มีด้วยหรือผู้ประพฤติธรรมจริง โดยไม่ต้องสังวรศีล

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมแท้ว่าง, 13 สิงหาคม 2015.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    ดูนี้บ้าง

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:TrackMoves/> <w:TrackFormatting/> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:DoNotPromoteQF/> <w:LidThemeOther>EN-US</w:LidThemeOther> <w:LidThemeAsian>X-NONE</w:LidThemeAsian> <w:LidThemeComplexScript>TH</w:LidThemeComplexScript> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:SplitPgBreakAndParaMark/> <w:DontVertAlignCellWithSp/> <w:DontBreakConstrainedForcedTables/> <w:DontVertAlignInTxbx/> <w:Word11KerningPairs/> <w:CachedColBalance/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> <m:mathPr> <m:mathFont m:val="Cambria Math"/> <m:brkBin m:val="before"/> <m:brkBinSub m:val="--"/> <m:smallFrac m:val="off"/> <m:dispDef/> <m:lMargin m:val="0"/> <m:rMargin m:val="0"/> <m:defJc m:val="centerGroup"/> <m:wrapIndent m:val="1440"/> <m:intLim m:val="subSup"/> <m:naryLim m:val="undOvr"/> </m:mathPr></w:WordDocument> </xml><![endif]--> [FONT=&quot]ในเมืองไทยนี้[/FONT][FONT=&quot] มีการขอศีล-ให้ศีล -รับศีล เป็นประเพณีที่รู้กันเป็นสามัญ เมื่อรับศีล ที่เรียกเป็นภาษาทางการว่า สมาทานเบญจศีลจบ พระผู้ให้ศีลก็จะกล่าวด้วยคำแสดงอานิสงส์ศีล ว่า "สีเลน สุคตึ..." มีใจความว่า ด้วยศีล จะไปสุคติ จะเกิดโภคสัมปทา คือความสมบูรณ์พรั่งพร้อมแห่งโภคะ และจะถึงนิพพาน

    สาระ ที่เกี่ยวข้องในที่นี้ คือ ตอนที่ว่า ศีลทำให้เกิดทรัพย์สินเงินทองพรั่งพร้อม หรือพูดง่ายๆ ว่า ทำให้เศรษฐกิจดี แม้ว่าคาถาแสดงอานิสงส์ศีลนี้ จะเป็นของเรียบเรียงขึ้นในยุคหลัง ไม่พบในพระไตรปิฎกและอรรถกถาฎีกาทั้งหลาย และเมื่อกล่าวกันมาเป็นแบบแผน ก็ควรนำมาพูดไว้ พอเป็นเรื่องแทรกสั้นๆ

    หลักการใหญ่ของศีล ก็คือ เป็นเครื่องจัดตั้งวางพื้นฐานเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เรียบร้อยมั่นคง เพื่อจะได้ทำการใหญ่ๆ สำคัญๆ ทั้งหลายให้ก้าวไปได้ด้วยดี

    ว่าถึงด้านเศรษฐกิจ ก็ชัดดังที่เคยพูดแล้ว ในทางสังคม เมื่อคนอยู่ในศีล ไม่มีอาชญากรรม ไม่มีภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน การสัญจรสะดวกปลอดภัย ไปได้ทุกที่ จะตั้งโรงงาน จะทำกิจการอะไรที่ไหน จะเดินทางไปทำงาน ไปซื้อไปขายไปจับจ่ายที่ไหนเวลาใด ไม่ว่าในเมืองหรือบ้านนอก ตรอกซอกซอยไหน ค่ำคืนดึกดื่นเท่าใด ปลอดโปร่งโล่งใจไปได้หมด คนงานกับนายจ้าง มีความสัมพันธ์กันดี มีน้ำใจซื่อตรงเกื้อหนุนกัน ระบบราชการงานเมือสุจริต มีประสิทธิภาพ บรรดากิจการนานาประเภทน่าเชื่อถือไว้ใจได้ ทั้งคนใกล้คนไกล คนในถิ่นนอกถิ่นนอกประเทศ ติดต่อสื่อสารคมนาคม ไปมาราบรื่นร่าเริง การผลิต การพาณิชย์คล่องตัว นี่คืออย่างง่ายๆ ที่คิดสร้างฐานทางเศรษฐกิจให้แก่สังคม เป็นความพร้อมที่จะก้าวขึ้นสู่ความรุ่งเรืองเฟื่องพู

    เมื่อบ้าน เมืองมั่นคงดี ประชาชนมีความมั่นใจสูง ที่นี้ก็มาถึงตัวคน ว่าอย่างรวบรัด ด้านลบที่ขาดศีล เช่น เสเพล ลักขโมย ขี้ฉกขี้ฉ้อขี้โกงขี้เกียจขี้เมา เสียหายอย่างไร ขอข้ามไป ไม่ต้องพูดถึง พูดแต่ในแง่มีศีล ชาวบ้านที่ทำมาหาเลี้ยงชีพ เมื่อตกลงใจว่าจะอยู่ในศีล ถ้าแน่ใจตัวเองแล้วว่าจะตั้งใจทำมาหากินในทางสุจริต พอใจมุ่งดิ่งไปอย่างนี้ ความคิดที่จะหาช่องได้โน่นได้นี่ รอหาช่องทำนั่นทำนี่ในทางที่ไม่ถูกต้อง หรือจะคิดการทุจริตอะไร ก็ไม่มีแม้แต่รายการได้ของเผลอลาภลอย ก็ไม่นึกถึง ไม่มีเรื่องนอกที่จะมาแย่งเวลาแย่งความคิด

    พอใจมุ่งแน่วมาที่ เรื่องการงานอาชีพตรงเรื่องจริงๆ แล้ว ความคิดที่จะฟุ้งซ่านออกไปนอกทางไม่มี นี่คือเข้าทางของสมาธิแล้ว ทีนี้ อย่างที่ว่า ใจมุ่งมาที่เรื่องการอาชีพ ตั้งใจทำจริงจัง ก็คิดถึงแต่เรื่องการเรืองงาน ว่าจะริเริ่มอะไร จะทำอะไรบ้าง จะดำเนินการอย่างไรให้ได้ผลดี มีอะไรจะติดขัดตรงไหนที่ไหน จะแก้ปัญหาอย่างไร จะติดต่อทำทางเปิดทางของงานอย่างไร ควรคบหาใคร ปรึกษาใคร ร่วมมือร่วมงานกับใคร อย่างไร ฯลฯ อย่างนี้ ก็คือศีลส่งผลต่อมาที่จิต ด้านสมาธิ กับ ปัญญามาร่วมช่วงต่อ เดี๋ยวอิทธิบาท ๔ ก็ทยอยมากันครบ มีหวังสำเร็จแน่

    ขอ ให้จับตรงนี้ให้ชัดว่า หน้าที่ของศีล อยู่ที่จัดฐานเตรียมสภาพแวดล้อมให้เรียบร้อยมั่นคงที่จะทำการต่อไปได้ อย่าง มั่นใจ ถ้าขาดศีล ก็ฐานเสีย พื้นผุโหว่ สภาพแวดล้อมไม่เอื้อ ถ้าไม่มีศีล ก็เริ่มไม่ได้ ถ้าเริ่มก็ง่อนแง่นโงนเงน พอสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยดีแล้ว ฐานมั่นพร้อมดีแล้ว ก็คือเข้าไปในวิถีของเรื่อง คือถึงตัวการงาน พูดภาษาพระก็คือ มีสมาธิที่จะทำงานทำการ แล้วถึงตอนนี้ พระพุทธเจ้าตรัสอะไร

    มีกึ่งคาถาที่พระพุทธเจ้าไว้เป็นหลักประจำ เป็นประโยชน์เริ่มต้นคาถาสรุปคำสอนสำหรับชาวบ้านที่ทำงานทำการสร้างเนื้อ สร้างตัว เพื่อชีวิตที่ดีมีความสำเร็จลุจุดหมายในโลกนี้ กึ่งคาถานี้ คือ

    "อุฏฺฐาตา กมฺมเธยฺเยสุ อปฺปมตฺโต วิธานวา"
    [/FONT]
    [FONT=&quot]แปลว่า[/FONT][FONT=&quot] "ขยันในการงาน ไม่ประมาท ฉลาดจัดการ" ขมวดให้จำง่ายว่า "ขยัน ไม่ประมาท ฉลาดจัดการ" * [/FONT]
    [FONT=&quot]
    *(องฺ.อฏฺฐก.[/FONT][FONT=&quot]23/144/293; 145/298; 172/333; 173/336…)

    ความ จากพุทธพจน์นี้ ควรถือเป็นหลักการทำงานเลยทีเดียว แน่นอนว่า ในเรื่องงาน ก็ต้องเริ่มด้วยขยัน (ตัวศัพท์ คือ อุฏฐานะ แปลว่า ตัวคนลุกขึ้น ไม่มัวนั่งนอนอยู่ ก็ได้ เงินทองเพิ่มขึ้น หรือมีความเจริญขึ้น ก็ได้) เมื่อขยันหมั่นเพียร กิจธุระการงานจึงจะเดินหน้า ก้าวไป แล้วจึงจะเสร็จ และถึงความสำเร็จได้

    ความขยันหมั่นเพียร นี้ พระ พุทธเจ้าทรงเน้น ไม่เพียงเป็นองค์ของความสำเร็จ แต่เป็นข้อระลึกอ้างอิงสำหรับความภาคภูมิใจและความสุขในชีวิตแห่งการงาน ด้วย ดังที่ทรงย้ำเป็นประจำในคำสอนสำหรับคฤหัสถ์ว่า "มีโภคะซึ่งหามาได้ ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมขึ้นด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ ซึ่งเป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม"

    นอกจากนั้น ด้วยความขยันหมั่นเพียรนี้ คนก็จะได้พัฒนาตัว พัฒนาชีวิต เพราะการก้าวไปในงานนั้น เป็นทั้งการพัฒนาคน และเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ต้องพัฒนาตัวในทุกด้าน ที่จะพาตัวให้ก้าวผ่านไปได้ และสำเร็จผล

    อย่างไรก็ตาม ความขยันเท่านั้นไม่พอ ต้องมีความไม่ประมาทกำกับด้วย ถ้าขยันไม่เข้าเรื่อง ไม่ถูกเวลา ผิดที่ผิดจังหวะ ที่ควรขยัน ไม่ขยัน ไปขยันที่ไม่ควรขยัน ก็อาจเสียการ ความไม่ประมาท ก็คือสติที่ ออกโรงทำงานกับความเพียรนี้เอง ได้แก่ ตื่นตูม ทันเหตุการณ์ มีเรื่องผ่านจับจุดได้ มีเรื่องร้ายไม่หวั่นไหว ไม่รีรอเมื่อได้ที่ มีให้มีช่องโหว่ทิ้งไว้ มีอะไรจะต้องรับมือหรือป้องกัน ก็เตรียมให้พร้อม ถึงเวลา ถึงจังหวะ หรือเกิดโอกาส ก็ไม่พลาด ไม่ละเลย ถือหลักว่า เตรียมกิจสำหรับอนาคตให้พร้อมไว้ อย่าให้กิจนั้นบีบคั้นตัวเมื่อถึงเวลาต้องทำเฉพาะหน้า" *

    พูดสั้นๆว่า ความไม่ประมาท ช่วย ให้เพียรครบ ๔ สถาน คือ ทั้งเพียรปิดช่องป้องกันความเสื่อมเสียหาย เพียรแก้ไขปัญหากำจัดเรื่องร้ายภยันตราย เพียรสร้างสรรค์ทำการดีงามให้สำเร็จ และเพียรอนุรักษ์ เช่น รักษาคุณภาพ ดำรงเกียรติคุณ และปรับปรุงส่งเสริมให้เจริญยิ่งภิญโญจนกว่าจะสมบูรณ์ไพบูลย์

    หลักที่ ๓ คือ ฉลาดจัดการ ก็สำคัญ เป็นเรื่องของปัญญา ทำให้ใช้ความขยันถูกเรื่อง ถูกที่ เป็นต้น และให้ความไม่ประมาทออกผลจริง ในที่นี้ เพื่อให้สั้นที่สุด ก็ว่า ต้องจัดการด้วยปัญญาซึ่งรู้หลัก เฉพาะอย่างยิ่ง สัปปุริสธรรม ๗ ซึ่งมีหัวข้อว่า รู้หลักรู้จักเหตุ รู้ความมุ่งหมายรู้จักผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้บุคคล รู้กลุ่มชน ชุมชน ถิ่นสังคม เช่น รู้จักเลือกใช้คนให้เหมาะ กับ งาน รู้ความต้องการของกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมแบบนั้น ฯลฯ

    ความฉลาดจัดการ หรือความรู้จักจัดการนี้ เป็นธรรมที่ทรงเน้น หรือตรัสบ่อย ทั้งสำหรับพระสงฆ์ (อลัง สังธาตุง - สามารถจัดการ) และแน่นอนว่าย้ำพิเศษ สำหรับคฤหัสถ์ที่รับผิดชอบหมู่ชนหรือกิจการต่างๆ เช่น ทรงเล่าถึงหลักธรรมสำหรับผู้รับผิดชอบครอบครองบ้านเรือนว่า ผู้ครองเรือน ควรเป็นคนเผื่อนแผ่แบ่งปัน รู้จัดการ (วิธานวันต์)

    สำหรับ ผู้จะรับราชการ ก็ตรัสเล่าเรื่องที่แสดงหลักธรรมไว้มาก รวมทั้งที่ว่า ผู้มีวิจารณปัญญา พร้อมด้วยพุทธิปัญญา ฉลาดในวิธีจัดการ รู้จักกาล รู้จักสมัย จึงควรสนองราชกิจ คนที่ขยันในกิจการ ไม่ประมาท มีปัญญาสอดคล้อง จัดการงานได้ดี จึงควรสนองราชกิจ

    รวมความว่า ศีลครอบคลุมถึงธรรมที่เกี่ยวข้องกับกิจการและการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ทั้ง หลาย พูดนัยหนึ่งว่า ศีลเป็นเรื่องของการจัดการชีวิตให้มีสังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อก้าวไปในการพัฒนาจิตปัญญาได้เต็มที่[/FONT]
    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" DefUnhideWhenUsed="true" DefSemiHidden="true" DefQFormat="false" DefPriority="99" LatentStyleCount="267"> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Normal"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="heading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="35" QFormat="true" Name="caption"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="10" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" Name="Default Paragraph Font"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="11" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtitle"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="22" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Strong"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="20" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="59" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Table Grid"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Placeholder Text"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="No Spacing"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Revision"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="34" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="List Paragraph"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="29" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="30" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="19" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="21" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="31" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="32" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="33" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Book Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="37" Name="Bibliography"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" QFormat="true" Name="TOC Heading"/> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin-top:0cm; mso-para-margin-right:0cm; mso-para-margin-bottom:10.0pt; mso-para-margin-left:0cm; line-height:115%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri","serif"; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-theme-font:minor-fareast; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin;} </style> <![endif]-->
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ดูต่ออีก

    ในการจำแนกผู้ครองเรือน หรือชาวบ้าน (กามโภคี) เป็น ๑๐ ประเภท พระพุทธเจ้าทรงแสดงผู้ครองเรือนประเภทที่ ๑๐ ว่าเป็นผู้ครองเรือนที่ประเสริฐเลิศสูงสุด จากคุณสมบัติของผู้ครองเรือนอย่างเลิศนั้น จะเห็นหลักการปฏิบัติเกี่ยวกับทรัพย์ ที่ถูกต้องตามหลักธรรม สรุปได้ดังนี้ (องฺ.ทสก.24/91/194)

    ๑) การหา แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม ไม่ข่มเหงเบียดเบียน
    ๒) การใช้ (ขั้นนี้มีการวางแผน ซึ่งถือว่ารวมทั้งการเก็บรักษา และการเป็นอยู่พอดีไว้ด้วยในตัว)
    ก.เลี้ยงตน(และคนที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบ) ให้เป็นสุข
    ข.เผื่อแผ่แบ่งปัน
    ค.ใช้ทรัพย์ทำสิ่งดีงามเป็นประโยชน์เป็นบุญ(รวมทั้งใช้เผยแผ่ส่งเสริมธรรม)

    ๓. การมีปัญญาที่ทำให้เป็นอิสระ ไม่ลุ่มหลงหมกมุ่นมัวเมา กินใช้ทรัพย์อย่างรู้เท่าทันเห็นคุณ โทษ มีจิตใจเป็นอิสระด้วยนิสสรณปัญญา และอาศัยทรัพย์ได้โอกาสที่จะพัฒนาจิตปัญญายิ่งๆขึ้นไป

    ขอยกพุทธพจน์ที่ตรัสสอนในเรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับทรัพย์มาดูเป็นตัวอย่าง

    “ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก สามจำพวกไหน ? คือคนตาบอด คนตาเดียว คนสองตา”

    “บุคคลตาบอดเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีดวงตาชนิดที่ช่วยให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน กับทั้งไม่มีดวงตาชนิดที่จะช่วยให้รู้จักธรรม ที่เป็นกุศล เป็นอกุศล...ธรรมมีโทษ...ไม่มีโทษ... ธรรมทราม ธรรมประณีต...ธรรมที่เปรียบได้กับของดำ หรือของขาว นี้เรียกว่า บุคคลตาบอด

    “บุคคลตาเดียวเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ มีดวงตาชนิดที่ช่วยให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน แต่ไม่มีดวงตาชนิดที่จะช่วยให้รู้จักธรรม ที่เป็นกุศล เป็นอกุศล...ธรรมมีโทษ...ไม่มีโทษ... ธรรมทราม ธรรมประณีต...ธรรมที่เปรียบได้กับของดำ หรือของขาว นี้เรียกว่า บุคคลตาเดียว

    “บุคคลสองตาเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ มีดวงตาชนิดที่ช่วยให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน อีกทั้งมีดวงตาชนิดที่ช่วยให้รู้จักธรรม ที่เป็นกุศล เป็นอกุศล...ธรรมมีโทษ...ไม่มีโทษ... ธรรมทราม ธรรมประณีต...ธรรมที่เปรียบได้กับของดำ หรือของขาว นี้เรียกว่าบุคคลสองตา

    “คนตาบอด ตาเสีย มีแต่กาลีเคราะห์ร้ายทั้งสองทาง คือโภคทรัพย์อย่างที่ว่า ก็ไม่มี คุณความดี ก็ไม่ทำ

    “อีกคนหนึ่ง ที่เรียกว่าตาเดียว เที่ยวเสวงหาแต่ทรัพย์ถูกธรรมก็เอา ผิดธรรมก็เอา ไม่ว่าจะเป็นการลักขโมยคดโกง หรือโกหกหลอกลวงก็ได้ เขาเป็นคนเสวยกามที่ฉลาดสะสมทรัพย์ แต่จากนี้ ไปนรก คนตาเดียวย่อมเดือดร้อน

    “ส่วนคนที่เรียกว่าสองตา เป็นคนประเสริฐ ย่อมแบ่งปันทรัพย์ ซึ่งได้มาด้วยความขยัน จากกองโภคะที่ได้มาโดยชอบธรรม ออกเผือแผ่ มีความคิดสูง ประเสริฐ มีจิตใจแน่วแน่ ย่อมเข้าถึงสถานะดีงาม ที่ไปแล้วไม่เศร้าโศก

    “พึงหลีกเว้นคนตาบอดและคนตาเดียวเสียให้ไกล ควรคบหาแต่คนสองตา ผู้ประเสริฐ”

    (องฺ.ติก.20/468/162)
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ต่ออีก

    พระสูตรต่อไปนี้ แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับอาชีวะของคฤหัสถ์ ในด้านความแสวงหาทรัพย์บ้าง การใช้จ่ายทรัพย์บ้าง ความสุขที่พึงได้รับจากอาชีวะอันชอบธรรมบ้าง นำมาลงไว้ประกอบความเข้าใจเกี่ยวกับสัมมาอาชีวะ

    การแสวงหาและการรักษาทรัพย์

    ครั้งหนึ่ง อุชชัยพราหมณ์ได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และกราบทูลว่า ตนจะไปอยู่ต่างถิ่น จะขอให้พระพุทธองค์แสดงธรรม ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขปัจจุบัน และธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขภายหน้า

    พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า

    “ดูกรพราหมณ์ ธรรม ๔ ประการนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขปัจจุบัน กล่าวคือ อุฏฐานสัมปทา อารักขสัมปทา กัลยาณมิตตตา สมชีวิตา

    ๑) อุฏฐานสัมปทา เป็นไฉน ? คือ กุลบุตรหาเลี้ยงชีพด้วยความขยันในการงาน ไม่ว่าจะเป็นกสิกรรม ก็ดี พาณิชยกรรม ก็ดี โครักขกรรม ก็ดี ราชการทหาร ก็ดี ราชการพลเรือน ก็ดี ศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ดี เธอเป็นผู้ขยัน ชำนิชำนาญ ไม่เกียจคร้าน ในงานนั้น ประกอบด้วยปัญญาเครื่องสอบสวนตรวจตรา รู้จักวิธีปฏิบัติในเรื่องนั้นๆ สามารถทำ สามารถจัดการ นี้เรียกว่า อุฏฐานสัมปทา

    ๒) อารักขสัมปทา เป็นไฉน ? คือ กุลบุตรมีโภคทรัพย์ ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมขึ้นด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เธอจัดการรักษาคุ้มครองทรัพย์เหล่านั้น โดยพิจารณาว่า ทำอย่างไร ราชาทั้งหลายจะไม่พึงริบโภคะเหล่านี้ของเราเสีย พวกโจรไม่พึงลักไปเสีย ไฟไม่พึงไหม้เสีย น้ำไม่พึงพาไปเสีย ทายาทอัปรีย์ก็จะไม่พึงเอาไปเสีย นี้เรียกว่า อารักขสัมปทา

    ๓) กัลยาณมิตตตา เป็นไฉน ? คือ กุลบุตรเข้าอยู่อาศัยในคามหรือนิคมใดก็ตาม เธอเข้าสนิทสนมสนทนาปราศรัย ถกถ้อยปรึกษา กับท่านที่เป็นคหบดีบ้าง บุตรคหบดีบ้าง พวกคนหนุ่มที่มีความประพฤติเป็นผู้ใหญ่บ้าง คนสูงอายุที่มีความประพฤติเป็นผู้ใหญ่บ้าง ผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา เธอศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยศรัทธา ของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยศรัทธา ศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยศีล ของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยศีล ศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยจาคะ ของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยจาคะ ศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยปัญญา ของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยปัญญา นี้เรียกว่า กัลยาณมิตตตา


    ๔) สมชีวิตา เป็นไฉน ? คือ กุลบุตรเลี้ยงชีวิพอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยเกินไป ไม่ให้ฝืดเคืองเกินไป โดยรู้เข้าใจทางเพิ่มพูนและทางลดถอยแห่งโภคทรัพย์ ว่าทำอย่างนี้ รายได้ของเราจึงจะเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจึงจักไม่เหนือรายได้ เปรียบเหมือนคนชั่งตาชั่งหรือลูกมือคนชั่งยกตาชั่งขึ้นแล้ว ย่อมรู้ว่าหย่อนไปเท่านั้น หรือเกินไปเท่านี้

    “ถ้าหากกุลบุตร นี้ รายได้น้อย แต่เลี้ยงชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อ ก็จะมีผู้กล่าวว่าเอาได้ว่า กุลบุตรผู้นี้ ...กินใช้ทรัพย์สมบัติเหมือนคนกินมะเดื่อ ถ้ากุลบุตรนี้มีรายได้มาก แต่เลี้ยงชีวิตอย่างฝืดเคือง ก็จะมีผู้กล่าวว่าเอาได้ว่า กุลบุตรผู้นี้ คงจะตายอย่างคนอนาถา แต่เพราะกุลบุตรนี้เลี้ยงชีวิตพอเหมาะ...นี้เรียกว่า สมชีวิตา

    "ดูกรพราหมณ์ โภคะที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมี อบายมุข (ช่องทางเสื่อม) ๔ ประการ คือ เป็นนักเลงหญิง เป็นนักเลงสุรา เป็นนักเลงการพนัน มีมิตรชั่วสหายชั่ว ฝักใฝ่ในคนชั่ว เปรียบเหมือนอ่างเก็บน้ำแหล่งใหญ่ มีทางไหลเข้า ๔ ทาง มีทางไหลออก ๔ ทาง หากคนปิดทางน้ำเข้าเสีย เปิดแต่ทางน้ำออก อีกทั้งฝนก็ไม่ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อเป็นเช่นนี้ อ่างเก็บน้ำใหญ่นั้น เป็นอันหวังได้แต่ความลดน้อยลงอย่างเดียว ไม่มีความเพิ่มขึ้นได้เลย...

    “ดูกรพราหมณ์ โภคะที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมี อายมุข (ช่องทางเพิ่มขึ้น) ๔ ประการ คือ ไม่เป็นนักเลงหญิง ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่เป็นนักเลงการพนัน มีมิตรดี มีสหายดี ใฝ่ใจในกัลยาณชน เปรียบเหมือนอ่างเก็บน้ำใหญ่ ใหญ่ มีทางไหลเข้า ๔ ทาง มีทางไหลออก ๔ ทาง หากคนเปิดทางน้ำเข้า ปิดทางน้ำออก และฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อเป็นเช่นนี้ อ่างเก็บน้ำใหญ่นั้น เป็นอันหวังได้แต่ความเพิ่มพูนอย่างเดียว ไม่มีความลดน้อยลงเลย...

    “ดูกรพราหมณ์ ธรรม ๔ ประการ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขปัจจุบัน แก่กุลบุตร”

    จากนั้น ตรัสแสดงธรรม ๔ ประการ ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขเบื้องหน้า หรือประโยชน์ล้ำเลยตาเห็น (สัมปรายิกัตถะ) คือ สัทธาสัมปทา ศีลสัมปทา จาคสัมปทา และปัญญาสัมปทา

    (องฺ.อฏฺฐก.23/145/294)
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ต่ออีก

    ความสุขอันชอบธรรมที่คฤหัสถ์ควรมี

    หลักการต่อไปนี้ เรียกกันง่ายๆว่า ความสุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ ดังที่พุทธพจน์ที่ตรัสแก่อนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า

    “ดูกร คหบดี ความสุข 4 ประการนี้ เป็นสิ่งที่คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ควรได้ควรถึงอยู่เรื่อยๆ ตามสมัย ความสุข 4 ประการนั้น คือ อัตถิสุข โภคสุข อนณสุข อนวัชชสุข

    1. อัตถิสุข (สุขเกิดจากความมีทรัพย์)เป็นไฉน? คือกุลบุตรมีโภคะอันหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมขึ้นด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เธอย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่า เรามีโภคะที่หามาได้ ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมขึ้นด้วยกำลังแขนอย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม นี่เรียกว่า อัตถิสุข

    2. โภคสุข (สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์บริโภค) เป็นไฉน? คือกุลบุตรกินใช้และทำสิ่งดีงามอันเป็นบุญทั้งหลาย ด้วยโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียรอัน เก็บรวบรวมขึ้นด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ ซึ่งเป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรมเธอ ย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่าด้วยทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร....ได้มาโดย ธรรม เราก็ได้กิน ใช้ และได้ทำสิ่งดีงาม อันเป็นบุญทั้งหลาย นี้เรียกว่า โภคสุข

    3. อนณสุข (สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้) เป็นไฉน? คือกุลบุตรไม่ติดหนี้สินไรๆของใครๆ ไม่ว่าน้อยหรือมาก เธอย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่าไม่ติดหนี้สินไรๆของใครๆ เลยไม่ว่าน้อยหรือมาก นี้เรียกว่า อนณสุข

    4. อนวัชชสุข (สุขเกิดจากกรรมดีงามไร้โทษ) เป็นไฉน? คืออริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรมดีงาม ไร้โทษ ประกอบด้วยวจีกรรมดีงาม ไร้โทษประกอบด้วยมโนกรรมดีงาม ไร้โทษ เธอย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรมดีงาม ไร้โทษ ประกอบด้วยวจีกรรมดีงาม ไร้โทษ ประกอบด้วยมโนกรรมดีงาม ไร้โทษ นี้เรียกว่า อนวัชชสุข

    “เมื่อตระหนักถึงความสุขจาก ความไม่เป็นหนี้แล้ว คนจะพึงระลึกถึงสุขที่เกิดจากความมีทรัพย์ เมื่อกินใช้ก็เห็นแจ้งชัดด้วยปัญญา ถึงโภคสุข เมื่อเห็นอย่างแจ้งชัด เขามีปัญญาดี ย่อมเข้าใจทั้งสองส่วนเทียบกันได้ แลเห็นว่า ความสุขทั้ง 3 อย่างข้างต้นนั้น มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 ของความสุข ที่มีความประพฤติสุจริตไร้โทษ”
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ต่ออีก

    การใช้จ่ายทรัพย์

    ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้า ได้ตรัสแสดงเหตุผลในการที่จะมีทรัพย์ หรือประโยชน์ที่ควรถือเอาจากทรัพย์สมบัติ แก่อนาถบิณฑิกคฤหบดี โดยตรัสให้เหมาะกับสภาพสังคมสมัยนั้น พึงพิจารณาจับเอาสารัตถะตามสมควร ดังต่อไปนี้

    "ดูกรคฤหบดี ประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะทั้งหลาย มี ๕ ประการ ดังนี้ คือ

    ๑) ด้วยโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมขึ้นด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ ซึ่งเป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม อริยสาวก ย่อมเลี้ยงตัวให้เป็นสุข ให้เอิบอิ่ม เอาใจใส่ดูแลตนให้เป็นสุขโดยชอบ ย่อมเลี้ยงมารดาบิดา...บุตรภรรยา คนรับใช้กรรมกรคนงาน ให้เป็นสุข ให้เอิบอิ่ม เอาใจใส่ดูแลให้เป็นสุขโดยชอบ นี้คือ ประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ข้อที่ ๑

    ๒) อีกประการหนึ่ง ด้วยโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร....ได้มาโดยธรรม อริยสาวก ย่อมเลี้ยงมิตรสหาย และผู้ร่วมกิจการงานทั้งหลาย ให้เป็นสุข ให้เอิบอิ่ม เอาใจใส่ดูแลให้เป็นสุขโดยชอบ นี้คือ ประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ข้อที่ ๒

    ๓) อีกประการหนึ่ง ด้วยโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร....ได้มาโดยธรรม อริยสาวก ย่อมป้องกันโภคะจากยันตราย ที่จะเกิดแต่ไฟ น้ำ พระราชา โจร หรือทายาทอัปรีย์ ทำตนให้สวัสดี นี้คือ ประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ข้อที่ ๓

    ๔) อีกประการหนึ่ง ด้วยโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร....ได้มาโดยธรรม อริยสาวก ย่อมกระทำพลีกรรม ๕ อย่าง คือ ญาติพลี (สงเคราะห์ญาติ) อติถิพลี (ต้อนรับแขก) ปุพพเปตพลี (ทำบุญอุทิศผู้ล่วงลับ) ราชพลี (บำรุงราชการ-เสียภาษี) เทวตาพลี (ถวายเทวดาหรือบำรุงศาสนา) นี้คือ ประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ข้อที่ ๔

    ๕) อีกประการหนึ่ง ด้วยโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร....ได้มาโดยธรรม อริยสาวก ย่อมประดิษฐานทักขิณาอันส่งผลสูง อันอำนวยอารมณ์ดีงาม มีผลเป็นสุข เป็นไปเพื่อสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้เว้นจากความมัวเมาประมาท ตั้งอยู่ในขันติโสรัจจะ ซึ่งฝึกฝนตนเอง ทำตนเองให้สงบ ทำตนเองให้หายร้อนกิเลสได้ นี้คือ ประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ข้อที่ ๕

    "คหบดี ประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะมี ๕ ประการเหล่านี้แล"


    "ถ้าเมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาอยู่ ซึ่งประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ๕ ประการเหล่านี้ โภคะหมดสิ้นไป เขาย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า อันใดเป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ประโยชน์เหล่านั้นเราก็ถือเอาแล้ว และโภคะของเราก็หมดสิ้นไป โดยนัยนี้ อริยสาวกนั้นก็ไม่มีความเดือดร้อนใจ

    "และหากว่า เมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาอยู่ ซึ่งประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ๕ ประการเหล่านี้ โภคะทรัพย์เพิ่มพูนยิ่งขึ้น โดยนัยนี้ อริยสาวกนั้นก็ไม่มีความเดือดร้อนใจ เป็นอันไม่มีความเดือดร้อนใจทั้งสองกรณี"

    (องฺ.ปญฺจก.22/41/48)

    ผู้ครองเรือน เมื่อมีกินมีใช้แล้ว ท่านถือเป็นหลักสำคัญที่จะต้องให้ปันเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น และถือว่า การปฏิบัติเช่นนั้น เป็นการดำเนินตามมรรคาแห่งอารยชน ดังภาษิตว่า

    "มีน้อย ก็พึงให้ตามน้อย มีปานกลาง ก็พึงให้ปานกลาง มีมาก ก็พึงให้ตามมาก การไม่ให้เลย ย่อมไม่สมควร แน่ะท่านโกสิยเศรษฐี เราของกล่าวกะท่านว่า จงให้ปัน และจงกินใช้ จงขึ้นสู่มรรคาแห่งอริยชนเถิด ผู้กินคนเดียว ไม่ได้ความสุขดอก"

    (ขุ.ชา.28/250/88)
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ต่ออีก

    เตรียมปัญญาไว้ ถึงหาทรัพย์ได้ อิสรภาพต้องไม่เสีย

    นอกจากพึงรู้ว่า การมีทรัพย์มิใช่เป็นจุดหมายในตัว แต่เป็นเพียงอุปกรณ์สำหรับสนับสนุนการทำสิ่งดีงามเพื่อชีวิตตนและผู้อื่น แล้ว พึงทราบขอบเขตแห่งคุณค่าของทรัพย์สมบัติ และการที่จะต้องแสวงสิ่งอื่นที่มีคุณค่าสูงยิ่งขึ้นต่อไปด้วย เช่น

    "การงาน วิชชา ธรรม ศีล และชีวิตอุดม สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยสิ่งที่กล่าวมานี้ หาใช่ด้วยโคตร หรือทรัพย์ไม่"

    "ข้าพเจ้า มองเห็นคนทั้งหลายในโลก ที่เป็นผู้มีทรัพย์ ได้ทรัพย์สินแล้ว ไม่ให้ปัน เพราะความลุ่มหลง โลภทรัพย์ เอาแต่สั่งสมไว้ และปรารถนากามทั้งหลายยิ่งขึ้นไป....

    "ทั้งคนมี ทั้งคนจน ต่างก็กระทบผัสสะ ทั้งคนพาล ทั้งนักปราชญ์ ก็ถูกกระทบเหมือนกัน แต่คนพาล เพราะความที่อ่อนปัญญา ย่อมนอนผวาหวาด ส่วนผู้เป็นปราชญ์ ถึงถูกผัสสะกระทบ ก็หาสะท้านไม่ เพราะฉะนั้น ปัญญานั่นแหละ จึงประเสริฐกว่าทรัพย์ ด้วยเป็นเหตุให้บรรลุจุดหมายสูงสุดได้ในโลกนี้"


    อุปกรณ์สำคัญของการประกอบสัมมาอาชีวะ ก็คือศิลปวิทยา หรือสิปปะ (วิชาชีพ ฝีมือ ความจัดเจนงาน) ดังนั้น ท่านจึงเตือนให้ขวนขวายศึกษาศิลปวิทยา และให้บิดามารดาถือเป็นหน้าที่ ที่จะให้บุตรศึกษาเล่าเรียน

    แต่ความรู้วิชาชีพ หรือความชำนาญงานอย่างเดียว ก็แคบไป ท่านจึงให้มีพาหุสัจจะ คือความเป็นผู้ได้สดับมาก หรือศึกษาเล่าเรียนกว้างขวางประกอบด้วย เพื่อช่วยให้เห็นช่องทางในการประกอบสิปปะกว้างขวางออกไป สามารถบำเพ็ญประโยชน์ ช่วยแก้ปัญหาให้แก่เพื่อนมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น และมีความคิดความเข้าใจมองเห็นอะไรๆกว้างขวางลึกซึ้ง โดยเฉพาะความรู้ความสดับ ที่ช่วยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นตัวแท้เริ่มแรกของการศึกษา

    พร้อมกันนั้น ก็ให้ฝึกอบรมระเบียบวินัย เพื่อพร้อมที่จะนำสิปปะไปใช้ในทางที่ถูกต้อง และมีความประพฤติทั่วไปที่ดีงาม เกื้อกูลแก่ความอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น หรือแก่สังคม กับทั้งฝึกฝนให้รู้จักพูด รู้จักเจรจาให้เป็นผลดี เป็นการขยายช่องทางดำเนินชีวิต และบำเพ็ญประโยชน์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

    หลักการขั้นศีลที่กล่าวมานี้ ดำเนินตามพุทธพจน์ว่า

    "พาหุสัจจะ ๑ สิปปะ ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว หรือฝึกอบรมเป็นอย่างดีแล้ว ๑ วาจาที่กล่าวได้ดี ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การงานไม่คั่งค้างอากูล นี่ก็เป็นอุดมมงคล.... กิจกรรมที่ไร้โทษ นี่ก็เป็นอุดมมงคล"
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ลงให้พิจารณาติดต่อกัน เพื่อจะเห็นคำสอนของพระพุทธเจ้าตลอดทั้งกระบวน
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    นอกจากนี้ มีบาลีภาษิตเตือนให้ศึกษาศิลปวิทยาอีกมาก เช่น

    "คนไม่มีศิลปวิทยา เลี้ยงชีวิตอยู่ได้ยาก"

    (ขุ.ชา. 27/1651/330)

    "จงให้บุตรเรียนรู้วิทยา"

    (ขุ.ชา. 27/2141/434)

    "อะไรควรศึกษา ก็พึงศึกษาเถิด"

    (ขุ.ชา.27/108/35)

    "ขึ้นชื่อว่า ศิลปวิทยา ไม่ว่าอย่างไหนๆ ให้ประโยชน์ได้ทั้งนั้น"

    (ขุ.ชา.27/107/35)

    "อันความรู้ ควรเรียนทุกอย่าง ไม่ว่าต่ำ ว่าสูง หรือปานกลาง ควรรู้ความหมายเข้าใจทั้งหมด แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ทุกอย่าง วันหนึ่งจำถึงเวลา ที่ความรู้นั้นนำมาซึ่งประโยชน์"

    (ขุ.ชา.27/817/184)
     
  9. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    บาลีที่ว่านี้เก่ามากจะเอามาเผยแพร่ไม่ได้แล้ว
    ไม่ได้เป็นพระธรรม......ค่าเล่าเรียนแพงมาก
    เงินกินเปล่าอีก มากมาย
    จะมีคนรวยกี่ที่ทำตามได้ฮะ
     
  10. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ".......ในเมืองไทยนี้ มีการขอศีล-ให้ศีล -รับศีล เป็นประเพณีที่รู้กันเป็นสามัญ เมื่อรับศีล ที่เรียกเป็นภาษาทางการว่า สมาทานเบญจศีลจบ พระผู้ให้ศีลก็จะกล่าวด้วยคำแสดงอานิสงส์ศีล ว่า "สีเลน สุคตึ..." มีใจความว่า ด้วยศีล จะไปสุคติ จะเกิดโภคสัมปทา คือความสมบูรณ์พรั่งพร้อมแห่งโภคะ และจะถึงนิพพาน

    สาระ ที่เกี่ยวข้องในที่นี้ คือ ตอนที่ว่า ศีลทำให้เกิดทรัพย์สินเงินทองพรั่งพร้อม หรือพูดง่ายๆ ว่า ทำให้เศรษฐกิจดี แม้ว่าคาถาแสดงอานิสงส์ศีลนี้ จะเป็นของเรียบเรียงขึ้นในยุคหลัง ไม่พบในพระไตรปิฎกและอรรถกถาฎีกาทั้งหลาย และเมื่อกล่าวกันมาเป็นแบบแผน ก็ควรนำมาพูดไว้ พอเป็นเรื่องแทรกสั้นๆ......"
    ประเด็นนี้จะโทษเมืองไทยว่าทำเป็นประเพณี
    ก็ยังไม่ถูกนะฮะ
    ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงก็แสดงว่าบ้านอื่นเมืองพุทธอื่น
    เขาอาจจะเอาเป็นเรื่องหลัก
    .หรือเปล่า??
    ของเราแค่เอามาหรอกจัดระเบียบสังคมให้มี
    ความพร้อม......เริ่มต้นก็คิดหลอกแล้วเรื่องต่อๆ
    ไปใครจะเชื่อว่าไม่หรอกอีก.....

    คิดออกมาได้อย่างไรวะ
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    นี่แหละคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ตรัสเมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว ยังทันโลกทันเหตุการณ์ เป็นคำสอนที่สมบูรณ์ ไม่สุดโต่ง

    ส่วนใครจะทำได้ไม่ได้ ต้องมีองค์ประกอบอื่นๆสนับสนุนส่งเสริมอีกฮะ ซึ่งไม่ใช่ความผิดของผู้สอน
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ที่ ลม.ยกมานั่น เป้นคำสรุปศีลฮะ ไปศึกษาใหม่ไป รำคาญ คิกๆๆ
     
  13. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ไม่มีในพระสูตร ไม่ควรมากล่าวเผยแพร่ให้มากเรื่อง
     
  14. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    คำสรุปยิ่งต้องแน่นอน ต้องชัวร์
    สำคัญที่สุดในงานเขียนทุกงาน การสรุปเป็นหัวใจ
    ของเนื้อหาทั้งหมด

    ดังนั้น การมาสรุปว่าผู้ประพฤติศีลโดนใช้อุบายจัดระเบียบเตรียมความพร้อมสังคม แต่มีคนรู้ทันแบบ
    มาจากลิง กะบ๊องส์ตู่จำนวนมาก
    การรู้ทันทำให้ความสำคัญลดลง หรือหมดไป
    สังคมจึงไม่เอาศีล การเอาแต่ธรรมอย่างเดียวเก่ง
    แต่ข้อธรรมจึงมีแต่คนปาวๆ เต็มเมืองจริงหรือไม่
     
  15. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่สำหรับหนังสือเล่มใหญ่
    ขนาดนี้ และสังคมบาวพุทธส่วนใหญ่ที่อ่าน
    บทสรุปนี้ เพราะจะพากันเข้าใจคุณของศีลแบบ
    รู้ทันว่าเป็นเเค่อุบายจัดระเบียบให้สังคมมีความเรียบร้อย
    ไม่มี"คุณ"อื่นๆมากกว่านี้
    ตามที่มาจากลิงกะบ๊องส์ตู่รู้ทัน

    แต่เป็นเรื่องเล็กสำหรับลุงแมวเพราะเข้า
    ใจดีว่าความคิดนี้มาจากความคิดแนววัตถุนิยม
    คือให้ความสำคัญแค่สิ่งที่จับต้องได้ วัดปริมาณ
    ได้ออกมาเป็นหน่วยนั่นนี่
    แต่ศาสนาเป็นได้ทุกด้านที่เป็นเหตุเป็นผล
    ทั้งสิ่งที่เห็นได้ด้วยตาเนื้อ ตานอก ตาใน
    ตาทิพย์ ทั้งวัดได้ด้วยมาตรทางโลกและมาตร
    ที่ไม่กล้าเอาใช้ในโลกนี้
    ฉะนั้น ศีลหาคำสรุปของศีลต้องมีคุณมากกว่าอุบาย
    มาใช้แค่จัดระเบียบที่ใครๆก็จะสามารถรู้ทันได้ไม่ยาก
     
  16. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    มาจากลิงจะมีประโยชน์กับลุงแมวก็ตอน
    ไปหากะลามาหงายให้ลุงแมวดูอะไรๆ นี่แหละฮะ
    เอามาอีก เอามาหงายอีก!!!
     
  17. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ดีละๆ สิ่งที่รอให้เกิด อาณัตสัญญาณ ศุภนิมิต ก็เกิดแล้ว

    ด้วยการ ยกคำว่า " ตานอก ตาใน " " ศีล เพื่อทรัพย์ "
    อีกทั้ง การที่มี อธรรมวาที เข้ามาแสดงธรรม ก็ยังอาศัย
    เป็น ปัจจัยในการภาวนาได้ ไม่ใช่ไม่ได้ และ เขาเหล่านั้น
    จะพึงได้อานิสงค์ จากเรา ที่อาศัยเขาเป็นเหตุ เพื่อผลแห่ง
    นิพพาน ที่ไม่มีสิ่งใด "ขวางกั้น" ได้

    มาดูกัน

    ทรัพย์ที่ได้จาก ศีล ซึ่ง ต้องหมายเอา อินทรีย์สังวรณ์ศีล เท่านั้น อย่างอื่น
    ต้องยกเว้น อนุโลมไปตามประสา การเข้ามารับประโยชน์แบบ ไม่รู้ตัวกันไปก่อน

    อินทรีย์สังวรณ์ ศีล คนที่ ภาวนาเข้ามา จะเริ่ม "แยกงาน" เข้าใจคำว่า "การงาน"
    ที่เป็น การละกิเลส โดยอาศัยระลึกถึง การไป การมา ในขันธ์5 มันจะต้องมี
    อย่างนั้น เพราะ ขันธ์5 เป็น ธรรมที่ติดโลก และ เป็นของโลก

    อินทรีย์สังวรณ์ศีล จะเป็น พี่เลี้ยงให้กับ "สติ" อินทรีย์สังวรณ์ ยังไม่ใช่ สติ จะเป็น
    คนละตัว

    ดังนั้น อย่าพอใจแค่ ทรัพย์ภายนอก ทรัพย์ของพระเจ้าจักรพรรดิ์ แต่ให้ ใส่ใจ
    เข้ามาที่ "สติ" ซึ่งจะทำให้ได้ โภคสัมปทา ซ่องเสพ ฌาณจิต อันเกิดจาก
    " อินทรีญสังวรณ์ศีล " จิตที่ ละกามฉันทะ มี ปฐมฌาณ โคจรในจิต ตรงนี้
    ต้องยกจิตไปเห็นด้วย

    ยกแล้วได้อะไร

    1. จะได้ ลหุสัญญา กายเบา จิตเบา
    2. จะได้ "หาสะปัญญา" ความร่าเริง อาจหาญในการ สมาทานสิกขา

    ทางแยก หรือ ทางของผู้ทำความเพียร อันเกิดจาก สติปัฏฐาน โดยมี อินทรียสังวรณ์ศีล
    เป็นพี่เลี้ยง สติปัฏฐานก็จะให้ จิตได้ เคล้าเคลียร " ยก " "ลหุสัญญา" กับ "หาสะปัญญา"
    [ กรณีที่คนมีอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ จะ ภาวนา ควบ ไม่มีอะไรก้ำเกินกัน แต่จะเป็น อัญญามัญญ เคียงคู่กันไป
    ......ทำไมต้อง วงเล็บ ก็เพื่อ เอื้อให้เกิดการยกเห็น อัญญามัญญ เพื่อ ปฏิสัมภิทามรรค ]


    หาก ยกลหุสัญญาได้บ่อยๆ ย่อมพยากรณ์ หรือ เห็น หนทางของ อิทธิบาท4 เป็นไปเพื่อ ฤทธิ์
    โดยที่ มีการงาน คือ ละกิเลส จนเกิด สัมมาสมาธิ อธิบายด้วยองค์ฌาณ สัมมาสมาธิจึง
    ไม่ใช่ การไปนั่งทำฌาณอย่างคนโง่

    หากยก หาสะปัญญาได้บ่อยๆ ย่อมพยากรณ์ หรือ เห็นหนทาง ปฏิสัมภิทามรรค เป็นไปเพื่อ
    การเป็น " ทหารชั้นเอก " ที่ พระพุทธองค์ประทานโอกาสมาให้แก่ทุกรูปทุกนาม ไม่เคยว่าง
    เว้น หรือ กีดกัน หรือ ทำหายไป จนต้องรอให้ใครไปสำคัญตัว สร้างโรงวิชาใหม่

    ดังนั้น

    พึง ยกเห็น โอกาสแม้นจะมี อธรรมวาที หรือ มาร มาแกล้ง ...เขามาแกล้ง
    เราก็อาศัยเป็นเหตุ ในการภาวนา .....เขาย่อมได้ส่วนบุญมหาศาล โดยไม่มีการละเว้น

    พึง ยกเห็น สติปัฏฐาน4 อันเป็น หนทางแห่ง มหายาน หรือ อภิญญาใหญ่ หรือ มหาอภิญญา
    ตรงตาม ชื่อพระสูตร ที่พระพุทธองค์ ได้จำแนก แยกยกเอาไว้เป็น ศุภนิมิต ให้ ผู้มีความ
    เพียร ผู้รู้ อินทรีย์สังวรณ์ศีล ได้รับ ทรัพย์ มรดกที่พระพุทธองค์มอบให้กับ ธรรมทายาติ ทุกรูปนาม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 สิงหาคม 2015
  18. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ความเข้าใจผิด ในศีล5

    ปุถุชนไม่เคยสดับ( คนที่ไม่เคยฝึกหัด อินทรีย์สงวรณ์ศีล ) จะเข้าใจว่า ศีล5 เป็น สิ่งที่เกิด
    ในพระพุทธศาสนา

    เวลา ทวงถามกันว่า เธอศาสนาอะไร เธอเป็นชาวพุทธหรือเปล่า ก็จะ ยก ศีล5 มาเป็น
    ตัวกระทู้ ไต่ถาม สอบสวน

    การที่ไปยก ศีล5 มาเป็น กระทู้ไต่ ถามสอบ สวน นั่นคือ ปัจจัยของ การอันตรธานแห่ง
    พระพุทธศาสนา ไม่ใช่ จรรโลงพระพุทธศาสนา

    " ภิกษูรูปสุดท้าย ที่ยกศีลเป็นข้อๆ " นั่นคือ จุดสุดท้าย ที่ศาสนาพุทธหายไปจากโลก


    ศีล ที่เป็น อินทรียสังวรณ์ศีล จะกำหนดออกมาเป็น บัญญัติไม่ได้

    การบัญญัติศีลออกมาเป็นข้อๆ จึง เป็นความเศร้าหมอง และ ทำให้โอกาสในการบรรลุ
    ธรรมของสัตว์ที่มิวิบาก และ อุปทานขันธ์ อดประโยชน์ ในการบรรลุมรรคผล



    การตรวจสอบศีล จึงอาศัย ดูกริยาภายนอกไม่ได้ จะต้องใช้ การเข้าไปคลุกคลีด้วย
    กาลเวลายาวนาน ทำไมต้องยาวนาน เพราะ เราจะไม่ตัดโอกาสเขา โดยเที่ยวไป
    ยกศีลบัญญัติ ไปทับ อินทรียสังวรณ์ศีล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 สิงหาคม 2015
  19. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    การดับรูป ดับนาม ไม่ได้ใช้ ปัญญาเข้าไปดับ

    การที่มีคนกล่าวว่า เอาปัญญาเข้าไปดับ นั่น คือ อาการของคนไม่รู้จัก สัมมาสมาธิ
    จึงไปเข้าใจว่า " เอาสัญญาเข้าไปทับว่านั่นดับ " แล้วก็ เพ้อเจ้อ เข้าใจว่า นี่คือดับรูปนาม

    สัมมาสมาธิ จะต้อง ทำปัญญาให้ ทุรพล ให้อ่อนกำลังลง เท่านั้น

    รุปนามจะดับหรือไม่ดับ ก็ให้ดูที่ เห็นปัญญาที่เข้าไปแจ้งชัดในรูปนาม ปัญญานั้นดับให้เห็น
    ได้หรือไม่ได้ ถ้า ปัญญาดับแล้วยกเห็นได้ ......นั่นแหละ การดับโดยไม่มีส่วนเหลือ

    ซึ่ง นักคิด นักด้นเด้า เดาความ จะไม่สามารถยกได้ ปัญญาดับ ยกไม่ได้ ไม่มีทางยกเป็น
    หากจะยกเป็น ก็เกิดจากการ ลักจำ เอาไปกล่าว หลอกรับประทานกัน เท่านั้น แต่
    สอนให้เห็น หนทางไม่ได้ ....พูดได้อย่างมาก ก็เอา สัญญาไปหมายๆว่า "ปัญญาแจ้งรูปนามดับ"
    เอา สัญญาซ้อนทับเข้าไปอีก อินทรีย์สังวรณ์ศีล ไม่รู้จัก นั่นเอง
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    ตอยจากความรู้สึกของ ลม. นะครับ

    ถ้านรก ไม่มี ลม. จะเว้นจากการทำชั่วทางกาย วาจามั้ย

    ถ้าสวรรค์ ไม่มี ลม. จะทำความดี เช่น ทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน ฯลฯ เพื่อไปเกิดบนสวรรค์มั้ย
     

แชร์หน้านี้

Loading...