สัมมาทิฎฐิเป็นไฉน( ไม่ธรรมดา )

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ขันธ์, 5 มีนาคม 2009.

  1. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    <CENTER>พระนิพพาน จากคำครูอาจารย์ (สรุปย่อ)

    </CENTER><CENTER><TABLE bgColor=#ffcc66><TBODY><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช
    "พระพุทธเจ้าท่านเพียงไม่มีร่างเหลืออยู่เท่านั้น พระบารมีและคุณธรรมยังอยู่ ทรงเสด็จไปสอนด้วยพระพุทธบารมีได้"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราช
    อริยวงศาคตญาณ (แพ ติสูรเทโว)
    "สัตว์โลกยังมีอวิชชาจะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอัตตา เว้นเมื่อเข้าถึงอสังขตธาตุได้ความบริสุทธ์เป็นนิพพาน จะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาทันที แล้วจะเห็นว่าพระนิพพานเป็นอัตตา"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ทวด(เหยียบน้ำทะเลจืด)
    "วิปัสสนาคือให้พิจารณาในทุกสิ่งทุกอย่างว่าเป็นอนัตตา อนัตตาคือการเดินทางไปสู่โลกแห่งนิพพาน โลกเรานี้เป็นโลกแห่งอัตตา"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี
    "นิพพาน คือว่างจากกิเลส จิตวิญญาณของพระอรหันต์ไม่สูญ ที่วิญญาณสูญนั่นคือวิญญาณในขันธ์ ๕ เท่านั้น "</CENTER>
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    พระเดชพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย ์ สิริจนฺโท จันทร์
    "พระนิพพานเป็นพระมหานครอันใหญ่เป็นที่บรมสุขหาที่เปรียบมิได้ อย่าเข้าใจว่าจะไปนิพพานด้วยกำลังกาย"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ
    "สรณะทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มิได้เสื่อมสูญอันตรธานไปไหน ยังปรากฏอยู่แก่ผู้ปฏิบัติเข้าถึงอยู่เสมอ ผู้ใดยึดถือเป็นที่พึ่งของตนแล้ว ผู้นั้นจะอยู่ในกลางป่า หรือเรือนว่างก็ตาม สรณะทั้งสามก็ปรากฏแก่เราอยู่ทุกเมื่อ"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    ท่านเจ้าคุณธมฺมวิตกฺโก

    "ตายแล้วจิตยังติดต่อกันได้"
    </CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงพ่อเกษม เขมโก

    "พระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่ในโลกนี้ ท่านอยู่นอกโลก"
    </CENTER>
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ
    "ส่วนกายพระอรหัต ถ้าถึงพระอรหัตละก็ นิจจัง สุขัง อัตตาแท้ๆ กายธรรมมีขันธ์เหมือนกัน แต่เป็นธรรมขันธ์ ท่านไม่เรียกเบญจขันธ์ เป็นธรรมขันธ์เสีย มีธาตุเหมือนกัน เป็นวิราคธาตุ เป็นวิราคธรรมม"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    "องค์สมเด็จพระบรมครูตรัสว่า ...โมกขราช เรากล่าวว่า นิพพานนั้นหมายถึงกิเลสดับ และขันธ์ ๕ ดับ... พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่า จิตดับ"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    อดีตพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส)
    " พระธรรมกาย ได้เแก่พระกายอันบริสุทธิ์ ไม่สาธารณะแก่เทวา และมนุษย์ หมายถึงจิตที่พ้นจากกิเลสแล้ว เป็นพระกายที่เที่ยงแท้ไม่สูญสลาย อินทรีย์ของพระอรหันต์ประณีตสุขุม แม้ตาทิพย์ของเทวดาก็มองไม่เห็น"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
    "พระนิพพานมีอยู่ไม่เสื่อมสูญ พระพุทธเจ้าเข้าพระนิพพานก็มีอยู่ในพระนิพพานนั้นแล ถ้าเราเป็นพระอรหันต์ พระโสดาบันเมื่อไร เมื่อนั้นแหละจึงจะเห็นจะรู้ที่อยู่พระพุทธเจ้า ที่อยู่ของพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย"</CENTER>
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่บุดดา ถาวโร
    "นิพพานไม่สูญ เป็นแต่อาสวะกิเลสสูญ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม วิบาก มันสูญ แต่ สังคตะธรรม อสังคะธรรม วิราคะธรรม มันไม่ได้หมดไปด้วย"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ดูลย์ อตโล

    "นิพพานเป็นของว่าง ไม่มีตัวมีตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ขาว อนาลโย
    " อย่าไปยึดถือมัน ก็จิตนั่นแหละมันถือว่าตัวกู อยู่เดี๋ยวนี้ก็ดี เราถือว่าเราเป็นผู้ชาย เราเป็นผู้หญิง ก็แม่นจิตนั้นแหละ เป็นผู้ว่า มันไม่มีตนมีตัวดอก แล้วพระพุทธเจ้าว่าให้วางเสียให้ดับวิญญาณเสีย ครั้นดับวิญญาณแล้ว ไม่ไปก่อภพก่อชาติอีก ก็นั่นแหละพระนิพพาน"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
    "พระนิพพานอุปมาขนาดเท่าเส้นผม ผู้ที่จะผ่านพ้นในขั้นสุดท้ายไปได้หรอืไม่ได้อยู่เพียงนิดเดียวในการทำจิตตัดจุดนี้ได้หรือไม่เท่านั้น พระพุทธเจ้าตอนที่ท่านจะปรินิพพาน ท่านได้ปรินิพพานไประหว่างรูปฌานและอรูปฌาน เป็นการดับขันธ์ด้วยความบริสุทธิ์เหนือสมมติโดยสิ้นเชิง"</CENTER>
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    "ดวงจิตนี้ไม่เคยสูญ แดนพระนิพพานมีจริง หลวงปู่มั่นเล่าว่า พระพุทธเจ้าหลายพระองค์
    เสด็จมาเยี่ยมท่าน
    "
    </CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    "นิพพานไม่ได้สูญ ไม่ได้อยู่ตามที่โลกคาดคะเนหรือเดากัน ทำจริงจะได้เห็นของจริง รู้จริง และจะเห็นนิพพานเอง เห็นพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เห็นครูบาอาจารย์ที่ท่านบริสุทธิ์เอง และหายสงสัยโดยประการทั้งปวง"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    พระเทพสิทธิมุนี
    (พระอาจารย์โชฎก ญาณสิทธิ)
    " พระอรหันต์มี ความว่างจากตัวตน-ของตน โดยสิ้นเชิง มีอิสระเหนือทุกอย่าง ที่เรียกว่า "ว่าง" นี้ คือไม่ใช่ว่างชนิดที่เขาพูดกันว่า เช่นว่า จิตนึกคิดอะไรไม่ได้ กายก็แข็งทื่อเป็นท่อนไม้ แต่ที่ถูกนั้น เป็นความว่างจากกิเลส ว่างที่เฉลียวฉลาดที่สุด"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่อ่ำ พระราชกวี (อ่ำ ธมฺมทตฺโต)
    "พระพุทธกัสสป เมื่อดับขันธ์ปรินิพพาน เข้าเมืองแสงใส ซึ่งก็คือเมืองแก้วแสงใส ชื่อไทยนี้ คนไทยคงเรียก นิพพาน มานานแล้ว ปราชญ์บัณฑิตโบราณาจารย์จึงกล่าวเสมอๆ เช่น ถึงเมืองแก้ว อันกล่าวแล้ว คือ อมตมหานครนฤพาน ดังใน มหาเวสสันดรเทศนา กุมารกัณฑ์"</CENTER>
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์
    (หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา)
    " นิพพานเป็นแดนแห่งความมั่นเที่ยง นิพพานแล้วเป็นสุข นิพพานมีสาระเป็นแก่นสาร นิพพานมีความเป็นสุขอย่างยิ่ง พระนิพพานไม่ใช่อัตตา พระนิพพานเป็นปัจจัตตัง"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    "จิตวิญญาณมันไม่ใช่ของแตกของทำลาย แลไม่ใช่ของสูญหาย พระพุทธเจ้าสอนให้จิตมันเที่ยง เหมือนพระนิพพานเป็นของเที่ยง ไม่แปรผัน ยักย้าย สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็ฯทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ "</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
    " สูญในพระนิพพานมีขอบเขต สูญจากกิเลสเท่านั้น รสของพระนิพพานมีอยู่ พระนิพพาน ไม่เกิดไม่ดับไปไหน เป็นอนัตตาธรรม เราจะเอาพระนิพพานมาเป็นอนัตตา เหมือนขันธ์ ๕ และกิเลสทั้งหลายมันก็ไม่ถูก เรียกว่าแยกอนัตตาธรรมไม่ถูก"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    หลวงปู่ลี ธมมฺโร วัดอโศการาม
    " โลกนิพพาน ไม่มีทั้งเกิด ไม่มีทั้งตาย กายเป็นของสูญ จิตเป็นของไม่สูญ ไม่ตาย จิตที่ดับจากกาย ย่อมหายไป เหมือนกับไฟที่ดับจากเทียน"</CENTER>
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    พระนาคเสน มหาเถระ
    ผู้ตอบปัญหาพระเจ้ามิลินทราชา
    " ผู้ที่ยังไม่ได้นิพพานก็รู้ว่านิพพานเป็นสุข เพราะได้ยินเสียงพวกได้นิพพาน.....พระพุทธเจ้ามีจริง แต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานดับขันธ์แล้ว ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน เหมือนเปลวไฟที่ดับแล้วก็ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน อาจชี้ได้เพียงพระธรรมกาย ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น.........นิพพานเป็นของต้องรู้ด้วยใจ พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติชอบแล้วย่อมได้เห็นนิพพาน ด้วยใจอันบริสุทธิ์ อันสงบประณีต อันเที่ยงตรง ไม่มีเครื่องกั้นกาง อันไม่มีอามิส"</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc><CENTER>[​IMG]
    ไตรภูมิพระร่วง ของพญาลิไท
    "พระพุทธเจ้าแลพระองค์ ๆ โปรดเทพยดามนุษย์ทั้งหลายเข้าสู่นิพพาน ผิวคณนาได้ ๒๔ อสงไขยแล ๑๑๖๐ โกฏิก็มี มิก ๑๐๖,๖๖๖ คนเป็นกำไรโสดเถิงนครนิพพานอันประเสริฐยิ่งภูมิทั้งหลาย ๓ นี้แล ฯ ทั้งอนันตจักรวาฬอันเป็นเอกาทสกจบโดยสังเขปแล ฯ ผู้ใดจะเถิงแก่มหานคยนิพพานบมิรู้ฉิบหาย บมิรู้แปรปรวนไปม "</CENTER>
    </TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc></TD><TD width=190 bgColor=#ffffcc></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
    เห็นญาติธรรมพูดถึงพระนิพพานกัน....เลยยกมาเพื่อพิจารณาธรรม....ตามแนวครูบาอาจารย์ต่างนะครับ....
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    นมัสการขอบพระคุณครับ.....
     
  3. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    กำแพงไม่เจ็บค่า แต่เวลามันสะท้อนกลับแร๊ง ๆ เจ้าค่ะ
     
  4. นักเดินธรรม

    นักเดินธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +2,393
    เห็นคนยืนด่าก็แค่ว่าเห็นภาพทางตา....ได้ยินเสียงคนด่าก็ได้ยินแต่ว่าเป็นเสียงเข้าหู...จะตีความหมายก็เพราะเอาสัญญาไปยึดมัน...มันก็เลยทุกข์ เพราะจริงๆแล้ว รูปรสกลิ่นเสียง มันเกิดมาจริง ตั้งอยู่จริง ดับไปได้จริง แต่เนื้อในมันไม่มีอยู่จริง....ในสิ่งที่มีก็มีความไม่มีแฝงอยู่....ในความไม่มีก็มีสิ่งที่มีอยู่จริงแฝงอยู่ หาเจอมั้ยเอ่ย...หาเจอก็มองเห็นเหตุแห่งทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์ ก็รู้ทุกข์ ก็หาวิธีดับทุกข์ได้ เจอวิธีดับทุกข์ก็ทำการดับทุกข์เสีย...สำเร็จอริยสัจ4...หรือความจริงแห่งอริยะ 4ประการ
     
  5. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    อ๋อ อวิชชาคือไม่รู้ทันมัน

    ไปโลภะ(สิ่งที่อยาก มันน่าจะพูดหวาน ๆ) แหมอันนี้หวานไม่สนิทซะด้วย

    โทสะ จริง ๆ แล้วคืออะไร ค๊าป จิตมันถาม แต่มันจี๊ด ๆ ไงไม่รู้
     
  6. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    แร๊วจะมาฟังคำตอบเด้อ ตอนนี้ไม่ว่าง ก๊าป
     
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ตามนั้น ผมถอนคำพูด พระท่านทำดีแล้ว
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มันก็ต้องชัดสิ หูมีเอาไว้ได้ยินเสียง จิตมีเอารับกระทบผัสสะแล้วรู้

    แต่ ขันธ์5 หรือ จิตที่ปรุง นี่ตรงนี้แหละที่ทำให้เกิด ความคิด อ่าน โต้ตอบ

    ตรงขันธ์5 หากเราบริกรรมกำหนดรู้ จนเรารู้เป็น แล้วละทิ้งคำบริกรรมได้
    ตรงนั้นจะสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น จิตผู้ดู มันจะแยกออกจาก จิตที่ทำ
    หน้าที่ขันธ์5 รับรู้ผัสสะ

    ที่นี้ ทุกข์ในอริยสัจจ ไม่ใช่การรู้เรื่องรู้ราว แต่เป็นการ รู้ว่า จิตผู้ดู มัน
    ตั้งมั่นรู้อยู่ หรือ ว่า จมไปกับขันธ์5 ไปแล้ว ตรงสภาวะการเปลี่ยนแปลง
    หรือ ความไม่เสถียรของการปรากฏของ จิตผู้ดู ตรงนี้เรียกว่า จิตส่งออก
    นอก หรือ ทุกขสัจจในอริยสัจจ4

    ซึ่งตรงนี้หากเราฟังคำบรรยายมันพอเข้าใจได้ แต่ทีนี้ เราต้องไปปฏิบัติ
    เพราะจิตมันต้องเห็นตามจริงว่ามันเป็นเช่นนั้นจริงๆ
    ถึงจะรู้ว่า "เป็นเช่นนั้นเอง" หมายถึงอะไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มีนาคม 2009
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ทีนี้ หากคุณพอเข้าใจคำโพสที่ผมอธิบายไปก่อนหน้าได้

    อวิชชา ก็คือ การไม่รู้ทุกขสัจจ ซึ่งก็หมายถึง ไม่เห็นจิตขณะที่มันส่งออก
    นอกจากการเป็นผู้ดู

    เราจะทำอย่างไรหละถึงจะเห็นว่า จิตมันส่งออกนอกไปจากการรู้ ออกไปจาก
    การเป็นผู้ดู ออกไปจากจิตตื่น ออกไปจากจิตพุทโธ เราก็ต้องอบรมให้ จิตผู้
    ดูเขาเด่นดวงขึ้นมาก่อน เรียกกันพื้นๆ ว่า จิตตั้งมั่น จิตอยู่ที่ฐาน หากเรียก
    ตาม บาลี ก็คือ มีสติปัฏฐาน

    เพราะเรารู้ว่าอันไหนคือ ฐานของจิต ฐานของสติ พอมันออกไปจากฐานเราก็
    จะเห็น พอเห็นว่าเออนี่นะ จิตมันออกไปจากฐานละ ก็จะเข้าใจ ทุกข์ของจิต
    ที่มันต้องออกไปเสพอารมณ์ มันหิวอารมณ์ มันมีอารมณ์เป็นอาหาร โดย
    มีตัวเร้าให้อยากคือตัณหา มีตัวปิดบังการเห็นกระบวนการทั้งหมดนี้ เรียกว่า
    อวิชชา
     
  10. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    อย่างที่บอก ก็มันต่อเนื่องกันมา โทสะ เป็นปลายทางแล้ว เป็นเหตุในส่วนปลาย ที่เห็นได้ง่าย เห็นได้ชัดเจนที่สุด เพราะมันร้อน ^-^
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    คำว่า สักแต่ว่า นั้นจะเป็นสภาวะที่เห็นได้จากผู้ปฏิบัติ โดยจะเห็น
    ก็ต่อเมื่อรู้จัก จิตผู้รู้ ซึ่งคำว่ารู้จัก ก็คือ เห็นด้วยตาธรรมว่า มีจิตผู้รู้
    หรือ ธรรมเอก ปรากฏภายใน

    เมื่อเห็นด้วยตาธรรมแล้ว ผัสสะที่กระทบ ก็จะรู้ และตอบสนองได้
    ในขณะที่ จิตผู้รู้ ผู้ดูก็ไม่หายไป ตรงนี้จะเป็นจังหวะของ สังขารุเบกขา
    ญาณ เป็นกลางต่อการปรุงแต่ง

    คำว่าเป็นกลางต่อการปรุงแต่ง คนมักจะเข้าใจผิด คิดว่า นิ่งๆ ทื่อๆ ซื่อบื้อ
    ไม่รู้โลก ตอบสนองโลกไม่ได้เอาเลย จริงๆ ไม่ใช่ คำว่าเป็นกลางต่อ
    การปรุงแต่ง คือ จะปรุงก็ได้ ไม่ปรุงก็ได้ นิ่งก็ได้ เคลื่อนไหวก็ได้ แต่
    จิตผู้รู้ ผู้ดู จะตั้งมั่นมีอยู่ ไม่หายไป

    ต่อเมื่อ จิตตัดสินการเห็น เห็นจนอิ่มว่า ปรุง หรือ ไม่ปรุง นั้นคือ ทุกข์สัจจ
    ของจิต ก็จะเห็นไตรลักษณ์ เมื่อนั้นจิตจะตัดสินด้วยองค์ปัญญา เกิดการ
    ทวนกระแสหาผู้รู้ หลังจากนั้นจิตจะมีฌาณมารองรับ เกิดมรรคสมังคีไป
    ตามเรื่อง แต่ถ้า สมาธิเก็บมาไม่มากพอ ก็จะหลุดออกมา แล้วต้องเริ่ม
    กันใหม่หมด ปัญญหาจะเกิดคือความท้อ ดังนั้น สมาธิก็ต้องเก็บไว้เนืองๆ
    นอกจากการทำวิปัสสนา

    ตรงจิตวิ่งเข้าไปทำฌาณ มรรสมังคีนั้น จะใช้เวลาไม่นาน แต่คู่สนทนา
    อาจจะไม่ทันเห็น เหมือนที่พระสารีบุตรเทศน์ให้ภิกษุท่านหนึ่ง ภิกษุท่าน
    นั้นได้ฟังแล้วก็สำเร็จอรหันต์ แต่พระสารีบุตรยังไม่ทันได้ทราบ เพราะไม่
    มีธรรมจักษุครรภ์ชนิดที่ใช้เห็นได้ พระพุทธเจ้าเสด็จผ่านมาจึงได้เข้ามา
    บอกอีกที
     
  12. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    เป๊ะเลย งี้ เหมือนกับ เวลาแว๊ดปวด แต่จิตมันไม่ปวดใช่ป่าว

    ทีนี้ก็เอามาใช้ก๊ะจิต แม่นบ่ พูดง่าย ทำยากแฮะ
     
  13. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    ก็ดูเจตนาไง พ่อแม่ ด่าก็เพราะว่ารัก แต่ถ้าไม่ฟัง ก็ทำหูทวนลม เอ๊ะ งี้ จะเหมือน สักแต่ว่าได้ยินรึเปล่า อันนี้ไม่รู้

    ถ้าคนอื่นด่า นี่จะหูทวนลม มันไม่ค่อยทวน มันจะจี๊ด ๆ สักแต่ว่าฟัง ขันติเป็นขันแตกทุกที 0ห้าตัว รอคำตอบละกันนะคั๊ป
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ไม่ได้ให้ทำนิ แค่รู้ แค่ดู เดี๋ยวก็เห็น

    หากไปทำ ก็เท่ากับเติม เจตนา เจตนานี้เป็นอาหารของจิตอย่างหนึ่ง
    หากเราไปเติมเจตนา ก็เท่ากับเติมอาหารให้จิต จิตมันจะส่งออกนอก
    ทันที ดังนั้น อย่าใส่เจตนาใดๆ ไม่งั้นจะหล่นจากสภาวะสมาธิ

    เคยได้ยินไหม

    "สมถะเริ่ม เมื่อหมดเจตนา"
    "วิปัสสนาเริ่ม เมื่อหยุดคิด"

    สองบรรทัดนี้ หากเราปฏิบัติสมควรแก่ธรรม นั้นแหละ คำบริกรรมหาย
    ไป(หยุดคิด) แล้วหมดเจตนา(สมถะเริ่ม) จิตจะเป็น ผู้รู้ ผู้ดู ขึ้นมาทันที
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มีนาคม 2009
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ติ๊งหน่อง..
     
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อาการ สักแต่ว่า ที่คนทั่วไปเขาใช้ เขาเข้าใจ จะไม่ถูก

    สักแต่ว่า แบบที่คนทั่วไปใช้ เป็นเรื่อง ตุณฮี หรือ เห็นแก่ตัว

    สักแต่ว่า ที่เป็นคำธรรมะ เมื่อเทียบปริยัติธรรม คือคำว่า สังขารุเบกขาญาณ

    ดังนั้น คนทั่วไปที่ไม่เคยสดับ และไม่เคยภาวนาเจริญสติ ไม่มีทางเข้าใจ
    คำว่า สักแต่ว่า หรอก

    ลองดูสิ หากเราพูดคำไหนที่ ปุถุชน ไม่รู้จัก จะมีการตีความไปต่างๆนานา

    อันนี้เป็นข้อที่เราใช้สักเกตุคนบรรยายธรรมด้วย แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับเมตตา
    จิตนะ บางทีก็เออออตามลูกศิษย์ไปก่อน เพื่อกำลังใจ
     
  17. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    กดตอนแรกไม่ไป ทีงี้ขึ้นมาตั้บ ๆ ลบออกแทบไม่ทัน ไปรบกวนสายตาชาวประชาม๊ะนี่
     
  18. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    คุณแว็ดนี่ น่าจะดูกายได้ด้วย นอกจากดูจิต ซึ่งก็แปลว่า น่าจะเดินต่อได้
    ก้าวหน้าได้

    ดูจิต ที่คุณแว็ดทำได้ดี เพราะมีบารมี คือ ดูโกรธ

    เสร็จแล้วเมื่อ ดูจิตไม่ได้ ดูไม่เห็นจิต กำลังหมด คุณแว็ด จะไประลึกดูกายทันที

    ซึ่งทำให้ไปเห็นกายขยับบ้าง หรือ เวทนากายบ้าง ถ้าเห็นเวทนาจิต(ยินดี ยินร้าย)
    จะแจ่มขึ้นมาอีก

    ทีนี้คนที่ภาวนาเป็น เขาจะไม่จมจ่อมไปกับฐานใดฐานหนึ่ง จะ กาย เวทนา จิต นั้น
    เราจะไม่จดจ่อดูเพียงอันใดอันหนึ่ง คนที่ภาวนาเป็นแล้ว จะรู้ตามที่จิตจะรู้ได้ขณะนั้น
    เรียกว่า รู้เป็นปัจจุบัน และ รู้ตัวทั่วพร้อม หมายถึง ไม่มีการเลือกดู อะไรปรากฏ
    ก็ดูอันนั้น ดูเท่าที่ดูได้ เพราะผู้ดูมันไม่เที่ยง ถ้าทำได้แบบนี้ แบบธรรมชาติ ก็เรียก
    ว่า ก้าวมาสู่ขั้น ดูธรรม สิ่งที่เห็นจะเห็นทันที่ว่า ที่ทำให้ ดูกาย ดูเวทนา ดูจิต ไม่ได้
    เพราะ นิวรณ์เข้ามาแทรก นี่เรียกว่า ดูธรรม

    ก็ปฏิบัติไปแบบนี้ เรื่อยๆ เนืองๆ ทำเล่นๆ จะได้ของจริง ไม่เคร่งเครียดอีกต่อไป
     
  19. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    วันนี้นั่งมาธิ บริกรรมไปเรื่อย ๆ แล้วมันเพลิน พอเพลิน แล้วเหมือนมันง่วง พอง่วง มันก็ผงะ

    พอผงะ ก็มารู้สึกตัว บางทีก็ผงะด้วยรู้ตัวด้วย บางทีก็เหมือนเลื่อนไหล ไงไม่รู้บอกไม่ถูกรู้แต่ง่วง เพลิน
     
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ที่นี้ ขออธิบายเพิ่มเติม ในสิ่งที่คุณแว็ดพอจะเห็นแล้ว จากการดูโกรธ

    หรือ ดูโทษะ

    โทษะ ก็คือ มูลจิตชนิดหนึ่ง เรียกตามปริยัติว่า เจตสิก

    แต่สภาวะที่เราโกรธ จริงๆ มันจะประกอบด้วยเจตสิกจำนวนมาก ไม่ใช่
    โทษะมูลจิตตัวเดียว เจตสิกบางตัวทำหน้าที่ร้อนๆ ให้ปรากฏตามผิวกาย
    เจตสิกบางตัวทำหน้าที่ร้อนๆ รนๆ ให้แก่จิต เพื่อเป็นอาหารของจิตในการ
    สืบภพสืบชาติ หรือ ครองภพครองชาติ หรือ รับวิบากกรรมที่ได้กระทำไป

    เรียกว่า มีเจตสิก จำนวนมาก

    ดังนั้น เวลา ดูโทษะ หากสติตั้งมั่นดี จิตจะจดจำเจตสิกได้จำนวนมาก โดยที่
    เราไม่รู้ตัว เราเพียงแต่เอาอาการรวมๆ นั้นมารวมเรียกว่า โกรธ แต่ถ้าภาวนา
    ไปจนสติไวพอ ฆนะของมันจะแตก ทำให้เจตสิกนั้น เราสามารถจำแนกออกเป็น
    ตัวๆ แล้วก็รู้หน้าที่ของมัน

    เจตสิกบางตัว จะเห็นว่า ไปปรากฏซ้ำในการดู โลภะ โมหะ นี่ก็จะทำให้เราจำแนก
    เจตสิกที่จิตจดจำสภาวะได้แล้วออกไป สิ่งที่เห็นได้เห็นแล้วจิตมันก็เผิกออก เว้น
    แต่จะสงสัย หรือ มีนิสัยชอบสอนคน ก็จะเผลอจมไปกับการจำแนกละเอียดเข้าไปอีก

    แต่คนที่ฝึกธรรมดา นี่ไม่ต้องไปรู้ละเอียด จะเสียเวลา เราก็ดูเท่าที่รู้ ไม่ต้องไปเติม
    ชื่อก็ได้ เรารู้แต่ว่ามันรู้สึกอย่างไร เรารู้ของเรา เปรี้ยวแบบไหนอย่างไร เรารู้ของเราพอ
     

แชร์หน้านี้

Loading...