เว็บพลังจิต ประมวลภาพเยือนภูทอก ทอดผ้าป่าวัดป่าเมืองอีสาน 10-12 ธ.ค.54 P.20

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย ญ.ผู้หญิง, 28 กรกฎาคม 2011.

  1. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ยังไม่ทราบเลยค่ะ เพราะปีหน้าแพลนงานบุญหญิงเต็มยาวตั้งแ่ต่ ๓ เดือนแรกค่ะ

    รับทราบและดำเนินการให้ตามที่แจ้งมาแล้ว ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงค่ะ

    รับทราบและขอบคุณค่ะพี่มา

    ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงค่ะ

    รับทราบและปรับปรุงรายชื่อให้แล้วค่ะ
     
  2. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    วันนี้ (๒๔ พ.ย.) ได้รับแจ้งจากคุณพีระสันห์-สมจิตร พิทักษ์ และครอบครัว ขอร่วมบุญผ้าป่าสามัคคี จำนวน ๕๐๐ บาท

    ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูง
     
  3. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    โอนเงิน3000 บาท แล้วนะคะพี่หญิง ^^
     
  4. HeartofDragon

    HeartofDragon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +285
    พี่นิด โอนค่าทริปภูทอก 10-12 ธ.ค. 2554 ในรายละเอียดตาม PM ค่ะ
     
  5. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    พิธีการ และอานิสงส์การทอดผ้าป่า

    พิธีการทอดผ้าป่า

    [​IMG][​IMG]


    ประเพณีการทอดผ้าป่า

    การทอดผ้าป่า เป็นประเพณีการทำบุญอีกอย่างหนึ่งของพุทธศาสนิกชน คล้ายกับการทอดกฐิน แต่ไม่มีกำหนดระยะเวลาจํากัด คือสามารถทำได้ทุกฤดูกาล ไม่จำกัดเวลา คือทำได้ตลอดทั้งปี และวัดหนึ่ง ๆ ในแต่ละปีจะจัดให้มีการทอดผ้าป่ากี่ครั้งก็ได้เช่นกัน ผู้ปรารถนาจะทำเมื่อไรย่อมทำได้ตามกำลังศรัทธา ซึ่งอาจจะผสมผสานหรือผนวกเข้ากับเทศกาลประเพณีประจำท้องถิ่นอื่น ๆ ก็ได้ อีกทั้ง ยังไม่เจาะจงเกี่ยวกับพระภิกษุที่จะรับผ้าป่าแต่อย่างใด

    ผ้าป่าคืออะไร?
    คำว่า “ผ้าป่า” มีชื่อเรียกตามภาษาบาลีว่า “ปังสุกุละ” ภาษาไทยใช้คำว่า “บังสุกุล” หมายถึง ผ้าที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน หรือผ้าที่ประชาชนเขาไม่ใช้แล้วนำไปทิ้งที่กองขยะ หรือผ้าที่เขาใช้ห่อศพแล้วนำไปทิ้งไว้ในป่าช้า พระภิกษุที่ต้องการผ้ามาทำจีวรผลัดเปลี่ยน ก็ต้องไปหาผ้าบังสุกุล พอพบแล้วท่านก็จะชักผ้าบังสุกุลนั้นว่า “อิมัง ปังสุกุละจีวะรัง อัสสามิกัง มัยหัง ปาปุณาติ” แปลว่า “ผ้าบังสุกุลผืนนี้เป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน ย่อมตกเป็นของข้าพเจ้า” แล้วนำผ้านั้นมาซัก ตัด เย็บ ย้อมทำเป็นจีวร เรียกว่า “บังสุกุลจีวร”

    ผ้าป่าหรือผ้าบังสุกุล มี ๑๐ ประเภท ได้แก่
    ผ้าที่ตกที่ป่าช้า ๑
    ผ้าที่ตกที่ตลาด ๑
    ผ้าที่หนูกัด ๑
    ผ้าที่ปลวกกัด ๑
    ผ้าที่ถูกไฟไหม้ ๑
    ผ้าที่วัวกัด ๑
    ผ้าที่แพะกัด ๑
    ผ้าห่มสถูป ๑
    ผ้าที่เขาทิ้งในที่อภิเษก ๑
    ผ้าที่เขานำไปสู่ป่าช้าแล้วนำกลับมา ๑

    ประวัติความเป็นมา
    ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดายังมิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลายรับ คฤหบดีจีวร คือจีวรที่ชาวบ้านถวายโดยเฉพาะ พระภิกษุเหล่านั้นจึงต้องเที่ยวเก็บผ้าบังสุกุลที่เขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ที่ชาวบ้านไม่ต้องการนำมาทิ้งไว้ ผ้าห่อศพ ฯลฯ เมื่อรวบรวมผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยพอแก่ความต้องการแล้ว จึงนำมาซักทำความสะอาด ตัด เย็บ ย้อม เพื่อทำเป็นจีวร สบง หรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง ทั้งนี้ การทำจีวรของพระภิกษุในสมัยพุทธกาล ค่อนข้างยุ่งยากและเป็นงานใหญ่ ดังที่กล่าวไว้แล้วในเรื่องพิธีทอดกฐิน

    ภายหลังที่มีพระพุทธานุญาตให้พระสงฆ์อุปสมบทแก่กุลบุตรกุลธิดา ที่มีศรัทธาปสาทะจะปฏิบัติพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนานี้เพื่อการพ้นทุกข์ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระภิกษุผู้ให้อุปสมบท บอกนิสสัย ๔ (คือปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต มี ๔ อย่าง) แก่ผู้ขออุปสมบท ที่เกี่ยวกับผ้าบังสุกุลนี้อยู่ในข้อที่ ๒ ดังนี้

    ๒. บรรพชาอาศัยบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะในข้อนั้นจนตลอดชีวิต อดิเรกลาภ คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าเจือกัน (เช่นผ้าด้ายแกมไหม)

    ฉะนั้น จึงเห็นได้ว่าพระสงฆ์ย่อมต้องอาศัยผ้าบังสุกุลเพื่อใช้นุ่งห่มจนตลอดชีวิต ผ้าบังสุกุลจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพระสงฆ์ ในสมัยพุทธกาลก็มีการทอดผ้าบังสุกุล ผู้ทอดผ้าบังสุกุลเป็นเทพธิดาองค์หนึ่ง ความปรากฏในธัมมปทัฏฐกถา ดังนี้ ในวันหนึ่ง พระเทพธิดาถวายผ้าแก่พระอนุรุทธเถระ ผู้มีจีวรเก่าแล้วและเที่ยวแสวงหาจีวรในที่ทั้งหลาย มีกองหยากเยื่อเป็นต้น หญิงภรรยาเก่าของพระเถระนั้นในอัตภาพที่ ๓ แต่อัตภาพนี้ได้เกิดเป็นเทพธิดาชื่อ ชาลีนี ในดาวดึงส์ภพ นางชาลินีเทพธิดานั้น เห็นพระเถระเที่ยวแสวงหาท่อนผ้าอยู่ จึงถือผ้าทิพย์ ๓ ผืน ยาว ๑๓ ศอก กว้าง ๔ ศอก แล้วคิดว่า “ถ้าเราจักถวายโดยทำนองนี้ พระเถระจักไม่รับ” จึงวางผ้าไว้บนกองหยากเยื่อแห่งหนึ่งข้างหน้าของพระเถระนั้น ผู้แสวงหาท่อนผ้าทั้งหลายอยู่ โดยอาการที่เพียงชายผ้าเท่านั้นจะปรากฏได้ พระเถระเที่ยวแสวงหาท่อนผ้าอยู่โดยทางนั้น เห็นชายผ้าของท่อนผ้าเหล่านั้นแล้ว จึงจับที่ชายผ้านั้นนั่นแลฉุดมาอยู่ เห็นผ้าทิพย์มีประมาณดังกล่าวแล้ว ถือเอาด้วยคิดว่า “ผ้านี้เป็นผ้าบังสุกุลอย่างอุกฤษฏ์หนอ” ดังนี้แล้วหลีกไป

    ต่อมา ครั้นชาวบ้านที่มีจิตศรัทธาทั้งหลายเห็นความยากลำบากของพระภิกษุสงฆ์ ต้องการจะนำผ้ามาถวาย แต่เมื่อยังไม่มีพุทธานุญาตโดยตรง จึงนำผ้าอันสมควรแก่สมณบริโภค ไปทอดทิ้งไว้ ณ ที่ต่าง ๆ เช่น ตามป่า ป่าช้า หรือข้างทางเดิน หรือแขวนไว้ตามกิ่งไม้ เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์สะดวกในการแสวงหาผ้าบังสุกุล เมื่อพระภิกษุสงฆ์มาพบ เห็นว่าเป็นผ้าที่ผู้เป็นเจ้าของทอดอาลัยแล้ว ก็นำเอามาทำเป็นผ้าจีวร ด้วยเหตุนี้กระมังจึงเรียกผ้าในลักษณะนี้ว่า “ผ้าป่า” (ผ้าที่ชาวบ้านนำไปทิ้งไว้ที่ป่าช้าหรือผ้าที่ห่อศพอยู่ในป่าช้า)

    แม้ในการทำบุญงานศพ ยังนิยมเอาผ้าไปทอดที่หีบศพ เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ชักผ้านั้น เรียกว่า ชักผ้าบังสุกุล ถ้าหากมีการทอดผ้าจำนวนมาก ก็ยังนิยมเอาสายสิญจน์ผูกที่หีบศพ และยังโยงสายสิญจน์นั้นมาวางที่หน้าพระภิกษุสงฆ์ และทอดผ้าไว้บนสายสิญจน์เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ชักผ้านั้น ก็เรียกว่าชักผ้าบังสุกุล

    ครั้นพระพุทธศาสนาแพร่หลายมากขึ้น หมอชีวกโกมารภัจ ซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชนที่สำคัญและเคร่งครัดมากผู้หนึ่ง ท่านเป็นทั้งหมอหลวงประจำราชสำนักของพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าแผ่นดินแห่งมคธรัฐ และเป็นหมอที่เคยถวายการรักษาพระพุทธเจ้าและพระสาวก ครั้งหนึ่ง หลังจากที่รักษาอาการประชวรของพระเจ้าจัณฑปัชโชต แห่งกรุงอุชเชนี แคว้นอวันตี จนหายเป็นปกติดีแล้ว ได้รับพระราชทานรางวัลเป็นผ้าเนื้อสีทองอย่างดีสองผืน จากแคว้นกาสี ซึ่งเป็นผ้าเนื้อละเอียดมาก คนธรรมดาไม่มีโอกาสได้ใช้ผ้าเช่นนี้นอกจากพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น แต่ท่านหมอคิดว่า ผ้าเนื้อดีอย่างนี้ไม่สมควรที่ตนจะใช้สอย เป็นของสมควรแก่พระบรมศาสดาหรือพระมหา กษัตริย์ จึงได้น้อมนำผ้านั้นไปถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ก่อนที่จะถวายได้กราบทูลขอพรว่า “ขอให้ภิกษุรับคฤหบดีจีวรได้” พระพุทธองค์ประทานอนุญาตให้ตามที่ขอ

    การที่หมอชีวกโกมารภัจได้พิจารณาเรื่องจีวรของพระภิกษุแล้ว กราบทูลขอพรเช่นนั้น ก็เพราะแต่ก่อนนั้นพระภิกษุใช้สอยแต่ผ้าบังสุกุล จะไม่รับผ้าที่ชาวบ้านถวาย ท่านหมอเห็นความลำบากของพระภิกษุสงฆ์ในเรื่องนี้ จึงกราบทูลขอพร และได้เป็นผู้ถวายเป็นคนแรก แม้พระพุทธองค์จะทรงอนุญาตตามที่หมอชีวกโก มาร ภัจ กราบทูลขอ แต่ก็ยังมีพุทธดำรัสตรัสว่า “ถ้าภิกษุปรารถนาจะถือผ้าบังสุกุลก็ให้ถือ ปรารถนาจะรับคฤหบดีรจีวรก็ให้รับ” และได้ตรัสสรรเสริญความสันโดษคือความยินดีตามมีตามได้ พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา และอนุโมทนาบุญแก่หมอชีวกโกมารภัจ ผู้ถวายผ้านั้น เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว หมอชีวกโกมารภัจ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรมดำรงอยู่ในอริยภูมิคือ พระโสดาบัน

    ดังนั้น การนำผ้าไปทอดไว้ในป่าอย่างแต่ก่อน จึงค่อย ๆ เปลี่ยนมาเป็นการนำผ้าป่าที่มีลักษณะดีกว่าไปถวายโดยตรง หรือถ้ายังประสงค์จะรักษาประเพณีทอดผ้าป่า หรือประเพณีที่ให้พระภิกษุถือเอาเฉพาะผ้าบังสุกุลไว้ด้วย ก็นำไปทอดไว้ใกล้ๆ สถานที่ที่พระภิกษุอาศัยอยู่ เช่น วัดวาอาราม จนกระทั่งกลายมาเป็นประเพณีนำผ้าสำเร็จรูป เป็นสังฆาฏิ จีวร สบง ผืนใดผืนหนึ่ง หรือทั้งสามผืน ที่เรียกว่าไตรจีวร พร้อมด้วยเครื่องบริวารไปทอดเป็นการกุศลสืบเนื่องต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ พิธีการทอดผ้าป่าก็มีความเป็นมาด้วยประการละฉะนี้

    สำหรับในเมืองไทย พิธีทอดผ้าป่าได้รับการรื้อฟื้นขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวรัชกาลที่ ๔ ด้วยทรงพระประสงค์จะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีในทางพระศาสนา

    ประเภทของผ้าป่า
    ความจริงแล้ว การทอดผ้าป่ามีอยู่อย่างเดียวคือ การนำผ้าไปทิ้งไว้ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ในปัจจุบันนิยมทำในรูปแบบต่าง ๆ แตกต่างกันไป จึงมีชื่อเรียกเป็น ๓ อย่าง คือ
    ๑. ผ้าป่าหางกฐิน หรือผ้าป่าแถมกฐิน
    ๒. ผ้าป่าโยงกฐิน
    ๓. ผ้าป่าสามัคคี

    ๑. ผ้าป่าหางกฐิน ได้แก่ ผ้าป่าที่เจ้าภาพจัดให้มีขึ้นต่อจากการทอดกฐิน คือเมื่อทำพิธีทอดกฐินเสร็จแล้ว ก็ให้มีการทอดผ้าป่าด้วยเลย จึงเรียกว่าผ้าป่าหางกฐิน หรือผ้าป่าแถมกฐิน

    ๒. ผ้าป่าโยง ได้แก่ ผ้าป่าที่จัดทำรวมๆ กันหลายกอง นำบรรทุกเรือแห่ไปทอดตามวัดต่างๆ ที่อยู่ริมแม่นํ้า จึงเรียกว่าผ้าป่าโยง จะมีเจ้าภาพเดียวหรือหลายเจ้าภาพก็ได้

    ๓. ผ้าป่าสามัคคี ได้แก่ ผ้าป่าที่มีการแจกฎีกาบอกบุญไปตามสถานที่ต่าง ๆ ให้ร่วมกันทำบุญแล้วแต่ศรัทธา โดยจัดเป็นกองผ้าป่ามารวมกัน จะเป็นกี่กองก็ได้ เมื่อถึงวันทอดจะมีขบวนแห่ผ้าป่ามารวมกันที่วัดอย่างสนุกสนาน บางทีจุดประสงค์ก็เพื่อร่วมกันหาเงินสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ และอื่น ๆ ฯลฯ


    ผู้ประสงค์จะทอดผ้าป่าจะทำอย่างไร?
    การจองผ้าป่า
    สำหรับการจองผ้าป่านั้น ให้ผู้เป็นเจ้าภาพไปแจ้งความประสงค์แก่เจ้าอาวาสที่ต้องการจะนำผ้าป่ามาทอด เรียกว่า เป็นการจองผ้าป่า เมื่อกำหนดเวลาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ทำการตั้งองค์ผ้าป่า ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะต้องมีก็คือ
    ๑. ผ้า
    ๒. กิ่งไม้สำหรับพาดผ้า
    ๓. ให้อุทิศถวายไม่เจาะจงพระรูปใดรูปหนึ่ง

    การตั้งองค์ผ้าป่า
    เจ้าภาพองค์ผ้าป่าจะจัดหาผ้าสำหรับพระภิกษุมาผืนหนึ่ง อาจเป็นสบง จีวร สังฆาฏิ หรือทั้ง ๓ อย่าง แล้วแต่ศรัทธาเพราะไม่มีข้อกำหนด นำกิ่งไม้หนึ่งกิ่งไปปักไว้ในภาชนะขนาดพอสมควร เช่น โอ่ง กระถัง เป็นต้น เพื่อให้กิ่งไม้อยู่คงที่ไม่เอนไปเอนมา โดยจะใช้เป็นที่พาดผ้าป่า และใช้สำหรับนำสิ่งของเครื่องใช้ที่จะถวายพระ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ผ้าอาบนํ้าฝน สมุด ดินสอ อาหารแห้ง ฯลฯ ใส่ในภาชนะนั้น สำหรับเงินหรือปัจจัยปกตินิยมเสียบไว้กับต้นกล้วยเล็ก ๆ ในกองผ้าป่านั้น

    วันงานทอดผ้าป่า
    ในสมัยโบราณ ไม่มีต้องจองผ้าป่า เมื่อเจ้าภาพนำองค์ผ้าไปถึงแล้ว ก็จุดประทัดหรือส่งสัญญาณด้วยวิธีหนึ่ง ให้พระท่านรู้ว่ามีผ้าป่า เป็นอันเสร็จพิธี หรือจะอยู่รอให้พระท่านมาชักผ้าป่าด้วยก็ได้

    แต่ในปัจจุบัน การทอดผ้าป่านับว่าเป็นงานค่อนข้างใหญ่ ต้องมีการจองผ้าป่าเพื่อแจ้งให้ทางวัด ทราบหมายกำหนดการ จะได้จัดเตรียมการต้อนรับ เมื่อถึงกำหนดก็จะมีการแห่แหนองค์ผ้าป่ามาด้วยขบวนเถิดเทิงกลองยาวหรือแตรวง เป็นที่ครึกครื้น สนุกสนาน ยิ่งถ้าเป็นผ้าป่าสามัคคีต่างเจ้าภาพ ต่างแห่มาพบกันที่วัด จนกลายเป็นมหกรรมย่อยๆ มีการละเล่นพื้นบ้าน หรือร่วมร้องรำทำเพลง ร่วมรำวง กันเป็นที่สนุกสนาน บางทีก่อนวันทอดก็จะให้มีมหรสพฉลองที่บ้านของเจ้าภาพ


    [​IMG]

    ลำดับการทอดผ้าป่า
    การทอดผ้าป่า เมื่อถึงวัดที่จะทอดแล้วก็จัดสถานที่ตั้งองค์ผ้าป่าและเครื่องบริวาร เช่น จัดตั้งไว้ข้างพระอุโบสถ เพื่อจะได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วย เมื่อจัดตั้งโดยนำผ้าป่าไปวางต่อหน้าภิกษุสงฆ์เรียบร้อยแล้ว ถ้าหากไม่มีพระภิกษุมาชักผ้าบังสุกุลในขณะนั้น ก็ไม่ต้องกล่าวคำถวาย แต่ถ้ามีพระสงฆ์รูปหนึ่งผู้ได้รับฉันทานุมัติจากหมู่สงฆ์ ลุกขึ้นเดินถือตาลปัตรมาชักผ้าบังสุกุลที่องค์ผ้าป่า เจ้าภาพและผู้ร่วมทอดผ้าป่าด้วยกัน ก็กล่าวคำถวายผ้าป่าพร้อม ๆ กันดังนี้

    คำบาลีถวายผ้าป่า
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
    อิมานิ มะยัง ภันเต ปังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ปังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

    คำแปล
    ข้าพเจ้าขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น (๓ จบ)
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์โปรดรับซึ่งผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายตลอดกาลนานเทอญ

    เมื่อกล่าวคำถวายจบแล้ว พระสงฆ์ผู้ที่ได้รับฉันทานุมัติจากหมู่สงฆ์มาชักผ้าบังสุกุล และไวยาวัจกรของวัดจะมารับต้นผ้าป่าและเครื่องบริวารอื่น ๆ ตลอดจนเงินหรือปัจจัยด้วย โดยพระสงฆ์รูปนั้นก็กล่าวคำปริกรรมว่า

    “อิมัง ปังสุกุละจีวะรัง อัสสามิกัง มัยหัง ปาปุณาติ”
    แปลเป็นใจความได้ว่า
    “ผ้าบังสุกุลผืนนี้เป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน ย่อมตกเป็นของข้าพเจ้า”

    ต่อจากนั้นพระสงฆ์จึงสวดอนุโมทนาในผลบุญ เจ้าภาพและผู้ร่วมทอดผ้าป่าด้วยกัน ต่างก็กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่บุพพการี เป็นต้น ก็เป็นอันเสร็จพิธีการทอดผ้าป่าเพียงนี้

    ข้อสำคัญในการทอดผ้าป่าคือ การทอดผ้าป่านั้นไม่เป็นการถวายแก่พระภิกษุที่เฉพาะเจาะจง ถ้านำไปถวายเฉพาะเจาะจงพระภิกษุรูปนั้นรูปนี้ก็ไม่เป็นการทอดผ้าป่า คือไม่ใช่ทอดผ้าป่าบังสุกุล

    สำหรับในกรณีที่ไม่มีพระภิกษุมาชักผ้าบังสุกุล เมื่อจัดตั้งองค์ผ้าป่าและบริวารในสถานที่เหมาะแล้ว ก็ให้สัญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ทราบว่ามีผ้าป่ามาทอดที่วัด แล้วก็หลีกไป


    อานิสงส์ของการทอดผ้าป่า
    ๑. เป็นการสงเคราะห์พระสงฆ์ให้สะดวกด้วยปัจจัยสี่ หรือสิ่งที่จำเป็นในการครองสมณเพศ มีจีวร หรือผ้านุ่งห่ม เป็นต้น
    ๒. เป็นการช่วยเหลือทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เพราะเมื่อพระสงฆ์ได้รับความสะดวกตามสมควรก็จะได้เป็นกำลังสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
    ๓. ได้ชื่อว่าเป็นการถวายทานแด่ท่านผู้ทรงศีล ซึ่งนับเป็นการบูชาท่านผู้ทรงศีล-บูชาท่านผู้ควรบูชา และเป็นทานที่มีคุณค่าสูง
    ๔. เป็นการอบรมจิตใจของผู้บริจาคให้มีการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม คือ พระพุทธศาสนาซึ่งเป็นหลักทางจิตใจของประชาชนในชาติสืบไป
    ๕. เป็นการส่งเสริมความมีสามัคคีธรรมของหมู่คณะ
    ๖. เป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนมีความมั่นคง เป็นปึกแผ่นสืบไป

    ขอบคุณที่มา : ๑. http://www.poonporn.com/
    ๒. at Watphrabuddhabat.com
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2011
  6. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ได้รับแจ้งจากคุณปาริสุทธิ์ ขอร่วมบุญผ้าไตรและเครื่องอัฐบริขาร ๑ ชุด จำนวน ๓,๐๐๐ บาท

    ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูง
     
  7. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    แจ้งความคืบหน้าและผังที่นั่งของพลังจิตธรรมเฉพาะกิจ (๑๑)

    ... เรียนสมาชิกร่วมเดินทางทุกท่านทราบ ขออนุญาตแจ้งความคืบหน้าเรื่องทริปธรรมเฉพาะำกิจ (๑๑) ภูทอก-ไหว้พระอริยสงฆ์ ถวายผ้าป่าสามัคคี ๑๓ วัด ๖ เมืองอีสาน จ. บึงกาฬ-นครราชสีมา-ขอนแก่น-หนองบัวลำภู-อุดรธานี-สกลนคร วันที่ ๑๐-๑๒ ธ.ค. ๕๔ (๓ วัีน ๒ คืน) ให้ทุกท่านทราบโดยพร้อมเพรียงกัน ดังนี้

    ๑. การเดินทาง
    รถตู้ปรับอากาศ จำนวน ๓ คัน
    - พลังจิต ๑ จำนวน ๑๐ คน
    - พลังจิต ๒ จำนวน ๑๐ คน
    - พลังจิต ๓ จำนวน ๑๐ คน

    รวมสมาชิกร่วมเดินทาง ๓๐ คน

    ๒. วัน, เวลา/สถานที่ขึ้นรถ
    วันเสาร์ที่ ๑๐ ธ.ค. ๕๔
    เวลา ๐๕.๐๐ น. (05.00 น.) จุดนัดพบ ร้านกาแฟอเมซอน ปั๊มน้ำมัน ปตท.สนามเป้า
    - ตรวจสอบรายชื่อ
    - จัดเก็บสัมภาระ
    เวลา ๐๕.๑๕ น. ล้อหมุน

    *** สมาิชิกท่านใด ไม่ตรงต่อเวลา ขออนุญาตไม่รอในทุกกรณี เนื่องจากได้ประสานงานเรื่องเวลาที่จะเข้าไปกราบในแต่ละวัดไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว



    [​IMG]
    แผนที่จุดขึ้นรถ ปั้มน้ำมัน ปตท. สนามเป้า


    ๓. ผังที่นั่ง
    สมาชิกทุกท่านจะต้องจดจำหมายเลขรถ และผังที่นั่งของตัวเอง และเมื่อเดินทางถึงจุดนัดพบ ขอให้แจ้งชื่อและหมายเลขรถ (พลังจิต ๑-พลังจิต ๓) ให้กับเจ้าหน้าที่ทราบ เพื่อตรวจสอบรายชื่อและจัดเก็บสัมภาระ


    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]


    ๔. การแต่งกาย

    - วันที่ ๑ ผ้าไทย หรือตามอัธยาศัย*
    - วันที่ ๒ ชุดขาว สำหรับสวมใส่ปฎิบัติธรรมและพักค้างคืนที่วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก)
    แนะนำให้เป็นเสื้อขาว และกางเกงเพื่อความคล่องตัว
    - วันที่ ๓ ผ้าไทย หรือตามอัธยาศัย*

    * เน้นสุภาพ ห้าม เสื้อยีดเอวลอย เสื้อสายเดี่ยว กางเกงขาสั้น

    ๕. อาหารและน้ำดื่ม

    บริการอาหารเย็น-เช้าของโรงแรม ๒ มื้อ ที่เหลือตามอัธยาศัย เฉพาะ สมาชิกที่ทานมังสะวิรัติ แนะนำให้จัดเตรียมอาหารแห้งติดไป เพราะร้านอาหารบางร้านอาจจะหาอาหารมังสะวิรัติรับประทานได้ยาก

    ๖. กิจกรรมบุญในทริปนี้
    ร่วมกราบนมัสการ ถวายผ้าป่าและถวายสังฆทาน
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label> ครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน วัดป่ากล้วยไม้ดิน (สำนักสงฆ์อรัญวิโมกข์) อ. ปากช่อง จ. นครราชสีมา
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label> หลวงปู่ถวิล สุจิณโณ วัดป่าสุจิณโณ อ. บ้างฝาง จ. ขอนแก่น
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label> หลวงปู่สาย เขมธมฺโม วัดป่าพรหมวิหาร อ. โนนสัง จ. หนองบัวลำภู
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตฺธมฺโม วัดป่าธรรมประดิษฐ์ อ. เพ็ญ จ. อุดรธานี
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺทาทีโป วัดโพธิ์สมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่บุญมา คมฺภีรธมฺโม วัดป่าสีห์พนมประชาราม อ. สว่างแดนดิน จ. สกลนคร
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ วัดใหม่บ้านตาล อ. สว่างแดนดิน จ. สกลนคร
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ วัดป่าภูมิพิทักษ์ อ. สว่างแดนดิน จ. สกลนคร
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่เนย สมจิตฺโต วัดป่าโนนแสนคำ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่เณรคำ (พระมหาประดับ) วัดป่าประดับทรงธรรม อ. คำตากล้า จ. สกลนคร
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่อุดม ญานรโต วัดป่าสถิตย์ธรรมาราม อ. พรเจริญ จ. บึงกาฬ
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงตาแยง สุขกาโม วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่ทุย ฉนฺทกโร วัดป่าดานวิเวก อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ (งดถวายผ้าป่า)
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่ทองพูล สิริกาโม วัดสามัคคีอุปถัมภ์ (ภูกระแต) อ. บึงกาฬ จ. บึงกาฬ

    และองค์อื่น ๆ ตามวาระธรรมะจัดสรร

    ๗. ยอดเงินรวมบุญ ณ วันที่ ๒๘ พ.ย. ๕๔ จำนวน ๑๘,๖๑๑ บาท
    อ้างอิงข้อมูลจากหน้าที่ ๑ คคห.ที่ ๒ คลิก

    ๘. ทั่วไป
    กฎระเบียบ
    ผู้จัดขอแจ้งกฎระเบียบในครั้งนี้ ให้สมาชิกทุกท่านทราบและพึงปฎิบัติอย่างเคร่งครัด ดังนี้
    ๑. ให้ความเคารพและปฎิบัติตามกฎระเบียบในทุกสถานที่ ๆ ไป
    ๒. ห้ามส่งเสียงดัง
    ๓. ห้ามถ่ายรูปก่อนได้รับอนุญาต
    ๔. ห้ามสุภาพสตรีเข้าใกล้พระภิกษุสงฆ์
    ๕. ในกรณีได้รับอนุญาตให้ถ่ายรูป โดยเฉพาะสุภาพสตรี ต้องมีสุภาพบุรุษถ่่ายร่วมด้วยทุกครั้ง
    ๖. ตรงต่อเวลา ให้พึงระลึกอยู่เสมอว่า วัดคือ สถานที่ปฎิบัติธรรม ไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยว เมื่อพ้นเวลาทำวัตรเช้า-เย็นหรือเวลาที่ให้ฆราวาสได้กราบหรือถวายสังฆทานแล้ว หลวงปู่และพระภิกษุสงฆ์ต้องปฎิบัติธรรมและพักถนอมธาตุขันธ์ เพราะฉะนั้น การเดินทางที่ล่าช้าเพียงไม่กี่นาที ย่อมส่งผลต่อการได้เข้ากราบเป็นอย่างมาก

    ผ้าป่า และชุดสังฆทาน
    เบื้องต้นผู้จัดได้นำเงินร่วมบุญที่กัลยาณธรรมแจ้งความประสงค์ร่วมบุญเข้ามาทางหน้ากระทู้จัดซื้อผ้าไตร เครื่องอัฐบริขารสำหรับให้สมาชิกทุกท่านในคณะฯ ร่วมกันเป็นตัวแทนในการกราบถวาย

    สำหรับสมาชิกท่านใดที่ประสงค์จะนำสิ่งของไปถวายเพิ่มเติม ขอให้จัดเตรียมได้ตามกำลังทรัพย์ กำลังศรัทธา สิ่งของที่สามารถจัดทำเป็นชุดสังฆทาน ประกอบด้วย
    ๑. ใบมีดโกน
    ๒. เข็ม-ด้าย
    ๓. ไฟฉาย-ถ่านไฟฉาย
    ๔. ไฟแช็ค-ไม้ขีดไฟ
    ๕. เทียนไขชนิดหนัก ๑ บาท (สามารถจุดได้นาน ๙๐ นาที)

    ๖. น้ำยาล้างจาน-สก็อตไบรท์
    ๗. น้ำยาล้างห้องน้ำ
    ๘. ผ้าเช็ดหน้าผืนเล็ก
    ๙. บาตร-ผ้ารองบาตร
    ๑๐. ผ้าไตร-จีวร-รัดประคด
    ๑๑. หมวกไหมพรม-เสื้อกันหนาว
    ๑๒. กลด
    ๑๓. รองเท้าฟองน้ำเบอร์ ๑๐ ขึ้นไป
    ๑๔. ร่มกันฝน
    ๑๕. นาฬิกาเล็ก ๆ เอาไว้ดูเวลา
    ๑๖. ยารักษาโรค
    ๑๗. สมุด-ปากกา-ดินสอ
    ๑๘. ชุดอาหารแห้ง อาทิ ข้าวสาร-น้ำปลา-ซอสปรุงรส-เกลือ-น้ำตาล-เครื่องกระป๋อง-บะหมี่สำเร็จรูป-น้ำหวานเฮลบลูบอย (ชุดนี้จะมอบให้ทางโรงครัว สำหรับให้ทำอาหารและน้ำปานะถวาย) ฯลฯ


    หมายเหตุ
    สมาชิกท่านใดที่ประสงค์จะถวายอาหารสด จะต้องจัดแยกถวายต่างหาก และกราบถวายให้ท่านทราบก่อนที่จะนำไปมอบให้กับโรงครัว แนะนำอาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย


    การเตรียมตัว
    - ช่วงนี้สภาพอากาศหนาวเริ่มมาเยือน ขอให้สมาิชิกทุกท่านจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับกันหนาว อาทิ เสื้อกันหนาว หมวก ถุงเท้า ผ้าพันคอ และยารักษาโรค สำหรับท่านที่มีโรคประจำตัว

    - เนื่องจากเ็ป็นการเดินทางด้วยรถตู้ ซึ่งมีพื้นที่จำกัดในการจัดเก็บสัมภาระ ขอให้สมาชิกทุกท่านจัดกระเป๋าและเตรียมเสื้อผ้าไปเฉพาะที่จำเป็น

    - ในวันที่สอง ซึ่งเป็นการเดินทางและพักค้างคืนที่วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) ขอให้จัดเตรียมถุงนอน (ถ้ามี) หมวก แว่นกันแดด รองเท้าที่สวมใส่กระชับ สบายเท้าเหมาะสำหรับการเดินขึ้นเขา

    - การเดินทางในครั้งนี้เป็นคณะเล็ก ที่หลายคนไม่เคยร่วมเดินทางด้วยกันมาก่อน ต้องใช้ระยะเวลาอยู่ร่วมกัน ๓ วัน ๒ คืน ไม่ว่าท่านจะมาเป็นกลุ่มหรือมาเดี่ยว ขอให้ทุกท่านทำความรู้จักคุ้นเคย ถ้อยทีถ้อยอาศัย ช่วยเหลือเกื้อกูล มีน้ำใจซึ่งกันและกัน ไม่แบ่งเขาแบ่งเรา และยึดถือผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตน สมาิชิกท่านใดไม่รักษากฎระเบียบ หรือทำผิดเงื่อนไขที่อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อหมู่คณะ ผู้จัดมีสิทธิ์ให้ท่านถอนตัวออกจากการเดินทางต่อได้ทันที โดยไม่มีข้อยกเว้น


    ที่พัก
    - อ.สว่างแดนดิน จ. สกลนคร จัดให้พักห้องละ ๒ คน
    - วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก)



    :cool: ย้ำเตือน
    จุดมุ่งหมายของกิจกรรมบุญในครั้งนี้ คือ การเดินทางกราบพระอริยสงฆ์และร่วมถวายผ้าป่าสามัคคี เพราะฉะนั้น การรักษาเวลาและการปฎิบัติตามกฎ-ระเบียบ และกติกาที่ผู้จัดได้ประกาศแจ้งไว้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ขอให้ทุกท่านพึงปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2011
  8. Piticha

    Piticha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    750
    ค่าพลัง:
    +2,057
    พี่มามองไม่เห็นแผนผังที่นั่งค่ะ เห็นแต่กากบาทจ๊ะ:'(

    ๓. ผังที่นั่ง
    สมาชิกทุกท่านจะต้องจดจำหมายเลขรถ และผังที่นั่งของตัวเอง และเมื่อเดินทางถึงจุดนัดพบ ขอให้แจ้งชื่อและหมายเลขรถ (พลังจิต ๑-พลังจิต ๓) ให้กับเจ้าหน้าที่ทราบ เพื่อตรวจสอบรายชื่อและจัดเก็บสัมภาระ



    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]

     
  9. Piticha

    Piticha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    750
    ค่าพลัง:
    +2,057
    พี่มาเห็นแผนผังแล้วจ๊ะ ขอบคุณค่ะ:cool:
     
  10. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932

    อย่าเอามาขึ้นแถวบางบัวทองนะคะพี่ แถวนี้เขากำลังอยากให้น้ำลงอยู่ค่ะ โดยเฉพาะแถวคลองบางกรวย-ไทรน้อย พี่มาสังเกตุเสาไฟฟ้ากลางถนนต้นแรกทางด้านขวามือของภาพนะคะ เห็นขอบดำ ๆ ที่อยู่ใต้ตัวเลข ๖-๒ ไหม นั่นล่ะคือระดับน้ำสูงสุดที่เคยท่วม ไม่มากไม่มายแค่ระดับคอหญิงเท่านั้นเอง ฮิ ฮิ ฮิ

    [​IMG]
    อีกมุมของคลองบางกรวย-ไทรน้อย เอ้ย... ไม่ใช่ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ใกล้หมู่บ้านที่พักอาศัย อ้างอิงภาพจาก บันทึกความทรงจำ กับวันนี้...ที่บางบัวทอง

     
  11. toy384

    toy384 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +38
    ของดิฉันก๊อใม่เห็นเหมือนกันค่ะ เเต่เขียนอย่างนี้เห็นเเล้วค่ะ
     
  12. Piticha

    Piticha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    750
    ค่าพลัง:
    +2,057
    เสาไฟฟ้ากลางถนนต้นแรกทางด้านขวามือของภาพนะคะ เห็นขอบดำ ๆ ที่อยู่ใต้ตัวเลข ๖-๒ ไหม นั่นล่ะคือระดับน้ำสูงสุดที่เคยท่วม
    อ๋อเค้าเรียกแค่ปริ่ม...... ปริ่มหัวอ่ะค่ะ เกือบมิดหัว แล้วปัจจุบันก็ยังต้องใช้เรือซิค่ะ น้ำก็ยังเยอะค่ะ ถ้าพีมาเจอคุณหญิงแล้วไม่ได้ทัก ทักพี่มาด้วยนะ.. เผื่อคุณหญิงหุ่นดีขึ้น จนพี่มาจำไม่ได้อ่ะค่ะ อิๆๆ (แซวเล่นจ๊ะ)
    ส่วนแถวนี้ แถวบางแค หนองแขมเริ่มแห้งหลายจุดแล้วค่ะ บางซอยก็ยังมีน้ำเยอะ แต่แค่หัวเข่าค่ะ
    ส่วนพระราม 2 ซอย69 ตามข่าว เริ่มทยอยกลับบ้านกันแล้วค่ะ ส่วนใหญ่จะบ้านชั้นเดียวค่ะ ทุกคนเริ่มอพยพกลับไปล้างบ้านกันแล้วจ๊ะ
    ส่วนหลายเขตที่น้ำยังไม่ลด อดทนกันนะค่ะ ของขวัญปีใหม่ท่านผุ้ว่าบอกว่าน้ำแห้งค่ะ


     
  13. HeartofDragon

    HeartofDragon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +285
    ว้าว คัน 3 อยู่หน้ารถเลย อดดูหนัง

    บางเขน ใกล้อู่รถเมลล์ และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ถนนแห้งเดินรถได้ถึงบิ๊กซีสะพานใหม่แล้ว มาดูอดีตภาพน้องน้ำนวยนาดกัน ในอนาคตอยากเลิกคบน้องน้ำที่มีอารมณ์อัดอั้นตันใจ มาระบายกับพี่กรุง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7849.JPG
      IMG_7849.JPG
      ขนาดไฟล์:
      3 MB
      เปิดดู:
      158
    • IMG_7767.JPG
      IMG_7767.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.2 MB
      เปิดดู:
      156
    • IMG_7836.JPG
      IMG_7836.JPG
      ขนาดไฟล์:
      4.8 MB
      เปิดดู:
      155
    • IMG_7834.JPG
      IMG_7834.JPG
      ขนาดไฟล์:
      3.2 MB
      เปิดดู:
      189
  14. เดือนสาม

    เดือนสาม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +45
    ได้เตรียมหมวกไหมพรมพระที่ถักไว้ไปด้วย ประมาณเกือบ 20 ใบค่ะ
     
  15. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    โมทนาค่ะ ถ้ามีสีขาวของแม่ชีก็สามารถนำไปถวายได้ด้วยค่ะ
     
  16. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    แจ้งความคืบหน้าของเยือนภูทอก (๓)

    วันนี้...ได้รับแจ้งจากพระที่วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) ว่าอากาศที่วัดค่อนข้างหนาวเย็น เพราะฉะนั้นขอให้สมาชิกทุกท่านจัดเตรียมอุปกรณ์กันหนาวไปด้วย อาทิ เสื้อกันหนาว ผ้าพันคอ หมวกไหมพรม ถุงมือ ถุงเท้า

    สรุป ทริปธรรมฯ ในเดือนของพ่อ ทั้งภาคอีสาน-ภาคเหนือ-ภาคตะวันออก เจออากาศหนาวเย็นส่งท้ายปีทั้ง ๓ ทริป สมาชิกหรือกัลยาณธรรมท่านใดประสงค์ที่จะร่วมถวายเครื่องกันหนาวแด่พระภิกษุสงฆ์ หรือแม่ชี ขอเรียนเชิญได้ด้วยความยินดี

    โมทนาค่ะ
     
  17. Piticha

    Piticha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    750
    ค่าพลัง:
    +2,057
    โอ้ อยู่กรุงเทพ พี่มาไอมาแล้ว 3 สัปดาห์ยังไม่หายซะที งานนี้สงสัยหวัดเล่นงานแน่ๆ เลยค่ะ:'(
     
  18. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ดื่มน้ำอุ่น งดน้ำเย็น และพยายามทำร่างกายโดยเฉพาะบริเวณลำคอให้อบอุ่น โดยเอาผ้าพันคอพันไว้จะช่วยได้เยอะค่ะ
     
  19. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932

    นับถอยหลังอีก ๑ วัน

    กับเยือนภูทอก (๓) ผ้าป่าสามัคคี ๑๓ วัด ๖ เมืองอีสาน




     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2014
  20. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    รายนามผู้ร่วมบุญ

    [​IMG] รายนามผู้ร่วมบุญผ้าป่าสามัคคี
    ๑. คุณอาหลี_99 จำนวน ๓,๐๐๐ บาท (ต้นบุญเจ้าภาพเครื่องอัฐบริขาร ๑ ชุด น้อมรับไม้ขัดฟันหลวงปู่เคน)
    ๒. กองทุนบึงลับแล จำนวน ๕๐๐ บาท
    ๓. หลาน ๆ สกุล "ศราภัยวานิช" จำนวน ๕๐ บาท
    ๔. คุณวีรศักดิ์ จำนวน ๑๐๐ บาท (อุทิศให้นายกิมซัว แซ่ตั้ง และนางจุ้ยงิ้ง แซ่เล้า)
    ๕. คุณ tom_tassanee จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๖. คุณผู้ไม่ประสงค์ออกนาม จำนวน ๕๕๐ บาท
    (เครื่องอัฐบริขาร)
    ๗. คณะกัลยาณธรรมกฐินสามัคคี ๔ ภาค (ภาคอีสาน) จำนวน ๘,๓๐๐ บาท (วัดป่าสีห์พนมประชาราม ๒,๐๐๐ บาท-ผ้าไตรถวายวัดต่าง ๆ ๖,๓๐๐ บาท)
    ๘. คุณวารุนี และครอบครัว จำนวน ๑๑๑ บาท
    ๙. คุณ pat3112 จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๑๐. คุณ t1 จำนวน ๒๐๐ บาท
    ๑๑. คุณนก จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๑๒. ชมรมมหาบารมี จำนวน ๑,๐๐๐ บาท

    ๑๓. คุณพีระสันห์-สมจิตร พิทักษ์ และครอบครัว จำนวน ๕๐๐ บาท
    ๑๔. คุณเดือนสาม จำนวน ๒๐๐ บาท
    ๑๕. คุณปาริสุทธิ์ จำนวน ๓,๐๐๐ บาท* (เครื่องอัฐบริขาร)
    ๑๖. คณะอัสนีตย์-เสาวนี จำนวน ๓,๐๐๐ บาท (เครื่องอัฐบริขาร)
    ๑๗. คุณเกสรมณีช์ จำนวน ๓,๐๐๐ บาท (เครื่องอัฐบริขาร)
    ๑๘. คุณ kuppa20 จำนวน ๘๐๐ บาท

    รวมเงินร่วมบุญ ณ วันที่ ๙ ธ.ค. ๕๔ จำนวน ๒๔,๖๑๑ บาท*


    หมายเหตุ

    - อ้างอิงรายนามจาก P.๑๗ คคห.ที่ ๓๓๒ คลิก
    - ตรวจสอบผังที่นั่ง P.๑๙ คคห.ที่ ๓๗๘ คลิก
    - ทุกกิจกรรมบุญส่งท้ายปีในเดือนของพ่อ และทุกกิจกรรมบุญตลอดปี ๒๕๕๔ ขอน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๘๔ พรรษา
     

แชร์หน้านี้

Loading...