ร่วมแจมประวัติและพระเครื่อง สุดยอดพุทธคุณสายใต้ครับ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย cornell, 7 พฤศจิกายน 2009.

  1. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    ปล....คุณน้ำครับ
     
  2. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    ปล.....คุณน้ำโอนเมื่อไรบอกผมนะครับวันนี้ ผมจะได้รีบจัดส่งแบบด่วนครับ ส่วนหลวงปู่เปลื้องนั้น ผมว่าอีกหน่อยจะหายากแน่ๆคร้บ ยินดีด้วยครับที่มีท่านมาไว้ในบ้าน.................
     
  3. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    ท่านเป็นผู้สร้างตำนานพระมหาว่านอันโด่งดัง ท่านเป็นเกจิผู้โด่งดังแห่งสายเขาอ้อ ท่านพระอาจารย์ผู้นี้คือ.....
    <TABLE height=708 cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#000000 height=25>
    พระอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา
    </TD></TR><TR><TD height=797>
    [​IMG]
    พระครูสิทธิยาภิรัตน มีนามเดิมว่า เอียด ทองโอ่ เกิดที่บ้านดอนนูด ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2425 เป็นบุตรของนายรอด นางพัด มีน้องชายคนหนึ่งชื่อแก้ว เริ่มการศึกษาหลังจากบิดาได้ถึงแก่กรรมแล้ว โดยมารดาได้นำไปฝากพระอาจารย์ทองเฒ่า ที่วัดเขาอ้อ ได้ร่ำเรียนจนรู้หนังสือขอมไทย เมื่ออายุได้ 22 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดเขาอ้อ มีพระอาจารย์ทองเฒ่า เป็นอุปัชฌาย์ มีฉายาว่า ปทุมสโร ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ไสยศาสตร์ และแพทย์แผนโบราณจากพระอาจารย์ทองเฒ่า ต่อมาทางวัดดอนศาลา ว่างเจ้าอาวาสลง คณะพุทธบริษัทของวัดดอนศาลา ได้พร้อมในกันนิมนต์อาจารย์เอียดมาเป็นเจ้าอาวาส ต่อมาไม่นานท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลมะกอกเหนือ และเป็นพระอุปัชฌาย์ตามลำดับในปี 2473 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน ต่อมาในปี 2480 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสิทธิยาภิรัตน์ แต่ชาวบ้านยังนิยมเรียกท่านว่า " พ่อท่านเอียด " หรือ " พ่อท่านดอนศาลา " บางทีก็เรียกว่า " พระครูสิทธิ์ "
    พระครูสิทธิยาภิรัตน์ เป็นผู้ที่มีความเมตตา กรุณา ปฏิบัติต่อบุคคลอย่างเสมอภาค ใครมีความทุกข์ร้อนไปหาท่าน ถ้าท่านช่วยได้ก็จะช่วยทันที เป็นคนที่เคารพในเหตุผล จึงต้องเป็นตุลาการให้คนในหมู่บ้านอยู่เสมอ และเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านทั่วไป พระครูสิทธิยาภิรัตน์ เป็นผู้นำชาวบ้านดอนศาลาและบริเวณใกล้เคียงพัฒนาท้องถิ่น จัดตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นในวัด และจัดสร้างอาคารเรียนถาวรให้โรงเรียนวัดดอนศาลาเป็นผลสำเร็จ ใช้เป็นที่เรียนของนักเรียนมาจนทุกวันนี้ ทั้งยังเป็นผู้นำในการขุดลอกคูคลองที่ตื้นเขิน ตัดถนนจากวัดเชื่อต่อกับถนนสายควนขนุน-ปากคลอง เพื่อให้ประชาชนได้ติดต่อกับตัวอำเภอได้สะดวกยิ่งขึ้น
    เมื่อ พ.ศ.2483 เกิดสงครามอินโดจน ประเทศไทยได้ส่งกำลังทหารไปร่วมรบในสงครามครั้งนี้ด้วย ด้วยเหตุนี้เอง เพื่อเป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจให้แก่ทหารอาสาสมัคร และพลเรือนในยามสงคราม พระครูสิทธิยาภิรัตน์ จึงได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นหลายชนิด เช่น พระเครื่อง ลูกอม ผ้าประเจียด เสื้อยันต์ ผ้ารองหมวก ตะกรุด ปลอกแขน โดยทำพิธีปลุกเสกที่วัดเขาอ้อ วัตถุมงคลเหล่านี้ได้แจกจ่ายให้แก่ ทหารอาสาสมัคร พลเรือน พระเครื่องที่สำคัญที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ คือ พระมหายันต์ และพระมหาว่าน ขาว-ดำ การสร้างเครื่องรางของขลังในครั้งนี้จึงเป็นการสร้างสนองคุณแก่ประเทศชาติ เยี่ยงพระมหาช่วย วัดป่าเลไลย์ ต.ลำปำ อ.เมือง จ.พัทลุง ที่เคยช่วยเหลือชาติบ้านเมืองมาแล้วในอดีต
    พระครูสิทธิยาภิรัตน์ เป็นพระเถระที่ได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่น และประเทศชาติเป็นอันมาก ท่านได้ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2491 รวมอายุได้ 66 ปี


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    [​IMG]
    ประวัติพ่อท่านปลอด วัดหัวป่า ระโนด สงขลา
    ตามที่เคยมีท่านหนึ่งขอมาครับ..............
    หากจะกล่าวถึงพระเถราจารย์ที่เป็นผู้ทรงวิทยาคมเรืองวิทยาเวทย์บำเพ็ญตนในเพศสมณะที่สมบูรณ์ด้วยศีลาจริยาวัตรอันงดงาม ประกอบด้วยวัตรปฏิบัติอันสมถะสันโดษ ปราศจากมลทินใดๆ พลังจิตแก่กล้าด้วยเมตตาธรรม เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรครองจิตใจผู้คนทั่วไป พุทธศาสนิกชนต่างทราบเกียรติประวัติของพระเถระรูปหนึ่งเป็นอย่างดี พระเถระรูปนี้ คือ พระครูพิศิษฐ์บุญสาร หรือหลวงพ่อปลอด ภาษาถิ่น คือ “พ่อท่านปลอด” หรือ “ตาหลวงปลอด” แห่งวัดหัวป่า ตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
    ชาติภูมิ

    พระครูพิศิษฐ์บุญสาร (หลวงพ่อปลอด บุญฺญสฺสโร) นามเดิมว่าปลอด นามสกุล อ่อนเเก้ว ถือกำเนิดเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 10 ปี จอ ตรงกับวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2441 จ.ศ.1260 ร.ศ.117 ค.ศ. 1989 ที่ หมู่ 4 ต.ตะเครียะ อ.ระโนด จ.สงขลา เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้อง 6 คน ของนายสุข นางฝ้าย อ่อนเเก้ว สำหรับพี่น้อง ได้เเก่ นายดำ อ่อนเเก้ว นางกิมเนี่ยว อ่ำปลอด พระครูพิศิษฐ์บุญสาร นายเถื่อน อ่อนเเก้ว นายถั้น อ่อนเเก้ว เเละ นางซุ่นเนี่ยว อ่อนเเก้ว
    ชีวิตยามปฐมวัย

    เด็กชายปลอด อ่อนเเก้ว เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย เป็นบุตรที่อยู่ในโอวาทของบิดามารดา เป็นผู้ที่เปี่ยมไปด้วยเมตตาโอบอ้อมอารีเป็นที่รักของญาติพี่น้อง ครั้นพออายุควรเเก่การศึกษา บิดาจึงได้นำไปฝากพระอธิการคง ฆงคสฺสโร เจ้าอาวาสวัดหัวป่าในสมัยนั้น เพื่อศึกษาภาษาไทย อักษรขอม และอักษรสมัยใหม่ต่างๆ ซึ่งพระอธิการคงได้รับไว้เป็นศิษย์และสอนให้ด้วยตนเอง จนกระทั่งมีความรู้ความสามารถ อ่านออกเขียนได้
    [​IMG]

    พ่อท่านคงเป็นพระอุปชาของพ่อท่านปลอด(สังเกตุได้จากเหรียญรุ่นเเรกด้านหลังเป็นรูปพ่อท่านคง)

    บรรพชาและอุปสมบท

    หลวงพ่อปลอด ได้รับการศึกษาอบรมด้านพระธรรมวินัย ครั้นพออายุได้ 19 ปี เกิดเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงได้ขอบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันพุธ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 12 กรกฎาคม 2459 ณ วัดหัวป่า โดยมีพระอธิการคง ฆงคสสโร เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาแล้ว สามเณรปลอดก็ได้ศึกษาวิชาวิทยาเวทย์ และคาถาอาคมต่างๆจากหลวงพ่อคง ด้วยความเป็นผู้มีความเพียรสูง จึงได้ศึกษาวิชาต่างๆ จากหลวงพ่อคงอย่างรวดเร็ว
    พออายุครบอุปสมบท สามเณรปลอดก็ได้อุปสมบท เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 13 กรกฎาคม 2460 ตรงกับ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็ง ณ วัดหัวป่า โดยพระอธิการคง ฆงคสฺสโร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสุก ธมฺมสโร และ พระชู ติสโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ปุญฺญสฺสโร”
    ด้วยเหตุที่เป็นผู้ที่รักในการศึกษาหาความรู้ จึงเริ่มศึกษาพระพุทธศาสนา พระปริยัติธรรมเพิ่มเติม จนสอบผ่านและได้เลื่อนวิทยฐานะตามลำดับ ดังนี้
    • อายุ 35 ปี พรรษาที่ 14 สอบได้นักธรรมตรี นวกภูมิ ณ สำนักเรียนวัดหัวป่า ได้รับประกาศนียบัตรเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2475
    • อายุ 38 ปี พรรษาที่ 17 สอบไล่ได้นักธรรมโท มัชฌิมภูมิ ณ สำนักเรียนวัดหัวป่า ได้รับประกาศนียบัตรเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2478
    • วันที่ 5 ธันวาคม 2517 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น “พระครูพิศิษฐ์บุญสาร”
    นอกจากความรู้ทางธรรมแล้ว ท่านยังได้ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาเวทย์ จากอาจารย์ที่มีความรู้เรื่องไสยเวทย์ ไม่ว่าจะเป็นสมณะชีพราหมณ์ หรือเพศฆราวาส ได้ศึกษาภาษาขอมจากพระอาจารย์ไข่ ศึกษาวิธีทำตะกรุดพิศมร จากอาจารย์ทวดทองขาว ซึ่งเป็นฆราวาสและผู้เรืองวิทยาเวทย์แก่กล้ามาก โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี หนังเหนียว ศาสตราอาวุธทั้งหลายไม่สามารถทำอันตรายได้เลย
    นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเพิ่มเติมจากอาจารย์เพิ่ม ซึ่งเป็นฆราวาสอยู่ที่อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง และจากพระอาจารย์ผู้เรืองเวทย์ต่างๆอีกมากมาย จนรู้แตกฉานทางวิทยาคมในแขนงต่างๆ จนในที่สุดได้เป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง และเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกในงานต่างๆนับครั้งไม่ถ้วน
    นับได้ว่าหลวงพ่อปลอด เป็นพระอริยะสงฆ์ที่เปี่ยมล้นด้วยคุณธรรม และเมตตาจิตรเป็นพระเถราจารย์ที่สำคัญรูปหนึ่งของภาคใต้ ท่านเป็นภิกษุที่มีความเมตตา ยินดีรับทุกข์ของทุกคนที่ไปขอความช่วยเหลือ ช่วยขจัดปัดเป่าความทุกข์ของผู้เดือดร้อน เป็นศูนย์กลางความสามัคคี ใครทะเลาะวิวาทกันก็เรียกมาพูดคุย จนกระทั่งคู่กรณียอมรับในคำตัดสิน แม้ในยามวิกาล ซึ่งส่วนมากจะเป็นผู้ถูกงูพิษกัด ได้รับการรักษาจนรอดปลอดภัยทุกราย ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้รับความเคารพนับถืออย่างสูงในละแวกบ้าน จนชาวบ้านเรียกท่านติดปากว่า “พระอาจารย์ปลอด” หรือ “พ่อท่านปลอด”
    ในทางวิชาแพทย์แผนโบราณ หลวงพ่อปลอดเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการบำบัดรักษาโรคนานาชนิด เช่น การรักษาผู้วิกลจริต หรือเสียสติ การรักษาโรคพิษสุนัขบ้า ผู้ติดยาเสพติด ผู้ถูกสัตว์มีพิษกัดต่อย โดยเฉพาะวิชาสยบแมลงป่อง วิชาผสานพลังจิต เป็นที่เลื่องลือยิ่งนัก ท่านจึงเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของผู้ตกทุกข์ได้ยาก เป็นผู้สร้างประโยชน์ให้กับสังคม ช่วยเหลือทางราชการในการรักษาพยาบาล เนื่องจากสมัยนั้นโรงพยาบาลของรัฐมีไม่เพียงพอ และอยู่ห่างไกลการคมนาคมไม่สะดวก นอกจากนั้นท่านยังมีพลังจิต มีพลานุภาพในการทำน้ำพระพุทธมนต์เพื่อขจัดปัดเป่า ผู้ที่ถูกคุณไสยหรือผีเข้า ล้างสิ่งอัปมงคล และอีกส่วนหนึ่งที่เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ลูกศิษย์ คือท่านมี “วาจาสิทธิ์” พูดอะไรจะเป็นไปตามที่พูดเสมอ ในแต่ละปีทางวัดจะจัดพิธีสรงน้ำหลวงพ่อปลอด ในเดือน 5 (เมษายน) ของทุกๆปี บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายเฉพาะผู้ชายจะหมอบลงกับพื้น เริ่มที่ประตูห้องตลอดไปตามแนวระเบียงนอกชานกุฏิ จนถึงสถานที่ที่เจ้าหน้าที่ของวัดจัดไว้ เป็นที่ให้ลูกศิษย์และประชาชนทั่วไปมาสรงน้ำ โดยทุกคนต้องการให้หลวงพ่อเหยียบบนร่างกายของตนเพื่อเป็นสิริมงคล พร้อมกับอธิษฐานขอพรตามปรารถนา
    งานด้านการปกครอง
    • พ.ศ. 2474 เป็นเจ้าอาวาสวัดหัวป่า
    • พ.ศ. 2478 เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดหัวป่า
    • พ.ศ. 2507 เป็นพระอุปัชฌาย์
    [​IMG] เนื่องจากหลวงพ่อปลอดเป็นพระที่เคร่งครัดในธรรมวินัย ท่านจึงยึดมั่นในระเบียบการครองวัดตามระเบียบของมหาเถรสมาคม มีการทำอุโบสถ สังฆกรรม (สวดปาฏิโมกข์) ตลอดปี มีกฎระเบียบของวัดเกี่ยวกับ การบวชนาค นวกภิกษุ การเรียนการสอนปริยัติธรรม และการ อบรมศิษย์วัด เป็นต้น
    งานด้านการศึกษา
    เนื่องจากหลวงพ่อปลอด เป็นผู้มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการศึกษา ท่านจึงพยายามสั่งสอนศิษย์ทุกคนให้ได้รับการศึกษา และหาความก้าวหน้าในชีวิตด้านการศึกษา วิธีการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้ศิษย์รักการศึกษา คือ การตั้งรางวัลให้ทุนกับผู้ที่มีความอุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร และเรียนดี นอกจากนั้น ท่านยังสนับสนุนโดยการส่งภิกษุสามเณร ที่ท่านเห็นว่ามีภูมิปัญญาควรแก่การส่งเสริมให้ไปศึกษาเล่าเรียน ณ สำนักเรียนอื่นๆ ซึ่งมีการจัดการศึกษาในระดับที่สูงกว่า ดังนั้น จะเห็นได้จากศิษย์ของหลวงพ่อปลอดหลายรูปจบปริญญาตรี โท และปริญญาเอก
    การเผยแพร่พระศาสนา
    [​IMG]
    ตั้งแต่ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสเป็นต้นมา ท่านเริ่มปฏิบัติหน้าที่ในทางเผยแพร่พระพุทธศาสนา โดยเป็นผู้ให้การอบรมศีลธรรมแก่นักเรียนและประชาชน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 – 2535 และในปี พ.ศ. 2519 ท่านได้ร่วมมือกับธรรมฑูตในการเผยแพร่ศีลธรรมให้กัวนักเรียนและชาวบ้านหัวป่า ส่งเสริมให้ประชาชนร่วมทำความดี ทำบุญกุศล และร่วมพิธีในวันสำคัญทางพุทธศาสนา และที่สำคัญคือ ท่านเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน ในช่วงเข้าพรรษาของทุกๆจะมีผู้เลื่อมใสศรัทธาบวชเรียนประจำพรรษาอยู่วัดหัวป่า เป็นจำนวนมากจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
    งานด้านสาธารณูปการ และการพัฒนาวัด
    หลวงพ่อปลอดนอกจากเป็นพระอาจารย์ที่เรืองวิทยาเวทย์แล้ว ยังเป็นพระผู้นำ พระนักพัฒนา ท่านชอบสร้างความเจริญให้กับท้องถิ่น ท่านไม่เคยอยู่นิ่งเลย ได้สร้างสิ่งต่างๆ อาทิ
      • พ.ศ. 2483 สร้างอาคารเรียน โรงเรียนวัดหัวป่า มีลักษณะทรงปั้นหยา กว้าง 8 เมตร ยาว 24 เมตร ราคาก่อสร้าง 2,000 บาท
      • พ.ศ. 2492 สร้างพระอุโบสถถาวร หลังที่ 3 ทดแทนหลังเดิมที่ชำรุด
      • พ.ศ. 2497 สร้างศาลาการเปรียญ ลักษณะทรงไทยชั้นเดียว กว้าง 14 เมตร ยาว 16 เมตร ราคาก่อสร้าง 70,000 บาท
      • พ.ศ. 2505 เริ่มดำเนินการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ เนื่องจากหลังเก่าชำรุดมาก จึงให้รื้อและสร้างใหม่ให้ถาวร กว้าง 9 เมตร ยาว 16 เมตร
      • พ.ศ. 2513 ได้บูรณะปฏิสังขรณ์กุฏิ ลักษณะทรงไทย 2 ชั้น กว้าง 3 เมตร ยาว 6 เมตร ค่าบูรณะ 20,000 บาท และในปีเดียวกันท่านได้ชักชวนให้ชาวบ้านขุดสระน้ำในในบริเวณที่ดินวัด เพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดปี
      • พ.ศ. 2515 ได้บูรณะปฏิสังขรณ์กุฏิลักษณะทรงไทย 2 ชั้น กว้าง 9 เมตร ยาว 9 เมตร ค่าบูรณะ 65,000 บาท ท่านได้ชักชวนให้ราษฎรบ้านหัวป่าพัฒนาเส้นทางคมนาคม โดยตัดถนนหน้าวัดยาว 2 กิโลเมตร
      • พ.ศ. 2523 สร้างศาลาการเปรียญ (โรงธรรม)
      • พ.ศ. 2524 สร้างเมรุเผาศพ (รื้อแล้ว)
      • พ.ศ.2526 – 2527 สร้างหอระฆัง
      [​IMG]
      ช่วงสุดท้ายของชีวิต
      หลวงพ่อปลอดได้มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2537 สิริอายุรวม 97 ปี พรรษาที่ 76 ปัจจุบันร่างของท่านนอนสงบนิ่งอยู่ในโลงแก้ว ณ กุฏิหลังหลังใหม่ วัดหัวป่า หากท่านผู้ใดเป็นศิษยานุศิษย์ ผ่านไปอำเภอระโนด จะเข้าไปกราบบูชาสรีระของท่านเพื่อขอพร ขอบารมี คุณงามความดีของหลวงพ่อมาคุ้มครองปกป้องรักษาให้ประสพโชคดีมีความสุขสืบไป
     
  5. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    สงขลาเคยไปแค่สองครั้งเองค่ะ พัทลุงน้ำไปมาครั้งเดียวด้วยซ้ำค่ะ ไปแค่สามวัน พอดีเห็นเขาเล่าเรื่องหลวงปู่เปลื้องให้ฟังค่ะ กลับมาตอนนั้นเลยสนใจ แต่ไปมาปีเศษแล้ว ก็เลยเชิร์ทหาจากกูเกิ้ลนี่แระค่ะ จำไม่ได้ว่าเช่าเหรียญท่านจากศูนย์ไหน ลืมไปเลย แต่จำราคาเหรียญได้แน่นอนค่ะ รุ่นแรกตอนนั้นเช่ามาสองพันกว่าบาท รุ่นสองเช่ามา 800 นี่แระค่ะ เลยเช่ารุ่นแรกมา 2 เหรียญ รุ่นสองมา 3 เหรียญพร้อมกันเลย ได้มาก็เก็บลงกล่องจนลืมเลย พอดีช่วงนั้นไม่ได้สนใจเท่าไรเรื่องพระเครื่อง แต่เช่าเพราะเห็นชาวบ้านแถวนั้นเล่าให้ฟังกันค่ะ ไม่นึกว่าจะเจอเหรียญท่านในกล่อง
     
  6. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    พระเครื่องพ่อท่าน ปลอด วัดหัวป่า....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 2525.jpg
      2525.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.9 KB
      เปิดดู:
      1,193
    • f111.jpg
      f111.jpg
      ขนาดไฟล์:
      487.9 KB
      เปิดดู:
      315
    • f333.jpg
      f333.jpg
      ขนาดไฟล์:
      475.1 KB
      เปิดดู:
      476
    • p111.jpg
      p111.jpg
      ขนาดไฟล์:
      560.2 KB
      เปิดดู:
      466
    • mc36.jpg
      mc36.jpg
      ขนาดไฟล์:
      72.6 KB
      เปิดดู:
      225
    • mc4.jpg
      mc4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      27.2 KB
      เปิดดู:
      220
    • GetAttachment.jpg
      GetAttachment.jpg
      ขนาดไฟล์:
      32.1 KB
      เปิดดู:
      654
    • 444.jpg
      444.jpg
      ขนาดไฟล์:
      32.6 KB
      เปิดดู:
      230
  7. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD>อีกหนึ่งเกจิสุดยอดแห่งสงขลา</TD></TR><TR><TD vAlign=top>หลวงพ่อเล็ก วัดเจริญภูผา อ. รัตภูมิ จ. สงขลา
    วัดเจริญภูผามีฐานะเป็นวัดราษฎร์เล็กๆ ตั้งอยู่ที่ ต. คูหาไต้ อ. รัตภูมิ จ.สงขลา อาณาเขตของวัดด้านหนึ่งอยู่ติดกับเขาจุ้มปะชาวบ้านในพื้นที่จึงนิยมเรียกวัดนี้ติดปากกันว่า...."วัดจุ้มปะ"
    ตามประวัติวัดนี้สร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 2390 โดยพระสงฆ์รูปหนึ่งซึ่งชาวบ้านเรียกท่านกันว่า..."พ่อท่านในเมรุ"
    ไม่มีบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างวัดและเจ้าอาวาส เล่ากันแต่ว่าพ่อท่านในเมรุเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก เป็นพระสงฆ์ที่มีศักดิ์สิทธิ์มีอภินิหารเป็นที่นับถือกันมาก เมื่อพ่อท่านในเมรุมรณภาพไปแล้ว ก็ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับเจ้าอาวาสรูปต่อๆมา ทราบกันแต่ว่าเมื่อหลังจากพ่อท่านในเมรุมรณภาพแล้วต่อมาวัดจุ้มปะก็กลายเป็นวัดร้าง ไม่มีพระสงฆ์มาอยู่จำพรรษา
    วัดจุ้มปะนี้ร้างอยู่หลายปี ต่อมาก็ได้มีพระธุดงค์รูปหนึ่ง "พระสี" ได้แบกกลดเดินธุดงค์มาจาก รัฐกลันตัน มาเลเซีย ผ่านมาที่วัดจุ้มปะซึ่งขณะนั้นเป็นวัดร้าง แล้วได้พบกับอภินิหารของพ่อท่านในเมรุผู้สร้างวัดและเจ้าอาวาสรูปแรก จึงเกิดความศรัทธาได้ลงมือชวนชาวบ้านละแวกนั้นฟื้นฟูวัดจุ้มปะขึ้นใหม่จนมีความเจริญสู่สภาพเดิม หลังจากนั้นพระสีก็แบกกลดเดินธุดงค์ไปยังที่อื่นต่อไป เนื่องจากท่านเป็นพระธุดงค์ไม่ยึดติดกับสถานที่ ชาวบ้านซึ่งมีกำนันทับ จันทสุวรรณเป็นผู้นำ เกรงว่าหากไม่มีพระสงฆ์มาอยู่จำพรรษา วัดจุ้มปะก็คงจะกลายเป็นวัดร้างเหมือนเดิมอีก จึงพร้อมใจกันชวนไปนิมนต์หลวงพ่อเล็ก ซึ่งขณะนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดควนขันมาเป็นเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ. 2477 นับแต่หลวงพ่อเล็กมาเป็นเจ้าอาวาสวัดจุ้มปะ หรือ วัดเจริญภูผาก็มีความเจริญเรื่อยๆตามลำดับมาจนปัจจุบันนี้
    ประวัติของหลวงพ่อเล็กท่านเกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2447 ณ บ้านพรุพ้อ ต. ป่าบอนเหนือ อ. ปากพยูน จ. พัทลุง บิดาชื่อแสง มารดาชื่อแก้ว ครอบครัวของท่านประกอบอาชีพทำนาแต่ด้วยที่ท่านมีแว่วฉลาดมาแต่เล็กๆ บิดาจึงพาไปฝากให้เรียนหนังสือกับพ่อท่านไข วัดพรุพ้อซึ่งเป็นวัดที่อยู่ใกล้ๆบ้าน สมัยนั้นการเรียนหนังสือตามวัดนิยมเรียนหนังสือไทยและหนังสือขอมไปพร้อมๆกัน อีกทั้งพระสงฆ์ที่วัดยังหัดให้ท่องบทสวดมนต์ 7 ตำนาน และ 12 ตำนานอีกด้วย หลวงพ่อเล็กสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วพ่อท่านไข่เห็นหลวงพ่อเล็กมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด จึงไปขอโยมบิดามารดาหลวงพ่อเล็กให้ท่านบรรพชาเป็นสามเณรแต่หลวงพ่อเล็กไม่ยอม ต่อมาเมื่อหลวงพ่อไข่ลาสิกขาออกไป หลวงพ่อเล็กจึงออกจากวัดพรุพ้อกลับมาอยู่บ้านเหมือนเดิม
    หลวงพ่อเล็กมีความรักใคร่ในการขวนขวายหาความเรียนรู้อยู่เสมอเมื่อกลับมาอยู่บ้านแล้วแต่ก็ยังคิดอยากจะหาความรู้ศึกษาเพิ่มเติมอีกจึงขออนุญาตโยมบิดามารดาไปเรียนต่อยังสำนักอื่นๆซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปแต่โยมทั้งสองเป็นห่วงไม่อยากให้ออกไปอยู่ไกลบ้าน หลวงพ่อเล็กจึงต้องเล่าเรียนตามสำนักต่างๆ ซึ่งอยู่ละแวกใกล้ๆบ้านแทน
    ครั้งเมื่ออายุครบบวช โยมบิดามารดาจึงพาหลวงพ่อเล็กไปฝากกับพ่อท่านมหาลอย วัดแหลมจาก ต.ปากรอ อ.เมือง จ. สงขลา พ่อท่านมหาลอยจึงเป็นอุปัชฌาย์จัดการอุปสมบทหลวงพ่อเล็กเป็นพระภิกษุ ได้รับนามฉายาว่า "ลัมภโก"
    สำหรับพ่อท่านมหาลอยผู้เป็นอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อเล็กนี้ ก็นับได้ว่าเป็นพระสงฆ์ผู้มีบารมีความศักดิ์สิทธิ์สูงมากท่านหนึ่งของภาคใต้เมื่อยุคสมัยหลายสิบปีมาแล้ว มีอภินิหารเป็นที่เล่าลือกันอย่างกว้างขวาง เป็นที่นับถือศรัทธาของชาวบ้านในชายแดนภาคใต้ตอนล่างไปตลอดถึงในประเทศมาเลเซียเหรียญพ่อท่านมหาลอยรุ่นแรกแม้จะเป็นเหรียญตาย แต่ก็มีประสบการณ์มากจนกลายเป็นเหรียญยอดนิยมราคาหลักหมื่นของภาคใต้ และหายากมากจนกระทั่งทุกวันนี้
    อุปสมบทแล้วหลวงพ่อเล็กได้กราบลาพ่อท่านมหาลอยไปจำพรรษาที่ วัดพรุพ้อ บ้านเกิดจากนั้นก็ได้ออกธุดงค์และแสวงหาความรู้เพิ่มเติมตามสำนักต่างๆ แล้วก็ไปจำพรรษาที่วัดควนขัน ที่นี่เองที่กำนันทับ จันสุวรรณมานิมนต์ไปจำพรรษาที่วัดจุ้มปะ ครั้งแรกหลวงพ่อเล็กปฏิเสธไปก่อน ต่อมากำนันทับกับชาวบ้านชวนกันยกขบวนมานิมนต์อีก ท่านเห็นว่าชาวบ้านมีความศรัทธาแน่วแน่ จึงรับนิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาสวัดจุ้มปะนับแต่นั้นมา
    แรกๆที่มาอยู่วัดจุ้มปะ หลวงพ่อเล็กอยู่ในฐานะเจ้าอาวาสอย่างไม่เป็นทางการ แต่ก็ได้ชักชวนชาวบ้านพัฒนาทำนุบำรุงจนวัดมีความเจริญขึ้นตามลำดับซึ่งก็ใช้เวลาอยู่นานหลายปี จนกระทั้งถึงปี พ.ศ. 2494 ทางคณะสงฆ์จึงแต่งตั้งหลวงพ่อเล็กเป็นเจ้าอาวาสวัดจุ้มปะอย่างเป็นทางการ
    หลวงพ่อเล็กนับว่าเป็นพระสงฆ์ที่ใจดีมีเมตตาแก่ชาวบ้านทั่วไป ให้การต้อนรับแก่ผู้คนที่มาหาโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ กิตติศัพท์ความศักดิ์สิทธิ์ของท่านแพร่ขยายทั่วไป และแผ่ขยายเข้าไปถึงในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์แม้ว่าต้อนปลายๆอายุท่านอาพาธด้วยโรคชรา แต่ก็ยังคงต้อนรับแก่ชาวบ้านที่ศรัทธามานมัสการอย่างเต็มที่จนกระทั่งร่างกายทรุดโทรมตามลำดับในที่สุดท่านก็ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 รวม อายุ 78 ปี คงทิ้งไว้แต่คุณงามความดี และวัตถุมงคลเป็นที่นิยมศรัทธามาจนตราบเท่าทุกวันนี้
    สมัยที่อุปสมบทใหม่ๆ หลวงพ่อเล็กท่านเห็นชาวบ้านหลายคนมีความทุกข์ทรมานจากการเป็นโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ทั้งนี้ก็เนื่องจากสมัยก่อนวิชาการแพทย์ยังไม่เจริญเหมือนอย่างทุกวันนี้ เมื่อเป็นโรคภัยไข้เจ็บหรืออันตรายต่างๆ ก็ได้แต่หวังพึ่งพาหมอยาตามบ้าน ท่านจึงได้ศึกษาวิชาการแพทย์แผนโบราณเพื่อหวังช่วยเหลือสงเคราะห์ชาวบ้านที่เดือดร้อนจากเรื่องเหล่านี้ปรากฏว่าวิชาการแพทย์แผนโบราณของหลวงพ่อเล็ก สามารถรักษาคนเป็นโรคภัยไข้เจ็บและอันตรายต่างๆ จนเป็นที่เล่าลือกันอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ท่านยังได้เรียนวิชาไสยศาสตร์เพิ่มเติมหลายแขนง เช่น การปลุกเสกลงอักขระเลขยันต์ การถอดถอนคุณไสย โหราศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งความชำนาญทางไสยศาสตร์นี่แหละครับที่ทำให้หลวงพ่อเล็กมีกิตติศัพท์เป็นที่นับถือศรัทธามาตั้งแต่ตอนหนุ่มๆครั้งมาอยู่ที่วัดจุ้มปะแรกๆ กันเลย
    ในบรรดาวิชาไสยศาสตร์ที่หลวงพ่อเล็กท่านได้ศึกษามาจนเชี่ยวชาญก็มีอยู่วิชาหนึ่งที่เป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างน่าทึ่ง! และก็ดูเหมือนจะมีหลวงพ่อเล็กเพียงหนึ่งเดียวที่สามารถใช้วิชาแขนงนี้อย่างได้ผล เพราะนับแต่หลวงพ่อเล็กมรณภาพไปแล้ว ก็ไม่ได้ยินข่าวว่ามีใครสามารถใช้วิชานี้ได้เหมือนอย่างท่าน วิชาที่ว่านี้ก็คือ....
    วิชาปราบผีเสื้อ
    วิชาปราบผีเสื้อก็เป็นวิชาที่ช่วยให้สามีภรรยาที่อยู่กินกันมานานแต่ไม่มีบุตร เมื่อชวนกันมาหาท่านให้ช่วยเหลือ หลวงพ่อเล็กท่านก็จะเอาวันเดือนปีเกิดของทั้งคู่ มาคำนวณตามตำราทางโหราศาสตร์ จากนั้นก็จะพบว่าไม่สามีหรือภรรยาคนใดคนหนึ่งเป็น "ผีเสื้อยักษ์" หากว่าสามีหรือภรรยาคนใดคนหนึ่งเป็นผีเสื้อยักษ์ ก็จะคอยกินบุตรที่จะมาเกิด จึงทำให้สามีภรรยาคู่นั้นถึงอยู่กินมานานก็จะไม่มีบุตรสืบสกุล
    เมื่อมาให้ช่วยเหลือให้มีบุตร หลวงพ่อเล็กก็จะหาฤกษ์ประกอบพิธี แล้วให้สามีภรรยาคู่นั้นนำข้าวสาร 3 กำมือ ไก่เป็นๆ 1 ตัว ถ้าผู้ชายเป็นผีเสื้อยักษ์ให้ใช้ไก่ตัวผู้ แต่ถ้าผู้หญิงเป็นผีเสื้อยักษ์ก็ให้ใช้ไก่ตัวเมีย แล้วก็มีหวายยาว 3 วา ตามขนาดของแขนตัวเองผู้เป็นผีเสื้อยักษ์ และก็มีดอกไม้ ธูปเทียน กับหมากพลู 3 คำ เมื่อได้ฤกษ์หลวงพ่อเล็กท่านจะนำหวายที่เตรียมมาขดเป็นวงกลมแล้วมัดปลายด้วยสายสิญจน์แล้วให้สองสามีภรรยาอุ้มไก่เข้าไปนั่งในวงหวาย โดยนั่งอยู่ตรงหน้าสามีภรรยาทั้งสองพร้อมด้วยขันใส่ข้าวสาร แล้วก็บริกรรมคาถาตามตำรา จากนั้นท่านก็จะลุกขึ้นเดินวนไปทางด้านขวารอบสามีภรรยา พร้อมกับซัดข้าวสารใส่สองสามีภรรยาที่เข้าพิธี แล้วก็ให้กรวดน้ำรับพรหลังจากนั้นหลวงพ่อเล็กก็จะภาวนาแล้วยกวงแหวนนั้นขึ้น ให้สองสามีภรรยาช่วยกันปัดไก่ออกจากวงหวายนั้น แล้วก็ให้อุ้มไก่ไปปล่อย ก็เป็นอันเสร็จพิธี หลังจากทำพิธีไม่นานสองสามีภรรยาก็จะมีบุตรสมตามความปรารถนา
    เรื่องนี้ก็นับว่าเป็นที่เลื่องลือกันมาก เพราะมีหลักฐานรูปเด็กทารกที่เกิดจากสามีภรรยาที่มาทำพิธีปราบผีเสื้อกับหลวงพ่อเล็ก แขวนอยู่ภายในกุฏิหลวงพ่อเล็กหลายร้อยภาพ ซึ่งเป็นรูปที่สามีภรรยาเมื่อทำพิธีกับหลวงพ่อเล็กแล้วได้บุตรสมตามความปรารถนา นำมาถวายหลวงพ่อเหมือนกับว่าเป็นบุตรบุญธรรม แล้วที่มีบุตรแต่ไม่ได้นำรูปมาถวายหลวงพ่อก็มีอีกมาก วิชาปราบผีเสื้อของหลวงพ่อเล็กจึงเป็นวิชาไสยศาสตร์ที่มหัศจรรย์มาก เพราะไม่เคยได้ยินว่ามีใครที่ไหนบ้างที่ทำวิชานี้ ทั้งนี้ก็ไม่ได้ข่าวว่าหลวงพ่อเล็กได้ถ่ายทอดวิชานี้ให้กับใครบ้าง? "เข้าใจว่าวิชาปราบผีเสื้อนี้คงจะเป็นวาสนาหรือวิชาเฉพาะของท่านที่มีบารมีจะทำได้เท่านั้น"
    ในบรรดาวัตถุมงคลของหลวงพ่อเล็กที่มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือ และได้รับความนิยมกันกว้างขวางก็คือ "ตะกรุด" กิตติศัพท์ของตะกรุดหลวงพ่อเล็กมีกิตติศัพท์เป็นที่รู้จักกันมาก่อนปี พ.ศ. 2500 เสียอีกหลายปี เมื่อครั้งที่ทางรัฐบาลจัดสร้างพระเครื่องฉลองกึ่งพุทธกาล หรือที่เรียกว่าพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ ทางการได้มีหนังสือไปขอแผ่นยันต์และตะกรุดของพระเกจิอาจารย์ผู้มีวิทยาคมทั่วประเทศ เพื่อนำมาหลอมเป็นชนวนศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษเนื้อชิน ครั้งนั้นก็มีหนังสือมาขอตะกรุดจากหลวงพ่อเล็กเพื่อนำไปหลอมเป็นชนวนด้วยเช่นกัน
    ตะกรุดหลวงพ่อเล็กมีหลายชนิด เช่น ตะกรุดโทน ตะกรุดโสฬส ตะกรุดมหารูด ตะกรุดเมตตามหานิยม ตะกรุดพระเจ้าห้าพระองศ์ ตะกรุดพระเจ้าสืบชาติ ตะกรุดจันทร์เพ็ญ ฯลฯ การทำตะกรุดแต่ละครั้งจะยึดถือแบบตามตำราอย่างเคร่งครัด นอกจากจะมีการเรียกสูตรอักขระและลงด้วยมือทุกดอกแล้ว ก็มีการกระทำกันตามฤกษ์พิธีของตำราด้วย ตะกรุดหลวงพ่อเล็กท่านทำเองไม่เคยนำไปเข้าพิธีพุทธาภิเษก หรือไปขออาจารย์อื่นช่วยปลุกเสกให้ เพราะท่านมั่นใจในคุณวิเศษของท่านเองเหมือนพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าๆทั้งหลาย คือถ้าไม่มั่นใจและไม่แน่ใจจริงๆแล้วก็ไม่สร้างเด็ดขาด
    สมัยที่หลวงพ่อเล็กยังมีชีวิตอยู่ เมื่อมีชาวบ้านไปขอตะกรุดท่านก็จะประสิทธิ์ประสาทให้ด้วยตัวท่านเอง สำหรับตะกรุดของหลวงพ่อเล็กก็มีข้อห้ามอยู่ 2 ข้อ คือ...
    1. ห้ามดื่มสุราขณะมีตะกรุดอยู่กับตัว
    2. ห้ามสตรีจับต้องตะกรุดอย่างเด็ดขาด
    การที่ห้ามดื่มสุราขณะมีตะกรุดติดอยู่กับตัว ก็เพราะว่าหลวงพ่อเล็กท่านเกลียดพวกนักเลงสุรา ท่านบอกว่าคนที่ดื่มสุรามักหมดความเป็นคน คือเมื่อเมามากๆ ก็สามารถทำอะไรผิดอย่างคนดีเขาไม่ทำกัน และยังถือว่าผิดศีลข้อห้าอีกด้วย เมื่อผิดศีลข้อห้าเพียงข้อเดียว ก็สามารถทำผิดศีลข้ออื่นๆได้โดยเผลอตัวหรือประมาทก่อนที่ใครจะรับตะกรุดไปจากหลวงพ่อเล็ก ท่านจะห้ามไม่ให้ดื่มสุราขณะมีตะกรุดอยู่กับตัวเด็ดขาด ถ้าอดไม่ได้ก็ให้ถอดตะกรุดออกจากตัวก่อน หรือถ้าเผลอดื่มสุราโดยลืมถอดตะกรุดออกจากตัว เมื่อนึกได้ก็รีบถอดตะกรุดออกจากตัวทันที แล้วเอาตะกรุดไปแช่น้ำ แล้วเอาน้ำนั้นมาลูบหน้า พร้อมกับขอขมาครูบาอาจารย์เสีย แต่ท่านบอกว่าอย่าได้เผลอแบบนี้ บ่อยนัก เพราะเข้าตัวแล้วจะรักษาลำบาก
    ส่วนที่ห้ามสตรีจับต้องตะกรุดอย่างเด็ดขาดนี้ ก็เพราะว่าเกิดผู้หญิงมีรอบเดือนก็จะเป็นปฏิปักษ์ต่ออาคมที่ลงในตะกรุด เพราะไม่อาจทราบได้ว่าสตรีใดบ้างกำลังมีรอบเดือน จึงเป็นการห้ามเสียก่อนแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่เป็นการประมาท
    พูดถึงตะกรุดหลวงพ่อพ่อเล็กก็มีประสบการณ์มากเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว อานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ก็เป็นเช่นที่ตำราบอกเอาไว้ทุกประการ ตะกรุดของท่านขนาดทำด้วยตะกั่วซึ่งเป็นโลหะที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ แต่ตกอยู่ท่ามกลางกองไฟตะกรุดก็ยังไม่ไหม้ไฟเลยครับ......
    วัตถุมงคลพ่อท่านเล็ก(ด้านล่างคือที่ผมมีอยู่ครับ)มีบางชิ้นที่ไม่ได้ถ่ายภาพครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • hn.jpg
      hn.jpg
      ขนาดไฟล์:
      114.8 KB
      เปิดดู:
      270
    • ffff.jpg
      ffff.jpg
      ขนาดไฟล์:
      4.3 KB
      เปิดดู:
      170
    • SSCN2112.jpg
      SSCN2112.jpg
      ขนาดไฟล์:
      26.7 KB
      เปิดดู:
      178
    • SSCN2111.jpg
      SSCN2111.jpg
      ขนาดไฟล์:
      27.5 KB
      เปิดดู:
      159
    • SSCN2109.jpg
      SSCN2109.jpg
      ขนาดไฟล์:
      24.4 KB
      เปิดดู:
      175
    • SSCN2110.jpg
      SSCN2110.jpg
      ขนาดไฟล์:
      27.2 KB
      เปิดดู:
      188
  8. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    แว่บไปนครศรีธรรมราช.....กับท่านสุดยอดเกจิผู้นี้ครับ

    <CENTER>[​IMG]
    </CENTER>
    [FONT=ms Sans Serif, Thonburi, DB ThaiTextFixed]ประวัติ พ่อท่านหีต ปภังกโร วัดเผียน

    “พ่อท่านหีต” พระอธิการหีต ปภงฺกโร ท่านนั้นเกิดในตระกูลชาวนาที่ ต.ถ้ำทอง อ.ทับปุด จ.พังงา ในตระกูลสกุล “บุญมา” เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2459 บิดาชื่อ “นายนอง” มารดาชื่อ “นางเหลื่อม” ท่านเป็นบุตรชายคนเดียว จึงเป็นกำลังหลักของตระกูลชาวนาที่ต้องช่วยพ่อ-แม่ทำนาจนอายุได้ ๑๙ ปี จึงไปอยู่ที่ “วัดโคกลอย” โดยบิดาพาไปฝากเป็นศิษย์ของ “พ่อท่านรักษ์ วัดโคกลอย” แล้วให้บวชเป็นสามเณรโดย “พระครูภาณีศรีระวัฒน์” แล้วจำพรรษาศึกษาธรรมและอักขระเลขยันต์ทางไสยศาสตร์ ตลอดจนวิปัสสนาธุระกับ “พ่อท่านรักษ์” ได้ 2 พรรษา จึงมีอายุ 21 ครบอุปสมบทตามประเพณี

    จึงทำการอุปสมบทเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2479 ณ อุโบสถวัดชนาธิการาม (สำนักปรุ) ต.นพปริง อ.เมือง จ.พังงา โดยมี “พระปฏิภาณพังงารัฏธ์” เจ้าคณะจังหวัดพังงา “วัดประภาสประจิมเขต” เป็นพระอุปัชฌาย์ “พระวินัยธรรักษ์” (รักษ์ สิริวัฒโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ฉายาว่า “ปภังกโร” หลังจากอุปสมบทแล้วได้กลับไปจำพรรษาที่วัดโคกลอยอีก 1 พรรษา จึงออกธุดงค์ไปจนถึงภูเก็ต ในปี พ.ศ. 2480 และเข้าจำพรรษาที่ “วัดโฆษิตวิหาร” เพื่อศึกษาธรรมะกับ “พระครูสีขะรัตนสมณคุณ วัดมงคลนิมิตร” ครั้นถึงปี พ.ศ. 2483 จึงย้ายไปจำพรรษาที่ “วัดพิชิตสังฆาราม” ต.สินไนย อ.เมือง จ.ภูเก็ต จนสามารถสอบนักธรรมเอกได้ในปี พ.ศ. 2486 เมื่อศึกษาธรรมะจนมีความรู้แจ้งแตกฉานดีแล้ว จึงออกธุดงค์เรื่อยไปเพื่อฝึกฝนการปฏิบัติตามขุนเขาลำเนาไพรระหว่างทางพบ “ถ้ำเขาแดง” สงบวังเวงเหมาะแก่การปฏิบัติธรรมจึงเข้าพักปฏิบัติภาวนาอยู่นาน 12 ปี กระทั่งถึงปี พ.ศ. 2500 ชาวบ้านมาพบท่านเข้าเห็นมีศีลาจารวัตรน่าศรัทธาเลื่อมใส ปฏิบัติธรรมอยู่ในถ้ำอย่างวิเวก จึงร่วมกันนิมนต์ให้ท่านลงจากถ้ำมาอยู่ วัดเผียน ตรงบริเวณเชิงเขาแห่งนั้นแล้วช่วยกันจัดแจงปรับปรุง “วัดร้าง” ให้มีสภาพคืนมาสู่วัดไม่ร้างอีกครั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา

    หลังจาก “พ่อท่านหีต” ปักหลักตามคำนิมนต์ของชาวบ้านอยู่ที่ “วัดเผียน” ได้ไม่นานก็เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านทั่วไปกระทั่งวันหนึ่งมีผู้เดือด ร้อนเรื่อง “เงินทอง” ไม่มีทางแก้ไขจึงไปหาท่านเพื่อขอให้ท่านช่วยซึ่งพอท่านทราบ ก็ทำการพิจารณาเห็นว่าไม่มีทางอื่นใดจะช่วยได้เพราะโดยปกติแล้วมีผู้ไปขอ “เลขหวย” อยู่เสมอแต่ท่าน “ไม่เคยให้ใคร” กลับสอนว่าให้ขยันทำมาหากินก็จะเจริญรุ่งเรืองอย่าไปหวัง กับการเล่นการพนัน แต่วันนั้นท่านพิจารณาเห็นความจำเป็นหรือล่วงรู้กาลชะตาโชคของชายผู้นั้นก็ ไม่อาจทราบได้ จึงแนะให้ชายผู้นั้นไปแทงเลขตาม “เถ้าแก่หว่าซาน” (คุณวรศักดิ์ อดิเทพวรพันธ์) อ.ทุ่งสง แล้วจะได้เงินมาแก้ปัญหาซึ่งชายผู้นั้นก็ไม่เคยรู้จักกับเถ้าแก่หว่าซานมา ก่อนหรือแม้กระทั่ง “พ่อท่านหีต” เองก็ไม่รู้จักเถ้าแก่หว่าซานเช่นกันแต่ด้วยปัญหาการเงินที่เดือดร้อน จึงทำให้ชายผู้นั้นไปสืบเสาะหาจนพบแล้วตัดสินใจถาม “งวดนี้แทงเลขอะไร” เถ้าแก่หว่าซานไม่ทันตั้งตัวเพราะจู่ ๆ ก็มีคนไม่รู้จักมาถามจึงบอกเลขไปแบบไม่รู้ตัว ชายผู้นั้นจึงนำเลขนั้นไปซื้อตามที่ได้มาปรากฏว่า งวดนั้นเลขออกมาตรงพอดีจึงรวยกันไปทั้งผู้บอกและผู้ถาม

    พระเครื่องพ่อท่านหีต ปภังกโร วัดเผียน

    จึงนับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่งที่ หลวงพ่อท่านหีต ล่วงรู้กาลอนาคตได้อย่างแม่นยำเหมือนตาเห็น และรู้แม้กระทั่งชื่อของผู้ที่จะซื้อเลขถูก เพียงแต่พ่อท่านไม่บอกโดยตรงกับชายผู้นั้น ท่านคงเลี่ยงที่จะบอกเลขบอกหวยตามคติของท่านก็เป็นได้ จึงได้บอกอ้อม ๆ ให้ชายผู้นั้นใช้ความเพียรพยายาม อย่างน้อยก็ได้ทำงานเสียบ้างเพื่อจะได้เงินไปแก้ไขปัญหา เพราะเรื่องการเงินท่านก็ไม่มีทางอื่นจะช่วยเหลือได้ ส่วนปาฏิหาริย์อีกเรื่องที่มีคนเห็นจำนวนมากเกิดขึ้นในงาน “สร้างถนน” ของชาวบ้าน ที่ “คุณกริช ตัญบุญยกิจ” ซึ่งเป็นพ่อค้าในตลาด “อำเภอร่อนพิบูลย์” เล่าว่าวันนั้นคุณกริชและพี่ชายได้ติดต่อซื้อหินมาถมถนนจาก “สามแยกห้วยไม้แก่น” เข้า “วัดเผียน” ระยะทางประมาณหนึ่งกิโลเมตร “พ่อท่านหีต” จึงขอแรงชาวบ้านละแวกนั้นช่วยกันเกลี่ยหิน “คุณกริช” และพี่ชายก็ยืนดูด้วยและหลังจากถมได้ประมาณ “ครึ่งกิโลเมตร”

    พระอธิการหีตก็บอกว่าเดี๋ยวฝนตกจึงชวนคุณกริชและพี่ชายกลับเข้าวัดก่อน แต่พี่ชายคุณกริชบอกว่าเอารถมาจึงให้พ่อท่านกลับก่อน แต่ความจริงแล้วคุณกริชและพี่ชายต้องการ “ทดสอบพ่อท่านหีต” ว่าจะเป็นตามที่เขาเล่าลือกันว่า “พ่อท่านย่นหนทางได้” จริงแค่ไหนดังนั้นหลังจากพ่อท่านหีตเดินลับทางโค้งไปแล้ว ก็ขึ้นรถสตาร์ตเครื่องแล้วขับตามทันที กระทั่งขับรถไปถึงทางโค้งที่เห็นหลังพ่อท่านไว ๆ ตอนขึ้นรถกลับไม่เห็นท่านแล้ว จึงขับรถตามไปยังกุฏิก็เห็นพ่อท่านนั่งอยู่แล้วพี่ชายคุณกริชรีบทักพ่อท่าน ว่า “พ่อท่านเดินเร็วจังเลย” พ่อท่านตอบว่า “ต้องเดินเร็ว ๆ เพราะเดี๋ยวฝนจะตกแล้ว” พี่ชายคุณกริชจึงทักท้วงขึ้นว่า “ฝนจะตกได้ยังไงเพราะแดดก็จ้าฟ้าก็สว่าง” พ่อท่านจึงตอบว่า “ฝนตกแล้ว” พอคุณกริชและพี่ชายหันไปดูอีกทีปรากฏว่า “ฝนตกจริง ๆ” จึงนับได้ว่า “พ่อท่านหีต” มีปาฏิหาริย์โดยแท้จริงหากท่านผู้อ่านต้องการรู้เห็นด้วยตัวเองแล้ว เดินทางไปสอบถามชาวบ้าน “อำเภอร่อนพิบูลย์” ได้ทุกเวลา

    พ่อท่านมีชีวิตถึงปี พ.ศ. 2533 ก็ละสังขารจากไปด้วยวัย 74 ปี ทิ้งร่างเอาไว้ให้ลูกหลานและศิษย์ได้กราบไหว้บูชาสืบมาจนทุกวันนี้.
    [/FONT]
    [FONT=ms Sans Serif, Thonburi, DB ThaiTextFixed]และอีกหนึ่งวัตถุมงคลของท่านที่ผมเคยมี ชิ้นอื่นมิได้ถ่ายรูปไว้ครับ[/FONT]
    [FONT=ms Sans Serif, Thonburi, DB ThaiTextFixed]เป็นผ้ายันต์เขียนมือ(พ่อท่านเขียนให้ศิษย์ท่านครับ) ยาวเป็นวาครับ

    [/FONT]​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • gggg.jpg
      gggg.jpg
      ขนาดไฟล์:
      15.3 KB
      เปิดดู:
      309
  9. KT_PK

    KT_PK เชิญบูชาพญาแมงภู่คำ เพื่อสร้างโรงเรียนเชื้อชาติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    271
    ค่าพลัง:
    +873
    มีประวัติส่วนหนึ่งของพ่อท่านหีตที่ผมจำได้จากหนังสือลานโพธิ์ในยุคก่อน
    คืออภินิหารของท่าน ที่มีคนเห็นท่านสรงน้ำในกาน้ำ
    จำได้เลาๆว่า มีชายคนสงสัยว่าท่านไม่อยู่ กุฏิท่านปิดประตู แต่ได้ยินเสียงจากข้างใน
    ก็เลยมองลอดช่องดู พบว่าท่านย่อตัวเหลือตัวเล็กๆ และสรงน้ำในกาน้ำ
    เขาถึงกับตกตะลึงในภาพที่เห็นนั้น

    เท่าที่จำได้ วัดเผียน อยู่ไม่ไกลนักจากวัดถลุงทอง ที่พ่อท่านคลิ้งจำพรรษา
     
  10. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    ขอบคุรท่านKTPKที่ร่วมแจมครับผม มีประสบการณ์อื่นๆมาลงแบ่งปันกันนะครับ..........ผมเคยได้ยินเหมือนกันที่พ่อท่านสรงน้ำในกา มีเกจิอีกท่านที่มีเพื่อนของรุ่นน้องผมเห็นมากับตา ท่านสรงน้ำในขันครับ ท่านคือ พ่อท่านทอง วัดเขาป้าเจ้ ครับ.......
     
  11. KT_PK

    KT_PK เชิญบูชาพญาแมงภู่คำ เพื่อสร้างโรงเรียนเชื้อชาติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    271
    ค่าพลัง:
    +873
  12. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    ผมไม่เเน่ใจว่าสังขารท่านยังอยู่หรือไม่อ่ะครับ เดี๋ยวไปสืบให้ครับ.........แต่ที่เเน่ๆเค๊าเเอบเก็บกันครับสำหรับ วัถุมงคลของพ่อท่าน.....ส่วนที่ท่านสรงน้ำในขัน ผมคงต้องไปเรียงร้อยข้อมูลให้ดูดีนิดนึงครับ เนื่องจากรุ่นน้องผมเค้าเล่าให้ผมฟังนานเเล้วเหมือนกัน จำไม่เเม่น เดี๋ยวต้องไปถามใหม่ครับ แต่อันนี้นี่ประสบการณ์ตรงเลยครับ...........
     
  13. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    ท่านเป็นเกจิสายเมตตาแห่งนครศรีธรรมราชครับ.....วันนี้ สวัสดี ยามเช้าวันใหม่กับ ประวัติพ่อท่านนี้ครับ..........
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE height=180 cellSpacing=1 cellPadding=2 width=180 bgColor=#003300><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=white>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD>ประวัติ หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ
    หลวงพ่อมุ่ย เป็นที่เคารพของลูกศิษย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านอย่าง มาเลเซียสิงคโปร์ และฮ่องกง ท่านเปรียบเสมือน “อริยสงฆ์แห่งแดนทักษิณ” ใครที่เคยไปกราบสักการะท่านจะรู้ว่า ท่านมีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดมาก ถวายเงินทองท่านจะไม่รับอย่างเด็ดขาด
    รูปหลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ
    ประวัติหลวงพ่อมุ่ย จนฺทสุวณฺโณ หรือ "พระครูนิโครธจรรยานุยุต แห่งวัดป่าระกำเหนือ"
    นามเดิมของท่านชื่อมุ่ย ทองอุ่น บิดาชื่อ นายทองเสน ทองอุ่น มารดาชื่อ นางคงแก้ว ทองอุ่น ท่านเกิดเมื่อวันอังคารที่ ๔ เมษายน 2442 ณ บ้านป่าระกำ หมู่ที่ 6 ตำบลป่าระกำ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ท่านมีพี่น้องทั้งหมด 8 คน หลวงพ่อมุ่ยเป็นบุตรคนที่สองของตระกูล ทองอุ่น
    พระครูนิโครธจรรยานุยุต (มุ่ย จนฺทสุวณฺโณ)
    หลวงพ่อมุ่ย ได้บรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2462 ณ วัดป่าระกำเหนือ อำเภอปากพนัง และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูนิโครธจรรยานุยุต เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๘ และในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดป่าระกำเหนือและเจ้าคณะตำบลป่าระกำ ในปีเดียวกัน
    วัดป่าระกำเหนือ
    หลวงพ่อมุ่ย ได้ไปศึกษาด้านวิปัสสนาธุระกับอาจารย์จืด และอาจารย์ศักดิ์ วัดถ้ำเขาพลู อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร และได้ออกธุดงค์วัตรในป่าลึกแถบจังหวัดชุมพรประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี และราชบุรี เป็นเวลาหลายปี ร่วมกับหลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นพระสหธรรมิก ที่รักใคร่นับถือกันมาก
    หลวงพ่อมุ่ย เป็นพระวิปัสสนาธุระ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นเลิศ นอกจากนั้นยังมีความรู้ด้านต่าง ๆ อีกมาก เป็นหมอยาสมุนไพร เป็นผู้รู้เวทมนต์คาถา เป็นพระนักเทศน์ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่เคารพนับถือของคนทั่วไป
    หลวงพ่อมุ่ย นับเป็นพระเถระที่มากด้วยเมตตาบารมีล้ำเลิศของภาคใต้ ที่ประพฤติพรหมจรรย์ มั่นคงยาวนานปี ศีลาจารวัตรเรียบร้อย เป็นที่เคารพนับถือของญาติมิตรและศิษยานุศิษย์ ตลอดจนบุคคลทั่วไป
    นับเป็นพระสุปฏิปันโนรูปหนึ่งของเมืองนครศรีธรรมราช ที่ทรงคุณธรรม อย่างสูงส่ง มีอัธยาศัยโอบอ้อมอารีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อคนทุกระดับชั้น เพราะเหตุนี้เองชาวบ้านจึงขนานนามให้ท่านเปรียบเสมือน “อริยสงฆ์แห่งแดนทักษิณ” อย่างแท้จริง
    หลวงพ่อมุ่ย ท่านมีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดมากในพระธรรมวินัยมาก หลวงพ่อมุ่ยท่านจะไม่จับต้องเงินทอง และไม่สะสมสมบัติของมีค่า ในกุฏิของท่านจึงไม่มีของมีค่าอะไรเลย ใครถวายอะไรให้ท่าน หากมีคนอื่นมาขอต่อท่านก็จะยกให้ทันทีโดยไม่มีความเสียดายอะไรทั้งสิ้น หลวงพ่อมุ่ย ท่านฉันเอกา (มื้อเดียวใน ๑ วัน) หลวงพ่อมุ่ย ท่านจำพรรษาอยู่หลายวัด แต่วัดที่ส่วนใหญ่ผู้คนรู้จักกันคือ วัดป่าระกำเหนือ และ วัดบางบูชา เนื่องจากท่านได้สร้างพระเครื่องจนเป็นที่โด่งดังและหลายๆคนต้องการคือ พระปิดตาน้ำนมควาย พระปิดตาพ่อท่านมุ่ย จะสร้างทั้งวัดบางบูชาและวัดป่าระกำเหนือ
    รูปหลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ
    หลวงพ่อมุ่ย เป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ในพิธีพุทธาภิเษก จตุคามรามเทพ รุ่นแรก ปี ๒๕๓๐ พระเครื่องและวัตถุมงคลของพ่อท่านมุ่ย แต่ละชนิดแต่ละรุ่น เช่นพระปิดตา พระพิมพ์ประทานพร ลูกอม หลวงพ่อจะปลุกเสกเดี่ยว ทั้งนั้น ตามหลักของพระเกจิสายใต้สมัยก่อน คือบินเดี่ยว ไม่มั่นใจไม่สร้าง เพราะมั่นใจในวิชาความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาอย่างมั่นใจ และได้ปลุกเสกอยู่นานเป็นปีหรือหลายปี จึงจะมอบให้คนนำไปบูชา เพราะท่านทำด้วยใจรักและศรัทธามั่น ก่อนนำวัตถุมงคลไปใช้ พ่อท่านท้าให้นำไปลองก่อน ถ้าไม่มั่นใจจะไม่ยอมให้ใครเอาไปใช้
    หลวงพ่อมุ่ยได้ถึงแก่มรณภาพ ด้วยโรคชรา เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๓๕ เวลา ๔ นาฬิกา ๔๖ นาที สิริอายุได้ ๙๓ ปี ๑ เดือน ๑๘ วัน และจำนวน ๗๓ พรรษา
    วัตถุมงคลของท่านมีหลายชิ้นครับดังในรูปภาพ..
    1.รูปถ่ายออกวัด มีตราปั๊ม
    2.ชานหมากพ่อท่าน อันนี้จะต้องน้ำหนักเบา เเละเเข็งมากๆ
    ส่วนชิ้นอื่นนั้น ที่มีชื่อเสียงเเละราคาสูง จะเป็น พระปิดตาเนื้อผมปัทธมังผสมน้ำนมควาย รุ่นเเรก....ว่ากันว่าแขวนเดี่ยวสบายๆครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. puedpunon

    puedpunon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    7,130
    ค่าพลัง:
    +16,090
    แล้วรุ่นสองละครับเป็นอย่างไรบ้าง...???
     
  15. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    ในความรู้สึกส่วนตัวผม ผมว่าทันท่านก็สุดยอดพุทธคุณแล้วครับผม แต่รุ่นสองราคาต่างกันมากยังไม่แรง แต่น่าเก็บครับผม....แต่ผมแนะนำเหรียญรุ่นแรกครับ(ตอกโค๊ต ม เท่านั้นนะครับ) ทันท่านเเละราคาไม่แพงน่าเก็บครับ...............และก็ชานหมากครับ เอาไว้ใช้ดีแน่นอนครับ
     
  16. puedpunon

    puedpunon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    7,130
    ค่าพลัง:
    +16,090
    หัวหน้าผมเป็นคนปากพนังที่บ้านแกมีรูปถ่ายหลวงพ่อมุ่ยเก่ามาก ปิดทองเต็มเลย และก็มีชานหมากแกว่าแข็งเป็นหินเลย แกแขวนน้ำนมควายรุ่น๒ และเหรียญจัมโบ้พ่อท่านเนียมครับ
     
  17. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    สุดยอดครับ....เค้าว่าพ่อท่านมุ่ยเด่นทางเมตตามากครับ
     
  18. channarong_wo

    channarong_wo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    408
    ค่าพลัง:
    +1,510
    พอดีแอบมีกะเค้าบ้างหนึ่งองค์ครับ
    ว่ากันว่า...นี่ก็สุดยอดสายใต้ใช่มั๊ยครับ...
    ไม่ใช่คนใต้ครับ แต่คนใต้เป็นพี่น้องผมครับ...555
    แอบมีก็เลยขอโชว์บ้าง ช่วยวิจารณืด้วยนะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SSM12204-1.jpg
      SSM12204-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      175 KB
      เปิดดู:
      434
    • SSM12211-1.jpg
      SSM12211-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      123 KB
      เปิดดู:
      153
  19. มากับพระครับ

    มากับพระครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,153
    ค่าพลัง:
    +1,836
    เพิ่งเข้ามาอ่านครับ เยี่ยมมากๆเด๋วมีเวลาจะร่วมแนะนำเกจิสายใต้ที่ยังมีชีวิตอยู่ครับ เกจิทางใต้อำนาจสมาบัติสูงๆมากมายครับ ท่านเหล่านี้มรณภาพแล้วไม่เน่า
     
  20. puedpunon

    puedpunon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    7,130
    ค่าพลัง:
    +16,090
    ๓เกจิสายใต้ยุคเก่า

    ๓เกจิสายใต้ที่พอมีติดตัวครับ
    ๑.หลวงพ่อจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ
    ๒.พ่อท่านเขียว วัดหรงบน
    ๓.หลวงพ่อศรีแก้ว วัดไทรใหญ่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0016.JPG
      IMG_0016.JPG
      ขนาดไฟล์:
      121.5 KB
      เปิดดู:
      169
    • IMG_0017.JPG
      IMG_0017.JPG
      ขนาดไฟล์:
      108.8 KB
      เปิดดู:
      208
    • IMG_0019.JPG
      IMG_0019.JPG
      ขนาดไฟล์:
      118.4 KB
      เปิดดู:
      178
    • IMG_0020.JPG
      IMG_0020.JPG
      ขนาดไฟล์:
      113.7 KB
      เปิดดู:
      369
    • IMG_0014.JPG
      IMG_0014.JPG
      ขนาดไฟล์:
      109.8 KB
      เปิดดู:
      203
    • IMG_0015.JPG
      IMG_0015.JPG
      ขนาดไฟล์:
      105.9 KB
      เปิดดู:
      234
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...