ชมรมนักปฏิบัติธรรมและคนมีองค์

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Pleased, 30 พฤษภาคม 2009.

  1. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ตอนที่ 5 มหากรรมวิภังค์ (Mahakarmavibhangga) ต่อ

    ส่วนภาพสลักนูนต่ำเกี่ยวกับสวรรค์นั่น ไม่ได้แบ่งแยกออกอย่างชัดเจนเหมือนชั้นนรก แต่จะแสดงให้เห็นแดนสรวงสวรรค์ชั้นดุสิต นอกจากเป็นที่สถิตของต้นกัลปพฤกษ์ ซึ่งมีกลิ่นหอมไปทั่ว กล่าวกันว่ากลิ่นหอมนี้ สามารถทำให้ระลึกชาติได้ นอกจากนี้ ยังมีภาพสลักนูนต่ำของกินร (
    Kinon) ซึ่งมีกายท่อนร่างเป็นนก ส่วนกายร่างท่อนบนเป็นมนุษย์ อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ หากเป็นเพศชายเรียกว่า กินรา (Kinara) หากเป็นเพศหญิงเรียกว่า กินรี (Kinari)
     
  2. สมรปราง

    สมรปราง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2008
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +263
    ตามอ่านอยู่จ้าท่าน....หนุกดี อย่าลืมรวบรวมออกวางตลาดล่ะจะได้อุดหนุนซื้อสัก 2 เล่มเก็บไว้เล่มให้....ของข้าพเจ้าเล่มหนึ่ง....

    กัลปพฤกษ์นอกจากจะเชื่อว่าเปนต้นไม้ของศาสนาพระศรีอาริยเมตไตรยแล้วก็ยังให้ความหมายของ
    การปลูกเพื่อเปนมงคล...ถ้าเปนไปได้ก็ควรปลูกไว้ที่บ้านให้ครบทั้ง 4 ทิศเน้อ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มกราคม 2010
  3. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    รายนามผู้สมัครนักปฏิบัติธรรมรุ่นที่ 1 ประจำปี 2553

    ยินดีต้อนรับ เพื่อนคุณดวง


    รับจำนวน: 15 ท่าน

    1) คุณใหญ่
    2) คุณ Mike
    3) คุณแมว
    4) คุณเอ๋
    5) อาจารย์คุณหนุ่ม
    6) เพื่อนอาจารย์คุณหนุ่ม

    7) คุณเอก (นับถือศาสนาคริสต์)
    8) คุณนอร์ฐา
    9) คุณเอก
    10) คุณชนาภา
    11) เพื่อนคุณชนาภา

    12) เพื่อนคุณดวง

    ยอดผู้สมัคร จำนวน 12 ท่าน
    ยอดคงเหลือ จำนวน 3 ท่าน

    ยังสมัครได้อยู่ครับ
     
  4. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ตอนที่ 5 มหากรรมวิภังค์ (Mahakarmavibhangga) ต่อ

    พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ผลแห่งการกระทำที่เป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมนั้น จะปรากฏให้เห็น จะช้าหรือเร็ว ก็ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยจากภายนอกหลายๆ ประการ เช่น เวลา สถานที่ บุคลิกภาพ และวิธีปฏิบัติ”

    ดังนั้น กฎแห่งกรรมในพระพุทธศาสนา หมายถึง กฎของการกระทำ และผลของการกระทำ มีทั้งดีและชั่ว และทั้งที่เป็นกลาง ผลจากการกระทำนั้น แสดงออกได้ทั้ง กายกรรม มโนกรรม และวจีกรรม ส่วนสาเหตุของการประกอบกรรมเกิดมาจากความอยาก
    (ตัณหา) วิบากผลในการประกอบกรรมนั้น มีทั้งฝ่ายกุศล ฝ่ายอกุศล และฝ่ายที่เป็นกลางๆ <O:p</O:p


    สำหรับต้นเหตุแห่งอกุศลกรรมเกิดจากกิเลสทั้งสาม คือ โลภ โทสะ โมหะ ส่วนเหตุแห่งกุศลกรรม เกิดจากจาคะ เมตตา และปัญญา
    <O:p</O:p


    ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า
    “สัตว์โลกทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นแดนเกิด ทุกอย่างเกี่ยวกับกรรมและสนับสนุนโดยกรรมทั้งที่หยาบและประณีต”<O:p</O:p


    นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาบางส่วนที่สอดคล้องกับอรรถกถามหากัมมวิภังคสูตร
    ฝ่ายเถรวาท ฉบับภาษาบาลี โดยกล่าวสรุปใจความถึงบุคคล 4 จำพวก ที่ปรากฏอยู่ในโลกนี้ <O:p</O:p


    1. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ มักประพฤติผิดในกาม มักพูดเท็จ มักพูดส่อเสียด มักพูดคำหยาบ มักพูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิด ในโลกนี้ เมื่อเขาตายไปแล้ว เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดังนี้ก็มี<O:p</O:p

    กล่าวคือ บุคคลบางคนที่มักทำผิดศีล (ในภพชาติปัจจุบัน) ตายไปสู่อบายภูมิก็มี เป็นเพราะกรรมที่มีกำลังห้ามวิบากรรมไว้ หรืออกุศลกรรม (กรรมชั่ว) มีกำลังมากกว่าไปห้ามกุศลกรรม (กรรมดี) ที่มีกำลังน้อยกว่า ทำให้ต้องไปชดใช้กรรมในอบายภูมิ<O:p</O:p

    2. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ มักประพฤติผิดในกาม มักพูดเท็จ มักพูดส่อเสียด มักพูดคำหยาบ มักพูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิด ในโลกนี้ เมื่อเขาตายไปแล้ว เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ก็มี<O:p</O:p

    กล่าวคือ บุคคลบางคนที่มักทำผิดศีล (ในภพชาติปัจจุบัน) แต่ตายไปสู่สุคติก็มี เป็นเพราะกรรมที่มีกำลังห้ามวิบากรรมไว้ หรือกุศลกรรม (กรรมดี) มีกำลังมากกว่าไปห้ามอกุศลกรรม (กรรมชั่ว) ที่มีกำลังน้อยกว่า ทำให้ได้ไปสู่สุคติโลกสวรรค์<O:p</O:p

    3. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดจาเพ้อเจ้อ ไม่เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบในโลกนี้ เมื่อเขาตายไปแล้ว เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ก็มี<O:p</O:p


    กล่าวคือ บุคคลบางคนรักษาศีล
    (ในภพชาติปัจจุบัน) ตายไปสู่สุคติก็มี เป็นเพราะกรรมที่มีกำลังห้ามวิบากรรมไว้ หรือกุศลกรรม (กรรมดี) มีกำลังมากกว่าไปห้ามอกุศลกรรม (กรรมชั่ว) ที่มีกำลังน้อยกว่า ทำให้ได้ไปสู่สุคติโลกสวรรค์<O:p</O:p


    4. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดจาเพ้อเจ้อ ไม่เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบในโลกนี้ เมื่อเขาตายไปแล้ว เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดังนี้ก็มี<O:p</O:p


    กล่าวคือ บุคคลบางคนรักษาศีล
    (ในภพชาติปัจจุบัน) แต่ตายไปสู่อบายภูมิก็มี เป็นเพราะกรรมที่มีกำลังห้ามวิบากรรมไว้ หรืออกุศลกรรม (กรรมชั่ว) มีกำลังมากกว่าไปห้ามกุศลกรรม (กรรมดี) ที่มีกำลังน้อยกว่า ทำให้ต้องไปชดใช้กรรมในอบายภูมิ


    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2010
  5. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ตอนที่ 6 คัมภีร์ลลิตวิสตระ

    คัมภีร์ลลิตวิสตระเป็นคัมภีร์ว่าด้วยเรื่องพุทธประวัติ มีลักษณะการประพันธ์ขยายเนื้อความประวัติของพระพุทธเจ้าอย่างพิสดาร โดยเน้นเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ แสดงให้เห็นถึงพุทธสภาวะเหนือธรรมชาติ พุทธประวัติลักษณะนี้มักนิยมเรียกกันว่า ธรรมประวัติ เช่น ภาพแสดงพระพุทธเจ้าถูกแวดล้อมด้วยพระภิกษุ 12000 รูป และพระโพธิสัตว์ไม่น้อยกว่า 32000 องค์ และเหล่าเทวดาชั้นสุทธาวาสมากมายที่เข้าเฝ้าทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์แสดงพระสูตร ซึ่งเป็นธรรมบรรยายชื่อว่า ลลิตวิสตระ จุดประสงค์เพื่อให้สัตว์โลกบรรลุความหลุดพ้นและประสบสิ่งที่เป็นมงคลต่างๆ เนื้อเรื่องในคัมภีร์แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าตั้งแต่อยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต จนกระทั่งตรัสรู้ แล้วแสดงปฐมเทศนาเพื่อแสดงธรรมเป็นครั้งแรก

    คัมภีร์ลลิตวิสตระมีความคล้ายคลึงกับคัมภีร์ปฐมสมโพธิ ซึ่งมีการประพันธ์เรื่องพุทธประวัติเหมือนกัน แต่ผลงานของคัมภีร์ลลิตวิสตระเป็นของนิกายสรวาสติวาท ส่วนคัมภีร์ปฐมสมโพธิเป็นของนิกายเถรวาท <O:p</O:p

    คำว่า ลลิตวิสตร แยกออกเป็น 2 ศัพท์ คือ ลลิต หมายถึง การเล่นสนุกสนาน แต่ความหมายในที่นี้ หมายถึง พระกิริยาที่ทรงประพฤติอย่างงดงามของพระพุทธเจ้า ส่วนคำว่า วิสตร หมายถึง ขยายเพิ่มเติม ทำให้กว้างขึ้น และวิจิตรพิสดาร เมื่อรวมเข้าด้วยกันเป็น ลลิตวิสตร มีความหมายว่า เรื่องราวโดยพิสดารของการกระทำหรือสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำ พร้อมทั้งประวัติอันแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์ของพระองค์ในช่วงก่อนตรัสรู้ <O:p</O:p


    คัมภีร์ลลิตวิสตระนี้ มีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่นว่า มหานิทาน และไวปุลยสูตร หรือมหาวยูหะ มีลักษณะคล้ายกับคัมภีร์มหาปุราณของฝ่ายพราหมณ์ เนื้อหาในคัมภีร์ลลิตวิสตระแบ่งออกเป็นบทได้ 27 บท มีหัวเรื่องต่างๆ ดังนี้<O:p</O:p

    1. ต้นเหตุของการเกิดพระสูตร
    2. ความพยายาม<O:p</O:p
    3. ตระกูลบริสุทธิ์
    4. หัวข้อธรรมที่เป็นแสงสว่าง<O:p</O:p

    5. การจุติ
    6. การเสด็จลงสู่พระครรภ์<O:p</O:p

    7. การประสูติ
    8. การนำไปสู่วิหารเทวรูป<O:p</O:p

    9. เครื่องประดับ
    10. การเสด็จเยี่ยมโรงเรียน<O:p</O:p

    11. หมู่บ้านชาวนา
    12. การแสดงศิลปะ<O:p</O:p

    13. การกระตุ้นเตือน
    14. ความฝัน<O:p</O:p

    15. การเสด็จออกบวช
    16. การเสด็จไปพบพระเจ้าพิมพิสาร<O:p</O:p

    17. การประพฤติที่ทำได้ยาก
    18. การเสด็จลงสู่แม่น้ำเนรัญชนา<O:p</O:p

    19. การเสด็จไปสู่โคนต้นโพธิ
    20. วิมานที่โคนต้นโพธิ<O:p</O:p

    21. มารคอยรบกวน
    22. การตรัสรู้<O:p</O:p

    23. การสรรเสริญ
    24. พ่อค้าชื่อตระปุษะกับภัลลิกะ<O:p</O:p

    25. การอาราธนาให้แสดงธรรม
    26. การแสดงธรรมจักร<O:p</O:p

    27. บทสุดท้าย
    <O:p</O:p

    การเล่าเรื่องในคัมภีร์ลลิตวิสตระเป็นทำนองเดียวกับการเล่านิทาน ซึ่งประกอบไปด้วยตัวละครและฉาก ตัวละครที่ปรากฏในคัมภีร์มีความหลายหมาย กล่าวคือ มีทั้งตัวละครที่เป็นมนุษย์ อมนุษย์ และสัตว์ ตัวละครที่เป็นมนุษย์ ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ ภิกษุ ฤาษี นักบวชนอกพุทธศาสนา พระราชา พระมหาสี พระโอรส พระธิดา อำมาตย์ ราชบุรุษ พราหมณ์ พราหมณี พ่อค้า ปุโรหิต นางสนม ทาส ทาสี เด็กๆ และชาวบ้านทั่วไป ส่วนตัวละครที่เป็นอมนุษย์ ได้แก่ ท้าวสักกะ ท้าวมหาพรหม ท้าวโลกบาล เทวบุตร เทวดาและเทวีทั้งหลายในสวรรค์ชั้นต่างๆ รวมไปปถึงยักษ์ และคนธรรพ์ เป็นต้น ส่วนตัวละครที่เป็นสัตว์ ได้แก่ ช้าง ม้า นก งู พญานาค ครุฑ โค และราชสีห์ เป็นต้น
    <O:p</O:p


    ตัวละครแต่ละตัวจะมีส่วนร่วมในการช่วยให้เนื้อเรื่องดำเนินไปได้อย่างมีชีวิตชีวา และน่าติดตาม รวมทั้งทำให้มองเห็นภาพของเนื้อเรื่องได้เด่นชัดยิ่งขึ้น
    <O:p</O:p


    สำหรับแนวคิดเรื่องพระโพธิสัตว์จากคัมภีร์ลลิตวิสตระ ดูเหมือนว่าเป็นสิ่งที่โดดเด่นและได้รับการยกย่องมากกว่าเรื่องพระอรหันต์ แนวคิดของพระโพธิสัตว์ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน โดยได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของนิกายสรวาสติวาทและมหาสังฆิกะนั่นเอง<O:p</O:p


    ส่วนภาพสลักนูนต่ำที่ถ่ายทอดเรื่องราวในคัมภีร์ลลิตวิสตระ คือ ภาพสลักนูนต่ำชั้นที่
    1 กำแพงหลักส่วนบน รหัส I a

    <O:p</O:p
     
  6. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    ใครจะนินทาสรรเสริญ จิตก็เป็นปกติ
    ไม่ให้มีความหมาย ไม่ให้มีตัวตนในความคิด
    ถ้าจิตอยุ่กับลมหายใจได้ ความรู้สึกก็ไม่รุนแรง
    มื่อความรู้สึกรุนแรงจริงๆ..หยุดคิดไม่ได้หรอก
    ถ้าต่อสู้กับตัวเองก็ง่ายนิดเดียว
    ให้จิตอยู่กับปัจจุบัน
    ที่พวกเรามีบำเพ็ญสมาธิ ภาวนา ทำจิตใจให้สงบ
    ก็เพื่อศึกษาปัจจุบันธรรม ให้จิตอยู่กับปัจจุบัน
    ปัจจุบันคือเดี๋ยวนี้
    ปกติจิตใจของเรามักจะคิดอยู่กับอดีต หรืออนาคตเป็นส่วนใหญ่
    เราไม่ค่อยรู้จักคำว่าปัจจุบันคืออะไร
    ในการศึกษา ธรรมะ ปัจจุบันธรรม สำคัญมาก
    เพราะอดีตก็ผ่านไปแล้ว อนาคตก็ยังไม่มาถึง
    พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า
    อดีตผ่านไปแล้ว อย่าไปยึด อย่าไปคิด
    เรามักครุ่นคิดอยู่ในอดีตที่ผ่านไปแล้ว คิดแล้วก็แค้นใจ
    เสียใจ
    น้อยใจ
    หรือไม่จิตก็คิดห่วงกังวลถึงอนาคตที่ยังไม่มาถึง
    คิดแล้วก็ทุกข
    อันนี้พระพุทธเจ้าว่าไม่มีประโยชน์
    ถ้าศึกษาปัจจุบันธรรม เราก็เข้าใจทั้งอดีตและอนาคต
    เพระาอดีตเป็นเหตุ อนาคตเป็นผล
    ปัจจุบันเป็นเหตุ อนาคตเป็นผล
    ฉะนั้น ปัจจุบันจึงเป็นที่รวมของเหตุและผล
    ถ้าเราสังเกตุดูจะเหนว่า
    จิตที่ไม่สงบคือจิตที่ไม่อยู่กับปัจจุบัน
    คิดไปอดีต คิดไปอนาคต
    ยิ่งคิดมาก คิดไปๆ ก็เรื่องเก่าๆทั้งนั้น
    ถ้าเรายังคิดไปอดีต คิดไปอนาคต เราก็ยังไม่เข้าใจธรรมะ
    จิตไม่สงบเพราะจิตไม่ได้อยุ่กับปัจจุบัน
    เมื่อจิตไม่อยุ่กับปัจจุบันก็ไม่สามารถเข้าใจธรรมะได้
    มีแต่ปรุงแต่งอดีตที่ผ่านไปแล้ว
    ปรุงแต่งอนาคตที่ยังมาไม่ถึง
    ทำอะไรก็ไม่ได้
    การศึกษาธรรมะ คือ การศึกษาปัจจุบันธรรม
    เราต้องพยายามสร้างศรัทธา คือ ศรัทธาในการทำใจให้สงบ
    ทำใจให้อยุ่กับปัจจุบัน
    เราต้องพยายามทำจิตใจให้สงบ
    ถ้าสามารถรุ้ปัจจุบันได้
    ก็สงบ ไม่ต้องคิดอะไร
    ถ้าเรากำหนดดูปัจจุบัน แล้วเราก็จะรุ้จัก
    เช่น มีใครนินทาเรา ว่าเรา ด่าเรา ดูหมิ่นเรา ดูถูกเรา
    ไม่ให้เกียรติเรา หรือทำอะไรๆที่ไม่ถูกใจเรา
    ถ้าเรากำหนดรู้เท่าทัน เรียกว่า มีสติ มีปัญญา
    จิตก็สงบได้
    จิตที่จะออกไปเป็นปฏิกิริยาก็มีอยู่
    อยุ่ที่เราเคยอย่างไร
    เมื่อมีคนนินทา เราเคยรุ้สึกอย่างไร
    คิดอย่างไร จิตมันก็ปรุงไป
    บางคนอาจจะคิดอาฆาตพยาบาท คิดปองร้าย คิดจะทำลายเขา
    คิดอยากจะฆ่าเขา บางคนอาจจะคิดน้อยใจ
    บางคนก็คิดทำลายตัวเอง
    พอน้อยใจก็คิดจะฆ่าตัวตายก็มี
    บางทีคิดจะหนีก็มี
    เมื่อเราถูกนินทา
    ปกติเราเคยิคดอย่างไร
    ปัจจุบันก็จะมีความรุ้สึกไปทางนั้น
    ทีนี้เมื่อเรารุ้ว่าปัจจุบันเป็นเหตุ
    อนาคตเป็นผล
    เราก็ต้องทำเหตุให้ดี
    ทำให้ถูก
    เมื่อถูกนินทา ถูกว่า
    เราเกิดความรู้สึกอย่างไร
    ให้เราตามรู้ ยกเอาศีลสมาธิปัญญาขึ้นมา
    ตั้งสติ
    ตั้งศีลขึ้นมาไม่ให้เกิดยินดียินร้าย
    ศีล คือ ไม่ยินดียินร้าย
    เขานินทา เขาพูดอะไร เขาทำอะไรให้เราไม่ถูกใจ
    ก็ดุว่าเรารุ้สึกอายไหมกลัวไหม
    ถ้ารุ้สึกละอาย กลั ว มีหิริโอตตัปปะ
    สติปัญญาก็จะรีบดับ
    รีบระงับความไม่พอใจเสีย
    จิตก็จะทำงาน
    เพื่อระงับอารมยินดียินร้ายที่จะเกิดขึ้น


    พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

     
  7. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    รายนามผู้สมัครนักปฏิบัติธรรมรุ่นที่ 1 ประจำปี 2553

    ยินดีต้อนรับ เพื่อนคุณปุ้ย


    รับจำนวน: 15 ท่าน

    1) คุณใหญ่
    2) คุณ Mike
    3) คุณแมว
    4) คุณเอ๋
    5) อาจารย์คุณหนุ่ม
    6) เพื่อนอาจารย์คุณหนุ่ม

    7) คุณเอก (นับถือศาสนาคริสต์)
    8) คุณนอร์ฐา
    9) คุณเอก
    10) คุณชนาภา
    11) เพื่อนคุณชนาภา

    12) เพื่อนคุณดวง
    13) คุณปุ้ย


    ยอดผู้สมัคร จำนวน 13 ท่าน
    ยอดคงเหลือ จำนวน 2 ท่าน

    ยังสมัครได้อยู่ครับ<!-- google_ad_section_end -->
     
  8. wt

    wt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2009
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +315

    นี่ละครับใช่เลย ขออนุโมทนาบุญสำหรับท่านที่เอามาโพสนะครับ
     
  9. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    รายนามผู้สมัครนักปฏิบัติธรรมรุ่นที่ 1 ประจำปี 2553

    ยินดีต้อนรับ คุณวิเชียรและครอบครัว

    รับจำนวน: 15 ท่าน
    1) คุณใหญ่
    2) คุณ Mike
    3) คุณแมว
    4) คุณเอ๋
    5) อาจารย์คุณหนุ่ม
    6) เพื่อนอาจารย์คุณหนุ่ม
    7) คุณเอก (นับถือศาสนาคริสต์)
    8) คุณนอร์ฐา
    9) คุณเอก
    10) คุณชนาภา
    11) เพื่อนคุณชนาภา
    12) เพื่อนคุณดวง
    13) คุณปุ้ย

    14) คุณวิเชียรและครอบครัว
    15) คุณวิเชียรและครอบครัว

    ยอดผู้สมัคร จำนวน 15 ท่าน
    ยอดคงเหลือ จำนวน 0 ท่าน

    ปิดรับสมัครครับ เต็มแล้วครับ

    ขออนุโมทนาทุกท่านที่ร่วมบุญในครั้งนี้

     
  10. mib8gdviNz

    mib8gdviNz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,009
    ค่าพลัง:
    +1,524
    กระทู้นี้ยังเลื้อยได้อีกยาวครับ อิอิ
     
  11. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ปากดีนัก เดี๊ยวก็เลื้อยไปฉกปากเสียเลย
     
  12. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ตอนที่ 7 ชาดก ชาดกมาลา และอวตาน (Jataka Jatakamala and Avadana)

    ชาดก (Jataka) มาจากคำภาษาบาลี-สันสกฤตว่า ชาตกะ (jataka) หมายถึง ผู้เกิดแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องราวแสดงนิทานประกอบสุภาษิตชองของพระพุทธเจ้าที่มีมาในชาติก่อนๆ เมื่อครั้นยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ชาดกมี 2 ประเภท คือ<O:p</O:p

    1. นิบาตชาดก เป็นชาดกในพระไตรปิฎกมี 500 เรื่อง แบ่งออกเป็นหมวดๆ ตามจำนวนคาถา นับตั้งแต่ 1 คาถาถึง 80 คาถา

    ชาดกที่มี 1 คาถาเรียกว่า เอกนิบาตชาดก
    ชาดกที่มี 2 คาถาเรียกว่า ทุกนิบาตชาดก
    ชาดกที่มี 3 คาถาเรียกว่า ตักนิบาตชาดก
    ชาดกที่มี 4 คาถาเรียกว่า จตุคนิบาตชาดก
    ชาดกที่มี 5 คาถาเรียกว่า ปัญจกนิบาตชาดก
    ชาดกที่มีเกิน 80 คาถาขึ้นไป เรียกว่า มหานิบาตชาดก ซึ่งมี 10 เรื่องเรียกว่า ทศชาติ หรือ พระเจ้าสิบชาติ<O:p</O:p

    2. ปัญญาสชาติชาดก เป็นชาดกที่แต่งขึ้นจากนิทานพื้นเมือง ไม่มีในพระไตรปิฎก มีจำนวน 50 เรื่อง<O:p</O:p

    ชาดกมาลา (Jatakamala) มาจากคำภาษาบาลี-สันสกฤตว่า ชาตกะ (jataka) ส่วนคำว่า มาลา (mala) หมายถึง พวงมาลา พวงมาลัย หรือพวงดอกไม้ จัดได้ว่าเป็นชุดหนังสือชาดกทางฝ่ายมหายาน แต่งเป็นกวีพากย์ ภาษาสันสกฤต ที่ดีเยี่ยมมีอยู่ 34 เรื่อง เชื่อกันว่าชาดกมาลาแต่งขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 10 เพราะปรากฏมีผู้พบโศลกในชาดกนี้ จารึกที่ผนังถ้ำอชันตาและหลวงจีนอี้จิงก็ยังได้อ้างว่า ระหว่างระยะเวลาดังกล่าวในประเทศอินเดียรู้จักชาดกมาลากันแล้วเป็นอย่างดี

    <O:p</O:p
     
  13. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ตอนที่ 7 ชาดกมาลา (Jatakamala) ต่อ

    เนื้อเรื่องชาดกมาลาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง

    เสือแม่ลูกอ่อน
    พระราชาแห่งสีพี
    เศรษฐีใจบุญ <O:p</O:p
    พระเวสสันดร
    ลูกนกคุ่ม <O:p</O:p
    พราหมณ์
    พระอินทร์
    การบูชายัญ
    กระต่าย <O:p</O:p
    ผู้ไร้บุตร
    พญาวานร
    ช้าง <O:p</O:p
    นกหัวขวาน
    งส์ทรงธรรม<O:p</O:p
     
  14. Dookbuabarn

    Dookbuabarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +225

    รบกวน อ.ภราดรภาพ เล่านิทานชาดกให้ฟังดีไหมคะ

    ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
     
  15. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ไว้มีโอกาสว่างๆ จะแปลความให้ฟังนะครับ
     
  16. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ตอนที่ 8 คัมภีร์คัณฑพยูหะ

    คัมภีร์คัณฑพยูหะ เป็นบทสุดท้ายในคัมภีร์อวตังสกสูตร หรือ อวตัมสกสูตร ของฝ่ายปัญญาสูตร พระสูตรนี้เป็นมโนคตินิยม ซึ่งมีคาถาที่สำคัญคาถาหนึ่งว่า "สรรพธรรมในโลกธาตุนี้ เนื่องจากจิตและจิตเสมือนช่างวาดภาพ ได้วาดภาพอันเป็นขันธ์ของทุกๆ สิ่ง"

    สูตรนี้บรรยายในแรกเริ่มว่า เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว ภายใน 21 วันนั้น ได้ปรากฏเป็นพระไวรจนพุทธเจ้า แสดงสูตรนี้แก่บรรดาโพธิสัตว์ในขณะที่ต่างอยู่ใน "สาครมุททาสมาธิ" ข้อความนี้อ้างอิงประวัติศาสตร์ที่เราทราบกันผิด แต่ในส่วนที่พระองค์แสดงสูตรนี้ในขณะที่อยู่ในสมาธิ ซึ่งสามัญชนไม่มีทางทราบได้เท่านั้น

    สูตรนี้ถือว่า ปัจจยาการ (ปฏิจจสมุปบาท) อันเริ่มด้วยอวิชาและจบด้วยชรามรณะนั้น เมื่อพระองค์ได้ดับอวิชาและตั้งอยู่ในจิตอันบริสุทธิ์แล้ว ปัจจยาการย่อมเกิดจากจิตอันบริสุทธิ์ โลกทัศน์ของสูตรนี้ ถือว่าโลกนี้เป็นการปรากฏขึ้นของพระวรกายของพระไวโรจนะพุทธเจ้า ทุกสิ่งในโลกนี้ แม้เล็กเท่าเล็ก ก็เป็นสิ่งสะท้อนจากส่วนรวมกาลเวลาจะสั้นเท่าใดก็ตาม ก็เป็นส่วนหนึ่งของกาลเวลาที่ยาวทั้งหมด โลกนี้ประกอบด้วยปัจจยาการอันนับไม่ถ้วน กาลกับเทศะ ก็มีส่วนสัมพันธ์กัน ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่ไม่ต้องพึ่งพิงสิ่งอื่น โลกนี้ปรากฏขึ้นด้วยความอลงกรณ์ที่นับไม่ถ้วน ธรรมหนึ่งๆ คือสรรพธรรม สรรพธรรมก็คือธรรมหนึ่งๆ โลกนี้คือธรรมกาย ผู้ซึ่งเข้าถึงความบริสุทธิ์แห่งจิต ผู้นั้นจะทราบถึงความจริงนี้ นี่คือการแสดงธรรมของธรรมกายของพระองค์ ซึ่งกำเนิดจากเอกจิตอันหลุดพ้นแล้ว

    หลักธรรมในยุคพุทธกาลซึ่งมีปัจจยาการอันเนื่องด้วยจิตเท็จและต้องดับ แต่เมื่อได้เข้าถึงความสูญที่แท้จริงแล้ว ก็จะเข้าถึงปัจจยาการซึ่งเนื่องจากจิตแท้และจะสืบเนื่องไปโดยไม่มีวันดับ

    <O:p</O:p
    โดย ล. เสถียรสุต<O:p</O:p
     
  17. trimoorati

    trimoorati เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +129
    เรียนคุณภราดรภาพ

    คุณเอก(นับถือศาสนาคริสต์)ติดธุรไม่สามารถมาไปได้ค่ะ

    ขออภัยนะที่นี้ค่ะ

    หญิง
     
  18. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    รับทราบครับ
     
  19. สมรปราง

    สมรปราง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2008
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +263
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ mib8gdviNz [​IMG]
    กระทู้นี้ยังเลื้อยได้อีกยาวครับ อิอิ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    :cool:เก่งจังเยย...เลื้อยได้ด้วย เหอ..เหอ..
     
  20. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    คติธรรม

    ปราชญ์แท้ ไม่คุยฟุ้งอวดตน
    คนดี ไม่เที่ยวยกสอพลอ
    คนเก่ง ย่อมทะนงอย่างเงียบ
    คนชั่ว อวดรู้ดีทั่วภพ
    คนโง่ อวดฉลาดมากมาย
    สิ่งทั้งหลายท่านเห็นมีทุกที่เอย

    สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี

     

แชร์หน้านี้

Loading...