ธรรมชโย วัดพระธรรมกาย จริงๆแล้วเป็นใคร??มีคำตอบ..

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย maxgatod, 16 มกราคม 2011.

  1. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    อย่าไปคิดมากครับ

    ผู้ที่เกิดวัน 22 เมษา มีอยู่เต็มโลกพอๆกับวัน ปีใหม่ วันวาเลนไทน์ วันตรุษจีน ฯลฯ

    อีกอย่าง ผู้ที่เกิดวันวิสาขบูชา ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้นั้นเกิดมาจะรู้ธรรมมากกว่าผู้เกิดวันอื่น

    มองให้เป็นเรื่องจริง ความจริง ไม่ใช่เรื่องแปลกวิเศษอะไรดีกว่า ^^



    เป็นแค่ความเห็นนะครับ
     
  2. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ไม่ทราบว่าเข้าใจตรงกันรึเปล่า

    ปรมัตสัจจะ คือ ความจริงที่ปราฏฏอยู่ มีอยู่แล้ว ไม่ว่ากี่ยุคสมัย

    กี่พระพุทธเจ้าล้วนตรัสรู้สิ่งนี้ เข้าไปเห็นสิ่งนี้

    ในพระธรรมก็ว่าถึงเหตุ และ ผล ปฏิเสธของที่เกิดลอยๆ หรือพระเจ้า เทวนิยมมาตลอด

    ไม่ว่าหลักปัจจยการ หลักปฏิจสมุปบาท หลักอริยะสัจ หลักไตรลักษณ์

    ล้วนเป็นกระบวนการสืบสาวพิจารณาถึงต้นตอ

    สิ่งใดเป็นเหตุ สิ่งนั้นย่อมเป็นผลของเหตุหนึ่งอีกที


    แม้แต่เรื่องเกินธรรมชาติ เหนือเหตุผล ยกตัวอย่างเช่น เดินบนน้ำ

    รู้สึกในวิสุทธิมรรค พรรณาไว้เรื่องกสินน้ำ กสินดิน

    เกิดจากการเปลี่ยนอนุภาค คุณสมบัติของอาโปที่มีลักษณะ เกาะกุม รวมตัว

    เป็น คุณสมบัติปฐวี ด้วยการเพ่งธาตุ กำหนดธาตุ ความหนัก แข็ง แผ่ดังแผ่นดิน

    เพราะในธาตุหนึ่ง ย่อมมีธาตุอีกสามประกอบประชุมอยู่เสมอ

    ฉนั้น หากฝึกฝนสมาธิเข้มข้น ก็สามารถแปรอนุภาคธาตุได้ มันเป็นเรื่องอธิบายได้


    ที่ว่า มรรค ผล เป็นเรื่องเกินธรรมชาติ นี้ก็ไม่ถูก

    เพราะในพระสูตรอธิบายไว้หมดแล้ว ตั้งแต่คบสัตปุรุษ มีศรัทรา ....

    จนเป็นสัมมาทิฏฐิ เห็นถูก ระลึกถูก ปฏิบัติย่อมถูก ผลปฏิบัติย่อมถูกเช่นกัน

    ก็ปัจจัยการเข้าถึงนั้นมีอยู่ ปัจจัยการดับนั้นมีอยู่


    ฉนนั้นแล้ว อย่าไปว่า คนนี้เป็นปุถุชน แล้ว เขยิบตัวเองประหนึ่งว่า


    ตนไม่ใช่ปุถุชน เป็นผู้พ้นตรมแล้วซะงั้น

    อันนี้ก็ดูจากคำตอบของคุณนะครับ


    เป็นแค่ความเห็นนะครับ อย่าไปคิดมาก
     
  3. รักษ์11

    รักษ์11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +516
    อนุโมทนาธรรม เป็นอย่างสูงเลยครับ เรื่องกรรมนี่ เป็นของคู่กับพระศาสนาเลยทีเดียวนะ
    อย่างท่านเจ้าคุณนรรัตราชมานิต วัดเทพศิรินทร์ คอท่านเป็น
    มะเร็งเป็นมะเร็งทีคอ แผลน่ากลัวมาก สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เป็นโยมอุปฐากที่ปาวนาตัว
    จะไห้หมอรักษาท่าน
    ท่านไม่เอา ท่านไม่ยอม ท่านปล่อย ท่านเล่าไห้คนใกล้ชดฟังว่า
    ที่ท่านเป็นมะเร็ง ที่คอ ก็เพราะกรรมชาตินี้ ท่านเห็นได้ด้วยอตีตัง
    สญาณ ตอนสมัยเป็นเด็ก ท่านซน ท่านเอาเชือกผูกคอลิง ไว้กับเสาบ้าน
    ลิงมันก็ดิ้น ดิ้นจนเชือกลัดคอเป็นแผลเวอะหวะ ดิ้นจนขาดใจตาย
    กรรมอันนี้ ตามมาเล่นงานท่าน ท่านเจ้าคุณ ท่านไม่รักษา ท่านไม่หนี
    ปล่อยไห้กฏของกรรมเล่นงาน ถ้าถามนักวิทยาศาตร์จะตอบได้ไหมเนาะ
    อนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ ที่นำความรู้ดีๆมาเผยแพร่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 กันยายน 2011
  4. รักษ์11

    รักษ์11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +516
    [​IMG]

    รูปท่านเจ้าคุณนรรัตราชวานิต เป็นมะเร็งที่คอ แต่ไม่รักษา


    [​IMG]

    [​IMG]
    พระคุณเจ้า ธมฺวิตกฺโก หรือหลวงพ่อนรรัตน์ ฯ นั้น ในความรู้สึกของภิกษุสามเณรรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ในวัดนี้หรือวัดไหนก็ตาม ตลอดทั้งบุคคลภายนอกทั่งไปที่มีความสนใจในตัวท่าน ต่างก็มั่นใจและเลื่อมใสในคุณธรรมและความเป็นอยู่ของตัวท่าน บางคนก็พูดกันไปในลักษณะว่าท่านเป็นอริยะ คือผู้ประเสริฐด้วยการประพฤติบัติ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ดำเนินไปตรงจุดที่พระพุทะองค์ทรงสอนไว้ทุกประการ ในด้านส่วนตัว ท่านเป็นผู้ที่รักสันโดษ ยินดีในที่สงบสงัด ไม่รับรู้ในอิฏฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์ใด ๆ คือโลกธรรมไม่ครอบงำท่านได้ มีความประพฤติสม่ำเสมอ บำเพ็ญกิจวัตรเป็นประจำไม่ทำให้ขาดตกบกพร่อง เช่นการลงโบสถ์สวดมนต์ทำวัตรเป็นต้น ท่านถือเป็นกิจวัตรที่สำคัญ เวลาท่านสวดมนต์มีเสียงนำ ท่านจำแม่น จำได้มาก เป็นหลักประกันของภิกษุสามเณรได้ว่า ถึงเวลา ๒ โมงเช้าก็ดี ถึงเวลา ๕ โมงเย็นก็ดี จะต้องได้พบ ได้เห็นท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ อย่างแน่นอน
    ที่เรียกท่านว่า ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ นั้น มีบางคนยังเข้าใจผิด คิดว่าท่านได้รับแต่งตั้งเป็นชั้นเจ้าคุณทางพระสงฆ์ (อย่างที่เห็น เดี๋ยวองค์นั้นได้เป็นพระครู เดี๋ยวองค์นี้ได้เป็นเจ้าคุณ เป็นต้น) ความจริงท่านไม่ได้รับตำแหน่งใด ๆ จากทางคณะสงฆ์เลย และถึงจะได้ ท่านก็ไม่รับ เพราะท่านว่า “พอแล้ว” ท่านได้รับมามากแล้ว คือท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นถึง พระยานรรัตนราชมานิต ใกล้ชิดเจ้าเหนือหัว ฯ เมื่อท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่ พระยานรรัตนราชมานิต นั้น อายุท่านยังไม่เต็ม ๒๕ เลย และท่านเคยเล่าให้อาตมภาพฟังว่า “ในหลวงรับสั่งว่า ข้าจะให้เจ้าเป็นถึง เจ้าพระยาด้วยซ้ำไป แต่เจ้าอายุไม่ถึง ๓๐ “ ฯ เพราะฉะนั้น ที่ส่วนมากเรียกท่านว่า ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ นั้น ก็คือเอายศชั้นพระยาของท่านซึ่งได้รับพระราชทานไว้เมื่อก่อนท่านบวช มาใช้เรียกว่า ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ (ท่านบวชเมื่ออายุย่าง ๒๙ ปี)
    ท่านชอบศึกษาทางจิต อบรมฝึกฝนทางกระแสจิตมามาก จึงมีจิตใจเข้มแข็งและอดทนเป็นยอด ฯ แม้ท่านจะได้รับทุกขเวทนามากมายเพียงใดท่านก็มิได้แสดงอาการอะไรให้ผิดแปลกไปจากธรรมดา คงรักษาปกติกิริยาไว้ได้อย่างอัศจรรย์ จนกระทั่งถึงวาระสุดท้าย ซึ่งทุกคนที่รู้ที่เห็น และได้ทราบ ท่านก็จะต้องคิดเห็นว่า ท่านนี้ไม่เหมือนใคร และใครก็ไม่เหมือนท่าน ในด้านความอดทนนับว่าเป็นยอด ท่านใช้พลังจิตของท่านเข้าต่อสู้กับศัตรูคือโรคภัยไข้เจ็บที่มาเบียดเบียนท่าน ให้หายไปได้โดยมิต้องใช้ยารักษา อาตมภาพเคยเรียนถามท่านว่า ได้ทราบว่า ท่านเคยเป็นโรคมะเร็งกรามช้าง แล้วทำอย่างไรจึงหายได้ ท่านได้กรุณาเล่าให้ฟังว่า เคยเป็นโรคมะเร็งกรามช้างจริง เป็นทั้งสองข้าง กินแก้มทะลุเน่าเฟะ ฟันร่วง เวลาฉันน้ำ ๆ จะไหลออกทางแก้ม ได้เรียนถามท่านว่า เป็นอยู่นานเท่าไร และได้หยุดลงโบสถ์หรือเปล่า ท่านว่าเป็นอยู่ประมาณเกือบ ๒ เดือน (เป็นก่อน พ.ศ. ๘๐) และระหว่างที่เป็นอยู่ก็มิได้หยุดลงโบสถ์ คงลงโบสถ์ทำวัตรเป็นประจำ จนเจ้าพระคุณสมเด็จพระอุปัชฌาย์ท่านว่า “นี่ คุณ ๆ อย่าทรมานสังขารให้มากนักเลย ให้หมอเขาดูเสียบ้างเถอะ” แต่ท่านก็มิได้ให้หมอที่ไหนดูแลรักษา คงใช้รักษาโรคด้วยพลังจิตของท่าน จนโรคร้ายหายสนิทได้อย่างอัศจรรย์ ฯ
    ท่านเป็นอยู่อย่างปกติ และเป็นอยู่อย่างธรรมชาติจริง ๆ จะมีใครบ้างไหมที่มีความเป็นอยู่เหมือนท่าน เช่น บนกุฏิของท่านไม่มีแสงสว่างใช้เลย ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีตะเกียง ไม่มีแม้กระทั่งแสงเทียน ท่านอยู่อย่างธรรมชาติจริง ๆ ท่านว่า แสงสว่างของโลกเขาส่องมาให้แล้ว ตั้งแต่ ๖ โมงเช้า ถึง ๖ โมงเย็น ก็มีแสงพระอาทิตย์ ถ้าจะต้องการอ่านหนังสือก็อ่านเสียในตอนนี้ ไม่จำเป็นจะต้องมาจุดไฟอ่านในเวลากลางคืน ตอนกลางคืนท่านอยู่มืด ๆ นั่งเข้าที่เจริญสมาธิภาวนาตามอัธยาศัย ฯ
    อนึ่ง ภายในกุฏิ ก. ๕ ที่ท่านอยู่อาศัยมาตั้งแต่ต้น ก็มีสิ่งของประดับประดาไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือนท่าน คือสิ่งประดับกุฏิของท่านมีหัวกะโหลก โครงกระดูก และอีกสิ่งที่ท่านชอบและใช้อยู่เสมอก็คือหีบศพ ซึ่งท่านได้สั่งญาติของท่านต่อเตรียมไว้สำหรับท่าน และตั้งอยู่ในกุฏินั้น ท่านเคยลงไปนอนในหีบศพนั้นเป็นบางโอกาส ท่านเคยเล่าว่า เมื่อตอนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๕ – ๒๔๘๘ เวลามีเรือบินมาโจมตีพระนคร เปิดหวอหลบภัย ท่านจะลงไปนอนในหีบศพนั้นทุกครั้ง ท่านว่า ถ้าลูกระเบิดตกลงมาตรงนี้ก็ดีทีเดียว ไม่ต้องให้ใครมายกลงหีบ เพราะท่านนอนอยู่ในหีบแล้ว ฯ
    เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๕ อุบาสิกาปรึกษ์ นาคสารน์ เป็นชีอยู่สำนักสงบจิต วัดปทุมวนาราม ได้มาปรารภกับอาตมภาพว่า อยากจะได้รูปโครงกระดูกไว้พิจารณากรรมฐานบ้าง อาตมภาพก็ไปเรียนขออนุญาตท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ ขออนุญาตถ่ายรูปโครงกระดูกของท่าน ซึ่งท่านก็อนุญาตให้ถ่ายได้ตามประสงค์ ท่านได้เปิดประตูให้เข้าไปยกเอาโครงกระดูกนั้นออกมาตั้งอยู่ที่หน้าประตู เอาผ้าดำบังด้านหลัง ตั้งกล้องถ่ายรูปถ่ายภาพที่ประสงค์ ครั้นถ่ายเสร็จแล้ว ท่านได้กรุณาช่วยจับ ช่วยยกเอาเข้าไปตั้งไว้ตามเดิมด้วยความเมตตาอย่างยิ่ง
    ท่านเป็นพระที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธามาก ยิ่งมาในระยะหลัง ก่อนที่ท่านจะสิ้นไม่กี่เดือน ศรัทธาปสาทะของคนภายนอกยิ่งหนักขึ้น จะเห็นได้ว่า ตอนเย็น ๆ มักจะมีคนมาหาท่าน มาเยี่ยมท่าน มาขอพร มาขอน้ำมนต์ท่าน อย่างผิดปกติ
    แม้สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ก็ทรงมีพระราชศรัทธาปสาทะในพระคุณท่าน ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเยี่ยมท่านเป็นการส่วนพระองค์ถึง ๒ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๑๓ เวลาประมาณ ๑๘ นาฬิกา สมเด็จ ฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาที่พระอุโบสถ ได้เสด็จประทับและตรัสถามข้อธรรมบางประการกับพระเดชพระคุณท่านเจ้าอาวาส และท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ เป็นเวลานานประมาณชั่วโมงเศษ จึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับ ฯ ครั้งที่ ๒ วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๑๓ สมเด็จ ฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาพร้อมด้วยสมเด็จเจ้าฟ้าชาย ฯ ได้ตรัสถามถึงเรื่องต่าง ๆ และข้อธรรมที่ทรงสนพระทัยกับท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ พอสมควรแก่เวลาแล้ว จึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับ นับว่าสมเด็จ ฯ ทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสและทรงสนพระทัยในข้อวัตรปฏิบัติของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ เป็นกรณีพิเศษ
    แม้เมื่อท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ ได้ถึงมรณภาพดับขันธ์ล่วงไปแล้ว เมื่อวันศุกร์ที่ ๘ มกราคม ๒๕๑๔ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ก็ได้ทรงมีพระเมตตากรุณา เสด็จพระราชดำเนินมาทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ อีก ๒ ครั้ง ครั้งแรก ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๒ วัน คือวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๑๔ เวลาประมาณ ๑๖ นาฬิกา สมเด็จ ฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธี มีพระสงฆ์ ๑๐ รูป สวดพระพุทธมนต์ จบแล้ว พระราชาคณะ ถวายพระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์ ครั้นจบแล้ว เสด็จพระราชดำเนินกลับ วันรุ่งขึ้น ๓ มีนาคม สมเด็จ ฯ มิได้เสด็จพระราชดำเนินมา ทรงให้ผู้แทนพระองค์มาทรงประกอบพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล มีถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ที่ได้รับอาราธนาสวดพระพุทธมนต์ไว้ในวันก่อน
    อนึ่งในวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๑๔ สมเด็จ ฯ ก็ได้ทรงมีพระราชศรัทธาปสาทะ เสด็จพระราชดำเนินมาพร้อมด้วยสมเด็จเจ้าฟ้าชาย ฯ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นการส่วนพระองค์ ทรงประกอบพิธีวันเดียว คืออาราธนาพระสงฆ์เท่าจำนวน ๑๐ รูป สวดพระพุทธมนต์ จบแล้ว รับพระราชทานฉันภัตตาหารเพล ทรงประเคนไทยธรรม เสร็จแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ และตระกูล จินตยานนท์ เป็นล้นพ้น
    ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ ท่านได้รับอาราธนาให้เป็นพระอาจารย์เข้าทำพิธีปลุกเสกเครื่องรางของขลังหลายครั้ง ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๗ ทางวัดได้จัดงานบำเพ็ญกุศลฉลองอายุเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเถระ) ในวาระที่เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ มีชนมายุครบ ๗๑ ปี ในงานนี้มีสร้างของเป็นที่ระลึกคือ เหรียญสมเด็จสรงน้ำ เป็นรูปใบเสมารมดำ และพระผงสมเด็จสรงน้ำ บรรจุเส้นเกศาของเจ้าพระคุณสมเด็จด้วย
    เรื่องการสร้างพระผงสมเด็จสรงน้ำนี้ มีพระเดชพระคุณท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน เป็นแม่งานควบคุมการสร้าง ตั้งแต่ผสมผง ตำผง และพิมพ์องค์พระ จำนวนที่สร้างในครั้งนั้น ประมาณว่าบรรจุเต็มบาตรเกือบ ๑๐ บาตร ได้นิมนต์พระเถระผู้ใหญ่มาในพิธีเป็นจำนวนมาก พิธีปลุกเสกเริ่มตอนค่ำไปจนเกือบตลอดรุ่ง มีเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศ ฯ เป็นองค์ประธานปลุกเสก ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ ท่านได้เข้าร่วมพิธีปลุกเสกด้วยเป็นครั้งแรก (พระผงรุ่นนี้ก็เป็นที่นิยมกัน หากันตลอดมาจนถึงเวลานี้) ครั้งที่ ๒ ท่านนั่งปลุกเสกพระผงสมเด็จสรงน้ำรุ่น ๒ (รุ่นเกาหลี) เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๒ สงครามเกาหลีปีแรก สำหรับแจกทหารหาญ ครั้งนี้ท่านได้นั่งบนธรรมาสน์เล็ก ชิดเสาร์โบสถ์ หันหน้าไปทางทิศเหนือ ได้ทำพิธีปลุกเสกองค์เดียวถึง ๔ ทุ่มเศษ จึงเสร็จพิธี
    ครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นพิธีบริกรรมปลุกเสกครั้งสำคัญ เพราะจัดทำกันตลอดรุ่ง วัตถุมงคลที่สร้างขึ้นในครั้งนั้น มีพระกริ่งใหญ่ – เล็ก ขันน้ำมนต์ และเหรียญสมเด็จ พ.ฆ.อ. รูปไข่ ในครั้งนี้มีพระคณาจารย์มาก นั่งปลุกเสกสับเปลี่ยนกันตลอดรุ่ง แต่ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ ท่านนั่งชิดประตูหน้าโบสถ์ด้านขวาองค์เดียว ไม่สับเปลี่ยนกับองค์ใดจนตลอดรุ่ง โดยมิได้ลุกขึ้นเลย (ทีรูปถ่าย ๒รูป ที่อาตมภาพถ่ายไว้ในครั้งนั้นให้ดูด้วย) เรื่องนั่งทนยืนทนของท่านเห็นจะไม่มีใครเกิน
    ปฏิปทาอีกข้อหนึ่งของท่าน ที่นำความเชื่อความเลื่อมใสให้เกิดขึ้นแก่สาธุชนทั่วไป ที่ได้รู้ได้เห็น ได้แก่การบำเพ็ญศาสนกิจในวันพิเศษ คือ วันมาฆบูชา วิสาขบูชาและวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีรธาตุ ๓ สมัยกาลนี้ ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ ท่านจะบำเพ็ญมหากุศลเป็นกรณีพิเศษ คือเมื่อท่านเดินเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ เสร็จแล้ว ก็เข้าสู่ภายในพระอุโบสถ เริ่มพิธีสวดมนต์ทำวัตรค่ำ และต่อจากนั้น ท่านจะนั่งฟังเทศน์ฟังสวดบรรยายธรรม ตั้งแต่หัวค่ำไปจนตลอดรุ่งสว่าง ไม่เคยลุกขึ้นจากที่เลย ท่านได้ปฏิบัติเช่นนี้มาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว เวลาที่ท่านนั่งอยู่กับที่นั้น เห็นมียุงมาเกาะแขนท่านเต็มไปหมด อาตมภาพเคยเอาผ้าเช็ดหน้าไปโบกไล่ยุงให้ท่าน ท่านพูดว่า “ไม่ต้องดอก ปล่อยให้เขากินให้อิ่ม วันนี้สละเลือดเนื้อเป็นพุทธบูชา” นับว่าท่านเป็นยอดในการอดทน เสียสละ และยอดกตัญญู
    ท่านผู้ใหญ่ท่านหนึ่งได้กรุณาเล่าให้อาตมภาพฟังว่า เมื่อถึงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน อันเป็นวันสวรรคตของล้นเกล้า รัชกาลที่ ๖ ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ ท่านจะงดฉันอาหาร ๑ วัน และนั่งทำสมาธิ เพื่อน้อมจิตอุทิศบุญกุศลถวายล้นเกล้า ฯ เจ้าพระเดชนายพระคุณของท่าน ตั้งแต่หัวค่ำ ไปจนตลอดรุ่ง ท่านทำเป็นประจำทุก ๆ ปี ที่ถึงวาระ และได้สั่งให้ทางญาติของท่านทำทอฟฟี่มาถวายพระวัดเทพ ฯ ด้วยเป็นประจำ นับว่าท่านเป็นยอดกตัญญู หาได้ยาก
    เมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ มีอายุครบ ๖ รอบแล้ว อาตมภาพได้ขออนุญาตท่านเพื่อจัดสร้างเหรียญที่ระลึกอายุครบ ๖ รอบเป็นรุ่นพิเศษ วัตถุประสงค์เพื่อจะรวบรวมปัจจัยไปสมทบสร้างโบสถ์วัดอุทยาน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ซึ่งยังกำลังก่อสร้างค้างอยู่ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เมื่อท่านทราบวัตถุประสงค์เช่นนี้แล้ว จึงอนุมัติให้จัดสร้างได้ และท่านยังบอกว่า ท่านก็ไม่เคยสร้างโบสถ์เหมือนกัน
    เหรียญที่ระลึกอายุ ๖ รอบรุ่นพิเศษ ๑ นั้น มีลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ครึ่งองค์เห็นด้านซ้าย มีใหญ่ มีเล็ก สร้างจากกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ และท่านได้กรุณาปลุกเสกให้เมื่อวันเสาร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๕ ตรงกับวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๑๓ เหรียญรุ่นนี้มีเรียกกันหลายอย่าง เรียกว่ารุ่นเสาร์ ๕ บ้าง ว่ารุ่น ๖ รอบบ้าง บางคนเรียกเหรียญข้าง เพราะเห็นด้านข้าง
    อันที่จริงวัดอุทยานนี้ก็เคยได้รับอุปการะจากพระคุณท่านมาตั้งแต่ต้นแล้ว คือเริ่มแต่งานวางศิลาฤกษ์สร้างโบสถ์มาแล้ว ในครั้งนั้น พ.ศ. ๒๕๑๑ อาตมภาพได้จัดสร้างพระผงสมเด็จอุทยานขึ้น (แบบสมเด็จวัดระฆัง) มีจำนวน ๕,๐๐๐ องค์ และมีพระแบบอื่นอีกบ้าง รวมกันประมาณหมื่นองค์ เมื่อจัดสร้างขึ้นเรียบร้อย ก็บรรจุหีบห่อ แล้วได้ขนเข้าไปในโบสถ์ วางไว้บนชุกชี แล้ววงสายสิญจน์โดยรอบ ได้มอบกลุ่มสายสิญจน์ถวายท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ เรียนความประสงค์ให้ท่านทราบ ท่านได้กรุณาทำพิธีปลุกเสกให้ตลอด ๗ วัน ๗ คืน นับว่าพระคุณท่านได้ให้ความเมตตาเป็นอย่างสูง
    ครั้นต่อมา วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๑๓ อาตมภาพได้ไปเรียนขออนุญาตท่าน เพื่อจัดสร้างเหรียญที่ระลึกอายุ ๖ รอบรุ่นพิเศษ ๒ ของท่านอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกันนั้นได้ขอประทานเส้นเกศาของท่านไว้ เพื่อจะได้จัดสร้างต่อจากเหรียญรุ่นพิเศษ ๒ นี้ เมื่อพระคุณท่านทราบจุดมุ่งหมายแล้ว ก็อนุญาตให้สร้างได้ และในวันรุ่งขึ้น ๑๐ กรกฎาคม ๑๓ ก็ได้กรุณานำเส้นเกศาของท่านมามอบให้อาตมภาพในพระอุโบสถ ต่อหน้าพระภิกษุสามเณรได้รู้ได้เห็นกันหลายองค์ นับว่าพระคุณท่านได้ให้ความเมตตากรุณาเป็นอย่างสูง ครั้นต่อมาในเดือนธันวาคม พระคุณท่านได้บอกให้ทราบว่าจะทำพิธีปลุกเสกให้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว กำหนดไว้ว่า วันเสาร์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๓ วันเสาร์เป็นวันตัวของท่าน และเป็นวันเฉลิมพระชนม์พรรษาด้วย ท่านบอกว่าวันนี้เป็นวันดี ที่ในพระราชวัง พระสงฆ์เถระทั้งหลายก็ได้เจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัว ทางนี้ก็ทำพิธีพุทธาภิเษก ปลุกเสกของที่ระลึก ท่านได้ทำให้คราวนี้นับว่าเป็นครั้งสุดท้ายจริง ๆ และร่วมกันหลายฝ่าย ทุก ๆฝ่ายก็ได้จัดสร้างของที่ระลึกในแบบต่าง ๆกัน ของอาตมภาพนั้น ได้จัดสร้างเหรียญที่ระลึกอายุครบรอบ รุ่นพิเศษ ๒ เป็นเหรียญกลม เหมือนเหรียญบาทเหรียญสลึง และได้สร้างเหรียญขนาดใหญ่พิเศษ เรียกว่าเหรียญโภคทรัพย์เอาไว้ด้วย นอกจากนี้ ก็มีพระบูชา พระแก้ว แหวนตราและผงพิเศษต่าง ๆ เป็นต้น ฝ่ายท่านเจ้าคุณอุดม ทางสุสานหลวงนั้น ก็จัดสร้างเหรียญหลายแบบ มีแบบนั่งสมาธิปรกโพธิ และเหรียญรูปสี่เหลี่ยมเป็นต้น วัตถุประสงค์ เพื่อจะรวบรวมปัจจัยไปสร้างโรงเรียนที่จังหวัดนครนายก ทางฝ่ายโรงพยาบาลพระมงกุฎ ฯ ก็สร้างเหรียญท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ มีรูป ร. ๖ อยู่ด้านหลัง ฝ่ายจเรตำรวจ ก็สร้างเหรียญรูปพระนาคปรก เป็นต้น รวมความว่า ทุกฝ่ายต่างได้เตรียมการในงานพิธีปลุกเสกครั้งสุดท้ายนี้ กับทั้งยังมีบุคคลภายนอก ได้นำวัตถุมงคลเข้ามาร่วมในพิธีนี้อีกเป็นอันมาก
    พอถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันเสาร์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๓ ท่านก็ได้ทำพิธีพุทธาภิเษก ปลุกเสกวัตถุมงคลให้อย่างเต็มที่เป็นครั้งสุดท้าย และก็สุดท้ายจริง ๆ เพราะต่อจากนี้ไปก็ไม่ได้ทำพิธีปลุกเสกใหญ่อันใดอีก
    เกียรติคุณทางพลังจิตของท่านแผ่ไปเป็นที่รู้กันทั่วถึง ทราบว่าทางกรมการรักษาดินแดนจะสร้างเหรียญที่ระลึก ร. ๖ ยังเคยมานิมนต์ท่านให้ไปร่วมพิธีพุทธาภิเษก แต่ท่านมิได้ไปร่วมในพิธี ได้แต่ส่งกระแสจิตไปร่วม วัดอรุณราชวราราม จะทำการปลุกเสกเหรียญที่ระลึก ยังเคยมาติดต่อขอนิมนต์ท่านไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกของที่ระลึก ท่านก็มิได้ไปร่วมในพิธี ได้แต่ส่งกระแสจิตไปร่วมพิธี ซึ่งทางวัดอรุณนี้ก็ได้ตั้งอาสนะรับรองท่านไว้เป็นอันดับที่ ๑๙ เรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของท่านนี้ มีกล่าวขวัญกันอยู่ทั่ว ๆ ไป
    อนึ่งเหรียญที่ระลึกรุ่นต่าง ๆ ที่พระคุณท่านได้อนุญาตให้จัดสร้างขึ้น และได้กรุณาปลุกเสกให้เป็นกรณีพิเศษหลายคราวนั้น ผู้ที่ได้รับไปบูชา ก็ได้ประสบผลสำเร็จเห็นประจักษ์แก่ตามาแล้วมากต่อมาก ไม่จำเป็นต้องกล่าวให้ยาวความ ส่วนรูปถ่ายของพระคุณท่าน (คือรูปสมาธิอธิษฐาน ซึ่งอาตมภาพได้ถ่ายท่านไว้ เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ถ่ายในขณะที่พระคุณท่านเข้านั่งสมาธิอธิษฐานปลุกเสกพระกริ่ง ขันน้ำมนต์ เหรียญสมเด็จ พ.ฆ.อ. รูปไข่ ในครั้งนั้น) อาตมภาพ ได้นำมาอัดขยายทำเป็นรูปอธิษฐาน แล้วได้ถวายให้พระคุณท่านดูด้วย ก่อนจะได้นำเข้าพิธีปลุกเสกพร้อมกับเหรียญที่ระลึกอายุครบ ๖ รอบรุ่นพิเศษของท่าน เมื่อวันเสาร์ ๕ ที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๑๓ นั้น เมื่อพระคุณท่านได้ดูแล้ว ก็พูดขึ้นว่า รูปที่เขาให้เป็นที่ระลึกกันนั้น ต้องเป็นรูปที่ถ่ายชัดเจนสวยงาม แต่นี่โมเดิ้ลอาร์ต เป็นรูปขลัง ท่านพูดดังนี้ ก็สมจริงดังที่พระคุณท่านพูดไว้ทุกประการ เพราะผู้ที่ได้รับไปบูชาทุกคน ต่างก็ได้ประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาเป็นจำนวนมาก โดยนำไปติดร้านค้าบ้าง ติดรถยนต์บ้าง ติดตัวบ้าง ว่าดีทั้งนั้น จากคำบอกเล่าของบุคคลอื่นจะไม่นำมาเล่าในที่นี้ แต่จะขอนำเอาถ้อยคำที่พระคุณเจ้า ธมฺวิตกฺโก ท่านได้เล่าให้อาตมภาพฟัง มากล่าวไว้สัก ๒ เรื่องคือท่านได้เล่าว่า
    วันหนึ่ง ท่านกำลังเดินจะไปลงโบสถ์ทำวัตร มีหญิงคนหนึ่งเดินมาหาท่านแล้วถามท่านว่า กุฏิท่านอาจารย์นร ฯ อยู่ที่ไหนคะ ท่านกล่าวว่า อาจารย์นร ฯ วัดนี้ไม่มีดอก มีแต่พระยานรรัตน์ ฯ มาบวชที่วัดนี้มี หญิงนั้นถามอีกว่า แล้วกุฏิท่านอยู่ที่ไหนเล่าคะ ท่านก็พยักหน้าไปทางกุฏิที่ท่านอยู่ แล้วท่านถามหญิงนั้นว่า มีธุระอะไรจะพบท่านรึ หญิงนั้นก็ตอบว่า แหม รูปของท่านศักดิ์สิทธิ์เหลือเกินค่ะ ท่านก็ถามว่า ศักดิ์สิทธิ์อย่างไร หญิงนั้นก็เล่าว่า ยังงี้ค่ะ คือที่บ้านฉันนะ มีคนคอยแกล้งอยู่เสมอ คือกลางคืนมันเอาอุจจาระมาทาที่ประตูบ้านดิฉัน พอเช้าขึ้นดิฉันก็ต้องคอยไปล้างอุจจาระ ตกกลางคืนมันก็เอามาทาอีก เช้าขึ้นดิฉันก็ต้องไปล้างอีก เป็นอย่างนี้มาหลายวันแล้ว ครั้นพอดิฉันได้รูปของท่านไปบูชา ดิฉันจุดธูปบูชา ขอให้ท่านช่วย แหม รูปของท่านศักดิ์สิทธิ์เหลือเกินค่ะ ตั้งแต่ดิฉันได้รูปของท่านไปบูชาแล้ว ไม่มีใครมาแกล้งดิฉันอีกเลยค่ะ เมื่อหญิงนั้นเล่าจบแล้ว พระคุณท่านก็เดินไปลงโบสถ์ทำกิจวัตรประจำวันต่อไป ครั้นเสร็จธุรกิจจากโบสถ์แล้ว ท่านก็เดินกลับกุฏิของท่าน ปรากฏว่าหญิงนั้นคอยพบท่านอยู่ที่หน้ากุฏินั่นเอง พอท่านเดินไปถึง หญิงนั้นจึงเข้ามากราบท่านแล้วพูดว่า อ้อ ท่านเองแหละ ดิฉันไม่ทราบ แล้วจึงกราบลาจากไป ท่านเล่าให้ฟังด้วยใบหน้ายิ้ม ๆ ด้วยนึกขำ ฯ
    ยังมีอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งท่านได้เล่าให้ฟังที่หน้ากุฏิของท่าน ในตอนนั้นมียืนพูดและฟังอยู่กับท่าน ๒ – ๓ คน แต่นึกไม่ออกว่าใคร เป็นเวลาเย็นออกจากโบสถ์มาแล้ว ท่านได้เล่าให้ฟังว่า วันหนึ่งมีผู้ชายคนหนึ่งมาหาท่าน จะนำพวงมาลัยมาคล้องที่ประตูกุฏิท่าน ท่านก็บอกเขาว่า ให้เอาไปบูชาพระที่ในโบสถ์ ประตูดบสถ์ยังเปิดอยู่ รีบไปเถิด ผู้ชายนั้นก็ยังยืนรี ๆ รอ ๆ อยุ่ ท่านจึงพูดขึ้นอีกว่า รีบไปเถอะ ประเดี๋ยวประตูโบสถ์เขาจะปิดแล้ว ผู้ชายนั้นก็พูดขึ้นว่า ผมจะเอามาบุชาหลวงพ่อครับ ท่านก็ถามเขาว่า จะเอามาบุชาทำไม เขาก็บอกว่า เคยได้รูปหลวงพ่อไปติดที่รถ ผมขับรถแท็กซี่ครับ ผมแคล้วคลาดดีเหลือเกินครับ บางคราวถึงไฟแดงผมเบรกไม่ทัน ผมขับผ่านไฟแดงไปเลยครับ หลายหนแล้วครับ ตำรวจยังเฉย ๆ ท่านได้เล่าให้อาตมภาพและที่ยืนอยู่ฟังดังนี้แล้ว จึงหันหน้ามาทางอาตมภาพแล้วพูดว่า นี่แน่ะ เที่ยวเอารูปไปอัดขยายแจกใครต่อใคร ทำให้เขาผิดกฎจราจรกันวุ่นไป ขณะที่ท่านพูด มีใบหน้ายิ้มละมัย อาตมภาพก็สบายใจ เพราะทุกสิ่งที่ทำไปด้วยเจตนาดี ย่อมมีผลในทางที่ดี มีคุณมีประโยชน์แก่ผู้นำไปใช้ไปบูชา จึงกล้าพูดกล้าเขียนออกสู่กันฟัง
    พระคุณท่านได้มองเห็นความสำคัญในการสร้างโบสถ์ สร้างโรงเรียน เป็นต้นว่า เป็นคุณเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและศาสนาอย่างมหาศาล โบสถ์เป็นสถานที่บำเพ็ญบุญกุศล มีสวดมนต์ทำวัตรของภิกษุ สมาเณรและอุบาสกอุบาสิกา โบสถ์เป็นสถานที่บรรพชาอุปสมบทกุลบุตรเห่าพุทธชิโนรส ผู้จะดำรงวงศ์พระสัทธรรมสืบอายุพระพุทธศาสนาให้สถาพรต่อไป โรงเรียนเป็นที่อบรมบ่มนิสัยคน สอนคนให้มีความรู้ความสามารถ และเฉลียวฉลาดในอันที่จะปกครองประเทศชาติให้วัฒนาสถาพร รักษาความเป็นไทยอยู่ตลอดไปชั่วลูกชั่วหลาน เมื่อพระคุณท่านได้มองเห็นความสำคัญดังนี้แล้ว แม้ว่าสังขารร่างกายของท่านจะถูกโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียนเพียงใด ท่านก็ไม่รู้สึกหวั่นไหวไปตามอาการของโรคร้ายที่มาบีฑา กลับมีจิตเมตตากรุณา ทำให้ ปลุกเสกให้ตามความประสงค์ เท่ากับพระคุณท่านได้ฝากความสำคัญที่ท่านได้ประพฤติปฏิบัติมาให้สาธุชนผู้สนใจได้นำไปประพฤติปฏิบัติตาม อันจะเป็นความดีและความสุขความเจริญแก่ตน เพราะต่อจากวาระพิธีการนั้นมาอีกเพียง ๓๔ วัน พระคุณท่านก็ถึงมรณภาพดับขันธ์ สละโลกนี้ไปอย่างที่ไม่มีใครนึกใครฝันว่าจะกะทันหันถึงเช่นนี้ เพราะก่อนหน้านั้น คือวันที่ ๗ มากราคม ๒๕๑๔ ท่านก็ยังทีอาการดีอยู่ แต่ดูเหมือนจะมีลักษณะบวมตามมือตามเท้าบ้างแล้ว ตอน ๒ โมงเช้า ท่านยังไปลงโบสถ์ทำวัตรได้ ตอนเย็น ๕ โมงเย็น ท่านก็ยังลงโบสถ์ทำวัตรเย็นเป็นอย่างธรรมดา ยังพูดจากับสาธุชนที่มาเยี่ยมท่าน ยังหยิบหนังสือแจกให้คนนั้นคนนี้อยู่อย่างปกติธรรมดา แต่อนิจจา รุ่งขึ้นวันที่ ๘ มากราคม ๒๕๑๔ เวลา ๒ โมงเช้า เป็นเวลาลงโบสถ์ทำวัตรตามปกติ เช้าวันนี้ ภิกษุสามเณรทั้งหลายที่มาลงโบสถ์ ต่างก็ไม่เห็นไม่ได้ยินเสียงสวดมนต์ของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ เลย ทุก ๆ องค์ก็คงคิดเอาว่า วันนี้ ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ คงไม่สบายมาก จึงมิได้ลงโบสถ์ เพราะตามปกติแล้วท่านจะไม่ยอมขาดการลงโบสถ์ทำวัตรเลย และท่านเคยพูดว่า “ถ้าไม่ลงโบสถ์ไหว้พระสวดมนต์ ก็ตายเสียดีกว่า”
    เคยมีอยู่ ๒ – ๓ วัน ที่ท่านไม่ได้ลงโบสถ์ ครั้งนั้นท่านถูกงูกัด เท้าบวมเดินไม่ได้ ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นเหลือเกินเพราะเดินไม่ได้ อาตมภาพเคยเห็นท่านเป็นโรครูมาติซั่ม โรคไขข้ออักเสบ หัวเข่าข้างขวาบวมแดง ท่านยังอุตส่าห์ใช้ไม้เท้ายันกาย เดินเขยกมาลงโบสถ์จนได้ ยอดบูชาเหลือเกิน อาตมภาพได้เห็นกับตา ไม่ใช่มีใครมาเล่าให้ฟัง แต่แล้วอีกไม่กี่วัน โรคนั้นของท่านก็หายเป็นปกติ ท่านไม่ได้ฉันยา ไม่ได้ทายาอะไรทั้งสิ้น ท่านว่า มันเป็นขึ้นมาเอง ก็ให้มันหายไปเอง และก็จริงอย่างที่ท่านว่าไว้ หายสนิท ฯ
    ท่านเป็นโรคชนิดหนึ่ง เมื่อประมาณเดือน เมษายน ๒๕๑๓ ท่านเคยบอกว่า เป็นฝีสบาย มันมีอายุ ๕ ปี ถ้าแตกก็จะต้องตาย ตอนนั้นท่านเคยให้อาตมภาพจับดู ก็รู้สึกว่าเป็นไต เป็นก้อนแข็งอยู่นิดหน่อย ขนาดเท่าลูกมะไฟ เคยเรียนถามท่านว่ารู้สึกเจ็บบ้างไหม ท่านว่า ไม่เจ็บ แต่โรคของท่านนี้รุ้สึกเจริญเร็วมาก พอเดือน พฤษภาคม เจริญเจิบโตขึ้นมาเท่าขนาดลูกหมากดิบเขื่อง ๆ เห็นจะได้ โปรดดูรูปถ่ายที่ท่านกำลังเดินเวียนเทียนวันวิสาขะบูชา ดุที่คอด้านซ้ายของท่าน จะเห็นได้ชัดเจน
    พอถึงเดือนตุลาคม ๑๓ ใกล้จะออกพรรษาแล้ว ฝีร้ายนี้ก็แตกออก มีน้ำเลือดน้ำเหลืองไหลซึมอยุ่เสมอ ตอนนั้นท่านเอากระดาษชำระกระดาษม้วยซับน้ำเหลืองไว้ แม้เวลามาลงโบสถ์ทำวัตรเช้าค่ำ ท่านก็มีกระดาษติดมือมาคอยชำระอยู่เสมอ บางครั้งขณะกำลังไหว้พระสวดมนต์ น้ำเลือดน้ำเหลืองนั้นก็หยดลงมาเปรอะสังฆาฏิและจีวรของท่าน ทำให้เป็นรอยเกรอะกรัง แต่อำนาจพลังจิตอันยิ่งใหญ่ สิ่งอันใดเล่าจะมาสู้ เวลาที่ท่านกลับไปกุฏิแล้ว ก็ต้องไปซักจีวรเตรียมไว้ เพื่อการลงโบสถ์ทำวัตรสวดมนต์ในโอกาสต่อไป เพราะท่านใช้จีวรเพียง ๓ ผืนเท่านั้น ปีหนึ่งจึงเปลี่ยนกันใหม่หมดหนหนึ่ง
    เกี่ยวกับเรื่องไตรจีวรนี้ เคยมีผู้นำมาถวายท่านตามนามบัตร คือ พ.อ. จิตต์ ธนะโชติ นำมาถวายท่านที่กุฏิ วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๑๓ ท่านเรียกให้อาตมาภาพไปรับมอบไว้ที่กุกิของท่าน ต่อมา พ.ต.อ. จำชื่อไม่ได้ นำมาถวายท่านอีกไตรหนึ่ง ในโบสถ์ ท่านก็มอบให้อาตมภาพไว้ แล้วพูดว่า เอาไปเถอะ จะไปทอดผ้าป่าไม่ใช่รึ เอาไปทำบุญอะไรก็ได้ แล้วแต่จะเห็นสมควร แต่อาตมภาพคิดเห็นว่า ผ้าไตร ๒ ไตรนี้ เป็นของที่ท่านได้มอบให้กับมือท่าน จัดว่าเป็นสิริมงคล จึงเก็บรักษาไว้ และในที่สุด ก็อธิษฐานจิตขออนุญาตทำเป็นผ้ายันต์ที่ระลึกแจกกันไปตามสมควร
    อนึ่งท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ ท่านเป็นผู้มักน้อย สันโดษ ไม่ชอบรบกวนใครให้ลำบาก ทั้งไม่ทำองค์ท่านให้ลำบากด้วย เพราะฉะนั้น ท่านจึง ไม่ฉันหมาก ไม่สูบบุหรี่ ไม่ฉันน้ำชา ไม่ฉันกาแฟ ไม่ฉันน้ำอัดลม และไม่ฉันเครื่องดื่มอะไรทั้งสิ้น ปกติของท่าน ฉัน “น้ำฟ้า” เป็นประจำ ต่อมาในระยะหลังสุด ก่อนท่านจะสิ้นไม่กี่เดือน จึงผ่อนให้ โดยท่านรับของถวายให้ฉัน เป็นน้ำส้มบ้าง นำโกโก้ใส่เนย บ้าง และอย่างอื่นบ้าง เป็นครั้งคราว ถึงกระนั้น ท่านก็ยังพูดว่า “อย่าต้องลำบากเลย” คุณธรรมของท่านประเสริฐแล้ว
    ครั้นตอนเย็น เวลา ๕ โมงเย็น เป็นเวลาลงโบสถ์ ทำวัตรค่ำ ได้ทราบว่า ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ ก็มิได้ลงโบสถ์ตอนเย็นเหมือนเช่นเคยอีก ตกลงว่าวันนี้ (ที่ ๘ มกราคม ๒๕๑๔) ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ มิได้ลงโบสถ์ทำวัตรทั้งเช้าทั้งเย็นเหมือนเช่นเคย ทำให้ภิกษุสามเณรที่มีจิตใจห่วงใยต่อท่าน ต่างไม่สบายใจไปตาม ๆ กัน หวนไปนึกถึงถ้อยคำที่ท่านเคยพูดไว้ว่า “ถ้าไม่ลงโบสถ์ไหว้พระสวดมนต์ ก็ตายเสียดีกว่า” แต่ก็ยังไม่แน่แก่ใจว่าท่านจะมีอาการมากน้อยเพียงใด ท่านคงจะทนทรงสังขารไม่ไหวอยู่แล้ว แต่ก็ทนจนถึงที่สุด
    ก่อนหน้านั้นได้เคยถวายน้ำอัฐบานและอาหารอ่อนให้ท่านฉันติดต่อกันอยู่หลายวัน มีน้ำซุบข้าโพดบ้าง ซุบถั่วเขียวบ้าง ตามที่ท่านสั่ง ถวายให้ฉันในตอนสาย ประมาณ ๙ใ น. น้ำส้มคั้นบ้าง โกโก้ใส่เนยบ้าง ถวายให้ฉันในตอนเย็น ประมาณ ๑๘ น.เศษ ได้ถวายท่านอยู่หลายวัน แต่พอมีอาการบวมที่มือที่เท้าแล้ว ท่านจึงของด ฯ
    ตอนเย็นประมาณ ๑๘ น. เศษ ของวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๑๔ นั้น คุณหมอไพบูลย์ ผู้เคยมาทำแผลฝีให้ท่านติดต่อกันมาหลายสัปดาห์แล้ว และพระมหาผู้รับปฏิบัติได้พากันไปที่กุฏิ ก. ๕ อันเป็นที่อยู่ประจำของท่าน ตามปกติท่านเข้าทางด้านหลัง ก็ทราบว่าท่านถอดกลอนประตูไว้แล้ว (เพราะท่านรู้ล่วงหน้าก่อนแล้ว) และเมื่อจะขึ้นไปบนกุฏิของท่าน ก็จำเป็นจะต้องมีสายไฟไปด้วย เพราะบนกุฏิท่านไม่มีไฟฟ้าใช้ดังกล่าวแล้ว ท่านอยุ่มืด ๆ มาจนเคยชินหลายสิบปีแล้ว เมื่อคุณหมอและพระผู้รับปฏิบัติขึ้นไปบนกุฏิแล้ว ก็ได้เอาไฟฉายส่องตรวจดู จึงรู้ว่าท่านนอนอยู่ในมุ้งในลักษณะที่ห่มจีวรอยู่เรียบร้อยแล้ว แสดงว่าท่านรู้ตัวรู้วาระของท่าน ครู่หนึ่ง คุณหมอได้เอื้อมมือลอดมุ้งเข้าไปสัมผัสเท้าของท่าน ฉับพลันก็รู้ได้ว่า ท่านถึงมรณภาพแล้วอย่างแน่นอน เพราะลักษณะอาการบ่งชัดเจน คือเท้าท่านเย็นและรู้สึกว่าจะเริ่มแข็งกระด้าง คุณหมอได้ลงความเห็นว่า ท่านจะต้องดับจิตจากโลกนี้ไป ประมาณได้ ๘ ชั่วโมงล่วงแล้ว คือท่านดับจิตเมื่อเวลาประมาณ ๑๐ โมงเช้าเศษอย่างแน่นอน เป็นอันว่า พระคุณเจ้า ธมฺวิตกฺโก ท่านได้ถึงมรณภาพดับขันธ์ ละโลกนี้ไปแล้ว เมื่อวันศุกร์ที่ ๘ มกราคม ๒๕๑๔ เวลาประมาณ ๑๐ นาฬิกาเศษ ฯ
    บัดนี้ พระคุณท่านได้สละโลกที่มีแต่ความทุกข์ทรมาน จากมนุษยโลกนี้ไปแล้วอย่างสงบสุข และอย่างไม่มีวันกลับ ซึ่งทุก ๆ คนที่ได้รู้ได้ทราบปฏิปทา ความประพฤติปฏิบัติอันยอดเยี่ยมของท่าน ก็คงจะเชื่อมั่นและลงความเห็นกันว่า พระคุณท่านจะไม่หวนกลับมาสู่มนุษยโลกนี้อีกอย่างแน่นอน สิริรวมอายุของท่านได้ ๗๒ ปี ๑๑ เดือน กับ ๓ วัน ๔๕ พรรษา
    วันอาทิตย์ที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๑๔ เป็นวันที่สรงน้ำศพพระคุณท่าน (โดยเก็บท่านไว้หลังจากที่ท่านได้มรณภาพแล้ว ๒ วัน ๒ คืน) ในการนี้ได้มีสาธุชนที่มีความเคารพนับถือในพระคุณท่าน ได้พากันมากราบศพและสรงน้ำศพของพระคุณท่านอย่างมากมาย ตั้งแต่เช้าจนสายและถึงตอนเย็นเป็นกำหนด และหลังจากที่ท่านได้รับพระราชทานน้ำสรงศพของหลวงเสร็จแล้ว ศพของท่านก็ได้ถูกบรรจุลงในหีบน้อยใบดั้งเดิมตามคำสั่งของท่าน แต่พระคุณท่านได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานโกศของหลวง โกศโถทองรองธาตุ ประกอบเครื่องสูงเป็นเกียรติยศ ซึ่งประดิษฐานงามตระหง่านอยู่ ณ ท่ามกลางศาลาเรือนกระจก ลมุลนิรมิต ในสุสานหลวง เป็นเวลา ๑ ปี ๑ เดือน กับ ๑๔ วัน
    จากนั้น ก็ได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ รับไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ และได้ทรงพระมหากรุณา เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานเพลิงศพเป็นเกียรติแก่ท่านเจ้าคุฯนรรัตนราชมานิต ณ เมรุ หน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ ทั้งสองพระองค์ ฯ เป็นพระมหากรุณาธิคุณ แก่ตระกูลจินตยานนท์ เป็นล้นพ้น ขอถวายพระพร ฯ
    รูปํ ชีรติ มจฺจานํ นามโคตํ น ชีรติ
    รูปกายของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมสิ้นไป แต่ชื่อเสียง วงศ์ตระกูลและคุณงามความดี ยังมิเสื่อมสูญไป
    พุทธศาสนสุภาษิต​
     
  5. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ผมไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์นะครับ

    แต่มันมีนักวิทย์ศาสตร์ผู้หนึ่ง ไปทำการทดลองนอกอวกาศ

    มีนักข่าวสัมภาษสดว่าคุณรู้สึกอย่างไร ที่เป็นนักวิทย์ศาสตร์กลุ่มแรกที่ทำการทดลองนอกโลก

    เขาตอบว่า รู้สึกขอบคุณพระเจ้าอย่างยิ่ง ที่ทำให้เขามายืนอยู่ตรงนี้

    คำตอบนี้มันนักวิทยศาสตร์ไม่จริงครับ

    เพราะ สิ่งใดยังพิสูจน์ไม่ถึง ไม่ได้แปลว่าสิ่งนั้นจะไม่มีอยู่
     
  6. รักษ์11

    รักษ์11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +516
    "กรรม" ละเอียด ซับซ้อน และลึกซึ้ง กว่า วิทยาศาตร์ ยิ่งนัก

    วิทยาศาตร์ ยังตื้นเขินอยู่มาก
     
  7. รักษ์11

    รักษ์11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +516
     
  8. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ถ้าตามอ่านโพสที่ผ่านของคุณ วิถีคนจรกล่าวทั้งหมด

    พุทธศาสนา เขาคงหมายถึง เป็นเหตุ เป็นผล พิสูจน์ได้ ไม่ใช่เรื่องงมงายอะไร

    ไม่ใช่เกิดลอยๆ เทพเจ้าบันดาล พึ่งพลังวิเศษ เหมือนความเชื่ออื่นๆมากกว่า

    กรณีกรรมที่เจ้าคุณนรนั้น เป็นหลักพิจารณาเหตุความเชื่อเรื่องกรรม และผลของกรรมได้ดีนะครับ

    ขออนุโมทนาด้วย ^^
     
  9. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +226
    กรรมก็เป็นวิทยาศาสตร์..................ครับเพราะถ้ากรรมไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ก็จะไม่มีที่มาที่ไป กรรมคือผลของการกระทำในขั้นหยาบเช่นผลักให้วัตถุเคลื่อนมันก็เคลื่อน ไปด่าเขาเขาก็ฟังแล้วโกรธ จนลึกไปถึงชาติกำเนิด เกิดมารวยจน สูงต่ำแต่ถ้าถามว่าเพราะอะไร ก็ต้องพิจรณาจากข้อนี้ครับ

    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี
    เพราะอุปทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
    เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
    เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
    ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม
    ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี

    ฉะนั้นที่มันมีอะไรนั้นก็อยู่ในข้อนี้

    ที่กรรมส่งผลได้เพราะมีอวิชชา คือความไม่รู้ ฉนั้นผู้ที่บรรลุธรรมแล้ว เขาจะถือศีลก็ได้ไม่ถือก็ได้ เพราะกรรมไม่ส่งผล เพราะรู้แจ้งแล้ว เพราะไม่ยึดแล้ว กรณีแบบนี้เรียกว่า
    "อกิริยา" เช่น พระจีนสมัยก่อนที่บรรลุแล้ว ท่านเจอขี้เมาท่านก็กินเหล้าให้ขี้เมาดูท่านไม่เมา ท่านไม่บาป ท่านไม่ผิด ท่านบริสุทธิ์ เพราะเป็นอกิริยา

    พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสถึงเรื่องที่พิสูจณ์ไม่ได้ มีแต่ไม่ควรพิสูจณ์เพราะพิสูจณ์ไปก็ไม่พบแต่พิสูจน์ได้

    อจินไตย แปลว่าสิ่งที่ไม่ควรคิด หมายถึงสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยตรรกะสามัญของปุถุชน มี 4 อย่างได้แก่
    พุทธวิสัย วิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    ฌานวิสัย วิสัยแห่งอิทธิฤทธิ์ของฌาน
    กรรมวิสัย วิสัยของกฎแห่งกรรม ที่สามารถติดตามไปได้ทุกชาติ รวมถึงการให้ผล และการรับวิบากกรรม
    โลกวิสัย วิสัยการมีอยู่ของโลก[1]
    ในทางพระพุทธศาสนาไม่แนะนำให้คิดเรื่องอจินไตย เพราะวิสัยปุถุชนไม่อาจเข้าใจได้โดยถูกต้องถ่องแท้ ทั้งเพราะความเข้าใจไม่ได้ในฐานะที่เป็นของลึกซึ้ง เป็นเรื่องทางจิต หรือเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหาคำตอบที่สิ้นสุดได้ ถ้าคิดมากจริงจังในการหาคำตอบเหล่านั้นจากการคิดเดาเอาด้วยตรรกะเองจึงอาจกลายเป็นคนบ้าได้ อจินไตยในเรื่องทางจิตจึงเป็นเรื่องที่รู้ได้ด้วยการบรรลุธรรมชั้นสูงเท่านั้น

    มีแค่ 4 อย่างนี้เท่านั้น พิสูจน์ได้แต่ต้องบรรลุธรรมก่อน

     
  10. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +226
    พระพุทธเจ้า ไม่ได้สอนด้านเทวนิยมเลย ไม่ได้สอนให้บูชานิยม ไม่ได้สอนให้หลงอัศจรรย์

    มีแต่ให้ละให้วางจนหมด............

    ฉนั้นเมื่อปฏิบัติธรรมไปสูงๆแล้วละไม่หมด ปัญญาไม่ทันอุปทาน ก็จะทึกทักเองว่าเราบรรลุธรรมขั้นนั่นนี่ เรียกว่า """วิปัสนูกิเลศ"""
     
  11. พรานยึ้ม

    พรานยึ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    591
    ค่าพลัง:
    +682
     
  12. ประกายพลอย

    ประกายพลอย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2010
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +452
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ebebeb border=0><TBODY><TR><TD height=25>
    ๑. อัชฌาสัยสุกขวิปัสสโก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    บางคนชอบแบบสุกเอาเผากิน เรื่องความละเอียดเรียบร้อย การรู้เล็กรู้น้อยแสดงฤทธิ์ อวดเดช
    เดชาอะไรนั้น ไม่มีความต้องการ หวังอย่างเดียวคือความบรรลุผล ท่านประเภทนี้พระพุทธเจ้ามีแบบ
    ปฏิบัติไว้ให้เรียกว่า สุกขวิปัสสโก คือปฏิบัติแบบสบาย เริ่มด้วยการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ เรื่องศีลนี้
    นักปฏิบัติต้องสนใจเป็นพิเศษ ถ้าหวังผลในการปฏิบัติแล้ว อย่าให้ศีลบกพร่องเป็นอันขาด แม้แต่
    ด่างพร้อยก็อย่าให้มี ถ้าท่านเห็นว่าศีลเป็นของเล็กน้อย ปฏิบัติยังขาด ๆ เกิน ๆ แล้ว ท่านไม่มีหวังใน
    มรรคผลแน่นอน เมื่อมีศีลครบถ้วนบริสุทธิ์ผุดผ่องดีแล้ว ท่านก็ให้เจริญสมาธิ ตอนสมาธินี้ ท่านฝ่าย
    สุกขวิปัสสโกท่านไม่เอาดีทางฌานสมาบัติ พอมีสมาธิเล็กน้อยก็เจริญวิปัสสนาญาณควบกันไปเลย
    คุมสมาธิบ้าง เจริญวิปัสสนาบ้าง พอสมาธิที่รวบรวมได้ทีละเล็กละน้อย เมื่อสมาธิเข้าถึงปฐมฌาน
    วิปัสสนาก็มีกำลังตัดกิเลสได้ จะได้มรรคผลก็ตอนที่สมาธิเข้าถึงปฐมฌาน หากสมาธิยังไม่ถึงปฐมฌาน
    เพียงใด จะได้มรรคผลไม่ได้ นี้เป็นกฎตายตัว เพราะมรรคผลต้องมีฌานเป็นเครื่องรู้ ฌานนี้จะบังเกิด
    ขึ้นเมื่อจิตเข้าสู่อุปจารสมาธิ คือเกือบถึงปฐมฌาน ห่างกันระหว่างปฐมฌานกับอุปจารฌานนั้น เพียง
    เส้นผมเดียวเท่านั้น จิตเมื่อตั้งมั่นในอุปจารสมาธิแล้ว ก็จะเกิดทิพยจักษุฌาน คือเห็นสิ่งที่เป็นทิพย์
    และได้ยินเสียงที่เป็นทิพย์ได้ เพราะตามธรรมดาจิตนั้นเป็นทิพย์อยู่แล้ว ที่ต้องมาชำระกันใหม่ด้วยการ
    ฝึกสมาธิ ก็เพราะจิตถูกนิวรณ์ คืออกุศลหุ้มห่อไว้ ได้แก่ความโลภอยากได้ไม่มีขอบเขต ความผูกโกรธ
    คือพยาบาทจองล้างจองผลาญ ความง่วงเมื่อขณะปฏิบัติทำสมาธิ ความฟุ้งซ่านของอารมณ์ในขณะฝึก
    สมาธิ ความสงสัยในผลปฏิบัติโดยคิดว่าจะได้หรือ จะสำเร็จหรือ ทำอย่างนี้จะสำเร็จได้อย่างไร ความ
    สงสัย ไม่แน่ใจอย่างนี้ เป็นนิวรณ์กั้นฌานไม่ให้เกิด รวมความแล้ว ทั้งห้าอย่างนี้นั่นแหละ แม้เพียง
    อย่างเดียว ถ้าอารมณ์ของจิตยังข้องอยู่ฌานจะไม่เกิด จะคอยกีดกันไม่ให้จิตผ่องใส มีอารมณ์เป็นทิพย์
    ตามสภาพปกติได้ จิตเมื่อถูกอกุศลห้าอย่างนี้หุ้มห่อก็มีอารมณ์มืดมนท์รู้สิ่งที่เป็นทิพย์ไม่ได้เพราะ
    อำนาจอกุศลคือนิวรณ์ห้านี้จะพ้นจากจิตไปได้ก็ต่อเมื่อจิตทรงอารมณ์ของฌานไว้ได้เท่านั้น ถ้าจิตทรง
    อารมณ์ปฐมญานไม่ได้ จิตก็ต้องตกเป็นทาสของ นิวรณ์
    อารมณ์ปฐมฌานนั้นมี ๕ เหมือนกัน คือ
    ๑. วิตก คำนึงถึงองค์กรรมฐานที่ฝึกตลอดเวลา
    ๒. วิจาร ใคร่ครวญกำหนดรู้ตามในองค์กรรมฐานนั้น ๆ ไม่ให้บกพร่องตรวจตราพิจารณาให้
    ครบถ้วนอยู่เสมอๆ
    ๓. ปีติ มีความเอิบอิ่มรื่นเริงหรรษา ไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติพระกรรมฐาน
    ๔. สุข เกิดความ สุขสันต์หรรษาทางกายอย่างไม่เคยปรากฏมาในกาลก่อนมีความสุขสดชื่น
    บอกไม่ถูก
    ๕. เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์มั่นคงในองค์กรรมฐาน จิตกำหนดตั้งมั่นไม่คลาดจากองค์
    กรรมฐานนั้นๆ

    ทั้งห้าอย่างนี้เป็นอารมณ์ของปฐมฌาน เมื่อเข้าถึงตอนนี้จิตก็เป็นทิพย์มาก สามารถกำหนดจิตรู้
    ในสิ่งที่เป็นทิพย์ได ้ก็ผลของวิปัสสนา คือมรรคผลนั้น การที่จะบรรลุถึงได้ต้องอาศัยทิพยจักษุญาณ
    เป็นเครื่องชี้ ตามที่ท่านกล่าวไว้ว่าเมื่อภิกษุบรรลุแล้วก็มีญาณบอกว่ารู้แล้ว ที่พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้
    ก็ทรงหมายเอาญาณที่เป็นทิพยจักษุญาณนี้ถ้าบรรลุอรหัตตผลแล้ว ท่านเรียกว่า วิมุตติญาณทัสสนวิสุทธิ
    วิมุตติแปลว่า หลุดพ้น ญาณ แปลว่า รู้ ทัสสนะ แปลว่า เห็น วิสุทธิ แปลว่า หมดจดอย่างวิเศษ คือ หมด
    ไม่เหลือ หรือสะอาดที่สุด ไม่มีอะไรสกปรก (บอกไว้เพื่อรู้)

    ฉะนั้น ท่านสุกขวิปัสสโก ถึงแม้ท่านจะรีบปฏิบัติแบบรวบรัดอย่างไรก็ตาม ท่านก็ต้องอาศัยฌาน
    ในสมถะจนได้ แต่ได้เพียงฌานเด็กๆ คือปฐมฌาน เป็นฌานกระจุ๋มกระจิ๋มเอาดีเอาเด่นในเรื่องฌาน
    ไม่แน่นอนนัก กล่าวโดยย่อ ก็คือ
    ๑. ท่านรักษาศีลบริสุทธิ์ ชนิดไม่ทำเอง ไม่ใช้ให้คนอื่นทำ และไม่ยินดีในเมื่อคนอื่นทำบาป
    ๒. ท่านเจริญสมาธิควบกับวิปัสสนา จนสมาธิรวมตัวถึงปฐมฌานแล้ว ท่านจึงจะได้
    สำเร็จมรรคผล
    ท่านสุกขวิปัสสโก มีกฏปฏิบัติเพียงเท่านี้ ท่านจึงเรียกว่า สุกขวิปัสสโก แปลว่า บรรลุแบบ
    ง่ายๆ ท่านไม่มีฌานสูง ท่านไม่มีญาณพิเศษอย่างท่านวิชชาสาม ท่านไม่มีฤทธิ์ ท่านไม่มีความรู้พิเศษ
    อะไรทั้งสิ้น เป็นพระอรหันต์ประเภทรู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี ไม่มีคุณพิเศษอื่นนอกจากบรรลุมรรคผล
     
  13. ประกายพลอย

    ประกายพลอย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2010
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +452



    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=1 width="99%" bgColor=#ebebeb border=0><TBODY><TR><TD>
    ๒. อัชฌาสัยเตวิชโช
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    อัชฌาสัยเตวิชโช หมายถึงท่านที่มีอุดมคติในด้านวิชชาสาม คือทรงคุณสามประการ ใน
    ส่วนแห่งการปฏิบัติ ได้แก่คุณธรรมดังต่อไปนี้
    ๑. ปุเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกชาติที่แล้วๆ มาได้
    ๒. จุตูปปาตญาณ รู้ว่าสัตว์ที่ตายไปแล้ว และเกิดมานี้ ตายแล้วไปไหน ก่อนเกิดมาจากไหน
    ๓. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวกิเลสให้สิ้นไป
    เมื่อพิจารณาตามคุณพิเศษสามประการนี้แล้ว แสดงให้เห็นว่าท่านที่มีอุดมคติในด้าน
    เตวิชโชนี้ ท่านเป็นคนอยากรู้อยากเห็น เมื่อพบเห็นอะไรเข้าก็เป็นเหตุให้คิดนึกถึงสมุฏฐานที่เกิด
    ว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้เกิดมาจากอะไร เดิมก่อนจะเป็นอย่างนั้น เป็นอะไรมาก่อน เช่นเห็นของที่มีวัตถุปกปิด
    ก็อยากจะแก้วัตถุที่ปกปิดนั้นออก เพื่อสำรวจตรวจดูของภายใน เห็นของภายในว่าเป็นอะไรแล้ว ก็
    อยากจะรู้ต่อไปว่า ภายในของนั้นมีอะไรบ้าง ทำด้วยอะไร เมื่อรู้แล้วก็อยากรู้ต่อไปว่า สิ่งนั้น ๆ เกิดมา
    ได้อย่างไร อย่างนี้เป็นต้น
    ท่านประเภทเตวิชโชนี้ จะให้ท่านทำตนเป็นคนหวังผลอย่างเดียว โดยไม่ให้พิสูจน์ค้นคว้า
    เลยนั้น ท่านประเภทนี้ทนไม่ไหว เพราะอัชฌาสัยไม่ชอบประเภทคลุมหน้าเดินโดยที่ไม่ได้พิสูจน์ต้นทาง
    ปลายทางเสียก่อน ถ้าต้องทำแบบคลุมหน้าเดินอย่างท่านสุกขวิปัสสโกแล้วท่านก็ทนไม่ไหว รำคาญใจ
    หยุดเอาเฉย ๆ คนประเภทนี้เคยพบมาในขณะสอนสมณธรรมมีจำนวนมาก ประเภทเตวิชโชนั้น ส่วน
    ใหญ่มักชอบรู้ชอบเห็นพอให้วิปัสสนาล้วนเธอเข้า เธอก็บ่นอู้อี้ว่าไม่รู้ไม่เห็นอะไรเลย ต่อเมื่อให้
    กรรมฐานประเภททิพยจักษุญาณ หรือมโนมยิทธิ เธอก็พอใจ ทำได้อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย จะ
    ยากลำบากก็ทนทำจนสำเร็จผล ทางที่ได้พิสูจน์มาเป็นอย่างนี้

    แนวปฏิบัติสำหรับเตวิชโช
    ทราบแล้วว่า เตวิชโชมีอะไรบ้าง ขอนำแนวปฏิบัติมาเขียนไว้ เพื่อรู้แนวทาง หากท่านผู้อ่าน
    ประสงค์จะรู้หรือจะนำไปปฏิบัติก็จะสะดวกในการค้นคว้า เตวิชโชหรือท่านผู้ทรงวิชชาสาม มีปฏิปทา
    ในการปฏิบัติดังต่อไปนี้
    ๑. การรักษาศีลให้สะอาดหมดจด ยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด
    ๒. ฝึกสมาธิในกรรมฐานที่มีอภิญญาเป็นบาท คือกสิณกองใดกองหนึ่งที่เป็นสมุฏฐาน
    ให้เกิดทิพยจักษุญาณ กสิณที่เป็นสมุฏฐานให้เกิดทิพยจักษุญาณนั้นมีอยู่สามกองด้วยกัน คือ
    ๑. เตโชกสิณ เพ่งไฟ
    ๒. อาโลกกสิณ เพ่งแสงสว่าง
    ๓. โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว
    กสิณทั้งสามอย่างนี้ อย่างใดก็ตาม เป็นพื้นฐานให้ได้ทิพยจักษุญาณทั้งสิ้น แต่ตามนัย
    วิสุทธิมรรคท่านกล่าวว่า ในบรรดากสิณทั้งสามอย่างนี้ อาโลกกสิณเป็นกสิณสร้างทิพยจักษุญาณ
    โดยตรง ท่านว่าเจริญอาโลกกสินั่นแหละเป็นการดี

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 กันยายน 2011
  14. ประกายพลอย

    ประกายพลอย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2010
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +452
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 height=19 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ebebeb border=0><TBODY><TR><TD height=19>
    ๓.อัชฌาสัยฉฬภิญโญ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    อัชฌาสัยของท่านที่ชอบมีฤทธิ์มีเดช ทำอะไรต่ออะไรเกินกว่าสามัญชนจะทำได้ เรียกว่า
    อัชฌาสัยของท่านผู้มีฤทธิ์ หรือท่านผู้ทรงอภิญญา ๖
    อภิญญา ๖ นี้ เป็นคุณธรรมพิเศษสำหรับนักปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งจะต้องฝึกฝนตนเป็นพิเศษ
    ให้ได้คุณธรรมห้าประการก่อนที่จะได้บรรลุมรรคผล หมายความว่าในระหว่างที่ทรงฌานโลกีย์นั้น ต้อง
    ฝึกฝนให้สามารถทรงคุณสมบัติห้าประการดังต่อไปนี้
    ๑. อิทธิฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
    ๒. ทิพยโสต มีหูเป็นทิพย์ สามารถฟังเสียงในที่ไกล หรือเสียงอมนุษย์ได้ยิน
    ๓. จุตูปปาตญาณ รู้การตายและการเกิดของคนและสัตว์
    ๔. เจโตปริยญาณ รู้ความรู้สึกในความในใจของคนและสัตว์
    ๕. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติต่างๆ ที่ล่วงมาแล้วได้
    ทั้งห้าอย่างนี้ จะต้องฝึกให้ได้ในสมัยที่ทรงฌานโลกีย์ ต่อเมื่อฝึกฝนคุณธรรมหกประการนี้
    คล่องแคล่วว่องไวดีแล้ว จึงฝึกฝนอบรมในวิปัสสนาญาณต่อไป เพื่อให้ได้อภิญญาข้อที่ ๖ คือ
    อาสวักขยญาณ ได้แก่การทำอาสวะให้หมดสิ้นไป

    วิธีฝึกอภิญญา
    วิธีฝึกอภิญญานี้ หรือฝึกวิชชาสาม และปฏิสัมภิทาญาณ โปรดทราบว่า เอามาจากวิสุทธิมรรค
    ไม่ใช่ผู้เขียนเป็นผู้วิเศษทรงคุณพิเศษตามที่เขียน เพียงแต่ลอกมาจากวิสุทธิมรรค และดัดแปลง
    สำนวนเสียใหม่ให้อ่านง่ายเข้าใจเร็ว และใช้คำพูดเป็นภาษาตลาดที่พอจะรู้เรื่องสะดวกเท่านั้นเอง
    โปรดอย่าเข้าใจว่าผู้เขียนแอบเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณไปเสียแล้ว นรกจะเล่นงานผู้เขียนแย่
    ส่วนใหญ่ในข้อเขียนก็เอามาจากวิสุทธิมรรค และเก็บเล็กผสมน้อยคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์บ้าง
    ตามแต่จะจำได้ สำหรับอภิญญาข้อ ๓ ถึงข้อ ๕ ได้อธิบายมาแล้วในวิชชาสาม สำหรับในอภิญญานี้
    จะอธิบายเฉพาะข้อ ๑ กับข้อ ๒ เท่านั้น

    อิทธิฤทธิ์


    ญาณข้อ ๑ ท่านสอนให้ฝึกการแสดงฤทธิ์ต่างๆ การแสดงฤทธิ์ทางพระพุทธศาสนานี้
    ท่านสอนให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
    ท่านให้เจริญคือฝึกในกสิณแปดอย่างให้ชำนาญ กสิณแปดอย่างนั้นมีดังนี้
    ๑. ปฐวีกสิณ เพ่งธาตุดิน
    ๒. อาโปกสิณ เพ่งธาตุน้ำ
    ๓. เตโชกสิณ เพ่งไฟ
    ๔. วาโยกสิณ เพ่งลม
    ๕. ปีตกสิณ เพ่งสีเหลือง
    ๖. นีลกสิณ เพ่งสีเขียว
    ๗. โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง
    ๘. โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว
    เหลือกสิณอีกสองอย่างคือ อาโลกสิณ เพ่งแสงสว่าง และอากาสกสิณ เพ่งอากาศ ท่านให้เว้น
    เสีย ทั้งนี้จะเป็นเพราะอะไรท่านไม่ได้อธิบายไว้ แต่สำหรับท่านที่ทรงอภิญญาจริงๆ ที่เคยพบในสมัย
    ออกเดินธุดงค์ท่านบอกว่า ท่านไม่ได้เว้น ท่านทำหมดทุกอย่างครบ ๑๐ กอง ท่านกล่าวว่า กสิณนี้ถ้าได้
    กองแรกแล้ว กองต่อไปไม่มีอะไรมาก ทำต่อไปไม่เกิน ๗ วันก็ได้ กองยากจะใช้เวลานานอยู่กองแรก
    เท่านั้นเอง ต่อไปจะได้อธิบายในการปฏิบัติกสิณพอเป็นตัวอย่า

     
  15. ประกายพลอย

    ประกายพลอย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2010
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +452
    <CENTER><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ebebeb border=0><TBODY><TR><TD>
    ๔. อัชฌาสัยปฏิสัมภิทัปปัตโต
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>​
    อัชฌาสัยของท่านผู้มีความต้องการในความรู้พิเศษ ที่มีความรู้รอบตัวยิ่งกว่าท่านผู้ทรง
    อภิญญา ๖ เรียกว่าอัชฌาสัยของท่านผู้ทรงปฏิสัมภิทัปปัตโต
    ท่านผู้ทรงปฏิสัมภิทัปปัตโตนี้ แปลว่ามีความรู้พร้อม คือท่านทรงคุณธรรมพิเศษกว่า
    ท่านเตวิชโช ฉฬภิญโญหลายประการ เช่น
    ๑. มีความสามารถทรงความรู้พร้อม ไม่บกพร่องในหัวข้อธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน
    ไว้ได้โดยครบถ้วน แม้ท่านจะย่างเข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาเพียงวันเดียว ทั้งๆ ที่ไม่เคยศึกษา
    คำสอนมาก่อนเลย ตามนัยที่ปรากฏในพระสูตรต่างๆ ที่มาในพระไตรปิฎกว่า มีมากท่านที่มีความ
    เลื่อมใสในสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วพอฟังเทศน์จบ ท่านก็ได้บรรลุอรหันต์ชั้นปฏิสัมภิทาญาณ
    ท่านทรงพระไตรปิฏก คือเข้าใจในข้อวัตรปฏิบัติครบถ้วนทุกประการได้ทันท่วงที
    ๒. มีความฉลาดในการขยายความในธรรมภาษิต ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้โดยย่อให้พิสดาร
    ได้อย่างถูกต้อง
    ๓. ย่อความในคำสอนที่พิสดารให้สั้นเข้า โดยไม่เสียใจความ
    ๔. สามารถเข้าใจ และพูดภาษาต่างๆ ได้ทุกภาษา ไม่ว่าภาษามนุษย์หรือภาษาสัตว์
    ตามข้อความในข้อ ๔ นี้ เคยพบพระองค์หนึ่งในสมัยปัจจุบันนี้ คือ พ.ศ. ๒๕๐๔ - ๒๕๐๕
    ต่อกัน พระรูปนั้นมีชื่อว่า "พระสร้อย" ท่านบอกว่า ท่านเป็นชาวจังหวัดสระบุรี ไม่เคยเรียนหนังสือ
    มาก่อนเลย แม้หนังสือไทยนี้ ปกติท่านก็อ่านไม่ออก ท่านว่าเมื่อท่านอายุได้ ๗ ปี มีพระในถ้ำเขตสระบุรี
    ท่านหนึ่ง ไปเยี่ยมโยมท่านที่บ้าน ตัวท่านเองเมื่อเห็นพระรูปนั้นเข้าท่านก็เกิดความรักขึ้นมา เมื่อ
    พระรูปนั้นจะกลับถ้ำ ได้ออกปากชวนท่านไปอยู่ด้วย ท่านก็ขออนุญาตโยมหญิง - ชายจะไปอยู่กับ
    พระรูปนั้น โยมทั้งสองก็อนุญาตด้วยความเต็มใจ ท่านเล่าให้ฟังว่า เมื่อไปอยู่กับพระรูปนั้นก็ไม่มีโอกาส
    ได้เรียนหนังสือ เพราะในถ้ำนั้นมีพระอยู่ ๒ - ๓ รูป ท่านบิณฑบาตกลับมาแล้ว ท่านฉันจังหันเสร็จ
    ต่างก็บูชาพระแล้วนั่งภาวนากันตลอดวันตลอดคืน ไม่ใคร่มีเวลาพูดคุยกัน ท่านก็สอนให้ท่านอาจารย์
    สร้อยภาวนาด้วย ทำอยู่อย่างนั้นจนครบบวช พระที่ท่านพาไปก็พาออกมาบวชที่บ้าน บวชแล้วก็พากลับ
    มาอยู่ถ้ำ นั่งภาวนาตามเดิม ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ - ๒๕๐๔ ท่านป่วย ได้เดินธุดงค์มาปักกลดอยู่ที่
    บางกะปิ พระนคร ใครจะนิมนต์ท่านเข้าไปในชายคาบ้านท่านไม่ยอมเข้า ต่อมาพลเรือตรีสนิท
    จำนามสกุลไม่ได้ เจ้ากรมแพทย์ทหารเรือไปพบเข้ามีความเลื่อมใส นิมนต์ให้มารักษาตัวที่กรมแพทย์
    ทหารเรือ ให้พักอยู่ที่ตึก ๑ เป็นตึกคนไข้พิเศษ ปฏิปทาของท่านอาจารย์สร้อยที่มาอยู่ที่กรมแพทย์
    ทหารเรือก็คือ ตอนเช้าท่านจะต้องออกบิณฑบาตทุกวัน ท่านไม่ได้ไปไกล ออกจากตึก ๑ ไปที่ประตู
    กรมแพทย์ฯ ที่ตรงนั้นมีต้นมะฮอกกานีอยู่ต้นหนึ่ง เป็นต้นไม้ มีพุ่มไสว สาขาใหญ่มาก ท่านเอาบาตร
    ของท่านไปแขวนที่กิ่งมะฮอกกานี แล้วท่านก็ยืนหลับตาอยู่สักครู่ ไม่เกิน ๑๕ นาที ท่านก็ลืมตาขึ้นแล้ว
    เอาบาตรมา เดินกลับเข้าห้องพักคนป่วย ที่ท่านไปยืนอยู่นั้นเป็นทางผ่านเข้าออกของคนไปมาเป็นปกติ
    ไม่มีขาดระยะคนเดินผ่าน ทุกคนเห็นท่านยืนเฉยๆ ไม่เห็นใครเอาอะไรมาใส่ให้ แต่ทุกครั้งที่ท่าน
    เอาบาตรกลับมา จะต้องมีข้าวสุกสีเหลืองน้อยๆ และดอกไม้แปลกๆ ที่ไม่เคยเห็นในภพนี้ติดมาด้วย
    ๒ - ๓ ดอกทุกครั้ง สร้างความแปลกใจแก่ผู้พบเห็นเป็นประจำ บาตรที่ท่านจะเอาไปแขวนนั้น
    นายทหารเป็นคนจัดให้ นายทหารผู้นั้นยืนยันว่า ผมตรวจและทำความสะอาดทุกวัน ผมรับรองว่า
    บาตรว่างไม่มีอะไรจริงๆ เมื่อท่านเอาบาตรไปแขวนก็อยู่ในสายตาของพวกผมเพราะไปไม่ไกลห่าง
    จากตึก ๑ ประมาณไม่ถึง ๑๐ เมตร และติดกับยามประตูกรมแพทย์ หมายถึงที่ท่านไปยืนเอาบาตร
    แขวนต้นไม้ แต่แปลกที่พวกเราไม่เห็นว่าใครเอาของมาใส่เลย ทุกครั้งที่ท่านเอาบาตรมาส่งให้
    กลับมีข้าวและดอกไม้ทุกวัน ปกติท่านสอนเตือนให้คณะนายทหารละชั่วประพฤติดีทุกวัน ทำเอา
    นายทหารเลิกสุรายาเมาไปหลายคน

    รู้ภาษาต่างประเทศ
    วันหนึ่งผู้เขียนได้ไปที่กรมแพทย์ทหารเรือ พอไปถึงพวกนายทหารก็เล่าให้ฟังแล้วคิดในใจว่า
    ท่านผู้นี้อาจจะไม่ใช่ปุถุชนคนธรรมดา ประเภทไม่เป็นเรื่องเป็นราวอย่างผู้เขียน คิดว่าอย่างน้อยท่าน
    อาจจะได้ฌานโลกีย์ อย่างสูงอาจเป็นพระอริยะก็ได้ ที่คิดอย่างนั้นไม่ใช่หมายความว่าผู้เขียนมีฌานพิเศษ
    เป็นเครื่องรู้ ความจริงไม่มีอะไรนอกจากสนใจและสงสัยเท่านั้น จึงคุยกับบรรดานายทหารว่าเอาอย่างนี้
    ซิ เรามาลองท่านดูสักวิธีหนึ่ง คือลองพูดภาษาต่างๆ กับท่าน ถ้าท่านรู้เรื่องและพูดได้ทุกภาษาแล้ว
    ฉันคิดว่าพระองค์นี้เป็นพระอริยะขั้นปฏิสัมภิทาญาณ เพราะท่านผู้ได้ปฏิสัมภิทาญาณนั้นต้องเป็น
    พระอรหันต์ก่อน คุณสมบัติปฏิสัมภิทาญาณจึงปรากฏ ไม่เหมือนเตวิชโชและฉฬภิญโญทั้งสองอย่างนี้
    ได้ตั้งแต่ฌานโลกีย์ จึงรวบรวมนายทหารที่พูดภาษาต่างประเทศได้ ๖ ภาษา คือ
    ๑. ภาษาอังกฤษ
    ๒. ภาษาฝรั่งเศส
    ๓. ภาษาเยอรมัน
    ๔. ภาษาสเปน
    ๕. ภาษาญี่ปุ่น
    ๖. ภาษามลายู
    ได้ส่งนายทหารที่ชำนาญภาษานั้น ๆ ไปพูดกับท่าน ท่านก็พูดด้วยได้ทุกภาษา และพูดได้
    อย่างเขาเหล่านั้น เล่นเอานายทหารชุดนั้นงงไปตาม ๆ กันเมื่อท่านถูกถามว่าท่านเรียนภาษาต่าง ๆ
    มาจากไหน ? ท่านตอบว่า ท่านไม่เคยเรียนมาก่อนเลย เห็นเขาพูดมาก็มีความเข้าใจ และพูดได้
    ตามต้องการ ท่านว่ามีความรู้สึกเช่นเดียวกับพูดภาษาไทย เมื่อพบเข้าอย่างนี้ทำให้คิดถึงตำรา คือ
    พระไตรปิฎก ว่าท่านผู้นี้อาจเป็นพระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิญาณตามนัยที่ท่านอธิบายไว้ก็ได้ แต่ท่านจะเป็น
    พระอรหันต์หรือไม่ ผู้เขียนไม่รับรอง แต่ก็ต้องมานั่งคิดนอนตรองค้นคว้าหาหลักฐานเป็นการใหญ่
    แต่ละเล่มท่านก็เขียนว่า ท่านที่จะได้ปฏิสัมภิทาญาณมีการรู้ภาษาต่าง ๆ เป็นเครื่องสังเกตต้องเป็น
    พระอรหันต์ก่อน ท่านอาจารย์สร้อยท่านรู้ภาษาอย่างไม่จำกัดได้ ท่านจะเป็นพระอรหันต์ไหมหนอ
    โปรดช่วยกันค้นคว้าหาเหตุผล มายืนยันด้วย ใครพบเหตุผลหลักฐานก่อนกันก็ควรบอกกันต่อ ๆ ไป
    เพื่อความเข้าใจถูกในผลของการปฏิบัติสมณธรรม

    ปฏิสัมภิทาญาณปฏิบัติ

    ปฏิสัมภิทาญาณ หรือปฏิสัมภิทัปปัตโตนี้ เป็นระดับของท่านผู้ทรงคุณพิเศษครอบงำเตวิชโช
    และฉฬภิญโญทั้งหมด เพราะเหตุนี้ ท่านผู้ทรงปฏิสัมภิทาญาณนี้ จึงต้องปฏิบัติในกสิณทั้งสิบได้ครบถ้วน
    ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในฉฬภิญโญ เมื่อชำนาญในฉฬภิญโญคือชำนาญในกสิณแล้ว ท่านเจริญใน
    อรูปฌานอีก ๔ คือ

    ๑. อากาสานัญจายตนะ

    ท่านเพ่งอากาศเป็นอารมณ์ โดยกำหนดหมายจิตคิดไว้เสมอว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรเป็นแท่งทึบ
    ไม่มีอะไรคงสภาพเป็นก้อนเป็นแท่งอยู่ตลอดกาลสมัย ไม่ช้านานเท่าใดก็ต้องอันตรธานสูญไป
    คล้ายอากาศ ท่านไม่มีความนิยม ในรูปสังขารเห็นสังขารเป็นโทษ เพราะพิจารณาเห็นว่าสังขาร
    ทั้งหลายเป็นแหล่งของความทุกข์ และความชั่วช้าสารเลว สังขารเต็มไปด้วยความทุกข์อันเกิดจาก
    ความอยากไม่มีสิ้นสุด ความร้อน ความหนาว ความป่วยไข้ ทุกขเวทนาอย่างสาหัส จะพึงมีมาก็เพราะ
    สังขารเป็นปัจจัย ท่านมีความเกลียดชังในสังขารเป็นที่สุด กำหนดจิตคิดละสังขารในชาติต่อ ๆ ไป
    ไม่ต้องการสังขารอีกถือเป็นอากาศธาตุเป็นอารมณ์ คิดว่าสังขารนี้เรายอมเป็นทาสรับทุกข์ของสังขาร
    เพียงชาตินี้ชาติเดียว ชาติต่อ ๆ ไปเราไม่ต้องการสังขารอีก ความต้องการก็คือ หวังความว่างเปล่า
    จากสังขาร ต้องการมีสภาพเป็นอากาศเป็นปกติ
    การเจริญอรูปกรรมฐานนี้ ทุกอย่างจะต้องยกเอากสิณอย่างใดอย่างหนึ่งมาเป็นอารมณ์ก่อน
    เสมอ คือเข้าฌานในกสิณนั้นๆ จนถึงฌาน ๔ แล้วเอานิมิตในกสิณนั้นมาเป็นอารมณ์ในอรูปกรรมฐาน
    เช่น อากาสานัญจายตนะนี้ท่านให้กำหนดนิมิตในรูปกสิณก่อน แล้วพิจารณารูปกสิณนั้นให้เห็นเป็นโทษ
    โดยกำหนดจิตคิดว่า หากเรายังต้องการรูปอยู่เพียงใด ความทุกข์อันเนื่องจากรูปย่อมปรากฏแก่เรา
    เสมอไปหากเราไม่มีรูปแล้วไซร้ทุกข์ภัยอันมีรูปเป็นเหตุก็จะไม่ปรากฏแก่เรา แล้วก็เพิกคืออธิษฐาน
    รูปกสิณนั้นให้เป็นอากาศ ยึดถืออากาศเป็นอารมณ์ ทำอย่างนี้จนจิตตั้งอยู่ในฌาน ๔ เป็นปกติชื่อว่าได้
    กรรมฐานกองนี้

    ๒. วิญญาณัญจายตนะ


    วิญญาณัญจายตนะนี้ เป็นอรูปฌานที่สอง ท่านผู้ปฏิบัติมุ่งหมายกำหนดเอาวิญญาณเป็นสำคัญ
    คือพิจารณาเห็นโทษของรูป และมีความเบื่อหน่ายในรูปตามที่กล่าวมาแล้ว ในอากาสานัญจายตนะ
    ท่านกำหนดจิตคิดว่า เราไม่ต้องการมีรูปต่อไปอีก ต้องการแต่วิญญาณอย่างเดียว เพราะรูปเป็นทุกข์
    ์วิญญาณต้องรับทุกข์อย่างสาหัสก็เพราะมีรูปเป็นปัจจัย ถ้ารูปไม่มี มีแต่วิญญาณ ทุกข์ก็จะไม่มี
    มาเบียดเบียน เพราะทุกข์ต่างๆ ต้องมีสังขารจึงเกาะกุมได้ ถ้ามีแต่วิญญาณทุกข์ก็หมดโอกาส
    จะทรมานได้ แล้วท่านก็จับรูปกสิณเป็นอารมณ์ แล้วกำหนดวิญญาณเป็นสำคัญจนตั้งอารมณ์อยู่ใน
    ฌาน ๔ เป็นปกติ ท่านที่ได้ฌานนี้มีประโยชน์ในการตรวจสอบจิตวิญญาณของตนเอง และของผู้อื่น
    ได้อย่างชัดเจน

    ๓. อากิญจัญญายตนะ


    อากิญจัญญายตนะนี้ ท่านพิจารณาว่าไม่มีอะไรเลย หรือไม่มีอะไรเหลือต่างจากอากาสานัญ--
    จายตนะ เพราะ อากาสานัญจายตนะยังมีการกำหนดว่ามีอากาศเป็นอารมณ์ อากิญจัญญายตนะนี้ ท่าน
    ไม่กำหนดหมายอะไรเลย ไม่ต้องการอะไรทั้งสิ้น ไม่ต้องการรูปและแม้แต่มีวิญญาณ ด้วยท่านคิดว่า
    แม้รูปไม่มี วิญญาณยังมีอยู่ วิญญาณก็ยังรับสุข รับทุกข์ทางด้านอารมณ์ เพื่อตัดให้สิ้นไปท่านไม่ต้องการ
    อะไรเลยแม้แต่ความหวังในอารมณ์ ปล่อยอารมณ์จากความหวังใดๆ ทั้งหมด โดยกำหนดจิตจับอารมณ์
    ในรูปกสิณอย่างใดอย่างหนึ่งในรูปฌานแล้วต่อไปก็เพิกรูปกสิณนั้นเสีย กำหนดจิตให้ว่างเปล่าจากอารมณ์
    เป็นปกติ จนอารมณ์จิตตั้งอยู่ในฌาน ๔ เป็นปกติ

    ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ

    ฌานนี้ท่านว่า มีวิญญาณก็ไม่ใช่ หรือจะว่าไม่มีวิญญาณก็ไม่ใช่ สร้างความรู้สึกเหมือนคน
    ไม่มีวิญญาณ คือไม่ยอมรับรู้อะไรทั้งหมด ใครจะชม หรือนินทาว่าร้าย เอาของดีของเลวมาให้
    หรือนำไป หนาว ร้อน หิว กระหาย เจ็บ ป่วย รวมความว่าเหตุของความทุกข์ความสุขใดๆ ไม่มีความ
    ต้องการรับรู้ ทำเสมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น แบบในสมัยนี้เคยพบ อาจารย์กบ วัดเขาสาริกา
    องค์หนึ่ง ท่านเจริญแบบนี้ วิญญาณท่านมี ท่านรู้หนาวรู้ร้อน แต่ท่านทำเหมือนไม่รู้ ฝนตกฟ้าร้อง
    ท่านก็นอนเฉย ลมหนาวพัดมาท่านไม่มีผ้าห่ม ท่านก็นอนเฉย ใครไปใครมาท่านก็เฉย ทำไม่รู้เสีย
    บางรายไปนอนเฝ้าตั้งสามวันสามคืน ท่านไม่ยอมพูดด้วย ถึงเวลาออกมาจากกุฎี ท่านก็คว้าฆ้องตี
    โหม่งๆ ปากก็ร้องว่า ทองหนึ่งๆๆๆ แล้วท่านก็นอนของท่านต่อไป คนเลื่อมใสมากถึงกับตั้งสำนักศิษย์
    หลวงพ่อกบขึ้น เดี๋ยวนี้คณะศิษย์หลวงพ่อกบมากมาย สามัคคีกันดีเสียด้วย ทำอะไรก็พร้อมเพรียงกันทำ
    น่าสรรเสริญ ก่อนที่จะกำหนดจิตคิดว่าไม่มีอะไรเป็นจุดหมายของจิต ท่านก็ต้องยกรูปกสิณ จับนิมิต
    ในรูปกสิณเป็นอารมณ์ก่อนเหมือนกัน การเจริญในอรูปฌานนี้ ท่านผู้อ่านที่ยังไม่เคยได้รูปฌานในกสิณ
    คงจะคิดว่ายากมาก ความจริงถ้าได้ฌานในรูปกสิณแล้วไม่ยากเลย เพราะอารมณ์สมาธิก็ทรงอยู่
    ขั้นฌาน ๔ เท่านั้นเอง เพราะช่ำชองมาในกสิณสิบแล้ว มาจับทำเข้าจริงๆ ก็จะเข้าถึงจุดภายในสามวัน
    เจ็ดวันเท่านั้น
    เมื่อทรงอรูปฌานได้ครบถ้วนแล้ว ก็ฝึกเข้าฌานออกฌาน ตั้งแต่กสิณมา แล้วเลยเข้าอรูปฌาน
    ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในบทว่าด้วยอภิญญาหก สำหรับอภิญญาหรือญาณในวิชชาสามย่อมใช้ให้เป็น
    ประโยชน์ได้ตั้งแต่ทรงฌานโลกีย์ สำหรับปฏิสัมภิทาญาณคือคุณพิเศษ ๔ ข้อในปฏิสัมภิทาญาณนี้
    จะได้ก็ต่อเมื่อสำเร็จอรหัตตผลแล้ว ในขณะที่ทรงฌานโลกีย์อยู่ คุณพิเศษ ๔ อย่างนั้นยังไม่ปรากฏ
    ปฏิสัมภิทาญาณแปลกจากเตวิชโชและฉฬภิญโญตรงนี้

     
  16. ประกายพลอย

    ประกายพลอย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2010
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +452



    1 สุขวิปัสnโก 2 เตวิชโช 3 ฉฬภิโญ 4 ปฎิสัมภิทาญาณ

    ทั้งหมดนี้ เป็นพรอรหันต์สี่เหล่านะครับ พระพุทธองค์ ทรงตรัสไว้ว่า พันปีที่หนึ่งพระอรหันต์จะมากไปด้วยปฏิสัมภิทาญาณ สมัยพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ อยู่พระอรหันต์สมัยนั้น เข้มแข็ง เข้มข้นทางด้านจิตใจมากพระอรหันต์สมัยนั้น เหาะได้เกือบทุกรูป กำลังจิตสูงมาก(ดูพระอานาท์ หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพานแล้ว ก็มีการสังคยนาพระไตรปิฏก ทุกองค์ สมัยนั้น ที่ทำการสังคยนาพระไตรปิฏกต้องพระอรหันต์เท่าน พระอานนท์ ท่านทำความเพียรหนัก เพราะท่านเป็นพระโสดาบัน พอมาวันสังคยานามาถึง ท่านเล่นดำดินไปโผล่กลาง ที่ประชุมเลย ท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์ทันการพอดี พุทธประวัติกล่าวไว่เช่นนี้

    วันเวลาผ่านไป กำลังจิตคนเราก็อ่อนลง ต่ำลง พันปีที่สองจะมากไปด้วยพระอภิญาญา พระอรหันต์อภิญญา คุณธรรมพิเศษจะด้อยกว่า พระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ
    พอมายุคเราหรือสู่พันปีทีที่สาม 2554 พระอรหันต์ จะมากไปด้วย เตวิชโช หรือมโนมยิทธิ เห็นรกได้ เห็นสวรรค์ได้ แต่เหาะไม่ได้แล้ว ย่นระยะทางไม่ได้ เรียกลม เรียกฝนไม่ได้ กำลังจิต ความเข้มทางด้านจิต อ่อนกำลังมา
    คำว่ามากไปด้วย ก็ไม่ไชว่า พระอรหันต์
    เหล่าอื่นจะไม่มีเลยในยุคนั้นๆ มีแต่ถ้าเทียบกันจะน้อยกว่ามาก
    พอพันปีที่สี่ ก็จะมากไปด้วย พระอรหันต์ สุขวิปัสสโก
    พระอรหันต์สุขขวิปัสโก ไม่รู้ ไม่เห็นนรก ไม่เห็นเทวดาอะไร แต่เข้าถึงมรรคพล ด้วยปัญญาวิมุตติ พันปีที่สี่ นี่กำลัง ความเข้มข้น อ่อนลงเยอะแล้ว ฯลฯ.....


    ฟันธงครับ



















     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 กันยายน 2011
  17. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    เอามาจากไหนครับ ไม่เคยได้ยินมาก่อน
     
  18. ประกายพลอย

    ประกายพลอย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2010
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +452
    หลักสูตร นักธรรมโท ปริตธรรม ไปถามเณร ถามพระ ที่เรียน นักธรรม

    หรือไปหาหนังสือ หมวดพุทธประวัติ หรือสุตตะปิฏก อ่านสะ สอบสนามหลวง

    ไช้หลักสูตรเดียวกันทั่วประเทศ

    พระไตรปิฏกมีทั้งหมด 45 เล่มหนาๆ แบ่งออกเป็นสามหมวดใหญ่ๆ

    1 หมวดพระวินัย ว่าด้วยกฏ พระวินัยต่างๆ 2 หมวดสุตันตปิฏก หรือพุทธประวัติ

    ประวัติพระพุทธเจ้า ประวัติพระเถระ

    3 หมวดพระอภิธรรม ว่าด้วย จิต เจตสิก ธรรมะต่างๆ ไปหาอ่านซะ หรือไม่ก็ ไป

    สมัครเรียน นักธรรม ตรี โท เอก เรียนฟรี เชิญครับ

    ฟันธงครับ
     
  19. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ถ้าหาแล้วไม่เจอล่ะ ^^
     
  20. พรานยึ้ม

    พรานยึ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    591
    ค่าพลัง:
    +682
    ผมกำนันปึ๊ด อดีตกำนันแหนบทองคำ ปี 2537

    อดีตคนวัด อดีตนักเรียนธรรมมะ อดีตสอบไล่ได้ นักธรรมโท

    อดีตสอบได้ มหาเปรียญ ประโยค๑ ผมฟันธง เอ้ย!! ยืนยัน

    ว่าเป็นเรื่องจริงครับ มีมาใน พุทธประวัติ ที่บอกว่า ศาสนาพุทธจะทรงอยู่

    บนโลกนี้ได้ถึง 5000ปี ตามพุทธพยากรณ์ ในหมวด พุทธประวัติ หมอกฤช comfrim

    กล่าวได้ถูกต้องแล้วครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...