พระพุทธศาสนาเพิงผ่านไปแค่ 2600 ปี ยังสับสนขนาดนี้

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย อากาสา, 30 มกราคม 2013.

  1. อากาสา

    อากาสา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2013
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +10
    จากที่กระผมได้อ่านกระทู้ต่าง ๆ ในหลาย ๆ เว็บ หรือจากการศึกษาวิธีการปฏิบัติของแต่ละอาจารย์ แต่ละสำนัก พบว่ามีการถกเถียงเรื่องการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อสำเร็จมรรคผล เพื่อการดับทุกข์(ล่าสุดในเว็บนี้ก็มีการถกเถียงกันครั้งไหญ่จนเป็นมหากาพ...จนกระทู้ถูกปิดไป) ทั้งที่พระพุทธศาสนาเพิงผ่านไปแค่ 2600 ปี ยังสับสนขนาดนี้ แล้วอีก 2400 ปีข้างหน้าจากนี้จะเป็นยังไง กระผมคือคนหนึ่งที่เพิ่งเริ่มปฏิบัติ แต่ก็ต้องมานั่งสงสัยว่าที่เราทำอยู่นี่มันถูกมั๊ย เพราะที่ได้ฟังวิธีปฏิบัติของแต่ละท่านมาก็ต่างบอกว่าวิธีของตัวเองถูก ทั้งที่มีคนเคยบอกผมว่า "พระพุทธองค์กล่าวไว้ว่าทางสู่การดับทุกข์มีสายเดียวเท่านั้น" หรืออาจเป็นเพราะการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นมีปัญหา หรือการแปลอักขระตัวอักษรมีปัญหา หรือการตีความของแต่ละคนมีปัญหา ทำให้แต่ละคนเข้าใจหลักปฏิบัติที่พระพุทธองค์ให้ไว้ต่างกัน แล้วกระผมจะเอาหลักเกณฑ์ข้อใดเป็นตัวตัดสินว่าใครถูก.....ใครผิด ? ถ้ามันเป็นสิ่งที่ผู้รู้รู้ได้เฉพาะตนต่างคนก็ต่างคิดว่าสิ่งที่ตัวรู้มันถูก มันน่าจะมีตัววัดค่าความถูกต้องที่ชัดเจนกว่านี้จะได้ไม่ต้องมาทะเลาะกัน เพราะการที่เถียงกันแบบนี้จนกลายเป็นการทะเลาะกัน....ไม่รู้ว่าจะเข้าข่ายการยุให้สงฆ์แตกแยกกันหรือไม่ เลยไม่อยากจะเข้าไปเถียงกับใครกลัวเป็นบาปหนักโดยไม่รู้ตัว
     
  2. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    ไม่เห็นสับสนเลยครับ

    ทางให้บรรลุมรรคผลก็มีแค่ มรรคมีองค์ 8

    หรือพูดแบบสรุปๆ คือ "ละเว้นความชั่ว ทำความดีให้ถึงพร้อม และทำจิตให้ผ่องใส"

    ละเว้นความชั่วกับทำความดีให้ถึงพร้อม สำนักไหนก็สอนเหมือนกัน ไม่มีความต่าง

    ส่วนชำระจิตให้ผ่องใสโดยหลักก็เหมือนกัน แต่เทคนิคของแต่ละท่านเท่านั้นที่ต่างกันบ้าง

    ขอให้เจริญในธรรม
     
  3. reindear

    reindear เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +173
    ความไม่แน่ใจ ลังเลสงสัย บรรเทาได้ด้วยการรักษาศีลข้อ4อย่างเคร่งครัด
    อันนี้เอามาจากเรื่อง นิวรณ์5
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ผมว่าไม่น่าจะมีความสับสนนะครับ....ถ้าเกิดว่าว่าเราเอาพุทธพจน์เป็นตัววัด คัมภีร์ชั้นอรรถกถาเป็นตัวอธิบายเพิ่มเติม....คือบางครั้งผู้ปฏิบัติอาจยึดในตัวอาจารย์ ยึดในรูปแบบของตนเป็นหลัก จึงก่อเกิดปัญหาอย่างที่คุณว่านั่นหละครับ....ความจริงมันก็เป็นเรื่องธรรมดา คือของกูดี ของกูเด่น นั่นหละครับ...มันเป็นเรื่องธรรมดาของผู้ที่มีกิเลส....

    ในเรื่องการปฏิบัตินั้นถ้าเราศึกษามาจริงๆจะรู้ว่าวิธีการต่างๆมันก็เป็นเพียงวิธีการ และถ้าดูดีๆที่ถกเถียงกันนั้นก็คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนทั้งนั้น แต่ต่างตรงที่ความสามารถในการเข้าถึงของแต่ละคนไม่เท่ากัน การปฏิบัติของแต่ละคนไม่เท่ากัน วิธีการปฏิบัติของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ตลอดจนถึง วิธีการสอน การเน้นของแต่ละสำนักครูบาอาจารย์ไม่เหมือนกันเท่านั้น.....

    ส่วนตัวผมว่าไม่กระทบนะครับ...เพราะผู้ปฏิบัติจริงๆเขาก็ปฏิบัติกันจริงๆนั่นหละครับ....ผู้ที่สับสนก็คือผู้ที่ยังหาหลักใจไม่ได้ และไม่มีความมั่นใจในตนเอง ตลอดจนถึงไม่มีความมั่นใจในสิ่งที่ตัวเองปฏิบัติ เพราะว่าอะไร เพราะว่าสิ่งที่ตัวเองปฏิบัตินั้นยังไม่จริงจัง ไม่เห็นผลของการปฏิบัติ จึงยังไม่มีความมั่นใจในสิ่งที่ตนเองทำอยู่ เท่านั้นหละครับ


    มันสับสนที่ตัวคน ไม่ได้สับสนที่ศาสนาครับ เพราะศาสนามีครบถ้วนแล้ว ทั้งศาสดา และ คัมภีร์ ที่ศึกษาอ้างอิงได้ทั้งหมด....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2013
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    เห็นด้วยตามนี้เลยครับ..........มรรค ๘ มีกำหนดไว้ชัดแล้ว..ผมก็เห็นว่าไม่สับสนนะ
     
  6. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    ก็ยึดคำพระตถาคตสิ เพราะท่านเป็นศาสดา คำสาวกที่แต่งขึ้นใหม่ภายหลัง ไม่ยึด

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=Ti2TV9hzGCA"]???????-NBT - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2013
  7. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    คำ คำสาวก อย่างในคลิปนี้เป็นต้น ครับ
     
  8. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2013
  9. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    สมัยพระพุทธกาล พระเทวทัต ท่านก็ไม่อ้างนู่นอ้างนี้ ไม่อ้างตามหนังสือ ไม่อ้างหลักคำสอนเหมือนกันครับ ถามว่าเป็นครูที่ดีไหม? ถ้าดูตามคำสอน ก็ไม่เลวนะ บอกให้อยู่ป่า บอกให้สมถะ บอกห้ามฉันเนื้อสัตว์...

    ผลออกมาเป็นอย่างไรหละ?
     
  10. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320

    เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา
    โสก ปริเทวานํ สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสานํ
    อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส
    สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานาฯ

    แปลความว่า "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ไปอันเอก
    เพื่อความบริสุทธิ์หมดจดของสัตว์ทั้งหลาย
    เพื่อความก้าวล่างจากความโศก ความร่ำไห้
    เพื่อความดับสิ้นไปจากทุกข์และโทมนัส
    เพื่อบรรลุธรรมวิเศษที่ควรรู้ เพื่อกระจำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
    ทางนั้น คือ สติปัฏฐาน ๔"
     
  11. อภิมาร

    อภิมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    711
    ค่าพลัง:
    +2,154


    ตามที่เคยได้ยินมา

    ในพุทธกาลมีพระสาวกมาทูลถามพระพุทธองค์

    เรื่องศีลเยอะรักษาไม่ไหว เช่นนั้นพระพุทธองค์

    ทรงให้รักที่จิตรอย่างเดียวก็ได้ อย่าให้บาปและ

    อกุศลเกิดในจิตร ถ้าเกิดก็ให้รีบละเสีย(เรื่องนี้ขาดตกบกพร่อง

    รบกวนท่านผู้รู้ช่วยแก้ไข)

    บางสำนักที่ปฏิบัติครูอาจารย์ยังให้ปิดตำรา เพราะ

    บางทีจะกลายเป็นสำเร็จด้วยคิด หลักเกณฑ์การตัดสิน

    ก็จะแจ้งด้วยจิตรของผู้ที่ปฏิบัติเอง จากสภาวะที่เห็น

    :z11 อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้.
     
  12. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    ไม่รู้เหมือนกันครับ ผมคงมีอายุไม่ยืนยาวไปรอดู
    จริงๆผมไม่สนใจนะ ผมสนใจแต่ตัวผม
     
  13. nai_Prathom

    nai_Prathom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +694
    ไม่สับสนจ้า ไม่สับสนเลย
    พวกที่สับสน ก็คงอย่างที่หลายท่านได้กล่าวมา รู้ยังไม่จริง แล้วพากันอวดตัวเที่ยวตั้งตัวสั่งสอน

    พระธรรมยังชัดเจนอยู่น่ะครับ อริยสัจ4 มรรค8 สติปัฏฐาน4 และธรรมหมวดอื่นยังอยู่ครบครับ

    การอ้างอิงตำราก็นับว่ามีประโยชน์ ในยามที่ติดขัด ก็เปิดดูซะบ้างจะเป็นไรไป
    ตำรานั้นเปรียบเหมือนแผนที่ ไม่มีแผนที่ก็ดูกระไรอยู่

    สำหรับสำนักที่ครูบาอาจารย์ท่านให้โยนตำราทิ้งไป ก็อาจเป็นเพราะมีครูบาอาจารย์ที่รู้จริงอยู่แล้ว ติดขัดอะไรก็ถามได้

    จะอย่างไรก็ดีทั้งนั้น ถ้าผู้ปฏิบัติ ยังอยู่ในหลักกาลามสูตร
     
  14. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    พระพุทธศาสนาเพิงผ่านไปแค่ 2600 ปี ยังสับสนขนาดนี้


    นานาสังวาส


    ยึดติดคำสาวก

    คำ คำสาวก อย่างในคลิปนี้เป็นต้น ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2013
  15. rikitfa

    rikitfa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2013
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +65
    สิบพระสูตรน่าจะบอกอะไรได้นะครับ
    ลองพิจารณาพระสูตร 10พระสูจร จะรู้ว่าเราสมควรจะทำอะไรกับตัวเราเอง(กับตัวเราเอง)
    ผานมา ๒,๕๐๐ กวาป
    คําสอนทางพระพุทธศาสนาเกิดความหลากหลายมากขึ้น
    มีสํานักตางๆ มากมาย ซึ่งแตละหมูคณะก็มีความเห็นของตน
    หามาตรฐานไมได แมจะกลาวในเรื่องเดียวกัน
    ทั้งนี้ไมใชเพราะคําสอนของพระพุทธเจาไมสมบูรณ
    แลวเราควรเชื่อและปฏิบัติตามใคร ?
    ลองพิจารณาหาคําตอบงายๆ ไดจาก ๑๐ พระสูตร
    ซึ่งพระตถาคตทรงเตือนเอาไว
    แลวตรัสบอกวิธีปองกันและแกไขเหตุเสื่อมแหงธรรมเหลานี้.
    ขอเชิญมาตอบตัวเองกันเถอะวา ถึงเวลาแลวหรือยัง ?
    ที่พุทธบริษัทจะมีมาตรฐานเพียงหนึ่งเดียว คือ “พุทธวจน” ธรรมวินัย
    จากองคพระสังฆบิดา อันวิญูชนพึงปฏิบัติและรูตามไดเฉพาะตน ดังนี้.

    ๑. พระองคทรงสามารถกําหนดสมาธิ เมื่อจะพูด ทุกถอยคําจึงไมผิดพลาด
    อัคคิเวสนะ ! เรานั้นหรือ, จําเดิมแตเริ่มแสดง กระทั่งคําสุดทายแหงการกลาว
    เรื่องนั้นๆ ยอมตั้งไวซึ่งจิตในสมาธินิมิตอันเปนภายในโดยแท ใหจิตดํารงอยู
    ใหจิตตั้งมั่นอยู กระทําใหมีจิตเปนเอก ดังเชนที่คนทั้งหลายเคยไดยินวาเรากระทํา
    อยูเปนประจํา ดังนี้.
    มู. ม. ๑๒/๔๕๘/๔๓๐.

    ๒. แตละคําพูดเปนอกาลิโก คือ ถูกตองตรงจริงไมจํากัดกาลเวลา
    ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลายเปนผูที่เรานําไปแลวดวยธรรมนี้ อันเปนธรรมที่
    บุคคลจะพึงเห็นไดดวยตนเอง (สนฺทิฏิโก), เปนธรรมใหผลไมจํากัดกาล (อกาลิโก),
    เปนธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสิโก), ควรนอมเขามาใสตัว (โอปนยิโก), อัน
    วิญูชนจะพึงรูไดเฉพาะตน (ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิฺูหิ).
    มู. ม. ๑๒/๔๘๕/๔๕๑.

    ๓. คําพูดที่พูดมาทั้งหมดนับแตวันตรัสรูนั้น สอดรับไมขัดแยงกัน
    ภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแตราตรี ที่ตถาคตไดตรัสรูอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
    จนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตปรินิพพานดวยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ, ตลอดเวลาระหวางนั้น
    ตถาคตไดกลาวสอน พร่ําสอน แสดงออก ซึ่งถอยคําใด ถอยคําเหลานั้นทั้งหมด
    ยอมเขากันไดโดยประการเดียวทั้งสิ้น ไมแยงกันเปนประการอื่นเลย.
    อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๒๑/๒๙๓.

    ๔. ทรงบอกเหตุแหงความอันตรธานของคําสอนเปรียบดวยกลองศึก
    ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแลว : กลองศึกของกษัตริยพวกทสารหะ เรียกวา
    อานกะ มีอยู. เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตก หรือลิ, พวกกษัตริยทสารหะไดหาเนื้อไมอื่น
    ทําเปนลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป). ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเชื่อมปะเขา
    หลายครั้งหลายคราวเชนนั้นนานเขาก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไมเดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป
    เหลืออยูแตเนื้อไมที่ทําเสริมเขาใหมเทานั้น;
    ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในกาลยืดยาวฝายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย,
    สุตตันตะเหลาใด ที่เปนคําของตถาคต เปนขอความลึก มีความหมายซึ้ง เปนชั้นโลกุตตระ
    วาเฉพาะดวยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผูนําสุตตันตะเหลานั้นมากลาวอยู; เธอจักไมฟงดวยดี
    จักไมเงี่ยหูฟง จักไมตั้งจิตเพื่อจะรูทั่วถึง และจักไมสําคัญวาเปนสิ่งที่ตนควรศึกษาเลาเรียน.
    สวนสุตตันตะเหลาใด ที่นักกวีแตงขึ้นใหม เปนคํารอยกรองประเภทกาพยกลอน มีอักษร
    สละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เปนเรื่องนอกแนว เปนคํากลาวของสาวก, เมื่อมีผูนํา
    สุตตันตะที่นักกวีแตงขึ้นใหมเหลานั้นมากลาวอยู; เธอจักฟงดวยดี จักเงี่ยหูฟง จักตั้งจิต
    เพื่อจะรูทั่วถึง และจักสําคัญวาเปนสิ่งที่ตนควรศึกษาเลาเรียนไป.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหลานั้น ที่เปนคําของตถาคต เปน
    ขอความลึก มีความหมายซึ้ง เปนชั้นโลกุตตระ วาเฉพาะดวยเรื่องสุญญตา จักมีไดดวย
    อาการอยางนี้ แล.
    นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓.

    ๕. ทรงกําชับใหศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคําของพระองคเทานั้น อยาฟงคนอื่น
    ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหลาใด ที่กวีแตงขึ้นใหม
    เปนคํารอยกรองประเภทกาพยกลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เปนเรื่อง
    นอกแนว เปนคํากลาวของสาวก เมื่อมีผูนําสุตตันตะเหลานั้นมากลาวอยู เธอจักไมฟง
    ดวยดี ไมเงี่ยหูฟง ไมตั้งจิตเพื่อจะรูทั่วถึง และจักไมสําคัญวาเปนสิ่งที่ตนควรศึกษา
    เลาเรียน.
    ภิกษุทั้งหลาย ! สวนสุตตันตะเหลาใด ที่เปนคําของตถาคต เปนขอความลึก
    มีความหมายซึ้ง เปนชั้นโลกุตตระ วาเฉพาะดวยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผูนําสุตตันตะ
    เหลานั้นมากลาวอยู; เธอยอมฟงดวยดี ยอมเงี่ยหูฟง ยอมตั้งจิตเพื่อจะรูทั่วถึง และยอม
    สําคัญวาเปนสิ่งที่ตนควรศึกษาเลาเรียน จึงพากันเลาเรียน ไตถาม ทวนถามแกกันและกันอยู
    วา “ขอนี้เปนอยางไร มีความหมายกี่นัย” ดังนี้. ดวยการทําดังนี้ เธอยอมเปดธรรม
    ที่ถูกปดไวได. ธรรมที่ยังไมปรากฏ เธอก็ทําใหปรากฏได, ความสงสัยในธรรมหลายประการ
    ที่นาสงสัย เธอก็บรรเทาลงได.
    ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒.
    ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา
    เปนอยางไรเลา ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย
    อันเปนตถาคตภาษิต (ตถาคตภาสิตา) อันลึกซึ้ง (คมฺภีรา) มีอรรถอันลึกซึ้ง (คมฺภีรตฺถา)
    เปนโลกุตตระ (โลกุตฺตรา) ประกอบดวยเรื่องสุญญตา (สุฺตปฏิสํยุตฺตา) อันบุคคลนํามากลาวอยู; ก็ไมฟงดวยดี ไมเงี่ยหูฟง ไมเขาไปตั้งจิตเพื่อจะรูทั่วถึง และไมสําคัญวา
    เปนสิ่งที่ตนควรศึกษาเลาเรียน.
    สวนสุตตันตะเหลาใด ที่กวีแตงขึ้นใหม เปนคํารอยกรองประเภทกาพยกลอน
    มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เปนเรื่องนอกแนว เปนคํากลาวของสาวก,
    เมื่อมีผูนําสุตตันตะเหลานี้มากลาวอยู; พวกเธอยอมฟงดวยดี เงี่ยหูฟง ตั้งจิตเพื่อจะรูทั่วถึง
    และสําคัญไปวาเปนสิ่งที่ตนควรศึกษาเลาเรียน. พวกเธอเลาเรียนธรรมอันกวีแตงใหมนั้นแลว
    ก็ไมสอบถามซึ่งกันและกัน ไมทําใหเปดเผยแจมแจงออกมาวา ขอนี้พยัญชนะเปนอยางไร
    อรรถเปนอยางไร ดังนี้. เธอเหลานั้น เปดเผยสิ่งที่ยังไมเปดเผยไมได ไมหงายของที่คว่ําอยู
    ใหหงายขึ้นได ไมบรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเปนที่ตั้งแหงความสงสัยมีอยาง
    ตางๆ ได. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกวา อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา.
    ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา
    เปนอยางไรเลา ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย
    ที่กวีแตงขึ้นใหม เปนคํารอยกรองประเภทกาพยกลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอัน
    วิจิตร เปนเรื่องนอกแนว เปนคํากลาวของสาวก อันบุคคลนํามากลาวอยู; ก็ไมฟงดวยดี
    ไมเงี่ยหูฟง ไมเขาไปตั้งจิตเพื่อจะรูทั่วถึง และไมสําคัญวาเปนสิ่งที่ตนควรศึกษาเลาเรียน.
    สวน สุตตันตะเหลาใด อันเปนตถาคตภาษิต อันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง เปน
    โลกุตตระ ประกอบดวยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผูนําสุตตันตะเหลานี้มากลาวอยู
    พวกเธอยอมฟงดวยดี ยอมเงี่ยหูฟง ยอมเขาไปตั้งจิตเพื่อจะรูทั่วถึง และยอม
    สําคัญวาเปนสิ่งที่ควรศึกษาเลาเรียน. พวกเธอเลาเรียนธรรมที่เปนตถาคตภาษิตนั้นแลว
    ก็สอบถามซึ่งกันและกัน ทําใหเปดเผยแจมแจงออกมาวา ขอนี้พยัญชนะเปนอยางไร
    อรรถะเปนอยางไร ดังนี้. เธอเหลานั้น เปดเผยสิ่งที่ยังไมเปดเผยได หงายของที่คว่ําอยู
    ใหหงายขึ้นได บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเปนที่ตั้งแหงความสงสัยมีอยาง
    ตางๆ ได. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกวา ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา.
    ภิกษุทั้งหลาย ! เหลานี้แลบริษัท ๒ จําพวกนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทที่เลิศ
    ในบรรดาบริษัททั้งสองพวกนั้น คือ บริษัทปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา
    (บริษัทที่อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเองเปนเครื่องนําไป : ไมอาศัยความเชื่อจากบุคคลภายนอก
    เปนเครื่องนําไป) แล.
    ทุก. อํ. ๒๐/๙๑/๒๙๒

    ๖. ทรงหามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่บัญญัติไว
    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย จักไมบัญญัติสิ่งที่ไมเคยบัญญัติ จักไมเพิกถอน
    สิ่งที่บัญญัติไวแลว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไวแลวอยางเครงครัด
    อยูเพียงใด, ความเจริญก็เปนสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได ไมมีความเสื่อมเลย อยูเพียงนั้น.
    มหา. ที. ๑๐/๙๐/๗๐.

    ๗. สํานึกเสมอวาตนเองเปนเพียงผูเดินตามพระองคเทานั้น
    ถึงแมจะเปนอรหันตผูเลิศทางปญญาก็ตาม
    ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผูอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ไดทํามรรคที่ยังไมเกิดให
    เกิดขึ้น ไดทํามรรคที่ยังไมมีใครรูใหมีคนรู ไดทํามรรคที่ยังไมมีใครกลาวใหเปนมรรค
    ที่กลาวกันแลว ตถาคตเปนผูรูมรรค (มคฺคฺู) เปนผูรูแจงมรรค (มคฺควิทู) เปน
    ผูฉลาดในมรรค (มคฺคโกวิโท). ภิกษุทั้งหลาย ! สวนสาวกทั้งหลายในกาลนี้ เปน
    ผูเดินตามมรรค (มคฺคานุคา) เปนผูตามมาในภายหลัง.
    ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล เปนความผิดแผกแตกตางกัน เปนความมุงหมายที่แตกตางกัน
    เปนเครื่องกระทําใหแตกตางกัน ระหวางตถาคตผูอรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุ
    ผูปญญาวิมุตติ.
    ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๒/๑๒๖.

    ๘. ตรัสไววาใหทรงจําบทพยัญชนะและคําอธิบายอยางถูกตอง
    พรอมขยันถายทอดบอกสอนกันตอไป
    ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เลาเรียนสูตรอันถือกันมาถูก ดวยบท
    พยัญชนะที่ใชกันถูก ความหมายแหงบทพยัญชนะที่ใชกันก็ถูก ยอมมีนัยอันถูกตอง
    เชนนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เปน มูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทําใหพระสัทธรรมตั้งอยูได
    ไมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป...
    ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุเหลาใด เปนพหุสูต คลองแคลว ในหลักพระพุทธวจน
    ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แมบท) พวกภิกษุเหลานั้น เอาใจใส บอกสอน
    เนื้อความแหงสูตรทั้งหลายแกคนอื่นๆ, เมื่อทานเหลานั้นลวงลับไป สูตรทั้งหลาย
    ก็ไมขาดผูเปนมูลราก (อาจารย) มีที่อาศัยสืบกันไป. ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เปน มูลกรณี
    ที่สาม ซึ่งทําใหพระสัทธรรมตั้งอยูไดไมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป...
    *** ในที่นี้ยกมา ๒ นัยยะ จาก ๔ นัยยะ ของมูลเหตุสี่ประการ ที่ทําใหพระสัทธรรมตั้งอยูไดไมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป
    จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๗/๑๖๐.

    ๙. ทรงบอกวิธีแกไขความผิดเพี้ยนในคําสอน
    ๑. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กลาวอยางนี้วา ผูมีอายุ ! ขาพเจาไดสดับรับมาเฉพาะ
    พระพักตรพระผูมีพระภาควา “นี้เปนธรรม นี้เปนวินัย นี้เปนคําสอนของพระศาสดา”...
    ๒. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กลาวอยางนี้วา ในอาวาสชื่อโนนมีสงฆอยูพรอมดวย
    พระเถระ พรอมดวยปาโมกข ขาพเจาไดสดับมาเฉพาะหนาสงฆนั้นวา “นี้เปนธรรม
    นี้เปนวินัย นี้เปนคําสอนของพระศาสดา”...
    ๓. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กลาวอยางนี้วา ในอาวาสชื่อโนนมีภิกษุผูเปนเถระอยู
    จํานวนมาก เปนพหุสูต เรียนคัมภีร ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ขาพเจาไดสดับมา
    เฉพาะหนาพระเถระเหลานั้นวา “นี้เปนธรรม นี้เปนวินัย นี้เปนคําสอนของพระศาสดา”...
    ๔. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กลาวอยางนี้วา ในอาวาสชื่อโนนมีภิกษุผูเปนเถระอยู
    รูปหนึ่ง เปนพหุสูต เรียนคัมภีร ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ขาพเจาไดสดับมา
    เฉพาะหนาพระเถระรูปนั้นวา “นี้เปนธรรม นี้เปนวินัย นี้เปนคําสอนของพระศาสดา”...
    เธอทั้งหลายยังไมพึงชื่นชม ยังไมพึงคัดคานคํากลาวของผูนั้น พึงเรียนบทและ
    พยัญชนะเหลานั้นใหดี แลวพึงสอบสวนลงในพระสูตร เทียบเคียงดูในวินัย
    ถาบทและพยัญชนะเหลานั้น สอบลงในสูตรก็ไมได เทียบเขาในวินัยก็ไมได
    พึงลงสันนิษฐานวา “นี้มิใชพระดํารัสของพระผูมีพระภาคพระองคนั้นแนนอน และ
    ภิกษุนี้รับมาผิด” เธอทั้งหลาย พึงทิ้งคํานั้นเสีย
    ถาบทและพยัญชนะเหลานั้น สอบลงในสูตรก็ได เทียบเขาในวินัยก็ได พึงลง
    สันนิษฐานวา “นี้เปนพระดํารัส ของพระผูมีพระภาคพระองคนั้นแนนอน และ
    ภิกษุนั้นรับมาดวยดี” เธอทั้งหลาย พึงจํามหาปเทส... นี้ไว.
    มหา. ที. ๑๐/๑๔๔/๑๑๓-๖

    ๑๐. ทรงตรัสแกพระอานนท ใหใชธรรมวินัยที่ตรัสไวเปนศาสดาแทนตอไป
    อานนท ! ความคิดอาจมีแกพวกเธออยางนี้วา ‘ธรรมวินัยของพวกเรามีพระศาสดา
    ลวงลับไปเสียแลว พวกเราไมมีพระศาสดา’ ดังนี้. อานนท ! พวกเธออยาคิดอยางนั้น.
    อานนท ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแลว บัญญัติแลว แกพวกเธอทั้งหลาย
    ธรรมวินัยนั้น จักเปนศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยกาลลวงไปแหงเรา.
    อานนท ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลลวงไปแหงเราก็ดี ใครก็ตาม จักตองมีตนเปน
    ประทีป มีตนเปนสรณะ ไมเอาสิ่งอื่นเปนสรณะ; มีธรรมเปนประทีป มีธรรมเปนสรณะ ไม
    เอาสิ่งอื่นเปนสรณะ เปนอยู. อานนท ! ภิกษุพวกใด เปนผูใครในสิกขา, ภิกษุพวก
    นั้น จักเปนผูอยูในสถานะอันเลิศที่สุดแล.
    อานนท ! ความขาดสูญแหงกัลยาณวัตรนี้ มีในยุคแหงบุรุษใด บุรุษนั้นชื่อวา
    เปนบุรุษคนสุดทายแหงบุรุษทั้งหลาย.... เราขอกลาวย้ํากะเธอวา... เธอทั้งหลายอยา
    เปนบุรุษพวกสุดทายของเราเลย.
    มหา. ที. ๑๐/๑๗๘/๑๔๑.
    มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐.
    ม. ม. ๑๓/๔๒๗/๔๖๓.
     
  16. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ปฏิบัติหรือยังครับ แบบไหนก็ปฏิบัติไปก่อน เป็นบุญเป็นกุศล เป็นบารมีธรรมทั้งนั้น ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรมครับ สำหรับผู้สงสัยแต่ไม่ปฏิบัตินั้น ธรรมไม่รักษานะครับ
    มีเพียงของหลวงปู่โลกอุดรเท่านั้นที่บอกว่ามีวิธีเดียวและผมก็เป็นคนโพสต์ด้วย
    ส่วนที่ว่าการปฏิบัติ ความคิด ความรู้ ความเห็นก็แตกต่างกันได้ แต่ผมเชื่อว่าแต่ละคนที่มาโพสต์ไม่มีเจตนาให้แตกแยกหรอกครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2013
  17. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +9,766
    ความเป็นจริงพระธรรมยังคงอยู่ไม่เสื่อมสูญ แม้จะมีพระพุทธองค์หรือไม่ก็ตามธรรมะก็ยังคงอยู่

    พระอานนท์บรรลุธรรมอรหัตผลนั้นเป็นผลมาจากการปฏิบัติ
    แม้ท่านได้ฟังพุทธพจน์มากเพราะโอกาสอำนวย และท่านจำได้มากกว่าคนอื่น (ถ้าเป็นสมัยนี้คืออ่านมาก)ก็ไม่อาจบรรลุธรรมได้

    ข้อธรรมหลักหลักที่เผยแผ่ในเวลานี้น่าจะเกินพอสำหรับผู้ปฏิบัติจริง ยึดมั่นในพระรัตนตรัย พิจารณาธาตุสี่ สติปัฎฐานสี่ ขันธ์ห้า อายตนหก โพฌงค์เจ็ด มรรคแปด โลกุตรธรรมเก้า บารมีสิบ ธรรมเหล่านี้ไม่มีข้อรายละเอียดใดๆ ที่ต้องมีประเด็นต้องโต้แย้งแข่งขันไม่ลงรอยกันเลย ลงมือปฏิบัติเองจะชัดเจนยิ่งขึ้น ส่วนใหญ่จะติดอยู่ในความเห็นและไม่ได้ลงปฏิบัติจริงมากกว่า
     
  18. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    กระทู้ไหนหว่า กระทู้ที่ปิด กระทู้ของ bigloo , newamdding หรือ ลิขิตคว้า arkaza นะเหรอ

    อ้าว !!

    ก็ สมาชิกผู้ทรงเกีรติท่านนั้น ท่านยืนยันตัวเองว่า เป็น สกิทาคามี

    แล้ว ยังงัด พุทธวัจนะ เรื่อง ศีล5ของฆารวาส ไม่ได้กล่าวไว้ว่า ห้ามประกอบกรรมแม่บุญ
    มือ โดยแอบคิดถึงสาวที่ต้องซ่อนเร้นอำพรางไม่ให้ภรรยารู้ โดยลำพังแต่คิดเมตตาแก่
    เธอผู้นั้น(ที่ไม่กลับมาหาอีก) แล้วบริจาคนำกาม ฝากลอยลมไปกับ อานาปานสติ ชนิด ดับ ชีวา พร้อมลั่น
    กระสุนสามนัดสลุตลอยลมไปยังสาวเจ้า เป็นส่วนของ วัตถุทาน เสร็จแล้ว ยิ้ม ทำเสร็จแล้วก็
    นั่งยิ้ม มีความสุข

    นี่เขากล่าวอะไรแบบนี้ตลอด ไม่มีการกล่าวถึงการละ การเว้น ไม่ได้ บรรยายถึง โทษ

    มีแตสรรเสริญว่า มีคุณ คือ เป็น คุณสมบัติอันยอดเยี่ยมที่สกิทาคามีในอริยวินัยของ
    พระพุทธองค์ตามวัจนะเรื่องศีล5 ทุกประการ

    แบบนี้ คุณคิดว่า ใช่หรือเปล่าหละ

    หาก ดูตามวัจนะ มันก็แน่นอนหละ เรื่อง สกิทาคามีที่เป็นฆารวาส พระพุทธ
    องค์ไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนห้ามเอาไว้ มันเข้าทาง สกิทาคามีท่านนั้น อ้าง
    พุทธวัจนะได้สบายๆ

    ก็แล้วแต่เนาะ จะสนับสนุนสกิทาคามีท่านนั้น ก็ไม่ได้ว่าอะไร

    ก็แค่กล่าวย้อนแย้งให้พิจารณากันเท่านั้น ใครบ้างหละจะเอาพุทธวัจนะ
    ที่อยู่ในจิตใจจริงๆมากล่าวได้ แต่ถ้า อ้างแบบสกิทาคามีท่านนั้น ก็มันส์
    เลย ทุกคนสนับสนุนว่าเขางาม ก็ว่ากันไป

    ใครจะไปรู้ พวกที่อ้างพุทธวัจนะ บางจำพวก อาจจะไป นั่ง บริจาค
    ทานทั้งภาพ และ เสียง และ วัตถุทานเหลวๆ ต่อหน้า สาวที่ไหนก็ได้
    เพราะ ศีลไม่ได้ระบุรายละเอียดไว้ เลย ทำได้ ไม่ผิด ทำเสร็จ
    แล้ว ก็นั่ง ยิ้ม !! ไปวันๆ

    พอคนพาลทั่วไป เขาถามว่า เอ้ย คุณเป็นอะไร

    bigloo , newamdding หรือ ลิขิตคว้า arkaza บอกว่า เป็น สกิทาคามีในพุทธวัจนะ( อ้างในส่วนที่ ไม่ได้ กำกับไว้ว่า ผิดศีล )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2013
  19. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    แสดงว่า คุณไม่รู้อะไรเกี่ยวกับพระอาจารย์ท่านเลย แต่แค่นอยากจะวิจารณ์กะเขาบ้าง

    ใช่ ท่านเป็นหนึ่งในสาวกของพระตถาคต แต่ท่านไม่เอาคำสาวกคนอื่น ที่แต่งขึ้นภายหลังพระพุทธองค์ปรินิพพาน มาเผยแผ่ให้พุทธบริษัทสมัยนี้ฟังเลย ท่านยกมาเฉพาะพุทธวจน จากพระสูตรเท่านั้น
     
  20. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    โลกสวย

    นานาสังวาส รู้จักไหมครับ

    ลองเข้าไปอ่านดู 1 ในเวปที่หาได้ตาม google

    ถูกตัดออกจากสาขาวัดหนองป่าพง

    http://www.oknation.net/blog/buddhacore/2012/04/20/entry-2


    แค่นี่พอละ ไม่อยากต่อ บายๆ ครับ

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...