ตามหา..สุดยอดพระคาถา

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย kengja555, 7 ตุลาคม 2010.

?
  1. หัวใจพระไตรปิฏก

    0 vote(s)
    0.0%
  2. พระคาถาชินบัญชรพร้อมคำแปล

    0 vote(s)
    0.0%
  1. kengja555

    kengja555 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +41
    เรียนถามท่านผู้รู้

    ผมกำลังหาข้อมูลเพื่อจัดสร้างจี้สีเหลี่ยม ขนาด 1 เซตติเมตร x 1 เซนติเมตร
    ซึ่งภายในตั้งใจสลักตัวหนังสือพระคาถา หรือ บทสวดมนต์ ที่เชื่อว่าเป็นมหามงคลต่อผู้ส่วมใส่ ทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรื่อง แคล้วคลาดปลอดภัย ตัวหนังสือทั้งหมดตั้งใจสลักเป็นทองคำ 99.99% และบรรจุพระคาถา หากมีบุญวาสนาได้จัดสร้างสำเร็จก็เชื่อว่าจะเป็นมงคลต่อชีวิตของตนเองและครอบครัว วอนท่านผู้รู้แนะนำพระคาถา หรือ บทสวดมนต์ ให้ผมด้วยครับ สำหรับ พระคาถาที่ได้รับการจัดสร้าง ผมยินดีที่จะมอบให้ท่านผู้แนะนำ จำนวน 1 ชิ้นเป็นที่ระลึกครับ

    ขอบคุณครับ

    สมิต
    อีเมล kengja555@hotmail.com
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ตุลาคม 2010
  2. kengja555

    kengja555 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +41
    ก่อนหน้านี้ผมได้จัดทำเป็น คัมภีร์ใบเบิล ซึ่งภายในสลักเนื้อหาที่มีอยู่ภายใน คัมภีร์ใบเบิล ทั้งหมด ซึ่งเป็นที่ประทับใจเพื่อนชาวต่างชาติอย่างมาก ขนาดของตัวหนังสือ 11 บรรทัด เท่ากับ เส้นผม 1 เส้นพอดิบพอดี ขอแนบภาพมาให้ดูสักนิดนะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • c.jpg
      c.jpg
      ขนาดไฟล์:
      12.4 KB
      เปิดดู:
      326
    • d.jpg
      d.jpg
      ขนาดไฟล์:
      55.6 KB
      เปิดดู:
      265
    • d-1.jpg
      d-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      379.9 KB
      เปิดดู:
      257
    • d-3.gif
      d-3.gif
      ขนาดไฟล์:
      15.5 KB
      เปิดดู:
      183
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ตุลาคม 2010
  3. ไก่เหลืองหางขาว

    ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
    แนะนำตัว "นะ" ที่เป็นอักขระขอมโบราณครับ ทางพุทธเวทย์ถือว่าเป็นปฐมอักขระ ส่วนคาถานี่แนะนำอิติปิโสรัตนมาลาครับ ผมว่าสุดยอดแล้วล่ะ
     
  4. รากแห่งธรรม

    รากแห่งธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    667
    ค่าพลัง:
    +3,173
    พุทธธัง สะระณัง คัจฉามี ธัมมังสะระณังคัจฉามิ สังฆังสะระณังคัจฉามิ

    เย ธัมมา เหตุปปะภะวา เตสัง เหตุง ตะถาคะโต เตสัญจะ โย นิโรโธจะ เอวัง วาที มะหาสะมะโณ

    บรรทัดแรกคือ ไตรสรณคมณ์ไม่ว่าคาถาใด บทสวดใด ย่อมหมายถึงการบูชาคุณพระรัตนตรัย ขอคุณพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งในพระพุทธศานาไม่มีสิ่งใดสุดสูงเกินกว่า ไตรรัตน์นี้

    บรรทัดที่สอง คือ อมตะวจาของพระมหาเถระอัสสชิที่ทรงแสดงต่อพระสารีบุตร ถอดเป็นความว่า
    "ธรรมเหล่าใดย่อมเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงตรัสถึงเหตุแห่งธรรมนั้น พร้อมทั้งความดับแห่งเหตุของธรรมนั้น" นี้เป้นคำสอนที่ ตรงที่สุด ย่อที่สุดได้ใจความที่สุดในพระศาสนา แม้จะสั้น แต่ได้รวมเอาหลักธรรม ทั้งหลายที่สุดสูง มาย่อว่า ทุกสิ่งจะเกิดได้ย่อมมีเหตุ เมื่อไม่มีเหตุให้เกิด ก็ย่อมไม่มีการการเกิด เป็นการอธิบายถึงหลักอริยสัจสี่ ไตรลักษณ์ ปฏิเฉจสุมบาท และหลักธรรมชั้นสูงในหลายๆข้อด้วย วาทะเพียงประโยคเดียว จึงนับว่าศักดิ์สิทธิ์ เพราะวาจาเพียงแค่นี้ ก้สามารถก่อให้บังเกิดมี พระอรหันต์อีกนับพัน นับหมื่นองค์ มาจนถึงปัจจุบัน ก็ด้วยอาศัยหลักในการพิจรณาตามนี้
     
  5. ๛อาภากร๛

    ๛อาภากร๛ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    898
    ค่าพลัง:
    +3,580
    เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา
    เตสํ เหตุํ ตถาคโต อาห
    เตสญฺจ โย นิโรโธ
    เอวํ วาที มหาสมโณติ ฯ

    ว่ากันว่าบทนี้เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
    การสร้างวัตถุมงคล และพระเครื่องยุคแรก จะจาร คํานี้ไว้ หรือแม้แต้ ศาสนาวัตถุ ธรรมจักรเสมา โบราณ จะจารบทนี้เช่นกัน พระสารีบุตรได้พระโสดาบันก็ด้วยกถานี้

    หรือถ้าต้องการความเป็นศิลป์ทานด้านงานฝีมือก็ลองจารชินบัญชรดูครับ ดูจากจี้ที่ลงพระไบเบิ้ลแล้ว อักษรน่าจะลงได้ครบครับ
     
  6. namitta

    namitta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,061
    ค่าพลัง:
    +3,517
    ธรรมจักรกัปวัตนสูตร พระสูตรธรรมาภิสมัย แรกสุดของพระพุทธศาสนา สำคัญขนาดเกิดพระอริยสงฆ์คือพระโสดาบันแรกในโลก เทวดาสาธุกันลือลั่น กล่าวถึงพรหมเทวดาทุกชั้นด้วย เสมือนเทวดา พรหมทุกชั้นมาคุ้มครองรักษา

    +
    อนัตลัักขณสูตร พระสูตรที่ปิดท้ายในการเทศนาพระปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 รูป บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมกันหมด ในเวลาเทศนาจบ


    ...................................
    หรือ

    มงคลสูตร 38 อย่าง ดีทุกอย่าง

    หรือ

    พระธรรม อภิธรรม 7 คัมภีร์ ที่พระพุทธเจ้า เทศน์ให้แม่ของพระองค์ท่านฟัง ในดาวดึงส์ บูชาพระคุณแม่ของท่าน
    คนรักแม่ ไม่ควรพลาด 555555+

    หรือ

    คำอุทาน ของพระสิวลี แบบบาลี เป็นคำที่ พระสิวลี นึกถึงบารมีเดิมของท่าน ตั้งแต่ต้น ที่มีผลให้ท่านบรรลุ
    เป็นบทที่น่าจะมี เพราะ พระสิวลีคือพระอรหันต์ที่ เด่นด้านลาภผลมาก
    ขอบอกว่าก็ยาว พอดู

    หรือ อาฏานาฏิยปริตร เอาไว้กันผี ระลึกถึงท้าวเวสสุวรรณ เพื่อกันผี ในบทนี้มีคำ บูชาพระพุทธเจ้าถึง28 พระองค์
    พ่อค้าสมัยโบราณ มักจะบูชาท้าวเวสสุวรรณเพราะ เชื่อว่าท่านเป็นเจ้าแห่ง ทรัพย์สินทั้งปวง


    หรือ
    อนาถปิณฑิกสูตร หรือประวัติของท่านในพระบาลีก็ได้
    ท่านเป็นพ่อค้า ร่ำรวยที่เป็นพระอริยเจ้า

    หรือ คำอุทานของพระโชติปาล
    อดีตคือ เศรษฐีที่รวยที่สุดในสมัยพุทธกาล ขนาด พระเจ้าอชาตศัตรู ยังจะมาแย่งปราสาท
    มี ความเป็นพระจักรพรรดิเกือบครบ อยากได้อะไร ก้ได้ แต่ออกบวชซะก่อน บรรลุเป็นพระอรหันต์

    หรือ
    พระเวสสันดร ชาดก ภาษาบาลี อันนี้กล่าวเรื่องพระพุทธเจ้า เสวยชาติเป็น พระเวสสันดร ให้ทาน แบบสุดยอดเป็นครั้งสุดท้าย

    หรือ
    พระมหาขนก ชาดกแบบบาลี วิริยบารมี จาก คนที่เรือแตก อยู่ในภาวะวิกฤต พยายามจนมาเป็นพระราชา ผู้ยิ่งใหญ่ อันนี้น่าจะเป็น การให้กำลังใจคนที่ อยู่ในภาวะวิกฤตได้เป็นอย่างดี

    หรือ

    อิสิคิลิสูตร สูตรบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า

    หรือ

    ......................





    อันเล็กๆขนาดนั้นน่าจะบรรจุได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ตุลาคม 2010
  7. radha

    radha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +414
    นี่คือข้อคิดเห็นค่ะ....

    ---- มะ อะ อุ -----

    อักษร 3 ตัว
    แทน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์, แทนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป, แทน นะโม 3 จบ คำนอบน้อมแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, แทน ศีล สมาธิ ปัญญา, แทนกาย วาจา ใจ, แทนการบำเพ็ญด้วย บารมี อุปะปารมี ปาระมัตถะปาระมี
    แทน สวรรค์ โลก นรก, แทนมหาเทพ พระศิวะ พระนารายณ์ พระพรหม, แทนมหาเทวี อุมาเทวี มหาลักษมีเทวี สุรัสวดีเทวี, แทนที่สถิตแห่งมหาเทพ พรหมโลก เกษียณสมุทร เขาไกรลาศ,

    หรือจะมีความหมายมากกว่านี้ต้องรบกวนผู้ที่ศึกษาอยู่ รบกวนด้วยค่ะ

    อ้างอิง > มะ อะ อุ
     
  8. ตันติปาละ

    ตันติปาละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    4,421
    ค่าพลัง:
    +4,649
    นี่ครับสุดยอดของคาถาทั้งหมดคือการมีเมตตาแผ่ไป 10 ทิศ
    สวดติดต่อกัน 108 จบ จะเกิดสิ่งมหัสจรรย์อย่างไม่น่าเชื่อ
    ทุกศาสนาจะยกคำสอนในเรื่องของการมีเมตตามาก่อน
    เพราะการแผ่เมตตาจะทำลายกำแพงทุกอย่างได้
    คือความพยาบาท ความตระหนี่ ความคิดที่เป็นอกุศล
    ความมีเมตตาจะนำพาสู่ความสำเร็จทั้งปวงครับ


    เมตตาพรหมวิหาระภาวนา (มหาเมตตาใหญ่)


    เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อารา เมฯ
    ตัตตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะวะโต ปัจจัสโสสุงฯ
    ภะคะวา เอตะทะโวจะ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเส วิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ
    วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ กะตะเม เอกาทะสะ?
    (1) สุขัง สุปะติ (2) สุขัง ปะฏิพุชฌะติ (3) นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ (4) มะนุสสานัง ปิโย โหติ
    (5) อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ (6) เทวะตา รักขันติ (7) นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ (8) ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ
    (9) มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ (10) อะสัมมุฬฬะโห กาลัง กะโรติ (11) อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรหมมะโลกูปะโค โหติฯ
    เมตตายะภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ
    ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏิฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ
    อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
    อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
    อัตถิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    กะตีหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?
    กะตีหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?
    กะตีหาการเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?
    ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุติฯ
    สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    กะตะเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?

    (1) สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (2) สัพเพ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (3) สัพเพ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (4) สัพเพ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (5) สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ
    อิเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    กะตะเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

    (1) สัพเพ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (2) สัพเพ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (3) สัพเพ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (4) สัพเพ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (5) สัพเพ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (6) สัพเพ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (7) สัพเพ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ
    อิเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    กะตะเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?

    (1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (8) สัพเพ ทักขะณายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (10)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (1) สัพเพ ปุรัตถิยายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (8) สัพเพ ทักขินายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (10)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (10)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (10)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (7) สัพเพ อุตตารายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติฯ

    อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ

    สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา
    อะปีฬานะยะ อุปะฆาตัง วัชเชตวา
    อะนุปิฆาเตนะ สันตาปัง วัชเชตวา
    อะสันตาเปนะ ปะริยาทานัง วัชเชตวา
    อะปะริยาทาเนนะ วิเหสัง วัชเชตวา
    อะวิเหสายะ สัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุ มา เวริโน สุขิโน โหนตุ มา ทุกขิโน สุขิตัตตา โหนตุ มา
    ทุกขิตตาติ อิเมหิ อัฏฐะหากาเรหิ สัพเพ สัตตา เมตตายะตีติ เมตตา ตัง ธัมมัง เจตะยะตีติ
    เจโต สัพพะพะยาปะทะปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ เมตตา จะ เจโตวิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติฯ

    เมตตา พรหมมะวิหาระภาวะนา นิฏฐิตา.
     
  9. kengja555

    kengja555 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +41
    @ไก่เหลืองหางขาว - ขอบคุณสำหรับ ข้อมูลครับ
    @รากแห่งธรรม - ขอบคุณสำหรับ ข้อมูลครับ
    @๛อาภากร๛ - ขอบคุณสำหรับ ข้อมูลครับ
    @namitta - ขอบคุณสำหรับ ข้อมูลครับ
    @radha - ขอบคุณสำหรับ ข้อมูลครับ
    @ตันติปาละ - ขอบคุณสำหรับ ข้อมูลครับ

    ขอถามความคิดเห็นต่อครับ สำหรับพื้นที่ขนาด 1 Cm x 1 Cm ที่จะสลักตัวอักษร สัญลักษณ์ หรือ อักขระ ลงไป อาจเทียบเท่ากับหนังสือประมาณ 600-700 หน้า ขอถามว่าถ้าจะรวบรวมเนื้อหา อักขระ ตัวอักษร ของ พระคาถาทั้งหมดที่มีอยู่ในเมืองไทยแล้วบรรจุเข้าไป จะมีปัญหาด้านใดบ้างหรือเปล่า คือ ส่วนตัวไม่มีความรู้ด้านนี้เลย เพียงแต่สงสัยว่า อักขระของพระอาจารย์แต่ละท่าน สามารถรวม อยู่ด้วยกันได้ไหมแล้วถ้าได้จะยังคงศักดิ์สิทธ์และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปหรือไม่ อย่างไร และถ้าต้องการรายละเอียดสำหรับพระคาถาต่าง ๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลสำหรับการออกแบบ จะหาหรือติดต่อใครได้ที่ไหนบ้าง

    ขอบคุณครับ

    สมิต
     
  10. radha

    radha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +414
    สอบถามเพิ่มเติมนะค่ะ

    หากจะนำพระคาถาแต่ละบท มารวมกันไว้ในที่เดียว แต่ผู้ครอบครองไม่สามารถจะระลึกได้ หรือสวดได้ทุกบท มนต์นั้นจะมีอำนาจหรือไม่อย่างไรคะ
     
  11. ตันติปาละ

    ตันติปาละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    4,421
    ค่าพลัง:
    +4,649
    คาถาทุกคาถาล้วนเป็นธรรมจากพระพุทธเจ้า ก็เหมือนเวลาที่เราฟังพระสวดมนต์เวลามีงานบุญ
    พระท่านก็สวดหลายบทเพราะแต่ละบท มีความหมายที่แตกต่างกัน ทำหน้าที่ต่างกัน จึงสามารถอยู่รวมกันได้ อย่างมีเหตุผลครับ
     
  12. ตันติปาละ

    ตันติปาละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    4,421
    ค่าพลัง:
    +4,649
    มนต์คาถาถ้าเป็นพุทธคุณไม่มีเสี่อมครับ อยู่ที่ผู้รักษาเท่านั้น คือการรักษา กาย วาจา ใจ ไม่ให้ประมาท แม้วัตถุนั้นจะบรรจุพระคาถาหรือมนต์อะไร หากผู้ครอบครองระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็เพียงพอแล้วที่จะไม่ประมาทในศีล 5
    แต่หากผู้ครอบครองประมาทในศีล 5 จะพระคาถาดีแค่ใหนก็ไม่คุ้มครองครับ
    อำนาจพระคาถาอยู่ที่ผู้ใช้ด้วยครับ

    อีกอย่างหนึ่งหากเราตั้งอยู่ในพละ 5 อะไรก็ดีหมดครับ
    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->
    พละ 5 คือ กำลังที่จะทำให้สำเร็จห้า ประการได้แก่



    1.ศรัทธา คือ ความเชื่อ กำลังการควบคุมความสงสัย


    2.วิริยะ คือ ความเพียร กำลังการควบคุมความเกียจคร้าน


    3.สติ คือ ความระลึกได้ กำลังการควบคุมความประมาท



    4.สมาธิ คือ ความตั้งใจมั่น กำลังการควบคุมนิวรณ์ 5


    5.ปัญญา คือ ความรอบรู้ กำลังการควบคุมเพิกเฉยไม่สนใจ หลงงมงาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ตุลาคม 2010
  13. kengja555

    kengja555 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +41
    สงสัยเหมือนคุณ radha ครับ ถ้าเป็นเช่นนั้น ผ้ายันต์ หรือ การเจิมอักขระ ที่เรามีไว้ตามบ้านเรือนห้างร้านต่าง ๆ หรือ ยันต์ที่เจิมในรถ ต้องระลึกไว้เสมอจึงเกิดผลหรือไม่ โดยส่วนตัวเข้าใจว่า หากมีไว้ก็มีพุทธคุุณในระดับหนึ่ง และ ถ้าได้สวดภาวนา ก็ยิ่งเสริมให้พุทธคุณนั้นมีพลังมากขึ้น
     
  14. ตันติปาละ

    ตันติปาละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    4,421
    ค่าพลัง:
    +4,649
    พลังอำนาจนั้นมีอยู่และสถิตอยู่ในระดับหนึ่งครับ วัตถุมงคลต่างก็มีไว้เตือนสติเราเหมือนกัน ว่าไม่ให้ประมาท เช่นเราห้อยพระไปหาเพื่อนพระที่อยู่คอเราก็จะเป็นเครื่องเตือนเราว่า อย่ากินเหล้านะมันผิดศิล
    ถ้าเราไปอ่านวัตถุมงคลที่ติดอยู่รถ ถ้าเราอ่านดีๆจะเห็นคำว่า ไปดี มาดี ปลอดถัย อย่าประมาท
    อย่างที่หลวงพ่อคูณ สอนไว้ ขับรถเกิน 90 กูก็กระโดดออกแล้ว
     
  15. namitta

    namitta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,061
    ค่าพลัง:
    +3,517
    มี ครับ เพราะ เกจิอาจารย์ มีคาถาอาคม เป็นบทไว้เยอะมากตามแต่ละอาจารย์ ถ้าจะ บรรจุเข้าไป ไม่พอครับ
    แถมแต่ละคาถา มีเคล็ดต่างๆอีก ไม่ใช่ว่าสักแต่ท่องๆ
    อีกอย่างคาถาเหล่านี้บางบทมีครูบาอาจารย์ที่หวงแหนเฉพาะ อาจทำให้เกิด อาถรรพร์แปลก ไม่ดีได้

    ถ้าจะออกแบบ แนะนำ เอาพระไตรปิฏก ใส่เข้าไปดีกว่า
    บาลี 45 เล่ม
    บาลี+ไทย 91 เล่ม

    รวมทุกอย่าง ถ้าใส่หมดไหวนะครับ เราจะได้ พระไตรปิฏกฉบับจิ๋วที่สุดในโลก 555+
    พกไว้ รวมทุกอย่างในนั้น อิอิ
     
  16. kengja555

    kengja555 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +41
    เข้าใจว่ามีอำนาจอยู่ครับ แม้ว่าจะไม่สามารถระลึกได้ ก็สามารถป้องกันได้ในระดับหนึ่ง และยิ่งระลึก หรือ ภาวนาอยู่เสมอก็จะมีสติ เมื่อมีสติก็ไม่ประมาทซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งเหตุร้ายต่้าง ๆ :cool:
     
  17. radha

    radha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +414
    ขอบคุณทุกๆ ท่านที่ให้ความรู้เพิ่มเติมนะคะ

    แล้วคุณ จขกท นิยมสวดบทใดอยู่คะ เราคิดว่า บทที่ดีที่สุดคือบทที่เราสวดภาวนาแล้วเกิดสุขที่สุด
    อย่างเราเอง เมื่อก่อนก็สวดอยู่หลายบท แต่มีบางบทเท่านั้นที่รู้สึกว่า นี่แหละ ใช่เลย ^^ สุดท้ายทุกวันนี้ก็มีสวดอยู่ไม่กี่บทค่ะ
     
  18. kengja555

    kengja555 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +41
    ก่อนนอนสวดนะโม 3 จบ และอิติปิโส บางครั้งก็ ชินบัญชรครับ แล้วคุณ radha สวดบทไหนเป็นประจำบ้าง แชร์กันหน่อยสิครับ :cool:
     
  19. kengja555

    kengja555 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +41
    ขอบคุณสำหรับความเห็นนะครับ จริงแล้วส่วนตัวสนใจมากกับคำแนะนำนี้ จะลองค้นข้อมูลเพิ่มเติมและลองคำนวนพื้นที่ที่จะสลักตัวอักษรลงไปนะครับ
    ผมเคยได้ยินว่า ผู้ใดมียอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกไว้ประจำบ้านเรือน มีอานิสงส์ยิ่งกว่าได้สร้างพระเจดีย์ทองคำสูงเทียมเทวโลกและป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ทำมาหากินเจริญ ฯลฯ

    ต่อมามีผู้นิยมสร้างหนังสือนี้ขึ้น โดยเชื่อว่าผู้ใดสร้าง ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้เป็นธรรมทาน และสวดมนต์สักการะบูชาเป็นประจำ จะมีผลานิสงส์สุดที่จะพรรณ นาให้ทั่วถึงได้ นับเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ จะมีความสุขสิริสวัสดิ์เจริญต่อไปทั้งปัจจุบันกาลและอนาคตภายภาคหน้า
    ตลอดทั้งบุตรหลานสืบไป ด้วยอำนาจของความเคารพในพระคาถานี้

    ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ ถ้าผู้ใดบริจาคทรัพย์สร้างถวายพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ญาติ-มิตรสหาย หรือสวดจนครบ ๗ วัน ครบอายุปัจจุบันของตน จะบังเกิดโชคลาภทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง จะพ้นเคราะห์ ปราศจากทุกข์โศกโรคภัยและภัยพิบัติทั้งปวง ฯ


    เพื่อน ๆ มีความคิดเห้นเพิ่มเติมอะไรบ้างไหมครับ
     
  20. kengja555

    kengja555 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +41
    ส่วนความคืบหน้าในการจัดผลิต คงสรุปได้ภายในอาิทิตย์นี้ สัญญาว่าจะมาอัพเดท..ยังไงก็คอยติดตามด้วยนะครับ ขอขอบคุณทุกความคิดเห็นและคำแนะนำ ได้ประโยชน์มากมายเลยทีเดียว :)
     

แชร์หน้านี้

Loading...