สังโยชน์ 10...ไม่ใช่การมานั่งละ นั่งตัด (ฉบับเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง)

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย pra_TopSecret, 1 สิงหาคม 2010.

  1. mephisto

    mephisto Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +65
    เอารูปพระมาแทนตัว ไม่รู้เป็นครูบาอาจารย์ตัวเองหรือเปล่านะ

    แต่ใช้ภาษา สถุลมาก อายรูปพระที่เอาท่านมาใช้แทนตัวมั่งเถิดมันเสียถึงท่านด้วย

    กรุณาสุภาพด้วยครับ อย่างน้อยก็อย่าทำตัวสถุลแล้วมาคุยธรรมะ มันเสื่อม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 สิงหาคม 2010
  2. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    คิดได้อย่างนั้นก็ดีแล้ว

    คุณก็อย่าทำ แต่คนอื่นเขาจะทำ คุณก็ไปห้ามเขาไม่ได้หรอก
     
  3. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676

    สักกายะทิฐิ เอาแค่ข้อแรกก่อนนะ แล้วข้อ 2 และ 3 มันก็หลุดไปเอง
    ไม่มีใครจะมาแสล้งให้มันละหรือหลุดออกได้ดอกมันหลุดของมันเอง
    แต่ตรงกันข้ามนะ ปุถุชนมัวแต่หลงอยู่กับเรื่องบางเรื่องที่ไม่ใช่แก่นของพระธรรมจึงแยกแยะกันไม่ค่อยจะออกระหว่างพิธีกรรม ประเพณี หมอดู พ่อมด ฤาษี หรือผู้แอบอ้างอื่นๆ ดังนั้นในมุมมองของข้าพเจ้าหากละข้อที่3 ได้แน่นอนว่าข้อที่ 2 และข้อที่ 1 ก็จะหลุดออกไปได้ด้วยเช่นกัน

    การที่จะเดินผ่านเปลวไฟไปนั้น แน่นอนว่ามันต้องมีซักสภาวะนึงแหละที่ร้อนที่สุด แต่แล้วมันก็จะผ่านไปอยู่ดีนั่นแล..

    :cool:


    เสวนาธรรมกันด้วยความรู้ของตนเอง และด้วยองค์ความรู้หลัก(ปริยัติ)
    มันก็ไม่น่าจะผิดอะไรมากนัก แต่ก็ควรดูที่ตัวบุคคล เวลา สถานที่ เป็นปัจจัยประกอบกันไปได้จักดีนักแล


    ขออนุโมทนาสาธุครับ
     
  4. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    สาธุครับ

    ถ้าสัมมาทิฏฐิมาถูกทาง ทุกอย่างย่อมอยู่ในทาง
     
  5. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ศรัทรา เสมอ ปัญญา ดอกผลย่อมเกิด
    เรื่องหลุดทีเดียว 3 ข้อ เป็นเรื่องปกติครับ
    ในพุทธกาล พระพุทธองค์เทศน์เรื่องความเห็นผิดในกาย เป็นธรรมแรกที่กล่าวถึงบ่อยๆ
    ชาวบ้าน น้อมจิตโยนิโสตาม ตาเกิดสว่าง บรรลุพระโสดาบันกันจนเป็นปกติ
    ความศรัทรา ก็เพิ่มพูนขึ้น ประกาศตนเป็นพุทธบุตร พุทธมามกะมากมาย
    ตั้งตนอยู่ในธรรม ในศีล ในภาวนา
     
  6. kosondesign

    kosondesign Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +66
    คนที่อยุ่เหนืออารมณ์ จัดการกับความคิดอันสับสน
    ปฏิบัติตามแนวขององค์สมเด็จพระทศพล
    เป็นบุคคล ผู้ร้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
     
  7. pra_TopSecret

    pra_TopSecret เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2010
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +868
    หากทนสิ่งที่เห็นไม่ได้ จงควักนัยตาทั้งสองออกเสีย

    ชอบประโยคนี้จัง
    ชอบมาก ๆ
    สาธุการ กับท่านด้วย​
     
  8. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291
    การตัดสังโยชน์ 10
    โดยพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อ ฤาษี ฯ)
    สำหรับวันนี้จะขอแนะนำเรื่อง พระอรหันต์ ข้ามไปเลย เพราะอะไรรู้ไหม?
    เพราะผลการปฏิบัติไม่มีความจำเป็นต้องเรียงลำดับ คือ

    1. เป็นพระโสดาบัน
    2. เป็นพระสกิทาคามี
    3. เป็นพระอนาคามี
    4. เป็นพระอรหันต์

    อันนี้ไม่จำเป็นตามนี้

    จะเห็นว่าบางท่านพอฟังเทศน์จบบรรลุพระโสดาบัน และฟังเทศน์อีกครั้งหนึ่ง หรือว่าปฏิบัติต่อเป็นอรหันต์เลยก็มี อย่าง พระอานนท์ หรือบางท่านฟังเทศน์จบเป็นอรหันต์เลยก็มี แต่ว่าจะขอพูดตอนต้นสักนิดหน่อย ในตอนต้นสำหรับนักปฏิบัติใหม่ อย่าลืมว่าอันดับแรกจะต้องรู้ลมหายใจเข้าออก เอาจิตเข้าไปรับทราบลมหายใจเข้าลมหายใจออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่หายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่หายใจออก หายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้นก็รู้อยู่ และประการที่สอง ให้ภาวนา สำหรับคำภาวนานี้ไม่จำกัดในตอนต้น จะใช้คำภาวนาว่า พุทโธ ก็ได้ สัมมาอรหัง ก็ได้ อิติสุคโต ก็ได้ อิติปิโส ภควา ก็ได้ ยุบหนอพองหนอก็ได้ ตามอัธยาศัย อะไรก็ได้สุดแล้วแต่ที่เคยปฏิบัติมา

    ถ้าท่านเคยปฏิบัติมาจากที่อื่นคล่องแบบไหนปฏิบัติตามนั้น ไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยน เพราะการภาวนาก็ดี การรู้ลมหายใจเข้าออกก็ดี เป็นเครื่องโยงจิตให้มีสมาธิ ทีนี้ก็จะพูดถึงอารมณ์ เวลาปฏิบัติกรรมฐานให้ถืออารมณ์ความสุขใจเป็นเกณฑ์ อย่าคิดว่าเวลานี้เราต้องได้ฌาน 1 ฌาน 2 ฌาน 3 ฌาน 4 ฌาน 8 ฌาน ไม่มีความจำเป็น ถือความเป็นสุขของใจเป็นเกณฑ์ ถ้าจิตเข้าไปมุ่งฌานโน้นฌานนี้จิตจะวุ่นวาย คำว่าจิตวุ่นวายก็หมายความว่าจิตจะเกิดมีอารมณ์ฟุ้งซ่าน จิตจะไม่เป็นสมาธิ เวลานั้นมันจะเป็นฌานอะไรก็ช่าง ให้ถือว่าเวลานี้จิตเป็นสุขแล้วกัน ถ้าภาวนาไม่พิจารณาไป หรือรู้ลมหายใจเข้าออกไป จิตเกิดมีความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นบังคับไม่อยู่ ก็ปล่อยอารมณ์เสียเลิกไปเลย พักไปชั่วคราวก็ได้ หรือว่าจะคิดตามจิตไป จิตจะคิดอะไรก็ปล่อยมันไปตามเรื่อง สักครู่เดียวมันก็เลิกคิด กลับมาจับใหม่มันจะทรงตัว อย่างนี้ก็ได้

    วันนี้ก็มาพูดถึง อารมณ์พระอรหันต์ เมื่อวานนี้พูดถึง อารมณ์พระโสดาบัน ถ้าทำได้ก็ครึ่งทางพระนิพพาน คำว่า พระโสดาบัน แปลว่า ผู้เข้าถึงกระแสพระนิพพาน คือเข้าเขตพระนิพพาน ถ้าตายจากความเป็นคนอย่างน้อยก็เป็นเทวดาหรือพรหม ทีนี้อารมณ์ของเราถ้าได้พระโสดาบันแล้ว ถ้าเราต้องการนิพพาน ความจริงพระนิพพานนี่เป็นของไม่หนักสำหรับนักปฏิบัติที่มีความฉลาด และประการที่สองถ้าเชื่อพระพุทธเจ้า ต้องดูตัวอย่างตามพระสูตร ถ้าเราไม่ดูตัวอย่างตามพระสูตรจะปฏิบัติยาก ทำไปๆ ก็คิดแต่เพียงว่าสมาธิจะทรงหรือไม่ทรง จะทรงสมาธินานหรือไม่นานละเอียดหรือหยาบก็อยู่แค่นั้น ผลที่สุดแม้แต่พระโสดาบันก็ไม่ได้ ถ้าเราดูตัวอย่างตามพระสูตรจะรู้สึกว่าง่าย

    พระนิพพานตัดตัวไหนในสังโยชน์ 10 ประการ สังโยชน์ 10 ประการก็

    ข้อที่ 1 สักกายทิฏฐิ มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้เป็น เราเป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา
    ข้อที่ 2 วิจิกิจฉา สงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์
    ข้อที่ 3 สีลัพพตปรามาส ลูบคลำศีลไม่รักษาศีลจริงจัง
    ข้อที่ 4 กามฉันทะ พอใจในกามคุณ
    ข้อที่ 5 ปฏิฆะ มีอารมณ์กระทบใจ จิตมีความโกรธ
    ข้อที่ 6 รูปราคะ หลงในรูปฌาน
    ข้อที่ 7 อรูปราคะ หลงในอรูปฌาน
    ข้อที่ 8 มานะ มีการถือตัวถือตน
    ข้อที่ 9 อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน
    ข้อที่ 10 อวิชชา ไม่รู้ตามความจริงของเรื่องนิพพาน

    นี่สังโยชน์ทั้งหมดมี 10 ถ้าเราจะปฏิบัติเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าต้องตัดสังโยชน์ 10 ประการ ถ้าทำส่งเดชไปยังไงก็ไม่เป็นพระอริยเจ้า ได้แต่นั่งสมาธิอย่างเดียว คิดโน่นคิดนี่อยู่ตามเรื่องตามราว ตามที่เราคิดว่ามันถูก ดีไม่ดีมันก็อาจจะไม่ถูก ถ้าถือตามตำราเกินไปก็ไม่แน่นอนนัก เพราะคนเขียนตำราไม่แน่ว่าจะรู้จักพระนิพพานเสมอไป ก็มีตำราหลายสิบเล่มพูดเรื่องนิพพานไม่ถูก ถ้าเราเกาะตำรามากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิปัสสนาญาณแก่ก็สอนเสียยาวเหยียด แต่ก็เป็นธรรมดาของนักเขียน ถ้าเขียนก็จำเป็นต้องเขียนให้ละเอียด แล้วผู้ปฏิบัติต้องฉลาดในการเลือก เลือกเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งที่เราพอจะทำได้

    ทีนี้ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า นิพพาน เราจะไปนิพพานจริงๆ เราจะตัดตัวไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหวังความเป็นพระอรหันต์ ก็ต้องดูตัวอย่าง พระสารีบุตร ที่ท่านแนะนำพระ เมื่อพระบวชใหม่บวชเสร็จก็ไปลาพระพุทธเจ้าจะเข้าป่า เมื่อพระพุทธเจ้าสอนแล้ว พระพุทธเจ้าถามว่า เธอไปลาพระสารีบุตรแล้วหรือยัง พระบอกว่ายัง ท่านบอกให้ไปลาพระสารีบุตรด้วย แต่ความจริงพระพุทธเจ้าท่านทราบ ไม่ได้นัดกันว่าพระสารีบุตรจะพูดเรื่องอะไร ฉะนั้นพระจึงไปแวะหาพระสารีบุตร พระพวกนั้นก็ถามพระสารีบุตรในธรรมะต่างๆ ข้อปฏิบัติต่างๆ พระสารีบุตรก็อธิบายให้ฟัง ในที่สุดก็ถามว่า เวลานี้ผมเป็นปุถุชน ต้องการเป็นพระโสดาบันจะทำยังไง ท่านบอกว่า ให้ตัดขันธ์ 5 ให้ตัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ขันธ์ 5 ถ้าตัดได้อย่างหยาบก็เป็นพระโสดาบัน พระพวกนั้นถามว่า ผมเป็นพระโสดาบันแล้วต้องการเป็นพระสกิทาคามีจะทำยังไง ท่านก็บอกว่า ก็ตัดตัวเดียวกัน ถ้าละเอียดลงไปอีกหน่อยหนึ่งก็พระสกิทาคามี

    พระท่านถามว่า ถ้าเป็นพระสกิทาคามีแล้วต้องการเป็นพระอนาคามีจะทำยังไง ก็ตัดตัวเดียวกัน จนเกิดความเบื่อหน่ายในร่างกาย เบื่อหน่ายในกามคุณ เบื่อหน่ายในความโกรธ ก็เป็นพระอนาคามี พระก็ถามว่า ในเมื่อเป็นพระอนาคามีแล้วทำยังไง ก็บอกว่าตัดตัวเดียวขันธ์ 5 ตัดขาดทั้งหมด อวิชชาด้วย ก็เป็นพระอรหันต์ พระพวกนั้นก็ถามว่า เมื่อเป็นพระอรหันต์แล้วเลิกทำใช่ไหม ท่านบอก ไม่ใช่ พระอรหันต์ขยันทำมากกว่าพระธรรมดา เพราะรู้จักความทุกข์ เหตุของความทุกข์และผลของความทุกข์ ปฏิบัติเพื่อความอยู่เป็นสุข

    อันนี้จะเห็นว่าการตัดสังโยชน์ 10 ประการ เขาตัดกันตัวเดียวคือ สักกายทิฏฐิ สักกายทิฏฐิต้องใช้อารมณ์ไม่เหมือนกัน อย่างพระโสดาบันกับพระสกิทาคามี ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า มีสมาธิเล็กน้อย กับมีศีลบริสุทธิ์และมีปัญญาเล็กน้อย ใช้ปัญญาแค่คิดว่าชีวิตนี้ต้องตาย นี่เป็นสักกายทิฏฐิ ตัดตรงนี้ให้มีความรู้สึกจริงๆ ว่าร่างกายนี้มันต้องตายแน่ วันนี้น่ะมันไม่ตาย แต่วันหน้ามันอาจจะตายก็ได้ ยังไงๆ มันก็ตายกันแน่นอน ทีนี้ต่อไปถ้าเป็นอารมณ์พระอนาคามี จะมีความรู้สึกเบื่อหน่ายในร่างกาย เบื่อหน่ายทุกสิ่งทุกอย่างในโลก เบื่อหมดจนไม่มีความรู้สึกพอใจอะไรทั้งหมด อันนี้เป็นอารมณ์พระอนาคามี ถ้าเป็นพระอรหันต์มี สังขารุเปกขาญาณ วางเฉยทุกอย่าง ร่างกายเราก็เฉย จะแก่ก็เชิญแก่ มันจะป่วยก็เชิญป่วย มันจะตายก็เชิญตาย เป็นหน้าที่ของมัน ร่างกายคนอื่นก็เช่นเดียวกัน ทรัพย์สมบัติก็เหมือนกัน มันมีอยู่ก็มี ไม่มีมันจะพังมันจะหายไปก็เรื่องของมัน เป็นของธรรมดา

    อันนี้ก็มาดูตัวอย่าง แค่นี้เราจะเห็นว่าการตัดสังโยชน์ 10 ประการอยู่ข้อเดียวคือ สักกายทิฏฐิ ไม่ต้องทำมากตามตำรา ความจริงที่พูดนี่ก็พูดตามตำราเหมือนกัน ไอ้ตำราง่ายๆ คนไม่ชอบ ชอบตำรายากๆ ก็รวมความว่าถ้าเราต้องการเป็นพระอรหันต์หรือไปนิพพาน ก็ไปนิพพานก็แล้วกัน อรหันต์ด้วยก็ได้ ก็ตัดที่ร่างกายตัวเดียว

    ตัวอย่าง ในสมัยเมื่อองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ เวลานั้นพระสาวกรุ่นแรกของพระพุทธเจ้าคือ พระอัสสชิ ป่วยหนัก เป็นโรคกระเพาะ มีอาการไม่ไหว มันเสียดแทงหนักทั้งอืดทั้งเสียด ก็บอกพระบอกว่าให้ไปกราบทูลองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเถิดว่า อัสสชิสาวกของพระองค์ทนไม่ไหวแล้ว ความดีที่ได้มาอาจจะเสื่อมไปแล้ว หมายความความเป็นพระอรหันต์อาจจะเสื่อมไป (เพราะท่านไม่เข้าใจ) พระจึงไปกราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบแล้วก็เสด็จมาที่พระอัสสชิ พระอัสสชิจะลุกจากที่เดิมลงมานอนต่ำ ให้พระพุทธเจ้าทรงนั่งสูง เพราะที่นั่งมันอยู่ต่ำกว่า ที่นอนมันเป็นแคร่ พระพุทธเจ้าบอก อัสสชิ นอนที่เดิม ตถาคตจะนั่งในสถานที่ที่เขาจัดไว้ให้ หมายความว่าท่านไม่เลือก ที่ตรงไหนก็ได้ เพราะพระอัสสชิป่วย พอพระพุทธเจ้านั่งเสร็จ พระอัสสชิกราบทูลว่า “ภันเต ภควา ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ เวลานี้ความดีของข้าพระพุทธเจ้าน่ากลัวจะหมดไปเสียแล้ว เพราะว่ามันอืดมันเสียดมากทนไม่ไหวตั้งสติไม่อยู่” พระพุทธเจ้าถามว่า “อัสสชิ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือขันธ์ 5 เป็นของเธอหรือ?” พระอัสสชิตอบ “ไม่ใช่” “หรือว่าขันธ์ 5 เป็นเธอ” ก็บอกไม่ใช่ ก็รวมความว่า ท่านถามยังไงๆ ก็ตาม พระอัสสชิก็ยืนยันว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ของท่าน ร่างกายนี้เป็นส่วนร่างกาย จิตใจเป็นส่วนของจิตใจ พระพุทธเจ้าก็ตอบว่า “อัสสชิ ความดีของเธอไม่สลายตัว ยังคงอยู่ ยังมีความเป็นอรหันต์อยู่” เพียงแค่นี้ หลังจากนั้นพระอัสสชิก็นิพพาน

    ข้อนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน จะพึงเห็นได้ว่า การไปนิพพานตัดจุดเดียวคือที่ร่างกาย มีอีกเรื่องหนึ่ง พระติสสะ พระติสสะเป็นโรคพองทั้งตัว มีร่างกายพอง ทีแรกก็พองเม็ดเล็ก ๆ ทีหลังก็พองเม็ดใหญ่ ใหญ่จนกระทั่งเท่าผลส้ม แล้วมันก็แตก แตกแล้วก็เป็นน้ำเหลือง เป็นน้ำเหลืองทั้งตัว พระปฏิบัติทนไม่ไหวก็เลิกลาไป พระติสสะก็นอนคอยความตาย คืนนั้นองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดานั่งพิจารณาว่า วันพรุ่งนี้จะมีใครบรรลุมรรคผลบ้าง ก็ทราบว่าพระติสสะท่านนอนป่วยเวลานี้ พรุ่งนี้จะไปนิพพานจะเป็นอรหันต์ไปนิพพาน แต่ความจริงท่านยังไม่ได้พระโสดาบัน ในตอนเช้าพอฉันเสร็จ

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสด็จออกจากวิหาร ทำทีเหมือนเดินชมตามห้องต่าง ๆ ตามสถานที่ต่างๆ เดินเลียบๆ ไป พระเห็นพระพุทธเจ้าเดินไปก็เดินตามไป ในเมื่อถึงห้องพระติสสะก็ทรงแวะเข้าไปแล้วก็ทรงเปลื้องผ้าที่พระติสสะนุ่ง ห่มอยู่ จัดการต้มน้ำร้อน พอดีพระก็ช่วยต้มให้ เอาสบงจีวรแช่น้ำร้อนจนหายเปื้อน และพระองค์ก็ทรงเอาผ้าชุบน้ำร้อนพออุ่น ๆ เช็ดร่างกายพระติสสะตั้งแต่ศีรษะถึงเท้าจนเกลี้ยง น้ำเหลืองหมดจากตัว ตัวสะอาดดีแล้ว หลังจากนั้นองค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงตรัสว่า “ติสสะ.. (อย่าลืมนะว่าคนน่ะ ถ้าพระพุทธเจ้าทำอย่างนั้น ปีติมันก็เกิด ความดีใจมันเกิด ทั้งๆ ที่พระทิ้งแล้วนะ พระที่ปฏิบัติอยู่เห็นว่าไม่ไหวก็ทิ้งไปแล้ว ก็เหลือคนเดียว คิดว่าหมดที่พึ่ง นอนรอความตาย ในเมื่อพระพุทธเจ้าเอาไปทำอย่างนั้นเข้า ปีติความอิ่มใจก็เกิด ความดีใจมันก็เกิด) พระพุทธเจ้าตรัสว่า “อะจีรัง วะตะยัง กาโย ปาฐะวิง อะธิเสสสะติ ฉุฑโฑ อะเปตะวิญญาโน นิรัตถังวะ กะลิง คะรัง” ซึ่งแปลว่า “ติสสะ ร่างกายนี้ไม่ช้าก็มีวิญญาณไปปราศแล้ว ร่างกายก็ต้องถูกทอดทิ้งเหมือนกับท่อนไม้ที่ไร้ประโยชน์”

    เพียงเท่านี้พระติสสะฟังจบ ก็เป็นพระอรหันต์พร้อมปฏิสัมภิทาญาณ นิพพานในวันนั้น นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน การเจริญพระกรรมฐานถ้ามีความฉลาดมันก็ไม่ยาก ถ้าไม่ฉลาดมันก็ยาก หรือการเจริญภาวนาก็เป็นของดี มีจดหมายไปที่วัดหลายสิบฉบับ บอกว่าเจริญกรรมฐานมาประมาณ 20 ปีเศษ ส่วนใหญ่บอก 20 ปีเศษ ไม่เคยได้อะไรเลยไม่มีผลก้าวหน้า นั่นก็หมายความว่า เจริญแบบคนโง่ ไอ้คนโง่นี่อะไรมันหาความเจริญไม่ได้ ไม่ได้ดูตำราหรือตำราที่ดูแล้วก็ไม่จำไม่รู้จักคิด อ่านแล้วมันต้องคิดตามแล้วก็ต้องเลือกว่าตำราส่วนไหนเป็นของพระพุทธเจ้า ส่วนไหนเป็นของคนเขียน ต้องดูคนแต่งตำราด้วย คนแต่งตำราถ้าไม่รู้ ไม่รู้เรื่องก็แต่งส่งเดชตามความรู้สึกของตัวเอง ไอ้ตัวเองก็ไปนิพพานไม่ได้ ทีนี้จะสอนให้คนอื่นไปนิพพานจะไปได้ยังไง เมื่อมีความไม่รู้อยู่ก็สอนแบบผิดๆ ไอ้เราก็ปฏิบัติตามเขาสอนก็ปฏิบัติผิดๆ ทีนี้บรรดาท่านพุทธบริษัทที่จดหมายไปก็เช่นเดียวกัน คงจะอ่านตำราประเภทที่คนเขียนไม่ได้อะไรเลย ไม่รู้เรื่องของความเป็นพระอริยเจ้า จึงปฏิบัติไม่มีความก้าวหน้า

    ถ้าจะปฏิบัติให้ก้าวหน้าจริง ๆ อันดับแรก ก็ขึ้นต้น ทีแรกเมื่ออาตมาเรียนกับ หลวงพ่อปาน ท่านสอนไม่ว่ากับใครทั้งหมด ท่านให้ขึ้นวิปัสสนาญาณก่อน ท่านบอกว่าอันดับแรก กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก นี่เป็นสมถะ หลังจากนั้นก่อนภาวนาให้พิจารณาร่างกายว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันเป็น อนิจจัง เป็นของไม่เที่ยง เป็น ทุกขัง มีความทุกข์เป็น อนัตตา มีความตายไปในที่สุด และไม่ใช่ว่าจนคล่อง ให้มองเห็นทุกข์จริงๆ ว่าร่างกายมันทุกข์อย่างไหน ทำไมมันจึงทุกข์ ความหิวทุกข์ ความกระหายทุกข์ ความป่วยไข้ไม่สบายเป็นทุกข์ ความปวดอุจจาระปัสสาวะเป็นทุกข์ ความปรารถนาไม่สมหวังเป็นทุกข์ ความพลัดพลาดจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ ความตายจะเข้ามาถึงก็เป็นทุกข์ มันเป็นอนิจจังคือไม่เที่ยง มันไม่เที่ยงมันก็เป็นทุกข์ อันดับแรก มีความสำคัญให้เห็นทุกข์ให้ชัด แล้วก็ต่อไปเห็น อนัตตา ว่าร่างกายต้องตายแน่ อย่างนี้เป็นวิปัสสนาญาณอย่างอ่อน

    และต่อจากนั้นไปท่านก็ให้ภาวนา คำภาวนาท่านก็สอนแค่ พุทโธ ให้ตั้งใจ คำว่า พุทโธ นี่ความจริงไม่ใช่เล็กน้อยนะบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท ท่านสอนนี่เป็นของใหญ่มาก คือพระพุทธเจ้าไม่ต่ำ พระพุทธเจ้าน่ะสูงมาก พุทโธ เป็นชื่อของพระพุทธเจ้านั่นเอง หลังจากนั้นก็ให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า นึกว่า พุท หายใจออกนึกว่า โธ จากนั้นไปถ้าใครต้องการใช้ทางวิชชาสาม อภิญญาหก ปฏิสัมภิทาญาณก็ต้องหาเอง อันนี้ท่านไม่สอน แต่อาตมานี่สอน อาตมาสอนทั้ง 2 อย่าง ควบกันคือ วิชชาสามกับอภิญญาเล็กน้อย อภิญญานี่สอนมากไม่ได้ พอสอนขนาดกลางได้ เวลา 1 ปี คนทำได้ ฝึกถึงแค่ 10 นาทีก็ทำกันได้ ขนาดกลาง ไม่ใช่ขนาดหนัก ต่อมาหลังจากปีนั้นมา 10 ปีไม่มีใครได้เลย พระพุทธเจ้าสั่งให้ลดกำลังลง ลดกำลังสมาธิลง สอนแค่เบา ๆ ถึงทำกันได้มาก อย่าง 2 วันที่ผ่านมานี่ได้ 300 คนเศษ นี่ทำกันได้ ถ้าอย่างหนักนั่นหมายความว่าจะไปนรก สวรรค์ เอาร่างกายไปเลย ก็คงจะทำกันไม่ได้เลย แต่ยังไม่ถึงกาลเวลา เวลานี้กาลเวลาเริ่มเข้ามาถึงแล้ว เพราะตัวอย่างก็มี

    พระที่สุราษฎร์ธานี แต่นั่นไม่ใช่อภิญญา เป็นปีติตัวที่ 4 แต่ไม่ช้าก็ได้อภิญญาถ้าเป็นแบบนั้น สามารถลอยไปบนอากาศได้เมื่อจิตเป็นสมาธิ วนไปรอบเมืองสุราษฎร์ได้ เห็นทุกอย่างทั้งหมด แต่ถ้าตั้งใจจะมาวัดท่าซุงมันกลับลงที่เดิม นั่นมันเป็นอาการของปีติ ถ้าเป็นอภิญญาแล้วสามารถบังคับได้ เราจะไปไหนมันจะไปที่นั่นทันที จะไปช้าหรือไปเร็วก็ได้ ตามปกติมันจะไปเร็ว พอนึกปั๊บมันก็ถึงเลย ถ้าเราจะไปได้ช้าต้องประคองกำลังให้ไปช้า ๆ มันถึงจะช้าตามชอบใจ หรือถ้าบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายต้องการอภิญญา ก็ได้ ก็ต่อจากนั้นไปท่านก็สอนวิปัสสนาญาณ หลวงพ่อปานนะในด้านวิปัสสนาญาณนี่ท่านตั้งอกตั้งใจสอนเฉพาะ สักกายทิฏฐิ อย่างอื่นท่านสอนแต่ไม่เน้นนัก เน้นสักกายทิฏฐิเป็นใหญ่ให้มีความเข้าใจว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา พอทำสมถะกับวิปัสสนาข้อนี้ควบกัน จิตใจก็สดใสมีอารมณ์สงบ ในช่วงนั้นยังเป็นฌานโลกีย์กันอยู่

    บรรดาพระทั้งหลายที่สนใจวิชชาสามก็ทำวิชชาสาม ที่สนใจอภิญญาหกก็ทำอภิญญาหก ควบกันไป แต่การทำนี่ต้องค้นคว้ากันเองนะ การค้นคว้าต้องค้นคว้าในวิสุทธิมรรค ก็ทำถูกบ้างผิดบ้าง ผิดบ้างถูกบ้าง ที่ทำได้เร็วก็มี ทำได้ช้าก็มี ที่ไม่ได้เลยก็มี แต่เขาก็สามารถทำได้ แต่ทว่าจุดจบจริง ๆ ของการปฏิบัติก็ต้องการจุดเดียวคือ พระนิพพาน วิชชาสามก็ดี อภิญญาก็ดี ถ้าเรายังไม่ได้เราก็อยากจะได้ ดิ้นรนอยากจะได้ พอได้แล้วก็เบื่อ มันไม่รู้จะไปไหนไอ้สวรรค์ก็มีวงแคบ พรหมก็มีวงแคบ นรกก็มีวงแคบอยู่แค่นั้นเที่ยวไปเที่ยวมามันก็แค่นั้นแหละ มันไม่รู้จะไปไหน อยากกินก๋วยเตี๋ยว ก๋วยเตี๋ยวก็ไม่มีขาย ไม่มีก๋วยเตี๋ยวขายที่นรก สวรรค์ แปลก…กินน้ำชาก็ไม่มีน้ำชาขาย อยากกินโอเลี้ยงก็ไม่มี มันแห้งมันแล้งจะตายไปไม่น่าไป เราก็ไปจบกันดินแดนพระนิพพาน พอไปถึงพระนิพพานแล้วก็หมดอยาก ความต้องการจะไปไหนอีกไม่มี พอถึงนิพพานแล้วอารมณ์ก็จบ คือดินแดนที่สวยที่สุดคือพระนิพพาน ที่เขาบอกว่าสูญ แต่ความจริงมันไม่สูญ

    ตอนแรกไปเที่ยวสวรรค์ก็สนุก ที่นั่นก็สวยที่นี่ก็สวย ที่นั่นก็ดีที่นี่ก็ดี ไปมาใหม่ๆ ที่ไปแล้วก็อยากไปใหม่ ยังไม่เคยก็อยากจะไปอีก ไปจนทั่ว หนักเข้า ๆ คืนเดียวไปจบสวรรค์ หนักเข้าๆ คืนเดียวไปทั้งสวรรค์และนรก ไปทั้งหมดจรดแดน มันก็แค่นั้นแหละ แต่ก็ดีอย่างหนึ่ง ไปเห็นนางฟ้าเทวดาที่เกิดใหม่หรือพรหมที่เกิดใหม่ เราก็เข้าไปถาม ก็ได้ความรู้จากพวกนั้นว่าไปทำอะไรมาจึงเป็นนางฟ้าได้ เป็นเทวดาได้ เป็นพรหมได้ บางคนทำบาปไว้มากแต่ก่อนจะตายจิตเป็นบุญเล็กน้อย พอกราบพระประเดี๋ยวก็ตาย ก็ไปสวรรค์ได้ บาปตามไม่ทันไปเมืองนรกก็เหมือนกัน บางคนสร้างความดีไว้มาก อย่างพระองค์หนึ่งบวชตั้ง 72 พรรษา ไปลงนรกขุมที่ 7 เจ็ดเหมือนกันใช่ไหม ท่านชอบเลข 7 เพราะอะไร เพราะว่าตอนหลังมีความเข้าใจผิด คือหลงผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นอุปัชฌาย์ได้ของมากๆ ก็ส่งขายไปบ้าง ให้ชาวบ้านไปบ้างโดยไม่ถูกธรรม ของเขาถวายสงฆ์นี่ให้ชาวบ้านไม่ได้ ถ้าจะให้ไปต้องซื้อสงฆ์ เราต้องคู้ค่าของของ เมื่อของให้ไปก็จ่ายสตางค์ให้กับส่วนกลางเท่ากับจำนวนของอย่างนี้ได้ เอาไว้เป็นของส่วนกลาง

    นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย พูดมาพูดไปวันนี้ก็ทำท่าจะพูดไม่ไหวแต่พอพูดไปได้ เป็นอันว่าทุกท่านต้องการนิพพาน ให้หันมาหากายลูกเดียว คือ สักกายทิฏฐิ ที่แนะนำให้ทุกคนว่าก่อนจะหลับให้คิดในใจว่า

    1.เราต้องการพระนิพพาน แล้วนอกจากนั้นก็รับรู้ว่าร่างกายต้องตาย หนึ่ง
    2. เคารพพระไตรสรณาคมน์
    3. เคารพในศีล เคารพในศีลต้องนับศีลด้วย ศีลข้อไหนเราบกพร่องบ้างพยายามทำศีลให้สมบูรณ์แบบ

    ให้จิตตั้งไว้เฉพาะพระนิพพานจุดเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านที่ได้มโนมยิทธิ คืออภิญญาและวิชชาสามควบกัน ก่อนจะหลับเมื่อศีรษะถึงหมอนเอาจิตไปตั้งไว้ที่นิพพาน ไปที่วิมานพระพุทธเจ้าก็ได้ไปที่วิมานของเราก็ได้ ถ้าไปที่วิมานของเราให้นึกถึงพระพุทธเจ้าจะพบท่านทันที แล้วตัดสินใจว่า ถ้าร่างกายนี้ตายเมื่อไรขอมาที่นี่เมื่อนั้น หมดเวลาพอดี​


    จงพิจารณา จงกล่าวโทษ โจทย์ตัวเองไว้เสมอ ถ้าเราเห็นว่า ตัวเองดีเมื่อไหร่ ก็เลวเมื่อนั้น ผลของธรรมมะ คือผลของปฏิบัติ

    คัดลอกมาจากหนังสือคำสอน ของท่านพระอาจารย์พระราชพรหมยาน
     
  9. pra_TopSecret

    pra_TopSecret เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2010
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +868
    ลองทำให้ถึงโสดาบัน ก่อนสิ แล้ว ลองมาตอบดูนะ


    ปัจจัตตัง ไม่ใช่การคาดคะเน
    ลองยังประโยชน์ตัวของท่านให้ ก้าวข้ามจากปุถุชน
    แล้วคำตอบท่านจะทราบเองนะ
     
  10. ทำเป็นงง

    ทำเป็นงง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +557
    ก็ธรรมมะใดเล่า ที่องค์ สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว และได้สั่งสอนแล้ว ที่มนุษย์ ไม่สามารถเข้าใจได้ ยกเว้น บัวประเภทที่ ๔ คือ ปทปรมัถ และเรื่อง อจินตรัย ๔
    การสอนเพื่อรู้ การดูเพื่อเห็น สิ่งที่เป็น ปัจจัตตัง คือ สิ่งที่ ฝ่ายหนึ่งรู้ และอีกฝ่ายหนึ่งไม่รู้ ถึงแม้นว่า จะอธิบาย สักปานใด ก็ไม่สามารถ เข้าใจได้ ตัวโยมเอง ก็คงมิได้ เป็นพวก ปทปรมัถ หรือ ถามเรื่องอจินตรัย แม้นแต่น้อย
    การก้าว จากโลกีย มาโลกุตร นั้นเป็นวิสัย ของสาวกภูมิ ซึ่งสามารถ บอกกล่าวได้ ทั้งในด้าน ปฏิบัติ และ ปริยัติ
    สังโยชน์ คือตัววัดผล ของการปฏิบัติ อย่างที่ท่าน อธิบาย ก็ถูกบ้าง ในบางส่วน ขอได้โปรด ใคร่ครวญ ปัญหาที่ถาม ด้วยเถิด ..นมัสการ
     
  11. นายตถาตา

    นายตถาตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    829
    ค่าพลัง:
    +705
    กำลังเข้มข้นเลยครับ ขออนุโมทนากับธรรมของท่านทั้งหลาย เพื่อความกระจ่างถึงที่สุด
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    คนที่รู้ ก็รู้ ไม่มีสงสัย
    คนที่ไม่รู้ ก็ไม่รู้อยู่ดี มีสงสัยก็เป็นเรื่องธรรมดา

    อนุโมทนา พระท๊อป ชินวโร เจ้าค่ะ
     
  13. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    เรื่องของการดับสังโยชน์ นี้

    สามารถทำได้ด้วย การเจริญวิปัสสนา แต่อย่างเดียว

    ให้ใจรับธรรม จนเต็ม เรียกว่า ญาณ

    เช่น เวลาที่เรามอง คนตาย ใจมันรับธรรมแต่มันไม่เต็ม เพราะมันรับเดี๋ยวเดียว แต่ว่ารับกิเลส ทั้งวัน ขาวๆ อึ๋ม ๆ ทั้งวัน แบบนี้จะเอากำลังธรรมที่ไหนไปสู้กิเลส

    ทีนี้ พอใจเรารับธรรม แรกๆ ก็เฉไปทางกิเลส เฉมาทางธรรม ตามกำลังของ ธรรมกับกิเลส ที่ผุดขึ้นในขณะนั้น นั่นแหละ

    แต่พอ ได้หลักใจเมื่อไร มันจะหมุนวน ตีกัน นี่แหละ เรียกว่า ตกกระแสพระนิพพาน คือ ตื่นขึ้นมาจิตจะจับ กับ กิเลสที่ตีขึ้น ตามธรรมชาติ ของคนตื่นนอน วันทั้งวัน จิตก็จับกับ กิเลส

    จะพอได้พักบ้าง ถ้าเราวาง ความเพียร เพื่อเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง ให้อยู่ใน เพศฆราวาสได้อย่างปกติ

    นี่ไม่ได้ลอก คำพูดหลวงตามาหรอกนะ แต่มันเป็นเช่นนี้แหละ ถ้าใคร เดินทางธรรม

    ทีนี้ ในสังโยชน์ สามตัวแรก นี้ เราไม่ต้องไปสำรวจมัน แต่ให้เรา ตั้งหน้าตั้งตา อบรมบ่มนิสัย ละขี้เกียจ ละพยาบาท ละโลภ โกรธ หลง แล้ว เจริญสติ ดูอารมณ์ของเราให้ดี ว่าเมื่อไร มันดับ เมื่อไรมันเกิด แล้ว ให้พิจารณาอย่าตามมัน ในทุกๆครั้ง ธรรมจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แล้ว มันจะค่อยๆ ดับ ความโง่ ความหลงไปเอง

    ดังที่พระอาจารย์ สิงห์ทอง ท่านละไป เพียรไป แล้วหมดไปเลย ( อ้างอิงจาก การฟังธรรม วิทยุเสียงธรรม 103.25 )

    ทีนี้ พอรับธรรมมากๆ เข้า ภาพที่เราโดนหลอกอยู่ทุกวัน ในเรื่องของโลก มันก็หลอกไม่ได้

    แต่ที่มันหลอกได้ เพราะว่า เราฟังมัน ดูมัน อยู่ทุกวัน มันก็นึกไปว่าจริง ธรรมก็ไม่มีโอกาสได้สอดแทรกเข้ามา

    แต่พอ เอาธรรมเข้าสู่ใจ ทุกวี่ทุกวัน กิเลส มันก็อ่อนกำลังลงไปสิ มันจะค่อยๆ เหือดหายไปในที่สุด

    นี่ทำตามนี้ แหละ จะดับสังโยชน์ ตั้งแต่ตัวน้อยๆ ขึ้นมา จนถึงตัวใหญ่ อันเป็นมหาเหตุแห่งทุกข์ได้เลย

    โดยไม่ต้องใช้กำลังมากด้วย เหมือน ช้างลากซุง กับคนลากซุงมันต่างกัน

    คนที่ค่อยๆ สะสมธรรม ก็เหมือนช้างลากซุง มันตัดกิเลสขาดจากใจง่ายๆ
     
  14. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    น่าจะทำตัวให้มีประโยชน์..อย่าสนุกเอามันส์อย่างเดียว หรือ ในจิตมีแต่ธรรมกระแนะกระแหนตลอด..ไปดูจิตไป ระวังชาติหน้าจะเกิดเป็นเป็ดนะ ...?
     
  15. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    เป็นความเข้าใจที่แหวกแนวออกไป ฟังดูดี แต่ควรพิจารณาให้รอบคอบ

    ประเด็นที่ผมเคลือบแคลงคือ สิ่งที่ท่านกล่าวว่า "พระโสดาบันไม่รู้ตัวว่าละสังโยชน์ได้" ฟังดูแล้วก็ไม่ต่างอะไรกับคนที่ขาดสติสัมปะชัญญะ ทำอะไร คิดอะไรไปแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว
    หากพิจารณาให้ดีแล้ว พระโสดาบันย่อมมีสติปัญญาไม่น้อยแล้ว มีหรือที่จะไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นภายในจิตใจตัวเอง
    หากจะกล่าวว่า ไม่รู้ว่า ความรู้แจ้งนั้นเรียกว่าอะไร พอจะยอมรับได้ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องรู้ปริยัติมากมาย
    แต่ที่แน่ๆ พระโสดาบันย่อมต้องรู้ว่า มีสภาวะธรรมบางอย่างเกิดขึ้นกับจิต ส่งผลให้จิตใจเบาสบาย ลดละความยึดมั่นลงไปได้
    ดังนั้นจะกล่าวว่า พระโสดาบันไม่รู้ตัว เป็นคำกล่าวที่ไม่อาจยอมรับได้เลยจริงๆๆ!!!

    อีกทั้งในเรื่องลำดับของวิปัสสนาญาณก็ดูออกจะผิดเพี้ยน มีการอ้างว่า ภาวะพระโสดาบัน คือ การข้าม นิพพิทาญาณ มาถึง จุดของ มุญจิตุกัมมยตาญาณ
    หากใครพอจะทราบลำดับของวิปัสสนาญาณอยู่บ้าง คงจะรู้ดีว่า ภาวะพระโสดาบันควรผ่านญาณที่มากกว่านั้น คือ ข้ามโคตรภูญาณเป็นต้นไป
    แต่ที่กล่าวมานั้น ยังไม่ผ่าน ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ สังขารุเบกขาญาณ และ สัจจานุโลมิกญาณ เลย จึงไม่น่าเรียกได้ว่า เป็นภาวะพระโสดาบัน

    ในส่วนสุดท้าย เมื่อกล่าวถึงโคตรภูญาณ ก็บอกว่า เมื่อเกิดแล้ว ก็จะเข้าสู่ความเป็นอริยะชนขั้นต่อๆไป
    นี่หมายถึง พระสกทาคามี พระอนาคามี หรือเปล่า?
    ดูเหมือนสับสนยังไงไม่รู้นะ
    มีจุดที่น่าสงสัยหลายจุด ลองพิจารณาดู...
     
  16. บุคคลไปทั่ว

    บุคคลไปทั่ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2009
    โพสต์:
    200
    ค่าพลัง:
    +106

    ????????????????????????????????????????????????
     
  17. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ก็นี่ไง..ตัดปัญหาเรื่องพระไตรปิฏก..เขาถึงเอา "หลวงตามหาบัว"..ท่านเป็นแนวทางปฏิบัติเลย..เอาท่านเป็นหลักเลยไงครับ ปลอมตัวมาอีกและ เล่าจัง..?
     
  18. pra_TopSecret

    pra_TopSecret เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2010
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +868
    ท่านไม่ได้สอนสิ่งใดเลย
    และมีอะไรไห้วัด
     
  19. pra_TopSecret

    pra_TopSecret เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2010
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +868
    หยุดสงสัยสิ จะไม่สงสัย
    มันสบสน เพราะมันยังติดสงสัยแหล่ะ
    นิวรณ์ธรรม
     
  20. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    900
    ค่าพลัง:
    +1,035
    เมื่อใจเข้าถึงสภาวะธรรม ใดแล้วสังโยขน์ที่เกาะกุมใจนั้นก็หลุดไปเอง
    ไม่ต้องมานั่งพิจารณาเพื่อละอีกแต่อย่างใด
    เพราะมันเป็นคุณสมบัติของใจที่อยู่ในสภาวธรรมนั้นเอง

    เหมือนเมื่อเราเปิดไฟ ความมืดก็หายไปทันที
    เมื่อใจสว่าง ความมืดในใจก็หายไปทันทีเป็นอัตโนมัติ
     

แชร์หน้านี้

Loading...