"จิต"นี้ "ไม่เกิดไม่ตาย"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Xtrem, 12 มีนาคม 2016.

  1. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314
    คำถามหลัก...

    แค่ ปุจฉา พระอรหันต์ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือว่าเป็นจิตที่ได้นิพานแล้วหรือไม่? ถ้าสมมุติตอบว่าได้แล้ว จิตที่ยังอยู่กับร่างกายพระองค์ เป็นจิตที่ได้นิพานแล้วใช่หรือไม่? สมมุติตอบว่า ใช่ แสดงว่าจิตที่ได้นิพานไม่สูญไปไหนใช่หรือไม่ ถ้านิพานแล้วสูญไม่เหลือแม้จิต แล้วจิตที่ยังคงอยู่กับร่างกายผู้ที่ได้นิพานอยู่ได้อย่างไร ทำไมไม่สูญหายไปเมื่อได้นิพานแล้ว จะรอร่างกายสิ้นชีพเพื่ออะไร? เพื่อจะบอกว่าจิตได้นิพานสูญจากกิเลสหรือไม่ ถึงยังอยู่กับร่างกายนั้นอยู่ หาได้สูญจากความสุขไม่.... (นิพานังปรมังสุขขัง พระนิพานเป็นสุขอย่างยิ่ง) แปลว่ามีผู้ได้ความสุขจากนิพานใช่หรือไม่ ใช้อะไรรับรสสุข ถ้าไม่ใช่จิต...

    ความปรารถนารอง...

    คำตอบยังไม่กระจ่างแจ้งนัก ขอแค่เพียงคำตอบในระดับรูป(มีขันธ์ห้า) ขยายความว่า เรื่องที่กายใจจับต้อง มองเห็นได้ง่ายๆ ก็พอ ในระดับไม่มีรูป หรือชั้นนามธรรม ขยายความว่า ชั้นอรูป เห็นได้ในระดับวิญญาณ มันจะเกินภูมิธรรมไป กรุณาอย่ามาตอบข้าพเจ้าเลย ยกเว้นผู้รู้จริง มีความจริงนั้นอยู่ในภูมิธรรมแห่งตน ตอบได้จ้า....
     
  2. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228

    ....ดีใจที่มีคนคุยด้วย

    ...ที่ผมบอกว่า ตัวผู้รู้มีสอง คือ ตัว จิต กับตัวนิพพานธาตุ

    ...ท่านบอกว่าไม่ถูก

    ...คืออย่างนี้นะท่าน สมมุติว่า เมื่อพระอรหันต์ ดับขันธ์แล้ว ก็คือตายแล้วนั้นแหละ ท่านคิดว่า ยังจะคงเหลือ นามธรรมอันไดหรือไม่ ?

    ....ถ้ามีนามธรรม บางอย่างยังเหลืออยู่ ท่านคิดว่า สิ่งนั้นจะมีการรับรู้สิ่งต่างๆหรือไม่ หรือ ไม่รับรู้สิ่งไดๆเลย ?

    ....ถ้าพระอรหันต์ตายแล้ว สูญ ไม่มีความรู้สึก ไม่มีการรับรู้สิ่งไดเลย แล้ว พระอรหันต์ยังเป็นสิ่งที่ผู้คนปราถนาหรือเปล่า

    ...ผมไม่อยากให้ตอบว่า รู้ได้ด้วยปัจจัตตัง หรือมันเป็นสิ่งที่อยากจะอธิบาย ไม่ง่ายสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติที่มือไม่ถึง เพราะแม้แต่พระพุทธองค์ก็อธิบายให้ของยากเป็นของง่าย เหมือนเปิดของที่คว้ำ เหมือนประทีปส่องทางให้คนหลงทาง

    ...ผมกล่าวทุกครั้งก็ มาจากความเข้าใจจากการศึกษาคำสอน ภาษาก็ลุกทุ่งครับ ง่ายๆ ไม่มีอ้อมค้อม ไม่อ้อมแอ้ม มีแต่ฟังธงครับ

    ...ขอบคุณครับที่คุยด้วย
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มันไร้แก่นสาร สาระ. ที่พยายามจะไปบัญญัติ เหลืออะไร

    สิ่งที่ควรพูด และตระหนัก หมั่นแสดง. คือ. หนทางสิ้นตัณหา อุปทาน

    ถ้าการสิ้นตัณหา อุปทาน. ของผู้ปรารพธรรม เขาได้ ทำกิจที่สมควรนั้นแล้ว


    การที่ยัง. พยายามบัญญัติ ว่าเหลืออะไร. ย่อม. ตรวจจับได้ทันทีว่า อุปทานกำเริบ

    กิจที่ควรทำยังไม่ได้ทำ. อ้างว่า. เหนผลอย่างงั้นอย่างงี้ ด้น เด้า เดา เอา. ปัญญาอินทรีย์ล้ำหน้าสติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มีนาคม 2016
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    การเหน จิต เกิด จิต ดับ มันเปน มรรคระดับต้นๆ. ระดัยฝึกหัด

    จิตเกิดทาง6. ทวาร. รับรู้ได้ ทีละทวาร. หาก ฝึกเข้ามารู้ได้
    จะเรียกว่า เหนจิต เกิด ดับ


    แต่คนลายาม มันเอาคำว่า. เกิด. ไปเข้าคู่กับคำว่า ตาย แล้วก้มั่วซั่ว
    ไร้สติกั้น. ไม่รู้เขาพุดการฝึกฝน. อะไร

    หนักข้อเข้าก้ลากไปโน้น จิตอรหันต์

    อายสาตราเอ้ยยยย. จิตรับรู้อารมณ์ ได้ทีละอารมณ์ มะอึงยังไม่เคย
    เหน ไม่เคย ทำให้ ราคะมันเบาบาง จนเข้ามาเหนได้ว่า จิตรับรู้ได้ทีละทวาร

    ราคะไม่เคยยกพิจารณา กามสัญญาไม่เคยรำงับ ปฐมฌาณพุทธไม่เคยแตะ
    โน้น....ไปโน้น. ไปพูดจิตอรหันต์ ปัญญาก้ำเกินสมาธิความตั้งมั่น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มีนาคม 2016
  5. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    ....ผมเคยพูดเรือง ตัวผู้รู้มีสองตัว คือตัวจิต กับตัวญาณ

    ...ถ้าท่านคิดแย้ง ผมยินดีนะครับ แต่ขอให้แย้งแบบมีหลักการ ยกพระสูตรมายิ่งดี ผมไม่ได้ว่าจะไม่เปลี่ยนใจที่จะเลิกคิดแบบนี้ถ้ามีเหตุมีผลที่น่าฟังกว่า

    ...สติ ก็คือจิตรับรู้ว่าสิ่งนี้เคยเกิดขึ้น สัมปชัญญะก็คือ ความรู้สึกตัว คิดดูสิ มีความรู้สึกรับรู้ ด้วยจิต และสัมปชัญญะ

    ...จิต กับสัมปชัญญะ เป็นนามธรรมคนละตัว มีการรับรู้ทั้งสองไม่เหมือนกัน ความรู้สึกตัว รู้แปป แล้วก็หายไม่มีการปรุงแต่ง ไม่เหมือนจิต

    ...รู้ได้ด้วยจิต รู้ได้ด้วยญาณ จิตกับญาณ ก็คือนามธรรมคนละตัว รับรู้เหมือนกัน หรือท่านคิดว่าเป็นตัวเดียวกันหรือไม่

    ....." [๖๙๖] ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณในขณะแห่งโลกุตรมรรค
    อย่างไร ฯ
    ในขณะโลกุตรมรรค จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้น และเป็นเหตุ
    เป็นปัจจัยแห่งญาณ จิตอันสัมปยุตด้วยญาณนั้น มีนิโรธเป็นโคจร ญาณเป็นใหญ่
    ในการเห็น และเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งจิต ญาณอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น มีนิโรธ
    เป็นโคจร ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและด้วยญาณ ในขณะแห่งโลกุตรมรรค
    อย่างนี้ ฯ

    ....ท่านเข้าใจว่า ญาณ กับจิต เป็นนามธรรมตัวเดียวกันหรือเปล่า

    ....ถามจริงๆ ท่านแยก สติกับ สัมปชัญญะออกจากกันได้หรือไม่ ถ้าแยกได้ท่านคิดว่า สติคือจิต แล้วสัมปชัญญะคืออะไร

    ...การตอบห้ามมาโม้ว่าท่านได้คุณธรรมวิเศษแล้วท่านก็มาบอกว่า ด้วยเหตุนี้ไม่ต้องมีเหตุผลก็ได้ มันไม่จริงที่มี ตัวผู้รู้ อยู่สองตัว
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ฟันธง สันติ อะไร


    ตะเอง. ปรินิพพาน. ดับขันธ์ แล้วหรือไง


    เหนพงาบๆ อยู่นี่ เสียสีลอยู่นี่ นรกรอเรียกพี่


    ถ้า เอ่อ. มีการพูดว่า ผมฟังมาจากคนนั้นคนนี้ ก้ว่ากันไป ไม่เสียสีลเลย เปนสัจจ แต่ ซตพ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มีนาคม 2016
  7. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    เห็น ชอบพระไตรปิฎกน่ะครับ


    ส่วนสุด มันเหนือ สมมุติบัญญัติน่ะครับเลยใช้
    คำว่า "ปัตจัตตัง เวธิตัพโพธิ วิญญูหิติ"
    มีแต่ "ผู้บรรลุธรรม จึงรู้ได้ด้วยตัวเอง"

    หากว่า ตัวรู้ มันมีสองตัว
    หากเรายังไม่ถึงส่วนสุด มันก็เลย คุยกันไปในทาง คะเนเอา

    ทีนี้ หากจะอิงจากพระไตรปิฎก


    นิพพาน มีหนึ่ง ไม่มีการมา การไป ไม่มีเข้าไม่มีออก


    หาก ยังมีจิต ผู้รู้ อีก มันจะกลายเป็น ผู้รู้ กับ สิ่งที่ถูกรู้

    นิพพาน ดันไปรู้ จิต
    กับตัวจิตดันไปรู้นิพพาน
    กลายเป็นสองเลยทีนี้


    เราจะคิดหาเหตุผลมาอ้างอิงโดยใช้สมมุติบัญญัติ
    มันยากเลยทีเดียว

    ที่พระพุทธองค์ อธิบายของยากให้เป็นของง่าย

    เข้าใจว่าท่านแจกแจงเป็นสมุมติบัญญัติ มาให้ได้ฟัง
    อะไรที่ไม่เคยรู้ จึงได้รู้ได้เข้าใจ ได้รู้ว่า นี่เรียกว่าอะไร

    หนทางดำเนินไปสู่ความพ้นทุกข์เรียกว่าอะไร

    อะไรคือ ทุกข์ อะไรคือ สมุทัย อะไรคือนิโรธ อะไรคือมรรค

    หากเราไปบัญญัติ อะไรมาใหม่ๆที่ไม่ตรงตามพระไตรปิฎก
    จากการคาดคะเนเอา
    ยังไงเสียมันก้ไม่ใช่


    หากอ่านพระไตรปิฎก ท่านแจกแจง สมมุติภาษาไว้หมดแล้ว

    ในส่วนผลงาน คือ อย่างนี้ เรียกว่า อย่างนี้ อย่างนี้
    และในส่วนวิธีทำ ว่าทำอย่างนี้ อย่างนี้ ท่านก็แจกแจงไว้หมดแล้ว
    หากอ่านศึกษาเพิ่มเติม จะได้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น

    ทีนี้ หากศึกษา ลำดับลงมาอ้างอิง เพื่อเป็นแนวทางอีกอย่างนึง
    ก้คือ พระสงฆ์ ครูอาจารย์บ้านเรา
    ที่ใช้ภาษาไทย ถ่ายทอดออกมา ให้เราได้ศึกษาเป็นแนวทางต่อ

    และเข้าใจวิธีการ ในการปฏิบัติได้มากขึ้น เพื่อ พิศูจ
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ตายฮ่าน. อ่านตำรา อิงตำรา จริงเหรอนั่น

    นามธรรม. มันมี สี่ นามธรรมทุกชนิด. ทำหน้าที่ รู้ ได้ นี่พื้นฐานตำรา

    จิต. เปนภาชนะใหญ่ ส่วนนามธรรมอื่น. จะต้องอาสัย ตั้งขึ้นบนจิต
    ดังนั้น. นามธรรมอะไรไม่ใข่จิต. เขาเรียก เจตสิก

    จะ สติ สัมปชัญญะ เฮียอะไร. ที่อาสัยเกิดบนจิต. ไม่มีใครเขาโง่ ไปเรียกจิต


    นิพพาน. ไม่ใช่จิต. แต่เปน. นามธรรมอีกชนิดหนึ่ง. ที่ไม่มี อะไรไปตั้งได้ในนั้น

    จะเอา จิต. ไปตั้งใน นิพพาน. ไม่ได้ ถ้าเอาอะไรไปตั้งได้ ก้ ไม่ใช่ อสังขตธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มีนาคม 2016
  9. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    ....ท่านไม่ให้บัญญัติ

    ...ท่านไม่ให้พูด

    .....เพราะการบัญญัติ คือการทำให้เกิด อุปทานกำเริบ

    ....ท่านสอนว่า ปัญญาล้ำหน้า สติ


    ....ฟังดูก็เข้าท่า คือ ห้ามไปรู้ว่ามันจะเป็นอย่างไร ให้ปฏิบัติอย่างเดียว

    ....ผมว่านี้หรือคำตอบ มันไม่ใช่นะท่าน ท่านห้ามต่างหาก มิได้ตอบ ท่านห้าม เพราะว่ามันจะทำให้เกิดอุปทานว่า นี้เป็นเรานี้เป็นของเราหรือไง

    ....ผมอยากฟังจากคนที่ไม่ห้าม ท่านห้ามท่านไม่อยากรู้ก็นิ่งๆครับ

    ....ผมจะคุยกับคนที่ปราถนาจะรู้แบบไม่กลัวอุปาทาน แบบใจถึงๆหน่อยครับ
     
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อย่า ศึกษาธรรม. แบบ. วิชาการ. วิจัย. วิแคะ สิฮับ


    มาฝึกหัดดีกว่า แล้ว. จะร้องโอโฮ เลย


    ตำราเนี่ยะ. ยังไม่ได้ครึ่ง. ที่เหนได้จากการฝึกเลย

    ถ้าไปไบ่วิแคะศัพท์ เขาเลยเรียก. พวกตะครุบเงา. เรียนแบบสามัญสำนึกปุถุชน
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    กั๊กๆๆๆๆๆ

    คุณเมาหรือฮับ

    ไอ้ที่พูดๆๆ กันเนี่ยะ. คุณเหน ผมทิ้งตำรา ทิ้งบัญญัติ

    อูดแอบอนอูดอู้อี้อ้ายอู้เอื้องเอ๋อ อายอ้าอ้นอีน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มีนาคม 2016
  12. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ถ้าคุณปะสิท จะเรียน แบบที่ตนเรียนมา แบบนั้นต่อ

    ต้องกลับไป ปูพื้นฐาน. มาติกา. ของ อภิธรรม สักรอบหนึ่งก่อน

    จะได้ไม่ เผลอบัญญัติ อะไร. ที่ผิดไปจาก. ที่เขาเรียนกันทั่วโลก

    พอพูดภาษาเดียวกัน. จะได้ไม่ย้อนแย้ง ตกขอบ. ไปกันทั้งหมด
     
  13. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710


    มะ

    งั้นมา อ่านตำรากันหน่อย

    อ่านจบเมื่อไร ค่อยมาคุยกันต่อครับ


    http://palungjit.org/threads/๑๒-โมหวิเฉทนี-รูป-นิพพานกัณฑ์.288058/
     
  14. ชมทรัพย์

    ชมทรัพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    551
    ค่าพลัง:
    +248
    "..อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตัวผู้รู้นี้รู้ตามความเป็นจริง
    ผู้รู้ มิได้ดีใจไปด้วยมิได้เสียใจไปด้วย
    อาการที่ดีใจไปด้วยนั่นแหละเกิด อาการที่เสียใจไปด้วยนั่นแหละตาย
    ถ้ามันตายก็เกิด ถ้ามันเกิดก็ตาย.."
     
  15. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    บทนี้ แถมนะครับ คุณPrasit5000
    อ่าลืมอ่านให้จบนะครับ

    เทคนิคอย่างนึงเวลา อ่าน ตำราพระไตรปิฎก

    กำหนดรู้ จิต เนืองๆไปด้วย เฉยๆ
    ปิติมาก้กำหนดรู้
    ขนลุกก้กำหนดรู้
    น้ำตาไหลก็กำหนดรู้



    .....................................
    กัณฑ์ที่ ๑๑
    พระไตรปิฎกมหาวิตถารนัย ๕,๐๐๐ กัณฑ์
    คัมภีร์อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต

    ว่าด้วยวิญญาณัฏฐีติเป็นต้น
    (ฉบับ ส.ธรรมภักดี)



    สตฺติมา ภิกฺขเว วิญฺญาณฏฺฐีติโยฯ กตมา สตฺต สนฺติ ภิกฺขเว สตฺตา นานตฺตกายา นานตฺตสญฺญิโนติ.


    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดง คัมภีร์อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต กัณฑ์ที่ ๑๑ ว่าด้วยวิญญาณัฏฐีติเป็นต้น สืบต่อไป เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ตลอดกาลนานหาประมาณมิได้


    บาลี


    ดำเนินความตามวาระพระบาลี อันมีในพระสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๕ ปฐมถปัณณาสก์ คัมภีร์อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาตนั้นว่า พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า วิญญาณัฏฐีติ คือที่ตั้งแห่งวิญญาณ มีอยู่ ๗ ประการ คือ สัตวโลกทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นมนุษย์และเทพเจ้าบางจำพวก วินิบาตบางจำพวก ๑ สัตว์ทั้งหลายมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกพรหมที่เกิดด้วยปฐมฌาน ๑ สัตว์ทั้งหลายมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญยาต่างกัน เช่นพวกเทพเจ้าชั้นอาภัสสรา ๑ สัตว์ทั้งหลายมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพเจ้าชั้นสุภกินหา ๑ สัตว์ทั้งหลายล่วงรูปสัญญา สิ้นปฏิฆสัญญา ไม่มีสัญญาต่างๆ อยู่ในใจ เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ว่าอากาศไม่มีที่สุด ๑ สัตว์ทั้งหลายล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ว่าวิญญาณไม่มีที่สุด ๑ สัตว์ทั้งหลายล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนะว่าไม่มีอะไร ๑ ดังนี้


    อรรถกถา


    ในอรรถกถาว่า ที่ตั้งแห่งปฏิสนธิวิญญาณ เรียกว่า วิญญาณัฏฐีติฯ ก็ในจักรวาลอันหาปริมาณมิได้ ย่อมมีมนุษย์หาปริมาณมิได้ แต่จะมีมนุษย์ซึ่งเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยวรรณะ สัณฐาน เป็นต้นไม่มี ถึงบุคคลเหล่าใดเป็นลูกแฝด มีวรรณะ สัณฐานอย่างเดียวกัน แต่บุคคลเหล่านัี้นก็ยังแปลกกัน ด้วยการแลเหลียว พูด ยิ้ม เดิน ยืน เป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่ามีกายต่างกัน ก็ปฏิสนธิสัญญาแห่งพวกนั้นเป็นไตรเหตุก็มี เป็นทุเหตุก็มี เป็นอเหตุก็มี เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่ามีสัญญาต่างๆ กัน คำว่า เทพเจ้าบางเหล่านั้น หมายเทพเจ้าชั้นกามาวจรทั้ง ๖ ชั้น กายของเทพเจ้าเหล่านั้น มีสีเขียวก็มี มีสีเหลืองเป็นต้นก็มี สัญญาของเทพเจ้าเหล่านั้น เป็นทุเหตุก็มี เป็นไตรเหตุก็มี แต่ไม่เป็นอเหตุฯ คำว่า วินิบาตบางจำพวกนั้น ได้แก่พวกยักษ์ และพวเวมานิกเปรต ซึ่งมีสีกายขาวก็มี ดำก็มี เหลืองก็มี เป็นต้น มีกายผอมก็มี อ้วนก็มี ต่ำก็มี สูงก็มี มีสัญญาต่างกัน คือเป็นทุเหตุก็มี ไตรเหตุก็มี อเหตุก็มี เหมือนกับพวกมนุษย์ แต่ไม่มีศักดิ์มากเหมือนเทพเจ้า มีศักดิ์น้อยเหมือนคนกำพร้า มีเครื่องกิน เครื่องนุ่งห่มหาได้ยาก มีแต่ทุกข์บีบคั้น บางจำพวกได้รับทุกข์ในข้างแรม ได้รับสุขในข้างขึ้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า วินิบาต เพราะพ้นจากความเกิดขึ้นแห่งสุข วินิบาตพวกใด เป็นไตรเหตุ วินิบาตพวกนั้นย่อมได้บรรลุธรรมเหมือนกับยักษิณีที่เป็นมารดาของปิยังกระเป็นต้น

    คำว่า พวกพรหมนั้น หมายพวกพรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตมหาพรหม ซึ่งเกิดด้วยปฐมฌาน ส่วนพรหมปาริสัชชา มีประมาณอายุเท่าส่วนที่ ๓ แห่งกัลป์ พรหมปุโรหิต มีประมาณกึ่งกัลป์ มหาพรหมมีอายุ ๑ กัลป์ พรหมปาริสัชชามีร่างกายเล็ก พรหมปุโรหิตมีร่างกายปานกลาง มหาพรหมมีร่างกายใหญ่ เพราะฉะนั้นจึงว่า พรหมเหล่านั้นมีกายต่างกัน มีสัญยาอย่างเดียวกัน คือได้ปฐมฌานเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายในอบายภูมิ ๔ ก็เหมือนกับพวกพรหม เพราะว่าพวกสัตว์นรกบางจำพวก มีตัวสูง ๑ คาวุตก็มี กึ่งโยชน์ก็มี โยชน์หนึ่งก็มี ส่วนพระเทวทัตมีกายสูง ๑๐๐ โยชน์ฯ สำหรับพวกดิรัจฉานนั้น มีร่างกายเล็กก็มี ใหญ่ก็มี พวกเปรตวิสัย มีร่างกายสูง ๖๐ ศอกก็มี ๘๐ ศอก ก็มี ผิวพรรณดีก็มี ผิวพรรณไม่ดีก็มี เช่นพวกกาลกัญชิกาสูร สัญญาของพวกอบายทั้งสิ้น เป็นวิบากแห่งอกุศล เป็นอเหตุ เพราะฉะนั้นพวกอบายทั้งสิ้น จึงเรียกว่ามีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน

    คำว่า พวกเทพเจ้าชั้นอาภัสสรานั้น ได้แก่พวกเทพเจ้าที่มีรัศมีแผ่ซ่านออกจากกาย เหมือนกับออกจากกายเทพเจ้า จำพวกอาภัสสรานั้นแบ่งออกเป็น ๓ คือพวกเจริญฌานได้น้อย มีรัศมีน้อย เรียกว่าพวกปริตตาภา ซึ่งมีอายุเพียง ๒ กัลป์พวกหนึ่ง พวกเจริญฌานได้พอปานกลาง ชื่อว่า พวกอัปมาณาภา ซึ่งมีอายุ ๔ กัปล์จำพวกหนึ่ง พวกเจริญฌานได้อย่างดี ชื่อว่าพวกอาภัสสรา ซึ่งมีอายุได้ ๙ กัลป์จำพวกหนึ่ง ทั้ง ๓ จำพวกนั้น มีกายใหญ่เหมือนกัน แต่สัญญาต่างกัน คือไม่มีวิตก มีแต่เพียงวิจารก็มี ไม่มีทั้งวิตกวิจารก็มี

    คำว่า สุภกินหา แปลว่า ผู้เกลื่อนกล่นด้วยความงาม คือผู้มีรัศมีเป็นแท่งอันเดียวกัน พวกนั้นเมื่อได้ได้สำเร็จจตุตถฌาน แต่เจริญจตุตถฌานได้น้อยก็มี ปานกลางก็มี ประณีตก็มี พวกเจริญได้น้อย ชื่อว่าปริตตสุภกินหา มีอายุได้ ๑๖ กัลป์ พวกเจริญได้พอปานกลาง ชื่อว่า อัปมาณาสุกิณหา มีอายุได้ ๓๒ กัลป์ พวกเจริญได้อย่างประณีต ชื่อว่า สุภกินหา มีอายุได้ ๖๔ กัลป์ ทั้ง ๓ จำพวกนั้น มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือมีสัญญาในจตุตถฌานเหมือนกัน

    พวกเวหัปผลา จัดเข้าในวิญญาณัฏฐีติที่ ๔ พวกอสัญญีสัตว์ไม่จัดเข้าในวิญญาณัฏฐีติ เพราะไม่มีวิญญาณ แต่จัดเข้าในสัตตาวาส พวกอยู่ในชั้นสุทธาวาส จัดเข้าในฝ่ายวิวัฏฏะ พวกนี้ไม่มีผู้เสมอ เมื่อโลกว่างพระพุทธเจ้า ตั้งพันกัลป์ก็ดี ตั้งอสงไขยก็ดี พวกนี้ก็ไม่เกิด เมื่อมีพระพุทธเจ้าเกิด ในภายในหมื่น ๖ พันกัลป์จึงเกิด พวกนี้คล้ายกับเป็นกองทัพของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นธรรมจักรพรรดิ เพราะฉะนั้น พวกสุทธาวาสนี้ จึงไม่นับเข้าในวิญญาณัฏฐีติ ไม่นับเข้าในสัตตาวาส แต่พระมหาศิวเถรเจ้ากล่าวว่า พรหมชั้นสุทธาวาสนับเข้าในวิญญาณัฏฐีติที่ ๔ และสัตตาวาสที่ ๔ ด้วยพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร สัตตาวาสนั้น ไม่ใช่ของที่ได้ด้วยง่ายเลย เพราะสัตตาวาสนั้น เราไม่เคยได้อยู่ตลอดกาลนานถึงเพียงนี้ นอกจากพวกเทพเจ้าชั้นสุทธาวาส ดังนี้ ถ้อยคำของพระเถรเจ้าองค์นี้เป็นถ้อยคำที่มีผู้เห็นดีด้วยเพราะไม่มีใครค้านพระสูตรได้ ชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ ชื่อว่ามีวิญญาณก็ไม่ใช่ ไม่มีวิญญาณก็ไม่ใช่ เพราะมีแต่วิญญาณละเอียดฉันใด ชั้นสุทธาวาสก็มีแต่วิญญาณละเอียดฉันนั้น เพราะฉะนั้นจึงไม่กล่าวไว้ในวิญญาณัฏฐีติ ดังนี้ สิ้นเนื้อความในอรรถกถาเพียงเท่านี้



    ธัมมัตถาธิบาย



    ในอรรถาธิบายว่า วิญญาณัฏฐีตินั้น แปลว่าที่ตั้งอยู่แห่งวิญญาณ หมายปฏิสนธิวิญญาณ แจกออกไปเป็น ๗ สถาน คือมนุษย์และเทพเจ้าบางเหล่านิบาตบางเหล่า ซึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ๑ พวกพรหมซึ่งเกิดด้วยปฐมฌาน ที่มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ๑ พวกพรหมชั้นอาภัสสรา ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญยาต่างกัน ๑ พวกพรหมชั้นสุภกินหา ซึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญยาอย่างเดียวกัน ๑ พวกพรหมชั้นอากาสานัญจายตนะ ๑ ชั้นวิญญาณัญจายตนะ ๑ ชั้นอากิญจัญญายตนะ ๑ วิญญาณย่อมตั้งอยู่ในสัตวโลก ๗ จำพวกนี้ ดังนี้


    บาลี


    ต่อนี้ไป เป็นเนื้อความในพระสูตรที่ ๒ ว่า บริขารแห่งสมาธิ มีอยู่ ๗ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ ความมีอารมณ์อันเดียวแห่งจิต ความห้อมล้อมแห่งจิตด้วยองค์ ๗ เรียกว่า อริยสมาธิ ที่มีอปุนิสัยที่มีบริขารดังนี้

    ในพระสูตรรนี้ มีอรรถกถาว่า บริขารแห่งสมาธินั้นได้แก่สัมภาระแห่งมรรคสมาธิ ดังนี้


    ธัมมัตถาธิบาย


    ในอรรถาธิบายว่า คำว่า บริขารแห่งสมาธิ ซึ่งท่านว่าได้แก่สัมภาระแห่งมรรคสมาธินั้น คือได้แก่เครื่องปรุงแห่งมรรคสมาธิ เครื่องประกอบแห่งมรรคสมาธิ เครื่องตกแต่งแห่งมรรคสมาธินั้น ก็ได้แก่ธรรม ๗ ประการ คือสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมพันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ดังที่ว่าแล้วนั้น สมาธิใด มีเครื่องปรุง ๗ ประการนี้ สมาธินั้นเรียกว่าอริยสมาธิ ซึ่งมีอุปนิสัยคือมีที่อาศัยบ้าง เรียกอริยสมาธิ ซึ่งมีบริขารบ้าง ดังนี้

    ในพระสูตรที่ ๓ ว่า ไฟมีอยู่ ๗ กอง คือ ไฟราคะ ๑ ไฟโทสะ ๑ ไฟโมหะ ๑ ไฟอาหุไนยะ ๑ ไฟคฤหบดี ๑ ไฟทักขิไนยะ ๑ ไฟไม้ ๑ ดังนี้


    อรรถกถา


    ในอรรถกถาแห่งพระสูตรนี้ว่า สิ่งทั้ง ๗ มีราคะเป็นต้น ที่ได้ชื่อว่าไฟนั้น เพราะเป็นของตามเผา คำว่าอาหุไนยะนั้น ได้แก่มารดาบิดา ผู้ควรแก่ของคำนับ เพราะมารดาบิดาย่อมควรแก่ของคำนับ โดยเหตุว่าเป็นผู้มีบุญคุณมากแก่บุตรทั้งหลาย พวกบุตรที่ทำผิดต่อมารดาบิดาย่อมเกิดในอบายภูมิ ๔ มีนรกเป็นต้น ถึงมารดาบิดาไม่ได้ตามเผาก็จริง แต่ว่าเป็นเหตุแห่งการตามเผา เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าไฟอาหุไนยะฯ คำว่า ไฟคฤหบดีนั้น ได้แก่ไฟคือเจ้าของเรือน อันได้แก่สามี เพราะว่า สามี ย่อมมีคุณมากแก่มาตุคาม ด้วยการให้ที่อยู่ ที่นอน ผ้าผ่อนท่อนสะไบ เครื่องตกแต่งร่างกายเป็นต้น มาตุคามที่นอกใจสามี ย่อมเกิดในอบายภูมิ ๔ มีนรกเป็นต้น เพราะฉะนั้น คฤหบดีจึงเรียกว่าไฟ เพราะเป็นของตามเผาฯ คำว่าไฟทักขิไนยนั้น ได้แก่ไฟ คือพระภิกษุสงฆ์ผู้ควรรับทิกขิณา อันได้แก่ปัจจัย ๔ พระภิกษุสงฆ์นั้น ชื่อว่ามีคุณมากแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วยการแนะนำในทางธรรมที่ดี เป็นต้นว่า แนะนำให้ตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมน์ และศีล ๕ ศีล ๑๐ แนะนำให้ปฏิบัติมารดาบิดา แนะนำให้ปฏิบัติสมณพราหมณ์ พวกคฤหัสถ์ที่ทำผิดต่อพระภิกษุสงฆ์ คือด่าว่าพระภิกษุสงฆ์ ย่อมไปเกิดในอบายภูมิ ๔ มีนรกเป็นต้น เพราะฉะนั้น พระภิกษุสงฆ์ผู้ควรแก่ทักขิณา จึงเรียกว่า ไฟทักขิไนย เพราะเป็นของตามเผา ส่วนไฟที่เกิดจากไม้ตามปกติเรียกว่าไฟไม้ ดังนี้


    ธัมมัตถาธิบาย


    ในอรรถาธิบายว่า คำว่า ไฟ หมายถึงสิ่งที่ร้อน แต่สิ่งที่ร้อนนั้น มีทั้งสิ่งที่ตาเห็นและตาไม่เห็น สิ่งที่ตาไม่เห็นนั้น ได้แก่กิเลส คือราคะ โทสะ โมหะ สิ่งที่ตาเห็นนั้น ได้แก่มารดาบิดา สามี พระภิกษุสงฆ์และไฟเกิดจากไม้ธรรมดาฯ ราคะ โทสะ โมหะ เป็นของทำให้เร่าร้อนทั้งกาย ทั้งใจ เมื่อราคะ โทสะ โมหะ เกิดในใจของผู้ใด ใจของผู้นั้นก็เร่าร้อน แต่เร่าร้อนต่างกัน คือราคะ ทำให้เร่าร้อน ด้วยความอยากได้ ด้วยความมัวเมา โทสะ ทำให้เร่าร้อน ด้วยความอยากทำลายโมหะ ทำให้เร่าร้อนด้วยความงมงาย ผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจแห่งราคะ ย่อมทำกาเมสุมิจฉาจารและทำบาปอย่างอื่นได้อีก ผุ้ที่ตกอยู่ในอำนาจแห่งโทสะ ย่อมทำปาณาติบาต และทำบาปอย่างอื่นได้อีก ผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจแห่งโมหะ ย่อมทำบาปได้สิ้น เมื่อทำบาปแล้ว ก็ต้องร้อนกายร้อนใจ ทั้งในเวลาเป็น เวลาตาย เพราะฉะนั้น กิเลสทั้ง ๓ คือราคะ โทสะ โมหะ จึงเรียกว่าไฟ แต่ละอย่างๆ มารดาบิดา ที่เรียกว่าไฟอาหุไนยะนั้น เพราะบุตรที่กระทำผิดต่อมารดาบิดา ย่อมไปเดือดร้อนอยู่ในอบายภูมิ ๔ สามีที่เรียกว่าไฟ คือคฤหบดีนั้น เพราะทำให้ภรรยาผู้นอกใจ ไปเดือดร้อนอยู่ในอบายภูมิ ๔ พระภิกษุสงฆ์ที่เรียกว่าไฟทักขิไนยนั้น เพราะทำให้ผู้กระทำผิดต่อพระภิกษุสงฆ์ ไปเดือดร้อนอยู่ในอบายภูมิ ๔ ส่วนไฟที่เกิดจากไม้ธรรมดานั้น ย่อมทำให้ร้อนเป็นธรรมดา ไม่ใช่ทำให้ร้อนด้วยไปเกิดในอบายภูมิ ๔ ฯ ไฟทั้ง ๗ กองนี้ มีไฟกิเลสเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าไฟกิเลสนั้นย่อมตามเผาอยู่ตลอดกาลนานหาประมาณไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงควรที่ทุกคนจะไม่ให้ไฟ ๗ กองนี้ ตามเผาตัวได้ จึงจะเป็นการดี สิ้นเนื้อความในเทศนากัณฑ์นี้เพียงเท่านี้.


    เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้ฯ
     
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อย่า ว่างู้นงี้เยนะฮับ

    ลองเอาคำว่า. ตาย ภาษาทอย เนี่ยะ. เปลี่ยนกลับไปเปน. มรณะ
    อันมีปัจจัย. ตาม ปฏิจสมุปบาท เริ่มที่ ตัณหา. อุปทาน

    ต้องทำให้กลายเปน. ธรรม ที่พ้น. มิจฉาทิฏฐิ เหน เปน สัตว์ ก่อน

    จะได้ไม่ต้อง เก่งกระเด้ง. พุดเกิดดับ. ดันไปสะดุ้ง. เหน. เกิดตาย


    แล้ววกกลับมาที่่ ธรรมของพระผู้มีพระภาค ที่ตรัสว่า

    จิต กับ. เวทนา. เปนธรรม สองอย่าง. ที่พิงกันอยู่

    ไม่มีทางเกิด สิ่งหนึ่ง แล้วจะเว้น อีกสิ่งหนึ่ง ไม่เกิดได้

    ถ้าไม่ทรงธรรมนั้นไว้ ตายฮ่าน. เปน ผีใหญ่หมด

    พอทรงธรรมของพระผู้มีพระภาคได้ จะไม่แยก จิต ออกมาเปนของเที่ยง
    และ ก้จะไม่เว้รการปรารพ. อุบายข้ามเวทนาในกาลก่อนๆ อย่างถุกวิธี
    ที่พระผู้มีพระภาค. ตรัสไว้ดีแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มีนาคม 2016
  17. ชมทรัพย์

    ชมทรัพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    551
    ค่าพลัง:
    +248
    จิตเกิดร่วมกับเจตสิกอยู่แล้น
    มีจิตก็มีรูป ใช่นะ
    นิพพานไม่เกิดไม่ดับร่วมกับใคร
     
  18. ชมทรัพย์

    ชมทรัพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    551
    ค่าพลัง:
    +248
    ไม่คุยไรมาก มาพิจารณาธรรม อ่านธรรมหลวงปู่แล้วคิดได้ว่าแบบนี้

    "..อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตัวผู้รู้นี้รู้ตามความเป็นจริง << ท่อนนี้มรรค
    ผู้รู้ มิได้ดีใจไปด้วยมิได้เสียใจไปด้วย <<ท่อนนี้เหตุดับผลดับ
    อาการที่ดีใจไปด้วยนั่นแหละเกิด อาการที่เสียใจไปด้วยนั่นแหละตาย <<ท่อนนี้อาการดีใจเสียใจคือสมุทัย ผู้รู้เป็นไปตามอารมณ์คืออุปาทานเป็นทุกข์
    ถ้ามันตายก็เกิด ถ้ามันเกิดก็ตาย.." << ท่อนนี้ปัจจยาการ
     
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ตรงมีจิต ก้ มีรุป. อันนี้ต้อง วิแคะ นะฮับ

    ถ้า. รูป. เปนรูปขันธ์ เดี๋ยวป๋ม ยกอ้นอีนให้อีก

    แต่ถ้า. รูป. นั้นหมายถึง สังโยชน์เบื้องสูง. ก้พอกระเทิน



    ปล. ไม่รุ้ว่า พอกะเทิน แปลว่าไรนะฮับ. ใช้ไปในลักษณะกะเทินๆ เท่านั้น
    ไม่ได้ฟันธง อะไร
     
  20. ชมทรัพย์

    ชมทรัพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    551
    ค่าพลัง:
    +248
    สัตว์นรก สัตวกหมาตั่วเฮีย(ฮา) คน เทวดา พรหม ก็มีรูปทั้งนั้นแหละ จะให้ว่าไง
     

แชร์หน้านี้

Loading...