ด่วน!! รีบจองที่นั่งเฝ้าระวัง: เดี่ยวภัยพิบัติ1 เเสดงแล้ววันนี้ทุกประเทศทั่วโลก

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย sunny430, 24 มีนาคม 2012.

  1. Numtrn

    Numtrn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,408
    ค่าพลัง:
    +1,571
    ใครที่ทำนายว่า โลกแตก น่ะ ไม่ว่าจาก นิบิรุ หรือ 2012 อะไรก็ตาม
    มันไม่แตกดังใจท่านหรอกครับ ไม่มีอะไรแบบนั้นด้วยซ้ำ

    โลกแตก ถ้าจะแตกก็ไม่ต้องกลัว เพราะไม่รู้จะกลัวไปทำไม

    ไม่แตกแต่อยู่ลำบากนี่ซี่น่ากลัว น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุใหญ่ซัดกระหน่ำ
    ถ้าเตรียมตัวไม่ดี อยู่ลำบาก .....
     
  2. ภัทรกัปป์

    ภัทรกัปป์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +67
    แวะเยี่ยมเจ้าปลาทองกับเจ้าหมาหมู อิอิ ยังอ้วนท้วมสมบูรณ์อยู๋ไฉน
     
  3. sunny430

    sunny430 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,299
    ค่าพลัง:
    +5,425
    เมื่อไม่ถึงสิบนาทีที่ผ่านไป มีรายการในช่อง ห้า สุทธิชัยหยุ่นออกข่าว กับ นายพล เมกันคนหนึ่ง พูดเรื่องจะใช้สนามบินอู่ตะเภา ให้นาซ่าเข้ามาทำการอะไรบางอย่างครับ น่าสงสัยมาก ใครมีข้อมูลช่วยกันหน่อยคับ
     
  4. sunny430

    sunny430 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,299
    ค่าพลัง:
    +5,425
    นาซ่าขอใช้อู่ตะเภา
    ซุ่มเงียบ "สหรัฐ" ดอดขออนุญาตไทยใช้พื้นที่อู่ตะเภาตั้งโครงการศึกษาชั้น บรรยากาศ เริ่มเดินเครื่องทันควัน"สุกำพล" ยันตั้งศูนย์มนุษยธรรมในสนามบินด้วย
    บอกอย่าตื่นเต้น"นาซา" แจงเป็นโครงการทะเยอทะยานที่สุดในปีนี้ เมื่อวันอาทิตย์
    หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ได้รายงานถึงโครงการศึกษาชั้น บรรยากาศโดยองค์การการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) ในประเทศไทยซึ่งแหล่งข่าวทาง ทหารรายหนึ่งเผยว่า นาซาได้ขออนุญาตต่อรัฐบาลไทยและกองทัพแล้ว โดยนาซาจะ ดำเนินโครงการนี้อย่างเปิดเผยและโปร่งใสและยินดีให้เจ้าหน้าที่ไทยเข้ามามีส่วน ร่วมในการศึกษาและถ่ายทอดความรู้แก่นักวิทยาศาสตร์ไทยด้วย
    "นี่เป็นโครงการของนาซา และไม่เกี่ยวข้องกับกองทัพ หรือเรื่องของความมั่นคง" แหล่งข่าวรายนี้ย้ำ และเผยว่านาซาตั้งเป้าหมายเริ่มต้นโครงการที่สนามบินอู่ตะเภาใน จ.ระยองภายในเดือนหน้า ด้านพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเดินทางไป ร่วมประชุมความมั่นคงภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ แชงกรี-ลาไดอะล็อก
    ที่สิงคโปร์ เผยเช่นกันว่า สหรัฐสนใจจะจัดตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัยและมนุษยธรรมประจำ ภูมิภาคนี้ที่สนามบินดังกล่าวด้วย ซึ่งก็เห็นด้วยกับแนวคิดตั้งศูนย์เพื่อใช้งานด้าน มนุษยธรรม แต่การตัดสินใจอนุมัติหรือไม่นั้นขึ้นกับรัฐบาลไทย การประชุมความมั่นคงระหว่างประเทศที่สิงคโปร์ ซึ่งปิดฉากไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 มิ.ย. ลีออนพาเน็ตตา รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ ได้เข้าร่วมการประชุมด้วย โดยเขาได้ เปิดเผยรายละเอียดแผนยุทธศาสตร์เอเชีย-แปซิฟิกของสหรัฐฉบับใหม่ที่ให้ความ สำคัญกับภูมิภาคนี้เป็นหลัก รายงานกล่าวว่า รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐและไทยได้พบหารือกันในเวทีนี้เมื่อวันศุกร์ เป็นเวลา15 นาทีภายหลังการหารือ พล.อ.อ.สุกำพลระบุว่า อย่าได้กลัวว่าสหรัฐจะตั้ง ฐานทัพที่อู่ตะเภา ครั้งนี้ไม่เหมือนในอดีต เราเป็นเพื่อนกันเราต้องสนับสนุนซึ่งกันและ กัน สหรัฐสามารถใช้อู่ตะเภาได้ในภาวการณ์ปกติตามข้อตกลงของเรา พล.อ.อ.สุกำพลกล่าวด้วยว่า รัฐบาลสหรัฐและไทยเห็นพ้องกันว่าเจ้าหน้าที่ด้าน กลาโหมจะประชุมหารือกันปีละครั้ง และตกลงว่าทั้งสองฝ่ายจะพบกันอีกรอบในปีนี้ ในเว็บไซต์ของนาซานั้นได้กล่าวถึงโครงการดังกล่าวว่าเป็นการศึกษาวิทยาศาสตร์ เพื่อสภาพภูมิอากาศเหนือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจะเป็นโครงการศึกษา ด้านอากาศที่ยุ่งยากซับซ้อนและทะเยอทะยานที่สุดของนาซาในปีนี้ใช้ชื่อว่า Southeast Asia Composition, Cloud, ClimateCoupling Regional Study หรือ SEAC4RS แผนนี้ระบุไว้ว่านาซาตั้งใจใช้ไทยเป็นฐานสำหรับการบินของเครื่องบิน สำรวจชั้นบรรยากาศและกำลังรอการอนุญาตจากรัฐบาลไทยภายในเดือนสิงหาคม นายกษิต ภิรมย์อดีต รมว.การต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีดังกล่าวอาจเข้าข่าย มาตรา190 หรือไม่ว่า ยังไม่สามารถให้ความเห็นได้ เพราะยังไม่ได้ดูในรายละเอียด ซึ่งหลักการต้องไปดูสนธิสัญญาระหว่างไทยและสหรัฐว่ามีเรื่องอะไรอย่างไรบ้าง.

    ‘มะกัน’ซุ่มขอ‘อู่ตะเภา’ วิจัยเรื่องดินฟ้าอากาศ | ไทยโพสต์
     
  5. sunny430

    sunny430 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,299
    ค่าพลัง:
    +5,425
    วันพุธ ที่ 6 มิถุนายน 2555
    ระวัง!..ประเทศไทยจะเป็นเหมือน "ซีเรีย" เมื่อรัฐบาลอนุญาตให้ "สหรัฐ" มาใช้สนามบินอู่ตะเภา!!!
    Posted by Maira , ผู้อ่าน : 1317 , 07:33:34 น.
    หมวด : การเมือง
    พิมพ์หน้านี้ โหวต 7 คน

    อ่านข่าวเช้าประเทศไทยวันนี้แล้วรู้สึกหวั่นใจ เมื่อรัฐบาลจะอนุญาตให้สหรัฐมาใช้ฐานทัพอู่ตะเภา แม้จะอ้างว่าเป็นเรื่องของมนุษยธรรม หลายคนมุ่งไปที่การเผชิญหน้ากับจีน กลัวว่าจีน-รัสเซีย จะไม่พอใจ แต่ลืมนึกถึงภัยใกล้ตัวที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศของตน ..

    เจ้าของบล๊อกเคยเขียนเตือนมาตลอดว่า ประเทศไทยคือเป้าหมายต่อไป สำหรับการ "ปฏิวัติสี" ที่จะล้มล้างการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข..เช่นเดียวกับการสนับสนุนปฏิวัติสี (Color Revolution)และปฏิวัติดอกไม้ต่างๆ ในประเทศยุโรปตะวันออกและโลกอาหรับ ผ่านองค์กรเอกชน NED , CFR, NGO ฯลฯ

    หลายคนอาจจะคิดว่าเจ้าของบล๊อกเพ้อเจ้อ ..แต่ขอให้มองกลับไปที่ความวุ่นวายต่างๆในโลก ...ก็เพราะสิทธิมนุษยธรรมไม่ใช่หรือที่..NATO ที่มีอเมริกา บงการอยู่ข้างหลังและมีมติสหประชาชาติสนับสนุน.. ในการปฏิวัติล้มล้าง "อำนาจเก่า" ในโลกอาหรับและยุโรปตะวันออก?.. เมื่อไม่นานพวกเข้าไปบอมประเทศลิเบีย และโค่นล้ม รัฐบาลของมูอัมมาร์ กัดดาฟี่ ได้สำเร็จ? และการต่อสู้อย่างรุนแรงระหว่างกลุ่มประชาชนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาด ของซีเรีย ที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้? ...

    ...

    ลองอ่านข่าววันนี้ดูนะคะ .... ....

    ................

    เว๊บพันทิป---ใหวั่นสหรัฐยัดไส้ อู่ตะเภา พัฒนาดาวเทียมสอดแนม หวั่นจีน-รัสเซียเข้าใจผิด ( ควบคุมเครื่องบินไร้คนขับ )

    "การจะใช้พื้นที่สนามบินอู่ตะเภาในการดำเนินโครงการศึกษาชั้นบรรยากาศนั้น จะต้องดูว่ามีในเอ็มโอยูหรือไม่ หรือเป็นโครงการที่เพิ่มเติมเข้ามา ที่สำคัญต้องดูว่าโครง การนี้เป็นของนาซา ห รือเป็นโครงการของกระทรวงกลาโหมสหรัฐที่ทำผ่านนาซา หากเป็นของนาซาเองตรงนี้ไม่น่าจะมีปัญหา แต่หากเป็นของกระทรวงกลาโหมสหรัฐปัญหาก็จะเยอะ และเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายกำลังกังวลเนื่องจากขณะนี้กระทรวงกลาโหมสหรัฐเองมีโครงการพัฒนาเทคโนโลยีทางอวกาศ โดยเป็นการพัฒนากิจการดาวเทียมเพื่อควบคุมเครื่องบินไร้คนขับอาจจะทำให้เกิดปัญหาได้ เพราะประเทศจีนและรัสเซียกำลังประท้วงโครงการนี้อยู่" นายปณิธานกล่าว

    นายปณิธานกล่าวอีกว่า เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไทยเองจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะหากโครงการดังกล่าวเป็นของกระทรวงกลาโหมสหรัฐที่ทำผ่านนาซาขึ้นมา ไทยอาจถูกชาติที่ต่อต้านสหรัฐอย่างจีนและรัสเซีย ที่ไม่พอใจโครงการพัฒนาเทคโนโลยีทางอวกาศมองว่าเราเป็นพันธมิตรของสหรัฐได้ เนื่องจากขณะนี้สหรัฐเองกำลังมองหาพันธมิตรในภูมิภาคเอเชียอยู่ อีกทั้งโครงการดังกล่าวกำลังมี การแข่งขันอย่างเข้มข้น อาจเป็นการพยา ยามดึงเราเข้าไปเป็นพันธมิตรก็ได้

    ___________________________________________

    หวั่นสหรัฐยัดไส้'อู่ตะเภา'พัฒนาดาวเทียมสอดแนม


    "ปณิธาน" เตือนเปิดสนามบินอู่ตะเภาให้นาซาวิจัยชั้นบรรยากาศ ระวังเป็นโครงการยัดไส้ของเพนตากอนพัฒนาดาวเทียมสอดแนม แนะนายกฯ ตรวจสอบให้ชัดเจน หวั่นจีน-รัสเซียเข้าใจผิด อดีตเลขาฯ สมช.ชี้ต้องขจัดข้อสงสัยว่าไม่มีอะไรแอบแฝง

    มีความเห็นที่น่าสนใจต่อกรณีองค์การการบินอวกาศของสหรัฐอเมริกา(นาซา) ของ สหรัฐอเมริกา ขอใช้พื้นที่สนามบินอู่ตะเภาของประเทศไทยในการดำเนินการโครงการศึกษาชั้นบรรยากาศ โดยนายปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงเรื่องนี้ว่าทางทหาร ไทยมีบันทึกข้อตกลงร่วม (เอ็มโอยู) กับทาง ทหารสหรัฐอเมริกาอยู่ ซึ่งที่ผ่านมาจะอนุญาต ให้สหรัฐสามารถใช้ฐานทัพอู่ตะเภาได้เป็นระยะๆ โดยทั่วไปไม่มีปัญหาอะไรกัน แต่ทุกครั้งที่จะใช้จะต้องขออนุญาตก่อน นอกจากนี้มีกระแสข่าวลือว่า สหรัฐเข้ามาใช้เป็นฐานปฏิบัติการทำอะไรบางอย่างบ้าง ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีหลักฐานอะไรยืนยันได้



    "การจะใช้พื้นที่สนามบินอู่ตะเภาในการดำเนินโครงการศึกษาชั้นบรรยากาศนั้น จะต้องดูว่ามีในเอ็มโอยูหรือไม่ หรือเป็นโครงการที่เพิ่มเติมเข้ามา ที่สำคัญต้องดูว่าโครง การนี้เป็นของนาซา ห รือเป็นโครงการของกระทรวงกลาโหมสหรัฐที่ทำผ่านนาซา หากเป็นของนาซาเองตรงนี้ไม่น่าจะมีปัญหา แต่หากเป็นของกระทรวงกลาโหมสหรัฐปัญหาก็จะเยอะ และเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายกำลังกังวลเนื่องจากขณะนี้กระทรวงกลาโหมสหรัฐเองมีโครงการพัฒนาเทคโนโลยีทางอวกาศ โดยเป็นการพัฒนากิจการดาวเทียมเพื่อควบคุมเครื่องบินไร้คนขับอาจจะทำให้เกิดปัญหาได้ เพราะประเทศจีนและรัสเซียกำลังประท้วงโครงการนี้อยู่" นายปณิธานกล่าว

    นายปณิธานกล่าวอีกว่า เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไทยเองจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะหากโครงการดังกล่าวเป็นของกระทรวงกลาโหมสหรัฐที่ทำผ่านนาซาขึ้นมา ไทยอาจถูกชาติที่ต่อต้านสหรัฐอย่างจีนและรัสเซีย ที่ไม่พอใจโครงการพัฒนาเทคโนโลยีทางอวกาศมองว่าเราเป็นพันธมิตรของสหรัฐได้ เนื่องจากขณะนี้สหรัฐเองกำลังมองหาพันธมิตรในภูมิภาคเอเชียอยู่ อีกทั้งโครงการดังกล่าวกำลังมี การแข่งขันอย่างเข้มข้น อาจเป็นการพยา ยามดึงเราเข้าไปเป็นพันธมิตรก็ได้

    ทั้งนี้ ทราบมาว่าในวันที่ 5 มิ.ย. ทางประธานคณะเสนาธิการทหารร่วมสหรัฐอเมริกาจะเดินทางเข้ามาพบนายกรัฐมนตรีของไทย จึงอยู่ที่นายกรัฐมนตรีว่าจะหยิบยกเรื่องนี้มาหารือหรือไม่โดยอาจจะสอบถามก็ได้ว่าโครงการดังกล่าวมีรายละเอียดอย่างไร

    ด้านนายถวิล เปลี่ยนศรี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการ ในฐานะอดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวว่า สำหรับนาซาเองถือเป็นองค์กรหนึ่งที่อยู่ภายใต้การควบคุมของสหรัฐ จึงแยกกันไม่ออก ขณะที่อู่ตะเภาเองก็เป็นจัดเป็นพื้นที่ที่มีอิทธิพลสูงต่อภาพที่ประเทศ อื่นๆมองเราอยู่ ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีนอินเดีย ดังนั้นการที่เราจะอนุญาตให้สหรัฐใช้พื้นที่นั้น จะต้องขจัดข้อสงสัย และภารกิจดังกล่าวจะต้องไม่มีอะไรแอบแฝง

    "หากการขอใช้พื้นที่อู่ตะเภาของนาซาเป็นกิจการเพื่อประโยชน์มนุษยชาติจริงๆ ก็ไม่มีปัญหาอะไร อีกทั้งไทยเองก็ควรสนับสนุนอย่างเต็มที่ด้วย แต่ทั้งนี้ก็ต้องระมัดระวัง เพราะหากเป็นกิจการทางทหารที่แอบแฝงเข้ามา เราก็อาจจะถูกตั้งคำถามจากชาติอื่นๆได้" นายถวิลกล่าว

    เมื่อวันก่อนพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเดินทางไปร่วมประชุมความมั่นคงภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือแชงกรี-ลา ไดอะล็อก ที่สิงคโปร์ ระบุว่า สหรัฐสนใจจะจัดตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัยและมนุษยธรรมประจำภูมิภาคนี้ที่สนามบินอู่ตะเภา ซึ่งก็เห็นด้วยกับแนวคิดตั้งศูนย์เพื่อใช้งานด้านมนุษยธรรม แต่การตัดสินใจอนุมัติหรือไม่นั้นขึ้นกับรัฐบาลไทย

    ซึ่งการประชุมความมั่นคงระหว่างประเทศที่สิงคโปร์ ซึ่งปิดฉากไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 มิ.ย. ลีออน พาเน็ตตา รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ ได้เข้าร่วมการประชุมด้วย โดยเขาได้เปิดเผยรายละเอียดแผนยุทธศาสตร์เอเชียแปซิฟิกของสหรัฐฉบับใหม่ที่ให้ความสำคัญกับภูมิภาคนี้เป็นหลัก.

    ไทยรัฐ
    หวั่นสหรัฐยัดไส้'อู่ตะเภา'พัฒนาดาวเทียมสอดแนม

    ......

    ...

    ..
    ไทยต้องรีบตื่น.. รอรับความวิบัติ และความรุนแรงที่กำลังจะมาถึงตัวกันได้แล้วค่ะ..!!!

    oknationb
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มิถุนายน 2012
  6. sunny430

    sunny430 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,299
    ค่าพลัง:
    +5,425
    “พล.อ.อ.สุกำพล” ยันนาซ่าขอใช้สนามบินอู่ตะเภา ไม่กระทบความมั่นคงในประเทศ
    กลาโหม 5 มิ.ย. - พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยืนยันว่า องค์การนาซ่าขอใช้สนามบินอู่ตะเภา ในการดำเนินกิจการด้านมนุษยธรรม ไม่ใช่ใช้เป็นฐานทัพของสหรัฐอเมริกา และได้เสนอเรื่องผ่านกระทรวงการต่างประเทศ และไทยไม่ขัดข้อง หากเป็นเรื่องของความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

    "วันนี้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้หารือร่วมกับประธานเสนาธิการร่วมของกองทัพสหรัฐ เบื้องต้นจะใช้การฝึกผสมคอบร้าโกลด์ครั้งหน้า เพื่อทดสอบความพร้อมในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินนานานชาติ ที่ใครๆ ก็เดินทางมาได้ และจะมีการพูดคุยในรายละเอียดต่อไป หากจะใช้เป็นศูนย์ในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในพื้นที่เอเชียแปซิฟิก" พล.อ.อ.สุกำพล กล่าว

    เมื่อถามว่า การที่ยอมให้สหรัฐมาใช้สนามบินอู่ตะเภาครั้งนี้ จะผิดใจกับจีนหรือไม่ พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องการพิจารณาของไทย การเข้ามาของสหรัฐไม่มีอาวุธ เป็นเรื่องมนุษยธรรม และกระทรวงการต่างประเทศเป็นเจ้าภาพ ไม่ใช่กระทรวงกลาโหม มั่นใจว่าจะไม่กระทบต่อความมั่นคงภายในประเทศและความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน.- สำนักข่าวไทย
     
  7. Spammer

    Spammer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    976
    ค่าพลัง:
    +3,498
    ยังจำกันได้มั๊ยครับ เมื่อต้นปีนี้ ผู้บริหารระดับสูงของ NASA ก็มาแล้วรอบหนึ่ง (ครั้งที่มาถวายเหรียญรางวัลฯ)
     
  8. ๐Phairoj๐

    ๐Phairoj๐ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +67
  9. klu

    klu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +1,320
    อย่าลืมว่า ก่อนหน้านี้จีนก็มา แต่สหรัฐมาแปลก ๆ

    มีข้อสงสัยตรงกลุ่มของพันธมิตรนี่แหละ เท่าที่ทราบข่าวยอดบริจาคน้อยมาก
    และไม่ค่อยออกมาเคลื่อนไหวก่อนหน้าประเด็น พรบ.ปรองดอง (ไปก็ไม่มีประโยชน์)
    อยู่ ๆ มาก่อม็อบได้ เอาเงินมาจากไหน ใครเป็นแบ็ก

    สงสัยจริง มีชาติใดถือหางฝั่งไหนบ้าง
     
  10. noway

    noway เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2012
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +3,969
    ขออ้างความเห็นเดิมครับ
    เผื่อเป็นอุทาหรณ์

    จากเดิมที่คนมีองค์หลวงพ่อ หลวงปู่ที่ว่า พยายามขายชุดนาโน
    เท่าที่ผมเห็นคร่าวๆ
    มีเสื้อใน กางเกงใน ทำนองนี้
    ชุดละ 40000 บาท โดยอ้างว่ารักษาโรคได้

    เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา
    แฟนผมพาเพื่อนเขาคนหนึ่ง มารู้จักคนมีองค์ที่ว่า
    เพราะคนมีองค์บอกว่า เพื่อนแฟนผมคนนี้
    มีเจ้ากรรมนายเวรตามอยู่ จะเอาให้ถึงตาย

    ให้แฟนผมพาเพื่อนมา
    เขาจะช่วยคุยกับเจ้ากรรมนายเวรให้

    ได้ข่าววันนี้ เพื่อนแฟนซื้อไปแล้วครับ
    เขาก็ไม่ใช่คนร่ำรวยอะไร บ้านก็ยังเช่า รถขับก็ไม่มี
    ไอ้เงิน 40000 คงหนักมากไป
    เขาเลยซื้อเฉพาะกางเกงใน
    ซื้อไปแล้วครับ 14000 บาท

    ผมได้ยินแฟนมาเล่าก็เศร้าใจ
    เพราะวันจันทร์ที่ผ่านมา ผมก็พยายามเตือนแล้วเตือนอีก
    ว่าอย่าไปเชื่อให้มาก กับคนมีองค์คนนี้

    ผมบอกแฟนว่า อย่าไปคบกับคนมีองค์นี้เลย
    ถึงเราไม่มีเจตนาหลอกเพื่อน

    แต่อย่างไรเสียเป็นคนชักนำเพื่อนเขามา
    อาจเป็นวิบากกรรมติดตัวเรา
     
  11. sunny430

    sunny430 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,299
    ค่าพลัง:
    +5,425


    เดือนมิถุนายน 2555 นี้หรือ ปัจจุบันตอนนี้ ผมเห็นว่าเ้ป็นเดือนที่มีนัยยะสำคัญเชิงต่างๆมากมาย ที่ชี้นำไปสู่สิ่งรุนแรงที่กำลังจะเกิดขึ้นทั้งในไทยและในโลกใบนี้ครับ

    ในไทยเองเราเปราะบางมากเรื่องกีฬาสี หรือ เรื่องขัดแย้งระหว่างคนไทยด้วยกันเอง (ซึ่งผมคงไม่ต้องท้าวอธิบายความ) และนอกนั้นยังมีสัญญาณเตือนเรื่องภัยธรรมชาติ ที่เตือนอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนมากมาก แล้วถึงหลายครั้งด้วยกัน ยกตัวอย่างที่ใกล้ที่สุดก็เช่น แผ่นดินไหวที่ ระนอง ไหวที่ถลางภูเก็ต และ ปลาที่ตายจำนวนมากใน หมู่เกาะพีพี และยังมีดินยุบดินถล่ม และ อะไรมากมายที่เกิดขึ้น บ้างก็ลงแค่ในกระแสสื่อท้องถิ่นมาไม่ถึงเรา

    ซึ่งล้วนแล้วไม่ใช่คำทำนาย หรือ เป็นการเตือนจากมนุษย์ต่างดาวสายไหนๆ หรือแม้ไม่ใช่การเตือนของ crop circle แต่ล้วนเป็นการเตือนจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทว่าเป็นสิ่งที่ดูค่อนข้างรุนแรงทีเดียวก็ได้

    ทั้งนี้ทั้งนั้นสายญาณ หรือ สายธรรม ก็มองเห็นสิ่งที่กำลังจะคืบคลานเข้ามามากมายเหมือนกัน และยังมีอีกหลายสาย ที่มีความเห็นเริ่มจะตรงกันว่า เดือน มิถุนายน 2012(เดือนนี้) ไทยเราคงไม่แคล้วมีอะไรบางอย่างแรงเกิดขึ้นแน่แท้

    นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นยังมีภัยการเมือง วิกฤตการกีฬาสี เรื่องลี้ลับลับเกี่ยวกับฐานทัพอู่ตะเภา และ อีกหลายอย่างที่รอเข้าประเทศเราอยู่ครับ

    ผมเอง sunny430 และเจ้าหมู หมาที่ซื่อสัตย์ของผม และปลาทอง ในขวดโหล จะยังปักหลักเฝ้าระวังเตือนภัย และ เตือนให้ทุกท่านมีสติในการรับมือต่อภัยทุกรูปแบบต่อไปครับ โดยกรอบเวลาเฝ้าระวังคราวนี้ผมเองกำหนดให้เป็นวันที่ 6-30 มิถุนายน 2555 ครับ โดยหวังว่าทุกท่านจะมาร่วมจองที่นั่งเฝ้าระวังภัยกับผมและชาวเราทุกคนอย่างพร้อมเพรียงครับ

    ุ6,6,2555
    sunny430 และเจ้าหมู หมาของผม
     
  12. llilliilliiill

    llilliilliiill เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    589
    ค่าพลัง:
    +2,741
    เราจะร่วมกันเฝ้าระวังไปเรื่อยๆจนถึงรอบที่ 132,563 หรือจนกว่าภัยจริงๆจะมาครับ
    วันฟ้ามืดเกิดก็ดีนะครับ... เย็นดี

    ปล. เสียดายตังค์ สี่หมื่น และ หมื่นสี่ จังเลยครับ :'(
     
  13. Prophecy

    Prophecy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,221
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +7,605
    น่าสงสาร หมื่น 4 ...ฟังแล้วสลด กรรมใครกรรมมัน
     
  14. tossapon15

    tossapon15 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    152
    ค่าพลัง:
    +417
    ผมซื้อตั๋ว VIP ต่ออีกรอบครับคุณsunny :cool::cool::cool:
     
  15. พิศัน

    พิศัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2012
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +225
    เป็นอีแอบ แอบอ่านคุณsunny อย่างเหนียวแน่น และจะติดตามไปไม่ว่าจะเป็นรอบ 5 6 7 ... 27 อะไรก็ตาม ขำ ๆ ปนระทึกดีนะ
     
  16. อัสนี

    อัสนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,401
    ค่าพลัง:
    +3,566
    สวัสดีครับ
    ช่วงนี้สถานการณ์ ภัยธรรมชาติฝนตก ดินโคลนถล่ม เกิดขึ้นหลายจังหวัด เช่น แม่ฮ่องสอน เลย ชุมพร ระนอง ตรัง สุราษฏ์ และช่วงนี้ฝนตามต่างจังหวัดยังตกอยู่หลายพื้นที่ รายงานจากมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแจ้งเตือนว่า ภาคใต้น้ำท่วมขยายวงกว้าง จนท. เฝ้าระวังดินโคลนถล่ม สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดกระบี่ โดยเฉพาะหมู่ที่2 และหมู่ที่4 อ.ทับปริก อ.เมือง ชาวบ้านกว่าร้อยครอบครัว ต้องอพยพย้ายไปอยู่ในที่ปลอดภัย และโรงเรียน หลายแห่ง ต้องปิดการเรียนการสอน ที่จ.ตรัง ส่วนเจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง และหน่วยกู้ภัยเข้าช่วยเหลือผู้รอดชีวิต จากต้นพะยูงล้ม ทับบ้านพักของเจ้าหน้าที่รักษาพันธ์สัตว์ป่า หลังจากเกิดฝนตกหนักและลมแรง ทำให้ต้นพะยูงอายุกว่า70ปี สามต้น ล้มทับบ้านพัก ของเจ้าหน้าที่ ใน อ.เมือง จ.ตรัง ทำให้ภรรยาและลูกสาววัย2ขวบ ของเจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เสียชีวิต ซึ่งหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่า หมู่เกาะลิบง ระบุว่า ยังมีต้นไม้ในเขตบ้านพัก อยู่หลายต้นที่เสี่ยงโค่นล้ม เนื่องจากดินอุ้มน้ำ และเตรียมขออนุญาตกรมป่าไม้ ทำการตัด ก่อนที่จะหักโคนเป็นอันตรายต่อไป
    -น้ำป่าซัดสะพานขาด ปากชม-สงาว ขาดการติดต่อ
    บ่ายวานนี้ มีน้ำป่าจากเขาภูซาง บ้านเริง ไหลพัดกระหน่ำสะพานข้ามบริเวณถนนสาย 211 ปากชม-สงาว กิโลเมตรที่ 12 สภาพสะพานพังยับเยิน รถไม่สามารถเดินทางไป-มาได้ น้ำป่าดังกล่าวได้ไหลกัดเซาะคอสะพานและตัวสะพานไปกับ กระแสน้ำ ประชาชนกว่า 3,000 คน ในพื้นที่ขาดการติดต่อทางบกอย่างสิ้นเชิง ล่าสุดแขวงการทางเลยที่ 1 ได้ทำการบอกป้ายชี้ทางเพื่อการสัญจรเดินทางระหว่างอำเภอปากชม จังหวัดเลย ที่จะเดินทางไปยังอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย จากการที่น้ำได้พัดสะพานขาดนี้ทำให้ประชาชนในละแวกนั้น หากเดินทางไปมาจะต้องเสียเวลาในการเดินทางถึง 2 ชั่วโมง เพราะต้องเดินทางอ้อมไปยังถนนเส้นบ้านห้วยพิชัยประมาณ 20 กิโลเมตร ขณะนี้ทางอำเภอและทางจังหวัด กำลังเร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขชั่วคราว
    -น้ำป่าทะลั​กตัดขาด ชุมพร-ระนอ​ง
    เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 6 มิย. 55 ภายหลังเหตุการณ์ฝนตกหนัก ติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ใน จ.ชุมพร ส่งผลให้น้ำท่วม ในพื้นที่ 5 อำเภอ สร้างความเสียหายอย่างหนัก ในวันนี้นายพินิจ เจริญพานิช ผวจ.ชุมพร กล่าว ทางโทรศัพท์กับผู้สื่อข่าวว่า “ในวันนี้ ฝนจะตกหนักในพื้นที่ จ.ชุมพร โซนใต้ ตั้งแต่ อ.สวี อ.ทุ่งตะโก อ.พะโต๊ะ อ.หลังสวน ได้ประกาศเตือนภัยไปยัง ชาวบ้าน ในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยได้ให้ย้ายออกมายังที่ปลอดภัยแล้ว และขอเตือนที่ผู้ที่ยังดื้อว่า จะได้รับอันตรายจากดินโคลนถล่ม นอกจากนั้นความช่วยเหลือได้เตรียมพร้อมเต็มที่”

    นายพินิจ ได้รับรายงาน จาก อ.พะโต๊ะ ว่า “ได้เกิดน้ำป่าไหลหลากจากภูเขาใน อ.พะโต๊ะ ซึ่งมีรอยต่อกับ จ.ระนอง ทำให้น้ำป่าจำนวนมาก ไหลเข้าท่วมถนนสายหลัก หมายเลข 4006 ระหว่าง อ.หลังสวน จ.ชุมพร ไปยัง อ.เมือง จ.ระนอง ที่หลัก กม.ที่ 41 หมู่ที่ 1 ต.พระรักษ์ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร ความยาว 500 เมตร ทำให้ รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านจุดดังกล่าวได้ ซึ่งส่งผลให้ ถนนที่จะเดินทางไปยัง จ.ระนองถูกตัดขาดไปอีก 1 เส้น

    ในขณะที่ ถนนเพชรเกษม สาย 4 จากสี่แยกปฐมพรไปยัง จ.ระนอง ก็มีดินถล่ม ลงมาทับเส้นทางใน เขต อ.กระบุรี จ.ระนอง ทำให้เส้นทางไป จ.ระนอง ในเวลานี้ ถูกตัดขาดแทบทั้งหมด จนท.ได้เร่งแก้ไข เพื่อให้รถวิ่งผ่านได้ ชาวบ้านจึงเลี่ยงไปใช้ในถนนสาย 4006 แต่ต้องพบกับความผิดหวัง เนื่องจากมีน้ำท่วมทางเช่นกัน ทำให้มีรถยนต์และชาวบ้านจำนวนมาก ที่ต้องการไป จ.ระนอง และ เลี่ยงถนนสาย 4 ไปใช้ สาย 4006 ไปติดอยู่ ในจุด ต.พระรักษ์ อ.พะโต๊ะ รวมถึงผู้จะมาจาก จ.ระนองก็ มาติดในฝั่งตรงข้ามที่มีน้ำท่วม จำนวนหลายร้อยคน อีกทั้งไม่มีทางเลี่ยง ทำให้คนเดินทางดังกล่าวต้องอดทนรอให้น้ำลด คาดว่า ต้องใช้เวลาอีกหลาย ชม. น้ำจึงจะลดลงมา ซึ่งได้ส่งตำรวจไปดูแลความปลอดภัย ในจุดที่ชาวบ้านหยุดพักรอน้ำลดแล้ว”

    -ตลิ่งแม่น้ำแม่กลอง จ.ราชบุรี ยุบตัว บ้านเรือน-ร้านอาหารพัง
    เจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จังหวัดราชบุรี และฝ่ายปกครอง เข้าตรวจสอบบริเวณหลังร้านอาหารเรือนแก้ว ต.คุ้งกระถิน อ.เมืองราชบุรี หลังตลิ่งแม่น้ำแม่กลองยุบตัว ทำให้กำแพงร้านอาหารพังทลาย และพื้นดินริมตลิ่งยังแยกตัวออกจากกันอย่างเห็นได้ชัด ส่วนสาเหตุเบื้องต้นเจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่า ดินสไลด์ยุบตัวลงไปแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งด้านล่างของแม่น้ำมีลักษณะเป็นโคลน ทำให้ดินจากด้านบนสไลด์ตามลงไป สร้างความเสียหายให้สิ่งปลูกสร้าง เจ้าของบ้านบอกว่าช่วงบ่ายวานนี้ กำแพงบ้านและเขื่อนริมตลิ่งทรุดตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้บ้านเรือนไทย ปลูกสร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง และร้านอาหารเรือนแก้ว ได้รับผลกระทบจากการยุบตัวของดินริมตลิ่ง ขณะที่นายชนม์ชื่น บุญญานุสาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ตรวจสอบและประสานความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม และธรณีพิบัติภัย เข้าตรวจสอบอย่างละเอียด เพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไขอย่างเร่งด่วน
     
  17. R-LOM-:D

    R-LOM-:D เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +109
    รอติดตามสถานะการณ์ครับ
     
  18. komsant

    komsant เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +262
    นโยบายต่างประเทศของอเมริกามีแบบนี้มาตลอด คงกำลังภาคพื้น pacific หาแหล่งพลังงาน สอดแนม ดักฟัง สงครามตัวแทน ไทยกำลังชักศึกเข้า้บ้าน ใครจะทำอะไรก็รีบทำมัวแต่รอเงื้อว่าราคาแพง งาก็ไหม้กันหมดพอดี
     
  19. ภิศรณ์

    ภิศรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2012
    โพสต์:
    278
    ค่าพลัง:
    +1,495
    มารายงานตัว ขอจองตั๋วเฝ้าระวังรอบ 4 ด้วยอีกคนค่ะ
    :VO
     
  20. อัสนี

    อัสนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,401
    ค่าพลัง:
    +3,566
    ‘รอยล’ชี้ปีนี้น้ำมาก เสนอ 3 โมเดลแก้น้ำท่วม หวั่นภาคกลางทำพนังกั้นน้ำสูง 7 เมตรเสี่ยง!
    ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำฯ ระบุ ประเทศไทยมีระบบข้อมูลน้ำพร้อม แต่ขาดการวิเคราะห์และนำไปใช้ จึงเกิดวิกฤตน้ำท่วมครั้งใหญ่ มั่นใจปีนี้น้ำท่วมไม่หนัก แม้ปริมาณน้ำฝนจะมากกว่าเกณฑ์เฉลี่ย และภาคกลางจะได้รับผลกระทบจากพายุมากสุด เตรียม3 โมเดลเสนอนายกฯ แก้วิกฤตน้ำ เตือนพื้นที่ภาคกลาง สุโขทัย-อ่างทอง-สิงห์บุรี สร้างพนังกั้นน้ำริมน้ำเจ้าพระยาสูงแค่ 7 เมตร อันตราย น้ำมีสิทธิท่วมข้างใน-ทำให้เจ้าพระยาล้นเข้าจังหวัดอื่น ขณะที่ภาคเอกชนและธุรกิจขนาดใหญ่ ตื่นตัวขอข้อมูลเตรียมรับมือวิกฤตน้ำท่วมแล้ว!

    สถานการณ์น้ำท่วมในปี 2554 ที่ผ่านมา นับเป็นมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ที่ประเทศไทยประสบ เพราะช่วงปลายปีก่อน (กรกฎาคม 2554-มกราคม 2555) ประเทศไทยต้องประสบกับพายุมากถึง 5 ครั้ง และเจอร่องความกดอากาศถึง 3 ครั้ง ซึ่งทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ทั้งน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และน้ำทุ่งตามจังหวัดต่างๆ เดือดร้อนกันถ้วนทั่ว
    ขณะที่ธนาคารโลกประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศไทยมากถึง 1.44 ล้านล้านบาท มีประชาชนได้รับผลกระทบมากถึง 12.8 ล้านคน นับเป็นความเสียหายอุทกภัยร้ายแรงเป็นอันดับ 4 ของโลก

    แม้เวลานี้จะผ่านมาแล้ว 4 เดือน แต่กลับพบว่า คนที่ประสบเหตุน้ำท่วมในปีที่แล้ว ยังมีความวิตกกังวลใจอย่างมาก โดยผลสำรวจของนิด้าโพล เรื่อง “ความกังวลใจของคนเคยท่วม" ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมปลายปี 54 ยอมรับว่ามีความกังวลใจ ระดับมากถึงมากที่สุดสูงถึง 61.42%

    อย่าแปลกใจที่ใครๆ ก็ต่างกังวลใจว่า ปีนี้จะเจอน้ำท่วมหนักเหมือนปีที่แล้วอีกหรือไม่ และรัฐบาลจะเอาไม่อยู่ หรือเอาอยู่ได้จริงเสียที!
    น่าเสียดายที่บทบาทของ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ หรือ กยน. ที่รวมเอาสุดยอดกูรูด้านน้ำมาช่วยกันคิดแก้ปัญหาน้ำทั้งระบบนั้น ต่างไม่ค่อยมีเวลาและยังมีข่าวความขัดแย้งทางความคิดอยู่เนืองๆ
    ทำให้ปัจจุบันนี้ กยน.ได้แปลงสภาพเป็นเพียงคณะที่ปรึกษาของรัฐบาล และรัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้แยกงานด้านน้ำท่วมออกเป็น 2 หน่วยงานใหญ่ ได้แก่ คณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ หรือ กนอช. ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานมีหน้าที่กำหนดนโยบาย ดูแลงานด้านยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาน้ำ รวมทั้งการเวนคืนที่ดินเพื่อเตรียมพื้นที่ flood way และแก้มลิง

    อีกหน่วยงานหนึ่งคือสำนักงานบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ หรือ สบอช. มีหน้าที่เป็นผู้รวบรวมข้อมูลจากทุกหน่วยงาน มาจัดทำระบบข้อมูลเรื่องน้ำทั้งระบบ ส่งข้อมูลตรงถึงคณะรัฐมนตรีเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างเร่งด่วน

    โดยระบบข้อมูลถือเป็นส่วนงานด้านการแก้ปัญหาน้ำท่วมที่สำคัญมาก ทั้งการพยากรณ์ระดับปริมาณน้ำฝน ปริมาณน้ำในเขื่อนต่างๆ รวมถึงการเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ ดร.รอยล จิตรดอน กูรูผู้คร่ำหวอดในแวดวงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และมีบทบาทในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน
    ขณะนี้ ดร.รอยล จึงถือเป็นหนึ่งในผู้ที่จะขับเคลื่อนการบริหารจัดการทิศทางน้ำ เพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับสู่สังคมไทยอีกครั้ง ปัจจุบัน ดร.รอยล รับหน้าที่หลัก ในฐานะ ผอ.สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สสนก. รับผิดชอบการทำระบบข้อมูลน้ำทั้งประเทศ เพื่อใช้ทั้งในยามปกติ และยามฉุกเฉิน โดยข้อมูลเหล่านั้นจะถูกส่งเข้า ครม.พิจารณาทุกสัปดาห์

    ดังนั้นคนไทยจะมั่นใจ “น้ำท่วม-ไม่ท่วม” อยู่ที่ระบบข้อมูลน้ำที่ ดร.รอยลกำลังดำเนินการทำอยู่ในขณะนี้ “ASTV ผู้จัดการรายวัน” จึงได้สัมภาษณ์ ดร.รอยล จิตรดอน ผอ.สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) เพื่อให้คนไทยได้รับทราบถึงข้อเท็จจริงซึ่งจะช่วยลดความตื่นตระหนกของผู้คน รวมทั้งเรียกความเชื่อมั่นจากต่างชาติได้ไม่น้อย!

    ข้อมูลน้ำมีพร้อม แต่ไม่มีการนำมาใช้
    การจะเริ่มบูรณาการระบบน้ำ จะต้องเริ่มจากต้นน้ำคือ “ระบบข้อมูล” ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ หรือด่านแรกในการวางแผน ก่อนนำไปวิเคราะห์ และกำหนดทิศทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อนำไปลงมือปฏิบัติต่อไป และจากบทเรียนปีที่ผ่านมาพบว่า เมื่อเกิดอุทกภัยน้ำท่วมขึ้นจริง หน่วยงานรัฐไม่สามารถจัดการน้ำได้เป็นระบบ อาจเนื่องจากขาดเสถียรภาพในการบริหาร แม้จะมีการเก็บข้อมูลไว้จากหน่วยงานต่างๆ ประกอบกับการจัดการด้านระบบการควบคุมในหลายส่วนไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร อาทิ บานประตูเปิด-ปิดประตูระบายน้ำ, ท่อส่งน้ำขนาดใหญ่, คูคลองตื้นเขินไม่ได้รับการดูแล ฯลฯ เมื่อเกิดปัญหาเข้าจริง หรือในภาวะฉุกเฉิน จึงไม่สามารถรับมือได้ทัน

    สำหรับข้อมูลเรื่องระบบน้ำของประเทศไทยมีพร้อมทั้งหมด แต่ที่ผ่านมาไม่มีใครเอาข้อมูลนี้มาวิเคราะห์ และไม่เคยมีการประชุมหน่วยงานด้านน้ำทั้งหมด แต่ตอนนี้มีแล้ว และภายในเดือนกรกฎาคมจะมีการสรุปการประชุมและส่งบทวิเคราะห์ให้ที่ประชุม ครม.ทุกสัปดาห์

    จากการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในปีนี้น่าเป็นห่วงน้อยกว่าปีที่แล้ว แม้มีการคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำจะมากกว่าเกณฑ์เฉลี่ยก็ตาม แต่คาดว่าจะพอควบคุมได้ โดยเกณฑ์เฉลี่ยปริมาณน้ำฝนของประเทศไทยปกติจะอยู่ที่ 1,374 มิลลิเมตร โดยปีที่แล้วมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยอยู่ที่ 1,820 มิลลิเมตร แต่ปีนี้คาดว่าปริมาณน้ำฝนจะอยู่ที่ 1,500 มิลลิเมตร จึงคาดว่าจะไม่ประสบปัญหาน้ำท่วมหนักเหมือนปีที่แล้ว

    ประกอบกับที่ผ่านมา คณะทำงานฯ ได้ดำเนินการสำรวจระดับแม่น้ำ และคลองสายสำคัญโดยสำรวจความลึกของคลองด้วยคลื่นเสียง (Echo Sounder) รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 150 กิโลเมตร อาทิ คลองลาดพร้าว, คลองบางเขน ฯลฯ ซึ่งถือเป็นคลองสำคัญๆ ที่จะช่วยรองรับปริมาณน้ำได้มาก

    พร้อมจัดทำแผนที่แสดงความลึกคลองในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ระยะทาง 3,600 กว่ากิโลเมตร รวมคลองเล็กคลองน้อย คาดว่าจะสำรวจเสร็จใน 4 เดือนต่อจากนี้ และจากสภาพคลอง ประตูระบายน้ำที่ดีขึ้น มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น คาดว่าจะสามารถรองรับน้ำได้เพียงพอ

    ส่วนด้านการทำระบบข้อมูลที่ทางสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรรับผิดชอบจะแล้วเสร็จทันใช้ในปีนี้ และจะมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง จะเริ่มส่งรายงานเข้า ครม.ทุกสัปดาห์ ซึ่งครม.จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ หรือดำเนินงานต่อไปอย่างไร

    อีกทั้งในปีนี้มีการขุดลอกคูคลองจำนวนมาก และตั้งบานประตูน้ำเพิ่ม รวมถึงให้มีประสิทธิภาพ จึงคาดว่าจะสามารถรองรับปริมาณน้ำได้มากขึ้น

    น้ำท่วมปีนี้ ภาคกลางเจอ 2 เด้ง!
    สำหรับการคาดการณ์ปริมาณน้ำในปีนี้ เมื่อดูข้อมูลหลายส่วนแล้วพบว่า ในปีนี้ประเทศไทยจะมีช่วงที่เจอฝนตกหนัก 2 ช่วง คือ
    ช่วงแรกเป็นช่วง 3 เดือนนับแต่นี้ไป คือ พฤษภาคม-กรกฎาคม 2555 จะมีฝนมากในบริเวณภาคอีสานตอนใต้, ภาคกลาง, ภาคตะวันออก, ภาคใต้ตอนบน

    ส่วนช่วงที่ 2 คือช่วงตั้งแต่เดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2555 จะมีฝนมากที่บริเวณภาคเหนือตอนบน, ภาคอีสานฝั่งตะวันออก, ภาคกลางตอนล่าง
    โดยปีนี้ ภาคกลางถือว่าเป็นภาคที่จะเจอภาวะปริมาณน้ำฝนจำนวนมากกว่าภาคอื่นๆ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากทั้ง 2 ส่วน อาจทำให้มีฝนตกเป็นช่วงๆ ติดต่อกัน จากมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ และลมตะวันตกเฉียงเหนือที่ยังแรงอยู่ในช่วง 3 เดือน แต่ก็มีปริมาณน้ำฝนไม่มากเท่าปีที่ผ่านมา

    3โครงการเด่นใช้แก้ปัญหาน้ำ
    แต่หากในปีนี้เกิดภาวะผิดปกติของพายุหรือร่องความกดอากาศ ข้อมูลของ สสนก. มีการวางแผนงานดำเนินการรองรับทั้งสถานการณ์ปกติ จนถึงภาวะผิดปกติ ตั้งแต่การวัดระดับน้ำด้วยโทรมาตร เครื่องบิน UAV เรือหุ่นยนต์สแกนความลึก รถยนต์ติด IMU เพื่อวัดระดับถนน โมเดลแผนที่ CCTV ประตูระบายน้ำ มีระบบเชื่อมโยงคลังข้อมูล มีการทำวิจัยต่างๆ ร่วมกับมหาวิทยาลัย ฯลฯ รวมถึงเมื่อเกิดเหตุก็จะมีรถที่เก็บข้อมูลเคลื่อนที่คอยให้ความสะดวก สามารถโยกย้ายไปไหนก็ได้ ซึ่งรวมถึงระบบเตือนภัยที่ทันสมัย หากเกิดภาวะผิดปกติจะมีการส่ง SMS ไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งระบบเตือนภัย ฝน พายุ น้ำในเขื่อน

    ส่วน 3 โครงการเด่นที่จะใช้เตรียมรับมือกับปัญหาน้ำก็คือ เรื่องของการติดตั้งประตูระบายน้ำที่ใช้ระบบสัญญาณมือถือในการสั่งการเพิ่ม 70 บาน แทนการใช้คนไปเปิด-ปิดที่อาจไม่ทันต่อการแก้ปัญหาในภาวะฉุกเฉิน ส่วนของประตูระบายน้ำเพื่อการชลประทานเดิม ตอนนี้ที่กรมชลประทานได้รับงบประมาณไปแก้ให้ประตูใหญ่ และกว้างขึ้นแล้ว

    รวมทั้งจะมีการเพิ่มโทรมาตรที่ใช้ระบบเรดาร์เพิ่ม 662 ตัว เพื่อวัดระดับน้ำให้เกิดความแม่นยำมากยิ่งขึ้น จากเดิมที่ใช้ระบบหัววัดลงไปในแม่น้ำ และเมื่อกระแสน้ำแรง โทรมาตรจะเสียหายได้ง่ายกว่า รวมถึงการนำรถติด IMU วัดระดับถนนและภาพตัดของคลองแม่น้ำ ปัจจุบันมีประมาณ 3 ชุด ซึ่งคาดว่าเพียงพอต่อการใช้งาน เพราะจะโฟกัสไปในพื้นที่ที่คาดว่าจะมีปัญหาน้ำท่วมมากๆ โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดปริมณฑล โดยจังหวัดที่จะมีการดูแลใกล้ชิดได้แก่ นนทบุรี และปทุมธานี

    3 โมเดลบริหารข้อมูลน้ำครบวงจร
    เมื่อนำข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ มารวมไว้ในที่เดียวกันแล้ว ก็จะมีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และจัดทำโมเดลข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ตั้งแต่แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนภูมิพล ฯลฯ ปัจจุบันเริ่มทดลองทำโมเดลละเอียดในพื้นที่ กทม. กับตะวันออก อาทิ บางปะกง แล้วที่เตรียมเสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา โดยจะมี 3 โมเดลดังนี้

    1.MIKE Basin โมเดลช่วยบริหารเขื่อนจะใช้บริหารตั้งแต่ช่วงปกติ การจัดสรรน้ำแต่ละพื้นที่ พอสัญญาณเริ่มแสดงว่าพื้นที่ไหนน้ำเริ่มจะขาด หรือเริ่มมีปริมาณมาก จะพร้อมใช้เดือนกรกฎาคม 55 จากนั้นทาง สสนก.ก็จะรันโมเดลที่ 2 คือ MIKE 11 Real-Time โมเดลคำนวณการไหลในลำน้ำ จะทำให้รู้ระดับน้ำในลำน้ำเกือบทั้งหมด ทั้งระดับน้ำ ปริมาณ และความเร็ว เป็นการคาดการณ์ล่วงหน้า 7 วันข้างหน้าว่าจะล้น หรือแล้ง
    จากนั้นจะร่วมวิเคราะห์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาทางแก้ว่าจะนำน้ำออกทางไหน หรือว่าจะพักน้ำไว้ที่จุดใด

    3.MIKE FLOOD ใช้ในช่วงภาวะผิดปกติ โมเดลจะคำนวณน้ำหลากเมื่อน้ำล้นตลิ่ง หรือเกิดน้ำท่วม

    ขณะนี้โมเดลต่างๆ จะใช้ฐานข้อมูล และแผนที่เดิมที่ทาง สสนก.มีอยู่ และเมื่อข้อมูลใหม่ เช่น แผนที่ภูมิประเทศที่จะสำรวจระดับความสูงต่ำของพื้นที่เพื่อดูทิศทางการไหลของน้ำ โดยความร่วมมือของ JICA ประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ไทย เสร็จเรียบร้อย หรือการสำรวจอัปเดตภาพปัจจุบันจากโครงการสำรวจแม่น้ำและลำคลองสายสำคัญ จะช่วยให้การคำนวณแม่นยำขึ้น

    4 อุปสรรคแก้วิกฤตน้ำท่วม
    ส่วนปัญหาน้ำที่น่าห่วงในขณะนี้มีอยู่ด้วยกัน 4 เรื่องใหญ่ ประกอบด้วย 1.โทรมาตรวัดระดับน้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นระบบที่จะใช้เรดาร์ในการวัดระดับน้ำ ขณะนี้ก็มีอยู่แล้ว 520 เครื่อง ซึ่งปีนี้มีแผนที่จะติดเพิ่มอีก 140 เครื่อง รวมเป็น 662 เครื่อง คาดว่ามิถุนายนจะสามารถติดได้หมด ก็จะสร้างความปลอดภัยขึ้นได้มาก 2.แผนที่ความละเอียดสูงที่ไจก้าร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์จัดทำ ขณะนี้เพิ่งเริ่มต้น จึงทำให้อาจได้ผลล่าช้าไปบ้าง ถ้าแผนที่เสร็จไม่ทัน ก็ใช้รถยนต์ติด IMU วิ่งสำรวจระดับความสูงของถนนไปก่อน

    3.เป็นเรื่องที่ห่วงที่สุดคือ เรื่องการทำพนังกั้นน้ำของท้องถิ่น ตั้งแต่จังหวัดที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาลงมา คือตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ โดยเฉพาะจังหวัดที่น่าเป็นห่วงอย่างมากได้แก่สุโขทัย ที่ทำพนังกั้นน้ำสูง 7 เมตร อ่างทองสูง 4 เมตร และสิงห์บุรี 3-4 เมตร คิดว่าในจังหวัดเหล่านี้น่าจะเจอปัญหาน้ำท่วมหนักกว่าที่อื่นในปีนี้

    “ถ้าทำเหมือนกันหมดก็เหมือนเป็นการบีบน้ำเข้าลำน้ำเจ้าพระยา และจะเกิดปัญหาเมื่อฝนตกในทุ่งก็จะเอาน้ำออกไม่ได้อีกด้วย เพราะไม่มีตัวปั๊มน้ำใหญ่ๆ กลายเป็นต้องมาไล่แก้ปัญหากันอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการกั้นพนังกั้นน้ำโดยไม่รู้ว่าจะสร้างอันตรายให้ตัวเอง”

    ที่สำคัญนอกจากทำพนังกั้นน้ำแล้ว ยังพบว่าชาวบ้านริมถนนใหญ่ๆ ที่สามารถจะจัดทำเป็นพื้นที่ระบายน้ำได้นั้น ยังมีชาวบ้านบุกรุกมาทำนาปลูกพืชตลอดเส้นทาง ซึ่งหลายคนได้ตั้งบ้านเรือนและบางพื้นที่มีการออกเลขที่บ้านให้ทั้งๆ ที่เป็นที่ห้ามบุกรุก ทำให้การแก้ปัญหาน้ำท่วมจะติดขัดในจุดนี้ได้เช่นกัน

    4.เรื่องอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ ไม่สอดรับกับระบบระบายน้ำ เช่น รัชดา-วิภาวดี จะระบายน้ำออกไปที่ไหน หรือว่าจะใช้เป็นที่พักน้ำเท่านั้น ท้ายที่สุดแล้วอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่เหล่านี้ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมในปีที่ผ่านมา
    ส่วนคลองระบายน้ำใน กทม. ที่มีอยู่เดิมถ้ามีการปรับปรุง พัฒนาได้หมด ก็จะช่วยเรื่องน้ำได้มาก แต่จะมีปัญหาด้านเทคนิค เช่นเรื่องของการทำบ่อพักสำหรับสูบจะต้องขยาย, เรื่องระบบสูบ ทำอย่างไรให้เดินเครื่องได้ 60-70% สลับกันเดิน และไม่ใช้แค่ปั๊มน้ำออกเท่านั้น หากน้ำหลากเข้ามา ควรจะปรับทิศทางเครื่องสูบให้สอดคล้องได้หรือไม่ แต่สิ่งที่ดีก็คือ กทม.จากไม่มีเครื่องผลักดันน้ำเลย ขณะนี้มีการหาเพิ่มมาได้ 130 กว่าตัวแล้ว ซึ่งถือว่าเพียงพอ

    โดยระบบการแก้ปัญหาน้ำที่ดี จะต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชนด้วย ขณะนี้ ทาง สสนก.จึงได้มีการรณรงค์สร้างความร่วมมือการแก้ปัญหาน้ำท่วมของชุมชนต่างๆ และจัดทำเป็นเครือข่าย ซึ่งปีนี้คาดว่าจะได้รับความร่วมมือ 157 ชุมชน จากปีที่แล้วที่มีเครือข่ายอยู่ 107 ชุมชน เพื่อให้มีการประสานงานกันในการแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพด้วย

    เอกชน-ชุมชนแห่ใช้ข้อมูล www.thaiwater.net
    ทั้งนี้ จากข้อมูลที่ สสนก.จัดทำ และรวบรวมข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำจากแหล่งต่างๆ นั้น ที่มีการเผยแพร่ในเว็บ www.thaiwater.net หรือคลังข้อมูลสภาพน้ำ พบว่ามีความละเอียด ซึ่งไม่ใช่แค่ภาครัฐเท่านั้นที่นำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ได้ หากแต่ภาคเอกชนและประชาชนก็นำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในการวิเคราะห์ และจัดการกับความเสี่ยง หรือรู้ทันสถานการณ์น้ำได้เป็นอย่างดี

    น่าเสียดายที่หน่วยงานรัฐ โดยรัฐบาลในเวลานี้ยังให้ความสนใจกับระบบข้อมูลน้ำนี้ยังไม่มากนัก ไม่เหมือนภาคเอกชนที่ให้ความสนใจมาก ถึงกับเดินทางมาขอข้อมูลระบบน้ำที่ สสนก. หลายราย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตรขนาดใหญ่ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญและความต้องการนำข้อมูลดังกล่าวไปต่อยอด รวมถึงภาคชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มเอ็นจีโอที่มีการนำข้อมูลไปใช้เพื่อเตือนภัยให้กับชาวบ้านในพื้นที่หรือดูสถานการณ์ สภาพอากาศในพื้นที่

    สรุปให้เห็นชัดเจนก็คือเมื่อระบบข้อมูลนี้ถ้าทำสำเร็จ รวมกับการทำงานแบบบูรณาการ คือมีการประชุมทุกสัปดาห์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำทั้งหมด เช่น กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ ทหารเรือ กรมอุตุนิยมวิทยา ฯลฯ แล้วก็ถือว่ากระบวนการจัดทำระบบน้ำ มีความครบถ้วนในเรื่องของข้อมูล ซึ่งจะส่งตรงถึงที่ประชุมคณะรัฐมนตรีทุกสัปดาห์

    ดังนั้นเมื่อข้อมูลพร้อมทุกอย่าง จึงเหลือแค่ผู้รับผิดชอบหลักอย่างรัฐบาลเท่านั้น ที่จะตัดสินใจบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพ และรวดเร็วทันใจประชาชนได้อย่างไร!


    <CENTER>กทม.เสี่ยงท่วมอีกหากจัดการน้ำไม่ดีเผยดินทรุดปีละ1-2ซม.สูงกว่าระดับน้ำทะเลเพียง 70-80 ซม.

    </CENTER> ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผอ.สำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เปิดเผยในรายการชั่วโมงเตือนภัย เมื่อวันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ว่า

    คำว่าท่วมของผมอาจจะเป็นบริเวณพื้นที่ลุ่ม พื้นที่เกษตรกรรมหลาย ๆ ส่วนคือเป็นพื้นที่ที่ท่วมอยู่แล้ว ส่วนพื้นที่โดยรวมก็คิดว่าป้องกันได้เกือบทั้งหมด เพราะจากสถานการณ์ฝน น้ำ และการเตรียมการเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้วก็ดีกว่ามาก พายุก็น้อยลง แต่อย่างไรก็ตามปัญหาเรื่องความกดอากาศต่ำของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีความแรงอย่างต่อเนื่องก็ยังคงมีอยู่ แต่คิดว่าน่าจะอยู่ในวิสัยที่สามารถบริหารจัดการได้

    ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าปีต่อปี เรามีระบบป้องกันในระดับหนึ่ง ส่วนปัญหาในอนาคตคือ ปัญหาระยะยาวยังไม่มี
    เรื่องการทรุดตัวของแผ่นดินในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลมันมีอัตราที่สูงมากประมาณ 2-20 เซนติเมตรต่อปี บางจุดอยู่ที่ 30 เซนติเมตรต่อปีซึ่งเป็นอัตราที่น่าตกใจ ผมได้ทำการตรวจสอบด้วยระบบเรดาร์ประมาณ 10 กว่าปีและพบว่าพื้นที่ดอนเมืองทรุดตัวเป็นอัตราที่เร็วประมาณ 2-3 เซนติเมตรต่อปี ตรงนี้แนวทางในการป้องกันแนวทางในการบริหารจัดการน้ำก็ต้องเน้นเรื่องนี้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย


    เราก็พยายามค้นหาข้อมูลที่มีอยู่แล้วในอดีต ไม่ว่าจากการสำรวจ หรือจากการออกแบบทางวิศวกรรมต่าง ๆ ทางสำนักงานเองก็พยายามที่จะผลักดัน และก็จะเน้นเรื่องนี้เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
    น้ำที่จะเข้ามาท่วมมากมักเป็นบริเวณที่เป็นแอ่ง ถ้าหากไม่มีระบบการระบายที่ดีก็จะทำให้เกิดการขังอยู่นาน การจัดการน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานครก็จะทำให้ท่วมยากมากขึ้นกว่าเดิม เพราะลักษณะภูมิประเทศมันเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น พื้นที่บางกะปิ พื้นที่รามคำแหงเมื่อก่อนท่วมทุกปี แต่ปี2554 ที่ผ่านมาไม่ท่วม เพราะมีระบบจัดการน้ำได้ดี ขณะเดียวกันในบางทีเคยเป็นที่สูง แต่เดี๋ยวนี้กลายเป็นพื้นที่ต่ำ และระบบบริหารจัดการน้ำไม่ได้สอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป และพื้นที่กรุงเทพมหานคร ณ ตอนนี้สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 70-80 เซนติเมตรไม่ใช่ 1 เมตรเหมือนเมื่อก่อน และถ้าแผ่นดินทรุด 2 เซนติเมตรต่อปีเป็นระยะเวลา 35 ปี ก็อยู่ในระดับน้ำทะเลปานกลาง เพราะฉะนั้นเราจึงควรที่จะคิดถึงการบริหารจัดการน้ำในอนาคต ถ้าเผื่อเราเริ่มทำวันนี้ มันจะใช้งานได้ดีไหมอีก35 ปีข้างหน้า


    ล่าสุดโดยรวมไม่มีอะไรน่าห่วง ตอนนี้กังวลเรื่องฝนทิ้งช่วง เพราะเป็นห่วงพื้นที่ที่อยู่นอกเขตชลประทานเพราะอาจจะเจอกับแล้งบ้าง ส่วนปลายปีตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไปก็อาจจะมีฝนมากกว่าค่าเฉลี่ยแต่คงจะไม่เท่ากับปีที่แล้ว และการเชื่อมโยงระหว่างโครงการต่าง ๆ

    แผนยุทธศาสตร์ กยน. 2ระดับ คือเร่งด่วนคือโครงการต่าง ๆ ก็จะเสริมด้วยกิจกรรม 120,000 ล้านยุทธศาสตร์ของกยน.ระยะเร่งด่วนก็แตกมาเป็นโครงการเป็นกิจกรรมแล้ว แต่อาจจะไม่100% เพราะฉะนั้นเราก็จะดูในเรื่องของความสอดคล้องของโครงการของแผนงานทั้งหมด หลักการง่ายๆ คือ ในต้นน้ำก็จะชะลอน้ำไว้ให้มากที่สุด ส่วนกลางน้ำก็พยายามจะกระจายและใช้พื้นที่น้ำหนอง ถ้าเผื่อมีความจำเป็นในการชะลอในพื้นที่ แต่ส่วนปลายน้ำเป็นเรื่องของยุทธศาสตร์ในการเร่งระบายโดยใช้เส้นทาง หรือระบบต่าง ๆ หรือฟลัดเวย์ ยุทธศาสตร์ที่ กยน.วางไว้ก็เกือบ 70% ส่วนยุทธศาสตร์อีกหนึ่งอย่างคือ ยุทธศาสตร์ระยะยาวอันนี้ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ เพราะอันนี้มันผูกกับเงิน 300,000ล้านที่เป็นเงินกู้ตามพรก. แต่ตอนนี้มีการเปิดให้รัฐบาล บริษัททั้งในประเทศ และต่างประเทศ เสนอแนวคิดในการบริหารจัดการน้ำใน 8 ประเด็น และตอนนี้ก็มีหลายประเทศที่สนใจที่จะนำเสนอว่าจะจัดการอย่างไร

    ดร.อานนท์ กล่าวปิดท้าย เรื่องหนังสือที่สัมมนาคุณให้กับผู้ที่บริจาคเงินให้กับมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ติดต่อได้ที่สำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเล่มละ 200 บาท หนังสือเล่มนี้เป็นข้อมูลที่ประชาชนอาจไม่เคยเห็นในช่วงเกิดสถานการณ์ในปี 2554 เบอร์โทร 02- 1414444 ครับ

    [​IMG]


    [​IMG]

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...