WarRoom - อาสาสมัครเตรียมการเฝ้าระวังประสานงานเตรียมพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ปี 2013

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 24 เมษายน 2011.

  1. วิปัสนะ

    วิปัสนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    601
    ค่าพลัง:
    +647
    น่ากิ๊น..น่ากินทั้งนั้นเลย
     
  2. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ทฤษฎีใหม่แผ่นดินไหวในจีน ชนวนเหตุเกิดจากเขื่อนเก็บน้ำ

    โดย ผู้จัดการ วัน อาทิตย์ ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เวลา 19:06:59

    [​IMG]

    กราฟฟิกแสดงจำนวนผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มณฑลเสฉวนเดือนพฤษภาคม ปี 2551 ซึ่งในรายงานล่าสุดระบุสิ่งก่อสร้างจากน้ำมือมนุษย์อาจเป็นสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว - ภาพ เอเอฟพี เอเอฟพี - นักวิจัยชาวจีนระบุ แรงกดทับบนรอยแยกของเปลือกโลกที่เกิดจากอ่างเก็บน้ำในเขื่อนจื่อผิงพู่ อาจเป็นชนวนเหตุของแผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงในมณฑลชื่อชวน (เสฉวน) ที่ทำให้มีคนตายและสูญหายกว่า 87,000 คน ซึ่งความเห็นนี้ขัดแย้งกับหลายฝ่ายที่เชื่อว่าแผ่นดินไหวเป็นภัยจากธรรมชาติ ทฤษฎีนี้ได้รับการสนับสนุนจาก ฟ่าน เสี่ยว หัวหน้าวิศวกรวัย 54 ปี ที่ทำงานกับสำนักงานธรณีวิทยาและเหมืองแร่ ในมณฑลเสฉวน มาเป็นเวลา 14 ปี โดยเขาบอกว่า เขื่อนเก็บน้ำ จื่อผิงพู่ สร้างขึ้นบนบริเวณรอยแผ่นดินไหวพอดี จึงเป็นการง่ายที่จะได้รับผลกระทบจากรอยเลื่อนของเปลือกโลก"

    โดยปรากฎการณ์ดังกล่าว ในวงการวิทยาศาสตร์เรียกกันว่า "เขื่อนเก็บน้ำเร่งปรากฎการณ์แผ่นดินไหว" (reservoir-induced seismicity) ซึ่งเขื่อนเก็บน้ำในหลายแห่งทั่วโลกเป็นสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็ก และหากข้อสันนิษฐานนี้เป็นจริง กรณีแผ่นดินไหวในมณฑลซื่อชวน (เสฉวน) จะเป็นครั้งแรกที่เขื่อนเก็บน้ำเป็นสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 8.0 ริคเตอร์ จื่อผิงพู่ เป็นเขื่อนกักเก็บน้ำขนาดความสูง 156 เมตร สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2549 สามารถกักเก็บน้ำได้ 1,100 ล้านคิวบิกเมตร เขื่อนนี้ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอเวิ่นชวน ศูนย์กลางแผ่นดินไหวเพียง 5 กิโลเมตรเท่านั้น ฟ่าน กล่าวอีกว่า สถานที่ตั้งของเขื่อนถือเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะหากแรงสั่นไหวเกิดขึ้นขณะระดับน้ำในเขื่อนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วก็จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่
     
  3. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    น่ารักจนกินไม่ค่อยลง :cool:
     
  4. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ย้อนประวัติศาสตร์การเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย: การเตรียมพร้อมอนาคต ...

    [​IMG]
    หากเราเรียนรู้ธรรมชาติกรณีแผ่นดินไหว และได้รับทราบถึงมาตรการการป้องกันภัย การป้องกันตัวเอง การรู้จักแผ่นดินไหวให้มากขึ้น เราจะไม่แตกตื่นและตกใจเหมือนที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 ที่ผ่านมา ซึ่งหากเกิดรุนแรงกว่านี้ ผมคิดว่าจะต้องจ้าละหวั่นและต้องเกิดอุบัติเหตุกันมากกว่านี้แน่นอน ซึ่งต้องยอมรับว่าในประเทศญี่ปุ่นถือเป็นต้นตำหรับของการป้องกันภัยด้านแผ่นดินไหวและสึนามิ ซึ่งในช่วงท้ายผมจะนำข้อมูลการเตรียมตัวเผชิญแผ่นดินไหวมาให้ท่านผู้อ่านครับ

    ถึงขณะนี้ ผมขอเสนอว่าต้องจัดเอาภัยแผ่นดินไหว เป็นวาระสำคัญที่ผู้บริหารประเทศ ตลอดจนผู้บริหารเมือง – ท้องถิ่นและประชาชนทุกคนต้องให้ความสำคัญ ไม่น้อยกว่าภัยธรรมชาติอื่น ๆ เพราะสัญญาณที่ส่งออกมาในเรื่องความถี่มีสูงขึ้น เมืองใหญ่ ๆ หัวเมืองที่มีตึกสูงมาก ๆ ต้องให้ความสนใจ ใส่ใจมากเป็นพิเศษ ถึงแม้ว่าในข้อมูลทางวิชาการประเทศไทยจะไม่มีแนวการไหวสะเทือนพาดผ่านเหมือนกับประเทศอินโดนีเซียและพม่า ซึ่งมีแนวเลื่อนขนาดใหญ่พาดผ่านตามแนวขอบเพลต แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขึ้นได้ เนื่องจากมีรอยเลื่อนที่ยังมีพลัง (Active fault) ที่ยังมีการเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา
    ตลอดจนเราไม่สามารถประเมินความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดจากประเทศเพื่อนบ้านแล้วส่งผลกระทบมายังประเทศไทย ซึ่งกรณีเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 ที่ผ่านมาพิสูจน์ได้ดี
    อย่างไรก็ตามผมขอนำข้อมูลประวัติศาสตร์การเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยมาให้ท่านผู้อ่านทราบเพื่อจะได้เป็นสถิติเปรียบเทียบ และเป็นฐานข้อมูลดูเพราะว่าเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อไร ขนาดความรุนแรงเท่าใด ณ จุดไหนได้ แต่การเรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อป้องกันและเตรียมการสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นสิ่งที่ทำได้ครับ
    [​IMG]
    สมัยก่อนสุโขทัย (ก่อน พ.ศ.1781)

    • <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l6 level1 lfo2; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>เมืองแถน (เมืองเดียนเบียนฟูในเวียดนามเหนือ)

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l6 level1 lfo2; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>หริภุญไชย (ลำพูน) พ.ศ.500 พระมหาปราสาทโอนไปเป็นหลายที
    • โยนกนคร พ.ศ.480, 481, 510, 515, 1003, 1077
    พ.ศ.1003

    “....สุริยะอาทิตย์ก็ตกไปแล้ว ก็ได้ยินเสียงเหมือนดั่งแผ่นดินดังสนั่นหวั่นไหว ประดุจดังว่าเวียงโยนกนครหลวงที่นี้จักเกลื่อนจักพังไปนั้นแล แล้วก็หายไปครึ่งหนึ่ง ครั้นถึงมัชฌิมยามก็ซ้ำดังมาเป็นคำรบสองแล้วก็หายนั้นแล ถึงบัวฉิมยาม ก็ซ้ำดังมาเป็นคำรบสาม หนที่สามนี้ดังยิ่งกว่าทุกครั้งทุกคราวที่ได้ยินมาแล้ว กาลนั้นเวียงโยนกนครหลวงที่นั้นก็ยุบจมลงเกิดเป็นหนองอันใหญ่”

    สมัยสุโขทัย (พ.ศ.1781-1893)

    “.......เมียพญาลิไทตั้งจิตอธิษฐานออกผนวชมีจารึกว่า อธิษฐานดังนี้แล้ว จึงรับสรณาคมต่อพระอุปัชฌาย์ ขณะนั้นแผ่นดินไหวทั่วทุกทิศเมืองสุโขทัย ครั้นทรงผนวชแล้ว เสด็จลงมาจากพระมหาสุวรรณเหมปราสาท ทรงไม้เท้าจรดจรดลด้วยพระบาทสมเด็จพระราชดำเนินไปป่ามะม่วง ขณะประดิษฐานฝ่าพระบาทลงยังพื้นธรณี ปฐพีก็หวั่นไหวทั่วทุกทิศหินสาธาเข้าพรรษาวันนั้นจึงเสด็จออกเสวยพระโชรศ ขณะนั้นไม่ควรเลยสรรพ ไม่เสบยเสพยนานาอากาศดาษ สุริยะเมฆาจันทร์ปรายต์กับดาราฤกษ์ทั้งปวงยิ่งกว่าทุกวันด้วยฉะนั้น จึงเสด็จบรรพชาเป็นภิกษุในระหว่างพัทธสีมานั้น ขณะนั้นนาคราชตนหนึ่งอยู่โดยบุรพทิศเมืองสุโขทัยนั้น ยกพังพานขึ้นสูงพันคน แปรตาไปเฉพาะป่ามะม่วงนั้น เห็นรอยผลุดพลุ่งกลางอากาศลงต่อแผ่นดิน อนึ่งเวลานั้นได้ยินเสียงระฆังดนตรีดุริยางค์ ไพเราะใกล้โสตสของชนเป็นอันมาก จะพรรณานับมิได้ แต่บรรดามหาชนที่มาสโมสรสันนิบาตในสถานที่นั้น ย่อมเห็นการอัศจรรย์ประจักษ์ทุกคน เหตุด้วยเสด็จออกทรงบำเพ็ญพระบารมี เมื่อทำอัษฎางติกศีล เมื่อฤดูคิมหันต์ไม่มีฝน ด้วยอำนาจศีลและความอธิษฐานพระบารมีด้วย ปถวีก็ประวัติกัมปนาทหวาดหวั่นไหว เพทธาราวิรุณหกก็ตกลงมาในฤดูแล้ง แสดงอัศจรรย์สรรเสริญในการสร้างพระบารมี.......”



    • <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l10 level1 lfo3; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>สุโขทัย พ.ศ.1860 สมัยพญาลิไท

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l10 level1 lfo3; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>สุโขทัย พ.ศ.1905, 1909

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l10 level1 lfo3; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>เชียงใหม่ พ.ศ.2025,พ.ศ. 2088 ยอดเจดีย์หลวงสูง <METRICCONVERTER w:st="on" productid="86 เมตร" />86 เมตร</METRICCONVERTER /> พังลงมาเหลือ <METRICCONVERTER w:st="on" productid="60 เมตร" />60 เมตร</METRICCONVERTER />

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l1 level1 lfo4; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>อยุธยา พ.ศ.2048, 2070, 2089, 2127, 2131, 2132, 2228

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l1 level1 lfo4; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>น่าน พ.ศ.2103เจดีย์หลวง สูง 17 วา กว้าง 10 วา หักพังลง

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l11 level1 lfo5; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>ย่างกุ้ง, พม่า พ.ศ.2111, 2172พระเจดีย์เมืองร่างกุ้งเกิดความเสียหาย
    • เชียงใหม่ พ.ศ.2088ยอดเจดีย์หลวงสูง <METRICCONVERTER w:st="on" productid="86 เมตร" />86 เมตร</METRICCONVERTER /> พังลงมาเหลือ <METRICCONVERTER w:st="on" productid="60 เมตร" />60 เมตร</METRICCONVERTER />

    สมัยอยุธยา (พ.ศ.1893-2311)

    • <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l11 level1 lfo5; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>กำแพงเพชร พ.ศ.2127

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l11 level1 lfo5; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>เชียงแสน พ.ศ.2247, 2258, 2260 พ.ศ.2258 พระเจดีย์วิหารหักพังทลาย 4 ตำบล
    • หงสาวดี, พม่า พ.ศ.2300 ฉัตรยอดพระเจดีย์มุตางหักลงมา

    สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2311-2325)

    • <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l0 level1 lfo6; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>กรุงเทพฯ พ.ศ.2311, 2312
    • เชียงใหม่ พ.ศ.2317
    [​IMG]






    สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325-ปัจจุบัน)

    • <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l4 level1 lfo7; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>สมัยรัชกาลที่1 - หลวงพระบาง พ.ศ.2335 น่าน พ.ศ.2336, 2342, 2344

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l4 level1 lfo7; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>สมัยรัชกาลที่2 - มณฑลยูนาน พ.ศ.2367 ประชาชนชาวจีนเสียชีวิต 2,000 คน ,น่าน พ.ศ.2363 ยอดมหาธาตุเจ้าภูเวียงแช่แห้ง ก็หักลงห้อยอยู่

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l4 level1 lfo7; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>สมัยรัชกาลที่3 กรุงเทพฯ พ.ศ.2375, 2376, 2378 น้ำในแม่น้ำกระฉอกออกมา, พม่า พ.ศ.2382

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l4 level1 lfo7; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>สมัยรัชกาลที่4 กรุงเทพฯ พ.ศ.2417

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l4 level1 lfo7; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>สมัยรัชกาลที่5 กรุงเทพฯ พ.ศ.2429, 2430 น่าน พ.ศ.2422

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l4 level1 lfo7; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>สมัยรัชกาลที่6 กรุงเทพฯ พ.ศ.2455
    • สมัยรัชกาลที่7 กรุงเทพฯ, อยุธยา, จันทบุรี, พิษณุโลก, ราชบุรี, ปราจีนบุรี พ.ศ.2473ศูนย์กลางอยู่ประมาณเมืองพะโค, พม่า

    ตำแหน่งเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทย



    • <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l3 level1 lfo8; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสะโตง ตอนกลางของประเทศพม่า

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l3 level1 lfo8; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>บริเวณรอยต่อระหว่างประเทศพม่า-ลาว-จีน และไทย

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l3 level1 lfo8; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>ทะเลอันดามัน หมู่เกาะอันดามัน-นิโคบาร์
    • พื้นที่ครอบคลุมภาคทะเลอันดามัน เกาะสุมาตรา แผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้





    [​IMG]
    [​IMG]

    สำหรับ รอยเลื่อนมีพลัง หรือ Active Fault ในปัจจุบันมีดังนี้ครับ

    • <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l5 level1 lfo9; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>รอยเลื่อนเชียงแสน ความยาวประมาณ <METRICCONVERTER w:st="on" productid="130 กิโลเมตร" />130 กิโลเมตร</METRICCONVERTER /> เริ่มต้นจากแนวร่องน้ำแม่จันไปทางทิศตะวันออก ผ่านอำเภอแม่จัน แล้วตัดข้ามด้านใต้ของอำเภอเชียงแสนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวลำน้ำเงิน ทางด้านเหนือของอำเภอเชียงของ

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l5 level1 lfo9; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>รอยเลื่อนแม่จัน ยาวประมาณ <METRICCONVERTER w:st="on" productid="130 กม." />130 กม.</METRICCONVERTER /> ตั้งแต่ปี 2521 ขนาด >3 ริคเตอร์ เกิดตามแนวรอยเลื่อนนี้ 10 ครั้ง / 3 ครั้งมีขนาด >4.5 ริคเตอร์ โดยเฉพาะวันที่ 1 กันยายน 2521 มีขนาด >4.9 ริคเตอร์

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l5 level1 lfo9; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>รอยเลื่อนแพร่ เริ่มต้นจากด้านตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเด่นชัย ผ่านไปทางด้านตะวันออกของอำเภอสูงเม่น และจังหวัดแพร่ ไปจนถึงด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอร้องกวาง รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ <METRICCONVERTER w:st="on" productid="115 กิโลเมตร" />115 กิโลเมตร</METRICCONVERTER /> รอบ 10 ปีที่ผ่านมา ขนาด 3.4 ริคเตอร์ มากกว่า 20 ครั้ง ล่าสุด ขนาด 3 ริคเตอร์ เมื่อ 10 กันยายน 2533

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l5 level1 lfo9; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>รอยเลื่อนแม่ทา เป็นรูปโค้งตามแนวลำน้ำแม่วัง และแนวลำน้ำแม่ทาในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ความยาวทั้งสิ้นประมาณ <METRICCONVERTER w:st="on" productid="55 กิโลเมตร" />55 กิโลเมตร</METRICCONVERTER /> การศึกษาอย่างละเอียดเฉพาะ ในปี 2521 มีแผ่นดินไหวขนาดเล็กอยู่หลายครั้ง

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l5 level1 lfo9; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>รอยเลื่อนเถิน อยู่ทางทิศตะวันตกของรอยเลื่อนแพร่ ตั้งต้นจากด้านตะวันตกของอำเภอเถินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ขนานกับรอยเลื่อนแพร่ไปทางด้านเหนือของอำเภอเถินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ขนานกับรอยเลื่อนแพร่ไปทางด้านเหนือของอำเภอวังชิ้น และอำเภอลอง รวมความยาวทั้งหมดประมาณ <METRICCONVERTER w:st="on" productid="90 กิโลเมตร" />90 กิโลเมตร</METRICCONVERTER /> 23 ธันวาคม 2521 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.7 ริคเตอร์

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l5 level1 lfo9; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>รอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี ตั้งต้นจากลำน้ำเมยชายเขตแดนพม่ามาต่อกับห้วยแม่ท้อและลำน้ำปิงใต้จังหวัดตาก ต่อลงมาผ่านจังหวัดกำแพงเพชร และนครสวรรค์ จนถึงเขตจังหวัดอุทัยธานี รวมความยาวกว่า <METRICCONVERTER w:st="on" productid="250 กิโลเมตร" />250 กิโลเมตร</METRICCONVERTER /> เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2476 ไม่ทราบขนาด 23 กุมภาพันธ์ 2518 ขนาด 5.6 ริคเตอร์

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l5 level1 lfo9; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ อยู่ในลำน้ำแควน้อยตลอดสาย และต่อไปจนถึงรอยเลื่อนสะแกง (Sakaing Fault) ในประเทศพม่า ความยาวของรอยเลื่อนในประเทศไทยกว่า <METRICCONVERTER w:st="on" productid="250 กิโลเมตร" />250 กิโลเมตร</METRICCONVERTER /> ตามลำน้ำแควน้อย และต่อเข้าไปเป็นรอยเลื่อนสะแกง ในประเทศพม่า เกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็ก หลายพันครั้ง

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l5 level1 lfo9; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ อยู่ทางด้านตะวันตกของรอยเลื่อนเมย - อุทัยธานีในร่องน้ำแม่กลองและแควใหญ่ ตลอดขึ้นไปจนถึงเขตแดนพม่า รวมความยาวทั้งหมดกว่า <METRICCONVERTER w:st="on" productid="500 กิโลเมตร" />500 กิโลเมตร</METRICCONVERTER /> รอบ 10 ปีที่ผ่านมา มีแผ่นดินไหวขนาดเล็กเกิดขึ้นหลายร้อยครั้ง ขนาดใหญ่ที่สุด 5.9 ริคเตอร์ เมื่อ 22 เมษายน 2526

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l5 level1 lfo9; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>รอยเลื่อนระนอง ตามแนวร่องน้ำของแม่น้ำกระบุรี ความยาวทั้งสิ้นประมาณ <METRICCONVERTER w:st="on" productid="270 กิโลเมตร" />270 กิโลเมตร</METRICCONVERTER /> 30 กันยายน 2521 มีขนาด 5.6 ริคเตอร์
    • รอยเลื่อนคลองมะลุ่ย รอยเลื่อนคลองมะรุย ตัดผ่านด้านตะวันออกของเกาะภูเก็ต เข้าไปในอ่าวพังงา ตามแนวคลองมะรุย คลองชะอุน และคลองพุมดวงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนกระทั่งไปออกอ่าวบ้านดอน ระหว่างอำเภอพุนพินกับอำเภอท่าฉาง รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 150 กิโลเมตรมีรายงานเกิดแผ่นดินไหว 16 พฤษภาคม 2476- 7 เมษายน 2519 - 17 สิงหาคม 2542 -29 สิงหาคม 2542









    ส่วนสถิติแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งตรวจวัดโดย กรมอุตุนิยมวิทยา มีขนาดอยู่ในระดับเล็กถึงปานกลาง (ไม่เกิน 6.0 ริคเตอร์) หากเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่พอก็จะส่งแรงสั่นสะเทือนมายังประเทศไทย ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยต่อสิ่งก่อสร้างใกล้ศูนย์กลาง โดยมีรายละเอียดดังนี้

    • <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l8 level1 lfo10; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>แผ่นดินไหวเมื่อ 17 ก.พ. 2518 ขนาด 5.6 ริคเตอร์บริเวณ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l8 level1 lfo10; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>แผ่นดินไหวเมื่อ 15 เม.ย. 2526 ขนาด 5.5 ริคเตอร์ บริเวณ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l8 level1 lfo10; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>แผ่นดินไหวเมื่อ 22 เม.ย. 2526 ขนาด 5.9 ริคเตอร์ บริเวณ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l8 level1 lfo10; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>แผ่นดินไหวเมื่อ 22 เม.ย. 2526 ขนาด 5.2 ริคเตอร์ บริเวณ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l8 level1 lfo10; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>แผ่นดินไหวเมื่อ 11 ก.ย. 2537 ขนาด 5.1 ริคเตอร์ บริเวณ อ.พาน จ.เชียงราย

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l8 level1 lfo10; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>แผ่นดินไหวเมื่อ 9 ธ.ค. 2538 ขนาด 5.1 ริคเตอร์ บริเวณ อ.ร้องกวาง จ.แพร่

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l8 level1 lfo10; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>แผ่นดินไหวเมื่อ 21 ธ.ค. 2538 ขนาด 5.2 ริคเตอร์ บริเวณ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l8 level1 lfo10; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>แผ่นดินไหวเมื่อ 22 ธ.ค. 2539 ขนาด 5.5 ริคเตอร์ บริเวณพรมแดนไทย-ลาว

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l8 level1 lfo10; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>เหตุการณ์แผ่นดินไหวรู้สึกได้ในประเทศไทย (2542 - สิงหาคม 2543)

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l8 level1 lfo10; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>31 ส.ค. 2542 ใกล้พรมแดนไทย - ลาว ขนาด 4.8 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.น่าน

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l8 level1 lfo10; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>3 เม.ย. 2542 ใกล้พรมแดนไทย - พม่า ขนาด 3.2 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ อ.เชียงแสน จ. เชียงราย

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l8 level1 lfo10; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>29 มิ.ย. 2542 ในประเทศพม่าขนาด 5.6 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.เชียงราย

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l8 level1 lfo10; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>15 ส.ค. 2542 ตอนใต้ของประเทศพม่าขนาด 5.6 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.เชียงใหม่

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l8 level1 lfo10; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>17 ส.ค.2542 บริเวณทะเลอันดามันขนาด 2.1 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.ภูเก็ตและพังงา

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l8 level1 lfo10; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>29 ส.ค. 2542 บริเวณทะเลอันดามันขนาด 2.1 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.ภูเก็ตและพังงา

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l8 level1 lfo10; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>20 ม.ค. 2543 ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ขนาด 5.9 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่
      จ.น่าน แพร่ พะเยา เชียงราย มีความเสียหายที่ จ.น่านและแพร่

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l8 level1 lfo10; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>14 เม.ย. 2543 ที่พรมแดนลาว - เวียดนาม ขนาด 4.9 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.สกลนคร

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l8 level1 lfo10; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>29 พ.ค. 2543 บริเวณอ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ขนาด 3.8 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ อำเภอเมือง อ.สันกำแพง และ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
    • 7 ส.ค. 2543 บริเวณพรมแดนไทย - พม่าขนาด 3.0 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่บริเวณอำเภอเมือง จ.แม่ฮ่องสอน

    สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว แบ่งเป็น 2 อย่าง คือ

    1. เกิดจากธรรมชาติ (NATURAL EARTHQUAKE)

    2. เกิดจากการกระทำของมนุษย์ (INDUCED SEISMICITY)

    แผ่นดินไหวที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ (INDUCED SEISMICITY)

    - การเก็บกักน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่

    - การทดลองระเบิดปรมาณู/ระเบิดนิวเคลียร์

    - การระเบิดจากการทำเหมืองแร่

    - การสูบน้ำใต้ดินมาใช้มากเกินไป

    - การผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

    - การเก็บขยะนิวเคลียร์ใต้ดิน



    ความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทย

    ข้อมูลทางธรณีวิทยารายงานว่า สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย เกิดจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มีแหล่งกำเนิดจากภายนอกประเทศ ส่งแรงสั่นสะเทือนมายังประเทศไทย โดยมีแหล่งกำเนิดบริเวณตอนใต้ของประเทศจีน พม่า ลาว ทะเลอันดามัน ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา โดยบริเวณที่จะรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนได้แก่ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพฯ

    โดยบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อภัยแผ่นดินไหวสูงในประเทศไทย ได้แก่

    1. บริเวณอยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว ตามแนวรอยเลื่อนทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่วนใหญ่อยู่บริเวณภาคเหนือและตะวันตก

    2. บริเวณที่เคยมีประวัติหรือสถิติแผ่นดินไหวในอดีตและมีความเสียหายเกิดขึ้น จากนั้นเว้นช่วงการเกิดแผ่นดินไหวเป็นระยะเวลานานๆ จะมีโอกาสการเกิดแผ่นดินไหว ที่มีขนาดใกล้เคียงกับสถิติเดิมได้อีก

    3. บริเวณที่เป็นดินอ่อนซึ่งสามารถขยายการสั่นสะเทือนได้ดี เช่น บริเวณที่มีดินเหนียวอยู่ใต้พื้นดินเป็นชั้นหนา บริเวณที่ลุ่มหรืออยู่ใกล้ปากแม่น้ำ เป็นต้น โดยเฉพาะแถบจังหวัดนนทบุรี อยุธยา ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา เนื่องจากชั้นดินมีความอ่อนตัวมากกว่าแถบอื่น

    [​IMG]

    สมศักดิ์ โพธิสัตย์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยอยู่ในพื้นที่แนวตะเข็บของเปลือกโลกที่เกิดแผ่นดินไหว ซึ่งมีโอกาสที่จะขยับตัวได้ แต่ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวเมื่อไร และจากการสำรวจทำแผนที่บริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในปี 2548 ของกรมทรัพยากรธรณี พบว่ามี 4 จังหวัดที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยมากที่สุด คือ กาญจนบุรี ตาก แม่ฮ่องสอน และเชียงราย โดยมีความเสี่ยงที่ 7-8 เมอร์คัลลี่ เพราะเป็นพื้นที่ใกล้รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ซึ่งมีความเสี่ยงสูง ที่สำคัญ ผลกระทบอาจทำให้อาคารที่มั่นคงตามปกติเสียหายได้

    ส่วนจังหวัดรองลงมา ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือและภาคใต้ อาทิ สุราษฎร์ธานี พังงา กระบี่ เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา น่าน ลำปาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร โดยจะมีความเสี่ยงที่ 5-7 เมอร์คัลลี่ ซึ่งจะทำให้อาคารที่สร้างอย่างมั่นคงตามปกติเสียหายเล็กน้อย ส่วนที่ปลอดภัยมากที่สุด คือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    [​IMG]

    ขนาดของพลังงานที่ปลดปล่อยออกมา (Magnitude)มาตราริคเตอร์

    [​IMG]


    ขนาด ความสั่นสะเทือน

    1 - 2.9 สั่นไหวเล็กน้อย

    3 - 3.9 ผู้คนในอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน

    4 - 4.9 สั่นไหวปานกลาง ผู้คนทั้งในและนอก

    อาคารรู้สึก วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว

    5 - 5.9 สั่นไหวรุนแรง เครื่องเรือน วัตถุมีการเคลื่อนที่

    6 - 6.9 สั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มพังเสียหาย

    7.0 ขึ้นไป สั่นไหวร้ายแรง อาคารพังเสียหายมาก

    แผ่นดินแยก วัตถุถูกเหวี่ยงกระเด็น

    ขนาดตามมาตราริคเตอร์ ถ้าค่าต่างกัน 1 ระดับจะมีพลังงานต่างกัน 31 เท่า กล่าวคือ ระดับ 4 จะมีระดับความสั่นสะเทือนเสียหายมากกว่าระดับ 3 ถึง 31 เท่า แผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่เคยวัดได้ คือ ขนาด 9 ริคเตอร์



    [​IMG]





    ลักษณะการเกิดแผ่นดินไหว
    การเกิดแผ่นดินไหวจะประกอบด้วยการสั่นสะเทือนที่มีขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า Mainshocks หนึ่งครั้ง ติดตามด้วยการสั่นสะเทือนเล็กๆ อีกหลายครั้งที่เรียกว่า Aftershocks

    ในบางครั้งอาจมีการสั่นสะเทือนเล็กๆ เกิดขึ้นก่อนหน้า เรียกว่า Foreshocksการสั่นสะเทือนเป็นระลอกดังกล่าว อาจเกิดขึ้นในเวลาเพียงไม่กี่วินาที จนถึงหลายวันได้ คลื่นแผ่นดินไหว (Seismic wave)แบ่งเป็น 3 ประเภท

    (1.) P-waves หรือ Primary waves (คลื่นปฐมภูมิ)

    (2.) S-waves หรือ Secondary waves (คลื่นทุติยภูมิ)

    (3.) Surface waves (คลื่นพื้นผิว)

    การป้องกันและการปฏิบัติตน


    ก่อนการเกิดแผ่นดินไหว

    • <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l2 level1 lfo11; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l2 level1 lfo11; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l2 level1 lfo11; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น เครื่องดับเพลิง ถุงทราย เป็นต้น

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l2 level1 lfo11; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>ควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l2 level1 lfo11; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>อย่าวางสิ่งของหนักบนชั้น หรือหิ้งสูง ๆ เมื่อแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตรายได้

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l2 level1 lfo11; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l2 level1 lfo11; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมาย ในกรณีที่ต้องพลัดพรากจากกัน เพื่อมารวมกันอีกครั้ง ในภายหลัง
    • สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว
    ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว

    • <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l2 level1 lfo11; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติอยู่อย่างสงบ ถ้าท่านอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าท่านอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกจากบ้าน

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l2 level1 lfo11; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือหมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง ที่สามารถรับน้ำหนัก ได้มาก และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l2 level1 lfo11; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติให้มั่น และรีบออกจากอาคารโดยเร็ว หนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l2 level1 lfo11; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือที่โล่งแจ้ง

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l2 level1 lfo11; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>อย่าใช้ เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l2 level1 lfo11; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>ถ้าท่านกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l2 level1 lfo11; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว
    • หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง
    หลังเกิดแผ่นดินไหว

    • <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l2 level1 lfo11; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l2 level1 lfo11; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาคารอาจพังทลายได้

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l2 level1 lfo11; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่น ๆ และสิ่งหักพังแทง

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l2 level1 lfo11; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟ หรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l2 level1 lfo11; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>ตรวจสอบว่า แก๊สรั่ว ด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบาน

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l2 level1 lfo11; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l2 level1 lfo11; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริง ๆ

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l2 level1 lfo11; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>สำรวจดูความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้

      <LI style="TEXT-ALIGN: justify; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l2 level1 lfo11; tab-stops: list 36.0pt" class=MsoNormal>อย่าเป็นไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง หรืออาคารพัง
    • อย่าแพร่ข่าวลือ


      [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]



      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]

      [​IMG]
      [​IMG]
     
  5. วิปัสนะ

    วิปัสนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    601
    ค่าพลัง:
    +647
    วิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมวันนี้ 14/5/54 เวลา 12.30 น.

    กลุ่มเมฆที่ 1 :
    กลุ่มเมฆฝนปกคลุมภาคเหนือโดยมีฝนฟ้าคะนองปกคลุมทางตอนบน ทางตอนกลางและทางตอนล่างของภาค

    กลุ่มเมฆที่ 2 :
    กลุ่มเมฆฝนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยมีฝนฟ้าคะนองปกคลุมทางตอนบน ทางตอนกลางและทางตอนล่างของภาค

    กลุ่มเมฆที่ 3 :
    กลุ่มเมฆฝนปกคลุมภาคกลางโดยมีฝนฟ้าคะนองปกคลุมทางตอนกลางและทางตอนล่างของภาค

    กลุ่มเมฆที่ 4 :
    กลุ่มเมฆฝนปกคลุมภาคตะวันออกโดยมีฝนฟ้าคะนองปกคลุมภาคตะวันออกและตามบริเวณชายฝั่ง

    กลุ่มเมฆที่ 5 :
    กลุ่มเมฆปกคลุมภาคใต้โดยมีฝนฟ้าคะนองปกคลุมทางตอนบนของภาค
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • i11051405.jpg
      i11051405.jpg
      ขนาดไฟล์:
      87.6 KB
      เปิดดู:
      63
  6. coffee191

    coffee191 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    76
    ค่าพลัง:
    +21
    เราอยู่หน้าเครื่องคอมฯได้ในช่วงเวลา 4ทุ่มถึงตี 2 ทุกวันหากมีอะไรให้ช่วยบอกได้นะ
     
  7. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ช่วยตรวจสภาพอากาศแปรปรวน จากภาพถ่ายสภาพอากาศดาวเทียม ให้ด้วยนะค่ะ เพราะ...ช่วงกลางคืนอากาศจะแปรปรวนเยอะกว่ากลางวัน


    ติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวทั่วโลก จาก USGS ค่ะ
     
  8. ถาวโร(ถา-วะ-โร)

    ถาวโร(ถา-วะ-โร) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2007
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +672
    ได้แต่กลืนน้ำลายเพราะอยู่ซะไกล :'( :'( :'(
     
  9. ตันติปาละ

    ตันติปาละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    4,421
    ค่าพลัง:
    +4,649
    เครือข่ายเตรียมพร้อมป้องกันภัยธรรมชาติ

    ต.หลักเมือง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ 14 พฤษภาคม 2554 13:01 น.14 พฤษภาคม 2554
    เมื่อเวลา 13.01 น.(14/05/54)ได้เกิดลมกระโชกแรงที่สถานีฯ(อำเภอกมลาไสย)
    วัดความเร็วลมสูงสุดได้ 25 Kts ทิศ 230 องศา ในเบื้องต้นยังไม่มีรายงานความเสียหาย


    ต.หลักเมือง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ 14 พฤษภาคม 2554
    14 พฤษภาคม 2554 12:47เมื่อเวลา 12.47 น.(14/05/54)ได้เกิดฟ้าคะนองทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทิศใต้
    และทิศตะวันออกของสถานีฯ(อำเภอกมลาไสย)ในเบื้องต้นยังไม่มีรายงานความเสียหาย
     
  10. วิปัสนะ

    วิปัสนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    601
    ค่าพลัง:
    +647
    เมฆปกคลุมประเทศไทยหนาแน่นขึ้นแล้ว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 00Latest.jpg
      00Latest.jpg
      ขนาดไฟล์:
      63 KB
      เปิดดู:
      63
    • latest.jpg
      latest.jpg
      ขนาดไฟล์:
      130.2 KB
      เปิดดู:
      59
  11. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ช่วงนี้อากาศโดยทั่วไปของไทย จะมีฝนตกกระจายไปทั่ว ท้องฟ้ามืดครึ้ม

    บางที่ฟ้าก็ร้องเสียงดัง ....แต่สภาพการณ์ยังนิ่งๆ อยู่
    [​IMG][​IMG]

    เมื่อเช้าขับรถไปตามทาง เจอแต่ไอ้กือร้อยขา ออกมาเดินบนถนน เยอะแยะ... เกือบเหยียบมันเลย ไม่รู้มันออกมาทำอะไรกัน แม้แต่ตัวจิ๋ว มันก็ยังออกมาเดินบนถนนกัน

    จะเป็นลางบอกเหตุอะไรรึเปล่าเนี่ย:boo:
    [​IMG]


     
  12. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    แผนที่สภาพอากาศ จากดาวเทียม ล่าสุดทุกชั่วโมง

    posted on 14 Sep 2005 15:25 by pipat2000
    [​IMG][​IMG]
    เวลา GMT คิดเป็นเวลาไทยโดยบวก 7 ชั่วโมง
    สีขาว>ม่วง>ม่วงเข้ม>เหลือง>แดง คือ เมฆ ฝนหนาถึงหนาที่สุด

    //////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

    โอ้...ดูสิ...เมฆเพียบเลย....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 พฤษภาคม 2011
  13. วิปัสนะ

    วิปัสนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    601
    ค่าพลัง:
    +647
    จริงด้วยค่ะคุณจอย
    ตอนนี้คุณกิ้งกือพากันออกมาเพ่นพ่านไปมาเยอะกว่าที่เคย
    ที่นี่ก็มีเหมือนกัน:boo::boo:
     
  14. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    แผนภาพแสดงปริมาณน้ำฝนใน 24 ชั่วโมง
    [​IMG] [​IMG]

    ฝนเพียบเลย.... ;aa17
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 พฤษภาคม 2011
  15. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    วิธีดูความหมายจากภาพ ...รวบรวมจาก เว็ปอื่นมาให้ค่ะ

    หากเส้นความกดอากาศเท่ามีความถี่มากและแคบ ประกอบกับเส้นความกดอากาศ(MB)มีค่ามาก ก็จะเรียกว่า “ความกดอากาศสูงมีกำลังแรง”

    หากเส้นความกดอากาศเท่ามีความถี่มากและแคบ ประกอบกับเส้นความกดอากาศ(MB)มีค่าน้อย ก็จะเรียกว่า “ความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง”

    หากเส้นความกดอากาศเท่ามีความถี่น้อยและห่าง ประกอบกับเส้นความกดอากาศ(MB)มีค่ามาก ก็จะเรียกว่า “ความกดอากาศสูงมีกำลังอ่อน”

    หากเส้นความกดอากาศเท่ามีความถี่น้อยและห่าง ประกอบกับเส้นความกดอากาศ(MB)มีค่าน้อย ก็จะเรียกว่า “ความกดอากาศต่ำมีกำลังอ่อน”
    ดังนี้

    ตัวอย่างภาพบรรยายค่ะ
    [​IMG]

    - สมมติ หากเส้น 1022 mbar เคลื่อนที่หรือแผ่ลิ่มลงมาถึงตอนใต้ของจีน และมีความแคบถึงเส้น 1004 น้อยอยู่บริเวณตอนเหนือของไทย = มีความกดอากาศสูงกำลังแรง

    - เส้นความกดอากาศ เช่น เส้นความกดอากาศเท่าระหว่างเส้น 1004 มิลลิบาร์ซึ่งอยู่ทิศเหนือ กับ เส้น 1000 มิลลิบาร์ซึ่งอยู่ทิศใต้... บริเวณที่อยู่ระหว่างเส้นนี้ก็จะเกิดกระแสลมพัดจากเหนือลงไปทางใต้ ...เนื่องจากเส้นความกดอากาศที่มีค่ามากกว่ามักจะวิ่งเข้าหาเส้นความกดอากาศที่มีค่าน้อยกว่าเสมอ... นอกจากนี้แล้วยังบ่งบอกถึงระดับความเร็วด้วยเช่นถ้าระยะห่างระหว่างเส้นความกดอากาศมากลมก็จะพัดอ่อน ถ้าระยะห่างแคบก็จะพัดแรง..
    หรือ มีร่องความกดอากาศต่ำที่ 1002 mbar เป็นร่องฯ กำลังแรง
    เป็นต้น
     
  16. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    เพิ่มข้อมูล...มาให้ค่ะ (วิธีดูแผนที่อากาศ)

    [​IMG]
     
  17. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    สัญญลักษณ์บนแผนที่อากาศ
    [​IMG]

    ตอบ1: แดงลากเชื่อม L สองตัวเป็นร่องความกดอากาศต่ำครับ เส้นแดงหัวกลมๆกับ เส้นน้ำเงินหัวแหลมๆด้วย เป็นสายเมฆยาวๆที่เห็นในภาพดาวเทียมอ่ะครับ แล้วก็เป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนด้วยครับ

    ตอบ2: เส้นหัวกลม ๆ กับแหลมๆ นั้นคือแนวปะทะอากาศครับ เกิดจากความร้อนและเย็นมาชนกันและยกตัวสูงขึ้นครับ ใครอยู่บริเวณแนวนั้นจะเจอกับฝนฟ้าคะนองได้ครับ


    ***********************************************************************************************

    [​IMG]


     
  18. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    เรามาดูแผนที่อากาศ ของจริง...(ปัจจุบัน)กันค่ะ

    ภาพอากาศ ล่าสุด 14 พ.ค.54

    [​IMG]
    [​IMG] <--- แผนที่ลมชั้นบน ระดับ 925 hPa
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 พฤษภาคม 2011
  19. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    พื้นที่เสี่ยงการเกิดไฟป่าค่ะ แต่ช่วงนี้มีฝนตกเยอะ คงไม่น่ามีไฟป่าเกิดขึ้นค่ะ
    [​IMG]
     
  20. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
     

แชร์หน้านี้

Loading...