อภิญญา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย santosos, 28 กรกฎาคม 2005.

  1. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    ฌานลาภีบุคคลที่ได้ฌานสมาบัติทั้ง ๙ แล้ว จะมีอภิญญาโดยทั่วหน้าก็หาไม่ จะมีอภิญญาได้ก็ต่อ
    เมื่อได้ฝึกฝนอบรมกันเป็นพิเศษอีกถึง ๑๔ นัยก่อน ดังต่อไปนี้
    (๑) กสิณานุโลมโต เข้าฌานตามลำดับกสิณ ชั้นแรกเข้าฌานใดฌานหนึ่งด้วยปฐวีกสิณ ออกแล้วเข้าฌาน
    นั้นด้วยอาโปกสิณ แล้วเตโช วาโย ต่อ ๆ ไปตามลำดับ จนกระทั่งถึงโอทาตกสิณ ฝึกอย่างนี้ตั้ง ๑๐๐ ครั้ง ๑๐๐๐ ครั้ง จนกว่าจะเป็น วสี (ดิน น้ำ ไฟ ลม สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว)
    (๒) กสิณปฏิโลมโต เข้าฌานย้อนกสิณ เริ่มต้นเข้าฌานใดฌานหนึ่งด้วย โอทาตกสิณ ออกแล้ว ย้อนมาเข้า
    ด้วยโลหิตกสิณ ย้อนมาปีตกสิณ ย้อนมานีลกสิณ ย้อนมาต้นเรื่อยไปจนถึงปฐวีกสิณ ฝึกจนให้ชำนิชำนาญเป็นอย่างดียิ่ง
    (๓) กสิณานุโลมปฏิโลมโต เข้าฌานใดฌานหนึ่งตามลำดับกสิณและย้อนกสิณ คือ ทำอย่าง (๑) หนึ่งเที่ยว
    แล้วทำอย่าง (๒) หนึ่งเที่ยว แล้วทำ (๑), (๒), (๑), (๒), สลับกันเช่นนี้ไปจนกว่าจะเป็นวสี
    (๔) ฌานานุโลมโต เข้าตามลำดับฌาน โดยเริ่มแต่ปฐมฌาน แล้วทุติยฌาน ตติยฌาน เรื่อยไปจนถึง
    เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ฝึกอย่างนี้จนเป็นวสี
    (๕) ฌานปฏิโลมโต เข้าย้อนลำดับของฌาน ตั้งต้นที่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้วย้อนทวนมา
    อากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน ทวนมาถึงต้นจนถึง ปฐมฌาน จนกว่าจะเป็นวสี
    (๖) ฌานานุโลมปฏิโลมโต เข้าตามลำดับฌาน และย้อนลำดับฌาน คือ ทำอย่าง (๔) หนึ่งเที่ยว
    จบแล้วทำอย่าง (๕) หนึ่งเที่ยว แล้วทำ (๔), (๕), (๔), (๕), อย่างละเที่ยวสลับกันไป จนกว่าจะเป็นวสี
    (๗) ฌานุกฺกนฺติกโต เข้าฌานโดยข้ามลำดับของฌาน คือ
    เข้าปฐมฌาน โดยเพ่งปฐวีกสิณ
    ข้ามทุติยฌานไปเข้า ตติยฌาน โดยเพ่งปฐวีกสิณ
    ข้ามจตุตถฌานไปเข้า ปัญจมฌาน โดยเพ่งปฐวีกสิณ
    ข้ามอากาสานัญจายตนฌานไปเข้า วิญญาณัญจายตนฌาน โดยเพ่ง วิญฺญาณํ อนนฺตํ
    ข้ามอากิญจัญญายตนฌานไปเข้า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยเพ่ง เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ
    ต้องฝึกอบรมอย่างนี้จนกว่าจะเป็นวสี


    --------------------------------------------------------------------------------


    หน้า ๖๒

    (๘) กสิณุกฺกนฺติกโต เข้าฌานโดยข้ามลำดับกสิณ คือ
    เพ่งปฐวีกสิณ เข้าปฐมฌาน
    ข้ามอาโปกสิณ เลยไปเพ่งเตโชกสิณ เข้าปฐมฌาน
    ข้ามวาโยกสิณ เลยไปเพ่ง นีลกสิณ เข้าปฐมฌาน
    ข้ามปีตกสิณ เลยไปเพ่ง โลหิตกสิณ เข้าปฐมฌาน ฝึกอย่างนี้จนเป็นวสี
    (๙) ฌานกสิณุกฺกนฺติกโต ข้ามทั้งกสิณและข้ามทั้งฌานด้วย คือ
    เพ่ง ปฐวีกสิณ เข้า ปฐมฌาน
    เพ่ง เตโชกสิณ เข้า ตติยฌาน
    เพ่ง นีลกสิณ เข้า ปัญจมฌาน
    เพ่ง วิญฺญาณํ อนฺนตํ เข้า วิญญาณัญจายตนฌาน
    เพ่ง เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ เข้า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อบรมจนเป็นวสี
    (๑๐) องฺคสงฺกนฺติโต เข้ารูปฌาน ๕ โดยก้าวล่วงองค์ฌานไปตามลำดับ คือ
    เพ่งกสิณเป็นอารมณ์ เข้าปฐมฌาน ซึ่งมีองค์ฌาน ๕
    เพ่งกสิณเป็นอารมณ์ เข้าทุติยฌาน ซึ่งมีองค์ฌาน ๔ โดยก้าวล่วงวิตก
    เพ่งกสิณเป็นอารมณ์ เข้าตติยฌาน ซึ่งมีองค์ฌาน ๓ โดยก้าวล่วงวิจาร ได้อีก
    เพ่งกสิณเป็นอารมณ์ เข้าจตุตถฌาน ซึ่งมีองค์ฌาน ๒ โดยก้าวล่วงปีติ ได้อีก
    เพ่งกสิณเป็นอารมณ์ เข้าปัญจมฌาน ซึ่งมีองค์ฌาน ๒ โดยก้าวล่วงสุข ได้อีก
    ฝึกจนเป็นวสี
    (๑๑) อารมฺมณสงฺกนฺติโต เข้าฌานโดยเปลี่ยนอารมณ์กัมมัฏฐาน คือ เพ่ง ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน
    เข้าปฐมฌาน
    แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง อาโปกสิณ เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน เข้าปฐมฌาน
    แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง เตโชกสิณ เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน เข้าปฐมฌาน
    แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง วาโยกสิณ เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน เข้าปฐมฌาน
    แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง นีลกสิณ เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน เข้าปฐมฌาน
    แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง ปีตกสิณ เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน เข้าปฐมฌาน
    แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง โลหิตกสิณ เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน เข้าปฐมฌาน
    แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง โอทาตกสิณ เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน เข้าปฐมฌาน
    ฝึกจนเป็นวสี


    --------------------------------------------------------------------------------


    หน้า ๖๓

    (๑๒) องฺคารมฺมณสงฺกนฺติโต เข้าตามลำดับฌานและตามลำดับกสิณด้วยคือ
    เพ่ง ปฐวีกสิณ เข้า ปฐมฌาน
    เพ่ง อาโปกสิณ เข้า ทุติยฌาน
    เพ่ง เตโชกสิณ เข้า ตติยฌาน
    เพ่ง วาโยกสิณ เข้า จตุตถฌาน
    เพ่ง นีลกสิณ เข้า ปัญจมฌาน
    เพ่ง ปีตกสิณ เพิกปีตกสิณ มีอากาสที่ว่างเปล่า ที่ชื่อว่า อากาสบัญญัติ เพ่งอากาสบัญญัตินี้จนเป็น
    อากาสานัญจายตนฌาน
    เพ่ง โลหิตกสิณ เพิกโลหิตกสิณ มีอากาสที่ว่างเปล่า แต่ไม่สนใจในอากาสบัญญัตินี้ กลับไปสนใจใน
    อากาสานัญจายตนฌานที่เกิดในสันดานของตน ด้วยการพิจารณาว่า วิญฺญาณํ อนนฺตํ จนเป็น
    วิญญาณัญจายตนฌาน
    เพ่ง โอทาตกสิณ เพิกโอทาตกสิณ คงมีแต่อากาสบัญญัติ แต่ไม่สนใจในอากาสบัญญัติกลับไปสนใจ
    ในนัตถิภาวบัญญัติด้วยการพิจารณาว่า นตฺถิ กิญฺจิ จนเป็นอากิญจัญญายตนฌาน
    เพ่ง อาโลกกสิณ เพิกอาโลกกสิณ คงมีแต่อากาสบัญญัติ แต่ไม่สนใจในอากาสบัญญัติ กลับไปสนใจใน
    อากิญจัญญายตนฌานที่เกิดในสันดานของตน ด้วยการพิจารณาว่า เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ จนเป็น เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    ฝึกอบรมจนเป็นวสี
    หมายเหตุ มีข้อสังเกตที่ควรกล่าวตรงนี้ว่า ในการอบรมสมาธินี้ ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๑๑ ได้กล่าวถึง
    องค์กสิณแต่เพียง ๘ มี ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ
    ครั้นถึงข้อ ๑๒ นี้กล่าวเลยไปถึง อาโลกกสิณด้วย ทั้งนี้เพราะ
    ก. กสิณทั้ง ๑๐ นั้น อาโลกกสิณนี้สงเคราะห์เข้าใน โอทาตกสิณอยู่แล้ว และอากาสกสิณก็ไม่สามารถที่จะช่วย
    อุดหนุนแก่การเข้าอรูปฌานได้ ดังนั้นจึงไม่ต้องกล่าวถึงกสิณทั้ง ๒ คือ อากาสกสิณ และอาโลกกสิณนี้ด้วย


    --------------------------------------------------------------------------------


    หน้า ๖๔

    ข. ในข้อ ๑๒ นี้ แสดงรูปฌานโดยปัญจกนัย จึงมี ๕ ฌาน อรูปฌานอีก ๔ ฌาน รวมเป็น ๙ ฌานด้วยกัน
    กสิณเพียง ๘ จึงไม่พอ ก็ต้องยกอาโลกกสิณ มา กล่าวด้วย เพื่อให้มีจำนวนพอดีกัน แต่ถ้าจะแสดงรูปฌานโดย
    จตุกนัย ก็ไม่ต้องกล่าวถึงอาโลกกสิณด้วย
    ค. แม้ว่าอากาสกสิณ ไม่สามารถที่จะอุดหนุนแก่การเข้าอรูปฌาน แต่ก็เป็นกัมมัฏฐานให้เกิดรูปฌานได้ทั้ง ๕ ฌาน และใช้เพ่งเพื่อประโยชน์ในอันที่จะเนรมิตอากาศให้เกิดขึ้นในแผ่นดิน หรือในน้ำ จนสามารถดำดินและอยู่ในน้ำได้
    (๑๓) องฺคววฏฺฐาปนโต กำหนดรู้องค์ฌานไปตามลำดับ คือ
    พิจารณารู้ว่า ปฐมฌาน มีองค์ฌาน ๕ ได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    พิจารณารู้ว่า ทุติยฌาน มีองค์ฌาน ๔ ได้แก่ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    พิจารณารู้ว่า ตติยฌาน มีองค์ฌาน ๓ ได้แก่ ปีติ สุข เอกัคคตา
    พิจารณารู้ว่า จตุตถฌาน มีองค์ฌาน ๒ ได้แก่ สุข เอกัคคตา
    พิจารณารู้ว่า ปัญจมฌาน มีองค์ฌาน ๒ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา
    พิจารณารู้ว่า อากาสานัญจายตนฌาน มีองค์ฌาน ๒ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา
    พิจารณารู้ว่า วิญญาณัญจายตนฌาน มีองค์ฌาน ๒ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา
    พิจารณารู้ว่า อากิญจัญญายตนฌาน มีองค์ฌาน ๒ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา
    พิจารณารู้ว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌานมีองค์ฌาน ๒ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา
    ทั้งนี้จนกว่าจะเป็นวสี
    (๑๔) อารมฺมณววฏฺฐาปนโต กำหนดรู้อารมณ์กัมมัฏฐาน คือ
    เมื่อเข้าปฐมฌาน โดยมีปฐวีกสิณเป็นกัมมัฏฐาน ก็พิจารณารู้ว่า ปฐวีกสิณ นี่แหละเป็นอารมณ์ของปฐมฌาน
    เมื่อเข้าปฐมฌาน โดยมีอาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ หรือ โอทาตกสิณ
    เป็นกัมมัฏฐาน ก็พิจารณารู้ว่า กสิณนั้น ๆ แหละเป็นอารมณ์ของปฐมฌาน
    เมื่อเข้า ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน หรือ ปัญจมฌาน โดยมีกสิณใดเป็นกัมมัฏฐาน ก็พิจารณาว่า
    กสิณนั้น ๆ เป็นอารมณ์ของฌานนั้น ๆ ตามนัยที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นนี้
    เมื่ออากาสานัญจายตนฌานเกิดขึ้น ก็พิจารณารู้ว่ามีอากาสบัญญัติเป็นอารมณ์


    --------------------------------------------------------------------------------


    หน้า ๖๕

    เมื่อวิญญาณัญจายตนฌานเกิดขึ้น ก็พิจารณารู้ว่ามี อากาสานัญจายตนฌานเป็นอารมณ์
    เมื่ออากิญจัญญายตนฌานเกิดขึ้น ก็พิจารณารู้ว่ามีนัตถิภาวบัญญัติเป็นอารมณ์
    เมื่อเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเกิดขึ้น ก็พิจารณารู้ว่ามีอากิญจัญญายตนฌาน เป็นอารมณ์
    ทั้งนี้ต้องฝึกฝนอบรมจนเป็นวสี
    สรุปความว่า การอบรมสมาธิเพื่อให้สามารถทำอภิญญาได้ดังที่กล่าวมาแล้วรวม ๑๔ นัยนี้ ก็ประสงค์จะ
    ให้ฌานลาภีบุคคลนั้น มีความชำนิชำนาญในกระบวนการเพ่งอารมณ์กัมมัฏฐาน ให้เข้าฌานได้แคล่วคล่อง
    ว่องไว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะก่อให้จิตมีสมาธิเข้มแข็งเป็นพิเศษ เป็นเหตุให้มีอำนาจจนสามารถให้
    รูปาวจรปัญจมฌานอภิญญาเกิดขึ้นตามความปรารถนา การฝึกฝนอบรมสมาธิให้กล้าแข็งนี้ ฌานลาภีบุคคล
    จะมีวิธีอื่นใดเพิ่มขึ้นอีกก็ได้
    กสิณใดแสดงฤทธิอะไรได้

    เมื่อได้ฝึกฝนอบรมตามนัยทั้ง ๑๔ นั้น จนเป็นวสีภาวะ คือ มีความชำนิชำนาญยิ่ง พอควรแก่การที่จะ
    สำแดงอิทธิฤทธิ์ได้แล้ว ก็ยังจะต้องเลือกกสิณที่จะใช้เป็นอารมณ์สำหรับเข้ารูปาวจรปัญจมฌานที่เป็นบาทให้
    เกิดอภิญญานั้น ให้ถูกต้องเหมาะสมกับฤทธิที่จะแสดงนั้น ๆ ด้วย คือ
    ๑. ปฐวีกสิณ สามารถที่จะให้เกิดความแข็งในอากาศหรือในน้ำ จน เดิน ยืน นั่ง นอน ในอากาศ ในน้ำได้ ทำทางที่ยาวไกลให้สั้นและใกล้ ทำทางที่สั้นใกล้ให้ยาวให้ไกล เนรมิตให้เป็นวัตถุต่าง ๆ เช่น ภูเขา ป่าไม้ บ้านเรือน ตลอดจนเนรมิตคน ๆ เดียวให้เป็นหลายคนได้
    ๒. อาโปกสิณ สามารถทำให้ดินเหลว จนดำดินและโผล่ขึ้นมาจากดินได้ ทำให้ฝนตก ทำให้เป็นคลอง หนอง
    บึง แม่น้ำ ทะเล ตลอดจนทำให้เป็นน้ำพวยพุ่งออกจากร่างกายได้
    ๓. เตโชกสิณ สามารถทำให้เกิดควัน เกิดไฟไหม้อะไร ๆ ก็ได้ ทำให้เกิดแสงสว่างเห็นอะไร ๆ ได้
    ทำให้ผู้อื่นร้อน เมื่อตายก็ทำให้เกิดไฟเผาศพตนเองได้ ตลอดจนทำให้เป็นไฟพุ่งพ่นออกจากร่างกายได้


    --------------------------------------------------------------------------------


    หน้า ๖๖

    ๔. วาโยกสิณ สามารถทำให้เกิดความหวั่นไหว เช่น แผ่นดินไหว ทำให้เกิดลม เกิดพายุ ทำให้ลมหยุด
    ทำให้ตัวเบา เหาะลอยไปได้ ทำให้เร็วเหมือนลม ตลอดจนทำให้ของหนักเป็นของเบา และของเบาทำให้หนักก็ได้
    ๕. นีลกสิณ สามารถทำให้รัศมีสีเขียว ออกจากกายได้ ทำให้เกิดมืดคลุ้มเหมือนเวลากลางคืน เนรมิต
    วัตถุต่าง ๆ ให้เป็นสีเขียว สีมรกตได้
    ๖. ปีตกสิณ สามารถทำให้รัศมีสีเหลืองออกจากกายดุจทองคำ ทำให้วัตถุ ุต่าง ๆ เป็นสีเหลือง ตลอดจน
    เนรมิตให้เป็นทองคำก็ได้
    ๗. โลหิตกสิณ สามารถทำให้รัศมีสีแดงออกจากกาย ทำวัตถุต่าง ๆ ให้เป็นสีแดง เป็นแก้วมณีสีแดงได้
    ๘. โอทาตกสิณ สามารถทำให้รัศมีสีขาวออกจากกาย ทำให้วัตถุต่าง ๆ เป็นสีขาว ทำให้เกิดเป็นเงิน ทำให้
    เกิดแสงสว่าง กำจัดความมืดได้
    อนึ่ง ขอกล่าวย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า การเจริญโอทาตกสิณนี้ย่อมห้ามเสียซึ่งถีนมิทธะ ที่จะมาทำให้เกิดความ
    หดหู่ท้อถอยต่ออารมณ์ที่เพ่งนั้นได้ด้วย
    ๙. อากาสกสิณ สามารถทำให้เกิดเป็นช่องว่าง เช่น ในน้ำ ในดิน ในภูเขา ในกำแพง เป็นต้น จนสามารถ
    เดินผ่านไป หรือ ยืน นั่ง นอน ในที่นั้น ๆ ได้ โดยไม่ติดขัดอย่างใด ๆ เลย
    ๑๐. อาโลกกสิณ สามารถทำให้เกิดความสว่างในที่ที่ต้องการได้ ทำให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ในที่ที่มีสิ่งปกปิด
    เช่น ในภูเขา ใต้ดิน ในห้อง ในหีบ เหมือนกับตาทิพย์
    เมื่อมีวสีภาวะและเลือกกสิณได้ถูกต้องแล้ว ก็สามาถให้เกิดอภิญญาสำแดง ฤทธิได้สมตามความปรารถนา
    อภิญญา

    อภิญญา ที่ต้องอาศัยรูปาวจรปัญจมฌานเป็นบาทให้เกิด นั้นมี ๕ ประการ ดังปรากฏในคาถาสังคหะ
    คาถาที่ ๑๐ ว่า


    ๑๐. อิทฺธิวิธํ ทิพฺพโสตํ ปรจิตฺตวิชฺชานนา
    ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติ ทิพฺพจกฺขูติ ปญฺจธา ฯ


    อภิญญา ๕ คือ อิทธิวิธ ทิพพโสต ปรจิตตวิชชานน ปุพเพนิวาสานุสสติ ทิพพจักขุ


    --------------------------------------------------------------------------------


    หน้า ๖๗

    อธิบาย

    อภิญญา แปลว่า รู้ยิ่ง รู้พิเศษ ซึ่งมีความหมายในที่นี้ว่า เป็นญาณที่ประกอบด้วยรูปาวจรปัญจมฌาน สามารถให้เกิดความรู้อันยิ่งใหญ่ เกิดความรู้พิเศษ ถึงกับบันดาลให้เกิดสิ่งที่ตนปรารถนาได้
    อภิญญา มี ๒ ประเภท คือ
    โลกุตตรอภิญญา และ โลกียอภิญญา โลกุตตรอภิญญา มีอย่างเดียว คือ อาสวักขยญาณ รู้วิชาที่ทำ
    ให้สิ้นกิเลส อาสวะ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ในอรหัตตมัคคจิตโดยเฉพาะเท่านั้น เป็นอภิญญาที่ไม่
    ต้องอาศัยรูปาวจรปัญจมฌานเป็นบาท
    ส่วน โลกียอภิญญา เป็นอภิญญาที่ ต้องอาศัย โลกียจิตคือ รูปาวจรปัญจมฌานเป็นบาท มี
    ๕ อย่าง มีชื่อว่า อิทธิวิธะ ทิพพโสต ปรจิตตวิชชานน ปุพเพนิวาสานุสสติ ทิพพจักขุ และมีรายละเอียด
    แต่ละอย่าง คือ
    ๑. อิทธิวิธอภิญญา หรือ อิทธิวิธญาณ เป็นความรู้ที่แสดงฤทธิได้ (ฤทธิ=ความสำเร็จ)
    ซึ่งจำแนกออกได้เป็น ๑๐ คือ
    (๑) อธิฏฐานอิทธิ ความสำเร็จที่เกิดจากการอธิฏฐาน การตั้งความปรารถนาอย่างแรงกล้า เช่น คนเดียวเนรมิตให้เป็นหลายคน ตัวอย่าง พระจุฬปัณถกเถระเจ้า อธิฏฐานให้เป็นพระหลายรูปจนเต็มไปทั้งวัด
    (๒) วิกัพพนอิทธิ ความสำเร็จด้วยการจำแลงกายให้เป็นคนแก่ ให้เป็นเด็ก ให้เป็นเสือ เป็นช้าง
    เช่น พระโมคคัลลาน์ แปลงกายเข้าไปทางปากไปเดินอยู่ในท้องของ นันโทปนันทพยานาค แม้พยานาคนั้นจะ
    มีฤทธิและมีพิษมากเพียงใด ก็ไม่สามารถทำอันตรายได้
    (๓) มโนมยอิทธิ ความสำเร็จด้วยอำนาจกำลังใจที่ยิ่งใหญ่เป็นพิเศษ เช่น พระพุทธองค์ทรงบันดาลให้พระ
    สรีระใหญ่โตมาก เป็นการสำแดงให้อสุรินทรยักษ์ผู้ตำหนิพระองค์ว่าทรงมีรูปร่างเล็ก เพราะเป็นมนุษย์นั้นได้เห็น ที่พระพุทธองค์ทรงกระทำได้ดังนี้ ก็เพราะทรงมีอิทธิทางมโนสูงยิ่ง
    อิทธิทั้ง ๓ ข้อนี้เป็นอิทธิวิธญาณโดยตรง อันจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยอำนาจแห่งอภิญญา ที่มี
    รูปาวจรปัญจมฌานเป็นบาท


    --------------------------------------------------------------------------------


    หน้า ๖๘

    (๔) ญาณวิปผารอิทธิ ความสำเร็จที่ป้องกันอันตรายต่าง ๆ ได้ เช่น พวกโจรจับสามเณรสังกิจจะไป เพื่อจะฆ่าทำเครื่องเซ่นสังเวย ขณะที่โจรจะฆ่า สังกิจจะสามเณรได้เข้านิโรธสมาบัติ โจรจึงฆ่าไม่ตาย ทั้งไม่
    เป็นอันตรายอย่างใด ๆ ด้วย พวกโจรเลยยอมเป็นศิษย์
    (๕) สมาธิวิปผารอิทธิ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมาธิ เช่น นันท ยักษ์ตีพระสารีบุตรด้วย
    กระบองเพ็ชร แต่พระสารีบุตรไม่เป็นอันตราย แม้แต่จะรู้สึกเจ็บก็ไม่มี ส่วนนันทยักษ์เมื่อตีแล้วก็ถูกธรณีสูบไปเลย
    (๖) อริยอิทธิ ความสำเร็จที่เกิดจากความไม่หวั่นไหวต่อกิเลส เช่น พระอริย บุคคลที่สามารถวางเฉย
    ต่ออิฏฐารมณ์ อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจและอนิฏฐารมณ์ อารมณ์อันไม่เป็นที่ชอบใจ
    (๗) กัมมชอิทธิ บ้างก็เรียกว่า กัมมวิปากชอิทธิ ความสำเร็จที่เกิดจากกรรม เช่น เทวดาวินิปาติกบาง
    พวก และนก ไปมาในอากาศได้โดยไม่ต้องมีฌานมีอภิญญา เป็นความสำเร็จด้วยอำนาจกรรมในปฏิสนธิ
    (๘) บุญญวโตอิทธิ บ้างก็เรียกว่า บุญญอิทธิ ความสำเร็จที่เกิดจากบุญของเขา เช่นการเป็น
    พระเจ้าจักรพรรดิเป็นต้น เป็นความสำเร็จด้วยอำนาจกรรมในปวัตติ
    (๙) วิชชามยอิทธิ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นด้วยวิชา มีคาถาอาคมต่าง ๆ ตลอดจนมีเข้าเจ้าทรง
    (๑๐) ตัตถตัตถสมาปโยคปัจจยอิทธิ บ้างก็เรียกว่า อิชฌนัฏเฐนอิทธิ ความสำเร็จที่เกิดจากความ
    พากเพียรอย่างจริงจัง เป็นความสำเร็จที่เกิดจากการ กระทำ เช่น พากเพียรเจริญสมถภาวนา ก็สำเร็จถึงฌาน เมื่อถึงฌานแล้วก็ให้สำเร็จไปเกิดเป็นพรหม
    ได้กล่าวแล้วว่า อิทธิข้อ (๑) ถึงข้อ (๓) รวม ๓ ข้อ เป็น อิทธิวิธญาณโดยตรง คือ เป็นอิทธิฤทธิที่
    เกิดขึ้นเพราะอภิญญา เป็นอานิสงส์ของสมาธิ ส่วนอิทธิ ข้อ (๔) ถึงข้อ (๑๐) รวม ๗ ข้อนั้น สำเร็จด้วยการ
    กระทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่ฌาน ไม่ใช่อภิญญา ไม่ใช่อิทธิวิธญาณอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งอภิญญาที่มี
    รูปาวจรปัญจมฌานเป็นบาท แต่ที่นำมากล่าวไว้ด้วยก็เพื่อจะได้ทราบครบจำนวนของอิทธิ
    ๒. ทิพพโสตญาณ คือ หูทิพย์ ที่สามารถได้ยินเสียงที่ไกลมาก หรือเสียงที่เบาที่สุดได้ ซึ่งตามปกติแล้ว หูอย่างธรรมดาสามัญไม่สามารถที่จะได้ยินเสียงเช่นนั้นได้เลย
    หูทิพย์จำแนกได้เป็น ๒ จำพวก คือ เป็นทิพย์โดยกำเนิดด้วยอำนาจของสุจริตกรรม เช่น เป็นเทวดา
    เป็นพรหม นั้นเป็นผู้ที่มีหูทิพย์ ได้ยินเสียงที่ไกลมากนั้นได้นี่พวกหนึ่ง อีกพวกหนึ่งเป็นทิพย์ด้วยอำนาจ
    แห่งภาวนาที่กำลังกล่าวถึงอยู่นี้
    วิธีบำเพ็ญให้เกิดทิพพโสตญาณนี้ ชั้นต้นให้นึกถึงเสียงที่ไกล ๆ หยาบ ๆ เช่น เสียงฆ้อง กลอง ระฆัง
    เหล่านี้เป็นต้นก่อน ต่อไปก็ให้ใส่ใจในเสียงทั้งที่หยาบและที่ละเอียด ไกลมากขึ้น ละเอียดยิ่งขึ้นทุกที จนทิพพโสตเกิดขึ้นทางมโนทวาร คือได้ยินเสียงนั้นทางใจชัดเจน เหมือนหนึ่งว่าได้ยินกับหู ได้ยินทั้งเสียงที่ใกล้ เสียงที่เบาจนกระซิบ เสียงที่ไกล ทั้งเสียงธรรมดา และเสียงทิพย์ทุกอย่างที่ปรารถนาจะได้ยิน


    --------------------------------------------------------------------------------


    หน้า ๖๙

    ๓. ปรจิตตวิชานนญาณ หรือ เจโตปริยญาณ ญาณที่รู้จิตใจผู้อื่น ซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยอาศัย
    ทิพพจักขุอีกต่อหนึ่ง และทิพพจักขุก็เกิดขึ้นจากการเจริญเตโชกสิณ โอทาตกสิณ อากาสกสิณ หรือ
    อาโลกกสิณ กสิณใดกสิณหนึ่งใน ๔ กสิณนี้เป็นบาทมาก่อน เมื่อมีทิพพจักขุแล้วจึงจะทำให้เกิด เจโตปริยญาณได้
    วิธีบำเพ็ญให้เกิด เจโตปริยญาณ ต้องอาศัยเช่น อาโลกกสิณ เป็นต้น เป็นบาท ก็จะเกิดทิพพจักขุ
    เห็นสีของน้ำ คือ หทยวัตถุอันเป็นที่อาศัยให้เกิดจิต ถ้าเห็นน้ำนั้นเป็นสีแดงขณะนั้นจิตใจของผู้นั้นเป็นโสมนัส น้ำเป็นสีดำจิตเป็นโทมนัส น้ำเป็นสีน้ำมันงาจิตเป็นอุเบกขา เมื่อรู้สมุฏฐานดังนี้แล้ว ก็พึงกระทำเพื่อให้รู้แจ้ง
    โดยเจโตปริยญาณ ในอาการของจิต ๑๖ อย่าง มีจิตที่มีราคะ จิตที่ไม่มีราคะ จิตที่มีโทสะ จิตที่ไม่มีโทสะ
    เหล่านี้เป็นต้น เช่นเดียวกับใน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดังที่กล่าวไว้ในคู่มือ ปริจเฉทที่ ๗ นั้นแล้ว
    (จิต ๑๖ อย่าง มี ๑.จิตที่มีราคะ ๒.จิตที่ไม่มีราคะ ๓.จิตที่มีโทสะ ๔.จิตที่ไม่มีโทสะ ๕.จิตที่มีโมหะ
    ๖.จิตที่ไม่มีโมหะ ๗.จิตที่มีถีนมิทธะ ๘.จิตที่ฟุ้งซ่าน ๙.จิตที่เป็นรูปาวจร อรูปาวจร ๑๐.จิตที่ไม่ใช่รูปาวจร
    อรูปาวจร (หมายถึง กามาวจร) ๑๑.จิตที่เป็นกามาวจร ๑๒.จิตที่ไม่ใช่โลกุตตร(หมายถึง รูปาวจร และอรูปาวจร) ๑๓.จิตที่เป็นสมาธิ ๑๔.จิตที่ไม่เป็นสมาธิ ๑๕.จิตที่ประหารกิเลส พ้นกิเลส ๑๖.จิตที่ไม่ได้ประหารกิเลส ไม่พ้นกิเลส)
    ๔. บุพเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกชาติแต่ปางก่อนได้ ว่าชาตินั้น ๆ ได้เกิดเป็นอะไรมาแล้ว มีการจำแนกตามความสามารถในการระลึกชาติได้นั้น ไว้เป็น ๖ อย่างได้แก่
    พวกเดียรถีย์ คือ นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา ระลึกชาติได้ ๔๐ กัปป์
    ปกติสาวก คือ พระอริยบุคคลสามัญทั่วๆไประลึกชาติได้ ๑๐๐ถึง๑๐๐๐ กัปป์
    มหาสาวก คือ พระอรหันต์ที่มีวุฒิเป็นเลิศในทางใดทางหนึ่ง (ซึ่งมีรวมจำนวน ๘๐ องค์) ระลึกชาติได้ ๑ แสนกัปป์
    อัครสาวก คือ พระโมคคัลลาน์และพระสารีบุตร อัครสาวกซ้ายขวา ระลึกชาติได้ ๑ อสงขัยกับ ๑ แสนกัปป์
    พระปัจเจกพุทธเจ้า ระลึกชาติได้ ๒ อสงขัยกับ ๑ แสนกัปป์
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ระลึกชาติได้ โดยไม่มีกำหนดขีดขั้น
    การระลึกชาติได้ของพวกเดียรถีย์นั้น ระลึกได้ตามลำดับของขันธ์ติดกันไป ข้ามลำดับไม่ได้คือระลึกได้ตาม
    ลำดับชาติ จะระลึกข้ามไปชาติโน้นชาตินี้ตามชอบใจ ที่ไม่เรียงตามลำดับนั้นไม่ได้
    วิธีบำเพ็ญให้เกิดบุพเพนิวาสานุสสติญาณ ในขั้นแรกให้นึกถึงอิริยาบถนั่งครั้งสุดท้ายในวันนั้นก่อน ต่อจากนั้น
    ก็ให้นึกถึงการงานที่ได้กระทำไปแล้วนั้นย้อนถอยหลังไป ตั้งแต่วันหนึ่ง สัปดาห์หนึ่ง เดือนหนึ่ง ปีหนึ่ง ต่อ ๆ ขึ้นไป จนกระทั่งถึงปฏิสนธิ ต่อไปอีกถึงรูปนามที่เป็นไปในขณะจุติในภพก่อน ดังนี้ ตลอดจนร้อยชาติพันชาติ ถ้าหาก
    ตอนไหนระลึกไม่ได้หรือไม่ชัด ก็ต้องเข้าฌานบ่อย ๆ ออกจากฌานแล้วก็ระลึกอีก จนกว่าจะชัดแจ้งตลอดไปตาม
    กำลังของปัญญา


    --------------------------------------------------------------------------------


    หน้า ๗0

    ๕. ทิพพจักขุญาณ ตาเป็นทิพย์ สามารถเห็นสิ่งที่อยู่ไกลมากหรืออยู่ในที่กำบังต่าง ๆ นั้นได้ ซึ่งตามปกติแล้วนัยน์ตาอย่างธรรมดาสามัญไม่สามารถที่จะเห็นเช่นนั้นได้เลย เป็นการเห็นทาง
    มโนทวารโดยชัดเจนเหมือนกับว่าเห็นด้วยนัยน์ตาจริง ๆ (อย่างฝันก็ไม่ได้เห็นด้วยนัยน์ตา แต่ก็ชัดเจน
    แจ่มแจ้งเหมือนกัน) ทิพพจักขุจะเกิดได้ด้วยกสิณ ๔ คือ เตโชกสิณ โอทาตกสิณ อากาสกสิณ อาโลกกสิณ
    อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
    จุตูปปาตญาณ เป็นอภิญญาที่สามารถรู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายใน ๓๑ ภูมิ อภิญญานี้เกิด
    ขึ้นโดยทิพพจักขุเป็นบาท และไม่ต้องมีการบริกรรมเป็นพิเศษอีกต่างหากแต่อย่างใดเลย เมื่อทิพพจักขุ
    เกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นแต่เพียงตั้งอธิฏฐานน้อมใจไปในการจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายนั้น ๆ ก็จะรู้ได้
    ด้วยเหตุนี้ จึงถือว่า ทิพพจักขุญาณและจุตูปปาตญาณนี้เป็นอภิญญาเดียวกัน จะเรียกชื่อใดชื่อ
    เดียวก็พึงเข้าใจว่ามีความหมายทั้ง ๒ อย่าง คือ ตาทิพย์ และรู้จุติปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายด้วย
    อนึ่ง ทิพพจักขุญาณ หรือจุตูปปาตญาณ นี้ยังมีญาณอื่นที่อาศัยเป็นบาทให้เกิดอีก ๒ ญาณ คือ
    ก. ยถากัมมุปคญาณ เป็นญาณที่รู้ว่าสัตว์ที่เข้าถึงความสุขและความทุกข์นั้น เพราะได้ทำกรรมอะไรมา
    ข. อนาคตังสญาณ เป็นญาณที่รู้ในกาลต่อไปทั้งของตนเองและของผู้อื่นว่า จะเป็นไปอย่างนั้น ๆ
    นับตั้งแต่ล่วงหน้าไปอีก ๗ วัน จนถึงไม่มีที่สุด แล้วแต่กำลังของสมาธิว่าจะมีความสามารถเพียงใด


    --------------------------------------------------------------------------------
    http://www.geocities.com/SouthBeach/Terrace/4587/9page61-70.htm
     
  2. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    สนใจเพิ่มเติม โทรหาได้ 025792201 ขอสายหนุ่ม แต่คนอื่นรับไม่ต้องคุย

    สนใจเพิ่มเติม โทรหาได้ 025792201 ขอสายหนุ่ม แต่คนอื่นรับไม่ต้องคุย
    ถ้าคุยคนอื่นที่รับอาจไม่ได้คุยกับหนุ่ม
     
  3. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/004416.htm

    http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/004416.htmคำว่าฤทธิ์นี้ก็คืออิทธิ(บาลี) สันสกฤตเป็นฤทธิ์นี้ ทีแรกก็เป็นคำธรรมดา ที่เล็งเห็นถึงสิ่งที่มีสมรรถภาพ ช่วยให้เกิดความสำเร็จตามธรรมดาทั่วๆไป สิ่งใดมีสมรรถภาพช่วยให้เกิดความสำเร็จ สิ่งนั้นเรียกว่าฤทธิ์ ทีนี้ต่อมามันขยายขึ้นไปถึงความสำเร็จในทางอัศจรรย์เป็นปาฏิหาริย์จนกระทั่งไปพบฤทธิ์ ชนิดที่เป็นเรื่องทางนามธรรมล้วนๆขึ้นมา เพราะว่าเมื่อเป็นนามธรรมนี้ มันจึงทางที่จะปรุงแต่งหรือปรับปรุงให้มันไปได้ไกล ให้มีความอัศจรรย์ได้ไกลกว่าเรื่องที่เป็นวัตถุ เหมือนอย่างว่าเรามีรถแทรคเตอร์ ทำงานครู่เดียวก็ทำถนนได้มากมาย มันก็เรียกว่าฤทธิ์เหมือนกัน แต่มันเป็นเรื่องทางวัตถุ, ที่นี้เรื่องทางจิตใจ ทางนามธรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุนั้น มันก็เป็นไปแต่ในทางจิตใจ ฝึกกันจนสามารถทำใหผู้อื่นรู้สึกได้ตามที่ผู้แสดงฤทธิ์ต้องการให้รู้สึก จนสามารถบังคับให้เขาได้เห็นภาพด้วยตา เหมือนที่เราต้องการให้เห็น ให้เขาได้ยินเสียงด้วยหูประจักษ์ชัดเหมือนที่เราต้องการให้ได้ยิน ให้เขาได้กลิ่นทางจมูกเหมือนที่เราต้องการให้เขาได้กลิ่น ต้องการให้เขารู้สึกที่ลิ้นหรือรสที่กินเข้าไปนี่เหมือนกับรู้สึกทางลิ้นจริงๆ สัมผัสทางผิวหนังนิ่มนวลกระด้างอะไร ก็ให้รู้สึกเหมือนกัน กระทั่งให้รู้สึกในทางจิตใจให้กลัว ให้รัก ให้อะไรก็ได้ โดยที่ผู้นั้นไม่รู้สึกตัว มันจึงสำเร็จประโยชน์อย่างยิ่ง น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง. แต่ในเรื่องทางจิตใจอย่างนี้ไม่สำเร็จเป็นวัตถุ เพราะฉะนั้น จึงไม่สามารถจะเนรมิตวัตถุแท้ๆ ขึ้นมาสำหรับใช้ให้สำเร็จประโยชน์ได้. เช่นว่าจะเนรมิตข้าวปลาอาหารขึ้นไว้ให้บริบูรณ์ไม่ต้องเดือนร้อนอย่างนี้ก็เป็นไปไม่ได้ มันชั่วเวลาที่แสดงฤทธิ์เท่านั้น สิ่งเหล่านี้ปรากฏอยู่หรือรู้สึกอยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หลังจากนั้นก็ไม่ปรากฏ เราจะเห็นได้ในพุทธประวัติว่า บางคราวพระองค์ก็อดอาหาร เพราะทุพภิกขภัยต้องฉันข้าวตากเลี้ยงม้า วันละฟายมือ อย่างนี้ก็มี (พระไตรปิฎกเล่มแรก ตอนวินัยปิฎก) นี้ก็แปลว่า เรื่องทางวัตถุกับเรื่องทางจิตใจนั้นมันคนละเรื่อง สามารถจะแสดงฤทธิ์ได้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ปฏิเสธเรื่องฤทธิ์ทางจิตใจชนิดนั้น แต่ทรงขยะแขยงที่จะแสดงฤทธิ์ในทางจิตใจชนิดนั้น เพราะเป็นมายาเท่านั้นเอง ฉะนั้นจึงห้ามมิให้ภิกษุแสดงและพระองค์ก็ไม่ทรงแสดง เราไม่พบในบาลีพระไตรปิฎก ว่าพระองค์แสดงฤทธิ์ แต่พบในอรรถกถาธรรมบทและหนังสือรุ่นหลังว่าพระองค์แสดงฤทธิ์ เราจึงไม่ค่อยจะเชื่อ หรือว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปวินิจฉัยเรื่องนี้ว่าจริงหรือไม่จริง.
    ทีนี้พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าฤทธิ์ต่างๆ ที่แสดงกันด้วยอิทธิวิธี เหาะเหิรหายตัว หรือ นิรมิตนั่นนิรมิตนี่ มีหูทิพย์ ตาทิพย์อะไรเหล่านี้. ทั้งหมดนี้เรียกว่าเป็นฤทธิ์ชนิดที่เป็น สาสวา อุปธิกา คือประกอบด้วยอาสวะ ต้องกระทำด้วยจิตที่ยึดมั่นถือมั่น หรือเป็นไปเพื่อความยึดมั่นถือมั่น เป็นที่ตั่งแห่งความยึดมั่นถือมั่น นี่เป็นประเภทแรก ส่วนประเภทที่สองที่เรียกว่า อนาสวา อนุปฺปธิกา นั้นคือการบังคับจิตของตนเองได้ตามประสงค์ กระทั่งมีสติสัมปชัญญะและอุเบกขาอยู่ได้ในที่เฉพาะหน้าแห่งอารมณ์ คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่มาปรุงแต่ง จิต มีสติ มีสัมปชัญญะ มีอุเบกขาอยู่ได้นี่คือฤทธิ์ และเป็นฤทธิ์ประเภทไม่มีอาสวะ ไม่มีอุปธิ ไม่เศร้าหมองไม่ยึดมั่น ไม่เป็นที่ตั่งแห่งความยึดมั่น.
    นี้สิ่งที่เรียกว่าฤทธิ์ มีอยู่อย่างไร และน่าสนใจอย่างไร. ถ้าเปรียบเทียบอีกอย่างหนึ่งว่าฤทธิ์ที่จะแสดงกันจริงๆ เพื่อให้เกิดอิทธิปาฏิหาริย์ ประเภท สาสวาอุปธิกา นั้นก็ยังทำยากมีการปฏิบัติมากเป็น System ใหญ่ ทำได้แต่เพียงบางคนไม่กี่คน นี้ก็เรียกว่ากระทำได้จริง และชนิดที่เป็นพวกเล่นกล แสดงปรากฏการณ์ได้เหมือนมีฤทธิ์จริงๆก็มี แต่ล้วนแต่ฝึกยากลำบากทั้งนั้น ส่วนฤทธิ์ที่เป็น อนาสวา อนุปฺปธิกา กลับอยู่ในวิสัยที่คนทุกคนควรจะทำได้ มันน่าคิดไปในส่วนนี้ ที่เราไปสนใจในฤทธิ์ส่วนที่ไม่อาจจะทำได้ ฤทธิ์ส่วนที่ควรจะทำได้และมีประโยชน์ที่สุดเราก็ไม่สนใจ แต่เราก็ยังชอบในสิ่งที่เรียกว่าฤทธิ์อยู่ดี นี้ขอให้คิดดูใหม่

    ผมได้อ่านคำสอนของท่านพระพุทธทาสอย่างนี้แล้ว รู้สึกถึงทางสายกลาง และความไม่ยึดมั่นถือมั่น และเห็นว่าพระพุทธศาสนานี้มีค่ายิ่ง สำหรับผู้ที่ต้องการที่จะแก้ปัญหาเรื่องทุกข์ ..พระพุทธศาสนาจะไม่มีค่าอะไรเลย สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการจะดับทุกข์ เพราะสิ่งอื่นนอกเหนือจากนี้ไม่ใช่จุดหมายของพุทธศาสนา
     
  4. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    !!!!!~~~ ความสุขที่แท้จริง คือความสงบ ~~~!!!!!~~~ ทำจิตให้อิสระ ไม่ติดกับอะไร~~~!!!!!~~~ ทุกข์เพราะยึดมั่น ปล่อยวางเบาสบาย~~~!!!!!~~~ คนโง่ชอบอวด(รู้) คนฉลาดชอบเงียบ(นิ่ง) ~~~!!!!!~~~ คนโง่ทำเรื่องเล็ก ให้เป็นเรื่องใหญ่ คนฉลาดทำเรื่องใหญ่ ให้เป็นเรื่องเล็ก ~~~!!!!!~~~ คนถือตัวและหัวดื้อ ปิดกั้นความรู้ที่จะได้ ~~~!!!!!~~~ แก้ปัญหาผิด ยิ่งแก้ยิ่งยุ่ง แก้ปัญหาถูก แก้ได้ไม่ยุ่ง ~~~!!!!!~~~ มีสติ เหมือนมียาม อยู่หน้าประตู ~~~!!!!!~~~ มีสัมปชัญญะ เหมือนมีเจ้าของ อยู่บ้าน ~~~!!!!! สิ่งที่แน่นอน คือความไม่แน่นอน ~~~!!!!!~~~ สิ่งที่ไม่แน่นอน คือความแน่นอน ~~~!!!!!
    จากคุณ : สะพานพุทธ [ ตอบ: 26 ธ.ค. 47 00:43 ] แนะนำตัวล่าสุด 14 ส.ค. 47 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 326 | ฝากข้อความ |
     

แชร์หน้านี้

Loading...