แชร์ผลการปฏิบัติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฐสิษฐ์929, 13 มิถุนายน 2014.

  1. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ใช่ แล้วครับ ! ถึงจะย้อนไปได้ไกลขนาดไหนก็ไม่พ้นเรื่องรูปนาม มันมีอยู่เท่านั้นเองถ้ามีปัญญจริงๆจะไปสนใจเรื่องเดิมๆทำไม อย่างเรื่องฤทธิ์นั้นก็เหมือนกันถ้าดีจริงพระองึ์จะรังเกลียดอึดอัดขยะแขยงทำไมครับ ในเมื่อพระองค์ก็สอนสัมมาทิฎฐิ แล้วพระองค์จะมารังเกลียดการทำฤทธิ์ทำไมถ้าเป็นสัมมาทิฎฐิจริงๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2014
  2. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    สมัยหนึ่งพระพุทธองค์กำลังแสดงธรรม มีภิกษุรูปหนึ่งแสดงฤทธิ์เหาะไปในอากาสดำลงไปในดินได้ ชาวเมืองก็ได้ให้ควานใจ ไม่สนใจฟังธรรมที่พระองค์แสดงธรรมอยู่ พระองค์เรียกภิกษุนั้นมาแล้ว บอกว่าเธอจงแสดงฤทธิ์ยิ่งๆขึ้นไปอีก ภิกษุรูปนั้นก็แสดงฤทธิ์มากขึ้นไปเมื่อหมดฤทธิ์หมดเดชแล้วภิกษุรูปนั้นก็เดินเข้าไปกล่าวพระพุทธเจ้า ชาวเมืองจึงสงสัยว่าทำไมภิกษุที่มีฤทธิ์ขนาดนั้นถึงได้เข้าไปกราบพระพุทธองค์มี่ไม่ได้แสดงฤทธิ์เลย จึงกลับมีฟังธรรม พระองค์จึงกล่าวว่า เรารู้สึกอึดอัดและขยะแขยงฤทธิ์เหล่านี้เหลือเกิน เพราะอะไรครับ มันทำให้ผู้คนออกจากสัมมาทิฎฐิยังไงล่ะครับ และจะมีสักกี่คนล่ะครับที่หลงเข้าไปตรงนั้นแล้วหันออกมาได้ถ้าท่านเหล่านั่นยังไม่เป็นอริยเจ้า นี่ต่างหากคือประเด่นที่ผมอยากกล่าวให้ฟัง และในตัวมันเองแล้วฤทธิ์ไม่มีประโยชน์อะไรเลยสำหรับบุคคลที่เป็นปุถุชน ไม่ต่างจากเล่นมายากลให้เขาดู แถมจะทำให้ผู้ดูเกิดหลงผิดงวยงงไปเท่านั้น มันจึงไม่ต่างจากเรื่องที่ไม่ควรนำมากล่าวนั้นเอง พิจจารณาเอานะครับกับสิ่งที่ผมนำมากล่าวมีประโยชน์อย่างไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2014
  3. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    และทั้งหมดนี้เป็นความเห็นมี่มาจากพุทธวจนไม่ได้เกิดจากความเห็นของตัวผม ผมไม่ไม่มีความเห็นเอง ความเห็นของผมได้ดับไปหมดแล้วเหลือแต่เห็นตามพระพุทธองค์เท่านั้น ส่วนอาจจะคิดผิดบ้างอาจจะมีเพราะอาจจะยังไม่สมบูรณ์ในตัวเองในเรื่องของความหมาย เพราะผมได้หยั่งลงมั่นแก่พระตถาคตเจ้าอย่างสุดหัวใจ
     
  4. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ผมว่าความเห็นนี้ค่อนข้างจะเข้าประเด็นตามกระทุ้อย่างมาก คือกระทู้นี้ว่าด้วยผลการปฏิบัติเอามาแสดง เพื่อประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติรายอื่นเป็นหลัก ส่วนท่านที่เข้ามาสนทนาธรรมก็เป็นส่วนเสริมกันไป สำหรับผู้เข้ามานั้นจะดูส่วนไหนก็น่าจะได้รับประโยชน์ไปในที่สุดเช่นกัน
    เห็นท่านที่เข้ามาสนทนาระหว่างฤทธิกับธรรมนั้น ตามที่ผมปฏิบัติฤทธิ์นี้เป็นผลพลอยได้จากธรรม ธรรมนำหน้าครับ
    จากการปฏิบัติฌานสมาบัติของผมนี้ ผมบอกได้เลยว่าแตกต่างจากตำราหลายส่วน พออธิบายไปก็ไปขัดตำรา ผมก็กลายเป็นคนนอกตำรา จึงพยายามให้ท่านทั้งหลายแชร์การปฏิบัติมากกว่า ว่าท่านทำอย่างไร มาถึงตรงนี้ตรงนั้นได้อย่างไร ที่คุณnopphakanให้ความเห็นก็จะอยู่ในประเด็นนี้
    เรื่องฌานนี้ผมขออธิบายจากสภาวะการปฏิบัตินะครับ ฌานหมายถึงว่าเพ่งหรือจ้องมองดู จะมีองค์กำหนดประกอบด้วยหรือไม่ก็ได้ เมื่อปฏิบัติไม่ว่าแบบไหนมันก็ต้องมีการเพ่งด้วยกันทั้งนั้น แต่จะมีมากหรือน้อยต่างกันเท่านั้น
    ตามประวัติพวกชฎิลสามพี่น้องพร้อมด้วยบริวารมีฤทธิมาก พวกเขาสามารถเพ่งไม้สดๆให้ลุกเป็นไฟได้ พวกเขาปฏิบัติด้วยการเพ่งกองฟืนกองไฟ แต่ฌานสมาบัติที่พระพุทธเจ้าสอนเป็นการเพ่งเข้าภายในมันกลับกันกับของพวกชฎิล อาจจะเรียกว่าเป็นฌานเหมือนกัน แต่ผลต่างกันมาก อย่างหนึ่งเป็นฌานภายนอก อีกอย่างหนึ่งเป็นฌานภายใน สำหรับฌานภายนอกนี้ผมก็เคยทำก็คือเพ่งดวงไฟบ้างดวงอาทิตย์บ้าง สภาวะที่เห็นก็มีแต่นิมิตรดวงไฟบ้างดวงอาทิตย์บ้าง ผมเพ่งจนเป็นนิมิตรติดตาทั้งขณะหลับตาและลืมตา เดินไปไหนมาไหนก็เห็นนิมิตรตลอด ขับรถไม่ได้มองไม่เห็นทางเห็นแต่นิมิตรผมเลยหยุด สภวะที่เกิดเป็นเรื่องภายนอกทั้งหมด ไม่เกี่ยวกับจิตกับใจ ดังนั้นคำว่า "ฌาน" ในตำรานั้นฟังดูว่าเป็นอย่างเดียวกัน แต่เมื่อปฏิบัติไปจะรู้ว่าฌานนั้นที่แท้มีอยู่หลายแบบ เบื้องต้นที่ผมแสดงก็เป็นฌานภายนอกและฌานภายใน
    ฌานของฤษีกับฌานของพระพุทธเจ้านั้น มันคนละฌานกันครับ
    ฌานภายในนี้ก็มีหลายแบบ ตรงนี้มาเทียบกับการปฏิบัติแบบพุทโธ และยุบหนอพองหนอ เหล่านี้เป็นฌานภายในเพราะเพ่งเข้ามาตัวตนของเรา ผมก็ปฏิบัติทั้งสองแบบมาก่อน การปฏิบัติทั้งสองแบบนี้จะมีธรรมปรากฏให้รู้ให้เห็นเป็นปรากฏ แต่การเพ่งก็มีแตกต่างไปแต่ละอาจารย์ที่สอน ที่ทั้งจุดเดียวและหลายจุด สำหรับแบบพุทโธที่กำหนดจุดเดียวสามารถแสดงฤทธิได้ตรงนี้ผมรู้จากการปฏิบัติ พูดอีกนัยหนึ่งว่าได้ทั้งธรรมได้ทั้งฤทธิด้วย แต่เปรียบเทียบแล้วธรรมมาก่อนเช่นว่าปิติ สุข ปล่อยวาง เบื่อหน่าย มีปรากฏขึ้นให้เห็นมาก่อน
    ฌานสมาบัติก็เป็นการเพ่งเข้าในแต่ต่างจุดกับพุทโธหรือยุบหนอพองหนอ หลวงปู่แสดงว่าทั้งสมถะและวิปัสสนา ล้วนเป็นเบื้องบาทของฌานสมาบัติ ตรงนี้ก็แตกต่างกับตำรา แต่เมื่อผมปฏิบัติแล้วเอาสภาวะมาเทียบก็ตรงตามที่หลวงปู่ว่า ผมจะแสดงให้ดูว่าเป็นเบื้องบาทกันอย่างไร
    เบื้องต้นในการปฏิบัติก็ต้องมีสมาธิก่อนอยู่แล้วตรงนี้เป็นสมถะ เมื่อเพ่งเข้าไปก็ได้รู้เห็นสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้น การรู้เห็นนี้ก็คือวิปัสสนา ฌานสมาบัติท่านให้เพ่งเพียงจุดเดียวที่จุดมโนทวาร เมื่อรู้เห็นอะไรก็ไม่ให้จับโดยให้วางทันที เมื่อรู้เมื่อเห็นก็เพ่งเข้าเพ่งเข้า โดยปล่อยวางทุกสภาวะที่รู้ที่เห็นไปโดยตลอด ยิ่งปล่อยวางได้มากสภาวะฌานก็จะแก่กล้าไปตามลำดับ ควาหมายของคำว่าวิปัสสนาว่าตามที่ท่านอธิบายคืออุบายเรืองปัญญา ว่าตามความหมายนี้ก็คือทำอย่างไรก็ได้ให้เกิดปัญญา ดังนั้นการเพ่งแล้วเกิดปัญญาคือวิปัสสนาไปในตัวด้วย ตรงนี้ไปเปรียบเทียบคำอุทานของพระพุทธเจ้าภายหลังการตรัสรู้ได้ ท่านกล่าวถึงการเพ่ง การรู้ การละ ไว้ชัดเจนมาก ท่านที่ยืนยันว่าตำรานั้นถูกต้องทุกขบวนความ ผมก็ขอให้ท่านเอาคำกล่าวของพระพุทธเจ้าที่ตรัสภายหลังตรัสรู้เพียง 7 วันนั้นจะมีน้ำหนักน่าเชื่อหรือไม่ว่า การตรัสรู้ของพระพุทธองค์แท้จริงมาจากการเพ่งเท่านั้น ไม่มีวิธีอื่นเจือปน
    นี้ละครับเป็นเหตุเป็นผลที่ผมให้ท่านแชร์การปฏิบัติ และถามตัวท่านเองว่าธรรมที่ได้จากการปฏิบัติแท้จริงคืออะไร ผมไม่ได้มาเปลี่ยนความคิดของท่าน แต่อยากให้ท่านรู้เห็นธรรมจากสภาวะการปฏิบัติ ซึ่งการรู้เห็นในปฏิบัตินั้นจริงๆมีไม่มากหรอกครับ แต่จะสามารถอธิบายเป็นธรรมได้อย่างหลากหลายพิศดารแบบใดก็ได้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2014
  5. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ท่าน จขกท ผมเคยปฎิเสธเรื่องที่คุณเพ่งอะไรตรงนั้นมั้ยครับ ที่ผมกล่าวคือเรื่องที่ไม่สมควรกล่าวคือเรื่องอะไร และสาเหตุที่ไม่ควรกล่าวเพราะอะไร และท่านใดอยู่ขั้นไหนอย่างและประโยชน์ที่เราจะได้มาจากไหนและก็ยกตัวอย่าง และการปฎิบัติธรรนั้น จะเริ่มต้นจากอะไรก่อนหลังมันถึงจะถูกต้องเกิดผลได้ดั่งใจปราถนา แต่ถ้าทำผิดขั้นตอนผลที่ปราถนามันจะผิดออกไปและสิ่งที่ปราถนามันก็จะไม่สมความตั้งใจ ส่วนเรื่องที่คุณบอกให้เพ่งตรงนั้นถ้าคนไม่รู้ที่มาที่ไปจะไปสู่จุดหมายได้อย่างไรในเมื่อเขายังไม่รู้อะไรเลย จะทำไปทำไมเพื่ออะไร ผมจึงค่อยๆเริ่มจากการเรียนรู้ทีล่ะขั้นตอน คุณรู้มั้ยครับจุดที่คุณบอกนั้นก็เป็นเพียงการเพ่งรูปอยู่เพียงจุดเดียวธรรมดานั้นเองไม่ต่างอะไรกับการเพ่งลมหายใจเลย และการเพ่งทุกอย่างที่สุดแล้วมันจะมารวมกันจุดใต้สมองส่วนหน้าใกล้จุดที่คุณเพ่ง จุดนั้นเส้นประสาทจะร่วมตัวอยู่ที่จุดนั้น และการเพ่งฌานก็คือการตัดความรับรู้จิตออกจากกายหรือรูปทั้งหลายทั้ง5ทวาร หรือพูดให้ออกเป็นรูปธรรมนะครับคือการตัดขาดเส้นประสาทรับรู้ด้วยการเพ่ง โดยใช้ตัวธาตุลมเข้าช่วย ที่คุณเพ่งตรงนั้นคุณใช้ธาตุลมเข้าไปช่วยแต่คุณไม่รู้ตัว เพราะจืตคุณไปกำหนดอยู่ที่เดียวคือจุดตรงกลางระหว่างตาหรือบริเวรใกล้เคียงซึ่งจรืงแล้วทำได้ทั้งนั้นทั่วกาย แต่พระองค์รู้ชัดมากกว่าใครจึงใช้ลมหายใจเพราะนอกจากตัวธาตุลมถูกส่งกำลังจากการเพ่งทำให้เกิดฌานได้แล้ว ลมยังแสดงลักษณะของไตรลักษณะได้ครบถ้วนสมบูรณ์พระองค์จึงสรรเสรืญไว้มากมาย เป็นพระสูตรที่ใครนำมาปฎิบัติก็ทำที่สุดแห่งทุกได้เลย ผมปฎิบัติในสิ่งที่คุณพูดมาแล้วและทำถึงที่สุดของมันแล้วผมเข้าใจได้ในสิ่งที่คุณพูด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2014
  6. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    และที่นี้มาดูที่ผมกล่าวว่าฤทธิ์นั้นเป็นอุปสรรคแก่การบรรลุธรรมอย่างไร ฤทธิ์นั้นเปรียบเหมือนสมบัติที่มีความวิเศษมากในทางโลกเมื่อคนที่ได้แล้วจะออกจากสิ่งนั้นได้ยากมากเพราะมันทำให้เกิดการหลงอย่างมาก และการกลงในสิ่งที่วิเศษนั้นมันลึกซึ้งกว่าที่จะเข้าใจได้ เปรียบเหมือนคนที่หลงไหลใน ลาภ ยศ สรรเสิญ และสุขนั้นแหละ มันออกยาก ผมจึงไม่ได้ใหัค่ากับสิ่งเหล่านี้และมองเห็นโทษอย่างมาก และผมจึงบอกว่าฤทธิ์นั้นจึงเหมาะแก่พระอริยเจ้าที่มีปัญญามาก ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ลดทิฎฐิมานะของคนเพื่อนำคนเข้าสู่เส้นทางแห่งมรรคาเท่านั้น ส่วนปุถุชนที่ใฝ่ในธรรมแต่ยังไม่บรรลุธรรมที่ปราถนาฤทธิ์นั้นเป็นเพราะท่านมองไม่เห็นโทษมันเท่านั้นจึงน้อมใจไปเพื่อฤทธิ์ และเมื่อไรจะได้อีกกี่ปีจะมีใครรู้จะเสียเวลาทำไม กลับเข้าสู้เส้นทางอริยมรรคเถอะได้พบธรรมแท้ทำที่สุดแห่งทุกข์ให้ปรากฎส่วนฤทธิ์นั้นจะเป็นของแถมให้ท่านถ้าท่านได้สะสมมาในอดีต
     
  7. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    แค่ผมกล่าวธรรมขั้นพื้นฐานง่ายๆก็ยังไม่ค่อยมีคนเข้าใจ อย่าได้กล่าวคำที่ยากเลยในเรื่องที่เป็นปัจจัตตังเลยครับ เอาแค่คุณเข้าใจหรือยังว่าอันไหนควรทำหรือไม่ควรทำ
     
  8. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    นามรูปในปฏิจสมุปบาท

    ในอรูปฌานนี้จะเข้ามาเจอกับนามรูปและต่อสู้กับสิ่งนี้ มีใครสงสัยกันบ้างหรือเปล่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้เจอกับธิดาพญามาร กองทัพพญามารนั้นคืออะไรในปฏิจสมุปบาท นามรูปที่แท้เป็นอย่างไรผมจะอธิบายให้ฟังกันดูครับ
    นามรูปเมื่อแปลตามความหมายก็คือรูปร่างของนามธรรม โดยปกตินามจะไม่มีรูป แต่ในที่สุดของนามก็เป็นรูป ตรงนี้พระพุทธองค์เรียกว่านามรูป
    โดยปกติคนเราก็ใช้นามรูปนี้กันอย่างแพร่หลาย แต่เราเรียกในสิ่งเหล่าต่างกันไปเท่านั้น ตรงนี้เกิดในขบวนการของความคิด เช่นว่าเมื่อเราจะทำอะไรสักอย่างเราก็คิดก่อนว่าจะทำให้มันเป็นไปอย่างไร ซึ่งที่สุดของความคิดก็คือมโนภาพ มันเป็นภาพในความคิด ที่เราคิดให้เห็นให้เป็นให้มี ไม่ว่าจะคิดดีหรือชั่วก็เป็นในลักษณะเดียวกัน ในส่วนปฏิจสมุปบาทของกิเลสนั้นเป็นขบวนการทางความคิดที่คิดไปในทางชั่วเป็นโลภ โกรธหรือหลงอย่างหนึ่งอย่างใดหรือประกอบกัน
    ในตำราแปลว่าอย่างไร นามรูปตำราแปลเป็นรูปนามขันธ์ห้าไปเลย ความหมายก็คือขันธ์ห้านั่นเอง หากว่าเป็นขันธ์ห้าเหตุใดไม่บัญญัติเป็นขันธ์ห้าไปเลย จะบัญญัติเป็นนามรูปทำไม่ให้วุ่นวายไปเปล่า ตรงนี้ละครับที่ผมเห็นว่าตำราอธิบายไม่ถูกต้อง ตำราก็มีทั้งส่วนถูกต้องและไม่ถูกต้องรวมๆกันอยู่ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่าเชื่อในตำรา ผมว่าก็เพราะเหตุอย่างนี้ ที่อย่าเชื่อนั้นก็ไม่ได้ให้ปฏิเสธทั้งหมด ทั้งนี้ต้องมีการเลือกเฟ้นธรรมประกอบด้วย
    นามรูปในทางปฏิบัติเป็นอย่างไร ตรงนี้จะเกิดในชั้นอรูปฌาน เป็นฌานที่ไม่มีรูปร่างกาย ในชั้นนี้จะไม่เห็นร่างกายที่นั่งปฏิบัติอยู่ แต่ที่เห็นนั้นเป็นนิมิตรที่มีเราก็อยู่ในนิมิตรด้วย หากท่านสงสัยว่าเป็นอย่างไรจะขออธิบายว่าเหมือนว่าเหตุการณ์นั้นได้เกิดขึ้นกับเราจริงๆนั่นละครับ ผมจะยกตัวอย่างนิมิตรของผมสักอย่างนะครับเป็นนิมิตรขับรถ สภาพก็เป็นว่าเราขับรถตามปกติวิ่งไปตามถนนจนไปติดไฟแดง พอติดไฟแดงสติระลึกว่าเพ่งอยู่นิมิตรนี้ก็ดับ นิมิตรเจอเสือมาทำร้าย สภาพที่เห็นเราก็อยู่ในป่าไปเจอกับเสือกันจริงในสภาพตอนนั้นมันมาทำร้ายผมก็เป็นอย่างจริงๆ ลักษณะว่าถูกทำร้ายกันจริงพอได้สติว่าเพ่งอยู่นิมิตรนี้ก็หาย บางท่านอาจจะสงสัยว่านิมิตรอย่างนี้ในคนที่ไม่ได้ปฏิบัติมีหรือไม่ ตอบว่ามีครับก็ความฝันนั้นละครับ เป็นอย่างเดียวกันเลย แต่สภาพนิมิตรในฌานมันชัดเจนมากจนแยกไม่ออกระหว่างความจริงหรือนิมิตร
    เมื่อไปเทียบกับที่ก่อนพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ พระองค์ก็เจอนิมิตรอย่างนี้มาก่อน ผมจึงมีความมั่นใจอย่างสุดๆว่านี้ละหนทางอันแท้
    หลวงปู่แสดงในส่วนของนามรูปว่าเป็นรูปของความคิดปรุงแต่งขึ้น ความคิดปรุงแต่งก็คือสังขาร เมื่อไปดูในปฏิจสมุปบาทตัวสังขารจะอยู่ก่อนนามรูป ความจริงในส่วนของปฏิจสมุปบาทหลวงปู่อธิบายไว้โดยเฉพาะต่างหากซึ่งมีรายละเอียดสมบูรณ์ในตัว ตรงนี้รับรองแตกต่างในตำราอย่างมากเพราะท่านอธิบายเป็นเรื่องขบวนการการเกิดกิเลสเป็นวงรอบในจิตในใจของเรา ไม่มีสวรรค์ชั้นพรหมมาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด ต่อไปจะนำมาแสดงให้ดูครับ
    เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2014
  9. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    แสดงวงปฏิจสมุทปบาท(เมื่อชายหนุ่มคิดไปหาหญิงสาว)

    วงปฏิจสมุปบาทของชายหนุ่มที่คิดไปหาหญิงสาวและสมสู่ในความคิด
    เพราะความคิดโง่ๆที่ไม่รู้สัจจธรรม(อวิชชา)ของชายหนุ่มมันจึงคิดไปหาหญิงสาวจนความคิดนั้นเกิดตั้งมั่นขึ้น(วิญญาณ) เมื่อตั้งมั่นแล้วมันก็คิดปรุงแต่งไปหาหญิงสาวนั้น(สังขาร) ทั้งสามตัวรวมกันหมุนเกลียวอยู่ในความคิดจนประสาทตรึงเครียด(สฬายตน) จนทำให้ชายหนุ่มของเห็นรูปหญิงสาวปรากฏในความคิด(นามรูป) เมื่อเห็นแล้วก็ยินดีพอใจกับรูปหญิงสาวนั้น(เวทนา) และในความคิดนั้นก็มีรูปของชายหนุ่มไปปรากฏอยู่ด้วย และเกิดความยึดมั่นในสิ่งนั้นว่าเป็นเราเป็นเขาในความคิดนั้น(อุปทาน) ความคิดของชายหนุ่มนั้นก็ประกอบด้วยกาม(กามตันหา)และก็มีการสมสู่ระหว่างชายและหญิงในความคิดนั้น และต่อเติมเสริมแต่งกามนั้นให้เลอเลิศยิ่งๆขึ้นไป(วิภาวตันหา) เมื่อความคิดดำดิ่งมาถึงตรงนี้ก็เกิดความยึดยั่นว่ากามก็เป็นเรา เราก็เป็นกาม(กามภพ) ติดอยู่กับรูปที่สมสู่ทางกาม(รูปภพ) ทั้งต่อเติมกามให้สูงยิ่งๆและติดในสิ่งนั้น(อรูปภพ) ต่อไปยิ่งดำดิ่งติดตรึงในอารมณ์จนเกิดเป็นกามที่สมบูรณ์(ชาติ) และความคิดนั้นมันก็ไม่เที่ยง มันก็ค่อยๆสลายตัวไปจนหมด(ชรา - มรณะ) ผลแห่งความคิดนี้ทำให้ชายหนุ่มกระวนกระวายอยากจะไปหาหญิงสาวนั้นจนใจจะขาดกลายเป็นทุกข์ใหญ่ไฟมหันต์(โสกะปริเทวทุกขโทมนัส) บางคนต้องวิ่งแจ้นไปหาในเวลานั้นๆเลยก็มี
    ตรงนี้เป็นธรรมหลวงปู่สาวกโลกอุดรที่แสดงไว้ ผมดึงออกมาโพสต์อาจจะไม่ครบแต่ก็น่าจะพอเข้าใจได้ ผมเองก็เป็นชายคนหนึ่งครับ และผมก็มั่นใจว่าผู้ชายทุกคนก็เป็นเช่นนี้ แต่จะมากน้อยก็ตามกำลังของกิเลสแต่ละคนครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
  10. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    ผมพบเจอ อาการที่เข้าใจยังไม่ตกผลึกของธรรมะที่เป็นเนื้อหาเดียวกัน
    วิปลาส คลาดเคลื่อนไป แต่ก็ยังมีนักศึกษาธรรมข้างโน้น ไม่เข้าใจเนื้อหา
    ของความดับไปแห่งจิต เราถือว่าความบริสุทธิ์ในเนื้อหาของมันเองอยู่แล้ว
    การสร้างความบริสุทธิ์ขึ้นมาเอง แบบนี้เรื่อย ๆ มันจึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
    มันหลุดพ้นโดยตัวมันเอง และหน้าตาที่บริสุทธิ์อย่างแท้จริง ก็จะปรากฏหน้าตาของมันเอง นิพพานคือธรรมธาตุแห่งการไม่ปรุงแต่ง ไม่มีเกิดไม่มีดับ ไม่มีส่วนอะไรจะมาปรุงแต่ง ให้เกิดดับได้เลย ไม่มีอะไรกับอะไรอยู่แล้ว มันเป็นเช่นนั้นของมันเอง (ตถาคตา)
     
  11. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    อวิิชชา ปัจจัยสังขารา สังขาราปัจจัยวิญญาณัง วิญญานังปัจจัยนามรูปัง นามรูปปัจจัย สฬายตนะ สฬายตนะปัจจัยผัสสะ ผัสสะปัจจัยเวทนา เวทนาผัจจยตัณหา ตัณหาปัจจยอุปาทาน อุปาทานปัจจยภพ ภพปัจจยชาติ ชาติปัจจย ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขโทมนัสอุปายาสะ........ปฎิจสมุปบาท เป็นอาการแสดง เหตุปัจจัย...สิ่งนี้ เป็นปัจจัยให้สิ่งนี้ เกิดขึ้น ตามหลักอิทัปปัจจัยตา(สิ่งนี้มีเพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะความเกิดขึ้นของสิ่งนี้ สิ่งนี้ดับ เพราะสิ่งนี้ดับ เพราะความดับไปของสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป) จึงไม่ได้หมายความว่า มันมีอยู่อย่างเที่ยงแท้ ด้วยตัวมันเอง ไม่ได้อธิบายความมีอยู่อย่างถาวรจริงจังของสิ่งนั้นนั้น(ขันธิ์5)...แต่เป็นการแสดง เหตุปัจจัยให้สิ่ง ลำดับต่อมาเกิด ขึ้นเป็นลำดับ ลำดับ--อวิชชา(ความไม่รู้ในอริยสัจสี่) เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร(ความปรุงแต่ง) สังขารเป็นปัจจยให้เกิดวิญญาน(ความรับรู้) วิญญานเป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป(รูปคือมหาภูตรูปทั้งสี่และที่อาศัยมหาภูตรูปตั้งอยู่----นามคือ เวทนา เจตนา สัญญา ผัสสะ มนสิการ) นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิด สฬายตนัง(อายตนะภายนอก(รูป รส กลิ่น เสียง โพฐฐัพพะ ธัมมารมณ์---อายตนะภายใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)---สฬายตนะ(อายตนะภายนอกภายใน)เป็นปัจจัยให้เกิด ผัสสะ(อายตนะภายนอก+อายตนะภายใน+วิญญาน) ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา(สุข ทุกข์ อุเบกขา)ปัจย ตัณหา (กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา) ตัณหาปัจจัย อุปาทาน (กามุปาทาน ฐิตตุปาทาน สิลพตุปาทาน อัตวาทุปาทาน(อัตวาทุปาทานมีสอนเฉพาะในพระพุทธศาสนา))อุปาทานปัจจยภพ(กามภพ รูปภพ อรูปภพ) ภพปัจจัยชาติ ชรา มณะ โสกะปริเทวส ทุกขโทมนัส อุปายาส-:cool: ก็ไม่อยากให้ จขกท สรุปเร็วเกินไปนัก ตำราที่ว่า ก็ คือ พระพุทธวจนะ และ พระไตรปิฎก :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2014
  12. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    โอ้โห้!! คุณnopphakan ถามมาเป็นชุดเลยนะครับใน#184 ไม่รู้ถามผมด้วยหรือเปล่า ท่านอื่นๆผมไม่ทราบแต่ของผมเอง ไม่มีครูบาอาจารย์แนะนำส่วนตัว แต่ผมมีคำของพระพุทธเจ้าและพระไตรปิฏกเป็นสิ่งที่ผมศึกษาและใช้ในการปฏิบัติครับ ส่วนสิ่งต่างๆนอกเหนือจากนี้เรื่องฤทธิ์ ปาฏิหารย์ผมเคยปฏิบัติเคยศึกษามาเหมือนกัน พอเลยจุดนั้นก็รู้ครับว่ามันไม่สำคัญ แต่ผมไม่ห้ามให้คนทำนะ แต่ผมจะบอกว่ามีสิ่งที่ดีกว่าสิ่งนั้น ในกระทู้นี้ผมว่ามีคนที่เห็นต่างกัน ก็เป็นประโยชน์นะครับ แต่ละประเด็นที่แตกออก มันอาจจะทำให้ผู้สนทนาทั้งสองฝ่ายกลับไปศึกษาเพิ่ม ว่าทำไม อีกฝ่ายพูดอย่างนั้น ผมก็มีเพื่อนสนิทที่ชักชวนกันปฏิบัติ และบอกกันไว้ว่า ถ้าใครพบทางที่ดีถูกต้องก็จะต้องบอกกัน เพราะคติที่ไปชาติหน้าไม่แน่นอน พอเจอทางก็ให้รีบไป นอกซะจากจุดหมายจะไม่ใช่พ้นทุกข์ ก็แล้วแต่บุคคลกันไป

    ที่คุณ nopphakan ถามผมว่ามันไม่ใช่คำถามพื้นฐานนะครับ แต่ผมบอกอย่างนึงครับ ว่าไม่ต้องเห็นละเอียดยิบขนาดนั้นก็พ้นทุกข์ได้ แต่จะเอาไว้สอนเห็นละเอียดก็ดีครับ แต่ต้องไม่ลืมเมนหลัก เพราะทำให้เกิดเจตนาตอนปฏิบัติมากไป บางคนจะหลุดแล้วแต่ยังมีเจตนาอยู่ ก็เลยไม่หลุด เจตนาที่ไปทำข้อย่อยๆนี่ละครับ ถามคุณnopphakanนะครับ ถ้าคุณnopphakan รู้ทางปฏิบัติที่จะพ้นทุกข์ได้โดยไม่เอาสิ่งอื่นมาเป็นภาระ อุปสรรค แล้วมีเพื่อนคนนึงกำลังกำลังทำสิ่งที่ล้าช้าออกไป คุณnopphakanจะเตือนเค้าไหมครับ ขอบคุณครับ
     
  13. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    เห็นด้วยกับคุณฐสิษฐ์ นะครับในเรื่องการปฏิบัติจริงจะอธิบายสภาวะได้หลากหลาย เป็นอย่างนั้นจริงๆนะครับ แต่การปฏิบัติถ้ามุ่งไปเพื่อให้เกิดฌาน ไม่ว่าจะภายนอกหรือภายในผมว่ายังไม่ใช่ แต่ถ้าเรามีสติจดจ่อรู้อยู่ที่ใดที่หนึ่ง โดยไม่ได้มุ่งให้จิตต้องเป็นฌาน แต่สติที่จดจ่อ จะเกิดเป็นความตั้งมั่นของจิต แล้วน้อมไปเพื่อเห็น ไตรลักษณ์ภายในขันธ์5 ก็จะเห็นความจริงของธรรมทั้งหลาย ส่วนระหว่างนั้นจิตจะตั้งมั่นเป็นฌานแค่ไหนไม่ต้องสนใจ มันจะฌานไหนมันขึ้นกับเหตุปัจจัย ถ้าได้อ่านพระไตรปิฏกจะเห็นว่า ทุกท่านเห็นสิ่งเดียวกันหมดเลยครับ น้อมเพื่อเห็นขันธ์5 ในความไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน จนสลัดอุปปาทานทิ้งได้ ก็จบกิจ ใครจะปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ต้องต้องเห็นอย่างนี้อย่างเดียว จะวิธีการไหนก็ตามครับ อย่างวิธีของหลวงปู่ ผมว่าถูกต้องตามธรรม แต่ตอนคุณฐสิษฐ์เอามานำเสนอ อาจจะให้ความสำคัญในธรรมผิดจุดไปนิดนึงครับ คุณฐสิษฐ์ไปเน้นเรื่องการ เพ่งที่จุดมโนทวาร เน้นเรื่องฌานสมาบัติ แต่ความจริงสิ่งที่ต้องเน้นคือการที่จิตเข้าไปเห็นการเคลื่อนออกจากจุดมโนทวาร มันแสดงอนิจจัง และอนัตตา ซึ่งส่วนที่มันแสดงความไม่เที่ยงนี่เองเป็นจุดที่จะทำให้เราบรรลุธรรม และสิ้นทุกข์ได้ครับ ไม่ว่าจะวิธีไหน นิพพานมีทางเข้ามาได้โดยรอบ ผมไม่สงสัยเลยกับวิธีการที่หลวงปู่แสดงครับ แต่คราวนี้ขึ้นอยู่กับตัวเราเองแล้วครับว่าเราจะมองธรรมนั้นในมุมไหนครับ ขอบคุณครับ
     
  14. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ตัวหนังสือก็เหมือนกัน แต่อธิบายว่าอย่างไรครับแต่ของผมมีนะ
    วงปฏิจสมุปบาทของชายหนุ่มที่คิดไปหาหญิงสาวและสมสู่ในความคิด
    เพราะความคิดโง่ๆที่ไม่รู้สัจจธรรม(อวิชชา)ของชายหนุ่มมันจึงคิดไปหาหญิงสาวจนความคิดนั้นเกิดตั้งมั่นขึ้น(วิญญาณ) เมื่อตั้งมั่นแล้วมันก็คิดปรุงแต่งไปหาหญิงสาวนั้น(สังขาร) ทั้งสามตัวรวมกันหมุนเกลียวอยู่ในความคิดจนประสาทตรึงเครียด(สฬายตน) จนทำให้ชายหนุ่มของเห็นรูปหญิงสาวปรากฏในความคิด(นามรูป) เมื่อเห็นแล้วก็ยินดีพอใจกับรูปหญิงสาวนั้น(เวทนา) และในความคิดนั้นก็มีรูปของชายหนุ่มไปปรากฏอยู่ด้วย และเกิดความยึดมั่นในสิ่งนั้นว่าเป็นเราเป็นเขาในความคิดนั้น(อุปทาน) ความคิดของชายหนุ่มนั้นก็ประกอบด้วยกาม(กามตันหา)และก็มีการสมสู่ระหว่างชายและหญิงในความคิดนั้น และต่อเติมเสริมแต่งกามนั้นให้เลอเลิศยิ่งๆขึ้นไป(วิภาวตันหา) เมื่อความคิดดำดิ่งมาถึงตรงนี้ก็เกิดความยึดยั่นว่ากามก็เป็นเรา เราก็เป็นกาม(กามภพ) ติดอยู่กับรูปที่สมสู่ทางกาม(รูปภพ) ทั้งต่อเติมกามให้สูงยิ่งๆและติดในสิ่งนั้น(อรูปภพ) ต่อไปยิ่งดำดิ่งติดตรึงในอารมณ์จนเกิดเป็นกามที่สมบูรณ์(ชาติ) และความคิดนั้นมันก็ไม่เที่ยง มันก็ค่อยๆสลายตัวไปจนหมด(ชรา - มรณะ) ผลแห่งความคิดนี้ทำให้ชายหนุ่มกระวนกระวายอยากจะไปหาหญิงสาวนั้นจนใจจะขาดกลายเป็นทุกข์ใหญ่ไฟมหันต์(โสกะปริเทวทุกขโทมนัส) บางคนต้องวิ่งแจ้นไปหาในเวลานั้นๆเลยก็มี
    ตรงนี้เป็นธรรมหลวงปู่สาวกโลกอุดรที่แสดงไว้ ผมดึงออกมาโพสต์อาจจะไม่ครบแต่ก็น่าจะพอเข้าใจได้ ผมเองก็เป็นชายคนหนึ่งครับ และผมก็มั่นใจว่าผู้ชายทุกคนก็เป็นเช่นนี้ แต่จะมากน้อยก็ตามกำลังของกิเลสแต่ละคนครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
  15. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ที่ปรากฏในพระไตรปิฏก ตามพระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังกิณี เล่ม๑ ภาค๑ หน้าที่๔๐ เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ประมาณ ๗ วัน พระองค์ก็อุทานว่า
    "ยทา หเว ปาตุภวันติ ธรรมมา อาตาปิโน ฌานยโต พราหมฌัสสะ ฯ เป ฯ สูโรวะ โอภาสยมนูตลิกขัง"
    ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พรามณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงเทียว ของพราหมณ์ย่อมสิ้นไปเพราะมาทราบชัดซึ่งธรรมพร้อมทั้งเหตุ.
    ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พรามณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้นความสงสัยทั้งปวงเทียวของพราหมณ์ย่อมสิ้นไปซึ่งมาได้รู้ซึ่งความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย.
    ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พรามณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมาร และเสนามารได้เหมือนพระอาทิตย์ยังท้องฟ้าให้สว่างอยู่ ฉะนั้น.
    ช่วยอธิบายข้อความข้าบนนี้หน่อยครับ ว่าพระพุทธองค์ท่านกล่าวถึงอะไร พระองค์ภายหลังตรัสรู้เพียง 7 วัน เรื่องที่กล่าวข้องกับการตรัสรู้ของพระองค์หรือไม่อย่างไรครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2014
  16. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    พูดเหมือนว่ารู้มากกว่าหลวงปู่ ผมเองยังรู้ไม่ได้เสี้ยวของหลวงปู่เลย ผมไม่แย้งครับ
    เฉพาะการฏิบัติฌานสมาบัติหลวงปู่ปฏิบัติแบบอุกกฤตใช้เวลา ๕ ปี ๑ เดือน ชนิดปางตายจึงสำเร็จธรรมทั้งปวง แล้วจึงออกสั่งสอน ไม่ใช่ได้มาด้วยการคิดเอา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2014
  17. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    สาธุ ... ^_^ ​
     
  18. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    ตอบคุณ ฐสิษฐ์ ครับ ในคห.#199 การที่พระพุทธเจ้าอุทานออกมานั้นครับ

    --- ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พรามณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงเทียว ของพราหมณ์ย่อมสิ้นไปเพราะมาทราบชัดซึ่งธรรมพร้อมทั้งเหตุ. ---

    อธิบายว่า ในเวลาใดที่ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นี้ปรากฏขึ้น (ได้ยิน ได้ฟัง) แก่พรามณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ (คือ พรามณ์ในสมัยพุทธกาลมีทำฌาน ) ด้วยความที่พรามณ์มีฌานทั้งหลายเป็นปกติ มีจิตตั้งมั่น พอได้ยินได้ฟังพระสัทธรรม ความสงสัยทั้งหลายก็สิ้นไป

    เช่นเดียวกับในสองวรรคหลังครับ จะหมดความสงสัยในเหตุปัจจัย และจะกำจัดมารคือ กิเลสทั้งหลายลงได้ครับ

    การที่พระพุทธเจ้าอุทานเพราะเห็นอุปนิสัยสัตว์ เห็นความตั้งมั่นของจิตที่พราหมณ์พวกนั้นมีอยู่ ถ้าได้ยินได้ฟังธรรมก็จะสามารถเห็นแจ้งธรรมขึ้นมาได้ครับ คำตอบของผมเป็นแบบนี้ครับ
     
  19. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    หลักปฏิจสมุปบาท เป็นหลักของเหตุปัจจัยสืบเนื่องกัน จริงๆมีอยู่ในชีวิตประจำวันของเรานี่ล่ะครับ แตกธรรมะได้อย่างมากมาย และตัวอย่างคุณฐสิษฐ์ยกมา ก็ทำให้เข้าใจได้ดีนะครับ หนุ่มก็มีอาการอย่างนี้เหมือนกันหมดล่ะครับ ไม่เว้นผม แต่ทุกคนหยุดวงจรได้นะครับ ถ้าจะทำ รบกวนคุณฐสิษฐ์ยกมาให้หมดครับ จะได้ศึกษาวงจรปฏิจสมุปบาทกันด้วยครับ ขอบคุณครับ
     
  20. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    ไล่ตะคุบความสงบสุข ตามที่ท่านเข้าใจ มันยังไม่ใช่ความสงบที่แท้จริง
    ท่านช่างไม่เข้าใจอะไรเสียเลย
    หลวงปู่สำเร็จ จริงก็เป็นชั้นพระสาวกถ้าหลวงปู่สาวกโลกอุดร สำคัญท่านผิดไป เป็นความสงบอย่างไม่แท้จริง ขึ้นๆลงๆ ถ่ายทอดธรรมแบบผิด ๆ
    เป็นการเข้าไปยึด วุ่นวาย ไม่สงบ
    ส่วนผู้เขียน สำเร็จจริง ก็ชั้นพระศาสดาเพียงแค่ลืมตาตื่น ไม่ติดขัดไม่ลังเลสงสัยในธรรม จะไปทำอะไรให้มันหลงไปอีก
     

แชร์หน้านี้

Loading...