แชร์ผลการปฏิบัติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฐสิษฐ์929, 13 มิถุนายน 2014.

  1. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    รูปฌานแตกต่างกับอรูปฌาน
    รูปฌานก็คือฌานที่อาศัยรูปเป็นฐานอารมณ์
    ส่วนอรูปฌานก็คือฌานที่จะไม่ใช้รูปเป็นฐานอารมณ์ ที่คุณยกมาล้วนอาศัยรูปเป็นฐานอารมณ์ ดั้งนั้นจะได้สมบูรณ์ในชั้นเพียงรูปฌานเท่านั้น
    ที่คุณว่าถึงฌานที่ 5 - 7 นั้น ผมบอกเลยว่าไม่ใช่ ยังน่าจะเป็นฌาน 4 เท่านั้น
    หลักของอรูปฌาน จะไม่เห็นตัวตนขณะนั่งปฏิบัติ จะเห็นสภาพนิมิตรที่เป็นตัวเราเข้าไปในนิมิตรนั้นๆ ผมจะยกตัวอย่างของผมให้เทียบดู
    ฌานที่ 5 เป็นนิมิตรว่าผมไปนั่งบนพื้นที่หนึ่ง โล่งไปหมด ไม่มีต้นไม้ใบหญ้าหรือสิ่งปลูกสร้างใด เว้งว้างว่างเปล่าไปทั้งโลก แต่มีเรา มีสติสภาวะจะดับ
    ฌานที่ 6 เป็นนิมิตรหลากหลาย เป็นเรื่องเป็นราวในชีวิตประจำวันบ้างและเรื่องอื่นๆที่ไม่รู้เรื่องเลยก็มี ตัวเราก็อยู่ในนิมิตรนั้นๆ เป็นว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นกับเราในขณะนั้น ผมเคยทำในรถถึงฌานนี้เป็นนิมิตรว่าไปเจอหมา ผมเป็นคนกลัวหมามาก พอมันเจอผมเหมือนจะรู้ว่ากลัว วิ่งมาไล่กัดขาผม ผมกลัวก็ยกขาหลบ ซึ่งได้สติพอดี สภาพของผมก็ยกขาขึ้นจริงด้วยในรถ
    ฌานที่ 7 และ 8 เหมือนฌานที่ 6 แต่สติจะไวขึ้น สามารถดับนิมิตรนั้นๆได้ไวขึ้น ระดับฌานที่ 8 ที่ผมเป็นจะเห็นภาวะดับของนิตรประมาณ 5 วินาที ซึ่งที่จะผ่านนั้นจะต้องเร็วกว่านี้เท่าไหร่ไม่ทราบ
    นิมิตรของพระพุทธเจ้าในพุทธประวัตินั้นก็น่าจะเป็นตั้งแต่ฌานที่ 6 ขึ้นไปครับ
    การทำวิธีอื่นนอกจากการเพ่งฌานที่จุดมโนทวาร แม้นจะขึ้นไปอรูปฌานได้ก็ไปต่อไม่ได้ เพราะทุกวิธียังใช้รูปเป็นอารมณ์ ตรงนี้ผมบอกความจริงให้โลกรู้ และบอกมาหลายครั้งแล้ว แต่ส่วนใหญ่เขาไม่เชื่อและต่อต้านด้วย

    เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กรกฎาคม 2014
  2. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    สงสัยนั่งหลับแล้วฝันถึงหมากัด55
     
  3. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ถ้าได้ฌานสี่ขึ้นไปจริงๆเหาะได้แล้วครับทำฤทธิ์ได้หมดแล้วถ้าน้อมใจไปเพื่อทำฤทธิ์ได้หมดแล้ว หลับฝันหรือเปล่าครับ
     
  4. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    ไม่เป็นอะไรครับคุณ nopphakan ใน#227 ไม่ได้ศึกษาพระไตรปิฏก แต่อย่างพวกเราต้องศึกษาไว้ครับ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดครับ แนะนำนะครับ วันนี้ผมก็ดูทไวไลท์โชว์ พุทธวจน เชิญชวนคุณ nopphakan ศึกษานะครับจะได้มีเรื่องคุยกันหลายเรื่องเลยครับ
     
  5. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    คุณ ฐสิษฐ์ ครับ ใน#229 คุณฐสิษฐ์ มีความเพียรมากนะครับ ปฏิบัติได้วันละ 20 ชม. ถ้าคุณฐสิษฐ์ นำความเพียรนั้นมาปฏิบัติสติปัฏฐานผมว่าถึงไวแน่ๆครับ
     
  6. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    คุณ Aunyadham ครับ โพส#240 ผมรอจดเลขอยู่เลยครับ
     
  7. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    ก๊อปมาฝากเรื่องฌาน ครับ ตามพระพุทธเจ้า อธิบายได้ครอบคลุมที่สุดแล้วครับ


    ๘. อังคิกสูตร

    [๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบ
    ด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การ
    เจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบ
    ซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้ง
    ตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน
    หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด จะพึงใส่จุรณสีตัวลงในภาชนะสำริดแล้ว
    พรมด้วยน้ำหมักไว้ ตกเวลาเย็นก้อนจุรณสีตัวซึ่งซึมไปจับติดทั่วทั้งหมด ย่อมไม่
    กระจายออกฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่าน
    ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติ
    และสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการเจริญสัมมา
    สมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐข้อที่ ๑


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส
    แห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร
    สงบไป มีปีติและสุขที่เกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม
    ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ
    ทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึก
    ที่มีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก ด้านใต้ ด้านตะวันตก
    ด้านเหนือ และฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว
    จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศ
    ไหนๆ แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
    นั่นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยปีติ และสุขอัน
    เกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิด
    แต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบ
    ด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๒


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ
    เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
    สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้ให้
    ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกาย
    ของเธอทั่วทั้งตัวที่สุขอันปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบ
    เหมือนในกออุบล กอบัวหลวง หรือกอบัวขาว ดอกอุบล ดอกบัวหลวง หรือ
    ดอกบัวขาว บางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ อันน้ำหล่อเลี้ยง
    ดอกบัวเหล่านั้น ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอด ตลอดเหง้า
    ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งดอกอุบล ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ทั่วทุกส่วน
    ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น
    เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ
    ทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบ
    ด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๓


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌานอันไม่มีสุข
    ไม่มีทุกข์ เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสและโทมนัสก่อนๆ ได้
    มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์
    ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
    จะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่งคลุมตัวตลอดศีรษะ
    ด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขา ที่ผ้าขาวจะไม่ถูก
    ต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์
    ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
    จะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์
    ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๔
     
  8. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    คุณ bigtoo ครับ ผมสงสัยครับที่ว่า --- นั่งหลับแล้วฝันถึงหมากัด --- หมายความว่าอย่างไรครับ ขอบคุณครับ
     
  9. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,426
    ค่าพลัง:
    +35,041
    คือที่คุณว่ามาก็ถูกนะครับ..แต่ถ้าจะเป็นกรณีที่ ๑ ที่ได้เขียนประเด็นถ้าบอกว่าไม่เกินฌาน ๔ เนี่ยไม่แย้งครับ.
    .เรื่องระดับฌาน ๔ นี้กายกับจิตแยกขาดกันอยู่แล้วตรงนี้
    เข้าใจตรงกันนะครับ..ไม่ได้ว่าจะแย้งอะไรนะครับ..แต่ขอลองฟังมุม
    ที่จะพูดให้เป็นข้อสังเกตุนะครับ..และถ้าคุณอ่านดีๆนะครับจะเห็นว่า
    กรณีที่ ๒ ,๓ และ ๔ จะไม่มีรูปหลงเหลืออีกแล้วนะครับก่อนที่จะไต่
    ระดับขึ้นไป..และถ้าสังเกตุดีๆจะเห็นว่าจะเหลือแต่แสง กับเส้นสาย
    ถ้าสมมุติว่า กรณี ๒,๓ และ ๔ ไม่ใช่แนวทางการปฏิบัติของคุณงั้น
    ก็ถือว่าทิ้งไว้ให้อ่านเล่นแล้วกันครับ...
    ทีนี้ผมตั้งข้อสังเกตุนะครับ..ต่อให้จิตเรามันแยกกับกายได้อย่างเด็ดขาด
    จริงๆการที่เราจะไต่ระดับต่างๆเพื่อขึ้นไปอรูปฌาณเนี่ย มันน่าจะมีนิมิตรต่างๆ
    หลงเหลือให้ปรากฏในจิตอีกหรือไม่ครับถ้าจะไต่ระดับจริงๆนะครับ.
    เพราะกายกับจิตมันแยกกันแล้วส่วนหนึ่ง
    และลุณลองพิจารณาดูนะครับ
    ว่าตั้งแต่ฌาณ ๕ หรืออรูปแรกเนี่ย มันจะมี เพ่งอากาศ ๆ เป็นอารมณ์
    ตามด้วยเอาวิญญาณเป็นอารมณ์ และตามด้วย กำหนดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์ นี่คือระดับ ๗
    โดยหลักแล้วกำลังสมาธิระดับนี้
    มันค่อนข้างพอๆกันเพียงแต่ว่าจะพิจารณาอะไรก่อนเป็นอารมย์

    ลองคิดๆเล่นๆอีกอย่างครับ ถ้าเราเข้าถึงอากาศไม่ได้ เราจะเข้าถึง
    วิญญานได้ไหมครับ เพราะอากาศเป็นเสมือนตัวเชื่อมไปสู่โหมดวิญญาน
    หลักสังเกตุอีกอย่างคือ ผลที่จะต้องเกิดกับจิตครับ..
    ถ้าสมมุติว่าเราเข้าใจอย่างที่คุณเข้าใจตอนนี้นะครับ..

    แม้ว่าเราจะไม่คล่องในการเข้าฌาน ๔ นะครับอย่างน้อย
    ถ้าเราผ่านเรื่องอากาศมาแล้วนะครับ..ให้ดูว่าเรามีความสามารถ
    ทางจิตในการเชื่อมกับพลังงานภายนอกต่างๆผ่านอากาศได้
    แล้วหรือยังแม้ว่าคุณจะไม่ผ่านกสิณมาก่อนนะครับ
    ..เพราะเป็นไปได้น้อยมากที่คนที่ผ่านตรงจุดนี้มา
    จะทำไม่ได้.และมันมักจะถึงโหมดวิญญานธาตุได้อัตโนมัติ
    พูดง่ายๆว่า เราสามารถเชื่อมกระแสพลังงานต่างๆได้ เช่น
    วัตถุต่างๆไม่ว่าอะไร..และเราก็จะต้องสามารถส่งพลังงาน
    ผ่านอากาศได้ด้วยครับ.นี่เป็นหลักสังเกตุเบื้องต้นนะครับ

    ปล.ยังไงลองพิจารณาดูอีกครั้งนะครับ
    ถึงหลักสังเกตุต่างๆที่เขียนไว้ประกอบการพิจารณาครับ
     
  10. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,426
    ค่าพลัง:
    +35,041
    เห็นด้วยบางส่วนครับ..ที่จะเหาะได้คือ..เข้าฌาน ๔ ได้เร็ว
    ภายในการหายใจเข้าครั้งหนึ่งแบบนี้ที่เป็นฆารวาสทำได้เคยเห็นครับ
    หรือ กระโดดขึ้นจากพื้นเข้าฌาน ๔ ได้ก่อนที่เท้าจะตกลงมาเหยียบพื้น
    คนนี้เป็นฆารวาสลูกศิษย์ หลวงพ่อมีชื่อทางภพภูมิ ชื่อเล่นว่า ป. เค้าฝึกดำดินอยู่
    .และคล่องกสิณ๑๐ ทุกกองในระดับถึงขั้นการอฐิษฐานจิตด้วยกำลังฌาน ๔
    เป็นอย่างน้อยครับ เป็นพระสงฆ์ครับ ชื่อ หลวงพ่อ ด.
    เล่นแร่แปรธาตุ หยิบพระออกจากหนังสือออกมาเป็นพระเห็นๆ
    (ฟังหูไว้หูนะครับ ต้องเห็นกับตาตัวเองถึงจะเชื่อครับ).
    ..และสำเร็จถึงขั้นจิตธาตุร่วมด้วยครับ
    เป็นพระสงฆ์ชื่อหลวงพ่อ ท.มีชาวบ้านเห็นท่านเหาะขึ้นเขาประจำ.

    ปล.ส่วนตัวทำเองไม่ได้แน่นอนครับ...และเหาะได้ส่วนมากจะฝันเอาครับ.
     
  11. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ฌานสมาบัติกับสติปัฏฐานสี่เป็นอย่างเดียวกันครับ
    ระดับรูปฌานตั้งแต่ฌานที่1-4 นี้ก็เป็นกายานุปัสสนา โดยสภาพจะมีเวทนาเกิดขึ้นที่บริเวณหัวและที่จุดเพ่ง พอพ้นฌานที่ 4 รูปหายไป ฌานจะอาศัยตัวเวทนาเป็นตัวต่อ มาถึงตรงนี้จะเป็นเวทนานุปัสสนาซึ่งก็เข้าอรูปฌาน ในฌานที่ 6-8 เป็นการต่อสู้กับนิมิตร ตัวนิมิตรนี้ก็คือตัวนามรูปในปฏิจสมุปบาทเป็นจิตตานุปัสสนาและธรรมมานุปัสสนา
    ฌานสมาบัตินี้มี 9 ลำดับฌานนี้ชื่อว่าสัญญาเวตยิตนิโรธ ฌานนี้ตัวนามรูปดับและเกิดญาณหยั่งรู้อริยสัจจ์ ตรงนี้เป็นธรรมมานุปัสสนาครับ
    อธิบายไปทางมรรค8 หรือทางวิปัสสนาญาณ9 ก็ได้เช่นกัน
    ที่ยกมาจากพระไตรปิฎกผมไม่แย้งอะไรหรอกครับระดับปัญญาของพระพุทธเจ้านะครับพระองค์เป็นผู้รู้แจ้งแทงตลอดทุกเรื่อง พระองค์จะอรรถาธิบายให้มากน้อยอย่างไรก็สามารถทำได้ สำหรับผมมีปัญญาน้อยนิด แต่ก็พออธิบายได้ตามภูมิธรรมครับ ที่ผมว่ามาส่วนใหญ่ล้วนเป็นสิ่งที่มาจากการปฏิบัติ ท่านใดเห็นว่าเป็นประโยชน์ก็รับเอาไป เมื่อไม่เห็นเป็นประโยชน์ก็แล้วกันไป ผมปฏิบัติธรรมมาอาจจะมากกว่าอายุของคนบางคนที่มาแย้งผมด้วยซ้ำไป ผมเริ่มปฏิบัติธรรมประมาณปี พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน ก็นับเอาเองว่ากี่ปี ตรงไหนเป็นตรงไหนพูดไปล้วนเพื่อจะเป็นประโยชน์ทั้งสิ้นครับ
    เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2014
  12. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    เช่นนี้หรือผู้มีธรรม
     
  13. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ที่ จขกท เขาบอกว่าเข้าฌานที่6ได้มีนินิตรหมากัดแล้วตกใจน่ะครับ ผมก็แซวๆเขาไปเท่านั้นเอง
     
  14. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    อุเบกขา
     
  15. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    แชร์แนวคิดในการปฏิบัติ

    ตรงนี้เป็นแนวคิดของการปฏิบัติของผมประกอบกับการแสดงธรรมของหลวงปู่
    เอาการแสดงธรรมของหลวงปู่มาแสดงประกอบก่อน หลวงปู่แสดงว่าพระไตรปิฎกฉบับแรกนั้นมีการจัดหมวดหมู่สงเคราะห์เข้ากับอริยสัจจ์สี่ทั้ง 3 หมวด
    หมวดที่่ 1 หมวดทุกข์และสมุทัย
    หมวดที่ 2 หมวดนิโรธ
    หมวดที่ 3 หมวดมรรคสัจจ์
    ฌานสมาบัติหายสาบสูญไปราว พ.ศ. 236 ก่อนทำสังคายนาพระไตรปิฎกในครั้ง 4 ช่วงนี้มีพระเจ้าอเล็กซานเดอร์เข้ามาตีอินเดีย คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาถูกทำลายทั้งพระไตรปิฎกด้วย ต่อมามีมีพระเจ้ามิลินโดเข้ามาตีอินเดียอีก ครั้งนี้คัมภีร์ทางพุทธถูกเผาทำลายอีกครั้งแทบจะไม่เหลือซาก
    การสังคายนาพระไตรปิฎกในครั้งที่ 4 ก็เก็บเอาซากที่เหลือน้อยมากมาทำ ครั้งนี้ไม่มีพระอรหันต์แล้ว การจัดทำในครั้งนี้ส่งผลไปถึงการสังคายนาครั้งที่ 5 ที่ประเทศศรีลังกา ในราว พ.ศ. 900 โดยพระพุทธโฆษาจารย์ ซึ่งในครั้งนี้ปรากฏมีธรรมแทรกซ้อนเกิดขึ้นทั้งมีการแต่งเติมในส่วนสาระสำคัญหลายส่วน ทั้งหมวดก็ต่างไปจากครั้งแรก และฉบับนี้ก็เป็นฉบับที่ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทยจนถึงวันนี้
    ธรรมที่แทรกซ้อนคือฌาน 16 ที่ปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรคที่พระพุทธโฆษาจารย์แต่งขึ้น ที่ถูกต้องนั้นเป็นวิปัสสนาญาณ 9 ซึ่งมีในพระไตรปิฎก
    ส่วนต่อเติมในพุทธประวัติ กล่าวถึงพระอาจารย์ 2 ท่านของพระพุทธเจ้าเป็นผู้มีฌาน และพระพุทธองค์ก็สำเร็จฌานจากอาจารย์ 2 ท่านนี้ หลวงปู่ว่าไม่ใช่ที่จริงพวกฤษีชีไพรในสมัยนั้นเขาปฏิบัติเพื่อให้เทพเจ้าในท้องฟ้ามาประทานอัมตธรรมให้ เขาไม่รู้เรื่องฌานอะไร แม้นพระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ก็ปราถนาอัมตธรรมเช่นเดียวกัน เรื่องฌานนี้หากพระพุทธเจ้าได้ฌาน 8 มาแล้วในคืนที่จะตรัสรู้เหตุใดพระพุทธองค์จึงไประลึกถึงฌาน 1 ที่พระองค์ได้เมื่อ 7 ขวบ ทำไมไม่ระลึกถึงฌาน 8 ละก็พึ่งได้มาไม่นานนี้เอง ทั้งการเพ่งฌานที่ 1 ที่พระองค์ได้มานั้นก็ไม่ใช่ทางลมหายใจอีก แต่เป็นการเพ่งดูการแสดงพิธีแรกนาขรัญ ด้านลมหายใจนั้นพระองค์กระทำตั้งแต่บำเพ็ญทุกข์กิริยาแล้ว ตรงนี้เป็นส่วนที่หลวงปู่แสดงซึ่งรายละเอียดแต่ละอย่างมีมากแต่แสดงแต่สาระสำคัญแค่นี้
    แนวคิดส่วนตัวของผม การปฏิบัติจะต้องมีเพียงอย่างเดียวเท่านั้นเพราะเหตุว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้เพียงครั้งเดียว ตรงนี้หลวงปู่ก็ได้แสดงว่าการปฏิบัติมีเพียงอย่างเดียว แต่อธิบายไปไว้หลายนัยโดยพระปรีชาญาณของพระพุทธเจ้า
    ดังนั้นไม่ว่าฌานสมาบัติก็ดี มรรค8ก็ดี สติปัฏฐานสี่ก็ดี วิปัสสนาญาน9 ก็เป็นอย่างเดียวกันทั้งหมด แต่อธิบายไว้หลายนัยโดยพระพุทเจ้า เพื่อสะดวกแก่การสอนคนแต่ละจำพวกแตกต่างกันไปตามความเหมาะสม
    สิ่งเหล่านี้เป็นฐานแนวคิดในการปฏิบัติในปัจจุบัน ให้ท่านทั้งหลายนำไปพิจารณาดูเอาเองว่า อะไรถูกอะไรผิด ผมไม่ได้ให้ท่านทั้งหลายมาเป็นหรือเชื่ออย่างผม เพราะผมก็ไม่อาจจะเป็นอย่างใครๆเป็นได้เช่นกัน
    เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2014
  16. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .............อันที่จริง เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก เพราะ หลวงปู่ท่าน กล่าวสอนเรื่องการบรรลุธรรมเป็นอริยบุคคลโดยตรง........หรือการทำลายตัณหาอันเป็นทุกขสมุทัย ให้เป็นสมุจเฉทปหาน..........จขกท อาจจะทรงจำมาตกหล่น จึงถ่ายทอดผิดส่วนอยู่...ถ้าฟังหลวงปู่ท่าน กล่าว ว่า การเรียน ปริยัติบัญญัติ ย่อมมีความจำเป็น ให้เรียนรู้เรื่อง รูป นาม และบัญญัติต่างต่างให้ดี...จขกท จะ ได้ ตั้งเจตนาในการถ่ายทอดได้ ตรงตามเจตนาหลวงปู่ท่านมากกว่าครับ.....ทีนี้มาดูกัน ว่า ถ้า สมมุตินะครับสมมุติ การ ภาวนา ตามคำสอนพระพุทธวจะ เช่น การเจริญสติสัมปชัญญะ การรู้ก้าว เหยียด คู้เดิน นั่งนอน หรือ การเจริญสติ หรอ การเจริญอานาปานสติ พุทธานุสติ ธรรมมานุสติ อนุสติทั้งหลาย ศิล สมาธิ หรือ เรื่องอื่นอื่นที่มีสอนในพระไตรปิฎก หรือ ตำราที่ท่านว่านั้น ไม่สามารถทำลายตัณหาอันเป็นทุกขสมุทัยเป็นสมุจเฉทปหาน....แต่หลวงปู่ท่านไม่ได้กล่าวว่าสิ่งเหล่านี้เป็นการสอนผิดนะครับ...จะกล่าวว่าเป็น ปริยัติบัญญัติที่ต้องเรียนก็ว่าได้.........ขอให้ จขกท ลอง ทบทวนดู เจตนา ให้กระจ่างแจ้ง แล้ว ถ่ายทอดให้ ตรงจุด ครับ:cool:ปล. ผมก้ฟัง หลวงปู่ มา ครับ
     
  17. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ..........ในเมื่อปริยัติบัญญัติ ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องกลบ ตาม ที่หลวงปูว่า จำเป็นต้องรู้ก่อนนั้น ก็ ต้องเป็นเรื่องที่ถูกนะครับ ไม่ใช่เรื่องที่ผิด...(ผมฟังมา)..ส่วนเรื่องวิสุทธิมรรค ของพระพุทธโฆษาจารย์ นั้น ถ้า รู้จักคำว่า โยนิโสมนสิการ ก็จะเข้าใจ เจตนาได้ ...ไม่จำเป็นต้องไปจับ คำศัพทืทุกคำมาตีความ ไม่ว่า จะสอนเรื่อง กสิณ เรื่อง อสุภะ หรือ เรื่อง วิปัสณาญาน16ก้ตาม หรือ อภิธรรม ก็ ตามเราสามารถเรียนรู้และฟังถ้าโยนิโสมนสิการได้เข้าใจนะครับ ไม่ ยาก ครับ(คือ ใครชอบก็เรียน )ไม่ใช่การบังคับนะครับ........ต้องเข้าใจนะครับ หลวงปู่ท่านสอน เจตนาของผู้ต้องการบรรลุเป็นอริยบุคคล หรือ จะว่าท่านสอนผู้ปฎิบัติ อย่าง อุกฤติ หรือ จะว่า สอนพระก็ว่าได้ ต้อง เข้า เจตนานี้ให้ดี นะครับ:cool:
     
  18. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627

    ใช่ครับ หลวงปู่ท่านสอนผู้ที่ต้องการพ้นทุกข์ให้ได้ในชาตินี้จริงๆ วิธีการสอนจึงเน้นไปตรงจุดไม่อ้อมค้อมเป็นการปฏิบัติอย่างอุกฤติ ถ้าฟังดีๆสอนแต่เรื่องทุกข์กับวิธีการดับทุกข์เป็นหลัก
     
  19. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    ความเห็นส่วนตัวนะครับ ปริยัติที่ควรศึกษาให้เข้าใจถูกต้องถ่องแท้นั่น เชื่อว่าทุกท่านในที่นี้ก็มีความรู้ศึกษามาบ้างพอมควรแก่ตัวแล้ว. สำหรับผมนั่นผมเน้น 3 เรื่องนี้ซึ่งเป็นปรมัถธรรมที่ควรศึกษาให้ยิ่งเป็นพื้นฐานที่ควรเข้าใจให้ถูก. ีมีเรื่องรูป จิต เจตสิก พวกนี้คือเหตุแห่งทุกกับทุกข์ ส่วนเรื่องนิพพาน คือการดับเหตุแห่งทุกข์นั่นจะรู้ได้ด้วยการปฏิบัติให้ร(ุรู้เห็นจากการดับลงของนามรูปสติและปัญญา โดยต้องเข้าใจพื้นฐานเรื่องรูป. จิตและเจตสิกให้ถูกต้องเสียก่อนพอมาลองปฏิบัติดูจะรู้ได้เทียบเคียงกับพุทธบัญญัติไม่ผิดเพี้ยนซึ่งตรงนี้ตรงกับที่หลวงปู่สอนเทียบเคียงอ้างอิงได้ถูกต้องแม่นยำ เพราะผมฟังจนครบ413กัณฑ์หลวงปู่พูดตรงไหนอธิบายตรงไหนแต่ก่อนผมสงสัยหลายตอนพอฟังมาซ้ำๆตอนที่สงสัยกลับเริ่มเข้าใจในสิ่งที่หลวงปู่สอนปรากฏเป็นที่อัศจรรย์ในจิตใจยิ่งนักอีกทั้งลองปฏิบัติตามดูจึงยิ่งมั่นใจว่าถูกตามที่พระพุทธองค์สอนที่มีปรากฏในพระไตรปิฏกซึ่งมีมากมายหลายตอน
     
  20. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    คุณ ฐสิษฐ์ ปฏิบัติธรรมมาก่อนผมเกิดอีกนะครับ อนุโมทนาด้วยครับ

    เรื่องพระไตรปิฏกนั้น ผมไม่ทราบเหมือนกันคับว่าสูญหายไปมากน้อยเพียงใด ที่เท่าที่เหลืออยู่ในปัจจุบันผมว่าเพียงพอแต่การทำมรรคผลนิพพานได้แล้วครับ จริงๆผมว่าบทเดียวยังพอเลยครับ เอาจากประสบการณ์ของผมนะครับ ธรรมทั้งหลายที่เป็นใจความสำคัญ มีมากพอกันจริตของทุกๆคนนะปัจจุบันแน่ๆครับ แต่อยู่ที่ใครจะหยิบไปปฏิบัติหรือเปล่า แค่นั้นครับ

    ที่จริงพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้แล้วครับคุณ ฐสิษฐ์ ว่านิพพานมีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดยรอบ แต่ถ้าเป็นสติปัฏฐาน4 วิธีการนี้พระพุทธเจ้าเป็นคนบัญญัติไว้เอง แน่นอนว่าสติปัฏฐาน4นี้ เป็นการเจริญมรรคแปดครบทั้ง8 แบบสมบูรณ์ เพราะฉะนั้นถ้าเจริญมรรคแปด ยังไงก็ถึงนิพพาน ต่อให้อยาก หรือไม่อยากก็ถึง ส่วนมรรควิธีอื่นๆก็ถึงได้ครับ ถ้าคนที่ปฏิบัติเอาวิธีการที่ตนใช้ปฏิบัติอยู่เทียบลงมรรคแปดได้ ทางนั้นก็เป็นทางลาดเอียงไปสู่นิพพานเช่นกันครับ ผมว่าคนยุคเราไม่ค่อยได้มรรคผลกัน เพราะเหตุผลหลักๆ คือ หาแกนหลักไม่เจอ ปฏิบัติตามๆกันไป โดยไม่รู้เหตุผล อยู่ที่ผู้ถ่ายทอดต่อลงมา ไม่รู้แกน แกนที่จะไม่หลุดไปเน้นส่วนที่ไม่ควรเน้น และไม่เน้นส่วนที่ควรเน้น เพราะฉะนั้นทุกวิธีต้องเทียบลงในมรรคแปดผมกล้ายืนยันครับ ผมเชื่ออย่างแน่นอนครับว่าวิธีการของหลวงปู่ หลวงพ่อ ที่เป็นพระอริยะ ท่านบอกสอนเราไม่ผิด เพราะถ้ามองให้ออกวิธีของพระอริยะที่คนยุคเราเอามาปฏิบัติกันอยู่นั้น ตรงตามมรรคแปดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะร้อยแปดวิธีก็ตาม แต่ยุคเราเอามาเน้นกันผิดจุด ไปเน้นท่าทางกันในจุดย่อย ต้องทำให้ได้อย่างนั้น อย่างนี้เป๊ะๆ ทำให้คนปฏิบัติไม่เห็นภาพรวมว่าต้องทำอะไรกันแน่ ต้องเพียรละอกุศล และเจริญกุศล จากภายใน ล้างของเสียที่อยู่ในจิตออก แล้วใส่ของดีเข้าไปแทน ถึงบอกว่า ถ้าไม่เจริญมรรคแปด ไม่มีทางบรรลุธรรมได้ แต่ในยุคเราไปใส่ใจในท่าทาง ต้องนั่งท่านี้ ต้องเห็นนั่นเห็นนี่ ต้องเกิดญาณนั้น ต้องให้ได้ฌานนี้ ไปเน้นจนเป็นตัณหาเข้าไปทำ แต่ความจริงจะเกิดมรรคผลต้องทำให้พ้นเจตนา โดยไม่ต้องจ้องว่าจะต้อง ให้ได้ฌานโน้น ญาณนี้ แต่มันจะเกิดขึ้นไปตามเห็นปัจจัยที่เราทำเอง ถ้าเราเพียรเจริญสติปัฏฐานไป ญาณจะเกิดเอง ตอนจะบรรลุธรรมจิตจะเป็นฌานเองขึ้นกับเหตุปัจจัยรอบด้านของมันเอง โอ้!!กล่าวนอกเรื่องไปซะยาว สรุปนะครับถ้าเรามีความเพียรที่จะออกจากทุกข์มาก ผมว่าการกลับมาหาแกนหลัก ซึ่งพระพุทธเจ้าประกันไว้แล้วว่า ปฏิบัติสติปัฏฐานไม่เกิน 7 ปีจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ผมเชื่อว่าเป็นอย่างนั้นแน่ครับ ส่วนการตัดสินใจเป็นเรื่องของแต่ละบุคคลครับ ผมทำหน้าที่เพียงแนะนำในฐานะกัลยาณมิตรครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...