"จิต"นี้ "ไม่เกิดไม่ตาย"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Xtrem, 12 มีนาคม 2016.

  1. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710

    ศึกษาเพิ่มเติมแล้วกันครับ อ่านไปพลางๆ

    [๙๔๒] ธรรมมีอารมณ์ เป็นไฉน?
    กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้
    ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์.
    ธรรมไม่มีอารมณ์ เป็นไฉน?
    รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีอารมณ์.
    [๙๔๓] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน?
    จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ
    มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.
    ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน?
    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่
    เป็นจิต.
    [๙๔๔] เจตสิกธรรม เป็นไฉน?
    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า เจตสิกธรรม.
    อเจตสิกธรรม เป็นไฉน?
    จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อเจตสิกธรรม.
    [๙๔๕] จิตตสัมปยุตธรรม เป็นไฉน?
    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสัมปยุตธรรม
    จิตตวิปปยุตธรรม เป็นไฉน?
    รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตวิปปยุตธรรม.
    จิต จะกล่าวว่า จิตตสัมปยุตก็ไม่ได้ ว่าจิตตวิปปยุตธรรมก็ไม่ได้.
    [๙๔๖] จิตตสังสัฏฐธรรม เป็นไฉน?
    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐธรรม.
    จิตตวิสังสัฏฐธรรม เป็นไฉน?
    รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตวิสังสัฏฐธรรม.
    จิต จะกล่าวว่า จิตตสังสัฏฐธรรมก็ไม่ได้ ว่าจิตตวิสังสัฏฐธรรมก็ไม่ได้.
    [๙๔๗] จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นไฉน?
    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ หรือรูปแม้อื่นใด ซึ่ง
    เกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ สัททายตนะ
    คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา
    รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสมุฏฐาน-
    *ธรรม.
    ธรรมไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน?
    จิต รูปที่เหลือ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.
    [๙๔๘] จิตตสหภูธรรม เป็นไฉน?
    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
    จิตตสหภูธรรม.
    ธรรมไม่เป็นจิตตสหภู เป็นไฉน?
    จิต รูปที่เหลือ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิตตสหภู.
    [๙๔๙] จิตตานุปริวัตติธรรม เป็นไฉน?
    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ สภาวธรรมเหล่านี้
    ชื่อว่า จิตตานุปริวัตติธรรม.
    ธรรมไม่เป็นจิตตานุปริวัตติ เป็นไฉน?
    จิต รูปที่เหลือ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิตตานุปริวัตติ.
    [๙๕๐] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นไฉน?
    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน-
    *ธรรม.
    ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน เป็นไฉน?
    จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน.
    [๙๕๑] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูธรรม เป็นไฉน?
    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน-
    *สหภูธรรม.
    ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู เป็นไฉน?
    จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู.
    [๙๕๒] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติธรรม เป็นไฉน?
    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานา-
    *นุปริวัตติธรรม.
    ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ เป็นไฉน?
    จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุ-
    *ปริวัตติ.
    [๙๕๓] อัชฌัตติกธรรม เป็นไฉน?
    จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อัชฌัตติกธรรม.
    พาหิรธรรม เป็นไฉน?
    รูปายตนะ ฯลฯ ธัมมายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า พาหิรธรรม.
    [๙๕๔] อุปาทาธรรม เป็นไฉน?
    จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อุปาทาธรรม.
    ธรรมไม่เป็นอุปาทา เป็นไฉน?
    กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ มหาภูตรูป ๔ และ
    นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอุปาทา.
    [๙๕๕] อุปาทินนธรรม เป็นไฉน?
    วิบากในภูมิ ๓ และรูปที่กรรมแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อุปาทินนธรรม.
    อนุปาทินนธรรม เป็นไฉน?
    กุศลในภูมิ ๓ อกุศล กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปที่กรรมมิได้แต่งขึ้น มรรค ๔
    ที่เป็นโลกุตตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อนุปาทินนธรรม.

    ที่มา
     
  2. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    อีกอย่างนึงครับ

    ในส่วนของ บท อภิธรรม ที่อธิบายเรื่อง รุป จิต เจตสิก

    จะมีอธิบาย ของเรื่อง สติ และสัมปชัญญะอยู่ กลับไปอ่านดูอีกทีก้ได้ครับ
     
  3. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    แถม

    ลองไปเสริทหา สังขาร ที่มีใจครอง กับสังขารที่ไม่มีใจครองดูนะครับ
    อ่านเล่นๆ ไว้ค่อยคุยกันใหม่ครับ
     
  4. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ผมเคยเรียนปริยัติมาบ้าง อันนึงน่าสนใจ เป็นลักษณะของจิต
    ท่านว่า จิตนี้มักดิ้นรน กวัดแกว่ง ฝึกยาก ใฝ่ไปตามอารมณ์ใคร่ ไม่แน่นอน
    คุณเคยสังเกต เคยตามรู้อาการในมุมเหล่านี้บ้างไหม ตรงนี้มันจะทำให้เห็น
    ภาพกว้างของการหลงจมงมรู้มากเกินไปได้ดีเหมือนกัน ไม่ได้ห้ามค้นคว้านะ
    เพียงให้มีสติสัมปชัญญะ มีปัญญาประกอบสอดส่องให้ยิ่งขึ้นไป
     
  5. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    ....ผมอ่านที่คุณยอดคะน้าให้มาแล้ว ของยกมาวาง บางท่อนดังนี้นะครับ

    [๙๔๒] ธรรมมีอารมณ์ เป็นไฉน?
    กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้
    ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์.
    ธรรมไม่มีอารมณ์ เป็นไฉน?
    รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีอารมณ์.
    [๙๔๓] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน?
    จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ
    มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.
    ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน?
    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่
    เป็นจิต.

    ...ธรรมมีอารมณ์ หมายถึงอะไร อธิบายให้ผมหน่อย

    ...รูปและนิพพาน เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ถูกต้อง รูป ไม่ใช่ตัวรับรู้สิ่งไดๆ ส่วนนิพาน เป็นตัวผู้รู้อีกอันหนึ่ง รู้อย่างไม่มีอารมณ์
    ....อารมณ์ต่างๆมันเกิดที่จิต เพราะเหตุได เพราะจิต อยู่ร่วมกับเจตสิค จิตมันคิดได้เพราะเกิดร่วมกับสังขาร จิตมีอารมณ์ต่างๆได้เพราะมีเจตสิค
    ....นิพพาน ไม่สามารถ มีอารมณ์ไดๆเพราะ ไม่ได้อยู่ในขันธ์ห้า เคยได้ยินพระวัดป่าพูดว่า ของจริงเป็นไบ้ พูดได้มิใช่ของจริง ของจริงก็คือ นิพพานธาตุ ส่วนที่พูดได้ก็คือจิตนั้นเอง

    ... บอกผมสิครับว่า ตรงใหนบอกว่า นิพพานไม่ใช่ตัวรับรู้ เขาเพียงแต่บอกว่า เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ จะไปเหมารวมว่า ไม่มีการรับรู้ได้ยังไง

    ...ดีใจนะเจอคนจริง เรามาคุยกัน กับแก่นพระพุทธศาสนา แย้งมาได้ครับ ผมจะได้หายสงสัยในคำสอน
     
  6. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    .....ผมขอพูดถึงตัวผู้รู้ที่ว่ามีสองตัวนะครับ

    ... ถ้าเรา เอาคนคนหนึ่งมาแยกออกมา จะได้ อยู่ สี่ ธาตุ คือ จิต เจตสิค รูป นิพพาน ไม่มีอะไร มาก หรือน้อยไปกว่านี้แน่นอน หรือตรงนี้จะมีคนแย้ง
    .....จิต เจตสิค รูป ก็คือขันธ์ห้า เจตสิค ก็คือ เวทนา สัญญา สังขาร นั้นเอง ส่วนจิต ก็คือ มโนวิญญาณ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ขันธ์ห้า บางคนก็บอกว่า ขันธ์ห้าก็คือกายกับใจนั้นเอง
    .....จิต เจตสิค รูป นิพพาน ตัวผุ้รู้ มีสองตัว คือ จิตกับ นิพพาน สมมุตินะถ้าผมจะเรียก นิพพานธาตุว่า เป็นตน

    ...อริยสัจสี่ ท่านสอนว่า ทุกข์ คือความไม่สบายกายสบายใจ ทุกข์เกิดที่่ขันธ์ห้า สมุททัย เกิดจาก ตนไปยึดเอา ว่าขันธ์ห้า เป็นของตน ยึดเอาด้วยกิเลสสังโยชน์
    ....นิโรธ คือการที่ตน ตัดกิเลสสังโยชน์ได้แล้ว ตนที่ปราศจากสิ่งร้อยรัด ด้วยขันธ์ห้า
    ....มรรคแปด คือวิธีที่จะทำให้ตน ตัดกิเลส โดยการรู้ความจริง ว่าขันธ์ห้ามิใช่สิ่งทึ่ควรยึดเอาว่าเป็นตน เป็นของตน

    ....ผมถามท่านว่า ถ้าเราอธิบายอริยสัจสี่ให้คนมีระดับมันสมอง ดีพอสมควรเขาจะเข้าใจใหม แน่นอน ไม่มีใครไม่เข้าใจ ไม่มีใครบอกว่ายากที่จะรู้ แต่นั้นแหละ มันเป็นการรู้ในระดับจิต ตนยังไม่รับรู้ เราเรียกว่า จินตามยปัญญา

    ....ทำอย่างไรให้รับรู้ในระดับตน อันนี้สิยาก

    [๑๗๓๘] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ ครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในเมืองเวสาลีแล้ว
    เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี
    พระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
    ประทานพระวโรกาส เมื่อเวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตใน
    เมืองเวสาลี ได้เห็นลิจฉวีกุมารมากด้วยกัน กำลังทำการยิงศรอยู่ในศาลาสำหรับเรียนศิลปะ
    ยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด ครั้นแล้ว ข้าพระองค์
    ได้มีความคิดว่า พวกลิจฉวีกุมารเหล่านี้ที่ยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก แต่ที่
    ไกลได้ไม่ผิดพลาด เป็นผู้ศึกษาแล้ว ศึกษาดีแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เธอ
    จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อย่างไหนจะทำได้ยากกว่ากัน หรือจะให้เกิดขึ้นได้ยากกว่ากัน?
    คือ การที่ยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด กับการ
    แทงปลายขนทรายด้วยปลายขนทรายที่แบ่งออกแล้วเป็น ๗ ส่วน.
    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การแทงปลายขนทรายด้วยปลายขนทรายที่แบ่งออกแล้ว
    เป็น ๗ ส่วน กระทำได้ยากกว่า และให้เกิดขึ้นได้ยากกว่าพระเจ้าข้า.
    พ. ดูกรอานนท์ ชนเหล่าใดย่อมแทงตลอดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ
    นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชนเหล่านั้นย่อมแทงตลอดได้ยากกว่าโดยแท้ เพราะฉะนั้นแหละ
    อานนท์ เธอพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
    *ปฏิปทา.


    .....การทำให้ตนรู้แจ้งความจริง ทำได้อย่างไรเล่า
    ......สติปัฏฐานสี่ มีสติ มีสัมปชัญญะ
    .....สติ ก็คือจิต ที่ระลึกได้ถึง ผัสสะที่เคยเกิด เช่น ลมกระทบจมูก เข้าไปข้าางใน
    .....สัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัวขอตน
    .....ฝึกให้ตนมันรุ้สึกตัวไปเรื่อยๆ ไม่มีสติ ก็ไม่มีสัมปชัญญะ มีสติถ้าไม่ฝึกให้มีสัมปชัญญะ มันก็เป็นสติแบบฤาษี

    .....ฝึกให้ตนลึมตามารับรู้สิ่งต่างๆ ให้จิตมันป้อนข้อมูลเข้าไปเรื่อยๆสักวัน ตนก็จะรู้ความจริง เรียกว่าเกิดดวงตาาเห็นธรรมนั้นเอง

    ....พระอรหันต์นาคเกษม อุปมาการตรัสรู้ว่า เปรียบเหมือนการส่องไฟดูตัวเลขในที่มืด เมื่อเห็นตัวเลขแล้วไม่จำเป็นต้องส่องดูอีก เพราะรุ้แล้ว การตรัสรุ้ก็เหมือนกัน เมื่อตนรู้แค่ครั้งเดียวก็สามารถตัดกิเลสได้เป็นบางส่วน

    ....การทำสติอย่่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดสัมปชัญญะอย่างต่อเนื่อง สัมปชัญญะอย่างต่อเนื่องก็กลายไปเป็น ญาณ เมื่อตัวญาณถูกป้อนข้อมูลด้วยความรู้ที่จิตรับรู้ความจริงป้อนให้ ก็จะเกิด ความรู้ในระดับญาณ เรียกวิปัสนาญาณ

    [๖๙๖] ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณในขณะแห่งโลกุตรมรรค
    อย่างไร ฯ
    ในขณะโลกุตรมรรค จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้น และเป็นเหตุ
    เป็นปัจจัยแห่งญาณ จิตอันสัมปยุตด้วยญาณนั้น มีนิโรธเป็นโคจร ญาณเป็นใหญ่
    ในการเห็น และเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งจิต ญาณอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น มีนิโรธ
    เป็นโคจร ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและด้วยญาณ ในขณะแห่งโลกุตรมรรค
    อย่างนี้ ฯ


    ......ท่านยังสงสัยอีกว่า มีตัวนามธรรมที่ชื่อว่าจิต เท่านั้นหรือรับรู้สิ่งต่างๆ แล้ว ตัวนามธรรมที่เรียกว่า นิพพาน จะไม่รับรู้สิ่งไดๆแล้วหรือ
     
  7. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228

    ....ใครจะว่าผมเป็นพวก ไม่ดีที่ไปอยากรู้ว่า พระอรหันต์ตายแล้วเหลืออะไร ก็ช่างเถอะครับ แต่ขอคำกล่าวและประนาณแบบเอามาจาก พระสุตร มาจากพระพุทธพจน์สันท่อนสิครับ จากอาจารย์รุ่นหลัง ฟังไม่ค่อยขึ้น

    ...พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่ ชัดเจนแน่นอน ไม่อึมครึม เราไม่ใช่ใสยศาสตร์ เราเป็นพุทธศาสน์ เป็นผุ้รู้ผู้ตึ่นผุ้เบิกบาน
     
  8. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    ... [๑๙๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ-
    *บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ก็โดยสมัยนั้นแล ยมกภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า
    เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว
    ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก. ภิกษุหลายรูป ได้ฟังแล้วว่า ได้ยินว่า ยมกภิกษุเกิด
    ทิฏฐิอันชั่วช้าเป็นปานนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพ
    เมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก. ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น จึงพากัน
    เข้าไปหาท่านยมกภิกษุถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่านยมกภิกษุ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัย
    ชวนให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว จึงถามท่านยมกภิกษุว่า
    ดูกรท่านยมกะ ทราบว่า ท่านเกิดทิฏฐิอันชั่วช้า เห็นปานนี้ว่า เรารู้ว่าทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มี-
    *พระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก
    จริงหรือ? ท่านยมกะกล่าวว่า อย่างนั้น อาวุโส.
    ภิ. ดูกรอาวุโสยมกะ ท่านอย่าได้พูดอย่างนั้น อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะ
    การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสอย่างนี้ว่า พระขีณาสพเมื่อ
    ตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก.


    ....การเข้าใจว่า พระอรหันต์ตายแล้วสูญ ก็เป็น ทิฏฐิอันชั่วช้า เห็นปานนี้ ....ลองไปอ่านพระสูตรดูสิครับ
     
  9. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    มีการเข้าใจผิด หรือหละหลวม ในการ บัญญัติหลายอย่างนะครับ.....ถ้า เอา บัญญัติ เรื่อง จิต เจตสิก รูป นิพพาน ก้ แบัญญัติว่า สังขตธรรม คือ ธรรมที่มีปัจจยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น คือ จิต เจตสิก รูป ส่วนนิพพาน คือ อสังขตธรรม ธรรมที่ไม่มีปัจจยปรุงแต่ง.....และ ที่คุณเรียก นิพพาน ว่า ตัวนามธรรม นั้น ก็ บัญญัติ ของคุณเอง แท้แท้...แล้วจะไป ตอบกันยังไง:cool:
     
  10. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    ผมเห็นเป็นการเตือนสติกันว่า อย่าได้พยายามเอาสังขารไปวิจารณ์สภาพอันสิ้นสังขารเลยจะดีกว่า มันเป็นไปไม่ได้ มีแต่จะก่อเป็นทิฏฐิอันชั่วช้าไปเปล่าๆ เท่านั้นเอง พระพุทธงค์ทรงตรัสสอนว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นครับ
     
  11. Xtrem

    Xtrem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2016
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +275
    ผมเห็นเจตนาในการใคร่รู้แจ้งในทางธรรมของคุณ Prasit5000 การศึกษาหามรรควิธีทางหลุดพ้น จะต้องเกิดจากภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการภาวนาเข้าไปรู้เห็น ถ้าไม่ใช่ผู้มีบารมีที่สั่งสมมาดีแล้ว ไม่มีทางเลยที่จะทำจิตให้หลุดพ้นจากอาสวะความยึดมั่นถือมั่นทั้งปวง ด้วยสุตมยปัญญา หรือ จินตมยปัญญา ซึ่งสองอย่างนี้อาจทำให้ไขว้เขวออกจากมรรควิธี เพราะยังเป็นปัญญาที่ประกอบไปด้วยทิฐฐิ ที่ไม่ใช่สัมมาทิฐฐิ ถึงแม้ว่าเราจะยังไม่บรรลุธรรมใดๆก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่ควรหมั่นประกอบในจิตระลึกถึงอยู่เสมอ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อมีสติระลึกไว้อยู่เสมอ ย่อมเป็นสัมมาทิฐฐิที่เที่ยงตรงถูกต้อง เพราะสังขารทั้งปวงย่อมแสดงความเป็นไตรลักษณ์อยู่แล้ว ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปครับ.
     
  12. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ใครบอกหรือครับ ว่า ขันธุ์5 ก็คือกายกับใจ.....(ถ้าคนมีอวิชชาก็คงจะพูดได้แบบนี้)

    ส่วนที่ว่า มีผู้รู้ 2 ตัว นี่ก็คนมีอวิชชาพูดเช่นกันนะ

    เพราะ ถ้าใครเข้าใจเรื่องของ รูป จิต เจตสิก นิพพาน จริงๆแล้ว....ขันธุ์5 คนละอันกับ กายและใจ....ส่วนผู้รู้ตัวแรกของการฝึกสติ ก็คือ สติของจิตวิญญาณในขันธุ์5 ที่ ต้องอนัตตาไป

    ส่วน ผู้รู้ที่สองคือ สัมปชัญญะ หรือก็คือ ใจ มันก็ไม่ไช่ของใคร...ใจไม่ไช่ของเรา แต่ใจก็รู้เห็น ทุกขั้นตอนของการ หลุด การพ้น การออกจาก ..ตัวจิตวิญญาณ โดยไล่มาจาก วางกาย วางเวทนา วางใจ(วางตนเองก่อน) เหลือ จิตวิญญาณในขันธุ์5หรือสติรู้ตัวนี้...ค่อยมาวางตัวสติรู้จิตวิญญาณตัวนี้...โดยทุกขั้นตอนการฝึก ใจจะรู้เห็นด้วย ตลอด (เพราะขณะฝึกมันใช้ร่างกายเดียวกันอยู่).สุดท้าย สัมปชัญญะจะกลับคืนสู่ กาย.....รวมเป็น กายใจ โดยปราศจาก จิตวิญญาณ ที่เคย เคลื่อนเคยจุติมาเกิด นั่นเอง หมดเชื้อไปเลย(หมดจิตวิญญาณเดิมเพราะอนัตตาไป)
     
  13. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ย่อๆ....จิตวิญญาณ (ขันธุ์5) สร้าง กายใจ(ใจเป็นของในโลก จากโลก จากดินน้ำลมไฟ มันคือรู้ เครื่องรับรู้ คืออายตนะเกิดพร้อมกายคือสัมปชัญญะ)...แล้วจิตวิญญาณก็เคลื่อนข้ามภพข้ามชาติมาจุติ รวมในกายใจ ....เกิดเป็นคน มีอวิชชา

    ดีงนั้น คนมีอวิชชาได้ เพราะมีจิตวิญญาณเก่านั้น มาครอง
     
  14. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    การฝึกสติปัฏฐาน ก็เพื่อ ค้นหาความจริงของ ร่างกายใจจิตวิญญาณ ที่มาเกิดใหม่นี้
    โดย เอาสติ(จิตวิญญาณมาตั้งเป็นผู้ดูผู้รู้ก่อน...ดูกาย ดูเวทนา ดูจิต ...รู้ความจริงกายเพื่อวางกายก่อน รู้ความจริงของเวทนา(อุปทานจากผัสสะกายหรือผัสสะใจ..จะยังไม่มีเวทนาหรืออุปทานจากจิตวิญญาณขันธุ์5เพราะเรากำหนดเอามันมาตั้งเป็นผู้ดูผู้รู้ก่อน)..เมื่อแยกอุปทานเวทนาได้แล้ว จะวางเวทนากายได้ก่อน แล้วก็จะมาดูจิตรู้จิต(ดูความคิดรู้ทันความคิดเพื่อเข้าไปถึงตัวใจ การทำงานของใจ)เพื่อวางใจได้ก่อน....นี่ตามขั้นตอน
     
  15. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    แล้วเมื่อสติรู้(จิตวิญญาณในขันธุ์5) มันวางกาย วางเวทนากาย วางใจ วางเวทนาใจ(ความคิดปรุงแต่งของใจ).....วางได้เพราะ เข้าใจในความจริงของการทำงานการเคลื่อน ของกายและใจ (มันต้องวางก่อน คือเพื่อให้เหลือเพียงตัวสติรู้(จิตวิญญาณในขันธุ์5)...เหลือตัวเดียว....นี่คือ เข้าสู่ การดูธรรม การรู้ธรรม

    และขั้นนี้ จะใช้ปัญญาล้วนๆ(ญาณที่ได้จากความสงบที่เคยฝึกมาจากการดูกายเวทนาจิต จนวางกายเวทนาจิต ได้มาแล้วนั่นเอง)

    และถ้าทำสติรู้(จิตวิญญาณนี้เข้าสู่อนัตตาตามได้ โดยรู้ความจริงของอวิชชา)..ตัวรู้ตัวนี้ก็อนัตตา นิพพานไป....

    เหลือกายจริง สัมปชัญญะจริงตัวรู้ผัสสะ (ใจที่เคยวางไว้ นั้น ถึงจะวางมันไว้ มันก็ยังรู้ตาม รู้เห็น ทุกขั้นตอนของ การวางสติรู้ คือการเข้าถึงอนัตตาของสติรู้ของจิตวิญญาณของขันธุ์5...ทุกขั้นตอน ตัวใจเองก็ ได้ปัญญารู้นั้นมาด้วย

    (นี่เล่า ย่อๆนะ....สุดท้ายสัมปชัญญะ เปรียบเหมือน จิตวิญญาณดวงใหม่ที่บริสุทธิ์(มันบริสุทธุ์ได้เพราะมันไม่หลงไปกับ กาย เวทนา ไม่สร้างอุปทานได้อีกแล้วนั่นเอง)

    หวังว่าจะพอเข้าใจนะ
     
  16. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ที่พูดออกมาทั้งหมดเนี่ย เสียเวลาไป 8-9ปีเลยนะ นี่แค่เล่าย่อๆ เพราะมัน ต้อง ตั้งใจจริงเท่านั้น..สำหรับการที่จะอยากพบกับความจริง

    ความจริง มีแต่คนจริงเท่านั้น ที่สามารถพบได้(พุทธะ ท่านฝากมา)
     
  17. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    สุดท้าย ขั้นตอนสุดท้าย ต้องบวช เพื่อให้ ใจที่รู้ อนัตตา ใจที่เป็นธรรม ใจที่เป็นพระ...นำกายเข้าไปสู่แดนธรรม เพื่อ ทำ รูปกายให้เป็นธรรม เหมือนนามใจ....ทีนี้ก็ ขึ้นอยู่กับปัญญาแล้วล่ะ ว่า จะออกจากธรรม....ออกจากเรือตรงนั้น กลับคืนมาเป็น มนุษย์ ตายอย่าง มนุษย์ ได้อย่างไร
     
  18. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    อย่าถาม....จงตั้งใจ ฝึก ตั้งใจทำ หา...ผู้ชี้ ของตนเองเถิด.....
    ผู้บรรลุธรรมในตนได้นั้น..เพราะเข้าใจธรรมจากตัวคนอื่น....
    ถ้าไม่เข้าใจธรรมจากตัวคนอื่น ก็ย่อมไม่มีวันเห็นธรรมในตนได้....(ฝากไว้)
     
  19. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    พุทธองค์ กล่าวว่า....ผูใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต....

    แปลว่า (ต้องแปลด้วยมั้ยนะ)....ใครที่เห็นธรรมความจริงจากตัวคนอื่น(เกิดเกิดศรัทธา เพราะธรรมความจริงที่เขาแสดง...นั่นแสดงว่าคุณเห็นความเป็นพระ ความเป็นพระพุทธเจ้า ความเป็นผู้ชี้ ในตัวเขา คือ เห็นแสงสว่างแห่งปัญญา ในตัวคนคนนั้น นั่นเอง)

    ซึ่งผมก็เคยเห็นมาแล้ว จากคุณ สุริยะ (ฉัตรสุบรรณกุล) พุทธะหนึ่ง...จากเมืองเจียงใหม่

    (ก็แล้วแต่ จะเชื่อมั่นในตนเองเถอะนะครับ....ช่วยตนเอง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ..ในช่วงที่ช่วยตนเองไม่ได้ ไม่รู้ ก็ให้คนอื่นช่วยเถอะคระบ...คือ เชื่อคนอื่นให้เป็น นะครับ
     
  20. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ทองคำกลัวอะไร กลัวคนหลอม
    เพชรกลัวอะไร กลัวคนเจียรไน

    คนที่ทำให้เราเป็นคนชั่วได้...ไม่น่ากลัว

    ที่น่ากลัวที่สุด คือ คนที่ทำให้เราเป็นคนดีได้ น่ากลัวกว่า....เพราะเขาจะไม่ตามใจเราเป็นแน่แท้
     

แชร์หน้านี้

Loading...