////// ผู้ไม่เข้าไปหาย่อมหลุดพ้น ///////

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย xeforce, 1 มกราคม 2014.

  1. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245
    ^

    ช่วงนี้เวป เพี้ยนๆ

    ชื่อ ปราบเทวดา ผมก็ล๊อกอินไม่ได้

    ทีมงานคงกำลังแก้ไข
     
  2. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634
    อนุโมทนากับท่าน MindSoul1 และท่านอุรุเวลา สำหรับข้อมูลดี ๆดีค่ะ
    ท่านคิดอย่างไรกับคำนี้

    ผู้รู้ไม่ใช่นิพพาน แต่ต้องนำตัวรู้ไปรู้ถึงสภาวะนิพพาน และตัวรู้สภาวะนี้อยู่ในวงขันธ์เราเอง

    การเข้าถึงนิพพานไม่ได้วัดที่ระยะทาง แต่วัดกันด้วยน้ำหนักสติ (ทางนฤพาน ดังตฤณ)

    ธรรมะอันยอดเยี่ยมของ หลวงตามหาบัว จากกระทู้ ผู้รู้ไม่ใช่นิพพาน


    นี่เรียกว่าธรรมเกิด ผุดขึ้นทั้งสองเลยขึ้นภายในใจ ขึ้นเป็นถ้อยเป็นคำชัดเจนๆ นี่ละที่เรียกว่าธรรมเกิด

    มีแต่ธรรมแสดงตัวจ้าๆ อยู่ภายในใจแสดงออกรับกับกิเลส กิเลสตัวไหนมันรับกัน เกิดขึ้นจากจิตล้วนๆ แหละ เพราะกิเลสอยู่ในนั้น

    สติเป็นสำคัญมาก พอแย็บออกมา มันจะดันออกมาแย็บๆ สติทันดับปั๊บๆ ไม่ต่อ ถ้าสติไม่ทันลุกลามไปใหญ่เลย นี่เรียกว่าสติควบคุมไป กิเลสเกิดก็อย่างว่าแหละ ธรรมเกิดรับกันก็อย่างว่า รับกันได้ลบไปได้เลย

    ธรรมเกิดกิเลสเกิดรู้ภายในใจของผู้ปฏิบัติธรรม ผู้ไม่ปฏิบัติไม่รู้ กิเลสเกิดวันยังค่ำไม่รู้ตลอดไปเลย ธรรมเกิดไม่ได้ ถ้ากิเลสเกิดไม่รู้ตัวแล้วเรียกว่าธรรมเกิดไม่ได้ เวลาสติจับเข้าไปๆ กิเลสเกิดทีไรมันจะเริ่มทราบๆ พอมันปรุงเรื่องอะไรปั๊บ สติทันปั๊บดับปุ๊บๆ ไม่ลุกลาม

    ต่อไปก็มีแต่สติรักษาใจตลอด สติเป็นของสำคัญมากทีเดียว ถ้าขาดสติแล้วนั่นละช่องว่างของกิเลสเข้าช่องนั้น ถ้าสติมีอยู่ อกจะแตกมันอยากคิดอยากปรุงก็ออกไม่ได้ เพราะฉะนั้นกิเลสจะหนาขนาดไหนก็ตาม ขอให้มีสติบังคับเถอะ เราจะได้เห็นชัดๆ ว่าอำนาจของกิเลสมันดันจนเหมือนว่าอกจะแตกนะ มันอยากคิดอยากปรุง ทางนี้ก็ดันไม่ยอมให้คิด ด้วยสติๆ หนาแน่นเข้าๆ ต่อไปความดันมันก็เบาลงๆ สติตั้งขึ้น จิตก็สงบเข้าไปๆ นี่ละวิธีภาวนาให้ท่านทั้งหลายจำเอาไว้ นี่ถอดออกมาจากหัวใจไม่ใช่มาพูดธรรมดา

    สติจึงเป็นของสำคัญ เป็นพี่เลี้ยงของจิตได้เป็นอย่างดีทีเดียว ใครมีสติดีเท่าไรผู้นั้นจะตั้งหลักฐานได้ ยิ่งเวลาขึ้นบนเวทีแล้วจะเผลอไม่ได้ ว่างั้น เวลานั่งภาวนาจริงๆ เอากันเรียกว่าบทหนัก ซัดกันเลย สติก็ดีขึ้นๆ หนักขึ้นไปๆ การพิจารณาปัญญา สติต้องแนบตลอดๆ สติห่างไม่ได้นะ ปัญญาออกเป็นบางเวลา สตินี้ติดอยู่ตลอด ทีนี้เวลาถึงกาลที่สติปัญญาจะกลมกลืนเป็นอันเดียวกันแล้วมันไปด้วยกันเลย เป็นอันเดียวกันไปเลย ปัญญาพิจารณาไปไหนสติจะติดตามๆ เป็นอันเดียวกันไปเรื่อย จนกลายเป็นสติปัญญาอัตโนมัติ ลงขั้นสติปัญญาอัตโนมัติแล้วไม่มีคำว่าเผลอ ตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นมาจนกระทั่งหลับ เผลอเวลาไหนไม่มี นั่นเรียกว่าสติปัญญาอัตโนมัติ นี้ละเกิดในจิตดวงนี้แหละ ดวงมหาเหตุ ระงับกิเลสระงับอย่างนี้เองด้วยจิตตภาวนา

    ถึงขั้นสติปัญญาอัตโนมัตินี่แล้วมันเป็นของมันอยู่ในนั้นเอง ไม่มีคำว่าเผลอ ไม่เผลอเลย พอตื่นนอนติดกันไปแล้วๆ อยู่ที่ไหนมีแต่สติปัญญาทำงานๆ แก้กิเลสเป็นอัตโนมัติๆ นี่ถึงขั้นที่ธรรมมีกำลังกลายเป็นอัตโนมัติไปแล้วในการแก้กิเลส ฆ่ากิเลส แต่ก่อนกิเลสเป็นอัตโนมัติทำลายจิตใจให้ได้รับความชอกช้ำขุ่นมัวตลอดเวลา นี่กิเลสทำงานบนหัวใจ

    ทีนี้เวลาธรรมทำงานเข้าในหัวใจอันเดียวกันแล้ว และมีกำลังกล้าขึ้นเท่าไรๆ กิเลสยิ่งหมอบลงๆ ทีนี้ยิ่งตีหนักเข้าๆ สุดท้ายตั้งแต่ตื่นนอนถึงหลับนี้เผลอเวลาไหนไม่มีเลย เป็นเองนะ จึงเรียกว่าอัตโนมัติ เป็นเอง จากนั้นก็เชื่อมเข้าไปหามหาสติมหาปัญญา พอเข้ามหาสติมหาปัญญาแล้วมันเป็นเรื่องซึมซาบ อันนั้นยังละเอียดกว่านี้อีกนะเรามาพูดได้เพียงแค่นี้ มหาสติมหาปัญญานี้ซึมไปเลยเชียว ซึมไปเลย สติปัญญาอัตโนมัติ

    เผลอไม่เผลอไม่พูดถึงเลยลงขั้นมหาสติมหาปัญญาแล้ว ใจดวงนั้นเต็มไปด้วยมหาสติมหาปัญญาครอบครองจิต แล้วกิเลสจะขึ้นมาได้ยังไง มันก็ยิ่งเบาลงๆ ทางนี้ยิ่งหนักนะ คำว่าหนักทางด้านอัตโนมัติของมหาสติมหาปัญญานี้ยิ่งเป็นอัตโนมัติละเอียด มากๆ เข้าไป เราเคยพูดให้ฟัง เวลามันซ่อนตัวนี้กิเลสมันละเอียดมากนะ แต่ไม่พ้นสติปัญญาไปได้ มันจะละเอียดขนาดไหนก็ไม่ยอมรับ สมมุติบางทีพิจารณาจนหมด ไม่มีอะไรปรากฏเลยในใจ ว่างเปล่าไปหมดเลย
    เหอ ไม่ใช่เป็นพระอรหันต์น้อยๆ ขึ้นมาแล้วเหรอนี่ทั้งค้นอยู่นั่นละ เพราะไม่ได้สำคัญนี่นะ มันหมดในเวลานั้นปรากฏว่า ซัดกันไปซัดกันมาเดี๋ยวโผล่ขึ้นมาๆ แป๊บขาดสะบั้นๆ พอถึงขั้นมันม้วนเสื่อมันแล้วพรึบเดียวหมดเลย ขณะจิตพรึบเดียวนี้โลกธาตุสะเทือนไปหมด แต่ความจริงกระเทือนในระหว่างกายกับจิต กิเลสกับธรรมกระทบกัน ขาดสะบั้นจากกันนี้กระเทือนมากทีเดียว เป็นฟ้าดินถล่มไปเลย พูดออกไปก็เลยว่าฟ้าดินถล่ม ความจริงฟ้าดินเขาก็ไม่ถล่ม มันหากเป็นอยู่ในกายกับจิต มันกระเทือนกันอย่างแรง
    (ถ้าอ่านแบบเต็ม ๆ อ่านในกระทู้นิพพานที่ไม่ใช่ผู้รู้ค่ะ)

    ลองค้นคำมาฐีติภูตังมาให้อ่านค่ะ

    ฌานมีอยู่ ๒ อย่าง อารัมมณูปนิชฌาน จิตสงบ นิ่ง รู้อยู่ในสิ่ง ๆ เดียว หรือรู้เฉพาะในจิตอย่างเดียว แล้วก็สงบนิ่งละเอียดไป จนกระทั่งถึงจุดร่างกายตัวตนหาย เหลือแต่จิตดวงเดียว นิ่ง สว่างไสวอยู่เท่านั้น อันนี้เป็นอารัมณูปนิชฌาน เป็นสมาธิในฌานสมาบัติ

    และอีกอันหนึ่ง ลักขณูปนิชฌาน พอจิตสงบนิ่งลงไปนิดหน่อย มันมีวิตก วิตกก็คือความคิด เมื่อความคิดเกิดขึ้น สติก็ทำหน้าที่ตามรู้ ไปทุกระยะ ถ้าหากสมาธิมีความเข้มข้น สติสัมปชัญญะเข้มแข็ง ความคิดมันก็เกิดเร็วขึ้น ๆ ๆ จนรั้งไม่อยู่ ในช่วงแรก ๆ ความคิดเกิดขึ้น ถ้าจิตไปยึดความคิดมันก็มีความยินดีมีความยินร้าย บางทีก็มีสุขมีทุกข์ บางทีก็หัวเราะไปร้องไห้ไปในจิตในใจ ผู้ปฏิบัติ ถ้าไม่เข้าใจผิด ปล่อยไปตามครรลองของมัน เราเอาสติตามรู้ไป พอไปถึงจุด ๆ หนึ่ง จิตมันจะหยุดนิ่งพั๊บลงไป สว่างไสว ร่างกายตัวตนหาย เหลือแต่จิตนิ่งสว่างไสวอยู่ดวงเดียวเท่านั้น สภาวะอันเป็นอารมณ์ และกิเลสทั้งหลาย มันจะมาวนเวียนรอบจิต อยู่ตลอดเวลา พอมาถึงความสว่างของจิต มันจะตกไปๆ เหมือนแมลงบินเข้ากองไฟ อันนี้ความหมายของโอวาทของหลวงปู่เสาร์เป็นอย่างนี้
    มันก็ไปตรงกับ ฐีติภูตัง ของ หลวงปู่มั่น พอจิตอยู่นิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน สภาวะทั้งหลายอันเป็นสภาวธรรม นะมีปรากฏการณ์ เกิดขึ้นดับไป จิตก็รู้ นิ่ง เฉย เป็นกลางโดยเที่ยงธรรม ไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์นั้น ๆ เพราะความยินดีไม่มี ความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ไม่มี จิตคิดขึ้นมารู้แล้วปล่อยวาง ๆ ไม่ยึดอะไรเป็นปัญหา ให้ตัวเองเดือดร้อน อันนี้หลวงปู่มั่นท่านเรียกว่า ฐีติภูตัง ฐีติ จิตตั้งมั่น นิ่ง เด่น สว่างไสว ภูตัง สภาวธรรมทั้งหลายปรากฏการณ์ให้จิตรู้อยู่ตลอดเวลา แต่จิตดำรงอยู่ในความเป็นอิสระโดยเที่ยงธรรม ไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์นั้น ๆ

    ท่านผู้ฟังทั้งหลาย เราได้ยินคำว่า สัพเพ สังขารา อนิจจา สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ถ้าจิตของเรายังไม่มีสติสัมปชัญญะมั่นคง พอรับรู้อารมณ์อันใดมันหวั่นไหว เกิดความยินดี เกิดความยินร้าย อันนี้เรียกว่า สังขารา อนิจจา สังขารไม่เที่ยง แต่ถ้าจิตไปถึงจุดที่เรียกว่า ฐีติภูตัง อันนั้นมันเป็น วิสังขาร พึงทำความเข้าใจคำว่า สังขาร กับ วิสังขาร ตามนัยที่กล่าวมานี้ จิตรับรู้อารมณ์ ถ้าหวั่นไหว เกิดความยินดี ยินร้าย อันนั้นเรียกว่า สังขารา อนิจจา สังขารไม่เที่ยง แต่ถ้าหากว่าจิตนิ่งเฉย สว่างไสว อารมณ์อันเป็นปรากฏการณ์ หรือสภาวะที่เป็น ปรากฎการณ์ ให้จิตรู้เห็นตลอดเวลา แต่จิตไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์นั้น ๆ มีแต่ดำรงอยู่ในความเป็นกลางโดยเที่ยงธรรม ในลักษณะอย่างนี้ เรียกว่า วิสังขาร เพราะอารมณ์ไม่สามารถที่จะปรุงแต่งจิตได้ ฐีติภูตัง เป็นภาษารู้ของนักปฏิบัติ ซึ่งอาจจะไม่มีในตำรับตำรา ทีนี้ถ้าหากเรา จะหาตำรามาเป็นเครื่องยืนยัน เราจะเอาอะไรมา มันมีปรากฏอยู่ในสูตร ๆ หนึ่ง สูตรนั้นเริ่มต้นว่า อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อุนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง, ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตตา ธัมมะ นิยามะตา ธัมมัฏฐิตตา เพราะความที่จิตตั้งมั่น นิ่ง เด่น สว่างไสว ธัมมะ นิยามะตา เพราะความที่สภาวธรรม ปรากฏการณ์ ให้จิตรู้ อยู่ตลอดเวลา อันนี้มีหลักฐานในธัมมนิยามสูตร

    ทีนี้ในส่วน อารัมมณูปนิชฌาน ลักขณูปนิชฌาน มีหลักฐานปรากฏอยู่ในคัมภีร์ธรรมบท ในเรื่อง ราธพราหมณ์ ตอนแก้อรรถกถา ในนั้นท่านอธิบายไว้ว่า คำว่า ฌาน มี ๒ อย่าง อารัมมณูปนิชฌาน จิตรู้ในอารมณ์เดียว ลักขณูปนิชฌาน จิตสงบแล้วมีความรู้ผุดขึ้น ๆ อย่างกับน้ำพุ พอไปถึงจุด ๆ หนึ่ง นิ่งกิ๊กลงไป สว่างไสว สภาวะทั้งหลายวนรอบจิตอยู่แล้ว ไม่สามารถไปประทุษร้ายความปกติของจิตได้ อันนี้หลักฐานปรากฏมีชัดเจน เป็นความหมายของโอวาทของพระอาจารย์เสาร์และพระอาจารย์มั่น

    อัศจรรย์ แล้วธรรมท่านก็เตือนขึ้นมาว่าถ้ามีจุดมีต่อมแห่งผู้รู้ที่ไหนนั้นแลคือตัวภพ จุดก็คือจุดสว่างไสว จุดว่างเปล่า ตัวจิตยังไม่ว่าง สิ่งเหล่านั้นว่างหมดแล้ว มันวางหมด ว่างหมด แต่ตัวเองยังไม่ว่าง ยังไม่วาง มันอยู่จุดนี้นะ ถ้าหากว่าไปเล่าให้พ่อแม่ครูจารย์ฟังดีไม่ดีปึ๋งในเดี๋ยวนั้นเลย บรรลุ ที่ว่าพระสาวกทั้งหลายไปกราบทูลธรรมะถวายพระพุทธเจ้าได้บรรลุธรรมไม่น้อยนะ คือปัญหาอย่างนี้ละ พอไปถึงมันจะลงแล้วตีเลย ลงเลย ตูมเลย นั่น อันนี้ไม่มีใครมาตีให้ซี เลยงง อัศจรรย์ ทำไมมันสว่างไสวเอานักหนา

    จากนี้เราก็ลงจากดอยธรรมเจดีย์ไปองค์เดียว ธรรมดาเราไปองค์เดียว ไปอยู่ทางเลยศรีเชียงใหม่เข้าไปลึกๆ อยู่ในภูเขาเหมือนกัน ไปพักที่ถ้ำผาดัก จนกระทั่งเดือนหก สามเดือนกลับมา กลับมาก็ขึ้นเขาอีก เขาลูกนี้แหละลูกดอยธรรมเจดีย์ มันแบกปัญหาอันนี้ละไป ที่ว่ามีจุดมีต่อมอยู่ที่ไหนนั้นแลคือตัวภพ เราก็เลยงง เลยแบกปัญหานี้ไป ไปไหนแบกไปไหนปลงก็ไม่ลง จนกระทั่งเดือนหก กลับมาก็ขึ้นเขานี้ละวัดดอยธรรมเจดีย์ เป็นวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ กลับมาก็พิจารณาจุดต่อมแห่งผู้รู้อยู่ที่ไหนนั้นแลคือตัวภพ อันนั้นก็มีแต่เรื่องใจ เศร้าหมองก็ใจ ผ่องใสก็ใจ สุขก็ใจ ทุกข์ก็ใจ ทำไมใจนี่เป็นได้หลายอย่างนักนา มันรำพึง

    พอว่าอย่างนั้นแล้วจิตอยู่ในมัธยัสถ์วางเป็นกลาง ไม่ได้คิดไม่ได้คำนึงอะไร ว่าจะจ่อกับอะไรก็ไม่จ่อ หากอยู่กลางๆ พอธรรมเตือนขึ้นมาอย่างนี้แล้วก็หยุดพักไป นิ่ง วางเฉย แล้วบอกขึ้นมาอีกว่าความเศร้าหมองก็ดีความผ่องใสก็ดี ความสุขก็ดี ความทุกข์ก็ดี ธรรมเหล่านี้ทั้งหมดเป็นอนัตตานะ คือไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ความหมายว่าอย่างนั้น เป็นอนัตตา พออันนี้ว่าแล้วก็สงบเงียบ ตอนนั้นไม่ตั้งใจจะจดจ่อกับงานอะไร อยู่ว่างๆ อยู่กลางๆ อุเบกขา ผางขึ้นมาเลยเชียว นั่น บทเวลาจะเป็น ไม่ได้มาเป็นตอนตั้งใจนะอยู่กลางๆ อุเบกขา ผางขึ้นมาเลยเชียว นั่น บทเวลาจะเป็น ไม่ได้มาเป็นตอนตั้งใจนะ***********

    ตรงนี้แหละค่ะที่พระอานนท์ท่านติด พอปล่อยวางล้มตัวลงนอนท่านก็บรรลุเลย ความเห็นของข้าพเจ้า น่าจะเป็นจุดตรงนี้

    นิพพานไม่ใช่ผู้รู้ เหนือผู้รู้ขึ้นไปอีกหาประมาณไม่ได้ ผู้รู้เด่นๆ ที่ใช้อยู่นี้ไม่ใช่ ก็คือในวงขันธ์ ความรู้อันนี้อยู่ในวงขันธ์ อันนั้นนอกจากนี้แล้วพูดไม่ได้เลย

    มันอยู่ในจิตของเจ้าของเอง ไม่มีที่สงสัย ไม่ต้องหาใครมาเป็นพยาน จ้าขึ้นในนั้นแล้วรู้หมด ส่วนละเอียดส่วนไหนอะไรที่มาเกี่ยวข้องรู้กันไปหมด นั่นละธรรมชาตินั้นละที่พระพุทธเจ้าทรงท้อพระทัย ท่านท้อพระทัยเพราะเหตุนี้เอง ธรรมชาตินั้นเหนือเสียทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีประมาณ

    ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากเวทนาธาตุ
    ... จากสัญญาธาตุ
    ... จากสังขารธาตุ
    ... จากวิญญาณธาตุ
    หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
    เพราะหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่
    เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม
    เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง
    เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตน
    เท่านั้น ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า
    ชาติสิ้นแล้ว
    พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
    กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
     
  3. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    คุณกลายแก้วครับ เข้าใจอะไรผิดหรือเปล่าครับ?

    ผมไม่เห็นอุรุเวลามัน เข้ามาแสดงความเห็นในกระทู้นี้เลย
     
  4. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    คุณ xeforce ครับ

    แล้วคุณตอบปัญหาที่คุณตั้งเองว่ายังไงครับ อยากฟังความเห็นของคุณบ้าง
     
  5. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424




    อย่าปล่อยให้สังขารมันมัดคอ​



    อาการฟุ้งทางธรรม ทางวิชาการ
    เอาอันโน้นมาเทียบเคียง เอาอันนี้มาเทียบเคียง
    นี้เป็นอาการที่ความสงสัยมันยังมีอยู่ประการหนึ่ง
    เมื่อความสงสัยมันยังมีอยู่ จิตที่ถูกตัณหานำไป จะพยายามดิ้นรนค้นหา
    เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งทิฏฐิ (คือความเห็น) อันเป็นที่พึงพอใจ
    และยึดถือไว้ สร้างความมั่นใจลึก ๆ ให้แก่ตนเอง
    อันนี้คือ สภาวะของทุกข์

    ทุกข์คือสิ่งที่ควรกำหนดรู้

    ทวนกระแส กลับเข้ามาพิจารณา ให้เห็นทุกข์ตามความเป็นจริงบ่อย ๆ
    ก็จะค่อย ๆ เห็นทางที่จะดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ได้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2014
  6. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ขออนุโมทนาในย่อหน้าสุดท้ายนะครับ ในกรณีที่ แยกผู้รู้ผู้ดู กับ อาการความเป็นไปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการของผู้รู้ผู้ดูเอง หรืออาการอื่น ๆ ที่ปรากฏขึ้น ออกได้

    จุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ การเห็นความเกิดดับนี่ เท่าที่ประสบมา มีสองส่วน คือ เห็น "อาการ" เกิดดับ กับอีกส่วนหนึ่ง ดับทั้งหมดรวมทั้งผู้รู้ผู้ดูเองก็ดับด้วย เท่าที่อ่าน ๆ มา กล่าวถึงแต่ส่วนแรกกันมากที่สุด แต่ส่วนหลังนี้ถ้าเกิดขึ้นจริง (แม้เพียงครั้งเดียว) ทิฏฐิความเชื่อเรื่อง มีตัวตนอะไรเป็นผู้เที่ยงจะไม่มีอีก (ตัวตนนะครับ ไม่ใช่แค่จิต เพราะว่าจิต (ในที่นี้) เป็นแค่อาการที่ถูกรู้ถูกดูเท่านั้นเอง)

    +++ ใช่ครับ ส่วนใหญ่ "อาการ" เกิดดับ ที่กล่าวถึงมักเป็น "อาการเกิดดับภายนอก ที่ยังไม่ใช่ตน" แต่ยามใดที่ "ดับตน" ได้เมื่อไรยามนั้นมักถูกเรียกว่า "นิโรธสมาบัติ" ซึ่งเหลือแต่ "สภาวะรู้ ที่ไม่มีความเป็นธาตุหลงเหลืออยู่" จริง ๆ แล้ว "การดับตน ก็คือ การดับหรือสลายตัวดู ออกไปนั่นเอง" แต่ในยามปกติทำเพียงแค่ "ตัวดู ถูกรู้" ก็ดำรงค์ชีพอยู่ในโลกปกติได้อย่าง ธรรมดาสามัญชน โดยไม่มีปัญหาอะไรทั้งสิ้น

    ทีนี้ขอยกในสิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านเคยเมตตาอธิบายไว้บางประการ ท่านเปรียบสภาพของการหลุดพ้นไปแล้วดังนี้ว่า เหมือนภาพยนต์เรื่องจิตและการละกิเลสทั้งหมดที่เคยฉายอยู่ได้จบลง และไม่มีภาพยนต์ม้วนใหม่ใด ๆ เกิดขึ้นมาอีก และ ผู้รู้ผู้ดูและอาการนั้น ที่จริงก็คือ จิตทั้งหมด ที่แยกกันทำหน้าที่แต่ละอย่างเท่านั้นเอง ส่วนสภาวะที่เป็นอยู่ไม่ต้องไปบัญญัติว่ามันเป็นอะไรอีก หมดกรรมก็คือจบกัน

    +++ ทั้งหมดเป็น "การเดินทางของสติ" เริ่มตั้งแต่ฝึกสติ จาก "ระลึกไม่รู้ สู่ ระลึกรู้" และจาก "กำหนดรู้ สู่ รู้การกำหนด" จนถึง "รู้ตน สู่ ตนถูกรู้" และท้ายสุด เหลือแต่ "สติบริสุทธื์ ที่ไร้การบดบังของขันธ์" ที่เรียกว่า "สภาวะรู้" เท่านั้น
     
  7. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634



    ตอบท่านรณจักรค่ะ ที่ข้าพเจ้าเอ่ยถึงท่านอุรุเวลา เพราะข้าพเจ้านำธรรมะอันยอดเยี่ยมของหลวงตา นี้มาจากกระทู้นิพพานไม่ใช่ผู้รู้ ที่ท่านอุรุเวลา เป็นผู้ตั้งกระทู้ โดยนำมาลงในกระทู้นั้นนะคะ ซึ่งท่าน mindsoul1 ปราถนาดีนำมาลงให้เราทราบเพิ่มเติมในการตอบกระทู้นี้ ก็เลยให้เกียรติท่านอุรุเวลาด้วย ซึ่งเป็นข้อมูลของท่าน อุรุเวลา นะคะ
     
  8. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634


    ขอบคุณค่ะสำหรับคำแนะนำปฏิบัติ กำลังเพียรพยายามอย่างมากนะคะ ที่จะวางสังขาร แต่ติดอะไรบางประการนะคะ เลยทำไม่ได้สักที
     
  9. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634

    ถามท่านธรรม-ชาติค่ะ อธิบายเพิ่มเติม คำว่า "การกำหนดรู้ สู่ รู้การกำหนด" ได้ไหมค่ะ
     
  10. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    สภาวะที่ตัวตนดับ ตามที่ผมกล่าวนั้น
    ไม่ได้เกิดจากการเจตนาจงใจบังคับ
    หรือเร่งจะให้เกิดขึ้นแต่อย่างใด เมื่อจะเกิด ก็เกิดขึ้นเอง
    โดยไม่ได้มีการคาดหมายหรือรู้ล่วงหน้าแม้แต่น้อย
    จึงเป็นเรื่องที่พ้นเจตนา และเป็นการดับที่ ผ่านแล้วจึงแจ้งแก่ใจ
    ไม่ใช่แจ้งขณะดับอยู่ครับ น่าจะคนละแบบกัน

    ที่สำคัญคือ สั่งให้เกิดอีกตามเวลาที่ต้องการไม่ได้ครับ



    ตรงนี้ใช้คำได้ชวนสนใจศึกษาดีนะครับ

    แต่ตรงที่ "รู้ตน สู่ ตนถูกรู้" มีข้อสังเกตว่า
    อย่าเผลอไปยึดมั่นถือมั่นสิ่งที่ตนถูกรู้
    หรือถือเป็นตัวเป็นตนอะไรขึ้นมาอีก
    หรือเผลอยึดสติว่าเป็นตัวเป็นตน อันนั้นก็ไม่ใช่นะครับ


    ลองมาพิจารณาข้อความต่อจากนี้ไปดูนิดนึง อาจจะทำให้เห็นได้ชัดเจนขึ้น..

    เหนือสังขารขึ้นไป มีอวิชชาเป็นปัจจัย
    เมื่อวิชชาเกิดขึ้น อวิชชาย่อมดับไป
    ความรู้เกิดขึ้น ความไม่รู้ย่อมดับไป
    ผู้รู้ทั้งหลายไม่กล่าวว่ามีอะไรที่คอยควบคุมวิชชาอีก
    มันเป็นของแก้กันเอง แก้แล้วก็จบลง ดับไปทั้งคู่
    หรือก็คือ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัววิชชา (ปัญญา)
    หรือผู้รู้ขึ้นมาเป็นตนอีกนั่นเอง

    นั่นแหละคือผู้ไม่มีสักกายทิฏฐิ

    ดังนั้นท้ายที่สุด ผู้รู้ทั้งหลายก็จะไม่กล่าวว่า
    ท้ายที่สุดเหลืออะไร เว้นกล่าวไปเลย
    ไม่ต้องไปบัญญัติให้มีอัตตาใด ๆ ขึ้นมาอีกครับ

    ก็แลกเปลี่ยนทำความเห็นความเข้าใจให้ถูกตรงร่วมกันครับ
     
  11. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    รู้ได้ เห็นได้ตามนั้นครับ
    หากมันมีอยู่สิครับพี่ที
    ยังต้องยอมครับ ยังไม่พ้นสติกูนี่ล่ะครับ พอฉวยเอามามันจมต่อ
    นั่น นี่ ก็ผุดกันขึ้นมา เห็นก็จะเอาไปดับบ้าง ให้พ้นซะบ้าง
    มันก็กลับมาจุมปุ๊กทุกข์ได้อีก เวียนกลับเป็นไม่เอา จับข่ม จับวาง โล่ง นิ่ง เด้ง
     
  12. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    นั่นแหละ เขาเรียกว่า มันยังหลงติดอยู่ในมุมใดมุมหนึ่งนั่นเองครับ ก็ค่อย ๆ เรียนรู้กันไป
    เผลออยากปลั้มกับมัน ก็ปลั้มไป พอมันคลายมันดับ จะเห็นความโง่เอง

    ถ้าดูเป็น ก็มีประโยชน์ทั้งนั้น.. :d
     
  13. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ "การกำหนดรู้" นั้น เป็นของ "ผู้ที่รู้จัก อาการของสภาวะรู้อยู่บ้างแล้ว" แต่ยังมีอุปสรรคจากการเข้าบดบังของขันธ์ หรือ สภาวะต่าง ๆ อยู่ จึงใช้ "การกำหนดเดินจิต เพื่อเข้าหาสภาวะรู้" เพื่อให้พ้นจากสิ่งบดบังนั้น ๆ เมื่อเรียนรู้มากขึ้น ก็เริ่มที่จะรู้จักว่า "การเดินจิตทุกครั้ง ย่อมปรากฏร่องรอยการทำงานของ กิริยาจิต ทุกครั้งไป ในทุกวาระที่จิตทำงาน" จากนั้นอีกไม่นาน ก็จะเริ่มเข้ามาเรียนรู้ในเรื่องของ "กิริยาจิต" ซึ่งเกิดมาจากการกำหนดจิต ตรงนี้ ผมจึงกล่าวว่าเป็นการ "รู้การกำหนด" ของจิต

    +++ หลังจากอยู่ในช่วงนี้สักระยะหนึ่ง ก็จะเริ่มเข้าสู่การรู้จัก "ผู้กำหนดจิต หรือ ผู้ที่สร้างกิริยาจิต" ซึ่งก็คือ "รู้จักตน หรือ อัตตาจิต" เมื่อรู้ตรงนี้มากเข้าก็จะเข้าใจในคำว่า "จุดหย่อมของผู้รู้ (อัตตาจิต) อยู่ตรงไหน ชาติภพก็อยู่ที่ตรงนั้น" ของหลวงปู่มหาบัว ได้เอง แล้วจึงพัฒนาสู่ขั้นต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะอยู่กับ "ความเป็นจริง" ได้ด้วยตนเอง

    +++ นับว่า อธิบาย เกินขอบเขตของคำถามอยู่บ้าง คงไม่เป็นไรนะครับ
     
  14. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ครับ น่าจะคนละแบบ วิธีของพระพุทธองค์ท่านก็ทรงจงใจ เดินจิตเข้าออกตามฌานต่าง ๆ ก่อนวางขันธ์ลงไป ซึ่งก็เป็น วิธีที่เดินจิตในการดับตัวตน และแบบของครูบาอาจารย์ (จำไม่ได้ว่าเป็นหลวงปู่องค์ไหน) ที่มีกล่าวไว้ว่า "ฝึกมาชั่วชีวิต ก็เพื่อจะนำมาใช้ตอนที่จะตายนี่แหละ" ซึ่งก็คือ การจงใจที่จะดับหรือสลายความเป็นตนผู้รู้ เพื่อสิ้นชาติภพก่อนจากขันธ์ไป เช่นกัน

    +++ ตรงนี้ไม่เป็นปัญหาหรอกครับ เมื่อผู้ใดถึงตรงนี้แล้วย่อมทราบได้เอง ว่าเผลอเมื่อใดก็ไม่พ้นภัยแห่งตนเมื่อนั้น พอโดนบ่อย ๆ เข้าก็จะเริ่มรู้จัก "ความไม่ประมาท" ที่พระพุทธองค์กล่าวไว้ และหาทางทำตนให้พ้นภัยนั้น ได้เอง

    +++ ผู้ใดก็ตาม ที่รู้การเกิดขึ้นแห่ง ปรากฏการณ์ ของ อารมณ์ (ธรรมารมณ์ ในมหาสติปัฏฐาน 4)(แดนเกิดของ ตัวดู)(อวิชชา) ซึ่งเริ่มเกิดการรวมตัว (การเริ่มต้นของสังขาร)(พลังจิตแห่งตัว ฌาน เริ่มก่อตัว) เป็นหย่อมความกดแล้วเกิดการหมุนวน (สังขารา) เหมือนลักษณะตาน้ำหรือตาพายุ ที่ ณ ใจกลางแห่ง "ตา" นั้น ภาพพจน์และแสงสีก่อกำเหนิดขึ้น (วิญญานขันธ์) ซึ่งตัวพายุและตาพายุ คือ "ตัวดู" (อัตตาจิต)(ตัวกู)(ผู้รู้) นั่นเอง

    +++ ผู้ใดที่เห็นสภาพของการก่อกำเหนิดนี้ ย่อมสลายการก่อกำเหนิดนี้ได้เช่นกัน การเห็นนี้เป็นสติเห็นและการยึดจะเกิดขึ้นไม่ได้ ผู้ใดเห็นตรงนี้ได้แล้วก็ทราบเองนะครับ ว่าจะเอาตัวรอดได้อย่างไร

    +++ ภาษาที่ใช้ในการสื่อต้องตรงกับอาการที่เกิดขึ้นของจิต มิฉะนั้นจะสื่อกันยาก ครูบาอาจารย์ทั้งหลายก็พยายามที่จะบัญญัติภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจเช่นกัน แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ท่านพยายามใช้ภาษาชี้ที่อาการมากกว่า แต่ส่วนใหญมักจะไม่รอดเพราะไปติดอัตตาอย่างที่กล่าวมานั่นแหละครับ

    +++ ถือว่าเล่าสู่กันฟังเท่านั้นนะครับ การใช้ภาษาอาจแตกต่างกันไปบ้าง แต่ก็ดีอยู่เหมือนกัน
     
  15. xeforce

    xeforce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2011
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +413

    สาธุ ครับ ท่านปราบผี
    ถ้าผมตอบ ก็จะเหมือนกับท่านปราบผีตอบ.. ที่ตั้งคำถามเผื่อบางท่าน
    ที่ยังเข้าใจผิด ว่าต้องคิด ต้องพิจารณา อย่างไร ได้ย้อนดูว่าตน มองในมุมที่ถูก
    หรือยัง คำว่า "ธรรมะ" ก็คือ "ธรรมชาติ" เมื่อก่อนพอมีคนบอกอย่างนี้ ก็ อด
    เถียงในใจไม่ได้ว่า ธรรมะมันต้องอัศจรรย์ซิ มันต้องมีปาฏิหารย์เหนือธรรมชาติ
    ใครมาบอกธรรมะ เรียบๆง่ายๆ เป็นสภาวะที่เป็นอยู่จริงตามธรรมชาติของกาย-ใจนี้
    ก็ไม่สนใจ คิดว่ามันไม่น่าตื่นเต้น ต้องทำอะไรเยอะๆ รู้อะไรเยอะๆแต่ความจริง
    เราจะต้องรู้อะไรบ้าง .. และต้องมีอะไรบ้าง..

    ....รู้ว่า ขันธ์ 5 คืออะไร.. หรือถ้ารู้หยาบๆ ก็รู้แค่รูปกับนาม แค่นี้ก็พอจะเอาตัวรอดได้
    ....รู้ว่า มรรค8 มีอะไรบ้าง (สำคัญ) ปฏิบัติตามมรรค8 ตรงนี้จะทำศีลเราให้
    บริบูรณ์ และมีทั้งสัมมาสติ และสัมมาสมาธิ เพื่อเกื้อกูลต่อการถึงมรรคผล
    ส่วนศีลในมรรค8 ตรงนี้มีผลโดยตรงกับ จิตที่จะตั้งมั่นได้ง่าย
    ....รู้มรรควิธี ที่ถูกต้อง เช่น สติปัฎฐาน4 กรรมฐานกองอื่นๆ ที่ตรงตามคำสอนของ
    พระพุทธองค์
    ....มีปฐมฌานขึ้นไป ก็เพียงพอสำหรับการเห็น ความเป็นไตรลักษณ์ของรูป-นาม
    ซึ่งเมื่อเรามีสัมมาสติ ก็จะเกิดสัมมาสมาธิเอง

    การปฏิบัติ ตาม มรรควิธีถูกต้องและเดินตามมรรค8 ด้วยความเพียร แม้ไม่หวัง
    นิพพานแต่ก็จะถึงนิพพาน ให้ความสำคัญแค่ไหนในปฏิบัติ จัดการปฏิบัติเป็น
    สิ่งสำคัญไว้อันดับแรกของชีวิตหรือเปล่า หรือเราเห็นว่า การดูหนัง ฟังเพลง
    ต้องมาก่อน.... เดี๋ยวดูละครเรื่องนี้จบก่อนแล้วค่อยปฏิบัติก็ได้... อย่างนี้มรรคผล
    เกิดยาก ที่แท้เราต้องปฏิบัติลงในกิจวัตรประจำวันของเราเลย.. ทำงาน เดิน
    แปรงฟัน ฯลฯ ปฏิบัติตามมรรควิธีที่ถูกต้อง เพื่อจะเห็นว่ามันไม่เที่ยง มีสภาพทุกข์
    หรือ ความไม่ใช่ตัวตนเราเห็นแค่มุมใดมุมหนึ่ง ก็จะรู้แจ้งทั้งสามตัวเอง การปฏิบัติ
    ตามมรรควิธีทุกวิธี ก็เพื่อเห็นสิ่งนี้ ก็สามารถตัดความเห็นผิดว่า เราเป็นตัวเป็น
    ตนลงได้ .... การเห็นไตรลักษณ์ เราได้ยินกันบ่อย แต่การเห็นไตรลักษณ์นี้เรา
    จะเห็นอย่างไร แล้วต้องเห็นกี่ครั้ง จิตถึงจะรู้แจ้งอันนี้ขึ้นอยู่ อินทรีย์ บารมีของ
    แต่ละคน ที่สะสมมาไม่เท่ากัน ทั้ง ศรัทธา ปัญญา ความเพียร
    การเห็นเกิด-ดับนี้ หรือการเห็นความไม่เที่ยงนี้ ต้องให้จิตเห็นสภาวะนั้นเอง
    การใส่ความคิดลงไปช่วยว่านี้มันเป็นอนิจจัง ทำได้ในช่วงแรก แต่ที่สุดก็ต้องปล่อย
    ถ้าไม่ปล่อยจิตจะไปจับความคิด ทำให้จิตไม่เป็นกลาง บดบังสภาวะที่เป็นจริงได้
    จิตที่ไม่เป็นกลาง ก็จะไม่ต้องมั่น เมื่อไม่ตั้งมั่น มรรคผลก็ไม่เกิด ตรงนี้เช่นเดียวกับ
    การฟังธรรม แล้วบรรลุธรรม วิธีนี้น่าจะง่ายที่สุด แต่ทำไมคนยุคเราจึงไม่บรรลุธรรม
    ด้วยวิธีนี้ ... เพราะเราฟังธรรมไป แม้เป็นธรรมที่พระพุทธตรัสไว้ เราฟังด้วยใจที่ไม่
    เป็นกลางดึงธรรมเข้าใส่ตัว ซึ่งตัวเรามีทั้ง สัมมาทิฐิบ้าง มิจฉาทิฐิบ้าง ไม่เป็นสภาวะ
    ที่เป็นกลางตรงตามธรรม .... ย้อนกลับไปที่การปฏิบัติ การใส่คิด ว่านี่ อนิจจัง
    นี่ทุกขัง นี่อนัตตา จิตจึงไม่เคยเชื่อเรา เพราะจิตไม่ได้เห็นสภาวะนั้นเอง เพราะเรา
    วางจิตไม่เป็นกลาง .... ความจริงเราไม่ได้ใส่ความคิดไปว่า ว่านี่ อนิจจัง นี่ทุกขัง
    นี่อนัตตา แต่สภาพที่ปรากฏตรงหน้าจิต ก็คือ สิ่งเหล่านี้อยู่แล้ว...
    เมื่อคิดพิจารณา สภาวะดังกล่าวเลยไม่แจ้งที่จิต .... แต่หากวางจิตอย่างเป็นกลางให้ได้
    แล้วเห็น ตัวใดตัวหนึ่งใน ไตรลักษณ์ ด้วยสภาวะที่แท้จริง ซ้ำๆ (ยกตัวอย่างในมุมอนิจจัง)
    จิตจะแจ้งเองว่า ทุกสิ่งที่จิตเข้าไปเห็น มีสภาพ เป็นอนิจจัง (บังคับไม่ได้) จะเห็นถึงความ
    ไม่มีตัวตนด้วย เมื่อเห็นข้างในสภาพเป็นอย่างนั้น เมื่อมองออกไปรอบตัว ก็จะเห็นถึง
    ความไม่เที่ยงเป็นอนิจจัง ของทุกสรรพสิ่ง เห็นว่าเราไม่มีตัวตน ที่ผ่านมาเราไปหลงยึด
    ว่าเป็นตัวเรา ของเรา ผู้ถึงตรงนี้จะสลดใจทุกคน หลังจากนั้นจะทำลายการเห็นผิดว่า
    เรามีตัวตน ความรู้สึกข้างในก็จะเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ส่วนกายภายนอก ก็ยังคงสภาพ
    เหมือนเดิมทุกอย่าง.... แต่ในส่วนสภาวะที่เหนือจากนี้คือ วางความยึดในขันธ์ นั้นยังไม่
    สามารถอธิบายได้

    .......................................................................................
     
  16. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    ดูเหมือนจะมี 2 แบบ



    ครั้งหนึ่งขณะที่กำลังเจริญภาวนาสมาธิ คำถามได้ผุดขึ้นในใจว่า มลทินมาจากไหนหนอ ๆ ก็กำหนดรู้ในความคิดนั้นไป พอจิตสงบลง ก็มีนิมิตปรากฏขึ้นมาภายในจิต เป็นลูกแก้วใสขนาดเท่านัยน์ตาคน ลอยต่ำ อยู่ตรงหน้า ลูกแก้วนั้นใสสะอาด บริสุทธิ์ และมีความแวววาวสวยงามมาก แต่กลับมีดินโคลนสกปรกสีดำพอกอยู่ เปรียบไปก็เหมือนกับลูกโลกที่มีผืนแผ่นดินสูงต่ำปรากฏขึ้นเป็นหย่อมเป็นทวีป หรือเหมือนลูกแก้วนั้นตกลงไปในดินโคลน ดินจึงเกาะเกรอะกรังติดไปทั่ว แต่การพอกของดินโคลนนั้น กลับไม่ได้ติดลงถึงผิวของลูกแก้วแม้แต่น้อย เป็นเพียงห่อหุ้มอยู่ห่าง ๆ โดยรอบเท่านั้น

    พอเห็นดังนั้น ภายในจิตก็ทราบได้เองทันทีว่า มลทินอยู่ที่นี่เอง อุทานอยู่ภายในใจว่า หามาตั้งนาน อยู่ที่นี่เอง ๆ เหมือนกับว่าเคยหามันมาชั่วชีวิตและไม่ใช่แค่ชีวิตเดียว หามานานมากแล้ว มลทินนั้นมีอยู่ในลักษณะเหมือนดินโคลนที่พอกอยู่นี่เอง ถ้าจะชำระล้างก็สามารถชำระล้างได้อย่างแน่นอน เพราะไม่เกาะติดถึงใจ เวลานั้นภายในจิต เหมือนปรากฏเป็นทางเลือกให้ 2 ทาง

    ทางหนึ่งคือให้รู้ตามความเป็นจริงลงไปตรง ๆ ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นให้หมด มลทินก็จะไม่มีผลใด ๆ อีก ทางเลือกที่สองคือ ให้ใช้กำลังของฌานสมาบัติ ชำระล้างมลทินเหล่านั้นออกไปให้หมด จนจิตนั้นสะอาดบริสุทธิ์ พอคลายตัวออกจากสมาธิ ก็รู้สึกปิติตื้นตันมาก จนกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ ถึงขั้นสะอึกสะอื้นเลยทีเดียว ไม่เคยเป็นแบบนี้มาก่อน อะไร ๆ ก็เป็นไปได้หมด ครั้งนั้นก็ได้แต่เก็บเป็นความรู้ไว้ในใจ


    มาถึงวันนี้เมื่อย้อนนึกถึงปรากฏการณ์ครั้งนั้น บวกกับประสบการณ์ที่ได้พบได้สัมผัสเรียนรู้กับครูบาอาจารย์มาหลายท่าน ก็ทำให้เข้าใจว่า มันมี 2 แบบ 2 ทางเลือกจริง ๆ คือ ปล่อยวางอัตตาตัวตนได้ ตั้งแต่เนิ่น ๆ ไปโดยลำดับ หรือ ขัดเกลาจิตให้สะอาดหมดจดบริสุทธิ์ที่สุด แล้วไปรอลุ้นดับอุปาทานในวิญญาณตอนวาระจิตสุดท้ายเอา (วิธีนี้ครูบาอาจารย์บางท่านจึงบอกศิษย์ว่า ไม่ให้ประมาท ยังมีเสื่อมได้ มีศิษย์บางคนถึงกับพูดว่า ไปถึงระดับอนาคาฯ ยังรูดมาโสดาฯ ได้เลย ผมเองก็เคยเข้าใจอย่างนั้น) แต่คนที่ฝึกมาแบบที่สองนี้ จะต้องหมั่นทรงฌานสมาบัติชั้นสูงไว้ (จริง ๆ ก็เป็นไปตามจริตของท่านนั้น ๆ เองนั่นแหละ) ฤทธิ์เดช ความตื่นตาตื่นใจต่อผู้พบเห็นจึงมีมากตามไปด้วย ผมเห็นแบบนี้นะ ถามว่าแนวทางนั้นทำได้จริงไหม เชื่อว่า ทำได้เหมือนกัน (และมีโอกาสพลิกไปเห็นแจ้งในแบบแรกได้ตลอดเวลา) หรือไม่ก็ไปรอลุ้นเอาตอนตาย ครูบาอาจารย์ท่านจึงสอนให้มีความเด็ดเดี่ยว สละเป็นสละตายได้

    แต่ไม่ว่าจะแบบไหน ก็ต้องตั้งอยู่บนความไม่ประมาทอยู่นั่นเอง มีความเห็นเพียงเท่านี้


    ขออนุโมทนาด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2014
  17. ปราบผี

    ปราบผี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +365
    คุณซีฟอส

    อนิจจัง นั้นหมายถึงความไม่เที่ยง อะไรที่มีเดี๋ยวมันก็หายไป อะไรที่ไม่เคยมีเดี๋ยวมันก็เกิดขึ้นมา

    ส่วนที่ว่าบังคับไม่ได้ นั้นเป็น อีกแง่มุมของ อนัตตา
     
  18. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ตี๊ด ตี๊ด ตี๊ด !!!

    ตรวจพบสัญญา คิดเอง เออเอง ยังทำงานอยู่ ต๊อด ต๊อด

    ตรวจพบสัญญา คิดเอง เออเอง ยังทำงานอยู่ ต๊อด ต๊อด

    ตรวจพบสัญญา คิดเอง เออเอง ยังทำงานอยู่ ต๊อด ต๊อด

    >> more information [y/n]? _y

    ธรรมสังเวช จะต้องปรากฏแต่แรก เพราะเป็น องค์ธรรมให้ดำริ จะภาวนา
    แต่นี้ ธรรมสังเวช มาปรากฏเอาตอนท้ายๆ จึงมีแวว คิดเอา ต๊อด ต๊อด

    การพิจารณาธรรม จะไม่มีใน มีนอก การที่ ธรรมต้องเคลื่อนใน เคลื่อนนอก
    ก็ยังแสดงได้ว่า คิดเอา ซึ่ง ความเหลื่อมที่เกิดขึ้น จะทำให้ ปาก ต้องพูด
    เงื่อน "เวลา ( "..ที่ผ่านมา.." ) อย่างเลี่ยงไม่ได้ การปรากฏของ "เวลา"
    จึงเป็นสัญญาณที่บอกได้ว่า " วจีสังขารยังปรากฏ ใน ธาตุที่เรียกว่า จิต "
    [ หากกล่าวเต็มๆ จะ รวมเรียกว่า สัญญา เวทนา ยังยืดเยื้อ --- รู้ไม่ถึงฐานจิต ก็เรียก ]

    แต่............

    ถ้าจะถามว่า แล้วจะให้ ภาวนายังไง ถึง จะไม่ขาขวืดเอาตอนท้าย

    ก็จะบอกว่า ไม่ต้องทำอะไร ภาวนาเห็นไปตามนั้นแหละ จิตมันจะยังคิดอยู่
    มันเป็นเรื่องปรกติ หากยัง ภาวนาไปเรื่อยๆ ไม่ท้อ ไม่ถอย มันจะค่อยๆ
    ตัดแต่ง ใบ กิ่ง ก้าน กาบ กระพี้ ไปเจอ แก่น .............รู้เงียบๆ รู้แบบไม่พูด
    รู้แบบไม่รู้ที่เรื่อง รู้แล้วหยุดลงที่รู้ มันจะ อะอื้อ ปัดติโถ สมาธิ ที่เขาเฝ้นหา
    กันมัน จังซี้ๆ เสร็จแล้วก็ อ๋อ ปัดติโถ งานพึงเริ่ม ยังไม่มี ขั้น อะไรทั้งนั้น
     
  19. xeforce

    xeforce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2011
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +413

    ขออภัยครับ ที่ใช้คำบัญญัติผิดครับ ในคำว่า "อนิจจัง" "อนัตตา"
    ทำให้ความหมายเคลื่อนไปเยอะ..ใส่คำไปผิดบ้างเดี๋ยวท่านนิวรณ์
    จะได้ไม่หาว่าผม เอาคำพระมาใช้ หรือ ลอกตำรามากล่าว :d
     
  20. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ขอบคุณค่ะ วันนี้ไม่เด้งแล้ว
    เว็บปกติ คอมที่ใช้ก็ปกติไปด้วย เนื่องกัน อิอิ (ขำๆนะคะ)
     

แชร์หน้านี้

Loading...