วิญญาณกสิณ คืออะไร?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นะมัตถุ โพธิยา, 14 ธันวาคม 2014.

  1. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อยู่ที่ว่า ยังมีรูป(รูปฌาน) หรือเข้าเขตดับรูปไปแล้ว(อรูปฌาน)
    การกำหนดตัวรู้(วิญญาณ) เมื่อจิตเข้าสู่จิต เกิดแสงจิตขึ้นมา (คนที่ใช้กสิณแสงสว่างนั้นก็อาจกำหนดแสงจากความจำก่อน เช่นแสงที่เคยเห็นจากช่องที่แสงลอดผ่านลงมา แสงจากดวงอาทิตย์..ฯลฯ) เมื่อจิตสงบรำงับ จิตเองจะแสดงความเป็นประภัสสรขึ้นมา.. สว่างไสวตามธรรมชาติเดิม
    แสงสว่างโดยทั่วไปอาจส่องลอดของทึบไม่ได้ แต่แสงจิตไม่ใช่ แสงจิตนี้จึงละเอียดกว่าช่องว่างมาก..
    แต่ทั้งนี้ก็สามารถผ่านกสิณอื่นๆในรูปฌาน เพื่อเข้าสู่อรูปฌานคือ อากาสาและเข้าสู่วิญญาณัญญายตนะได้เช่นกัน
    ความเห็นส่วนตัวนะ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2014
  2. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    แข็งไปไม่ดี อ่อนไปก็ไม่ดี

    อ่อนโยนคือสายกลางเพราะควรแก่การงานทั้งปวง

    ใหม่ๆเราก็ตั้งใจมาก มันก็แข็งไป พอนานๆไปเราก็ขี้เกียจก็อ่อนไป


    พอทำไปนานๆผิดบ้างถูกบ้าง ในที่สุดเมื่อใดที่จิตเราอ่อนโยน แสดงว่าก้าวหน้า วางกำลังจิตให้เป็นกลาง นั่นแหละคือถูกทาง การงานทั้งปวงย่อมทำได้สำเร็จครับ

    การฝึกกสินก็เช่นกัน ใหม่ๆเราก็ตั้งใจเพ่ง พอทำไปๆๆๆๆ เราก็เริ่มเรียนรู้เข้าใจ เรากำหนดจิตเรา อ่อนโยน เบาสบาย สมาธิเรากลับมีกำลังแก่กล้า ในความอ่อนโยน สมาธิกลับเข้มแข้งทรงพลัง ครับ สาธุ
     
  3. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ของคุณ นะมัตถุ โพธิยา
    อ่านความเห็นของทุกท่านแล้ว ดีมากๆ ครับ

    แต่ท่านใดพอจะสรุปได้ไหมครับ ว่า วิญญาณกสิณ เป็นรูปฌาน หรือ อรูปฌาน ?

    +++ "อรูปฌาน" ทั้งหลายจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อ "เพิกกสิณ" ไปแล้ว

    ก็ในบทว่า วิญฺญาณกสิณํ นี้ วิญญาณเป็นไปในอากาศ ที่เพิกกสิณ.
    จริงอย่างนั้น วิญญาณอันนั้น ท่านเรียกว่าวิญญาณ. พึงทราบความเป็นเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ในวิญญาณที่เป็นไปในวิญญาณกสิณนั้น ก็ด้วยอำนาจอากาศที่ เพิกกสิณ.
    นี้เป็นความสังเขปในวิญญาณกสิณนั้น.

    +++ "อรูปฌาน" แม้ว่าจะเกิดจากการ "ทำกสิณ" ก็ตาม แต่ "อรูปฌาน" ไม่ใช่กสิณ ดังนั้นจึงต้อง "เพิกกสิณ" ออกให้หมดก่อนทุกครั้ง นะครับ

    ของคุณ jityim

    +++ อาการของ "การเพ่ง" คือการ "รวมเข้าสู่ศูนย์กลาง"

    +++ ส่วนอาการของ "การแผ่" คือการ "กระจายออกจากศูนย์กลาง"

    +++ ระหว่าง "เพ่ง" กับ "แผ่" นี้เป็นของ "ตรงกันข้าม" ดังนั้น "อาการหนึ่ง เป็น สัมมาทิฐิ" ส่วนอีกอาการหนึ่งย่อมเป็น "มิจฉาทิฐิ" เป็นธรรมดา

    +++ ใครจะเดินทางใด ก็ย่อม "เป็นกรรม" ที่คนเหล่านั้้น "เลือกสรรค์เอาเอง" ผมพยายาม "สะกิดเตือนสติแล้ว" แต่ได้แค่ไหนก็แค่นั้นก็แล้วกัน

    +++ "พระสูตร" ก็บอกชัดอยู่แล้วว่าเป็น "อาการแผ่" ดังนั้น "อาการเพ่ง" จึงเป็นอาการที่ "ปลอมปน" เข้ามาในศาสนาพุทธ ผมจึงได้ระบุไว้ว่า

    "+++ หากใครเจอ "พระสูตร" ที่ระบุว่า "กสิณ มีอาการเพ่ง" ก็ "เอามาฝาก" แปะ ๆ ไว้ในนี้ก็ได้ (เอาเฉพาะของพระพุทธเจ้า เท่านั้น ของคนอื่นไม่เอา) นะครับ"

    ก็เลยเห็นด้วยคะว่า การแผ่ ดีกว่า การเพ่งคะ

    ใครคิดเห็นอย่างไร แนะนำได้นะคะ

    +++ อาการตรงนี้ "ไม่สามารถใช้ ความคิดเห็น ปรุงแต่ง" เข้ามาวินิจฉัยได้ ผู้ที่จะรู้ได้ก็ต้อง "เดินจิตเข้าไปในอาการแบบตรง ๆ" เท่านั้น

    +++ ให้คุณ jityim ลอง "เดินจิต" ทวนลงไป ด้วยอาการ "แผ่" และอาการ "เพ่ง" แล้วเปรียบเทียบ ความต่างกันของ "ธรรมารมณ์" ที่เป็นอยู่ในขณะที่ แผ่ และ เพ่ง

    +++ แล้วให้ลองสำรวจดูคร่าว ๆ ว่า อาการไหน มีองค์ประกอบขของ "สบาย" และ อาการไหน มีองค์ประกอบของ "ทุกข์"

    +++ เมื่อ "ชัดเจน" แล้วก็ย่อมรู้ได้เองว่า มีอาการเดียวเท่านั้นที่ไป "สุคติ" ส่วนอาการที่อยู่ตรงกันข้ามกัน ก็ย่อมไป "ทุคติ" เป็นธรรมดา

    +++ คุณ jityim เอาตัวให้รอดออกมาให้ได้จากวังวนนี้ นะครับ

    ของคุณ gratrypa

    กระต่ายป่า ข้างวัด - อันนี้เราเชี่ยว ขอตอบเองละกันนะ ด้วยเทคนิคที่คิดค้นเจอเองอีกล่ะ
    การเพ่งนั้น ปกติก็จะมีอาการเกร็งร่วมด้วยเสมอใช่ม๊า

    +++ ยินดีด้วยครับ เพราะ "มีไม่กี่คนเท่านั้น" ที่รู้ว่า "เพ่งเมื่อไร ก็เกร็ง เมื่อนั้น" และอาการ "เกร็ง" นั้นเป็น "ทุคติ" แน่นอน ไม่ใช่ "สุคติ" ตามที่ตน "เดาเองเออเอง" ทั้งสิ้น

    +++ ที่สำคัญที่สุด คือ "ตัวผู้เพ่ง" (ผู้รู้ที่เป็นจุดหย่อม หรือ ตัวดู) นั่นเองที่ "เกร็งอย่างหนาแน่นที่สุด ในระดับ สมาบัติ" นั้น ตกอยู่ใน "อบาย" อย่างเต็มตัวไปแล้ว

    +++ ธรรมารมณ์ภายนอกนั้น อาจดูดีเย็นสบาย แต่ "ตัวผู้เพ่ง" หรือ "ตัวจุติจิต" นั่นแลที่ "เกร็งอย่างถึงที่สุด" (อำนาจจิตเข้มแข็ง แต่จุติในนรก) ดังนั้น "ตัวจุติจิต" จะไปไหนเสีย

    +++ ไม่ว่าใครก็ตาม "ที่มีขีดความสามารถที่จะรู้ตรงนี้ได้" ก็จะ "รู้แจ้ง" ได้อย่างชัดเจนเองว่า "การปฏิบัติตามพระสูตร กับการสวนทางกับพระสูตร" นั้น ใครจะไปไหนกันแน่

    +++ "อย่าลืมนะครับ" หากใครเจอ "พระสูตร" ที่ระบุว่า "กสิณ มีอาการเพ่ง" ก็ "เอามาฝาก" แปะ ๆ ไว้ในนี้ก็ได้ (เอาเฉพาะของพระพุทธเจ้า เท่านั้น ของคนอื่นไม่เอา) นะครับ"
     
  4. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ก่อนจะ พากัน เมาภาษา ว่าด้วยคำว่า " เพ่ง " ไกลจนผิดธรรมชาติไปโน้น

    มาดูกันอีกทีว่า เพ่ง เพ่ง เพ่ง เนี่ยะ จริงๆ เขา หมายเอาถึง อาการใด ในการปฏิบัติ

    บาลี --> ไทย

    <TABLE width=400 border=1> <TBODY> <TR> <TD vAlign=top width=100>อุเปกฺขา</TD> <TD>อิต.) ความเพ่ง, ความเล็ง, ความหวัง, ความวางเฉย, ความวางใจเป็นกลาง, ความมีใจเฉยอยู่, ความเที่ยงธรรม (มีใจ มั่นอยู่ในกัมมัสสกตาญาณ.) วิ. ทฺวินฺนํ เวทนานํ สมีเป ปวตฺตา อิกฺขา อนุภวนฺนตีติ อุเปกฺขา. อุปตฺติโต อกฺขตีติ วา อุเปกฺขา. อุเปกฺขตีติ วา อุเปกฺขา. อุปปุพฺโพ, อิกฺขฺ ทสฺสนงฺเกสุ, อ. เป็น อุเปขา โดยลบ กฺ ก็มี. ส. อุเปกฺษา.</TD></TR>
    <TR> <TD vAlign=top width=100>เปกฺขา</TD> <TD>(วิ.) ดู, เห็น, ปรากฏ, เพ่ง, มุ่ง, จดจ่อ. ป+อิกฺขฺ+ณ ปัจ.</TD></TR>
    </TBODY></TABLE>

    ดังนั้น การตั้งอารมณ์ ในที่นี้เป็น มหาภูตรูป4 วรรณะ ช่องว่าง และ การรับรู้ จนเกิดความเป็นกลาง( อุเบกขา )
    ต่อตัว สิ่งที่ยกขึ้นรู้(อารมณ์) เขาก็เรียกการตั้งจนเข้าสู่อารมณ์เป็นกลางนั้นว่า กสิณัง

    เช่น ตั้งอารมณ์ไว้คือดิน จนใจเป็นกลางต่อดิน เขาก็เรียกว่า กสิณดิน หรือ ปฐวีกสิณ

    ดังนั้น คำว่า เพ่ง เพ่ง เพ่ง เนี่ยะ คือ การระบุการถึงฌาณ4


    ก็พิจารณากันไว้หน่อย ก่อนจะเมา ยากันยุง ไปเห็นคำว่า เพ่ง เป็นเรื่องอื่นไปเสีย ยิ่งบอกว่า เพ่ง เป็ง อกุศล โน้นนนนน ไปโน้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2014
  5. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    คำว่า "แผ่" อันนี้ก็มาจาก " อปฺปมาณํ "

    ทีนี้ในเรื่อง กสิณนี้ คือ แผ่การเพ่ง งง ไหม

    คือ ขยายความเป็นกลางของจิต ให้ออกไปไม่มีขอบมีเขต

    ซึ่งเขาหมายถึง พิจารณาดินขุยปู 1 กองตรงหน้า จนเป็นกลาง ไม่รู้สึก
    ว่านี่ตัวกู โน้น กองดินขุยปู แต่ รับรู้ได้ว่า ดินขุยปูเนี่ยะก็เป็นกูเหมือนๆกัน
    ไม่ต่างกัน ย้ายไปทางซ้าย ความเป็นกลางรับรู้ว่า "เราก็คือๆกัน กะดิน อะว๊า "
    มันไม่หลุด ซัดส่ายไปไหน ก็ขยายให้มันคลุมโลกธาตุออกไป ขยายไปใน
    จักรวาล มันก็ยังรับรู้ได้ว่า " ก็แค่ดิน " หนึ่งเดียวกัน ( ถ้าหลุด จะเกิดความ
    รู้สึก ตนเป็นก้อนธุลี ฝุ่นผงในจักรวาล ) เนี่ยะ คือ อัปปมาณ แผ่การเป็น
    กลางต่อความเป็นดิน อย่างไม่มีที่ตั้ง แบ่งแยก เกิด จุด หรือ ต่อม


    พอทำได้ ก็ รวบเข้ามา ถอนออก เข้าไปใหม่ ถ้ามันนุ่มนวล จิตมันก็ควรแก่การงาน ฮิวววววส์


    กรณี กสิณวิญญาณ พระพุทธองค์ตรัสว่า พอจิตตถาคต เบา เบา เบาแล้ว เอากายมาไว้ในจิต เอาจิตไปไว้ในกาย แล้วค่อย ดูการงาน ฯลฯ.......ฮิวววววววววส์ [ ถ้าปักใจว่า รูป อรูป เรือหาย นะจะบอกให้ ]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2014
  6. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ส่วน เพ่ง กับ แผ่ แบบ เจ้าเงาะ

    เพ่งแล้วเครียด ไม่เป็นกลาง สู้แผ่ แอแฮ่ ไม่ได้ คลายเบา กว่าเยอะ ไม่มี หน้าที่การงาน มากดถ่วงความสุขสบาย

    โอยยยย

    นั่นมัน ตั้งใจ กับ วางจิตโหลยโถ้ย เป็น อาหารเต่าปลา คนละเรื่อง

    กลับมา ตั้งใจ เสียยังน่าาสรรเสริญกว่า แผ่แบบนั้น แผ่แบบ ขี้ลอยน้ำ ปีรามิดลอยบ่อเกรอะ



    อ้อ

    ทั้งเพ่ง ทั้งแผ่ จิตมันส่งออกนอก ทั้งคู่ .....

    คือ ต้นเรื่องคือการเพ่ง มันก็ ส่งออกไปรู้อารมณ์ ( การไปรู้อารมณ์ แล้ว เสวยอารมณ-อุเบกขาเวทนา มันก็คือการ ส่งออก )
    ไป แผ่ การ เพ่ง มันก็คือ ส่งออกยิ่งขึ้นไปอีก

    การส่งออก ย่อม ตัดกำลัง สมาธิ อยู่แล้ว ....แต่ มันเป็น การส่งออก เหมือน เล่นกีฬา คนเล่นกีฬาเนี่ยะ
    เสียแรง แต่ทว่า ฮึม ฮึ่ม ฮึม หื่ม ฮึม

    เว้นแต่ จะฝึกสมถะธรรมอย่างอื่น การส่งออกถือว่าตัดกำลังทั้งหมด การมี สัญญาอันเดียว กลับมา
    วิหารธรรมเดิม คือ การกลับสู่ฐาน การออกกำลังไว้ปล่อยคราวเดียว

    ซึ่งจะเป็นแบบไหน มันไม่ได้วาดกันด้วย ภาพการปฏิบัติ สูตรสำเร็จ มาม่า ....เขาจะว่าตาม พฤติกรรมของจิตดวงนั้น


    *************

    ปล. จิตดวงนั้น ไม่ใช่เรื่อง จิตใครจิตมัน หน่าคร้าบ เขาหมายถึง " จิตที่ไม่ใช่เขา ไม่ใช่เรา ณ ปัจจุบัน เสพผัสสะ อะไร "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2014
  7. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ผู้ที่จะรู้ "การตั้งจนเข้าสู่อารมณ์เป็นกลางนั้นว่า กสิณัง" (อารมณ์กสิณ) ตรงนี้ได้ ตามความเป็นจริง "จะมีได้สักกี่คน"

    +++ คนทั่วไปจะหมายเอาคำว่า "เพ่ง" คืออาการ "เล็ง" หรือ "ดูเป็นจุด ๆ" เท่านั้น ตรงนี้ "อาการเกร็ง" ย่อมเกิดขึ้น เป็นธรรมดา

    +++ การที่จะ "หลุดพ้นออกมาจากคำว่า เพ่ง" แล้วกลายมาเป็น "การตั้งอารมณ์" นั้น "คนส่วนใหญ่" มาไม่ถึงแน่นอน

    +++ คุณ บุคคลทั่วไป 3 คน ผ่านตรงนี้มาได้แล้วก็ขออนุโมทนา แต่คนทั่วไปจะมีสักกี่ % ที่จะเข้าใจคำว่า "เพ่ง คือ การตั้งอารมณ์" นอกจากจะ "เพ่งเป็นจุด ๆ" เท่านั้น (นี่พูดถึง คนส่วนใหญ่)

    เช่น ตั้งอารมณ์ไว้คือดิน จนใจเป็นกลางต่อดิน เขาก็เรียกว่า กสิณดิน หรือ ปฐวีกสิณ

    ดังนั้น คำว่า เพ่ง เพ่ง เพ่ง เนี่ยะ คือ การระบุการถึงฌาณ4

    +++ คนทั่วไป จะใช้คำว่า "เพ่ง" ไปกันคนละทาง และมักจะเกิดอาการ "เขม็ง เกร็ง" เกิดขึ้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ตามมาคือ "ทุกข์" อันเป็นตรงกันข้ามกับ "ฌาน 4" ที่ระบุมา

    +++ ลองถาม "คนทั่วไป" ดูว่า คำว่า "เพ่ง" นั้นคือ "อาการอะไร" เอาแบบ "คนไทยธรรมดาที่ไม่ได้เปิด พจนานุกรม บาลี-ไทย" ก็จะพอทราบได้ว่า คนทั่วไปเมื่อเจอคำว่า "เพ่งกสิณ" แล้ว จะไปได้ถูกทางหรือไม่ อย่างไร นะครับ
     
  8. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    พอมันไม่ตรงจริตตน มันก็ดิ้นไปคว้าเอาหลักนั่นนี่มายึดเอาไว้
    แล้วค่อยหักหลักนั่นทิ้ง เอาตนเป็นใหญ่อีกที
    เข้ามาดูพี่สามกับพี่ป.ปุณฑ์
     
  9. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    น่าสนใจดีมาก ครับ :cool:
     
  10. bschaisiri

    bschaisiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +106
    ผมถามทีคับ ไอ้ความจริงมันไม่เที่ยงนี้ มันจะเป็นอย่างไรคับ
     
  11. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    การเห็น สัจจะ เข้าไปรับรู้ ยอมรับ สัจจ ว่า สรรเพธรรม อนิจจา อนัตตา ทุกขา

    อะไรเหล่านี้ ต้องระวังการ เข้าถึงด้วยการ " คิดเอาว่า กูเข้าใจ "

    ธรรมนั้น ไม่สามารถทำความเข้าถึง ด้วยการ ฟังแล้ว เอาความเข้าใจ

    ธรรมนั้น ต้องปฏิบัติ สัมผัส รับรู้ ด้วยจิตใจ ไม่ใช่ด้วยการใช้ หู หรือ ตา หรือ สมอง

    แต่............


    ธรรม ที่เป็นสัจจ ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ตั้งอยู่ในจิตได้ไหม

    พระพุทธองค์บอกว่า ตั้งได้ แค่เพียงมี ศรัทธาให้ตรงต่อพระพุทธองค์ ตรงต่อธรรม
    ( ไม่ใช่ ตรงต่อ ผลงานของกู )

    ดังนั้น สัจจความจริงนั้น จะเข้าไปตั้งในจิต ให้รับรู้ถึงความจริงได้ ก็แค่ ศรัทธา

    หลังจากนั้น จะต้องปฏิบัติ ใช้ปัญญาอันยิ่งเข้าสัมผัสรับรู้ ( มรรคญาณ ผลญาณ )
    ถึงจะกล่าวได้ว่า มีความรู้นั้นที่จิต ได้อย่างถูกต้อง ตรงตามธรรม

    และพอตรงตามธรรมได้ ก็จะเรียกว่า มีสุตตมัยยปัญญา ตรงตามอรรถ และ พยัญชนะ(ที่สดับด้วยศรัทธาไว้ก่อนหน้า)

    และ ความที่ กระทำ หรือ ปฏิบัติสำเร็จ ส่วนสำเร็จนั้น ก็จะเรียก เจริญปัญญา(ภาวนามัยปัญญา)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2014
  12. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    งง ไหม

    คือ คุณมาถามว่า แล้วไอ้ไม่เที่ยง จิตไม่เที่ยงเนี่ยะ มันเป็นยังไง

    ถ้าคุณ มีศรัทธาต่อธรรม คุณก็จะสามารถ ทรง อรรถ และ พยัญชนะ นี้ไว้ที่ จิตใจได้
    แต่ถ้า ศรัทธาไม่ถูกต้อง ก็ได้แต่ ฟังทะลุหูซ้าย ออกหูขวา ถึงแม้จะ ตั้งใจฟังอย่างไรก็ตาม ( เป็นกันทุกรุป ทุกนาม )

    ทีนี้ สัมมาทิฏฐิ หรือ ธรรม เข้าไปตั้งที่จิต ได้ก่อนนั้น เป็นเรื่องปรกติ ของคนมีศรัทธา

    หากไม่ประมาท จะไม่ถือเอา การเชื่อ เป็น ปัญญา แล้ว นอนแช่แป้ง เอาการพยักหน้าได้
    ถือว่าเป็นคนดี มีธรรม

    จะต้อง สมาทานสิกขาบท ที่พระพุทธองค์ทรงจำแนก แจกแจงตามจริต สมาทานจนเกิด
    ขึ้นที่จิต จนจิตนั้นเข้าไปสัมผัส ยอมรับ สัมมาทิฏฐิ รวมเข้ากับองค์มรรคอื่นๆ ถึงจะ
    กล่าวได้เต็มปากว่า " รู้ธรรม " ตามความเป็นจริง

    แล้ว การรู้ธรรมนั้นก็ดับไป เพราะ ความจริง ไม่มีอะไรเกิด ไม่มีอะไรดับ นอกจาก .......

    สรุปอีกทีได้ว่า ตกลง มีความถือมั่นในสิ่งไรๆ ไหม แล้ว ผลของการ ไม่ถือมั่นในสิ่งไรๆ แม้แต่ธรรมะ
    ทำไมถึงเป็น นาบุญ ......จะตอบได้เต็มปากเลย หากปฏิบัติ

    ...ถ้าคิดเอา ความสงสัยก็จะเกิดร่ำไป คำถามจะเกิดร่ำไป .....ตายเปล่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2014
  13. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,426
    ค่าพลัง:
    +3,207
    ดีจังเลยคะได้อ่านกระทู้รู้สึกว่าใจเกิดความหึกเหิมอยากฝึกกสิณเพื่อให้
    อิทธิฤทธิ์กับเขาบ้างจังเลยคะ

    อิทธิฤทธิ์นี้มิได้หมายความเฉพาะว่า เหาะเหินบนอากาศ ดำน้ำลงดิน
    อย่างเดียวนะคะ แต่ให้คงหมายถึง ความสำเร็จประโยชน์คะ
    ประโยชน์ที่ได้จากการมีพลังจิต และ ความสุขสงบ ทำอะไรได้
    สำเร็จประโยชน์มากด้วยใจที่มีพลัง ไม่มีอะไรมีกำลังเท่ากับการฝึกกสิณนะคะ

    เคยสงสัยตัวเองอยู่เหมือนกันว่าเราทำไมฝึกกสิณกับเขาไม่ได้ เวลาเพ่งทีไร
    รู้สึกปวดตา เครียดทุกที หรือว่าเราไม่เคยมีวาสนาฝึกมาทางด้านนี้ แต่..
    ก็แปลกใจ เอ๊ะ! เป็นไปได้ไง ก็เราเคยหลับตาแล้วมองเห็นดวงกลมเม็ดเล็ก ๆ
    แล้วมีแสงสว่างจ้าอยู่ภายใน และ เคยเห็นเปลวไฟในดวงกลมนั้นด้วย
    เรานั่งสมาธิแล้วขึ้นมาให้เห็น จะต้องเป็นนิมิตของกสิณแสงสว่าง กับ
    กสิณไฟ แหงเลย แต่ไฉนใยเราจึงฝึดสิณกับเขาไม่ได้ สงสัยจัง

    พอได้มาอ่านกระทู้นี้จึงเข้าใจ อ่อ! เป็นเช่นนี้นี่เอง เกิดจากที่เราเพ่ง....
    เพ่งเพื่อจะจำรูปเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้ใส่ใจรูปในที่เพ่งเลยว่า
    เขาต้องการสื่อให้เรารู้อะไร

    การเพ่ง คือ การดูรูปเพื่อกำหนดอารมณ์ให้เป็นหนึ่งเดียวกับกสิณนั้น นั่นเอง
    หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การรวมจิตให้เป็นอารมณ์เดียว เช่น

    เรากำหนกสิณดิน เราก็รวมจิตของเราให้เป็นหนึ่งเดียวกับดิน เรากำหนด
    กสิณน้ำ เราก็เป็นอารมณ์เดียวกับน้ำ มีลักษณะอย่างไร เพื่อรวมให้จิตนิ่ง
    ตั้งมั่นดีแล้ว ก็แผ่ขยายน้ำ หรือ ดิน ไปทั่วรอบ ๆ ตัวเรา หรือ รอบจักวาล
    เลยก็ได้

    กสิณ ก็คือ การรวมจิตแล้วก็แผ่อารมณ์ที่จิตรวมได้ ให้ความสงบ และ มีพลัง
    แล้วไปใช้ทำประโยชน์ให้เกิดความสำเร็จขึ้นมานั่นเอง

    จะลองฝึกดูคะ ใครตามจิตได้ช่วยดูและบอกหน่อยนะคะว่า ต้องแก้อย่างไร


    และสิ่งที่ข้างต้นเข้าใจถูกไหมคะ

    เคยอ่านเจอมาคะว่า การเริ่มฝึกสิณหากจะให้ได้ผลให้ฝึกหยาบไปหาละเอียดคะ
    เพราะความละเอียดของธาตุ หรือ โมเลกุล ที่รวมเป็นกสิณ นั้น ๆ มีจากหยาบ
    ไปหาละเอียด เพื่อ ให้สนับสนุนขั้นตอนการเรียนของมนุษย์ ที่ต้องเรียน
    จากหยาบไปหาละเอียด เช่น เริ่มต้น จากธาตุดิน เป็นธาตุหยาบสุด
    โดยเรียงจาก ดิน น้ำ ไฟ ลม เขียว เหลือง แดง ขาว อากาศ(ช่องว่าง)
    และ วิญญาณกสิณ นะคะ
     
  14. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ที่จริงก็อยากจะบอกว่า น่าจะเป็นอรูปฌาน ที่เกี่ยวกับวิญญาณโดยตรง
    แต่ก็นึกถึงการใช้อโลกะสัญญาด้วย คือใช้สัญญาแสงสว่างก็ทำได้แต่รูปฌาน เพราะในกรรมฐานที่ใช้นิพพานเป็นอารมณ์(อุปสมานุสสติกรรมฐานระลึกถึงคุณพระนิพพาน)ก็ยังใช้ได้แม้ในคนที่ยังไปไม่ถึงนิพพาน
    คือ มันอาจจะเป็นหนทางที่นำไปสู่ ประมาณนั้น..

    ของคุณธรรมชาติ ก็น่าสนใจจ๊ะ
    การกลับเข้ามาที่ตัววิญญาณจริงๆ ในอรูปฌานสองวิญญาณัญจายตนะ ก็น่าเพิกกสิณทั้งหมด รวมถึงช่องว่าง
    ที่น่าสนใจ อากาสานัญจายตนะ เป็นตัวเชื่อมระหว่างรูปฌานเข้าอรูปฌาน เพราะตัวช่องว่างเอง กับจิต ก็มีลักษณะคล้ายกัน หาที่ตั้งไม่ได้คล้ายกัน แผ่ออกไปได้หรือแทรกซึมไปได้ทุกทิศทุกทางคล้ายกัน แค่เพิกช่องว่างไปด้วย ก็จะเหลือแต่ตัววิญญาณเอง

    ลองค้น กรรมฐาน 40 กอง มีหมวดอรูปฌานสี่(สี่กอง)
    เขาก็ว่า จะเข้าหมวดอรูปฌานนี้ได้ ก็ต้องได้รูปฌานมาเสียก่อน. ประมาณนั้น
    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2014
  15. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    สุขภาพดี อยู่นะ..?

    หน้าที่ในกระทู้นี้ก็คงหมดลง การคิดต่อ...ของแต่ละท่าน เป็นเรื่องจำเพาะของตัวเอง
     
  16. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    [​IMG]

    ชัด ชัด ชัด ช่า ช้าก่อน อย่าพึ่งเปลี่ยน คลิปการภาวนา ถอยหลังเข้าคลองไปไหน...

    พึงทราบ ธรรมปริยาย สักสองสาม พระสูตรก่อน และจะ ทราบว่า ไม่จำเป็น
    ต้อง ถอยหลังไปฝึกสิ่งที่เคยข้ามมาแว้ว อาศัย การแฉลบของจิต ไปเห็น ดวงกสิณ
    -- ตรงนั้นพอแว้ว ที่จะบอกว่า มี ขี้ช้างที่เคยขี้ตามเขามาแล้ว จำเป็นต้องกลับถอย
    หลังไปทำอย่างเดิมไหม

    ให้พิจารณาพระสูตร สักสองสามพระสูตร ถ้า พระสูตรเหล่านี้มี รส น่าผิสมัย ก็
    พิจารณาเอาเองถึง ธรรมพิสมัยที่เป็นเบื้องหน้า ที่ไม่เคยสัมผัส เอามา แผ่ ขยาย
    ต่อเนื่องกันไป ....จะเอายังไง ก็แล้วแต่ " ขำบร๊ะโต ( กร่อนเสียเป็น ขรัวโต ) "


    พระสูตรนี้ คือ การบรรยายการทำกรรมฐาน ก่อนบรรลุธรรม ซึ่ง เนื้อหาก็จะ
    เป็นเรื่องการฝึก กสิณ"..........." ที่ใครๆก็คิดว่า เป็นการ ฝึกอรูป แต่หาก
    ไปดูพุทธประวัติ พระพุทธองค์จะทรงย้อนทำ อรูป ภายหลังการบรรลุธรรม

    สิ่งที่อยากให้สังเกต คำว่า " สว่าง " ตรงนี้ ใช่ แสงวู๊บๆ วาบๆ ของพวก โอภาส ในวิปัสนูปกิเลส อะเป่า !!???

    คำว่า หดหู่ ฝุ้งซ่าน เหล่านี้ ต้องให้ กระทืบปากอธิบายกันอีกไหมว่า คือเรื่องของ ".............."
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2014
  17. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    <img src='http://www.freemeland.com/images/song/65658fde58ab3c2b6e5132a39fae7cb9.jpg' width=150>

    พระสูตรนี้ ดูดีๆ อิทธิบาท4 การมีฤทธิ์มาก ต้อง ถอยหลังจากเดิม หรือ เพิ่มจากเดิม
    ก็แล้วแต่ ต้นทุนหน่าคร้าบ ถ้า มาเบื้องหน้าได้แล้ว จำเป็นหรือ จะต้องไป นับหนึ่งใหม่


     
  18. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966

    +++ ที่ผมเขียนไปนั้น "ไม่ใช่ของผมหรอก" แต่มันเป็น "ข้อความในพระสูตร" ที่คุณ ปุณฑ์ นำมาโพสท์ไว้นั่นเอง

    +++ อ่านให้ดี ๆ ก็จะรู้ได้เองว่า ที่ผมโพสท์ลงมาในกระทู้นี้นั้น เป็นข้อความ "ในพระสูตรทั้งหมด" ที่คุณ ปุณฑ์ นำมาโพสท์ไว้นั่นแหละ ไม่ได้มาจากที่อื่นเลย

    +++ แต่แปลกมากที่ หาสิ่งที่เรียกว่า "เพ่ง" ในพระสูตรไม่เจอ แต่มีคนดันอุตริ "อธิบายคำว่า เพ่ง" เสียใหญ่โต

    +++ จริงแล้ว "ไม่ได้ถาม" ว่า "เพ่ง" คืออะไร แต่ถามว่า "หาเพ่งเจอหรือไม่ ในพระสูตรนั้น"

    +++ สรุปได้ว่า สติปัญญาของคนในเวปนี้ "คุยกันไม่รู้เรื่อง" "ถามกบ ดันตอบ คางคก" ก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกรรม เอาเองก็แล้วกัน

    +++ ฝากให้คุณ jityim นิดหน่อยคือ "อันไหน ฝึก แล้วดีตามความเป็นจริง ก็ควรฝึกอันนั้น" สันทิฐิโก (ลงมือฝึกด้วยตนเอง) โอปนยิโก (เดินจิตลงไปในนั้น) ปัจจัตตังเวทิตัปโปวิญญููฮีติ (ก็จะรู้ได้ด้วยตนเอง) เท่านั้นแหละ นะครับ
     
  19. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    <img src='http://www.livingresort.com/wp-content/uploads/2012/12/so-in-love-6.jpg' width=150>

    อีกพระสูตร .....ลองพินา ดูก่อน ชัด ชัด ชัด ช่า อย่าพึ่งรีบเปลี่ยนคลิปไปไหน ....... แบน ซุไก่ "สกัด"


     
  20. gratrypa

    gratrypa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,283
    ค่าพลัง:
    +1,505
    แหม...ขอบคุณท่อนนี้มากเลย ขอบอก เพิ่งจะนึกออก ว่าทำกสิณลมได้ไง
    อ่านท่อนนี้จบ ก็ต้องรีบโพสท์ก่อนเลย เดี๋ยวจะขี้เกียจ และลืมไปซะอีก ๕๕๕

    ตอนสิบกว่าปีก่อน ที่ฝึกฝนและค้นหาอยู่หน้ากระจก ตรงบันได้ ใกล้ห้องน้ำ ชั้นสาม ทางขึ้นดาดฟ้า
    ตอนบ่าย น่าจะฝึกจ้องกลางหน้าผากนะ เพราะตำราโยคีเค้าว่าทุกคนมีตาที่สาม
    เป็นอาจารย์ใหญ่ผู้รอบรู้ทุกอย่างในจักรวาล ก็เป็นหนึ่งในนับสิบวิชาที่ฝึกทั้งวันทั้งคืน ช่วงนั้น

    วันนั้นนั่งฝึกจนร้อน ก็มองหน้าต่างข้างๆ อยากให้มีลมพัดมาซักหน่อย ร้อนจัง
    แป๊บเดียวลมก็พัดมาพอให้หายร้อน ตกใจก่อน แล้วแปลกใจ ตามด้วยสงสัย และสังเกตุ
    แล้วลองใหม่อีกที ก็มาอีกแฮะ ตอนหลังเลยติดใจ ทำเล่นบ่อยๆ แต่ไม่รู้จักกสิณลมนะ

    ตอนนั้นไม่รู้จักกสิณ เคยอ่านผ่านตามาบ้าง แต่ไม่สนใจ ไม่รู้ทำไมเหมือนกันแฮะ
    มาอ่านที่ท่านเขียน ทำให้นึกออกเรื่องสำคัญอันหนึ่งนะ ว่า
    ตอนนั้น ที่เราเรียกลม เราก็ทำจิตว่าตัวเราเป็นลมด้วยล่ะครับ ลอยมาลอยมา
    มาที่หน้าต่าง ไหลลอยมาโดนตัวเรา พัดมาจากทางโน้น พัดมาทางนี้
    ซึ่งช่วงนั้น ลมมันจะพัดมาทางนั้นแหละ เราก็ไหลจิตไปตามนั้น
    จะว่าบังคับก็ไม่ใช่ แต่เรากลายไปเป็นลมซะเองเลย นั่นแหละใกล้เคียงสภาวะนั้นที่สุด

    ตอนทำกสิณแม่น้ำเจ้าพระยา ก็ไม่รู้จักกสิณน้ำ รู้แต่ว่าแม่น้ำเต็มแล้ว จะท่วมเมือง
    แล้วใครสั่งกันน๊า บอกว่าหน้าที่เรา ต้องจัดการแก้ไข มีเราคนเดียวที่บ้าพอ ๕๕๕
    ครั้งแรกไปยืนที่ท่าน้ำวัดระฆังตอนสองทุ่มกว่า ที่จริงน่าจะถึงก่อนนั้นตั้งครึ่งชั่วโมงนะ

    แต่โดยผียายแก่ ไม่รู้ว่าชื่อยายใหม่ รึเปล่า เพราะไปบ้านเพื่อนแถววัดใหม่พิเรนทร์บ่อยๆ หึหึหึ
    มาก่อกวนตอนจะขับสามล้อไปวัดระฆัง คงยังไม่ถึงเวลาที่ฤกษ์ขึ้นสูงสุดสุดล่ะมัง นะ
    แต่เราก็รู้ตัวนะ ว่าแกมากวนทีนแน่เลย ให้เราขับวนไปวนมา บ่นไปหัวเราะไป เพราะรู้ทันแก
    สุดท้ายเอาแกไปทิ้งไว้ที่เดิม ที่รับแกมา ได้ตังค์มาสี่สิบบาทมั้ง หรือไม่ได้หว่า ๕๕๕

    ตอนอยู่บนท่าน้ำ ก็นึกว่าแล้วจะทำไงวะ น้ำมันถึงจะไหลแรงๆ ขึ้นได้
    ทีแรกนึกให้ตัวเราเป็นหนุมาน ตัวใหญ่เป้งเลย ลงไปคุกเข่าอยู่กลางแม่น้ำ
    ตัวใหญ่มาก คุกเข่าแล้ว น้ำสูงไม่ถึงโคนขาเลย ขอบอก ๕๕๕
    หันหน้าไปทางวัดพระแก้ว แล้วเสกให้น้ำไหลเข้าทางมือซ้าย มาไวไว
    แล้วไหลออกไปทางมือขาว ไปแรงแรง ๕๕๕ สนุกดี โป๊ะโยกเยกแรงขึ้นด้วยอ่ะ

    แต่ตอนแรกในใจก็บังเอิญนึกถึงตอนเรียกลมนะ แล้วทบทวนดู ว่าตอนนั้นทำในใจอย่างไร
    ก็ทำในใจเช่นนั้น ตอนใช้จินนาการเร่งน้ำ หรือกสิณ หรืออภิญญา หรือเลือดบ้าก็ไม่รู้ ๕๕๕
    ระยะนั้นทำอยู่หลายสิบครั้ง ท่าโน้นบ้างท่านี้บ้าง ตั้งแต่ท่าน้ำบางโพ
    ไปยันท่าน้ำสุดถนนตก ที่ลงจากสะพานกรุงเทพแล้วเลี้ยวขวาไปน่ะ สุดถนนเลย ตกน้ำ ๕๕๕
    ที่สะพานนี้แหละที่อีกฝั่งนึงมีศาลเจ้ามังกรฟ้า ที่คิดว่ามองเห็นมังกรตัวน้อย บินตามหลังมา (ในนิทานนะ)

    บ๊ะ ว่าจะเขียนขอบคุณนิดนึง ทำไมรู้สึกว่ามันยาวเหยียดเลย ว้า..
    เสียเวลาจัง ทั้งของเราและของคนอ่าน ไร้สาระไปหน่อย ขออภัยนะจ๊าาาา ๕๕๕

    อ้า...จบนิทานไปอีกตอนนึง ตอนบันทึกก็สนุกดีนะ ๕๕๕
    ว่าจะโม้ความลับเรื่องธาตุ ทั้งของท่านเจ้าเกาะนาฬิเกร์ และที่ได้มาจากกลอนมนตรา
    แต่ช่างเหอะ คนเค้าจะตั้งใจฝึกกัน อย่าเล่านิทานให้มากจะดีกว่านะ เนอะ



    กระต่ายป่า ข้างวัด / ค้างคาวแห่งแสง

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...