จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,936
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,936
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,936
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,936
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,936
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,936
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,936
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,936
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,936
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,936
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
  11. zipp

    zipp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +141
    @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
    . .
     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,936
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    พุทธานุสสติ เป็นกรรมฐานที่ง่ายมีแต่กำไร

    ..."การสร้างพระพุทธรูป นี่เป็นพุทธบูชาเป็น พุทธานุสสติ ในกรรมฐาน ๔๐ กอง ท่านบอกว่ากำลัง พุทธานุสสติเป็นเหตุให้เข้าถึงพระนิพพานได้ง่ายที่สุด ง่ายกว่ากองอื่น ก็เห็นจะจริง เพราะว่าพระพุทธเจ้าท่านอยู่ที่นิพพานนี่ และท่านก็เป็นต้นตระกูลของพระนิพพาน ใช่ไหม... ทีนี้ถ้าเราต้องการสร้างให้สวยตามที่เราชอบ เห็นแล้วก็ทำให้จิตใจสดชื่น จิตมันก็นึกถึงพระอยู่เสมอ ถ้าจิตนึกถึงพระพุทธรูปองค์นั้นอยู่เสมอก็จัดเป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน ถ้าใจเราเกาะพระพุทธเจ้าเป็นปกติ ตายแล้วลงนรกไม่เป็น ฉะนั้นถ้าหากโยมเห็นว่าพระที่ทำด้วยโลหะสวยกว่า ชอบมากกว่า โยมก็สร้างแบบนั้น"
    ."อาตมานี่เป็นคนเกาะ "พุทธานุสสติกรรมฐาน" เป็นอารมณ์ตลอดเวลา ถ้าวันไหนไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้าวันนั้นตายดีกว่า ทิ้งไม่ได้ไม่ยอม มันจะเป็นอย่างไร จะป่วยจะไข้จะปวด ยิ่งป่วยยิ่งหนักเกาะติดเลย ป่วยนิดเดียวไม่ยอมคลาย จิตไม่ยอมคลาดสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกว่าเราถือว่าเราเกาะพระพุทธเจ้าตายมันจะลงนรกก็เชิญ พระพุทธเจ้าท่านจะลงกับเราก็เอา ใช่ไหม ท่านคงไม่ยอมลงนะ"

    (คัดลอกบางตอนจาก หนังสือพ่อรักลูก หน้า ๑๕๑)
    ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกคนเมื่อตื่นใหม่ๆ ให้นึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน ถ้านึกไม่ไหวเอาพระที่คอนี่แหละ จะเป็น พระคำข้าว พระหางหมาก จะเป็นพระวัดไหนก็ตาม เขาทำเหมือนกันหมดแทนพระพุทธเจ้าเหมือนกันนะ อาราธนาท่าน

    อันดับแรกตั้ง นะโม แสดงความเคารพด้วยความจริงใจ หลังจากนั้นอธิษฐานตามความชอบใจ ต้องการซื้อง่ายขายคล่องก็ได้ รับราชการก็ได้ตามใจชอบ อย่าลืมว่า นั่นคือนึกถึง พระพุทธเจ้า ถือว่าเป็นบันใดขั้นแรกที่เราจะไปพระนิพพาน และนอกจากนั้นเราตั้งใจคิดไว้ว่า ถ้าเราตายเมื่อไหร่ขอไปนิพพานเมื่อนั้น เอาแค่นี้นะ

    ถ้ากลุ่มอื่นตาย กำลังใจมันไม่ถึงนิพพานใช่ไหม อย่างเลวก็ไปค้างบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลกอาจสูงกว่านั้นก็ได้นะ แล้วเวลาที่ตาย ใจมันไป ร่างกายมันอยู่ ใจที่อยากจะไปนิพพานนี่มันจะยังมีอารมณ์อยู่ ถ้าฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้าเพียงจบแค่เดียว อย่างน้อยก็เป็นพระ ไม่ใช่พระโสดาบันอย่างมัฏฐกุณฑลี เพราะของเราดีกว่า เรานึกถึงทุกวันใช่ไหม บุญทุกอย่างเราทำแล้ว นี่ถือว่าเป็นที่พักขั้น แรกของเรา หรือว่าบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกท่าน

    ถ้าหากว่านึกถึงพระพุทธเจ้าด้วย นึกถึงพระที่คอด้วย ขอลาภสักการะจากท่าน แล้วพร้อมกันนั้นเราคิดว่า ชีวิตนี้มันเต็มไปด้วยความทุกข์ ขึ้นชื่อว่าความทุกข์มาจากไหน มาจากการมีร่างกาย ถ้าเราไม่มีร่างกายอย่างนี้ เราก็ไม่มีทุกข์อย่างนี้ ขึ้นชื่อว่าร่างกายเลวๆ อย่างนี้จะไม่ขอมีอีกต่อไป เมื่อตายจากนี้แล้วขอไปนิพพาน ถ้าคิดอย่างนี้ทุกวันมันมีการสะสมตัว ถ้าตายวันไหนวันนั้นจะเป็นพระอรหันต์ไปนิพพานทันที นี่เวิธีใช้ง่ายๆ แบบนี้ญาติ หรือว่าบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกท่าน ถ้าหากว่านึกถึงพระพุทธเจ้าด้วย นึกถึงพระที่คอด้วยขอลาภสักการะจากท่านแล้วพร้อมกันนั้นเราคิดว่า ชีวิตนี้มันเต็มไปด้วยความทุกข์ขึ้นชื่อว่าความทุกข์มาจากไหน มาจากการมีร่างกาย ถ้าเราไม่มีร่างกายอย่างนี้เราก็ไม่มีทุกข์อย่างนี้


    (คัดจากหนังสือ ธรรมปฏบัติ เล่ม ๙ โดยพระราชพรหมยาน หน้า ๗๘)
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,936
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    พระพุทธองค์ทรงชมเชย และพยากรณ์


    (คำสอนหลังกรรมฐาน คืนวันที่ ๘ กพ. ๒๕๓๑ แล้วหลวงพ่อบอกว่า)

    ...พระท่านสั่งถึงญาติโยมทุกคนมีคนยืนข้างนอกไหม (มีเยอะครับ) ท่านบอกว่า ทุกคนจิตเข้มข้นมาก ข้างในก็ดี ข้างนอกก็ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้างนอกหนัก ไม่งั้นยืนไม่ไหว
    ท่านก็เลยบอกว่า "ทุกคนก่อนจะหลับ หรือตื่นใหม่ๆ ตั้งใจจำภาพพระพุทธรูป หรือคนที่เคยเห็นภาพพระพุทธเจ้าด้วยทิพจักขุญานนะ จับภาพพระพุทธเจ้าไว้ก่อนหลับหน่อยหนึ่ง หรือตื่นใหม่ๆ ไม่ต้องนั่งก็ได้ นอนก็ได้ นอนลืมตาดูท่าน หรือหลับตานึกถึงท่าน จะภาวนาก็ได้ แต่ห้ามภาวด่า นี่ท่านไม่ได้ห้ามนะฉันห้ามเอง ก็ถามท่านว่า มีผลอย่างไร ท่านบอก จะรู้ผลเองเมื่อตาย นี่ท่านพูดเองนะ

    ทีนี้ท่านย่า ท่านยืนกับแม่ศรี ท่านก็หัวเราะ ย่าบอก "คุณ ๑๐๐ เปอร์เซนต์"
    แต่ความจริงจับภาพพระพุทธเจ้านี่ดีนะ ฉันเคยไปหลับที่บ้านบนหลายหน ก่อนป่วยหนักฉันก็หลับอยู่บนบ้านนั้นแหละ บ้านสูง เดินเที่วไปเที่ยวมา อยู่บนนี้ดีกว่า เดี๋ยวไอ้ตัวล่างหลับแหงแก๋ไปแล้ว มันตัดกันนี่นะ มันหลับไปเราก็สบาย ลงโน่นนั่นแหละตี ๕ หรือไม่ก้ ๖ โมงเช้าสบายโก๋ ความจริงจิตเป็นสุขถ้าทำอย่างนี้ทุกวันนะ ผู้ได้มโนมยิทธิน่ะขึ้นไปเลย ถ้าก่อนนอนขึ้นไม่ไหว เช้ามืดตื่นปั๊บขึ้นไป ให้มันชินต่ออารมณ์ ถ้าชินต่ออารมณ์ก็มีความรักในสถานที่นั้น ถ้าเวลาจะตาย ใจมันไปที่มันรัก

    (คัดลอกบางตอนจากหนังสือธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๘๕ มีนาคม ๒๕๓๑ หน้า ๒๐-๒๑)
     
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,936
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    ตัวอย่าง ผลการเจริญพุทธานุสสติแบบง่ายๆ แต่มีผลมาก


    ญาติโยมทั้งหลาย วันนี้ก็เป็นวันที่สามของการเจริญพระกรรมฐาน วันนี้ก็ขอพูดแต่ละอย่างโดยย่อแต่พระสูตรจะยาว ความจริงพระสูตรมีความสำคัญมากเพราะเป็นเรื่องของบุคคลตัวอย่าง วันนี้ก็ขอพูดแต่ละอย่างโดยย่อแต่พระสูตรจะยาว ความจริงพระสูตรมีความสำคัญมากเพราะเป็นเรื่องของบุคคลตัวอย่างวันนี้ก็ขอแนะนำบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทให้รู้จักการฝึกสมาธิกำลังไม่ต้องมาก

    เพราะการฝึกสมาธินี่ความจริงไม่จำเป็นต้องใช้เวลามาก ไม่ต้องใช้กำลังมากนัก เพราะสมาธิแปลว่า การตั้งใจ ให้ใช้แค่อารมณ์เป็นสุข หรือฝึกโดยเฉพาะจะเอาอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีการทรงตัว ให้ได้การทรงตัวเรียกว่า ฌาน ถ้าอารมณ์ทรงตัวสมาธิแบบนั้นอย่างภาวนาว่า พุทโธ พอได้เวลาปั๊ปหายใจเข้า หายใจออกมันบังคับเองว่าภาวนาว่า พุทโธ อย่างนี้ชื่อว่า การทรงฌาน วันนี้ก็ขอแนะนำเฉพาะจุดของ พุทโธ ในเบื้องต้นนะ ในเบื้องปลาย อาจจะแนะนำในการจบของการเจริญกรรมฐานก็ได้สุดแล้วแต่เวลา คำว่า พุทโธ มีความสำคัญมาก การภาวนานี่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทอาตมาไม่กะไม่เกณฑ์ไม่บังคับใครนะ ถ้าท่านผู้ใดภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่งมีการคล่องตัวดีแล้ว แล้วก็มีการทรงตัวดี จิตใจเรียบหมายความว่า ไม่สะดุด แล้วก็มีอารมณ์แจ่มใสก็ให้ภาวนาอย่างนั้นไม่ต้องเปลี่ยน คำว่า พุทโธ นี่หมายถึงพระพุทธเจ้า ท่านจะภาวนาว่าพุทโธ หรืออย่างอื่นก็ตามใจ ผลที่จะเหมือนกัน ก็คือว่าก่อนจะภาวนาเรานึกถึงพระพุทธเจ้า อย่างทุกคนที่ฝึกมโนมยิทธิที่ภาวนาว่า นะมะพะธะ ขณะที่ภาวนาว่า นะมะพะธะ เราก็นึกถึงพระพุทธเจ้า บางท่านก็เห็นพระรูปพระโฉมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างนี้แม้ว่าจะภาวนาว่า นะมะพะธะ ก็เหมือน พุทโธ คือนึกถึงพระพุทธเจ้านั่นเอง หรือบางท่านภาวนาว่า สัมมาอะระหัง บ้าง อิติสุคโต บ้าง ยุบหนอพองหนอ บ้าง ทุกอย่างจะภาวนาว่าอย่างไรก็ตามถ้านึกถึงพระพุทธเจ้าถือว่าเป็น พุทธานุสสติ อานิสงส์เหมือนกัน แนะนำวิธีปฏิบัติกันก่อน ก็ขอได้โปรดไม่ต้องเครียด เอาอย่างนี้นะ ถ้าญาติโยมพุทธบริษัทที่มีเวลาน้อยให้ใช้การบังคับใจตัวเองครั้งละไม่เกิน ๑๐ รอบ คำว่ารอบก็หมายความว่า หายใจเข้า นึกว่า พุท หายใจออก นึกว่าโธ เป็นหนึ่งรอบ หรือหนึ่งจบ อย่างนี้ไม่เกินสิบใช้ได้

    แต่ว่าการบังคับไม่เกินสิบนี่ต้องบังคับให้ทรงตัวจริงๆ หมายความว่า เวลานี้เราต้องการจะภาวนาเราจะนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ก็บังคับใจว่าหายใจเข้าเรานึกตามว่า พุท หายใจออกนึกตามว่า โธ แต่ว่าเวลาหายใจหายใจตามสบายอย่าบังคับลมหายใจ ทำอย่างนี้คิดว่า เราจะทำอย่างนี้เพียงแค่สิบรอบ หรือว่าสิบครั้ง พุทโธสิบหน ในขณะที่เราจะภาวนาว่าพุทโธสิบหนนี่ เราจะไม่ยอมให้อารมณ์จิตคิดถึงอย่างอื่นเลย ถ้าบังเอิญจิตคิดฟุ้งซ่านก่อนที่จะครบสิบครั้งก็เริ่มต้นใหม่ ถ้าท่านทำอย่างนี้ทุกคนก่อนหลับนึกภาวนาว่า พุทโธ หายใจเข้า นึกว่า พุท หายใจออก นึกว่า โธ หรือว่าจะภาวนาอย่างอื่นก็ได้เอาแค่สิบครั้งให้ทรงตัวจริงๆ แล้วก็ปล่อยจิตให้คิดไปตามเรื่องตามราวไป ถ้าเวลาตื่นใหม่ๆ ยังไม่ต้องลุกจากที่นอน นอนแบบนั้นภาวนาอย่างนี้สิบครั้งรู้ลมหายใจเข้าออกด้วย ทำอย่างนี้ทุกวันอย่างช้าไม่เกิน ๓ เดือน กำลังของทุกท่านจะเป็นกำลังใจของผู้ทรงฌาน นั่นหมายความว่าจิตจะทรงสมาธิได้ดี........
    (กรุณาอ่านต่อข้างล่างค่ะ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2014
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,936
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    (อ่านต่อค่ะ)
    ทีนี้การจะทรงสมาธิได้นานหรือไม่นานไม่สำคัญ อย่าไปเร่งรัดเกินไป ถึงแม้จิตจะทรงสมาธิได้ไม่นาน คำว่า ฌาน ก็คือ อารมณ์ชิน ถ้าหากว่าจิตว่างจากอารมณ์อื่นจิตจะนึกถึง พุทโธ ขึ้นมาทันที โดยที่เราไม่ต้องบังคับอย่างนี้ชื่อว่าเป็น ผู้ทรงฌาน ถ้าเป็นผู้ทรงฌานแบบนี้ดี แบบไหนก็ต้องขอนำตัวอย่างมา ตัวอย่าง ที่จะนำมานี่ไม่ใช่ผู้ทรงฌาน เป็นคนที่มีบาปมาก แต่ทว่าก่อนจะตายคิดถึงพระพุทธเจ้านิดเดียว เมื่อตายแล้วไปสวรรค์ จากสวรรค์จะต้องลง อเวจี เป็นต้น แต่ก็ไม่ทันจะลงเพราะพบองค์สมเด็จพระทศพลคือพระพุทธเจ้า ฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้าจบเดียวเป็น พระโสดาบัน ตัดความชั่วทั้งหมดไปเลย

    นี่เป็นเรื่องย่อที่จะเล่าสู่กันฟังแต่ไม่ใช่เรื่อง มัฏฐกุลฑลีเทพบุตร ท่านไม่เคารพพระพุทธศาสนาจริง แต่เขาไม่ได้ทำความชั่วเขาไม่ได้ทำบาป แต่รายนี้ไม่เคารพพระพุทธศาสนาด้วยแล้วก็ไม่เคารพทุกๆ ศาสนา สำหรับมัฏฐกุลฑลีเทพบุตรนี่เขาไม่เคารพพระพุทธศาสนา แต่เขาเคารพศาสนาพราหมณ์ เพราะพ่อเป็นอาจารย์สอนวิชาของพราหมณ์ แต่รายนี้ยิ่งกว่านั้นไม่เคารพพระพุทธศาสนาด้วย ไม่เคารพทุกศาสนา แล้วก็กลั่นแกล้งคนที่บำเพ็ญบุญในพุทธศาสนาด้วย ฟังตัวอย่างต่อไปนะ

    ปรากฏว่ามีบุคคลคนหนึ่งชื่อในสมัยมนุษย์ชื่ออะไรอาตมาก็ลืม แต่ตอนที่เขาเป็นเทวดามีนามว่า สุปปติฏฐิตะเทพบุตร เรื่องราวก็เกิดขึ้นไม่นานนัก เกิดขึ้นในสมัยพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปโปรดพุทธมารดานั่นเอง สองพันปีเศษๆ ก็เป็นอันว่า ในสมัยนั้นเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปประทับที่ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ก็ตั้งใจจะเทศน์โปรดพุทธมารดา เป็นการสนองคุณความดีของมารดาที่สงเคราะห์พระองค์ เมื่อพระองค์ประทับอยู่ที่นั่นแสดงความประสงค์พระอินทร์ก็ไปเชิญพุทธมารดามาที่อยู่ชั้นดุสิต แต่ความจริง พุทธมารดา ท่านเป็น เทพบุตร ท่านเป็น ผู้ชาย จากเป็นผู้หญิงตายจากความเป็นผู้หญิงก็มาเกิดเป็นเทพบุตรเป็นผู้ชาย เพราะว่าท้องของบุคคลใดที่พระพุทธเจ้าเกิดท้องนั้นคนอื่นไม่ควรจะเกิดซ้ำ ฉะนั้นท่านจึงไปเกิดเป็นเทพบุตรว่า เทพบุตรองค์ที่พุทธมารดามาแล้วองค์สมเด็จพระประทีปแก้วก็แสดงพระธรรมเทศนาคือ เทศน์อภิธรรม ขณะที่พระพุทธเจ้าเทศน์อยู่เทวดาส่วนใหญ่ในดาวดึงส์ก็มาฟังมาก แต่ว่าคำว่า มาก ก็ยังไม่ถึงว่าหมดเพราะว่า เทวดาบางท่านก็ยังไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าเสด็จก็มีเพราะยังใหม่มากเพราะเพิ่งถึง

    เวลานั้นก็มีเทวดาองค์หนึ่งชื่อจริงๆ บาลีก็มาได้บอก เขียนไว้แต่เพียงว่าจริยาของท่าน ท่านให้ชื่อตามบาลีว่า อากาสจารีเทพบุตร เรียกว่าเทพบุตรที่เที่ยวไปในอากาศ เทวดาองค์นี้เมื่อฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้าครู่หนึ่งพอเป็นที่พอใจ ก็เหาะไปตามวิมานต่างๆ ประกาศว่า พ่อเอ้ย แม่เอ้ย ใครเป็นเจ้าของวิมานนี้บ้าง เวลานี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาเทศน์โปรดที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ขอทุกท่านไปฟังเทศน์จากองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถเพื่อ ต่อบุญบารมี เป็นอันว่าเทวดาก็ดีนางฟ้าก็ดีเมื่อทราบต่างองค์ต่างก็รีบมา แต่ว่าเทวดาองค์นี้เหาะไปถึงวิมานๆ หนึ่ง ปรากฏว่าวิมานนั้นมีสภาพเศร้าหมองมากเครื่องทิพย์เศร้าหมอง ดูเครื่องแต่งตัวเทวดาที่เป็นเจ้าของวิมานก็เศร้าหมอง มองดูอีกทีที่ รักแร้มีเหงื่อ ตามธรรมดาถ้าเครื่องทิพย์เศร้าหมองก็ดี ที่รักแร้มีเหงื่อก็ดีแสดงว่าเทวดาองค์นั้นจะต้องจุติ คำว่า จุติ คือ เคลื่อนไป ไปจากเทวดาจะไปเกิดที่ไหนยังไม่ทราบ เมื่อท่านอากาสจารีเทพบุตรเห็นดังนั้นก็เรียกว่า ใครเป็นเจ้าของวิมานนี้เวลานี้พระพุทธเจ้ามาเทศน์โปรดที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ตัวท่านเองทำไมไม่ไปฟังเทศน์ต่อบุญบารมีอีก ไม่ช้าไม่นานอีกไม่เกิน ๗ วันนี้ ท่านจะต้องจุติจากความเป็นเทวดาแล้ว เพราะเวลานี้เครื่องทิพย์ของท่านเศร้าหมอง เหงื่อไหลจากรักแร้ท่านจะต้องตายภายใน ๗ วัน ทำไมไม่ไปสั่งสมบารมีให้มันดีขึ้น ไม่ต่อบุญบารมีใหม่

    เวลานั้นถ้าเจ้าของ เมาความเป็นทิพย์ เพราะว่าการตายของท่านจากความเป็นคนท่านไม่ใช่นักบุญท่านเป็นนักบาป แต่ก่อนจะตายนึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านิดเดียว เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังตอนหลัง เป็นอันว่าเจ้าของวิมานฟังแล้วก็ตกใจมองดูเครื่องทิพย์เห็นเศร้าหมองจริง ดูที่รักแร้มีเหงื่อจริงก็สะดุ้งตกใจกลัวคิดว่าเราตายแน่ เทวดาก็ดีนางฟ้าก็ดีพรหมก็ดีท่านมีร่างกายเป็นทิพย์มีใจเป็นทิพย์ ถ้าท่านจะเคลื่อนจากที่นั่นท่านจะไปเกิดที่ไหนเพราะอาศัยกรรมอะไรท่านทราบ ท่าน สุปปติฏฐิตะเทพบุตร จึงมาคิดพิจารณาตัวเองว่าเราจะต้องจุติภายใน ๗ วัน ถ้าเราจะจุติจากความเป็นเทวดาแล้วเราจะไปไหน ก็ทราบจากกำลังใจที่เป็นทิพย์ว่าเราจะต้อง ลงอเวจีมหานรกสิ้นเวลา ๑ กัป พ้นจากอเวจีมหานรกแล้วก็ต้องผ่านนรกบริวารอีก ๔ ขุม เวลาไม่แน่นอน หลังจากนั้นก็ต้องว่านรกทั้ง ๘ ขุมจากอเวจีขึ้นมาถึงขุมที่ ๑ ผ่านนรกบริวารขึ้นมาเรื่อย หลังจากนั้นมาจากนรกขุมใหญ่แล้วก็ต้องเข้ายมโลกีย์นรกอีก ๑๐ ขุมเมื่อผ่านยมโลกีย์นรก ๑๐ ขุมแล้วก็ต้องเข้าแดนเปรตอีก ๑๒ จำพวก พ้นจากเปรตก็มาเป็นอสุรกาย พ้นจากอสุรกายก็มาเป็นสัตว์เดรัจฉาน พอจะสิ้นสุดภาวะสัตว์เดรัจฉานก็เกิดเป็น กา ๕๐๐ ชาติ เป็น แร้ง ๕๐๐ ชาติ เป็น สุนัขบ้า ๕๐๐ ชาติ หลังจากนั้นก็มาเป็น คนง่อย ๕๐๐ ชาติ ที่เป็นคนง่อยก็เพราะว่าอาศัยที่ตัวเองฆ่าสัตว์ตัดชีวิตโทษปาณาติบาต แล้วก็ไปเป็น คนหูหนวก ๕๐๐ ชาติ เพราะอาศัยกฎของกรรมเวลาที่เขาคุยกันด้านธรรมะธัมโมบ้าง ฟังเทศน์ฟังธรรมกันบ้าง ฟังพระสวดบ้าง แกล้งเอาเสียงกลบส่งเสียงดังคุยเสียดัง แล้วก็ต้องเป็น คนตาบอด ๕๐๐ ชาติ ก็เพราะเวลาเขาทำความดีกันทำบุญกันเห็นแล้วแกล้งทำเป็นไม่เห็น

    หลังจากนั้นเมื่อทราบว่า ตัวเองต้องเป็นแบบนี้ ก็มีการตกใจกลัวก็บอกท่านอากาสจารีว่า ท่านอากาสจารีช่วยเราด้วย อากาสจารีก็ถามว่า อะไรเล่าบอกกันเสียก่อนเพื่อนเอ๋ย ก็บอกว่า ถ้าฉันจุติจากความเป็นเทวดาต้องไปเกิดในเอวจีมหานรก เล่าเรื่อยมาตามลำดับตามที่กล่าวมาแล้ว หลังจากนั้นท่านอากาสจารีก็ถามว่า สมัยที่เป็นมนุษย์ทำอะไรไว้

    ท่านสุปปติฏฐิตะเทพบุตร ก็บอกว่า สมัยที่ฉันเป็นมนุษย์ฉันไม่เคยสร้างความดี ขึ้นชื่อว่า ทานการให้ก็ดี การรักษาศีลก็ดี เจริญภาวนาก็ตาม คำว่าเมตตาปรานีไม่เคยมี ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตตลอดเวลา ค้าขายมีความร่ำรวย แล้วต่อมาเวลาใกล้จะตายป่วยหนักทุกขเวทนาครอบงำมาก เวลานั้นเห็นภรรยานั่งใกล้ๆ เธอก็ช่วยบรรเทาทุกขเวทนาไม่ได้ เห็นบุตรธิดานั่งใกล้ๆ เธอก็ช่วยบรรเทาทุกขเวทนาไม่ได้ ทรัพย์สินทั้งหลายที่เป็นคนรวยก็ไม่สามารถจะช่วยให้ทุกขเวทนาคลายได้ จึงนึกในใจว่าสมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาคือพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก เขาลือกันว่า พระพุทธเจ้าใจดีเมตตาไม่ว่าใคร จึงนึกถึงองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาว่า มาช่วยให้หายโรค ความจริงเขาไม่ได้นึกด้วยความนับถือ มารูปเดียวกับมัฏฐกุลฑลีแต่มัฏฐกุลฑลีเขาไม่ทำบาป

    เป็นอันว่าขณะที่นึกถึงพระพุทธเจ้าขอให้มาช่วยนั่นเองเธอก็ตาย เพราะ บุญกำลังใหญ่ มีปริมาณน้อยบุญ ที่นึกถึงพระพุทธเจ้าน่ะมีกำลังใหญ่มาก บุญสูงมาก แต่ว่าปริมาณของบุญมีนิดเดียว หมายถึงว่า ทองคำมีค่าสูงแต่ว่าเรามีนิดเดียวมันก็ใช้ไม่ได้นาน ขายประเดี๋ยวก็หมด ใช้สตางค์เดี๋ยวก็หมด ฉันใดกำลังใหญ่ของบุญที่เป็น พุทธานุสสติ คือนึกถึงพระพุทธเจ้าของสุปปติฏฐิตะเทพบุตร มีนางฟ้าหนึ่งพันเป็นบริวาร นี่บุญใหญ่กำลังใหญ่แต่ว่าปริมาณน้อย ครองความเป็นสุขในความเป็นเทวดาไม่นานก็หมดบุญ เขาจึงบอกกับอากาสจารีเทพบุตรว่า ถ้าท่านไม่ช่วยผม ผมต้องลงอเวจีมหานรกแน่ อีกนานแสนนานหลายสิบกัป หรือหลายร้อยกัปจึงจะกลับมาเป็นคนได้ กว่าจะมาเป็นคนปกติกับเขาก็เสวยทุกขเวทนามาก ท่านอากาสจารีก็บอกว่า ท่านสุปปติฏฐิตะเพื่อนรัก เธอก็เป็นเทวดา ฉันก็เป็นเทวดาเราก็เป็นเทวดาเหมือนกันโอกาสที่จะช่วยกันมันเป็นไปไม่ได้ ฉันไม่มีวาสนาบารมีไม่มีกำลังพอที่จะช่วยเธอ แต่บุคคลที่จะช่วยเธอได้ก็เห็นจะมีอยู่องค์เดียวคือ พระอินทร์ ที่เป็นนายของเรา ทั้ง ๒ องค์ก็พากันไปเฝ้าพระอินทร์ขอให้ช่วย พระอินทร์ก็บอกว่า ฉันเป็นนายเธอก็จริงแหล่แต่ทว่าฉันก็แค่เทวดาเหมือนกันฉันก็ช่วยไม่ได้ ก็มีอยู่ท่านเดียวองค์นี้ถ้าช่วยได้ก็ได้ ถ้าองค์นี้ช่วยไม่ได้ก็ไม่มีใครช่วยได้นั่นคือ พระพุทธเจ้า เวลานี้พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ กำลังเทศน์โปรดพุทธมารดาเป็นการสนองคุณ ฉะนั้นพระอินทร์จึงได้พาเทวดา ๒ องค์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า

    พระอินทร์ก็กราบทูลให้ทรงทราบว่าเทวดาองค์นี้คือ สุปปติฏฐิตะเทพบุตร มีโทษแบบนี้มีกรรมแบบนี้ พระพุทธเจ้าทรงฟังแล้วก็ทรงพิจารณาว่า เราจะช่วยเทวดาองค์นี้ได้ไหม ก็ทรงทราบว่า ถ้าเทศน์อภิธรรมจะไม่ตรงกับอุปนิสัยของสุปปติฏฐิตะเทพบุตร เมื่อเทศน์ไปๆ ไม่ช้าไม่นานเท่าไรสุปปติฏฐิตะเทพบุตรก็จะหมดอายุจุติจากเทวดาลงอเวจีทันที องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงพิจารณาใหม่ว่าจะเทศน์อะไร อภิธรรมไม่ถูกใจจะเทศน์อะไรดี พระชินสีห์ก็ทรงทราบว่าถ้าเราเทศน์ อุณหิตวิชัยสูตร จะเป็นที่ถูกใจของเทวดาองค์นี้

    ฉะนั้นองค์สมเด็จพระชินสีห์จึงได้หยุดพระอภิธรรมชั่วคราวเดี๋ยวเดียว แล้วเทศน์อุณหิตวิชัยสูตร พอเทศน์จบก็ปรากฏว่า สุปปติฏฐิตะเทพบุตรก็ดี อากาสจารีหรือเทวดาอีกหลายๆ องค์ก็ตาม เมื่อฟังจบแล้วต่างคนต่างก็บรรลุมรรคผลมีพระโสดาบันเป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุปปติฏฐิตะเทพบุตรเป็น พระโสดาบัน ทันที เมื่อเป็นพระโสดาบันก็เป็นเวลาพอดีที่จะต้องจุติ เธอก็ตายจากความเป็นเทวดาแล้วก็เกิดเป็นเทวดาทันที ชั่วพริบตาเดียว ตายปุ๊ปเกิดปั๊ปที่นั่นเองเป็นพระโสดาบัน ก็เป็นอันว่ากฎของกรรมทั้งหลายที่ทำลายศีลก็ดี ทำลายธรรมก็ดีที่จะมีโอกาสให้สุปปติฏฐิตะเทพบุตรลงอบายภูมิต่อไปไม่มี เหลือทางเดียว ทางที่เขาจะต้องเดินต่อไปเข้าถึงพระนิพพาน

    นี่แหละบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท เรื่องนี้ที่นำมาพูดเรื่องนี้ทีมีการร้ายแรงมากเพราะ สุปปติฏฐิตะเทพบุตร ไม่เคารพพระพุทธศาสนาด้วย และไม่เคารพทุกๆ ศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาทุกศาสนาต่างก็มีความดีเขายังทำความดีกัน ถึงแม้บางศาสนาที่มีความดีไม่ถึงนิพพานเขาก็สามารถไปสวรรค์ได้ ไปพรหมได้ ยังมีความดี แต่ว่าสุปปติฏฐิตะเทพบุตรไม่ยอมสร้างความดีทุกอย่าง ทำบาปวันดีไม่ละวันพระไม่เว้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปาณาติบาตก็ชอบ อทินนาทานก็ชอบ กาเมสุมิจฉาจารก็ชอบ มุสาวาทก็ชอบ การดื่มสุราเมรัยก็ชอบ ชอบหมดครบถ้วนบริบูรณ์ ขาดความเมตตาปรานี

    แต่ว่าก่อนจะตาย เขานึกถึงพระพุทธเจ้าหน่อยเดียวก็เป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลกได้ ทีนี้การนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน ถ้าจะถามว่า สุปปติฏฐิตะเทพบุตรภาวนาว่า พุทโธ หรือเปล่า ก็ต้องขอตอบว่าเปล่า เขาไม่ได้ภาวนาว่าพุทโธ แต่เขาคิดแต่เพียงว่าเวลานี้เขาลือกันว่าพระพุทธเจ้าใจดีเมตตาปรานีไม่เลือกบุคคล ไม่เลือกคณะ ใครมีทุกข์พระพุทธเจ้าทรงสงเคราะห์ให้มีความสุข เวลานี้เรามีทุกข์มาก พอมีทุกขเวทนาทางกายป่วยไข้ไม่สบายอาการเครียดจัด ขอให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาช่วยให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ นี่เขานึกเพียงแค่ให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ แต่ว่าเป็นเวลานั้นพอดีเขาบังเอิญตาย เพราะอาศัยที่กำลังนึกถึงพระพุทธเจ้าเราเรียกกันว่า พุทธานุสสติ ตามภาษาบาลี นึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์แต่เวลาน้อยเหลือเกิน เวลาของเขานึกถึงพระพุทธเจ้าน้อย แต่ถึงจะมีเวลาน้อย แต่กำลังที่นึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ก็เป็นบุญใหญ่ เพราะอาศัยที่เป็นบุญใหญ่เขาไม่เคยสร้างวิหารทานเขาก็มีวิมานได้ เขาไม่เคยให้ทานเขาก็มีวิมานได้ มีเครื่องประดับเป็นทิพย์ได้ มีร่างกายเป็นทิพย์ได้ เพราะอะไร เพราะอำนาจของ พุทธบารมี

    ทีนี้พวกเราเหล่าพุทธบริษัท เวลานี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายส่วนใหญ่หวังจะไปนิพพาน เราก็ต้องกันกันไว้ก่อนว่าเราจะไปนิพพานชาตินี้ได้หรือไม่ได้ยังไม่แน่ ถึงแม้ว่าจะไปได้แน่ก็ต้องกันกันไว้ก่อน สำคัญคือ
    ๑. ทานต้องมี ทานการให้เป็นปัจจัยให้มีทรัพย์สินในชาติข้างหน้าจะร่ำรวย เราจะไปนิพพาน เราจะไม่มีโอกาสรวยก็ช่างมัน หวังว่าบังเอิญถ้าไปไม่ได้เราต้องรวยไว้ก่อน

    ๒. ศีล เป็นปัจจัยให้มีร่างกายมีความอุดมสมบูรณ์ คนที่รักษา ศีลบริสุทธิ์ จะมีร่างกายสมบูรณ์แบบทุกอย่างครบอาการ ๓๒ ถ้ามีจิต เมตตามาก จะมีความสวยมาก และก็จะไม่ค่อยมีโรคภัยไข้เจ็บรบกวน มีอายุยืนนาน นี่เรื่องของศีล

    เรื่องของ ภาวนา ก็เป็นเหตุ ถ้ายังไปนิพพานไม่ได้ก็ เป็นคนมีปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำแล้วก็ตั้งใจว่าการตายคราวนี้ เราขอตายครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายขึ้นชื่อว่าร่างกายอย่างนี้จะไม่มีต่อไปอีก เมื่อตายครั้งสุดท้ายก็ไม่เกิดมาเพื่อตายใหม่ อันนี้อย่าลืมนะ ตัวนี้เป็น วิปัสสนาญาณสูงมาก ใช้ศัพท์ง่าย แต่เป็นกำลังวิปัสสนาญาณตัวสุดท้ายคือ ตัดอวิชชา ไม่ใช่ต้องไปนั่งไล่เบี้ยตามหนังสือเรื่อยเปื่อย เอาง่ายๆ ตัดสินใจให้มันแน่นอนว่าการตายของร่างกายครั้งนี้ ถือว่าเป็นการตายครั้งสุดท้าย เพราะร่างกายที่มีอยู่ปรากฏว่ามีแต่ทุกขเวทนาทุกวัน ทุกขเวทนามีอะไรบ้างก็นั่งนึกตามความเป็นจริง

    ๑.ตื่นขึ้นมาแล้วมันหิว ความหิวก็เป็นทุกข์ ทุกข์ตัวแรกเมื่อตื่นใหม่ๆ ก็เกิดจากการปวดอุจจาระปัสสาวะมันก็เป็นทุกข์เป็นประจำวัน

    ๒.การป่วยไข้ไม่สบายก็เป็นอาการของความทุกข์

    ๓.ความปรารถนาไม่ค่อยจะสมหวังเราตั้งใจอยากได้อะไรไม่ได้อย่างนั้นสมความตั้งใจ มันก็เป็นทุกข์

    ๔.การพลัดพรากจากของรักของชอบใจ มันก็เป็นทุกข์

    ๕.ความตายจะเข้าถึง มันก็เป็นทุกข์

    ทั้งหมดนี้อาศัยใคร ใครเป็นเหตุให้เราทุกข์ ท่านผู้นั้นคือ ร่างกายทุกข์มันเกิดจากการมีร่างกายอย่างเดียว ในเมื่อร่างกายอย่างนี้มันเป็นทุกข์อย่างนี้ เราก็ไม่ต้องการมันอีก เราต้องการจุดหมายปลายทางนั่นคือ นิพพาน ถ้าญาติโยมพุทธบริษัทคิดอย่างนี้ทุกวัน แม้จะเป็นเวลาเล็กน้อยก็ไม่สำคัญ ตื่นขึ้นมาจะเป็นเวลาไหนก็ได้คิดอย่างนี้เสียก่อนแล้วก็ภาวนา คำว่าภาวนาจะภาวนาว่าอย่างไรก็ไม่ว่า ให้นึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน ถ้านึกถึงพระพุทธเจ้าก่อนจะภาวนาว่าอย่างไรก็เหมือนกัน ถือว่าเป็น พุทธานุสสติ ถ้าเป็นอย่างนี้คิดจนชินสมมุติว่าชาตินี้ถ้าเราจะตายจริงๆ ถ้าญาติโยมคิดอย่างนี้ทุกๆ วัน จะเป็นวันละเล็กน้อยก่อนหลับวันละ ๒ นาที ตื่นใหม่ๆ สัก ๓ นาที ทำอย่างนี้ทุกวัน ต่อไปไม่ช้าไม่นานนัก ถ้าถึงเวลานั้นญาติโยมไม่ได้คิดตามนี้จะมีการไม่สบายใจ ต้องคิดเสียหน่อยนึกเสียหน่อยตามปกติ ถ้าเป็นอย่างนั้นแสดงว่าท่านเป็นฌานในด้านนี้ แล้วจิตเป็นฌานอย่างนี้ขอยืนยันว่าลงนรกไม่ได้แน่

    ทีนี้เวลาที่จะตายให้สังเกตตามนี้ ถ้าหากว่าจะไปนิพพานได้ทุกคนจะเห็นพระพุทธเจ้าสวยงามมาก อยู่ใกล้ท่านหรือเห็นพระอรหันต์อยู่ใกล้ อันนี้ต้องเห็นทุกคน ขอยืนยันว่าเห็นทุกคนถ้ายังไม่เห็นพระพุทธเจ้า ยังไม่เห็นพระอรหันต์ หรือเทวดา หรือพรหมก็ตาม เวลานั้นมันยังไม่ตายป่วยหนักยังไงก็ยังไม่ตาย ถ้าเวลาจะตายจะต้องเห็น ถ้าเห็นพระพุทธเจ้า หรือ พระอรหันต์อยู่แนวหน้า ข้างหลังเป็นเทวดากับพรหมอย่างนี้ ท่านไปนิพพานกันแน่

    ถ้าบังเอิญมีเทวดาหรือพรหมอยู่ข้างหน้าอย่างนี้ ยังไม่ไปนิพพาน อย่างนี้ถ้าตายแล้วต้องเป็นเทวดา เป็นพรหมหรือเป็นนางฟ้า แต่ก็ไม่ใช่ของแปลกถ้าเป็นเทวดาก็ตาม เป็นนางฟ้าก็ตามเป็นพรหมก็ตาม อีกไม่นานนัก พระศรีอาริย์ ก็ตรัส เราก็ฟังเทศน์จากพระศรีอาริย์เพียงแค่จบเดียวอย่างต่ำก็เป็นพระโสดาบัน แต่ความจริงถ้าบำเพ็ญบารมีกันอย่างนี้เขาไม่เป็นพระโสดาบันกันหรอกนะ ถ้าสมมุติว่าเรายังไม่ได้นะตายจากความเป็นคนเป็นเทวดา เป็นนางฟ้าฟังเทศน์จากพระศรีอาริย์แล้วเป็น พระโสดาบัน ก็ซวยเต็มที อย่างนี้อย่างเลวต้องเป็น อนาคามี เป็นอย่างน้อย เพราะบารมีถึงแล้ว หลังจากนั้นก็ต่อบุญบารมีของเราเรื่อยขึ้นไปจนถึงนิพพาน เป็นอันว่าร่างกายประเภทนี้ที่เราไม่ต้องการไม่ต้องพบมันอีก เป็นอันว่าหมดเวลาพอดี ขอทุกท่านตั้งใจ

    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
    (ลพ. ฤาษีลิงดำ)


    https://sites.google.com/site/sphrathewtheph/Home-10
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2014
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,936
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    relax เพลงสมาธิ รุงอรุณ

    https://www.youtube.com/watch?v=MpNpBbxonPY


    ขอให้เจริญในธรรมและปลอดภัยจากภัยพิบัติทุกๆท่านค่ะ
     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,936
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    ดูเกิดดับให้ติดต่อเพื่ออบรมบ่มปัญญาให้แก่กล้า
    โดย ท่าน ก.เขาสวนหลวง
    การ มีสติติดต่อจะต้องเป็นข้อสังเกตได้ว่า การกระทบผัสสะก็ดี หรือว่าการอยู่สงบที่จะได้เป็นการอ่านภายในก็ดี มันล้วนแต่ว่าเราจะต้องรักษาหลักจิตปกติ แล้วก็สังวรด้วย ถ้าว่ามีการสังวรอยู่ได้ติดต่อ จิตนี่ก็เป็นปกติได้เป็นส่วนมาก

    การพิจารณาจิตในจิตนี่ ก็เป็นสิ่งที่จะต้องพยายามอยู่ทุกอิริยาบถ ขณะนั่ง ยืน เดิน นอน จะต้องพยายามให้ติดต่อ ถ้าว่าการพิจารณาจิตในจิตให้ติดต่อได้อย่างเดียว มันเป็นเครื่องอ่านอยู่ภายใน หรือผัสสะจะมีการกระทบ มันก็แค่เกิด - ดับ อ่านอยู่ภายใน หรือผัสสะจะมีการกระทบ มันก็แค่เกิด - ดับ

    ทีนี้เกิด - ดับภายในกับเกิด-ดับภายนอก เช่น ตาเห็นรูป หูฟังเสียง นี่มันเกิด - ดับผัสสะภายนอก

    แต่เราจะต้องพยายามรู้ภายใน ที่มันมีความรู้สึกขึ้นมาภายในจิตนี่

    ถ้าว่ารู้จิตในจิตให้ติดต่อแล้ว ผัสสะภายนอกมันก็แค่เกิด - ดับไปตามธรรมดา

    เราจะสังเกตได้ ขณะไหนที่ความรู้ภายในมันเผลอมันก็รับผัสสะ มันเผลอออกไป ถ้าเผลอในระยะสั้น ก็ยังไม่มีทุกข์โทษอะไรนัก แต่ถ้ามันเผลอไปในระยะยาวนี่สิ มันเป็นความเพลิดไปยึดถือ ไปจำ ไปหมาย ไปคิดอะไรขึ้นติดต่อไปยาวๆ นั้นต้องพยายามหยุด คือว่าหยุดในระหว่างที่มันคิดอะไรไปยาวๆ

    ถ้าว่าเป็นการรู้เกิด - ดับได้ มันก็หยุดได้เร็ว คือว่าเกิดขึ้น - ตั้งอยู่ - ดับไป นี้มันก็เป็นการตัดเรื่อง ที่จะให้จิตนี่มันกลับมารู้พิจารณาจิตเสียใหม่ แล้วความรู้สึกอย่างนั้นมันก็ดับสลายตัวไป มันไม่ปรุงต่อ มันไม่ติดต่อ เรื่องมันก็หยุด มันก็สงบได้

    ทีนี้เราจะต้องพยายามสังเกตดูให้ดีว่า การรู้เกิด - ดับเฉพาะหน้าปัจจุบันนี้ มันจะทำให้การปรุง การคิด การจำหมายอะไร ไม่ยืดยาว พอว่ารู้สึกแล้วก็ดับแค่ความจำ ไม่นำมาคิดต่อปรุงต่อ นี่เป็นการหยุดได้ทันที

    เหมือนอย่างกับเราหยุดรู้อยู่เดี๋ยวนี้นะ จิตนี่ กำลังพูดอยู่นี่ กำลังรู้อยู่นี่ พูดออกไปคำหนึ่ง มันก็เกิด - ดับอยู่ในคำพูดแล้วได้ยิน มันก็เกิด - ดับอยู่

    ทีนี้ถ้าว่าเรารู้ลักษณะเกิด - ดับเฉพาะหน้าปัจจุบันแล้ว จิตนี้มันจะไม่ไปไหนเลย มันจะรู้อยู่สงบอยู่ได้ติดต่อ แม้ว่ามันจะมีความจำหมายอะไรขึ้นมาคิด พอว่ารู้ว่ามันเกิด - ดับ มันก็หยุด ! หยุดแค่นี้ ไม่มีเรื่องอะไรดีชั่วที่จะปรุงออกไปยืดยาว หยุด ! หยุด ! หมดเลย

    ทีนี้ที่หยุดบ่อยๆ นี่เอง จิตนี่จะมีโอกาสพิจารณาจิตในจิตได้รายละเอียด แล้วสังเกตดูว่า ถ้าว่ามันไม่ได้หยุดดูหยุดรู้ภายในแล้ว จิตนี่ก็ฟุ้งซ่าน คือว่าถูกปรุง ถูกความจำหมายอะไรขึ้นมา แล้วก็คิดต่อไป ยืดยาวไป

    ทีนี้เราสังเกตได้นะว่า การมีสติติดต่อนี่ มันต้องติดต่อแบบนี้ ที่ว่ารู้เกิด - ดับเฉพาะหน้าปัจจุบัน

    เอาให้มันรู้อยู่ให้มากทีเดียว ความเผลอเพลินน้อย ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เผลอเพลินเสียเลย แต่ว่าเมื่อมีสติรู้เกิด - ดับอยู่เฉพาะหน้าแล้ว ความเผลอเพลินจะน้อยลง จิตจะมีโอกาสหยุดแล้วก็พิจารณาจิตในจิตให้ละเอียดเข้าหน่อย จนกว่าสติหรือความรู้นี่ จะมีการรู้ประจักษ์ชัดในความเกิด - ดับภายใน

    แล้วก็เป็นข้อสังเกตดูว่า การอบรมจิตภาวนาที่เราพยายามกำหนดรู้จิต พิจารณาจิตนี่นะมันจะทำให้เกิดสติปัญญาขึ้นมารู้เห็นความจริง ในเรื่องความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของของเรา

    ทีนี้การที่จะรู้ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์นี่ต้องรู้ให้จริง ถ้าว่ารู้ไม่จริงแล้ว ที่ว่าไม่มีตัวเรา ไม่ใช่ของของเรานี่ ก็ยังไม่รู้เรื่อง

    ฉะนั้นมันต้องรู้เรื่องนี้เสียก่อน เพราะว่ามันไม่เที่ยงนี่น่า แล้วมันก็เป็นทุกข์อยู่ในตัวความไม่เที่ยง พออ่านอันนี้ชัดว่าไม่เที่ยงจริง เป็นทุกข์จริง แล้วความไม่มีตัวตนก็ต้องเห็นตามขึ้นมาด้วย

    ถ้าว่าอันนี้ยังไม่ชัดแล้ว ก็ยังไม่เห็น เพราะมันยังมีความยึดถืออยู่ แล้วความรู้สึกที่ยังไม่แจ่มแจ้งในเรื่องความไม่เที่ยงจะต้องทบทวนดู ดูความรู้สึกในขณะที่รับผัสสะก็ได้ หรือว่าในขณะไหนที่เราไปจำ ไปคิดอะไรขึ้นมาก็ได้ หรือว่าขณะปัจจุบันที่ตาเห็นรูป หูฟังเสียง ก็กำหนดรู้เกิด - ดับก็ได้

    ตกลงว่ามัน ต้องรู้เกิด - ดับทางผัสสะที่เป็นภายนอก แล้วก็รู้เกิด - ดับผัสสะที่เป็นภายใน ที่เป็นความจำความคิดอะไรขึ้นมา นี่เป็นสองลักษณะ แล้วก็รวมลงว่าเป็นลักษณะอย่างเดียวกัน คือว่าความรู้สึกภายในมันเกิดขึ้น แล้วความรู้สึกนั้นดับไป

    หรือว่าเสียงที่สัมผัส ที่เป็นภายนอกมันก็เกิด - ดับไปตามเรื่องของภายนอก แต่เราก็กำหนดรู้จิตเพราะว่ามันต้องรวมรู้อยู่ที่จิตดีกว่า ถ้าว่าไปเอาเรื่องภายนอกแล้ว จิตนี่จะฟุ้งซ่านไป

    ถ้าว่าเรื่องเฉพาะกิจ กำหนดรู้จิต พิจารณาจิตอยู่เป็นประจำทำให้มากแล้ว อย่างนี้มันทำให้เกิดสติปัญญาขึ้นมาให้รู้เห็นความจริงได้ง่าย แล้วสังเกตได้ ในขณะที่จะเผลอเพลินไปกับอะไร แล้วขณะที่มีสติติดต่ออยู่ รู้จิตในจิต พิจารณาจิตเกิด - ดับ, เกิด - ดับ ดูมันเฉยๆ เกิด - ดับ, เกิด - ดับนี่ ไม่มีเรื่องอะไร แล้วจิตนี่ก็ไม่ไปไหน ไม่แส่ส่าย ไม่ฟุ้งซ่าน

    การรู้จิตในจิตให้ติดต่อเป็นตัวประธานนี่ จะอ่านออกไปในตัวเอง จะอ่านกายก็ได้ เวทนาก็ได้ สัญญา สังขารอะไรก็รวมอยู่ที่จิตนี่ ถ้ารู้จิตให้ติดต่อแล้ว ก็ยืนหลักอย่างนี้ให้ติดต่อให้ได้ทุกอิริยาบถ มันจะดับทุกข์โทษ ดับกิเลส ตัณหา อุปาทาน พร้อมอยู่ในนี้เสร็จ

    ข้อสำคัญว่าต้องพยายามให้มาก เพราะว่าจิตนี่มันมีการไหวรับอารมณ์ง่ายในขณะผัสสะกระทบ แล้วเราจะควบคุมอย่างไรดีก็ต้องรักษาอินทรียสังวร คือว่าสำรวมตา สำรวมหู สำรวมจมูก สำรวมลิ้น สำรวมกาย สำรวมใจ

    ที่สำรวมๆ นี่ มันก็มารวมสำรวมอยู่ที่จิตนั่นเอง แล้วสังเกตได้ว่า จิตที่มีสติอยู่แล้วทวารทั้งห้านี่มันก็สงบได้ มองเห็นรูปเฉยๆ ได้ หูฟังเสียงเฉยๆ ได้ จมูกได้กลิ่น ลิ้นรู้รส กายได้รับสัมผัสผิวกาย มันก็วางเฉยได้ เพราะว่าสังวรนี่มันเป็นเครื่องกั้น แล้วก็พิจารณาประกอบด้วย มันก็เป็นเครื่องตัดรอนไม่ให้ไปยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง ปล่อยวาง

    เพราะว่าการปล่อยวางนี่นะ จะต้องรู้ให้ชัด ในขณะที่รู้ขึ้นมาในลักษณะเกิด - ดับ ถ้าว่ารู้ชัดแล้ว มันไม่ยึดถืออย่างหนึ่ง หรือว่าไปยึดถือหยิบฉวยเอามาแล้ว พอรู้ขึ้นมาก็ปล่อยไปปล่อยวางไป นี้อย่างหนึ่ง เป็นสองลักษณะ คือว่าขณะที่มันรู้เกิด - ดับ แล้วมันก็หยุดกันแค่นั้น มันไม่ยึดถือแล้วนะ

    ทีนี้มาขั้นที่สอง มันยึดถือขึ้นมาแล้ว แต่พอรู้แล้วมันก็ปล่อยวางได้ ต้องสังเกตดูนะ แล้วก็จะรู้ว่าที่มันรู้เฉยๆ แล้วไม่ยึดถือนี่ก็ไม่มีเรื่องอะไร แต่ขณะไหนเผลอไปนิดเผลอไปหน่อยอะไร เพลินไปนี่ ไปยึดถือเอามาแล้ว แต่ว่าเร็ว ปล่อยได้เร็วละก็ได้

    ต้องเอาผลตรงที่ปล่อยได้เร็วขึ้น ไม่ต้องมาลูบคลำ หรือกันความฟุ้งซ่าน รู้อยู่ เห็นอยู่ สงบอยู่ พิจารณาประกอบอยู่แล้ว มันก็ไม่มีทุกข์โทษอะไรขึ้นมา หรือมีก็ในระยะแรกพอว่ามันเกิดอะไรขึ้นมา ก็รู้ดับ ไม่เอาเรื่อง ไม่คิดว่านี่มันเป็นเรื่องอะไร จะต้องไปซักไซ้ไต่ถามอะไรกัน ก็ไม่ต้องหยุด ดับมันแค่นั้น ปล่อยมันแค่นั้น วางมันแค่นั้นละก็ได้

    นี่สติมันทันกัน เพราะว่ามีสติสำรองอยู่แล้ว แต่ถ้าว่ามันเผลอๆ เพลินๆ แล้วนะ บางทีมันอาจจะช้าไป คือว่าสติที่จะมารู้เกิด - ดับมันช้าไป ทีนี้ถ้ามันช้าอย่างนี้ พอรู้ขึ้นมาก็ว่า เกิด - ดับ เอาปากว่าไปก่อนก็ได้นะ "เกิด - ดับ" จนกว่าสติมารู้จริงๆ ว่า เกิดแล้วก็ดับ แล้วก็ปล่อยมันแค่นั้น หยุด ! หยุดนิ่ง ! หยุดนิ่ง ! เป็นปกติ นี่ต้องพยายามอย่างนี้นะ แล้วมันละตัณหาได้

    ตัณหามันก็เกิด - ดับเหมือนกัน เกิดแล้วมันก็ดับเหมือนกัน แต่ถ้าไม่รู้แล้วมันปรุงจิตดิ้นรนกระวนกระวายใหญ่เกิดใหญ่ดับใหญ่ ไปเป็นเรื่องเป็นราวอะไรมากไป ทีนี้หยุด ! รู้หยุด ! รู้หยุด ! รู้หยุด ! บ่อยๆ เข้านะ กำลังของสติก็มากขึ้น

    นี่ต้องใช้ความสังเกตให้รู้แยบคายของตัวเอง มันถึงจะดับทุกข์ดับกิเลสให้ถูกจุดหมายได้ ไม่ต้องมีเรื่องปรุงเรื่องคิด เรื่องจำอะไรมามากมายนัก ไม่ต้องฟุ้งซ่านไป เอาให้มันตรงจุดที่มันเกิดแล้วมันก็ดับ แต่ต้องมีสติแนบแน่น จิตต้องมีการสงบเป็นพื้น อย่าให้ฟุ้งซ่าน แล้วถึงจะรู้เกิด - ดับละเอียด

    อาศัยจิตที่ได้ฝึกมีสติให้ติดต่ออยู่ทุกอิริยาบถนั่นเอง และสังวรอินทรีย์อยู่ทุกอิริยาบถด้วย มันก็เลยช่วยให้จิตสงบรู้ตัวเองได้เป็นส่วนมาก แล้วก็หยุดดูหยุดรู้ให้ลึกซึ้งเข้าไปอีกจะได้ไหม

    การหยุดดูหยุดรู้แค่ปกตินี่ก็ยังเป็นขั้นหนึ่ง ยังไม่ละเอียดยังไม่ลึกซึ้ง ทีนี้การหยุดดู หยุดรู้เข้าไปให้ซึ้ง มันน่ามอง มองให้ซึ้งเข้าไป การเกิด - ดับที่ซึ้งๆ นี่นะ มันก็เกิด - ดับไปตามธรรมชาตินั่นเอง ดูไปรู้ไป แล้วมันไม่ได้ดูรู้อยู่อย่างเดียว มันพิจารณาประกอบด้วย ตัวรู้นั่นแหละเป็นตัวพิจารณา แต่ว่าไม่ได้พิจารณาเป็นคำพูดเป็นความคิด ถ้ามันดูแล้วก็รู้ว่าดับไปๆ ดูอยู่เฉยๆ หัดดูให้มันรู้นะว่าไม่ต้องพูดไม่ต้องคิด หรือว่าคิดนั่นก็เกิด - ดับ พูดนี่ก็เกิด - ดับ จับใจความให้ได้ว่าทุกสิ่งเกิด - ดับไปตามธรรมชาติ ก็แล้วกัน

    ทีนี้ก็ถึงเวลาที่จะรวบรวมสติเข้ามารู้จิต พิจารณาจิต เพราะว่าจิตที่มีสติติดต่อมาเป็นความคุ้นเคยมากแล้วนะ ทีนี้พอนั่งตั้งกายตรงดำรงสติมั่นก็พร้อมแล้ว พร้อมที่จะรู้แล้ว พร้อมที่จะกำหนดรู้จิต พิจารณาจิตได้ในขณะนี้ทีเดียว

    ความรู้ที่มันรู้เกิด - ดับ ที่เป็นการกระทบผัสสะ แล้วจิตนี่ไม่ออกไปหมายดีชั่วอะไร มันก็วางเฉยได้ ถ้ารักษาหลักนี้เอาไว้วางเฉยเป็นปกติ แล้วผัสสะมันก็เกิดเองดับเอง ไม่ออกไปมีความหมายดีชั่วอะไร จิตนี่มันก็สงบได้ แต่ว่าสงบขึ้นนี้เป็นการสงบชนิดที่ไม่ยินดียินร้ายต่อผัสสะ แต่ว่ามันก็ระงับนิวรณ์ได้ แล้วก็ตลอดชั่วโมงนี้ คงดำรงสติอยู่ รู้อยู่ได้ภายในผัสสะภายนอกเกิด - ดับ ส่วนภายในที่มันมีความรู้สึก มันก็เกิด - ดับ ทั้งภายในทั้งภายนอกมันก็เกิดเองดับไปเอง จิตนี่ก็ดำรงอยู่ในความสงบได้

    (อ่านต่อข้างล่างค่ะ)
     
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,936
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีการพิจารณาที่เป็นการรู้เห็นเข้าไปในด้านใน แต่ว่าความรู้อย่างนี้มันก็เป็นความรู้ที่ทรงตัวเป็นปกติได้ ก็ควรจะพยายามรักษาหลักความรู้อย่างนี้ให้ติดต่อเอาไว้ให้มันสงบเฉยๆ

    การสงบเฉยๆ นี่ควรจะปรับให้มันเป็นพื้นฐานของจิตเข้าไว้ แล้วก็พยายามพิจารณาให้มันซึ้งเข้าไป ถ้ามันยังเข้าไม่ถึงภายใน ก็ให้รักษาความเป็นปกติขั้นผัสสะภายนอกไปก่อนแล้วก็พิจารณาประกอบไว้ มันจะได้ไม่ก่อเรื่อง เรื่องจำเรื่องคิดอะไรเหล่านี้มันก็หยุด หยุดดู หยุดรู้อยู่เฉยๆ ทีนี้มันก็ระงับไปได้ขั้นหนึ่งคือนิวรณ์ ไม่แส่ส่ายไปในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสผิวกาย แล้วก็ไม่ง่วงเหงาหาวนอน ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่สงสัย ซึ่งเป็นการระงับนิวรณ์ได้ตลอดชั่วโมง

    ปรับพื้นไว้อย่างนี้ จิตนี่มันตื่น มันรู้อยู่ภายใน รู้แล้วเป็นปกติวางเฉย ไม่ฟุ้งซ่าน ถ้าว่าความรู้อย่างนี้มันดำเนินไปได้ติดต่อทุกอิริยาบถแล้ว ผัสสะมันก็เกิดเองดับเอง ส่วนจิตก็พิจารณาตัวเองไว้ ถ้าเพียงขึ้นนี้ก็ยังคงดับทุกข์ได้ เพราะว่าจิตนี้มันไม่วุ่น มันว่าง มันสงบ

    ปรับพื้นนี้เอาไว้ แล้วก็ค่อยพิจารณาดูไปเฉยๆ ไม่ต้องมีคำพูดไม่ต้องไปคิดอะไรขึ้น ดูจิตล้วนๆ ดูผัสสะเกิด - ดับล้วนๆ จิตก็วางเฉยได้ ไม่วุ่นวาย แล้วไม่ต้องไปหมายอาการอะไรทั้งหมดรู้แล้วก็วางเฉย มันก็เป็นการปล่อยอยู่ในตัว พอรู้แล้วก็ปล่อยวาง, เกิด - ดับ ปล่อยวาง, แต่ว่าไม่เป็นคำพูด ปล่อยวางอยู่ในตัวรู้นั่นแหละ รู้เกิด - ดับ แล้วมันก็หยุดเฉย ไม่จำ ไม่คิด ไม่หมายดี ไม่หมายชั่วอะไร นี่มันก็ปล่อยอยู่ในตัวเหมือนกัน แล้วก็ไม่กังวล

    ความไม่กังวลต่อผัสสะนี้ มันทำให้จิตสงบ คอยสังเกตดู ผัสสะก็เกิด-ดับไปตามเรื่องตามราวของมัน ถ้าไม่ไปกังวลนะ จิตนี้มันไม่วุ่น มันว่าง มันว่างของมันเอง แล้วก็ควรรักษาหลักอย่างนี้ให้ติดต่อ ดูไปรู้ไป มันก็ปล่อยอยู่ในตัวปล่อยอยู่ในตัวดูตัวรู้นั่น พอว่ามันรู้แล้ว มันก็ไม่หมาย ไม่ไปยึดถือ รู้แล้วก็แล้วกัน ไม่กังวล ไม่สนใจ ทีนี้มันก็ดับทุกข์ได้เรื่อยไปเอง

    แม้ว่าตัวอะไรจะเกิด ความรู้สึกอะไรจะเกิดความพอใจไม่พอใจ ก็ดับได้ทันที ไม่โสมนัส ไม่โทมนัส จิตก็เป็นปกติอยู่เสมอ แล้วก็พิจารณาประกอบเอาไว้ ข้อปฏิบัติก็มีเท่านี้ ไม่ต้องเอามากหรอกเพียงเท่านี้นะ ประกอบความเพียร ดูอยู่ รู้อยู่ สงบอยู่ จิตนี่จะไม่วุ่นเลย นิวรณ์เข้าไม่ได้ ปลุกให้จิตมันตื่นอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ ไม่ง่วง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เคลือบแคลงสงสัยอะไรอีก เรียกว่าละโมหะ ถ้าไม่ง่วง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่สงสัย ขณะนี้โมหะไม่มี แล้วก็เป็นการละนิวรณ์ คือว่ากามฉันทนิวรณ์ ความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสผิวกาย ขณะใดรู้เกิด - ดับ มันก็ไม่ออกไปพอใจต่อรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสผิวกาย ถ้ามันเกิดขึ้นนิดๆ หน่อยๆ ก็แค่เกิด - ดับ เท่านั้นก็หมดเรื่อง

    แล้วทีนี้ถ้าดับกามฉันทนิวรณ์ได้ ก็เป็นอันว่ามันก็ละพยาบาทนิวรณ์ มันไม่เกิดเป็นพยาบาท แล้วความหงุดหงิดไม่มี ถ้าพยายามควบคุมอยู่ พิจารณาอยู่ทุกอิริยาบถให้ได้แล้วมันจะเรียบร้อยไปเอง แต่อย่าให้มันไปจับเรื่องคิด เรื่องจำนะ หยุด ! หยุดเสีย ! หยุดรู้เสีย หยุดรู้จิต หยุดพิจารณาจิตให้ติดต่อเอาไว้ วางเฉยเอาไว้ให้ได้ ปรับพื้นนี้ให้ติดต่อทุกอิริยาบถทุกขณะ จะมีประโยชน์มาก แล้วมันตื่นอย่างนี้ จิตมันก็ไม่เศร้าหมอง

    เมื่อละนิวรณ์ได้แล้วจิตก็ไม่เศร้าหมอง สำรวจจิตดูให้ดีแล้วจะรู้ว่า รู้อย่างนี้ เกิด - ดับอย่างนี้ ผัสสะดับไป ไม่มีความหมายดีชั่วอะไรทั้งหมดแล้ว มันปล่อยวางไปเสร็จในตัว จิตก็ไม่เศร้าหมอง ควรพยายามพิจารณาให้ดี ชำระจิตให้บริสุทธิ์ ที่ไม่เศร้าหมองนี่มันก็บริสุทธิ์ ในขั้นของละนิวรณ์ได้ปกติได้ ปกตินี่ไม่เศร้าหมอง จิตไม่เศร้าหมองเพราะราคะ โทสะ โมหะ ควรจะพยายามอย่างยิ่งทีเดียวนะ เพราะมีเรื่องอยู่เท่านี้เอง คือพยายามไม่ให้จิตเศร้าหมอง พิจารณาจิตในจิตอย่าให้จิตไปมีความหมายยึดถืออะไรขึ้นมา จิตมันก็ไม่เศร้าหมอง เรียกว่าผ่องใส ถ้ายังไม่ผ่องใสก็เพียงแต่ว่าปกติ เป็นการวางเฉย ไม่เศร้าหมอง เอาอย่างนี้นะ

    ทีนี้ถ้าว่าหลักนี้มันดำเนินไปได้แล้ว มีการพิจารณาจิตในจิตเข้าไป แล้วจะมีวิธีการที่จะรู้ได้ว่า เมื่อพิจารณาจิตในจิตเข้าไปแล้ว มันปล่อย มันวาง มันว่างขึ้นภายใน ทั้งนี้ปราศจากไฝฝ้าราคีของนิวรณ์ที่เข้าไปขั้นลึก ตรวจขั้นลึก ถ้าว่าตรวจขั้นลึกนี้ได้ จิตนี้ก็ผ่องใส ไม่มีนิวรณ์ ปกติธรรมดาแล้วก็พิจารณาเข้าไป รู้เข้าไป พิจารณาจิตในจิตเข้าไปเหมือนอย่างกับเป็นการซักฟอกไฝฝ้าราคีของโมหะที่เป็น ขั้นละเอียด ถ้าพยายามรู้ พิจารณาเข้าไปให้ลึกซึ้งแล้ว มันก็เหมือนกับพระจันทร์วันเพ็ญ ไม่มีเมฆหมอกมาปิดบัง จิตถึงจะผ่องใส แล้วเมื่อผ่องใสความเบิกบานก็เกิดขึ้นได้ เราจะสังเกตดูจิตของเราได้ในระยะตั้งแต่ขั้นปกติ แล้วในขั้นที่จะพิจารณารู้เห็นความจริง จิตนี่เป็นลักษณะที่ผ่องใส แม้ว่าผ่องใสขึ้นมาในระยะแรกๆ ไปก่อน ต่อมาเมื่อมันซาบซึ้งขึ้นมาอีกขั้น มันก็ผ่องใสเพิ่มมากขึ้น เหมือนกับกำลังแรงของไฟฟ้าห้าแรงเทียนมันก็สว่างแค่นี้ ถ้าเพิ่มเป็นสิบแรงเทียนมันก็สว่างขึ้น เพิ่มเป็นยี่สิบแรงเทียนมันก็สว่างขึ้นอีก

    นี่สติความรู้ที่เข้าไปรู้จิต พิจารณาจิตในจิตนี่มันจะต้องเพิ่ม ถ้าไม่เพิ่มมันก็อยู่ในระดับที่ปกติธรรมดา ถ้ามันเพิ่ม ความรู้จริงเห็นแจ้งก็ยิ่งเพิ่มขึ้น เรียกว่าเป็นผู้รู้ ผู้รู้ต้องรู้จริงๆ พอรู้จริงแล้วก็เป็นผู้ตื่น คือว่ามันตื่นด้วยสติ เพราะว่าการตื่นนี่เหมือนกับเราตื่นนอน ตื่นที่มันยังไม่ได้ตื่นด้วยสติน่ะ มันตื่นธรรมดามันงัวเงีย แต่การตื่นด้วยการมีสติมันไม่งัวเงีย มันตื่นขึ้นมาอย่างแจ่มใส สังเกตดูว่าที่ตื่นด้วยโมหะมันงัวเงีย มันมืดมัวจิตนี่ก็ไม่ผ่องใส เมื่อมันไม่ผ่องใสแล้ว มันก็ถูกคลุมด้วยโมหะ

    ถ้าดูจิตในจิตเข้าไป ซักฟอกเข้าไปให้มันรู้ ให้มันละให้มันปล่อยมันวางอะไรของมันขึ้นมาเป็นอัตโนมัติภายในได้ แม้ว่ามันจะเป็นชั่วขณะ ที่เรียกว่าตทังควิมุติ ชั่วขณะต้องพยายามกำหนด กำหนดที่มันปล่อยวางเป็นตทังควิมุติชั่วขณะๆ นี่ แล้วก็พิจารณาดู แล้วมันอาจจะเพิ่มเป็นหลายๆ ขณะก็ได้ หรือว่าเพิ่มขึ้นเป็นวิกขัมภนวิมุติ นานๆ สงบนานๆ นิ่ง หยุดไปนานๆ ระงับหมด ระงับสัญญา ระงับสังขาร หยุด ! หยุดจำ หยุดคิด หยุดรู้อยู่ในตัว เพราะว่าเป็นการหยุดดูหยุดรู้อยู่ในตัวจิตอย่างเดียว

    ตามหลักที่ว่า อวิชชาดับ สังขารจึงดับ, สังขารดับ วิญญาณจึงดับ, ที่ตรงนี้นะ เมื่อวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ, เมื่อนามรูปดับ อายตนะจึงดับ, เมื่ออายตนะดับ ผัสสะดับ, เมื่อผัสสะดับ เวทนาดับ, เมื่อเวทนาดับ ตัณหาดับ, ทีนี้ความรู้สึกภายในมันไม่เหมือนอย่างกับพูดอย่างนี้หรอก มันเกิด - ดับไปรวดเดียวทีเดียวเลย ความเร็วมันเร็วมาก ความเร็วของความรู้ แล้วก็ความเร็วของความละ รู้กับละมันควบคู่นะ ความรู้กับความละมันควบคู่กัน มันไม่ใช่เป็นความรู้ของขั้นสัญญา อย่างนี้มันยังแยกความละอายมาอีกลักษณะหนึ่ง สัญญาเช่นเดียวกับความจำได้หมายรู้อะไรขึ้นมานี่ มันก็เป็นความยึดถือแล้ว ทีนี้มันต้องมีความละ ละความยึดถือนี่ มันเป็นสองลักษณะไปแล้ว

    ทีนี้ความรู้กับความละที่มีอยู่ในปฏิจจสมุปบาท ที่ว่าอวิชชามันดับ แล้วสังขารดับ แล้ววิญญาณดับนี่ ความรู้กับความละอย่างนี้มันเป็นอันเดียวกันเสีย รู้ก็ละเลยถึงจะเป็นวิชชาขึ้นเป็นสติ เป็นปัญญา เป็นญาณขึ้นมา แล้วสังขารนี่ก็ระงับดับวิญญาณดับ ดับไปด้วยกันทีเดียว ที่พูดตามตัวหนังสือ หรือพูดเป็นคำพูดอย่างนี้ มันเป็นคนละอย่าง คนละอย่างไป ถึงจะมีการเนื่อง แต่มันคล้ายๆ กับว่าอวิชชาดับ สังขารจึงดับ, พอสังขารดับ วิญญาณจึงดับ, คำพูดหรือตัวหนังสืออะไรที่เขามีไว้ มันเป็นแผนที่ แต่ว่าความรู้จริงๆ ที่รู้สึกข้างในนี่ มันรวดเดียว มันแรงไปรวดเดียว เป็นการรู้แจ้งแทงตลอดไปรวดเดียว เหมือนเราฉายไฟ พอฉายไฟแสงมันก็พุ่งไป ถ้าพูดตามภาษาใจ แล้วก็สังเกตดูว่าความรู้กับความละที่มันรู้จริงๆ นะ มันรู้จริงๆ แล้วมันละลงไปได้ มันขาดลงไปได้ ครั้งหนึ่งคราวหนึ่ง เพราะความรู้กับความละมันอยู่ด้วยกัน

    แล้วควรจะสังเกตอย่างนี้เอาไว้นะ ถ้าว่ามันยังไม่อยู่ด้วยกันแล้ว มันรู้แต่มันยังละไม่ได้นะ มันรู้เป็นสัญญาหรือความเข้าใจอะไรเล็กๆ น้อยๆ ยังละไม่ได้ แล้วความพัวพันอะไรมันมีอยู่มันละไม่ได้ ละขาดไปได้จะเป็นขณะสองขณะ ก็ลองสังเกตดูขาดออกไปทีเดียว "รู้กับละ" รู้แล้วก็ละได้ขาดออกไป แต่ที่รู้แล้วละไม่ได้ มันยังหน่วงเหนี่ยวอยู่นะ เหมือนอย่างที่เขาดึงเชือกอะไรที่มันเหนียวๆ มันดึงไปดึงมามันก็ไม่ขาด นี่รู้แล้วละไม่ได้มันอย่างนั้น เพราะมันรู้ไม่จริง เมื่อมันรู้ไม่จริง มันรู้ตามสัญญา มันรู้ตามความเข้าใจเล็กน้อยเท่านั้น แล้วมันก็มาถูกปรุง คลุกเคล้าพัวพันเอาไว้ เลยไม่รู้อยู่นั่นเอง แล้วโมหะมันก็เข้า ไม่รู้แม้แต่จะแยกให้รู้ว่า นี่ผัสสะเกิด - ดับ ก็ไม่รู้แล้ว ไม่ชัดแล้ว โมหะเข้า

    ทีนี้บอกว่าให้ยืนหลักสติเอาไว้ แล้วรู้ผัสสะเกิด - ดับเท่านี้ก็พอจะได้ทางแล้วนะ ทางที่จะรู้ ทางที่จะดับ ทางที่จะละ ทางที่จะปล่อยวาง มันอยู่ที่นี่ คือต้องรวมรู้ดูจิตในจิตเข้าไป แล้วมารู้ผัสสะดับ เหมือนกับผัสสะข้างนอกดับก็รู้เหมือนกัน แต่ข้างในนี้ยังไม่ชัดก็ดูไปอีก ดูไปอย่างนี้มีทางแล้ว ถ้าว่าดูรู้อย่างนี้มีทางที่จะรู้ ทางที่จะรู้เข้าไปภายใน แล้วอย่าไปเอารู้ข้างนอก เอารู้ข้างใน นี้มันก็เป็นเครื่องเปรียบ เครื่องเปรียบได้ทุกสิ่งทุกอย่างเกิด - ดับ เกิด - ดับ ผัสสะเกิด - ดับ ทีนี้ผัสสะน่ะมันเกิด - ดับไปเฉยๆ นะ ก็ไม่มีทุกข์ไม่มีโทษ สังเกตได้ว่า ทำไมเรามองไปเห็นรูป มองไปทีเดียวนี่ ไม่ได้ไปยึดถืออะไรเลย ตานี่สัมผัสรูปไปเฉยๆ อย่างนี้ ผัสสะนี่ยังไม่มีทุกข์ไม่มีโทษ



    .................................................

    คัดลอกมาจาก ::
    ผู้จัดการออนไลน์
    Dhamma and Life - Manager Online
     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,936
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉิน

    ในเวลามีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น ผู้ที่ไม่เคยคิดมาก่อนว่า จะทำอะไรก่อนหลัง จะขนย้ายสิ่งของใดก่อนหลัง ส่วนใหญ่ ขนย้ายสิ่งของไม่สำคัญ และมีมูลค่าต่ำ เช่น เวลาเกิดไฟไหม้ บางคนกล้าและสามารถแบกโอ่งใส่น้ำค่อนตุ่มวิ่งหนีไฟได้ ทั้งๆ ที่สิ่งนั้น มีมูลค่าต่ำ

    และราคาไม่สูงเลย เป็นต้น

    - การตั้งสติสัมปชัญญะ ในห้วงเวลาก่อนเกิดเหตุร้ายแรง จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะเราสามารถคิดอย่างเป็นระบบ และมีวิธีการที่เป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าการปล่อยปละละเลยให้เป็นไปตามยถากรรม
    - แล้วเราควรจะเริ่มอย่างไร ก็ใคร่ขอให้คำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ ดังนี้

    1. ที่อยู่แห่งใหม่ หากเกิดเหตุร้ายแรง อาทิ ถ้าบ้านอยู่อาศัยถูกทำลายเนื่องจากโดนลูกหลงของระเบิดตกลงมาใส่ หรือเกิดเพลิงไหม ้ ท่านจะโยกย้ายไปอยู่ที่ไหนท่านจะอพยพไปตั้งหลักแหล่งที่ใด ท่านต้องคิดเดี๋ยวนี้ ท่านจะผลัดวันประกันพรุ่งอีกมิได้แล้ว จะไปอยู่อาศัยบ้านญาติพี่น้องคนใด คิดและเจรจาติดต่อให้ชัดเจนท่านจะไปอยู่ด้วยกันทั้งหมดกี่คน จะขนทรัพย์สินสิ่งของไปด้วยมากน้อยแค่ไหนเพียงไร เขาจะให้เราอยู่อย่างถาวรตลอดไป หรือให้พักพิงเป็นการชั่วคราว ต้องเจรจากันให้จะแจ้ง จะได้ไม่เดือดร้อนในภายหลังเวลาถูกเชิญให้ออกไปหาที่อยู่แห่งใหม่ซึ่งขณะนั้น อาจหมดโอกาส เพราะศาลาวัดก็อาจเต็มไปด้วยผู้อพยพหลบหนีภัยมาเหมือนกัน หรือท่านจะซื้อบ้าน หรือปลูกสร้างบ้านของตนเอง ก็จะต้องรีบดำเนินการ ในขณะที่เงินบาทของท่านยังมีค่าของเงินบาทอยู่ ถ้าเงินบาทของท่านในอนาคต มีค่าเพียง 10สตางค์ ท่านจะปล่อยโฮใหญ่ได้ เพราะท่านต้องใช้เงินถึง 10 เท่าในปัจจุบัน ในการหาซื้อสิ่งของและทรัพย์สินที่อยู่แห่งใหม่ ควรมีห้องใต้ดิน ห้องเก็บสำรองอาหารระยะยาว มีแท๊งค์น้ำดื่มใหญ่ 2 แท๊งค์ และตรวจตราดูเป็นครั้งคราว หากไม่ใช้นาน ต้องล้างถ่ายทิ้งเป็นครั้งคราว เพื่อความสะอาดและปราศจากเชื้อโรค ในน้ำสำรองสำหรับดื่ม

    2. ทิศทางและจุดหมายปลายทาง หรือจุดนัดพบ จะอยู่ที่ใด เพราะลูกหลานคู่สมรส พ่อแม่ ปู่ย่าตายายของท่าน อาจมิได้อยู่พร้อมหน้า ในขณะมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นท่านจะต้องนัดหมายกันให้ชัดเจนว่า เมื่อมีเหตุร้ายแรงเกิดขึ้น ให้เดินทางไปในทิศทางใด จุดนัดพบจุดแรก คือ จุดรวมพลคือที่ไหน ถ้าพลาดจุดแรก จุดที่สองนัดพบพร้อมกันที่ใด ภายในเวลาเท่าไร และจุดหมายปลายทางนั้นคือที่แห่งหนใด ควรทำแผนที่เดินทางและจุดนัดพบ 1, 2 พร้อมทั้งจุดหมายปลายทางแจกจ่ายให้แต่ละคนถือไว้ เมื่อมีเหตุร้ายแรงที่ไม่สามารถอยู่ในที่อยู่ปัจจุบันได้ ที่อยู่แห่งใหม่ คือที่แห่งใด จะได้ไม่พลัดหลง ไม่ต้องตามหาระหว่างการเดินทาง เพราะถ้าพลัดหลงกันก็ไปพบกันที่จุดหมายปลายทางได้


    3. เตรียมยานพาหนะและสิ่งของให้พร้อม นับแต่นี้ไป ท่านจะต้องเติมน้ำมันรถไว้ให้เต็มตลอดเวลา น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่าการปล่อยให้น้ำมันติดก้นถังเพียงเล็กน้อย เพราะหากจำเป็น ต้องเดินทางไกล จะได้ไม่เดือดร้อน เพราะรถไม่มีน้ำมันเชื้อเพลิง ดูยางรถยนต์และความพร้อมของเครื่องยนต์ทุกขณะด้วยสำหรับสิ่งของต่างๆ นั้น ก็ตั้งแต่ ยารักษาโรคประจำตัว สิ่งของสำคัญที่มีราคา

    สูง หรือมีคุณค่าทางจิตใจสูง จะต้องจัดเก็บรวบรวมไว้ในตู้เดียวกัน ลิ้นชักเดียวกันหรือกล่องใส่ของเดียวกัน หรือถุงใบเดียวกัน เพื่อการหยิบฉวยได้โดยเร็ว มีเหตุฉุกเฉินคว้าวิ่งใส่รถยนต์ได้ทันที

    - เสื้อผ้า ชุดชั้นใน ผ้าอนามัย เครื่องนุ่งห่มที่จำเป็น เตรียมใส่กระเป๋าเดินทาง

    - ยารักษาโรคประจำตัว จะต้องเตรียมการไว้มากกว่าปกติ 2-3 เท่าตัว เพื่อป้องกัน การฉวยโอกาสขึ้นราคายารักษาโรค

    - สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม กระดาษชำระ

    - วิทยุเพื่อฟังข่าวสาร ถ่านวิทยุสำรองให้มากพอ และนาฬิกาดูเวลา

    - โทรศัพท์มือถือ และแบตเตอรี่สำรอง เพื่อการติดต่อสื่อสาร

    - ไฟฉายและถ่านไฟฉาย ไม้ขีดไฟ เทียนไขไฟแช็ค ในยามมืดจะได้มองเห็น

    - เชือกเส้นใหญ่ เพื่อการผูกยึด/ลาก
    - เต็นท์และถุงนอน ครบจำนวนคนในครอบครัวและบริวาร ฯลฯ เป็นต้น


    4. เตรียมอาหารและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

    - อาหารแห้ง อาหารกึ่งสำเร็จรูป ถั่วเขียว วุ้นเส้น ฯลฯ อาหารที่จัดเก็บได้นานปี

    - น้ำดื่ม

    - อุปกรณ์ทำครัว

    - เกลือ น้ำตาล เครื่องปรุงรส

    - โฟม หรือที่เก็บอาหารให้คงสภาพโดยไม่ต้องใช้ตู้เย็นและไม่เน่าเสียง่าย
    ทั้งนี้ จะต้องวางแผน และจัดเตรียมสำหรับใช้ได้ทั้งครอบครัว ไม่น้อยกว่า3 เดือน


    5. เร่งฝึกจิตภาวนา

    - จะใช้สมถกรรมฐาน หรือ วิปัสสนากรรมฐานก็ตาม แล้วแต่ความถนัดของแต่ละท่าน

    - ในระหว่างฝึกจิตภาวนานั้น จะต้องแบ่งเวลามาพิเคราะห์ สามัญญลักษณะเพื่อให้เข้าใจ “ธาตุแท้ แห่งสามัญญลักษณะ” นั่นคือ ใดๆ ในโลกล้วนอนิจจัง ไม่มีสิ่งใด เกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่นิจนิรันดร์กาล เพราะจะต้องมีการแปรเปลี่ยน ในที่สุดก็มีการ “แตกดับ” หรือนัยหนึ่ง คือ ไม่มีสิ่งใดเที่ยง ไม่มีสิ่งใดที่ทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดเวลา แท้จริง ก็ไม่มีสิ่งใดเป็นตัวตน เพราะทุกอย่าง ล้วนแต่เป็นเรื่องสมมุติ

    ทั้งสิ้น

    - เมื่อเข้าใจธรรมชาติ ที่มีลักษณะสามัญตามที่กล่าวมาแล้ว ก็จะเป็น “ผู้มีสติ”สูง และเข้ากันได้กับสภาวะธรรมที่เป็นจริง อาการโกรธแค้น ชิงชัง ก็จะน้อยลง โอกาสที่จะเป็นคนตีโพยตีพาย โศกเศร้าอาดูร ก็จะมีน้อยลง ทำให้ชีวิตอยู่ในโลกแห่งความเป็น
    จริงได้อย่างสะดวกมากขึ้น


    6. เป็นคนที่ดีมากกว่าเดิม

    - ทำอย่างไร ทำอะไรก็ได้ ให้ตัวเราเป็นคนดีมากกว่าเดิม เช่น ทำตนให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลในครอบครัว ในที่ทำงาน ในเพื่อนบ้าน ในชุมชนของเรา และในสังคมสิ่งแวดล้อมของเรา มากยิ่งๆ กว่าเดิม

    - มีเมตตา กรุณา มุทิตา มากเป็นพิเศษ คือ มีจิตปรารถนาให้ทุกคนมีความสุขพ้นจากความทุกข์ และยินดีกับทุกคนที่ได้ดี มีความเจริญก้าวหน้า

    - ไม่เบียดเบียนหรือรังแก ทำให้เกิดความเดือดร้อน ทั้งคนและสัตว์

    - มีศีล 5 ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมยสิ่งของของผู้อื่น ไม่ผิดลูกเมียคนอื่น ไม่พูดปดไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดนินทา ไม่พูดจากวนโทษะ และไม่เสพสิ่งของมึนเมาทุกชนิด ที่อาจทำให้ขาดสติได้ง่าย
    - มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เอื้ออาทร ในความเป็นอยู่ของผู้อื่น ฯลฯเพียงเท่านี้ก็พอแล้ว ในช่วงที่เรามีลมหายใจอยู่


    7. ก่อนสิ้นลมหายใจ จะภาวนาคำใดก็ได้ ตามแต่จะถนัด ไม่ว่า พุทโธ /สัมมาอะระหัง / ยุบหนอ-พองหนอ / ปวดหนอ-ปวดหนอ โดยให้จิตจดจ่อกับบริกรรมภาวนาก็ได้ จิตจดจ่อกับกรรมดีหรือบุญกุศลที่ทำไว้ด้วยใจที่อิ่มเอิบเบิกบานก็ได้ สุคติภูมิเป็นที่รับจิตวิญญาณของท่านทันทีที่ออกจากร่างกายในปัจจุบันแต่ถ้าก่อนตายจิตห่วงหาอาลัย เสียดายทรัพย์สินเงินทอง – เมื่อตายต้องไปเกิดเป็นเปรต

    ดังนั้น จึงต้องระวังก่อนสิ้นลมหายใจให้ดี พลาดท่าเสียทีไปทุคติภูมิได้ ดังนั้น การตั้งสติก่อนตาย จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเช่นเดียวกันผู้ใดใครมีความคิดเห็นดีๆ ช่วยแนะนำเพิ่มด้วย เป็นการเขียนจุดประกาย ให้เกิดแก่พวกเราเท่านั้น ยังไม่ครอบคลุมกิจกรรมที่ควรทำอีกมาก หากมีผู้ใดให้คำแนะนำที่มีประโยชน์มากขึ้น ก็จะขอบคุณยิ่ง ผู้เขียนจะได้นำมาลงในwebต่อๆไป

    https://www.sites.google.com/site/thrrmsthanwicanthlo/home/teriym-phrxm-rab-sthankarn-chukchein

    [FONT=KodchiangUPC]ณ.ธรรมสถานวิจันท์โล[/FONT][FONT=Times New Roman] [/FONT][COLOR=red]เขาเตียน ต.โคกสลุง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี[/COLOR]
     
  20. wan-wan

    wan-wan Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +36

แชร์หน้านี้

Loading...