อย่าเลยพระพุทธเจ้า อย่าเลยครูอาจารย์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปุณฑ์, 28 มีนาคม 2013.

  1. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    บทความคำสอนนี้ ได้คัดลอกส่วนหนึ่งมาจากในหนังสือรอยธรรมคำย้ำเตือน เป็นหนังสือเล่มเล็กๆที่กลุ่มลูกศิษย์กลุ่มหนึ่งของหลวงปู่ดู่(กลุ่มเพื่อนธรรมเพื่อนทำ)ได้เรียบเรียงคำสอนของหลวงปู่ไว้ เห็นว่าอ่านเข้าใจง่ายและเตือนสติได้ดี จึงได้คัดลอกมาเผยแพร่บางส่วน..

    อย่าเลยพระพุทธเจ้า อย่าเลยครูอาจารย์

    ....และที่เลยเถิดไปกว่านั้น ก็คือเลยพระพุทธเจ้าคือเก่งกว่าพระพุทธเจ้า เป็นต้นว่า คิดค้นและประกาศสอนแนวทางการปฏิบัติธรรมของตนเองว่าเป็นทางลัดตรง

    หากเราพิจารณาคำเตือนของหลวงปู่ดู่ที่ว่า.อย่าให้เลยพระพุทธเจ้า. ก็จะเป็นเครื่องเตือนใจว่า จงอย่าอวดดี อย่าบัญญัติสิ่งที่พระพุทธองค์มิได้บัญญัติ และหากพิจารณาให้ดี ในสามโลกนี้จะหาใครที่มีความบริสุทธิ์ อีกทั้งเปี่ยมไปด้วยพระกรุณา และพระปัญญาเท่ากับพระองค์ ดังนั้น หากมีทางลัดตรงกว่านี้ มีหรือที่พระพุทธองค์จะไม่ทรงบอกทรงสอน พระองค์ทรงสละชีวิตมานับภพนับชาติไม่ถ้วน ก็เพื่อค้นหาทางเพื่อความหลุดพ้น คือ อริยมรรคมีองค์แปด หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้มาประกาศสอนแก่สัตว์โลกทั้งหลาย แล้วผู้ที่ประกาศว่ามีทางลัดเหล่านั้นเล่า จะมีปัญญาเหนือพระองค์เชียวหรือ
    ...

    หลวงปู่สอนตามพระพุทธเจ้าที่มุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติได้ลิ้มรสธรรม มิใช่พอใจหรือสำคัญผิดติดอยู่เพียงความรู้จำที่ยังไม่ใช่ความรู้จริง ดังที่พระพุทธองค์ทรงอุปมา ..ผู้ที่สามารถจำพระพุทธพจน์ไว้อย่างแม่นยำ แต่ยังขาดการลงมือปฏิบัติให้เกิดผลขึ้นที่ใจ ว่าเป็นเหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโคที่มิอาจดื่มกินน้ำนมโคที่ตนเลี้ยง ..ตรงข้ามกับคนที่แม้จะไม่สามารถจำพระพุทธพจน์ได้สักเท่าใด แต่อาศัยว่าได้ศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ถูกตรงมาพอประมาณ แล้วลงมือปฏิบัติธรรมจนเกิดผลขึ้นที่ใจตนเอง พระพุทธเจ้าเรียกผู้นั้นว่าเป็นดุจเจ้าของโคผู้ที่มีสิทธิ์จะดื่มกินน้ำนมโคของตนได้ตลอดเวลา เรียกว่าได้สำเร็จผลอันพึงปรารถนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2013
  2. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    พระพุทธวจนะ แท้จริงแล้วก็คือผลแห่งการปฏิบัติหรือที่เรียกว่าปฏิเวธ เมื่อพระพุทธองค์นำปฏิเวธซึ่งเป็นธรรมสมบัติที่เกิดขึ้นที่พระองค์เองมาจำแนกและบอกสอน ก็กลายเป็นปริยัติ ที่รอการปฏิบัติตามให้เกิดผลเป็นสมบัติของนักปฏิบัติแต่ละคนๆ

    ทั้งนี้ นอกจากคำพระพุทธเจ้าแท้ๆแล้ว ก็ยังมีสาวกภาษิต(คำครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติชอบ) ก็เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาพิจารณาและปฏิบัติตามเช่นกัน ดังเช่น.. การอธิบายธรรมของพระปุณณะเถระ(หลานชายของพระอัญญาโกณฑัญญะ) กระทั่งทำให้พระอานนท์ได้บรรลุโสดาปัตติผล ซึ่งแม้พระอานนท์จะได้เป็นผู้ได้ยินได้ฟังธรรมของพระพุทธองค์โดยตรงเสมอๆ แต่พระอานนท์ไม่อายที่จะประกาศให้ใครๆทราบว่า พระปุณณะเถระคืออาจารย์ผู้มีอุปการะมากของพระอานนท์ พระอานนท์ทำให้เห็นว่าคำครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แม้จะมีพยัญชนะที่ต่างจากพระวจนะ แต่ก็มีอรรถะที่เป็นธรรมอย่างเดียวกับพระพุทธวจนะนั่นเอง

    อย่างไรก็ดี หากพบว่าคำสอนใดไม่ตรงกับพระวจนะ ก็ยังไม่ควรด่วนสรุปคำสอนนั้นถูกหรือผิด แต่หากให้พิจารณาเทียบเคียงกับหลักที่พระพุทธองค์ให้ไว้ นั่นก็คือ ลักษณะตัดสินธรรมวินัยแปดประการ เช่น คำสอนที่ถูกต้องที่สมควรเรียกว่าเป็นธรรมของพระพุทธองค์นั้น ต้องเป็นไปเพื่อการคลายกำหนัด เพื่อการไม่สะสมกองกิเลส เพื่อความไม่คลุกคลี และเพื่อความสันโดษ เป็นต้น ซึ่งเป็นหลักธรรมที่พุทธศาสนิกชนควรศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

    สรุปว่ากับดักที่หลวงปู่ให้ระวัง ได้แก่การติดดี(ซึ่งนับว่าแก้ยากกว่าติดชั่วเพราะมองเห็นได้ยากกว่า) การปฏิบัติจนเลยครูอาจารย์ เลยพระพุทธเจ้า(หมายเหตุ-คือส่วนที่คัดพิมพ์มานี้) การละเลยการสอน หรือทรมานตนให้ได้ลิ้มรสพระธรรมที่ใจตนเอง ดังที่เรียกว่าความรู้จริงซึ่งมิใช่ความรู้จำ นอกจากนี้ยังมีกับดักต่างๆอีกมากมาย เช่น การหลงยึดติดเป็นเจ้าเข้าเจ้าของหรือยึดหลงกับคำว่าศิษย์ก้นกุฏิ การหลงยึดแนวทางที่ตนชอบว่าเป็นหนทางสายเอกสายเดียว รวมไปถึงการยึดติดในความไม่ยึดติด เป็นต้น...

    :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2013
  3. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    คัดมาแค่นี้ แต่นั่งพิมพ์นานมากเลย :'(

    นึกถึงพระสารีบุตรที่เคารพต่อพระอัสสชิ
    ที่ไม่ว่าท่านจะพำนักอยู่ที่ใด พระสารีบุตรจะนอนหันศีรษะไปทางด้านนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2013
  4. opateng

    opateng สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +11
    "เป็นเหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโคที่มิอาจดื่มกินน้ำนมโคที่ตนเลี้ยง"
    ขอพระสูตรรับรองหน่อย สามารถค้นหาคำนี้ได้จากหนังสือเล่มไหน คือจะดูว่าเป็นคำแต่งขึ้นมาใหม่รึป่าว
     
  5. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    สมัยพุทธกาล ผู้ที่อยู่นอกศาสนาชมสาวกในพระศาสนาของพระพุทธองค์ว่า สาวกกับศาสดาพูดเหมือนกัน น่าอัศจรรย์ยิ่ง
     
  6. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    แค่บอกว่าพุทธศาสนามีอายุ5000ปีก็ถือว่าไม่ตรงแล้ว และถ้าท่านใดบอกเป้นพระศรีอรยะนั้นยิ่งเป็นไปไม่ได้ครับ
     
  7. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ลองหาจากคำนี้ก็ได้ค่ะ..
    ผู้มีส่วนและไม่มีส่วนในสามัญผล
    น่าจะหาได้อีก..

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑
    ...ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอกล่าวอะไรกันนี่?” เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเนื้อความนั้นแล้ว, ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อาจารย์ของพวกเธอ เช่นกับผู้รักษาโคทั้งหลาย เพื่อค่าจ้างในศาสนาของเรา, ส่วนบุตรของเรา เช่นกับเจ้าของผู้บริโภคปัญจโครส๑- ตามชอบใจ”
    ดังนี้แล้ว ได้ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า
    ๑๔. พหุมฺปิ เจ สหิตํ๒- ภาสมาโน
    น ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต
    โคโปว คาโว คณยํ ปเรสํ
    น ภาควา สามญฺญสส โหติ.
    อปฺปมฺปิ เจ สหิตํ ภาสมาโน
    ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี
    ราคญฺจ โทสญฺจ ปหาย โมหํ
    สมฺมปฺปชาโน สุวิมุตฺตจิตฺโต
    อนุปาทิยาโน อิธ วา หุรํ วา
    ส ภาควา สามญฺญสฺส โหติ.
    “หากว่า นรชนกล่าวพระพุทธพจน์อันมี
    ประโยชน์เกื้อกูลแม้มาก (แต่) เป็นผู้ประมาทแล้ว
    ไม่ทำ (ตาม) พระพุทธพจน์นั้นไซร้, เขาย่อมไม่
    เป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล๓- เหมือนคนเลี้ยงโค
    นับโคทั้งหลายของชนเหล่าอื่น ย่อมเป็นผู้ไม่มี
    ส่วนแห่งปัญจโครสฉะนั้น, หากว่า นรชนกล่าว
    พระพุทธพจน์อันมีประโยชน์เกื้อกูล แม้น้อย
    (แต่) เป็นผู้มีปกติประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม
    ไซร้, เขาละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว รู้ชอบ มี
    จิตหลุดพ้นดีแล้ว หมดความยึดถือในโลกนี้หรือ
    ในโลกหน้า, เขาย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2013
  8. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    เนื้อเรื่องคล้ายกัน
    แต่ไม่ได้อุปมาผู้จำเพียงคำสอนได้แต่ยังปฏิบัติไม่ถึง เป็นคนรับจ้างเลี้ยงโค แต่อุปมาเป็นใบลานเปล่า

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔
    ๕. เรื่องพระโปฐิลเถระ [๒๐๘]
    ..
    ดังได้สดับมา พระโปฐิละนั้นเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกในศาสนาของ
    พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป. พระศาสดา
    ทรงดำริว่า " ภิกษุนี้ ย่อมไม่มีแม้ความคิดว่า ' เราจักทำการสลัดออก
    จากทุกข์แก่ตน; เราจักยังเธอให้สังเวช."

    จำเดิมแต่นั้นมา พระองค์ย่อมตรัสกะพระเถระนั้น ในเวลาที่พระ-
    เถระมาสู่ที่บำรุงของพระองค์ว่า " มาเถิด คุณใบลานเปล่า, นั่งเถิด คุณ
    ใบลานเปล่า, ไปเถิด คุณใบลานเปล่า, แม้ในเวลาที่พระเถระลุกไป ก็
    ตรัสว่า " คุณใบลานเปล่า ไปแล้ว." พระโปฐิละนั้นคิดว่า " เราย่อม
    ทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา, บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป
    ถึง ๑๘ คณะใหญ่, ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น พระศาสดายังตรัสเรียกเราเนือง ๆ
    ว่า ' คุณใบลานเปล่า ' พระศาสดาตรัสเรียกเราอย่างนี้ เพราะความไม่มี
    คุณวิเศษ มีฌานเป็นต้นแน่แท้." ท่านมีความสังเวชเกิดขึ้นแล้ว
    ...
    พระโปฐิละปฏิบัติตามคำสั่งสอนของสามเณร
    ลำดับนั้น สามเณรจึงแสดงสระ ๆ หนึ่งในที่ไม่ไกล แล้วกล่าวกะ
    ท่านว่า " ท่านขอรับ ท่านนุ่งห่มตามเดิมนั่นแหละ จงลงไปสู่สระนี้."
    จริงอยู่ สามเณรนั้น แม้รู้ความที่จีวรสองชั้นซึ่งมีราคามาก อันพระเถระ
    นั้นนุ่งห่มแล้ว เมื่อจะทดลองว่า " พระเถระจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้
    หรือไม่" จึงกล่าวอย่างนั้น. แม้พระเถระก็ลงไปด้วยคำ ๆ เดียวเท่านั้น.
    ลำดับนั้น ในเวลาที่ชายจีวรเปียก สามเณรจึงกล่าวกะท่านว่า " มาเถิด
    ท่านขอรับ" แล้วกล่าวกะท่านผู้มายืนอยู่ด้วยคำๆ เดียวเท่านั้นว่า " ท่าน
    ผู้เจริญ ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง มีช่องอยู่ ๖ ช่อง, ในช่องเหล่านั้น เหี้ย
    เข้าไปภายในโดยช่อง ๆ หนึ่ง บุคคลประสงค์จะจับมัน จึงอุดช่องทั้ง ๕
    นอกนี้ ทำลายช่องที่ ๖ แล้ว จึงจับเอาโดยช่องที่มันเข้าไปนั่นเอง; บรรดา
    ทวารทั้งหก แม้ท่านจงปิดทวารทั้ง ๕ อย่างนั้นแล้ว จงเริ่มตั้งกรรมนี้ไว้
    ในมโนทวาร." ด้วยนัยมีประมาณเท่านี้ ความแจ่มแจ้งได้มีแก่ภิกษุผู้
    เป็นพหูสูต ดุจการลุกโพลงขึ้นแห่งดวงประทีปฉะนั้น. พระโปฐิละนั้น
    กล่าวว่า " ท่านสัตบุรุษ คำมีประมาณเท่านี้แหละพอละ" แล้วจึงหยั่งลง
    ในกรชกาย๒ ปรารภสมณะธรรม.

    ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งปัญญา
    พระศาสดาประทับนั่งในที่สุดประมาณ ๑๒๐ โยชน์เทียว ทอด
    พระเนตรดูภิกษุนั้นแล้วดำริว่า " ภิกษุนั้นเป็นผู้มีปัญญา (กว้างขวาง)
    ดุจแผ่นดิน ด้วยประการใดแล; การที่เธอตั้งตนไว้ด้วยประการนั้นนั่นแล
    ย่อมสมควร." แล้วทรงเปล่งพระรัศมีไป ประหนึ่งตรัสอยู่กับภิกษุนั้น
    ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
    ๕. โยคา เว ชายตี ภูริ อโยคา ภูริสงฺขโย
    เอตํ เทฺวธา ปถํ ญตฺวา ภวาย วิภวาย จ
    ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ.
    " ปัญญาย่อมเกิดเพราะการประกอบแล, ความ
    สิ้นไปแห่งปัญญาเพราะการไม่ประกอบ,
    บัณฑิตรู้
    ทาง ๒ แพร่ง แห่งความเจริญและความเสื่อมนั่น
    แล้ว พึงตั้งตนไว้โดยประการที่ปัญญาจะเจริญขึ้นได้."

    ใบลานเปล่า [เรื่องพระโปฐิลเถระ]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2013
  9. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    พูดทำนองไหนจ๊ะ
    ยกมาเลยก็ได้จ๊ะ
     
  10. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    อย่าไรเสียศาสนาของพระศาสดาย่อมมีการเสื่อมไปตามเวลาที่เหมาะสม เพราะสาเหตุมาจากพุทธบริษัทสี่เท่านั้น บุคคลนอกศาสนาไม่สามารถทำพระศาสนาเราให้เปลี่ยนแปลงสิ้นสุดลงได้ พุทธบริษัททั้งนั้นที่ทำให้พระศาสนาผิดไปจากเดิม ฉะนั้นที่พระพุทธองค์บอกว่าพวกเธออย่าเป็นบุรุษสุดท้ายของพระองค์เลย
     
  11. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ท่านสามารถเทียบเคียงกับบาลีสยามรัฐได้ครับ อันไหนไม่มีในนี้เกินทั้งนั้นครับเพราะนี่คือตำราที่เก่าที่สุดเท่าที่เราจะมีพุทธวจนสถาบัน : วัดนาป่าพง โปรแกรมตรวจทานครับ
     
  12. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ป.ปุณฑ์^_^
    พรมน้ำมนต์เรียกแขก
     
  13. opateng

    opateng สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +11
    ลุงรู้ป่าวสิ่งที่ลุงยกมาตอบมันไม่ใช่ พุทธวจน
    ลุงน่าจะแยกแยะชั้นข้อมูลให้ดีก่อนนะ อันนี้คำแต่งใหม่
    นี่ไงผลเสียที่ไม่ได้ศึกษาพุทธวจนะ เลยชอบทึกทักว่า
    สิ่งที่อยู่ในพระไตรปิฏกเป็น พุทธวจน ไปหมด
    สิ่งที่ลุงเอามาน่ะอยู่ใน พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ
    ฉบับนี้ก็ลอกมาจากบาลีสยามรัฐอีกที
    แปลคนล่ะเรื่องกันเลย แต่ก็ไม่ได้ใส่ใจเพราะมันเป็นคำแต่งใหม่

    คำแปลจาก ไทย(บาลีสยามรัฐ)
    หากว่านรชนกล่าวคำอันมีประโยชน์แม้มาก แต่เป็นผู้ไม่ทำ
    กรรมอันการกบุคคลพึงกระทำ เป็นผู้ประมาทแล้วไซร้ นรชนนั้นย่อม
    ไม่เป็นผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่องความเป็นสมณะ ประดุจนายโคบาลนับโค
    ของชนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีส่วนแห่งปัญจโครส ฉะนั้น หากว่านรชน
    กล่าวคำอันมีประโยชน์แม้น้อยย่อมประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม
    ละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว รู้ทั่วโดยชอบ มีจิตหลุดพ้นด้วยดีแล้ว
    ไม่ถือมั่นในโลกนี้หรือในโลกหน้า นรชนนั้นย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณ
    เครื่องความเป็นสมณะ ฯ
     
  14. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ในประเด็น กระทู้ที่ยกมา
    เป็นเนื้อหาการอวดตนเรื่องการปฏิบติของตนแต่ไม่ตรงต่ออริยมรรค สติปัฏฐานสี่ ศีลสมาธิปัญญา หรือเก่งเกินครู อาทิ ไม่ตรวจสอบคำสอนท่านว่าตรงต่อพุทธพจน์ ก็อาจปรามาสท่านได้

    ส่วนประเด็นคนที่พูดถึงตัวเขาเองว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็คงต้องดูจ๊ะว่าเขาพูดจริงหรือเพ้อ.. ซึ่งบางคนก็อาจไม่ยากที่จะทราบเมื่อตรวจสอบธรรมทั้งการกระทำทั้งภูมิธรรมและรู้ธรรมของเขาเทียบกับพุทธพจน์หรือจากครูบาอาจารย์ .. โดยส่วนตัว คิดว่าถ้าของจริง ส่วนใหญ่คงไม่พูด เพราะแค่คิดก็นาน จะพูดก็พูดด้วยความตั้งใจในความเป็นประโยชน์ของการพูด ... และคงไม่มาอวดเพราะรังแต่จะเป็นผลเสียมากกว่า...แต่อาจมีการเสวนาศึกษาหาธรรมในที่ที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเขาเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2013
  15. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    บอกหน่อย พุทธวจนะ แปลว่า อะไร (อุตส่าห์ยกบาลีมาด้วย)
    แล้วคำแปล แปลว่าอะไร
    ต้องแปลอย่างบาลีสยามรัฐ แล้วเป็นพระวจนเลยเท่านั้น..??

    บอกหน่อยใครแต่งใหม่ (ก็คงสังคายนาหลายครั้งทีเดียว)
    และการสังคายนา ก็เป็นการจดจำคำสอนโดยมหาสาวกทั้งหลายเรียบเรียงให้เป็นหมวดหมู่เพื่อการศึกษาต่อไป ซึ่งก็มีการแปลต่อไปๆอีก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2013
  16. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ที่จริง ไม่มีเวลามาต่อล้อต่อเถียง กับใครหรอก
    แต่ก็นะ
    อยากเผยแพร่คำครู
     
  17. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    สาเหตุที่มีนิกายมากมายเพราะอะไร ทั้งๆที่มีพระพุทธเจ้าองค์เดียวไม่ใช่เพราะมีการบิดเบือนใช่มั้ยครับเริ่มจากน้อยไปหามาก จากคำที่ผิดเพลี้ยนแต่งเติมจากเดิมนั้นเอง
     
  18. Satoranai

    Satoranai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +263
    คนอ้างพุทธวจนะ แต่หยุดอยู่ได้แค่ที่เป็นคำแปล เพราะไปไม่ถึงบาลี
    ต้องพึ่งคำแปลของมหาเถรสมาคม แต่ไม่เคยสำรวจตนเองว่า คนแปลยังสวดปาฏิโมกข์227
    แต่คนที่ต้องพึ่งพิงคนแปล กลับสวดปาฏิโมกข์แค่150
    งงมั้ย

    เห็นผลเสียของผู้เถรตรงกับการอ้างพุทธวจนะมั้ยครับ
    พระไตรปิฎกฉบับประชาชนก็มี แต่ไม่เอาเพราะหาว่าเป็นคำพูดของศิษย์
    ปิดกั้นตนเอง และปิดกั้นผู้อื่นด้วยมุมมองแคบๆว่า เพราะเป็นเพียงศิษย์
    ขนาดศิษย์พระพุทธองค์ ผู้เป็นเอกในคำสอนของพุทธองค์ ยังโดนกังขาได้ขนาดนี้
    เวรกรรมของพุทธศาสนามั้ยเล่า

    คนผิดศีล ยังไม่ทำลายศาสนาเท่าผู้บิดเบือนพระไตรปิฎก
     
  19. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    พระโปฐิละปฏิบัติตามคำสั่งสอนของสามเณร
    ลำดับนั้น สามเณรจึงแสดงสระ ๆ หนึ่งในที่ไม่ไกล แล้วกล่าวกะ
    ท่านว่า " ท่านขอรับ ท่านนุ่งห่มตามเดิมนั่นแหละ จงลงไปสู่สระนี้."
    จริงอยู่ สามเณรนั้น แม้รู้ความที่จีวรสองชั้นซึ่งมีราคามาก อันพระเถระ
    นั้นนุ่งห่มแล้ว เมื่อจะทดลองว่า " พระเถระจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้
    หรือไม่" จึงกล่าวอย่างนั้น. แม้พระเถระก็ลงไปด้วยคำ ๆ เดียวเท่านั้น.
    ลำดับนั้น ในเวลาที่ชายจีวรเปียก สามเณรจึงกล่าวกะท่านว่า " มาเถิด
    ท่านขอรับ" แล้วกล่าวกะท่านผู้มายืนอยู่ด้วยคำๆ เดียวเท่านั้นว่า " ท่าน
    ผู้เจริญ ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง มีช่องอยู่ ๖ ช่อง, ในช่องเหล่านั้น เหี้ย
    เข้าไปภายในโดยช่อง ๆ หนึ่ง บุคคลประสงค์จะจับมัน จึงอุดช่องทั้ง ๕
    นอกนี้ ทำลายช่องที่ ๖ แล้ว จึงจับเอาโดยช่องที่มันเข้าไปนั่นเอง; บรรดา
    ทวารทั้งหก แม้ท่านจงปิดทวารทั้ง ๕ อย่างนั้นแล้ว จงเริ่มตั้งกรรมนี้ไว้
    ในมโนทวาร." ด้วยนัยมีประมาณเท่านี้ ความแจ่มแจ้งได้มีแก่ภิกษุผู้
    เป็นพหูสูต ดุจการลุกโพลงขึ้นแห่งดวงประทีปฉะนั้น. พระโปฐิละนั้น
    กล่าวว่า " ท่านสัตบุรุษ คำมีประมาณเท่านี้แหละพอละ" แล้วจึงหยั่งลง
    ในกรชกาย๒ ปรารภสมณะธรรม.

    สมัยก่อนผมก็ชอบยกเรื่องนี้ขึ้นมาสนทนา พอตรวจสอบในบาลีสยามรัฐแล้วเรื่องสามเณรสอนพระโปฐิละ หรือพระใบลานเปล่าก็ไม่มี มีแต่ชื่อพระโฐิละที่หมกมุ่นอยู่ในสังขานลาภสัการะซี่งมาเปรียปกับพระสารีบุตรที่มีแต่คุณปัญญา
     
  20. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    นั้นยังมัวอยู่กับ สวด150 กับ227ไม่หาย ยัง งงอยู่เหรอครับ เขาแปล150ข้อทั้งนั้น ถ้ากว่า กว่าเท่าไหร่ ก่อนพระพุทธองค์ดับขันต์ไม่มีบอก แล้ว227มาจากไหน
    ในบาลีสยามรัฐก็ไม่มี และถ้าเพิ่มไปเรื่อยๆ ก็ต้องสวดในสมัยนั้นก็ต้องสวด 160 บ้าง หรือสวด170บ้าง หรือสวด 190บ้าง สวดตามเพิ่มไปที่ล่ะแบบนี้เหรอ ในตำราก็ไม่มีมีมั้ย มีแต่บอกสวด150ข้อที่ชัดเจน คนที่ว่ามี227พึ่งรุ่นหลังและก็ไม่ตรงที่แปล และคนที่แปลที่สวดท่านอาจจะไม่สนใจในประเด็นนี้ก็เป็นได้เพราะสวดท่านก็ถือว่าดี แต่อาจารย์คึกฤทธิ์นั้นเน้นตรงต่อพุทธวจนเพื่อความดำรงอยู่ของพระสัทธรรมครับ พิจารณาดีๆ บนเหตุผล
     

แชร์หน้านี้

Loading...