พระอาจารย์ปราโมช "ปัญญาแจ้ง มีได้มากกว่า ๑ ครั้ง"

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ชาไม่รู้, 2 มีนาคม 2009.

  1. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878
    11. ตกภวังค์ครั้งใหญ่


    ตั้งแต่เริ่มปฏิบัติใหม่ๆ ผู้เขียนจะนิยมการเจริญสติรู้ความเกิดดับของอารมณ์. เรื่องที่จิตจะน้อมไปหาความสงบนั้น ยากที่จะเกิดขึ้น. แต่มีอยู่ช่วงหนึ่งในราว 1 เดือนก่อนจะเข้าพรรษาปี 2526. ผู้เขียนมีอาการตกภวังค์ตอนเวลา. ดูจิตเมื่อใดก็ตกภวังค์เมื่อนั้น และตกแบบหัวซุกหัวซุน. แม้จะยืนกำหนดหรือนั่งขัดสมาธิเพชรก็ยังตกภวังค์. พยายามกำหนดลมหายใจแรงๆ ก็ยังตกภวังค์. รวมความแล้วรู้สึกอับจนปัญญาที่จะแก้ไขอาการเช่นนี้. พอถึงวันอาสาฬหบูชา ผู้เขียนกับน้องชายในทางธรรม. ได้เดินทางไปกราบหลวงปู่สิม พุทธาจาโร ที่ถ้ำผาปล่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. ได้กราบขออุบายแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะจนปัญญาจะช่วยตนเองแล้ว. หลวงปู่ผู้เปี่ยมด้วยความเมตตามองหน้าผู้เขียนแล้วยิ้มๆ. กล่าวว่า "เป็นผู้รู้อย่างนี้แล้ว จะต้องถามใคร จะต้องสงสัยอะไร. อย่าสงสัยเลย ให้เร่งปฏิบัติไปเถิด แล้วจะได้ของดีในพรรษานี้แหละ". รวมความแล้วผู้เขียนก็ไม่ได้ความรู้ความเข้าใจอะไรเกี่ยวกับอาการของจิตคราวนั้นเลย. แต่เมื่อเป็นคำของครูบาอาจารย์ ก็ต้องน้อมรับไว้ตามนั้น.


    เช้าวันรุ่งขึ้นอันเป็นวันเข้าพรรษา ผู้เขียนก็เดินทางกลับกรุงเทพฯ ด้วยรถทัวร์. ระหว่างทางก็ดูจิตบ้าง สนทนาธรรมกับน้องชายบ้าง. อาการที่จิตตกภวังค์ก็เริ่มหายไปทีละน้อย. พอรถทัวร์มาถึงสี่แยกหลักสี่ น้องชายพูดว่า จิตของผมรวมอีกแล้ว. ฟังเท่านั้นจิตของผู้เขียนก็รวมลง. เพราะมีปัญญาเห็นว่าจิตเป็นอนัตตา. แล้วสิ่งห่อหุ้มจิตก็แหวกออก. จิตเข้าถึงความดับเพียงวับเดียว แล้วแสงสว่างก็ปรากฏขึ้น ความเบิกบานปรากฏขึ้น เป็นครั้งที่ 2 นับแต่ปฏิบัติธรรมมา.


    ผู้เขียนได้ความเข้าใจว่า ลักษณะนี้เองที่มีผู้รู้ธรรมขณะที่พระศาสดาทรงแสดงธรรม. แต่จนป่านนี้ ผู้เขียนก็ยังไม่เข้าใจว่า. เหตุใดก่อนหน้านี้ผู้เขียนจึงตกภวังค์ขนานใหญ่. และหลังจากวันนั้น ก็ไม่ตกภวังค์อย่างนั้นอีกเลย. และผู้เขียนตระหนักชัดถึงญาณทัศนะอันแจ่มใสของหลวงปู่สิม มาตั้งแต่คราวนั้น.


    http://www.oknation.net/blog/doojit/2009/02/25/entry-2
     
  2. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878
    จิตเข้าถึงความดับเพียงวับเดียว แล้วแสงสว่างก็ปรากฏขึ้น ความเบิกบานปรากฏขึ้น เป็นครั้งที่ 2 นับแต่ปฏิบัติธรรมมา.


    ในไตรปิฎกได้ทำนายพระศรีอาร์ฯ ไว้ว่าท่านจะบรรลุธรรม ๓ ครั้ง เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าสมณโคดม ก็บรรลุ ๓ ครั้ง แต่ละครั้งได้วิชชาต่างกันค่ะ
     
  3. กุญแจไขปริศนา

    กุญแจไขปริศนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2009
    โพสต์:
    903
    ค่าพลัง:
    +979
    จริงครับที่อาการปัญญาแจ้งมีได้มากกว่าหนึ่งครั้ง แต่ว่าแต่ละครั้งเราจะเข้าใจเรื่องอะไรอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับเอกลักษณ์ของแต่ละคน
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    การเห็นอริยสัจจ ก็ต้องเห็น 4 รอบนี่ครับ ไม่เห็นมีอะไรแปลก

    ไม่ได้แปลว่า บรรลุอรหันต์ 4 ครั้งนะ แต่การแจ้งอริยสัจจนั้น
    จะเห็น 4 รอบ

    ทีนี้ก็ขึ้นกับอินทรีย์ สมาธิมีมากก็แทงตลอดไปเลย อย่างนี้มีปรากฏ

    แต่ถ้าปัญญาอินทรีย์มีมาก ก็มักจะไปทีละขั้น แต่ไม่ว่าขั้นไหนก็ ถือ
    ว่าได้เห็นอริยสัจจแล้ว วิจิกิจฉาเรื่องนิพพาน เรื่องพระพุทธองค์จึง
    หายไป
     
  5. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ;k06
     
  6. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    จิตตกภวังค์ เพราะนิวรณ์เยอะ เรื่องมันก็เท่านั้น

    ก็ เป็นผู้รู้แล้วทำไมยังต้องไปถาม นั่นแหละ หลวงปู่สิม ท่านพูดถูกแล้ว

    เรื่องของเรื่องก็คือ นิวรณ์ไง พอนิวรณ์มันก็สงสัย แต่ไม่ปฏิบัติ

    ก็กำลังสมาธิ ยังไม่มากพอ มันก็ตกภวังค์ พอตกภวังค์ก็สงสัย มันก็เกิดตัณหาอยากให้เป็นอย่างนั้น ไม่อยากเป็นอย่างนี้ ก็วิ่งทางนั้นวิ่งทางนี้

    ทางที่ถูกคือ ปฏิบัติไปสิ ทำสมาธิสู้กับกิเลส จนกว่ากำลังสมาธิจะมีมาก นั่นแหละง่ายๆ

    ขออภัยหากกระทบกระเทือนใจใคร
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ต้องสังเกตุให้ดีครับ ในคำเล่าจะบอกไว้แล้วว่า ทำสมาธิแล้ว ถึงขั้นขัดสมาธิเพชร
    หรือ แม้กระทั่งบริกรรมเร็วๆ

    สภาวะสงสัยนั้น ไม่ใช่สภาวะที่เกิดขึ้นขณะปฏิบัติ ในคำเล่านี้มีการใช้ คำว่า ตกภวังค์
    ซึ่งเป็น คำที่หลวงพ่อไม่เคยใช้มาก่อน เพราะ จิตตกภวังค์ นั้นไม่มี หลวงพ่อจะกล่าว
    เสมอ

    หลวงปู่สิมกล่าวว่า อย่าสงสัยเลย ปฏิบัติไปเถอะ อันนี้ ก็ไม่ได้บอกให้เปลี่ยนกรรมฐาน
    ไปทำอะไร หมายถึงให้ปฏิบัติไปอย่างที่เป็น ที่ทำอยู่ ซึ่งแปลว่า ไม่ได้เกิดปัญหาติดขัด
    อะไร

    หลวงพ่อได้อธิบายในภายหลังว่า สภาวะแบบนี้เป็นเรื่อง ของวิถีจิตที่มันทำหน้าทีของมัน
    ธรรมดา ไม่ใช่ปัญหาอะไร

    ลองสังเกตตรงจุดที่ท่านเน้นสอนก็ได้ ตรงประโยคสุดท้าย ที่ชี้ว่า เพียงแต่น้องชายพูด
    คำออกมาเป็นคำ "จิตรวม" โดยที่น้องชายนั้นไม่ได้มีคุณธรรมอะไร ก็แค่นักปฏิบัติคน
    หนึ่ง แต่ได้กล่าวคำออกมา เผอิญเป็น ธรรมะ เป็นคำที่ตรงสภาวะธรรมของหลวงพ่อฯ
    ทำให้เกิดมุมมอง หรือ โยนิโสมนสิการ ทำให้แจ้งธรรมได้โดยการฟัง

    การแจ้งธรรมโดยการฟังคำพูด จึงเป็น ประเด็นที่หลวงพ่อจะชี้ เป็นหัวใจของบทธรรมนี้

    * * *

    เน้นอีกครั้งนะครับว่า จิตตกภวังค์ ไม่มี และพระท่านไม่ได้ใช้คำนี้ ดังนั้นไม่ใช่เรื่องถีนมิทะ
    และ ไม่ใช่ การสงสัย หรือ นิวรณ์ สำหรับนักสมาธิคงจะรู้ว่า จิตที่เลยภวังค์จิตไป เลยสภาวะ
    ที่จะทำการระลึกรู้ของสติได้นั้นคือสภาวะอะไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2009
  8. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    แล้วยังไงหรือ ท่านนิวรณ์ ขยายความด้วยว่า จิตตกภวังค์ไม่มีนั้นหมายความว่าอะไร
    หลวงพ่อไม่ได้ใช้คำนี้ แล้ว หมายความว่าอะไร
     
  9. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    นิวรณ์เกิดกับใครก็ได้นะครับ ถีนมิทธะ นี่ขนาดพระโมคคัลลนะ ยังทูลถามพระพุทธองค์เลยว่าแก้ง่วงอย่างไร

    ตกภวังค์ นี่ก็การที่จิตตั้งไม่อยู่ พอตั้งขึ้นแล้วล้มไปหลงไป นั่นแหละ หลวงตามหาบัวท่านก็เป็น ท่านก็เล่าบ่อยว่า ตอนที่ต่อสู้กับกิเลส นี่พอตั้งหน่อยมันก็ล้ม พอตั้งท่าหน่อยมันก็ล้ม
    ก็เรื่องปกติ
    แล้วไม่ทราบว่า จะให้วิเศษขนาดไหนจึงจะไม่ให้มีกิเลสเลยเนี่ย
    <!-- / message --> <!-- edit note --> <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1">
     
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ก็ไม่ทราบชัดหรอกครับ พระท่านว่า ในทางอภิธรรมนั้น จิตตกภวังค์นั้นไม่มี
    จิตตกก็ไม่มี จิตขึ้นก็ไม่มี จิตฟู ก็ไม่มี เพราะ จิตก็คือ ธาตุรู้

    แต่ที่เห็นว่า จิตมันตกภวังค์ มันฟู มันแฟบ อันนั้น คือ สังขารธรรมมันปรุงให้
    จิตไปรู้ ดังนั้น จิตไม่ได้ตก มันยังทำหน้าที่รู้ ของมันอยู่อย่างเดิม อาการ
    ตกภวังค์ หรือ ฟู หรือ แฟบ จึงเป็นเรื่องของสังขารปรุงแต่ง

    อีกแง่หนึ่ง ในทางอภิธรรม จิตจะมีวิถีจิต ที่สายอภิธรรมสมมติวาดเป็นผัง
    ขึ้นมา เพื่อแสดงหน้าที่ของจิต ลำดับการทำหน้าที่ของจิต จิตภวังค์นั้น
    จะเป็นผังของจิตที่อยู่ต้นวิถี และปลายวิถี หน้าทีของ ภวังค์จิตคือ ทำหน้า
    ที่บันทึกกรรม และการสืบถอดกรรม(ตรงนี้ผมอาจพูดผิด ไม่ตรงตามบาลี)

    ดังนั้น ภวังค์ จึงเป็นคำที่ปรากฏในอภิธรรม เสร็จแล้ว นักปฏิบัติก็หยิบ
    ยืมไปใช้ เสร็จแล้วก็เริ่มเพี้ยนไปจากความหมายเดิม จนกระทั่งไปลงเอย
    ที่อาการสัปหงก หรือ การหล่นวูบขณะนั่งสมาธิ เป็นการเอาจิตไปตามสังขาร
    ธรรมชนิดหนึ่งขณะที่จิตกำลังรวม เลยทำให้เกิดอาการ หรือ ความรู้สึกวูบ
    หล่นลงไป เกิดจากจิตไม่ตั้งมั่นอยู่ที่ฐานรู้ ดันไปกระโดดตามสังขารธรรม
    ที่มันกำลังดับไป และส่วนใหญ่พอตามลงไปแล้วก็คิดว่า กิเลสดับ หรือ ตนได้
    ดับกิเลส เป็นต้น
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ต้องแยกคำพูดให้ดีๆนะครับ ไม่ได้พูดว่า มันเป็นกิเลส หรือ ไม่มีกิเลส

    แต่พูดว่า มันเป็น วิถีของจิตปรกติ ที่กำลังทำหน้าที่ทำลายกิเลส อุชุปฏิปันโณ

    ก็จะเห็นว่า พระท่านไหน ก็เจอ เจอแล้วก็ปฏิบัติไปต่อแบบเดิม ไม่ได้
    แก้อะไร ก็จะผ่านไป ซึ่งตรงนี้ต้องแยกแยะอีกประเด็นด้วยว่า เป็นสภาวะ
    ของเสขะบุคคล ไม่ได้กล่าวรวมไปถึงสภาวะการปฏิบัติของปุถุชน
     
  12. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ก็เป็นนิวรณ์ นั่นแหละ เท่านั้น
    กำลังสมาธิ นี่ อย่าลืมว่า แม้พระโสดาบัน กำลังสมาธิก็ยังไม่ดี

    พระสกิทาคามี กำลังสมาธิก็ยังไม่ดี

    จะมาดีก็พระอนาคามี ดังนั้นแล้ว เรื่องนิวรณ์นี่เรื่องปกติ ที่จะมีกัน
     
  13. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คุณ นิวรณ์ เข้าใจผิดแล้ว ว่าสภาวะนิวรณ์ ของพระเสข ก็นิวรณ์ตัวเดียวกับ ปุถุชนนั่นแหละ แต่ความหลงต่างกัน

    เอาเท่านั้นแหละครับ ผมขี้เกียจพูด
     
  14. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 9 คน ( เป็นสมาชิก 5 คน และ บุคคลทั่วไป 4 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>วิมุตติ, เพื่อนเก่า </TD></TR></TBODY></TABLE>ล่องหนเยอะจัง เอามั่งดีกว่าไหม...
     
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ก็ต้องแยบคายครับ หากท่านขันธ์จะกล่าวว่า พระท่านทั้งหลายปฏิบัติไปก็ทำให้
    เกิดนิวรณ์ แทนที่จะเห็นธรรม

    ทำแล้วเกิดอกุศลกุมจิต แทนที่จะเป็นเรื่องของกุศลจิต อันนี้ก็แล้วแต่ท่านขันธ์
    จะระบุลงไป

    หากเป็นผม ผมจะกว่าว่า จิตหลบเข้าไปทำฌาณ

    เพราะพระท่านจะกล่าว บทธรรมะต่อกันในเรื่องนี้ ด้วยการยกการปฏิบัติ
    ของพระอานนท์มาเป็นคำอธิบาย เพื่อเทียบเคียงปริยัติ

    พระอานนท์สำเร็จโสดาบันแล้ว ก็จะบำเพ็ญให้สำเร็จ เพื่อไปร่วมสังคยานา

    ในราตรีนั้น พิจารณาอยู่ที่กายคตาเป็นส่วนมาก พระท่านก็ตั้งประเด็นว่า แล้ว
    ส่วนน้อยคืออะไร สำหรับนักปฏิบัติก็คงไม่ตอบ ถีนมิทะ หรือ ขี้เกียจล้มตัวลง
    นอน แต่เป็นเรื่องของ จิตเข้าสู่การทำฌาณที่พ้นฐานวิปัสสนา

    แล้วพระท่านก็ค่อยชี้ว่า นิวรณ์ที่เกิดในกรณีนี้คือตัวไหน ก็ชี้ไปที่ กุกกุจะ และ
    อุธัจจะ ตั้งใจปฏิบัติเกินไป เหตุนั้น พอพระอานนท์ล้มตัวลงนอน ไม่ได้นอน
    เพราะขี้เกียจด้วย แต่ขณะที่เอนตัวลงนั้น ความจงใจปฏิบัติจึงหายไป ทำให้ธรรมะ
    นั้นพอดี ก็บรรลุไปถึงอรหันต์ ตรงนี้คือไม่ใช่เรื่องขาดกำลังสมาธิ เพราะคน
    กำลังล้มตัวลงนอนคงจะไม่ได้ทำสมาธิอยู่ ควรจะเป็นการทำวิปัสสนาอยู่ใน
    อริยาบทนั้นๆ คือ ยังอยู่ในการปฏิบัติวิปัสสนา และพอหมดความจงใจ หมด
    เจตนาก็ทำให้สมถะเริ่ม พร้อมๆกับหยุดการฝุ้งธรรม


    จุดที่ว่า นิ่งๆ หรือวูบไป หรือ ตกภวังค์ในที่นี้ จึงควรเป็น จิตเข้าไปทำฌาณ4 ทำให้พ้น
    สภาวะที่จะทำวิปัสสนา การพ้นการวิปัสสนาก็จะกลายเป็นการพ้นความเพียร หรือ การ
    เจริญสติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2009
  16. a_sitt

    a_sitt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +189
    อนุโมทนาบุญกับทุกท่านคับ ธรรมะ ครับ ธรรมะ ทุกสิ่งไม่มีตัวตน
     
  17. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ตกแบบวูบ ๆ เหมือนตกจากที่สูง เหมือนกับกำลังปืนบันไดแล้วตก ตกแล้วพยายามขึ้นไปใหม่ก็ยังตก เป็นอาการเกือบจะได้สมาธิ แต่ไม่ถึง เป็นปรกติ เมื่อกำลังไม่พอ

    ผมเคยเป็นอย่างนี้นะ และถ้าทำก็ยังเป็นอยู่บ่อย ๆ ^-^
     
  18. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อาการแบบว่า นั่งก็โยกเยก ไม่นั่งก็โยกเยก เดินก็โยกเยก ไม่เดินก็โยกเยก นอนก้โยกเยก ไม่นอนก้โยกเยก ทำก็โยกเยก ไม่ทำก้โยกเยก ...เป็นๆหายๆ เคยเป็นอยู่นาน ..ถ้าทางเทคนิกเค้าเรียกว่าอะไรมั่งครับ ..ใครรู้บอกด้วยครับ
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เราเข้าใจว่าเป็นเพราะ จิตขาดสตินะ แต่เราพอจะรู้ตัวอยู่บ้างเลยมีความรู้สึกว่าร่างกายมันทำไปเอง ถ้าจิตรู้สึกตัวว่าทำให้เรารู้สึกโยกเยก ก็จะหยุดเองมั้ง แต่ถ้าจิตยังไม่รู้ตัวซักที หรือเราไปรู้สึกว่าอาการนี้ดีเกิดปิติ ก็จะเป็นหนักขึ้น แต่บางทีอาจเป็นเพราะจิตเขาต้องการแสดงตัว ว่าเขาเป็นอิสระอยู่นอกเหนือจากการควบคุมของเราก็ได้นะ แบบว่าเราสั่งให้หยุดรู้สึกโยกเยกไม่ได้ถ้าทำได้ก็หยุดได้เป็นพักๆ พอลืมตัวก็จะเป็นอีก แบบนั้นมีแต่จิตเขาจะมีสติรู้สึกตัวได้เองว่าไม่ดี แล้วจะหยุดเองถาวร แต่ก็มีบางคนทำฌาณไปบังคับให้จิตหยุดตามที่ตนเองต้องการก็มีนะ แต่ไม่รู้ว่าผลลัพธ์สุดท้ายจะดีหรือไม่ดี เพราะอะไรที่บังคับกันมากๆ มันก็จะทะลุไปด้านอื่นถ้าไม่รู้ทันจิตตนเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2009
  20. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    เรียกว่าปิติครับ เป็นธรรมดาของอาการเข้าสู่สมาธิเช่นกัน
    ผมเคยโยก โยกจนสั่นเลย แต่ตอนนี้หายแล้ว แปลกดีน่า ยิ่งโยก ยิ่งอยากรู้ ยิ่งอยากรู้ ยิ่งปรุงแต่ง พยายามอย่าไปเพ่ง อย่าสนที่การโยก ธรรมดา ปล่อยมัน

    ข้อดีก็คือ ทำให้รู้ว่ากายมันก็ไม่ใช่ของเรา มันบังคับให้อยู่ในอาณัตไม่ได้ สาธุ ^-^
     

แชร์หน้านี้

Loading...