ผลของการแยก กาย ใจ จิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย oatthidet, 23 สิงหาคม 2012.

  1. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    -การแยก กาย ออกจาก จิต คือ สมถะกรรมฐาน

    -การแยก ใจ ออกจาก จิต คือ วิปัสสนากรรมฐาน

    การแยก กาย ออกจาก จิต จะมีความสงบเป็นที่ตั้ง

    ดิ่งอยู่ในความสงบไม่รับรู้สิ่งภายนอกแม้แต่ร่างกาย

    เมื่อความสงบนั้นดิ่งจนเป็นนิสัยแล้วจะมองเห็นการเคลื่อนไหว

    การเคลื่อนไหวนี้เป็นความรู้สึกที่เกิดจากการกระทบทางอายตนะ ๖

    เมื่อเห็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นโดยที่ จิต มีการรับรู้นั้น คือ ใจ

    ซึ่ง จิต จะคอยรับรู้การเคลื่อนไหวนั้น ซึ่งก็คือ ความรู้สึกนั่นเอง

    การฝึกสมถะจะมีผลในขณะนี้ หากไม่สงบนิ่งจนเป็นนิสัย

    จิต ก็จะปรุงแต่งอย่างที่เคยเป็นอย่างเป็นปกติ ไม่สามารถเพิกเฉยต่อความรู้สึก

    จนเป็นเหตุให้ก่อเกิดอารมณ์ และ แสดงออกทางการกระทำด้วยร่างกาย

    ซึ่งเกิดจากการปรุงแต่งด้วย ใจ ที่เป็นบ่อเกิดของการปรุงแต่ง จิต ย่อมรับรู้ และ จดจำ

    ในการปรุงแต่งนั้นๆ จนเป็นนิสัย จนเป็นความเคยชิน ซึ่งทางธรรมได้กล่าวว่าเป็น อาสวะ

    การแยก ใจ ออกจาก จิต นั้นจำเป็นที่จะต้องเฝ้ามองดูความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

    โดยไม่ปรุงแต่ง ไม่เพิ่มเติม ยอมรับสภาพตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นบนโลก

    จิต จึงจะปล่อยวาง ไม่อาลัยอาวรณ์ต่อการมีชีวิต ที่เป็นต้นเหตุของการเกิดในภพชาติต่อไป

    ที่กล่าวมานี้ คือ ผลแห่งการปฎิบัติ ตามความเข้าใจส่วนตัวของผม จากการเห็นด้วยตนเอง

    อาจจะไม่ถูกต้องตามใจของผู้ที่เข้ามาพบเห็น แต่ผมมองว่าเป็นลำดับขั้นตอนอย่างชัดเจน

    สาธุครับ
     
  2. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,426
    ค่าพลัง:
    +35,040
    ผมมองอย่างนี้นะ คุณ oatthidet ถ้าไม่เอาภาษาที่คุณเข้าใจ และ ดูจากกิริยาที่คุณพยายามสื่อด้วยภาษาของคุณ ผมคิดว่าคำว่า ''ใจ'' ของคุณเป็นความคิดหรือเปล่า ซึ่งก็คือ ความคิดที่เกิดจากจิต ถ้าคุณยังใช้คำว่า"ใจ'' คนส่วนมากจะเข้าใจ คำว่า"ใจ'' กับ ''จิต'' ที่คุณจะสื่อเป็นตัวเดียวกัน มันจะเป็นเหตุให้เข้าใจคลาดเคลื่อนได้ตั้งแต่เริ่มต้น..และเค้าจะไม่เข้าใจในสิ่งที่คุณจะสื่อ..จะเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งได้
    คุณลองพิจารณาดูนะ..
     
  3. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    จิต เพียงลำพังไม่สามารถนึกคิดได้ครับ หากจะนึกคิดต้องเป็น จิตใจ ซึ่งใจมีหน้าที่นั้น

    ใจ มีหน้าที่ รู้สึก และ นึกคิด ส่วน จิต มีหน้าที่ รับรู้ และ จดจำ

    ผมจึงอธิบายไปแบบที่ได้กล่าวไปนั้นครับ ในกระทู้ของ คุณ จินนี่ ที่โพสเรื่องของหลวงปู่เทศ

    ก็มีคำว่า จิตใจ และ คำว่า ใจ เมื่อสะอาดหมดจด ผู้คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่า

    จิต กับ ใจ เป็นสิ่งเดียวกัน แต่มีใครที่จะยืนยันอย่างชัดเจนบ้างครับ ส่วนผม

    ผมยืนยันอย่างชัดเจนครับ เพราะผมเห็นมาอย่างนั้น ว่า จิต และ ใจ ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

    และ ทำคนละหน้าที่ ไม่ได้ทำหน้าที่เดียวกันแต่อย่างใด ซึ่งสามารถ ยกจิต ออกจากความรู้สึกได้

    ซึ่งผมได้ทดลองทำดูบ่อยครั้งแล้วครับ ผมจึงเข้าใจเช่นนี้ครับ

    สาธุครับ
     
  4. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ท่านผู้รู้ทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ท่านเหล่านั้นเชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม เราเกิดมาเวียนว่ายตายเกิด นับเป็นอเนกอนันตชาติเพราะกรรมเก่า เกิดมาใช้กรรมเก่ายังไม่หมดสิ้นทำกรรมใหม่อีกแล้ว เป็นอย่างนี้อยู่ตลอดภพตลอดชาติ ท่านเรียกว่าวัฏฏะ ๓ เกิดมาเรียกว่า วิปากวัฏฏ์ เกิดจากวิบากของกรรม เกิดมาแล้วต้องประกอบกรรม ไม่ทำดีก็ทำชั่ว เรียกว่า กัมมวัฏฏ์ การประกอบกรรมมันต้องมีเจตนา เจตนานั้นเป็นกิเลสเรียกว่ากิเลสวัฏฏ์ผลของกิเลสนั้นเรียกว่า วิปากวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ กลับมาเกิดอีกวนเวียนกันอยู่อย่างนี้ ไม่รู้จักจบจักสิ้นสักที ผู้รู้ทั้งหลายท่านเห็นโทษของความเกิด เบื่อหน่ายในความเกิด หาวิธีไม่ให้เกิดอีกด้วยการหัดทำฌาน สมาธิ แลเจริญปัญญา วิปัสสนา รู้แจ้งแทงตลอด เห็นตามสภาพเป็นตามธรรมดาของมัน ปล่อยวางไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงหมด จิตใจสะอาดกลายมาเป็นใจ กิเลสตามไม่ทัน

    นำมาให้ดู เผื่อหาไม่พบครับ ซึ่งตามลิงค์นี้ครับ

    http://palungjit.org/threads/สิ้นโล...ภีรปัญญาวิศิษฏ์-หลวงปู่เทสก์-เทสรังสี.351535/

    สาธุครับ
     
  5. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,426
    ค่าพลัง:
    +35,040
    เจตนาที่จะสื่อดีนะและขอบคุณ ที่ยกที่มาประกอบความเข้าใจ แต่ต้องอ่านให้จบด้วยนะครับ..เพราะที่คุณยกมานั้นเป็นเพียงบทนำ..ยังมีขั้นตอนจริงๆเพื่อไปถึงปลายทางที่คุณจะพยายามสื่อ อีกประมาณ 80 บรรทัด..ช่วยบอกท่านอื่นๆหากจะเข้าใจถึงวิธีการและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องจริงๆให้แต่ละท่านช่วยอ่านบทความทั้งหมดให้จบทั้งหมดก่อนด้วยครับ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2012
  6. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ควรเป็นเช่นนั้นครับ เพราะเมื่อปฎิบัติเข้าไปจริงๆแล้ว ก็จะเห็นไม่แตกต่างกันครับ

    การปรุงแต่งที่มีอยู่ จะไม่เกิดเป็นความทุกข์ เมื่อ จิต ไม่ยึดติดในการปรุงแต่งนั้น

    การปรุงแต่งมีเกิดขึ้นแล้วดับไป โดยไม่มีผลกระทบใดๆ ด้วย จติ แยกออกจาก ใจ อย่างชัดเจนแล้ว

    การอ่านนั้นจะชัดเจนต่อเมื่อปฎิบัติให้เห็นด้วยตนเอง แล้วจึงจะเข้าใจอย่างชัดเจนครับ

    สาธุครับ
     
  7. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    - ที่กล่าวมานั้น ล้วน เป็นภาษาสมมติบ้างก็เรียก ใจ จิต สติ สมาธิ เพื่อจะใช้อธิบายตามปริยัติแต่ วิมุติ นั้นไม่มีสมมติเลยจึงไม่รู้จะเรียกว่าอะไร

    - เหมือนผล มะพร้าว ก็มีทั้ง เปลือก กะลา เนื้อ น้ำ เรียกรวมๆว่า ผลมะพร้าว
     
  8. vichayut

    vichayut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +661
    ขอถามรายละเอียดสักนิดครับว่า
    ในสภาวะที่จิตรับรู้แล้ว ว่านี่กาย นี่จิต แต่เรายังสังเกตุได้ถึง
    อารมณ์ขององค์สมาธิที่กำลังดำเนินอยู่ แยกส่วนออกไป
    อารมณ์อันนี้ หมายถึงใจ ที่คุณ oatthidet กล่าวรึเปล่า
     
  9. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    - เมื่อรู้ว่านี้คือ จิต นี้คือ ใจ หรือ รู้ว่านี้คือ จิต เจตสิก อารมณ์ เราเรียกเหล่านี้ว่า ผู้รู้ ผู้รู้จะไปพร้อม สติ เสมอไม่มีก่อนไม่มีหลัง
     
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    คำสอนที่นอกเหนือคำสอนของพระพุทธเจ้า จิตกับใจเป็นสิ่งเดียวกัน พยายามจะเบี่ยงเบนตัดแปลงคำสอน
    ที่เห็นมาน่ะเห็นที่ไหน อธิบายด้วยว่าพระพุทธเจ้าสอนไว้ตรงไหน
    (รู้จักคำว่าเจตสิกไหม)
     
  11. jintanakarn

    jintanakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +236
    ต้องขออภัยที่มีข้อสงสัย การแยกกายออกจากจิต จะมีความสงบเป็นที่ตั้งดิ่งอยู่ในความสงบไม่รับรู้สิ่งภายนอกแม้แต่ร่างกาย เมื่อความสงบนั้นดิ่งจนเป็นนิสัยแล้วจะมองเห็นการเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวนี้เป็นความรู้สึกจากการกระทบทางอายตนะ๖ เมื่อเห็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นโดยที่จิตมีการรับรู้นั้นคือใจ ซึ่งจิตจะคอยรับรู้การเครื่อนไหวนั้นซึ่งก็คือความรู้สึกนั่นเอง การฝึกสมถะจะมีผลในขณะนี้ ขอถามว่าเมื่อความสงบดิ่งจนเป็นนิสัย #คำว่านิสัยนี้หมายความอะไร? แล้วจะมองเห็นการเคลื่อนไหว #สิ่งที่เคลื่อนไหวนั่นคืออะไร? และมองเห็นได้อย่างไร? ถ้าคือความรู้สึกจากการกระทบทางอายตนะ๖ #ความรู้สึกจากการกระทบทางอายตนะ๖นั่นคือใจไช่หรือไม่? ถ้าไช่แล้วใจนั่นมาจากไหน? แล้วจิตไปรับรู้ได้อย่างไรในเมื่อขณะนั้นมีความสงบเป็นที่ตั้ง? @@@ส่วนการแยกใจออกจากจิตนั้น อยากถามว่า #แยกยังไง? ที่บอกว่าจำเป็นที่จะต้องเฝ้ามองดูความเป็นจริงที่เกิดขึ้นโดยไม่ปรุ่งแต่ง #ต้องทำยังไงถึงจะไม่ปรุ่งแต่งไม่เพิ่มเติม? การยอมรับสภาพตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นบนโลก #ลักษณะของการยอมรับความจริงนั้นเป็นแบบไหนจิตจึงจะปล่อยวาง? @@@@@ก็ยอมรับในผลของการปฏิบัติของท่าน แต่ที่ถามไม่มีเจตนาที่จะทำให้ท่านต้องเกิดความรู้สึกที่ไม่พึ่งประสงค์ แต่ถามเพราะอยากมีความเข้าใจให้มากกว่านี้ในผลการปฏิบัติของท่านเท่านั้นเอง ผิดพลาดประการใดในคำถามที่ไม่ประสีประสา ต้องขออภัยมา ณ. ที่นี้ด้วย ขออนุโมทนา
     
  12. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    อารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นการปรุงแต่งแล้วครับ ส่วน ใจ นั้นมีหน้าที่ดั่งนี้ครับ

    -เกิดความรู้สึกเมื่อถูกกระทบทาง กาย

    -ปรุงแต่งเมื่อ จิต เกิดการรับรู้ความรู้สึก

    ฉนั้น อารมณ์ที่แยกส่วนออกไปนั้น เป็นไปตามการปรุงแต่งครับ

    มีผู้ที่เข้ามาถามในส่วนที่ดีอยู่ผู้หนึ่งครับ ผมจะขอไปตอบ และ อธิบายในส่วนตรงนั้นครับ

    สาธุครับ
     
  13. คมวรรณ

    คมวรรณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +1,050
    การทำสมาธินั้น เราจะกำหนด “พุทโธ” เป็นอารมณ์

    แชร์ธรรม..ได้บุญกุศลมหาศาลครับทุกๆท่าน..สมาธิ
    โดย หลวงปู่คำดี ปภาโส

    วัดถ้ำผาปู่นิมิตร
    ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย


    ผู้ปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา สามารถรักษาศีลให้สำรวมดีแล้ว การทำสมาธิภาวนาก็เป็นไปได้ง่าย แต่ถ้าผู้ปฏิบัติไม่สำรวมรักษาศีลให้บริสุทธิ์แล้ว การทำสมาธิภาวนาก็จะเป็นไปได้ยาก ทำไมท่านจึงพูดไว้เช่นนั้น ? ก็เพราะว่าเรารักษาศีลให้บริสุทธิ์แล้ว ก็เท่ากับว่าเป็นการปราบกิเลสอย่างหยาบได้แล้ว ดังนั้น เมื่อเราทำสมาธิควบคู่กันไป ก็สามารถเป็นไปได้ง่าย

    สำหรับหรือเรียกว่าเอา “พุทโธ” เป็นเป้าหมายก็ได้ หรือว่าจะกำหนดลมหายใจเข้า-ออกเป็นอารมณ์หรือเป้าหมายก็ได้ เป็นต้น อันนี้แล้วแต่ว่าเราจะชอบอย่างไหนหรือถูกจริตกับสิ่งใด เมื่อเรากำหนดสติของเราตั้งมั่นอยู่ที่ไหน จิตของเราก็ให้อยู่ที่นั่น เพราะสติเป็นเครื่องผูกเป็นเครื่องครอบงำเป็นเครื่องบังคับ นอกจากสติและความรู้แล้วไม่มีสิ่งไหนในโลกที่จะสามารถบังคับจิตให้สงบลงได้ เมื่อเราต้องการบำเพ็ญสมถะเราต้องเจริญสติให้มากๆ

    การฝึกหัดทำสมาธิภาวนานี้ ในตอนแรกๆ จะทำได้ยาก มักจะมีอาการปวดเมื่อยตามแข้งตามขาหรือตามเอวตามหลัง ในตอนแรกๆ นี้จะต้องอาศัยความอดทนและต้องอาศัยความฝืนอยู่มากพอสมควร แต่เมื่อกระทำไปประมาณ ๒-๓ อาทิตย์ ก็จะรู้สึกเคยชิน อาการปวดเมื่อยต่างๆ ก็จะค่อยๆ หายไป เมื่อเรารู้สึกปวดเมื่อยแล้ว ท่านจึงแนะนำให้เปลี่ยนอิริยาบถ จากนั่งสมาธิไปเป็นการเดินจงกรม ซึ่งการกำหนดใจในขณะเดินจงกรมนั้นก็เหมือนกับเรากำหนดเวลาที่เรานั่งสมาธินั่นเอง เพียงแต่ต่างจากการนั่งเป็นการเดินเท่านั้น

    อานิสงส์ของการเดินจงกรม ๕ อย่าง

    ๑. ทนต่อการเดินทาง คือเดินทางได้ไกล

    ๒. ทนต่อการทำความเพียร คือทำความเพียรได้มาก

    ๓. อาหารที่บริโภคเข้าไปแล้วย่อมจะย่อยได้ง่าย

    ๔. อุคคหนิมิตที่เกิดขึ้นเวลาเดินจงกรมจะไม่เสื่อมง่าย

    ๕. การเดินจงกรมนั้นจิตก็สามารถที่จะรวมได้
    และเป็นการบริหารร่างกายให้แข็งแรง โรคที่จะมาเบียดเบียนก็น้อยลง

    ในบางครั้งเมื่อเราทำสมาธิได้แล้ว เมื่อจิตเริ่มรวมจะเกิดอาการต่างๆ เช่น มีความรู้สึกว่าเบามือทั้งสองข้าง ซาบซ่านตามร่างกาย ขนลุกขนพองคล้ายกับพบสิ่งที่น่ากลัว มีอาการตัวเบาหวิว เป็นต้น บางคนเมื่อรู้ว่าจิตเริ่มจะรวมจึงคอยดูว่าจิตจะรวมอย่างไร จิตก็รวมไม่ได้ สมาธิก็ไม่เกิด อันนี้เป็นการกระทำที่ผิด

    เมื่อเรารู้ว่าจิตของเรากำลังจะรวม ให้เรากำหนดผู้รู้นิ่งอยู่ สติกับใจอย่าให้เคลื่อนจากกัน อย่าให้สติเคลื่อนไหวไปกับอาการใดๆ เมื่อสติไม่เคลื่อนไหวไปกับอาการใดๆ แล้วจิตก็รวมเอง บางครั้งก็รวมสนิทเลย เปรียบเหมือนเอาไม้ปักลงไปในน้ำที่ไหลเชี่ยว ปักให้นิ่งไว้อย่าให้เคลื่อนไปตามน้ำ อย่าให้จิตเคลื่อนจากผู้รู้

    ผู้ที่สามารถทำจิตรวมได้แล้วก็ให้กำหนดจิตตามเดิม กำหนดอย่างไรที่ให้จิตรวมกันได้ก็กำหนดอย่างนั้น ถ้าจิตรวมสนิทก็อย่าเพิ่งออกจากสมาธิเสียทีเดียว ก่อนออกจากสมาธิก็ให้พิจารณาเสียก่อน เราจะได้ทราบว่าเราบริกรรมอย่างใด ตั้งสติอย่างใด ละวางอารมณ์สัญญาอย่างใด จิตของเราจึงรวมได้เช่นนี้ ถ้าเราสามารถพิจารณาถึงกรรมวิธีต่างๆ ได้ ก็จะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติในครั้งต่อไป

    ขอย้ำอีกครั้ง กำหนดให้แน่วแน่นิ่งอยู่กับผู้รู้ สติกับผู้รู้อย่าให้เคลื่อนไปตามอาการใดๆ จิตก็จะรวมได้เพราะสติอย่างเดียวเท่านั้น (ถ้าขาดสติก็นั่งหลับ, เกิดอาการฟุ้งซ่าน, จิตไม่รวม เป็นต้น) พูดตามปริยัติ “สติ” แปลว่าความระลึกได้ในกิจที่ได้กระทำ แม้คำพูดทั้งในอดีตและปัจจุบัน ในทางปฏิบัติ “สติ” แปลว่าระลึกอยู่ที่ใจ ไม่ให้รู้ไปตามสิ่งอื่น ถึงจะมีสัญญาอะไรก็ไม่ให้เคลื่อนไหวไปตามอาการนั้น กำหนดรู้นิ่งไว้อย่างนั้น ระลึกอยู่ที่ใจ

    ใจก็หมายถึงผู้รู้ เมื่อสติกับใจบังคับกันแนบนิ่งดีแล้วจิตก็จะรวมสนิท เมื่อเรานั่งกำหนดแล้ว ขณะที่เราเบาเนื้อเบากาย ก็ให้เรานิ่งไว้อยู่กับผู้รู้ คำบริกรรมต่างๆ ก็ให้เลิกบริกรรม ให้เอาแต่สตินิ่งไว้ ให้ระลึกแต่ผู้รู้เท่านั้น ตามธรรมดาสติมักจะส่งไปภายนอก ชอบเล่นอารมณ์ สังขารที่ปรุงแต่งไม่ว่าจะคิดดี คิดร้าย คิดไม่ดี ไม่ร้าย เราจะต้องพยายามฝึกหัดละวางอารมณ์เหล่านี้ อย่าให้จิตส่งออกไปภายนอก ให้สติอยู่ที่ผู้รู้เท่านั้น เมื่อเรานั่งสมาธิภาวนาเรากำหนดคำบริกรรมใดๆ ก็ตาม ถ้าเราเผลอจากคำบริกรรมนั้น เมื่อเรารู้สึกว่าเราเผลอไปรับรู้อารมณ์ภายนอก ก็ให้รีบกลับมาบริกรรมอย่างเดิมตามที่เราเคยปฏิบัติมา

    ถ้าในขณะทำสมาธิแล้วจิตรวมวูบลงไป เกิดเห็นร่างกายเป็นซากศพที่มีสภาพที่เหมือนกับว่าเพิ่งขุดขึ้นมาจากหลุมศพ แต่จริงๆ แล้วร่างกายเราไม่ได้เป็นเช่นนั้น เมื่อเราถอนจิตออกมาก็จะเห็นเป็นตัวตนธรรมดา อาการที่เราเห็นเป็นซากศพเช่นนี้ ท่านเรียกว่า “อสุภนิมิต” ถ้าเราเคยได้ยินครูบาอาจารย์แนะนำสั่งสอนในเรื่องของอสุภนิมิตแล้ว เราก็ทำความรู้เท่าทัน

    อสุภนิมิตนี้ถ้าเกิดบ่อยๆ จะเป็นการดีมาก ท่านอาจารย์ใหญ่ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต) ท่านนิยมมาก ถ้าพระเณรองค์ใดได้อสุภนิมิต เห็นร่างกายเน่าเปื่อยเป็นซากศพแล้ว ท่านว่าผู้นั้นจะสามารถที่จะบรรลุธรรมได้ง่าย

    อสุภนิมิตนี้ไม่ใช่เป็นของร้าย เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วเราอดกลัวไม่ได้ ก็ให้เราลืมตาเสียตั้งสติให้มั่น ขออย่างเดียวอย่าลุกขึ้นวิ่งหนี ถ้าเราเคยได้ยินได้ฟังคำแนะนำอย่างนี้แล้ว เมื่อเวลาที่เกิดอสุภนิมิตก็จะระลึกได้อยู่หรอก แต่ถ้าเราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน เมื่อเวลาที่เกิดอสุภนิมิตขึ้นก็จะเกิดความกลัว ถ้าเราลุกวิ่งหนีก็จะทำให้เราเสียสติได้ การลุกขึ้นวิ่งหนีนี้ขอห้ามโดยเด็ดขาด

    การที่เกิดอสุภนิมิตนี้เรียกว่า “มีพระธรรมมาแสดงให้เราได้รู้ได้เห็น ว่าร่างกายของเราเป็นอย่างนี้ ย่อมมีความเจริญในเบื้องต้น มีความชราในเบื้องกลาง และมีการแตกสลายไปในที่สุด”
     
  14. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ยินดีกับสิ่งที่คุณถามครับ ถกกันด้วยเหตุ-ผลเช่นนี้ เป็นการถกธรรสที่ชอบแล้วครับ ผมขอตอบในสิ่งที่ผมเห็น และ รับรู้ตามความเข้าใจของผมครับ

    -ขอถามว่าเมื่อความสงบดิ่งจนเป็นนิสัย #คำว่านิสัยนี้หมายความอะไร?

    -นิสัย คือ ความเคยชินที่มีอยู่ เมื่อทำสิ่งใดบ่อยครั้งเข้า จะเกิดเป็นความเคยชินจนเรียกว่านิสัยครับ

    -แล้วจะมองเห็นการเคลื่อนไหว #สิ่งที่เคลื่อนไหวนั่นคืออะไร?

    -สิ่งที่เคลื่อนไหวในขณะที่เกิดความสงบนั้นคือ ความรู้สึกที่เกิดจากการกระทบครับ

    -และมองเห็นได้อย่างไร?

    -ความสงบจะเห็นการเคลื่อนไหวครับ หากเคลื่อนไหวอยู่จะไม่มีทางเห็นครับ จึงจำเป็นต้องฝึกสมาธิครับ เพื่อความสงบนิ่งครับ

    - ถ้าคือความรู้สึกจากการกระทบทางอายตนะ๖ #ความรู้สึกจากการกระทบทางอายตนะ๖นั่นคือใจไช่หรือไม่?

    -ใช่ครับ

    - ถ้าไช่แล้วใจนั่นมาจากไหน?

    -ใจนั้นเป็นหนึ่งในอายตนะ ๖ อยู่แล้วครับ

    -แล้วจิตไปรับรู้ได้อย่างไรในเมื่อขณะนั้นมีความสงบเป็นที่ตั้ง?

    -เพราะมีความสงบเป็นที่ตั้งน่ะสิครับ โดยไม่รับรู้เรื่องภายนอกแม้แต่ร่างกาย แต่ภายในนั้นกลับรับรู้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

    -ส่วนการแยกใจออกจากจิตนั้น อยากถามว่า #แยกยังไง?

    -การยก จิต ออกจากการรับรู้ทางความรู้สึก เมื่อทำได้บ่อยครั้งเข้า การนึกคิดที่เกิดมีขึ้นมานั้น จะไม่ส่งผลให้เกิดการปรุงแต่ง ด้วยไม่ให้ความสนใจในการนึกคิดนั้นๆ

    -ที่บอกว่าจำเป็นที่จะต้องเฝ้ามองดูความเป็นจริงที่เกิดขึ้นโดยไม่ปรุ่งแต่ง #ต้องทำยังไงถึงจะไม่ปรุ่งแต่งไม่เพิ่มเติม?

    -ไม่นึกคิดในสิ่งที่มีเกิดขึ้น แต่ให้มองดู และ รับรู้ตามในกระบวนการทำงานของ จิต โดยตรง

    -การยอมรับสภาพตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นบนโลก #ลักษณะของการยอมรับความจริงนั้นเป็นแบบไหนจิตจึงจะปล่อยวาง?

    -หากไม่นึกคิดในสิ่งที่มีเกิดขึ้นนั้น สิ่งที่ จิต รับรู้ คือ ความเป็นจริงที่ไม่มีการเพิ่มเติม จิต จะจดจำในสิ่งที่เกิดขึ้นจริง และ การปล่อยวางในสิ่งๆนั้นจะเกิดขึ้น ด้วยยอมรับความเป็นจริงที่ได้เกิดขึ้นด้วยใจจริง

    สาธุครับ
     
  15. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    เห็นใน จิต ครับ เพราะผมไม่ได้เรียนจากตำรา หรือ พระไตรปิฎก อย่างที่เคยได้กล่าวไปแล้ว

    หากคุณสงสัยว่าพระพุทธองค์สอนไว้ตรงไหน ก็เข้าไปในจิตสิครับ มีธรรมมากมายที่สั่งสอนเอาไว้

    ผมได้บอกกล่าวไปแล้วว่า ผมอธิบายตามความเข้าใจของตนเองครับ คงได้อ่านนะครับ

    เพราะหากไม่อ่านให้ละเอียด ก็มีแต่จะถกเถียงกันเท่านั้นเอง หากสงสัยให้ถามเฉพาะที่เลยครับ

    อย่างเช่นคุณ jintanakarn เขาได้ถามอย่างการถกปัญหาธรรมครับ ไม่ใช่ถกเพื่อหาเรื่องเถียงครับ

    ซึ่งในยุคสมัยก่อนหน้านี้ เมื่อนานมากแล้ว ก็ถกปัญหาธรรมกันเช่นนี้ครับ ไม่ใช่ถกแบบหาเรื่องถกเถียงกัน

    ยึดติดแล้วได้อะไรครับ ? นั่นใช่คำสอน นี่ไม่ใช่คำสอน มองที่เหตุ-ผล หรือ มองที่อะไรครับ ?

    ผมมองที่ความเป็นจริงที่สามารถสัมผัสได้จริง หากปฎิบัติแล้วย่อมเห็นไม่ต่างกันครับ

    สาธุครับ
     
  16. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    จิตก็คือจิต โลภะ ราคะ โทสะ โมหะ ทำให้จิตไม่บริษุทธิ์ เจ้ากิเลสเหล่านี้จัดเป็นอนัตตา จิตก็คือผู้พูดนั่นแหละจิตพูด ใจไม่ได้สั่งจิต จิตสั่งใจ แต่ยังไม่ต้องสนใจเรื่องจิต จิตเป้นหลักธรรมขั้นพระอนาคามี เอาพระโสดาบันให้ได้เสียก่อน ละสังโยชน์ 3 และจิตใจเป็นอรรถเป็นธรรม และมีสติปัญญาดีนี่คือพระโสดาบัน บางคนบ่นเพ้ออะไรบ้าๆบอๆ ไม่รู้ไปเอามาจากไหน จะตั้งตนเป็นศาสดาองค์ใหม่เหรอคุณ ไม่หยุดก้พยากรณ์ว่า นรกเท่านั้น และไม่ใช่คนที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า บอกให้ก้ได้ว่าแค่สกทคม...
     
  17. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    เมื่อไหร่คุณจะหยุดพร้ำเพ้อเสียทีครับ กล่าวถึงระดับขั้นไม่หยุดหย่อน

    เดี๋ยวเป็นพระโสดาบัน เดี๋ยวเป็นพระอนาคามี หากไม่เข้าใจจริงๆผมมีตัวอย่างให้ครับ

    ตัวอย่าง มีคนผู้หนึ่งได้เสพติดบุหรี่มาได้ระยะหนึ่ง แต่ตัดสินใจจะเลิก และ ตั้งใจมาก

    แต่พอเจอผู้อื่นสูบบุหรี่ ด้วยความเคยชินจากการสูบ บุหรี่จึงกลายเป็นสิ่งยั่วยุ

    ให้เกิดความอยาก ความต้องการ แต่ก็ยังสามารถเอาชนะได้ในครั้งแรก แต่พอพบบ่อยครั้งเข้า

    กลับทนต่อความอยากที่มีไม่ไหว จึงหันกลับไปเสพบุหรี่ดั่งเก่าก่อน และ ติดมากกว่าเดิมเสียอีก

    นี่คือ กิเลส ตัณหา อุปทาน ที่เกิดขึ้นกับคนผู้นี้ ที่เสพติดบุหรี่ การตั้งใจในครั้งแรก

    ซึ่งแรกเริ่มนั้น กระทำได้เป็นอย่างดี แต่ทนต่อความเคยชินที่มีในตนเองไม่ไหว

    ซึ่งความเคยชินนี้คือ อาสวะ นั่นเอง ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการปรุงแต่ง

    สาธุครับ
     
  18. jintanakarn

    jintanakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +236
    ขอบพระคุณในคำตอบที่ท่านได้กรุณาสละเวลาที่มีค่าของท่านตอบคำถามซึ่งไม่ค่อยจะประสีประสานี้แจ่มชัดขึ้นมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีอีกเล็กน้อยที่ยังสงสัยอยู่ถ้าไม่เป็นการรบกวนจนเกินไปจะขอให้ท่านช่วยขานไขอีกซักนิดนึง
    ### เมื่อมีความสงบแล้วสามารถเห็นความเคลื่อนไหวความรู้สึกของการกระทบ(สิ่งที่เรียกว่าใจ) ที่ว่าความรู้สึกจากการกระทบนี้(ใจ) ความรู้สึกอย่างที่ว่านี่เป็นความรู้สึกแบบไหน(บอกลักษณะหรือยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้พอเข้าใจก็ได้)
    ### ส่วนการแยกกายออกจากจิตนั้น ที่ถามท่านว่า แยกยังไง? ท่านตอบว่า การยกจิตออกจากการรับรู้ทางความรู้สึก เมื่อทำได้บ่อยครั้งเข้า การนึกคิดที่เกิดมีขึ้นมานั้น จะไม่ส่งผลให้เกิดการปรุ่งแต่ง ด้วยไม่ให้ความสนใจในการนึกคิดนั้นๆ ##อยากถามต่อว่าวิธียกจิตออกจากการรับรู้ทางความรู้สึกต้องทำยังไง? ในเมื่อทุกครั้งที่มีความสงบ จิตจะรับรู้เห็นการเคลื่อนไหวของการกระทบตลอด.. และถ้าทำตามวิธีการที่ท่านจะตอบมานี้(กำลังรอคำตอบวิธีการยกจิตออกจากการรับรู้ทางความรู้สึกในส่วนของข้อแรก)และเมื่อทำบ่อยๆครั้ง(เมื่อรู้วิธีตามข้อแรกแล้ว)การนึกคิดที่เกิดมีขึ้นมานั้นจะไม่ส่งผลให้เกิดการปรุงแต่ง ##การนึกคิดและการปรุงแต่งในที่นี้เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร? ##ส่วนคำถามที่จะถามต่อก็คือ การนึกคิดในที่นี้เกิดจากอะไร? เกิดได้ยังไง? เรียกว่าการปรุงแต่งได้หรือไม่? แล้วเราสามารถบังคับไม่ให้จิตไม่ให้สนใจในการปรุงแต่งได้ด้วยหรือไม่? อนึ่ง.. คำถามบางคำถามอาจมีคำตอบที่ท่านอาจจะตอบมาแล้ว โปรดตอบอีกครั้ง เพื่อการต่อเนื่องของความเข้าใจ
    ขอรบกวนท่านในส่วนนี้เพิมเติม เพื่อความกระจ่างในข้อปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลที่แจ่มแจ้งแทงตลอด อาจจะยุ่งยากในคำถามตื้นๆแต่เพื่อให้คนๆหนึ่งก้าวหน้าในทางปฏิบัติ คงไม่ทำให้ขัดใจจนเกินไป แต่ถ้ายุ่งยากใจ ไม่ต้องตอบคำถามนี้ก็ได้ และต้องขออภัยในการรบกวนมากจนเกินไป ขอกราบขออภัย ขออนุโมทนา
     
  19. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ฟางว่านเป็นพระอนาคามี ยินดีสนทนาธรรมแนวปฏิบัติ...
     
  20. toseal

    toseal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +618
    ขอถามนิดนึงแบบงูๆปลาๆนะครับ
    การที่เราไปสนใจเรื่องของคนอื่นมาก มันเป็นการส่งจิตออกนอกรึเปล่าครับ
    แต่เราก็แค่อยากพิจารณาความจริงที่เกิดขึ้นเท่านั้น พิจารณาการเกิดดับของอารมที่มากระทบ
    พิจารณา การไม่ยึดเอาอารมมาเป็นที่ตั้ง
     

แชร์หน้านี้

Loading...