เพื่อการกุศล พระครูไพบูลย์รัตนาภรณ์ วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Amata_club, 15 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    [​IMG]วิหารตรีมุข

    ในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร
    ถือเป็นวัดที่มีสำคัญอย่างมาก นอกจากตั้งติดกับพระบรมราชวังที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ในปีพุทธศักราช ๒๓๑๔ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงเป็นเอกอุปถัมภก บูรณปฏิสังขรณ์ วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร เป็นการใหญ่ และทรงสร้อยนามวัดอย่างเป็นทางการว่า วัดหงษ์อาวาสวิหาร ด้วย เดิมทีนั้นเป็นวัดร้าง ทั้งนี้ยังทรงสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นที่หน้าพระอุโบสถหลังเก่า ทรงสร้างศาลาโรงธรรมขนาดเท่าพระอุโบสถขึ้นทางด้านหน้า และทรงสร้างกุฏิ และเสนาสนะอื่น ๆ ทั้งพระอาราม ในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี บันทึกไว้ว่า ใน ปีพุทธศักราช ๒๓๑๔ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงอุปถัมภ์ปฏิสังขรณ์เป็นการใหญ่ทั่วพระอาราม พระอุโบสถ การเปรียญ เสนาสนะ และกุฏิ ได้ทรงสร้างใหม่ทั้งสิ้น ในจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๔ มีหลักฐานยืนยันตรงกันอีกว่า ครั้ง มาเมื่อกรุงธนบุรี พระสงฆ์ผู้รู้หลักนักปราชญ์มาอยู่มาก ผู้ที่มีอุตสาหะเล่าเรียนก็ได้เข้าไปอยู่มาก เจ้าแผ่นดินกรุงธนบุรีจึงขยายภูมิวัดออกไปใหญ่ แล้วสร้างพระอุโบสถใหญ่ตรงหน้าพระอุโบสถเก่า แล้วสร้างโรงธรรมหันหน้าเข้าสู่พระอุโบสถใหม่ สร้างฐานใหญ่เท่ากันทั้งสองหลัง ตั้งอยู่อย่างนั้นนานมาจนถึงเวลาแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่ หัว รัชกาลที่ ๓ ในพระบรมราชวงศ์นี้

    ในปีพุทธศักราช ๒๓๓๓ สมเด็จพระลูกยาเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์ (เจ้าจุ้ย) ใน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เสด็จทรงผนวช วัดหงษ์อาวาสวิหาร (วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร) นี้ เมื่อพระชนม์ครบอุปสมบท ตลอดจนพระราชนิกูล และข้าใต้สำนัก ล้วนแต่อุปสมบทวัดแห่งนี้เกือบทั้งสิ้น และนอกจากนี้ สมเด็จพระอัครมเหสี (หอกลาง) กรมหลวงบาทบริจาสอน และพระเจ้าน้านางเธอ กรมหลวงเทวินทร์สุดา ได้เสด็จบำเพ็ญกุศล ฟังเทศน์ ถือศีลปฏิธรรมอยู่ ณ วัดแห่งนี้อยู่เนือง ๆ
    วัดหงษ์อาวาสวิหาร แห่งนี้ อยู่ในราชูปถัมภ์ของ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มาตลอดรัชสมัยของพระองค์ และพระองค์มักทรงเสด็จมานั่งวิปัสสนากรรมฐานในพระอุโบสถ หลังว่างจากพระภารกิจเสมอ วัดหงษ์อาวาสวิหาร จึงนับว่าเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรือง และสวยงามวัดหนึ่งในยุคสมัยนั้น ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ประชาชนในละแวกใกล้เคียง จึงพร้อมใจกันสร้างศาลขึ้นที่ริมคลองคูวัดเชิงสะพานข้ามคลองหน้าวัด ด้านทิศตะวันตก เพื่อถวายเป็นพระราชอนุสรณ์เป็นแห่งแรก และปรากฏเป็นที่สักการะเคารพของประชาชนในท้องถิ่นแต่บัดนั้นเป็นต้นมา คือ ศาลเจ้าพ่อตากวัดหงส์ฯ
    นอกจากทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ และทรงสร้างศาสนวัตถุอื่นแล้ว พระองค์ทรงนำความเจริญทางด้านการศึกษา วางไว้เป็นฐานรากแห่งพระพุทธศาสนาที่วัดหงษ์อาวาสวิหาร หรือ วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร จึงเป็นแหล่งสรรพวิชา บ่มเพาะความรู้ขั้นสูงในยุคสมัยนั้น และเป็นชุมนุมสงฆ์ผู้รู้หลักนักปราชญ์ แห่งกรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร จากหลักฐานบันทึก มีรายนาม ดังต่อไปนี้
    [​IMG]สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช ทรงเครื่องกษัตริย์เต็มยศ

    ๑. พระยาธรรมปรีชา พระยาธรรมปรีชา เดิมชื่อ แก้ว เป็นข้าราชการที่สำคัญคนหนึ่ง ตำแหน่งพระอาลักษณ์ของ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงถวายบังคมลาออกบวช ณ วัดหงษ์อาวาสวิหาร (วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร)ต่อ มาท่านผู้นี้ได้ศึกษา และมีความรู้แตกฉานในพระปริยัติธรรม สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นพระราชาคณะที่ พระรัตนมุนี เป็นองค์แรกให้มีศักดิ์ตำแหน่งพิเศษเสมอพระราชาคณะ
    ๒. สมเด็จพระสังฆราช (ชื่น) วัดหงษ์อาวาสวิหาร (วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร) เคยเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระสังฆราช ในยุค กรุงธนบุรี มาแล้ว คือ สมเด็จพระสังฆราช (ชื่น) ชาติภูมิเดิมเป็น ชาวเมืองแกลง (ระยอง) ใน สมัยกรุงศรีอยุธยา ใกล้ล่ม สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ขณะดำรงตำแหน่ง พระยาวชิรปราการ ได้เดินทางสู่ภาคตะวันออก ผ่าน เมืองแกลง เพื่อรวบรวมผู้คนกอบกู้ชาติแผ่นดิน จึงได้พบกับ สมเด็จพระสังฆราช (ชื่น) ซึ่งเป็นประมุขสงฆ์ เมืองแกลง (บ้านเดียวกับกวีเอกสุนทรภู่) และได้เคยช่วยเหลือเกื้อกูล สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตามสมควรแก่สมณวิสัยในครั้งนั้น ดังนั้นเมื่อ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จขึ้นครองราชย์ปกครองไพร่ฟ้าสยามประเทศ จึงได้อาราธนาให้ดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาส วัดหงษ์อาวาสวิหาร และทรงสถาปนาให้ดำรงตำแหน่งสมณศักดิ์สูงโดยลำดับ จนเป็น สมเด็จพระสังฆราช อันเป็นตำแหน่งสูงสุดในสังฆมณฑล ต่อมาภายหลังปลายรัชกาล สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ถูกถอดสมณศักดิ์ตำแหน่ง ด้วยเหตุความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่ท่านได้หยั่งรากฝากผลงานแห่งพุทธศาสนาไว้ให้ศาสนิกชนรุ่นหลังได้ศึกษา สืบทอดได้อย่างมั่งคง โดยได้รับแต่งตั้งเป็นแม่กองสังคายนา ชำระพระไตรปิฎก แผนพระอภิธรรมส่วนปรมัตถ์ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช นับว่าท่านเป็นปราชญ์แท้องค์หนึ่งที่ไม่แสดงความหวั่นไหวในโลกธรรม ได้แสดงความเป็นปราชญ์ให้ปรากฏแก่สายตาชาวโลกอย่างชัดแจ้ง
    ๓.พระเทพโมลี (ด่อน) ได้บวช และศึกษาในสำนัก วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร ได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นโดยลำดับ คือ พระพรหมมุนี พระพิมลธรรม และ สมเด็จพระวันรัต ภายหลังได้ย้ายไปอยู่ วัดสระเกษ ต่อมาได้ทรงสมณศักดิ์ประมุขสงฆ์ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ดำรงสมณศักดิ์ สมเด็จพระสังฆราช จากนั้นได้ย้ายมาประทับที่ วัดมหาธาตุฯ และได้เป็นพระอุปัชฌายะของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔)และ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์ ใน สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์) เมื่อเสด็จทรงผนวชครั้งแรกในพระพุทธศาสนาฝ่ายพระสงฆ์มหานิกายสมณวงศ์ นับว่าได้รับกรณียกิจอันสูงสุด ในสังฆมณฑลอีกองค์หนึ่ง
    ๔. เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) นาวาอากาศเอก มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้นสุขุม) เดิมได้ศึกษาทางภาษาบาลี จนสำเร็จเป็นเปรียญธรรม ๓ ประโยค จากวัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร แห่งนี้ เกียรติคุณของท่านเป็นที่เลื่องลือรู้จักกันทั่วไปในนาม เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ภายหลังได้ทรงเกียรติคุณอันสูงเป็นพระอาจารย์ พระบาทสมเด็จพระมหาธีราช (รัชกาลที่ ๖) ได้เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงนครบาล และสมัยปกครองระบอบประชาธิปไตยท่านได้ดำรงตำแหน่งสูงสุด เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นับเป็นเกียรติประวัติที่สืบนื่องมาแต่สำนักนักเรียนวัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร เป็นเบื้องแรก ๕.พระธรรมไตรโลก (ไม่ทราบนามเดิม) เดิมอยู่ วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร ท่านเป็นผู้มีความรอบรู้ แตกฉานในภาษาบาลีอย่างมาก ผลงานของท่านเท่าที่ค้นพบ คือร่วมแปลพระคัมภีร์มงคลทีปนี เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๖๔ โดย พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ซึ่งต่อมา คือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ทรงอารธนา นับว่าเป็นปราชญ์ทางการบาลีที่สำคัญองค์หนึ่ง
     
  2. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    สิ่งสำคัญ
    [​IMG]พระอุโบสถ

    ๑. พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาลด ๒ ชั้น มุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ สร้างในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช เมื่อถูกทิ้งร้างพระอุโบสถ (หลังเก่า) ทรุดโทรมมาก จึงทรงสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นที่หน้าพระอุโบสถหลังเก่า ต่อมา สมเด็จกรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์ ได้ทรงรับปฏิสังขรณ์ จากการทรงชักชวนของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาล ที่ ๓)ได้มีการบูรณะมีเสารับพาไลโดยรอบ ประตูด้านหน้า และด้านหลังเป็นไม้แกะสลักรูปหงส์เกาะกิ่งไม้ ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นลายปูนปั้น ลักษณะศิลปกรรมแบบจีนผสมตะวันตก ยอดซุ้มทำหลังคาปิดเป็นเส้นทแยงมุม ซุ้มประตูลักษณะจีนปนฝรั่ง ลายปูนปั้นที่ซุ้มประตูหน้าต่าง ได้รับการยกย่องในเรื่องฝีมืออย่างมาก และที่แปลกไปจากที่อื่น คือ ตราสัญญาลักษณ์ประจำพระมหากษัตริย์ ๒ ตรา อยู่ที่บานประตูทั้งสองด้าน ด้านหนึ่งเป็นตราสัญญาลักษณ์ประจำพระองค์ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และอีกด้านหนึ่งเป็นตราสัญญาลักษณ์ประจำพระองค์ของ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
    เสาภายในพระอุโบสถเป็นแบบ อยุธยาตอนต้น ซึ่งนำแบบอย่างมาจากสุโขทัยเป็นเสากลมเรียงเข้าไปแบ่งได้ ๗ ห้อง เขียนลายพุ่มข้าวบิณฑ์ประดับด้วย ดอกพุดตาน จิตรกรรม ฝาผนัง และลวดลายแกะสลักที่ประตูนั้น เป็นลายดอกพุดตาน และเบญจมาศเป็นพระราชนิยมในรัชกาลที่ ๓ ซึ่งดอกพุดตาน เบญจมาศ และโบตั๋นนั้น จะเกี่ยวกับความเชื่อใน ฮก ลก ซิ่ว ด้วย นอกจากนี้ยังมีจิตกรรมสีฝุ่นเขียนใส่กรอบกระจกเรื่อง รัตพิมพวงศ์ หรือ ตำนานพระแก้วมรกต ล้วนเป็นฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔
    ๒. พระพุทธรูปทองโบราณ พระพุทธรูปทองโบราณองค์นี้ เดิมเป็นพระหุ้มปูนมีพระลักษณะเป็น พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลังพระอุโบสถ ซึ่งดำรงทรุดโทรม หักพังใช้การไม่ได้จนคนทั้งหลายเรียกว่า วิหารร้าง ทั้ง นี้เพราะไม่ใช่เพียงแต่ชำรุดทรุดโทรมหักพังเท่านั้น ยังกรุงรังด้วยเศษอิฐปูน และไม้ กับมีเครือเถา และต้นไม้ขึ้นปกคลุมด้วย สันนิษฐานตามนัยจดหมายเหตุ พระพุทธรูปทองโบราณ องค์นี้ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงอันเชิญมาแต่เมืองเหนือ แล้วทรงนำมาประดิษฐานเป็นพระประธานลงรักปิดทองในพระอุโบสถใหม่ ต่อมา สมเด็จกรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์ และ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ทรงปฏิสังขรณ์ และทรงเปลี่ยนแปลงพระอุโบสถเก่าเป็นพระวิหารขึ้น ด้วยเห็นว่าพระประธานเล็กไป ไม่เหมาะกับพระอุโบสถ จึงทรงสร้างพระประธานใหม่ และเชิญพระประธานเก่าไปประดิษฐานในพระวิหาร และพอกปูนเสีย เหตุที่พอกปูนเพราะกลัวภัยในยุคนั้น
    [​IMG]ศาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช

    ครั้น พระสุขุมธรรมาจารย์ ได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัด จึงได้ดำเนินการทำความสะอาด และจัดการให้มีความเรียบร้อย ตัววิหารนี้จึงมีสภาพพอที่จะเห็นได้ภายใน และพอที่จะเข้าออกได้ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ การณ์จึงปรากฏขึ้นว่า พระพุทธรูปในพระวิหารนี้องค์กลางที่ยังเหลืออยู่เป็นพระในรูปที่ชำรุดทรุด โทรมพอกับวิหาร เป็นพระโบราณสวยงามมีค่ามาก หุ้มปูนอยู่ภายใน ความจริงตัวพระวิหารหลังนี้ตั้งอยู่ในลักษณะยาวไปทางทิศตะวันตก และตะวันออก หันหน้าขวางเข้าพระอุโบสถ มีประตูเข้าออกเดียว คือทางพระอุโบสถภายในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปเรียงเป็นแนวเดียวกัน หลังพระพุทธรูปติดฝาผนังพระวิหาร และหันพระพักตร์ออกสู่ประตูพระวิหาร พระพุทธรูปทองโบราณองค์นี้ประดิษฐานอยู่ตรงกลาง ในแนวเดียวกันกับพระพุทธรูปอื่น ๆ แต่ขณะที่ประชาชนพากันสนใจในพระพุทธรูปทองโบราณองค์นี้นั้น พระพุทธรูปองค์อื่น ๆ ได้หักพัง และถูกทำลายไปสิ้นแล้ว คงเหลือแต่องค์นี้ประดิษฐานเด่นอยู่ลำพังองค์เดียว ประจักษ์การที่ทราบได้ว่าพระพุทธรูปองค์นี้มีค่ายิ่งนั้น ก็เพราะบังเอิญลอยกระเทาะของปูนหุ้มพระอุระหลุดออก เห็นเนื้อในเป็นสีทองสุกงาม และเกิดโจษขานกันนานาประการ เรื่องต่อมาจึงปรากฏเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าเป็นพระพุทธรูปสำคัญครั้งโบราณ กาล และมีเนื้อทองเข้าขั้นมีค่าควรสงวน
    ครั้นต่อมา นางสาวสังวาลย์ กับ นางสาวเนื่อง ชูโต อยู่บ้านเลขที่ ๑๓๔ สะพานเจริญพาศน์ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ได้มีศรัทธาสร้างพระวิหารแทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม เพื่อประดิษฐาน พระพุทธรูปทองโบราณสมัยสุโขทัย เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๒๔ โดยพระวิหารหลังนี้สร้างแทนพระวิหารหลังเดิม ซึ่งปรักหักพังไปแล้ว พระพุทธลักษณะพระพุทธรูปทองโบราณองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปที่สร้างตามแบบสุโขทัย (ยุคกลาง) ซึ่งเป็นฝีมือปฎิมากรชั้นเยี่ยม ทรงไว้ซึ่งคุณสมบัติสูงสุดของไทย คือ พระเกตุมาลาลักษณะเปลวเพลิง มีอุณาโลมเป็นเกลียวไหวขั้นสูง และด้านข้างมีรัศมีแผ่เป็นคลื่นลดหลั่น ๓ ชั้น ทั้ง ๒ ด้าน และเป็นกระพุ้งกึ่งกลาง ส่วนด้านข้างริมพระเกตุมาลาทั้งสอง มีรูปเป็นกลีบขึ้นเป็นชั้น ๆ พระเกศาขดเป็นก้นหอยวนขวาไม่ใหญ่ และไม่แหลมนัก พองามขนาดสมส่วนอื่น ๆ รูปพระเศียร และวงพักตร์ดังรูปไข่ พระโขนงโก่งดังคันศร และงดงามเป็นสัน พระเนตรดังตาเนื้ออยู่ในอาการสำรวม พระนลาฏกว้างไม่มีเส้นไรพระศก และมีเม็ดพระศกย้อยลงมาตรากลางเบื้องบนพระนลาฎ พระนาสิกเป็นรูปขอโง้งงุ้มดุจจงอยนกแก้ว พระโอษฐ์เล็กคล้ายแย้มเผยตรัส พระหนุเสี้ยมดังเมล็ดมะม่วง และมีรอยหยิก พระกรรณเหมือนกลับบัว และยาวซ้อน ๆ มีรูเจาะทะลุตอนเบื้องปลาย พระปรางเต่งดุจผลมะปราง แต่บางองค์ก็ชะลูดลงบ้างภาพวงพระพักตร์เพ่งดูแล้วดูดดื่มซึ้งตรึงใจอย่างน่า อัศจรรย์ พระศอเป็นปล้อง คือมีรอยปรากฏอยู่ ๔ เส้น เป็นชั้น ๆ พระอังสากว้างสมส่วนพระองค์ พระอุระผึ่งผายดูคล้ายศีรษะช้าง หัวพระถันโปนเห็นชัดทั้ง ๒ ถัน พระกายกลมกล่อมนุ่มนวลอ่อนละไม และสะโอดสะอง พระกฤษฎี คือ บั้นพระองค์ (เอว) แคบลง และค่อย ๆ ผายขึ้นไปหาส่วนกว้างที่พระอุระ และพระกัจฉะประเทศ พระกรกลม และยาวดุจงลงช้างจนแตะพระพลาได้โดยไม่ต้องก้ม และเบนออกไปได้ส่วนกับพระชานุเบื้องขวา หลังพระหัตถ์เบื้องขวานูนงามพาดพระเพลาลงอย่างอ่อนไม่ทือ และแข็ง พระองคุลีเรียวเป็นลำเทียนยาวสั้นไม่เสมอกันอย่างสามัญมนุษย์ มีพระนขาปรากฏชัด และช้อนงอนขึ้นพองาม บางองค์ยกพระอนามิกา (นิ้วนาง) และกนิษฐา (นิ้วก้อย) ขึ้นเล็กน้อย (เล่นนิ้ว) ตรงพระนาภีมีรอยบุ๋มพอเป็นที่สังเกต พระเพลาเรียวดูกลมกลืมไปโดยลำดับถึงพระชงฆ์ และข้อพระบาท นั่งขัดสมาธิรวบได้สละสลวย หากลากเส้นนอนใต้พระเพลาจะได้เส้นโค้งน้อย ขึ้นช้อนรับเส้นตั้งรอบพระองค์ที่ลากลงมาแต่พระเกตุมาลาจะเป็นเส้นที่เคลือ นลงมาอย่างสลวยอ่อนไหว ไม่กระด้างขัดนัยน์ตา พระบาทแบราบช้อนเท้าขวาทับเท้าซ้าย และเห็นฝ่ายพระบาทอูม เรียบร้อยดังเท้าผู้มีบุญญาธิการฉะนั้น นิ้วพระบาทก็แสดงศิลปให้ปรากฏชัดเจน เป็นลักษณะนิ้วทุกประการไม่เป็นพืดแผ่น พระอาการประทับนั่งก็ผึ่งผาย มีส่วนหน้าตักกว้างลากเส้นทะแยงแต่พระชานุรับกับพระอังสกุฏ และพระเศียรส่วนกลมแต่ละด้านทั้งซ้ายขวา ทรงพระวรกายอยู่ที่นั่งทับ (ก้น) ทำให้เห็นตรงข้อพระบาทอ่อนลงน้อย ๆ และดูพระชานุ (เข่า) ตลอดถึงพระชงฆ์สูงขึ้นนิด ๆ เป็นเส้นโค้ง เบื้องพระพาหาขวาไม่มีอะไรปกปิด แต่เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อไม่ปรากฏอย่างคนสามัญ ส่วนพระอังศา และพระพาหาซ้ายมีจีวรบางแนบสนิทพระวรกายปกคลุมลงมาเบื้องพระองค์ มีรอยปลายจีวรปิดเลยพระชานุตามพระวินัยพระอาการทรงคลองผ้าแนบเฉวียงบ่าข้าง หนึ่ง คือลดไหล่เบื้องขาว ทอดพระหัตถ์ซ้ายหงายโชว์ฝ่าพระหัตถ์ และพระองค์คุลีเรียวงามอ่อนช้อย และทิ้งพระพาหาซ้ายได้ส่วนสัดไม่เก้งก้าง เบื้องพระวรกายส่วนล่างทรงสะบงปกคลุม แต่บั้นพระองค์มีรอยผ้าปรากฏ และปิดพระวรกายส่วนนี้ จนถึงข้อพระบาทอย่างเรียบร้อยแนบสนิท ผ้าทาบสังฆาฎิก็แสดงส่วนซ้อนทับเป็นชั้นพาดแต่พระอังสาซ้าย ทาบลงมาข้างหน้าเป็นผืนแผ่นเล็กน้อยเรียบเสมอกันถึงระดับพระนาภี และช้อยไปทางซ้ายพระองค์น้อย ๆ พอสังเกตเห็นตรงชายผ้าทาบสังฆาฎิเป็นสองแฉก มีลวดลายคล้ายฟันปลา หรือเขี้ยวตะขาบ ส่วนด้านพระปฤษฎางค์แถบผ้าสังฆาฎิได้ลาดยาวลงมาเกือบถึงทับเกษตร อนึ่งฐานรองพระพุทธรูปสุโขทัยปางประทับนั่งมารวิชัย หรือสมาธิ เป็นฐานเรียบ ๆ ไม่มีเครื่องตกแต่งเรียงกันว่าฐานเขียง ส่วนกลางเว้าลงเล็กน้อย และผายออกทางสองข้างเสมอกัน จนถึงปลายฐาน และเป็นฐานเตี้ยมาก สำหรับฐานรองนี้ที่มีกลีบดอกบัวหงาย และคว่ำสลับกัน เป็นลักษณะงามยิ่งไม่มีสมัยใดทำได้เหมือน ก็มีอยู่เหมือนกันแต่เป็นส่วนน้อยมาก อักษรจารึกที่ฐานพระพุทธรูปทองโบราณพระพุทธรูปทองโบราณองค์นี้ มีรอยจารึกสกัดเป็นตัวอักษรไว้ที่ฐาน มีข้อความตามที่นายฉ่ำ ทองคำวรรณ บรรณารักษ์โท กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ผู้เชี่ยวชาญการอ่านอักษรโบราณ และศิลาจารึก ได้บันทึกไว้เป็นถ้อยคำตามเดิม ปัจจุบันพระพุทธรูปทองโบราณ ประดิษฐาน ณ ศาลาตรีมุข ด้านข้างพระอุโบสถ วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร
    [​IMG]หลวงพ่อแสน

    ๓. หลวงพ่อแสน พระพุทธรูปสัมฤทธิ์นวโลหะ ซึ่งประดิษฐานภายในพระอุโบสถ วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร เบื้องหน้าพระพุทธปฎิมากรพระประธานนั้นเรียกกันว่า หลวงพ่อแสน เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย หน้าตักประมาณ ๒ ศอกเศษ หรือประมาณ ๒๔ นิ้วครึ่ง เป็นโลหะเนื้อสัมฤทธิ์สีทองต่างกันเป็น ๔ ชนิด ดังนี้
    - เบื้องพระศอตอนบนจนถึงพระเศียร และพระพักตร์สีทองเป็นนวโลหะสัมฤทธิ์แก่
    - เบื้องพระศอตอนล่างลงมาจนถึงพระองค์ และฐานรองสีทองสัมฤทธิ์ เนื้ออ่อนกว่าตอนพระเศียร และพระพักตร์
    - จีวรเนื้อทอง เป็นอีกสีหนึ่ง เข้มกว่าเนื้อทองส่วนพระองค์ แต่ไม่เข้มกว่าตอนพระพักตร์ และพระเศียร
    [​IMG]สง่างามสมพระเกียรติ พระมหาวีรกษัตริย์ พระผู้ทรงกอบกู้เอกราชช

    - ผ้าทาบสังฆาฎิเป็นเนื้อทองอีกชนิดหนึ่ง แตกต่างจากจีวร และสีพระองค์ พระพักตร์ และพระเศียร แต่สังฆาฎิชนิดยาว ทาบมาถึงพระนาภีแบบลังกาวงศ์ พระเกตุมาลาหรือพระรัศมีเป็นเปลวยาวขึ้นแบบลังกาวงศ์ รอบฝังแก้วผลึก ๑๔ เม็ด นิ้วพระหัตถ์ไม่เสมอกันแบบพระเชียงแสน และสุโขทัยยุคแรก พระเศียรโตเขื่องกว่าส่วนของพระองค์จนสังเกตเห็นชัด พระเนตรฝังแก้วผลึกในส่วนสีขาว และฝังนิลในส่วนสีดำ ฐานรองเป็นแบบบัวคว่ำบัวหงาย ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถเบื้องหน้าพระองค์พระประธานออกมา จัดเป็นพระพุทธรูปสำคัญ และงามเป็นพิเศษแตกต่างจากบรรดาพระพุทธรูปอื่น ๆ มีลักษณะเป็นชนิดหนึ่งหาเหมือนพระพุทธรูปอื่นเป็นพระเก่าโบราณหลวงพ่อแสน องค์นี้เป็นพระที่ขึ้นชื่อลือชา เป็นที่นับถือของชาวบ้านชาววัดถิ่นนี้ทั่วกัน และถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์นัก อำนวยความสำเร็จให้แก่ผู้ปรารถนาได้นานาประการ และเป็นอัศจรรย์จนมีนิยายเล่ากันปรัมปราสืบต่อกันมาว่า หลวงพ่อแสนองค์นี้ลอยน้ำมา มีคนอัญเชิญขึ้นหลายแห่งถึงกับใช้แรงคนดึงลากขึ้นเป็นจำนวนแสนคนก็ไม่เสด็จ ขึ้น เมื่อลอยมาถึงวัดหงส์รัตนาราม เพียงอาราธนาอัญเชิญก็เสด็จขึ้น ด้วยกำลัง ๔-๕ คนเท่านั้นดังนั้นหลวงพ่อองค์นี้จึงมีนามว่า หลวงพ่อแสน คือคนนับแสนดึงไม่ขึ้นนั่งเอง ตามตำนาน สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงจัดไว้ในประเภทพระพุทธรูปสำคัญ ทรงพระนิพนธ์ประวัติไว้ในตำนานของพระองค์ท่านดังนี้ พระแสน (เมืองเชียงแตง) พระพุทธรูปองค์นี้เชิญมาแต่ เมืองเชียงแตง เมื่อปีมะเมีย พุทธศักราช ๒๔๐๑ ประดิษฐานไว้ใน พระอุโบสถวัดหงส์ฯ คิดเป็นเวลาขวบปีได้ ๑๐๐ กว่าปีมาแล้ว จนถึงบัดนี้ อนึ่ง หลักฐานการอันเชิญมาก็เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔)กับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)เป็นมูลเหตุ ดังพระบรมราชาธิบายของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)ในหนังสือชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ซึ่งมีพระราชดำรัสเป็นลักษณะทรงโต้ตอบกับ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีใจความว่า ถ้า ฉันพอใจจะให้มีพระพุทธรูปสำคัญมีชื่อที่คนนับถืออยู่ที่วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร เป็นของ สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ ให้เป็นพระเกียรติยศแล้ว พระชื่อ พระแสน อยู่เมืองเชียงแตงอีกองค์หนึ่งงามหนักหนา ถ้าฉันมีตราไปเชิญมา ท่านจะให้ พระยาพระราชโยธา ที่ครั้งนั้นเป็น พระยาสุเรนทร์ ใช้คนให้นำไปชี้องค์พระให้ ฉันเห็นว่าท่านประสงค์ดังนั้น ไม่มีเหตุที่ควรจะขัด ฉันก็ไม่ได้ขัด ฉันก็ได้ให้มหาดไทยมีตราไปเชิญพระนั้นลงมา พระยาสุเรนทร์ใช้พระลาวรูปหนึ่งผู้รับอาสานำไป ฉันก็ได้ให้ผ้าไตรไปถวายพระสงฆ์ลาวรูปนั้นไตรหนึ่ง แล้วก็ให้นำท้องตราไป ได้เชิญพระแสนลงมาถึงกรุงเก่า แล้วฉันก็ได้บอกถวายวังหน้าให้ ท่านจัดการแห่รับมาไว้ วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร ที่เดียว และฐานที่จะตั้งพระนั้น ฉันให้ท่านทำเป็นการช่างในพระบวรราชวัง ฉันจะเป็นแต่รับปิดทองฐานพระนั้นก็ยังทำค้างอยู่ บัดนี้ก็ยังไม่ได้ปิดทอง ว่ามาทั้งนี้เป็นการเล่าถึงเหตุที่เป็น และถ้อยคำที่ได้พูดกันแล้วแต่ก่อนนี้ ไปให้ท่านทั้งปวงทราบ ดังนี้ และที่มาอีกแห่งหนึ่งคือ พระราชหัตถเลขาของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ทรงมีถึง พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)เมื่อปีมะเมีย พุทธศักราช ๒๔๐๑ ลงวันที่ ๒๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๑๘๕๘ ข้อความว่าดังนี้ ฉัน ขึ้นไปถึงกรุงเก่า ได้นมัสการพระแสนเมืองเชียงแตงแล้ว รูปพรรณเป็นของเก่าโบราณหนักหนา แต่เห็นชัดว่าอย่างเดียวกับพระแสน เมืองมหาชัย แน่แล้ว ของคนโบราณจะนับถือว่าพระแสนสองพระองค์นี้องค์ใดองค์หนึ่งจะเป็นของเทวดา สร้างฤาว่าเหมือนพระพุทธเจ้าแท้ แล้วถึงถ่ายอย่างกันข้างหนึ่งเป็นแน่แล้ว แต่เมื่อดูสีทองแลชั้นเชิงละเอียดไป ดูทีเห็นว่าพระแสนเมืองเชียงแตงจะเก่ากว่า สีทองที่พระเศียร และพระพักตร์ เป็นสีนากนวโลหะเช่นกับพระอุมาภควดีเก่าในเทวสถาน จมูกฤาพระนาสิกก็ดูบวมมากเหมือนกันทีเดียว ที่พระองค์ พระหัตถ์ พระบาทนั้น สีทองเป็นอย่างหนึ่ง ติดจะเจือทองเหลืองมากไป ที่ผ้าพาดนั้นเป็นแผ่นเงินฝังทาบทับลง แต่ดูแน่นหนาอยู่ พระแสนองค์นี้ฉันถวายแล้ว โปรดทรงพระดำริดูเถิด จะให้ไปเชิญลงมาเมื่อไรอย่างไร ก็ตามจะโปรด ยังมีพระที่มีชื่อ เอามาแต่เมืองเวียงจันทร์อีกสองพระองค์ พระอินทร์แปลงน่าตัก ๒ ศอกเศษ พระอรุณน่าตักศอกเศษ พระสององค์นี้ องค์ที่ออกชื่อก่อน ฉันจะรับประทานไปไว้เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดมหาพฤฒาราม วัดตะเคียนที่ให้ไปสร้างขึ้นไว้ใหม่ พระอรุณนั้นฉันคิดว่าจะเชิญลงมาไว้ในพระวิหารวัดอรุณ เพราะชื่อวัดกับชื่อพระต้องกัน สมควร แต่จะให้จัดแจงที่ฐานเสียให้เสร็จก่อน แล้วจึงจะเชิญลงมาต่อน่าน้ำ ยังมีพระไม่มีชื่ออีกหลายพระองค์ องค์หนึ่งน่าตัก ๒ ศอกหย่อน แต่รูปพรรณนั้นเห็นชัดว่าทำเอาอย่างพระแสนเมืองมหาชัย ไม่สู้ผิดหนัก ทั้งลาดเลาพระพักตร์ แลส่วนพระหัตถ์ พระบาททุกอย่าง พระองค์นี้ ฉันคิดว่าจะไปไว้ที่ในพระวิหารหลวงพระพุทธบาท พระขัดสมาธิเพชรใหญ่องค์หนึ่ง ฐานมีรูปสัตว์ต่าง ๆ ฉันคิดว่าจะเชิญมาไว้ในพระอุโบสถวัดเขมาภิรตาราม ยังอีกองค์หนึ่งน่าตักศอกเศษ คล้ายพระแสน แต่ไม่สู้ชัดนักนั้น ฉันคิดว่าจะเชิญไปไว้ในพระอุโบสถวัดชัยพฤกษ์มาลา พระแสนเมืองเชียงแตงนั้นตามแต่จะโปรดเถิด ถ้าจะเชิญไปประดิษฐานไว้ที่วัดหงส์ฯ ก็ดีอยู่ จะได้เป็นคู่กับพระอรุณที่วัดอรุณฯ เหมือนดัง ๒ องค์เชิญลงไปไว้ที่วัดชัยพฤกษ์มาลาและวัดเขมาภิรตารามนั้นเป็นพระเกียรติยศ แลส่วนพระราชกุศลถวายทูลกระหม่อม และ สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ประวัติความเป็นมาของ หลวงพ่อแสน วัดหงส์ ฯ จากหลักฐาน ตำนานเมืองนครจำปาศักดิ์ รวม ๓ ฉบับ คือ ฉบับพระยามหาอำมาตยาธิบดี ฉบับหม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว. ปฐม)และฉบับเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์ กับเจ้าราชวงศ์เมืองนครจำปาศักดิ์ ว่าไว้เป็นเรื่องละม้ายคล้ายกันดังนี้ พระภิกษุรูปหนึ่ง ผู้มีบุญแต่ปางก่อนอุปถัมภ์ ท่านฉลาดไหวพริบดีและแตกฉานในพระไตรปิฎก เป็น ชาวเมืองพาน เป็นศานุศิษย์พระครูลึมบองค์ และ พระครูยอดแก้ว ได้รับยกย่องเป็นราชาจั่วและได้รับอุปสมบทเป็นภิกษุ มีพระสงฆ์นั่งหัตถบาสถึง ๕๐๐ รูปในพระอุโบสถน้ำ โดย พระเจ้าเมืองเวียงจันทร์ถวาย อุปการะ ท่านมีผู้คนนับถือและเกียรติชื่อเสียงเลื่องลือทั่วไปแต่เมื่อยังเป็นสามเณร และทรงได้ซึ่งอภินิหารอัศจรรย์มาก ต่อมาท่านได้รับฐานันดรศักดิ์เป็นพระครู และจำพรรษาอยู่ ณ วัดโพนเสม็ด คนทั้งหลายจึงเรียกชื่อท่านว่า พระครูโพนเสม็ด ท่านผู้นี้ยังได้ปฏิบัติกรรมฐานบรรลุอภิญญาสมาบัติ มีฤทธิ์อำนาจเป็นพิเศษอีกด้วย จึงเป็นที่ทั้งเกรงทั้งเคารพนับถือและบูชาสักการะของคนทั่วไปในถิ่นนั้น ครั้นต่อมาเจ้านครเวียงจันทร์พิราลัย พระยาเมืองแสนชิงราชสมบัติได้เป็นเจ้าเมืองแต่ประพฤติมิชอบและคิดกำจัดท่าน ท่านพร้อมด้วย ศิษยานุภาพศิษย์ชาวบ้าน และมเหสีพระโอรสเจ้าเวียงจันทน์เดิม จึงทิ้งถิ่นเดิมอพยพย้ายกันเป็นหมู่ใหญ่จำนวนนับพันมาอยู่ยัง ตำบลจะโรย จังวา คือ ตำบลบ้านแหลม ซึ่งต่อมาตำบลนี้เป็น นครพนมเปญ ท่านประสบศุภนิมิต คือได้พระบรมธาตุจากยายเป็นผู้ถวาย จึงสร้างเจดีย์เป็นพนมขึ้นแล้วบรรจุพระบรมธาตุนั้นไว้ ณ ทีเจดีย์พนมนี้ แล้วท่านจึงหล่อพระพุทธปฏิมากรองค์หนึ่งได้แต่เพียงพระเศียรลงมาถึงพระกรขวา ยังไม่สำเร็จทั้งพระองค์ ก็มาเกิดเรื่องพระจ้ากรุงกัมพูชา จะเก็บส่วยเป็นเงินครัวละ ๘ บาท ท่านจึงพาญาติโยมเคลื่อนที่ขึ้นไปตามลำน้ำโขงโดยลำดับแล้วมาอธิษฐานของที่ อยู่อาศัย ด้วยอำนาจกุศลธรรมของท่าน ก็เกิดเกาะเป็นหาดขึ้นเรียกกันว่า หาดท่านพระครู มาจนทุกวันนี้ ท่านและญาติโยมก็อยู่พำนัก ณ ที่นี้ และสร้างพระพุทธปฏิมากรต่อพระอังสาพระกรเบื้องซ้ายตลอดพระแท่นรองสำเร็จแล้ว ให้ศิษย์ไปนำส่วนพระเศียรและพระกรเบื้องขวามาต่อสวมเข้าเป็นองค์บริบูรณ์ ตรงนั้นเรียก เกาะหาดเกาะทราย มาจนบัดนี้ แล้วท่านขนานนามพระปฏิมากรองค์นี้ว่า พระแสน และสร้างวิหารประดิษฐาน ณ ที่นี้ อนึ่ง พระครูโพนเสม็ด รูปนี้เป็นผู้ให้กำเนิด เมืองเชียงแตง และ นครจำปาศักดิ์ พร้อมทั้งเจ้าท้าวพระยาอีกด้วย และท่านยังได้สร้างพระพุทธปฏิมากรองค์ อื่น ๆ อีกภายหลังพระแสนองค์นี้ เมื่อพิจารณาตามประวัตินี้หลวงพ่อแสนได้กำเนิดจากการกระทำของท่านผู้ ศักดิ์สิทธิ์ คือ พระครูโพนเสม็ด ในเนื้อที่สองแห่งคือที่ บ้านแหลม อันต่อมา กลายเป็นราชธานี นครพนมเปญ และ เกาะหาดเกาะทราย ซึ่งต่อมาในบริเวณที่แถบนี้กลายเป็น นครจำปาศักดิ์ และศิษย์ท่านผู้เป็นเชื้อสายเจ้านคร เวียงจันทร์เดิม พระนามว่า เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกรู โดยท่านเป็นผู้สถาปนาขึ้น และพระโอรส เจ้าสร้อยศรีสมุทร องค์สุดท้องทรงพระนามว่า พระไชยเชษฐ์ ครอง เมืองเชียงแตง (ปัจจุบัน คือ บ้านหางโค ปากน้ำเซกอง ฝั่งโขงตะวันออก) หลวงพ่อแสน นับว่าเป็นพระฤกษ์อันสำคัญ และศักดิ์สิทธิ์ และเป็นพระต้นสกุลองค์หนึ่งของ พระแคล้วลานช้าง (ล้านช้าง)
    เรื่องนามของ หลวงพ่อแสน ตามนัยแห่งตำนานนี้ว่า พระครูโพนเสม็ด กับครอบครัว ได้อพยพมาจากเมืองเขมรมาตั้งอยู่ที่ ตำบลเชียงแตง จึงได้เรี่ยไรพวกครอบครัวที่อพยพมานั้น ประมวญทองแดงทองเหลืองเป็นอันมากหนักได้ ๑๖๐ ชั่งเศษ แล้วหล่อขึ้นเป็นพระพุทธรูปองค์หนึ่งเนื้อหนาดี ขัดสีเกลี้ยงเกลางาม พระครูโพนเสม็ด ถวายพระนามว่า พระแสน เพราะคิดน้ำหนักได้กว่าแสนเฟื้อง และตั้งไว้ในวัดซึ่งเป็นที่อยู่ของ พระครูโพนเสม็ด ณ เมืองเชียงแตง ดังนั้น แสน หมายเอาคำว่า กว่าแสนเฟื้อง ประการหนึ่ง และ แสน หมายเอาทองแดงทองเหลืองมากมาย หนักตั้ง ๑๖๐ ชั่งเศษ เพราะ แสน คำนี้พจนานุกรมให้ความหมายไว้ว่า มากยิ่ง ประการหนึ่งแต่ แสน คำนี้จะหมายเอาถิ่นที่เกิดของพระ และช่างผู้หล่อเป็นชาวถิ่นนั้น คือ แคว้นลานช้าง เลยขนานนามตามนัยนี้ว่า พระแสนลานช้าง แต่ตัดคำหลังเพื่อกะทัดรัดเข้าเพียงเรียกว่า พระแสน ดังนี้ประการหนึ่งก็เป็นได้ แม้ในหนังสือโบราณคดีกล่าวไว้ว่า อาศัย เหตุที่เชียงแสนได้เคยเป็นชื่อราชธานี มานมนานตั้งแต่สมัยเมื่อชนชาติไทยได้เข้ามาปกครองมณฑลลานช้าง ราวปีพุทธศักราช ๑๖๐๐ นักปราชญ์ทางโบราณคดี จึงสมมติชื่อโบราณวัตถุสถานอันเป็นฝีมือช่างไทยได้ทำไว้แต่ครั้งนั้น และต่อมาในอาณาจักรลานนา และลานช้างว่า สมัยเชียงแสน” และ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชนุภาพ ทรงให้เหตุผลไว้ในหนังสือพุทธเจดีย์ว่า พุทธเจดีย์ แบบเชียงแสนเป็นต้นแบบต่อไปถึงประเทศลานช้าง คือ เมืองหลวงพระบาง เวียงจันทร์ ลงมาจนถึงเมืองจำปาศักดิ์ ดังนี้ นัยนี้คำว่า พระแสน ก็หมายเอาพระสมัยฝีมือเชียงแสนนั่นเอง แต่เรียกสั้นก็ว่า พระแสน ฉะนั้นหลวงพ่อแสนองค์นี้ นับเข้าเป็นพระงามยิ่งองค์หนึ่งในบรรดาพระพุทธรูปลานช้างที่งามด้วยกัน คือ พระแสนวัดหงส์ ฯ นี้องค์หนึ่ง และพระแสนกับพระเสริม วัดปทุมวรารามอีก ๒ องค์ด้วยกัน
    ๔. หอไตร เป็นอาคารไม้ ฝาปกน เขียนลายรดน้ำปิดทอง บานประตูไม้แกะสลักลายเครือเถา ฝีมือช่างสมัยรัตนโกสินทร์
    [​IMG]สระน้ำศักดิ์สิทธิ์

    ๕. สระน้ำมนต์ รูปสระเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ ๖ วา ยาวประมาณ ๒๖ วา ลึกประมาณ ๑.๕๐ เมตร ตั้งอยู่ด้านตะวันตกส่วนท้ายของวัดแต่ตามพื้นที่เดิมของวัดทั้งหมดอยู่ตรง กลางติดไปทางตะวันตก มีตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงเสด็จมาสรงน้ำที่วัดหงส์แห่งนี้ ก่อนออกศึกสงครามทุกครั้ง และเมื่อมีพิธีสำคัญของแผ่นดิน
    สมัยก่อนประชาชนจะพากันมาอาบน้ำในสระอยู่เสมอ ๆ ยิ่งเสาร์ห้าด้วยแล้ว ผู้คนหนาแน่นมาก ต้องรอกันเป็นชั่วโมงจึงจะได้อาบ ผู้เฒ่าผู้ใหญ่เคยเล่าว่าศักดิ์สิทธิ์นัก และประสิทธิ์ประสาทความขลังความศักดิ์สิทธิ์ให้ได้ตามเจตจำนงทีเดียว
    หลวงพรหมาธิบดี (จัน) ผู้เชี่ยวชาญทางประพันธ์และมหาชาติ จนมีชื่อปรากฏอยู่ในมหาชาติฉบับแบบศึกษาเล่มปัจจุบันนี้ในฐานะผู้ตรวจความ ซึ่งอยู่ ณ บ้านใกล้วัดนี้ และ พระครูพิสิษฐ์ธรรมานุรักษ์ (อุย) ผู้เป็นพระสงฆ์ในวัดนี้ ซึ่งท่านทั้งสองมีอายุยืนถึง ๘๐ เศษ ทั้งสองท่านได้เล่าอานิสงฆ์ และคุณความดีของน้ำมนต์สระนี้นานาประการ และสั่งผู้พบปะให้อาบเสมอ ในสมัยก่อนนี้บริเวณสระนี้มีศาลาพักด้านเหนือ และใต้ มีที่อาบน้ำทำเป็นที่ตักลงรางไหลลงสู่ที่ขังไหลเป็นก๊อกมายังผู้อาบ แต่ต้องระวังลื่น ตะไคร่จับหนาแน่นเพราะมีคนอาบอยู่ไม่ขาด เรียกกันสมัยนั้นว่า บ่อโพง ด้านใต้ทางทิศตะวันตกมีศาลาเป็นเรือนไม้กั้น ฝาสามด้านทั้งเครื่องสักการะเต็ม กว้างประมาณ ๓ วา หันหน้าเข้าสู่สระ ธูปเทียนดอกไม้ไม่มีขาด เฉพาะก้านธูปเผาคนไหม้ และเป็นที่ประดิษฐานพระรูปสมเด็จพระสังฆราช (ชื่น) ซึ่งที่ฐานพระรูปของสมเด็จพระสังฆราชองค์นี้ มีอักษรจารึกว่า รูปสมเด็จพระสังฆราชวัดหงส์ฯ หม่อมเจ้าหญิงกระจ่าง หม่อมเจ้าหญิงชม หม่อมเจ้าหญิงสฤษดิ ได้พร้อมใจกันหล่อพระรูปเจ้าของสระ จารึกนี้ก็แสดงว่าความสำคัญของสระนี้เกี่ยวข้องกับ สมเด็จพระสังฆราช องค์นี้อยู่เหมือนกัน สมเด็จพระสังฆราชองค์นี้เป็นองค์ที่ ๓ องค์ที่ ๒ คือ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) องค์ที่ ๑ สมเด็จพระสังฆราช (ดี) ในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ส่วนพระรูปนี้สร้างราวในรัชกาลที่ ๔ ที่ ๕ นี้เอง ส่วนเหตุผลข้อเท็จจริงในเรื่องเจ้าของสระน้ำมนต์ ก็น่าจะเป็นได้เหมือนกัน เพราะสมเด็จเจ้าประคุณองค์นี้เป็นเจ้าอาวาสวัดหงส์ฯ และทรงคุณธรรมเป็นพระโพธิวงศาจารย์ แสดงถึงพระเกียรติคุณในทางศักดิ์สิทธิ์ และขลัง ต่อมาได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช แม้จะถูกราชภัยรุนแรงประการใด ก็ไม่ถึงล่มจม ประคองพระองค์อยู่จนสิ้นพระชนม์ ทั้งยังทรงเชี่ยวชาญทางพระปริยัติ และความรู้พระพุทธศาสนาถึงขั้นปรมัตถ์ และวิปัสสนาจนสามารถชำระพระอภิธรรมปิฏก เมื่อสังคายนาในรัชกาลที่ ๑
    ในระยะต่อมาประชาชน และคณะศรัทธาได้ทำการขุดลอกสระแห่งนี้กันแล้วครั้งหนึ่ง ผู้เป็นหัวหน้าจัดการ คือ พันตำรวจเอก พระยาธุรการจำกัด ได้ ขุดลอกทั่วถึงลึกพอหยั่งถูกก้อนหินที่ลงอาคมกลางสระ ก็พอดีฝนตกใหญ่ ฟ้าคะนองกัมปนาท น้ำเต็มสระผู้ขุดลอกต้องพัก และรอโอกาสใหม่ เมื่อฝนหายหยั่งไม่พบหินนั้นเสียแล้ว ไม่ทราบว่าเคลื่อนที่ไปไหน ดูเป็นการเท่ากับรับรองว่า หินอาคมนั้นเชื่อเถอะยังมีอยู่ และยังศักดิ์สิทธิ์อาบกินเถิด แต่อย่าเอาขึ้นไปเลย ต้องการอยู่อย่างนี้ จึงมีอาการปรากฏดังกล่าวมานั้น สระน้ำมนต์นี้ประวัติไม่ปรากฏแน่ เห็นจะมีมานานคู่กับวัดนี้จึงไม่มีผู้ใดจะทรงจำได้ เพราะหมดคนรุ่นนั้นไปนานแล้ว
    จากการสันนิษฐาน เรื่องเล่าอีกหนึ่งที่มา เล่าสืบต่อดังนี้ว่า ตามหลักฐานของ ท่านเจ้าคุณรัตนมุนี เล่าว่ามีพระวัดหงส์ฯ รูปหนึ่งไปธุดงค์ ได้ไปพักที่ วัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดอยุธยา พบกับพระเถระอาจารย์ผู้ศักดิ์สิทธ์องค์หนึ่ง ถามถึงสระน้ำมนต์แห่งนี้ แล้วฝากหินกายสิทธิ์ลงอาคมมาแผ่นหนึ่งให้มาใส่ในสระ เมื่อพระวัดหงส์ฯรูปนั้นกลับถึงวัด ได้เล่าเรื่องดังกล่าวให้เพื่อนพระเถรฟัง และเมื่อได้ฟังต่างก็ขอดูหิน พอพระหยิบออกมาจากย่ามแล้ว กลายเป็นก้อนหินขนาดมหึมา ยกคนเดียวไม่ได้ เป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก พระเณรจึงช่วยกันยกไปใส่ไว้ในสระ
    [​IMG]ต้นสาละบริเวณรอบพระอุโบสถ

    อีกหลักฐานหนึ่งว่าดังนี้ สมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดฯ ให้เสาะสืบหาพระสงฆ์จัดการพระศาสนา พระศรีภูมิปรีชา ได้อาราธนา พระอาจารย์ดี วัดประดู่ ซึ่งท่านรู้คุณธรรมมาก และมีพรรษาอายุเป็นผู้เฒ่ามายัง กรุงธนบุรี และสถาปนาท่านเป็น พระสังฆราช ท่านได้ลงแผ่นหินประกอบพิธีสระน้ำมนต์นี้ และอีกหลักฐานหนึ่งว่า ในสมัย กรุงรัตโกสินทร์ นี้เองแผ่นดินที่หนึ่ง เมื่อได้อาราธนา พระอาจารย์สุก วัดท่าหอย คลองตะเคียน แขวงกรุงเก่า มาอยู่ วัดพลับ (วัดราชสิทธิ) ท่านได้ลงเวทมนต์ลงอาคมด้วยพระพุทธมนต์หลายประการเป็นสี่ทิศเพื่ออาบแก้ ทุกข์ โศก โรค ภัย และอำนวยโชคลาภยศศักดิ์อัครฐานนานาชนิดเข้าไว้ พระอาจารย์สุก องค์นี้ต่อมาได้เป็นพระสังฆราชทรงความรู้สูง และมีคุณธรรมเยี่ยมในเวลานั้น สามารถเรียกไก่ป่ามาให้เชื่องได้ด้วยอำนาจเมตตา เล่ากันว่าเมื่อท่านย้ายวัดข้ามฟากจากวัดพลับไปอยู่ฝังพระนคร ท่านเดินข้ามน้ำไปได้ ทั้งนี้เพราะมีผู้นับถือบูชาท่านต่างนำเรือมาจอดแน่นขนัดยาวแต่วัดพลับถึง ฝั่งพระนคร ท่านจึงเดินไปบนเรือนั้นแต่วัดถึงฝังพระนครได้ เป็นอัศจรรย์ แต่เรื่องปลุกเสกเวทมนต์สระน้ำมนต์นี้นั้น เล่ากันว่า ท่านทำร่วมกับ พระอาจารย์ศรี วัดสมอราย ผู้วิเศษขลังอีกองค์หนึ่ง ซึ่งต่อมาเป็น เจ้าคุณปัญญาวิสาลเถร เรื่องนี้จะยุติประการใดสุดแต่ท่านผู้อ่านจะเชื่อ แต่ความขลังความศักดิ์สิทธิ์นั้นมีจริง จะพิสูจน์ได้ก็เชิญลองดูจะอัศจรรย์ทีเดียว เขาเล่ากันว่าผู้ที่ดีได้ความเจริญรุ่งเรืองที่ออกจากวัดนี้ไปนั้น แม้ท่าน เจ้าพระยายมราช ที่รุ่งเรืองตลอดวัย และพระยาธรรมปรีชา (แก้ว) ที่พ้นราชภัย และยศศักดิ์ขึ้นในสมัยแผ่นดินที่ ๑ นี้ก็เพราะอาบกินน้ำมนต์สระนี้เป็นแรงส่งด้วย
    เรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของสระน้ำมนต์วัดหงส์ฯ หมื่นราชทัตถ์ผดุง ได้บันทึกไว้ว่า ท่านผู้เฒ่าผู้แก่ เคยเล่าให้ท่านฟัง จะอาบจะกินต้องคารวะ และอธิษฐานขอความสำเร็จแล้วจึงอาบกิน แต่สระน้ำมนต์นี้อำนวยผลให้สัมฤทธิ์ ต่างกันแต่ละมุมสระ คือ มุมทางทิศตะวันออกดีทางเมตตามหานิยม มุมทางทิศใต้ ดีทางมหาลาภและค้าขาย มุมทิศทางเหนือ ดีทางบำบัดทุกข์โศกโรคภัยไข้เจ็บ มุมทางทิศตะวันตก ดีทางอยู่ยงคงกะพันชาตรี
    ปัจจุบันบริเวณสระน้ำมนต์ ได้มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น ตัวสระถูกออกแบบให้เป็นมาตรฐาน ก่ออิฐฉาบปูนโดยรอบ บริเวณสถานที่มีความสงบร่มรื่น จึงเหมาะแก่การท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ ทุกวันนี้ประชาชนยังคงให้ความสนใจ แวะเวียนมาเยี่ยมชมอยู่เรื่อย ๆ
    [​IMG]ศาลเจ้าตากวัดหงส์ ในอดีต

    ๖. ศาลเจ้าพ่อตากวัดหงส์ฯ จากตำนานคำบอกเล่าสืบต่อกันมา ครั้งเมื่อ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ต้องโทษด้วยประหารชีวิตที ณ ป้อมวิชัยประสิทธิ์ แล้ว ทหารได้นำพระศพลงเรือ มาขึ้นที่ท่าน้ำหลังวัดหงส์ฯ ปรากฏว่าพระโลหิตของพระองค์ตกลงพื้นดิน (ตรงบริเวณต้นโพธิ์ด้านข้างศาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช ในปัจจุบัน) ประชาชนผู้ตามส่งเสด็จ จึงได้นำดินที่เปื้อนเลือดนั้น ขึ้นมาปั้นเป็นพระรูปของพระองค์ และพร้อมใจกันสร้างศาลขึ้น ณ ที่แห่งนั้น โดยสร้างเป็นศาลไม้ ครั้นเมื่อเวลา เนินนานเข้า จึงเกิดการชำรุดทรุดโทรม ทางวัด และคณะศรัทธาได้ช่วยกันสร้างศาลขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีความกระทัดรัด โครงสร้างเหมาะสมดูสวยงามมาก อยู่บริเวณเดียวกันกับศาลเดิม
    หากเป็นไปตามตำนานคำบอกเล่า ย่อมกล่าวได้ว่า ศาลเจ้าตาก วัดหงส์ฯ คือ ศาลอนุสรณ์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช แห่งแรกในประเทศไทย ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นที่เคารพสักการะ และน้อมรำลึกนึกถึงในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงสร้างสมไว้ให้ลูกหลานเหลนไทย
    ๗. ศาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช ปัจจุบันเป็นศาลที่สร้างขึ้นมาใหม่ โดยได้รับความร่วมมือจากกองทัพเรือ กรุงเทพมหานคร และ วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร ตัวอาคารปูนทรงไทย หลังคาจั่วลดหลั่นสองชั้น (ด้านหน้าและด้านหลังเป็นลักษณะจั่วเปิด) ด้านข้างทั้งสี่ด้านเปิดโล่ง ภายในศาลประดิษฐานรูปหล่อ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช ขนาดเท่าองค์จริง เนื้อทองแดงสำริดรมดำ ทรงเครื่องกษัตริย์เต็มยศ นั่งบนแท่นประทับ วางพระแสงดาบบนพระเพลา (ตัก)
    รายนามเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีต – ปัจจุบัน
    ๑. พระวินัยรักขิต (ดุน)
    ๒. พระประสิทธิศีลคุณ (สือ)
    ๓. พระธรรมปหังษนาจารย์ (ศิริ)
    ๔. พระประสิทธิศีลคุณ (เลี้ยง)
    ๕. พระธรรมปหังษนาจารย์ (สาด)
    ๖. พระรัตนมุนี (บาง ธมัมรังสี ปธ.๖)
    ๗. พระสุขุมธรรมาจารย์ (ลมัย โกวิโท ปธ.๗)
    ๘. พระเทพโมลี (ชูศักดิ์ ธมัมทินังโน ปธ.๙)
    ปัจจุบัน พระเทพโมลี (ชูศักดิ์ ธมัมทินังโน) ได้มรณะภาพแล้ว อยู่ระหว่างรอการดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ใหม่ต่อไป
    การเดินทางสู่วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร
    การเดินทางสู่วัดหงส์ฯ สามารถเลือกเดินทางได้หลากหลาย สะดวกสบายไร้กังวล หากท่านมารถยนต์ส่วนตัว เริ่มจากท้องสนามหลวง ให้ขับข้ามสะพานพระปิ่นเกล้า พอลงสะพานให้ขับชิดซ้าย เลี้ยวเข้าถนนอรุณอัมรินทร์ ผ่านโรงพยาบาลศิริราช ผ่านวัดระฆังโฆสิตาราม ตรงไปถึง ๔ แยก ให้เลี้ยวขวา จากนั้นให้ชิดซ้ายเข้าซอยถนนพระราชวังเดิม ๒ หรือถนนอิสรภาพ ๒๘ ขับตรงเข้าไปในซอยประมาณ ๓๐๐ เมตร ก็ถึงวัด
    ส่วนท่านที่ต้องการนั่งรถประจำทาง สายที่ผ่าน ๑๙, ๔๐, ๕๖, ๕๗, และ๑๔๙
    เรือด่วนเจ้าพระยาลงที่ท่าเตียน
    เรือข้ามฝาก ให้นั่งที่ท่าเตียน ข้ามมายังวัดอรุณฯ ค่าเรือโดยสารราคา ๓ บาท จากนั้นก็นั่งมอเตอร์ไซต์รับจ้างมายังวัดหงส์ (ราคา ๑๕ บาท) หรือถ้าท่านต้องการเดินกินลมชมวิว ดูสถาปัตยกรรมวัดอรุณ เดินทะลุออกมาทางกองทัพเรือ (พระราชวังเดิม) เดินชิดซ้ายมาเรื่อย ๆ ผ่านทางเข้าวัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) ลอดใต้สะพาน ชมวิถีชาวบ้านริมคลอง ผ่านชุมชนมัสยิดต้นสน ก็เป็นอันถึงวัดหงส์ได้เช่นกัน
    วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร เปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น.-๑๗.๐๐ น. สอบถามเส้นทาง และข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ พระครูปลัดสุชาติ ฐานจาโร หมายเลขโทรศัพท์ ๐๒-๔๗๒ ๐๗๔๔, ๐๘๑-๙๐๖ ๔๘๒๗


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก "http://www.phrachaokrungthon.com/วัดหงส์รัตนาราม-ราชวรวิ"
     
  3. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    พระสีวลี และ พระกรุวัดเงิน(คลองเตย) พิมพ์สังฆจาย <fieldset class="fieldset"><legend>Attached Thumbnails</legend> [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    </fieldset>

    จึงขอเชิญชวน พี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ และญาติธรรม ทั้งหลาย มาร่วมงานบุญด้วยกันในครั้งนี้ครับ
     
  4. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    <table class="tborder" id="threadslist" width="100%" align="center" border="0" cellpadding="6" cellspacing="1"><tbody id="threadbits_forum_15"><tr><td class="alt1" id="td_threadstatusicon_326569">[​IMG] </td> <td class="alt2"> </td> <td class="alt1" id="td_threadtitle_326569" title=""> [​IMG] เพื่อการกุศล ผ้าป่าสามัคคีเพื่อฉลองอาคารเรียนและมอบทุนการศึกษา รับพระหลวงพ่อกวยเป็นที่ระลึก (20 คน กำลังดูอยู่) ([​IMG] 1 2)
    Amata_club
    </td> <td class="alt2" title="Replies: 25, Views: 193">
    Today 12:57 PM
    by suttip2 [​IMG]
    </td> <td class="alt1" align="center">25</td> <td class="alt2" align="center">193</td></tr></tbody></table>

    มีพี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ และ ญาติธรรม เข้ามาชม กันมากมายครับ... ยินดีในบุญและอนุโมทนา กับทุกๆท่านด้วยนะครับ
     
  5. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    Update รายนามผู้ร่วมบุญที่ได้แจ้งไว้แล้วครับ

    [​IMG]
     
  6. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    รับทราบขอรับท่านอ.

    /|\
     
  7. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    <table border="0" cellpadding="3" cellspacing="1"><tbody><tr><td colspan="2" bgcolor="#FFFFFF" height="65">
    [​IMG] อานิสงส์สร้างสาธารณะและสร้างวิหารทาน [​IMG]

    </td> </tr> <tr> <td valign="top" width="61" bgcolor="#FFFFFF">ผู้ถาม</td> <td valign="top" width="435" bgcolor="#FFFFFF">การสร้างสะพาน สร้างถนน สร้างโรงเรียน โรงพยาบาลเป็นสาธารณะ กับการสร้างวิหาร สร้างโบสถ์ อย่างไหนมีอานิสงส์มากกว่ากันครับ..?</td> </tr> <tr> <td valign="top" bgcolor="#FFFFFF">หลวงพ่อ</td> <td valign="top" bgcolor="#FFFFFF">พระพุทธเจ้าท่านว่าอย่างนี้..
    การให้ทานแก่คนที่มีศีลไม่บริสุทธิ์ ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่ผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์ครั้งหนึ่ง
    การให้ทานแก่ท่านผู้มีศีลบริสุทธิ์ ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พระโสดาปัตติมรรคครั้งหนึ่ง
    การให้ทานแก่พระโสดาปัตติมรรค ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พระโสดาปัตติผลครั้งหนึ่ง
    การให้ทานแก่พระโสดาปัตติผล ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พระสกิทาคามีมรรคครั้งหนึ่ง
    การให้ทานแก่พระสกิทาคามีมรรค ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พระสกิทาคามีผลครั้งหนึ่ง
    การให้ทานแก่พระสกิทาคามีผล ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พระอนาคามีมรรคครั้งหนึ่ง
    การให้ทานแก่พระอนาคามีมรรค ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พรอนาคามีผลครั้งหนึ่ง
    การให้ทานแพรอนาคามีผล ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พระอรหัตมรรคครั้งหนึ่ง
    ถวายทานแก่พระอรหัตมรรค ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานแก่พระอรหันต์ครั้งหนึ่ง
    ถวายทานแก่พระอรหัตผล ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าครั้งหนึ่ง
    ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานแก่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งหนึ่ง
    ถวายทานแก่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑๐๐ มีผลไม่เท่ากับถวายสังฆทานครั้งหนึ่ง
    ถวายสังฆทาน ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายวิหารทานครั้งหนึ่ง
    ถ้าเทียบดู สร้างถนน สร้างศาลา สร้างวิหารการเปรียญ คนที่ใช้มีศีลขนาดไหน ก็เทียบเอานะ

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก "http://www.danpranipparn.com/web/anser/anser89.html"
    </td></tr></tbody></table>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 กุมภาพันธ์ 2012
  8. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    [​IMG]
    อานิสงส์ของการทำบุญ ที่ควรรู้ไว้
    ( การไม่กินเนื้อสัตว์ , การสร้างพระพุทธรูป , การบวชชีพราหมณ์ , ....
    รวมอานิสงส์ของการทำบุญที่ควรรู้ไว้
    มาทำบุญกันเถอะค่ะ การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์หรือสังคมด้วยวิธีต่างๆ ทำให้เราได้รับบุญกุศลต่างๆ มากมาย ซึ่งในที่นี้ได้รวบรวมอานิสงส์ต่างๆ ที่ได้จากการทำบุญในรูปแบบต่างๆ ให้รู้ไว้ค่ะ แต่อย่างไรก็ตามนะคะ การทำบุญก็ควรทำด้วยจิตใจที่ต้องการทำบุญจริงๆ ไม่หวังผลตอบแทน จึงจะเกิดอานิสงส์อย่างแท้จริงค่ะ
    อานิสงส์ 10 ข้อ ของ การไม่กินเนื้อสัตว์
    1. เป็นที่รักของบรรดาเทพ พรหม ตลอดจนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย
    2. จิตอันเป็นมหาเมตตาย่อมบังเกิดขึ้น
    3. สามารถตัดขาดความอาฆาต ดับอารมณ์***มโหดเครียดแค้นในใจลงได้
    4. ปราศจากโรคภัยร้ายแรงมาเบียดเบียนร่างกาย
    5. มีอายุมั่นขวัญยืน
    6. ได้รับการปกป้องคุ้มครองจากเทพทั้งปวง
    7. ยามหลับนิมิตเห็นแต่สิ่งที่ดีงามเป็นสิริมงคล
    8. ย่อมระงับการจองเวร สลายความอาฆาตแค้นซึ่งกันและกัน
    9. สามารถดำรงอยู่ในกระแสพระนิพพาน ไม่พลัดหลงตกลงสูอบายภูมิ
    10. ทันทีที่ละสังขารจากโลกนี้ จิตจะมุ่งสู่สุคติภพ


    อานิสงส์ การจัด สร้างพระพุทธรูป หรือ สิ่งพิมพ์ อันเกี่ยวกับ พระธรรมคำสอน เป็น กุศล ดังนี้
    1. อกุศลกรรมในอดีตชาติแต่ปางก่อน จะเปลี่ยนจากหนักเป็นเบา จากเบาเป็นสูญ
    2. สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง สรรพภยันตรายสลาย ปวงภัยไม่มีคนคิดร้ายไม่สำเร็จ
    3. เจ้ากรรมนายเวรในอดีตชาติแต่ปางก่อน เมื่อได้รับส่วนบุญไปแล้ว ก็จะเลิกจองเวรจองกรรม
    4. เหล่ายักษ์ผีรากษส งูพิษเสือร้าย ไม่อาจเป็นภัย อยู่ในที่ใดก็แคล้วคลาดจากภัย
    5. จิตใจสงบ ราศีผ่องใส สุขภาพแข็งแรง กิจการงานเป็นมงคล รุ่งเรืองก้าวหน้า ผู้คนนับถือ
    6. มั่นคงในคุณธรรม ความอุดมสมบูรณ์ปรากฏ (เกินความคาดฝัน) ครอบครัวสุขสันต์ วาสนายั่งยืน
    7. คำกล่าวเป็นสัจจ์ ฟ้าดินปราณี ทวยเทพยินดี มิตรสหายปรีดา หนี้สินจะหมดไป
    8. คนโง่สิ้นเขลา คนเจ็บหายได้ คนป่วยหายดี ความทุกข์หายเข็ญ สตรีจะได้เกิดเป็นชายเพื่อบวช
    9. พ้นจากมวลอกุศล เกิดใหม่บุญเกื้อหนุน มีปัญญาล้ำเลิศ บุญกุศลเรืองรอง
    10. สิ่งที่สร้างจะบังเกิดเป็นกุศลจิตแก่ทุกคนที่ได้พบเห็น เป็นเนื้อนาบุญอย่างเอนกทุกชาติของผู้สร้างที่เกิด จะได้ฟังธรรมจากพระอริยเจ้าปัญญาในธรรมแก่กล้าสามารถได้อภิญญาหก สำเร็จโพธิญาณ

    อานิสงส์ การบวชพระบวชชีพรามณ์ (บวชชั่วคราวเพื่อสร้างบุญ,อุทิศให้พ่อแม่เจ้ากรรมนายเวร)
    1. หน้าที่การงานจะเจริญรุ่งเรือง ได้ลาภ ยศ สรรเสริญตามปรารถนา
    2. เจ้ากรรมนายเวรจะอโหสิกรรม หนี้กรรมในอดีตจะคลี่คลาย
    3. สุขภาพแข็งแรง สติปัญญาแจ่มใส ปัญหาชีวิตคลี่คลาย
    4. เป็นปัจจัยสู่พระนิพพานในภพต่อๆไป
    5. สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง โพยภัยอันตรายผ่อนหนักเป็นเบา
    6. จิตใจสงบ ปล่อยวางได้ง่าย มองเห็นสัจธรรมแห่งชีวิต
    7. เป็นที่รักที่เมตตามหานิยมของมวลมนุษย์มวลสัตว์และเหล่าเทวดา
    8. ทำมาค้าขึ้น ไม่อับจน การเงินไม่ขาดสายไม่ขาดมือ
    9. โรคภัยของตนเอง ของพ่อแม่ และของคนใกล้ชิดจะเบาบางและรักษาหาย
    10. ตอบแทนพระคุณของพ่อแม่ได้เต็มที่ สำหรับผู้ที่บวชไม่ได้เพราะติดภาระกิจต่างๆ ก็สามารถได้รับอานิสงส์เหล่านี้ได้ด้วยการสร้างคนให้ได้บวชสนับสนุนส่งเสริม อาสาจัดการให้คนได้บวช

    มาสร้างบุญบารมีกันเถอะ
    1. นั่งสมาธิอย่างน้อยวันละ15นาที(หรือเดินจงกรมก็ได้) อานิสงส์ เพื่อสติปัญญาที่เฉลียวฉลาดขึ้นทั้งภพนี้และภพหน้า เพื่อจิตใจที่สว่างผ่อนปรนจากกิเลส ปล่อยวางได้ง่าย จิตจะรู้วิธีแก้ปัญหาชีวิตโดยอัตโนมัติ ชีวิตจะเจริญรุ่งเรืองไม่มีวันอับจน ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพกายและจิตแข็งแรง เจ้ากรรมนายเวรและญาติมิตรที่ล่วงลับจะได้บุญกุศล

    2. สวดมนต์ด้วยพระคาถาต่างๆอย่างน้อยวันละครั้งก่อนนอน อานิสงส์ เพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง ชีวิตหน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า เงินทองไหลมาเทมา แคล้วคลาดจากอุปสรรคทั้งปวง จิตจะเป็นสมาธิได้เร็ว แนะนำพระคาถาพาหุงมหากา,พระคาถาชินบัญชร,พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก เป็นต้นเมื่อสวดเสร็จต้องแผ่เมตตาทุกครั้ง

    3. ถวายยารักษาโรคให้วัด,ออกเงินค่ารักษาให้พระตามโรงพยาบาลสงฆ์ อานิสงส์ ก่อให้เกิดสุขภาพร่มเย็นทั้งครอบครัว โรคที่ไม่หายจะทุเลา สุขภาพกายจิตแข็งแรง อายุยืนทั้งภพนี้และภพหน้า ถ้าป่วยก็จะไม่ขาดแคลนการรักษา

    4. ทำบุญตักบาตรทุกเช้า อานิสงส ได้ช่วยเหลือศาสนาต่อไปทั้งภพนี้และภพหน้า ไม่ขาดแคลนอาหาร ตายไปไม่หิวโหย อยู่ในภพที่ไม่ขาดแคลน ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์

    5. ทำหนังสือหรือสื่อต่างๆเกี่ยวกับธรรมะแจกฟรีแก่ผู้คนเป็นธรรมทาน อานิสงส์ เพราะธรรมทานชนะการให้ทานทั้งปวง ผู้ให้ธรรมจึงสว่างไปด้วยลาถ ยศ สรรเสริญ ปัญญา และบุญบารมีอย่างท่วมท้น เจ้ากรรมนายเวรอโหสิกรรมให้ชีวิตจะเจริญรุ่งเรืองอย่างไม่คาดฝัน

    6. สร้างพระถวายวัด อานิสงส์ ผ่อนปรนหนี้กรรมให้บางเบา ให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง แคล้วคลาดจากอุปสรรคทั้งปวง ครอบครัวเป็นสุขได้เกิดมาอยู่ในร่มโพธิ์ของพุทธศาสนาตลอดไป

    7. แบ่งเวลาชีวิตไปบวชชีพรามณ์หรือบวชพระอย่างน้อย9วันขึ้นไป อานิสงส์ ได้ตอบแทนคุณพ่อแม่อย่างเต็มที่ ผ่อนปรนหนี้กรรมอุทิศผลบุญให้ญาติมิตรและเจ้ากรรมนายเวร สร้างปัจจัยไปสู่นิพพานในภพต่อๆไป ได้เกิดมาอยู่ในร่มโพธิ์ของพุทธศาสนาจิตเป็นกุศล

    8. บริจาคเลือดหรือร่างกาย อานิสงส์ ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพแข็งแรง ช่วยต่ออายุ ต่อไปจะมีผู้คอยช่วยเหลือไม่ให้ตกทุกข์ได้ยาก เทพยดาปกปักรักษาได้เกิดมามีร่างกายที่งดงามในภพหน้า ส่วนภพนี้ก็จะมีราศีผุดผ่อง

    9. ปล่อยปลาที่ซื้อมาจากตลาดรวมทั้งปล่อยสัตว์ไถ่ชีวิตสัตว์ต่างๆ อานิสงส์ ช่วยต่ออายุ ขจัดอุปสรรคในชีวิต ชดใช้หนี้กรรมให้เจ้ากรรมนายเวรที่เคยกินเข้าไป ให้ทำมาค้าขึ้น หน้าที่การงานคล่องตัวไม่ติดขัด ชีวิตที่ผิดหวังจะค่อยๆฟื้นคืนสภาพที่สดใส เป็นอิสระ

    10. ให้ทุนการศึกษา,บริจาคหนังสือหรือสื่อการเรียนต่างๆ,อาสาสอนหนังสือ อานิสงส์ ทำให้มีสติปัญญาดี ในภพต่อๆไปจะฉลาดเฉลียวมีปัญญา ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนอย่างรอบรู้ สติปัญญาสมบูรณ์พร้อม

    11. ให้เงินขอทาน,ให้เงินคนที่เดือดร้อน(ไม่ใช่การให้ยืม) อานิสงส์ ทำให้เกิดลาภไม่ขาดสายทั้งภพนี้และภพหน้า ไม่ตกทุกข์ได้ยาก เกิดมาชาติหน้าจะร่ำรวยและไม่มีหนี้สิน ความยากจนในชาตินี้จะทุเลาลงจะได้เงินทองกลับมาอย่างไม่คาดฝัน

    12. รักษาศีล5หรือศีล8 อานิสงส์ ไม่ต้องไปเกิดเป็นเปรตหรือสัตว์นรก ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐครบบริบูรณ์ ชีวิตเจริญรุ่งเรือง กรรมเวรจะไม่ถ่าโถม ภัยอันตรายไม่ย่างกราย เทวดานางฟ้าปกปักรักษา ทั้ง12ข้อนี้เป็นเพียงตัวอย่างบุญที่ยกขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นถึงอานิสงส์ ที่ท่านพึงจะได้รับ จงเร่งทำบุญเสียแต่วันนี้ เพราะเมื่อท่านล่วงลับ ท่านไม่สามารถสร้างบุญได้อีกจนกว่าจะได้เกิด หากท่านไม่มีบุญมาหนุนนำ แรงกรรมอาจดึงให้ท่านไปสู่ภพเดรัจฉาน ภพเปรต ภพสัตว์นรก ที่ไม่อาจสร้างบุญสร้างกุศลได้ ต่อให้ญาติโยมทำบุญอุทิศให้ก็อาจไม่ได้รับบุญ ดังนั้นท่านจงพึ่งตนเองด้วยการสร้างสมบุญบารมี ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ท่านจะนำติดตัวไปได้ทุกภพทุกชาติเสียแต่วันนี้ด้วยเทอญ

    ขอขอบคุณขอมูลจาก "http://www.dhammajak.net/phitee/2.html.
     
  9. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    เคยมีหนังสือพระชือดัง เคยมาทำประวัติหลวงพ่อเพื่อเผยแพร่.....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1030574_2.JPG
      P1030574_2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      3.1 MB
      เปิดดู:
      333
    • P1030578_2.JPG
      P1030578_2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.5 MB
      เปิดดู:
      276
    • P1030579_2.JPG
      P1030579_2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.6 MB
      เปิดดู:
      133
    • P1030580_2.JPG
      P1030580_2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.5 MB
      เปิดดู:
      274
  10. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    หลวงพ่อท่านเล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ท่านบวชที่จังหวัดศรีษะเกษ แล้ว ท่านก็อยากเรียนหนังสือ เรียนพระธรรมวินัย จึงได้เดินทางมาเพื่อศึกษา และได้มาอยู่ที่วัดหงส์รัตนาราม

    ด้วยความที่ท่านชอบศึกษา และได้เรียน อ่านเขียน อักขระ ขอม ไทย ลาว จนคล่องแคล่วแล้ว ท่านจึงได้ทำการแปลและร่วมรวม ตำหรับตำรา คัมภีร์ใบลาน ทั้งพระธรรม คาถา ตำราเวทวิทยา พุทธาคม และโหราศารตร์ ชำระและร่วมรวม เพื่อไม่ให้ของดีของโบราณได้สูยหายไป...

    ทานได้จัดทำเป็นตำราพุทธาคม เพื่อมอบแก่ผู้ที่สนใจ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1030581_2.JPG
      P1030581_2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      996.1 KB
      เปิดดู:
      289
  11. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า ก่อนที่ท่านจะรู้จักกับท่านอาจารย์เจริญ ฐานยุตโต เกจิดัง แห่งวัดโนนสว่าง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี ทางคณะท่านอาจารย์เจริญ ได้ลงธรรม แล้วได้บอกกับท่านอาจารย์เจริญว่า ที่วัดหงส์รัตนาราม มีของดี (ตำราดี) ท่านอาจารย์เจริญได้มาสอบถามที่เจ้าอาวาสวัดหงส์ ทางเจ้าอาวาสวัดหงส์ จึงได้บอกท่านอาจารย์เจริญว่า ให้ลองไปสอบถามจากท่านพระอาจารย์มหาสมบูรณ์ ที่คณะ 4 ดู

    ท่านอาจารย์เจริญจึงได้ไปสอบถามจากหลวงพ่อมหาสมบูรณ์ ซึ่งขณะนั้นท่านได้ร่วมร่วมและแปล ตำราพระเวทย์พุทธาคม และจัดทำเสร็จไประดับหนึ่ง (ท่านบอกว่าใช้เวลาหลายปีเหมือนกัน) พระอาจารย์เจริญ จึงได้ขอดูตำราที่หลวงพ่อท่านได้รวบรวม และได้ขอถ่ายสำเนาตำรา ตำราพระเวทย์พุทธาคม ที่หลวงพ่อมหาสมบูรณ์ ได้ทำการชำระรวบรวมไว้

    จากนั้นมา หลวงพ่อมหาสมบูรณ์ และ พระอาจารย์เจริญ ก็ได้เป็นสหธรรมิกกัน หากทางท่านอาจารย์เจริญ ได้จัดทำวัตถุมงคลอะไร ท่านก็มักจะนำมามอบให้หลวงพ่อมหาสมบูรณ์ เสมอ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1030582_2.JPG
      P1030582_2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      336
  12. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    หลวงพ่อเล่าให้ฟังว่า ที่วัดหงส์รัตนาราม สมเด็จพระพุทธจารย์โต พรหมรังสี แห่งวัดระฆัง ได้เคยจัดสร้างพระเพื่อบรรจุกรุ ที่วัดหงส์ โดยมีหลักฐานและรายละเอียดที่มาที่ไปอย่างชัดเจน

    และสมัยหลวงปู่กล้าย ซึ่่งเป็นรองเจ้าอาวาสเช่นเดียวกับท่าน และเป็นสหธรรมิกกับหลวงปูโต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ก็เป็นพระเถราจารย์ผู้ทรงคุณ ทางพระเวทพุทธาคม อย่างเอกอุ ผู้เป็นครูบาอาจารย์ของท่าน จึงนับว่าวัดหงส์เป็นสถานที่ๆมีดี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1030599_2.JPG
      P1030599_2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      133
    • P1030597_2.JPG
      P1030597_2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      138
    • P1030598_2.JPG
      P1030598_2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      106
  13. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    ทางคุณ กะจะสัก ได้แจ้งชื่อ ญาติธรรม ที่ยื่นความประสงค์เพื่อเป็นประธานอีก 2 กอง
    1. กาญจน์พงศ์-เสาวลักษณ์ สืบกระแสร์
    2. วิภาส-เกรียงศักดิ์ สืบกระแสร์

    ยินดีในบุญ และอนุโมทนา ด้วยครับ
     
  14. Amata_club

    Amata_club เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    27,064
    ค่าพลัง:
    +52,162

    อนุโมทนาด้วยครับ _/\_
     
  15. Amata_club

    Amata_club เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    27,064
    ค่าพลัง:
    +52,162
    เพื่อนๆ พี่ๆ ที่ได้โอนเงินทำบุญแล้วโพสสลิปหรือหลักฐานการโอนเงินทำบุญลงในกระทู้ได้เลยนะครับ
    เพื่อช่วยกันตรวจสอบรายละเอียด และให้เพื่อนๆ พี่ๆ ที่ได้เข้ามาอ่านได้ร่วมอนุโมทนาบุญในครั้งนี้ด้วยกัน

    จัดส่งวัตถุมงคลแก่เจ้าภาพทุกท่านฟรี โดยคุณ suttip2 โดยไม่หักค่าใช้จ่าย

    ที่อยู่ในการส่งถ้าไม่สะดวกสามารถส่งทาง PM ให้คุณ suttip2 ก็ได้ครับ

    อนุโมทนาด้วยครับ _/\_
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  16. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    ถ้ามีเหลือ ผมขอสักเล่มนะขอรับ...
     
  17. Amata_club

    Amata_club เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    27,064
    ค่าพลัง:
    +52,162
  18. suttip

    suttip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    8,672
    ค่าพลัง:
    +31,433
    เล่มทางซ้ายมือ ต้องไปลองถามหลวงพ่อดูครับ ว่ามีเหลือหรือเปล่า แล้วขอจากท่านได้เลยครับ ส่วนเล่มทางขวามือ ต้องไปขออนุญาติท่าน นำไปถ่ายเอกสารเอง แล้วมาขอท่านยกครู หรือจะนำไปยกครูเองก็ได้ครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องไปขออนุญาติท่านก่อนครับ (เล่มทางขวามือ Xerox พร้อมปกราวๆ 300 บาทครับ)
     
  19. Kasm

    Kasm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    1,453
    ค่าพลัง:
    +6,686
    โอนเรียบร้อยครับ ..............โมทนากับทุกท่านครับ
    นาย กษม สัตยาหุรักษ์
    431 สุขุมวิท 50 ซอยสามทหาร
    พระโขนง คลองเตย
    กทม 10260

    ขอบคุณครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. FlukeFluke

    FlukeFluke เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2011
    โพสต์:
    101
    ค่าพลัง:
    +139
    [​IMG]

    นำวัตถุมงคลที่พระครูท่านสร้างมาให้ร่วมทำบุญกันครับ

    พระขุนแผนเนื้อดินเผา รุ่น 2 ที่พระครูไพบูลย์ได้ดำเนินการจัดสร้างด้วยตนเองทุกขั้นตอน

    รายการนี้ นำมาให้ร่วมทำบุญผ้าป่าฉลองอาคารเรียนและมอบทุนการศึกษาที่ 400 บาท

    เมื่อโอนเงินร่วมทำบุญแล้วให้นำสลิปมาแจ้งหลักฐานการโอนเงิน

    แล้วส่งที่อยู่ให้ผมทางpmได้เลยครับ จัดส่งให้ฟรีครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...