การเดินจับลมหายใจ

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย tamsak, 10 ตุลาคม 2011.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. tamsak

    tamsak ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    7,857
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +161,171
    ถาม : ถามเรื่องการทำงานของจิตครับ ลักษณะการเดินแล้วจับลมหายใจ เมื่อทำไปถึงจุดหนึ่งแล้วจะรู้สึกว่า เราปล่อยให้ร่างกายเดินก็สามารถจับลมหายใจ แล้วก็ดูว่าร่างกายเคลื่อนไหวอย่างไร แบบนี้ถูกหรือเปล่าครับ ?

    ตอบ : ใช้ได้แล้ว ถ้าหากรู้ลมสามฐานพร้อมกับกำหนดร่างกายให้เดินได้ แสดงว่าถูกทางแน่นอน

    แต่ถ้ารู้ลมครบสามฐานร่างกายเดินไม่ได้ต้องไปหัดใหม่อีกเยอะ เพราะการรู้ลมสามฐาน จิตจะเริ่มเป็นฌาน พอเริ่มเป็นฌานจิตกับประสาทร่างกายจะเริ่มแยกออกจากกัน ใหม่ๆ จะก้าวเดินไม่ออก จะติดอยู่แค่นั้น

    อาตมาเคยให้พระรุ่นน้องไปทำมาหลายรูป ท่านโวยวายว่าถูกหลอกเพราะเดินไม่ได้ ความจริงไม่ได้หลอก ฝีมือท่านไม่ถึงเอง

    ถาม : เราต้องกำหนดลมหายใจมากกว่าร่างกาย ?

    ตอบ : กำหนดอย่างไรก็ได้ จะกำหนดความรู้สึกอยู่ที่ร่างกายก็ได้ หรือจะกำหนดความรู้สึกอยู่ที่ลมหายใจก็ได้

    แต่สติต้องรู้อยู่ตลอดว่าตอนนี้ร่างกายเคลื่อนไหวอย่างไร ลมหายใจเข้าออก แรง เบา ยาว สั้น อย่างไร ส่วนการกำหนดขึ้นอยู่ว่าเราจะแบ่งความรู้สึกส่วนไหนมากกว่า ส่วนไหนน้อยกว่า อยู่ที่เรากำหนดเอง


    สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕


    ที่มา : http://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=2944


    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2011
  2. phak

    phak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    473
    ค่าพลัง:
    +458
    Anumo...tana...satu...naka.:cool:
     
  3. ซน

    ซน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +91
    ตรงนี้คือ.........

    แต่สติต้องรู้อยู่ตลอดว่าตอนนี้ร่างกายเคลื่อนไหวอย่างไร ลมหายใจเข้าออก แรง เบา ยาว สั้น อย่างไร ส่วนการกำหนดขึ้นอยู่ว่าเราจะแบ่งความรู้สึกส่วนไหนมากกว่า ส่วนไหนน้อยกว่า อยู่ที่เรากำหนดเอง

    ตรงนี้เรียก อานาปานสติ 16 ขั้น เปรียบเสมือนการยกจิต ขึ้นเป็นวิปัสสนา

    การกำหนดที่ต้นจิตนั้น ไม่ใช่ว่า เราจะแบ่งความรู้สึกว่า ส่วนไหนมากกว่ากัน

    ** ต้องดูที่ ต้นจิต ว่า มัน........ยังไง ขณะนั้น ไม่อย่างนั้นแล้ว เขาจะเรียกว่า ดูจิต ดูใจเหรอท่าน

    ** ไม่อยากนั้น เขาก้อเรียกว่า ตามจิต ตามใจสิ ท่าน..........


    ** ไม่ต้องไปแบ่งว่า อะไรมากกว่าหรือน้อยกว่า ดูที่ต้นจิต อารายที่มันปรากฎชัดในขณะนั้น ก้อกำหนดที่อันนั้นนะ ท่าน.......นะ


    ** ไม่อยากนั้น หากท่าน ทำแบบนี้ หรือ สอน แบบนี้ ก้อไม่ต่างจาก วิปัสสนึก นะ ท่านนะ


     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...