เห็นกิเลสเกิดขึ้นมา แล้วฆ่ามันยังไงกัน ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ขี้เมา, 25 มีนาคม 2013.

  1. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    พระพุทธองค์แสดงไว้ ทานที่เป็นไป แบบสังฆทานนั้นได้ผลมากกว่าถวายแก่พระพุทธเจ้าพระองค์แสดงเอง ท่านพิจารณาเอานะครับ ท่านก้มีความรู้พอสมควร อธิบายยากมันต้องเข้าใจด้วยตนเอง
     
  2. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    การเข้าใจไม่ใช่ยึดติด
    การเข้าใจ 1 ไม่ใช่การไม่เข้าใจ 2 3 4
    ยังมีอีกมากมายที่ควรเข้าใจ
    การเข้าใจแค่ 1 ไม่ได้หมายถึงจะลบความเข้าใจอื่นๆไปเสีย...
    เช่น จะทำกับสงฆ์ที่ไม่ระบุเท่านั้น ฉันไม่ทำกับพระอรหันต์..เพราะบุญน้อยกว่า
    แบบนี้มันคนละส่วนกัน
     
  3. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    พระพุทธองค์แสดงเอาไว้อย่างนั้น ท่านใดจะทำอย่างไรก็ตามสะดวก ผมไม่ไปคนหาหรอกครับว่าท่านใดเป็นอย่างไร เพราะตั้งใจทำแบบไม่หวังประโยชน์สุข หวังียงแต่ให้ผู้อื่นได้รับประดยชน์สุขในสิ่งที่ทำ ผมทำบุญทุกเช้า ก็ได้แต่อุทิศบุญแก่สัสัตว์ทั้งหลายไม่เคยขอให้อะไรกับตนเองมานานแล้ว
     
  4. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ท่านสอนอย่างที่คุณเข้าใจ..หรือเปล่า..ไม่รู้นะ
    แต่เห็นคุณชอบประกาศว่า มาขัดแย้งคุณ เท่ากับขัดแย้งคำสอนพระพุทธเจ้า
     
  5. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ^ไม่ต้องค้นหา หากรู้ได้จริงครับ
    จะไม่เอาหัวเอาหาง เอาพุงอย่างเดียวคงไม่ได้มั้งครับ
    ความเห็นมันจำเพาะไปแล้วยึดเอาไว้ จะเป็นยางเหนียวลอกไม่ออกนะครับ
     
  6. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ก็ดูเอาซิครับ ผมยกแต่คำพระุพุทธเจ้านะ มันจริงหรือเปล่าล่ะ ผมนะพยายามทำตามพระุพุทธองค์เท่าที่จะทำได้ตามกำลัง ทั้งเรื่องความเชื่อ ทั้งเรื่องการปฎิบัติ แล้วตรงมั้ยล่ะ เราคุยกันอันไหนแย้งมาก็แย้งไป ผมใช้คำผมแย้งมั้ยล่ะครับ ผมบอกว่าพระพุทธเจ้าท่านกล่าวไว้อย่างนี้ ผมมีพระศาสดาเป็นอาจารย์ ท่านก็บอกให้ฟังแต่คำของท่านผมก็ทำตามฟังแต่คำของท่าน มันผิดด้วยหรอที่ผมจะเลือกทางเดินแบบนี้ แล้วผมไกลห่างพระสงห์หรือเปล่า ชีวิตผมมีแค่บ้านและวัดเท่านั้น และมีแต่การปฎิบัติและการทำทานเท่านั้น ผมไม่แสวงหาในสิ่งที่มันไกลตัวมากนัก พุทธองค์ก่อนปรินิพาน ท่านสั่งไว้ว่าอย่างไร ท่านบอกว่าจงมีทำเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นที่พึ่ง ผมก็ทำตามนั้น
     
  7. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    คิดว่าเรายกมาเยอะกว่าคุณซะอีก..

    พระพุทธองค์ทรงยกพระธรรมวินัยเป็นพระศาสดาต่อไป
    คำสอนของครูบาอาจารย์ให้เทียบมหาปเทสสี่... ก็จะทราบว่าขัดคำสอนหรือตรงกัน

    "ดูก่อนอานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราได้แสดงไว้ และ
    บัญญัติไว้ด้วยดี นั่นแหละจักเป็นพระศาสดาของพวกท่านสืบแทนเราตถาคต เมื่อเราล่วงไป
    แล้ว"

    ครั้นแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสเป็นปัจฉิมโอวาทครั้งสุดท้ายว่า "ภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้เราขอเตือน
    พวกท่านให้รู้ว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดมาในโลกมีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงทำหน้าที่อันเป็น
    ประโยชน์แก่ตนและคนอื่นให้สำเร็จบริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"
     
  8. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ท่านนะยกมาแล้วมันผิดกับผมตรงไหน ก็ไม่เห็นมี และท่านพยายามว่าผมผิดตรงไหน ธรรมก็ดีวินัยก็ดีจะเป็นศาสดาแก่พวกเรา พระอานนท์ถูลถาม ท่านก็ตอบแบบนี้ มีธรรมเป็นที่ึ่ง มีตนเป็นที่ึ่ง ผมอ่านแล้วก็ผ่านไม่ได้ไปยกมาให้ แต่เชื่อเถอะผมนะุพุทธวจนล้วนๆ ไม่ฟังคำสาวก เพราะคำของศาสดายังมีอยู่ แต่ผมเคารพและกราบไหว้พระุพุทธ พระธรรม พระสงค์
     
  9. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ^งง ไม่ฟังคำสาวก แต่ผมเคารพและกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    ตาแตกเลย
     
  10. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    มันเหมือนกันตรงไหน ถ้ามีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
     
  11. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ผมไม่เข้าใจท่านยกมา อธิบายหน่อยครับ เดี๋ยวเข้าใจประเด็นผิด
     
  12. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ลองยกมาซิ ที่พระพุทธองค์ให้ฟังแต่คำของท่าน
     
  13. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ทำความเข้าใจก่อน คำของท่านหมายความว่าคำที่แสดงออกจากปากท่าน และคำที่สาวกจำไปบอกต่อนะครับแต่ต้องเป็นคำของท่าน จำแล้วเอาไปบอกต่อๆกันไป ผมกำลังจะเอามาให้ดูรอก่อนเดี๋ยวเดียว
     
  14. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ผานมา ๒,๕๐๐ กวาป
    คําสอนทางพระพุทธศาสนาเกิดความหลากหลายมากขึ้น
    มีสํานักตางๆ มากมาย ซึ่งแตละหมูคณะก็มีความเห็นของตน
    หามาตรฐานไมได แมจะกลาวในเรื่องเดียวกัน
    ทั้งนี้ไมใชเพราะคําสอนของพระพุทธเจาไมสมบูรณ
    แลวเราควรเชื่อและปฏิบัติตามใคร ?
    ลองพิจารณาหาคําตอบงายๆ ไดจาก ๑๐ พระสูตร
    ซึ่งพระตถาคตทรงเตือนเอาไว 
    แลวตรัสบอกวิธีปองกันและแกไขเหตุเสื่อมแหงธรรมเหลานี้.
    ขอเชิญมาตอบตัวเองกันเถอะวา  ถึงเวลาแลวหรือยัง ? 
    ที่พุทธบริษัทจะมีมาตรฐานเพียงหนึ่งเดียว คือ “พุทธวจน” ธรรมวินัย
    จากองคพระสังฆบิดา อันวิญูชนพึงปฏิบัติและรูตามไดเฉพาะตน  ดังนี้
    ๑. พระองค์ทรงสามารถกำหนดสมาธิ เมื่อจะพูดทุกถ้อยคำ จึงไม่ผิดพลาด
    อัคคิเวสนะ ! เรานั้นหรือ, จำเดิมแต่เริ่มแสดง กระทั่งคำสุดท้ายแห่งการ
    กล่าวเรื่องนั้นๆ ย่อมตั้งไว้ ซึ่งจิตในสมาธินิมิตอันเป็นภายในโดยแท้ ให้จิต
    ดำรงอยู่ ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้มีจิตเป็นเอก ดังเช่นที่คนทั้งหลายเคย
    ได้ยินว่าเรากระทำอยู่เป็นประจำ ดังนี้.
    มหาสัจจกสูตร มู.ม. ๑๒ / ๔๖๐ / ๔๓๐
    พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ น. ๒๔๗
    ๒. แต่ละคำพูดเป็นอกาลิโก คือ ถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาลเวลา
    ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลายเป็นผู้ที่เรานำไปแล้วด้วยธรรมนี้ อันเป็นธรรม
    ที่บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง (สนฺทิฏฐิโก), เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล
    (อกาลิโก), เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสิโก), ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
    (โอปนยิโก), อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺตํ เวทตพฺโพ วิญฺญูหิ).
    มหาตัณหาสังขยสูตร ม. ม. ๑๒ / ๔๘๕ / ๔๕๐.
    ปฎิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ น. ๔๓๑
    ๓. คำพูดที่พูดมาทั้งหมดนับแต่วันตรัสรู้นั้น สอดรับไม่ขัดแย้งกัน
    ภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
    จนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ, ตลอดเวลา
    ระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใด ถ้อยคำ
    เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น ไม่แย้งกันเป็น
    ประการอื่นเลย.
    อิติวุ. ขุ. ๒๕ / ๓๒๑ / ๒๙๓
    พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ น. ๒๘๕
    ๔. ทรงบอกเหตุแห่งความอันตรธานของคำสอนเปรียบด้วยกลองศึก
    ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว : กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า
    อานกะ มีอยู่. เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตกหรือลิ, พวกกษัตริย์ทสารหะได้หา
    เนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป) ภิกษุทั้งหลาย!
    เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้น นานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้เดิม
    ของตัวกลองหมดสิ้นไปเหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่เท่านั้น ;
    ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย,
    สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึกมีความหมายซึ่ง เป็นชั้น
    โลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่.
    เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่า
    เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่อง
    นอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมา
    กล่าวอยู่, เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่า
    เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนไป.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของ
    ตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วย
    เรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
    นิทาน. สํ. ๑๖ / ๓๑๑ / ๖๗๒-๓
    ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ น. ๑๐๗
    ๕. ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น
    ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่
    เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร
    เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่
    เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่
    ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก
    มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำ
    สุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะ
    รู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียน
    ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้เป็นอย่างไร? มีความหมายกี่นัย?” ดังนี้.
    ด้วยการ ทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้
    ปรากฏได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทา ลงได้
    ทุก. อํ. ๒๐ / ๙๒ / ๒๙๒
    ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ น. ๓๕๒
    ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา
    เป็นอย่างไรเล่า?
    ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะ
    ทั้งหลาย ตถาคตภาสิตา-อันเป็นตถาคตภาษิต คมฺภีรา-อันลึกซึ้ง คมฺภีรตฺถา-
    มีอรรถอันลึกซึ้ง โลกุตฺตรา-เป็นโลกุตตระ สุญฺญตปฏิสํยุตฺตา-ประกอบด้วย
    เรื่องสุญญตา อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไป
    ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
    ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์
    กลอนมีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าว
    ของสาวก, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี
    เงี่ยหูฟัง ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
    พวกเธอเล่าเรียนธรรมอันกวีแต่งใหม่นั้นแล้ว ก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน ไม่ทำให้
    เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร
    ดังนี้. เธอเหล่านั้นเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยไม่ได้ ไม่หงายของที่คว่ำอยู่ให้
    หงายขึ้นได้ ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย
    มีอย่างต่างๆ ได้. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน
    ปฏิปุจฉาวินีตา.
    ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา
    เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อ
    สุตตันตะทั้งหลาย ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอนมีอักษร
    สละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก
    อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้
    ทั่วถึง และไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วนสุตตันตะ เหล่าใด
    อันเป็น ตถาคตภาษิตอันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง เป็นโลกุตตระ ประกอบ
    ด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟัง
    ด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมเข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่ง
    ที่ควรศึกษา เล่าเรียน. พวกเธอเล่าเรียนธรรมที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้ว
    ก็สอบถาม ซึ่งกันและกัน ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็น
    อย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้. เธอเหล่านั้นเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยได้
    หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่างๆ ได้. ภิกษุทั้งหลาย! นี้เราเรียกว่า ปฏิปุจฉาวินีตา
    ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา.
    ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลบริษัท ๒ จำพวกนั้น ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัท
    ที่เลิศ ในบรรดาบริษัททั้งสองพวกนั้นคือ บริษัทปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกา
    จิตวินีตา (บริษัทที่อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเองเป็นเครื่องนำไป:ไม่อาศัย
    ความเชื่อจากบุคคลภายนอกเป็นเครื่องนำไป) แล.
    ทุก. อํ. ๒๐ / ๙๑ / ๒๙๒
    อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น น. ๕๐๕
    ๖. ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่บัญญัติไว้
    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลายจักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิก
    ถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้ว อย่าง
    เคร่งครัด อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความ
    เสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
    มหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐ / ๘๙ / ๖๙
    พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ น. ๔๖๕
    ๗. สำนึกเสมอว่าตนเองเป็นเพียงผู้เดินตามพระองค์เท่านั้นถึงแม้
    จะเป็นอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญาก็ตาม
    ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้
    เกิดขึ้น ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้มีคนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้เป็น
    มรรคที่กล่าวกันแล้ว ตถาคตเป็นมัคคัญญู (รู้มรรค) เป็นมัคควิทู (รู้แจ้งมรรค)
    เป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค). ภิกษุทั้งหลาย! ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้
    เป็นมัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.
    ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมาย
    ที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมา-
    สัมพุทธะกับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตติ
    ขนฺธ. สํ. ๑๗ /๘๑ / ๑๒๕
    อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น น. ๗๒๑
    ๘. ตรัสไว้ว่าให้ทรงจำบทพยัญชนะและคำอธิบายอย่างถูกต้อง
    พร้อมขยันถ่ายทอดบอกสอนกันต่อไป
    ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาถูก
    ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันถูก ความหมายแห่งบทพยัญชนะที่ใช้กันก็ถูก ย่อมมีนัยอันถูกต้องเช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็นมูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้ พระสัทธรรม
    ตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป..
    ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต คล่องแคล่ว ในหลักพระพุทธ
    วจน ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) พวกภิกษุเหล่านั้น เอาใจใส่
    บอกสอน เนื้อความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่นๆ, เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไป สูตร
    ทั้งหลาย ก็ไม่ขาดผู้เป็นมูลราก (อาจารย์) มีที่อาศัยสืบกันไป. ภิกษุทั้งหลาย !
    นี่เป็นมูลกรณีที่สาม ซึ่งทำให้พระสัทธรรม ตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป...
    (ในที่นี้ยกมาเพียง 2 ข้อ จาก 4 ข้อ ของเหตุเจริญแห่งพระศาสนา)
    จตุกฺก. อํ. ๒๑ /๑๙๘ / ๑๖๐
    ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ น. ๓๕๕
    ๙. ทรงบอกวิธีแก้ไขความผิดเพี้ยนในคำสอน
    ๑. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุข้าพเจ้าได้สดับรับ
    มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของ
    พระศาสดา”...
    ๒. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีสงฆ์อยู่
    พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า
    “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
    ๓. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุ
    ผู้เป็นเถระอยู่จำนวนมากเป็นพหูสูตร เรียนคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
    ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็น
    คำสอนของพระศาสดา”...
    ๔. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุ
    ผู้เป็นเถระ อยู่รูปหนึ่งเป็นพหูสูตร เรียนคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
    ข้าพเจ้าได้สดับเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอน
    ของพระศาสดา”...
    เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบท
    และพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงสอบสวนลงในพระสูตร เทียบเคียงดูในวินัย
    ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลง
    สันนิษฐานว่า “นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุ
    นี้รับมาผิด” เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลง
    ในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า “นี้เป็นพระดำรัสของพระ
    ผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนั้นรับมาด้วยดี”เธอทั้งหลายพึงจำ
    มหาปเทส.. นี้ไว้
    อุปริ. ม. ๑๔ / ๕๓ / ๔๑
    อริยวินัย น. ๓๙๙
    ๑๐. ทรงตรัสแก่พระอานนท์ ให้ใช้ธรรมวินัยที่ตรัสไว้เป็นศาสดาแทนต่อไป
    อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า “ธรรมวินัยของพวกเรามี
    พระศาสดา ล่วงลับไปเสียแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา” ดังนี้. อานนท์ ! พวกเธอ
    อย่าคิดอย่างนั้น. อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว
    แก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลายโดยกาล
    ล่วงไปแห่งเรา
    อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี ใครก็ตามจักต้องมีตน
    เป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ; มีธรรมเป็นประทีป
    มีธรรม เป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่น เป็นสรณะ เป็นอยู่ อานนท์! ภิกษุพวกใด
    เป็นผู้ใคร่ ในสิกขา, ภิกษุพวกนั้นจักเป็นผู้อยู่ใน สถานะอันเลิศที่สุดแล.
    มหาปรินิพพานสูตร มหา.ที. ๑๐ / ๑๕๙ / ๑๒๘
    อานนท์ ! ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้ มีในยุคแห่งบุรุษใด บุรุษนั้นชื่อว่า
    เป็นบุรุษ คนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย.... เราขอกล่าวย้ำกะเธอว่า... เธอทั้งหลาย
    อย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย
     
  15. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    ท่าน newamaZing กองเชียร์ขุนอินทร์ทนายเลือก

    การศึกษาพุทธวจนะ นั้นเป็นการดี แต่อย่าสุดโต่งเกินไปนัก เช่นบอกว่า ไม่ฟังคำสาวก

    เคยอ่าน "จูฬเวทัลลสูตร" หรือป่าว เป็นการสนทนาธรรม ระหว่างท่านวิสาขอุบาสก กับ ท่านธรรมทินนาภิกษุณี

    ในตอนท้ายพระสูตร พระศาสดาได้ตรัสไว้ว่า
    " ดูกรวิสาขะ ธรรมทินนาภิกษุณีเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก
    แม้หาก ท่านพึงสอบถามเนื้อความนั้นกะเรา
    แม้เราก็พึงพยากรณ์เนื้อความนั้น เหมือนที่ธรรมทินนาภิกษุณี พยากรณ์แล้ว
    เนื้อความแห่งพยากรณ์นั้น เป็นดังนั้นนั่นแล ท่านพึงจำทรงไว้อย่างนั้นเถิด."


    อย่าได้ประมาทในธรรมของพระอริยสาวก ซึ่งเป็นพุทธบุตร พุทธชิโนรส

     
  16. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    มีหัวมีหางหรือไม่อย่างไรขอรับ
    หัวเขาอยู่ตรงไหน
    หัวใจที่เต้นหรือดิ้นได้แสดงความเป็นสิ่งที่มีชีวต

    กระผมว่าแก้ที่ลมหายใจเขาดีหรือไม่อย่างไรขอรับ
    ดับลมหายใจเสีย
    กายไม่รู้สึก
    หูไม่ได้ยิน

    พอบรรเทาชั่วขณะเท่าั้นั้นหรือไม่อย่างไร

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้วขอรับ
     
  17. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    คุณเชื่อที่สาวกอ้างอิงเรียบเรียงเพื่อสอน ด้วยนี่นา

    ๓. หน้าที่ของพระสงฆ์
    ๑. ศึกษาหลักคำสอน
    ๒. ปฏิบัติตามคำสอน
    ๓. เผยแผ่คำสอน
    ๔. ปกป้องคำสอน

    จุดประสงฆ์ของการบวชเป็นภิกษุที่แท้จริงก็คือปรารถนาจะปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงความพ้นทุกข์อย่างถาวร(นิพพาน) ซึ่งก็ต้องมีการศึกษา และปฏิบัติตามคำสอนอย่างจริงจัง จึงจะบรรลุถึงจุดที่มุ่งหมาย และยังต้องมีหน้าที่สอนผู้อื่นต่อไปด้วย อีกทั้งยังต้องคอยปกป้องคำสอนเอาไว้ไม่ให้ใครมาบิดเบือนหรือทำลายได้.

    http://www.baanjomyut.com/pratripidok/bhuddhist/10.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มีนาคม 2013
  18. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ถ้าท่านเข้าใจดีจะรู้ว่าพระุพทธองค์ทำไมทรงกล่าวไว้เช่นนั้น นั้นมิใช่คำกล่าวของผม ผมนะสนทนากับพระจะไม่ให้ฟังคำสาวกได้อย่างไร แต่สิ่งที่ผมปฎิบัติผมนั้นเลือปฎิบัติแต่สิ่งที่ระพุทธองค์บอก แต่ชีวิตจริงเราต้องสนาธรรมกับพระสงค์องงค์เจ้า เราก็ต้องฟังกันถูกมั้ย ส่วนการเผยแผ่ธรรม พระศาสดาสั่งไว้ให้เผยแต่คำตถาคต ผมจะทำแตกต่างได้อย่างไร เมื่อผมมาเจอคำพระศาสดาสั่งไว้อย่างนี้ สมัยพุทธกาลคำใดที่สาวกกล่าวจะต้องได้รับการรับรองจากพระุทธองค์ดั่งที่ท่านยกมา สมัยก่อนพระอรหันต์นั้นให้ความเคารพระุทธเจ้ามาก จะกล่าวอะไรจะต้องให้พระศาสดารับรองทุกครั้ง ทำไมเราไม่มาเชิดชูคำพระศาสดาของเราให้เกรียงไกลแผ่ไปทั่วโลก ธรรมะของเราจะได้ไม่สูญหายไปดั่งกลอง อนากะ ที่มีแต่ลิ้มใหม่ที่ตอกเข้าไปนับวันจะอันตธานหายไป พวกเราไม่ได้ดูหมิ่นหลวงปู่หลวงตานะครับ แต่ธรรมะนั้นต้องตรงจริงๆ เราถึงจะเข้าสู่้ความหยั่งลงมั่นในตถาคต
     
  19. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    สาวกคือผู้ที่เดินตามมรรค พระองค์เป็นผู้ค้นพบมรรค สาวกท่านใดเิดินตามพระุทธองค์ถือว่ามีศรัทธาหยั่งลงมั่นในตถาคต ผมฟังพุทธวจนที่ถูกถ่ายทอดโดยสาวก
     
  20. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    เราแค่เตือน พอจะเห็นในความหมายของกัลยาณมิตร

    อย่าไปเข้าหลักการที่ว่า การจำมาแล้วบอกต่อ ซึ่งมันจะได้เป็นเพียงกระแส
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 มีนาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...