ถึงเวลาที่สยบข่าวภัยพิบัติ  ทางสายเอก

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย คมสันต์usa, 14 ธันวาคม 2012.

  1. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    แต่หากจะอ่านหรือศึกษาเรื่องการทำทาน มีหนังสือPDF ฉบับหนึ่ง มีการรวบรวมไว้

    มีพระสูตรต่างๆ ให้ได้ศึกษาเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง

     
  2. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    คัดลอกจาก Link ของท่าน ก เกียรติ ...เรื่องบุญกิริยาวัตถุ 10 ....
    "จิตเหล่านี้ ชื่อว่า กามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง.
    กามาวจรกุศลจิตเหล่านั้น แม้ทั้งหมดบัณฑิตพึงแสดงด้วยบุญกิริยา-
    วัตถุ ๑๐ ประการ ถามว่าแสดงอย่างไร ? ตอบว่า พึงแสดง ชื่อบุญกิริยาวัตถุ
    ๑๐ เหล่านี้ คือ
    ๑. ทานมัย บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยทาน
    ๒. สีลมัย " " ด้วยศีล
    ๓. ภาวนามัย " " ด้วยภาวนา
    ๔. อปจิติสหคตะ บุญที่สหรคตด้วยนอบน้อม
    ๕. เวยยาวัจจสหคตะ " ด้วยการขวนขวาย

    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 428
    ๖. ปัตตานุปทานมัย บุญสำเร็จด้วยการแผ่ส่วนบุญ
    ๗. อัพภานุโมทนมัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนา
    ๘. เทศนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
    ๙. สวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
    ๑๐. ทิฏฐุชุกรรม.
     
  3. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    "บรรดาบุญกิริยาวัตถุเหล่านั้น ทานนั่นแหละชื่อว่า ทานมัย เป็น
    การทำบุญ (ปุญฺกิริยา) การทำบุญนั้นด้วย เป็นวัตถุ (คือที่ตั้ง) แห่งอานิสงส์
    ทั้งหลายนั้น ๆ ด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ. ในบุญกิริยาวัตถุ
    แม้ที่เหลือก็นัยนี้แหละ.
    บรรดาบุญกิริยาวัตถุเหล่านั้น เมื่อบุคคลให้ปัจจัยเป็นต้น ในบรรดา
    ปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น หรือในบรรดาอารมณ์ ๖ มีรูปเป็นต้น หรือทานวัตถุ
    ๑๐ มีการให้ข้าวเป็นต้นนั้น เจตนาที่เป็นไปในกาลทั้ง ๓ คือ ในกาลเบื้องต้น ๑
    ในกาลบริจาค ๑ ในการตามระลึกถึงด้วยจิตโสมนัสในกาลภายหลัง ๑ จำเดิม
    แต่การเกิดขึ้นแห่งปัจจัยเป็นต้นนั้น ๆ ชื่อว่าเป็นบุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยการ
    ให้ (ทานมย).
    เจตนาที่เป็นไปของบุคคลผู้สมาทานศีล ๕ หรือศีล ๘ หรือศีล ๑๐
    หรือของผู้ไปสู่วิหารด้วยคิดว่า เราจักบวชก็ดี ผู้บวชอยู่ก็ดี ผู้ยังมโนรถให้ถึง
    ที่สุดแล้วรำพึงว่า เราบวชแล้วเป็นการดียิ่งหนอดังนี้ก็ดี ผู้สำรวมพระปาฏิโมกข์
    ก็ดี ผู้พิจารณาปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้นก็ดี ผู้สำรวมทวารมีจักขุทวารเป็นต้น
    ในรูปเป็นต้นที่มาสู่คลองก็ดี ผู้ชำระอาชีวะให้บริสุทธิ์ก็ดี ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ
    สำเร็จด้วยศีล (สีลมย).

    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 429
    เจตนาที่เป็นไปของบุคคลผู้พิจารณาจักษุโดยความเป็นของไม่เที่ยง
    เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ผู้พิจารณาโสต ฯลฯ ผู้พิจารณามนะ ฯสฯ ผู้พิจารณา
    รูปทั้งหลาย ฯลฯ ผู้พิจารณาธรรมทั้งหลาย ผู้พิจารณาจักขุวิญญาณ ฯลฯ
    ผู้พิจารณามโนวิญญาณ. ผู้พิจารณาจักขุสัมผัส ฯลฯ ผู้พิจารณามโนสัมผัส ผู้
    พิจารณาเวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ผู้พิจารณาเวทนาอันเกิดแต่ มโน
    สัมผัส ผู้พิจารณารูปสัญญา ฯลฯ ผู้พิจารณาชรามรณะโดยความเป็นของไม่
    เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา โดยอุบายแห่งวิปัสสนา (วิปสฺสนามคฺเคน)
    ที่พระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามรรค หรือว่าเจตนาแม้ทั้งหมดที่ไม่
    ถึงอัปปนาในอารมณ์ ๓๘ อย่าง ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ สำเร็จด้วยภาวนา
    (ภาวนามย).
    พึงทราบบุญกิริยาวัตถุที่สหรคต โดยเห็นผู้ใหญ่แล้วทำการต้อนรับ
    การรับบาตรจีวร การอภิวาท และการหลีกทางให้เป็นต้น.
    พึงทราบบุญกิริยาวัตถุที่สหรคต ด้วยการขวนขวายในกาลขวนขวาย
    ทางกาย ด้วยสามารถทำวัตรและทำวัตรปฏิบัติแก่ภิกษุผู้เจริญกว่าก็ดี โดยเห็น
    ภิกษุผู้เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต แล้วรับบาตรชักชวนให้เข้าไปรับภิกษา
    ในบ้านก็ดี โดยได้ยินคำว่า ท่านจงไป จงนำบาตรมาให้ภิกษุทั้งหลาย แล้ว
    รีบไปนำบาตรมาให้เป็นต้นก็ดี.
    เมื่อบุคคลให้ทาน กระทำการบูชาด้วยของหอมเป็นต้น แล้วให้ส่วน
    บุญว่า ขอส่วนบุญจงมีแก่บุคคลชื่อโน้น หรือว่า ขอส่วนบุญจงมีแก่สรรพสัตว์
    ทั้งหลาย ดังนี้ พึงทราบว่า เป็นบุญกิริยาวัตถุอันเกิดแต่การให้ส่วนบุญ.
    ถามว่า ก็เมื่อบุคคลให้อยู่ซึ่งส่วนบุญนี้ บุญย่อมไม่หมดไปหรือ ตอบว่า
    ย่อมไม่หมดไป เหมือนอย่างว่า บุคคลตามประทีปให้โพลงอยู่หนึ่งดวง แล้ว

    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 430
    ก็ยังประทีปหนึ่งพันดวงให้สว่างโพลงได้เพราะประทีปหนึ่งดวงนั้น ใคร ๆ ไม่
    พึงพูดได้ว่า ประทีปดวงแรกสิ้นไปแล้ว แต่ว่า แสงสว่างแห่งประทีปดวง
    หลัง ๆ กับประทีปดวงแรกรวมกัน แล้วก็เป็นแสงสว่างมากยิ่ง ฉันใด เมื่อ
    บุคคลให้อยู่ซึ่งส่วนบุญก็ฉันนั้นเหมือนกัน ชื่อว่าบุญทั้งหลายที่จะลดลงไปย่อม
    ไม่มี พึงทราบว่า ย่อมมีแต่เจริญขึ้นเท่านั้น.
    พึงทราบบุญกิริยาวัตถุที่เกิดจากการอนุโมทนา ด้วยสามารถแห่งการ
    อนุโมทนาส่วนบุญที่บุคคลอื่นให้แล้ว หรือว่าด้วยบุญกิริยาอื่น ๆ ด้วยการ
    เปล่งว่า สาธุ (ดี) สุฏฺฐุ (ดี) ดังนี้.
    ภิกษุรูปหนึ่งตั้งอยู่ในความอยากโดยคิดว่า ชนทั้งหลายจักรู้จักเราว่า
    เป็นพระธรรมกถึก ดังนี้ แล้วเป็นผู้หนัก (มาก) ด้วยลาภแสดงธรรม การ
    แสดงธรรมนั้นไม่มีผลมาก. ส่วนภิกษุรูปหนึ่ง ไม่หวังผลตอบแทนแสดงธรรม
    ที่ตนชำนาญแก่ชนเหล่าอื่น โดยอุบายที่จะให้บรรลุวิมุตติ การแสดงนี้ ชื่อว่า
    บุญกิริยาวัตถุ สำเร็จด้วยการแสดง (เทสนามย).
    ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อฟังธรรม ย่อมฟังด้วยคิดว่า ชนทั้งหลายจักรู้เรา
    ว่าเป็นผู้มีศรัทธา การฟังนั้นไม่มีผลมาก. ส่วนภิกษุรูปหนึ่ง ย่อมฟังธรรม
    ด้วยจิตอ่อนโยน ด้วยการแผ่ไปซึ่งประโยชน์เกื้อกูลว่า ผลมากจักมีแก่เราด้วย
    อาการอย่างนี้ การฟังธรรมนั้น ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ สำเร็จด้วยการฟัง
    (สวนมย).
    เมื่อบุคคลทำความเห็นให้ตรง ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ ที่เกิดจากการ
    ทำความเห็นให้ตรง. แต่ท่านทีฆภาณกาจารย์กล่าวว่า ทิฏฐุชุกรรมเป็นลักษณะ
    นิยม (คือเครื่องหมายแห่งความสมบูรณ์) ของบุญกิริยาทั้งหมด เพราะว่า

    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 431
    เมื่อบุคคลจะทำบุญอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมเป็นบุญมีผลมาก เพราะความเห็น
    อันตรงนั่นเอง ดังนี้."
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2013
  4. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    ก็บรรดาบุญกิริยาวัตถุเหล่านั้น บุญกิริยาวัตถุที่เป็นทานมัยย่อมเกิดขึ้น
    แก่บุคคลผู้คิดอยู่ว่า เราจักให้ทานก่อน เมื่อบุคคลกำลังให้ทาน บุญกิริยาวัตถุ
    ที่เป็นทานมัยก็เกิดขึ้น เมื่อบุคคลพิจารณาอยู่ว่า ทานอันเราให้แล้วดังนี้
    บุญกิริยาวัตถุที่เป็นทานมัยก็เกิดขึ้น ธรรมดาว่า บุญกิริยาวัตถุที่เป็นทานมัย
    จะมีได้ก็เพราะทำเจตนาทั้ง ๓ คือ บุพเจตนา มุญจนเจตนา อปรเจตนา
    ให้เป็นอันเดียวกัน. แม้ศีลมัย ก็ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้คิดอยู่ว่า เราจักบำเพ็ญ
    ศีลมัยก็ย่อมเกิดขึ้น ในเวลาที่กำลังบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ ศีลมัยก็เกิดขึ้น เมื่อ
    พิจารณาว่า เราได้บำเพ็ญศีลแล้ว ศีลมัยก็ย่อมเกิดขึ้น ธรรมดาว่า บุญกิริยา
    วัตถุที่เป็นศีลมัยจะมีได้ก็เพราะเจตนาแม้ทั้งปวงนั้นเป็นอันเดียวกัน ฯลฯ แม้
    บุญกิริยาวัตถุที่เป็นทิฏฐุชุกรรม เมื่อเกิดก็ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้คิดว่า เราจักทำ
    ความเห็นให้ตรง ดังนี้ เมื่อบุคคลกำลังทำความเห็นให้ตรง ทิฏฐุชุกรรมก็
    ย่อมเกิดขึ้น เมื่อบุคคลพิจารณาอยู่ว่า ความเห็นอันเราทำให้ตรงแล้ว ดังนี้
    ทิฏฐุชุกรรมก็ย่อมเกิดขึ้น ธรรมดาบุญกิริยาวัตถุที่เป็นทิฏฐุชุกรรมจะมีได้ก็
    เพราะทำเจตนาแม้ทั้งหมดเหล่านั้นให้เป็นอันเดียวกัน ก็บุญกิริยาวัตถุใน
    พระสูตรมีมาเพียง ๓ เท่านั้น.
    พึงทราบการสงเคราะห์บุญกิริยาวัตถุแม้นอกนี้ ลงในบุญกิริยาวัตถุ ๓
    เหล่านั้น จริงอยู่ ความประพฤติอ่อนน้อมและการขวนขวาย ย่อมสงเคราะห์
    เป็นศีลมัยเท่านั้น. การให้ส่วนบุญและการอนุโมทนาส่วนบุญสงเคราะห์เข้าใน
    ทานัย. การแสดงธรรม การฟัง และทิฏฐุชุกรรมสงเคราะห์เข้าในภาวนามัย.

    ส่วนชนเหล่าใดกล่าวว่า ทิฏฐุชุกรรมเป็นลักษณะแห่งความสมบูรณ์กว่า
    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 432
    บุญกิริยาทั้งปวง ทิฏฐุชุกรรมของชนเหล่านั้น ย่อมถึงการสงเคราะห์ลงใน
    บุญกิริยาวัตถุแม้ทั้ง ๓. บุญกิริยาวัตถุเหล่านั้นโดยย่อมี ๓ โดยพิสดารมี ๑๐
    ด้วยประการฉะนี้.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2013
  5. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    ความเห็นถูก ความเข้าใจถูกว่า ธรรมใดดี ธรรมใดชั่ว

    เป็นกุศลประเภท "ทิฏฐุชุกรรม"


    คำว่า "ทิฏฐุชุกรรม" เป็นคำรวมของคำว่า

    ทิฏฐิ อุชุ กรรม

    ทิฏฐิ แปลว่า ความเห็น

    อุชุ แปลว่า ตรง

    กรรม แปลว่า การกระทำ.


    ฉะนั้นกุศลประเภทนี้จึงเป็น

    การกระทำความเห็นให้ถูกต้อง

    ตรงตามลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ.

    ทิฏฐุชุกัมม์
     
  6. ก เกียรติ

    ก เกียรติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +1,001
    คัดลอกบางส่วนในเล่ม 3 หน้า 939 บรรทัดที่ 5
    เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
    ประชุมสงฆทรงสอบถาม
    ลําดับนั้น พระผูมีพระภาคเจารับสั่งใหประชุมภิกษุสงฆ ในเพราะ
    เหตุเปนเคามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แลวทรงสอบถามทาน
    พระอุปนันทศากยบุตรวา ดูกอนอุปนันทะ ขาววาเธอรับรูปยะจริงหรือ
    ทานพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับวา จริง พระพุทธเจาขา
    ทรงติเตียน
    พระผูมีพระภาคเจาทรงติเตียนวา ดูกอนโมฆบุรุษ การกระทํา
    ของเธอนั่น ไมเหมาะ ไมสม ไมควร ไมใชกิจของสมณะ ใชไมได ไมควรทํา
    ไฉนเธอจึงไดรับรูปยะเลา การกระทําของเธอนั่น ไมเปนไปเพื่อความเลื่อมใส
    ของชุมชนที่ยังไมเลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใส ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแลว
    โดยที่แท การกระทําของเธอนั่น เปนไปเพื่อความไมเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง
    ไมเลื่อมใส และเพื่อความเปนอยางอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแลว

    ทรงบัญญัติสิกขาบท
    พระผูมีพระภาคเจา ทรงติเตียนทานพระอุปนันทศากยบุตร
    โดยอเนกปริยายดังนี้แลว ตรัสโทษแหงความเปนคนเลี้ยงยาก ความเปนคน
    บํารุงยาก ความเปนคนมักมาก ความเปนคนไมสันโดษ ความคลุกคลี
    ความเกียจคราน ตรัสคุณแหงความเปนคนเลี้ยงงาย ความเปนคนบํารุงงาย
    ความมักนอย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกําจัด อาการที่นาเลื่อมใส
    การไมสะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทําธรรมีกถา
    ที่สมควรแกเรื่ องนั้น ที่เหมาะสมแกเรื่องนั้น แกภิกษุทั้งหลาย แลวรับสั่งกะ
    ภิกษุทั้งหลายวา
    ดูกอนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแกภิกษุ
    ทั้งหลาย อาศัยอํานาจประโยชน ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับวาดีแหงสงฆ์๑
    เพื่อความสําราญแหงสงฆ ๑ เพื่อขมบุคคลผูเกอ ยาก ๑ เพื่ออยูสําราญแหง
    ภิกษุผูมีศีลเปนที่รัก ๑ เพื่อปองกันอาสวะอันจะบังเกิดในปจจุบัน ๑
    เพื่อกําจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง
    ไมเลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแลว ๑ เพื่อความ
    ตั้งมั่นแหงพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑
    ดูกอนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอยางนี้ วาดังนี้:-
    พระบัญญัติ
    ๓๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ใหรับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไวให เปนนิสสัคคิยปาจิตตีย.
    เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2013
  7. ก เกียรติ

    ก เกียรติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +1,001
    การศึกษาธรรมเพื่อนำไปปฏิบัติจะให้ได้ผลนั้น ถ้ามีความไม่ถูกต้องอยู่มากขนาดนี้ สำเร็จได้ยากครับ ผมจึงนำความไม่ถูกต้องในหลายเรื่องมาแนะนำให้ช่วยกันตรวจสอบ ถึงจะแ้ก้ไขอะไรไม่ได้ แต่ก็เอาตัวเองให้พ้นจากการได้บาป ติดบาปไปด้วย เพราะถ้าไม่ค้นหาเองจะไม่มีใครนำมาแสดงให้รู้แจ้งกันง่ายๆหรอก นั่นขนาดท่านทรงกำชับไว้ขนาดนั้น หาปฏิบัติตามไม่ ศาสนาเลยนับวันยิ่งเสื่อมทรุดอย่างทุกวันนี้
     
  8. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    การศึกษาพุทธวจนะ เป็นสิ่งที่ดีเพราะเป็นธรรมของพระพุทธองค์

    แต่พึงสังเกตุพิจารณาให้ดี ความที่เรายังเป็นผู้ตื่นกระแส

    เห็นสิ่งใดใครเขาว่าดีก็เฮละโล ตามเขาไป ไม่ต่างกับกระแสภัยพิบัติ

    ดังนั้น ควรหาหลักใจตนเองให้พบ อย่าให้เป็นเหมือนกับกระแสการดูจิต อย่างที่ผ่านๆมา

    แต่เป็นไปไม่ได้หรอก ที่ฆราวาสจะมุ่งเน้นภาวนาแต่เพียงส่วนเดียว
    หากไม่มีการให้ทานทำทานซะแล้ว พระสงฆ์องค์เจ้าพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
    หรือพระผู้กำลังฝึกตนเพื่อสำรอกกิเลส ท่านจะกินอะไรเพื่อบำรุงธาตุขันธ์
    ให้มีเรี่ยวแรงบำเพ็ญสมณธรรมบนทางสายกลาง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ฆราวาส จะคิดและกระทำกันอย่างนี้เสียหมด

    ผู้มีทิฏฐิชุกรรม ย่อมจะเห็นว่าการให้ คือ การสละออก หรือจาคะ
    เป็นไปเพื่อคลายความตระหนี่ภายในจิตใจ จนเป็นพื้นฐานของอภัยทาน นั่นคือการภาวนา สู่พรหมวิหารเบื้องสูง

    ผู้มีความเห็นตรงในการสละออก การให้หรือการทำทาน ย่อมต้องตั้งจิตไว้ให้ตรงเช่นนี้

    จริงๆ คุณ ก เกียรติ น่าจะเอาธรรมะหลวงพ่อเกษม ในยูทูบ มาลง
    หรือ ธรรมะที่แสดงถึงพุทธวจนะโดย พอจ.คึกฤทธิ์
    ซึ่งทั้งสองท่าน หากพูดภาษาบ้านๆ ก็คือต่างสไตท์ ในวิธีการนำเสนอ

    เรารับฟังได้หมด ทั้งธรรมะจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์อริยสงฆ์สาวก
    ท่านผู้เป็นพยาน ในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ว่ามีผลประเสริฐจริง

    เพราะเราอยู่ในฐานะผู้รับ แล้วนำมาเลือกเฟ้นพิจารณาตาม
    แล้วเราจะเป็นผู้รับ ที่ตั้งตนอยู่ในฐานะอันสมควร ในฐานะอุบาสก อุบาสิกา
    ส่วนสิ่งไหนเห็นไม่ดี ก็ควรศึกษาด้วยตนเองเสียบ้าง ในเรื่องของพระวินัยที่ฆราวาสควรรู้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2013
  9. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271


    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  10. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    อีกอย่าง ควรจับหลักตรงนี้ให้ได้ เป็นสิ่งนำมาระลึกอยู่เนืองๆ

    เพราะอะไร ก็เพราะหากเรายังเป็นผู้มีกิเลส จิตยังไม่ตกกระแสนิพพาน

    ใน "อลคัททูปมสูตร" พระพุทธองค์ทรงชี้ทางไว้หมดแล้ว

    บอกเหตุถึงความต่าง "บุรุษเปล่าเรียนธรรม" และ "กุลบุตรเรียนธรรม"

    ลองไปศึกษาดูครับ ในเนื้อธรรมเหล่านั้น
     
  11. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    "พระนิพนธ์เรื่อง วิธีสร้างบุญบารมี มีพุทธศาสนิกชนมากมายนำไปพิมพ์เผยแพร่แจก ในโอกาสต่าง ๆ มากมาย แต่ปรากฎว่า ฉบับที่แจกกันอยู่นั้นหาได้เป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระสังฆราชไม่ แต่มีผู้ประสงค์ดีรวบรวมขึ้นมาและถวายพระนามของพระองค์เป็นผู้พระนิพนธ์ "
    .....น่าเสียดายที่ว่า..ผู้ลงข่าวนี้ลงด้วยความเกรงใจสำนักพิมพ์..หรือ..อย่างไรไม่ทราบ
    เพราะหนังสือแต่ละเล่มจะออกมาได้ก็จะมีชื่อสำนักพิมพ์ปรากฏอยู่เพื่อ..สาธุชนที่อยากพิมพ์แจกจะได้ติดต่อไปสั่งพิมพ์ได้..ในภายหลัง...สัณนิฐานว่า.เกิดจากสำนักพิมพ์ที่ไม่ประณีต..เอาหนังสือของเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชมาพิมพ์..แล้วก็เอาบทความของท่านต่างๆมาลงพิมพ์..เมื่อลูกค้ามาเลือกพอใจเรื่องใด..ก็พิมพ์รวมกันหลายเรื่องก็มี..แยกเรื่องก็มี..รวมๆแยกๆ..ลูกค้าขอให้พิมพ์ของสมเด็จฯเลยผิดพลาดเอาเรื่องของผู้อื่นใส่ร่วมลงไปแทนด้วยเพราะไม่รอบคอบ..บางเล่มลูกค้าถูกใจสั่งพิมพ์แจกโดยเพิ่มเรื่องที่ตนชอบไปด้วย..เลยเป็นอย่างที่เห็น...เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบต้องจี้ว่า..หนังสือที่ผิดมีสำนักพิมพ์อะไรบ้าง..ต้องตามให้แก้ต้นเรื่องที่สำนักพิมพ์ที่มีชื่อในหนังสือที่พิมพ์ผิดให้หมด..ก็จะเบาบางลง...ขอรับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2013
  12. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    คำของท่านครูน้อยไพเราะมากขอรับ..เลยจัดการซะอีกหน...

    (โดยนำคำที่ท่านสอน..ที่เป็นร้อยแก้ว..มาร้อยกรองโดยไม่มีการตัดคำ)
    ........

    ผู้มีทิฏฐุชุกรรมะย่อมจะเห็นในใจว่า.....การให้นั้นหนาคือการสละออกไป
    หรือก็คือจาคะคือความละภายในใจ..... เป็นไปเพื่อคลายความตระหนี่ภายใน
    ทำจิตใจจนเป็นพื้นฐานของอภัยทาน.... นั่นคือการภาวนาจึงก้าวหน้าสู่พรหมวิหาร
    เป็นเบื้องสูงของการทำทาน..............จึงต้องหักหาญความเห็นแก่ตัว
    ด้วยทำให้เป็นผู้มีความเห็นตรง...............จึงส่งผลในการสละออกทั่ว
    การให้หรือการทำทานโดยไม่เมามัว..... ไม่มีกลัวย่อมต้องตั้งจิตไว้ให้ตรงเช่นนี้..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2013
  13. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    เรียนท่านอาจารย์คมสันต์ฯขอรับ.....ข้าน้อยจับดูลมตามคำสอน
    แต่ตอนนี้ก็เกิดปัญหาขึ้นอีกตอน.....เป็นหวัดนอนน้ำมูกไหลคัดหายใจ
    ทั้งไอหวัดคัดจมูก ระคายคอ.......เลยต้องขอยาหมอมาแก้ไข
    แล้วจับลมไม่ถูกทำอย่างไร.......ทำไฉนอาจารย์ช่วยด้วยอีกที...ขอรับ
     
  14. ก เกียรติ

    ก เกียรติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +1,001
    (ผู้มีทิฏฐิชุกรรม ย่อมจะเห็นว่าการให้ คือ การสละออก หรือจาคะ
    เป็นไปเพื่อคลายความตระหนี่ภายในจิตใจ จนเป็นพื้นฐานของอภัยทาน นั่นคือการภาวนา สู่พรหมวิหารเบื้องสูง

    ผู้มีความเห็นตรงในการสละออก การให้หรือการทำทาน ย่อมต้องตั้งจิตไว้ให้ตรงเช่นนี้)


    การทำบุญทำทานของผมจะไม่เหมือนใครเขา อย่างเมื่อวานมีต้นไม้ยืนต้นตาย แล้วมันผุล้มทับทางปิดถนนอยู่ รถวิ่งได้เลนเดียว ผมเห็นตอนไปทำธุระหน้าวัด พอกลับมาก็ยังเห็นไม่มีใครจัดการ ผมก็เลยกลับมาเอามีดพร้าที่บ้าน แล้วไปจัดการตัดเถาวัลย์แล้วลากออกจนเสร็จ แล้วก็อุทิศบุญกุศลที่ทำให้เจ้ากรรม นายเวร เป็นอันว่าเรียบร้อย

    แล้วก็เป็นที่เข้าใจว่า ใครเอาต้นได้นั้นออกจากทางให้นะ จะมีคนตอบให้เลยว่า มีผู้เดียวที่ทำเช่นนี้
     
  15. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    หนทางใดคต ตัดให้ตรง  หนทางใดเป็นหลุม เป็นบ่อ ถมให้เต็ม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1 universe.jpg
      1 universe.jpg
      ขนาดไฟล์:
      130.5 KB
      เปิดดู:
      62
    • DSC04720.JPG
      DSC04720.JPG
      ขนาดไฟล์:
      547.5 KB
      เปิดดู:
      39
  16. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    ไม่พักผ่อนนอนน้อยค่อยเป็นหวัด
    จมูกคัดระคายคอหมอไปหา
    นอนจับลมผสมหวัดติดขัดมา
    ให้รู้ว่าลมติดหวัดสัมผัสไป


    ตามดูลมนอนหมอนซมจมไข้หวัด
    จมูกคัดหวัดหลบในใอถามหา
    เฝ้าตามดูรู้ในใจใอออกมา
    ในไม่ช้าตามลมได้ไม่ขาดตอน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC06288.JPG
      DSC06288.JPG
      ขนาดไฟล์:
      550.6 KB
      เปิดดู:
      52
  17. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    สูตรยาแก้ไอจากท่านอาจารย์...

    (ไม่น่าเชื่อว่าหยุดไอได้ทันที ติงเพิ่งทดลองด้วยตนเองค่ะ จึงอยากบอกต่อเป็นวิทยาทาน)

    ตัวยา
    1. กระเทียมแกะเปลือกออก 3-4 กลีบ
    2. หอมแดง 2 หัวเล็ก ลอกเปลือก ล้างน้ำ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
    3. ขิงค่อนข้างแก่ ขนาดประมาณหัวแม่มือ ขูดเปลือกออก ล้างน้ำหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
    4. น้ำมะนาว ประมาณครึ่งผล
    5. น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา (ติงใส่ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะค่ะ เพราะเกรงว่าถ้าใส่น้ำผึ้งน้อยจะไม่อร่อย)

    วิธีปรุง
    1. นำเครื่องปรุงจากข้อ 1-3 ใส่ครก โขลกให้ละเอียด แล้วตักใส่แก้ว
    2. ใส่น้ำมะนาว
    3. ใส่น้ำผึ้ง
    4. คนให้ส่วนผสมเข้ากันดี

    ได้ยาแก้ไอขนานเอก ให้ทานจนหมดนะคะ
    ติงทานได้ไม่ถึงครึ่งค่ะ แต่อาการไอหายเหมือนปลิดทิ้ง...
    ขอบพระคุณท่านอาจารย์ ที่กรุณาบอกยานี้
    ขณะทานรู้สึกเผ็ดกระเทียมค่ะ
    คิดว่าถ้าลดกระทียมลง แล้วเพิ่มน้ำผึ้ง เพิ่มน้ำมะนาวได้ตามใจชอบจะอร่อยมาก
    ยิ่งถ้าได้กรองเอาแต่น้ำ น่าจะทานได้ง่ายขึ้นค่ะ
    เราไม่ต้องเคี้ยว ก็จะไม่เผ็ดค่ะ
     
  18. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271




    สาธุ... กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์..ขอรับ
     
  19. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271


    กราบขอบพระคุณขอรับท่านอาจารย์..ได้คัดลอกไว้แล้ว
     
  20. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    โอ้ย..นี่มันอย่างกะวัตรบท ในเรื่องราวของมฆมาณพ และสหายทั้ง 33 ท่านเลยนี่

    แต่ถือว่าคุณ ก เกียรติ ได้ปรับทัศนียภาพ ให้โปร่งใสบนผิวจราจร
    ไม่มีใครบังคับที่อ้างว่าโดยหน้าที่ แต่ทำด้วยความสมัครใจด้วยความเต็มใจ มีจิตอาสา

    ซึ่งก็ไม่ต่างจาก "ดาบวิชัย คนปลูกต้นไม้" ในยูตู๊บ ที่แกได้ทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม

    ส่วนผมเองก็ไม่แปลก ไม่แปลกอยู่อย่างหนึ่ง พอเห็นใครล้ม ไม่ชอบที่จะไปซ้ำเติม กลับรู้สึกต้องการจะให้กำลังใจ

    อย่างที่คำโบราณว่า "คนล้มอย่าข้าม ไม้ล้มจึงข้าม"
    หากไม้ล้ม ก็ต้องให้คุณ ก เกียรติ ข้ามไปตัดเอามาทำฟืนถ่าน
    ให้คุณชูบดี นำไปหุงหา ส่วนคุณคมสันต์ รอเจี๋ยะ ต่อไป

    ดังนั้น ที่ว่าไม่เหมือนใคร แต่แท้จริงแล้ว สิ่งเหล่านี้มันเคยมีมาก่อน มีคนทำมาก่อน
    เพียงแต่จิตสำนึกในส่วนดีของเราต่างหากมันผุดออกมา และแปลกแยก ในความเหลวแหลก
    กับสโมสรสันนิบาตที่กำลังสนุกครื้นเครง แต่ทุกดวงใจนั้น หว้าเหว่โหยหา เรียกร้องทะยานอยาก

    ตรงข้ามกับสำนึกในส่วนดี กับคำบาลีที่ว่า "ทานะสังวิภาคะระโต โวสะสัคคะระโต มุตตะจาโค"
    คือ มีจิตอาสาในการแบ่งปันสละออก ทั้งแรงกายแรงใจ คำนึงอุทิศให้ ต่อประโยชน์ส่วนรวม

    ก็นั่นแหละ ไม้ล้มคนเขายังเอามาทำฟืนทำเสากระดาน และปลูกเสริมใหม่ทดแทนกันได้

    ฉะนั้น จึงขอมอบคลิปนำมาให้คุณ ก เกียรติ เป็นไปตามแนวทาง....ถนนแปลกแยก

    <iframe width="320" height="215" src="http://www.youtube.com/embed/tZILicDeZJ8" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    <iframe width="320" height="215" src="http://www.youtube.com/embed/1YXw1KkIZNg" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2013

แชร์หน้านี้

Loading...