ไขปริศนา เงื่อนงำ ที่ตั้ง "ชมพูทวีป" และ "ลังกาทวีป" ตั้งอยู่ที่ไหนกันแน่?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เอกอิสโร, 8 พฤษภาคม 2016.

  1. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,421
    ค่าพลัง:
    +3,204
    แสดงว่าท่านอ่านข้อ 3 ไม่ชัดเจน เรื่องความเกิดดับของโลกแปลความหมายใหม่นะค่ะ พยายามอ่านและเรียบเรียงใหม่ค่ะท่าน
     
  2. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,421
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ตกลงค่ะ ยอมรับผิดตรงที่สื่อความหมายว่า ศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แปลว่าพิมพ์ให้คนอื่นเข้าใจผิด ที่จริงแล้วต้องการสื่อว่า ถ้า เน้นคำว่า ถ้าค่ะ...เชื่อว่าหลักฐานที่พบมีอยู่จริง(ฉพาะที่พบว่ามีอยู่จริงเท่านั้นค่ะ) การขุดค้นพบหลักฐานการพบต่าง ๆ ที่มี หมายถึง ถ้ามีอยู่จริง และ มีความเชื่อว่าใช่ บางทีก็ไม่ใช่ เพราะอาจเป็นไปได้ (คำว่าเป็นไปได้ หมายถึงว่า อาจะเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้)ว่าจะเป็นหลักฐานพิสูจน์ว่าใช่ ที่หลักฐานที่มีอยู่นั้น อาจเป็นหลักฐานในยุคใดยุคหนึ่งหรือยุคดึกดำบรรพ์ที่แสดงให้เห็นว่า มีร่องรอยอารยธรรมและการเจริญของศาสนาที่อาจแผ่ขยายออกมา หรือ ยุคใดยุคหนึ่งดินแดนของชมพูทวีปอาจครอบคลุมสิ่งอณาเขตแค่ไหนในยุคในหลายสิบล้านปีที่ผ่านมา ก็ได้ค่ะ
     
  3. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    กราบขอบพระคุณที่ได้เมตตากรุณาสงสารในตัวผม
    ระหว่าง รอคุณ 12qv ตอบคำถามที่ตั้งไว้ และนำหลักฐาน จารึกตั้งแต่สมัยพุทธกาล หลังพุทธกาล สมัยพระเจ้าเทวานัมปิยทัสสี (ที่เขาตีความว่าเป็นพระเจ้าอโศก) จนถึงสมัยพระพุทธโฆษาจารย์ มาแสดง เลยต้องมาเล่า เรื่องส่วนตัวสักนิด...

    และ อาจเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชื่อห้องสักหน่อย คือ "วิทยาศาสตร์ทางจิต-ลึกลับ" และเป็นช่วงที่ผม ขาดหายไปจากการเข้ามา โพสต์ในเว๊บพลังจิตระยะหนึ่ง เพราะ ส่วนใหญ่ จะโพสต์อยู่ใน facebook ส่วนตัวมากกว่า...

    ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ คุณ nong_bangplad พูดถึง...
    ที่บอกว่า เป็นเรื่อง "ลึกลับ" ก็เพราะ มันเกี่ยวกับสถานที่ "ลึกลับ" ครับ

    หลังจากที่ผม ประมวลผลข้อมูลในการค้นคว้า สืบค้นมาได้ระยะหนึ่ง เมื่อปีที่แล้ว 2558 ผมจึงตัดสินใจ ที่เข้าไปในถ้ำที่ ภูผาแดง อำเภอโคกโพธิ์ชัย จังหวัดขอนแก่น โดยสมมติฐานคาดหมายว่า อาจจะเป็น ที่ตั้งของ "สัตตบรรณคูหา-สถานที่กระทำการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรก" ซึ่งอยู่ที่กรุงราชคฤห์ โดยมีกำหนดการที่จะเข้าถ้ำนี้ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "ถ้ำโปงลาง" แต่ไม่ใช่ถ้ำที่จะมีใครเข้า-ออก เป็นประจำ...ว่ากันว่า ปากถ้ำซึ่งอยู่อีกฟากหนึ่งของเขาลูกนี้ถูกปิดไปแล้ว การจะเข้าถ้ำ ต้องเข้าจากทางโพรงที่อยู่ฝั่งอำเภอโคกโพธิ์ชัย และผมได้กำหนด วันที่จะลงถ้ำในวันที่ 1 มีนาคม 2558 ซึ่งตรงกับเป็นวันเกิดของผม...แน่นอนครับ ภรรยาและญาติข้างภรรยา ไม่มีใครเห็นด้วยในการไปปฏิบัติการในครั้งนี้ ..เนื่องจาก ข้อมูลที่ได้มาจากหลายๆ ทาง มีความเสี่ยงมาก....ดังว่า

    1. ถ้ำโปงลางที่ว่า จะต้องไต่ลง/ครืบตัวลง/เดินต่อในโพรง-ช่อง ที่มืด(ต้องเตรียมไฟและแบตที่ใช้งานได้ มากกว่า 6 ชั่วโมง)
    2. ระยะทางจากรูหรือปากทางที่เห็นในภาพ ต้องครืบคลาน/เดินเท้า ผ่านความมืดเข้าไปประมาณ 1-2 กิโลเมตร จึงจะไปถึงคูหาถ้ำใหญ่ (ต้องเตรียมเชือก ความยาวมากกว่า 2 กิโลเมตร เพื่อให้มั่นใจว่า เราจะย้อนกลับมาทางรูเข้านี้ได้ถูกโดยไม่หลงทางในภูเขา...และ..)
    3. ตามคำบอกเล่า ในทางเดินใต้เขา น่าจะมี Oxygen ให้หายใจได้..เพราะสามารถจุดไต้ให้แสงสว่างได้..แต่อาจต้องมีอุปกรณ์ช่วยชีวิตเฉพาะกิจ (ถ้ามี และจัดหาได้)
    4. ตามคำบอกเล่า...เป็นถ้ำใหญ่ จุคนได้เป็นพันคน..อากาศถ่ายเทสะดวก..มีลานทราย..และมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ในนั้น..นี่คือข้อมูลของคนที่เคยเข้าไปเมื่อหลายปีก่อน อาจจะมากกว่า 10 ปีมาแล้ว

    แต่ผมก็รั้นครับ เพราะ คิดว่า "ครั้งนี้จะได้พบหลักฐานสำคัญ" การปฏิบัติการจึงต้องดำเนินการต่อไป

    ก่อนหน้าที่จะถึงกำหนดที่จะต้องเดินทาง มันก็มีอะไร คอยสกัดอยู่เป็นระยะๆ ครับ แต่ผมก็คิดว่า นี่คือการทดลองกำลังใจ...และในที่สุด ผมก็ไปจนได้ มีภรรยา กับคู่เขย ไปกัน 3 คน

    ในเช้าวันที่ 1 มีนาคม 2558 ช่วงเช้า เรามีเรื่องติดพันหลายกิจกรรม ที่อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ รวมทั้งการไปบอกกล่าว แก่ดวงวิญญาณ รวมทั้งที่อาจจะเรียกว่า ดวงพระวิญญาณก็ว่าได้ เนื่องจาก ตอนที่ชาวบ้านขุดพบโครงกระดูกคู่หนึ่งนั้น ได้พบ "มงกุฏทอง" อยู่พร้อม โครงกระดูกด้วย ซึ่งบริเวณนั้น ได้มีการขุดพบข้าวของเครื่องใช้ สมัยโบราณจำนวนมาก...ทำให้แผนการที่จะลงถ้ำแต่เช้า ถูกเลื่อนไปเกือบเที่ยง จวนบ่าย

    ผมทั้งรีบเร่ง และร้อนใจ เพราะปรกติ เราจะบวงสรวงก่อน 11 โมง แต่นี่เลยเวลาแล้ว...เมื่อไปถึง ภูผาแดง ฝั่งอำเภอโคกโพธิ์ชัย ทุกอย่างจึงดูรีบเร่ง และรีบที่จะไปค้นหา รูทางลง เพื่อที่จะทำการบวงสรวง..ด้วยความรีบเร่งจริง ผมไม่แวะแม้แต่สักการะรูปหล่อหลวงปู่เทพโลกอุดร หรือถ้ำภูผาแดงซึ่งเป็นถ้ำที่เชื่อว่าเป็นที่อยู่ของพญานาค...เดินข้ามผ่านไป แล้วก็ทำการบวงสรวงเพื่อบอกกล่าวสิ่งศกดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย..ก่อนที่จะลงถ้ำ ก่อนจะบ่ายคล้อย และมืดค่ำ

    หลังจากบวงสรวง เรา 3 คน พากันเดินหาหารูทางลงถ้ำ ตามแผนที่ที่พี่พฤตินาถ เขียนไว้ให้ จากที่มาสำรวจข้อมูลล่วงหน้า....ผมรีบมากจนไม่ได้แวะหา "ลุงจำปา" ซึ่ง เคยเข้าไปในถ้ำโปงลาง เมื่อหลายสิบปีแล้ว โดยการเข้าไป ต้องใช้เชื่อกผูกตัวแล้วเข้าไปในถ้ำ เพื่อที่จะกลับออกมาถูกทาง...ซึ่ง ผมเตรียมไปเพียงด้ายสายสิญจ์ ความยาวรวมสัก 2000 เมตรได้ เพราะคิดว่า ถ้ำคงอยู่ไม่ลึกเกิน 2 กิโลเมตร เพราะเดิม ต้องการให้ลุงจำปา เป็นคนนำทาง....แต่นั่นหล่ะ ด้วยความรีบมากครับ และคิดว่า เรามีแผนที่แล้ว

    เรา 3 คน ใช้เวลาเดินควาญหาทางลงถ้ำ ท่ามกลางอากาศที่ร้อนมั่กๆ เป็นชั่วโมงๆ แต่ไม่สามารถหารูทางลงถ้ำได้...ผมโทรศัพท์ ไปที่ สภ. โคกโพธิ์ชัย เพื่อที่จะสอบถาม ตำรวจ ถึงตำแหน่งรูทางลงถ้ำ เนื่องจาก ก่อนหน้านี้ คือ เมื่อกลางปี 2557 มีคนมาผูกคอยตาย อยู่หน้ารูทางลงถ้ำนี้ ..แต่มันนานมาก จนพี่ตำรวจก็บอกรายละเอียดได้ไม่แจ่มชัด..เราก็ยังไม่ละความพยายาม ยังเพียรพยายามค้นหาทางลง จนเวลาผ่านไปเลย บ่าย 3 โมง ก็ไม่พบ...คงพบแต่ถ้ำร้อน ซึ่งผมเคยลงไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว....

    ในที่สุด จึงต้องยอมจำนน ที่จะต้อง ยุติการปฏิบัติการ เพราะเริ่ม บ่ายแก่ และจะมืด..จึงต้องล่าถอยลงมาจากภูผาแดง

    ผม ไม่พลาดที่จะแวะถามหา บ้าน "ลุงจำปา" แล้วก็เจอบ้านแก แต่แกไม่อยู่บ้าน...มีแต่เพื่อนบ้านที่อยู่ละแวกเดียวกัน...ผมถามชาวบ้านว่า รู้จักถ้ำโปงลางมั๊ย...คำตอบคือว่า ไม่รู้จัก..แต่เมื่อผมเอาภาพถ่ายทางเข้าถ้ำให้ดู เขาร้อง "อ๋อ" เพราะเคยร่วงลงไปในรูนี้ และข้างล่าง มืด เต็มไปด้วยน้ำ ที่ขวางกั้นอยู่ ถามว่าลึกมั๊ย เขาว่า อาจจะท่วมหัว

    ถามว่า แล้วรูทางลงถ้ำอยู่บริเวณไหน? ชาวบ้านบอก ก็อยู่เหนือถ้ำใหญ่ (ถ้ำภูผาแดง) ไม่กี่สิบก้าว....อ้าว ผมดูจากแผนที่ที่พี่พฤตินาถเขียนไว้ให้...ระบุทางลงถ้ำโปงลาง อยู่เลยถ้ำร้อน.....มิน่าหล่ะ เดินหาอย่างไรก็ไม่เจอ....

    เป็นอันว่า "พลาด" ผมจึงกำหนดวันใหม่ว่า จะเดินทางไป "ลงถ้ำโปงลางใหม่" ในวันที่ 11 เมษายน 2558 อีกครั้งหนึ่ง แล้วก็กลับกรุงเทพ

    นับวัน รอเวลา ที่จะถึง วันที่ 11 เมษายน 2558...แล้วสิ่งผิดปรกติ ก็เริ่มเกิดขึ้น กับภรรยา..เริ่มประมาณ 11 มีนาคม 2558 ก่อนกำหนดลงถ้ำประมาณ 1 เดือน..หนักขึ้นๆ จนประมาณวันที่ 2 เมษายน 2558 ผมต้องประกาศ ยุติแผนการที่จะไปถ้ำโปงลางที่ภูผาแดง...แต่อาการของภรรยาก็ยัง ไม่ดีขึ้น ทั้งที่เทียวหาหมอตามโรงพยาบาลต่างๆ มาก่อนหน้านี้...จนวันที่ 5 เมษายน 2558 จึงได้ไปพบแพทย์ที่ โรงพยาบาลยันฮี และเย็นนั้น หลังจาก ทำ CT Scan จึงได้ทราบว่า เส้นเลือดในก้านสมองแตกกระจาย โดยคาดว่า จะแตกมาได้ 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2558 แล้ว

    ภรรยาผมต้องถูกย้ายเข้า ICU หลังจาก ออก ICU ก็ไปพักดูอาการที่ห้องปรกติ ในช่วงเวลานั้นเอง มีญาติธรรม ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นเพื่อนใน facebook ที่คอยติดตาม งานค้นคว้า และการปฏิบัติภารกิจครั้งนี้ ส่งข้อมูล มา เพื่อที่จะหาทางเยียวยารักษา ...ในจำนวนข้อมูลหนึ่งก็คือ "ภูมิที่รักษาที่นั่น คือ ที่ภูผาแดง ไม่ต้องการให้เราเข้าไปที่ถ้ำนั้น และผมต้องประกาศที่จะไม่ไปข้องเกี่ยว ข้องแวะถ้ำนั้นอีก ไม่เช่นนั้น ภรรยาผมอาจจะต้องถึงตาย"...

    ผมจึงคิดว่า...ยังมีที่ที่จะให้ผมไปค้นหาหลักฐาน อีกมากมายหลายแห่ง เมื่อไม่อยากให้เข้า เราก็ไม่ง้อ..ผมจึงต้องจุดธูปกลางแจ้ง บอกกล่าว ว่าจะไม่กลับไปยุ่งกับถ้ำโปงลางที่ภูผาแดงนี้อีก

    อาการภรรยาผม ก็ดีขึ้นเป็นลำดับ หมอเจ้าของไข้บอกว่า 1 ใน ล้าน ที่ ไม่ตาย ตั้งแต่ ตอนที่อยู่ ICU วันที่ 22 เมษายน 2558 หมอก็ลงความเห็นว่า ให้กลับบ้านได้...แล้วหลังจากพัก 2-3 เดือน ภรรยาผมก็หายและกลับมาทำงานได้ตามปรกติครับ

    ก็ไม่ว่ากันครับ...อย่างที่บอกไม่อยากให้เข้าเราก็ไม่ไป

    ส่วนปัญหาที่ผม ประสบอยู่ ก็คงมีเป็นระยะๆ ครับ ทำงานควบคุมงานก่อสร้างขนาดใหญ่ อาคารสูง 46 ชั้น ก็มีปัญหาอุปสรรคบ้าง เป็นธรรมดา ครับ ก็แก้กันไป จนกว่า จะแล้วเสร็จ ใน อีก 1 ปีข้างหน้า...หลังจากนั้น ผมคงมีเวลาที่จะอกพื้นที่เพิ่มมากขึ้น เพราะเวลานี้ ต้องยุติการลงภาคสนาม และทุ่มเทเวลาให้กับงานประจำครับ ...เพราะฉนั้น ข้อมูล ที่นำเสนอจึงอาจไม่ค่อยหวือหวาครับ เพราะเป็นการค้นหา จากข้อมูล ที่สามารถค้นหาได้ รวมทั้ง การประสานงาน พูดคุยกับนักวิชาการ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณ ที่เป็นครูบาอาจารย์ในมหาวิทยาลัย...ซึ่งเอาไว้ ให้งานตึกนี้จบก่อนครับ จะไปขุดค้นหาหลักฐาน จะไมหาจารึกอักษรโบราณ ย้อนยุคไปให้ไกลยันสมัยพุทธกาล มาให้อาจารย์อ่านให้...

    แต่ในระหว่างนี้ ก็ยังคงรอความบังเอิญอยู่ครับ..บังเอิญ ที่ชาวไร่ ชาวนา ชาวบ้าน จะขุดโน่น ขุดนี่ แล้วได้เจอจารึก เจอหลักฐานทางโบราณวัตถุ ที่จะมายืนยันสมมติฐานการค้นคว้า ที่ว่า "พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในถิ่นไทย" ครับผม...

    ค่ำคืนนี้ ก็เบียดบัง เวลาทำงาน มาพอสมควรแล้ว ขออาบน้ำ ทำงานก่อนนะครับ กก่อนจะหมดแรงก่อนคืนนี้ 5555
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ทิ้งท้ายอีกสักนิด ครับ ไหนๆ ก็แวะเข้ามาโพสต์ แล้ว

    ก่อนนี้ ผมเคย เขียนเรื่องวิเคราะห์ เรื่องความสูงของพระพุทธเจ้าในอดีตและอนาคต คือ พระศรีอาริยเมตไตรย ที่มีกรรมเกี่ยวพันกับพระมหากัสสปะ แล้ว เมื่อพระศรีอาริยเมตไตรย มาตรัสรู้ในกาลเบื้องหน้า จะต้องมาสลายร่างของ "พระมหากัสสปะ ซึ่ง เก็บรักษาอยู่ที่ กุกกุฏสัมปาตบรรพต" อยู่

    โดย ผม ได้ยกทฤษฎีกายวิภาคมนุษย์ ที่พูดถึงความสัมพันธ์ของความยาวฝ่ามือมนุษย์กับความสูง โดยเฉลี่ยแล้ว ความสูงของมนุษย์จะอยู่ประมาณ 10 เท่าของความยาวฝ่ามือ..

    โดยยก ตำนานอุรังคธาตุ ว่า ได้มีการ ทำก่อนดินจี่ หรืออิญ สำหรับสรา้งอูบมูง โดยใช้ขนาดฝ่ามือของพระมหากัสสปะ เป็นต้นแบบ...ซึ่ง อิฐ รุ่นที่สร้างอูบมูง ที่ค้นพบตอนที่พระธาตุพนม ล่ม เมื่อปี 2518 นั้น ขนาดอิฐยาวประมาณ 32 ซม.

    ดังนั้น ความสูงของ พระมหากัสสปะ จึงคาดว่า ท่านจะสูง 320 ซม. หรือ 3.20 ม.

    และเมื่อพระศรีอาริยเมตไตรยมาสลายร่างพระมหากัสสปะบนฝ่ามือนั้น แสดงว่า ฝ่ามือของ พระศรีอาริยเมตไตรย ก็จะอยู่ที่ประมาณ 4.0 ม. นะ นั่นคือ พระศรีอาริยเมตไตรยก็จะสูงประมาณ 40 ม. หรือ 80 ศอกครับ

    ผมก็จะย้อนมาพิจารณาความสูงของ พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน จาก ข้อสมมติฐานของผม...ที่ได้มีการค้นพบ "บันไดแก้ว" ที่เขาถวายพระเพลิง เมื่อไม่กี่ปีมานี้...ซึ่งอิฐดังกล่าวมีขนาดยาวประมาณ 41 ซม.

    ซึ่งผมคาดว่า อาจจะได้ปั้นอิฐ โดยใช้ขนาดฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธเจ้าเป็นต้นแบบ...เพราะฉะนั้น ความสูงของพระพุทธเจ้าของเรา จึง คาดว่าจะสูง 4.10 ม.หรือประมาณ 8 ศอก ครับ สูงกว่า พระมหากัสสปะ ซึ่งสูงประมาณ 3.2 ม. ครับ

    ...

    การเดินทางครั้งสุดท้ายของพระพุทธองค์
    [๖๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับบนภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น
    [๗๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยใน พระนครราชคฤห์
    แล้วตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ มาไปกันเถิด เราจักไปยังอัมพลัฏฐิกา
    [๗๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในอัมพลัฏฐิกา แล้ว
    ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ มาไปกันเถิด เราจักไปยังบ้านนาฬันทคาม
    [๗๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัย ในบ้าน นาฬันทคาม
    แล้วตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ มาไปกันเถิด เราจักไปยังปาฏลิคาม
    [๗๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัย ในบ้าน นาฬันทคาม
    แล้วตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ มาไปกันเถิด เราจักไปยังปาฏลิคาม
    ...ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จไปยังแม่น้ำคงคา แล้ว ก็สมัยนั้น แม่น้ำคงคาเต็มเปี่ยมเสมอฝั่ง...
    [๘๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์มาไปกันเถิด เราจักไปโกฏิคาม
    [๘๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในโกฏิคาม แล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ มาไปกันเถิด เราจักไป ยังนาทิกคาม
    [๙๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในนาทิกคาม แล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ มาไปกันเถิด เราจักไปยัง เมืองเวสาลี
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงเมืองเวสาลีแล้ว ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับในอัมพปาลีวัน เขตเมืองเวสาลีนั้น
    [๙๓] ครั้นนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยใน อัมพปาลีวันแล้วตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ มาไปกันเถิด เราจักไปยังบ้านเวฬุวคาม
    พระผู้มีพระภาคพร้อมภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
    เสด็จถึงบ้านเวฬุวคามแล้ว ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ในบ้านเวฬุวคามนั้น ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า มาเถิดภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงจำพรรษารอบเมืองเวสาลี ตามที่เป็นมิตรกัน ตามที่เคยเห็นกัน ตามที่เคยคบกันเถิด ส่วนเรา จะจำพรรษาในบ้านเวฬุวคามนี้แหละ
    ในบ้านเวฬุวคามนั้นแหละ ครั้งนั้นเมื่อ พระผู้มีพระภาคทรงจำพรรษาแล้ว ทรงประชวรอย่างหนักเกิดเวทนาอย่างร้ายแรง ถึงใกล้จะปรินิพพาน
    [๑๐๙] ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตร และจีวร เสด็จเข้าไปยังเมืองเวสาลีเพื่อบิณฑบาต เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในเมือง เวสาลีแล้ว เวลาปัจฉาภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาต ทอดพระเนตรเมืองเวสาลี เป็นนาคาวโลก แล้วรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า
    ดูกรอานนท์ การเห็นเมืองเวสาลี ของตถาคตครั้งนี้ จักเป็นครั้งสุดท้าย มาไปกันเถิดอานนท์เราจักไปยังบ้าน ภัณฑคาม
    ดูกรอานนท์ การเห็นเมืองเวสาลี ของตถาคตครั้งนี้ จักเป็นครั้งสุดท้าย มาไปกันเถิดอานนท์ เราจักไปยังบ้าน ภัณฑคาม ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงบ้านภัณฑคามแล้ว ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บ้านภัณฑคามนั้น
    [๑๑๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในบ้าน ภัณฑคามแล้ว
    ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า มาไปกันเถิดอานนท์ เรา จักไปยังบ้านหัตถีคาม อัมพคาม ชัมพุคาม และโภคนคร ท่านพระอานนท์ทูลรับ พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงโภคนคร แล้ว ได้ยินว่า
    พระผู้มีพระภาคประทับ ณ อานันทเจดีย์ ในโภคนครนั้น
    [๑๑๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในโภคนครตามความพอ พระทัยแล้ว ตรัส
    เรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ มาไปกันเถิด เราจัก ไปยังเมืองปาวา
    ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงเมืองปาวาแล้ว ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ อัมพวันของนายจุนทกัมมารบุตร ในเมืองปาวานั้น ฯ
    ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสวยภัตตาหารของนายจุนทกัมมารบุตรแล้ว ก็เกิดอาพาธอย่างร้ายแรง มีเวทนากล้าเกิดแต่การประชวรลงพระโลหิต ใกล้จะ นิพพาน ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงมีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นเวทนาเหล่านั้นไว้ มิได้ทรงพรั่นพรึง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า มาไปกันเถิด อานนท์ เราจักไปยังเมืองกุสินารา
    ดูกรอานนท์ ในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้แล ความ ปรินิพพานของตถาคตจักมีในระหว่างไม้สาละทั้งคู่ ในสาลวันอันเป็นที่แวะพัก ของมัลลกษัตริย์ทั้งหลาย ในเมืองกุสินารา มาไปกันเถิด อานนท์ เราจักไปยังแม่น้ำกกุธานที
    [๑๒๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จ ไปยังแม่น้ำกกุธานที ครั้นแล้วเสด็จลงสู่แม่น้ำกกุธานที ทรงสรงแล้ว เสวย แล้ว เสด็จขึ้น เสด็จไปยังอัมพวัน ตรัสเรียกท่านพระจุนทกะมารับสั่งว่า ดูกร จุนทกะ เธอจงช่วยปูผ้าสังฆาฏิซ้อนกันเป็นสี่ชั้นให้เราเราเหน็ดเหนื่อยนัก จัก นอนพัก
    [๑๒๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ มาไปกันเถิดเราจักไปยังฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำหิรัญวดีเมืองกุสินารา และสาลวัน อันเป็นที่แวะพักแห่งพวกเจ้ามัลละ
    [๑๒๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ มาไปกันเถิดเราจักไปยังฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำหิรัญวดีเมืองกุสินารา และสาลวัน อันเป็นที่แวะพักแห่งพวกเจ้ามัลละ ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้ มีพระภาคแล้ว ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จไปยัง ฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำหิรัญวดี เมืองกุสินารา และสาลวันอันเป็นที่แวะพักแห่งพวก เจ้ามัลละ ครั้นแล้วรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ เธอจงช่วยตั้งเตียง ให้เรา หันศีรษะไปทางทิศอุดร ระหว่างไม้สาละทั้งคู่ เราเหน็ดเหนื่อยแล้ว จักนอน
    [๑๓๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อก่อน พวกภิกษุผู้อยู่จำพรรษาใน ทิศทั้งหลายย่อม
    มาเพื่อเฝ้าพระตถาคต พวกข้าพระองค์ย่อมได้เห็น ได้เข้าไปนั่ง ใกล้ภิกษุเหล่านั้นผู้ให้เจริญใจ ก็โดยกาลล่วงไปแห่งพระผู้มีพระภาค พวกข้าพระ องค์จักไม่ได้เห็น ไม่ได้เข้าไปนั่งใกล้ พวกภิกษุผู้ให้เจริญใจ ฯ
    ดูกรอานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งเหล่านี้ เป็นที่ควรเห็นของ กุลบุตรผู้มีศรัทธา
    สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง เป็นไฉน คือ
    ๑. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตาม ระลึกว่า พระตถาคตประสูติในที่นี้ ฯ
    ๒. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตาม ระลึกว่า พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ ฯ
    ๓. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตาม ระลึกว่า พระตถาคตทรงยังอนุตตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ ฯ
    ๔. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตาม ระลึกว่า พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในที่นี้ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้แลเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธา ฯ
    ดูกรอานนท์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จักมาด้วยความเชื่อว่า พระตถาคตประสูติในที่นี้ก็ดี พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ ก็ดี พระตถาคตทรงยังอนุตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ก็ดี พระตถาคตเสด็จ ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
    ในที่นี้ก็ดี ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เที่ยว จาริกไปยังเจดีย์ มีจิตเลื่อมใสแล้ว จักทำกาละลง ชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
    จงไปเถิดอานนท์ เธอจงเข้าไปใน เมืองกุสินารา แล้วบอกแก่พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราว่า ดูกรวาสิฏฐะทั้งหลาย พระตถาคตจักปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีในวันนี้ พวกท่านจงรีบออกไปกัน เถิดๆ พวกท่านอย่าได้มีความร้อนใจในภายหลังว่า พระตถาคตได้ปรินิพพานในคามเขตของพวกเรา พวกเราไม่ได้เฝ้าพระตถาคตในกาลครั้งสุดท้าย ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปในเมืองกุสินาราลำพังผู้เดียว
    [๑๔๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด นี้เป็นพระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต ฯ
    [๑๔๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว พร้อมกับการเสด็จ ปรินิพพาน ได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ เกิดความขนพองสยองเกล้าน่าพึงกลัว ทั้ง กลองทิพย์ก็บันลือขึ้น ฯ
    [๑๔๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว พร้อมกับการเสด็จ ปรินิพพาน ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวคาถานี้ ความว่าสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จักต้องทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลก แต่พระตถาคตผู้เป็นศาสดาเช่นนั้น หาบุคคลจะเปรียบเทียบมิได้ในโลก เป็นพระสัมพุทธเจ้าทรงมีพระกำลัง ยังเสด็จปรินิพพาน ฯ
    [๑๔๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว พร้อมกับการเสด็จปรินิพพาน ท้าวสักกะจอมเทพ ได้ตรัสพระคาถานี้ความว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดาบังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป ความเข้าไปสงบสังขาร เหล่านั้น เป็นสุข ฯ


    "พระพุทธเจ้าปรินิพพานที่ไหน?"

    โอ้พระแท่นแผ่นผาอยู่ป่าดอน
    แต่ปางก่อนที่นี่เป็นที่เมือง
    ชื่อกรุงโกสินารายณ์สบายนัก
    เป็นเอกอัครออกชื่อย่อมลื่อเลื่อง
    ทั้งแก้วแหวนเงินทองก็นองเนือง
    ไม่ฝืดเคืองสมบัติกษัตรา
    มีสวนแก้วอุทยานสำราญรื่น
    ดูดาษดื่นดอกดวงพวงบุปผา
    ปลูกไม้รังตั้งแท่นแผ่นศิลา
    คือแผ่นผาอันนี้ท่านนิพพาน
    ของพระยามลราชประสาทไว้
    ย่อมแจ้งใจทุกประเทศเขตต์สถาน
    ที่สำคัญมั่นหมายหลายประการ
    สมนิพพานเรื่องเทศน์สังเกตฟัง
    แต่บ้านเรือนศูนย์หายกลายเป็นป่า พยัคฆาอาศัยดังใจหวัง
    พระอุทยานร้างราเป็นป่ารัง
    อนิจจังอนาถจิตต์อนิจจา
    เดชะบุญได้นบอภิวาท
    ไม่เสียชาติที่ได้พบพระศาสนา
    (นิราศพระแท่นดงรัง)

    ขอฝากทิ้งท้าย เอาความหมายของ "มกุฏพันธนเจดีย์" จาก วัดพระแท่นดงรังมาฝากครับ...คงพอขยายภาพอ่านได้นะครับ..ราตรีสวัสดิ์ แร่ะ..ฝันดีทุกท่านครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2016
  5. 12qv

    12qv Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +26
    ผมก็ขอบคุณด้วยครับ ขอเอาที่เราคุยกันทางpmและทางไลน์ที่ให้ไอดีมา มาบ้างเล็กน้อยนะครับ

    ผมได้คุยกับคุณnong_bangpladเข้าใจได้ว่าเป็นคนรู้จักนายเอกดีทีเดียว ไม่เป็นกัลยาณมิตร ก็เป็นญาติหรือกลุ่มในมากๆๆๆๆ หลังจากผมบอกว่าสิ่งที่นายเอกโพสเกี่ยวกับพระเลวสร้างสังเวชนียสถาน มันจะเอาไปต่อยอด กระพือข่าวไปทำอะไรได้บ้าง นอกเหนือจากบอร์ดเล็กๆนี้ ดูแกก็เดือดร้อนเรื่องนี้อยู่ (เป็นเจ้าของตึกหรือเปล่า???)

    ได้รายละเอียดหลายอย่าง ทั้งเหตุการณ์ที่ต้องไปรพ.อักษรย่อ ยอยักษ์ อาการ ชีวิตนายเอก วัยเรียน ภรรยา อาการต่างๆหลายอย่างมาก ดูเดือดเนื้อร้อนใจจริง

    เอาเป็นว่าคุณnong_bangplad บอกว่าเขาคิดไม่เหมือนคุณเอกครับ เขายังเป็นห่วงหลานด้วย และบอกผมว่าญาติพี่น้อง(พยายามจะถามว่า ข้างเมียหรือข้างนายเอก ก็ไม่ยอมบอก)หลายคนก็พูดไม่ออกอยู่ลึกๆแต่ไม่กล้าจะพูดเพราะเป็นเรื่องส่วนตัว ความเชื่อของคุณ

    ถ้าคุณจะทำต่อไปตามเจตนารมย์ว่าพระเลว พระชั่วสร้างสังเวชนียสถาน ไดยที่คุณคิดว่าไม่เป็นไรก็เรื่องของคุณ ลูกคุณเอง เมียคุณเอง ตัวคุณเอง ไม่เกี่ยวอะไรกับผม และเวลาคุณมีหน้าที่การงานสูงขึ้น เรื่องพระเลว พระชั่วสร้างสังเวชนียสถานมันก็ย้อนมาหาคุณเองแหละ เหมือนด็อกเตอร์คนนึง มีช่วงนึงทำอะไรก็ติดกับเรื่องนี้ จนตอนหลังต้องเฟดตัวเองออกมา เว็บไซต์ก็ปิดหายไป

    ปล.อาการแบบนั้น อายุประมาณนั้น หมอ รพ.ย.คงไม่ได้บอกอีกมุมนึงว่า โอกาสที่จะเป็นมันน้อยมากเลย และมันก็อาจเป็นแแบที่ คุณnong_bangplad คิด คือมันเป็นเรื่องทั้งหมดที่คุณคิดเลยหรือเปล่าที่ไปล่วงเกินว่าพระเลว พระชั่วสร้างสังเวชนียสถาน และที่เข้าถ้ำก็เป็นส่วนหนึ่งของการนั้น และเป็นแค่เตือน มันก็หายได้

    ผมก็ไม่รู้ว่า กรรมทำงานแบบไหน คุณอาจจะมีบุญเก่าค้ำไว้ มันก็เลยไหลไปคนใกล้ตัว คราวนี้เมีย คราวหน้าลูก อีกคราวอาจจะคนใกล้ชิดอื่น อันนี้คิดอีกมุม

    เล่ามาถึงตอนนี้ ผมก็คิดว่าคุณคงอาจรู้ว่า คุณnong_bangplad คือใคร ก็ต้องบอกว่า เขาเป็นห่วงมาก

    ปล.2 เรื่องที่คุณฝันว่าได้รับหน้าที่มา มารมันก็เข้าฝันได้นะครับ จำแลงอะไรก็ได้สารพัดแหละ พระพุทธเจ้ายังโดนเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2016
  6. 12qv

    12qv Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +26
    ท้ายสุดนี้หลังจากไคร่ครวญต่างๆแล้ว และเห็นว่านายเอกถึงขนาดเดิมพันตัวเอง เมีย ลูกครอบครัว กับกรรมที่จะได้และแนวคิดพระเลว พระชั่วสร้างสังเวชนียสถานของตัวเอง แม้จะมีการเตือนแล้วตามความคิดของคนใกล้ตัวนายเอกเอง

    ผมก็อยากที่จะบอกเหมือนครั้งแรกๆว่า เอาที่เอกสบายใจเลย 555+
     
  7. พาทัศน์

    พาทัศน์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +86
    คุณเอกครับ

    เรื่องที่คุณเอกยกมา ผมอ่านๆดูบางทีก็งงบ้าง บางทีก็คิดว่าน่าจะเป็นไปได้บ้างแต่ยังมีข้อข้องใจอยากถามคุณเอกนิดหน่อยนะครับ

    เรื่องแรกนะครับ ในพระไตรปิฎก มีการกล่าวถึงแม่น้ำสำคัญอยู่หลายสายนะครับสายหนึ่งที่น่าจะรู้จักกันดีคือ แม่น้ำคงคา อย่างใน ฉบับหลวงเล่ม10 หน้าที่139 ข้อ167ถึง169
    ดูกรอานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้ามหาสุทัสสนะเมื่อจะทรงทดลองคฤหบดีแก้วนั้นแหละได้เสด็จลงเรือตัดข้ามกระแสน้ำไปกลางแม่น้ำคงคา แล้วตรัสกะคฤหบดีแก้วว่า คฤหบดี เราต้องการเงินและทอง คฤหบดีแก้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ถ้าเช่นนั้น จงเทียบเรือเข้าไปริมตลิ่ง
    ข้างหนึ่ง ดูกรคฤหบดี เราต้องการเงินและทองที่นี่
    ดูกรอานนท์ ลำดับนั้น คฤหบดีแก้วนั้นเอามือทั้งสองจุ่มน้ำลงไปยกหม้อ อันเต็มด้วยเงินและทองขึ้นมา แล้วกราบทูลพระเจ้ามหาสุทัสสนะว่า ขอเดชะ เท่านี้พอละ เท่านี้เป็นอันทำแล้ว พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ตรัสอย่างนี้ว่า คฤหบดี เท่านี้พอละ เท่านี้เป็นอันทำแล้ว เท่านี้เป็นอันบูชาแล้ว ดังนี้
    เรื่องราวยังมีอีกมากหาอ่านในพระไตรปิฎกนะครับ

    คำถามคือแม่น้ำคงคาที่ว่านี้ค้นดูในวิกิพิเดีย ปรากฎว่า
    แม่น้ำคงคา (เทวนาครี: गंगा คังคา ภาษาอังกฤษ: Ganges แกงจีส, Ganga) เป็นแม่น้ำสายสำคัญของอินเดีย ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู มีต้นกำเนิดทางภาคเหนือของอินเดีย บริเวณเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียไปทางตะวันออก และรวมกับแม่น้ำพรหมบุตรที่ประเทศบังกลาเทศ ก่อนจะไหลออกที่อ่าวเบงกอล แม่น้ำคงคามีความยาวประมาณ 2,510 กิโลเมตร
    ซึ่งในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึง แม่น้ำ ที่อยู่ในอินเดียนอกจากคงคาแล้วยังมีอีกหลายสาย ในหลายพระสูตร
    จึงขอให้คุณเอกช่วยคลายข้อสงสัยด้วยครับ และยังมีข้อสงสัยอีกหลายประการที่จะขอความกระจ่างจากคุณเอกในวันข้างหน้าอีกนะครับ
     
  8. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    แม่น้ำ 5 สาย ในอินเดีย กับความลงรอยในคัมภีร์พระพุทธศาสนา

    ขอบคุณครับ ที่ตั้งคำถามและมีข้อสงสัย...เพราะจะทำให้ผมต้องไปค้น และเมื่อค้นมักจะได้รับรู้ข้อมูลใหม่ๆ โดยบังเอิญ

    ในพระไตรปิฎก มี กล่าวเรื่อง แม่น้ำ 5 สาย สำคัญ ในชมพูทวีป ว่า..

    [๔๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง แม่น้ำใหญ่บางสาย คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลถึงมหาสมุทรแล้วย่อมละนามและโคตรเดิมเสียถึงซึ่งอันนับว่ามหาสมุทรทีเดียว

    เรืองความสงสัย "แม่น้ำคงคา" ที่ว่า ...ผมจะค้นเพิ่ม และ นำมาอธิบายอีกในภายหลังนะครับ เนื่องด้วยข้อจำกัด ด้านเวลา ในตอนนี้

    เบื้องต้น จึงนำข้อมูลเก่าๆ มาให้ พิจารณาก่อน

    เบาะแส หนึ่ง ที่จะนำมาเป็นเครื่องยืนยัน ความเป็นชมพูทวีป คือ แผนที่โบราณ ที่แสดงให้เห็นร่องรอยของ ปัญจมหานที ได้แก่ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของชมพูทวีป ที่ได้ไหลผ่านเข้ามายังดินแดนที่เป็นที่ตั้งของประเทศ ไทย ลาว พม่า ในปัจจุบัน แต่ไม่ได้ไหลไปยังประเทศอินเดีย เนปาล ปากีสถาน ในปัจจุบัน
    แม้ว่า ในสภาพปัจจุบัน ที่ วิทยาการในการทำแผนที่ด้วยภาพถ่ายดาวเทียม ซึ่งแน่นอนย่อมจะได้แผนที่ตามสภาพความเป็นจริง แต่แผนที่โบราณนี้ แม้จะ ไม่ถูกต้องตรงเป๊ะ เลยทีเดียว แต่ ก็ได้เค้าว่า มีแม่น้ำ 5 สาย ไหลลงมาสู่ภูมิภาคนี้ แม้ปัจจุบัน ชื่อเรียกจะเปลี่ยนแปลงไป ก็ตาม
    ...

    ในเว๊บพันทิป มีคนตั้งข้อสงสัย และมีภาพประกอบ น่าสนใจครับ ตามลิงค์นี้
    http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2012/09/K12692611/K12692611.html

    ซึ่งหลังจาก ได้ ประมวลความเห็นจากเพื่อสมาชิก เธอก็ได้ คำตอบ ว่า...

    ...เท่าที่พยามอ่านทำความเข้าใจตามลิ้งค์ของคุณdesmothenes นะคะ เข้าใจแล้วว่า

    เหลืองคือ ยมุนา
    ฟ้าคงคา
    ม่วงที่เขียว่า gogra คือ สรภู
    ส้ม เขียว่า rapti บางที่ก็ raptee คือ อจิรวดี
    ชมพูขวาสุดทางอ่าวเบงกอลที่เขียนว่า gandak คือ มหิ

    และสีเขียวอ่อนๆเล็กระหว่างคงคากับสรภู ที่เขียว่า gomti ตอนแรกเคยนึกว่าเปนแม่น้ำสำคัญไหลมาจากธารน้ำแข็ง แต่จริงๆแล้วเปนแค่แควของแม่น้ำคงคา ไหลมาจากทะเลสาบ fulhaar jheelค่ะ (ใครออกเสียงถูกบ้างไหมค่ะ อ่านไม่ออกจริงๆ)

    เคยได้อ่านเหมือนที่คุณAeykunว่าไว้เหมือนกันค่ะว่ามีแม่น้ำมหิอีกที่ทางตะวันตก

    อ่านสนุกและได้ความรู้เพิ่มเยอะมาก ขอบคุณทั้งสองท่านที่มาตอบค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ..

    ซึ่งจาก กระทู้ และภาพประกอบในกระทู้นี้ ซึ่งผม นำมาแนบไว้ด้วยนี้แล้ว

    น่าสนใจ ตรงที่ว่า น่าจะมีคนศึกษา หรือทำวิทยานิพนธ์ จาก "พระไตรปิฎกและอรรถกถา" ว่า แม่น้ำ สายสำคัญ ทั้ง 5 สายนี้ ไหลผ่าน แคว้นใด เมืองใด กั้นแบ่งระหว่าง เมืองไหน แคว้นไหนบ้าง? เพื่อจะได้นำมาตรวจสอบกับ แม่น้ำสายต่างๆ และที่ตั้งแคว้นต่างๆ ในอินเดีย ปัจจุบัน ว่า สอดคล้องต้องตรงกันกับ พระไตรปิฎกและอรรถกถา หรือไม่?

    แม่น้ำ สายอื่นๆ ทั้ง 4 สาย เป็นลักษณะเป็นแควแม่น้ำ แล้วไหลมารวมลงกับ แม่น้ำคงคา ก่อนที่จะไหลลงสู่มหาสมุทร หรือ ต่างสาย ต่างไหลลงสู่มหาสมุทร ดังในพระสูตร ที่ว่า..

    คังคาสมุทนินนสูตร
    ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร
    [๑๙๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทรบ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
    ฉันนั้นเหมือนกัน.
    [๑๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้ม
    ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
    จบ สูตรที่ ๗
    ยมุนาสมุทนินนสูตร
    ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร
    [๑๙๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ... ฉันนั้น
    เหมือนกัน ฯลฯ
    จบ สูตรที่ ๘
    อจิรวดีสมุทนินนสูตร
    ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร
    [๑๙๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ... ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
    จบ สูตรที่ ๙
    สรภูสมุทนินนสูตร
    ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร
    [๑๙๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทรบ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ... ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
    จบ สูตรที่ ๑๐
    มหีสมุทนินนสูตร
    ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร
    [๑๙๖] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทรบ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วย ๘ ... ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
    จบ สูตรที่ ๑๑
    ...

    แต่ในการพบกันกับ คุณ jirung9 คราวก่อน ท่านก็ได้ตั้งคำถามกับผมเหมือนกัน ที่ผมเอาแผนที่ India โบราณ ที่มีแม่น้ำไหลลงจากทะเลสาป แถวเทือกเขาหิมาลัย ไหลลงสู่ทางใต้ ผ่านพม่า ไทย ลาว ลงสู่มหาสมุทร...แต่ในพระไตรปิฎกบรรยายว่า แม่น้ำ 5 สายไหลบ่าไปทางปราจีนทิศ คือทิศตะวันออก...ผมก็ยังหาคำตอบที่ดี ไม่ได้นะครับ

    แต่ เมื่อหลายปีก่อน ผมได้ตั้งข้อสังเกต เรื่องแม่น้ำโคธาวรี ซึ่ง ไม่ใช่แม่น้ำ 1 ใน 5 สาย นะครับ แต่ ในอรรถกถา ว่า แม่น้ำสายนี้ กั้นแบ่งระหว่างแคว้นมัลละกับแคว้นอัสสกะ แต่ ถ้าคุณ พาทัศน์ ได้ พิจารณาแผนที่อินเดียสมัยก่อนพุทธกาล จะเห็นว่า 2 แคว้นนี้ ตั้งอยู่ห่างไกลกันมาก และยังถูกคั่นด้วยแคว้นสำคัญๆ อย่างเช่น แคว้นมคธ กับ แคว้นกาสี เป็นต้น

    ครับ ให้ข้อมูลเบื้องต้น เท่านี้ก่อนนะครับ ขออนุญาตปั่นงานต่อก่อน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2016
  9. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ผมได้อ่าน คำอ่านและคำแปล จารึกเขาวง ถ้ำนารายณ์ จังหวัดสระบุรี ใน
    ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย
    ...เพราะ ผมดูคำอ่าน คำแปล ของหลายคน ต่าง พ.ศ. มันมีนัยยะ อะไรที่ต่างกันอยู่

    ดู คำอ่าน จารึกวัดถ้ำเขาวง กับ คำแปล คนละ คน คนละ พ.ศ. นะ..

    คําอ่านภาษามอญ : จําปา เยื้องเจริญ (พ.ศ. ๒๕๒๙) ๑. กะมนุ่ อะนุเรี่ยะเธี่ยะปาวระ เก๊าะห์ กะตอน กุนเตี่ยะรี จ่น จิห์ – ๒. ร่น เลห่์ โกมเญี่ยะ ดาญง์ ปะอ๊อป ตะน่ายซอยเนี่ยะเธี่ยะ ๓. ฮอนนะ โตย เลวิ่ ปะดอย

    คําแปล : จําปา เยื้องเจริญ (พ.ศ. ๒๕๒๙) กุนทรีชนผู้ตั้งอาณาจักรอนุราธปุระ ได้มอบให้พ่อลุงสิ นาธะเป็นตัวแทนพร้อมกับชาวเมือง (อนุราธปุระ) ร่วมกัน จัดพิธีขับร้อง ฟ้อนรํา (เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองปูชนีย วัตถุ) ที่ประดิษฐานไว้แล้วในสถานที่นี้

    คําอ่านภาษามอญ : พงศ์เกษม สนธิไทย (พ.ศ. ๒๕๔๖) ๑. กะมิน อนุราธปุระ เก๊าอ์ กะตอน กะทอว์ โจ้น ๒. เละห์ โกมเญียะ เดิญง์ ปะอ๊อบ ตะนายซอยเนียเธียะ ๓. ฮอนนะ โตย โลว์ ปะดวั โวะอ์

    คําแปล : พงศ์เกษม สนธิไทย (พ.ศ. ๒๕๔๖) ผู้ปกครองอนุราธปุระ กับผู้สร้างที่พักนี้ ได้ (เสด็จ) มาร่วม ร้องเพลงและร่ายรํา (ทะแย และ มอญรํา) ร่วมกับชาวเมือง โดยมอบให้ท่านสินาธเป็นผู้อุปัฏฐาก ( หัวหน้าผู้อุปัฏฐาก) (สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือ ของบูชา ) ที่ประดิษฐานไว้ในนี้

    ผมเห็นว่า มีนัยยะ 2 นัยยะ สำคัญนะครับ

    1. คำว่า ผู้ปกครองอนุราธปุระ กับ ผู้ตั้งอาณาจักรอนุราธปุระ ...ผู้ปกครองอาจเป็นยุคหลังๆๆๆๆ แต่ผู้ก่อตั้ง มันหมายถึง "วิชัยกุมาร" หรือ แม้แต่ "พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ" แห่งลังกา เลยนะครับ
    2. ตกลง ผู้ก่อตั้งหรือผู้ปกครองมาเอง หรือ มอบให้ พ่อลุงสินาธะ เป็นตัวแทนมาครับ???

    ...

    หากท่านใด มีความชำนาญ ด้านอักษรโบราณ ภาษามอญ นี้ อยากให้ช่วยอ่านซ้ำ และแปลความหมายให้ด้วยครับ...จักเป็นพระคุณยิ่ง

    เพราะ ผู้ก่อตั้ง "อนุราธปุระ" อาจ หมายถึง วิชัยกุมาร ซึ่งมาตั้งเมืองลังกา ใน พ.ศ. 1 หรือ อย่างน้อย ก็ก่อน พ.ศ. 236 ที่ พระมหินทรเถระ จาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ดังใน อรรถกถา 2 ตอน ที่ว่า

    [ลำดับราชวงศ์ที่เสวยราชย์ในเกาะลังกาและชมพูทวีป]
    ความพิสดารว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จปรินิพพานแล้ว
    ในปีที่ ๘ แห่ง (รัชกาล) พระเจ้าอชาตศัตรุราช (เสวยราชย์) . ในปีนั้นนั่นเอง
    พระราชโอรสของพระเจ้าสีหกุมาร ผู้ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินต้นวงศ์แห่งเกาะ
    ตัมพปัณณิทวีป ทรงพระนามว่า วิชัยกุมาร เสด็จมาสู่เกาะนี้แล้ว ได้ทรง
    ทำเกาะนี้ ให้เป็นที่อยู่ของมนุษย์. พระเจ้าวิชัยกุมาร (เสวยราชย์อยู่ในเกาะนี้
    ๓๘ ปี)* แล้ว สวรรคตที่เกาะนี้

    กับ อีกตอนที่ว่า

    ก็ท่านพระมหินทเถระ ผู้มาร่วมกับพระเถระทั่งหลาย มีพระอิฏฏิยะ
    เป็นต้น ยืนอยู่อย่างนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ได้ยืนอยู่แล้วในเกาะนี้ ในปีที่
    ๒๓๖ พรรษา นับมาแต่ปีที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน.

    [พระปฐมเจดีย์เมืองอนุราชบุรี]
    ครั้งนั้น โดยล่วงไปแห่งราตรีนั้น พระราชา ก็ทรงส่งรถไปเพื่อ
    (รับ) พระเถระทั้งหลาย. นายสารถี พักรถไว้ ณ ที่ข้างหนึ่งแล้วเรียนบอก
    แก่พระเถระทั้งหลายว่า รถมาแล้ว ขอรับ ! โปรดขึ้นรถเถิด. พวกเราจะ
    ไปกัน.

    พระเถระทั้งหลายพูดว่า พวกเราจะไม่ขึ้นรถ, ท่านจงไปเถิด พวกเรา
    จักไปภายหลัง ดังนี้แล้ว ได้เหาะขึ้นสู่เวหาส แล้วไปลง ณ ปฐมเจดีย์สถาน
    ในด้านทิศบูรพา แห่งเมืองอนุราธบุรี. จริงอยู่ พระเจดีย์นั้น ชาวโลกเรียกว่า
    พระปฐมเจดีย์ เพราะเป็นเจดีย์ที่ประชาชนสร้างไว้ ในสถานที่พระเถระทั้งหลาย
    ลงครั้งแรกนั่นแล.
    ..

    ความสำคัญ คือ การไขปริศนา ที่ว่า ในภูมิภาคประเทศของเรา ไม่เคยมีหลักฐานว่า มีการจารึกอักษร ก่อน พ.ศ. 1100 ที่เขาว่า เราเพิ่งได้รับ การถ่ายทอดอักษรปัลลวะ จากอินเดียใต้ครับ

    ความน่าสนใจ อีกประการหนึ่งคือ "ผู้คนจากอนุราธปุระ ลังกาทวีป ดั้นด้นมาทำไม ไกลถึงที่สระบุรี"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2016
  10. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    อึ้งครับ
     
  11. เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา

    เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา เพื่อมวลมนุษย์แลสรรพสัตว์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    872
    ค่าพลัง:
    +1,936
    ก็เข้าใจนะว่า บรรพบุรุษย์ของพวกเราหลงไหลได้ปลื้ม กับพระรัตนตรัย จนนำชื่อบุคคล,สถานที่,สัตว์เลี้ยง,เมืองฯ.มาตั้งชื่อทางเราบ้าง อันเป็นเหตุให้ลูกหลานชั้นหลังมา นำไปผูกกับโบราณวัตถุโยงเข้ากับตำนานเล่าลือกันมาบ้าง พงศวดารบ้าง อ้างเป็นตุเป็นตะ ทึกทักเอาเป็นจริงเป็นจัง ว่าเราคือถิ่นกำเหนิดพุทธศาสนา แต่ว่าความจริงก็คือความจริงวันยังค่ำครับ
     
  12. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    เบาะแส จากตำราโหราศาสตร์ไทย ที่ไม่แน่ใจว่ามีที่อินเดียมั๊ย?

    เอาเป็นว่า จะใช้กระทู้นี้ เป็นหลัก..รวมเรื่องราวต่างๆ ที่อาจจะเกี่ยวเนื่อง มาประมวลรวมไว้ในที่นี้ ก็แล้วกันนะครับ จะได้ไม่ต้องมีกระทู้เยอะแยะนะครับ..


    เบาะแส จากตำราโหราศาสตร์ พระพุทธเจ้ามีพุทธานุญาตให้ พระอุตตมรามมหาเถระ สอนโหราศาสตร์ ให้แก่ภิกษุปุถุชน โสดาบัน และฆราวาส...ตำรานี้ เมื่อรจนาขึ้น ย่อมต้องมีอักขระ...และ เป็นข้อสังเกต ว่า...ที่อินเดีย มีตำรานี้มั๊ย??
    ...
    ครั้งหนึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นเมื่อมีการปวารณาออกพรรษาแล้ว เป็นสมัยเขตเหมันตฤดูควรแก่การจาริก พระสงฆ์ปุถุชน 100 รูป ได้ไปทูลลาพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อไปสู่รุกขมูลเสนาสนะบำเพ็ญเพียรภาวนานุโยคสืบไป เมื่อได้รับพุทธานุญาตแล้ว พระสงค์ 100 รูป ก็พากันออกจากเมืองปาวายตนนคร จาริกไปราวป่าแห่งหนึ่ง แล้วต่างก็แยกทางกันไปเป็นหมู่ เพื่อไปสู่ชนบทตามความ
    ปรารถนาของหมู่นั้นๆ พระสงฆ์หมู่หนึ่ง 5 รูป พากันจาริกไปถึงป่าชัฏแห่งหนึ่ง ก็ไปพบโจรเข้า ณ.ที่นั้น
    โจรเห็นพระสงฆ์เดินมา ก็สำคัญว่าจะมีทรัพย์สิ่งอันมีค่าติดตัวมาด้วย ก็เข้าสกัดตีชิงเอาสิ่งของ พระสงฆ์ หมู่นั้นต่างองค์ก็ต่างหนีโจรหมู่นั้นไป แต่ภิกษุรูปหนึ่งล้มลง โจรก็ตีจนมรณภาพ แล้วก็ค้นดูที่ในกายตัวก็มิได้มีทรัพย์สินอันใด เมื่อเปิดบาตรออกดูก็เห็นแต่ผ้าสังฆาฏิผืนเดียวเท่านั้น โจรเหล่านั้นเมื่อมิได้ทรัพย์ตามปรารถนาก็พากันไปที่อื่นต่อไป ครั้นเมื่อโจรไปแล้ว พระสงฆ์ 4 รูปที่หนีไปนั้นก็หวนกลับมาตามหาภิกษุรูปที่หนีไม่ทันก็พบนอนมรณภาพอยู่ ณ.ที่นั้น
    พระภิกษุ 4 รูปนั้นจึงพากัน นำความไปแจ้งแก่พระอานนท์ผู้พุทธอุปฐาก พระอานนท์ก็นำความที่
    โจรตีพระภิกษุรูปนั้น ให้ถึงมรณภาพขึ้นกราบทูลแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงมีพุทธฎีกาตรัสแก่พระอุตตมรามเถรภิกษุ ผู้เป็นพระอสีติมหาสาวกที่มีปรีชาทางโหราศาสตร์ว่า " ดูกร อุตตมรามเถร พระภิกษุ ปุตุชนไปรุขมูล ไปพบโจรเข้าที่กลางทาง โจรตีตายเพราะเหตุไม่รู้ฤกษ์ยาม ไปถูกยามจรที่ไม่ดีเข้าเป็นเหตุให้ถึงอุปัทวันตรายเสียในกลางทาง ถ้าถูกยามจรที่ดีก็ไปสวัสดีมีชัยในวันข้างหน้า นึกสิ่งใดก็ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา ควรที่พระสงฆ์จะเรียนรู้ฤกษ์บนและคัมภีร์โหราศาสตร์ไว้คุ้มตัว เมื่อมีกิจธุระไปในที่ใดๆ
    ก็จะได้ไปโดยสะดวก และการนี้ไม่เกี่ยวข้องกับสิกขาบท ไม่ต้องอาบัติ"
    จากหนังสือ จักรทีปนีพิสดาร อ.เทพย์ สาริกบุตร

    ....

    ข้อสังเกต..ผม search หา ชื่อ "พระอุตตรามมหาเถระ" ใน พระไตรปิฎกและอรรถกถา ยังไม่พบนะครับ จึงไม่รู้ว่า ครูโหร ท่านได้ข้อมูลแต่ใดมา อาจจะต้องไปดูดูในคัมภีร์จักรทีปนี ต้นฉบับภาษาบาลี ที่อาจจะระบุผู้รจนา ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2016
  13. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    พ่อค้าชาวสาวัตถี แล่นเรือจากท่าไหนออกสู่มหาสมุทรมุ่งมายังสุวรรณภูมิ

    เก็บรวบรวมข้อมูลไปเรื่อยๆ ครับ ยิ่งมีข้อมูล รอบด้าน ยิ่งทำให้การศึกษา หาข้อเท็จจริง กระจ่างแจ้ง..

    วันนี้ มีกัลยาณมิตร ส่งข้อความมาว่า..

    เรียนคุณธนบดี : อ่านบทความเรื่องประวัติศาสตร์พม่าที่คุณธนบดีโพสต์แล้ว จะขอแสดงความคิดเห็นดังนี้นะครับ....จุดกำเนิดของพม่านั้นมี 2 แห่ง ตามจดหมายเหตุปโตเลมี(ราวพ.ศ.700) เรียกว่า ไครเส และเบซิงงา ตรงกับคัมภีร์มหานิทเทสภาษาบาลีของอินเดีย อายุราวพุทธศตวรรษที่7-8 กล่าวถึงเมืองท่าและสถานที่ติดต่อค้าขายทางเรือไว้ถึง 34 แห่ง และเรียก 2 เมืองนี้ว่า สุวรรณกูฏ และ เวสุงคะ มีรายละเอียดเปรียบเทียบกันได้ดังนี้
    ไครเส = เมืองแปร(Prome) = สุวัณณกูฏ
    เบซิงงา (Besynga) = เวสุงคะ = สุธรรมวดี (สะเทิม,Thaton)
    เบราไบ(Berabai) = เวราบถ = มะริด
    1)ไครเสก็คือเมืองแปร(Prome) ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีเกษตร(พุกาม) ของชนเผ่าปยูมาตั้งแต่
    คริสต์ศตวรรษที่ 1 และเป็นศูนย์กลางการค้า(ทองคำ?)ตั้งอยู่ในลำแม่น้ำอิระวดี ห่างจากย่างกุ้งไปทางทิศ
    ตะวันตกเฉียงเหนือ 260 กิโลเมตร และเดินทางออกสู่ทะเลได้ ไครเสเป็นเมืองท่าเรือติดต่อค้าขายกับเมือง
    ไมโสเลียในประเทศอินเดีย เพราะว่าไมโสเลียคือเมืองมาสูลิปะตัม อยู่ปากแม่น้ำกฤษณาในอินเดียใต้
    ไครเสอยู่ข้างเหนือของแคว้นอารกัน และมีเขตติดต่อกับเวสุงคะซึ่งควรเป็นเมืองสุธรรมวดี(สะเทิม,Thaton)
    2) เบซิงงาคือเวสุงคะ คือเมืองสุธรรมวดี(Thaton) เมืองหลวงของมอญโบราณ อยู่ระหว่างแม่น้ำสาละวินและแม่น้ำสะโตง....จดหมายเหตุที่ คลอดิอุส ปโตเลมีชาวกรีกเขียนตามคำให้การของอเล็กซานเดอร์ ตรงกันกับชื่อเมืองในบาลีมหานิทเทส ทุกประการ ตอนนี้เรารู้แล้วว่า กรีกเรียกไครเสคือดินแดนทองในพม่า ก็คือเมืองแปร(Prome) เป็นเมืองท่าลำเลียงทองไปยังเมืองมาสูลิปะตัมหรือเมืองท่าอื่นๆในอินเดีย

    ซึ่ง ผมตอบไปว่า...

    ขอบพระคุณมากๆ เลยครับ จะได้เก็บรวบรวมข้อมูลไว้ ที่น่าสนใจคือข้อมูลจาก บันทึกชาวตะวันตก เกี่ยวกับเมือง สุธรรมวดี(สะเทิม,Thaton) ถ้ามีข้อมูลย้อน ไปกว่านั้นได้ก็คงจะดีครับ..เพราะตำนานของมอญ ซึ่งผมอยากจะได้เห็นเหลือเกินที่ว่า...

    According to the Mon tradition, the Kingdom of Thaton was founded during the time of the Buddha, and was ruled by a dynasty of 59 kings.

    และข้อมูลที่อาจารย์ส่งมาให้อ่าน ก็มีความน่าสนใจครับ เรื่องที่ตั้งสุวรรณภูมิ..

    ในคัมภีร์อรรถกถา มีกล่าวว่า..

    ได้ยินว่า พ่อค้าชาวกรุงสาวัตถีและชาวกรุงปาฏลีบุตรเป็นอันมาก แล่นเรือไปยังสุวรรณภูมิ. บรรดาพ่อค้าเหล่านั้น พ่อค้าคนหนึ่งเป็นอุบาสก เกิดป่วยไข้ มีจิตปฏิพัทธ์ในมาตุคาม ได้ทำกาละแล้ว. เขาแม้ได้ทำกุศลไว้ก็ไม่เข้าถึงเทวโลก เกิดเป็นวิมานเปรตในท่ามกลางมหาสมุทร เพราะเป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์ในหญิง.
    ก็หญิงที่เขามีจิตปฏิพัทธ์นั้น ขึ้นเรือไปยังสุวรรณภูมิ.
    ลำดับนั้น เปรตนั้นประสงค์จะจับหญิงนั้น จึงปิดกั้นไม่ให้เรือไป.
    ลำดับนั้น พ่อค้าทั้งหลายพิจารณากันว่า เพราะเหตุอะไรหนอ เรือนี้จึงไม่แล่น จึงให้จับสลากคนกาฬกิณี สลากได้ถึงหญิงนั้นนั่นแหละถึง ๓ ครั้งโดยความสำเร็จของอมนุษย์. พวกพ่อค้าเห็นหญิงที่เขามีจิตปฏิพัทธ์นั้น จึงให้หย่อนแพไม้ไผ่ลงในสมุทร ให้หญิงนั้นลงไปอยู่บนแพไม้ไผ่นั้น. พอหญิงนั้นลงไป เรือก็แล่นบ่ายหน้าไปยังสุวรรณภูมิโดยเร็ว.
    อมนุษย์ยกหญิงนั้นขึ้นยังวิมานของตนอภิรมย์กับหญิงนั้น.
    ครั้นล่วงไป ๑ ปี หญิงนั้นเกิดเบื่อหน่าย เมื่อจะขอร้องเปรตนั้น จึงกล่าวว่า ดิฉันอยู่ในที่นี้ก็ไม่ได้เพื่อจะสร้างประโยชน์ในสัมปรายภพ ดีละท่านผู้นิรทุกข์ ขอท่านจงนำข้าพเจ้าไปเมืองปาฏลีบุตร.
    เปรตนั้นถูกหญิงนั้นอ้อนวอน จึงกล่าวคาถา :-
    สัตว์นรกบางพวกท่านก็เห็นแล้ว สัตว์เดียรัจฉาน เปรต อสุรกาย มนุษย์หรือเทวดาบางพวก ท่านก็เห็นแล้ว ผลกรรมของตน ท่านก็เห็นประจักษ์ด้วยตนเองแล้ว เราจะนำท่านไปส่งยังเมืองปาฏลีบุตร ท่านไปถึงเมืองปาฏลีบุตรแล้วจงทำกุศลกรรมให้มากเถิด.
    ...

    ตรงนี้ ก็น่าสนใจว่า เมืองสาวัตถี กับ เมืองปาฏลีบุตร ก็น่าจะเป็นเมืองท่า อยู่ชายฝั่งทะเล เช่นเดียว กับสุวรรณภูมิครับ

    กับ..

    ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา เสด็จอุบัติในโลก ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวร ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถีโดยลำดับ. พ่อค้าชาวกรุงสาวัตถี ๗๐๐ คนแล่นเรือไปสู่มหาสมุทรมุ่งไปยังสุวรรณภูมิ. นาวาที่พวกพ่อค้านั้นขึ้นไป ถูกกำลังลมพัดผันให้ปั่นป่วน จึงหมุนไปข้างโน้นข้างนี้ จนถึงประเทศที่นางเวมานิกเปรตนั้นอยู่.

    ...

    ผมว่า น่าคิดนะครับ ถ้าหากพิจารณาจากสภาพภูมิประเทศ ที่ตั้งเมืองสาวัตถี ที่อินเดีย ในปัจจุบัน ที่อยู่ห่างจากปากอ่าวเบงกอล ซึ่งเป็นระยะทางเดินเท้า ประมาณ 1300 กว่ากิโลเมตร อันนี้ผมคิดเองนะครับ เพราะเห็นว่า มีแผนที่เดินเรือโบราณ ออกจากท่า ตามรลิปติ ปากแม่น้ำคงคา และ มีผู้รู้ว่าไว้..

    ...โดยเฉพาะเส้นทางหลวงระหว่างตักศิลาถึงเมืองปาฏลีบุตร เมืองหลวงนั้นช่วยให้สินค้าจากโลกตะวันตกเหล่าน้ามารถเดินทางสู่เมืองหลวงได้สะดวกสบายเมื่อสินค้าไปถึงเมืองปาฏลีบุตรแล้วก็ส่งต่อไปยังเมืองตามรลิปติ (ตัมลุก) ซึ่งเป็นเมืองท่าที่ตั้งอยู่ปากแม่น้ำคงคา..

    ซึ่งก็อาจเป็นดังเขาว่าก็ได้...ที่พ่อค้า ชาวกรุงสาวัตถี ชาวปาตลีบุตร จะพากัน บรรทุกสินค้าเป็นคาราวานกองเกวียน มาที่ท่าที่ว่า แล้วมายังเมืองเมืองตามรลิปติ...แล้วว่าจ้างเรือ ข้ามมหาสมุทร มายังสุวรรณภูมิ

    แต่ก็มีเบาะแส น่าคิดจากอรรถกถา อีกตอนหนึ่งว่า...

    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงปรารภทานของอนาถบิณฑิกเศรษฐี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า นามํ ปตามิ นิรยํ ดังนี้.
    ...
    ฝ่ายคนผู้อาศัยการค้าขายเลี้ยงชีพเป็นอันมาก ทำหนังสือให้ไว้กับมือของท่านเศรษฐี กู้เอาทรัพย์ไปนับได้ ๑๘ โกฏิ. ท่านเศรษฐีให้ทวงเอาทรัพย์ของคนเหล่านั้นมา อนึ่ง ทรัพย์ ๑๘ โกฏิจำนวนอื่นซึ่งเป็นของประจำตระกูลของท่านเศรษฐีนั้น ฝังไว้ที่ฝั่งแม่นํ้า เมื่อฝั่งแม่นํ้าถูกนํ้าในแม่นํ้าอจิรวดีเซาะพังทลาย ก็เคลื่อนลงมหาสมุทรไป. ตุ่มโลหะ (ที่บรรจุทรัพย์) ตามที่ปิดไว้และประทับตราไว้นั้น ก็กลิ้งไปในท้องทะเล.

    ...

    ซึ่งถ้าพิจารณา จะเห็นว่า ถ้าสาวัตถี อยู่ที่รัฐอุตรประเทศ ประเทศอินเดีย ในปัจจุบัน ถ้า ตลิ่งแม่น้ำอจิรวดีพังลง...ทรัพย์ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี คงจะลอยตามน้ำมาไกลมาก กว่าจะเคลื่อนลงมหาสมุทร กลิ้งไปในท้องทะเล

    หรือว่า "สาวัตถี ที่จริงแล้ว อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล หรือมหาสมุทร"


    แต่..เมืองสาวัตถี จะอยู่ที่ไหนแน่..เพราะในพระราชพงศาวดารเหนือ ตอนพระมาลีเจดีย์ บอกว่า สาวัตถี อยู่ที่พม่า ครับ

    เพิ่มเติม นะครับ ในพม่าเองเขามีประวัติศาสตร์ของเขา แต่เราตีค่าเป็นเพียงตำนาน หรือ นิทาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังเมืองต่างๆ ในพม่า (มอญ) หรือ พระเจ้าอโศกมหาราช โปรดให้สร้างพระธาตุเจดีย์มากมาย ในประเทศพม่า (มอญ)...ก็คงพอๆ กับที่ "คนไทย" เราก็ดูถูก ตำนาน พงศาวดารของเราว่า เป็นเพียงนิทาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤษภาคม 2016
  14. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    เบาะแส จาก คัมภีร์มูลกัจจายนะ และพระปิดตาภควัมบดี กับข้าวต้มมัด

    ข้อมูลเก่า ที่ได้จากการสนทนา กับน้อง Halc Sea เมื่อ 3 ปีที่แล้ว มีเรื่องน่าสนใจ ที่น่าจะได้บันทึกไว้ เผื่อว่า จะมีท่านผู้ใด ต่อยอด เพื่อค้นหา "ความจริงที่สุด" ของ งานค้นคว้า เรื่อง "พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ประเทศไทยไม่ใช่อินเดีย" ดังว่า..

    โดย น้อง เขา เริ่ม จากที่ได้ฟังเสียงอ่านจากหนังสือ อ. วศิน เรื่องพระนางสามาวดี ว่าทีเมือง ชื่อ โกสัมพี แล้วเชื่อมไป ถึง แคว้น อุชเชนี ซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าจันฑปัชโชต เพราะ 2 แคว้นนี้มีเรื่องราวที่สมควรอยู่ใกล้กันจิงๆ พระเจ้าอุเทนแห่งแคว้นวังสะก็เคยถูกจับไปอยู่แคว้นอุชเชนีอยู่พักใหญ่ๆ จากเรื่องที่กล่าวไว้ ต้องเป็นเมืองที่อยู่ไม่ไกลกัน ตอนหลังสามารถหนีกลับเมืองได้ไม่ยากนัก
    ซึ่ง ทั้ง 2 แคว้นนี้ ผม กำหนด วางตำแหน่งไว้ ดังนี้ แคว้นวังสะ เมืองหลวงชื่อโกสัมพี ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ส่วน แคว้น อวันตี เมืองหลวงชื่อ อุชเชนี ตั้งอยู่ในพื้นที่ อุทัยธานี แล้วน้องเขาจึงถามต่อว่า ที่อุทัย มีอะไรที่ยังคงเหลือเรียกให้นึกถึงพระกัจจายนเถระ บ้างไม๊ครับ
    ซึ่ง ผม ก็ยอมรับว่า ไม่ได้ สืบค้นลงลึกมากนัก มีแต่เพียงข้อมูลเก่าๆ ที่ค้นหามาเก็บรวบรวมไว้ ที่ว่า

    พระภควัมบดี - ประวัติพระปิดตา
    ตำราการสร้างพระภควัมบดี (พระภควัมปติ) สิทธิการิยะ... ตำรา"พระครูเทพ" แห่งกรุงศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเกจิอาจารย์ได้ศึกษาสืบต่อกันมา "พระภควัมบดี หรือ พระภควัมปติ" นับว่าเป็นของวิเศษ ที่จะหาอะไรมาเปรียบได้ ฆราวาสก็ดี สมณะก็ดี ถ้าได้ทำตามตำราดังกล่าวนี้ จะทำให้มียศฐาบรรดาศักดิ์ เป็นใหญ่กว่าคนทั้งหลาย คำว่า "ภควัมบดี" หรือ "ภควัมปติ" แปลว่า "ผู้มีความงามละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า"
    ตำนานแห่งพระภควัมบดี หรือ พระภควัมปติ

    พระปิดตา หรือ พระภควัมบดี เป็นพระอรหันต์สมัยพุทธกาล มีพุทธลักษณะงดงามละม้ายคล้ายสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นอัครสาวกรูปหนึ่งที่เพียบพร้อมไปด้วยความเฉลียวฉลาดสามารถอธิบายธรรมได้ เยี่ยมยอดกว่าพระสาวกองค์อื่น ๆ
    พระภควัมบดี ถือกำเนิดในตระกูลพราหมณ์-ปุโรหิต แห่งเมืองอุชเชนี เนื่องจากวรรณะงดงามดังทองจึงได้รับการขนานนามว่า “กาญจน” ได้ศึกษาไตรเทพจนเจนจบและเป็นพราหมณ์ปุโรหิตแทนบิดาในสมัยพระเจ้าจันทร์ปัตโชติ ต่อมามีโอกาสได้ฟังธรรมในสำนักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดความเลื่อมใสและศึกษา ธรรมจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์และอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุสัมปทา
    ยามเยื้องย่างไปไหนมาไหนด้วยรูปร่างคล้ายพระพุทธเจ้า ทำให้ผู้คนเข้าใจผิดอยู่เนืองๆ ไม่เว้นแม้เทวดายังสรรเสริญ ท่านเห็นว่าหากปล่อยไว้ต่อไปจะเป็นการไม่สมควร จึงอธิษฐานจิตให้ร่างกลายเปลี่ยนเป็นอ้วน เตี้ย พุงพลุ้ย ดูน่าเกลียด จวบจนนิพพาน
    เกจิอาจารย์ต่างนิยมทำรูปพระเครื่อง พระภควัมบดี หรือพระปิดตา ให้เช่าบูชามานาน เชื่อว่าช่วยบันดาลโชคลาภ ให้ผู้ศรัทธาเจริญด้วยลาภยศสรรเสริญ ใครมีไว้ในครอบครองต่างหวงแหนกันมาก ท่านที่เคยทำมาแล้วก็จะได้เป็นใหญ่เป็นโตโดยทั่วกัน ถ้าผู้ใดต้องการให้ชีวิตตน มีความสุขความเจริญก้าวหน้า บังเกิดสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแก่ตน ทั้งปกป้อง คุ้มครองภยันตรายต่างๆ แก่ครอบครัว ตลอดจนวงศาคณาญาติ ให้ได้รับความสงบสุข ในโลกนี้ และโลกหน้า

    ซึ่งผมคิดว่า "ที่อินเดีย คงไม่มีใครสร้างพระปิดตา" มั้ง

    ผม search ประวัติพระมหากัจจายนะ แล้ว ไปเจอเรื่อง พระโสเรยยะ เลยค้น ต่อไปอีก ได้ เจอเรื่องพระโสเรยยะ จากพระอรรถกถา ดังนี้

    เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ลูกชายของโสไรยเศรษฐี ในโสไรยนคร นั่งบนยานน้อยกับสหายผู้หนึ่งออกไปจากนคร เพื่อประโยชน์จะอาบน้ำพร้อมกับบริวารเป็นอันมาก ขณะนั้น พระมหากัจจายนเถระ กำลังเดินไปสู่โสไรยนครเพื่อบิณฑบาต รัศมีแห่งสรีระของพระเถระมีสีเหมือนทองคำ ลูกชายของโสไรยเศรษฐี เห็นท่านแล้วจึงคิดว่า สวยจริงหนอ พระเถระรูปนี้ ควรเป็นภริยาของเรา หรือสีแห่งสรีระของภริยาของเรา พึงเป็นเหมือนสีแห่งสรีระของพระเถระนั้น ในขณะสักว่าเขาคิดแล้วเท่านั้น เศรษฐีบุตรก็กลายเพศไปเป็นหญิง ลูกชายของโสไรยเศรษฐีเกิดความอายจึงลงจากยานน้อยหนีไปทางที่ไปสู่เมืองตักกสิลา
    ผมอ่าน อรรถกถา ต่อไป ...

    นางได้พบกับเพื่อนเก่าแล้วเล่าเรื่องให้ฟัง
    ในกาลนั้น ลูกชายเศรษฐีผู้เป็นสหายของนาง (ออก) จากโสไรยนคร ไปสู่กรุงตักกสิลาด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม นั่งบนยานน้อยอันมีความสุขเข้าไปสู่พระนคร. ขณะนั้น นางเปิดหน้าต่างบนพื้นปราสาทชั้นบน ยืนดูระหว่างถนนอยู่ เห็นสหายนั้น จำเขาได้แม่นยำ จึงส่งสาวใช้ให้ไปเชิญเขามาแล้ว ให้นั่งบนพื้นมีค่ามาก ได้ทำสักการะและสัมมานะอย่างใหญ่โต.
    ท่านพระโสเรยยะ ซึ่งตอนนั้นมีเพศเป็นหญิง จึงได้เล่าเรื่องราวทั้งหลาย ให้สหายฟัง และนับว่าเป็นเรื่องโชคดีอย่างยิ่ง ที่ "พระมหากัจจายนะ" ได้เดินทางมาพำนักอยู่เมืองตักกศิลาพอดี สหายของพระโสเรยยะ จึงพาพระโสเรยยะไปขอขมาต่อพระมหากัจจายนะ พอพระเถระเอ่ยปากว่า “ฉันอดโทษให้” เท่านั้น เพศหญิงได้หายไป, เพศชายได้ปรากฏแล้ว. จากนั้นจึงขอบวชในสำนักพระพระมหากัจจายนะเถระ,ฝ่ายพระเถระให้เธอบรรพชาอุปสมบทเสร็จแล้ว พาเที่ยวจาริกไป ได้ไปถึงเมืองสาวัตถีโดยลำดับ. นามของท่านได้มีว่า “โสไรยเถระ.”

    ซึ่ง อนุมานได้ว่า เมืองตักศิลา อยู่ต่อกับเมืองสาวัตถี เดินทางไปมาหาสู่กันได้ไม่ยาก และเมืองโสเรยยะ ก็คงจะอยู่ ใกล้เมืองตักศิลา

    แต่เมื่อผม หลับตานึกถึง แผนที่ชมพูทวีปที่อยู่ที่อินเดีย เมืองตักกศิลาอยู่ที่ปากีสถาน ในขณะที่ เมืองสาวัตถีอยู่ที่ เมือง Sahet Mahet ดูตามแผนที่ชมพูทวีปที่อินเดีย จะเห็นว่า ทั้ง 2 เมืองนี้ กลับไม่ได้อยู่ใกล้กันเลย แถมมี แคว้นปัญจาละ,กุรุ,มัจฉะ และกัมโพชะ คั่นอยู่ และเมื่อใช้ Google map จับระยะ ระหว่าง Taxila ที่ปากีสถาน กับ สาวัตถี ที่ Sahet Mahet ในอินเดีย ได้ระยะทางห่างกัน ประมาณ 1,268 กิโลเมตร ไกลมากทีเดียว

    ตรงกันข้าม หากเทียบกับ แผนที่ ๑๖ มหาชนบท ในแผ่นดินไทย-พม่า ถ้า สาวัตถี อยู่ที่ เมือง Bilin และ ตักกศิลา อยู่ จังหวัดตาก 2 จุดนี้ อยู่ห่างกัน ประมาณ 307 กิโลเมตร ดู น่าจะมีความเป็นได้มากกว่า ซึ่ง เมื่อง โสเรยยะ ก็คงอยู่ ในรัศมีรอบๆ จังหวัดตาก นี่เองหล่ะ

    ยังไม่จบ น้องเขา ป้อนข้อมูลต่อ ...

    ผมมีอันนี้ครับ

    เสด็จพระพุทธดำเนินไปยังเมืองท่าปยาคะ ไม่ทรงแวะเมืองโสเรยยะ เมืองสังกัสสะ เมืองกัณณกุชชะ ทรงข้ามแม่น้ำคงคาที่เมืองท่าปยาคะ เสด็จพระพุทธดำเนินถึงพระนครพาราณสี ครั้นพระองค์ประทับอยู่ที่พระนครพาราณสีตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่พระนครเวสาลี เมื่อเสด็จจาริกไปโดยลำดับ ถึงพระนครเวสาลีนั้นแล้ว ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลีนั้น.

    นี่ละครับ ผมว่าสำคัญ
    พระองค์เสด็จจาก เมืองเวรัญชา
    ผมไม่แน่ใจว่าแคว้นใด
    แต่มีกล่าวว่าไม่ทรงแวะ สังกัสสะ โสยเรยยะ ... แต่ข้ามแม่น้ำคงคา เพื่อไปพาราณสี

    ดังนั้น เดาว่าถ้าจะแวะก็ได้ ซึ่งแสดงว่าต้องเป็นเมืองที่ไม่ไกลกันเกินไป
    น่าจะเกาะกลุ่มกัน

    วัดสังกัสรัตนคีรี...ที่อุทัยธานี

    วัดนี้ก็น่าสนใจนะครับอยู่ใน จ. อุทัย แต่เท่าที่ดูจากทำเลแล้ว สูงได้ที่ พอจะเป็นเมืองสังกัสสะได้เหมือนกัน และก็มีประเพณี วันพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์

    พระศาสดาตรัสว่า ...โมคคัลลานะ ในวันที่ ๗ แต่วันนี้ (ไป) เราจักลงที่ประตูเมืองสังกัสสะ ในวันมหาปวารณา ผู้ใคร่จะพบเรา ก็จงไปที่นั้นเถิด ก็แลสังกัสสนครจากกรุงสาวัตถี มีประมาณ ๓๐ โยชน์ ในทางเท่านั้น กิจที่จะต้องเตรียมเสบียง ย่อมไม่มีแก่ใครๆ เธอพึงบอกแก่คนเหล่านั้นว่า ‘ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้รักษาอุโบสถไป ดุจไปสู่วิหารใกล้เพื่อฟังธรรมเถิด.’

    ซึ่ง ระยะทาง 30 โยชน์ เท่ากับ 480 กิโลเมตร แค่นี้ ที่อินเดียก็ขัดแย้งกับพระอรรถกถาแล้ว

    เพราะ ที่อินเดีย อธิบายเมือง สังกัสสะว่า

    สังกัสสะสมัยพุทธกาล

    สังกัสสะ เป็นนคร ที่อยู่ในแคว้นปัญจาละ ห่างจากเมืองสาวัตถี 90 ไมล์ เป็นสถานที่ แวะพักผ่อน ในระหว่างทาง จากเมืองเวรัญชา ไปยังเมืองสหชาติ.

    ซึ่ง ระยะทาง 1 ไมล์เท่ากับ 1.6 กิโลเมตร ดังนั้น ระยะทาง 90 ไมล์ เท่ากับ 144 กิโลเมตร หรือแค่ 9 โยชน์เอง ขาดไป 21 โยชน์ หรือ 336 กิโลเมตร

    ซึ่ง ในอรรกถานั้น เมืองสังกัสสะ อยู่ห่างสาวัตถี 30 โยชน์ 480 กิโลเมตร ผมจึงบอกน้องเขาว่า เดี๊ยวจะลองเช็คระยะทางกับ เมือง Bilin ดู เพราะ เวลานี้ สันนิษฐานว่า เมืองสาวัตถี อยู่ที่เมือง Bilin ประเทศพม่า

    ผลปรากฏว่า ระยะทาง จากเมือง Bilin ถึงวัดสังกัสฯ ที่ จังหวัดอุทัยธานี ประมาณ 509 ซึ่งจาก ใช่ GG map ทางจะอ้อมคดเคี้ยวหน่อย แต่ ถ้าเดินลงมาทางกำแพงเพชร อาจลดระยะทาง และใกล้เคียง 480 กิโลเมตร
    ตรงนี้ น่าสนใจครับ เพราะก่อนนี้ ผมตั้งสมมติฐานที่ตั้งสาวัตถี ว่าอยู่ที่ Bago เลยมุ่งความสนใจไปที่ พุกาม ว่า เป็นที่ตั้ง เมืองสังกัสสะ

    แต่เมื่อ ตั้งสมมติฐานใหม่ว่า สาวัตถี อยู่ที่ Bilin ดูเหมือน ระยะทาง มาถึง วัดสังกัสฯ จะน่าสนใจทีเดียว แต่ไม่รู้ว่า ที่นี่ สืบต่อประเพณีตักบาตรเทโวมานานแค่ไหน คงจะต้องสืบค้นกันต่อไป โดยเฉพาะ ในบันทึกของชาวมอญ ซึ่ง มีประวัติความเป็นมายาวนาน และอาหารที่ชาวบ้านนิยมนำมาตักบาตรเทโว นอกจากจะเป็นข้าวปลาอาหารธรรมดาแล้ว จะมีข้าวต้มมัด ข้าวต้มลูกโยน หรือข้าวต้มผัดหรือที่เรียกว่า "ข้าวต้มมัด" แน่นอน ทำจาก "ข้าวเหนียว" ไม่ใช้ข้าวสาลี หรือโรตีแน่

    ข้าวต้มมัด ที่ทำจากข้าวเหนียว พืชพิเศษ ที่ปลูกขึ้นและเก็บเกี่ยวได้เฉพาะที่ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่จะพิสูจน์ทราบว่า พระพุทธศาสนา กำเนิดเกิดขึ้นในดินแดนอุษาคเนย์

    ในคำอธิบาย เมืองสังกัสสะที่อินเดีย เขาว่า..

    เมืองสังกัสสะ ในสมัยพุทธกาล อยู่ในแคว้นปัญจาละ ซึ่งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำคงคาตอนบน มีแคว้นโกศลอยู่ทางทิศตะวันออกและแคว้นกุรุรัฐ อยู่ทางทิศตะวันตกเมืองหลวงชื่อหัสดินปุระ เมืองสังกัสสะ ปัจจุบันชาวอินเดียเรียก สังกิสสะ Sankissa หรือ สัมกัสยะ Samkasya ในอดีตตั้งอยู่คู่กับเมือง กันยากุพชะ Kanyakubja ซึ่งปัจจุบันยังเป็นเมืองอยู่แต่ชื่อได้เปลี่ยนเป็นเมือง คานเน้าจ์ Kannauj ส่วนเมืองสังกัสสะได้ร้างไปเป็น Ruins ขึ้นอยูกับเมือง Farrukhabad ห่างออกไปจากเมืองประมาณ 47 กม.

    กับ คำอธิบายที่ว่า ...ปัจจุบัน เมืองสังกัสสะ ตั้งอยู่ห่างจากเมืองสาวัตถีไปประมาณ ๙๐ ไมล์ (144 กม.)

    นอกจากระยะทางจะขัดกับพระอรรถกถาแล้ว ยังต้องค้นหาว่า ในพระไตรปิฏก หรืออรรถกถา มีตรงไหนที่ระบุว่าสังกัสสะ อยู่ในแคว้นปัญจาละ บ้างหรือไม่ หรือเป็นเพียงอัตโนมติ คือ คิดเดาเอาเอง

    แต่ ถ้า ในพระไตรปิฏก หรืออรรถกถาระบุ ว่าสังกัสสะ อยู่ในแคว้นปัญจาละ แล้วข้อสมมติฐานของ ผม ก็อาจจะต้องเพิ่ม ข้อสมมติฐานที่ตั้งเมืองสังกัสสะ เพิ่มอีก 1 จุด นอกจากที่อุทัยธานี เป็นที่ นครสวรรค์ ซึ่ง มีระยะทางจาก เมือง Bilin มาถึง นครสวรรค์ ประมาณ 479 กิโลเมตร ใกล้เคียง 480 กม. หรือ 30 โยชน์ ซึ่งมี เขาดาวดึงส์ วัดคีรีวงศ์ นครสวรรค์ ที่มีเค้าชื่อ

    อย่างที่เรียนครับ ว่า นี่เป็นแต่เพียงข้อสมมติฐานที่ต้องพิสูจน์ให้ได้แน่ชัด โดยไม่มีข้อโต้แย้ง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤษภาคม 2016
  15. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ฤๅ แคว้นกัมโพชะ ซึ่งมีเมืองหลวงชื่อ ทวารกะหรือทวาราวดี จะอยู่ที่ลพบุรี (2)

    ศูนย์กลางทวาราวดี ในประเทศไทยอยู่ที่ไหน?

    เขาว่า...
    อาณาจักรทวารวดี มีศูนย์กลางอยู่ที่ใดไม่ปรากฏชัด สันนิษฐานว่า อาจอยู่ที่นครปฐมราชบุรี หรือสุพรรณบุรี เพราะทั้ง 3 แห่งนี้มีร่องรอย เมืองโบราณ ศิลปวัตถุ และโบราณสถานแบบทวารวดีเหมือนๆ กัน ศิลปวัฒนธรรมของทวารวดีส่วนใหญ่เป็นไปในทางพระพุทธศาสนา

    ซึ่งจดหมายเหตุจีนได้ระบุว่า อาณาจักรทวารวดีนี้มีวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างสูงมีความเจริญทางด้านการค้ามาก นอกจากนี้ ตำนานมูลศาสนา และตำนานจามเทวีวงศ์ซึ่งเป็นหลักฐานของไทยก็กล่าวถึงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรทวารวดีไว้เช่นกัน

    อาณาจักรทวารวดี เจริญรุ่งเรืองขึ้นในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 และได้แผ่อิทธิพลทางวัฒนธรรมที่รับมาจากอินเดียไปทั่วทุกภาคของประเทศโดยเฉพาะความเชื่อทางพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท คำว่า ทวารวดี ปรากฏในบันทึกการเดินทางของภิกษุจีนรูปหนึ่ง และได้เทียบคำว่า อาณาจักร โต-โล-โป-ตี้ หรือ ตว้อ-หลอ-ปอ-ตี้ ตามสำเนียงจีน ว่า ตรงกับคำว่า อาณาจักร ท-วา-ร-ว-ดี บันทึกการเดินทางของภิกษุจีน ซึ่งบันทึกไว้ราวพุทธศตวรรษที่ 13 หรือเมื่อประมาณ 1,300 ปีมาแล้ว

    กล่าวว่า เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ระหว่างอาณาจักรศรีเกษตร(ปัจจุบันอยู่ในประเทศพม่า)และอาณาจักรอิศานปุระ อยู่ในประเทศกัมพูชา ดังนั้นอาณาจักรทวารวดีจึงตั้งอยู่ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันจากการศึกษาของนักประวัติศาสตร์เชื่อว่าประชาชนของทวารวดีเป็นชาวมอญ อพยพมาจากแถบตะวันตกของจีนลงมาทางใต้ตามลำน้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน เข้าสู่พม่าตอนล่าง และดินแดนลุ่มน้ำเจ้าพระยา
    (จาก http://www.photoontour.com/SpecialP...family/History/Thawarawadee_kingdom_Sub01.htm )

    อาณาจักรทวารวดี เป็นที่น่าเชื่อถือขึ้นอีกเมื่อพบเหรียญเงิน ๒ เหรียญ มีจารึกภาษาสันสกฤตอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ จากเมืองนครปฐมโบราณ มีข้อความว่า ศรีทวารวดีศวรปุณ-ยะ ซึ่งแปลได้ว่า บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี หรือ บุญของผู้เป็นเจ้าแห่ง(ศรี)ทวารวดี หรือ พระเจ้าศรีทวารวดีผู้มีบุญอันประเสริฐ อาณาจักรทวารวดีจึงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่ามีอยู่จริง และยังเชื่อกันอีกด้วยว่าเมืองนครปฐมโบราณน่าจะเป็นศูนย์กลางหรือเมืองหลวงของอาณาจักร (แต่ปัจจุบันพบเหรียญลักษณะคล้ายกันอีก ๒ เหรียญ ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และที่อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ความสำคัญของเมืองนครปฐมจึงเปลี่ยนไป) แต่ขณะเดียวกันนักวิชาการบางท่านก็เชื่อว่าอำเภออู่ทอง หรืออาจเป็นจังหวัดลพบุรี ที่น่าจะเป็นเมืองหลวงมากกว่า อาณาเขตของอาณาจักร

    ....

    ผมได้พบเบาะแส ที่อาจจะยืนยันถึงที่ตั้งของ "เมืองทวารกะ" หรือ "เมืองทวารวดี" นครหลวงของแคว้นกัมโพชะ จะอยู่ที่ลพบรี หรือ ที่เมืองโบราณซับจำปา อ.ท่าหลวง จังหวัดลพบุรี

    โดย พิจารณา จากการที่ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากรท่านหนึ่ง ที่ได้ ไปชม "จารึกวัดจันทึก" ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย แล้ว ได้อ่านจารึก ที่มีคำว่า "ทวาราวดี"...และไม่ใช่ คำจารึกที่อยู่หลังเหรียญ ที่พบทั่วไปที่ว่า "บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี" เท่านั้น แต่ ยังเป็นเรื่องราวของพระมเหสี และพระธิดา ของพระราชาแห่งทวาราวดี

    ซึ่ง บังเอิญว่า เมื่อวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ คณะอาจารย์จากภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี ได้ไปสำรวจจารึกที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ระหว่างสำรวจอยู่นั้น คุณศิริพรรณ ธีรศิริโชติ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานฯ ได้นำจารึกอักษรปัลลวะชิ้นหนึ่ง มีความยาวประมาณ ๒๘ ซม. มาให้ดูว่าจะตรงตามบัญชีจารึกที่นำไปหรือไม่ เมื่อได้พิจารณาดูลักษณะวัตถุและรูปแบบตัวอักษรแล้ว จึงได้ลงความเห็นว่า จารึกชิ้นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของฐานบัวรองรับพระพุทธรูป ซึ่งได้จากวัดจันทึก ทั้งนี้เพราะทำด้วยศิลาประเภทเดียวกัน สามารถนำมาต่อกันเป็นวงได้ และมีหมายเลขวัตถุเดียวกัน อีกทั้งยังจารึกด้วยอักษรปัลลวะ ที่มีรูปแบบเหมือนกับจารึก ๒ ตอนที่ทางหอสมุดแห่งชาติได้อ่าน-แปลและพิมพ์เผยแพร่ไปแล้วอีกด้วย ส่วนของฐานบัวชิ้นใหม่นี้ มีข้อความอยู่ ๒ ตอน ตอนแรกเหลือตัวอักษรอยู่เพียง ๒ ตัวสุดท้าย ตอนที่ ๒ มีใจความครบถ้วน และตอนนี้เองที่มีจารึกคำว่า “ทวารวตี” ปรากฏอยู่

    คําอาน : กรรณิการ วิมลเกษม (พ.ศ.๒๕๔๒)
    ตอนที่ ๑ ……………………… ตว
    ตอนที่ ๒ สุตา(๑) ทฺวารวตีปเตะ(๒)
    ตอนที่ ๓ มูรฺตฺติมสฺถาปยทฺ เทวี
    ตอนที่ ๔ นฺตาถาคตี(๓) มามฺ

    คําแปล : จิรพัฒน ประพันธวิทยา (พ.ศ.๒๕๔๒)
    ตอนที่ ๑ (ขอความไมสมบูรณ)
    ตอนที่ ๒ – ๔ พระเทวี (มเหสี) ของเจาแหงทวารวดี ทรงบัญชาให พระธิดาสรางพระรูปของพระตถาคตนี้ไว

    ...

    ซึ่งอาจารย์จาก ม.ศิลปากร และเชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณ ที่ไปที่พิมาย วานนี้ (26 พ.ค.) ท่าน ตั้งข้อสังเกตด้วยความแปลกใจว่า จารึกหลักนี้ มาอยู่ที่ ปากช่อง นครราชสีมาได้อย่างไร ถ้า ศูนย์กลางทวาราวดี อยู่ที่ภาคกลาง (คือนครปฐม หรือ อู่ทอง สุพรรณบุรี)

    ที่ผม บอกว่า นี่อาจเป็นเบาะแส ก็เพราะว่า..ผมไม่แปลกใจว่า จารึกนี้ หรือจริงๆ เมื่อก่อนเป็นฐานรองรับ "พระพุทธรูป" มาอยู่ที่นี่ได้อย่างไร..ที่ไม่แปลกใจก็เพราะ ที่ตั้งของเมืองโบราณซับจำปา ที่ผมสันนิษฐานว่าคือ ที่ตั้งของเมือง "ทวารกะ หรือทวารวดี" นั้น อยู่ห่างจาก "นครจันทึก" ซึ่งเป็นเมืองโบราณ เช่นกัน อยู่ในระยะทาง ที่เดินเท้า ไปได้ เพียงแค่ใน 1 วัน เท่านั้น นั่นเอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤษภาคม 2016
  16. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    เบาะแส ที่ตั้ง "ลังกาทวีป" ที่อยู่ในบันทึกตำนาน อุษาคเนย์

    เบาะแส ที่ตั้ง "ลังกาทวีป" ที่อยู่ในบันทึกตำนาน อุษาคเนย์

    จะขอ ตำนานพระบาง ที่ปรากฏอยู่ใน “ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕” รวบรวมโดย กรมศิลปากร ตอน “ พงศาวดารเมืองหลวงพระบาง ตามฉบับที่มีอยู่ในศาลาลูกขุน” ซึ่งจะขอคัดลอกมาแต่พอเป็นสังเขป ดังนี้

    ประวัติพระบาง (ช่วงต้น)
    คัดจากพงศาวดารเมืองหลวงพระบาง

    ๏ แต่ครั้งศักราช ๒๓๖ พระวัสสา มีพระอรหันต์องค์หนึ่งชื่อว่าพระจุลนาคเถรอยู่ในเมืองลังกาทวีป ประกอบด้วยพระไตรปิฏกคิดจะให้พระสาสนารุ่งเรืองไปตราบเท่าถ้วนถึง ๕๐๐๐ พระวัสสา พระองค์จึงพิเคราะห์ด้วยเหตุจะสร้างรูปพระปฏิมากร จึงให้คนไปป่าวร้องชาวเมืองลังกาทวีปให้มาพร้อมกันแล้ว ให้ช่างปั้นรูปพระพุทธเจ้ายกพระหัดถ์ทั้งสองขึ้นห้าม เมื่อพระยากบิลพัสดุ์ พระยาโกลีย ยกไพร่พลมารบกันริมน้ำโรหินี ครั้นปั้นเสร็จแล้ว คนทั้งหลายก็เอาเงินแลทองคำ, แลทองแดง, ทองเหลืองมาให้พระจุลนาคเถรหล่อรูปพระปฏิมากร แล้วชาวเมืองลังกาก็พากันทำสักการบูชาต่าง ๆพระจุลนาคเถร พระยาลังกาพร้อมกันยกเอารูปพระปฏิมากรขึ้นตั้งไว้ในปราสาทขนานนามตั้งว่าพระบาง แล้วพระจุลนาคเถรจึงเชิญพระบรมธาติ ๕ พระองค์ ใส่ผอบแก้วขึ้นตั้งไว้บนอาศนทองตรงพระภักตร์พระบาง อธิฐานว่าพระบางองค์นี้จะได้เปนที่ไหว้ ที่บูชาแก่เทพยดามนุษย์ทั้งหลายถาวรสืบไปถึง ๕๐๐๐ พระวัสสา ก็ขอให้พระบรมธาตุ ๕ พระองค์เสด็จเข้าสถิตย์อยู่ในรูปพระบางนั้น แล้ว พระบรมธาตุเสด็จเข้าอยู่ที่พระนลาตองค์ ๑ อยู่ที่พระหณุองค์๑ อยู่ที่พระอุระองค์๑ อยู่พระหัตถ์เบื้องขวาองค์๑ อยู่พระหัดถ์เบื้องซ้ายองค์ ๑ แล้วพระบางก็ทำปาฏิหารมหัศจรรย์ต่างๆ ได้มีการสมโภช๗ วัน ๗ คืน ครั้นพระสาสนาล่วงมาถึง ๔๑๘ พระวัสสา พระยาสุบินราชได้เปนพระเจ้าแผ่นดินเมืองลังกาทวีป พระยาศรีจุลราชได้เปนเจ้าแผ่นดินเมืองอินทปัตนคร มีความเสนหารักใคร่แก่กัน พระยาศรีจุลราช จึงแต่งราชทูตถือพระราชสาสนลงสำเภาไปยังเมืองลังกาทวีป ขอเชิญพระบางมาทำสักการบูชา พระยาสุบินราชจึงเชิญพระบางมอบ ให้ราชทูตไปยังเมืองอินทปัตนคร แล้วเจ้าเมืองอินทปัตนครแห่พระบางขึ้นไว้ในพระวิหารกลางเมือง มีการสมโภช ๗ วัน ๗ คืนพระบางนั้นสูงแต่ฝ่าพระบาทถึงยอดพระเมาฬีสองศอกเจ็ดนิ้ว ทองหนัก ๔๒ ชั่ง ๑ ตำลึง

    ๏ อยู่มาเจ้าเมืองอินทปัตนครให้หาพระยาฟ้างุ้มบุตรเขย ลงไปเมืองอินทปัตนคร ให้โอวาทสั่งสอนไม่ให้ยกกองทัพไปเที่ยวตีนานาประเทศ ให้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมรับศีลห้าในพระวิหารพระบาง แล้วยกเขตรแขวงเมืองอินทปัตนคร ตั้งแต่ลี่ผีขึ้นไปให้ขึ้นเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว แล้วพระยาฟ้างุ้มขอเชิญพระบางขึ้นไปเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวด้วย ครั้นขึ้นไปถึงเมืองเวียงคำ พระยาเวียงคำขอเชิญพระบางไว้ทำสักการบูชา พระยาฟ้างุ้มจึงพา ไพร่พลขึ้นในเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว

    ๏ ศักราช ๗๘๙ ปีมะเมียนพศก ท้าวพระยาพร้อมกันตั้งท้าวฦาไชยบุตรพระยาสามแสนไทที่ ๓ เปนพระไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วเจ้าเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวต่อมา พระไชยจักพรรดิแผ่นแผ้วให้ท้าวพระยาลงไปเชิญพระบาง ณ เมืองเวียงคำ ใส่เรือขึ้นมาถึงแก่งจันใต้เมืองเชียงคานเรือล่มพระบางจมน้ำหายไป อยู่มาพระบางก็กลับไปประดิษฐานอยู่ในพระวิหารเมืองเวียงคำดังเก่า

    ๏ ศักราช ๘๓๘ ปีวอกอัฐศก ท้าวพระยาพร้อมกันยกท้าวราชแสนไทบุตรพระยาสามแสนไทที่ ๗ เปนพระยาล่าน้ำแสนไทไตรภูวนารถเจ้าเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว แล้วให้ท้าวพระยาไปเชิญพระบางที่เมืองเวียงคำ มาไว้วัดเชียงกลางเมืองศรสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว พระยาล่าน้ำแสนไทจึงสร้างพระวิหารหลังหนึ่งชื่อวัดมโนรมย์ เชิญพระบางมาประดิษฐานไว้ในวิหาร

    ๏ ศักราช ๘๕๘ ปีมโรงอัฐศก ท้าวพระยาพร้อมกันยก ท้าวภูเพบุตรพระไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วที่ ๒ เปนเจ้าเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว เรียก่าพระยาวิชุลราชธิบดี ๆ สร้างพระอุโบสถหลังหนึ่ง เชิญพระบางประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ วัดวิชุลราช

    ๏ ศักราช ๘๗๘ ปีชวดอัฐศก ท้าวโพธิสาระบุตรพระยาวิชุลราชได้เปนเจ้าเมือง เรียกว่าพระยาโพธิสาระล้านช้างร่มขาว อยู่มาพระแซกคำเดิมอยู่ในพระวิหารวัดเมืองเชียงใหม่ เสด็จมาประดิษฐานอยู่ร่วมแท่นใหญ่กับพระบางที่วัดวิชุลราชธาราม เมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว พระยาพรหมราชเจ้าเมืองเชียงใหม่รู้ว่าพระแซกคำหายไป จึงแต่งให้แสนท้าวคุมไพร่ ๒๐ คนไปเที่ยวหาตามหัวเมืองนานาประเทศ จึงแต่งให้แสนท้าวคุมไพร่ ๒๐ คนไปเที่ยวหาตามหัวเมืองนานาประเทศ มาพบพระแซกคำอยู่ในพระอุโบสถวัดวิชุลราชธาราม ครั้นดึกประมาณ ๒ ยามเสศ คนเมืองเชียงใหม่พากันตัดน่าต่างเข้าไปยกเอาพระแซกคำ พวกซึ่งรักษาอุโบสถตื่นขึ้นจับพวกเมืองเชียง ใหม่ได้ทั้ง ๒๐ คน พระยาโพธิสาระให้ยกโทษเสีย ปล่อยตัวกลับไปเมืองเชียงใหม่

    ๏ จุลศักราช ๙๒๑ ปีมแมเอกศก พระเจ้าหงษาวดียกกองทัพขึ้นไปตีเมืองศรีสัตนาคนหุต ได้สู้รบกันเปนสามารถ กองทัพพระเจ้า หงษาวดีเหลือกำลังหักเอาเมืองมิได้ก็เลิกทัพกลับไป พระไชยเชษฐาธิราชครองเมืองเชียงแสนได้ ๙ ปี ในศักราช ๙๒๑ ปีมแมเอกศก ให้ท้าวพระยาอยู่รักษาเมืองศรีสัตนาคนหุต, เมืองเชียงแสนพระไชยเชษฐาธิราชลงมาตั้งเมืองเวียงจันท์ มีนามว่าเมืองจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว แต่พระบาง พระแก้วมรกฎ พระแซกคำอยู่วัดวิชุลราชธรารามเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว จึ่งเปลี่ยนนามว่า เมืองหลวงพระบางราชธานีศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว

    ...

    จาก พงศาวดารเมืองหลวงพระบางข้างต้น จะเห็นถึงความสัมพันธ์ ระหว่าง เมืองหลวงพระบาง เมืองอินทปัตนคร คือ กัมพูชา และ "ลังกาทวีป" โดยมีพระบาง เป็น สื่อเชื่อม 3 แผ่นดิน..

    เนื่องจาก ข้อมูลที่รวบรวมมา...ตั้งข้อสมมติฐานไว้ว่า ชมพูทวีป อยู่ในภาคอีสาน-ภาคกลางของไทย และพม่าตอนใต้...ดังนั้น "ลังกาทวีป จึงถูกวางไว้ที่ ภาคใต้ของประเทศไทย"

    โดย จุดแรกที่ "วิชัยกุมาร" โอรสของพระเจ้าสีหพาหุ อพยพไพร่พล ล่องเรือจาก วังกนคร (สิงห์บุรี-ประเทศไทย) ลงมาตั้งรกรากที่เกาะสีหล หรือเกาะลังกา ในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันปรินิพพาน นั้น อยู่ที่ "อำเภอสิงหนคร-ซึ่งมีดินสีแดง" จึงมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า "ตัมพปัณณิทวีป-เกาะคนฝ่ามือแดง"

    ...

    เพื่อ สอบสมมติฐานเบื้องต้น ผมจึงได้สอบถาม ไปยังนักวิชาการที่อยู่ในพื้นที่ทางใต้ ว่า..ตามรูปลักษณะของ "พระบาง" ..พอจะมีเค้า ใกล้เคียงกับพระพุทธรูปแถบภาคใต้บ้างมั๊ยครับอาจารย์....

    ซึ่ง ท่าน อาจารย์ พ. ได้ตอบมา ว่า..เป็นพระพุทธรูปปางที่มีคตินิยมในการสร้างกันทั่วไปในภาคใต้พบมีอยู่ตามวัดโบราณทั่วไป เป็นฝืมือคนพื้นถิ่นบ้าง หรือมาจากต่างถิ่นบ้าง (พิจารณาจากฝีมือการสร้าง) ดูเหมือนว่าจะเรียกว่าปางห้ามสมุทร หรือปางเปิดโลก ชาวใต้นิยมอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนบุษบกเรือพระชักลากแห่แหนในวันออกพรรษา อย่างไรก็ตามต้องศึกษาวิเคราะห์อย่างละเอียดโดยผู้เชี่ยญชาญอีกครั้งหนึ่ง นี่เป็นเพียงขัอสมมติฐานเบื้องต้นครับ ศักราชที่ระบุในประวัติพระบางเป็นจุลศักราช ไม่ใช่พุทธศักราช..ส่วนประเด็นที่ท่านธนบดีนำเสนอ เรื่องลังกาทวีปว่าน่าจะมิใช่ซีลอน แต่อาจจะเป็นลังกาสุกกะก็มีปฏิสัมพันธ์ ประวัติพระบางและพระแก้วมรกตที่นักประวัติศาสตร์หลายสำนักเห็นคล้อยตามกันส่วนใหญ่ครับ

    ผม... จึงได้ตอบไปว่า..ตามพงศาวดาร กำหนดเป็นพระพุทธศักราชนะครับอาจารย์ ปี 236 คือปีที่พระมหินทเถระ ได้เดินทางไปเผยแผ่พระศาสนาที่ลังกาทวีป พระจุลนาคเถระ ก็คือพระจุลนาคเถระในอรรถกถา ครับ

    พระบางคงจะเป็นพระพุทธรูปองค์แรกที่สร้างในลังกา และองค์สำคัญอีกองค์คือ พระสีหลปฏิมา หรือพระพุทธสิหิงค์ ปี พ.ศ. 700 ครับ

    อาจารย์ พ. เหรอครับ ย่อหน้าแรกระบุศักราช 236 มาตามลำดับ แต่ย่อหน้าสุดท้ายระบุ จุลศักราช 921? 236+1181=1417 ดูพอจะอนุมาณได้ไหมครับ?

    ผม..แต่ครั้ง ศักราช 236 พระวัสสา..
    จ.ศ. เริ่ม 1182 ช่วงการสร้างจึงระบุปี นับแต่ปรินิพพาน ตรงกับอัญชนศักราช 148 อันเป็นศักราชโหรเก่า ก่อนลบศักราช แล้วตั้ง พุทธศักราชครับ

    อาจารย์ พ. ประมาณ 10 ปีที่แล้วชาวประมงพบพระพุทธรูปปางเปิดโลกที่ว่าในทะเลสาบสงขลาสันนิษฐานว่าเก่าแก่มาก (ผมไม่ได้เห็นเจ้าอาวาสวัดสะทังใหญ่เล่าให้ฟัง) ชาวบ้านนำมาไว้ที่วัด มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้นำไปถวายเชื้อพระวงศ์ท่านหนึ่ง เลยไม่ได้รับการตรวจทางวิชาการเลยครับ

    ผม...อืมม...พระบาง เป็นปางห้ามญาติ (แย่งน้ำทำนา) ตามตำนาน และอาจเป็นต้นแบบของการสรา้งพระพระพุทธรูปในภาคใต้ต่อๆ มา
    ประการหนึ่ง ต้องพิสูจน์ แหล่งโบราณคดีในภาคใต้ ว่า มีอายุย้อนไป 2,500-3,000 ปี

    อาจารย์ พ. ประเด็นหลังคงต้องใช้เวลานานมากครับ ปัจจุบันภาคใต้ก็พบพระพุทธรูปอายุก็แค่พันกว่าปีเองครับ

    ผม..หมายถึง แหล่งโบราณคดี ครับอาจารย์ โครงกระดูก ข้าวของเครื่องใช้..ในคาบสมุทรสทิงพระ นี่หล่ะครับ...อาจารย์ว่า จะพอมีเค้ามั๊ยครับ...เพราะ จากวัดวัดพะโคะ ก็ว่า พ.ศ. 500 ก็มีประวัติเจ้าอาวาสวัดแล้ว หรือ 2,000 กว่าปีมาแล้วครับ ที่ผมได้อ่านจากประวัติวัดครับ

    อาจารย์ พ. อ้อถ้าโครงกระดูกเฉพาะที่ถ้ำหมอเขียว กระบี่ ก็ปาเข้าไป 25,000 ปีแล้วครับ สำนักเขาอ้อพัทลุง 2,000 ปี พระพุทธนิมิตร พัทลุง ก็ 1,000 กว่าปีแล้วครับ

    ผม..นี่หล่ะครับ ที่ทำให้ผมมั่นใจว่า จะต้องได้พบ หลักฐาน ในอนาคตแน่

    อาจารย์ พ. ที่พัทลุง ตรัง สุราษฎร์ ปัตตานี พบพระพิมพ์ดินดิบสมัยสมาพันธรัฐศรีวิชัย นครศรีธรรมราชมีจารึกสมัยศรีวิชัยท่ีเขาช่องคอย รวมทั้งวัดถ้ำยะลา ฯลฯ มีอีกมากมายครับ

    ...

    เอาเป็นว่า รอดูกันต่อไป ว่า เราจะได้พบอะไร เพราะสิ่งที่ผมต้องการคือ "จารึกโบราณครับที่ระบุศักราช ย้อนไปถึง 2500 กว่าปีที่แล้วครับ"

    อีก เบาะแสหนึ่งเล็กน้อย ครับ คือ "พระแก้วมรกต"

    ตำนานพระแก้วมรกต ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ดินแดนกรุงอินทปัตมหานคร ประเทศกัมพูชา ในปัจจุบันกับลังกาทวีป ซึ่งเหตุการณ์ในช่วงที่ พระแก้วมรกต จะได้ถูกอัญเชิญมาที่กรุงอินทปัตมหานครนี้ แม้จะยังดูสับสน ว่า ถูกอัญเชิญ มาในสมัย พระพุทธโฆษาจารย์ กลับจากไปแปลอรรถกถาจากภาษาสีหล เป็นภาษามคธ หรือ ในสมัยพระเจ้าอนุรุธราชาธิราช ครองราชย์ที่เมืองพุกาม แต่ก็มีความตอนท้ายคล้ายกัน คือ พระแก้วมรกต ได้ถูกอัญเชิญจากกรุงลังกา มาที่กรุงอินทปัตมหานคร ประเทศกัมพูชา ดัง ความใน พระราชพงศาวดารเหนือ ตอนขึ้นต้น บันทึกไว้ว่า
    เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ วันอังคาร เดือนหก ขึ้นสิบห้าค่ำ ปีมะเส็ง สัมฤทธิศก พระอาจารย์เจ้าได้ตั้งปีมะเมีย เป็นเอกศก เมื่อล่วงแล้วสี่เดือน พระเจ้าอชาตศัตรู ได้ชุมนุมพระอรหันต์ทำปฐมสังคายนา เมื่อล่วงไปได้ ๑๐๐ ปี จุลศักราช ๑๑ ปี พระเจ้ากาลาโสกราช ทำทุติยสังคายนา เมื่อล่วงไปแล้วได้ ๒๑๘ ปี จุลศักราช ๓๙ ปี พระเจ้าศรีธรรมาโสกราช ทำตติยสังคายนา เมื่อล่วงไปได้ ๒๓๘ ปี จุลศักราช ๑๑๓ ปี พระมหินทรเถรเจ้า ทำจตุตถสังคายนา เมื่อล่วงไปได้ ๔๓๓ ปี พระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย ในลังกาทวีปชุมนุมพระอรหันต์มากกว่า ๑,๐๐๐ ทำปัญจมสังคายนา แล้วจารลงใบลานเป็นอักษรลังกา เมื่อล่วงไปได้ ๙๕๖ ปี พระพุทธโฆษาจารย์ไปแปลธรรมในลังกาแล้วได้อาราธนาพระแก้วมรกต ซึ่งสถิตย์อยู่เมืองลังกา เข้ามาเรือซัดไปเข้าปากน้ำบันทายมาศ
    ...

    ตรงนี้ คือ เบาะแสหนึ่งว่า "พระพุทธโฆษาจารย์ ไม่ได้กลับไปชมพูทวีปที่อินเดีย" กับ "ลังกาน่าจะอยู่ที่ภาคใต้ เรือจึง ถูกคลื่นลม คลื่นทะเลซัดไปถึงปากน้ำบันทายมาศ"

    ฝากไว้พิจารณาครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 พฤษภาคม 2016
  17. Ezali

    Ezali สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 พฤษภาคม 2016
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +1
    สภาพแวดล้อมที่สวยงาม, ความงามสวยงามสีสันสวยงาม
    ขอแสดงความยินดี

    voyance gratuite par email
     
  18. พาทัศน์

    พาทัศน์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +86
    เมื่อยังสรุปเด่นชัดเรื่องแม่น้ำไม่ได้ก็เอาไว้ก่อนก็ได้ครับ เพราะผมยังเชื่อว่าในระยะ2000ีการเปลี่ยนเส้นงของสายเเม่น้ำไม่น่าจะมากมายักยกเว้นเกิดเหตุธรรมชาติรุนแรงซึ่งน่าจะมีบันทึกบ้าง

    คำถามข้อต่อมานะครับเรื่องการการสังคายนาพระไตรปิฎก

    ก็จะไม่ขอกล่าวในการสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งแรกหรือหรือ 2 หรือ3 แม้ครั้งที่3 ที่สมัยพระเจ้าอโศก เพราะคุณอกมีข้อเเย้งอยู่ แต่ผมขอเสริมนิดนึงเรื่องเสาหินนะครับ
    คือตามวิกีบอกว่า เสาอโศกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี สถานที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา เป็นเสาที่หักเป็นสี่ท่อน แต่ว่ารูปสลักรูปสิงห์สี่ทิศบนเสายังคงมีสภาพสมบูรณ์ ปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้นำรูปสลักที่เสานี้มาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ และก็มีการพบ ที่รัฐพิหาร จังหวัดจัมปารัน เมืองเลาลิยะนันดันท์ ใกล้เขตแดนประเทศเนปาล ที่เมื่องไทยก็ยังไม่มีหลักฐานเด่นชัดเรื่องเสาหินอโศก
    แต่ก็เอาเถอะครับ ก็อาจเป็นการสร้างหลักฐานขึ้นมากได้

    เรื่องสังคายนาพระไตรปิฎกต่อแล้วกัน
    ในการสังคายนาครั้งที่ 4เกิดขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 643 ที่เมืองชาลันธร แต่บางหลักฐานก็กล่าวว่าทำที่กัศมีร์หรือแคชเมียร์ ตอนเหนือของประเทศอินเดีย เป็นการผสมผสานลักษณะของศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน พระเจ้ากนิษกะ ได้ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งนี้ หลักฐานทิเบตกล่าว่า มีพระอรหันตสาวก 500 รูป พระโพธิสัตว์ 500 และมีบัณฑิตอีก 500 เข้าร่วมในการทำสังคายนาครั้งนี้ และมีการมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรบนแผ่นทองเหลือง (พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต), พระพุทธศาสนาในอาเซีย. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา 2540, หน้า 342)นการสังคายนาครั้งนี้ มหายานแยกตัวออกไปอย่างชัดเจนและเจริญรุ่งเรืองแพร่หลาย มีพระสงฆ์และชาวพุทธสำคัญเป็นปราชญ์ เป็นที่ปรึกษา เป็นกวีในราชสำนัก ทรงส่งสมณทูตไปประกาศพระศาสนาในอาเซียกลาง ซึ่งทำให้พระพุทธศาสนาแพร่หลายไปยัง จีน เกาหลี มองโกเลีย และญี่ปุ่น ในสมัยต่อมาทรงสร้างสถูปและวัดวาอารามเป็นอันมาก และเป็นสมัยที่ศิลปะแบบคันธาระ เจริญถึงขีดสุด

    เอาแค่นี้ก่อนนะครับ จะมีข้อสงสัยตามมาอีกนะครับ
     
  19. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ก. เรื่องเสาอโศก (ที่เขาว่าที่อินเดีย) ดังที่เรียน ครับ
    1. ไม่มีหลักใดที่มีชื่ออโศก นอกจากในวงเล็บที่นักโบราณคดี พยายามโยงให้เป็นพระเจ้าอโศก เพราะทุกหลัก ถ้าเขาไม่อ่านผิดนะครับ จะมีแต่ "เทวานัมปิยทัสสี"
    2. ไม่มีหลักใด ที่มีหลักธรรมคามพระไตรปิฎก ที่เป็นภาษาบาลี เลย
    3. พระเจ้าเทวานัมปิยทัสสี ที่ อินเดีย เมื่อไล่ลำดับตาม Timeline ต้องอยู่หลังพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ตามด้วยพระเจ้าปู่ พระราชบิดา ทำให้ พระเจ้าเทวานัมปิยทัสสี ที่อินเดีย เกิดมาลืมตามองดูโลกในปี พ.ศ. 240 (หลังการสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 3)

    ข. เรื่องการสังคายนา ที่แคชเมียร์ หรือที่ใด จะนับต่อเป็นครั้งที่เท่าใดก็ตาม...ไม่ใช่ของฝ่ายเถรวาท ..ที่สืบต่อ มาดังที่ประเทศสยาม พม่า มอญ ลาว สืบต่อคัมภีร์พระไตรปิฎก และอรรถกถา มาจนถึงปัจจุบันครับ...

    อรรถกถาจารย์ ได้ กล่าวไว้ใน คัมภีร์อรรถกถา แม้แต่ สงฆ์ ที่แตกออกไป ตั้งแต่ ก่อนการสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 3 ท่านจึงไม่ยอมรับ ดังว่า..

    ก็ภิกษุวัชชีบุตรมีประมาณ ๑๐,๐๐๐ รูป ถูกพระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายข่มขู่แล้ว คือติเตียนแล้ว จึงแสวงหาพวก ครั้นได้พวกที่เป็นทุพพลวะ อันสมควรแก่ตนก็จัดตั้งสำนักตระกูลอาจารย์ใหม่ ชื่อว่ามหาสังฆิกะ แปลว่าพวกมาก ตระกูลอาจารย์ ๒ พวกอื่นอีกเกิดขึ้น คือโคกุลิกะและเอกัพโยหาริกะ ซึ่งแตกแยกมาจากตระกูลอาจารย์มหาสังฆิกะนั้น. ตระกูลอาจารย์ ๒ พวกอื่นอีก คือบัญญัตติวาทะและพหุลิยะ ซึ่งมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า พหุสสุติกะ แตกแยกมาจากนิกายโคกุลิกะ. อาจริยวาทอื่นอีกชื่อว่าเจติยวาท เกิดขึ้นแล้วในระหว่างนิกายพหุลิยะนั้น นั่นแหละ. ในร้อยแห่งปีที่ ๒ คือ ภายในพระพุทธศักราช ๒๐๐ ปี ตระกูลอาจารย์ทั้ง ๕ ตระกูลเกิดขึ้นจากตระกูลอาจารย์มหาสังฆิกะด้วยประการฉะนี้. ตระกูลอาจารย์ทั้ง ๕ เหล่านั้น รวมกับมหาสังฆิกะเดิม ๑ ก็เป็น ๖ ตระกูลด้วยกัน.
    ในร้อยแห่งปีที่ ๒ นั้นนั่นแหละ อาจริยวาททั้ง ๒ คือมหิสาสกะและวัชชีปุตตกะเกิดขึ้น แตกแยกมาจากเถรวาท. ในบรรดาอาจริยวาททั้ง ๒ นั้น อาจริยวาททั้ง ๔ คือ :-
    ธัมมุตตริยะ ๑ ภัทรยานิกะ ๑ ฉันนาคาริกะ ๑ สมิติยะ ๑ เกิดขึ้นเพราะแตกแยกมาจากนิกายวัชชีปุตตกะ.
    ในร้อยแห่งปีที่ ๒ นั้นนั่นแหละ อาจริยวาท ๒ พวก คือ :-
    สัพพัตถิกวาทะและธัมมคุตติกะ เกิดขึ้นเพราะการแตกแยกมาจากตระกูลอาจารย์มหิสาสกะอีก. นิกายชื่อว่ากัสสปิกะ เกิดขึ้นเพราะแตกแยกจากตระกูล สัพพัตถิกวาทะอีก. เมื่อนิกายกัสสปิกะทั้งหลายแตกกันแล้วก็เป็นเหตุให้นิกายชื่อว่า สังกันติกะอื่นอีกเกิดขึ้น เมื่อนิกายสังกันติกะทั้งหลายแตกกันแล้ว นิกายชื่อว่าสุตตวาทะ ก็เกิดขึ้น. อาจริยวาท ๑๑ นิกายเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว เพราะแตกแยกมาจากเถรวาทอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. อาจริยวาท ๑๑ นิกายเหล่านี้รวมกับเถรวาทเดิมก็เป็น ๑๒ นิกาย.
    ในร้อยแห่งปีที่ ๒ คือ ภายในพระพุทธศักราช ๒๐๐ ปี อาจริยวาทคือลัทธิแห่งอาจารย์ ทั้งหมดรวม ๑๘ นิกาย คือ ๑๒ นิกายที่แยกมาจากเถรวาทเหล่านี้ และนิกายอาจริยวาท ๖ ที่แตกแยกมาจากตระกูลอาจารย์มหาสังฆิกะทั้งหลาย ฉะนี้แล.
    คำว่า นิกาย ๑๘ นิกายก็ดี ตระกูลอาจารย์ ๑๘ ตระกูลก็ดี เป็นชื่อของนิกายที่กล่าวมาแล้วเหล่านั้น นั่นแหละ. อนึ่งบรรดานิกาย ๑๘ นิกายเหล่านั้น ๑๗ นิกาย บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นนิกายที่แตกแยกกันมา ส่วนเถรวาท บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นนิกายที่ไม่แตกกัน.

    ๑. ภิกษุผู้ลามกทั้งหลาย ผู้เป็นชาววัชชีบุตรผู้เป็นอธรรมวาที ถูกพระเถระผู้เป็นธรรมวาทีทั้งหลายขับออกแล้ว ได้พวกอื่นจึงตั้งคณาขารย์ใหม่.
    ๒. ภิกษุ๑- เหล่านั้นมีประมาณหมื่นรูปได้ประชุมกันรวบรวม คือทำการร้อยกรองพระธรรมวินัย เพราะฉะนั้น การร้อยกรองพระธรรมวินัยนี้ ท่านจึงเรียกว่า "มหาสังคีติ" แปลว่า การร้อยกรองใหญ่.
    ____________________________
    ๑- ภิกษุประมาณหมื่นรูปเหล่านั้นในที่นี้หมายถึงภิกษุวัชชีบุตร แต่ในที่บางแห่งกล่าวว่าเป็นภิกษุพวกพระมหาเทพ ซึ่งให้กำเนิดนิกายมหาสิงฆิกวาที ปราวน ย่อว่า พระมหาเทพเป็นบุตรพ่อค้าขายเครื่องหอมในแคว้นอวันตี ท่านอุปสมบทที่เมืองปาฏลีแคว้นมคธ เป็นผู้เรียนพระไตรปิฎกแตกฉาน วันหนึ่ง ถึงวาระที่ท่านจะแสดงปาฏิโมกข์ ท่านได้เสนอความเห็น ๕ ข้อ คือทิฏฐิ ๕ ข้อ ต่อที่ประชุมสงฆ์ ดังนี้ :-
    ๑. พระอรหันต์อาจถูกมารยั่วยวนในความฝันได้.
    ๒. พระอรหันต์ยังมีอัญญาณ.
    ๓. พระอรหันต์ยังมีความสงสัย.
    ๔. พระอรหันต์จะต้องรู้ว่าตนได้มรรคผลต้องอาศัยผู้อื่นอีก.
    ๕. มรรคผลเกิดขึ้นต้องอาศัยเปล่งคำว่า ทุกข์หนอๆ
    ข้อเสนอของท่านนี้ บางพวกไม่เห็นด้วยจึงทำสังฆกรรมไม่ได้ ครั้นทราบถึงพระเจ้ากาลาโศกราชๆ ก็เสด็จมาห้ามมิให้เกิดการแตกแยกกัน พระมหาเทพจึงชี้ขาดโดยให้ระงับอธิกรณ์ ด้วยมติของที่ประชุมสงฆ์ ในที่สุดฝ่ายพระมหาเทพชนะเพราะมีพวกมาก ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยนั้นเป็นฝ่ายเถรวาท ต่อมาพวกมหาเทพได้จัดการทำสังคีติด้วยสงฆ์หมู่ใหญ่ จึงเรียกว่ามหาสังคีติ และต่อมานิกายนี้เกิดแตกกันอีก.

    ๓. ภิกษุทั้งหลายผู้ทำมหาสังคีติ ได้ทำความขัดแย้งไว้ในพระศาสนา ทำลายสังคายนาเดิม แล้วทำการรวบรวมธรรมวินัยไว้เป็นอีกอย่างหนึ่ง.
    ๔. ภิกษุเหล่านั้นได้แต่งพระสูตรที่สังคายนาไว้แล้วให้เป็นอย่างอื่น และทำลายอรรถและธรรมในพระวินัยในนิกายทั้ง ๕ ด้วย.
    ๕. อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้แม้ซึ่งธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้วโดยปริยายและทั้งโดยนิปปริยาย ไม่รู้อรรถที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำไว้แล้วและทั้งไม่รู้จักอรรถที่ควรแนะนำ.
    ๖. ภิกษุเหล่านั้นๆ ได้กำหนดอรรถไว้เป็นอย่างอื่นจากอรรถที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยหมายเอาอย่างหนึ่ง ได้ยังอรรถมากมายให้พินาศไปเพราะฉายาแห่งพยัญชนะ*.
    ____________________________
    ๑- บาลีว่า "พยญฺชนจฺฉายาย" มีความหมายเป็น ๒ นัยคือ
    พยญฺชน+ฉายา ก็ได้ พยญฺชน+อจฺฉายาย ก็ได้
    นัยแรกแปลว่า เพราะเงาพยัญชนะ หรือเพราะรูปพยัญชนะ
    นัยหลังแปลว่า เพราะไม่มีพยัญชนะ เพราะไม่มีรูปพยัญชนะ เพราะไม่รู้โรจน์ในพยัญชนะ เพราะไม่ฉลาดในพยัญชนะ.

    ๗. ภิกษุเหล่านั้นละทิ้งพระสูตรบางอย่างและพระวินัยอันลึกซึ้งเสีย แล้วแต่งพระสูตรเทียม พระวินัยเทียมทำให้เป็นอย่างอื่น.
    ๘. คัมภีร์บริวารอัตถุธาระก็ดี อภิธรรมทั้ง ๖ ปกรณ์ก็ดี ปฏิสัมภิทานิทเทสก็ดี ชาดกบางส่วนก็ดี.
    ๙. คัมภีร์มีประมาณเท่านี้ ถูกภิกษุเหล่านั้นจำแนกไว้ต่างๆ กันแล้วแต่งให้เป็นอย่างอื่นทั้งนาม ลิงค์ บริขารและอากัปปกรณียะ.
    ๑๐. ภิกษุผู้เป็นหัวหน้าคณะ ผู้มีวาทะอันแยกกันแล้ว ผู้ทำมหาสังคีติเหล่านั้นได้พากันละทิ้งซึ่งความเป็นปกตินั้นเสียแล้วแต่งให้เป็นอย่างอื่น.
    ๑๑. ก็โดยการเรียนแบบอย่างแห่งภิกษุเหล่านั้น ได้มีลัทธิอันแตกแยกกันขึ้นมากมาย และภายหลังแต่กาลนั้นมาได้เกิดแตกแยกกันขึ้นในมหาสังฆิกะนั้น ดังนี้คือ :-
    ๑๒. ภิกษุผู้มหาสังฆิกะได้แตกแยกกันเป็น ๒ พวก คือเป็นโคกุลิกะพวกหนึ่ง เป็นเอกัพโยหาริกะพวกหนึ่ง ต่อมาอีกนิกายโคกุลิกะแตกกันออกเป็น ๒ พวก คือ :-
    ๑๓. เป็นนิกายพหุสสุติกะพวกหนึ่ง เป็นนิกายบัญญัติพวกหนึ่ง แต่นิกายเจติยะนั้นแตกแยกมาจากพวกมหาสังคีติได้เป็นอีกพวกหนึ่ง.
    ๑๔. ก็นิกายทั้ง ๕ เหล่านี้ทั้งหมดมีมูลมาจากพวกทำมหาสังคีติที่ทำลายอรรถและธรรม และทำลายการสงเคราะห์ธรรมวินัยบางอย่าง.
    ๑๕. ภิกษุเหล่านั้นละทิ้งคัมภีร์บางคัมภีร์และกระทำให้เป็นอย่างอื่นทั้งนาม ลิงค์ บริขารและอากัปปกรณียะ.
    ๑๖. อนึ่ง ในเถรวาทผู้บริสุทธิ์ เหล่าภิกษุผู้ละทิ้งปกติภาวะและกระทำให้เป็นอย่างอื่นนั้น ได้เกิดการแตกแยกกันขึ้นอีก ดังนี้คือ :-
    ๑๗. เป็นมหิสาสกะพวกหนึ่ง เป็นวัชชีปุตตกะพวกหนึ่ง สำหรับพวกวัชชีปุตตกะนั้นได้แตกแยกออกไปอีก ๔ พวก คือ :-
    ๑๘. ธัมมุตตริกะ ๑. ภัทรยานิกะ ๑. ฉันนาคาริกะ ๑. สมิติยะ ๑. ในกาลต่อมา พวกมหิสาสกะแตกแยกกันเป็น ๒ พวกอีก คือ :-
    ๑๙. เป็นพวกสัพพัตถิกวาทะและธัมมคุตตวาทะ สำหรับสัพพัตถิวาทะยังแตกออกเป็นนิกายกัสสปิกะ ต่อมานิกายกัสสปิกะแตกแยกเป็นนิกายสังกันติกวาทะ.
    ๒๐. ต่อมาสังกันติกวาทะแตกกันเป็นสุตตวาที ได้แตกแยกกันมาโดยลำดับดังนี้ วาทะคือนิกายเหล่านี้ทั้ง ๑๑ นิกายแตกแยกออกไปจากเถรวาททั้งสิ้น.
    ๒๑. ภิกษุเหล่านั้นทำลายทั้งอรรถและธรรม ทำการรวบรวมอรรถธรรมไว้บางอย่าง และได้ทอดทิ้งคัมภีร์บางคัมภีร์ ทั้งกระทำให้เป็นอย่างอื่น.
    ๒๒. ตลอดทั้งนาม ลิงค์ บริขารและอากัปปกรณียะ ได้พากันละทิ้งความเป็นปกติเสียแล้ว.
    ๒๓. นิกายที่แตกแยกกัน ๑๗ นิกาย นิกายที่ไม่แตกแยกกันมี ๑ นิกาย คือเถรวาท รวมนิกายทั้งหมดเป็น ๑๘ นิกาย อีกอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่า ตระกูลอาจารย์ ๑๘ ตระกูล.
    ๒๔. คำสั่งสอนของพระชินะเจ้าเป็นของบริสุทธิ์บริบูรณ์ไม่ยิ่งไม่หย่อน เป็นหลักมั่นคงสูงสุดของเถรวาททั้งหลาย ราวกะต้นไม้ใหญ่ ชื่อว่านิโครธ ฉะนั้น.
    ๒๕. นิกายที่เหลือ คือนอกจากเถรวาท เกิดขึ้นแล้วเป็นดุจกาฝากเกิดอยู่ที่ต้นไม้ นิกายที่แตกแยกกันมาทั้ง ๑๗ นิกายนี้ ไม่มีในร้อยปีแรก แต่ในระหว่างร้อยปีที่ ๒ คือภายในพระพุทธศักราช ๒๐๐ ปี ได้เกิดขึ้นแล้วในศาสนาของพระชินะพุทธเจ้า ด้วยประการฉะนี้แล.
    อนึ่ง อาจริยวาท ๖ แม้อื่นอีก คือ ๑. เหมวติกะ ๒. ราชคิริกะ ๓. สิทธัตถิกะ ๔. ปุพพเสลิยะ ๕. อปรเสลิยะ ๖. วาชิริยะ เกิดขึ้นแล้วในกาลอื่นๆ อีก อาจริยวาทเหล่านั้น พระคันถรจนาจารย์ท่านไม่ประสงค์จะกล่าวไว้ในที่นี้

    เพราะ ฉะนั้น การสังคายนา ของภิกษุเหล่าอื่น นอกจากเถรวาท จึงไม่ได้มีนัยยะ เท่าใดนักครับ

    ยินดี แลกเปลี่ยน เพื่อความหลากหลาย และนำไปสู่การค้นพบความจริงแท้นะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    "ผีตาแฮก" เบาะแส กับแหล่งกำเนิดพระพุทธศาสนา ที่ อินเดียคงไม่รู้จัก

    "ผีตาแฮก" ความแนบแน่น กับทางพระพุทธศาสนา ที่อาจเป็นเบาะแส กับแหล่งกำเนิดพระพุทธศาสนา ที่ อินเดียคงไม่รู้จัก

    อีกไม่กี่วัน จะพ้นเดือน 6 เข้าเดือน 7 แล้ว...จึงขอนำเรื่อง "ผีตาแฮก" มาบันทึกเก็บไว้ เป็นข้อมูลสะสม ไว้ ดังนี้

    ผีตาแฮก
    ผีผู้ดูแลไร่นา ชาวอีสาน นิยมเรียกว่า ผีตาแฮก

    ผีตาแฮก คือผีที่เชื่อกันว่า จะช่วยคุ้มครอง ดูแล รักษาไร่นา ให้ข้าวกล้าเจริญงอกงาม

    ผีตาแฮก มีความเป็นมา ดังนี้ (เรื่องย่อ จากอรรถกถาธรรมบท)

    อตีเต กาเล ในอดีตกาลที่ผ่านมา เมื่อครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ยังไม่ทรงอุบัติขึ้น มีสองสามีภรรยาคู่หนึ่ง อยู่กินกันมานานพอสมควร ก็ไม่มีวี่แววว่าจะตั้งครรภ์ นางผู้ภรรยา เกรงว่า ตระกูลสามี จะไม่มีคนสืบสกุล จึงไปแสวงหาหญิงสาวมาหนึ่งคน เพื่อให้เป็นภรรยาคนที่สองของสามี หวังว่า ภรรยาน้อยจะตั้งครรภ์ให้สามีได้สมหวัง

    ต่อมาไม่นาน ภรรยาน้อย ก็ตั้งครรภ์ขึ้นมาจริงๆ ฝ่ายภรรยาหลวง เกรงว่าสามีจะหลงใหลเมียน้อยคนเดียวและสุดท้ายมอบมรดกให้ลูกเมียน้อยคนเดียว ด้วยความริษยา จึงได้วางยาพิษทำลายครรภ์ของเมียน้อย เมียน้อยก็แท้งลูก

    เมียน้อยตั้งครรภ์ทีไร เมียหลวงก็ทำเหมือนเดิม จนครั้งสุดท้าย เมียน้อยรู้สึกไม่ชอบมาพากล แต่ถึงแม้จะจับได้ว่าลูกตนที่แท้งทุกครั้งนั้น เป็นเพราะเมียหลวงหวังร้ายต้มยาให้กิน ก็ตาม ครั้งนี้ เพื่อปิดปากไม่ให้เมียน้อยบอกสามี เมียหลวง ได้ลงมือฆ่าเมียน้อยเสียด้วย

    เมียน้อย ก่อนขาดใจตาย ได้ตั้งจิตอาฆาตไว้อย่างแรงกล้าว่า “เกิดชาติไหนๆ ขอให้ได้ฆ่าลูกและตัวของนังเมียหลวงนี้”

    ชาติต่อมา เมียน้อยเกิดเป็นแมว เมียหลวงเกิดเป็นไก่ เมื่อไก่ออกไข่ แมวก็มากินไข่ไก่ และสุดท้าย ก็ได้กินแม่ไก่ด้วย

    แม่ไก่ ก่อนขาดใจตาย ก็ตั้งจิตอาฆาตไว้ว่า “เกิดชาติไหนๆ ขอให้ได้ฆ่าลูกและตัวของแมวนี้”

    ชาติต่อมา แม่ไก่เกิดเป็นเสือ แมวเกิดเป็นเนื้อ เสือก็มาจับลูกของเนื้อกิน และสุดท้ายก็กินแม่เนื้อด้วย

    ผูกเวรจองเวรกันไปกันมาแบบนี้ ไม่รู้กี่ชาติต่อกี่ชาติ ชาติสุดท้ายที่ระงับเวรได้นั้น เกิดเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันนี้ยังทรงพระชนม์อยู่ โดยคนหนึ่งเกิดเป็นนางยักษ์ อีกคนหนึ่งเกิดเป็นมนุษย์

    เมื่อนางมนุษย์ตั้งครรภ์ นางยักษ์ก็แปลงร่างเป็นคน มาขออุ้มลูก และพาลูกหนีไป จับกินเป็นอาหาร หลายต่อหลายครั้ง ครั้งต่อมา เมื่อนางตั้งครรภ์อีก จึงชวนสามีกลับบ้านแม่เพื่อคลอดลูกที่บ้านแม่ แต่นางก็คลอดลูกก่อน ในระหว่างทางนั่นเอง เมื่อคลอดลูกแล้ว จึงเดินทางกลับบ้านสามี

    ระหว่างทางกลับ ขณะที่สามีลงไปอาบน้ำในสระน้ำใกล้วัดเชตวัน นางยักษ์ก็มาถึงตรงนั้นพอดี นางมนุษย์เมื่อเห็นยักษ์มา ก็จำได้ จึงรีบอุ้มลูกวิ่งหนี นางยักษ์ก็วิ่งไล่ จนไปถึงวัดเชตวัน นางมนุษย์ก็อุ้มลูกน้อยเข้าไปในวัด วิ่งไปหาพระพุทธเจ้า ซึ่งกำลังแสดงพระธรรมเทศนาอยู่ และวางลูกไว้ตรงหน้าพระพุทธเจ้า

    พระพุทธเจ้า ได้ตรัสห้ามนางยักษ์ให้หยุด และแสดงธรรมเจาะจงนางทั้งสอง มีใจความว่า “เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร”

    นางยักษ์ พอได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า ก็เกิดความละอายใจ ละอายต่อบาป และสมาทานศีล๕ ไม่ฆ่าสัตว์กินเป็นอาหารอีกนับแต่นั้นเป็นต้นมา และนางยักษ์กับนางมนุษย์ ก็ได้เป็นสหายของกันและกัน

    เมื่อนางยักษ์ถือศีล๕ หาอาหารได้ยาก นางมนุษย์ จึงได้สร้างที่พำนักให้นางยักษ์ ซึ่งที่ที่นางยักษ์ถูกใจที่สุด เป็นที่นอกหมู่บ้าน อยู่หัวไร่ปลายนานั่นเอง เพราะเงียบดี และนางมนุษย์ก็นำอาหารมาเลี้ยงดูนางยักษ์อยู่มิได้ขาด

    นางยักษ์ มีความสามารถพิเศษ คือล่วงรู้เกี่ยวกับฝนฟ้าอากาศ รู้ว่าปีนี้ ฝนจะมากหรือจะน้อย และก็ไปบอกให้เพื่อนมนุษย์ได้รู้

    ปีไหนทราบว่า น้ำจะมาก นางก็ทำนาในที่ดอน ปีไหนน้ำจะน้อย นางก็ทำนาในที่ลุ่ม ทำให้ข้าวของนางไม่เสียหายเพราะฝนแล้งหรือน้ำท่วมเลย ข้าวกล้างอกงามอุดมสมบูรณ์ทุกปี

    ชาวบ้านพากันสงสัยมาสอบถาม ก็ได้ความว่า เพราะมีนางยักษ์มาบอก และหากจะให้นางยักษ์บอกด้วย ก็ขอให้พากันนำอาหารไปเลี้ยงดูนางยักษ์

    ชาวบ้านต่างพากัน เอาอาหารไปเลี้ยงดูนางยักษ์ และสร้างที่อยู่ให้นางยักษ์ในพื้นที่นาของตนๆ นางยักษ์ก็แวะเวียนไปกินอาหาร และบอกชาวบ้านเรื่องฝนฟ้าอากาศ

    ตั้งแต่นั้นมา ชาวบ้านที่นั่น ก็ทำนาได้ผลดีกันทุกครัวเรือน

    อ่าน อรรถกถา ได้ที่ http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=11&p=4

    ในช่วงต้นฤดูฝน หรือประมาณเดือนมิถุนายน เมื่อฝนเริ่มตกลงมาให้พื้นดินชุ่มฉ่ำน้ำเริ่มขัง ก็จะเข้าสู่ฤดูกาลทำนา ก่อนจะทำนาในแต่ละปี ชาวนาจะต้องทำพิธีไหว้สักการะและเลี้ยงผีตาแฮก ก่อน โดยนำอาหารคาวหวาน ตามแต่จะหาได้ เช่น ปั้นข้าวเหนียว ปลาร้า ปิ้งปลา เป็นต้น พร้อมทั้งหมากพลู ยาสูบ มาเป็นเครื่องเซ่นไหว้ และอธิษฐานขอให้ทำนาได้ผลดี ข้าวกล้างอกงามอุดมสมบูรณ์

    การแฮกนา นิยมเลือกเอาวันที่เป็นอธิบดีแก่ข้าวกล้า ซึ่งแต่ละปี ผู้เฒ่าผู้แก่ประจำหมู่บ้านจะเปิดตำราพรหมชาติบอกแจ้งแก่ชาวบ้านไว้ ว่าปีนี้ แฮกนาได้ในวันใดบ้าง โดยมากนิยมเลือกเอาวันพฤหัสบดี เป็นวันแฮกนา ซึ่งการแฮกนา จะเริ่มด้วยการเซ่นไหว้ผีตาแฮกก่อน จากนั้น ก็จะเลือกนาแปลงใดแปลงหนึ่ง แล้วทำพิธีแฮกนา การไถแฮกนา มักไถเป็นวงกลม และสังเกตดูก้อนขี้ไถว่าเป็นลักษณะใด บางคนทำนายเก่ง ดูก้อนขี้ไถแล้ว สามารถทำนายได้ว่า ปีนี้ ฝนจะน้อยหรือมาก

    เมื่อจะเริ่มดำนา ก็จะปักดำที่แปลงนาตาแฮกก่อน.... นาตาแฮก จะอยู่ในแปลงนาธรรมดาทั่วไป กว้างประมาณ 1 ตารางวา ปักล้อมไว้ด้วยเสา 6 ต้น และเพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์ อาจหาหนามมาวางล้อมไว้ด้วยก็มี ในนาตาแฮกจะปลูกข้าวไว้ 8 ต้น ซึ่งข้าว 8 ต้นนี้ เหมือนเป็นข้าวเสี่ยงทาย เป็นตัวแทนของข้าวในนาแปลงอื่นๆ ทั้งหมดของตน

    การปักดำข้าว 8 ต้นนี้ ผู้ปักดำ จะกล่าวมนต์คาถากำกับแต่ละต้นด้วย ดังนี้

    (ต้นที่1) ปักกกนี้ พุทธะฮักษา
    (ต้นที่2) ปักกกนี้ ธรรมะฮักษา
    (ต้นที่3) ปักกกนี้ สังฆะฮักษา
    (ต้นที่4) ปักกกนี้ เพิ่นเสีย กูได้
    (ต้นที่5) ปักกกนี้ เพิ่นไห้ กูมี
    (ต้นที่6) ปักกกนี้ ให้ได้หมื่น มาเญีย
    (ต้นที่7) ปักกกนี้ ให้ได้หมื่นเญีย พันเล้า
    (ต้นที่8) ปักกกนี้ ขวัญข้าว ให้มาโฮม

    หลังจากปักครบ 8 ต้น เป็นอันเสร็จพิธีดำนาตาแฮก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2016

แชร์หน้านี้

Loading...