คุยกันฉันท์เพื่อน - ( ๔๑) ^_^

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ชนินทร, 17 กันยายน 2009.

  1. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    นี่คือรายละเอียดโครงการทอดผ้าป่านะคะ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    พระอาจารย์ติงลี่ฝากบอกด้วยนะคะ... ท่านใดที่ไปร่วมสร้างบุญสร้างกุศลในงานทอดผ้าป่าที่ โรงเรียนวัดบางนมโคในครั้งนี้... พระอาจารย์มีผ้ายันต์ของหลวงปู่ปาน (ตามรูป ) แจกให้ด้วยค่ะ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    รายชื่อผู้ร่วมสมทบทอดผ้าป่าในครั้งนี้... (ในเบื้องต้น) มีดังนี้ค่ะ...

    ๑. คุณประไพ และครอบครัว หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นบาท
    ๒. คุณเลิศกร หนึ่งแสนบาท
    ๓. คุณสมาน พิทักษ์เขต ๓๐,๐๐๐.๐๐ บาท
    ๔. คุณกัลยานี สุขษาสุณี ๒,๐๐๐.๐๐ บาท
    ๕. คุณฉัฐวัฒ ๓๐,๐๐๐.๐๐ บาท
    ๖. พอ.(พิเศษ)ประวิช และคุณสมหญิง ณ นคร และครอบครัว ๒,๔๐๐.๐๐ บาท
    ๗. พอ. อรุณ คุณนัดดา จันทร์รังษี และครอบครัว ๖,๐๐๐.๐๐ บาท
    ๘. คุณคณาวัฒน์ วรพฤกษ์กิจ - คุณกชธร ธิระพัฒน์พิบูลย์ และครอบครัว ๑,๑๐๐.๐๐ บาท
    ๙. คุณต้อ คุณตั้ม น้องอะตอม ๑,๕๐๐.๐๐ บาท
    ๑๐. คุณอ๋อ ๕๐๐.๐๐ บาท
    ๑๑. คุณแม่ที่ปักธงชัย ๑,๕๐๐.๐๐ บาท
    ๑๒. คุณยุ ๓๐,๐๐๐.๐๐ บาท
    ๑๓. คุณณี ร้านคุณพระ อ.เสนา ๑๐,๐๐๐.๐๐ บาท
    ๑๔. คุณประภัสสร ๑๐,๐๐๐.๐๐ บาท
    ๑๕. คุณกระแต ร้านโพธิ์ไทรงามค้าวัสดุก่อสร้าง ๑,๐๐๐.๐๐ บาท
    ๑๖. คุณนัฒธเดชและครอบครัว ๑,๖๔๐.๐๐ บาท
    ๑๗. พระอาจารย์นิลวัดโพธิ์ทอง และคณะ รวมทั้งพระอาจารย์ติงลี่ และคณะ จองทำเสาธงโรงเรียน ๓๐,๐๐๐.๐๐ บาท
     
  4. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    พระอาจารย์ติงลี่ขอรับบริจาคปัจจัยสำหรับนำไปซื้อวัสดุ - อุปกรณ์ - สิ่งของจำเป็นเพิ่มเติมดังนี้ค่ะ...

    ๑. โทรทัศน์สำหรับใช้ในการเรียนการสอน ๓ เครื่อง
    ๒. ไมค์ลอย UHF ๒ ชุด
    ๓. ลำโพง สำหรับพูดเสียงตามสาย ๑๐ คู่
    ๔. เครื่องเล่นดีวีดี ๔ เครื่อง
    ๕. อุปกรณ์กีฬา (สำหรับนักเรียน)... ซึ่งสำหรับอุปกรณ์กีฬานี้ ท่านใดจะสมทบเข้ามาเป็นลูกฟุตบอล หรืออุปกรณ์กีฬาอย่างอื่นก็ได้ด้วยนะคะ...
    ๖. ปัจจัยสำหรับเป็นค่าปูสนามหญ้าของโรงเรียน
    ๗. พัดลมระบายไอเย็น (คล้ายพัดลมไอน้ำ แต่ไม่ทำให้เป็นปอดบวม) สำหรับใช้ในการระบายความร้อนในส่วนของอาคารเด็กเล็ก เพราะจะร้อนมากๆ... จำนวน ๓ เครื่อง
    ๘. ขอมีเจ้าภาพร่วมกันนำเงินใส่ซองสำหรับถวายพระภิกษุสงฆ์ที่จะมาร่วมในพิธี รูปละ ๓,๐๐๐.๐๐ บาท... สำหรับมอบให้พระอาจารย์ติงลี่ น้อมถวายในวันงานค่ะ

    พระอาจารย์แจ้งว่าถ้ามีอะไรจำเป็นขาดเหลือ ท่านจะประกาศให้ทราบโดยทั่วกันในวันงานค่ะ...


    กราบโมทนากับทุกท่านด้วยค่ะ
     
  5. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    ฝากแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมค่ะ...

    วันอังคารที่ ๒๔ พ.ค. ๒๕๕๔ พระอาจารย์ติงลี่และคณะรับเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมศพ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม และเจ้าคณะหนกลาง เวลา ๑ ทุ่มตรง ที่วัดชนะสงครามค่ะ...


    ขอเรียนเชิญทุกท่านไปร่วมงานด้วยค่ะ...
     
  6. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    มีฝากข่าวงานบุญเพิ่มเติมค่ะ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    ต้องขอโทษทุกท่านด้วยนะคะ คอมพ์ของธรช้ามากเลยค่ะ... พอจะโหลดไฟล์พร้อมกันแค่ ๒ ไฟล์ขึ้นไป (ณ ขณะนี้) เครื่องมันจะแฮงค์ ค้างไปเลยค่ะ... เลยได้แค่ทีละไฟล์เท่านั้นนะคะ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    ในวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ที่จะถึงนี้...


    ที่วัดหนองหญ้าปล้อง ต.จรเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี 71260...

    จะมีการทำบุญฉลองยกฉัตรสมเด็จองค์ปฐม หน้าตัก ๒๐ เมตร และทำบุญอายุวัฒนมงคล ๕๓ ปี ของพระครูใบฎีกานเรศ ปิยธมฺโม (พระอาจารย์โนรี เจ้าอาวาสวัดหนองหญ้าปล้อง)

    เวลายกฉัตร คือ ๑๐.๔๙ น.

    และพระอาจารย์ที่จะมาร่วมงานค่อนข้างแน่นอนแล้วมีดังนี้ค่ะ...

    หลวงปู่นริศ นรินฺโธ
    หลวงปู่ละมัย
    หลวงปู่ฉะอ้อน

    ..............................................

    ในงานนี้... ธรได้ขออนุญาตพระอาจารย์โนรีพิมพ์หนังสือประวัติของพระอาจารย์ท่าน พระธรรมคำสอนของท่าน และอื่นๆ... ทำเป็นหนังสือขนาดพกพาได้สะดวก...

    สำหรับน้อมนำให้ท่านไว้แจกญาติโยมที่จะมาร่วมงานในวันนั้นจำนวนหนึ่งค่ะ...

    ท่านใดสนใจอยากร่วมสร้างธรรมทาน และเชิดชูพระคุณครูบาอาจารย์กับธร สามารถร่วมบุญกันได้ที่บัญชีดังนี้ค่ะ...

    ธรจะมาแจ้งให้ทราบเป็นระยะๆ นะคะ... ว่างานพิมพ์หนังสือไปถึงไหนแล้วค่ะ...

    กราบโมทนาล่วงหน้ากับทุกท่านค่ะ...
     
  9. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384

    ตอนนี้ราคาหนังสือที่จะพิมพ์ออกมาแล้วนะคะ...

    พิมพ์ 15,000 เล่ม

    ราคาเล่มละ 13.00 บาท รวมราคาทั้งสิ้น 195,000.00 บาท (ยังไม่รวม VAT)

    ปกทำใหม่ 4 สี 2 หน้า/ใช้กระดาษอาร์ต 190 แกรม
    เคลือบยูวี 1 หน้า
    เนื้อใน 1สี/หนา 112หน้า/พิมพ์หมึกสีเขียว
    ใช้กระดาษปอนด์ 70 แกรม

    ...........................................................

    ที่จำเป็นต้องพิมพ์จำนวนมาก เพราะเมื่อปีที่แล้ว ในวันงาน มีคนมาร่วมงานนับหมื่นคนทีเดียวค่ะ...

    หลวงพ่อท่านเคยพิมพ์หนังสือสวดมนต์ แล้วจำนวนไม่พอกับคนรับที่มาร่วมงาน บางคนหยิบไปเผื่อคนอื่นที่ไม่ได้มา...

    คนมาในงานกลับไม่ได้...

    จึงเกิดการน้อยอกน้อยใจกันขึ้นว่าได้ไม่ทั่วถึง...

    ..............................................

    ขอเรียนเชิญทุกท่านที่อยากร่วมกันสร้างธรรมทานสามารถร่วมบุญกันได้ตามเลขที่บัญชีข้างต้นเลยนะคะ...

    ...............................................

    ถ้าต้องการให้มีการนำรายชื่อไปลงในหนังสือด้วย ขอให้แจ้งชื่อ นามสกุล เข้ามาที่กระทู้ คุยกันฉันท์เพื่อน ที่นี่ที่เดียว ภายในวันที่ 19 มิถุนายนที่จะถึงนี้นะคะ (ถ้ามีกระทู้อื่น... จะมาแจ้งให้ทราบอีกทีค่ะ)


    อีกประการ ในการลงชื่อเจ้าภาพหนังสือในครั้งนี้ จะไม่มีการระบุจำนวนเงินนะคะ...

    เพราะ...

    ๑. มีหลายท่านที่ร่วมบุญผ่านมาทางพระอาจารย์โนรีบ้าง พระอาจารย์รูปอื่นๆ บ้าง... และแจ้งความประสงค์ว่า... ขอร่วมบุญพิมพ์หนังสือ และทำบุญทุกอย่าง...

    ดังนั้นทางวัดเกรงว่าจะกลายเป็นการทำผิดเจตนาของผู้ถวายเงิน เพราะส่วนใหญ่ก็ไม่ระบุว่าจะพิมพ์หนังสือเท่าไหร่ ทำบุญทุกอย่าง และอื่นๆ นั้นเท่าไหร่... จึงแจ้งมาให้ทราบโดยทั่วกันค่ะ...


    ๒. เพราะหนังสือต้องส่งให้โรงพิมพ์ในวันที่ 20 มิถุนาค่ะ...
    ไม่เช่นนั้นหนังสือจะพิมพ์เสร็จไม่ทันวันงาน คือ วันที่ 24 กรกฎาคม 54 นี้ค่ะ...

    ทุกท่านสามารถแจ้งเฉพาะชื่อเข้ามาก่อนได้นะคะ... แต่จำเนินเงินจะไปโอนให้ทีหลังก็ได้ค่ะ... โอนเงินเข้ามาได้ ก่อนถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 54 เดือนหน้าค่ะ...


    อีกประการ....

    ที่ธรระบุว่า ขอให้แจ้งชื่อผู้เป็นเจ้าภาพร่วมมาทางกระทู้คุยกันฉันท์เพื่อนนี้เท่านั้น...

    เพราะบางครั้งที่ผ่านมา... มีบางท่านช่วยกรุณานำข้อมูลที่ธรแจ้งไว้ไปกระจายต่อให้...

    แล้วมีผู้ร่วมบุญเข้ามา... แต่ธรไม่ทราบว่าเป็นใคร... เพราะผู้ที่นำไปกระจายต่อ ก็ไม่ได้แจ้งบอกธรกลับมา... และธรก็ไม่ทราบด้วยว่าไปกระจายไว้ที่ใดบ้าง...

    ดังนั้น ธรถือว่าธรรับทราบเฉพาะที่แจ้งเข้ามาทางกระทู้นี้... เท่านั้นนะคะ...


    กราบโมทนากับทุกท่านด้วยค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มิถุนายน 2011
  10. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    กราบโมทนาบุญด้วยครับ กับโครงการที่เกิดกุศลต่อพระพุทธศาสนา ด้วยจิตที่กตัญญูต่อครูบาอาจารย์เป็นที่ตั้ง
     
  11. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    [​IMG]




    สวัสดีค่ะทุกท่าน

    ขอเรียนเชิญทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนา "๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ" - ซึ่งเป็นการสัมมนาเตือนภัยพิบัติ ๕ ภูมิภาค ดังนี้ค่ะ

    กำหนดการของแต่ละภูมิภาค

    - ภาคกลางและภาคตะวันตก
    วัดหนองหญ้าปล้อง ต. .จรเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี ๗๑๒๖๐
    (วันเสาร์ที่ ๑๗ และ วันอาทิตย์ที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๔)

    - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    วัดพุทธโมกข์ อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร ๔๗๒๓๐
    (วันเสาร์ที่ ๒๙ และ วันอาทิตย์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๔)

    - ภาคใต้
    วัดคลองวาฬ ต.คลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ๗๗๐๐๐
    (วันเสาร์ที่ ๑๙ และ วันอาทิตย์ที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔)

    - ภาคเหนือ
    วัดพระธาตุห้าดวง ต.ลี้ อ.ลี้ ลำพูน ๕๑๑๑๐
    (วันเสาร์ที่ ๐๓ และ วันอาทิตย์ที่ ๐๔ ธันวาคม ๒๕๕๔)

    - ภาคตะวันออก
    วัดราษฎร์ศรัทธา (ท้ายดอน) ต.เหมือง อ.เมือง จ.ชลบุรี ๒๐๑๓๐
    (วันเสาร์ที่ ๑๗ และ วันอาทิตย์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๔)


    หมายเหตุ
    - ในวันเสาร์ หัวข้อจะเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ตั้งแต่ก่อนภัยมา วิธีการสังเกตธรรมชาติในด้านต่าง ๆ จุดปลอดภัยและจุดเสี่ยงภัยในแต่ละภูมิภาค รวมไปถึงวิธีการรับมือกับภัยในรูปแบบต่าง ๆ วิธีการช่วยเหลือตัวเองในยามมีภัย
    - สำหรับวันอาทิตย์จะเป็นช่วงที่ภัยมาแล้ว ทุกคนควรจะรับมือกับภัยนั้น ๆ ในสภาวะนั้น ๆ อย่างไร วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ยาสมุนไพร ยาสามัญประจำบ้านที่ควรทราบ วิธีจัดการสิ่งต่าง ๆ สถานการณ์ต่าง ๆ ให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติให้ได้เร็วที่สุด ดีที่สุด และหลังจากนั้น หรือในสภาวะที่ไม่มีภัยทุกคนควรจะร่วมมือประสานความช่วยเหลือกันอย่างไร การนำหลักการ “เศรษฐกิจพอเพียง” มาใช้ปฏิบัติจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง ทุกคนจะสามารถปลุกจิตสำนึกให้คนในชุมชนหันมาให้ความสำคัญกับบ้านเกิดของตนเองได้อย่างไรบ้าง




    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2011
  12. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    [​IMG]



    ยุคปัจจุบันถือได้ว่าเป็นยุคของความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ... มีเครื่องอำนวยความสะดวกทุกอย่างเท่าที่มนุษย์เราต้องการจะให้มี... ตั้งแต่ตื่นยันหลับ เกิดยันตาย... จนมนุษย์ส่วนใหญ่หลงลืมกับ “คุณค่า” ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติที่ต้องใช้ระยะเวลานับหลายล้านล้านล้านปีในการที่จะก่อกำเนิดขึ้นมา... กว่าจะเป็น “โลก” ที่เราอยู่กันได้ตราบจนทุกวันนี้...

    ในยุคปัจจุบันนี้มนุษย์ “ใช้ประโยชน์จากทุกสิ่งที่อยู่รอบตัว” จนวัฏจักรของธรรมชาติเสียสมดุลไป... ตลอดเวลาที่ผ่านมาจึงเป็นช่วงเวลาที่ทั้งมนุษย์และธรรมชาติ ต่างฝ่ายต่างก็พยายามปรับสมดุลให้กับตัวเอง เพื่อให้ตัวเองอยู่รอด เวลาที่มนุษย์พยายามที่จะอยู่รอด และก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นกับธรรมชาติและชีวิตอื่น... มีมนุษย์เพียงน้อยนิดที่ตระหนักถึงความสูญเสียในวงกว้างที่จะเกิดขึ้นในอนาคต... แต่เมื่อธรรมชาติพยายามที่จะปรับตัวเองบ้าง... มันจึงกลายเป็นหายนะภัยสำหรับโลก

    เนื่องด้วยในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีที่ใช้ในการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย ทำให้สาธารณชนได้รับทราบถึงข้อมูลภัยธรรมชาติในรูปแบบต่าง ๆ จากทั่วทุกมุมโลก อีกทั้งภัยธรรมชาติหลากหลายประการที่เกิดขึ้นในประเทศไทยของเราก็มีแนวโน้มที่จะมีลักษณะที่รุนแรงขึ้น และเกิดบ่อยขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่าน ๆ มา จึงสร้างความวิตกกังวลให้เกิดขึ้นกับประชาชนในวงกว้าง เหตุการณ์การเกิดสึนามิ ภัยน้ำท่วมภาคใต้ แผ่นดินไหวที่เกิดบ่อยครั้งขึ้น และรุนแรงมากขึ้น ฯลฯ ที่เพิ่งจะผ่านไปเป็นตัวอย่างที่เห็นได้เด่นชัดที่สุด... สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องน่าเศร้าเพราะจำนวนชีวิตผู้คนมากมายที่ต้องล้มหายตายจากกันไป หรือผู้เป็นที่รักต้องพลัดพรากจากกันไป เหล่าอาคารสถานที่อีกทั้งทรัพย์สินทั้งหลายที่ต้องพังพินาศลง ภาพอันน่าสะเทือนใจเหล่านั้นกระทบความรู้สึกของคนไทยทั้งชาติ... คงไม่มีใครอยากที่จะเป็นหนึ่งในผู้สูญเสียนั้น

    ด้วยสาเหตุดังกล่าวจึงมีดำริที่จะให้มีการจัดงานสัมมนาในหัวข้อเรื่อง “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ” เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารที่เชื่อถือได้กระจายไปสู่สังคมในวงกว้าง นอกจากนั้นจะมีการจัดงานสัมมนาขึ้นใน ๕ ภูมิภาค เพราะภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในแต่ละภูมิภาคอาจมีลักษณะทั้งที่คล้ายคลึงและแตกต่างกันไป

    การจัดงานสัมมนาเกี่ยวกับภัยพิบัติในครั้งนี้ไม่ได้มุ่งเน้นที่จะให้ทุกคนที่ได้ร่วมรับรู้ข้อมูลข่าวสารทั้งหลาย มีความรู้ และเตรียมพร้อมกับการรับสถานการณ์เฉพาะ “มหันตภัยร้าย” ที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ในอนาคตเท่านั้น แต่ผู้ร่วมสัมมนาและผู้ที่ได้รับรู้เกี่ยวกับข้อมูลในครั้งนี้ สมควรมีการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับ “ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอยู่แล้วเป็นประจำในแต่ละภูมิภาค” ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นวัฏจักร

    ด้วยสาเหตุดังกล่าวจึงมีดำริที่จะให้มีการจัดงานสัมมนาในหัวข้อเรื่อง “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ” เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารที่เชื่อถือได้กระจายไปสู่สังคมในวงกว้าง นอกจากนั้นจะมีการจัดงานสัมมนาขึ้นใน ๕ ภูมิภาค เพราะภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในแต่ละภูมิภาคอาจมีลักษณะทั้งที่คล้ายคลึงและแตกต่างกันไป

    การจัดงานสัมมนาเกี่ยวกับภัยพิบัติในครั้งนี้ไม่ได้มุ่งเน้นที่จะให้ทุกคนที่ได้ร่วมรับรู้ข้อมูลข่าวสารทั้งหลาย มีความรู้ และเตรียมพร้อมกับการรับสถานการณ์เฉพาะ “มหันตภัยร้าย” ที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ในอนาคตเท่านั้น แต่ผู้ร่วมสัมมนาและผู้ที่ได้รับรู้เกี่ยวกับข้อมูลในครั้งนี้ สมควรมีการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับ “ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอยู่แล้วเป็นประจำในแต่ละภูมิภาค” ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นวัฏจักรที่ไม่เคยหยุดสิ้น

    “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ” (เตรียมพร้อม – ตั้งมั่น – ต่อเนื่อง) จึงได้เกิดขึ้นมาเพื่อบอกกล่าวให้ทุกคนที่ได้ร่วมงานสัมมนาและได้รับทราบข้อมูลในครั้งนี้ได้ทราบว่า...



    [​IMG]



    ๑. ทั้งภัยที่เกิดขึ้นประจำแต่ละภูมิภาค และภัยร้ายที่แต่ละภูมิภาคอาจต้องประสบนั้นมีอะไรบ้าง เพราะ แต่ละภูมิภาคจะมีภัยในรูปลักษณะที่แตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม เขื่อนแตก ไฟป่า สึนามิ ดินโคลนถล่ม แผ่นดินไหว ภัยแล้ง น้ำป่า สตรอมเซิรจ (Storm Surge) ฯลฯ

    ๒. ถ้าเป็นภัยที่เกิดขึ้นอยู่แล้วในแต่ละภูมิภาค
    ๒.๑ มีภัยประเภทใดบ้างที่เกิดขึ้นในแต่ละภูมิภาคนั้น ๆ
    ๒.๒ ภัยแต่ละอย่างเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาใดของปีบ้าง
    ๒.๓ ฤดูกาลต่าง ๆ ในแต่ละภูมิภาคนั้นมีการแปรปรวน เปลี่ยนแปลงจากที่เคยเป็นในอดีตไปอย่างไรแล้วบ้าง
    ๒.๔ ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นนั้น ๆ ควรมีการเตรียมความพร้อมก่อนที่ภัยจะเกิดขึ้นอย่างไร
    ๒.๕ เมื่อเกิดภัยขึ้นแต่ละคนควรปฏิบัติตัวอย่างไร
    ๒.๖ ควรมีการจัดการทางด้านต่าง ๆ หลังจากที่ภัยเหล่านั้นผ่านไปแล้วอย่างไรบ้าง
    ๒.๗ นอกจากสาเหตุทางธรรมชาติที่ไม่มีมนุษย์คนไหนจะหยุดยั้งได้แล้วยังมีสาเหตุเหตุใดอีกบ้างที่ผ่าน ๆ มา ทั้ง ๆ ที่ทั้งหน่วยงานราชการและเอกชนหลากหลายหน่วยงานพยายามที่จะช่วยกันหาทางป้องกัน ยับยั้งและแก้ไขแล้ว แต่ปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นก็ยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ ๆ เป็นประจำทุกปี และมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมาก
    ขึ้นรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องด้วย
    ๒.๘ มีหน่วยงานใดบ้างทั้งของภาครัฐบาลและเอกชนที่จะสามารถคอยให้คำปรึกษาแนะนำ หรือให้ความช่วยเหลือประชาชนในภูมิภาคนั้น ๆ ได้บ้าง (รวบรวมรายชื่อ เบอร์โทรศัพท์ สถานที่หรือวิธีการที่จะติดต่อกับแต่ละหน่วยงานนั้น ๆ

    ๓. ถ้าต้องประสบกับภัยพิบัติที่คนส่วนใหญ่กำลังหวาดกลัวกันอยู่ในขณะนี้
    ๓.๑ มหันตภัยประเภทใดบ้างที่มีแนวโน้มหรือสามารถเกิดขึ้นได้กับภูมิภาคนั้น ๆ
    ๓.๒ มีสัญญาณบอกเหตุทางธรรมชาติอะไรบ้างที่อาจจะเกิดขึ้น และประชาชนควรจะหัดสังเกต เพื่อเป็นเสมือนการเตือนให้ได้รับทราบถึงการจะมาถึงของภัยนั้น ๆ
    ๓.๓ จุด หรือสถานที่ใดบ้างที่มีความเสี่ยงสูงว่าอาจจะได้รับผลกระทบร้ายแรงจากการเกิดภัยนั้น ๆ เพราะเหตุใด
    ๓.๔ มีสถานที่ใดบ้างในแต่ละภูมิภาคที่เป็น “จุดปลอดภัย” ในแต่ละสถานการณ์ที่มีภัยในรูปแบบที่แตกต่างกันไป
    (ประเด็นทั้งข้อ ๓.๑ และ ๓.๒ เป็นประเด็นที่ควรพูดถึงเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรจะบอกให้ประชาชนได้รับทราบไว้ เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของคนจำนวนมหาศาล... เช่น ถ้าสึนามิมา ภูเขาลูกใดควรเป็นจุดที่ทุกคนควรรีบขึ้นไปให้สูงที่สุด หรือ ถ้ามีน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน ตรงบริเวณใดบ้างที่สูงพอที่ผู้คนควรจะพากันอพยพหนีภัยขึ้นไปอยู่ได้เป็นต้น... แต่ก็อาจเป็นดาบสองคมเพราะเป็นข้อมูลที่อาจส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนส่วนใหญ่.... และอาจเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ค้าอสังหาริมทรัพย์บางรายนำข้อมูลไปใช้ในเชิงธุรกิจ... อันอาจจะสร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้นในสังคมได้... ดังนั้นคงต้องหาวิธีที่จะเตือนประชาชนถึงจุดเสี่ยงภัยโดยมีผลกระทบกับสังคมให้น้อยที่สุด)

    ๔. “เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา ได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดตั้ง อ.ป.ต. (หรือหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล) ขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เนื่องจากเห็นว่า วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนในการประกอบกิจกรรมของสังคมร่วมกัน และเป็นสถานที่ดำเนินการให้การศึกษาอบรม แนะนำ สั่งสอน ตลอดจนสงเคราะห์ประชาชนเพื่อประโยชน์และความรู้ของชุมชนและสังคมนั้น... ผู้ร่วมงานประกอบด้วยฝ่ายบรรพชิต อันได้แก่ เจ้าอาวาสและพระภิกษุในวัดในตำบลนั้น ๆ ฝ่ายคฤหัสถ์ ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และทายกทายิกาในตำบลนั้น ๆ ... สำหรับความรู้และคุณประโยชน์ที่ประชาชนในชุมชนนั้นจะได้รับจากหน่วย อ.ป.ต. มีดังนี้...

    - ศีลธรรมและวัฒนธรรม - สุขภาพอนามัย
    - สัมมาชีพ - สันติสุข
    - ศึกษาสงเคราะห์ - สาธารณสงเคราะห์
    - กตัญญูกตเวทิตาธรรม - สามัคคีธรรม

    เมื่อปีที่ผ่านมา (พ.ศ. ๒๕๕๓) มีหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ทั่วประเทศใน ๗๕ จังหวัด จำนวนกว่า ๕,๐๐๐ หน่วย ซึ่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นผู้จัดสรรเงินอุดหนุนในการดำเนินงาน” (ขอขอบคุณข้อมูลโดย คุณปราณสุวีร์ อาวอร่ามรัศมิ์ สนง.พศช. เว็บไซต์ http://www.watyangrak.com)

    จากข้อมูลดังกล่าว... ถ้าสามารถดึงวัดกลับมาเป็นศูนย์กลางของสังคมได้เช่นในอดีต... และมีการให้ความรู้ที่หลากหลายสาขากับชุมชนในท้องถิ่น ณ วัดที่เป็นศูนย์กลางเหล่านั้น... อาทิเช่น นำเรื่องการจัดการสหกรณ์มาใช้ โดยการนำสินค้าไปหมุนเวียน ซื้อ – ขาย กันในสหกรณ์ของวัดที่จัดตั้งขึ้นมา... มีหน่วยงานสาธารณสุขคอยให้ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น... มีผู้สูงวัยที่มีความรู้ทรงภูมิปัญญา มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางในท้องถิ่นนั้น ๆ มาคอยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน แนะนำ สั่งสอนถึงแนววิชาความรู้ต่าง ๆ... เช่น การใช้ยาสมุนไพรชนิดต่าง ๆ... การแปรรูป ถนอมอาหาร ฯลฯ

    ซึ่งวิชาความรู้เหล่านั้นสามารถที่จะนำมาปรับใช้เป็นวิชาชีพเสริมรายได้ของชุมชนในยามภาวะปกติ (ซึ่งถือเป็นการปลูปฝังให้คนในแต่ละท้องถิ่นเกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรม ภูมิความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง ซึ่งสิ่งเหล่านั้นจะหล่อหลอมให้ทุกคนรักถิ่นที่อยู่ของตนเอง และจะพยายามปกป้อง คุ้มครองไม่ให้ใครมาทำลายท้องถิ่นของตนได้)...

    หรือ กลายมาเป็นสิ่งจำเป็นในการเอาตัวรอดจากสภาวะที่ความสะดวกสบายทั้งหลายถูกตัดขาดออกไปอย่างสิ้นเชิง... อาทิเช่น ไม่มีไฟฟ้าใช้ น้ำประปาไม่ไหล เป็นต้น...

    เมื่อยามมีภัย... ให้ทุกคนในแต่ละชุมชนมุ่งหน้าไปยังวัดที่อยู่ในตำบลของตัวเอง... หรือวัดในจุดที่มีความปลอดภัยที่ได้มีการตกลงกันไว้ตั้งแต่แรก และมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการรับสถานการณ์ต่าง ๆ ... อย่างน้อยทุกคนก็มีอาหารยังชีพ มีหน่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้ และมีพระภิกษุสงฆ์เป็นขวัญกำลังใจในการที่จะฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ไปด้วยกัน...

    ๕. ประชาชนทั้งหลายควรมีความพร้อมในการรับมืออย่างไรบ้างในฐานะปัจเจกบุคคล
    - ควรมีการสำรองอาหารแห้ง น้ำดื่ม ชุดยาสามัญประจำบ้าน และของใช้จำเป็นอย่างไรบ้าง สำหรับกี่วัน ต่อคน
    - ก่อนที่ภัยจะมาประชาชนควรมีการจัดเตรียมกระเป๋า หรือเป้ยังชีพกันอย่างไรบ้าง... ของใช้จำเป็นที่ควรมีติดกระเป๋า มีอะไรบ้าง
    - ควรมีการนำทรัพย์สินมีค่าที่พอจะเคลื่อนย้ายได้ง่ายๆ เก็บบรรจุในกระเป๋า หรือเก็บในลักษณะใด เมื่อเกิดเหตุภัยเกิดขึ้นจะได้คว้าได้อย่างทันท่วงที

    ๖. เมื่อภัยมาชุมชนในพื้นที่ควรมีการประสานงานช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง

    ๗. สาธารณสุข หรือหน่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นในแต่ละท้องที่มีศักยภาพมากน้อยเพียงใดกับการรักษาพยาบาลคนในชุมชนที่เจ็บป่วยพร้อมกันเป็นจำนวนมาก ๆ ในเบื้องต้น

    ๘. มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่จะมีการฝึกความพร้อมในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้แก่ชุมชนในแต่ละท้องถิ่น

    ๙. นอกจากการแพทย์แผนปัจจุบันที่จะมีการช่วยเหลือกันแล้ว... การแพทย์ทางเลือก อาทิเช่นการใช้ยาสมุนไพรที่มีอยู่ประจำแต่ละภูมิภาค... ซึ่งได้รับการขึ้นบัญชีเป็นยาหลักแห่งชาติ ประเภทสมุนไพร... มีอะไรบ้าง ประชาชนควรเร่งปลูกพืชสมุนไพรตัวได้ไว้บ้างในสวนครัวรอบรั้วบ้านของตัวเอง... เพื่อที่จะได้นำมาใช้ได้อย่างทันท่วงที หรือแม้ใช้ยามเจ็บป่วยทั่ว ๆ ไป

    ๑๐. สื่อสิ่งพิมพ์ สถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์ชุมชน อีกทั้งหน่วยอาสาสมัครกู้ภัยต่าง ๆ ประจำแต่ละภูมิภาค ไม่ว่าจะในระดับ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ หรือจังหวัด ควรมีการประสานงานกัน ทุกหน่วย อย่างสม่ำเสมอ และควรมีบทบาทในการร่วมช่วยกันให้ความรู้ในเรื่องภัย และอื่น ๆ แก่ประชาชน ควรจัดให้มีการซ้อมรับมือกับภัยพิบัติในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  13. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    วัตถุประสงค์ของการจัดงานสัมมนา “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ”

    การสัมมนาในครั้งนี้หวังผลที่จะเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะให้มีการร่วมมือประสานงานช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างจริงจังระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล และเอกชน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ ความปลอดภัย ทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในวงกว้าง (ซึ่งโดยปกติหน่วยงานและองค์กรเหล่านั้นก็มีการประสานงานร่วมกันอยู่แล้วในระดับหนึ่ง)

    ประสงค์จะให้การสัมมนาในภูมิภาคทั้ง ๕ นี้ เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดเป็นแรงผลักดันให้เกิดความปลอดภัย เกิดทางรอดมากที่สุด และมีความสูญเสียน้อยที่สุด โดยการที่ทุกภาคส่วนมาร่วมกันวางแผนอย่างเป็นระบบระเบียบ เป็นรูปธรรมว่าถ้าเกิดภัยขึ้นมาแล้วจริง ๆ ควรมีแผนการรับมืออย่างไร แต่ละคนแต่ละองค์กรและหน่วยงานสมควรดำเนินการอย่างไร มีบทบาทอย่างไรบ้าง และทุกชีวิตทั้งหมดนั้นจะสามารถที่จะส่งต่อ ประสานความช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จะทำได้ ณ ขณะนั้นได้อย่างไรบ้าง

    อีกทั้งปรารถนาที่จะให้ทั้งผู้ที่เข้าร่วมในงานสัมมนา และผู้ที่ได้รับทราบข้อมูลทั้งหลาย หรือชุมชนในแต่ละท้องถิ่น สามารถนำข้อมูลสิ่งที่ได้รับรู้รับทราบกลับไปใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน ให้คนจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะมากได้สามารถมีชีวิตรอดปลอดภัยให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ทั้งในสถานการณ์ที่มีภัยประจำภูมิภาค หรือภัยฉุกเฉินเกิดขึ้น หรือถึงแม้จะไม่เกิดภัยใด ๆ เลย ความรู้ทั้งหลายทั้งมวลในการสัมมนาในครั้งนี้ ก็ยังสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนทุกชุมชนได้

    เชื่อเหลือเกินว่าการจัดงานสัมมนา ๕ ภูมิภาคในครั้งนี้... จะสามารถเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดัน หรือช่วยเป็นแรงบันดาลใจเล็ก ๆ ให้กับชุมชนในแต่ละท้องถิ่นให้เกิดความตระหนักรู้ และเกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษของตนได้ เพื่อที่จะได้ช่วยกันสืบสาน เกิดความหวงแหนที่จะรักษาไว้ซึ่งความดีงามในชุมชนของตนเอง

    ข้อมูลความรู้เหล่านั้นได้แก่...




    [​IMG]



    ต. ที่ ๑ : เตรียมพร้อม

    - ทราบว่าถ้าจะรับข้อมูลข่าวสารการเตือนภัยจากทั้งหน่วยงานของรัฐบาลและเอกชน... จะสามารถติดต่อกับหน่วยงานใดได้บ้าง ที่ไหน อย่างไร
    - เนื่องจากว่าในแต่ละภูมิภาคนั้นจะมีภัยเกิดขึ้นในรูปลักษณะที่แตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม เขื่อนแตก ไฟป่า สึนามิ ดินโคลนถล่ม แผ่นดินไหว ภัยแล้ง น้ำป่า สตรอมเซิรจ (Storm Surge) ฯลฯ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ควรจะต้องทราบว่าในภูมิภาคที่ตนอยู่อาศัยนั้นสามารถมีภัยธรรมชาติประเภทใดบ้างที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และจะสามารถป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดกับชีวิต และทรัพย์สินได้อย่างไร ถ้าป้องกันจนสุดวิสัยที่จะทำได้แล้ว ควรเตรียมความพร้อมในการรับสถานการณ์อย่างไร
    - สามารถสังเกตสภาวการณ์ ความแปรปรวน หรือสัญญาณบอกเหตุตามธรรมชาติ(ในเบื้องต้น) ของแต่ละภูมิภาคได้อย่างไร
    - ทราบถึงวิธีการเตรียมความพร้อมสำหรับการรับมือเบื้องต้นกับภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น ทั้งภัยที่มีอยู่เป็นประจำในแต่ละภูมิภาค และภัยร้ายที่มีแนวโน้มว่าอาจจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้
    - ทราบถึงสถานที่ที่เสี่ยงภัยและสถานที่ที่ปลอดภัย... จะได้สามารถกำหนดวิธีการอพยพหนีภัย... และเส้นทางหนีภัยได้อย่างทันท่วงที
    - ถ้ามีการกำหนดสถานที่ปลอดภัยสำหรับในแต่ละภูมิภาคแล้ว... ชุมชนนั้น ๆ จะได้สามารถร่วมกันจัดการบริหารเตรียมความพร้อมทางด้านต่าง ๆ เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยได้อย่างดีที่สุดสำหรับชุมชนของตนเอง
    - เมื่อมีการประสานงานกับทุกเครือข่ายในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกับภัยพิบัติแล้ว... ในแต่ละชุมชนจะได้สามารถมีการซักซ้อมเตรียมความพร้อมกับการรับมือ หรือหนีภัยเหล่านั้นด้วยกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของการอยู่รอดปลอดภัยร่วมกัน


    ต. ที่ ๒ : ตั้งมั่น

    - เมื่อมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการรับมือกับภัยต่าง ๆ แล้ว... ทุกคนจะมีสติ และรู้ว่าต้องทำอย่างไรบ้างเมื่ออยู่ในสถานการณ์เหล่านั้น... จะสามารถทราบถึงวิธีการเตรียมพร้อม – รับมือ อย่างเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน
    - เมื่อเกิดภัยขึ้นมา... เพราะผลจากที่มีการฝึกซ้อมรับมือกับภัยในสภาวการณ์ต่าง ๆ แต่ละคนจะทราบถึงหน้าที่ของตนเองว่าจะต้องทำอะไรบ้าง จะต้องช่วยตัวเองและผู้อื่นอย่างไรบ้าง เช่น ผู้ที่ฝึกซ้อมมาทางด้านการปฐมพยาบาลก็จะไปคอยช่วยดูแลผู้ประสบภัย ผู้ที่ฝึกซ้อมมาทางด้านการอำนวยความสะดวก ก็จะสามารถช่วยดูแลความเรียบร้อยให้กับผู้เดือดร้อนคนอื่น ๆ ได้ เป็นต้น
    - ในยามที่ความช่วยเหลือจากภายนอกยังไม่สามารถเข้าไปถึงท้องที่ที่ประสบภัยได้ ชุมชนนั้น ๆ ก็ยังสามารถที่จะช่วยเหลือตัวเองกันได้ในระดับหนึ่ง ในสถานที่ปลอดภัยนั้น... จะมีอาหาร น้ำดื่ม ของใช้จำเป็น ยารักษาโรค พอเพียงกับความต้องการของชุมชนจนกว่าความช่วยเหลือจากภายนอกจะไปถึง ความช่วยเหลือเบื้องต้นของคนในชุมชนนั้นเองจะทำให้มีผู้รอดชีวิต มากขึ้น มีความสูญเสียน้อยลง


    ต. ที่ ๓ : ต่อเนื่อง

    - การเตรียมความพร้อมกับสถานการณ์ภัยธรรมชาติต่าง ๆ ควรมีการประสานงานกันอย่างจริงจังทั้งจากคนภายในชุมชน และกับภายนอกไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานจากภาครัฐบาล และเอกชน... อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะไม่เกิดเหตุภัยธรรมชาติใด ๆ เลย การประสานงาน และความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ก็สามารถทำให้ชุมชนนั้น ๆ มีความปลอดภัย มั่นคงในระดับที่สูงขึ้นมากกว่าการอยู่อย่างไม่มีการเตรียมความพร้อมใด ๆ เลย... เพราะการเตรียมความพร้อม คือความไม่ประมาท
    - ถ้ามีการเตรียมความพร้อมอย่างต่อเนื่อง ชุมชนนั้นก็จะได้ชื่อว่าเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง และภูมิความรู้ต่าง ๆ ที่มีการอบรมฝึกฝนอยู่เป็นประจำก็จะไม่สูญหายไปไหนและพร้อมที่จะนำกลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา และถ้าชุมชนใดมีการจัดการที่มีระบบระเบียบ คนส่วนใหญ่ของชุมชนให้ความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ก็สามารถพัฒนาเป็นชุมชนตัวอย่าง... เป็นแม่แบบให้ชุมชนอื่น ๆ มาเรียนรู้งานได้สืบไปอีกด้วย
    - อีกวิธีการหนึ่งที่เป็นวิธีการเตรียมความพร้อมอย่างยั่งยืน คือ การนำโครงการ “เศรษฐกิจพอเพียง” “โครงการตามแนวพระราชดำริต่าง ๆ” มาใช้ในแต่ละชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จนถึงจังหวัด... เพราะโครงการในพระราชดำริล้วนเป็นโครงการที่ปรับความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเข้าหากัน เป็นการรักษาสมดุลของธรรมชาติควบคู่ไปกับการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงของชุมชน ไม่มีใครทำร้ายใคร<!-- google_ad_section_end -->
     
  14. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    สถานที่สำหรับการจัดงานสัมมนา

    : วัด ซึ่งมีขนาดเนื้อที่ใหญ่พอที่จะรองรับผู้คนและจำนวนรถได้จำนวนมาก และมีเครื่องอำนวยความสะดวกพื้นฐาน เช่น ห้องน้ำ อุปกรณ์เครื่องเสียงต่าง ๆ เป็นต้น อีกทั้งสะดวกสำหรับรถรับจ้างหรือรถประจำทางสาธารณะ ที่จะผ่านเป็นปกติอยู่แล้ว เพื่อสะดวกต่อการเดินทางของผู้เข้าร่วมงานสัมมนา

    สถานที่พักตอนกลางคืนสำหรับผู้เข้าร่วมงานสัมมนา

    : ผู้ที่จะเข้าร่วมงานสัมมนาให้นำเต็นท์ หรือถุงนอนมาด้วย เพราะสามารถพักในวัดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ (แต่ถ้าสถานที่ที่จะใช้จัดงานสัมมนาไม่ใช่วัด... จะมีการติดต่อประสานงาน ขอความอนุเคราะห์จากสถานที่นั้น ๆ หรือ อาจมีการติดต่อประสานงานไปยังวัดที่อยู่ใกล้เคียง ขอให้ใช้เป็นสถานที่พักผ่อนยามค่ำคืนแก่ผู้ร่วมงานสัมมนา)

    สิ่งของหรือเอกสารที่จะแจกให้กับผู้เข้าร่วมงานสัมมนา มีอาทิเช่น (อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมต่อไป)
    ๑. ตารางยาหลักแห่งชาติ ทั้งที่เป็นยาสมุนไพร และยาสามัญประจำบ้าน
    ๒. คู่มือการปฐมพยาบาลตัวเองเบื้องต้น
    ๓. สรุปคู่มือการเอาตัวรอดจากภัยในรูปแบบต่าง ๆ
    ๔. สำเนาแผนที่ดาวเทียมบอกตำแหน่งที่เสี่ยงต่อภัย และจุดที่ปลอดภัยของแต่ละภูมิภาค
    ๕. ฯลฯ


    ติดต่อสอบถาม

    ๑. โทรสอบถามข้อมูลรายละเอียดได้ที่ : ๐๘๙-๕๑๑-๙๙๐๕(ธร), ๐๘๙-๗๗๓-๕๗๙๓(ธร), ๐๘๔-๘๙๑-๕๓๙๕(นัฒ), ๐๘๗-๕๖๓-๐๘๐๖(ตุ้ย), ๐๘๙-๒๘๖-๐๓๓๓(มิ้ง), ๐๘๑-๗๒๑-๕๗๘๓(ตุ๊ก), ๐๘๗-๐๒๖-๑๑๔๖(นิก)

    ๒. ติดต่อที่ : ตู้ปณ. ๖ ปณ.หลักสี่ กทม. ๑๐๒๑๐

    ๓. ส่งโทรสารมาที่ : ๐๒-๙๐๓-๐๐๘๐ กดต่อ ๖๕๙๗ ; ๐๒-๗๙๐-๑๐๙๒

    ๔. ติดต่อผ่านทาง : seminar5regions@hotmail.com, seminar5regions@gmail.com

    ๕. หรือดูข้อมูลในเฟซบุ๊ค Seminar Fiveregions | Facebook
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  15. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    [​IMG]
     
  16. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    หมายกำหนดการ ภูมิภาคที่ ๑ : ภาคกลางและภาคตะวันตก
    (ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๘ กันยายน ๒๕๕๔)
    ณ วัดหนองหญ้าปล้อง ต.จรเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี คลิก




    การเดินทางไปวัดหนองหญ้าปล้อง

    รถบัส
    นั่งรถทัวร์จาก กทม.ไปลงที่ บขส.เมืองกาญฯ จะมีรถบัส สายกาญจนบุรี-วัดหนองหญ้าปล้อง อยู่แต่จะออกจากท่าเวลา 11.00 น. ของทุกวัน
    ถ้าไปไม่ทัน 11.00 น.ก็ให้นั่งรถสองแถวสายด่านมะขามเตี้ย โดยให้ไปลงสุดสา แล้วนั่งวินมอเตอร์ไซด์ต่อเข้าวัด

    รถส่วนตัว
    ออกจากตัวเมืองกาญจนบุรี ไปตามเส้นทางสาย ๓๒๓ จนถึงทางแยกบ้านเก่า เลี้ยวซ้ายไปทางบ้านเก่า วิ่งไปเรื่อย ๆ จนเห็นป้ายชี้ทางไปค่ายไทรโยค เลี้ยวขวาตรงนั้น วิ่งเลยทางเข้าค่ายไทรโยคไป จะเป็นสี่แยกลำทหาร วิ่งตรงไปก่อน จนเห็นซ้ายมือมีทางเข้าวัดลำทหาร เลี้ยวซ้ายตรงนั้น วิ่งเลยวัดลำทหารไปประมาณ ๕ ก.ม. จะเห็นวัดหนองหญ้าปล้องอยู่ทางขวามือ

    แผนที่เส้นทางจากตัวเมืองกาญจนบุรีเข้าด่านมะขามเตี้ยไปวัด Downloads

    รถตู้
    ลงรถที่สถานีขนส่งกาญจนบุรี แล้วต่อสองแถวด่านมะขามเตี้ย ลงสุดป้ายที่รถวิ่งจะถึงวัดกำแพงดิน จากตรงวัดกำแพงดิน จะมีรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างไปลงที่วัดหนองหญ้าปล้อง
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  17. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    รายละเอียดของการจัดงานสัมมนา “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ”

    - ลักษณะการจัด : จัดเป็นงานสัมมนา ๕ ภูมิภาค อันได้แก่

    - ภาคเหนือ - ภาคกลางและภาคตะวันตก
    - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - ภาคตะวันออก
    - ภาคใต้

    - ค่าเข้าร่วมงานสัมมนา : ไม่คิดค่าใช้จ่าย

    - จำนวนผู้เข้าร่วมงานสัมมนาในแต่ละภูมิภาค : อย่างน้อยภูมิภาคละ ๑,๐๐๐ คน

    - ระยะเวลาที่จัดงานสัมมนาในแต่ละภูมิภาค : ๒ วัน (เสาร์ – อาทิตย์)

    - วันที่จะมีการจัดงานสัมมนา
    : จะแยกเป็นภูมิภาคดังนี้

    - ภาคกลางและภาคตะวันตก (วันเสาร์ที่ ๑๗ และ วันอาทิตย์ที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๔)
    - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วันเสาร์ที่ ๒๙ และ วันอาทิตย์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๔)
    - ภาคใต้ (วันเสาร์ที่ ๑๙ และ วันอาทิตย์ที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔)
    - ภาคเหนือ (วันเสาร์ที่ ๐๓ และ วันอาทิตย์ที่ ๐๔ ธันวาคม ๒๕๕๔)
    - ภาคตะวันออก (วันเสาร์ที่ ๑๗ และ วันอาทิตย์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๔)

    - สถานที่พักตอนกลางคืนสำหรับผู้เข้าร่วมงานสัมมนา

    : จะมีการประกาศให้ผู้ที่จะเข้าร่วมงานสัมมนาให้นำเต็นท์ หรือถุงนอนมาด้วย เพราะสามารถพักในวัดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ (แต่ถ้าสถานที่ที่จะใช้จัดงานสัมมนาไม่ใช่วัด... จะมีการติดต่อประสานงาน ขอความอนุเคราะห์จากสถานที่นั้น ๆ หรือ อาจมีการติดต่อประสานงานไปยังวัดที่อยู่ใกล้เคียง ขอให้ใช้เป็นสถานที่พักผ่อนยามค่ำคืนแก่ผู้ร่วมงานสัมมนา)

    - สถานที่สำหรับการจัดงานสัมมนา

    : วัด ซึ่งมีขนาดเนื้อที่ใหญ่พอที่จะรองรับผู้คนและจำนวนรถได้จำนวนมาก และมีเครื่องอำนวยความสะดวกพื้นฐาน เช่น ห้องน้ำ อุปกรณ์เครื่องเสียงต่าง ๆ เป็นต้น อีกทั้งสะดวกสำหรับรถรับจ้างหรือรถประจำทางสาธารณะ ที่จะผ่านเป็นปกติอยู่แล้ว เพื่อสะดวกต่อการเดินทางของผู้เข้าร่วมงานสัมมนา

    : หอประชุม หรือสถานที่ใดก็ตามที่มีเนื้อที่กว้างขวางพอที่จะรองรับจำนวนผู้คนที่จะเข้าร่วมงานสัมมนา มีเครื่องอำนวยความสะดวกพื้นฐานที่จำเป็น... และที่สำคัญไม่คิดค่าบริการใดๆ เป็นการอนุเคราะห์ให้ความช่วยเหลือทางด้านสาธารณะประโยชน์


    สำหรับสถานที่ที่หาได้แล้วในตอนนี้จะแยกเป็นภูมิภาคได้ดังนี้ :

    - ภาคกลางและภาคตะวันตก
    วัดหนองหญ้าปล้อง ต. .จรเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี ๗๑๒๖๐
    - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    วัดพุทธโมกข์ ท่าแร่ อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร ๔๗๒๓๐
    - ภาคใต้
    วัดคลองวาฬ (พระอารามหลวง) ต.คลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ๗๗๐๐๐
    - ภาคเหนือ
    วัดพระธาตุห้าดวง ต.ลี้ อ.ลี้ จ.ลำพูน ๕๑๑๑๐
    - ภาคตะวันออก
    วัดราษฎร์ศรัทธา (ท้ายดอน) ต.เหมือง อ.เมือง จ.ชลบุรี ๒๐๑๓๐

    - สถานที่จอดรถ : ตามที่ทางวัดกำหนด แต่จะมีการกันที่ให้กับวิทยากร เจ้าภาพ และแขกพิเศษไว้จำนวนหนึ่ง (แต่สำหรับผู้ติดตามวิทยากร และแขกพิเศษต้องจอดร่วมกับผู้เข้าร่วมงานสัมมนา)
    จะมีการประกาศแจ้งให้ผู้เข้าร่วมงานสัมมนามาร่วมงานโดยการใช้รถรับจ้างสาธารณะด้วย

    - อาหาร : อาหารว่าง ๒ มื้อ – อาหารกลางวัน ๑ มื้อ ต่อ ๑ วัน โดยถ้าทางสถานที่ที่จะใช้จัดงานยอมรับ ก็สามารถที่จะประกาศหาผู้ร่วมอนุเคราะห์มาจัดตั้งโรงทานได้ในส่วนหนึ่ง และในอีกส่วนหนึ่งสามารถหาผู้สนับสนุน เป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดงานสัมมนานี้ได้เช่นกัน

    - สามารถเข้าร่วมงานได้โดย

    ๑. โทรสอบถามข้อมูลรายละเอียดได้ที่ : ๐๘๙-๕๑๑-๙๙๐๕(ธร), ๐๘๙-๗๗๓-๕๗๙๓(ธร), ๐๘๔-๘๙๑-๕๓๙๕(นัฒ), ๐๘๗-๕๖๓-๐๘๐๖(ตุ้ย), ๐๘๙-๒๘๖-๐๓๓๓(มิ้ง), ๐๘๑-๗๒๑-๕๗๘๓(ตุ๊ก), ๐๘๗-๐๒๖-๑๑๔๖(นิก)

    ๒. ติดต่อที่ : ตู้ปณ. ๖ ปณ.หลักสี่ กทม. ๑๐๒๑๐

    ๓. ส่งโทรสารมาที่ : ๐๒-๙๐๓-๐๐๘๐ กดต่อ ๖๕๙๗ ; ๐๒-๗๙๐-๑๐๙๒

    ๔. ติดต่อผ่านทาง : seminar5regions@hotmail.com, seminar5regions@gmail.com

    ๕. หรือดูข้อมูลในเฟซบุ๊ค ชื่อ Seminar Fiveregions ที่ Seminar Fiveregions | Facebook


    - หมายเหตุ :

    อนึ่ง การจัดงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ต้องการให้มีผู้ได้รับทราบข้อมูลความรู้และวิธีการเตรียมความพร้อมเพื่อการรับมือกับภัยพิบัติให้ได้มากที่สุด เพื่อให้มีผู้ประสบกับความเดือดร้อน และสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินให้น้อยที่สุด ในขณะเดียวกันก็เป็นการย้ำเตือนให้ชุมชนในแต่ละภูมิภาคเกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน เพื่อที่จะได้ช่วยกันปกป้อง รักษาชุมชนของตนเองให้เข้มแข็งสืบไป

    นอกจากนั้นทางคณะผู้จัดงานเห็นว่าการจัดงานสัมมนา ๕ ภูมิภาคในครั้งนี้เป็นนิมิตหมายที่พิเศษที่บ่งบอกถึงความสมัครสมานสามัคคีของคนในประเทศชาติของเรา อีกทั้งมิใช่จะเป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายนักที่พวกเราจะสามารถสร้างมหากุศลผลบุญทั้งในเรื่องทางโลกและทางธรรมไปพร้อม ๆ กันได้เช่นนี้
    จึงได้ดำริให้มีการน้อมถวายพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปพร้อมเครื่องประดับองค์พระ ชุดหนังสือพระไตรปิฎก และชุดมหาสังฆทาน ไว้ที่วัดในแต่ละภูมิภาคที่เป็นสถานที่จัดงานสัมมนา เพื่อให้ทุกท่านในงานได้ร่วมถวายพร้อมกัน เพื่อให้เกิดมหาผลานิสงส์ในการที่จะร่วมกันอธิษฐานจิต เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของประเทศชาติ

    ๑. เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา
    ๒. เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ทุก ๆ พระองค์
    ๓. เพื่อประโยชน์สุขแก่ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า

    สิ่งของหรือเอกสารที่จะแจกให้กับผู้เข้าร่วมงานสัมมนา มีอาทิเช่น (อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมต่อไป)
    ๑. ตารางยาหลักแห่งชาติ ทั้งที่เป็นยาสมุนไพร และยาสามัญประจำบ้าน
    ๒. คู่มือการปฐมพยาบาลตัวเองเบื้องต้น
    ๓. สรุปคู่มือการเอาตัวรอดจากภัยในรูปแบบต่าง ๆ
    ๔. สำเนาแผนที่ดาวเทียมบอกตำแหน่งที่เสี่ยงต่อภัย และจุดที่ปลอดภัยของแต่ละภูมิภาค
    ๕. ฯลฯ
     
  18. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    โมทนา สาธุครับ กับคุณธรและทีมงานครับ ในการจัดงานครั้งนี้
     
  19. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    กำหนดงานสัมมนา “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ”
    ภูมิภาคที่ ๑ : ภาคกลางและภาคตะวันตก

    (ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๘ กันยายน ๒๕๕๔)

    ณ วัดหนองหญ้าปล้อง ต.จรเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี

    ------------------------------------

    วันเสาร์ที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๔

    ๐๗.๐๐ น. ถวายอาหารเช้าพระร่วมกัน

    ๐๘.๐๐ – ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน

    ๐๙.๐๐ – ๐๙.๓๐ น. - ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ณฐพลษ์ วิเชียรเพริศ ประธานกล่าวเปิดงาน

    - มอบของที่ระลึกแด่ประธาน และวิทยากรทุกท่านที่พูดในวันนี้

    ๐๙.๓๐ – ๑๐.๑๕ น. - ช่วง “รู้.... จักภัย”

    - “ภัยธรรมชาติที่ไม่อาจมองผ่าน”
    โดย พลเรือเอกเกาะหลัก เจริญรุกข์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
    (ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ)

    - “๑๘ กลุ่มภัยที่มีอยู่ในประเทศไทย”
    โดย อธิบดีวิบูลย์ สงวนพงศ์ (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)

    - “ภาพรวมของลักษณะอากาศที่ส่งผลให้เกิดภัยธรรมชาติ”
    โดย อธิบดีต่อศักดิ์ วานิชขจร (กรมอุตุนิยมวิทยา)

    - “การใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ”

    โดย คุณสุรัสวดี ภูมิพานิช นักภูมิสารสนเทศ
    (สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยี่อวกาศและภูมิสารสนเทศ)

    - “รู้.... จักภัย”
    โดย สมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยฯ
     
  20. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    กำหนดงานสัมมนา “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ”

    ภูมิภาคที่ ๑ : ภาคกลางและภาคตะวันตก

    (ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๘ กันยายน ๒๕๕๔)

    ณ วัดหนองหญ้าปล้อง ต.จรเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี

    ------------------------------------

    วันเสาร์ที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๔ (ต่อ)

    ๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. - ช่วง “รู้.... การเตรียมตัว”

    - “รู้ว่าภัยจะมา มีเวลาเตรียมตัว
    โดย พลตรีถาวร เจริญดี ผู้เชี่ยวชาญพิเศษฯ
    (ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ)

    - “เตรียมตัวเพื่อความปลอดภัย เตรียมใจให้มีสติ
    โดย พลตรีถาวร เจริญดี ผู้เชี่ยวชาญพิเศษฯ
    (ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ)

    - “การบริหารจัดการ-ความร่วมมือ-แผนปฏิบัติการเมื่อมีภัย
    โดย อธิบดีวิบูลย์ สงวนพงศ์ (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)

    - “แผ่นดินไหว”
    โดย ผู้อำนวยการภูเวียง ประคำมินทร์
    (ส่วนวิจัยและพัฒนาแผ่นดินไหวและสึนามิ กรมอุตุนิยมวิทยา)

    - “พยากรณ์อากาศ”
    โดย ผู้อำนวยการประวิทย์ แจ่มปัญญา
    (ผู้อำนวยการส่วนพยากรณ์อากาศกลาง กรมอุตุนิยมวิทยา)

    - “รู้.... การเตรียมตัว”
    โดย สมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยฯ
    ๑๕.๐๐ – ๑๕.๑๕ น. พักรับประทานอาหารว่าง
     

แชร์หน้านี้

Loading...