วีดีโอ poysian ถามเรื่องสร้างบาตรแก้ว หน้า 9 #169

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 8 ธันวาคม 2014.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    วิธีสร้างพระแก้วอีกวิธีด้วยการใช้เตาแบบ anagama

    [​IMG]
    Dr. Soetsu Yanagi, Bernard Leach, Shoji Hamada

    นับเป็นอีกวิธีหนึ่งที่คนไทยส่วนมากน่าจะสร้างพระแก้วได้ด้วยการยืมวิธีการสร้างเครื่องเซรามิคเครื่องปั้นดินเผาโดยใช้เตาแบบ anagama

    ก่อนอื่นผมอยากให้ท่านที่สนใจได้ลองชม vdo ใน youtube ชื่อเรื่องว่า small Anagama เป็น vdo สั้น ๆ ไม่กี่นาที แสดงให้เห็นความสบาย ๆ ตามแบบผู้รู้ที่ทำการสร้างแบบสบาย ๆ ไม่ต้องรีบร้อน นั่งเล่น นอนเล่น ดูเตา เฝ้าเตากัน 2 คน พูดกระเซ้าเย้าแหย่กันไป สนุก ๆ ขำ ๆ ไป แบบนี้ครับ แบบที่เรียกว่า อุดมคติครับ


    [​IMG]

    [​IMG]
    ภาพผังการทำงานของเตาแบบง่าย ๆ แต่อาจใช้ในการสร้างพระแก้วขนาดตั้งแต่เล็กถึงใหญ่ได้ หากเข้าใจถึงการทำงานของเตาได้แท้จริง

    Ana-Gma
    www.minoyaki.gr.jp544 × 330ค้นด้วยภาพ
    There are many kinds of kilns for pottery. Ana kiln has a single-chamber with a small hole as a chimny on the top to give off smoke. This kiln has been

    [​IMG]
    เตาอานากาม่า เตาง่าย ๆ ที่ยิ่งใหญ่หากเข้าใจหลักการทำงานของเตาแบบนี้ ผู้หญิงก็ร่วมทำงานแบบนี้ได้ ทำงานแบบชิว ๆ สบาย ๆ แบบนี้ก็ได้ครับ แต่ขอเตือนว่า อย่าอยู่หน้างานคนเดียวเป็นอันขาด เพราะอุบัติเหตุบางอย่าง เมื่อเกิดขึ้นต้องมีคนเข้าช่วยเหลือได้ทันเวลาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ธันวาคม 2014
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    [​IMG]
    วิธีการสร้างเตา anagama ด้วยการใช้ไม้ไผ่สานเป็นโครงก่อน ก่ออิฐทนไฟตัวประสานด้วยปูนกันความร้อนพิเศษ ด้วยความหนาของก้อนอิฐแค่นี้ก็สามารถกันความร้อนหลุดออกได้แล้ว จะให้ดีก็โบกด้วยปูนกันความร้อนหลุดรอดพิเศษอีกเพียง 3 - 4 เที่ยว แค่นี้เตาราคาเป็นแสนเป็นล้าน หรือหลายสิบล้านแบบที่คุณอจินไตยใช้อยู่ก็เกือบหมดความหมายไปเลย
     
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    หรือจะสร้างเตาแบบรีไซเคิ้ล ครั้งต่อไปยังใช้อิฐกันไฟเดิมได้ตลอด

    [​IMG]

    [​IMG]

    การสร้างเตามีหลายหลากวิธีครับ
    ในรูปนี้เป็นการสร้างเตาแบบง่ายยิ่งกว่าง่่าย
    สร้างเสร็จครั้งนี้
    ครั้งต่อไปขนาดของเตาอาจต้องใหญ่ขึ้น
    ก็ยังสามารถถอดเตาเก่าออก
    นำไปสร้างเตาใหม่ที่จะเล็กลง
    หรือจะใหญ่ขึ้นก็ได้
    ไม่ต้องเสียเงินซื้อก้อนอิฐล๊อตใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ธันวาคม 2014
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    [​IMG]
    เตาอานากาม่าในรัฐทามิลของอินเดีย ผู้หญิงเป็นผู้เก็บรายละเอียดและทนต่องานแบบนี้มาก ๆ แต่ทำไมในประเทศไทยผมจึงเห็นแต่ผู้ชายก็ไม่ทราบ ความจริงผู้หญิงจะเก็บรายละเอียดเล็ก ๆ น้อยในหยักสมองได้มากกว่าผู้ชายหลายเท่าครับ
     
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    [​IMG]

    ในรูปนี้แสดงให้เห็นเครื่องปั้นดินเผาในเตาที่ใช้อบครับ

    ในที่นี้เรากำลังพูดถึงการจะสร้างพระแก้วในเตาหลอมและอบในเตาเดียวกัน
    เตาแบบนี้สามารถสนองงานแบบนี้ได้ด้วย หากเราเข้าใจทุกปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
     
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    [​IMG]
    เครื่องปั้นดินเผาที่มีรูปร่างเหมือนคน เป็นดินเผาที่ต้องใช้ความร้อนมากกว่า 1,600 ํC นานมากกว่า 24 ชั่วโมง ในขณะที่องค์พระพุทธที่เราสร้างก็ไม่ได้มีมวลหนาไปกว่านี้ และต้องการความร้อนน้อยกว่า 1,400 ํC ในแก้วชนิดโซดาไลม์ เพียงแต่ต้องการเวลานานกว่าเท่านั้น คงไม่มีเหตุผลใดที่เตาชนิดนี้จะสร้างพระพุทธรูปแก้วขนาดใหญ่ไม่ได้

    เพียงแต่คนไทยจะต้องมีองค์ความรู้ให้มากหลายคนขึ้น ต้องมีความเข้าใจมากขึ้นถึงธรรมชาติของแก้ว แค่นี้ก็ประสบความสำเร็จไปกว่าครึ่งแล้ว

    ยิ่งวัตถุดิบคือตัวแก้วโซดาไลม์ก็หาง่าย เดินเข้าไปโรงงานแก้วไหนก็ได้ ขอซื้อแก้วโซดาไลม์ของเขามาหลอมต่อเขาขายแค่กิโลละไม่กี่บาท หลอมไม่กี่ชั่วโมงก็ละลายแล้ว ยากตรงช่วงอบลดอุณหภูมิอย่างเดียวเท่านั้นที่ต้องใช้เวลานานมาก
     
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    [​IMG]

    ชิ้นงานอย่างนี้ขายยากในเมืองไทย
    แต่ถ้าเป็นพระพุทธรูปแก้วมีแต่คนอยากสร้าง
    แต่ยังหาคนที่พร้อมทั้งกำลังความรู้และกำลังทรัพย์ไม่ได้เท่านั้น
     
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    ในญี่ปุ่นซึ่งน่าจะเป็นต้นตำหรับเตาแบบต่าง ๆ ( ความจริงประเทศจีนก็เป็นต้นตำหรับ ) เขารักษาองค์ความรู้ของเขาผ่านลูกหลานเหลนโหลนลงมาเรื่อย ๆ ผิดกับประเทศไทยที่ฝึกให้คนไปเป็นลูกจ้างคนอื่นหมด แล้วอย่างนี้ต่อไปประเทศไทยคงไม่ีมีอะไรเหลือแล้ว ต่อไปคงเป็นลูกจ้างของบริษัทต่างชาติที่เข้ามาซื้อที่ดินในไทย และต่างชาติเป็นเจ้าของกิจการ ส่วนคนไทยได้แต่เป็นลูกจ้างรายวัน
     
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    [​IMG]

    ในนิวซีแลนด์ ในอเมริกา ในยุโรป เขาเริ่มมาเอาใจใส่และลงทุนทำเตาอานากาม่า สร้างชิ้นงานเครื่องปั้นดินเผาในประเทศของเขา และบางกลุ่มเข้ามาขยายงานในประเทศอื่น ๆ กันแล้ว โดยความรู้เดิมก็เป็นของคนเอเซีย แต่ขณะนี้ฝรั่งเองยังยอมรับ และค่อย ๆ มีชิ้นงานออกมาในโลกโซเชี่ยลว่าเป็นฝรั่งเป็นคนสร้าง ต่อไปในอนาคตก็คงกลายเป็นของฝรั่งไปหมดแล้ว คนเอเซียก็จะเหลือแค่ส่วนน้อยมากที่เป็นสายลูกหลานโดยตรงเท่านั้น
     
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    [​IMG]

    เริ่มแล้วเห็นไหมครับ ? พอองค์ความรู้ไปสู่เมืองนอกสักระยะหนึ่งก็เริ่มมีคนสร้างเตาแบบใหม่ อย่างเช่น Su Hana คุณผู้หญิงท่านนี้คงได้รับองค์ความรู้มาจากเตาของเอเซียมาก่อน ต่อมาพอเริ่มจับแพะชนแกะได้ก็สร้างเตาในชื่อเตาแบบ Su Hana ซึ่งเป็นเตาที่ทำงานได้ดีกว่าของชนิดหรือแบบอื่นในลักษณะงานที่ต้องการความนานประมาณ 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน 3 คืน การใช้เชื้อเพลิงก็ลดลงได้มาก ซึ่งตรงนี้ก็คงเก่งจริงล่ะครับ
     
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    คำถามที่คนสร้างเตาลักษณะนี้มักถามคือ แล้วเราจะอบด้วยสูตรอะไร ?

    คำถามนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะกับช่างแก้วเป็นส่วนมาก เพราะเตาลักษณะ anagama หรือลักษณะใกล้เคียงกันนี้ มักเป็นเตาแบบง่าย ๆ ไม่มีตัววัดอุณหภูมิ ไม่มีเครื่องมือจักรกลใด ๆ เข้ามายุ่งเกี่ยวมากนัก หรือบางครั้งไม่มีเครื่องยนต์กลไก ไม่ีมีเครื่องมือวัดใด ๆ เลย

    คราวนี้ช่างอบแก้วมืออาชีพจำนวนหนึ่ง ซึ่งคุ้นเคยกับเครื่องมือ เครื่องยนต์กลไก หรืออย่างน้อยก็ต้องพอสนิทกับเครื่องวัดอุณหภูมิเป็นอย่างน้อยสุด มักตั้งคำถามว่า แล้วเราจะอบด้วยสูตรอะไร ? แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ขณะนี้ไปถึงไหนแล้ว หมายถึง ชิ้นงานไปถึงไหนแล้ว คำตอบจึงอยู่ที่ว่า เรามีความเข้าใจถึงการทำงานของเตาชนิดนี้เพียงใด ซึ่งผมวันนี้ไปหาข้อมูลใน google ไม่พบข้อมูลที่ผมเคยเห็นในโทรทัศน์ช่องหนึ่งเมื่อหลายปีที่แล้ว เป็นภาพยนต์สารคดีเกี่ยวกับการที่ช่างสร้างชิ้นงานประเภทเซรามิคพอสเลน หรืออาจเป็นเครื่องปั้นพอสเลนเผา มากกว่าดินเผา เพราะสร้างได้ยากกว่า แต่ผู้ทำงานชิ้นนั้นเป็นปรามาจารย์ชาวญี่ปุ่น เขาอธิบายในสารคดีครั้งนั้นคล้าย ๆ รายการดิสคัฟเวอรี่ ( ใช่หรือไม่ ? ไม่แน่ใจ อาจเป็นรายการอื่น ๆ ) ผมดูตั้งแต่ต้นจนจบ พอเข้าใจได้ว่า เตาชนิดนี้อยู่บนพื้นฐานแห่งความเข้าใจจริง ๆ หากเข้าใจแล้ว ทำสิ่งที่ต้องทำก่อน ไม่ใช่รอให้เกิดปัญหาก่อนค่อยมาแก้ไข งานที่ว่ายากก็ง่าย และแทบจะพูดได้เลยว่า เตาประเภทนี้สามารถดัดแปลงได้ 108 1009 คือสามารถแม้แต่จะอบเลนฮับเบิ้ลได้หากคุณเข้าใจจริง แต่ฝรั่งเขาต้องการความแน่นอนที่ติดตามผลได้ทุกนาที ดังนั้นเตาแบบนี้ไม่สนองตรงนี้

    แต่ผมเชื่อว่าเตาแบบนี้สามารถสร้างพระพุทธรูปแก้วขนาดหน้าตักอาจจะได้ถึง 36 นิ้วในปัจจุบัน และหากความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ผมว่า หน้าตักสัก 2 เมตรก็ยังไหว และหากผ่านงานมามากก็อาจจะถึง 4 เมตรได้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ธันวาคม 2014
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    ต้องเชื่อฟังสูตรการอบลดอุณหภูมิแค่ไหน ? อย่างไร ?

    คำถามนี้เป็นคำถามที่มองได้หลายมุมมองครับ ถ้ามองอย่างคนว่านอนสอนง่าย เขาจะไม่แหกคอก ไม่นอกสูตรเป็นอันขาด เพราะบริษัทที่ค้นคว้าทดลองสูตรเขาก็ทำการค้นคว้าทดลองและได้ผลที่ค่อนข้างแน่นอนที่สุดในระดับหนึ่ง หากเราไปแหกคอกก็อาจประสบความล้มเหลวได้

    แต่เชื่อหรือไม่ ? โรงงานแก้วส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะที่เป็นโรงงานเก่ง หรืออาจจะเรียกได้ว่า เก่งยิ่งมากยิ่งแหกคอก ไม่เชื่อฟังกันง่าย ๆ ครับ ขอยกตัวอย่างนะครับ

    ลูกแก้วกลม ๆ เหมือนลูกฟุตบอลที่จีนเป็นคนสร้างมาขายในไทยจำนวนมาก ทุกลูกไม่เคยได้รับการอบอย่างถูกต้องตามใบไกด์ดังที่ผมได้เขียนไว้ในกระทู้นี้ เพราะถ้าเขาทำการอบลดอุณหภูมินานขนาดนั้น ราคาต้นทุนเขาจะสูงจนขายคนไทยได้ยาก หรือเรียกว่าไม่ได้ขายเลย ยกตัวอย่างลูกแก้วกลมตัน ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 นิ้ว ถ้าอบถูกต้องตามสูตร ต้องใช้เวลาอบไม่น้อยกว่า 35 วัน ต้นทุนในการอบอาจจะลูกละ 2 - 3 หมื่นบาท แต่เขาขายได้ยังไงขณะนี้ลูกละพันกว่าบาทถึงไม่เกิน 4 พันบาทแล้วแต่พบพ่อค้าแม่ค้าคนใดเรียกราคาไม่เท่ากัน

    ดังนั้น โรงงานแก้วเก่ง ๆ ไม่เชื่อฟังสูตรง่าย ๆ หรอกครับ เขาก็ต้องมีวิธีของเขาที่จะลดจำนวนเวลาลง แต่ต้องลดให้เป็น และใช้วิธีพิสูจน์ที่ง่าย ๆ แบบสุ่ม หรืออาจจะไม่มีการพิสูจน์เลยด้วยซ้ำ ขอให้ไม่แตก ไม่ร้าวก่อนการขายเป็นใช้ได้ หรือขายไปแล้วไม่แตกร้าวภายใน 2 - 4 ปีก็พอจะพ้นตัวครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ธันวาคม 2014
  13. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    แก้วกับเรซิ่นต่างกันมาก พระแก้วองค์นี้ใช้หลอดที่ร้อนเกิน 200 ํC จี้อยู่ที่ก้นพระ

    [​IMG]

    [​IMG]

    พระแก้วตัน ๆ องค์นี้ที่ผมสร้างสำเร็จไปเมื่อประมาณปี 2009 ( รุ่นกลวงสร้างสำเร็จตั้งแต่ปี 2005 ) ทั้งสองรุ่นสามารถทนไฟที่ใช้หลอดไฟในฐาน บางหลอดผมเลือกใช้หลอดที่สร้างความร้อนมากกว่า 200 ํC โดยเปิดอยู่นานหลายชั่วโมง แก้วไม่รู้สึกอะไรเลย ในขณะที่ถ้าเป็นเรซิ่นก็ละลายไปแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ธันวาคม 2014
  14. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    [​IMG]
    พระแก้วกลวงหน้าตัก 9 นิ้วองค์นี้ใช้แม่พิมพ์เหล็กชุดเดียวกับพระแก้วตันด้านบน สร้างสำเร็จจำนวนประมาณ 500 องค์ น้อมถวายไว้ในพระพุทธศาสนาแล้ว ทางวัดที่ได้รับไปนำออกบูชา ชุดองค์สีฝ้าให้บูชาองค์ละ 100,000.- บาท และชุดองค์สีใสองค์ละ 20,000.- บาท ( เป็นคำพูดของท่านเจ้าอาวาสที่ได้บอกกับผมเฉพาะวัดนั้นจำนวนประมาณ 60 องค์เศษ และมีคนเช่าหมดแล้วตั้งแต่วันงาน ) ผมไม่เคยคิดค่าของแก่วัดที่ผมน้อมถวายแต่อย่างใด

    [​IMG]
    ภาพแม่พิมพ์เหล็กพระแก้วหน้าตัก 9 นิ้ว

    ด้านล่างคือการสร้างองค์ต้นแบบเพื่อนำไปกัดฟอซแม่พิมพ์เหล็ก
    แม่พิมพ์เหล็กชนิดที่สร้างด้วยการกัดฟอซจะมีความคมชัดตามแบบทองแดง

    [​IMG]
    เมื่อเดือนมกราคม 2548 ผมเริ่มต้นโครงการสร้างพระพุทธรูปหน้าตัก 9 นิ้ว ( วัดหัวเข่าถึงหัวเข่า ) ซึ่งถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้นและอาจนับว่าถึงปัจจุบันนี้ด้วย เพราะถึงปี 2556 ยังไม่มีคนไทยคนใดสามารถสร้างพระพุทธรูปจากแก้วหลอมจากทรายหน้าตักเกิน 5 นิ้วได้เลยแม้แต่คนเดียว ผมเริ่มต้มด้วยการสร้างหุ่นขี้ผึ้งโดยขอความช่วยเหลือเชิงว่าจ้างพนักงานของช่างสิบหมู่ท่านหนึ่ง สร้างหุ่นขี้ผึ้งภายใต้เงื่อนไขหลายหลากทางเทคนิคเช่น ต้องหลบมุม under-cut ทั้งหมด เพราะเป็นวิชาสร้างพระด้วยแม่พิมพ์เหล็กในระบบ pressed glass และ mouth blown glass โดยได้รับความช่วยเหลือจากฝ่ายพัฒนาแม่พิมพ์เหล็กของ ม. เกษตร ได้รับความช่วยเหลือจากช่างเทคนิควิชา pressed glass ของจีนไต้หวัน และช่างเทคนิคจากออสเตรเลีย รวมทั้งของไทยอีกหลายท่าน ผมต้องขอขอบคุณและขออนุโมทนาทุก ๆ ท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งที่เข้ามาช่วยเหลือและผู้ร่วมงานทุก ๆ ท่านที่ทำให้งานผ่านมาได้ด้วยดีและประสบความสำเร็จในที่สุด วิชาช่างแก้วแต่ละวิชาถึงแม้จะไม่ขัดแย้งกันเต็มที่ แต่ก็มีหลายเทคนิคที่พอจะถือว่าขัดแย้งกันได้ ผมจึงต้องขอความช่วยเหลือจากช่างเทคนิคหลายหลากสาขาวิชาแก้วเป็นพิเศษ ซึ่งส่วนมากก็เป็นครูบาอาจารย์และเป็นเพื่อนวิชาชีพเดียวกันมานานกว่า 30 กว่าปีแล้ว บางท่านก็รู้จักกันมา 40 กว่าถึง 50 ปีแล้ว จึงได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดี และเมื่องานเสร็จลง แทบทุกท่านได้อนุโมทนาผลงานที่สามารถสร้างพระพุทธรูปจากแก้วที่หลอมด้วยทรายที่ความร้อนสูงถึง 1480 องศาเซลเซียสนานมากกว่า 12 ชั่วโมง และอบลดความร้อนครบตามสูตรที่ต้องใช้เวลาค้นคว้าทดลองนานถึง 5 ปีจึงสามารถพบแสงที่ปลายอุโมงค์

    ขณะนี้สิ้นปี 2557 แล้วยังไม่มีใครลบสถิติเลย จึงเป็นเวลา 9 ปีแล้ว ยังไม่มีใครสามารถสร้างตามได้ ทั้ง ๆ ที่ทุกอย่างก็เปิดเผยและพร้อมจะให้ความร่วมมือโดยไม่เอาเงินทองใด ๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ธันวาคม 2014
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    [​IMG]

    องค์นี้เป็นพระแก้วตัน ๆ สร้างด้วยแก้วโซดาไลม์ซิลิก้าองค์แรกของโลกที่เป็นเนื้อตัน ได้น้อมถวายพระ อ. ยุทธ และ พระ อ. อำนาจ โอภาโส ( กลั่นประชา ) ที่วัดพระธาตุผาแก้วตั้งแต่สมัยที่ชื่อวัดว่า สำนักสงฆ์ผาซ่อนแก้ว องค์นั้นขณะนั้นยังสร้างได้ไม่เรียบร้อยถึงที่สุดครับ เพราะเป็นองค์แรกยังจับทางไม่ถูก
     
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    [​IMG]

    ในภาพนี้เห็นช่างแก้วระดับโลก 2 คน
    แต่ความจริงเฉพาะที่แบกก้อนแก้วมี 3 คน
    ที่เดิมก็เป็นช่างแก้วระดับโลก
    ยังต้องไปพัฒนาฝีมือแรงงานในการม้วนก้อนแก้ว
    ให้ได้ใหญ่สิบกว่ากิโลกรัมอีกเกือบ 7 ปี
    เพื่อนำไปปั๊ม หรือสร้างพระแก้วในระบบ pressed glass
    ด้วยการปั๊มหรือกดด้วยเครื่องกดแรงดันเข้าแม่พิมพ์เหล็ก
    นี่คือโรงงานระดับโลกนะครับ องค์ละหลาย ๆ แสนทีเดียว

    [​IMG]

    ช่างแก้วระดับโลกในแต่ละแขนง
    ในแต่ละสาขา แทบทุกคนเป็นช่างที่ต้องแข่งทุก ๆ 2 ปีครั้ง
    จึงจะได้ใบรับรองจากองค์กรแก้วว่า เป็นช่างระดับโลก
     
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    พระพุทธชินราชสร้างจากแก้วจริงขนาดใหญ่เท่าองค์จริง

    [​IMG]

    ผมจำลองด้วยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์นะครับ ไม่ใช่ภาพจริง
     
  18. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    [​IMG]
    เตาอบแบบอุโมงค์มีหลายชนิด ชนิดที่เห็นในภาพนี้เป็นเตาอบอุโมงค์แบบรางเลื่อน ซึ่งเหมาะกับงานที่มีความหนา Thickness ของแก้วไม่เกิน 1 นิ้ว และส่วนมากเป็นชิ้นงานขนาดไม่ใหญ่เกินไป ถ้าหนาแค่ 1 นิ้วแต่มีขนาดใหญ่ก็ไม่สามารถใช้อบได้
     
  19. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    [​IMG]

    นี่ครับภาพที่น่าจะเป็นไปได้นานแล้ว ความสามารถของคนไทยเราทำได้ครับ แต่ไม่มีใครรวบรวมกำลังกัน

    ( ภาพนี้เป็นการน้อมถวายพระแก้ว 9 นิ้ว )
    ( ผมใช้คอมฯขยายภาพพระแก้วใหญ่ขึ้น )


    [​IMG]
    พระแก้ว 9 นิ้วอีกองค์ที่ผมสร้าง


    [​IMG]
    โฟกัสเฉพาะพระพักตร์ที่คนไทยสามารถสร้างพระแก้วหน้าตัก 9 นิ้วได้คมชัดขนาดนี้ครับ

    [​IMG]

    [​IMG]
    องค์พระแก้วคริสตัลตัน ๆ หน้าตัก 9 นิ้วสีขาวฝ้าและสีเหลือง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ธันวาคม 2014
  20. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,709
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,839
    [​IMG]
    รูปคุณแม่ผมยืนหน้าเตาอบพระแก้วที่โรงงานแก้วครับ

    กราบแทบเท้าพระอรหันต์ประจำตัวของผมในรูป แม่ผมเอง และอีกท่านหนึ่งคือพ่อที่ล่วงลับ ที่ทำให้ผมรู้จักวิชาแก้วมาตลอดชีวิตของท่าน บุญใดที่ผมได้ทำแล้วและกำลังจะทำ ขออุทิศส่วนบุญกุศลแด่มารดาบิดรทั้งในอดีตและปัจจุบันชาติ

    พระพุทธรูปแก้วองค์นี้ที่สร้างสำเร็จกลางปี พ.ศ. 2549 นี้จำนวนหลายร้อยองค์ถูกถวายไว้ในพระพุทธศาสนาไปทั้งหมดทั้งสิ้นแล้ว


    ทำไมพระพุทธรูปที่สร้างจากแก้วตัน ๆ จึงมีราคาสูงมาก | เว็บบอร์ด วิชาการ.คอม
     

แชร์หน้านี้

Loading...