ทางแห่งการปฏิบัติเพื่อมรรคผล อย่างแท้จริง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นิยายธรรม, 11 สิงหาคม 2009.

  1. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    ตอบสั้น ๆ จิตบริสุทธ์ คือจิตพุทธ ซึ่งสิ้นจากอาสวะกิเลส ทั้งหมดจนขาวรอบแล้ว ไม่มีแล้วกิเลสทั้งปวง ...



    จิตขาวรอบคือ จิตของพระอรหันต์ เท่านั้น หรือจิตบริสุทธิ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 สิงหาคม 2009
  2. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    เจ้าของกระทู้ถามจิตพระโสดาบัน หรือพระอรหัน นานา

    สติไม่กล้า ปัญญาไม่เกิด
     
  3. นิยายธรรม

    นิยายธรรม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +20
    สาธุ....ท่านหลบภัยกล่าวได้ประเสริฐ หมายความว่าศีล สมาธิ ปัญญาต้องไปด้วยกัน แต่กำลังต่างกันตามระดับ ขั้น ใช่หรือไม่
    ถึงท่าน Albertalos
    คำถาม แล้วสักกายทิฏฐิ ของ พระอนาคามี กับพระอรหันต์แตกต่างกับพระโสดาบันอย่างไร หรือว่า เป็นความหมายเดียวกันคือ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
     
  4. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    จิตของพระโสดาับันตอบไปหมดแล้ว ....หวังว่าคงจะเข้าใจนะคุณเจ้าของกระทู้
     
  5. นิยายธรรม

    นิยายธรรม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +20
    คำว่าสักกายทิฏฐินั้นท่านยังอธิบายไม่แจ้ง จึงต้องถามแบ่งระดับ จากโสดาบัน จนถึงอรหันต์ (ขออภัยหากเกิด อุทัธจะ กุกุจจะ)
     
  6. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    รู้จักสัมมาทิฐิ ไหม รู้จัก ปัญญา ไหม รู้จัก จิตบริสุทไหม

    จิตนี้ประกอปด้วย เวทนา สันยา สังขาร วิญญาญ ความบริสุทอยู่ที่ปราศจากอวิชา

    ปัญญาเกิด จิต จึงหลุดพ้น จากอวิชาได้

    จิตผู้ที่มีสัมมาทิฐิ จึงเป็นจิตที่บริสุทบ้างหมองบ้าง ขนะจิต ณ ปัจจุบันนี้แหละ แยกไห้ออกก้จะเห็นถึงความบริสุทบ้างหมองบ้างเอง

    หรือว่าคิดว่าจิตเป็นก้อนๆๆ ตรงกลางหมองข้างๆๆขอบๆๆ ใส แบบนั้นหรอ สักกายทิฐิ โดยแท้

    เพราะตั้งแต่พระโสดดาบัน เป็นต้นไป ละสักกายทิฐิ สิลพปรามาส และยึดมั่นในพระรัตนไตรแล้ว<!-- google_ad_section_end -->
     
  7. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ถึงท่าน Albertalos
    คำถาม แล้วสักกายทิฏฐิ ของ พระอนาคามี กับพระอรหันต์แตกต่างกับพระโสดาบันอย่างไร หรือว่า เป็นความหมายเดียวกันคือ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา<!-- google_ad_section_end -->

    เมื่อละแล้วย่อมรู้สภาวะจิตตามธรรมชาติ ว่ามีการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปเป็นธรรมดา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา<!-- google_ad_section_end --> เมื่อละตั้งแต่พระโสดาบันแล้ว คิดว่าต้องละ ของ พระอนาคามี กับพระอรหันต์ อีกหรือ
     
  8. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    ตรงนี้ไม่สามารถตอบได้ เนื่องจากมันเกินปัญญาไปนิดหนึ่ง
    ขอให้ท่านอื่นมาตอบจะดีกว่า จะรออ่านเหมือนกัน สาธุ
     
  9. นิยายธรรม

    นิยายธรรม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +20
    อืม........น่าคิด ขอบคุณที่เสนอแนะครับ อยากลองอ่านความเห็นที่ได้จากการปฏิบัติจริงๆ จากท่านอื่น ดูบ้างครับ ว่าต่างกับ สองท่านที่ผ่านมาอย่างไร
     
  10. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    ขออนุญาติ ตอบอีกนิดเดียว

    แม้อยู่ในภพเดียวกัน แต่ความพากเพียร สะสมมาต่างกัน
    จุดเริ่มต้นย่อมแตกต่าง และสุดท้ายจุดสิ้นสุดก็ที่เดียวกัน
    หากเขาจะเริ่มตรงไหนก่อนย่อมไม่ผิด หากทำไปด้วยสัมมาทิฐิ
     
  11. นิยายธรรม

    นิยายธรรม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +20
    ความหมายของท่าน Albertalos คือ สักกายะทิฏฐิ ของพระโสดาบัน ถึง พระอรหัตน์เป็นอันเดียวกันใช่หรือไม่ มีแหล่งอ้างอิงไหมครับ เพราะเท่าที่ได้มาจาก ห้องคำสอนพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานวัดท่าซุง ท่านแยกไว้ชัดเจนนะครับสักกายทิฏฐิต่างกันตามระดับขั้นครับ
    1. พระโสดาบัน รู้ว่าแค่ต้องตาย ทุกคน ตายได้ทุกเวลาร่างกายจะต้องตาย ก่อนตายจึงต้องรักษาศีลให้บริสุทธิ์เพื่อจะได้ไม่ตกไปในอบายภูมิ ประปรารถนานิพพาน แต่กำลังใจยังอ่อนจึงยังต้องเกิดอีก 3-5-7 ชาติตามความเข้มแข็งของใจ จึงจะเข้านิพพาน
    2.พระสกิทาคามี เริ่มรังเกียจร่างกายเพราะรู้ว่ามันสกปรกเต็มไปด้วยของสกปรกไม่น่าคบ ถึงตอนนี้อารมณ์ราคะ และปฏิฆะจะเบาบางมาก แต่ยังไม่ขาดเสียทีเดียว นาน ๆ จะเกิดขึ้นมาให้กระทบ รู้ว่ายังไม่ขาด จึงยังต้องเกิดอีก 1 ชาติ จึงจะเข้านิพพาน
    3.พระอนาคามี มีสมาธิตั้งมั่นมาก พรหมวิหาร 4 ทรงตัวมาก ตัดราคะ และโทสะสิ้น ยอมรับกฏแห่งธรรมดามากขึ้น ไม่กลับมาเกิดมีร่างกายเป็นมนุษย์อีก ไปเป็นพรหมชั้นที่ 12-16 ตามกำลังสังโยชน์6-10 ที่ละได้ แล้วเข้านิพพานบนนั้น
    4. พระอรหันต์ สังโยชน์ขาดหมดสิ้น สักกายทิฏฐิของท่านคือ ขันธ์ 5 ไม่ใช่เรา เรามีในมัน มันไม่มีในเรา ยอมรับ กฏแห่งธรรมดา ในโลกทุกอย่าง ตายแล้วไปนิพพานเลย ถ้าเป็นฆราวาส ได้อรหันต์ ก็อยู่ไม่เกิน 3 วัน แต่หลวงพ่อบอกว่า "ฉันดูมาเยอะไม่เคยมีใครเกิน วันนั้นสักที บรรลุ เย็น ไม่มีโอกาสเห็นอาทิตย์ขึ้น บรรลุเช้าไม่ทันเห็นตะวันตกดิน"
    เอาละหมวดศีลก็ผ่านไป เสริมด้วยสักกายทิฏฐิกันเล็กน้อย เพื่อความเข้าถึงพระโสดาบัน ใครมีข้อสงสัยก็โพสต์แลกเปลี่ยนทัสนะกันได้นะครับ อย่าตั้งคำถามเหน็บแนมกัน หรือ ส่อเสียดกัน จงเจริญธรรมด้วยใจเคารพในธรรม
    สาธุ......
     
  12. นิยายธรรม

    นิยายธรรม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +20
    แก้ไขเรื่องการเกิดของพระโสดาบันนิดนึงขออภัย เกิดแค่ 1-3-7 ชาติครับ
     
  13. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    จิตมักหาที่เกาะ เกี่ยวพัน

    แรกๆ ก็เกาะอกุศล ละอกุศลได้ก็ไปเกาะกุศล ละกุศลได้ก็ไปเกาะความเป็นกลาง

    ศีลจึงมีหน้าที่ ตรวจสอบจิตที่ไปเกาะเกี่ยวสิ่งเหล่านั้น

    ศีลแรกๆ ก็จะเป็นไปเพื่อละการเกาะอกุศล เมื่อปฏิบัติได้แล้ว จิตปราศจากอกุศล
    เนืองๆ ก็จะทำให้เกิดสมาธิ เมื่อเกิดสมาธิเนืองๆ จิตก็เริ่มเกาะกุศล

    ในท่ามกลาง เมื่อจิตเริ่มเกาะกุศลแล้ว นิ่งแช่แป้งเอาแต่กุศล เอาแต่นั่งทำสมาธิ
    ศีลจะทำหน้าที่เห็นความเกาะเกี่ยวของจิตนี้ แล้วพาละออกจากกุศล

    เมื่อจิตละจากอกุศล และกุศล เนืองๆ จึงเข้าสู่ความเป็นกลาง เข้าสู่ทางสายกลาง
    เมื่อเข้าสู่ทางสายกลางเนืองๆ จึงเล็งเห็นพระไตรลักษณ์ เมื่อเห็นไตรลักษณ์เกิด
    ขึ้นเนืองๆ จึงเกิดปัญญา เมื่อเกิดปัญญาแล้ว ย่อมเกิดความเป็นกลางชนิดไม่ให้
    กุศลและอกุศล เมื่อนั้น ศีลจะเข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบการเกาะเกี่ยวความเป็น
    กลางนี้ เพื่อละความเป็นกลางออกไปอีกเนืองๆ ก็จะถึงที่สุดของความไม่ยึดมั่น
    ถือมั่นในสิ่งใดๆ

    เมื่อละได้แล้ว ตามธรรมนิยาม ก็จะต้องหมุนวนเช่นนี้ ไปตามชนิดของกิเลศตาม
    ภูมิธรรมที่ละเอียดยิ่งขึ้น เช่น อนาคามีจะมีกิเลสที่เกาะเกี่ยวกับรูปฌาณอรูปฌาณ
    ..มีกิเลศเกาะเกี่ยวอยู่กับธรรมุธธัจจะ(อุธธัจจสังโยชน์) มานะสังโยชน์

    ซึ่งการเห็นว่าอะไรเป็นกิเลสนั้น จะมองข้ามภูมิธรรมไม่ได้ หากตอนนี้ ยังไม่มีฐานะ
    เสมออนาคามี ก็มองไม่ออก ไม่มีข้อศีลที่จะมองออกว่า รูปฌาณและอรูปฌาณคือ
    กิเลส ดังนั้น เราก็ไม่ต้องไปกังวลตีตัวไปก่อนไข้ว่าจะไม่ทำรูปฌาณหรืออรูปฌาณ
    หรือ ไม่ตีตัวไปก่อนไข้ว่าปุถุชนที่ทำวิปัสสนากลัวรูปฌาณอรูปฌาณ เพราะไม่ใช่สิ่ง
    ที่จะเป็นไปได้ ไม่มีทางที่ปุถุชนที่เป็นนักภาวนาสายไหนๆ จะล่วงรู้ว่าตัวเองกำลังสร้าง
    กิเลสชนิดปราณีตอยู่

    .....ดังนั้น คนที่ออกมาต่อว่าคนนั้นคนนี้ที่กล่าวถึงหลักวิปัสสนาเป็นหลัก หรือไม่ว่าคนๆ
    ไหนที่พลั้งการพูดไปในทำนองตำหนิฌาณ แล้วไปต่อว่าเขาว่าเป็นพวกไม่ทำฌาณ ไม่จบ
    ปริญญา จึงเป็นการตีตัวไปก่อนไข้ เป็นความไร้สาระ มานะ ของคนๆนั้นที่ไม่เข้าใจในอรรถ ในวิถีธรรม

    โสดาบันจึงมีศีลบริบูรณ์ เพราะเป็นผู้มีความรู้ครบรอบของการเจริญศีลแล้ว(จบหลักสูตรศีลสิกขาบท)
    ไม่ใช่เรื่องของคุณภาพของศีลว่าบริสุทธิ์ที่เทียบกับพรหมจรรย์บริบูรณ์.


    * * * *

    ตัวอย่างเช่น

    เราเคยสดับมาว่า มีพระกรรมฐานท่านหนึ่งได้กำหนดธุดงค์วัตร์ไปทางพม่า ครั้นเมื่อเห็น
    ว่าตนสำเร็จที่สุดแห่งพรหมจรรย์แล้ว จึงกำหนดเดินทางกลับประเทศ แต่ระหว่างทางกลับ
    ยิ่งเดินก็ยิ่งหลงทาง เริ่มยิ่งเข้าป่าลึก ยิ่งลึกก็ยิ่งสงัดสงบในจิต ไม่ประหวั่นพลั่นพรึงอะไร
    จนกระทั่งติดไข้ป่า เมื่อเห็นแล้วว่าชีวิตนี้จะไม่พ้นราตรีนี้ก็เข้าสู่ถ้ำบำเพ็ญฌาณ เพื่อละ
    สังขารไปในอริยาบทนั้น.....เดชะบุญที่ศีลปรากฏ ทำให้เห็นความสะดุ้งของจิตที่วิ่งหลุด
    จากการเกาะความว่าง มีการวิ่งไปเกาะการไม่ยึดเอาอะไร ไปยึดเอาการไม่เอาจิต ทำให้
    เห็นความจริงว่าศีลยังไม่บริสุทธิ จิตยังมีเจตนา เมื่อจิตมีเจตนาก็คือยังทำกรรม แม้กรรม
    นี้จะมีความเป็นกลางต่อนามอย่างที่สุด แต่ยังมีการเกาะรูปแนบแน่นจนมีกำลังเพิกจิต แต่
    เป็นไปโดยเจตนา ศีลที่เจริญไว้ถึงที่สุดทำให้เห็นกรรมนั้น ทำให้เกิดสติระลึกได้ เกิด
    สมาธิตั้งมั่น เกิดปัญญาเห็นกริยาเจตนานั้นแล้วพบธรรมอันมีความบริสุทธิได้อย่างแท้จริง

    ถ้ำที่มืดก็สว่างโพลง ...... เมื่อออกมานอกถ้ำก็พบลิงเอามะละกอสุกมีนกเจาะกินบางส่วน
    มาถวายเป็นภัตตราหาร.......

    * * * * *

    นักปฏิบัติทั่วไปมักละเลย ศีลสิกขา จึงไม่ทราบถ้วนในบท ศีลสิกขา และกล่าวธรรมกลบ
    บทศีลสิกขาด้วยการชักชวนเห็นข้อศีลง่ายๆว่า "คือการละอกุศลกรรม" เท่านั้น ทำให้ศีล
    สิกขาบทเกิดความพร่อง กร่อนข้อศึกษาไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 สิงหาคม 2009
  14. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    สักกายทิฏฐิ

    ละความถือมั่นว่าเป็นตัวเป็นตนของเรา อันบุคคลธรรมดานั้นเคยแต่รู้และฝังใจมั่นอยู่ ร่างกายและจิตใจนี้เป็นตัวของเรา ต้องกระทำไปตามอำนาจของจิตใจที่สั่งและบังคับอยู่เสมอ ค้นหาแต่สิ่งที่ชอบใจถูกใจ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่พอใจอยู่เป็นนิจ แม้ทุกข์จะเกิดขึ้นสักเท่าใด แต่ถ้ามีหวังสิ่งที่พอใจอยู่เพียงอย่างเดียวข้างหน้าก็สู้ทนฝ่าฟันแลกเอาสุขเพียงชั่งครู่ชั่วยามก็ยอม

    พยายามหลีกเลี่ยงความลำบากกายด้วยการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ เพื่อให้เป็นเครื่องทุ่นแรงหาความสบายช่วยปรับปรุงความงามด้วยเครื่องเสริมสวย เพื่อจิตใจสบายลืมความแก่ คิดค้นยารักษาโรค สร้างโรงพยาบาลทันสมัยเพื่อต่อสู้กับความเจ็บไข้ สะสมทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทองอำนาจวาสนาบารมีต่าง ๆ มากมาย เพื่อป้องกันและช่วยเหลือในเวลาตาย ชื่นชมยินดีในสิ่งประดิษฐ์คิดค้น เพื่อปกปิดความลำบาก ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ของร่างกาย โดยเต็มกำลังความสามารถที่จะทำได้

    แทนมที่จะนอนตาหลับเหมือนกับปราบโจรผู้ร้าย ขับไล่ข้าศึกศรัตรู กลับต้องพินาศล้มตายจนสิ้นเว้นที่ยังอยู่ก็คิดค้นต่อสู้กันไปอีกแล้วก็ตายกันไปอีก มิมีความเฉลียวใจเลยว่า อันจิตใจร่างกายที่รักหวงแหนเป็นหนักหนานั้นหาได้เป็นไปตามความประสงค์ไม่ บุคคลธรรมดาย่อมถือมันอยู่ในความมีตัวมีตน เป็นของตนอย่างแน่นแฟ้นไม่เปลี่ยนแปลง

    สีลัพพตปรามาส

    ในข้อปาณา ก็เนื่องด้วยเมตตา ที่ก่อให้เกิดความเห็นอก เห็นใจในสภาพของบุคคลอื่น สัตว์อื่นที่หลงมัวเมาอยู่ในร่างกายของตน แต่ตนเองได้พิจารณาเห็นสภาพความเป็นจริงนั้นแล้ว ผู้อื่นสัตว์อื่นยังหาได้เห็นเช่นตนไม่ ศีลข้อนี้ ผู้ปฏิบัติแล้วไม่เพียงแต่จะนึกไม่ฆ่า แม้แต่จะกระทำให้บาดเจ็บเพียงเล็กน้อยอย่างไรก็หาเกิดขึ้นในจิตแต่ประการใดไม่

    ข้ออื่น ๆ ขี้เกียจพิมพ์แล้วจ๊ะ หลวงพ่อสายพระป่า ท่านกล่าวไว้สั้น ๆ ว่า "จิตเป็นศีล"
     
  15. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ละสักกายทิฐิ พิจารนาขันธ์ด้วยปัญญา เข้าใจในพรไตรลักษณ์ ทำก้เห็นเอง
     
  16. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ต้องมีสัมมาทิฏฐิก่อน ถ้าสัมมาทิฏฐิไม่เกิด ธรรมก็ไม่เกิด

    สัมมาทิฏฐิจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อเห็นอริยสัจ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

    ทุกข์นั้นดูเหมือนเราเห็นอยู่ แต่ต้องเห็นทุกข์ขนาดไหนจึงเห็นธรรมได้

    ส่วนใหญ่เราเห็นทุกข์กันแต่ที่กาย กายเป็นทุกข์ เราก็เบื่อกาย รังเกียจ ไม่รักในร่างกาย ผลักไสกาย บางคนเข้าใจว่า กายเป็นขันธ์ทั้ง ๕ ไปเลยก็มี

    เราไม่ค่อยเห็นทุกข์ที่ใจ เมื่อกายเกิดทุกข์ เจ็บป่วย หิวกระหาย ทำไมใจจึงเป็นทุกข์ตามกายไปด้วย เพราะเหตุใด เราไม่ค่อยได้สังเกตตรงนั้น

    หรือพอใจเกิดทุกข์ เราก็จะสรุปเอาเลยว่า ใจทุกข์เพราะความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายว่าเป็นตัวเราของเราเพียงเท่านี้

    ทุกข์ยังไงเรายังไม่เห็นจริง มันเข้าไปยึดมั่นถือมั่นอย่างไร ด้วยอาการหรือกระบวนการอย่างไร เราก็ยังไม่เห็น

    ทั้งนี้เพราะสติมันยังมีกำลังน้อย ยังเจาะเข้าไปไม่ถึงในระดับของการเห็นที่แท้จริง ๆ มันจึงยังละสักกายทิฏฐิจริง ๆ ไม่ได้

    กำลังความตั้งมั่นของใจเราก็ยังไม่พอ หวั่นไหวง่าย จึงหลงซัดซ่ายไปสู่การใช้ฐานคิดแบบเดิม ๆ หลงใช้ตรรกะแบบเดิม ๆ ที่จำได้มาใช้ในการพิจาณาเสมอ ๆ (ที่สุดก็หลงความคิด)

    แทนที่จะใช้สติจับอยู่ที่ฐานกาย เวทนา จิต ธรรม เพื่อให้เห็นความจริงของการก่อตัวของสุขและทุกข์ อาการที่เป็นต้นเหตุที่แท้จริงนั้นเรายังเข้าไปไม่ถึง เราจึงยังไม่รู้จักทุกข์อย่างแท้จริง

    เมื่อไม่รู้จักทุกข์อย่างแท้จริง ตามอาการ (ตามความเป็นจริง) เราก็ไม่สามารถเข้าถึงเหตุแห่งทุกข์ได้จริง เมื่อไม่เห็นเหตุแห่งทุกข์ ไหนเลยจะดับทุกข์ได้

    สัมมาทิฏฐิจริง ๆ จึงยังไม่เกิดเพราะอย่างนี้เอง...
     
  17. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    สนทนาเรื่องการปฏิบัติจริง ต้องมุ่งไปที่การ ดับกิเลส ดับตัณหาคือเครื่องเสียดแทง

    ก็จะได้ผล คือ นิพพาน ซึ่งอยู่ตรงไหนก็สบาย เพราะกิเลสนั้นดับไปแล้ว

    คำว่า สักกายทิฎฐิ นี้ เป็นตัวแรก คือ คิดว่า กิเลสต่างๆ ความโง่ความหลงต่างๆ เป็นของตัว

    ทีนี้ มันก็ถอนไม่ได้ ก็เพราะว่า มันของตัวเรา จะไปถอนอย่างไร โจทย์ตรงนี้ จึงต้องมองแล้ว ตีความโง่ตัวนี้ให้แตกก่อน ว่าอะไรบ้างที่ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ก็สรุปง่ายๆว่า

    อะไรก็ตามที่เป็น ทุกข์ สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวเราที่เป็น แต่เป็นสันดาน ที่มันอยู่ในจิต ที่สามารถขุดถอนได้

    นี่คือใจความสำคัญ
    ยกตัวอย่างเช่น คนโกรธ ก็คิดว่านี่เราโกรธ มันเป็นแบบนี้ของมันเอง

    รวมไปถึง คนทุกข์ คนเจ็บ คนสับสน มันคิดว่านี่คือเรากันหมด

    พระศาสดาจึงว่า สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่เรา เป็นสิ่งที่จะต้องศึกษาให้ดี และขจัดไปได้ เรียกว่า ค่อยๆ ละ ค่อยถอนเพื่อจะได้ดูให้เห็นว่า อะไรบ้างที่มัน ถอน มันขุดได้ ก็ใช้ หลักคือ

    ศีล สมาธิ ปัญญา ควบคู่กันไป และ มีเครื่องมือคือ หลักใหญ่แห่งทุกข์ ว่ามันมีสภาพ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งสิ้น อย่าโง่แช่เอาไว้ อะไรแช่เอาไว้ สิ่งนั้น หลงทั้งสิ้น

    ลองไปพิจารณากันดู
     
  18. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    กิเลสสี่ส่วนถ้าหายไปหนึ่งส่วน ส่วนที่หายไปคือสังโยชน์สามอันด้บแรก

    ศีลบริสุทธิ์ เพราะเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรมดีในระดับหนึ่ง สิ่งใดทำแล้วต้องเศร้าหมองทั้งในวันนี้ และวันหน้า เช่น กรรมเบียดเบียนสัตว์อย่างหนัก ก็จะไม่ทำ

    อุปมาเช่น คิดจะฆ่าคน แต่ไม่ลงมือทำ คนก็ไม่ตาย ตำรวจก็ไม่จับ


    หลายคำถามขอตอบแบบหวนเลยนะ ทำได้ ก็รู้เอง ของละเอียดอ่อนเช่นนี้ ถ้าบอกกันได้ คนรุ่นก่อนก็บอกกันมาแล้ว หรือถ้าบอกได้จริง คนฟังก็มิอาจเข้าใจ ทำเอง เห็นเอง

    จบ ^-^
     
  19. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ความคิดเขาหลอกให้เราเป็นสุขเป็นทุกข์มามากแล้วนะ

    ทำไมเราไม่ลองหันมาคลายความคิดดูบ้าง

    ว่าเหตุใดความคิดจึงทำให้เราเป็นทุกข์เป็นสุขไปได้ถึงเพียงนี้

    จิตหลงสุขหลงทุกข์ตามความคิดไปได้อย่างไร

    ฝึกสติขึ้นมา แล้วใช้ตัวสตินั้นแหละ มาเป็นผู้คลาย

    คลายจิตออกจากความคิดได้นั่นแหละ จึงจะเข้าใจความจริง


    สาธุ ขอให้ทุกท่านโชคดี
     
  20. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ศีล สมาธิ ปัญญา

    ศีล=ผู้อยู่ปรกติ จะเป็นผู้อยู่ปรกติได้อย่างไร?...ถ้าจิตไม่สงบตั้งมั่น

    สมาธิ=ความสงบตั้งมั่นแห่งจิต....เมื่อจิตสงบตั้งมั่นได้...ย่อมอยู่เป็นปรกติ...
    ผู้ที่จะอยู่เป็นปรกติได้อย่างไร?.....ต้องมีปัญญา

    ปัญญา=เป็นผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่า ผู้ที่จิตกระสับกระส่ายไม่ตั้งมั่น....เป็นผู้ไม่ปรกติ
    ส่วนผู้ที่มีจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ...ย่อมเป็นอยู่โดยปรกติครับ

    ;aa24
     

แชร์หน้านี้

Loading...