คุณคิดว่าวิทยาศาสตร์กับศาสนามีความสัมพันธ์กันหรือไม่?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย khajornwan, 8 พฤศจิกายน 2010.

  1. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    ความเหมือนและความต่าง

    ก่อนที่เราจะออกนอกลู่นอกทางไปเรื่องของจิตวิญญาณไปมากกว่านี้
    ก็เลยขอกลับมาเรื่องนี้กันต่อ เด๋วคุงไอน์สไตน์มีเคือง ฮี่ฮี่..:mad:
    ...........................................
    ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “ศาสนา” (Religion) เป็นสิ่งหนึ่งที่คอยยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์เราตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้วไม่ว่าจะศาสนาใดก็ตามที่มีอยู่ในโลกนี้ต่างก็พร่ำสอนให้คนเป็นคนดี ปฏิบัติตนอยู่ในทำนองคลองธรรมกันทั้งนั้นอาจจะมีส่วนน้อยที่แบ่งแยกตนออกไปเป็นลัทธิ มีความเชื่อผิดแผกไปบ้าง แต่โดยส่วนใหญ่แล้วก็เน้นให้คนเห็นความสำคัญของการดำรงตนเป็นคนดีของทุกคนและสังคม

    แต่ในภาวะปัจจุบันที่โลกมีแต่เทคโนโลยีล้ำหน้าไปเสียทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีทางการสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะเทคโนโลยีชีวภาพ ที่ล้ำหน้าเสียจนคนก้าวตามแทบไม่ทัน นำความเปลี่ยนแปลงหลากหลายประการมาสู่ชีวิตมนุษย์ โดยเริ่มตั้งแต่สมัยแรกๆ ที่นักวิทยาศาสตร์สามารถล่วงรู้ว่า “ยีน” (Gene) หรือหน่วยพันธุกรรมเป็นหัวใจหลักของการควบคุมการแสดงออกของลักษณะต่างๆ ในสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ และมนุษย์ ทั้งยังสามารถวิเคราะห์ถึงโครงสร้างของยีนได้อย่างกว้างขวาง และสามารถสังเคราะห์ชิ้นส่วนยีนรวมถึงถ่ายฝากยีนของสิ่งมีชีวิตหนึ่งให้กับสิ่งมีชีวิตอื่นได้หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ “พันธุวิศวกรรม” (Genetic Engineering) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทำการเคลื่อนย้ายยีนจากสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์หนึ่งไปสู่สิ่งมีชีวิตอีกสายพันธุ์หนึ่ง ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มในสร้างสิ่งมีชีวิตรูปแบบใหม่ที่มียีนลูกผสมแบบใหม่ ในคุณลักษณะแบบใหม่ซึ่งไม่เคยปรากฏในธรรมชาติมาก่อน ด้วยความมุ่งหมายที่จะปรับปรุงคุณลักษณะของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ให้ดีกว่าเดิม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรม สนองความต้องการของมนุษย์ในด้านการอุปโภคและบริโภคที่สูงขึ้น เช่น การพัฒนาพันธุ์สัตว์ การปรับปรุงพันธุ์พืชให้ต้านทานโรคและแมลง การพัฒนาพันธุ์พืชให้มีคุณภาพผลผลิตดี การพัฒนายารักษาโรคและวัคซีนที่ไม่เคยทำได้ในยุคก่อนหน้านี้

    [​IMG]

    <O:pทว่านักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนว่าการนำเทคโนโลยีชีวภาพเหล่านี้มาใช้ จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อาทิ ผลผลิตจะมีพิษภัยต่อสุขภาพคนและสัตว์หรือไม่ ยีนเหล่านี้จะมีโอกาสกลายพันธุ์เป็นยีนก่อโรคหรือไม่ ยีนเหล่านี้จะมีโอกาสหลุดรอดออกไปสู่สิ่งมีชีวิตอื่นได้หรือไม่ ฯลฯ เพราะฉะนั้นความเชื่อทางศาสนาจึงก้าวมามีบทบาทสำคัญในการช่วยให้มุมมองผลกระทบทางเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นหลักสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยแสดงถึงมิติแห่งการรับรู้ และกำหนดขอบเขตการยอมรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ของสังคม เพราะความเชื่อทางศาสนานั้นมักเป็นความเชื่อที่อยู่บนรากฐานของการยอมรับในกฎแห่งธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อที่เกี่ยวกับมนุษย์

    <O:pความรู้ในทางศาสนาแม้จะมีรากฐานอันเดียวกันกับวิทยาศาสตร์ กล่าวคือ ตั้งอยู่บนความเชื่อแบบ มนุษย์นิยมเหมือนกัน แต่ท่าทีที่ศาสนามีต่อธรรมชาติแตกต่างจากท่าทีของวิทยาศาสตร์ แม้ว่านักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายจะไม่ประกาศท่าทีของเขาต่อธรรมชาติอย่างแจ้งชัด แต่จากลักษณะการทำงานของนักวิทยาศาสตร์ เราก็พอมองเห็นได้ว่าคนเหล่านี้คิดเช่นไรต่อสิ่งต่างๆ ที่ไม่ใช่มนุษย์ ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์บางแขนง เช่น ชีววิทยา สัตว์จำนวนหนึ่งจะถูกนำมาทรมานให้เจ็บปวด เคยมีคนเขียนหนังสือบรรยายสภาพของสัตว์ที่ถูกนำมาทดลองว่าน่าสมเพชเวทนาอย่างยิ่ง สัตว์เหล่านี้บ้างก็พิกลพิการ บ้างอยู่ในภาวะหวาดผวาจนเสียสติ บ้างก็ล้มตายลงด้วยโรคร้ายอันเกิดจากสารเคมีที่นักวิทยาศาสตร์ฉีดเข้าไปในร่างกายของมัน ที่นักวิทยาศาสตร์ทำเช่นนั้นอาจมีเหตุผลเพื่อความผาสุกของมนุษยชาติโดยส่วนรวม การทดลองเหล่านี้ล้วนเป็นไปเพื่อค้นหาสิ่งมาอำนวยความสะดวกสบายและการมีสุขภาพที่ยืนยาวสำหรับมนุษย์ ในที่นี้เราจะไม่อภิปรายกันว่าจุดประสงค์ดังกล่าวนี้มีเหตุผลเพียงพอหรือไม่ที่จะลบล้างบาปกรรมที่มนุษย์กระทำต่อสัตว์ที่ไม่มีทางสู้เหล่านั้น ประเด็นที่เราจะพิจารณากันก็คือ การที่คนเราสามารถทำทารุณกรรมต่อสัตว์ตาดำๆ เหล่านั้นได้สะท้อนให้เห็นว่า มนุษย์ที่ทำการทดลองบนความเจ็บปวดทรมานของสัตว์พวกนั้นคิดว่าตนเอง คือ “นายของธรรมชาติ” เมื่อเป็นนายย่อมไม่แปลกที่เราจะทำอะไรก็ได้กับสิ่งที่เราครอบครองเป็นเจ้าของนั้น ความคิดที่ว่าคนคือนายของธรรมชาตินี่เอง ที่ผลักดันให้วิทยาศาสตร์ก้าวล้ำเข้าไปในอาณาเขตที่น่าวิตก ปัจจุบันวิชาชีววิทยาก้าวหน้าไปมาก มนุษย์สามารถควบคุมให้พืชหรือสัตว์เจริญเติบโตไปในทิศทางและรูปแบบที่ตนต้องการ มีคนคิดผสมพันธุ์แปลกๆ แปลกถึงขนาดมีการคิดผสมพันธุ์พืชและสัตว์เข้าด้วยกัน และด้วยพื้นฐานความคิดที่ว่าตนคือนายของธรรมชาตินี่เองที่ก่อให้เกิดโครงการที่น่าเกรงกลัวอย่างยิ่ง เช่น โครงการเพาะพันธุ์มนุษย์แบบไม่อาศัยเพศ หรือที่เรียกว่า “โครนนิ่ง” เป็นต้น

    <O:pเป็นที่ทราบกันดีว่า การสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ (sexual reproduction) อันเป็นวิธีการแบบธรรมชาติที่คนเรากระทำกันอยู่นี้ไม่สามารถคงคุณสมบัติบางประการที่เราต้องการไว้ได้ อัจฉริยะอย่างเช่นไอน์สไตน์เมื่อมีลูกก็ไม่จำเป็นว่าลูกของเขาจะเป็นอัจฉริยะด้วย นักวิทยาศาสตร์ใฝ่ฝันมานานว่า ทำอย่างไรจึงจะสามารถถ่ายทอดคุณสมบัติที่หาได้ยากของพ่อแม่ไปสู่ลูก หากเราค้นพบวิธีถ่ายทอดคุณสมบัติดังกล่าวนี้ อัจฉริยะบุคคลทั้งหลายจะมีชีวิตเป็นอมตะ

    <O:pความรู้ในโลกนี้แบ่งออกเป็นสองประเภท ประเภทหนึ่งรู้แล้วเป็นประโยชน์แก่ชีวิต ส่วนอีกประเภทหนึ่งรู้แล้วไม่เป็นประโยชน์ ความรู้ที่พุทธศาสนาเลือกนำมาสอนนี้ คือ ความรู้ประเภทแรกเท่านั้น ส่วนประเภทที่สองแม้จะรู้ก็ไม่นำมาสอนและหากจะเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นว่า ความรู้ที่เป็นประโยชน์นั้นมีน้อยมากความรู้ส่วนใหญ่ไม่เป็นประโยชน์แก่มนุษย์ ความเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์วัดจากอะไร คำตอบคือ ความรู้ใดไม่ส่งเสริมให้เราเข้าถึง “บิ๊กแบงภายในใจ” (ผู้เขียนเปรียบเทียบขึ้นมาเอง) นิพพาน หรือ ความสิ้นทุกข์ ความรู้นั้นถือว่าไม่เป็นประโยชน์ในแนวพุทธศาสนา

    <O:pดังนั้นในขณะที่เรากำลังชื่นชมวิทยาศาสตร์ว่ามีคุณอเนกอนันต์ เราต้องไม่ลืมว่าในขณะเดียวกันสิ่งนี้ก็มีโทษมหันต์ด้วย และก็เช่นเดียวกัน เมื่อเรากำลังวิพากษ์วิจารณ์ว่าวิทยาศาสตร์ คือ ต้นตอของปัญหาที่กำลังคุกคามสันติภาพในโลกคุกคามความสมดุลทางธรรมชาติ ทำให้โลกเสียสมดุล ทำให้คนมีจิตใจเป็นเครื่องจักร ทำให้สะดวกสบายจน หลงใหลในสิ่งฉาบฉวยมากกว่าแก่นของชีวิตเป็นต้น เราต้องไม่ลืมว่าวิทยาศาสตร์ ก็มีคุณูปการอันไม่อาจประมาณได้แก่มนุษย์ด้วยเช่นกัน

    วิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเรื่อง “สสารนิยม” เรื่องที่สามารถรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส ดังนั้นรากฐานทางอภิปรัชญาของวิชาวิทยาศาสตร์จึงได้แก่ แนวคิดแบบ สสารนิยม เนื้อหาของวิชาวิทยาศาสตร์ทุกสาขาเกี่ยวข้องกับเรื่องของสสารเท่านั้น ไม่มีเนื้อหาของวิทยาศาสตร์ส่วนใดหรือสาขาใดที่กล่าวถึงสิ่งที่ไม่ใช่สสาร จริงอยู่ที่บางครั้งวิทยาศาสตร์อาจกล่าวถึงสิ่งเร้นลับที่วิทยาศาสตร์เองไม่สามารถอธิบายได้ว่ามาจากไหนในเบื้องสุด เช่น สนามแม่เหล็ก คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อิเล็กตรอน เป็นต้น แต่สิ่งเหล่านี้วิทยาศาสตร์ก็เชื่อว่ามีฐานะเป็นสสาร หรือไม่ก็เป็นการแสดงตัวของสสาร นักวิทยาศาสตร์บางคน เช่น นิวตัน เชื่อในสิ่งเร้นลับที่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถอธิบายได้ เช่น พระเจ้า , จิต , วิญญาณ เป็นต้น นักวิทยาศาสตร์อาจมีความเชื่อส่วนตัวอย่างไรก็ได้ เพราะเขาคือมนุษย์คนหนึ่งที่เกิดมาท่ามกลางผู้คนและขนบธรรมเนียมประเพณี นิวตันเกิดมาในสังคมที่คริสต์ศาสนามีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของผู้คน นิวตันไม่ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียวที่เชื่อในพระเจ้า เขายังเป็นมนุษย์ที่สามารถถูกหล่อหลอมด้วยแนวคิดทางศาสนา การเป็นนักวิทยาศาสตร์เป็นเพียงด้านหนึ่งของชีวิตเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่นิวตันจะเชื่อเรื่อง พระเจ้า แต่เมื่อนิวตันจะเสนอแนวคิดใดก็ตามในทางวิทยาศาสตร์เขาต้องพักความเชื่อส่วนตัวไว้ก่อน วิชาวิทยาศาสตร์ไม่อนุญาตให้เราใส่เรื่องที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยประสาทสัมผัสลงในเนื้อหาของวิชาวิทยาศาสตร์ ดังนั้นแม้ว่านิวตันจะเชื่อเรื่องพระเจ้า แต่เขาจะเอาเรื่องนี้มาปนลงในวิทยาศาสตร์ไม่ได้ เพราะเมื่อใดก็ตามที่นิวตันเสนอแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ออกมาก แนวคิดนั้นจะกลายเป็นของสาธารณะ และ มีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์ รากฐานทางอภิปรัชญาของวิทยาศาสตร์คือแนวคิดแบบสสารนิยม ดังนั้นใครก็ตามหากต้องการเสนอความคิดทางวิทยาศาสตร์ออกมาเขาต้องเสนอในกรอบแนวคิดแบบสสารนิยมนี้เท่านั้น
    ( ยังมีต่อ )
    ;aa43;aa43;aa43
     
  2. นาคธันดร

    นาคธันดร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2010
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +157
    ศาสนาอื่นผมไม่ทราบ แต่ศาสนาพุทธ ส่วนใหญ่มักไปกันได้ดีกับวิทยาศาสตร์
     
  3. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    ความเหมือนและความต่าง ( ต่อ )
    ส่วนพุทธศาสนาเป็นที่ทราบกันดีว่ามีรากฐานทางอภิปรัชญาแบบ “จิตนิยม” พุทธศาสนาเชื่อว่าภายในจักรวาลนี้ นอกจากวัตถุยังมีสิ่งอื่นที่ไม่ใช่วัตถุรวมอยู่ด้วยแนวคิดแบบจิตนิยมของพุทธศาสนาอาจดูได้ง่ายๆ จากหลักคำสอนที่เรียกว่า “ขันธ์ห้า” พุทธศาสนาเชื่อว่าคนเราประกอบด้วย กาย(รูป) หนึ่ง กับอีกสี่อย่าง คือ ความรู้สึก (เวทนา) การจำ(สัญญา) การคิด(สังขาร) และการรู้(วิญญาณ) สี่ขันธ์หลังนี้ไม่ใช่สสาร หากแต่เป็นนามธรรม ดังที่กล่าวไว้ตั้งแต่บทต้นๆแล้วมา ดังนั้นในทัศนะของพุทธศาสนา การที่คนเราคิดได้ มีอารมณ์ความรู้สึก มีจินตนาการ มีความรัก ความเกลียด ความโกรธ เป็นต้น ก็เพราะเรามีจิตซึ่งแยกต่างหากจากกาย คนไม่ใช่กลุ่มก้อนของสสารอย่างที่ลัทธิสสารนิยมเชื่อกัน

    ความแตกต่างระหว่างรากฐานของพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์นี้เป็นเองสำคัญ มีคนอ้างบ่อยๆ ว่าพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์บ้าง พุทธศาสนาเข้ากันได้กับวิทยาศาสตร์บ้าง การอ้างนั้นแม้จะเกิดจากความหวังดีและต้องการเชิดชูพุทธศาสนา แต่ก็เป็นเรื่องที่เราต้องระวังเช่นกัน ความรู้บางส่วนในพุทธศาสนาอาจพิสูจน์ตรวจสอบได้เหมือนความรู้ในวิทยาศาสตร์ เพราะต่างก็เป็นความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่อาจตรวจสอบด้วยประสาทสัมผัสและเหตุผลเหมือนกัน แต่นั่นก็ไม่จำเป็นว่าพุทธศาสนาจะต้องเป็นวิทยาศาสตร์ หรือเข้ากันได้กับวิทยาศาสตร์ทุกอย่างเสมอไป รากฐานของสองระบบความรู้นี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เมื่อสาวไปจนถึงที่สุดแล้ว วิทยาศาสตร์นั่นเองคือเป็นสิ่งที่ขัดแย้งอย่างรุนแรงต่อพุทธศาสนา หรือจะพูดได้อีกอย่างได้ว่า “วิทยาศาสตร์เองนั้นขัดแย้งต่อกฎธรรมชาติ!” เมื่อมีวิทยาศาสตร์ก็ต้องย่อมมีการวิจัยทดลอง จึงมีคำถามที่หน้าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่า การวิจัยทดลองเป็นการทำลายชีวิตหรือไม่

    จะเห็นได้ว่าการทดลองวิจัยบางอย่างในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์โดยตรง เช่น การผสมเทียม หรือการสร้างเด็กหลอดแก้ว ซึ่งอาจจะนำไปสู่การสร้างมนุษย์คนใหม่ขึ้นมาลืมตาดูโลก แต่จากวิธีการสร้างที่ต้องสร้างตัวอ่อนขึ้นมาหลายๆตัว และเลือกไว้เพียงจำนวนที่ต้องการใช้ ขณะที่ตัวอ่อนที่เหลือจะต้องถูกกำจัดทิ้งไปในทางศาสนาแล้วถือว่าเป็นการทำลายชีวิตมนุษย์หรือไม่ ตัวอ่อนถือว่าเป็นหนึ่งชีวิตหรือไม่ นิยามเกี่ยวกับ ชีวิตมนุษย์ ของแต่ละศาสนาคืออะไร มุมมองต่อเรื่องการเกิด การตาย การทำลายสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อมนุษย์ของแต่ละศาสนาเป็นอย่างไร
    <O:p</O:p
    ในยุคหนึ่งความรู้และอำนาจได้ตั้งอยู่บนฐานของกระบวนการโลกทัศน์ที่ว่า โลกเป็นศูนย์กลางของระบบจักรวาล แต่โคเปอร์นิคัส พบว่าไม่ใช่ เพราะถ้าถืออย่างนั้นก็ไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์การเคลื่อนที่ วกกลับของดาวเคราะห์ต่างๆได้ เขาพิสูจน์ว่าถ้าให้ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง จึงจะสามารถอธิบายได้ในเรื่องของการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ แต่ความรู้ใหม่ของเขา ได้เป็นอันตรายต่อศรัทธาและโครงสร้างอำนาจ ที่อิงอยู่กับความรู้เดิมอย่างรุนแรง โชคดีที่โคเปอร์นิคัสตายก่อน ผู้เห็นจริงตามโคเปอร์นิคัสคนหนึ่งคือ บรูโน ได้พยายามเผยแพร่ความคิดดังกล่าว ก็ได้ถูกศาลไต่สวนศรัทธาจับเผาทั้งเป็นเมื่อปี ค.ศ.๑๖๐๐ ส่วนอีกคนที่รู้จักกันทั่วโลกก็คือ กาลิเลโอ กาลิเลอี โดนจับหลายครั้ง ถูกลงโทษจำขัง และห้ามไม่ให้แสดงความคิดเห็นใดๆ อีกตลอดชีวิต
    <O:p</O:p
    นี่คือการเริ่มต้นของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ตะวันตก ที่ต้องต่อสู้และแลกมาด้วยเลือดและชีวิต ของผู้คนจำนวนมากมาย เพื่อแลกกับอิสรภาพและเสรีภาพในการแสวงหาความจริงของธรรมชาติ จนกระทั่งระบบกดขี่ข่มเหงหมดพลังอำนาจลงไป วิทยาศาสตร์ที่ยืนอยู่ข้างความจริงก็ได้รับการยอมรับ ระยะเวลาที่ผ่านมาสามศตวรรษ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตะวันตก ก็กลับกลายเป็นสถาบันที่มีอำนาจ แผ่ไปครอบงำวิถีชีวิตของคนทั่วโลก เวลานี้ ถ้าใครไม่เชื่อวิทยาศาสตร์ ไม่เชื่อวิธีการพัฒนาแบบทันสมัย กลายเป็นพวกนอกรีตหรือล้าสมัย หากยังมีจิตวิญญาณของความเป็นวิทยาศาสตร์หลงเหลืออยู่บ้าง กระทรวงวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ควรใช้วิธีการทางปัญญาควบคู่กันไปด้วย มีจิตใจวิทยาศาสตร์ เปิดกว้างมากขึ้นควบคู่ไปกับแนวทางวิทยาศาสตร์ด้วย
    <O:p</O:p
    การทดลองในห้องทดลองเมื่อผิดพลาด เรายังรื้อทิ้งแก้ใหม่ได้ แต่อาจจะมีผลกระทบกับชีวิตและของธรรมชาติในสรรพสิ่งบ้าง และมีชีวิตคนเป็นเดิมพันบ้าง วัฒนธรรมชุมชนเป็นเดิมพันบ้าง ระบบนิเวศเป็นเดิมพัน บ้าง เท่าที่คิดได้ชีวิตและธรรมชาติมีแค่มิติเดียวเท่านั้นหรือ คุณค่าของความเป็นมนุษย์ คุณค่าของการเรียกร้องเอาธรรมชาติกลับคืนมา มันไม่เป็นจิตวิญญาณของความเป็นวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร หรือวิทยาศาสตร์ที่เป็นอยู่ได้มอบกายมอบใจสวามิภักดิ์ให้กับเทคโนโลยีไปหมดแล้วก็เป็นได้

    [​IMG]


    ปัจจุบันนี้ มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางทั้งในวงการวิทยาศาสตร์ ปรัชญา และศาสนา มีหลายคนเห็นว่ามนุษย์กำลังทำตัวเป็นพระเจ้าเสียเอง บ้างก็เป็นห่วงว่า ปัจจุบันมนุษย์เรายังไม่เข้าใจสิ่งที่เรียกว่าธรรมชาติดีนัก เรายังไม่รู้ว่าที่ธรรมชาติกำหนดให้สิ่งต่างๆ เป็นอย่างที่เป็นอยู่นี้ เช่น กำหนดให้คนสืบพันธุ์ด้วยวิธีอาศัยเพศเท่านั้น ไม่อนุญาตให้คนสืบพันธุ์โดยการแบ่งเซลล์หรือตัดเอาเนื้อหนังไปเพาะพันธุ์ เป็นต้น ธรรมชาติมีเหตุผลอย่างไร สติปัญญาของมนุษย์ยังเข้าไม่ถึงความเร้นลับดังกล่าวนั้น พฤติกรรมของมนุษย์ที่พยายามฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ที่ธรรมชาติวางไว้ให้อาจไม่ต่างจากพฤติกรรมของทารกที่ไม่รู้ว่าทำไมแม่จึงห้ามทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ แล้วก็ฝ่าฝืนคำสั่งนั้นจนก่อให้เกิดอันตรายแก่ตน นี่คือส่วนหนึ่งของความวิตกที่คนส่วนหนึ่งในโลกมีต่อทิศทางของวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ในอีกแง่หนึ่งของวิทยาศาสตร์ จากอดีตที่ผ่านมา มนุษย์ต้องประสบกับความทุกข์ทรมานจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ดังนั้นวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทุกยุคทุกสมัยต่างก็พยายามหาหนทางในการที่จะกำจัดโรคร้ายเหล่านั้น ไม่ว่าจะด้วยการพัฒนาคิดค้นยารักษาโรคตลอดจนการรักษาด้วยวิธีการและรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้ ก็ด้วยเป้าหมายเพื่อให้มนุษย์ดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน
    <O:p</O:p
    เราห้ามนักวิทยาศาสตร์ไม่ให้ค้นคว้าไม่ได้เพราะวิทยาศาสตร์เป็นศาสตร์บริสุทธิ์ ไม่ดีและไม่เลว คนที่ใช้วิทยาศาสตร์ต่างหากที่จะทำให้โลกพินาศหรือเจริญรุ่งเรือง และวิทยาศาสตร์เอง ก็ไม่มีหน้าที่สั่งสอนอบรมคนให้รู้จักควบคุมตนเอง นั่นจึงเป็นหน้าที่ของศาสนา วิทยาศาสตร์มีหน้าที่เพียงค้นคว้าหากฎเกณฑ์ในธรรมชาติเท่านั้น ท่าทีของวิทยาศาสตร์ที่แสดงมาทั้งหมดนี้นับว่าแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับท่าทีของทางศาสนา เคยมีคนกล่าวอย่างสรุปท่าทีระหว่าง วิทยาศาสตร์กับศาสนาไว้ว่า
    <O:p</O:p
    “วิทยาศาสตร์ที่ปราศจากศาสนาเปรียบได้กับคนแขนขาพิการ ส่วนศาสนาที่ปราศจากวิทยาศาสตร์เปรียบได้กับคนตาบอด”
    ( Science without religion is lame, religion without science is blind )
    <O:p</O:p
    ไอน์สไตน์เคยกล่าวข้อความสั้นๆนี้ คิดว่าน่าจะเป็นคำตอบที่กะทัดรัดที่สุดสำหรับปัญหาว่าศาสนาควรวางตัวอย่างไรต่อวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ก็ควรจะวางตัวอย่างไรด้วยเช่นกันต่อศาสนา
    <O:p</O:p
    หากลองพิจารณาคิดกันสักนิดว่า ลำพังเพียงวิทยาศาสตร์อย่างเดียวไม่อาจสร้างปัญหาให้กับโลกได้เลยตัวการของปัญหา คือ “มนุษย์เรานี่เอง” หาใช่อะไรที่ไหนไม่ เราก็คงไม่ประณามวิทยาศาสตร์ว่าเป็นตัวก่อปัญหาคนเรานั้น พุทธศาสนาเชื่อว่าต้องพัฒนาสองสิ่งในตัวพร้อมๆกัน คือ “ปัญญา กับ คุณธรรม” เท่าที่ผ่านมาวิทยาศาสตร์ที่สร้างปัญหาคือวิทยาศาสตร์ที่ไม่มีคุณธรรมกำกับ หากวิทยาศาสตร์เดินเคียงคู่ไปกับคุณธรรมด้วยแล้ววิทยาศาสตร์จะกลายเป็นสิ่งอำนวยประโยชน์แก่มนุษย์อย่างอเนกอนันต์เลยทีเดียว
    <O:p</O:p
    เนื้อหาหลักของพุทธศาสนานั้นเกี่ยวข้องกับธรรมชาติอันเป็นอมตะของมนุษย์ ธรรมชาติที่ว่านี้จะคงอยู่ในตัวมนุษย์ ไม่ว่ามนุษย์จะมีพัฒนาการทางความรู้ไปมากมายเพียงใด คนในยุคหินเคยมีความโลภ โกรธ หลง อย่างไร คนในยุคเทคโนโลยีนี้ก็มีความโลภ โกรธ หลง อย่างนั้นด้วยเช่นกัน ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไม่มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงธรรมชาติภายในอันเป็นที่มาของปัญหาชีวิตและสังคม หากเราคิดว่า มีความจำเป็นที่มนุษย์จะต้องได้รับการขัดเกลาธรรมชาติภายในเหล่านี้ ตราบนั้นพุทธศาสนาก็ยังจะมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับมนุษยชาติอยู่ตลอดไป
    <O:p</O:p
    เมื่อมองจากแง่นี้แล้ว ดูเหมือนว่าพุทธศาสนาจะไม่มีทางได้รับผลกระทบจากวิทยาศาสตร์ เพราะวิทยาศาสตร์ศึกษาในขอบเขตหนึ่ง ส่วนพุทธศาสนาก็ศึกษาในอีกขอบเขตหนึ่ง วิทยาศาสตร์เกี่ยวเนื่องกับ “วัตถุ” (ภายนอก) ส่วนพุทธศาสนาเกี่ยวเนื่องกับ “จิตใจ” (ภายใน) คนที่เห็นว่าวิทยาศาสตร์สามารถหักล้างความเชื่อในศาสนา คือ คนที่ไม่เข้าใจสาระที่แท้ของวิทยาศาสตร์และศาสนา และก็เช่นเดียวกัน คนที่เห็นว่าวิทยาศาสตร์สามารถใช้สนับสนุนความน่าเชื่อถือของศาสนาก็ คือ คนที่ไม่เข้าใจสาระสำคัญของวิทยาศาสตร์และศาสนาด้วยเช่นเดี่ยวกัน
    <O:p</O:p
    ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ทรงกำใบไม้แห้งที่ร่วมอยู่ตามพื้นดินขึ้นมากำหนึ่ง แล้วถามพระภิกษุที่แวดล้อมอยู่ว่า ใบไม้ในพระหัตถ์กับใบไม้ทั้งป่าที่ไหนมากกว่ากัน พระสาวกทั้งหลายก็ตอบว่าในป่ามากกว่าอย่างไม่อาจเทียบกันได้ในพระหัตถ์ พระพุทธองค์ก็ตรัสสืบไปว่า ใบไม้ในพระหัตถ์นั้นเปรียบได้กับหลักธรรมที่ทรงนำมาสอนพุทธบริษัท ส่วนใบไม้ที่อยู่ในป่าทั้งหมดเปรียบได้กับสิ่งที่ทรงรู้แต่ไม่นำมาสอน
    http://bigbanginmymind.blogspot.com/2007/08/blog-post_9311.html
     
  4. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    วิทยาศาสตร์กับศาสนาคริสต์

    ถึงแม้ว่าในอดีต ศาสนาจะต่อต้านวิทยาศาสตร์มาก ดังจะเห็นได้จากการพิพากษาจำคุก Galileo เมื่อเขาเชื่อว่าโลกมิได้อยู่นิ่ง แต่เคลื่อนที่ไปรอบดวงอาทิตย์แต่เหตุการณ์ในทุกวันนี้ได้แสดงให้เห็นว่า วิทยาศาสตร์และศาสนาเป็นมิตรกันมากขึ้นเช่นเมื่อ องค์สันตะปาปา John Paul ที่2 ได้ประกาศอภัยโทษให้ Galileo และได้ยอมรับว่าทฤษฎีวิวัฒนาการของ Charles Darwin เป็นทฤษฎีที่ควรค่าแก่การฟังมากทฤษฎีหนึ่ง

    ส่วนทางด้านวิทยาศาสตร์นั้นเล่า สถาบัน National Academy of Science และสมาคม American Association for the Advancement of Science ก็ได้มีโครงการสนับสนุนการทำงานร่วมกัน ระหว่างศาสนากับวิทยาศาสตร์หลายโครงการทั้งมหาวิทยาลัย Cambridge ของอังกฤษและมหาวิทยาลัย Princeton ของสหรัฐก็ได้มีการจัดตั้งตำแหน่งศาสตราจารย์ผู้มีหน้าที่ผสมผสานความคิดของศาสนากับวิทยาศาสตร์ให้กลมกลืนกันและแม้แต่นักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงระดับรางวัลโนเบล เช่น Charles Townes ก็ได้ออกมาพูดถึงความเชื่อทางศาสนาของเขาทั้งในหนังสือที่เขาเขียน และในโทรทัศน์เป็นต้น ส่วน Stephen Hawking นักฟิสิกส์อัจฉริยะผู้ค้นคว้าเรื่องหลุมดำก็ได้เคยพูดว่า การศึกษากำเนิดของจักรวาลจะทำให้มนุษย์รู้และเข้าใจพระทัยของพระเจ้าและในการสำรวจความคิดเห็นของนักวิทยาศาสตร์อเมริกันต่อความเชื่อในพระเจ้า เมื่อ 4 ปีก่อนนี้ ก็ได้ผลสรุปว่านักฟิสิกส์และนักชีววิทยา 40% เชื่อในพระเจ้ามาก
    <O:p</O:p
    ณ วันนี้ การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์กำลังรุดหน้าไปทุกขณะ เช่นได้มีการพบวิธีโคลนนิ่ง GMO และการรู้รหัสพันธุกรรม (genome) ของสิ่งมีชีวิตบางชนิดซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้มีผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์ ชีวิตและจริยธรรมการสนทนาแลกเปลี่ยน ความคิดและแนวปฏิบัติระหว่างวิทยาศาสตร์และศาสนาก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องทำมาก ดังนั้น ในทุกวันนี้จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าประหลาดใจที่แม้แต่องค์สันตะปาปาก็ทรงต้องการรู้แนวคิดของวิทยาศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ก็มีความจำเป็นต้องรับทราบแนวคิดของ ศาสนาเช่นกัน<O:p</O:p

    [​IMG]

    Pontifical คือสภาวิทยาศาสตร์แห่งองค์พระสันตะปาปาที่สันตะปาปา Pius ที่ 11 ได้โปรดให้ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2479 เพื่อถวายคำแนะนำแด่องค์สันตะปาปาในเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาและคำตอบสำหรับเหตุการณ์ที่เกิดจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
    <O:p</O:p
    สมาชิกตลอดชีพของสถาบันนี้มีทั้งสิ้น 80 คนและต่างก็เป็นบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากบรรดานักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงทั่วโลกปัจจุบันมีสมาชิก 25 คน ที่เคยได้รับรางวัลโนเบลเช่น Carlo Rubbia สาขาฟิสิกส์ David Baltimore และ Joseph Murray สาขาแพทย์ เป็นต้น ส่วนนักวิทยาศาสตร์อื่นๆ เช่น Stephen Hawking นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษและ C.N. Rao นักเคมีชาวอินเดียก็เป็นสมาชิกของสถาบันนี้เช่นกัน
    <O:p</O:p
    ในทุกปีสมาชิกจะเดินทางมาประชุมกันที่ Casina Pio Quattro ในกรุงวาติกันเพื่อแสดงปาฐกถาและรับฟังเรื่องสถานภาพ ด้านวิทยาศาสตร์ของโลกและเมื่อสิ้นสุดการประชุม ที่ประชุมก็จะทำรายงานถวายองค์สันตะปาปาเพื่อทรงทราบพร้อมกับถวายข้อเสนอแนะที่จะให้สันตะปาปาทรงสามารถช่วยชาวโลกให้อยู่เย็นเป็นสุขมากขึ้น
    <O:p</O:p
    ดังนั้นในการประชุมทุกครั้งสมาชิกทุกคนจะได้รับประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและองค์สันตะปาปาก็จะทรงได้รับข่าวล่าสุดและถูกต้องที่สุดจากบรรดานักวิทยาศาสตร์ระดับเซียนไม่ว่าจะเป็นด้านดาราศาสตร์ จักรวาลวิทยา พันธุศาสตร์หรือหัวข้ออะไรก็ตามที่คริสต์ศาสนิกชนสนใจเป็นพิเศษทันทีและเมื่อองค์สันตะปาปาทรงใช้วิจารณญาณกลั่นกรองข้อมูลเหล่านั้นแล้วถ่ายทอดพระดำริของพระองค์สู่ประชาชนคริสต์ศาสนิกชนก็ดีจะยอมรับหรือต่อต้านเทคโนโลยีด้านนั้นๆ ก็ได้
    <O:p</O:p
    เมื่อ 3 ปีก่อนนี้ ที่ประชุมของสถาบันได้ประชุมเรื่องด่วน เช่นสภาพแวดล้อมของโลก ปัญหา GMO การวิจัยด้านประสาทวิทยา การให้ทารกดื่มนมมารดากำเนิดของสิ่งมีชีวิตบนโลก โคลนนิ่งและกำเนิดของกาแล็กซี เป็นต้นการมีสมาชิกของที่ประชุมเพียง 80 คน ทำให้การประชุมกระชับ ไม่เยิ่นเย้อและการตัดสินใจสรุปผลใช้เวลาไม่นานและในการประชุมของสถาบันเมื่อเดือนพฤศจิกายนพ.ศ.2543 ที่ประชุมซึ่งประกอบด้วยนักฟิสิกส์ นักชีววิทยา นักเทววิทยา และนักบวชได้ฟังเรื่องชีววิทยาของสมองพระเจ้ามีจริงหรือไม่ วิวัฒนาการของจักรวาลบทบาทและอิทธิพลของคริสต์ศาสนาต่อการค้นพบกฎต่างๆ ของ Newton และภัยพิบัติอันเกิดจากธรรมชาติ เป็นต้น โดยผู้พูดอาจจะพูดเป็นภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศสหรืออิตาเลียนก็ได้
    <O:p</O:p
    ถึงแม้การรับฟังเรื่องราวต่างๆ จะเป็นสิ่งที่น่าสนใจแต่สิ่งที่ประชุมสนใจพูดมากคือ นโยบายที่จะเสนอให้องค์สันตะปาปาทรงทำ<O:p</O:p

    เช่นเมื่อ 20 ปีก่อน ที่โลกรู้สึกตื่นเต้นกับการพบเทคนิคพันธุวิศวกรรมใหม่ๆและที่ประชุมคิดว่า คริสต์ศาสนาคงไม่ขัดข้อง ที่จะมีการวิจัยด้านนี้และเมื่อองค์สันตะปาปาทรงเห็นด้วย กระแสต่อต้านจากสังคมก็ได้ลดลงมากความเห็นเกี่ยวกับ DNA มิได้เป็น หัวข้อเดียวที่ที่ประชุมเสนอต่อสันตะปาปาความเห็นเรื่องอื่นๆ เช่น อาวุธนิวเคลียร์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในกรณีสงครามนิวเคลียร์ ระเบิดก็ได้ช่วยให้สันตะปาปาทรงเข้าใจเรื่องเหล่านี้ดีขึ้น ดังนั้นเมื่อสันตะปาปาทรงแสดงสุนทรพจน์ในที่ประชุมขององค์การ สหประชาชาติว่าศาสนาไม่เห็นด้วยกับการใช้ระเบิดนิวเคลียร์ในการทำสงครามกระแสต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์จึงยังคงมีอยู่จนทุกวันนี้
    <O:p</O:p
    เมื่อ 10 ปีก่อน ที่ประชุมได้เสนอให้สันตะปาปาทรงอภัยโทษ Galileo ซึ่งท่านก็ทรงทำ ทั้งๆ ที่เหตุการณ์อภัยโทษเกิดช้าไป 369 ปีแต่ก็ยังดีกว่าที่สันตะปาปาไม่ได้ดำเนินการอะไรเลย
    <O:p</O:p
    และเมื่อการคุมกำเนิดเป็นปัญหาที่วิทยาศาสตร์และศาสนามีความเห็นแตกต่างกันดังนั้น ที่ประชุมก็ไม่พูดถึงเรื่องนี้ แต่ก็ได้พูดถึง ปัญหาประชากรล้นโลกซึ่งองค์สันตะปาปาก็ได้ทรงยอมรับว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งของโลก
    <O:p</O:p
    ในที่ประชุมเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ที่ประชุมได้พูดถึงการใช้เทคโนโลยี GMO อย่างรับผิดชอบด้วย ซึ่งองค์สันตะปาปา ก็ได้ทรงแถลงว่าในการประเมินคุณค่าของเทคโนโลยีเราต้องคำนึงถึงผลบวกและลบทางเศรษฐกิจและจริยธรรมด้วย เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของพลโลกในอนาคต และนั่นก็หมายความว่าองค์สันตะปาปาทรงเห็นชอบที่มีการค้นคว้าวิจัยด้าน GMO อย่างมีสติรอบคอบ
    <O:p</O:p
    และเมื่อการประชุมสิ้นสุด บาทหลวง Poupard ก็ได้กล่าวแถลงสรุปว่าวิทยาศาสตร์และศาสนาจะต้องมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน เพราะถ้าเราเข้าใจธรรมชาติเราก็จะเข้าใจพระเจ้า
    <O:p</O:p
    ดังนั้น การที่คนบางคนคิดว่า โลกวิทยาศาสตร์กับโลกศาสนาเป็นโลกที่ขนานกันอย่างที่ถ้านำมาอยู่ด้วยกัน จะทำให้ทั้งสองโลก ทำงานไม่ได้
    <O:p</O:p
    ความคิดเช่นนี้ไม่จริง และไม่ถูกต้อง
    <O:p</O:p
    เพราะ pontifical <ST1:p<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:placeType>Academy of <st1:placeName w:st="on">Science</st1:placeName></ST1:place ได้พิสูจน์แล้วว่าโลกทั้งสองโลกสามารถทำให้โลกมนุษย์ดีขึ้นได้<O:p</O:p
    ǔ?’Ȓʵì?ѺȒʹҦlt;/a>
     
  5. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,692
    ค่าพลัง:
    +51,931
    *** ความจริง กับ ความเห็น ****

    ศาสนาที่ใช้ความจริง ก็มี
    ศาสนาที่ใช่ความเห็น ก็มี
    พิจารณากันเอง ...

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  6. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    ตามให้กำลังใจไปเรื่อยๆ เพื่อนที่แสนรัก(หัวเราะ) ไม่ได้แวะมาซ่ะหลายวัน ตามอ่านไม่ค่อยจะทัน ต้องค่อยๆอ่าน เยอะมั่กๆ ขอบคุณนะสำหรับสิ่งดีๆที่นำมาแบ่งปัน...
     
  7. เลขโนนสูง

    เลขโนนสูง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2010
    โพสต์:
    360
    ค่าพลัง:
    +825
    คริ คริ นะเอ๋ย นะเอ๋ย จะปีใหม่แล้ว เอาดอกไม้มาให้ครับ (f)(f)(f)(f)
     
  8. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    ฮือฮือ ปีใหม่นี้ตั้งใจจะกลับบ้านที่ต่างจังหวัด..
    กะลังลุ้นๆ อยู่ว่าเราจาได้กลับมั้ยหนอ?
    เด๋ว.. ดูงานก่อนว่าจะเคลียร์ทันรึเป่า.. งานเยอะชะมัดเยยย
    ขอบคุณคุณ Kama-Manas และทุกๆ คน ด้วยค่ะ ที่แวะมาบริหารสายตา เอิ๊กๆๆ
    (tm-love)(tm-love)(tm-love)
     
  9. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    คำสอนของเต๋า

    อาจจาเข้าใจยากหน่อยน้า ลองดูจ้า
    คำว่า " เต๋า " นั้นจริงๆ แล้วก็หมายถึงต้นกำเนิดน่านเอง.. เขาว่ามา:cool:
    ..................................................
    "เมื่อคนในโลกรู้จักความสวยว่าสวย ความน่าเกลียดก็อุบัติขึ้น"
    "เมื่อคนในโลกรู้จักความดีว่าดี ความชั่วก็อุบัติขึ้น"
    "มีกับไม่มี เกิดขึ้นด้วยการรับรู้"
    "ยากกับง่ายเกิดขึ้นด้วยความรู้สึก"
    "ยาวกับสั้นเกิดขึ้นด้วย การเปรียบเทียบ"
    "สูงกับต่ำเกิดขึ้นด้วยการเทียบเคียง"
    "เสียงดนตรีกับเสียงสามัญเกิดขึ้นด้วยการรับฟัง"
    "หน้ากับหลังเกิดขึ้นด้วยการนึกคิด"
    "ผู้ที่เข้าใจคนอื่น คือผู้รอบรู้"
    "ผู้ที่เข้าใจตัวเองคือ ผู้รู้แจ้ง"
    "ผู้ที่มีชัยต่อคนอื่น คือผู้มีกำลัง"
    "ผู้ ที่มีชัยต่อตัวเองคือผู้เข้มแข็ง"
    "ผู้ที่มักน้อย คือผู้ร่ำรวย"
    "ผู้ที่มีความมานะ คือผู้มีความหวัง"
    "ผู้ที่อยู่ในสถานะอันเหมาะสมกับตน ย่อมอยู่ได้นาน"
    "ผู้ที่ถูกลดทอน จะต้องมีมากมาก่อน"
    "ผู้ที่อ่อนแอ จะต้องเข้มแข็งมาก่อน"
    "ผู้ที่ตกต่ำ จะต้องยิ่งใหญ่มาก่อน"
    "ผู้ที่ได้รับจะต้องเป็นผู้ให้มาก่อน"
    "ความอ่อนละมุน มีชัยเหนือความแข็งกร้าว"
    "สิ่งที่อ่อนที่สุดในโลกนี้ สามารถเจาะผ่านสิ่งที่แข็งที่สุด"
    "นั้นคือสิ่งที่ไร้รูป ย่อมผ่าสิ่งที่ทะลุสิ่งที่ไร้ช่องว่าง
    นี่คือประโยชน์ของการไม่กระทำ และการสอนโดยไม่ใช้คำพูด
    คุณประโยชน์ของการไม่กระทำนั้น ย่อมไม่อาจหาสิ่งใดมาเปรียบได้ในจักรวาล"

    " ปมด้อยของคนเราจะเกิดขึ้น เมื่อจิตใจของเราขาดความเมตตาในตัวเอง"
    "งานยุ่งยาก ไม่ทำให้คนทุกข์ใจ"
    "คนทุกข์ใจต่างหากที่ทำให้งานยุ่งยาก"
    "การหาเงินไม่ใช่เรื่องของความทุกข์
    ความไม่รู้จักพอต่างหากที่ทำให้มนุษย์ทุกข์ทรมานกับการแสวงหา"

    "ผู้ที่ทำอะไรไม่ให้ผิดเลย เป็นผู้ที่น่าสมเพช"
    "ผู้ที่ทำอะไรไม่คิดถึงความถูกเลย เป็นผู้ที่น่ารังเกียจ "
    "ผู้ที่เข้าใจชีวิต ใช่ว่าจะไม่ผิดพลาด หรือไร้ปัญหา
    เพียงแต่ว่าเขาไม่ปล่อยให้มันเติบโต จนทำร้ายชีวิตของเขาเท่านั้น"
    http://www.kroobannok.com/blog/view.php?article_id=25902
    chearrchearrchearr
     
  10. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    แนวคิดของเต๋า

    ในระหว่างความคิดสองแนวของจีน คือลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื้อนั้น ลัทธิเต๋ามีคำสอนลึกซึ้งซึ่งอยู่ในประเด็นที่จะนำมาเปรียบเทียบกับฟิสิกส์สมัยใหม่ เช่นเดียวกับศาสนาฮินดูและพุทธศาสนา ลัทธิเต๋ามุ่งสนใจในญาณปัญญามากกว่าความรู้เชิงเหตุผล ลัทธิเต๋ายอมรับข้อจำกัดและความเป็นสิ่งสัมพัทธ์ของโลกแห่งความนึกคิดเชิงเหตุผล ดังนั้นลัทธิเต๋าโดยพื้นฐานจึงเป็นหนทางแห่งความอิสระจากโลกแห่งเหตุผล และในแง่มุมนี้จึงอาจเทียบเท่ากับวิถีแห่งโยคะหรือเวทานตะในศาสนาฮินดู หรืออริยมรรคมีองค์แปดของของพุทธศาสนา ในขอบเขตของวัฒนธรรมจีน ความเป็นอิสระอย่างของเต๋ามีความหมายค่อนข้างชัดเจนว่า คือความเป็นอิสระจากกฎเกณฑ์ที่ตายตัวในทางสังคม ความไม่เชื่อในความรู้และเหตุผลซึ่งมนุษย์กำหนดขึ้นเป็นแบบแผนต่างๆนั้นปรากฏชัดเจนในลัทธิเต๋ามากกว่าในปรัชญาสาขาใดๆของตะวันตก สิ่งนี้มีรากฐานอยู่บนความเชื่อที่แน่นแฟ้นว่าความเฉลียวฉลาดของมนุษย์ไม่อาจเข้าใจเต๋าได้ จางจื้อได้กล่าวว่า

    <TABLE class=MsoNormalTable style="BACKGROUND: #fffff5; WIDTH: 85%; BORDER-COLLAPSE: collapse; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="85%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent" vAlign=top width="100%">ความรู้ที่กว้างขวางที่สุดไม่จำเป็นว่าจะต้องรู้มันด้วยเหตุผลจะไม่ทำให้คนฉลาดในเรื่องราวของมัน ปราชญ์ย่อมตัดสินว่าทั้งสองวิธีนี้ใช้ไม่ได้ </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    คัมภีร์ของจางจื้อเต็มไปด้วยข้อความซึ่งสะท้อนความดูแคลนของเต๋าต่อเหตุผลและการโต้เถียง ดังที่ท่านกล่าวว่า
    <O:p
    <TABLE class=MsoNormalTable style="BACKGROUND: #fffff5; WIDTH: 85%; BORDER-COLLAPSE: collapse; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="85%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent" vAlign=top width="100%">สุนัขไม่ได้เป็นสุนัขดีเพราะมันเห่าเก่ง คนไม่ได้เป็นคนฉลาดเพราะพูดเก่ง และการโต้เถียงพิสูจน์ถึงการเห็นที่ไม่ชัดเจน </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ในทัศนะของเต๋า การคิดหาเหตุผลในเชิงตรรกะเป็นส่วนของโลกแห่งสมมติของมนุษย์ เป็นส่วนของค่านิยมในสังคมและมาตรฐานทางศีลธรรม พวกเขาไม่สนใจในโลกดังกล่าวนี้ แต่มุ่งความสนใจทั้งหมดไปในการเฝ้าสังเกตุธรรมชาติเพื่อความประจักษ์แจ้งใน “ ลักษณะแห่งเต๋า ” ดังนั้นผู้นับถือเต๋าจึงมีทัศนะซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์โดยพื้นฐาน เพียงแต่ความไม่เชื่อในวิธีการวิเคราะห์วิจารณ์ของพวกเขา ทำให้ไม่อาจสร้างเป็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ขึ้นมาได้เท่านั้น อย่างไรก็ตามการสังเกตธรรมชาติอย่างละเอียดรอบคอบ พร้อมทั้งการเพ่งเพียรที่จริงจัง ได้ทำให้ปราชญ์ของเต๋าบรรลุญาณทัสนะอันสุขุมลุ่มลึกซึ่งได้รับการยืนยันโดยทางทฤษฎีวิทยาศาสตร์สมัยใหม่

    การชับเคี่ยวระหว่างขั้ว
    <O:p
    ญาณทัสนะที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของเต๋าก็คือ การประจักษ์แจ้งในความจริงที่ว่าการเปลี่ยนแปลงกลับกลายเป็นลักษณะสำคัญของธรรมชาติ ข้อความในคัมภีร์จางจื้อได้แสดงอย่างชัดเจนว่า การสังเกตโลกแห่งสรรพชีพได้ให้ความรู้ในเรื่องความเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญขั้นพื้นฐาน
    <O:p
    ในการเปลี่ยนแปลงการเติบโตของสรรพสิ่ง ตาไม้ทุกตา และรูปลักษณะทุกรูปต่างมีรูปทรงที่แน่นอนของมัน ในสิ่งเหล่านี้มีการเจริญและการเสื่อมสลายอย่างต่อเนื่อง กระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงกลับกลายอันไหลเลื่อนอย่างสม่ำเสมอ
    <O:p
    ผู้นับถือเต๋ามีทัศนะว่า การเปลี่ยนแปลงทั้งมวลในธรรมชาติเป็นการปรากฏแสดงของการขับเคี่ยวระหว่างขั้วตรงกันข้ามคือหยินและหยัง ดังนั้นผู้นับถือเต๋าจึงเชื่อว่าคู่ตรงข้ามใดๆก็ตาม ต่างเชื่อมสัมพันธ์กันอย่างเคลื่อนไหว สำหรับจิตใจแบบตะวันตกแล้ว ความคิดที่ว่าสิ่งตรงกันข้ามทั้งมวลต่างเป็นเอกภาพนั้นเป็นสิ่งที่รับได้ยากยิ่ง มันดูเหมือนผิดธรรมดาเป็นอย่างยิ่งเมื่อประสบการณ์และคุณค่าต่างๆ ซึ่งเราเชื่อมาโดยตลอดว่าเป็นสิ่งตรงกันข้าม ควรเป็นแง่มุมที่ต่างกันของสิ่งเดียวกัน อย่างไรก็ตามในตะวันออกถือกันว่าการจะรู้แจ้งได้นั้น บุคคลจะต้อง “ ก้าวพ้นสิ่งที่เป็นคู่ตรงข้ามในโลก ” ในจีนความสัมพันธ์เชิงขั้วของสิ่งตรงกันข้ามทั้งมวลเป็นพื้นฐานอย่างยิ่งของความคิดของเต๋า ดังที่จางจื้อกล่าวว่า
    <O:p
    <TABLE class=MsoNormalTable style="BACKGROUND: #fffff5; WIDTH: 85%; BORDER-COLLAPSE: collapse; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="85%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent" vAlign=top width="100%">“ นี่ ” ก็คือ “ นั่น ” “ นั่น ” ก็คือ “ นี่ ” เมื่อทั้ง “ นั่น ” และ “ นี่ ” ต่างหยุดเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน นั่นเป็นแก่นแท้ของเต๋า แก่นแท้นี้เท่านั้นที่เป็นศูยน์กลางของวงเวียนแห่งการเปลี่ยนแปลงไม่รู้หยุด </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    จากความคิดที่ว่าการเคลื่อนไหวของเต๋าเป็นการขับเคี่ยวอย่างต่อเนื่องของสิ่งที่ตรงกันข้าม ผู้นับถือเต๋าจึงได้สรุปเป็นกฎสองประการสำหรับการกระทำของมนุษย์เมื่อใดก็ตามที่เราต้องการจะได้สิ่งใด เราควรจะเริ่มจากสิ่งที่ตรงกันข้าม ดังที่เหล่าจื้อกล่าวว่า
    <O:p
    <TABLE class=MsoNormalTable style="BACKGROUND: #fffff5; WIDTH: 85%; BORDER-COLLAPSE: collapse; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="85%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent" vAlign=top width="100%">จะยุบอะไรสักสิ่ง ควรจะขยายมันก่อน จะทำให้อ่อนแอ ต้องทำให้เข้มแข็งก่อน จะกำจัด ต้องเชิดชูก่อน จะรับ ต้องให้ก่อน นี่เรียกว่าปัญญาอันลึกซึ้ง </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ในอีกทางหนึ่ง เมื่อเราต้องการจะรักษาสิ่งใดไว้ เราควรยอมรับในสิ่งที่เป็นตรงกันข้าม
    <O:p



    <TABLE class=MsoNormalTable style="BACKGROUND: #fffff5; WIDTH: 85%; BORDER-COLLAPSE: collapse; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="85%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent" vAlign=top width="100%">จงโค้งคำนับ แล้วท่านจะยืนตรงอยู่ได้

    จงทำตัวให้ว่างเปล่า แล้วท่านจะเต็มอยู่เสมอ <O:p
    จงทำตัวให้เก่า แล้วท่านจะใหม่อยู่เสมอ <O:p











    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    นี่เป็นวิถีของปราชญ์ผู้บรรลุถึงทัศนะอันสูงส่ง ซึ่งสัมพันธภาพและความสัมพันธ์เชิงขั้วของสิ่งตรงกันข้ามทั้งมวล ปรากฏในความรับรู้ของท่านอย่างแจ่มแจ้งสิ่งตรงข้ามเหล่านี้มีอาทิ สิ่งแรกและสิ่งสุดท้าย ความคิดเรื่องดีและเลว ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในลักษณะเดียวกับหยินและหยัง เมื่อทั้งดีและเลวและมาตรฐานทางศีลธรรมทั้งหมดถูกเห็นเป็นสิ่งสัมพัทธ์ ปราชญ์เต๋าจึงไม่เพียรพยายามเพื่อบรรลุคุณความดี แต่จะรักษาสมดุลระหว่างความดีและเลว จางจื้อเห็นประเด็นนี้อย่างชัดเจน

    <O:p
    คำกล่าวที่ว่า “ เราจะไม่กระทำตามและเชิดชูความถูกต้อง และไม่เกี่ยวข้องกับความผิด ใช่หรือไม่ ” และ “ เราจะไม่เชื่อฟังและเชิดชูผู้ปกครองที่ดี และไม่เกี่ยวข้องกับผู้ปกครองที่เลว ใช่หรือไม่ ” แสดงความปรารถนาที่จะทำความคุ้นเคยกับหลักการของฟ้าและดินและคุณภาพที่แตกต่างกันของสรรพสิ่ง เป็นการง่ายที่จะกระทำตามและเชิดชูฟ้า และไม่สนใจต่อดิน เป็นการง่ายที่จะกระทำตามและเชิดชูหยิน และไม่สนใจหยัง เป็นที่ชัดเจนว่า วิถีทางเช่นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ
    <O:p
    ทีหลังต่อจากทีแรก
    <O:p
    เป็นที่น่าประหลาดใจว่า ในเวลาเดียวกับที่เหล่าจื้อและสานุศิษย์ของท่านได้พัฒนาโลกทัศน์ของตน คุณลักษณะสำคัญแห่งทัศนะแบบเต๋านั้นเป็นสิ่งที่สอนกันในกรีกเช่นเดียวกัน โดยบุคคลซึ่งคำสอนของเขาเป็นที่รู้จักเพียงบางส่วนและผู้ซึ่งถูกเข้าใจผิดตลอดมาจนปัจจุบัน ชาวเต๋าแห่งกรีกผู้นี้ก็คือ เฮราคลิตัสแห่งเอเฟซัส เฮราคลิตัสมีทัศนะคติเช่นเดียวกับเหล่าจื้อ ไม่เพียงแต่เน้นถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเขาแสดงออกในประโยคซึ่งมีชื่อเสียงว่า “ ทุกสิ่งเลื่อนไหล ” เท่านั้น แต่ยังมีทัศนะที่ว่า การเปลี่ยนแปลงทั้งมวลมีลักษณะเป็นวงเวียน เขาเปรียบเทียบโองการแห่ง “ ดวงไฟอันนิรันดร บางครั้งลุกโพลง และบางครั้งมอดลง ” ซึ่งคล้ายคลึงกับแนวคิดของจีนในเรื่องเต๋า ซึ่งแสดงตัวมันเองออกมาในการขับเคี่ยวในลักษญะวงเวียนระหว่างหยินกับหยาง

    [​IMG]

    <O:p
    ความคิดที่ว่าความเปลี่ยนแปลงเป็นการขับเคี่ยวระหว่างสิ่งที่ตรงกันข้ามได้นำเฮราคลิตัสกับเหลาจื้อมาสู่การค้นพบว่า สิ่งที่ตรงกันข้ามทั้งมวลมีลักษณะเป็นขั้วตรงกันข้าม และในขณะเดียวกันก็เป็นเอกภาพ “ทางขึ้นและลงเป็นทางเดียวและเหมือนกัน” เฮราคริตัสกล่าว “ พระเจ้าคือ กลางวัน กลางคืน ฤดูหนาว ฤดูร้อน สงคราม สันติภาพ ความอิ่ม และความอดอยากหิวโหย ” เช่นเดียวกับผู้นับถือเต๋า เฮราคริตัสมีทัศนะว่าคู่ตรงข้ามทุกคู่เป็นเอกภาพ และเขาตระหนักดีถึงความเป็นสิ่งสัมพัทธ์ของความคิดเหล่านี้ทั้งหมด เขายังได้กล่าวไว้ว่า “ สิ่งที่เย็นกลับกลายเป็นอุ่น สิ่งที่อุ่นกลับเป็นเย็น สิ่งที่ชื้นกลับแห้ง สิ่งที่แห้งกลับเปียก ” นี้ได้ทำให้เรานึกถึงคำกล่าวของเหลาจื้อที่ว่า “ ง่ายทำให้เกิดยาก…เสียงก้องทำให้ไพเราะ ทีหลังต่อจากทีแรก ”
    <O:p
    เป็นที่น่าประหลาดใจที่ว่าความคล้ายคลึงกันอย่างมากในทัศนะของปราชญ์ทั้งสองแห่งศตวรรษที่หกก่อน
    คริสตกาลไม่เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป เฮราคริตัสมักจะถูกเอ่ยถึงเชื่อมโยงกับฟิสิกส์สมัยใหม่ แต่แทบจะไม่เคยเอ่ยถึงเฮราคริตัสกับเต๋าเลยและความเกี่ยวโยงกับเต๋านี้เองเป็นสิ่งที่แสดงได้อย่างดีที่สุดว่า ทัศนะของเฮราคริตัสแฝงในเชิงศาสนา จึงทำให้ความคล้ายคลึงระหว่างความคิดของเฮราคริตัสกับความคิดในวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่เป็นสัดส่วนที่เหมาะสมกันในทัศนะของข้าพเจ้า

    เมื่อเรากล่าวถึงความคิดของเต๋าเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง สิ่งสำคัญคือ ต้องระลึกเสมอว่า การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้มิใช่เกิดจากแรงผลักดันภายนอก หากเป็นแนวโน้มภายในของสรรพสิ่งและเหตุการณ์ทั้งมวล การเคลื่อนไหวของเต๋า ไม่มีตัวการผลักดันแต่การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดโดยธรรมชาติ ความเป็นไปเองของกฎแห่งการกระทำของเต๋า และในเมื่อการกระทำของมนุษย์ควรที่จะจำลองเอามาจากวิถีทางของเต๋า ความเป็นไปเองจึงควรเป็นลักษณะสำคัญของการกระทำทั้งมวลของมนุษยชาติ สำหรับเต๋าการกระทำที่สอดคล้องกับธรรมชาติแท้ของบุคคลมันหมายถึงความเชื่อมั่นต่อปัญญาญาณของบุคคล ซึ่งเป็นเนื้อหาของใจมนุษย์เช่นเดียวกับที่กฏของการเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อหาของสรรพสิ่งรอบ ๆ ตัวเรา
    <O:p
    การกระทำของปราชญ์เต๋า จึงเกิดจากปัญญาญาณของท่านเป็นไปเองและสอดคล้องกับสภาพการณ์แวดล้อม ท่านไม่จำเป็นต้องบีบบังคับตนเองหรือสิ่งต่าง ๆ รอบกายท่าน เป็นแต่เพียงปรับการกระทำของท่านให้เข้ากับการเคลื่อนไหวของเต๋า ฮวยหนั่นจื้อกล่าวไว้ว่า

    [​IMG]
    <O:p
    <TABLE class=MsoNormalTable style="BACKGROUND: #fffff5; WIDTH: 85%; BORDER-COLLAPSE: collapse; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="85%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent" vAlign=top width="100%">ผู้ซึ่งกระทำตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ย่อมไหลไปในกระแสของเต๋า </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    การกระทำในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกกันในปรัชญาเต๋าว่า อู่-วุ่ยมีความหมายตามพยัญชนะว่า “ไม่กระทำ” โจเซฟ นีดแฉม แปลความว่า “ละเว้นจากการกระทำที่ขัดแย้งกับธรรมชาติ” เราอาจจะ เทียบความหมายนี้กับคำกล่าวของจวงจื้อ ดังนี้
    <O:p
    <TABLE class=MsoNormalTable style="BACKGROUND: #fffff5; WIDTH: 85%; BORDER-COLLAPSE: collapse; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="85%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent" vAlign=top width="100%">การไม่กระทำนี้ มิได้หมายถึงการไม่ทำอะไรเลยและอยู่อย่างนิ่งเฉย หากเป็นการปล่อยให้ทุกสิ่ง ดำเนินไปตามที่มันเป็นในธรรมชาติ เพื่อให้ธรรมชาติของมันพึงพอใจ </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    หากว่าเราละเว้นจากการกระทำที่ขัดแย้งกับธรรมชาติ หรือดังที่โจเซฟ นีลแฮม กล่าวไว้ว่า จาก “ การดำเนินที่ขัดแย้งกับแก่นแท้ของสิ่งทั้งหลาย ” เราก็จะดำเนินไปอย่างสอดคล้องกับเต๋า ซึ่งจะได้รับความสำเร็จ <O:p
    นี่คือความหมายของคำกล่าวซึ่งดูจะเป็นปริศนาของเหลาจื้อที่ว่า “โดยการไม่กระทำ ทุกสิ่งก็สำเร็จลงได้”<O:p
    ไม่รู้ว่าตนรู้นั้นดีสุด<O:p
    ความแตกต่างกันระหว่างหยินกับหยางมิใช่เป็นแต่เพียงกฎเกณฑ์พื้นฐานของวัฒนธรรมจีนเท่านั้น แต่ยังสะท้อนออกมาในแนวคิดใหญ่สองแนวของจีน ลัทธิขงจื้อนั้นเต็มไปด้วยเหตุผลมีลักษณะเข้มแข็งอย่างชาย กระตือรือร้นและมีอำนาจในทางตรงกันข้าม ลัทธิเต๋านั้นเต็มไปด้วยลักษณะแห่งญาณปัญญา นุ่มนวลอย่างหญิงลึกซึ้งและอ่อนน้อม เหลาจื้อกล่าวว่า “ ไม่รู้ว่าตนรู้นั้นดีที่สุด ” และ “ ปราชญ์ย่อมกระทำกิจโดยปราศจากการกระทำ และสอนโดยปราศจากคำพูด ” ผู้นับถือเต๋าเชื่อว่าโดยการเปิดเผยส่วนที่เป็นความนุ่มนวลอย่างหญิง และความอ่อนน้อมแห่งธรรมชาติของมนุษย์ ก็จะเป็นการง่ายที่สุดที่จะนำชีวิตซึ่งได้ดุลอย่างสมบูรณ์ให้สอดคล้องกับเต๋า อุดมคติของเต๋าอาจสรุปรวมได้อย่างดีที่สุดในคำกล่าวของจางจื้อ ซึ่งอธิบายถึงสวรรค์แห่งเต๋า
    <O:p
    ในอดีตกาล ขณะที่ความยุ่งยากสับสนยังไม่เกิด บุคคลได้ดำรงอยู่ในความสงบซึ่งเป็นสมบัติของโลกทั้งหมด ในขณะนั้นหยินและหยางสอดคล้องต้องกันและคงสงบนิ่งอยู่ การหยุดและการเคลื่อนไหวเป็นไปโดยปราศจากอุปสรรค ฤดูกาลทั้งสี่ถูกต้องตามกำหนด ไม่มีสักสิ่งที่ได้รับอันตรายและไม่มีสิ่งมีชีวิตใดตายก่อนกำหนด มนุษย์อาจจะมีความรู้มากมายแต่ไม่มีโอกาสที่จะใช้มัน นี่คือสิ่งที่เรียกว่าสภาวะแห่งเอกภาพสมบูรณ์ ในเวลาเช่นนี้ ไม่มีการกรำทำบนหนทางของผู้ใด คงมีแต่การปรากฏแสดงอย่างสม่ำเสมอของความเป็นไปเอง
    sleeping_rbsleeping_rbsleeping_rb<O:p
     
  11. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    สาส์นจากอาจารย์ด๋างเนื่องในวันตรุษจีน 2006

    พอดีศิษย์พี่ triangle-w กระซิบมาว่าวันที่ 16 มกราคม 2553 นี้
    จะเปิดสอนวิชาพลังจักรวาลตามแนวของท่านอาจารย์ใหญ่เลืองมินห์ด๋าง ระดับ 1 - 5.2
    ให้ฟรีพร้อมเอกสาร โดยสอนที่บ้านตั้งแต่เวลา 8.30 - 11.30 น. ที่บ้าน
    หากใครสนใจเรียนก็ติดต่อคุณ triangle-w ได้ทาง PM นะคะ
    ถ้าถามขจรวรรณว่าเรียนวิชานี้ให้ประโยชน์อะไรกับเราบ้าง?
    ก็ไม่สามารถเอ่ยออกมาด้วยคำพูดได้ เอาเป็นว่าเพราะเรียนวิชานี้จึงเข้าใจธรรมะที่เคยอ่านยากๆ ได้
    หรืออ่านไม่รู้เรื่องก็สามารถรู้เรื่องได้อย่างมหัศจรรย์ได้ค่ะ:boo:
    เด๋ววันหลังจามาช่วย list ให้ฟังว่าเค้าสอนอารายกันบ้างให้ฟังดีก่าค่ะ
    วันนี้ขอทำงานก่อนจ้า
    ....................................

    พี่น้องมนุษยชาติและชาวพลังจักรวาลที่เคารพทั้งหลาย เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ ปีจอ 2006 ( 2549 ) อาจารย์ขอฝากคำอวยพรถึงพี่น้องและครอบครัวในวิชาพลังจักรวาลทุกๆ คน ให้มีสุขภาพและสมความปรารถนาในสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับท่านและครอบครัว ให้มีความสุขสมบูรณ์ ประเทศชาติและทุกๆ ชนชาติได้มีความมั่งคั่ง ให้มนุษยชาติมีการพัฒนา โลกมีการเติบโตและสันติภาพ
    <O:p</O:p</O:p
    ปีนี้คือปีแห่งความรัก ฉะนั้นอาจารย์จึงเรียกสาส์นนี้ว่า สาส์นแห่งความรัก ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมาอาจารย์ได้สอนความหมายของลักษณะและผลประโยชน์ของความรักแก่ท่าน ซึ่งได้แสดงอย่างชัดเจนและละเอียดเกี่ยวกับการที่เราได้ส่งพลังเพื่อจะช่วยเหลือมนุษยชาติ ในช่วงขึ้นต้นปีใหม่นี้ อาจารย์ขอเตือนว่า ขอให้พวกเรามีความรักมนุษยชาติ ให้ตรงกับคำที่เรียกในวิชาพลังจักรวาล ก็คือมนุษยชาติ ความรู้แจ้ง ความรัก ความรักนี้จะต้องข้ามพ้นขอบเขตของเรื่องส่วนตัว ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ หรือชนชาติ พรรคพวก และศาสนา ฯลฯ
    <O:p</O:p</O:p
    มีแต่ความรักมนุษยชาติเท่านั้น ที่จะทำให้เราข้ามขอบเขตของเชื้อชาติ สีผิว ภาษา ความมั่งคั่ง ความยากจน ชนชั้นหรือฐานะความเป็นอยู่ที่ไม่เท่าเทียมกัน ฯลฯ จึงจะทำให้เกิดความสุข สันติภาพ และความเจริญรุ่งเรืองแก่ทุกคน ขอให้พวกเราทุกคนได้รับคำอวยพรที่ดีที่สุดนี้ แต่ไม่ใช่เพียงแค่ความรักเท่านั้นที่จะเพียงพอ พวกเราจะต้องมีความสามารถ มีความปรารถนาที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรักมนุษยชาติ วิชาพลังจักรวาลได้มอบความสามารถและความปรารถนานี้แก่ท่าน เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่นี้ด้วยความรักมนุษยชาติ
    <O:p</O:p</O:p
    ในความเป็นจริงไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลกมนุษย์ พวกเราก็คงเห็นความทุกข์ยาก ความเจ็บป่วย ความทุกข์ ความเศร้า ความเอารัดเอาเปรียบ ความโกรธแค้น ความตาย สงครามต่างๆ ด้วยความรักมนุษยชาติอย่างแท้จริง พวกเราจะต้องสนใจในปัญหาเหล่านี้ และเราจะต้องแก้ไขสิ่งเหล่านี้เพื่อความสุขของมนุษย์ หากเราไม่สนใจในความทุกข์ของมนุษยชาติ ไม่สนใจที่จะแก้ปัญหาความทุกข์ยาก หรือปัญหาทั้งหลายของมนุษย์ ก็จะไม่มีความหมายอะไรที่เราจะกล่าวถึงความรักมนุษยชาติ
    <O:p</O:p</O:p
    เมื่อกล่าวถึงวิชาพลังจักรวาล นี่คือวิชาของการเรียนรู้เรื่องจิตวิญญาณ ด้วยการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม จากการเรียนรู้ในเรื่องความรักของพระผู้เป็นเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์เถื่องเด๋ ทำให้ผู้ปฏิบัติวิชานี้มีความสามารถมหัศจรรย์ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และได้เรียนรู้ถึงความสามารถของจิตวิญญาณไร้รูปของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อปฏิบัติในสิ่งที่เราเรียกว่าความรัก ในช่วง 17 ปีที่ผ่านมาของวิชาพลังจักรวาล เราได้เรียนรู้วิธีการใช้ความสามารถเหล่านี้ พลังที่ไร้รูปแต่มีประโยชน์ที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์เถื่องเด๋ ( สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด ) มอบให้พวกเรา สิ่งศักดิ์สิทธิ์เถื่องเด๋ จะมอบพลังของจิตวิญญาณที่จะช่วยเหลือมนุษยชาติให้เรามากขึ้นอีก หากพวกเราทุกคนมีความปรารถนาและความตั้งใจที่จะปฏิบัติและแสดงออกถึงความรักมนุษยชาติ
    <O:p</O:p</O:p
    อีกครั้งหนึ่งในโอกาสขึ้นปีใหม่นี้ อาจารย์ของเรียกร้องให้พี่น้องพลังจักรวาลทั่วโลกจงฝึกปฏิบัติตามสาส์นแห่งความรักมนุษยชาติของอาจารย์ ความรักนี้ก็คือความรักของสิ่งศักดิ์สิทธิ์เถื่องเด๋ เพราะว่ามนุษยชาติ คือลูกของสิ่งศักดิ์สิทธิ์เถื่องเด๋ ความรักลูกของสิ่งศักดิ์สิทธิ์เถื่องเด๋ หมายถึงความรักของพระผู้เป็นเจ้า การรับใช้มนุษยชาติก็คือพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์เถื่องเด๋ หากผู้ใดต้องการจะแสดงออกถึงความรักต่อพระผู้เป็นเจ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์เถื่องเด๋ ผู้นั้นก็จงแสดงออกถึงความรักที่มีต่อมนุษยชาติ หากผู้ใดต้องการจะรับใช้พระองค์ก็จงรับใช้มนุษยชาติ หากผู้ใดต้องการจะเคารพบูชาพระผู้เป็นเจ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์เถื่องเด๋ ผู้นั้นก็จงให้ความเคารพนับถือต่อมนุษยชาติ
    <O:p</O:p</O:p
    สุดท้ายนี้ วิถีทางของวิชาพลังจักรวาลนั้นเป็นวิถีทางของจิตวิญญาณเพื่อจะรับใช้มนุษยชาติตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์เถื่องเด๋ ซึ่งเป็นวิถีทางที่ย้อนหลังไปยาวนานและเป็นการเดินทางต่อไปอีกยาวไกล ในช่วงหลายปีที่ผ่านไป พวกเราได้นำผลดีมาสู่มนุษย์ และในช่วงเวลาที่จะถึงนี้เราจะต้องพยายามปฏิบัติในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติให้มากขึ้นอีก ในช่วงเวลาที่ผ่านมาเราได้พยายามและตั้งใจเรียนรู้ เพื่อให้ความรักแก่ตัวเรา ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และเชื้อชาติ แต่ตอนนี้เป็นเวลาที่เราจะต้องเรียนรู้และพยายามยกระดับความรักให้ลึกซึ้งและกว้างขวางมากยิ่งขึ้น เรารักมนุษย์ รักโลกและรักธรรมชาติ เพื่อจะก้าวไปเรียนรู้ในบทเรียนที่ลึกซึ้งมากขึ้นอีกในอนาคต ดังเช่นชื่อวิชาพลังจักรวาลของพวกเรา ซึ่งเป็นวิชาที่เรียนรู้ทางด้านจิตวิญญาณและพลังของจักรวาล พวกเรายังคงรักจักรวาล และรักพระผู้เป็นเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์เถื่องเด๋ ตลอดไปไม่เปลี่ยนแปลง
    <O:p</O:p</O:p
    ด้วยความจริงใจ<O:p</O:p
    อาจารย์เลือง มินห์ ด๋าง<O:p</O:p
    ประกาศเมื่อ 4 / 2 / 2006
    (f)(f)(f)
     
  12. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    สติสัมปชัญญะกับมาตรวัดความเป็นจริง

    ช่วงนี้พวกเราอาจจะได้รับข้อมูลจากหลายทิศทางจนบางครั้งรู้สึกสับสนว่าข้อมูลไหนเป็นความจริง ข้อมูลไหนเป็นความเชื่อที่ผิด เรื่องนี้เคยถามพี่นักเขียนมาครั้งหนึ่ง พี่นักเขียนตอบมาแบบนี้ค่ะ.. ลองอ่านดูนะคะ เผื่อจะเป็นแนวทางของเราได้บ้าง ไม่มากก็น้อยเน๊อะๆ:cool:

    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ khajornwan
    จากหน้า 11 - 12<O:p</O:p

    สรรพสิ่งทั้งหลายที่เธอรู้เห็นในร่างมนุษย์
    เป็นเพียงจินตนาการของความไม่รู้
    จิตวิญญาณในร่างมนุษย์ทุกสิ่งคือ
    " ผู้ที่กำลังเรียนรู้ "<O:p</O:p


    หมายความว่ามนุษย์ทุกคนต่างก็แสวงหาความรู้เหมือนกันทุกคนเพราะฉะนั้นจึงไม่มีใครเป็นผู้รู้ที่แท้จริงถูกต้องมั้ยคะ? แล้วหากเป็นลักษณะการติดต่อสื่อสารและแปลงความรู้หรือคำสอนจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องบนหรือจากจักรวาลเราจะพิจารณาได้อย่างไรว่าคำสอนหรือความรู้ที่ถ่ายทอดมานั้นถูกต้องหรือไม่?
    ...........................................................
    คำกล่าวของท่านอาจารย์<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>อนาลัย หมายถึงว่ามนุษย์ทุกคนต่างก็กำลังแสวงหาความรู้ด้วยกันทั้งสิ้นไม่มีผู้ใดสามารถรู้จักธรรมชาติของโลกแห่งความเป็นจริงได้ทั้งหมด เพราะตราบใดที่จิตวิญญาณยังเป็นร่างกายเนื้อหนังอยู่เราจะรู้เห็นโลกแห่งความเป็นจริงทั้งหมดยังไม่ได้ แต่เราเรียนรู้ได้มากขึ้นเรื่อยๆ

    การติดต่อสื่อสารหรือรับถ่ายทอดข้อมูลความรู้จากองค์ความรู้เป็นสิ่งที่เราทุกคนทำได้และเราก็ทำมาตลอดชีวิตเพื่อนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ในการดำรงชีวิตเป็นร่างกายเนื้อหนังบางคนก็นำความรู้เหล่านั้นมาใช้มากกว่าเพียงแค่ดำรงให้ชีวิตอยู่รอดซึ่งเราก็เห็นตัวอย่างได้มากมายจากผู้ที่ดูเสมือนจะมีความรู้ความสามารถซึ่งไม่ได้เรียนรู้จากทางโลกแม้แต่ตัวเราแต่ละคน หากเราพิจารณาให้ดีเราก็จะพบว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างที่เสมือนว่าเราจะคิดได้เอง ทำได้ด้วยตนเองโดยไม่มีผู้ใดสอนเรา เราไม่เคยไปร่ำเรียนมาจากไหนแต่เรามักมองข้ามที่มาของข้อมูลความรู้เหล่านี้ไปโดยสิ้นเชิงบางคนรับรู้ได้ในความฝัน บางคนรับรู้ได้ยามตื่นเสมือนความคิดที่ผุดขึ้นมาและเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ตนนึกคิดได้เองโดยไม่ได้ตระหนักว่าตนเองไปรับเอามาจากไหนได้อย่างไร แต่ก็รับเอาและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันโดยปริยาย

    การพิจารณาว่าข้อมูลความรู้ที่ปรากฏนั้นถูกต้องหรือไม่ทำได้ไม่ยากเพราะข้อมูลความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติความเป็นจริงทั้งหลายล้วนเป็นข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวพันกับจิตวิญญาณอันเป็นแก่นแท้ของเราโดยตรงจิตวิญญาณจึงเป็นมาตรวัดที่ดีที่สุดที่จะพิจารณาความเป็นจริงของข้อมูลความรู้เหล่านี้

    จิตวิญญาณก็คือข้อมูล-ความรู้และความทรงจำข้ามชาติภพ
    ที่ถ่ายทอดได้ด้วยอารมณ์-จินตนาการและความรู้สึกนึกคิด

    การสำรวจและพิสูจน์ความเป็นจริงของข้อมูลทั้งหลายจึงวัดได้ด้วยอารมณ์-จินตนาการและความรู้สึกนึกคิดที่เพียบพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะหากข้อมูลความรู้ที่เราเชื่อว่าเป็นองค์ความรู้นั้นขัดแย้งกับข้อมูล-ความรู้และความทรงจำข้ามชาติภพที่มีอยู่ในจิตวิญญาณเราจะมีความรู้สึกที่ไม่ดีเกิดขึ้นเสมอข้อมูลความรู้เหล่านี้ไม่ใช่ของใหม่สำหรับจิตวิญญาณไม่ใช่สิ่งที่จิตวิญญาณไม่เคยรู้จักแต่มันเป็นเสมือนข้อมูลความรู้ที่มาเตือนความจำอันลุ่มลึกที่เราลืมเลือนไปหากเตือนแล้วนึกออกเมื่อไรจะเกิดความรู้สึกดื่มด่ำเสมือนได้พบคนรักเก่าหรือกลับบ้านเก่าที่เราจากมานานแสนนานเราจะเกิดความตื้นต้นสัมผัสได้กับพลังงานต้นกำเนิดที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรักความผูกพันธ์ความรู้สึกดังกล่าวนี้ย่อมเป็นสิ่งที่ทุกคนพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง

    [​IMG]

    บางคนที่มีความเชื่อที่รับมามากมายจากการศึกษาทางโลกเมื่อมาศึกษาข้อมูลความรู้ที่พี่นักเขียนเรียกว่าองค์ความรู้จากภายในเหล่านี้มักจะเกิดความรู้สึกขัดแย้งอย่างรุนแรงเพราะแม้ว่าเขาจะมองเห็นหรือสัมผัสกับความรู้สึกที่ดีมากมายจากสาระเหล่านี้แต่มันไม่ได้คล้องจองกับความเชื่อของเขาแต่ถึงกระนั้นบางสิ่งบางอย่างก็จะทำให้เขาไม่หันหน้าหนีหรือทิ้งข้อมูลความรู้เหล่านี้ไปโดยปริยายเขากลับจะตั้งคำถามมากมายเพื่อพิสูจน์ความเป็นจริง เสมือนคนที่จากบ้านไปนานกลับมาถึงหน้าบ้านแล้วไม่แน่ใจว่าใครมาอาศัยอยู่ในบ้านเก่าอยากจะเข้าบ้านแต่ก็ไม่ไว้ใจว่าใครอยู่ในบ้าน หรือคนที่กลับไปพบคนรักเก่าก็ไม่แน่ใจว่ายังเหมือนเดิมอยู่หรือเปล่าแต่จะหันหลังให้โดยไม่ตรวจสอบความเป็นจริงก็ทำไม่ได้ เป็นต้น

    ส่วนผู้ที่ไม่ได้หยิบจับหนังสือ ไม่ได้ศึกษาไม่ได้สัมผัสกับข้อมูลความรู้เหล่านี้เลย แต่มาสะดุดกับเพียงแค่ชื่อของหนังสือได้ยินได้ฟังหรือได้อ่านสาระเพียงสั้นๆไม่มากพอที่จะทำให้เข้าใจข้อมูลทั้งหมดได้ลึกซึ้งพอเรียกว่าสัมผัสเพียงเปลือกนอกก็ด่วนตัดสินข้อมูลความรู้เหล่านี้โดยไม่ได้ไปถึงเนื้อในของข้อมูลและตัดสินไปตามความเชื่อที่มีจำกัด เสมือนคนที่ยังไม่ทันเงยหน้าขึ้นพิจารณาว่ามันคือบ้านเก่าของตนเอง หรือยังไม่ทันมองเห็นว่าคนที่อยู่ตรงหน้าคือคนรักเก่าด้วยซ้ำไป ก็ตัดสินว่าไม่ใช่ หรือไม่รู้จัก หรือไม่ถูกต้อง

    คำถามนี้เป็นคำถามที่ดีที่สุดสำหรับพี่นักเขียนและสำหรับพวกเราทุกคน เพราะการที่เราจะรับข้อมูลความรู้ใดๆรวมทั้งข้อมูลความรู้จากหนังสือของท่านอาจารย์อนาลัยโดยปราศจากการพิสูจน์ปราศจากการตั้งคำถาม ย่อมเป็นการไม่ถูกต้องและขาดการใช้ปัญญาโดยแท้เพราะข้อมูลความรู้เหล่านี้เป็นสิ่งที่ผ่านมาทางพี่นักเขียนซึ่งเป็นเพียงมนุษย์เดินดินธรรมดาๆคนหนึ่งเท่านั้นพี่นักเขียนไม่กล้าแม้แต่จะใส่ชื่อของตนเองบนหน้าปก-ในปก-หรือเนื้ือในของหนังสือเพราะเชื่อว่าการนำชื่อของตนเองไปปรากฏในหนังสือจะทำให้เกิดวิตกวิจารณ์ได้มากแทนที่ผู้อ่านจะพิจารณาข้อมูลความรู้เหล่านั้นว่าเป็นของจริงหรือไม่-โดยพิจารณาจากสาระของข้อมูลก็อาจจะไปพิจารณาจากและตัดสินความเป็นจริงของข้อมูลจากความน่าเชื่อถือ หรือคุณสมบัติส่วนตัวของบุคคล ยิ่งคนที่รู้จักคนใกล้ตัวหรือผู้ที่เคยได้ยินชื่อเสียงเรียงนามของพี่นักเขียนมาก่อนก็ยิ่งรังแต่จะทำให้เกิดวิตกวิจารณ์และตัดสินต่างๆนานามากมายยิ่งไปกว่าคนแปลกหน้าเสียอีก

    การมาทำหน้าที่ตอบคำถามของพี่นักเขียนเป็นสิ่งที่พี่นักเขียนหนักใจที่สุดแต่ก็ไปรับปากกับครูบาอาจารย์ในความฝัน(อีกจนได้)เพราะเมื่อตนเองรับข้อมูลความรู้เหล่านั้นมาเขียนเป็นหนังสือมีเวลาถอดความหลายเดือนและอยู่กับความเงียบสงบที่ทำให้ความคิดหลั่งไหลออกมามากมายจากภาวะที่พี่นักเขียนเรียกว่าสัมผัสกับองค์ความรู้ที่พี่นักเขียนเรียกท่านว่า-อาจารย์อนาลัยแต่เมื่อมานั่งหน้าจอ-เผชิญกับคำถามมากมาย พี่นักเขียนไม่ทราบมาก่อนว่าจะพบคำถามเช่่นไร จะตอบคำถามเหล่านี้ได้ดีพอหรือไม่ และจะเอาคำตอบมาจากไหนแต่เมื่อรับมาทำหน้าที่ต่อไปก็เชื่อว่า ตนเองได้รับข้อมูลความรู้มาแล้วก็คงจะได้รับการสนับสนุนที่จะได้รับคำตอบมาขยายความหนังสือต่อไปตามหน้าที่จึงทำไปด้วยความเชื่ออย่างหมดใจพอๆกันกับการรับข้อมูลความรู้ที่นำไปเขียนหนังสือ

    กล่าวได้ว่าช่วงเวลา 2 เดือนเศษที่พี่นักเขียนมาทำหน้าที่ตอบคำถามพวกเราอยู่ในห้องวิทย์ฯเป็นช่วงเวลาทดสอบตนเองคือทดสอบว่าตนเองสื่อสารกับองค์ความรู้และถ่ายทอดข้อมูลความรู้เหล่านั้นมาจากองค์ความรู้หรือไม่แม้ว่าจะมาจนถึงทุกวันนี้ พี่นักเขียนก็ตระหนักว่าทุกวินาทีมีความหมายมีความสำคัญและจำเป็นต้องตรวจสอบและพิสูจน์ตนเองเสมอไม่น้อยไปกว่าที่พวกเราทุกคนควรจะต้องตรวจสอบ ต้องพิสูจน์ด้วยตนเองว่าข้อมูลความรู้ที่พี่นักเขียนนำมาถ่ายทอดต่อไปในห้องวิทย์ฯนี้เป็นสิ่ิงที่ถูกต้องและเรียกได้ว่าองค์ความรู้หรือไม่

    ปัจจัยสำคัญคือไม่ว่าเราจะมีพื้นฐานความรู้-ศาสนาหรือความเชื่อใดๆที่แตกต่างกันแต่เราต่างก็ยอมรับเป็นเสียงเดียวกันได้เสมอว่าการพิสูจน์ข้อมูลความรู้ทั้งหลายจะเป็นไปได้ก็ด้วยการมีสติสัมปชัญญะที่คมชัดซึ่งหมายความว่าเราจะต้องเผชิญกับข้อมูลความรู้ด้วยการใช้ความคิด-ใช้ปัญญาสำรวจอารมณ์-จินตนาการและความรู้สึกนึกคิดของเราอีกทีหนึ่งเพราะแม้ว่าอารมณ์-จินตนาการและความรู้สึกนึกคิดจะเป็นมาตรวัดโดยตรงของจิตวิญญาณแต่บ่อยครั้งอารมณ์-จินตนาการและความรู้สึกนึกคิดของเราที่ไม่เป็นกลางและปราศจากสติสัมปชัญญะก็คล้อยตามความเชื่อที่ผิดและกลายเป็นมาตรวัดที่ใช้การไม่ได้

    สติสัมปชัญญะอันคมชัดคือสติสัมชปัญญะที่สำรวจความเชื่อของตนเองควบคู่ไปกับการรู้เห็นเสมอเพื่อให้เราตระหนักได้ว่าอารมณ์-จินตนาการและความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นนั้นคล้อยตามความเชื่อที่ผิดความเชื่ออันจำกัดหรือมีความเป็นกลาง-คือเป็นไปตามความรู้อันเป็นธรรมชาติความเป็นจริง

    ไม่ว่าศาสตร์แห่งศาสนาใด หรือวิทยาศาสตร์สาขาวิชาใดก็คงไม่ปฏิเสธว่าสติสัมปชัญญะคือปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เราเป็นคนได้ครบคนหรือเป็นมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์แบบดังนั้นเมื่อเรานำเอาสติสัมชปัญญะซึ่งเป็นปัจจัยอันสูงสุดของการเป็นมนุษย์มาใช้เป็นปัจจัยที่ควบคุมมาตรวัดอันได้แก่อารมณ์-จินตนาการและความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นจากการรับข้อมูลความรู้ใดๆเราย่อมจะตระหนักได้ว่ามันคือมาตรวัดที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด-ที่เราจะพึงมี-และนำมาใช้ได้เสมอ<?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shape id=_x0000_i1026 style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt" alt="" type="#_x0000_t75"><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\Admin\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image002.gif" o:href="http://palungjit.org/images/smilies/rose.gif"></v:imagedata></v:shape>
    <O:p</O:pพี่นักเขียนโนวา อนาลัย
    rabbit_sleepyrabbit_sleepyrabbit_sleepy
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ธันวาคม 2010
  13. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    ชอบแนวคิดของเต๋า ชอบแบบนี้ เป็นธรรมชาติดี "คนไม่ได้เป็นคนฉลาดเพราะพูดเก่ง"
     
  14. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    เมื่อวานมีโอกาสได้ดูชีวิตของยายยิ้มแล้วรู้สึกรักคุณยายจังเลยค่ะ
    ทำให้รู้สึกว่างานที่เราทำอยู่นี้ช่างเล็กนิดเดียวเมื่อเทียบกับงานของคุณยาย
    ไม่รู้ว่าแถวนี้มีใครได้ดูรึยังคะ..:cool:

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=w3nc0-ktxrc"]YouTube - คนค้นฅน 301153 1/3[/ame]

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=QTXiEoYUskI"]YouTube - คนค้นฅน 301153 2/3[/ame]

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=P8QxF6EjTQo"]YouTube - คนค้นฅน 301153 3/3[/ame]
     
  15. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    สังเกตุจากคำพูดง่ายๆ สั้นๆ จากคุณยายแล้วรู้สึกว่า
    คุณยายเข้าใจในธรรมชาติ เข้าใจในสัจจธรรมอย่างแท้จริง
    ทำให้รู้สึกว่างานที่เรากำลังทำอยู่นี้ช่างเล็กจิ๊บจ้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับงานของคุณยาย
    ท่านไม่ใช่บุคคลที่น่าสงสาร แต่เป็นบุคคลตัวอย่างที่น่าเคารพย่อย่องเป็นอย่างยิ่งค่ะ:cool:

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=U_14NUbYuFM"]YouTube - KonKonKon 7Dec10 1/3 ยายยิ้ม ยิ้มเย้ยยาก 2[/ame]

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=e1tTnsgR3r4"]YouTube - KonKonKon 7Dec10 2/3 ยายยิ้ม ยิ้มเย้ยยาก[/ame]

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=GK8CrLmqTl0"]YouTube - KonKonKon 7Dec10 3/3 ยายยิ้ม ยิ้มเย้ยยาก[/ame]

    ;9k;9k;9k
     
  16. เลขโนนสูง

    เลขโนนสูง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2010
    โพสต์:
    360
    ค่าพลัง:
    +825
    อยากเยอะก็ทุกข์เยอะ
    อยากน้อยก็ทุกข์น้อย
    เมื่อไม่อยากก็ำไม่ทุกข์

    ตั้งแต่ดูมา ก็มีปูเย็น กับ ยายยิ้ม นี่ละครับ
    นะเอ๋ย นะเอ๋ย(kiss)(kiss)(kiss)(kiss)
     
  17. ขมังเวทย์

    ขมังเวทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +1,829
    ไม่แน่ใจว่าถามศาสนาใหน

    แต่ถ้าพุทธศาสนากับวิทยาศาตร์ ควรแยกตอบดั้งนี้

    เหมื่อน ในกระบวนการคั้นหาความจริง

    ต่างกันที่ สิ่งที่ถูกค้นหา

    บทพิสูจน์คือ ไม่มีนักวิทย์บรรลุเป็นอรหัน แลไม่มีภิกษุใด้ใบประกาศถ้าไม่เรียน
     
  18. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    ถามทุกๆ ศาสนาเลยค่ะท่านจอมขมังเวทย์ ฮี่ฮี่..
    ถ้าเป็นพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ ทำไมขจรวรรณจึงมีความคิดเห็นแตกต่างก็ม่ายรู้
    คิดว่ากระบวนการในการค้นหาความจริงของทั้ง 2 ศาสตร์เหมือนกัน
    คือจะต้องผ่านการทดลองซ้ำๆ หลายๆ ครั้งจนมั่นใจว่าเป็นจริง
    และบางทีสิ่งที่ทั้ง 2 ศาสตร์กำลังพยายามค้นหาอยู่นี้อาจจะเป็นเรื่องเดียวกันก็ได้นะคะ
    บทพิสูจน์ก็ไม่จำเป็นเสมอไปว่าจะเป็นพระสงฆ์เท่านั้นที่จะบรรลุพระอรหันต์
    และก็ไม่แน่เสมอไปว่าจะไม่มีนักวิทยาศาสตร์ท่านไหนไม่บรรลุ
    เพราะเค้าเหล่านี้จะไม่เชื่ออะไรง่ายๆ หากไม่ได้รับการพิสูจน์
    ในทางตรงกันข้ามบางทีคนที่ค้นหาตามแนวศาสนา
    อาจจะไม่รู้ว่าตัวเองกำลังหลงทางอยู่ก็เป็นได้ เพราะยังไม่ได้รับการพิสูจน์
    ในปัจจุบันนี้นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการทั่วโลกกำลังตื่นตัว
    ที่จะเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในเชิงจิตวิญญาณกันมากแล้ว
    เพราะเค้าเหล่านั้นเริ่มจะตระหนักแล้วว่าหากศึกษาด้านเดียวเค้าจะเริ่มพบกับทางตัน

    [​IMG]

    แล้วเราจะใช้อะไรเป็นเครื่องชี้วัด มีพระสงฆ์องค์หนึ่งเคยกล่าวว่า
    " อะไรที่อยู่ภายนอกไม่ใช่ความจริง แต่สิ่งที่อยู่ภายในต่างหากที่เป็นความจริง "
    เรามาลองพิสูจน์ความจริงข้อนี้กันดูค่ะ
    (one-eye)(one-eye)(one-eye)
     
  19. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    บทสัมภาษณ์ ดร.วรภัทร

    ข้อสังเกตุบทสัมภาษณ์ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ
    เป็นนักวิทยาศาสตร์, นับถือศาสนาคริสต์, หันมาศึกษาพุทธศาสนา:cool:

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=ik_axv4hlHU"]YouTube - เจาะใจ - ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ ตอน1 (1-4)[/ame]

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=0TrU99fySp4"]YouTube - เจาะใจ - ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ ตอน2 (1-4)[/ame]

    :z8:z8:z8
     
  20. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    แนวคิดของเซน

    เมื่อจิตใจของจีนได้สัมผัสกับความคิดอินเดียในรูปของพุทธศาสนาในราวศตวรรษที่หนึ่งหลังคริสตกาล ได้มีพัฒนาการซึ่งคล้ายคลึงกันสองกระแสเกิดขึ้นในด้านหนึ่ง การแปลพระสูตรของพระพุทธศาสนาได้กระตุ้นนักคิดของจีน และนำไปสู่การตีความคำสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นชาวอินเดีย จากพื้นฐานทางปรัชญาของชาวจีนเองจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงทางความคิดที่บังเกิดผลอย่างกว้างขวาง และมาถึงจุดสุดยอดในทางพระพุทธศาสนานิกาย ฮัวเอี้ยนในจีนและพุทธศาสนานิกายคีกอนในญี่ปุ่น ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

    ในอีกด้านหนึ่ง ความเป็นนักปฏิบัติในจิตใจของชาวจีน ตอบสนองต่อการกระทบของพุธศาสนาจากอินเดียโดยมุ่งสนใจต่อด้านปฏิบัติ และพัฒนาสู่กฎเกณฑ์การปฏิบัติทางจิตใจชนิดพิเศษซึ่งเรียกว่า ฌาน ซึ่งแปลกันว่าสมาธิภาวนา ปรัชญาฌานนี้ในที่สุดญี่ปุ่นก็รับเอาไปในปี 1200 หลังคริสตกาล และได้เจริญงอกงามที่นั่นในชื่อว่า เซน และยังคงทรงชีวิตชีวาตราบจนทุกวันนี้
    <O:p</O:p
    เซนจึงเป็นการผสมกลมกลืนของปรัชญาและลักษณะจำเพาะตัวของวัฒนธรรมที่แตกต่างกันสามแหล่ง เป็นวิถีชีวิตแบบญี่ปุ่น และสะท้อนลักษณะที่เป็นความลึกซึ้งทางสติปัญญาของอินเดีย ความรักในความเป็นธรรมชาติและความเป็นไปเองของเต๋า และการเน้นการปฏิบัติของลัทธิขงจื้อ
    <O:p</O:p
    แม้ว่าเซนจะมีลักษณะที่พิเศษเฉพาะตัว แต่แก่นแท้ของเซนก็คือพุทธศาสนาเนื่องจากความมุ่งหมายของเซนก็คือ การตรัสรู้อย่างพระพุทธองค์ซึ่งเรียกกันในภาษาของเซนว่า สาโตริ ประสบการณ์แห่งการตรัสรู้เป็นแก่นแท้ของปรัชญาตะวันออกสาขาต่าง ๆ แต่เซนมีลักษณะจำเพาะตัวตรงที่มุ่งเน้นเป็นพิเศษเฉพาะประสบการณ์แห่งการตรัสรู้นี้โดยไม่สนใจในการตีความทั้งหลาย สึซึกิ กล่าวว่า “ เซน เป็นระเบียบปฏิบัติแห่งการตรัสรู้ ” ในทัศนะของเซน การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และคำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่าทุกคนมีศักยภาพที่จะบรรลุถึงความตื่นอย่างสมบูรณ์ เป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา คำสอนอื่น ๆ นอกจากนั้น ดังที่อธิบายกันในพระสูตรหลายเล่มถือว่าเป็นส่วนเสริมประกอบ
    <O:p</O:p
    ประสบการณ์ของเซนจึงเป็นประสบการณ์แห่งสาโตริ และในเมื่อประสบการณ์เช่นนี้โดยปรมัตถ์แล้วไปพ้นความคิดในทุกลักษณะ ดังนั้นเซนจึงไม่สนใจในการย่อสรุปหรือการสร้างแนวคิดใด ๆ เซนไม่มีคำสอนหรือปรัชญาที่พิเศษพิสดารปราศจากหลักความเชื่อและกฎเกณฑ์ซึ่งปราศจากเหตุผล และยังยืนยันด้วยว่า อิสรภาพจากความเชื่อที่กำหนดตายตัวทั้งมวล ซึ่งเป็นสิ่งแสดงว่าเซนเป็นเรื่องของจิตวิญญาณอย่างแท้จริง
    <O:p</O:p
    เซนเชื่อมั่นว่าคำพูดไม่อาจแสดงสัจจะสูงสุดได้ สิ่งนี้แสดงออกอย่างชัดเจนในเซนมากกว่าในศาสนาอื่น ๆ ของตะวันออก เซนคงต้องได้รับอิทธิพลในเรื่องนี้จากลัทธิเต๋าซึ่งแสดงทัศนะในทำนองเดียวกัน จางจื้อกล่าวว่า “ หากมีคนถามถึงเต๋า และอีกคนหนึ่งตอบ ทั้งสองคนนั้นไม่รู้เรื่องเต๋าเลย ”<O:p</O:p

    ไปล้างชาม<O:p</O:p

    คำสอนของเซนได้รับการถ่ายทอดจากอาจารย์สู่ศิษย์ด้วยวิธีพิเศษเฉพาะในแบบที่เหมาะสมกับเซนมาเป็นเวลานานหลายศตวรรษแล้ว เซนได้รับคำอธิบายอย่างเหมาะสมที่สุดในวลีสี่บรรทัดนี้
    <O:p</O:p

    <TABLE class=MsoNormalTable style="BACKGROUND: #fffff5; WIDTH: 85%; BORDER-COLLAPSE: collapse; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="85%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent" vAlign=top width="100%">
    การถ่ายทอดนอกคัมภีร์ <O:p</O:p

    ไม่อิงอาศัยคำพูดและตัวหนังสือ <O:p</O:p
    ชี้ตรงไปที่จิตของมนุษย์ <O:p</O:p
    ค้นหาธรรมชาติของมนุษย์และการบรรลุพุทธภาวะ <O:p</O:p







    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    เทคนิคแห่งการ “ชี้ตรง” นี้เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของเซน เป็นแบบฉบับของจิตใจแบบญี่ปุ่นซึ่งหนักไปในด้านญาณปัญญา มากกว่าเฉลียวฉลาดในด้านความคิดและนิยมที่จะแสดงความจริงโดยไม่ต้องอธิบายให้มากความ อาจารย์เซนเป็นผู้ที่ไม่พูดมากเกินจำเป็นและรังเกียจการคำนึงคำนวณและการสร้างทฤษฎีต่าง ๆ ดังนั้นพวกท่านจึงได้พัฒนาวิธีการแห่งการชี้ตรงไปอยู่สัจจะด้วยคำพูดหรือการกระทำซึ่งเป็นไปเองในทันที แสดงถึงความผิดธรรมดาของการนึกคิดและเช่นเดียวกับโกอันที่ได้โดยกล่าวถึงแล้ว คือมุ่งหมายที่จะหยุดกระบวนความคิด และเตรียมนักศึกษาเซนให้พร้อมต่อการประจักษ์แจ้งประสบการณ์อันลึกซึ้งเทคนิคดังกล่าวดูได้จากตัวอย่างบทสนทนาสั้น ๆ ต่อไปนี้ระหว่างอาจารย์เซนและลูกศิษย์ในบทสนทนาบทนี้เป็นแหล่งกำเนิดของตำราของเซนต่อมามากมาย จะเห็นได้ว่า อาจารย์เซนพูดน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และใช้คำพูดของตนหันเหความสนใจของลูกศิษย์จากความคิดนึกแบบเลื่อนลอย สู่ความจริงที่อาจประจักษ์ได้
    <O:p</O:p


    <TABLE class=MsoNormalTable style="BACKGROUND: #fffff5; WIDTH: 85%; BORDER-COLLAPSE: collapse; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="85%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent" vAlign=top width="100%">ภิกษุรูปหนึ่งซึ่งมาขอรับคำสอน กล่าวแกท่านโพธิธรรมว่า <O:p</O:p

    “ ใจของผมไม่สงบ ได้โปรดช่วยทำให้ใจของผมสงบลงด้วย ” <O:p</O:p
    “ ไหนลองเอาใจของเธอมาให้ฉันดูซิ ” ท่านโพธิธรรมตอบ “ แล้วฉันจะทำให้มันสงบ” <O:p</O:p
    “ แต่เมื่อผมหาใจของผม ” ภิกษุรูปนั้นกล่าว “ ผมก็หามันไม่พบ ” <O:p</O:p
    “ นั่นไง ” ท่านโพธิธรรมสวนมาทันควัน “ ฉันได้ทำให้ใจของเธอสงบแล้ว ” <O:p</O:p







    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    <O:p


    <TABLE class=MsoNormalTable style="BACKGROUND: #fffff5; WIDTH: 85%; BORDER-COLLAPSE: collapse; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="85%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent" vAlign=top width="100%">ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวแก่ท่านโจชีว่า “ ผมเพิ่งเข้าสู่พระพุทธศาสนา โปรดให้คำแนะนำแก่ผมด้วย ” <O:p</O:p

    ท่านโจชีถามขึ้นว่า “ เธอกินข้าวต้มของเธอแล้วหรือยัง ” <O:p</O:p
    ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ ผมกินแล้วครับ ” <O:p</O:p
    ท่านโจชีกล่าวว่า “ ถ้างั้นไปล้างชาม ”<O:p</O:p







    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    สาโตริ<O:p</O:p
    ในบทสนทนาเหล่านี้ได้ให้แง่มุมหนึ่งซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของเซน การตรัสรู้ในเซนมิได้หมายถึงการแยกตัวออกจากโลก แต่กลับหมายถึงการดำรงอยู่ในกิจการประจำวันอย่างมีชีวิตชีวา ทัศนะดังกล่าวแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงจิตใจของชาวจีน ซึ่งให้ความสำคัญต่อชีวิตนักปฏิบัติและนักประดิษฐ์ ความคิดในเรื่องความยืนยงของครอบครัว และไม่อาจรับลักษณะของชีวิตชาววัดของพุทธศาสนาในอินเดียได้ อาจารย์ชาวจีนเน้นอยู่เสมอว่า ฌาณหรือเซน คือประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของเรา เป็น “ จิตใจทุก ๆ วัน ” ดังที่หม่าจื้อกล่าว สิ่งที่ท่านเหล่านี้มุ่งเน้นคือ การตื่นขึ้นท่ามกลางกิจการประจำวัน และเป็นที่ชัดเจนว่าท่านเหล่านี้ถือเอาชีวิตประจำวันมิใช่เพียงหนทางของการตรัสรู้ แต่เป็นตัวการตรัสรู้เลยทีเดียว
    <O:p</O:p
    ในเซน สาโตริหมายถึง ประสบการณ์ฉับพลันในการหยั่งรู้ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะของสรรพสิ่ง สิ่งแรกสุดในสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็คือ วัตถุ กิจการ และผู้คน ซึ่งเราเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ดังนั้นในขณะที่เซนเน้นการปฏิบัติในชีวิต เซนก็เป็นศาสนาที่มีนัยอันลึกซึ้งด้วยเช่นกัน ดำรงชีวิตทั้งมวลอยู่ในปัจจุบัน และทุ่มเทความสนใจทั้งหมดไปที่ภารกิจประจำวัน บุคคลผู้บรรลุสาโตริย่อมประจักษ์ความลับและความน่าพิศวงของชีวิตในทุก ๆ การกระทำ
    <O:p</O:p

    <TABLE class=MsoNormalTable style="BACKGROUND: #fffff5; WIDTH: 85%; BORDER-COLLAPSE: collapse; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="85%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent" vAlign=top width="100%">
    อัศจรรย์อะไรเช่นนี้ ลึกลับอะไรเช่นนี้ <O:p</O:p

    ฉันหาบฟืน ฉันตักน้ำ <O:p</O:p







    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ความสมบูรณ์แบบของเซนก็คือ การดำเนินชีวิตประจำวันอย่างเป็นไปตามธรรมชาติและเป็นไปเอง เมื่อมีผู้ขอให้ท่านป้อจัง อธิบายเซน ท่านกล่าวว่า “เมื่อหิวกิน เมื่อเหนื่อยนอน” ถึงแม้ว่ามันจะดูง่าย ๆและชัดเจน ที่มักปรากฏอยู่เสมอในเซนแต่จริง ๆ แล้วมันเป็นงานที่ยากเอาการ การที่จะดำรงชีวิตได้อย่างเป็นธรรมชาติต้องผ่านการฝึกฝนที่เชี่ยวชาญ และต้องมีความมุ่งมั่นในการแสวงหาคุณค่าทางจิตใจ ดังประโยคที่มีชื่อเสียงของเซนว่า
    [​IMG]

    <O:p</O:p


    <TABLE class=MsoNormalTable style="BACKGROUND: #fffff5; WIDTH: 85%; BORDER-COLLAPSE: collapse; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="85%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent" vAlign=top width="100%">ก่อนที่ท่านจะศึกษาเซน ภูเขาเป็นภูเขา และแม่น้ำก็คือแม่น้ำ<O:p</O:p

    ในขณะที่ท่านศึกษาเซน ภูเขาไม่เป็นภูเขา และแม่น้ำมิใช่แม่น้ำ <O:p</O:p
    แต่เมื่อตรัสรู้ ภูเขากลับเป็นภูเขา และแม่น้ำก็เป็นแม่น้ำ <O:p</O:p







    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    การเน้นความเป็นธรรมชาติ และความเป็นไปเองในเซน แสดงให้เห็นรากฐานซึ่งมาจากลัทธิเต๋า แต่พื้นฐานของการมุ่งเน้นเช่นนี้เป็นพุทธศาสนาอย่างแท้จริงเป็นความเชื่อในความสมบูรณ์ของธรรมชาติเดิมของเรา เป็นความตระหนักรู้ว่ากระบวนการแห่งการตรัสรู้ก็คือการกลับสู่สภาพที่เราเป็นมาตั้งแต่ต้น เมื่ออาจารย์ป้อจัง ถูกถามเกี่ยวกับการแสวงหาธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ ทานตอบว่า “มันเหมือนกับการขี่หลังวัวเพื่อหาวัวนั่นแหละ”<O:p</O:p

    โดคือเต๋า<O:p</O:p
    ในญี่ปุ่นปัจจุบัน เซนได้แยกเป็นสองนิกายย่อย ซึ่งแตกต่างกันโดยวิธีการสอน นิกายรินไซ หรือนิกาย “ฉับพลัน” สอนโดยใช้โกอัน และให้ความสำคัญกับช่วงเวลาที่อาจารย์เซนจะสนทนากับนักศึกษา ที่เรียกว่า ซานเซน ในช่วงนี้อาจารย์เซนจะให้นักศึกษาอธิบายโกอันซึ่งตนกำลังขบอยู่ การไขปริศนาของโกอันต้องผ่านการทำสมาธิอย่างแน่วแน่เป็นเวลานาน จนกระทั่งเกิดการรู้แจ้งแห่งสาโตริ อาจารย์เซนที่มีประสบการณ์จะรู้ว่าเมื่อใดที่นักศึกษาเซนมาถึงขอบแห่งการรู้แจ้งอย่างฉับพลัน และสามารถที่จะใช้คำพูดหรือการกระทำกระตุกให้สะดุ้งและนำเขาหรือเธอเข้าสู่ประสบการณ์ของสาโตริได้ด้วยวิธีการที่ไม่คาดฝัน เช่น การตีด้วยไม้ หรือ การตะโกนเสียงดัง
    <O:p</O:p
    นิกายโสโตะ หรือนิกาย “เชื่องช้า” เลี่ยงวิธีการที่จะทำให้สะดุ้งของนิกายรินไซและมุ่งให้นักศึกษาเซนค่อย ๆ สุกงอมในทางจิตใจ “เปรียบเหมือนสายลมอ่อน ๆ ในฤดูใบไม้ผลิซึ่งทนุถนอมดอกไม้และช่วยให้เบ่งบาน” นิกายนี้ส่งเสริมการ “นั่งเงียบๆ” และการงานประจำวัน โดยถือเป็นการทำสมาธิภาวนาทั้งสองแบบ
    <O:p
    ทั้งนิกายโสโตะและรินไซให้ความสำคัญอย่างสูงสุดแก่การทำ ซาเซนหรือการทำสมาธิภาวนา ซึ่งผู้ปฏิบัติในวัดเซนต้องกระทำเป็นเวลาหลาย ๆ ชั่วโมงในแต่ละวัน สิ่งแรกที่นักศึกษาเซนจะต้องเรียนรู้ก็คือท่านั่งและการหายใจในนิกายรินไซ ซาเซนเป็นการตระเตรียมจิตใจเพื่อการจับฉวยโกอัน ในนิกายโซโตะถือว่าซาเซนเป็นนิกายที่สำคัญที่สุดที่ช่วยให้นักศึกษามีอินทรีย์แก่กล้าและพร้อมต่อสาโตริ ยิ่งไปกว่านั้นซาเซนยังถูกถือว่าเป็นการกระทำเพื่อการหยั่งรู้ธรรมชาติแห่งการเป็นพุทธะของตน ร่างกายและจิตใจได้ผนึกรวมเป็นเอกภาพที่บรรสานสอดคล้อง ไม่จำเป็นต้องมีการปรับปรุงอีกต่อไป ดังที่บทกวีของเซนกล่าวไว้ว่า
    <O:p</O:p

    <TABLE class=MsoNormalTable style="BACKGROUND: #fffff5; WIDTH: 85%; BORDER-COLLAPSE: collapse; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="85%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent" vAlign=top width="100%">
    นั่งนิ่งเงียบ ไม่กระทำสิ่งใด <O:p</O:p

    เมื่อฤดูใบไม้ผลิกรายมาต้นหญ้าก็งอกงาม<O:p</O:p







    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    เมื่อเซนยืนยันว่า การตรัสรู้ปรากฏได้ในกิจการประจำวัน เซนจึงมีอิทธิพลอย่างมากต่อวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่น มิใช่แต่เพียงมีอิทธิพลในด้านจิตกรรม การประดิษฐ์อักษร การจัดสวน และงานหัตถกรรมหลายอย่างเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงพิธีกรรมและกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การชงชา หรือการจัดดอกไม้ การยิงธนู การต่อสู้ด้วยดาบและยูโด สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ถูกลือกันในญี่ปุ่นว่าเป็น โด นั่นคือเต๋า หรือหนทางสู่การตรัสรู้ บรรจุอยู่ด้วยลักษณะต่างๆของประสบการณ์ของเซนและนำไปใช้ฝึกฝนเพื่อนำจิตใจให้สัมผัสกับสัจธรรมสูงสุดได้
    <O:p</O:p
    ยิงไปเอง<O:p</O:p
    ข้าพเจ้าได้เคยกล่าวถึง พิธีชงน้ำชา ของชาวญี่ปุ่นซึ่งเรียกว่า ชา-โน-ยี ที่ทุกสิ่งกระทำไปอย่างเชื่องช้าและเป็นพิธีกรรม การเคลื่อนไหวอย่างเป็นไปเองของมือซึ่งใช้ในการเขียนตัวอักษรหรือภาพเขียน และจิตวิญญาณของ บึซิโด “วิถีแห่งนักรบ” ศิลปะต่าง ๆ เหล่านี้ทั้งหมดเป็นการแสดงออกของความเป็นไปเอง ความเรียบง่าย และจิตใจที่ตื่นเต็มที่ ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของชีวิตแบบเซน แม้ว่าศิลปะเหล่านี้จะใช้เทคนิคที่สมบูรณ์แบบ แต่การจะทำให้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริงนั้นจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อก้าวพ้นเทคนิคต่าง ๆ เหล่านั้น และศิลปะกลายเป็น “ศิลปะแห่งความไม่มีศิลปะ” ผุดขึ้นจากใต้สำนึก
    <O:p</O:p
    เป็นโชคดีของเราที่มีหนังสือของ ยูเกน เฮอร์ริเกล ชื่อ “เซนในศิลปะการยิงธนู” อธิบาย “ศิลปะแห่งความไม่มีศิลปะ” นั้น เฮอร์ริเกล ได้ใช้เวลากว่าห้าปีอยู่กับอาจารย์ชาวญี่ปุ่นเพื่อเรียนรู้ศิลปะ “อันลึกลับ” และเขาได้ให้ทัศนะในหนังสือของเขาเกี่ยวกับเซนจากประสบการณ์ในการยิงธนู เขาอธิบายถึงการที่ยิงธนูถูกถือปฏิบัติเหมือนพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่ง “ร่ายรำ” ในท่วงทำนองแห่งการเป็นไปเอง ไร้ความพยายามและความมุ่งหมาย เขาใช้เวลาฝึกฝนหลายปี จนกระทั่งมันได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของเขา เพื่อเรียนรู้วิธีที่จะน้าวคันธนู “โดยปราศจากความตั้งใจ” ให้การยิง “ไปจากนักยิงธนูเหมือนกับผลไม้สุก (หล่นจากต้น)” เมื่อเขาบรรลุความสมบูรณ์ คันธนู ลูกศร เป้าและคนยิง หลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในขณะนั้นเขามิได้เป็นผู้ยิง แต่ “มัน” ทำของมันเอง
    <O:p</O:p
    คำอธิบายของเฮอร์ริเกล ในเรื่องการยิงธนู เป็นทัศนะที่บริสุทธิ์อย่างยิ่งในเรื่องเซน ทั้งนี้เพราะไม่ได้พูดเกี่ยวกับเซนไว้เลย
    <O:p</O:p
    ฟริตจอฟ คาปรา
    black_pigblack_pigblack_pig<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...