อารมณ์ สมาธิระดับฌาน 4

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Dewmaytung, 24 ตุลาคม 2015.

  1. Dewmaytung

    Dewmaytung สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2015
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +20
    ในสายที่ผมปฏิบัติอยู่ จะไม่สนใจว่าปฏิบัติถึงขั้นไหน ฌาน 1 2 3 4 แค่นั่งแล้วสงบลึก คือ ดี จึงอยากสอบถามอารมณ์ท่านผู้ปฏิบัติถึงฌาน 4
    ผมฝึกอานาปานสติ กำหนดรู้ลมหายใจ เข้ายาวรู้ ออกยาวรู้ เข้าสั้นรู้ ออกสั้นรู้ เมื่อปฏิบัติถึงจุดหนึ่ง ผมหายใจจะแนบสนิทกับสมาธิ ลมหายใจจะแผ่วเบาๆ ลงเรื่อยๆ จนดับสนิท เกิดเป็นผู้รู้ตามรู้จิต คณะนั้นลมหายใจจะดับสนิท กายกับจิตแยกกัน 100% ทุทขเวทนาทั้งหมดหายไปหมด ปวดเมื่อย ยุงกัด เหลือแต่ความมืดสนิท เพ่งไปที่ความมืด จะเป็นดวง สว่าง ขาว นวล เท่ากำปั้นอยู่กลางหว่างคิ้ว การรับรู้ทางกายและลมหายใจไม่มีอีกต่อไป นี่คือ อารมณ์ฌาน 4 ป่าวครับ การที่ผมหายใจดับสนิทเป็นชั่วโมงเป็นเครื่องชี้วัดว่าสมาธิถึงขั้นฌาน 4 แล้วป่าวครับ ผมเน้นย้ำสำหรับคนฝึกสมถกรรมฐานนะครับ อย่าถามว่าทำไมไม่ฝึกวิปัสสนากรรมฐาน ผมตอบตรงนี้เลยว่าบุญวาสนาผมยังไม่ถึง
     
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    จตุตถฌาน หรือ จตุตถสมาบัติ

    จตุตถะ แปลว่าที่ ๔ จตุตถฌานจึงแปลว่าฌานที่ ๔ ฌานที่ ๔ นี้มีอารมณ์ ๒ เหมือน
    ฌาน ๓ แต่ผิดกันที่ฌาน ๓ มีสุขกับเอกัคคตา สำหรับฌานที่ ๔ นี้ ตัดความสุขออกเสียเหลือแต่
    เอกัคคตา และเติมอุเบกขาเข้ามาแทน ฉะนั้น อารมณ์ของฌาน ๔ จึงมีอารมณ์ผิดแผกจาก
    ฌาน ๓ ตรงที่ตัดความสุขออกไป และเพิ่มการวางเฉยเข้ามาแทนที่
    ฌานสี่ มีองค์ของฌานแค่
    เอกัคคตา ครับ

    ถ้ามีอารมณ์อื่นๆ นอกจากนี้ แสดงว่าไม่ใช่ฌานสี่ครับ



    ฌาน ๓ มีสุขกับเอกัคคตา

    ถ้ามีอื่นๆ นอกจากนี้ ก้แสดงว่าไม่ใช่ ฌานสาม

    หาอ่านดูนะ

    มาต่อละ

    ยกตัวอย่างเช่น ทำสมาธิ ปฐมฌาน ได้

    ก็ต้องถามตัวเองว่า ทำสมาธิ เข้า ปฐมฌาน ตั้งอารมณ์เข้าฌาน คุณรู้ตัวเองหรือไม่รู้ครับ ว่าเข้าฌาน ปฐมฌาน อยู่ หรือว่า ไม่ได้เข้าอยู่ ?

    เพราะแค่ปฐมฌาน มันก็สามารถที่จะออกใช้งานได้ เป็นการพิสูจน์ได้ว่า เราได้ปฐมฌานจริง ต้องทดสอบใช้งานครับ
    ถ้าใช้งานออกใช้งานไม่ได้ ก็แสดงว่า ไม่ใช่ปฐมฌาน ตามหลักศาสนาพุทธแน่ๆ ถ้าไม่ใช่ปฐมฌาน ก็อาจจะเป็น ฌานแบบคิดเองเออเอง ที่คิดว่าเข้าใจว่าตัวเองบรรลุปฐมฌาน บลาๆๆๆ นั้นเอง

    เพราะแค่พื้นฐาน สมาธิ จิตเป็นสมาธิ ยังไม่ถึงฐาน มันก็มีกำลัง สามารถที่จะออกใช้งานได้เป็นอย่างต่ำแล้วนั้นเอง

    แต่ถ้าจะถามว่า ใช้งานยังไง ถ้ายังไม่รู้ก็ต้องดูคร่าวๆ ตามนี้ครับ


    วิชชา

    ทรงฌานโลกีย์นั้น ต้อง
    ฝึกฝนให้สามารถทรงคุณสมบัติห้าประการดังต่อไปนี้
    ๑. อิทธิฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
    ๒. ทิพยโสต มีหูเป็นทิพย์ สามารถฟังเสียงในที่ไกล หรือเสียงอมนุษย์ได้ยิน
    ๓. จุตูปปาตญาณ รู้การตายและการเกิดของคนและสัตว์
    ๔. เจโตปริยญาณ รู้ความรู้สึกในความในใจของคนและสัตว์
    ๕. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติต่างๆ ที่ล่วงมาแล้วได้
    ทั้งห้าอย่างนี้ จะต้องฝึกให้ได้ในสมัยที่ทรงฌานโลกีย์

    ก็ต้องออกใช้งานในเรื่องพวกนี้ได้นั้นเอง เพราะจิตที่เป็น ฌาน จิตมีกำลัง จิตมีกำลัง ก็สามารถที่จะใช้งานได้
    เพียงแต่ถ้า ถ้าเริ่มใหม่ๆ ก็อาจใช้ได้ มาก น้อย ตามกำลังตัวเองนั้นเองครับ


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2015
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    'หลวงพ่อคูณ'ทำอะไรก็ศักดิ์สิทธิ์เพราะท่านทรง'ฌาน'ตลอดเวลา

    'หลวงพ่อคูณ'ทำอะไรก็ศักดิ์สิทธิ์ เพราะท่านทรง 'ฌาน' ตลอดเวลา : บุญนำพา


    ๙๑ ปี ตามวิถีของชีวิต...๗๐ ปี บรรพชิตพุทธศาสนา...มหาบารมีพุทธศิลป์สร้างสรรค์มา...ด้วยศรัทธา ฝากคุณค่าคู่แผ่นดิน... ถ้าจะกล่าวถึงพระสงฆ์ผู้เจริญด้วยความเมตตาและความเพียรจนสำเร็จถึงมรรคผล ตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ถือเป็นพระสงฆ์อีกรูปหนึ่งที่เจริญรอยตามคำสอนของพระศาสดาด้วยความเพียร อย่างเคร่งครัด

    ย้อนหลังกลับไป ๙๑ ปีก่อน คงไม่มีใครคาดคิดว่าเด็กน้อยที่เกิดในครอบครัวของ "นายบุญ-นางขาว ฉัตร์พลกรัง” ซึ่งเป็นเพียงชาวไร่ชาวนาแห่ง ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา นั้น ในกาลต่อมาเมื่อเด็กน้อยคนนี้ได้เติบโตขึ้นด้วยบารมีที่มีติดตัวมาแต่อดีต ได้น้อมนำให้เด็กน้อยผู้นี้เป็นเด็กที่มีจิตใจใฝ่บุญ จนเมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบทและฝากชีวิตไว้ในพระพุทธศาสนาพร้อมกับได้บำเพ็ญบารมีธรรม บารมีทาน มาตลอดชีวิตบรรพชิต

    ด้วยคุณงามความดีของท่าน ทำให้ท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระ ราชาคณะชั้นเทพ เมื่อวันที่ ๑๒ เดือนสิงหาคม ๒๕๔๗ โดยมีราชทินนามตามสัญญาบัตรประกอบพัดยศสมณศักดิ์ว่า “พระเทพวิทยาคม” หรือชื่อที่ชาวไทยทั้งประเทศรู้จักท่านกันเป็นอย่างดี คือ “หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ” วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา

    หลวงพ่อคูณ ได้ชื่อว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีวิชาอาคมขลัง ท่านเริ่มสร้างวัตถุมงคลครั้งแรกเป็นตะกรุดทองคำฝังใต้ท้องแขน ในปี ๒๔๙๓ หรือ ๗ พรรษาหลังจากอุปสมบท และได้มีการสร้าง เหรียญรุ่นแรก ออกที่วัดแจ้งนอกในปี ๒๕๑๒ ซึ่งถ้าหากจะนับรุ่นกันจริงๆ แล้ว ได้มีการประมาณกันว่า ตลอดชีวิตของท่านได้มีการสร้างวัตถุมงคลออกมาแล้วไม่ต่ำกว่า ๔,๐๐๐ รุ่น โดยแต่ละรุ่นล้วนได้รับความนิยมและเป็นที่เล่นหาแตกต่างกันไป ปรากฏการณ์ดังกล่าวจึงเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าหลวงพ่อคูณ คือ พระเกจิอาจารย์อันดับหนึ่งของเมืองไทยอย่างแท้จริง

    ในแง่ของ ความขลัง หลวงพ่อคูณถือเป็นพระเกจิอาจารย์ท่านหนึ่งที่มีความครบเครื่องไม่ว่าจะเป็น ในเรื่องของคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด เมตตามหานิยม ฯลฯ ซึ่งภาพที่คุ้นตาของคนไทย คือ การนั่งยองๆ นับประคำเวลาเสกพระ

    ปัจจุบันด้วยวัยที่สูงถึง ๙๑ ปี ท่านยังคงมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ถึงแม้ภาพที่เราเห็นจะแตกต่างจากอดีตไปอย่างมาก คือ ท่านนั่งรถเข็นและต้องมีผู้คอยช่วยเหลือ แต่อากัปกิริยาภายนอกที่เห็นนั้นเป็นเพียงการเสื่อมของสังขารร่างกายที่ท่าน ได้ตรากตรำมาทั้งชีวิต...ที่กล่าวเช่นนี้ก็ด้วยเหตุที่ว่า ภายใต้สภาพสังขารที่อ่อนโรย แต่ท่านยังคงมีสติระลึกได้ตลอดเวลานั้น เคยมีพระกรรมฐานชั้นผู้ใหญ่ของเมืองไทยได้กล่าวคำรับรองไว้ว่า

    “การที่หลวงพ่อคูณทำอะไรก็เกิดความศักดิ์สิทธิ์นั้น เป็นเพราะท่านทรงฌานตลอดเวลา”

    ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้วคำรับรองดังกล่าวไม่ใช่เรื่องที่เกินเลยไปจริงๆ เพราะจากประสบการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ถือเป็นการยืนยันและรองรับคำรับรองนี้ ดังตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น สมัยที่มีผู้คนพากันแห่แหนไปให้ท่านใช้หนังสือพิมพ์เคาะศีรษะ บางคนหลังจากโดนเคาะแล้วก็ประสบความสำเร็จในชีวิต บางคนไปประสบอุบัติเหตุก็ไม่ได้รับอันตราย ฯลฯ

    การเคาะศีรษะไม่ใช่เรื่องแปลก แต่การเคาะศีรษะแล้วสัมฤทธิผลตามใจปรารถนา นี่คือความมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นแบบครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งกรณีความอัศจรรย์ทางจิตนี้ถึงจะอธิบายได้ยากในทางโลก แต่ในทางธรรมแล้วบอกเล่าให้เข้าใจได้ง่ายๆ ว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้ คือ ความศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดขึ้นจากอำนาจแห่งฌานที่ท่านดำรงอยู่ตลอดเวลา

    นอกเหนือไปจากความขลังที่เกิดจากคาถาอาคมและฌานสมบัติแล้ว ว่ากันว่า การที่ท่านได้เมตตาอนุเคราะห์แก่ชาวโลก โดยการบริจาคปัจจัยเพื่อสนับสนุนสาธารณประโยชน์ต่างๆ ให้แก่สังคม เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล บ่อน้ำกินน้ำใช้ ถนนหนทาง ฯลฯ ใน จ.นครราชสีมา ซึ่งเงินทุนที่ให้การสนับสนุนต่างๆ นั้นล้วนได้มาจากวัตถุมงคลของท่านที่มีความศักดิ์สิทธิ์จนมีคำกล่าวว่า

    “ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อคูณ ส่วนหนึ่งเกิดจากบารมีทาน ทานบารมีที่หลวงพ่อได้บริจาคไปทั่วแผ่นดิน”

    https://www.google.com/search?q='หล...ิ์เพราะท่านทรง'ฌาน'ตลอดเวลา&ie=utf-8&oe=utf-8
     
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    โดย พระราชพหรมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

    การที่จะรู้ว่า จิตทรงฌาน เราจะรู้กันจริงๆ มันยากและวิธีวัดนี่ง่าย การที่จะรู้ว่าฌานเราทรงตัวไม่ทรงตัวอาศัย ๑ ในวิชชาสาม หรือว่า ๒ ในวิชชาสาม นั่นคือ ทิพจักขุญาณ หรือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้
     
  5. Jsus Christ

    Jsus Christ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +82
    นี่คือ เอกอัคคตา ของผู้ถาม รึเปล่า?
     
  6. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    คำภาวนาจำเป็นมั้ย? จำเป็น ถ้าไม่มีคำภาวนา อานาปานี่กรรมฐานทุกกองได้แค่อุปจารสมาธิเท่านั้น ทรงฌานไม่ได้


    สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ

    ถาม
    : อย่างเราปฏิบัติแล้วเราไม่รู้ว่าเราควรจะทำแบบไหนจึงจะตรงกับจริตของเรา ?
    ตอบ : แบบไหนจะตรงกับจริตของเรานี่หาคู่มือปฏิบัติกรรมฐานของ หลวงพ่อมา อ่านแล้วชอบตรงไหนก็ทำตรงนั้นเลย ทำกองนั้นกองเดียว หัวข้อนั้นหัวข้อเดียว เอาให้มันได้จริง ๆ ไปเลยอย่าไปเปลี่ยนใหม่ ถ้าหากว่าเราทำ ๆ ไปแล้วมันยังไม่ได้ เราไปท้อแล้วไปเปลี่ยนใหม่ทำ ๆ ไปยังไม่ได้ ท้อแล้วเปลี่ยนใหม่ อาตมาเปรียบว่ามันเหมือนยังกับว่าขุดบ่อแล้วไม่ได้น้ำ ขุดลงไป ๓ เมตร ๕ เมตร ถ้าเกิดน้ำมันอยู่ ๒๐ เมตรอย่างนี้ เรารู้สึกเหนื่อย รู้สึกท้อแล้วไปเปลี่ยนใหม่ ไปขุดอันนั้น ๓ เมตร ๕ เมตรแล้วเมื่อไหร่มันจะได้ล่ะ
    เพราะฉะนั้นมันจะต้องประเภทต้องตั้งหน้าตั้งตาทำไป ได้สักหัวข้อหนึ่งแล้วอันอื่นมันจะง่าย เพราะว่ากำลังมันเท่ากัน มันแค่เปลี่ยนวิธีการเท่านั้นเอง
    เมื่อวานนี้พี่ชายเขามา พี่ชายคนนี้ก่อนหน้านี้เขาปฏิบัติธรรมะแข็งขันมาก ตั้งใจอย่างเดียวว่าจะไปนิพพาน ครอบครัวก็ไม่มีแล้ว อีตอนนี้ก็มีเมีย ๑ มีลูก ๓ เรียบร้อยไปแล้ว เขามาถามว่าเขาปฏิบัติแล้วไม่ก้าวหน้าจะทำอย่างไร ? ก็บอกว่าพี่ก็ทำอย่างที่อาตมาเคยทำนั่นแหละ
    สมัยก่อนพี่ว่าอาตมาบ้าอย่างไรก็บ้าอย่างนั้นล่ะ แล้วมันก็จะได้เอง พูดง่ายนะ แต่ตอนทำมันเหนื่อยก็ท้อเหมือนกันเปรียบให้ฟัง ถ้ากลัวว่าจะผิดเอาศีลเป็นกรอบ ศีล ๕ ก็ได้ ศีล ๘ ก็ได้
    ถ้า หากว่ายังอยู่ในกรอบของศีล การปฏิบัตินั้นไม่ผิดหรือว่าผิดก็ผิดน้อยเต็มที ในเมื่อมีศีลแล้วพยายามกวดศีลของเราให้บริสุทธิ์อย่าละเมิดศีลด้วยตัวเอง อย่ายุยงส่งเสริมให้คนอื่นทำ อย่ายินดีเมื่อคนอื่นล่วงให้ศีลนั้นขาดลงในเมื่อเราทำละเอียดได้ถึงขั้นนี้ ศีลมันทรงตัว สมาธิก็จะตั้งมั่นได้ง่าย ปัญญาก็จะเกิด
    เพราะว่าจิตของเราถ้านิ่งนี่มันเหมือนน้ำที่นิ่งมันจะมองเห็นได้ เวลาชะโงกไปก็เห็นหน้าตัวเอง คราวนี้พอจิตมันนิ่งปุ๊บ ปัญญามันก็จะเกิด พอ ปัญญามันเกิดจะใช้ไปคุมศีลอีกทีหนึ่ง ในเมื่อยิ่งคุมศีลให้ละเอียด สมาธิก็จะตั้งมั่นได้ง่าย สมาธิยิ่งตั้งมั่น ปัญญาก็ยิ่งเกิด มันจะไล่กวดไปเรื่อย ๆ จนถึงจุดสุดท้ายของมัน เราก็จะก้าวข้ามในจุดที่เราต้องการได้
    ถาม : ถ้าใจเราอยากทำกสิณนี่ทำได้มั้ยคะ ?
    ตอบ : ได้ทุกคน ถ้าใจรักอยากจะทำอดีตเคยทำมาแล้ว ทีนี้เราเอากสิณ ๑๐ กองนี่เอาคู่มือปฏิบัติกรรมฐานของหลวงพ่อมา ตั้งใจจุดธูปบูชาหน้าพระรัตนตรัยต่อหน้าหิ้งพระของเรา กราบพระขอบารมีท่านสงเคราะห์ อธิษฐานว่ากสิณกองใดที่เราเคยทำได้แล้วในอดีตแล้ว ถ้าหากว่าทำในปัจจุบันนี้จะได้ผลเร็วที่สุดขอให้เราอ่านแล้วชอบกองนั้นมาก ที่สุดแล้วก็ไล่ไปเลย อาโลกสิณ อากาศกสิณ ปฐวีกสิณ เตโชกสิณ อาโปกสิณ วาโยกสิณ โลหิตกสิณ ปีตกสิณ นีลกสิณ โอทาตกสิน พอครบ ๑๐ กองเสร็จแล้วชอบอันไหนมากที่สุดก็หาอุปกรณ์มาแล้วก็ทำ
    คราวนี้การทำกสิณนี่มันสำคัญอยู่ตรงที่ย้ำคิดย้ำทำ ยิ่งกว่าพวกโรคจิตอีก ก็คือว่ามันลืมตามอง หลับตาลงนึกถึงมันจะนึกได้แป๊บหนึ่ง พอภาพหายก็ลืมตามองใหม่ พร้อมคำภาวนาอยู่ตลอด คราวนี้พอเลิกจากตรงนั้นไปห้ามลืมนะ ต้องนึกถึงภาพนั้นอยู่เรื่อย ๆ นึกไปพร้อมกับคำภาวนาอยู่เรื่อย ๆ แบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่งให้เขา อาจจะซัก ๓๐-๔๐% นึกถึงภาพนั้นพร้อมคำภาวนาตลอด ส่วนความรู้สึกอีก ๖๐-๗๐% ก็ทำหน้าที่การงานของเราไป
    ถาม : ต้องแบ่งอย่างไรคะ ?
    ตอบ : ตลอดเวลาจนกว่าภาพนั้นเราจะลืมตาก็เห็น หลับตาก็เห็น คราวนี้ก็คอยประคับประคองเอาไว้ให้ดี ถ้ามันหายไปรีบนึกขึ้นมาใหม่ หายไปรีบนึกขึ้นมาใหม่ไปเรื่อย ๆ สมาธิก็จะทรงตัว ตั้งมั่นขึ้นเรื่อย ๆ ภาพนั่นก็จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ จากสีเดิมก็จะจางลง ๆ เป็นสีขาว จากสีขาวก็กลายเป็นขาวทึบ จากขาวทึบก็กลายเป็นขาวใส จนกระทั่งสว่างเจิดจ้าเหมือนกับเรามองดวงอาทิตย์
    คราวนี้ลองอธิษฐานดูให้หายไปก็ได้ ให้มาก็ได้ หรือจะให้ใหญ่ก็ได้ ให้เล็กก็ได้ คราวนี้อธิษฐานดูว่ามันจะมีผลตามนั้นมั้ย ? ถ้าเป็นอาโลกสิณ ก็สามารถทำที่มืดให้สว่างได้ สามารถเห็นนรกเห็นสวรรค์ได้ ถ้าเป็นโอทาตกสิณ ก็สามารถเปลี่ยนสีอื่นเป็นสีขาวได้ สามารถเห็นนรก เห็นสวรรค์ได้ เป็นปีตกสิณ ก็สามารถเปลี่ยนสีอื่นเป็นสีเหลืองได้ สามารถทำของอื่นให้เป็นทองได้ โลหิตกสิณ ก็สามารถเปลี่ยนสีอื่นเป็นสีแดงได้ นีลกสิณ ก็สามารถที่จะเปลี่ยนสีอื่นเป็นสีเขียวเป็นสีดำได้ หายตัวได้เหล่านี้เป็นต้น
    พอทำได้เต็มที่แล้วเราค่อยก้าวข้ามกองใหม่ก่อนจะจับกองใหม่ก็ซ้อมกองเดิมให้ เต็มที่ก่อน มันปุ๊บเดียวเท่านั้นเองนะ ถ้ามันได้คล่องตัวแล้วมันปุ๊บเดียวไม่ถึงวินาที สองวินาทีก็เต็ม แล้วเราก็จับกองอื่นต่อ
    ถาม : แล้วคำภาวนาจำเป็นมั้ยคะ ?
    ตอบ : จำเป็นเพราะว่าคำภาวนาพร้อมกับลมหายใจเข้าออกสำคัญที่สุด ถ้าไม่มีอานาปานี่กรรมฐานทุกกองได้ประมาณแค่อุปจารสมาธิเท่านั้นล่ะ ทรงฌานไม่ได้

     
  7. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ

    ปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัตินี้ ท่านกำหนดองค์ของปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัติไว้ ๕ อย่าง
    ดังต่อไปนี้
    ๑. วิตก จิตกำหนดนึกคิด โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ว่าหายใจเข้าหรือออก ถ้าใช้คำ
    ภาวนา ก็รู้ว่าเราภาวนาอยู่ คือภาวนาไว้มิให้ขาดสาย
    ถ้าเพ่งกสิณ ก็กำหนดจับภาพกสิณอยู่ตลอดเวลา
    อย่างนี้เรียกว่าวิตก
    ๒. วิจาร ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็ใคร่ครวญกำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราหายใจเข้าหรือหายใจออก
    หายใจเข้าออกยาวหรือสั้น หายใจเบาหรือแรง ในวิสุทธิมรรคท่านให้รู้กำหนดลมสามฐานคือ หายใจเข้า
    ลมกระทบจมูก กระทบอก กระทบศูนย์เหนือสะดือนิดหน่อย หายใจออกลมกระทบศูนย์ กระทบอก
    กระทบจมูกหรือริมฝีปาก
    ถ้าภาวนา ก็กำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราภาวนาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ประการใด
    ถ้าเพ่งภาพกสิณ ก็กำหนดหมายภาพกสิณว่า เราเพ่งกสิณอะไร มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร
    ภาพกสิณเคลื่อนหรือคงสภาพ สีของกสิณเปลี่ยนแปลงไปหรือคงเดิม ภาพที่เห็นอยู่นั้นเป็นภาพกสิณ
    ที่เราต้องการ หรือภาพหลอนสอดแทรกเข้ามา ภาพกสิณเล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ ดังนี้เป็นต้น อย่างนี้
    เรียกว่า วิจาร
    ๓. ปีติ ความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีเป็นปกติ
    ๔. ความสุขเยือกเย็น เป็นความสุขทางกายอย่างประณีต ซึ่งไม่เคยมีมาในกาลก่อน
    ๕. เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ตั้งมั่นอยู่ในองค์ทั้ง ๔ ประการนั้นไม่คลาดเคลื่อน
    ข้อที่ควรสังเกตก็คือ ปฐมฌานหรือปฐมสมาบัตินี้ เมื่อขณะทรงสมาธิอยู่นั้นหูยังได้ยินเสียง
    ภายนอกทุกอย่าง แต่ว่าอารมณ์ภาวนาหรือรักษาอารมณ์ไม่คลาดเคลื่อน ไม่รำคาญในเสียง เสียงก็ได้ยิน
    แต่จิตก็ทำงานเป็นปกติ อย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ อารมณ์เพ่งอยู่ โดยไม่รำคาญในเสียง
    ทรงความเป็นหนึ่งไว้ได้ ท่านกล่าวว่า กายกับจิตเริ่มแยกตัวกันเล็กน้อยแล้ว ตามปกติจิตย่อมสนใจ
    ในเรื่องของกาย เช่นหูได้ยินเสียง จิตก็คิดอะไรไม่ออกเพราะรำคาญในเสียง แต่พอจิตเข้าระดับ
    ปฐมฌาน กลับเฉยเมยต่อเสียง คิดคำนึงถึงอารมณ์กรรมฐานได้เป็นปกติ ที่ท่านเรียกว่าปฐมสมาบัติ
    ก็เพราะอารมณ์สมาธิเข้าถึงเกณฑ์ของปฐมฌาน ที่จิตกับกายเริ่มแยกทางกันบ้างเล็กน้อยแล้วนั่นเอง
     
  8. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ไม่หรอกครับ

    แค่ปฐมฌาน คำว่ามืด ก็ไม่มีหรอกนะ

    และอีกอย่าง จตุตถฌาน ฌานสี่ ตัด วิตก วิจาร ออกไปแล้ว ไม่มีทางที่สามารถเพ่งไประหว่างคิ้ว จะเป็นดวง สว่าง ขาว นวล เท่ากำปั้นอยู่กลางหว่างคิ้ว การรับรู้ทางกายและลมหายใจไม่มีอีกต่อไป

    เพราะ
    จตุตถฌาน มี เอกอัคคตา เป็นอารมณ์ในองค์ฌานสี่ อื่นๆ นอกจากนี้ ถ้าเกิดได้ ก็แสดงว่าไม่ใช่ฌานสี่ คับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2015
  9. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    วิธีทดสอบว่าทรงกสิณถึงฌานสี่หรือยัง ให้อธิษฐานขอใช้ผลดู



    ถาม : เมื่อทำกสิณถึงฌานสี่แล้วจะเปลี่ยนเป็นอรูปฌาน ยังไม่มั่นใจว่าตัวเองได้อรูปฌานจริงหรือเปล่า ? ผมหรือคิดไปเอง หรือกำลังหลอกตัวเอง ?

    ตอบ : ทำไมโง่แท้วะ..! ถ้าทรงกสิณถึงฌานสี่ก็ใช้ผลได้แล้ว คุณก็อธิษฐานขอใช้ผลก่อนสิ ถ้าเป็นไปตามที่ต้องการเราค่อยไปเปลี่ยนเป็นอรูปฌาน ไม่ใช่อธิษฐานแทบตายแล้วไม่เกิดอะไรเลย ถ้าอย่างนั้นก็หลอกตัวเองแน่นอน

    ถาม : ท่าทางจะหลอกตัวเอง

    ตอบ : ถ้าทรงกสิณถึงฌานสี่ได้ ก็คือ กสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิต สามารถย่อได้ ขยายได้ ให้มาได้ ให้ไปได้ ก็อธิษฐานใช้ผลได้แล้ว

    ถาม : ตอนนี้ย่อได้ ขยายได้ แต่อธิษฐานใช้ผลไม่ได้ครับ

    ตอบ : ถ้ายังใช้ผลไม่ได้ ไม่น่าจะใช่ ย่อได้ขยายได้ของเรากลายเป็นจินตนาการไปแล้ว

    ถาม : จะแก้ไขอย่างไร ?

    ตอบ : ถ้าเราเริ่มจากการจับภาพกสิณมาจริงๆ จะเห็นพัฒนาการทีละน้อย จากแรกๆ ที่เราจับได้ครู่เดียวภาพก็หายไป ต้องลืมตามอง แล้วหลับตานึกถึงใหม่ จนกลายเป็นติดตา ติดใจ คือหลับตาหรือลืมตาก็เห็นเหมือนกัน

    หลังจากนั้นพอประคับประคองไปเรื่อย ภาพก็จะค่อยๆ เปลี่ยน เปลี่ยนจากวัตถุสีเข้มกลายเป็นสีจางลง ลักษณะจางลงก็คือ จางเหมือนกับสีเหลือง เหมือนกับเหลืองอ่อน แล้วก็เริ่มใส พอเริ่มใสมากขึ้นๆ จนกระทั่งสว่างจ้า แปลว่าเริ่มเข้าสู่เขตของฌานสี่แล้ว ถ้าอธิษฐานย่อได้ ขยายได้ ให้มาได้ ให้หายได้ ก็กลายเป็นฌานสี่เต็มที่ ทีนี้เราก็อธิษฐานใช้ผล

    แต่อย่างเราไม่ได้เริ่มจากการนับหนึ่งสองสามมา เรากระโดดไปตอนสุดท้าย ไปคว้าเอาส่วนใดส่วนหนึ่งมา ส่วนใหญ่เป็นแค่เราคิดว่าใช่ โดยเฉพาะคนที่ฝึกมโนมยิทธิมา กำลังใจที่ใช้ในการควบคุมความคิดตัวเอง สามารถทำได้คล่องตัวกว่าคนอื่นเขา และชัดเจนกว่า จึงทำให้คิดว่าตัวเองได้แล้วก็เป็นได้

    เพราะฉะนั้น..สำคัญที่สุด คือ อธิษฐานใช้ผลดู ถ้าใช้ได้แน่นอน ค่อยเปลี่ยนเป็นอรูปฌาน แต่ถ้าจะทำอรูปฌานให้เว้นอากาสกสิณ เพราะอากาสกสิณทำเป็นอรูปฌานไม่ได้ และเว้นอาโลกกสิณไปด้วย ลักษณะ ของความสว่างกับอากาศก็ใกล้เคียงกัน ทำให้บางทีเราจะขาดความมั่นใจ แต่ถ้ามีความคล่องตัวจริงๆ เว้นแค่อากาสกสิณอย่างเดียวก็พอ กองอื่นๆ สามารถทำเป็นอรูปฌานได้ทั้งหมด


    สนทนากับพระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เก็บตกบ้านอนุสาวรีย์ ต้นเดือนมีนาคม ๒๕๕๔


    ที่มา : http://www.watthakhanun.com/webboard...ead.php?t=2524
     
  10. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    เต็มฌาน4 เป็นต้นฌาน5 ครับ
     
  11. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    จขกท ลองไปทดสอบตัวเองสังเกตดูนะ ง่ายๆๆ ว่าตัวเอง ใช้งาน ใช้วิชา ใช้ผล ใช้ฤา จะใช้งาน หรือ ใช้ฤทธิ์ อะไรได้บ้างหรือไม่

    เป็นคำตอบในตัวเอง ^^

    เพราะแค่ อุปจารสมาธิ มันก็เริ่มใช้ได้งานบางอย่างได้แล้ว ออกรู้ กำหนดนิมิตได้แล้ว ถ้าจิตมีกำลัง มีสมาธิจริงๆ จิตเป็นสมาธิจริง



    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2015
  12. Jsus Christ

    Jsus Christ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +82
    เหมือนสายนี้ไม๊ ?


    สังคีติสูตร
    ฌาน ๔ อย่าง

    อุเบกขา มีสติเป็นสุข กับ มีสติบริสุทธิ์


    สองอุเบกขา นี้ ต่างกันประการใด?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2015
  13. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

    บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มี วิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่

    เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
    เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

    บรรลุจตุตถฌาน ไม่ มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ฯ






    จตุตถฌาน หรือ จตุตถสมาบัติ

    จตุตถะ แปลว่าที่ ๔ จตุตถฌานจึงแปลว่าฌานที่ ๔ ฌานที่ ๔ นี้มีอารมณ์ ๒ เหมือน
    ฌาน ๓ แต่ผิดกันที่ฌาน ๓ มีสุขกับเอกัคคตา สำหรับฌานที่ ๔ นี้ ตัดความสุขออกเสียเหลือแต่เอกัคคตา และเติมอุเบกขาเข้ามาแทน ฉะนั้น อารมณ์ของฌาน ๔ จึงมีอารมณ์ผิดแผกจากฌาน ๓ ตรงที่ตัดความสุขออกไป และเพิ่มการวางเฉยเข้ามาแทนที่




    [/quote]
    ก็ต้องแยกให้ออกไงครับ ว่า มีสติ + สุข

    กับ มี สติ - สุข ออกไป ก็คือ มี สติ ที่ไม่มีอารมณ์สุข ร่วมอยู่ด้วยไงครับ


    เพราะมันเป็น ฌานสาม กับ ฌานสี่ อารมณ์ในองค์ฌาน แตกต่างกัน ไม่เหมือนกัน
    เพราะฌานสี่ ตัดสุข ตัดอารมณ์สุขออกไปเพราะเข้าถึงฌานสี่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2015
  14. Dewmaytung

    Dewmaytung สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2015
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +20
    เคยได้หูทิพย์ ตาทิพย์ตอนบวชเป็นพระครับ แต่พระอาจารย์บอกให้ทิ้งให้หมดอย่ายึดติด เป็นมิจฉาสมาธิ ท่านบอกว่าสัมมาสมาธิ คือ สมาธิที่สงบลึกเท่านั้น ผมเลยเลิกสนใจอาการเหล่านั้น ตอนนี้ไม่มีแล้วตรับ
     
  15. Jsus Christ

    Jsus Christ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +82
    มหาวิภังค์ ปฐมภาค เวรัญชกัณฑ์

    เราก็เหมือนอย่างนั้นแล พราหมณ์ เมื่อประชาชนผู้ตกอยู่ในอวิชชา เกิดในฟองอันกะเปาะฟองหุ้มห่อไว้ ผู้เดียวเท่านั้นในโลก ได้ทำลายกะเปาะฟอง คือ อวิชชา แล้วได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม เรานั้นเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลก เพราะ ความเพียรของเราที่พูดถึงแล้วแล ไม่ย่อหย่อน สติดำรงมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง

    ปฐมฌาน เรานั้นแล สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม ได้บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่วิเวกอยู่

    ทุติยฌาน เราได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปีติ และสุขซึ่งเกิดแต่สมาธิอยู่


    ตติยฌานเรามีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไปได้บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า
    เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสุขอยู่ ดังนี้ อยู่

    จตุตถฌาน เราได้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2015
  16. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ดูปัจุบันไงครับ

    ผลของอดีตเคยได้อะไรมาก็แล้วแต่

    ดูจากปัจจุบันเป็นหลัก ว่า จิต เราปฏิบัติเป็นอย่างไร

    การทำสมาธิ ก็คือการมี สติ อยู่กับปัจจุบัน ครับ


    การใช้งานก็เหมือนกัน ปัจจุบัน เป็นตัวกำหนดว่าเราปฏิบัติถึงไหนก้าวหน้าแค่ไหนครับ


    ส่วนนี้ ผมก็ไม่อยากไปพูดอะไร เพราะผมก็ไม่รู้ว่า ครูบาอาจารย์ของคุณ ต้องการบอกเพื่ออะไร เช่น อาจเป็นอุบายไม่ให้ไปติดเรื่องพวกนี้ก็เป็นได้

    แต่ก็อยากจะบอกว่า สัมมาสมาธิ คือการภาวนา พิจารณา สติปัฏฐานสี่ กาย เวทนา จิต ธรรม เพื่อมรรคผลนิพพาน ครับ
    สมาธิที่สงบลึก โดยที่ไม่ออก วิปัสสนา ไม่ออกทำงานของจิต ให้จิตมีงานภายในของจิต ไม่ทำอะไรเลย เฉยๆ ไรพวกนี้ ส่วนใหญ่จะไม่มีกำลังใดๆ ทั้งสิ้น ทำอะไรก็ไม่ได้ เพราะจิตไม่ได้ออกใช้งานในการสร้างกำลังของจิต จิตก็จะไม่มีกำลังอะไรใดๆเลยนั้นเอง และมันก็คือไม่ใช่ทางที่จะช่วยให้พ้นทุกข์ บรรลุอริยเจ้ามรรคผลได้ครับ



    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2015
  17. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    จิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง

    ก็คือ มีอารมณ์หนึ่ง ไม่มีสอง สาม อารมณ์สี่ หรือ อารมณ์อื่นๆตามมาไงครับ

    เพราะจิตสงบจากนิวรณ์ 5 นิวรณ์5 ไม่กำเริบนั้นเอง


    เมื่อจิตตั้งมั่น อารมณ์หนึ่ง จิตก็เป็น ฌาน ไงครับ

    ถ้ายังฟุ้งซ่าน ไม่สามารถระงับได้ ก็ไม่ใช่อารมณ์หนึ่ง นั้นเอง เพราะจิตยังไม่สงบ



    ส่วนสีน้ำเงิน ที่คุณเน้นนั้น เค้าเรียกว่า องค์ฌาน องค์ในฌาน หรือ ภาษาบ้านๆ ก็คือ อารมณ์ในองค์ฌานครับ

    อย่าเอาไปปนกับ ตัวหนังสือ อารมณ์หนึ่ง แล้วเข้าใจว่า สงสัยว่าทำไมในฌาน มีองค์ฌานมีอารมณ์อื่นๆได้อย่างไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2015
  18. Dewmaytung

    Dewmaytung สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2015
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +20
    ที่ผมเดินภูมิวิปัสนาไม่ก้าวหน้า เพราะมีความปราถนาบางอย่างที่แรงกล้า และไม่อาจละความปราถนาได้ จึงลงลึกในภูมิสมถกรรมฐาน แต่ก็พิจารณาวิปัสนาบ้างแต่ไม่ไปไหนครับ
     
  19. Dewmaytung

    Dewmaytung สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2015
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +20
    เมื่อลมหายใจดับสนิท ไม่สามารถคิดได้แล้วครับ จะเหลือแต่ผู้รู้ หากคิดลมหายใจจะเด่นชัดกลับมาทันทีครับ
     
  20. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ต้องทำความเข้าใจก่อนนะครับ ว่าการวิปัสนา นั้น ที่ถูกต้องคือการ วิปัสสนาในจิตที่เป็นสมาธิ ครับ

    ไม่ใช่ จิตยังไม่เป็นสมาธิ แล้ว ไปวิปัสสนา อะไรแบบนั้น ถ้าเข้าใจผิดๆ แบบนี้ ก็จะไม่ก้าวหน้าไปไหน เพราะปฏิบัติผิดวิธี

    จะวิปัสสนาได้ ต้องมี สมาธิ เป็น ฐานของที่ตั้งการทำงานในจิต ก็คือ กรรมฐาน ฐานที่ตั้งการทำงานของจิตไงครับ


    จิตยังไม่เป็นสมาธิ แล้วไปวิปัสสนา เค้าเรียกว่า วิปัสสนึก ครับ นึกเองเออเอง เข้าใจเอง เข้าใจผิดๆ ว่าตัวเอง วิปัสสนา อะไรแบบนี้
    เป็น ภายนอก ไม่ใช่ถูกทาง ไม่ใช่ภายในจิตที่เป็นสมาธินั้นเอง


    รู้จัก วิตก วิจาร ไหมครับ

    ลองพิจารณาดู แล้วเอาอะไรไปรู้ ว่าลมหายใจดับสนิท เอาอะไรไปรู้รับรู้อาการทางกายว่าร่างกายไม่หายใจ

    และเอาอะไรไปรู้ ว่าเหลือแต่ผู้รู้ เอาอะไรไปมอง ว่าเหลือแต่ดวง มองเห็นดวง

    นี่ก็เป็นคำตอบในคำถามละครับ

    หากคิด ก็แสดงว่า หากคิด ก็คือ วิตก วิจาร ยังมีอยุ่นั้นเอง ไม่ได้หายไปไหนครับ

    เพราะ ถ้าเข้าฌานจริง อารมณ์ในองค์ฌาน ที่ตัด วิตก วิจาร นั้นไม่สามารถมีได้นั้นเองครับ
    ถ้ายังมีได้ ยัง หากคิด ได้อยู่ ก็แสดงว่า ไม่ใช่ฌานที่ตัด วิตก วิจาร ได้นั้นเองครับ
    ละยังกลับมาหายใจ ยังรับรุ้อาการทางกาย เสวยอารมณ์ทางกายได้อยู่ ก็เพราะว่า กาย กับจิต ยังไม่ตัดจากกัน
    จิตมันก็เลยยังสามารถไปรับรู้ อาการทางกาย ว่ากำลังหายใจ ได้อยู่นั้นเองครับ

    .
    ต้องเข้าใจก่อนนะครับ ว่าการ ที่เข้าฌาน แล้ว ตัด วิตกวิจาร นั้น ไม่ได้เข้าฌานตัดวิตก วิจาร ด้วยที่ตัวเอง หยุดไปเอง ไม่คิดเอง

    แต่เข้าฌาน ด้วยการเข้าถึง ฌานในขั้นนั้นๆ ครับ
    .



    คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ๔๐ กอง

    โดย พระราชพหรมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

    ตัดวิตกวิจารตามผลปฏิบัติ

    ตามผลปฏิบัตินั้น วิตกวิจารที่ถูกตัด มิได้ตัดด้วยการยกเว้น คืองดการนึกคิดเอาเอง เฉย ๆท่านตัดด้วยการปฏิบัติเข้าถึงระดับ

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...