War Room ซ้อมเตือนภัย (ระดับ 3) ไซโคลนรามสูร ก่อความเสียในหลายพื้นที่

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ZZ, 4 พฤษภาคม 2011.

  1. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    .


    นี่คือการซ้อมเตือนภัย


    War Room ซ้อมเตือนภัย (ระดับ 3) ไซโคลนรามสูร ก่อความเสียในหลายพื้นที่


    พายุไซโคลนโผล่อ่าวเบงกอล ชี้ทุกภาคมีฝนตกหนัก

    โดย Nation online 4 พฤษภาคม 2554 16:32 น.


    กรมอุตุฯ เผยดีเปรสชันในอ่าวเบงกอลแปลงร่างเป็น “ไซโคลน” แล้ว เตือนทั่วทุกภาคของประเทศฝนตกหนักหลายพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยระวังอันตรายจากน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน

    กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัย “พายุไซโคลนในอ่าวเบงกอล” ฉบับที่ 1 ว่า เมื่อเวลา 13.00 น.วันนี้ (4 พ.ค.) พายุดีเปรสชันในอ่าวเบงกอลตอนบนได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันตกของกรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า อยู่ห่างประมาณ 550 กิโลเมตร หรือที่ละติจูด 16.4 องศาเหนือ ลองจิจูด 91.2 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางเหนือค่อนตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นประเทศพม่าในระยะต่อไป ส่งผลให้ร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก กับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น

    ลักษณะเช่นนี้ทำให้ทั่วทุกภาคของประเทศมีฝนชุกกับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย โดยเฉพาะบริเวณ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี และราชบุรี ระมัดระวังอันตรายจากน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน

    สำหรับชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังการเดินเรือ เรือเล็กในทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในระยะ 2-3 วันนี้



    [​IMG]



    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++

    War Room ซ้อมเตือนภัย (ระดับ 2) พายุดีเปรสชันรามสูร ก่อความเสียในหลายพื้นที่

    Tropical Disturbance 95B หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 95B ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็น พายุดีเปรสชันรามสูร เมื่อเวลา 14.45 น.

    มีความเร็วลมรอบศูนย์กลาง ประมาณ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีความเร็วลมกระโชกสูงสุดประมาณ 80.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความกดอากาศพื้นผิวทะเล 1000 มิลลิบาร์

    และมีแนวโน้มว่าจะทวีกำลังขึ้นอีกเนื่องจากในขณะนี้อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณอ่าวเบงกอลสูงอย่างต่อเนื่องประมาณ 31 - 33 องศาเซลเซียส





    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++

    War Room ซ้อมเตือนภัย (ระดับ 1) หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในอ่าวเบงกอล

    Tropical Disturbance 95B หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 95B

    มีศูนย์กลางอยู่ที่ ละติจูต 8 องศาเหนือ ลองจิจูต 89.4 องศาตะวันออก กำลังเคลื่อนตัวมาทางตะวันออก

    หย่อมมีความเร็วลมรอบศูนย์กลาง ประมาณ 25 น็อต 46.3 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีความเร็วลมกระโชกสูงสุดประมาณ 35 น็อต หรือ 64.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    ความกดอากาศพื้นผิวทะเล 1004 มิลลิบาร์

    (คาดหย่อมจะเคลื่อนตัวมาทางตะวันออกต่อไปและมีแนวโน้มว่าจะทวีกำลังขึ้นอีกเนื่องจากในขณะนี้อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณอ่าวเบงกอลสูงอย่างต่อเนื่องประมาณ 30 - 31 องศาเซลเซียส และเมื่อมองจากภาพถ่ายดาวเทียมระบบอินฟาเรดจะเริ่มเห็นหย่อมได้จัดระเบียบศูนย์กลางแสดงให้เห็นว่าหย่อมได้พัฒนาขึ้น หย่อมจะมีผลกระทบต่อประเทศไทยในอีก 1 - 2 วันข้างหน้า ถ้ายังไม่สลายไปเสียก่อน จึงขอให้เฝ้าระวังหย่อมลูกนี้ต่อไป หย่อมมีแนวโน้มพัฒนาเป็นพายุหมุนเขตร้อนภายใน 24 ชั่วโมง )

    [​IMG]






    *** หมายเหตุ; การพยากรณ์และการคำนวณพายุหมุนเขตร้อนนี้โดยหน่วยงาน ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC) ของ สหรัฐฯ เป็นการพยากรณ์ตามระดับมาตรวัดพายุหมุนเขตร้อนของ ซัฟเฟอร์ – ซิมป์สัน (Saffir – Simpson Scale)ของสหรัฐ ฯ ตามข้อกำหนดจากต่างประเทศบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากเฮอร์ริเคนซึ่งส่วนใหญ่ยอมรับใช้กัน พยากรณ์และคำนวณความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่ค่าเฉลี่ย 1 นาที(1-Minute Mean) ใช้กรณีเดียวกับศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติ (National Hurricane Center หรือ NHC) / ต่างจากประเทศไทย ที่มีการพยากรณ์และคำนวณพายุหมุนเขตร้อนตาม ระดับมาตรวัดพายุหมุนเขตร้อนตามมาตรฐานสากล (International Standard) ตามข้อกำหนดจากต่างประเทศบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากไต้ฝุ่นซึ่งส่วนใหญ่ยอมรับใช้กัน พยากรณ์และคำนวณความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่ค่าเฉลี่ย 10 นาที (10-Minute Mean) ดังนั้นข้อมูลทั้ง ค่าความกดอากาศ ความเร็วลม ฯลฯ จะไม่เหมือนกัน
    1)ระดับมาตรวัดพายุหมุนเขตร้อนของ ซัฟเฟอร์ – ซิมป์สัน (Saffir – Simpson Scale) พยากรณ์โดยศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC)ของสหรัฐ ฯ ตามข้อกำหนดจากต่างประเทศบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากเฮอร์ริเคน และส่วนใหญ่ยอมรับใช้กัน / ค่าเฉลี่ยความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุ 1 นาที(1-Minute Mean)
    ระดับของซัฟเฟอร์-ซิมพ์สัน --------------------- ความเร็วลมสูงสุดที่รอบศูนย์กลาง
    Tropical Depression (TD); พายุดีเปรสชัน ----- 25 – 33 นอต หรือ 46-61 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    Tropical Storm (TS); พายุโซนร้อน ------------ 34-63 นอต หรือ 63-117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    Typhoon (Category 1); ไต้ฝุ่นระดับ 1 ---------- 64-83 หรือ 119-154 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    Typhoon (Category 2); ไต้ฝุ่นระดับ 2 ---------- 84-96 นอต หรือ 156-178 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    Typhoon (Category 3); ไต้ฝุ่นระดับ 3 ---------- 97-113 นอต หรือ 180-209 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    Typhoon (Category 4); ไต้ฝุ่นระดับ 4 ---------- 114-135 นอต หรือ 211-250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    Super Typhoon (Category 5); ซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ---------- 135 นอต หรือ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นไป

    2)ระดับมาตรวัดพายุหมุนเขตร้อนประเทศไทยใช้ตามมาตรฐานสากล (INTERNATIONAL STANDARD)ตามข้อกำหนดจากต่างประเทศบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากไต้ฝุ่น และส่วนใหญ่ยอมรับใช้กัน / ค่าเฉลี่ยความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุ 10 นาที (10-Minute Mean)
    ระดับ -------------------------------- ความเร็วลมสูงสุดที่รอบศูนย์กลาง
    Tropical Depression (TD) --------- >33 นอต หรือ >62 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    Tropical Storm (TS) --------------- 34 – 47 นอต หรือ 63 – 88 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    Severe Tropical Storm (STS) ----- 48 – 63 นอต หรือ 89 – 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    Typhoon (TY) ---------------------- <64 นอต ขึ้นไป หรือ <119 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป



    2 การวิเคราะห์ เเละการคาดการณ์ ของพายุ ทุกๆ 12 ชั่วโมง
    -

    ==================================================================================================

    รวมเว็บภาพถ่ายดาวเทียม ทุกๆ 30 นาที – 1 ชั่วโมง บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิคตะวันตกในซีกโลกเหนือ (North West Pacific)
    1. ภาพถ่ายดาวเทียมแบบ INFRARED บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิคตะวันตก
    1.1 ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณ West Pacific/South China Sea ของ MTSAT
    http://205.85.40.22/sat/gms_nwtrop/ir/nwtrop_ir.jpg
    1.2 ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณ West Pacific/South China Sea ของ NOAA (โนอา)
    http://www.goes.noaa.gov/sohemi/SHGMSIRW.JPG
    1.3 ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณ อ่าวเบงกอล อ่าวไทย ทะเลจีนใต้ จนถึง ฝั่งตะวันออกของฟิลิปปินส์
    http://205.85.40.22/sat/gms_a/goesa.jpg
    1.4 ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณ ทะเลตะวันออกของฟิลิปปินส์ จนสิ้นสุดที่ ลองจิจูดที่ 180.0 องศาตะวันออก
    http://205.85.40.22/sat/gms_b/goesb.jpg
    1.5 ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิคด้านตะวันตกทั้งหมด
    http://205.85.40.22/sat/gms_full/ir/gmsfull_ir.jpg
    1.6 ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณ มหาสมุทรแปซิฟิคด้านตะวันตกตอนเหนือ อ่าวเบงกอล และมหาสมุทรแปซิฟิคใต้
    http://205.85.40.22/jtwc/jtgio_ir2.jpg
    2. ภาพถ่ายดาวเทียมแบบ VISIBLE (ภาพเห็นจริง) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิคตะวันตก (สามารถดูได้ในเฉพาะเวลากลางวันของมหาสมุทรแปซิฟิคตะวันตก )
    2.1 ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณ West Pacific/South China Sea ของ MTSAT
    http://205.85.40.22/sat/gms_nwtrop/vis/nwtrop_vis.jpg
    2.2 ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณ West Pacific/South China Sea ของ NOAA (โนอา)
    http://www.goes.noaa.gov/sohemi/SHGMSVSW.JPG
    3. ภาพถ่ายดาวเทียมเคลื่อนไหว แบบ INFRARED บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิคตะวันตก
    3.1 ภาพถ่ายดาวเทียมเคลื่อนไหว บริเวณอ่าวไทย ทะเลจีนใต้ จนถึง ทะเลตะวันออกของฟิลิปปินส์
    MTSAT Infrared West Image Loop - Satellite Services Division - Office of Satellite Data Processing and Distribution
    3.2 ภาพถ่ายดาวเทียมเคลื่อนไหว บริเวณเกาะกวม (Guam) มหาสมุทรแปซิฟิค
    Guam Infrared Image Loop - Satellite Services Division - Office of Satellite Data Processing and Distribution
    3.3 ภาพถ่ายดาวเทียมเคลื่อนไหว บริเวณอ่าวไทย ทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรแปซิฟิค
    West Pacific IR4 Imagery - Satellite Services Division
    3.4 ภาพถ่ายดาวเทียมเคลื่อนไหว บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิค ทั้งหมด
    CIMSS Tropical Cyclones - Website Has Moved

    Link การพยากรณ์ คาดหมาย ภาพถ่ายดาวเทียม เส้นทางเดินพายุ ทุกๆ 6 ชั่วโมง
    http://metocph.nmci.navy.mil/jtwc.php(1-Minute Mean/ประเทศสหรัฐฯ) ***ต้นฉบับ
    http://www.wunderground.com/(1-Minute Mean/ประเทศสหรัฐฯ)
    http://www.solar.ifa.hawaii.edu/tropical/(1-Minute Mean/ประเทศสหรัฐฯ)
    http://tsr.mssl.ucl.ac.uk/(1-Minute Mean/ประเทศอังกฤษ)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 000.jpg
      000.jpg
      ขนาดไฟล์:
      58 KB
      เปิดดู:
      1,515
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2011
  2. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    พายุลูกนี้ดูท่าว่าจะทวีขึ้นเป็นพายุโซนร้อนเร็วขึ้นกว่าที่เขาคาดการณ์ไว้นะ ขณะนี้ (13.30น./4พค.54)

    ดูจากภาพถ่านดาวเทียมเคลื่อนไหวเนี่ยศูนย์กลางพายุเริ่มขยายใหญ่ๆขึ้น ข้อมูลล้าสุดความเร็วลมสูงสุดไกล้ศูนย์กลางที่ 25 นอต (46 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เทียบได้กับ พายุดีเปรสชันเเล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้ 12 ชั้วโมงพายุอ่อนกำลังลงเล็กน้อย ต้องติดตามดูว่าจะสามารถพัฒนาเป็นโซนร้อนได้หรือไม่

    อยู่ประจวบไม่ทราบว่าจะมีผลกระทบหรือเปล่า เเต่ที่เเน่ๆ ถ้าเป็น ไซโคลนขึ้นมาทางตะวันตก อาจได้รับอิทธิพลเเน่ๆ


    (จำลองสถานะการณ์)



    .
     
  3. NCK2046

    NCK2046 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    628
    ค่าพลัง:
    +3,793
    วันนี้นั่งพิมพ์งานอยู่ที่ จ.นครสวรรค์

    ฟ้าลงดังเปรี้ยง ทั้งๆที่แดดสว่างโร่ 13.00 น. โดยประมาณ

    หุหุ
     
  4. TheLionSleepsNoMore

    TheLionSleepsNoMore เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    171
    ค่าพลัง:
    +1,211
    ตามติดสถานการณ์กันต่อไปครับ :d
     
  5. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    จะมีไซโคลนในอ่าวเบงกอล

    ใกล้ถึงฤดูฝนแล้วต้นเดือนพฤษภาคมของทุปีมักจะมีพายุไซโคลนในอ่าวเบงกอล ปีนี้อากาศร้อนจัดมาก น่ากลัวจะเกิดระดับนากริสอีก และแนวโน้มเข้าไทยด้านตะวันตกมีโอกาสเป็นไปได้ แต่ความรุนแรงจะน้อยลงเพราะมเทือกเขาบัง

    โดยคุณ นักอุตุนิยมเดา (61.19.66.204)


    ความเห็นที่ 1 โดยคุณ 08 (112.142.53.65)

    ให้มันเกิดก่อนค่อยบอกก็ได้ ยังพอตามเหตุการณ์ทันอยู่


    ความเห็นที่ 2 โดยคุณ เดาเดา (61.19.239.49)

    จับตากลุ่มเมฆตรงอันดามันให้ดี


    ความเห็นที่ 3 โดยคุณ เด็กวันพุธ (61.19.27.213)

    คุณ 08 ครับ ตามดูกลุ่มเมฆจากเรดาห์TMD กลุ่มฝนจากตะวันตกเฉียงใต้กำลังจะมา เมื่อวาน(3 พค.) ก่อตัวแต่เข้าไม่ถึงฝั่ง วันนี้กลุ่มเมฆปกคลุมฝั่งอันดามัน รอมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เต็มรูปก็แจ้งข่าวกันครับ


    (จำลองสถานะการณ์)

    .
     
  6. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    พายุหมุนเขตร้อน

    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/W7SEkHT6D94?version=3"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/W7SEkHT6D94?version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="390"></object>
     
  7. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    สำนักพยากรณ์อากาศ

    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/LfHtlOLR98Y?version=3"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/LfHtlOLR98Y?version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="390"></object>
     
  8. ถาวโร(ถา-วะ-โร)

    ถาวโร(ถา-วะ-โร) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2007
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +672
    พังงาฝั่งอันดามันรับทราบครับ
     
  9. นาคา

    นาคา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,377
    ค่าพลัง:
    +12,917
    ปภ.เตือนประชาชน 18 จังหวัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ระหว่างวันที่ 3-4 พ.ค. 54

    นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เตือนประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ รวม 18 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรังระมัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ในระหว่างวันที่ 3-4 พฤษภาคม 2554 ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก ลมกระโชกแรง และดินถล่ม จึงขอให้ประชาชน
    ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยดูแลสิ่งปลูกสร้าง และต้นไม้บริเวณรอบบ้านให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง จัดเก็บสิ่งของที่สามารถปลิวตามลมได้ในที่มิดชิด พร้อมจัดทำที่ค้ำยันต้นไม้ และดูแลพืชผลทางการเกษตรที่อาจได้รับความเสียหายจากพายุลมแรง รวมทั้งหมั่นสังเกตพบสัญญาณผิดปกติทางธรรมชาติ เช่น น้ำในลำธารเปลี่ยนสีเป็นสีเดียวกันดินบนภูเขา สัตว์ป่าแตกตื่นมีเสียงดังอื้ออึงจากป่าต้นน้ำ ฝนตกหนักนานเกินกว่า 6 ชั่วโมง ปริมาณน้ำฝนมากกว่า 100 มิลลิเมตร ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว มีต้นไม้ขนาดเล็กไหลมากับน้ำ เป็นต้น ให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดน้ำป่าไหลหลากและดินถล่มขึ้นได้ให้รีบอพยพออกจากพื้นที่ในทันที ทั้งนี้ ปภ. ได้ประสานให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัยจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมกำชับมิสเตอร์เตือนภัยเตรียมความพร้อมเฝ้าระวังภัยในระยะนี้เป็นพิเศษ โดยหมั่นตรวจวัดปริมาณน้ำฝนอย่างต่อเนื่อง หากระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นผิดปกติ ให้รีบแจ้งเตือนชาวบ้านอพยพหนีภัยตามแผนที่กำหนดไว้โดยเร็วที่สุด สำหรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม สามารถติดต่อ
    ขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0-2243-2200 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    Facebook
    Twitter
    พิมพ์ข่าวนี้ ข่าวที่เกี่ยวข้อง
    ปภ.เตือนใช้อุปกรณ์สื่อสาร อุปกรณ์ไฟฟ้าขณะฝนตก เสี่ยงถูกฟ้าผ่า!!ทั่วทุกภาค รวมทั้ง กทม. มีพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงในระยะนี้พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกได้ในระยะนี้กรมอุตุฯ ประกาศเตือน "พายุฤดูร้อน" ฉบับที่ 7กรมอุตุฯ เตือนทุกภาคมีพายุฤดูร้อน กทม.และปริมณฑลมีฝน 60%-ลมกระโชกแรงหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภูเก็ต เชียงราย แพร่ สุโขทัย กระบี่ ระนอง เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ ตรัง น่าน ลำปาง พิษณุโลก พังงา พะเยา ลำพูน เพชรบูรณ์ พายุฝน
    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย - ปภ.เตือนประชาชน 18 จังหวัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ระ
     
  10. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
  11. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
  12. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    War Room ซ้อมเตือนภัย (ระดับ 1) พายุดีเปรสชันรามสูร ในอ่าวเบงกอล

    Tropical Disturbance 95B หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 95B ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันรามสูร เมื่อเวลา 14.45 น.

    มีความเร็วลมรอบศูนย์กลาง ประมาณ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีความเร็วลมกระโชกสูงสุดประมาณ 80.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความกดอากาศพื้นผิวทะเล 1000 มิลลิบาร์

    และมีแนวโน้มว่าจะทวีกำลังขึ้นอีกเนื่องจากในขณะนี้อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณอ่าวเบงกอลสูงอย่างต่อเนื่องประมาณ 31 - 33 องศาเซลเซียส


    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2011
  13. ขุนพิฆาต

    ขุนพิฆาต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    415
    ค่าพลัง:
    +1,704
    Link การพยากรณ์ คาดหมาย ภาพถ่ายดาวเทียม เส้นทางเดินพายุ ทุกๆ 6 ชั่วโมง
    http://metocph.nmci.navy.mil/jtwc.php(1-Minute Mean/ประเทศสหรัฐฯ) ***ต้นฉบับ
    http://www.wunderground.com/(1-Minute Mean/ประเทศสหรัฐฯ)
    http://www.solar.ifa.hawaii.edu/tropical/(1-Minute Mean/ประเทศสหรัฐฯ)
    http://tsr.mssl.ucl.ac.uk/(1-Minute Mean/ประเทศอังกฤษ

    รบกวนขอลิงค์ใหม่หน่อยครับ ลิงค์ที่ให้ไว้นี่เปิดไม่ได้เลยสักอันครับ
     
  14. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649


    ลองไปที่ต้นฉบับ.....ครับ


    http://www2.tmd.go.th/webboard/show...25&PHPSESSID=896aa630af27481f58323e527a10ae4d




    .
     
  15. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    ประเภทของพายุ

    พายุแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ

    พายุฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นลมพัดย้อนไปมา หรือพัดเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน อาจเกิดจากพายุที่อ่อนตัวและลดความรุนแรงของลมลง หรือเกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ร่องความกดอากาศต่ำ อาจไม่มีทิศทางที่แน่นอน หากสภาพการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ของการเกิดฝนเหมาะสม ก็จะเกิดฝนตก มีลมพัด

    พายุหมุนเขตร้อนต่าง ๆ เช่น เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น และไซโคลน ซึ่งล้วนเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน และจะเกิดขึ้นหรือเริ่มต้นก่อตัวในทะเล หากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร จะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และหากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา โดยมีชื่อต่างกันตามสถานที่เกิด กล่าวคือ
    พายุเฮอร์ริเคน (hurricane) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน เป็นต้น รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโก

    พายุไต้ฝุ่น (typhoon) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น
    พายุไซโคลน (cyclone) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดียเหนือ เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เป็นต้น แต่ถ้าพายุนี้เกิดบริเวณทะเลติมอร์และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย จะเรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี (willy-willy)

    พายุโซนร้อน (tropical storm) เกิดขึ้นเมื่อพายุเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลง ขณะเคลื่อนตัวในทะเล และความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง

    พายุดีเปรสชัน (depression) เกิดขึ้นเมื่อความเร็วลดลงจากพายุโซนร้อน ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก

    พายุทอร์นาโด (tornado) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่น ๆ ก่อความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน เกิดได้ทั้งบนบก และในทะเล หากเกิดในทะเล จะเรียกว่า นาคเล่นน้ำ (water spout) บางครั้งอาจเกิดจากกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า แต่หมุนตัวยื่นลงมาจากท้องฟ้าไม่ถึงพื้นดิน มีรูปร่างเหมือนงวงช้าง จึงเรียกกันว่า ลมงวง

    ลมสลาตัน เป็นชื่อภาษาไทยใช้เรียกลมแรงหรือพายุช่วงปลายฤดูฝนที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้ยังใช้เรียกพายุทั่วไปที่มีความรุนแรงทุกชนิด รวมทั้งพายุต่างๆ ข้างต้นที่มีความรุนแรงข้างต้น

    อันตรายที่เกิดจากพายุ

    พายุไต้ฝุ่น เมื่อพายุที่มีกำลังขนาดไต้ฝุ่น คือ กำลังความเร็วของลมตั้งแต่ 65 น๊อต หรือ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไปพัดผ่านที่ใดทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงดังนี้

    บนบก ทำให้ ต้นไม้ล้ม เกิดอันตรายจากต้นไม้ล้มทับบ้านเรือน บ้านเรือนพังทับผู้คนในบ้านและใกล้เคียงบาดเจ็บหรือตายสวนไร่นาเสียหาย เสาไฟฟ้าล้ม สายไฟฟ้าขาด ไฟฟ้าช็อต เกิดเพลิงไหม้และผู้คนอาจเสียชีวิตจากไฟฟ้าดูดได้ ผู้คนที่มีอาคารพักอาศัยอยู่ริมทะเลอาจถูกน้ำพัดพาลงทะเลจมน้ำตายได้ ดังเช่น ปรากฏการณ์ที่แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช ฝนตกหนักมากทั้งคืนทั้งวัน เมื่อน้ำจากป่าและภูเขาหลากลงมาอย่างมากมาย ท่วมบ้านช่อง ถนนหนทาง และเรือกสวนไร่นาล่มจมอยู่ใต้น้ำ เส้นทางคมนาคม ทางรถไฟ สะพาน ถนนทางขาด

    ทะเล ในทะเลลมแรงจัดมาก คลื่นใหญ่ เรือขนาดใหญ่ ๆ อาจจะถูกพัดพาไปเกยฝั่งล่มจมได้ บรรดาเรือเล็กเป็นอันตรายไม่สามารถจะต้านความรุนแรงของพายุได้ คลื่นใหญ่ซัดขึ้นริมฝั่งจนทำให้ระดับน้ำขึ้นสูงมากจนท่วมอาคารบ้านช่องริมทะเลได้ บรรดาโป๊ะจับปลาในทะเลถูกทำลาย
    พายุโซนร้อน พายุโซนร้อนมีความรุนแรงน้อยกว่าพายุไต้ฝุ่น ความเร็วของลมบริเวณใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 34 น็อต หรือ 62 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป แต่ไม่เกิน 63 น็อต หรือ 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในทะเลลมจะแรงมากจนสามารถจมเรือขนาดใหญ่ ๆ ได้ ต้นไม้ล้ม ถ้าไม่มีกาารเตรียมรับมือที่ดีก็จะเกิดความเสียหายได้

    พายุดีเปรสชั่น พายุดีเปรสชั่นเป็นพายุที่มีกำลังอ่อน ความเร็วของลมใกล้บริเวณศูนย์กลางไม่เกิน 33 น็อต หรือ 61 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่มีอันตรายรุนแรงแต่ทำให้มีฝนตกทั่วไปตลอดทางที่พายุดีเปรสชั่นผ่านไป และมีฝนตกหนักเป็นแห่ง ๆ พร้อมด้วยลมกรรโชกแรงเป็นครั้งคราว ซึ่งบางคราวจะรุนแรงจนทำให้เกิดความเสียหายได้บ้าง ในทะเลค่อนข้างแรงและคลื่นจัด บรรดาเรือประมงเล็กขนาดต่ำกว่า 50 ตัน ควรงดเว้นออกทะเลเพราะอาจจะล่มลงได้ และพายุดีเปรสชั่นนี้เมื่ออยู่ในทะเลได้รับไอน้ำหล่อเลี้ยงตลอดเวลา และไม่มีสิ่งกีดขวางทางลมอาจจะทวีกำลังขึ้นได้โดยฉับพลัน สำหรับพายุพัดจัดจะลดน้อยลงเป็นลำดับ มีแต่ฝนตกทั่วไปเป็นระยะนาน ๆ และตกได้มากถึง 100 มิลลิเมตร ภายใน 12 ชั่วโมงซึ่งต่อไปก็จะทำให้เกิดน้ำป่าไหลบ่าจากภูเขาและป่าใกล้เคียงลงมาท่วมบ้านเรือนได้ในระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากพายุได้ผ่านไปแล้ว

    พายุฤดูร้อน พายุฤดูร้อนเป็นพายุที่ต่างกับพายุดีเปรสชั่น และเกิดบนผืนแผ่นดินที่ร้อนอบอ้าวในฤดูร้อนแต่เป็นพายุที่มีบริเวณย่อม ๆ มีอาณาเขตเพียง 20-30 ตารางกิโลเมตร แต่อาจมีลมแรงมากถึง 47 น็อต หรือ 87 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดังพายุที่เกิดขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 และพายุที่เกิดขึ้นที่อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2497 พายุนี้มีกำลังแรงที่จะทำให้เกิดความเสียหายได้มากเหมือนกันแต่เป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 2-3 ชั่วโมง อันตรายที่เกิดขึ้นคือ ต้นไม้หักล้มทับบ้านเรือนผู้คน บ้านเรือนพังทะลาย ฝนตกหนักและอาจมีลูกเห็บตก

    การเตรียมการป้องกันอันตรายจากพายุ

    ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ
    สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้ายแก่กรมอุตุนิยมวิทยา
    ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร

    ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
    เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร
    เตรียมพร้อมอพยพเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพ




    http://th.wikipedia.org/wiki/พายุ



    .
     
  16. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    War Room ซ้อมเตือนภัย (ระดับ 2) พายุดีเปรสชันรามสูร ก่อความเสียในหลายพื้นที่



    (จำลองสถานะการณ์)


    พายุดีเปรสชัน สงขลา 1 พ.ย. 2553


    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/LZu02-E8slI?version=3"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/LZu02-E8slI?version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="390"></object>


    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/8kb2j7bN0zE?version=3"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/8kb2j7bN0zE?version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="390"></object>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2011
  17. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    War Room ซ้อมเตือนภัย (ระดับ 2) พายุดีเปรสชันรามสูร ก่อความเสียในหลายพื้นที่



    (จำลองสถานะการณ์)


    ปากพนัง วันที่ดีเปรสชั่นเข้าฝั่ง

    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/DfSKkyNZylg?version=3"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/DfSKkyNZylg?version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="390"></object>


    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/EmZpSTzb9YM?version=3"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/EmZpSTzb9YM?version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="390"></object>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2011
  18. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    War Room ซ้อมเตือนภัย (ระดับ 2) พายุดีเปรสชันรามสูร ก่อความเสียในหลายพื้นที่



    (จำลองสถานะการณ์)


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2011
  19. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    รายงานสถานะการณ์ความเสียหาย

    (จำลองสถานะการณ์)



    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/8rc3x2sLX1s?version=3"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/8rc3x2sLX1s?version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="390"></object>


    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/IoCUMQeiYA8?version=3"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/IoCUMQeiYA8?version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="390"></object>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2011
  20. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    War Room ซ้อมเตือนภัย (ระดับ 3) ไซโคลนรามสูร ก่อความเสียในหลายพื้นที่



    (จำลองสถานะการณ์)



    พายุไซโคลนโผล่อ่าวเบงกอล ชี้ทุกภาคมีฝนตกหนัก

    โดย Nation online 4 พฤษภาคม 2554 16:32 น.


    กรมอุตุฯ เผยดีเปรสชันในอ่าวเบงกอลแปลงร่างเป็น “ไซโคลน” แล้ว เตือนทั่วทุกภาคของประเทศฝนตกหนักหลายพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยระวังอันตรายจากน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน

    กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัย “พายุไซโคลนในอ่าวเบงกอล” ฉบับที่ 1 ว่า เมื่อเวลา 13.00 น.วันนี้ (4 พ.ค.) พายุดีเปรสชันในอ่าวเบงกอลตอนบนได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันตกของกรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า อยู่ห่างประมาณ 550 กิโลเมตร หรือที่ละติจูด 16.4 องศาเหนือ ลองจิจูด 91.2 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางเหนือค่อนตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นประเทศพม่าในระยะต่อไป ส่งผลให้ร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก กับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น

    ลักษณะเช่นนี้ทำให้ทั่วทุกภาคของประเทศมีฝนชุกกับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย โดยเฉพาะบริเวณ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี และราชบุรี ระมัดระวังอันตรายจากน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน

    สำหรับชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังการเดินเรือ เรือเล็กในทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในระยะ 2-3 วันนี้


    [​IMG]
    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...