สติปัฎฐาน 4 ตามที่ผมเข้าใจ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย oatthidet, 21 ธันวาคม 2012.

  1. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    สติปัฎฐาน 4 ตามที่ผมเข้าใจนั้น คือ มีสติทุกอริยบท

    ยืน ก็มีสติอยู่ทุกขณะจิต ในขณะที่ยืนอยู่
    เดิน ก็มีสติอยู่ทุกขณะจิต ในขณะที่ยืนอยู่
    นั่ง ก็มีสติอยู่ทุกขณะจิต ในขณะที่นั่งอยู่
    นอน ก็มีสติอยู่ทุกขณะจิต ในขณะที่นอนอยู่

    ฉนั้นแล้ว หากไม่ฝึกสมาธิกรรมฐานให้ดีพร้อม จึงเป็นไปได้ยาก ที่จะมีสติอยู่ทุกขณะจิต
    จึงจำเป็นต้องเริ่มต้นที่การนั่งสมาธฺกรรมฐาน และ ปฎิบัติอย่างต่อเนื่องไม่หยุดหย่อน
    ถึงแม้จะชำนาญแล้ว ก็ไม่ใช่ว่าให้หยุดนั่งสมาธิกรรมฐาน หรือ เจริญสติปัฎฐาน 4 แล้ว
    ก็ไม่จำเป็นต้องนั่งสมาธิกรรมฐาน ยังจำเป็นที่จะต้องนั่งสมาธิกรรมฐานอยู่อีกตามเดิมครับ

    การฝึกจิตนั้น ไม่ต่างจากการออกกำลังกายเลย ที่ไม่สามารถทิ้งระยะเวลานานๆในการฝึกฝน
    การเจริญสติปัฎฐาน 4 จะมีผลมากก็ต่อเมื่อ จิตที่หลับอยู่ได้ตื่นขึ้น พลังงานของจิตจะเด่นชัดขึ้นมา
    ซึ่งนั่นก็คือ สติ และ สัมปชัญญะ อันสติเห็นสัมปชัญญะ อันสัมปชัญญะเห็นสติ จึงเรียกว่าจิตเห็นจิต

    จิตที่ไม่เคยฝึกฝนให้มีพลังเลย จะให้เริ่มต้นในรูปแบบที่ต้องใช้พลังงานมากๆ จะเป็นไปได้หรือ
    ผู้ที่ไม่เคยฝึกฝนจะทำได้ง่ายๆ ดั่งคนที่มีกำลังดีก็สามารถยกของที่หนักมากๆได้ แต่คนที่ไม่มีเรี่ยวแรง
    จะให้ไปยกของที่หนักมากๆ จะเป็นไปได้หรือครับ มันก็ต้องมีการเริ่มต้นทั้งนั้น และ ยังต้องทำอยู่เสมอเสียด้วย

    สิ่งใดก็แล้วแต่ หากเริ่มต้นด้วยความขี้เกียจ เริ่มต้นด้วยการรักความสบาย ก็เป็นสิ่งยากที่จะสำเร็จได้
    ร่ำเรียนมากก็ป่วยการ หากไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ไม่ว่าจะสาขาวิชาใดก็ตาม

    สาธุครับ
     
  2. จิตเปโม

    จิตเปโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +253
    ยืน เดิน นั่ง นอน น่าจะเรียกว่าอริยบท 4 นะ
     
  3. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ผมกล่าวไว้ในต้นกระทู้แล้วครับว่า มีสติทุกอริยบท
    มนุษย์นั้น ไม่ได้มีสติอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้มีสติในทุกอริยบท
    ไม่ว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ต่างมีการปรุงแต่งตลอดเวลา
    ไม่เคยหยุดพักการปรุงแต่งเลย ไม่ว่าจะอริยบทไหนๆ
    การมีสติทุกอริยบท เป้นการเจริญสติอยู่ตลอดเวลา
    จึงเรียกได้ว่า เป็นการเจริญสติปัฎฐาน 4

    สาธุครับ
     
  4. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    อ่านมหาสติปัฏฐาน๔ ในแต่ละบรรพดีๆ พระพุทธเจ้าสอนให้ละวางไว้ทุกบรรพ
    ทำตามนั้นนั่นแหละ
    มีสติ มีสมาธินั้นดีแล้ว แต่ทำก็ทำให้จบ
     
  5. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    คุณโอ๊ด ลองยก สติปัฏฐาน มาดูซิ

    พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างที่คุณโอ๊ด บอกหรือเปล่า
     
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ผลจากการเจริญสติปัฏฐาน

    ผู้นั้นย่อม มี สติ สมาธิ ปัญญา อันเป็นผลงาน ของการฝึก เรียกว่าปฏิเวธ

    เป็น สติ สมาธิ ปัญญา ของพระพุทธศาสนา
     
  7. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,363
    ======

    สติปัฏฐาน4 นั้น สำหรับสิ่งที่ท่านกล่าวมา เป็นแค่ผิวเปลือกกระพี้นอก เราขอกล่าวแนะนำท่านดังนี้ว่า

    สติปัฏฐาน4 หรือ มหาสติปัฏฐาน4 คำนี้ มาจาก สติ+ปัฏฐาน4
    สติ หมายถึงอะไร เกิดได้อย่างไร รักษาอย่างไร
    ปัฏฐาน4 หมายถึงอะไร ฐานทั้ง4ที่ต้องลงเข้าไปตรวจดูเข้าถึงฐานทั้ง4คืออะไร เรื่องอะไร เกิดอย่างไร รักษาให้เกิดหรือเข้าถึงได้อย่างไร

    ปัฏฐาน4 เกี่ยวด้วยเรื่องอะไรบ้างฐานท้ั้ง4เรื่องมีอะไรบ้าง ตามที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ ฐานทั้ง4นี้หมายถึง
    1 กายคะตานุสติ ฐานที่กาย
    2 เวทนานุสติ ฐานที่เวทนา
    3 จิตตานุสติ ฐานที่จิต
    4 ธรรมานุสติ ฐานที่ธรรมารมณ์ที่เกิดและมากระทบ

    การเจริญสติปัฏฐาน4 คือการเจริญสติ เพื่อ นำสติไปรู้
    1กาย
    2เวทนา
    3จิต
    4 อารมณ์ที่เกิดและกระทบทั้งปวง

    การเดินสติเพื่อนำไปรู้ทั้ง4ข้อนี้ มีความละเอียดมากน้อยแตกต่างกันตาม ความเพียร ความสามารถ ปัญญา บารมีที่สร้างสะสมมา

    เหตุนี้พระสาวกทั้งหลายผู้ห่างไกลกิเลส จึงให้ความสำคัญกับการเจริญสติปัฏฐาน4 นี้มาก ต้องทำให้เป็นมหาสติปัฏฐาน4 คือฝึกให้มากทำให้มากยิ่งกว่า ทั้ง4ข้อนี้ ว่ากันจริงๆ ดูได้ไม่มีจบสิ้น ดูทีไร เกิดความรู้ปัญญามากมายนานับประการ
    พระพุทธองค์จึงกล่าวว่า การเจริญมหาสติปัฏฐาน4 เป็นทางสายเอกสายหนึ่ง เพราะการเจริญมหาสติปัฏฐาน4นี้เอง สามารถเข้าถึง อริยะมรรค สามารถเข้าถึงโพชงค์7 สามารถดับสังโยชน์ได้หมดสิ้น
    ที่ท่านกล่าวเรื่องอิริยาบทนั้นเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งใน กายคะตานุสติครับ

    สาธุครับ





     
  8. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,363
    วันนี้จะขอพูดเรื่อง กายคะตานุสติ สักหน่อยครับว่า

    เวลาเราพิจารณากายสังขารจะมีขั้นตอนดังนี้

    1 เราควรพิจารณาให้เห็นกาย อันเป็นกายภายนอก กายภายนอกในที่นี้ถ้าตามที่พระพุทธเจ้าท่านสอนเราคือ อย่างง่ายให้ดู เกศา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ คือให้ดูเส้นผม เส้นขน เล็บ ฟัน หนังกำพร้า ให้พิจารณาดูความไม่เที่ยง ตั้งแต่เราเกิดจนแก่ชราและตาย มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ให้ดูแต่ละอย่างให้ละเอียด ให้เห็นเป็นภาพนิมิต และจะเห็นชัดว่า การเกิดและการแตกสลายของสิ่งเหล่านี้เป็นอย่างไร พร้อมให้พิจารณาแบบกลับไปกลับมาเอาให้ละเอียดให้เห็นให้รู้แจ้งในกายภายนอกนี้ครับต่อมา

    2 ให้พิจารณากายภายใน คือให้พิจารณาว่ากายภายในเป็นอย่างไร เลือด เนื้อ ไขมัน น้ำย่อย อาหารเก่าใหม่ อุจจาระปัสสาวะเป็นอย่างไร อวัยวะภายในเป็นอย่างไร ตั้งแต่เกิดจนแก่ชรามีสภาพแปรเปลี่ยนไปอย่างไร ให้กำหนดพิจารณาดูเอาให้เห็นจนเกิดเป็นภาพนิมิต ต่างๆภายในกาย ตามดูให้ทั่วภายในกาย

    3 ให้พิจารณาว่า กายภายนอกก็ดี กายภายในก็ดี ล้วนเกิดประกอบกันอยู่ด้วยอาศัยธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ประกอบกัน อย่างสมดุลย์ เราเองต้องดื่มดิน สูดอากาศที่ดี ต้องมีปัจจัย4เพื่อเสริมให้กายธาตุเราสมบูรณ์ เพื่อรักษาให้กายธาตุสมดุลย์ และแข็งแรง ตรงนี้ให้พิจารณาแยกว่า อวัยวะน้อยใหญ่ ก็ดี ส่วนประกอบของกายเรานี้ ส่วนใดเป็นธาตุดิน ส่วนใดเป็นธาตุไฟ ส่วนใดเป็นธาตุน้ำ ส่วนใดเป็นธาตุลมและอากาศธาตุ มันประกอบกันอยู่อย่างไร มันปรุงแต่งไว้อย่างไร มันจะต้องรักษาให้เกิดสมดุลย์อย่างไร พิจารณาต่อไปอีกว่าแล้วร่างกายเรานี้มันสามารถอยู่ปกติของมันอย่างนี้โดยที่ไม่ต้องบำรุงต้องเพิ่มเสริมเติมแต่งอะไรหรือไม่ มันอยู่ได้ไหม๊ หากกายธาตุขาดสมดุลย์ ร่างกายเราก็เกิดวิปริต เจ็บป่วยอย่างไร หากกายธาตุแตก ร่างกายเราเป็นอย่างไร สุดท้ายเกิดความเห็นว่าเป็นอย่างไร มันไม่จีรัง ไม่เที่ยงอย่างไร เป็นทุกข์อย่างไร ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นอย่างไร

    4 ให้พิจารณาให้ถึงที่สุดแห่งกายคะตานุสตินี้ว่า ร่างกายเรานี้ มีรูปร่างเป็นเช่นนี้อวัยวะน้อยใหญ่เป็นประการนี้ ประกอบด้วยธาตุทั้ง4 อย่างนี้ เกิดขึ้นอย่างนี้ มีอิริยาบท ต่างๆดังนี้ กาลเวลาเปลี่ยนไป ก็มีสภาพเปลี่ยนไปอย่างนี้ สกปรกไม่สวยไม่งามอย่างนี้ มีการเสื่อมสลายลงอย่างนี้ ที่สุดแห่งกายนี้ คือกายธาตุแตกสลาย แตกดับ เป็นอย่างนี้ ร่างกายที่แตกดับ มีสภาพเป็นอย่างนี้เน่าเปื๋อยผุพอง ส่งกลิ่นเหม็นเป็นอย่างนี้ น้ำเลือดน้ำหนองไหลเยิ้มอุจาดตาอย่างนี้ เหล่าแมลงวัน แมลงหวี่ หนอนต่างๆ อาศัยอยู่เจริญอยู่ในซากศพแบบนี้ สุดท้าย คงเหลือแต่กระดูก เป็นอย่างนี้ กระดูกที่เหลืออยู่นี้ไม่นานก็เน่าผุพังแตกสลายกลับคืนสู่ธรรมชาติอย่างนี้

    เช่นนี้แล้วอันร่างกายเรานี้ไม่มีแล้ว หมดแล้วไม่เหลืออะไรแล้ว ในข้อนี้เมื่อพิจารณาถึงตรงนี้ กายคะตานุสติเกิดเช่นนี้แล้ว ต่อเนื่องกับมรณานุสติแบบนี้แล้ว อสุภะกรรมฐานเกิดตามต่อเนื่องแล้ว

    อันสักกายะทิฏฐิทั้งหลายก็ไม่ควรมีอีกต่อไปแล้ว วิปัสสนาญาณในกองกายสังขารนี้เกิดตามรู้ทั่วทั้งกายนี้แล้ว ไม่มีอะไรเที่ยงจีรัง ล้วน อนิจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นแน่แท้ที่สุดแล้ว อันสักกายะทิฏฐิทั้งหลายของเราจึงดับแล้ว
    ดับโดยสิ้นเชิงแล้ว สาธุ สาธุ สาธุครับ
     
  9. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    การมีสติอยู่ตลอดเวลานั้น
    ทำให้เกิดปัญญาหรือไม่
    ทำให้รู้ตัวอยู่ตลอดหรือเปล่า
    มองเห็นอารมณ์ที่วิ่งไป วิ่งมาหรือไม่

    อ่านเพียงอย่างเดียว จึงไม่เข้าใจ ผมบอกกล่าวไปก่อนหน้านี้แล้วว่า
    ตำรานั้น กว่าจะมาถึงยุคสมัยนี้ ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปมากมายแล้ว
    สังคยานา ไม่รู้กี่ครั้ง มีทั้งเพิ่มเติมเข้ามา และ ถอดถอนออกไป

    สิ่งที่ผมกล่าวนั้น ปฎิบัติด้วยความเพียรย่อมเห็นได้ โดยไม่ต้องนึกคิดแต่อย่างใด
    แค่มีสติอยู่ทุกอริยบท มันไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย ต้องฝึกฝนอย่างมาก ด้วยความยากลำบาก
    แล้วจะมาเจริญแบบง่ายๆ จะเป็นไปได้กระนั้นหรือ ใคร่ควรดูเถอะ

    สาธุครับ
     
  10. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ลอง ยก สติปัฏฐาน ที่พระพุทธเจ้าสอน มาเรียนก่อนดูดิ ว่า พระพุทธเจ้า สอนอย่างไร
     
  11. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    คุณ ปราบเทวดา ครับ
    คุณฟังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงเลยหรือเปล่าครับ
    หากไม่ได้ฟังโดยตรง คุณเชื่อได้อย่างไรครับ
    อะไรก็อ้างอิงตำรา อ้างอิงหนังสือ มีไหที่รู้ด้วยตนเอง

    ผู้ปฎิบัติพึงรู้ได้ด้วยตนเอง คงจะชัดเจนนะครับ

    สาธุครับ
     
  12. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    สติ สมาธิ ปัญญา

    สัมปยุตกันเมื่อไร กิเลสจะละออก เหมือนกะเทาะเปลือกเข้าไปหาเนื้อใน

    สติปัฏฐาน เป็นวิธี ฝึก เพื่อผลงาน ที่ชื่อว่า สติ สมาธิ ปัญญา

    ได้ สมาธิแล้ว จึงไปเจริญสติ ก็ลองคิดดูว่า สมาธิ ที่ได้มานั้น เป็น สมาธิแบบไหน

    ได้ สมาธิแล้ว จะไปเจริญสติ ปัฏฐาน ให้มันเหนื่อยทำไม เพราะผลงานมันได้มาแล้ว

    เว้นเสียแต่ ว่า ไม่ใช่ สมาธิในพระพุทธศาสนา
     
  13. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    พระพุทธองค์อยู่ ณ ที่แห่งใดครับ
    ผมจะได้ไปฟังจากพระพุทธองค์ให้ชัดเจนกระจ่างแจ้งครับ

    สาธุครับ
     
  14. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ที่กล่าวมานี้ คุณ ปราบเทวดา ครับ
    ทำไมพระอรหันต์ หรือ พระพุทธเจ้า ท่านบรรลุธรรมแล้ว จึงยังคงปฎิบัติอยู่ล่ะครับ
    สำเร็จแล้วยังปฎิบัติเป็นปกติอยู่ เช่นนี้เพื่อสิ่งใดครับ และ ที่คุณกล่าวนั้นยังต้องปฎิบัติต่อไปไหมครับ

    สาธุครับ
     
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อยู่ที่พระธรรมคำสอนไงครับ

    ยกมาซิ คำสอน มีในตำรา พระไตรปิฎก

    กลัวมั๊ยล่ะ ตำราน่ะ
     
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ไว้ให้เป็นพระอรหันต์ก่อนครับ จะมาบอก ว่าปฏิบัติอยู่เพื่ออะไร
     
  17. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ไม่กลัวครับ คุณก็ยกตำรามาสิครับ
    ผมก็กล่าวตามความเข้าใจของผมไป
    การแสดงความเข้าใจที่มีในตนให้ผู้อื่นดู
    ไม่ใช่สิ่งที่ควรดูแคลนอยู่แล้ว
    ผิด ก็จะได้รู้ว่าผิด ควร ก็จะได้รู้ว่าควร
    มีสิ่งใดให้กลัวล่ะครับ โลกใบนี้ก็เป็นอย่างนี้อยู่แล้ว
    ผมไม่เคยอิงตำรามาตั้งแต่เข้าเว็บนี้อยู่แล้วนี่ครับ
    ไม่ใช่เพิ่งจะมาเป็น คุณก็ถกกับผมมาหลายครั้งแล้ว

    สาธุครับ
     
  18. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    งั้นผมคงต้องรออีกนานสิครับ เมื่อไม่รู้ว่าทำไม
    แสดงว่า การปฎิบัตินั้นยังคลุมเคลืออยู่
    มองไม่เห็นหนทางแห่งการหลุดพ้นเลย
    ยังมีความสงสัยอยู่ ว่าใช่หรือไม่
    เพราะการปฎิบัตินั้น ไม่ต้องสำเร็จเป้นพระอรหันต์ ก็สามารถทราบได้ว่าเพราะอะไร
    อะไรเป็นเหตุให้ปฎิบัติเป็นปกติอยู่เสมอ ถึงจะบรรลุธรรมแล้วก็ตาม

    สาธุครับ
     
  19. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ยกมาให้อ่านครับ จัดไป



    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
    ทีฆนิกาย มหาวรรค


    ๙. มหาสติปัฏฐานสูตร (๒๒)
    [๒๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า
    กัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค
    ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อ
    ความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญ
    แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
    หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
    มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
    พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
    มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ
     
  20. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
    ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อ
    หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เรา
    หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้า
    สั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอด
    กองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกอง
    ลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่าง
    กลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว
    เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า
    เราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจ
    เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
    ทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เรา
    จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน
    กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้ง
    ภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็น
    ธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อม
    ในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียง
    สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย
    อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า
    พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
    จบอานาปานบรรพ
     

แชร์หน้านี้

Loading...