครอบครัว เมื่ออายุ 3 ขวบ บิดาของท่านเสียชีวิต
    อายุ 7 ขวบ เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดในหมู่บ้าน
    ย่างวัยหนุ่ม เข้าทำงานที่แขวงการทาง อายุ 35 ปี แต่งงานมีครอบครัวอยู่ที่บ้านหนองเสือคราง ต.หนองบัว อ.ภูเรือ จ.เลย
    แต่แล้วเมื่อลูกสาวอายุ 5 ขวบ เจ็บป่วยหนักและเสียชีวิต ทำให้ท่านปลงอนิจจังกับชีวิต เกิดความเบื่อหน่าย จึงออกบวชขณะอายุ 48 ปี ที่วัดศรีอภัยวัน บ้านนาอ้อ ต.นาอ้อ อ.เมือง โดยมีหลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ เจ้าอาวาสวัดศรีสุทธาวาส อ.เมืองเลย เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูญาณธราภิรัติ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระถนัด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายานาม ชินวังโส
    หลังอุปสมบทจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีอภัยวัน ท่านอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ท่อน ญาณธโร เป็นเวลา 5 พรรษา
    จากนั้นหลวงปู่อร่าม ลาไปจำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำผาปู่ ต.นาอ้อ กับหลวงปู่คำดี ปภาโส เป็นเวลา 2 พรรษา ก่อนเดินธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดป่านาศรีเทียน อ.ด่านซ้าย จ.เลย
    ต่อมาท่านไปกราบหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่วัดหนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี ซึ่งหลวงปู่อ่อนเมตตาสั่งสอนข้อปฏิบัติให้ ตลอดจนถึงการเร่งความเพียรในการภาวนา
    อยู่รับใช้อุปัฏฐากหลวงปู่อ่อน ที่วัดป่านิโคธาราม ระหว่างนั้นหลวงปู่อร่ามก็ขออนุญาตออกธุดงค์ เพียงลำพัง ท่านธุดงค์มาที่บ้านน้ำสวยโพนสว่าง อ.เมือง จ.เลย ออกไปที่วัดถ้ำแกลบ ปฏิบัติธรรมภาวนาอยู่ในถ้ำ
    ต่อมาชาวบ้านท่าวังแคน ต.ศรีสองรัก อ.เมืองเลย มีความเลื่อมใสศรัทธา จึงสร้างกุฏิชั่วคราวที่ถ้ำแกลบ เป็นกุฏิทำจากไม้ไผ่ให้หลวงปู่อร่าม
    ผ่านไปไม่นาน มีชาวบ้านถวายที่ดินให้เพื่อสร้างวัดขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า "วัดถ้ำแกลบ"
    หลวงปู่อร่าม ชินวังโส เป็นพระเถระที่ชอบความสงบ มักน้อย สันโดษ ปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ยึดถือแนวทางปฏิบัติมาจากหลวงปู่อ่อน นับเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่งของจังหวัดเลย
    หลวงปู่อร่าม เป็นพระสายป่า (ธ) ยึดถือแนวทางปฏิบัติมาจากหลวงปู่อ่อน นับเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่งของจังหวัดเลย sam_7022-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7023-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7024-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7026-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_1967-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
     
  15. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 636 เหรียญเสมาสมปรารถนาเนื้อสามกษัตริย์หลวงปู่เเก้ว สุจิณโณ พระอรหันต์เจ้าวัดถํ้าเจ้าผู้ข้า อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร หลวงปู่เเก้วเป็นศิษย์หลวงปู่เเบน ธนากโร วัดดอยธรรมเจดีย์,หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถํ้าผาบิ้ง เหรียญสร้างปี 2559 เนื้อ 3 กษัตริย์อัลปาก้า,ทองเเดง,กะไหล่ทอง มีตอก 3 โค๊ต,โค๊ตตัวเลข 149 เเละโค๊ต ซุ้มลายไทย หลังเหรียญ เเละโค๊ต ยันต์หน้าเหรียญ******บูชาที่ 345 บาทฟรีส่งems >>>>>>> ประวัติโดยย่อของหลวงปู่เเก้วเเละประวัติวัดถํ้าเจ้าผู้ข้า หลวงปู่แก้ว สุจิณฺโณ วัดถ้ำเจ้าผู้ข้า อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ละสังขารอย่างสงบแล้ววันนี้ ตรงกับวันศุกร์ที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ณ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร สิริอายุ ๗๖ ปี ๗ เดือน ๒๘ วัน พรรษา ๕๒ ท่านเป็นศิษย์ในองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร , หลวงปู่แบน ธนากโร
    ".. ถ้าอยากจะชำระก็ขอให้ชำระกิเลสตัณหาที่มีอยู่ในใจของเรา อย่าไปชำระบาป บาปนั้นชำระไม่ได้ ถ้าไม่อยากจะรับผลของบาป ก็อย่าไปทำเสียตั้งแต่วันนี้ .." โอวาทธรรมหลวงปู่แก้ว สุจิณโณ

    #อัตโนประวัติหลวงปู่แก้ว_สุจิณฺโณ
    ท่านมีนามเดิมว่า "ทองแก้ว ฮ่มป่า" เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๖ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะแม ณ บ้านห้วยหีบ ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายจันทร์ และนางวงศ์ ฮ่มป่า
    ในช่วงวัยเยาว์ หลังจากที่ได้เรียนจบภาคบังคับในหมู่บ้านแล้วออกมาช่วยพ่อแม่ทำนา ทำสวน ทำไร่ เหมือนชาวชนบทภาคอีสานทั่วไป
    เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หลังจากที่ผ่านการคัดเลือกเกณฑ์ทหารแล้ว จึงได้คิดอุปสมบทเพื่อทดแทนบุญคุณพ่อแม่ อย่างไรก็ดี ท่านยังหาโอกาสเหมาะสมมิได้ เนื่องจากติดขัดที่ฐานะทางบ้านต้องช่วยเหลือครอบครัว แต่จิตใจก็ยังคิดใฝ่หาที่จะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ตลอดเวลา
    กระทั่งอายุได้ ๒๕ ปีพอดี โยมพ่อแม่จึงได้ให้นายทองแก้วเข้าไปบวชเป็นตาผ้าขาวอยู่กับหลวงพ่อแบน ธนากโร ที่วัดดอยธรรมเจดีย์ เพื่อให้ทราบถึงข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับพระภิกษุ ซึ่งผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุหรือสามเณรนั้นในวัดพระกัมมัฏฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต จะให้บวชเป็นตาผ้าขาวก่อน เพื่อให้หัดท่องคำขานนาค ท่องบทสวดมนต์ และให้ทราบถึงข้อวัตรปฏิบัติ
    รวมทั้งอยู่ดูนิสัยไปก่อน เรียกง่ายๆ คือ อยู่ดัดนิสัยเดิมเสียก่อน ฝึกกิริยามารยาทให้งดงาม ให้รู้จักครรลองครองธรรมของพระสงฆ์ ฝึกความอดทน ฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง ต้องใช้เวลานานพอสมควร บางคน ๑ เดือน ๒ เดือน ๓ เดือน หรือเป็นปีสองสามปีก็มี แล้วแต่ใครจะฝึกหัดได้ง่ายได้ยาก
    จนเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๑ หลวงพ่อแบน ธนากโร จึงได้นำนายทองแก้วเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในทางพระพุทธศาสนา ณ วัดป่าสุทธาวาส ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร โดยมีพระวิบูลธรรมภาณ (ไพบูลย์ อภิวณฺโณ) วัดศรีโพนเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์แว่น ธนปาโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อแบน ธนากโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ภายหลังจากอุปสมบทแล้วท่านก็ได้กลับไปพักปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อแบน ธนากโร ที่วัดดอยธรรมเจดีย์ อยู่ปฏิบัติธรรมและศึกษาพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เร่งรัดปฏิบัติข้อวัตรมิให้ตกหล่น ตรงตามเป้าหมายที่ประสงค์ไว้ จนเกิดความช่ำชอง
    เมื่อเห็นว่าสามารถที่จะดูแลตัวเองได้แล้วจึงได้กราบลาหลวงพ่อแบน ธนากโร ออกเดินธุดงค์จาริกปฏิบัติธรรมไปตามสถานที่ต่างๆ และได้ขึ้นมาอยู่ศึกษาปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ที่วัดถ้ำเจ้าผู้ข้า อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    ครั้นต่อมา หลวงปู่หลุยได้มรณภาพลง จึงได้จำพรรษาตั้งแต่ครั้งนั้นจนกระทั่งปัจจุบัน
    พระอาจารย์ทองแก้วเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบองค์หนึ่ง ที่เดินตามรอยครูบาอาจารย์ โดยเฉพาะหลวงปู่หลุย จันทสาโร ที่เป็นต้นแบบ เป็นพระที่ต้องการอยู่ที่เงียบสงบอยู่แต่ป่า จึงนับได้ว่าเป็นเนื้อนาบุญของชาวโลกอย่างแท้จริง
    พระอาจารย์ทองแก้วมักสอนญาติโยมทุกครั้งในเรื่อง "มาแต่ตัวก็ต้องไปแต่ตัว ขอให้เร่งสร้างความดีงามเอาไว้ อย่าเบียดเบียนกัน"
    พระอาจารย์ทองแก้วถือเป็นร่มธรรมองค์หนึ่งของชาวสกลนคร ที่มีความตั้งใจทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
    #ประวัติวัดถ้ำเจ้าผู้ข้า
    บ้านทิดไทย ต.ไร่ อ.พรรรณานิคม จ.สกลนคร

    .. ก่อนที่จะมีการเรียกว่าวัดถ้ำเจ้าผู้ข้านั้นก็มีประวัติความเป็นมาตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ที่ข้าพเจ้าได้สอบถามข้อมูลด้วยตนเองดังนี้ ในอดีตเมื่อสมัยร้อยกว่าปีมาแล้วได้มีชาวบ้านไฮ่ ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ในปัจจุบันได้ออกบวชห่มขาวถือศิล ๘ มาพักปฏิบัติธรรมอยู่ที่บริเวรถ้ำแห่งนี้โดยที่ท่านไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เป็นอาหารเพราะเมื่อท่านรับประทานเข้าไปแล้วจะอาเจียนออกมาหมดก่อนที่ท่านจะสละทางโลกเข้ามาทางธรรมนั้นท่านก็มีครอบครัวเช่นเดียวกับชาวบ้านทั่วไป มีบุตรสาวหนึ่งคน จากการบอกเล่าของลูกหลาน เชื้อสายเจ้าผู้ข้าอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือก่อนที่ท่านเจ้าผู้ข้าจะออกบวชห่มขาวถือศิล ๘ นั้น วันนึงในฤดูทำนาภรรยาท่านเจ้าผู้ข้าก็ได้ไปเก็บหอยขมมาทำอาหาร การที่นำหอยขมมาทำอาหารนั้น บางคนก็ตัดก้นหอยเพื่อที่จะนำมาแกง บางคนก็ต้มเลยไม่ต้องตัดก้นหอย การที่นำหอยเป็นๆมาต้มก็เหมือนกับเราต้มเปรตปลาไหลนั้นเอง หอยเป็นๆพอถูกน้ำร้อนมันจะร้อนแค่ไหน ลองพิจารณาเอาเองก็แล้วกัน
    ภรรยาของท่านเจ้าผู้ข้าก็เช่นกันนำหอยขมที่ได้มานั้นต้มเพื่อเป็นอาหาร ขณะที่น้ำในหม้อต้มหอยกำลังเดือด ท่านเจ้าผู้ข้าก็ได้ยินเสียงหอยขมในหม้อต้มนั้นร้องว่า “โอ้ยร้อนจัง ช่วยด้วย ร้อน ร้อน ” ซึ่งเสียงนั้นท่านเจ้าผู้ข้าได้ยินเพียงผู้เดียว ตั้งแต่นั้นมาท่านเจ้าผู้ข้าก็มีอาการผิดปกติคือรับประทานอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ไม่ได้ รับประทานเข้าไปก็มีอาหารเคลื่อนไส้ อาเจียนทันที มีการบันทึกไว้ว่าก่อนที่จะมีการเรียกชื่อเจ้าผู้ข้านั้น ท่านมีนามว่า น้อยหน่า ส่วนนามสกุลนั้นมีการแต่งขึ้นในภายหลังจากท่านออกบวชแล้ว
    >>>>>>สาเหตุทำไมถึงเรียกว่า.. "เจ้าผู้ข้า"
    ท่านเจ้าผู้ข้านั้นชอบเรียกตัวเองว่า ผู้ข้า ซึ่งไปเป็นภาษาภูไท หมายความว่า กระผม หรือ ข้า หรือ ข้าพเจ้าประมาณนั้น และมีคนพบท่านเจ้าผู้ข้าครั้งสุดท้ายที่ถ้ำแห่งนี้ ท่านนอนป่วยอยู่จึงนำท่านลงไปรักษาในหมู่บ้านที่มีผู้ศรัทธาท่านจนท่านเจ้าผู้ข้านั้นเสียชีวิตในเวลาต่อมาจึงมีผู้คนเรียกถ้ำแห่งนี้ว่า "ถ้ำเจ้าผู้ข้า" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
    และถ้ำเจ้าผู้ข้าแห่งนี้เป็นที่ละสังขารของท่านพระอาจายร์กู่ ธมฺมทินฺโน ก่อนที่ท่านจะมรณะภาพ เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕ ท่านพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน และลูกศิษย์ซึ่งมีสามเณรบุญหนา (หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินฺโน.รวมอยู่ด้วย ท่านได้มาปฏิบัติธรรมอยู่ที่ถ้ำเจ้าผู้ข้าแห่งนี้โดยมีกุฏิหลังเก่าไว้เป็นหลักฐาน เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๖ ท่านพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ก็ได้ละขันธ์ในท่านั้งสมาธิในกุฏิหลังนี้เพระท่านเป็นโรคฝีฝักบัวอยู่ที่ก้นจนทนไม่ได้จึงละขันธ์เมื่อ สิริอายุ ๕๓ ปี พรรษา ๓๓ และเพื่อระลึกถึงท่านพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ที่ท่านมาละขันธ์ที่สถานที่แห่งนี้ ข้าพเจ้าจึงได้ขออนุญาติ หลวงปู่แก้ว สุจิณฺโณ สร้างรูปเหมือนเท่าองค์จริงของพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ไว้ที่หน้ากุฏิที่พระอาจารย์ท่านละขันธ์ เพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ได้กราบไว้บูชา >>>>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ************บูชาที่ 345 บาทฟรีส่งems sam_7993-jpg-jpg.jpg sam_7994-jpg-jpg.jpg sam_7995-jpg-jpg.jpg sam_7996-jpg-jpg.jpg sam_7997-jpg-jpg.jpg sam_7793-jpg-jpg.jpg sam_8872-jpg-jpg-jpg.jpg
     
  16. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 637
    เหรียญรูปไข่หลวงปู่เพียร วิริโย พระอรหันต์เจ้าวัดป่าหนองกอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี หลวงปู่เพียรเป็นศิษย์พระหลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด พระเหรียญสร้างปี 2549 สร้างเนื่ององค์หลวงปู่อายุครบ 79 พรรษา มีตอกโค๊ต พ หลังเหรียญ เนื้อทองเเดงรมดำ มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ >>>อนึ่ง ....หนวด,ฟัน,เกศาเเละเล็บของหลวงปู่เป็นพระธาตุตั้งเเต่หลวงปู่เพียรยังทรงธาตุทรงขันต์อยู่ครับ*************บูชาที่ 315 บาทฟรีส่งems
    หลวงปู่เพียร วิริโย
    (หลวงปู่เพียร วิริโย {{{ฉายา}}})
    200px-Por_pern.jpg
    เกิด 7 ตุลาคม พ.ศ. 2469
    มรณภาพ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552
    อายุ 82
    อุปสมบท 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2490
    พรรษา 61
    วัด วัดป่าหนองกอง
    จังหวัด จังหวัดอุดรธานี
    สังกัด ธรรมยุติกนิกาย
    ตำแหน่ง อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าหนองกอง
    25px-Dharma_wheel.svg.png ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา
    หลวงปู่เพียร วิริโย
    พระภิกษุฝ่ายวิปัสสนาธุระ อรัญวาสี อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าหนองกอง ศิษย์ของพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) ท่านได้รับการยกย่องจากหลวงตามหาบัวว่าเป็นผู้มีวัตรเรียบร้อย ปฏิบัติเอาจริงเอาจรัง ไม่มีด่างพร้อย

    ประวัติ
    ชาติกำเนิด
    หลวงปู่เพียร วิริโย นามเดิมของท่านคือ เฟือน จันใด ต่อมาพระอาจารย์ได้เมตตาเปลี่ยนชื่อให้ใหม่เป็น เพียร[2] เป็นบุตรของนายพา - นางวัน จันใด เกิดวันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2469 ที่บ้านศรีฐาน ต.ศรีฐาน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี หรือ จ.ยโสธร ในปัจจุบัน

    อุปสมบท[แก้]
    บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดป่าศรีฐาน ตำบลกระจาย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2490 เมื่ออายุครบ 22 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเดียวกัน โดยมีพระครูพิศาลศีลคุณเป็นพระอุปัชฌาย์[2]

    ศึกษาธรรม[แก้]
    หลังศึกษาพระธรรมระยะหนึ่ง ก็ออกธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ จนได้เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่สายวิปัสนาภาคอีสาน เมื่อสิ้นบุญหลวงปู่มั่น หลวงปู่เพียรได้ตามหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนมาสร้างวัดป่าบ้านตาดจนแล้วเสร็จ ต่อมาได้ออกธุดงค์ไปจำวัดอยู่กับหลวงปู่บัว ปริปุณฺโณ วัดราษฎรสงเคราะห์ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี กระทั่งมาพบสถานที่สร้างวัดป่าหนองกอง เห็นว่าเป็นที่สงบเหมาะสร้างวัดปฏิบัติธรรม หลวงปู่เพียรจึงสร้างวัด ณ สถานที่แห่งนี้จนมั่นคงสืบมา

    มรณภาพ[แก้]
    หลวงปู่เพียร เริ่มมีอาการอาพาธเมื่อปี พ.ศ. 2546 กระทั่งในปี 2548 ได้เข้ารับการตรวจรักษาที่ รพ.ศูนย์อุดรธานี แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดและโรคหัวใจ ต่อมาในปี 2552 ก็เข้ารับการตรวจรักษาบ่อยขึ้น ล่าสุดเมื่อเวลา 09.00 น. ของวันที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา ลูกศิษย์ได้นำหลวงปู่เพียรที่มีอาการอาพาธส่ง รพ.ศูนย์อุดรธานี และได้รับการส่งต่อไปรักษาที่ รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น ก่อนที่หลวงปู่จะมรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อเวลา 01.28 น. ของวันที่ 23 มิถุนายน 2552

    งานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่เพียรจัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 อัฐิหลวงปู่เพียรได้แปรสภาพเป็นพระธาตุในเวลาต่อมา

    sam_8474-jpg.jpg sam_8475-jpg.jpg sam_8477-jpg.jpg sam_7793-jpg.jpg sam_0438-jpg-jpg-jpg.jpg

     
  17. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 638
    เหรียญเกษมทรัพย์รุ่นซื้อที่ดินหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ พระอรหันต์เจ้าวัดอรัญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย หลวงปู่เหรียญเป็นศิษย์ยุคกลางหลวงปู่มั่น เหรียญสร้างปี 2540 เนื้อทองเหลือง มาพร้อมตลับเดิม มีตอกโค๊ตหน้าเหรียญ มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล >>>>>>>>>รายการนี้มีเเถมมอบพระปิดตารุ่นประทานพรมาบูชาเพิ่มอีก 1 องค์ครับ************** บูชาที่ 255 บาทฟรีส่งes SAM_8372.JPG sam_8367-jpg-jpg.jpg sam_8368-jpg-jpg.jpg sam_8370-jpg-jpg.jpg sam_8371-jpg-jpg.jpg sam_8503-jpg.jpg sam_8504-jpg.jpg sam_8177-jpg.jpg

     
  18. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ ุ639 เหรียญเสมาสุขัง พะลังหลวงตาพวง สุขินทริโย พระอรหันต์เจ้าวัดศรีธรรมมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร หลวงตาพวงเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคสุดท้าย,ศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร เหรียญสร้างปี 2544 เนื้อทองเเดงรมมันปู มีพระเกศาขาวๆใสๆหลวงตามาบูชาเป็นมงคล ***********บูชาที่ 195 บาทฟรีส่งems sam_6175-jpg-jpg-jpg.jpg sam_6177-jpg-jpg-jpg.jpg sam_6178-jpg-jpg-jpg.jpg sam_1885-jpg-jpg-jpg.jpg
     
  19. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ ุ640
    ล็อกเก็ตฉากขาวรุ่นมหาลาโภหลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสีห์พนม อ.สว่างเเดนดิน จ.สกลนคร หลวงปู่เป็นศิษย์หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ พระอรหันต์วัดป่านิโครธาราม หลังล็อกเก็ตติดปิดด้วยเหรียญเนื้อองเหลือง มีตอกโค๊ตยันต์ นะ มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล ***********บูชาที่ 345 บาทฟรีส่งems
    2793-73ee.jpg
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม

    วัดป่าสีห์พนมประชาคม
    ต.บงใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร


    “หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม” ท่านถือกำเนิดตรงกับวันจันทร์ที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๑ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง ณ บ้านขาม ต.ค้อใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร บิดาท่านชื่อ นายเข่ง ธิอัมพร มารดาท่านชื่อ นางชาดา ธิอัมพร สำหรับบิดาของหลวงปู่บุญมาภายหลังได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่ง มีชื่อและฉายาตามพระพุทธศาสนาว่า “หลวงปู่เข่ง โฆสธัมโม” ขณะนั้นหลวงปู่บุญมาได้พรรษาที่ ๑๐ แล้ว จากนั้นจึงได้ออกธุดงค์ไปในที่ต่างๆ และบั้นปลายชีวิตหลวงปู่เข่ง ท่านได้มาอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่บุญมา ที่วัดป่าสีห์พนมประชาคม จ.สกลนคร และได้มรณภาพลงเมื่อประมาณต้นปี พ.ศ.๒๕๓๗ ขณะมีอายุได้ ๙๐ ปี พรรษา ๓๓

    ชีวิตในวัยเด็กของหลวงปู่บุญมา ท่านได้เรียนจนจบชั้นประถมบริบูรณ์ แล้วได้ออกจากโรงเรียนมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพทำนา เมื่ออายุได้ ๑๗-๑๘ ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรศึกษาธรรมอยู่ได้ ๑ พรรษา ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ (ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๔-๒๔๘๘) หลังจากสึกออกมาช่วยบิดามารดาทำนานั้น ในใจท่านก็คิดเสมอว่า “ถ้ามีโอกาสเมื่อไร ก็จะรักษาศีลอุโบสถเมื่อนั้น” ท่านปฏิบัติอยู่อย่างนี้ จนเป็นที่เลื่องลือของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านว่า ทำไมเด็กหนุ่มนี้จึงมีอุปนิสัยแตกต่างจากคนรุ่นราวคราวเดียวกัน ที่หันเหมาทางพระพุทธศาสนา เข้าวัดเข้าวารักษาศีลอุโบสถเหมือนคนเฒ่าคนแก่

    หลวงปู่บุญมาท่านได้เล่าถึงชีวิตเมื่อวัยหนุ่มว่า “เมื่อเข้าหาครูบาอาจารย์ท่านก็เทศน์ให้ฟัง ในเรื่องอานิสงส์ในการรักษาศีล ๕ และทุกข์โทษของการละเมิดผิดศีลผิดธรรมเป็นอย่างไร ก็นำมาพิจารณา และครั้นเวลาครูบาอาจารย์ชวนไปวิเวก ฝึกสมาธิ ศึกษาธรรมะ ก็สนใจปฏิบัติตาม ทำให้จิตเกิดความสงบเยือกเย็น” นับว่าท่านเป็นผู้มีวาสนาบารมีที่ส่อแววให้เห็นมาตั้งแต่เด็กๆ

    หลวงปู่บุญมาเล่าถึงสมัยชีวิตฆราวาส ได้พิจารณาความตายถึง ๓ วาระ สมัยท่านเป็นฆราวาสได้แต่งงานมีเหย้ามีเรือน ใช้ชีวิตตามวิถีชาวโลก จนมีบุตรด้วยกันหนึ่งคน เหตุการณ์หลังจากนั้นวาสนาบารมีทางธรรมท่านได้ใกล้เข้ามา จึงดลบันดาลให้เหตุการณ์กระทบอารมณ์ เป็นทุกข์อย่างหนักทางโลก ปีแรก น้องสาวท่านตาย ปีที่สองมารดาก็มาตายอีก หลวงปู่บุญมาท่านเล่าว่าตอนนั้น จิตของท่านเกิดธรรมะ ได้คิดว่า “ความตายมันได้ใกล้เข้ามาหาเรา...ถ้าเราอยู่ต่อไป ไม่กี่วันก็คงตาย ถ้าจะตาย ขอให้ไปส่งความดีก่อนตาย เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งในอนาคต” เป็นทางออกที่ดีที่สุด ก่อนความตายจะมาถึง แต่ไม่ทันที่ท่านจะได้ออกบำเพ็ญความดีตามที่ท่านตั้งใจไว้ พายุโลกโหมกระหน่ำซ้ำเติมซ้ำสามในระยะเวลาไม่นาน ภรรยาท่านก็มาเสียชีวิตลง “ทุกข์เกิดขึ้น” เป็นทุกข์ที่ทำให้ท่านต้องตั้งคำถาม และพิจารณาปัญหาต่อไปว่า “ลูกที่่เกิดมา จะทำอย่างไร ใครจะเลี้ยงลูก”

    แล้วท่านก็พิจารณาเรื่องลูกว่า “ถึงแม้ว่าแม่จะตาย พ่อก็ยังอยู่ เด็กบางรายเกิดมาไม่กี่วันก็ตาย บางคนเดินได้ วิ่งได้ แล้วก็มาตาย แล้วแต่บุญวาสนาของแต่ละคน ไม่ถึงวันตายก็ไม่ตาย ถ้าจะให้ทานลูกแก่ผู้ต้องการ ลูกก็คงเติบใหญ่ขึ้นได้ด้วยบุญวาสนาบารมีของตนเองที่สร้างสมมาแต่ปางก่อน” ท่านคิดได้อย่างนี้ จึงยกลูกให้แก่พ่อตา แม่ยาย เป็นผู้เลี้ยงดู และตัดสินใจออกบวช ช่วงนั้นประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๔ ใกล้เข้าพรรษาแล้ว ระหว่างช่วงจัดงานศพให้ภรรยาท่านนั้น ได้นิมนต์ หลวงปู่สิงห์ สหธัมโม ไปสวดบังสุกุล หลวงปู่สิงห์ พระอาจารย์ผู้ที่ให้ธรรมะแนะนำการปฏิบัติแก่ท่านอยู่ก่อนแล้ว ได้ถามท่านว่า “จะบวชไหม” ซึ่งท่านก็ตอบหลวงปู่สิงห์ไปว่า “บวชแน่นอนครับ” หลังจากจัดการงานศพของภรรยาเสร็จ ท่านก็ลาบิดา พ่อตา แม่ยาย เข้าไปวัดพระธาตุฝุ่น ต.ค้อใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เพื่อรอบวชในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๔

    ท่านอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๔ เวลา ๑๔.๑๕ น. ขณะอายุได้ ๒๔ ปี ณ วัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี พระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระครูสมุห์สวัสดิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “คัมภีรธัมโม” ซึ่งแปลว่า ผู้มีธรรมอันลึกซึ้ง

    เมื่ออุปสมบทแล้วเสร็จ ท่านได้ไปอยู่จำพรรษาศึกษาข้อวัตรปฏิปทากับหลวงปู่สิงห์ สหธัมโม วัดพระธาตุฝุ่น จ.สกลนคร ในพรรษาแรก หลวงปู่สิงห์ได้ให้ท่านฝึกปฏิบัติสมาธิภาวนาขนานใหญ่ ขนาดยอมอดนอน ไม่ยอมหลับในตอนกลางคืน ช่วงเข้าพรรษาตลอด ๓ เดือน พระเณรที่อยู่ด้วยต้องยืน เดิน นั่ง ๓ อิริยาบถตลอดทั้งคืน ห้ามนอนเวลากลางคืน จึงทำให้ได้รับผลจากการภาวนามากตลอดพรรษา

    พอพรรษาที่ ๒ พระบุญมา จิตท่านเกิดฟุ้งซ่านอยากจะสึก ครั้นเมื่อออกพรรษาแล้ว หลวงปู่สิงห์ สหธัมโม จึงได้ให้ท่านไปหาหลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งขณะนั้นท่านอยู่ที่ถ้ำค้อ อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี ห่างจากวัดถ้ำฝุ่นไป ๒๐-๓๐ กิโลเมตร เมื่อไปถึงถ้ำค้อ ที่หลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านพำนักจำพรรษาอยู่ พระบุญมาได้เข้าไปกราบคารวะ หลวงปู่ขาวจึงได้พูดขึ้นว่า “ทำไมถึงอยากสึก แยกจิตออกนอกทำไม” พระบุญมาท่านยังไม่ทันตอบ หลวงปู่ขาวก็พูดต่อไปอีกว่า “ออกก็ออกมาจากที่นั่น จะเข้าไปที่เดิม มันถูกรึ” หลวงปู่ขาวท่านรู้วาระจิต จากนั้นก็อบรมสั่งสอนให้ท่านอยู่ป่าเป็นวัตร อยู่กับช้าง กับเสือ กับผีสาง เป็นการให้มีสติอยู่กับตนไป ไม่ให้ฟุ้งซ่านส่งจิตออกไปไหน” หลวงปู่บุญมา ท่านเล่าว่า “ช่วงนี้กลัวมาก ถึงสวดมนต์อย่างไรก็กลัว กลัวตาย ช่วงที่อยู่กับหลวงปู่ขาว อนาลโย จึงตั้งใจบำเพ็ญเพียรภาวนาตามคำสอนขององค์ท่าน ปรากฏผลดีมาก จิตใจสบาย วิเวกดี จิตไม่ปรุงแต่งอะไร ไม่ออกไปสร้างบ้านสร้างเรือน สร้างครอบครัวอีก เพราะกลัวตาย คนกลัวตายต้องหาที่พึ่ง ถ้าได้ที่พึ่งทางจิตแล้วสบาย ไม่กลัวตายต่อไปอีกแล้ว”

    ครั้นออกพรรษาได้จาริกธุดงค์เข้ากราบรับข้ออรรถข้อธรรมจากพระเถระผู้ใหญ่ ศิษย์ในองค์หลวงปู่ใหญ่มั่น ภูริทัตโต หลายองค์ อาทิ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู, หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย และหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี เป็นต้น และได้จาริกธุดงค์ร่วมกันกับ หลวงปู่คำบุ ธัมมธโร ซึ่งเป็นพระอาจารย์รูปสำคัญของท่าน ออกวิเวกตามสถานที่ต่างๆ ไปยังป่าช้าง ป่าเสือ ฝึกจิตตามป่าตามเขาโถงถ้ำ ไปในที่ๆ ขึ้นชื่อว่าอาถรรพณ์ผีดุ เปลี่ยนที่จำพรรษาไปเรื่อยๆ ไม่ติดถิ่น ทั้งที่กันดารห่างไกลจากบ้านจากเรือนสลับกับการไปฝึกอบรมยังสำนักของพ่อแม่ครูอาจารย์ ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานถึง ๒๙ พรรษา

    เริ่มจำพรรษาที่ วัดป่าสีห์พนมประชาคม บ้านหนองกุง ต.บงใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ในพรรษาที่ ๒๐ เป็นพรรษาแรก ตรงกับปี พ.ศ.๒๕๑๔ จากนั้นจึงออกจาริกธุดงค์ไปจำพรรษาในที่ต่างๆ แล้วเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ หลวงปู่บุญมาท่านก็กลับมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดป่าสีห์พนมประชาคม มาโดยตลอดจวบจนกระทั่งปัจจุบัน


    2794-17de.jpg
    หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม กับ หลวงปู่ล้วน จันทสาโร
    ในพิธีสรงน้ำและขอขมาสรีระสังขารหลวงปู่จาม มหาปุญโญ
    ณ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร



    2795-b1a8.jpg

    หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม

    sam_8513-jpg.jpg sam_8514-jpg.jpg sam_8515-jpg.jpg sam_7605-jpg.jpg sam_4820-jpg-jpg.jpg

     
  20. Peterbn

    Peterbn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2018
    โพสต์:
    446
    ค่าพลัง:
    +294
    ขอจองครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...