การไม่รู้ คือความเขลา ย่อมนำมาซึ่งความเสื่อม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย telwada, 27 สิงหาคม 2012.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    กระทู้นี้ ข้าพเจ้าจะขอยกเอาตัวอย่าง ของการรู้ไม่จริง คือ ไม่รู้ แต่กลับจะทำให้ศาสนาเสื่อม โดยความอยากดังหรืออยากอะไรก็แล้วแต่ ในที่นี้ข้าพเจ้าจะไม่ออกนามของผู้ที่เขียน เพราะเป็นการไม่สมควร เป็นเพียงยกตัวอย่างให้เห็น ส่วนคำแนะนำด้านล่างเป็นคำแนะนำของข้าพเจ้า เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่บิดเบือนไปจากหลักความจริง

    เขียนโดยใครคนหนึ่ง
    -การแยก กาย ออกจาก จิต คือ สมถะกรรมฐาน

    -การแยก ใจ ออกจาก จิต คือ วิปัสสนากรรมฐาน

    การแยก กาย ออกจาก จิต จะมีความสงบเป็นที่ตั้ง

    ดิ่งอยู่ในความสงบไม่รับรู้สิ่งภายนอกแม้แต่ร่างกาย

    เมื่อความสงบนั้นดิ่งจนเป็นนิสัยแล้วจะมองเห็นการเคลื่อนไหว

    การเคลื่อนไหวนี้เป็นความรู้สึกที่เกิดจากการกระทบทางอายตนะ ๖

    เมื่อเห็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นโดยที่ จิต มีการรับรู้นั้น คือ ใจ

    ซึ่ง จิต จะคอยรับรู้การเคลื่อนไหวนั้น ซึ่งก็คือ ความรู้สึกนั่นเอง

    การฝึกสมถะจะมีผลในขณะนี้ หากไม่สงบนิ่งจนเป็นนิสัย

    จิต ก็จะปรุงแต่งอย่างที่เคยเป็นอย่างเป็นปกติ ไม่สามารถเพิกเฉยต่อความรู้สึก

    จนเป็นเหตุให้ก่อเกิดอารมณ์ และ แสดงออกทางการกระทำด้วยร่างกาย

    ซึ่งเกิดจากการปรุงแต่งด้วย ใจ ที่เป็นบ่อเกิดของการปรุงแต่ง จิต ย่อมรับรู้ และ จดจำ

    ในการปรุงแต่งนั้นๆ จนเป็นนิสัย จนเป็นความเคยชิน ซึ่งทางธรรมได้กล่าวว่าเป็น อาสวะ

    การแยก ใจ ออกจาก จิต นั้นจำเป็นที่จะต้องเฝ้ามองดูความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

    โดยไม่ปรุงแต่ง ไม่เพิ่มเติม ยอมรับสภาพตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นบนโลก

    จิต จึงจะปล่อยวาง ไม่อาลัยอาวรณ์ต่อการมีชีวิต ที่เป็นต้นเหตุของการเกิดในภพชาติต่อไป

    ที่กล่าวมานี้ คือ ผลแห่งการปฎิบัติ ตามความเข้าใจส่วนตัวของผม จากการเห็นด้วยตนเอง

    อาจจะไม่ถูกต้องตามใจของผู้ที่เข้ามาพบเห็น แต่ผมมองว่าเป็นลำดับขั้นตอนอย่างชัดเจน

    สาธุครับ



    ต่อไปนี้คือคำแนะนำของข้าพเจ้า
    ตามธรรมชาติแล้ว กาย กับ จิต แยกออกจากกันไม่ได้นะขอรับ เพราะ กายก็คือจิต ,จิตก็คือกาย เพราะถ้าแยกจิตออกจากกาย ก็หมายถึง ตายสถานเดียวขอรับ
    ในทางพุทธศาสนา จิตกับใจ คือ สิ่งสิ่งเดียวกัน ถ้าคุณเข้าใจแบบ หลักชีวะวิทยา ว่า จิต กับ ใจ คนละอย่างกัน ก็ยิ่งผิดเข้าไปอีก เพราะ ถ้าจิตเป็นเซลล์ ,ใจก็ต้องมีจิตหลายๆดวงรวมกันอยู่
    ดังนั้น ในทางพุทธศาสนา จิตกับใจ ก็คือ ตัวเดียวกัน

    การปรุงแต่ง ของ จิต ถ้าเป็นไปตามหลักความจริงแล้ว การปรุงแต่งเกิดจากสมองและใจ(จิต)ทำงานร่วมกัน(ความจริงแล้วอวัยวะทุกส่วนมีส่วนร่วมด้วยกันขอรับ) จึงจะสามารถปรุงแต่งในด้านต่างๆได้
    ถ้าหากต้องการปล่อยวาง ซึ่งในทางที่เป็นความจริงแล้ว ก็คือ อุเบกขา อย่างหนึ่ง ความมีสมาธิ คือความมีจิตตั้งมั่น จิตสงบ อย่างหนึ่ง แลต้องมีความหนักแน่น ไม่ไหลตามสิ่งที่ได้สัมผัส จึงจะเรียกว่า การปล่อยวาง

    เพราะสิ่งที่ได้สัมผัส หรือเกิดจากการปรุงแต่ง ไม่ได้เป้นสิ่งของ ที่จะมาถือเอาไว้ได้ แต่สิ่งต่างๆเหล่านั้น เป็นคลื่น เป็นลม ที่สามารถพัดเข้าออกร่างกายได้ ดังนั้นจึงต้อง อาศัย สมาธิ และ อุเบกขา เป็นเครื่องมือ ในการปล่อยวาง นั่นก็คือ ไม่คิด ถ้าคิด ก็วางเฉยในอารมณ์ที่เกิด อย่างนี้เป็นต้น
    จะรู้อะไร ต้องรู้ด้วยเหตุด้วยผล รู้ให้เป็นไปตามหลักความจริง ถ้ารุ้ผิด หลงผิด ก็จะรู้ผิดหลงผิดตามๆกันไป

    ไม่เชื่อ ก็ไม่เป็นไร ขอรับ ไม่ว่ากัน แต่อย่าก่อกวน ขอรับ
    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (ผู้ให้คำแนะนำ)
     
  2. วิหคอิสระ

    วิหคอิสระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    758
    ค่าพลัง:
    +1,318
    ในกรณีของนั้งสมาธิแล้วจิตหลุด หรือการนั้งสมาธิแล้วถอดจิตไปในที่ต่างๆ โดยที่สังขารยังไม่ตาย อย่างนี้เรียกว่าจิตแยกออกจากกายไหม ชี้แนะที:cool:

    มีคนบอกว่าจิตก็คือจิต กายก็คือกาย กายคือสมมุติ จิตคือของจริง แม้กายดับแต่จิตยังไม่ดับ(อันนี้เขาบอกมาอีกทีนะ) หากที่ท่านศรีบอกว่ากายคือจิต กายดับจิตไม่ดับไปด้วยหรอ ถ้าจิตกับกายคือสิ่งเดียวกัน หากจิตไม่มีกาย จิตจะแตกสลายหรอ อย่าพึ่งดุเรานะเราพึ่งศึกษาไม่นานช้วยอธิบายทีcatt13catt13

    ปล...เราคิดว่าแท้จริงแล้วการแยกจิตออกจากกายในความหมายของการนั้งสมาธิคงไม่ได้หมายถึงการตายหรอกมั้งนะ
    แต่คงเป็นเพราะะจิตไปรู้เห็นหรือละวางอะไรสักอย่างเกียวกับกาย หรือจิตอาจจะเบาจนไม่รู้สึกว่ามีกายอยู่ และไม่หลงเหลือลักษณะแห่งตนโดยที่จิตก็ยังคงอาศัยอยู่ในกายแต่แยกด้วยปัญญา หรืออาจจะเป็นสภาวะอื่นที่นอกเหนือจากนี้ คงไม่ใช่การตายอย่างที่ จขกท เข้าใจ หรอกมั้งนะเราก็เดาเอานะถูกไม่ถูกหรือยังไงชี้แนะที:cool:ยังไงก็อย่าพึ่งดุด่าเรานะ จขกท เพราะเราก็เดาเอานะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 สิงหาคม 2012
  3. วิหคอิสระ

    วิหคอิสระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    758
    ค่าพลัง:
    +1,318
    สมองมีส่วนร่วมควบคุมการทำงานต่างๆในร่างกาย แต่ตัวปรุ่งแต่งหรือความคิดมาจากจิต โดยผ่านอายตนะ6 หากร่างกายไร้ดวงจิต(ตาย) ถึงแม้กายจะมีสมอง กายก็ไม่สามารถปรุงแต่งอะไรได้ แต่ดวงจิตที่ออกจากร่างกาย(จิตวิญญาณ)ยังสามารถปรุ่งแต่งนึกคิดได้อยู่ถึงแม้จะไร้ซึ้งร่างกายที่มีสมอง หรือเปล่า ชี้แนะที :cool::cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 สิงหาคม 2012
  4. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    อนุโมทนาครับ เป็นคำถามที่ชี้ชัดมากครับ

    สาธุครับ
     
  5. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    "ในทางพุทธศาสนา จิตกับใจ คือ สิ่งสิ่งเดียวกัน"

    ถ้าจิตกับใจ เป็นสิ่งเดียวกัน
    แต่ใจรับธรรมารมณ์ได้แค่อย่างเดียว แล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏญัพพะ อะไรเป็นตัวที่ไปรับรู้???
     
  6. นพณัฐ

    นพณัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +4,500
    ทำไมปู่ ไม่ยกข้อความกระทู้นี้ ไปแนะตอบกระทู้โน้นล่ะครับ ไม่มีใครเขาก่อกวนปู่หรอกนะ

    ไม่ไป ก็ไม่เป็นไร ไม่ว่ากัน แต่อย่าเผลอเอา จิต กับ ใจ มาผูกกันนะ เดี๋ยวจะมันแก้ยากครับ
     
  7. Workgroup

    Workgroup เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +1,947
    อย่าทำ พระตถาคต ผิดเพี้ยน ไปกว่านี้เลยครับ

    ใจ คือ สังขาร

    จิต คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หลายๆ จิต ใช่ สติ รวม จิต ให้เป็นหนึ่ง

    ปัญญา

    ก็จะเกิดครับ เมื่อ ปัญญา เกิด แล้ว มรรคผล ก็ตามมา ให้เห็น

    ไปตอบกระทู้ โน้น ดีกว่านะครับ อย่า ยกมา ใหม่ ดีกว่า เหมือนที่ พี่ นพณัฐ บอกไป

    ทำให้ผู้มา ศึกษาธรรม หลง ทาง ครับ

    ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา

    สาธุ ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 สิงหาคม 2012
  8. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    นั่งสมาธิ แล้วถอดจิต ไม่มีผู้ใดถอดจิตได้เพราะเพียงแค่การนั่งสมาธิดอกขอรับ เว้นแต่คิดเอาเองเท่านั้น
    กายกับจิต ถ้าดับ ก็ดับพร้อมกันขอรับ เพราะสิ่งที่ไม่ดับในทางพุทธศาสนา คือ วิญญาณ(นิวเคลียส) ขอรับ ไม่ใช่จิต(ในที่นี้หมายถึงหัวใจ)เพราะข้าพเจ้าอธิบายไปแล้วว่า จิตกับใจ คือสิ่ง สิ่งเดียวกัน เพียงแต่ถ้าหากพิจารณาในอีกทางหนึ่ง เช่นหากพิจารณาในเรื่องของ จิต,เจตสิก ,รูป,นิพพาน และ พิจารณาในเรื่องของ สติปัฎฐาน ๔ ก็จะต้องพิจารณาแยกรายละเอียด เกียวกับจิตให้ลึกลงไปอีก เพราะเป็นชั้นของการพิจารณา ญาณ(ยาน) เพี่อให้รู้และเข้าใจในอันที่จะบรรลุนิพพานขอรับ
    ไม่มีใครแยกจิตออกจากการได้ขอรับ ที่มันคุยๆกันนั้นมันอวดอุตริฯ กายกับจิตจะอยู่ติดกันตลอด ถ้าไม่มีกาย ก็ไม่มีจิต ถ้ามีจิต ก็ต้องมีกาย จิตและกายจะเป็นอย่างไรนั้นว่ากันอีกเรื่องหนึ่ง
    ข้าพเจ้าก็ไม่ได้บอกว่า ถ้านั่งสมาธิ แล้วจะตาย เพียงแต่อธิบายว่า ไม่มีมนุษย์คนใดสามารถแยกจิตออกจากกายได้ และไม่สามารถแยกกายออกจากจิตได้
    การปฏิบัติสมถกรรมฐาน ไม่ใช่เป็นการแยกจิตออกจากกาย แต่เป็นการฝึกเพื่อควบคุมมิให้เกิดความคิดฟุ้งซ่าน อันก่อให้เกิดจิตใจสงบ ไม่อธิบายต่อนะขอรับ เพราะยังมีอีกเยอะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 สิงหาคม 2012
  9. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    การปรุงแต่ง เกิดจากทุกส่วนภายในร่างกาย โดยเฉพาะใจและสมอง ถ้าคุณหมายถึงการปรุงแต่งทางความคิด อารมณ์ ความรู้สึก หรือ การระลึกนึกถึง การปรุงแต่ง จะเกิดขึ้นจากความจำอันเกิดจากการที่ได้ประสบมา และมีข้อมูลอยู่ในสมอง เมื่อใจมีอารมณ์ มีความรู้สึก (กิเลสนั่นแหละ) ก็จะส่งคลื่นกลับไปที่สมองเกิดการปรุงแต่ง เป็นความคิด เป็นอนาคต เป็นอดีต ฯลฯ
    ส่วนที่คุณกล่าว ดวงจิตที่ออกจากร่างกาย ทางพุทธศาสนา เรียกว่า "วิญญาณ" ยังสามารถปรุงแต่งได้ คุณเอาอะไรมาพิสูจน์ พิสูจน์ได้ไหม ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ ก็เอาเท่าที่เห็นก็พอแล้ว อย่าฟุ้งเฟ้อ เพ้อเจ้อ ไกเกินสมองสติปัญญาของคุณเลยขอรับ

    ข้าพเจ้าเคยเขียนเกี่ยวกับเรื่อง "ตายแล้วไปไหน" ลองหาอ่านดู ก็อาจจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับจิตที่ออกจากร่างกายเวลาตายไปแล้วได้
     
  10. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817

    คำถามนี้ หากจะตอบ ก็สามารถตอบได้ในสองแนวทาง และทั้งสองแนวทาง ก็สามารถผสมผสานกันได้อย่างลงตัว เพราะ ถ้าหากจะกล่าวถึง เรื่องของ “จิต” คือ ธรรมชาติแห่งการรับรู้อารมณ์แล้ว จิตในที่นี้จะหมายถึง นิวเคลียส หลายๆนิวเคลียสรวมกันเป็นเซลล์ ,เซลล์ต่างๆหลายเซลล์รวมกันเป็นเนื้อเยื่อ และเนื้อเยื่อรวมกันเป็นอวัยวะต่างๆ และอวัยวะต่างๆรวมกันเป็นระบบการทำงานของร่างกาย เมื่อนิวเคลียส หรือจิตหรือเซลล์รวมกันเป็นอวัยวะ จิตและใจก็คือสิ่งสิ่งเดียวกัน

    การที่บุคคลสามารถ รับรู้ หรือสามารถสัมผัสทางอายตนะทั้งหลายได้ นั้น ก็ย่อมเกิดจากระบบการทำงานของร่างกายทุกส่วน มิใช่ จิตเพียงจิตเดียว หรือจิตดวงเดียว หรือ ไม่ใช่นิวเคลียสเพียงนิวเคลียสเดียวหรือเซลล์เพียงเซลล์เดียว
    ถ้าพวกท่านทั้งหลายอ่านแล้วยังไม่เข้าใจ ก็จะอธิบายต่อว่า ที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า “จิตกับใจคือสิ่งสิ่งเดียวกัน ในทางพุทธศาสนานั้น” ก็เพราะการที่มนุษย์ทั้งหลายจะสามารถรับรู้ หรือมีความรู้สึก หรือมีอารมณ์ หรือมีความคิด หรืออื่นๆใดก็ตาม ต้องมีจิตหรือใจในที่นี้หมายถึงหัวใจ ประกอบอยู่ด้วย และในระบบการทำงานของร่างกาย ก็ย่อมหมายรวมเอาทุกส่วนของร่างกายทำงานร่วมกัน จึงจะเกิดการรับรู้ทางอายตนะทั้งหลาย ไม่ใช่เฉพาะว่ามีเพียง จิตหรือใจ เพียงอย่างเดียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 สิงหาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...