ขอคำชี้แนะจากท่านนิวรณ์และท่านผู้รู้ครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย 1817, 28 สิงหาคม 2016.

  1. 1817

    1817 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2016
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +0
    ผมขอคำชี้แนะหน่อยครับ ผมเป็นผู้เริ่มศึกษาใหม่ครับ ภาวนาโดยการรู้สึกตัว ดูลมหายใจ ดูกายดูใจไปเรื่อยครับ บางช่วงก็ขยัน บางช่วงก็หลงโลกครับ ไม่ค่อยต่อเนื่อง ตกเย็นก็สวดมนต์ปกติครับ นั่งสมาธิบ้างแล้วแต่ว่าร่างกายยังไม่หมดแรงครับเพราะทำงานตอนกลางวันกลับบ้านก็เหนื่อย มารู้สึกตัวอีกทีก็ถึงบ้านแล้วครับ ผมมีปัญหาในการนั่งสมาธิรบกวนท่านผู้รู้ช่วยชี้แนะหน่อยครับ เวลาผมสวดมนต์เสร็จก็จะนั่งสมาธิดูลมหายใจไปเรื่อยๆครับ บางวันไม่เหนื่อยมากก็สดชื่นรู้สึกตัวไปเรื่อยๆครับ แต่เวลาผมนั่งส่วนมากจะซึมๆ ออกไปทางง่วงนอนครับ ไม่แน่ใจว่าผมไปวางใจให้เคลิ้มหรือเพราะว่าร่างกายอ่อนล้า หลังผมเลยไม่ค่อยได้นั่งสมาธิครับนั่งทีไรก็ซึมทุกทีครับเลยสวดมนต์อย่างเดียวครับ รบกวนท่านผู้รู้ช่วยชี้แนะหน่อยครับผม ขอบพระคุณมากครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 สิงหาคม 2016
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ก็วิเคราะห์ตน. ถูกตาม ที่เปนจริง ดีอยู่แล้ว

    ตัวปัญหา. คือ. อยากได้สมาธิตามเสียงร่ำรือ เร็วๆ. มันเลย สงสัย

    แล้วทำให้ การสมาทานที่ถูกทาง. กลับเข้าใจว่าไม่ถูกทาง

    ทั้งนี้เพราะไปฟัง. รสของสมาธินอกแนว. ไว้มาก

    หรือไม่ก้ไปฟัง สมาธิแบบพระป่า. ปฏิภานตนเปน. พระ. ทั้งที่เปนฆราวาส
    ก้เลย. ลักเพศ


    กลับไปวิจัยใหม่ดีๆ. ให้พิจารณา. ตัวอยากได้จิตรวม

    กับ. จิตที่ตั้งมั่น.

    ถ้าหา. จิตตั้งมั่นเจอ. ถึงจะเหน. อาการจิตน้อมไปความสงบ

    ให้เหนการ วิวัฏ. จิตปฏิวัติตัวจิต. ที่ไม่ได้เกิดจากเจตนา. แต่มันมีรสโน้มไปสู่กระแส

    เหนจิตโน้มไปสู่กระแส. ที่มันมีของมันขึ้นมา ทีละนิด ทีละน้อย

    ซึ่งจะหายไปทันที ถ้าไม่เขี่ย ไข่ขัง. ไม่รู้จักรูป. ไม่รู้จักท่า ฯลฯ

    รวมแล้ว คือ. ไม่ฉลาดในการฟังธรรม จากสัตบุรุษ(กัลยาณธรรม ที่สัปปายะ)


    สัตบุรุษ. อันนี้จะต้องเฝ้นให้ถุกกาล ถูกสมัย

    งงมาก. ก็หมายเอา. ศาสดา เท่านั้น. อย่าเอาสิ่งอื่น


    ศาสดา. ที่พระพุทธองค์ทรงแนะ. ไว้แล้ว
     
  3. zhayun

    zhayun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +425
    ผมว่า ถ้าเจ้าของกระทู้ อยากจะรู้แนวปฏิบัติ ก็ไปศึกษาจากพระที่สอนกรรมฐานดีกว่า

    มาถามปุถุชน ผู้มีกิเลสหนา ก็ไม่ได้อะไรขึ้นมาหรอก

    เผลอๆอาจจะหลงทางมากขึ้นไปอีกก็ได้



    จะเป็นพระที่สอนกรรมฐานองค์ไหนก็ได้ ที่สอนตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

    และเป็นพระที่ท่านศรัทธา เป็นพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ



    โดยส่วนตัว ผมชอบฟังคำสอนของ หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง มาก

    ถ้าท่านสนใจก็ลองไปหาฟังหรือหาอ่านดูได้ครับ



    ผมขอยก คำสอนที่ หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง แนะนำ ดังนี้

    เวลาจะปฏิบัติ ท่านแนะนำให้เริ่ม ดังนี้

    1. อย่าไปสนใจในเรื่องของผู้อื่น คนอื่นจะเป็นอย่างไรชั่งเขา ให้เราสนใจแต่การปฏิบัติอย่างเดียว

    2. ให้ระลึกถึง ศีล ที่รักษา จะเป็น ศีล 5 หรือ ศีล 8 ก็ได้
    ว่าเราจะรักษาศีล เช่น ศีล5
    เราจะไม่ฆ่าสัตว์
    เราจะไม่ลักทรัพย์
    เราจะไม่ประพฤติผิดในกาม
    เราจะไม่พูดปด ไม่พูดสอดเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดคำหยาบ
    เราจะไม่ดื่มสุรา และของมึนเมา
    โดยศึลทั้ง 5 ข้อ เราจะไม่ทำด้วยตัวเอง เราจะไม่ยุยงให้ผู้อื่นทำ และเราจะไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นทำแล้ว

    3. ให้ระลึก ว่า เราจะ ระงับ นิวรณ์
    นิวรณ์ คือ ตัวกั้นความดี คือ ตัวที่ทำปัญญาให้ทราม
    นิวรณ์ มี 5 ข้อ
    1. ความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
    2. ความโกรธ พยาบาท
    3. ความง่วง
    4. ความฟุ้งซ่าน
    5. ความสงสัยในผลการปฏิบัติ

    วิธีระงับนิวรณ์อย่างง่ายที่สุด ก็คือ ไม่ต้องไปสนใจมัน สนใจในการภาวนาอย่างเดียว

    4. แผ่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ไปทั้ง 4 ทิศ
    ว่าเราจะไม่เป็นศัตรู กับผู้ใด ทั้งหมด



    จากนั้นก็ให้เริ่ม พิจารณาใน วิปัสสนา ก่อน ว่า ร่างกายที่เราอาศัยอยู่
    มันไม่เที่ยง มันสกปรก มันเป็นทุกข์ และสุดท้ายร่างกายนี้ก็ต้องสลายตัว เป็นอนัตตาไปในที่สุด

    ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในกายนี้ กายนี้ไม่มีในเรา
    เราคือจิต คือธาตุรู้ ที่เรียกว่า อทิสมานกาย ที่มาอาศัยในร่างกายนี้ แค่เพียงชั่วคราวเท่านั้น

    ร่างกายนี้เปรียบเหมือนบ้านเช่าที่เรามาอาศัยแค่เพียงชั่วตราว
    เมื่อร่างกายนี้พัง เราก็ต้องออกจากกายนี้ เพราะกายนี้ไม่ใช่ของเรา

    ถ้าหากร่างกายนี้พังเมื่อไร เราก็ไม่ขอเกิดอีก เพราะความเกิดมีแต่ความทุกข์
    เราขอเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ถ้าร่างกายพังในวันนี้ เราก็ขอเข้าพระนิพพาน



    จากนั้นก็ ภาวนาใน สมถะ จะเป็นรู้ลมเข้าออกก็ได้ หรือภาวนาพุทโธพร้อมระลึกลมเข้าออกก็ได้
    หรือจะภาวนาอย่างไรก็ได้ที่เราพอใจ


    และทำอย่างนี้สลับกันไป พิจารณา ถ้าฟุ้งซ่าน ก็ไปจับลม
    จับลมแล้วจิตอยากคิด ก็ให้พิจารณาไป ทำอย่างนี้สลับกันไปจนกว่าจะหมดเวลาที่เราตั้งไว้

    การตั้งเวลาไว้ ก็ไม่ต้องไปบังคับว่าจะต้อง 30นาที หรือ 1 ชั่วโมง
    เพราะนั่นไว้สำหรับผู้ทรงฌาน

    การตั้งเวลา ก็เอาเวลาที่เราพอใจ เช่นทำๆไป เกิดฟุ้งซ่านมากๆ ก็เลิก
    ไปพักให้หายฟุ้งก่อน แล้วก็ปฏิบัติใหม่

    หรือกำหนดรู้ความฟุ้ง มันอยากจะคิดอะไรก็ปล่อย เราก็กำหนดรู้ไป
    ท่านบอกไม่เกินครึ่งชั่วโมง จิตจะหายฟุ้งเอง แล้วจิตจะเป็นสมาธิมากขึ้น



    ทั้งหมดก็เป็นคำสอน ของหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง ที่ผมจำมากล่าวอีกทีครับ
     
  4. wisarn

    wisarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    727
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,505
    ก็ลองสังเกตความรู้สึก ก่อนหน้าที่จะฝึกสติ ดูว่าก่อนหน้านั้น จิตเป็นอย่างไร ง่วงไหม แล้วพอมาฝึกสติแล้ว ทำไมกลับง่วง สังเกตดูความแตกต่าง ว่าเราไปเริ่มทำจิตแบบไหนอย่างไรขึ้นมาแล้วเกิดผลตามมาอย่างไร ถ้าเห็นแล้ว เหตุทำอย่างนี้ ผลจึงเป็นแบบนี้ ทำจิตแบบนี้แล้วง่วงแบบนี้ เราก็ไม่ทำแบบนั้นอีก ก็ต้องปรับความรู้สึกใหม่แบบใหม่ ที่มันไม่ง่วง ความรู้สึกแบบไหนที่ฝึกแล้วเกิดสติตื่นรู้ ก็ทำแบบนั้น สิ่งนี้ ต้องสังเกตด้วยตัวของตัวเอง
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ถ้ารู้ทัน สภาวะอยากบรรลุ อยากได้สมาธิอู้ฮู

    จะค่อยๆ วางใจ และเห็น ความก้าวหน้าของจิต ที่มันจะอยู่ในทุกอริยาบท
    ทุก อุปทายรูป แม้นกระทั่ง รูปนอน

    การเห็น รูปนอน โดยที่ จิตก็ภาวนาอยู่ กำหนดรู้อยู่ หลวงพ่อฤาษีลิงดำเรียกว่า "จับหลับ"

    ก่อนนอน จะเห็น จิตมันโน้มไป กำหนดรู้ทุกขสัจจ

    ระหว่างนอน จะเห็น จิตตั้งมั่น กำหนดรู้ทุกขสัจจ

    ก่อนตื่นนอน จะเห็น จิต โน้มไป กำหนดรู้ทุกขสัจจ

    ตื่นนอนขึ้นมา จะเห็นจิต โน้มไปสู่การ ภาวนา

    เมื่อเห็นได้ว่า การนอน เป็นเพียง อุปทายรูป ไม่ใช่ เรา ของเรา
    จิตจะกำหนดรู้ การก้าวข้าม นิวรณ์ ด้วยการกำหนดรู้อริยสัจจ

    ไม่ใช่เรื่องไป ทำสมถะ สู้ หรือ ข่มการนอน แบบคนนอกศาสนา
    เขาอู้หู ( ยัดหู เป่าหู )

    อุบายแก้การติดนอน จะเห็นเข้ามา แล้วเดี๋ยวจะค่อยๆ เห็นเองว่า
    อะไรบ้างที่ ผลิกออกไปแล้ว ทำให้จิตเดินกรรมฐานได้

    คำตอบมันจะมาอยู่แค่ การรู้รูปปรมัตถ์ รู้ท่า รู้การเขี่ยไข่ขัง ฯลฯ
     
  6. 1817

    1817 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2016
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบพระคุณท่านนิวรณ์เป็นอย่างสูงครับ ขณะที่ผมอ่านคำชี้แนะของท่านผมรู้สึกว่าเหมือนผมกับท่านอยู่ต่อหน้าทั้งที่สนทนาผ่านเว็ป รู้สึกขนลุก คำชี้แนะของท่านทำให้สะกิดใจของผม ทำให้ใจหึกเหิม มีกำลังใจครับ ที่ท่านนิวรณ์กรุณาชี้แนะเหมือนผมได้ไปยืนอยู่ต่อหน้าท่านเลยครับ ผมขออนุญาตเล่าประสบการณ์ของผมหน่อยนะครับ โดยปกติพื้นเพผมปฏิบัติยังไม่เป็นได้แต่ศึกษามันทำให้เกิดความคิดหลายอย่าง ซึ่งผมกำลังสับสนระหว่างดูลมหายใจ รู้สึกกายใจ กับภาวนาสายพระวัดป่ามันหลายช่วงครับ บางช่วงมาดูแค่ลมหายใจ ดูกายดูใจ ก็รู้สึกสบายอยู่แล้วแต่ไม่ต่อเนื่องคิดสับสนเหมือนท่านว่า กลับไปภาวนาแบบพระวัดป่า ซึ่งลึกๆรู้ทั้งรู้ว่ามันไม่ใช่จริตตัวเอง แต่คิดว่าท่านพาทำก็คิดว่าคงดีเดินตามนี้ละ แล้วกลับไปกลับมาสลับกันหลายช่วงมากครับ จนบางทีเลยอยากปล่อยไปตามโลกไม่อยากภาวนา ทำไปก็ไม่ได้ผลซึ่งความโง่เขลาของผมเองครับ
    แต่เวลาผมภาวนาแบบดูลมหายใจมันรู้สึกสบายกว่าครับ แบบรู้สึกไปเล่นๆแต่มันก็หลงไปทั้งวันครับ กลับรู้สึกอีกทีที่บ้านแล้วครับ หรือเวลาอยู่คนเดียวครับ ซึ่งบางทีผมขับรถตากแดดตากลมแบบอากาศร้อน แต่ขณะนั้นผมก็รู้ลมหายใจเข้าออกก็มีความสุขนิดๆขึ้นในใจทั้งที่แดดร้อน ลมก็พัดเข้าตัวสูบลมหายใจปกติ
    มีช่วงปลายปีที่แล้วผมได้สวดมนต์ต่อเนื่องยาวประมาณชั่วโมงกว่า เนื่องจากปัญหาที่ผมขอคำชี้แนะท่านไปว่านั่งมันซึงแล้วผมก็เลยสวดมนต์อย่างเดียวครับ มีวันหนึ่งขณะที่ผมสวดมนต์กำลังจบ ผมกำลังจะสวดบทแผ่เมตตา ในใจมันกำลังนึกคำที่จะสวดต่อไปครับ มีสภาวะหนึ่งประมาณ 1-2 วินาที ในใจของผมมันหยุดนิ่ง (ขณะที่นึกว่าจะสวดไรต่อ) มันก็รู็สึกว่าตัวเราก็สวดไปได้เองตามความเคยชินครับ ผมก็ไม่รู้ว่ามันเป็นเพราะอะไรหรือผมคิดไปเองครับ แบบรู็สึกกินใจไปนานครับ ต่อมาก็รู้สึกตัวไปเรื่อยๆครับ บางวันก็นั่งสมาธิ รู้สึกตัวทั่วพร้อมผมไม่พยายามโพกัสในร่างกายครับก็รู้สึกไปเรื่อยๆแล้วก็รู้สึกตัวดีแต่นั่งไปเรื่อยๆก็รู้สึกถึงได้ว่า กายใจมันเบาดีครับบางวันก็ไม่เป็นเหน็บชาครับ พอใกล้เข้าสงบลมหายใจมันก็สั้นลง บางที่ก็จะเหมือนง่วง หรือสับพงก แต่ส่วนมากผมนั่งแล้วจะซึมมากกว่าครับ ในชีวิตประจำวันก็พยายามรู้สึกตัว บางทีผมเห็นหญิงสาวแต่งตัวโป๊วับๆแวม มันก็เกิดอารมณ์ขึ้นมา แล้วมันขึ้นเสียวแว๊บๆที่ตรงกลางลิ้นปี่ (ถ้ามากก็ลงไปข้างล่าง) ผมก็ดูๆไป บางทีหงิดหงุดเคืองใจมันพยายามจะทำให้หายครับ ไม่หายมันขึ้นหน้าอกขึ้นที่ต้นคอครับท่าน
    ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณท่านนิวรณ์เป็นอย่างสูงครับที่ให้คำชี้แนะเป็นประโยชน์กับผมอย่างยิ่งครับ ผมจะนำคำชี้แนะไปพิจารณาครับ
     
  7. 1817

    1817 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2016
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบพระคุณท่านนิวรณ์และท่านผู้รู้ทุกๆท่านครับผม
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ก็ให้ จำแนกกาล การภาวนาไป

    อานาปานสติ คนที่อธิบายได้มีน้อย ที่มีอยู่ ก็เป็น กสิณประยุกต์หมด แม้นแต่
    ของท่านพุทธทาส ก็เป็น กสิณประยุกต์ อานาปานสตินับเลขก็กสิณประยุกต์
    (ใช้โอภาสจาก ปัณฑระ ที่มันจะสว่างด้วยการ ระลึกตัวเลข )

    ทีนี้ ภาวนาแบบ พระป่า ห้ามไหม ไม่ได้ห้าม แต่ จะต้องดูกาลเทศะ
    ซึ่ง พระป่าจะเน้น การไปทำ ธรรมสากัจฉา คือ ไปหา ครู บ่อยๆ ให้ท่านอัด

    แต่ถ้า พิจารณาแล้ว ช่วง7วัน 7เดือน 7ปี ไม่มีโอกาสถาม ครูบาอาจารย์
    อันนี้ เฉพาะคุณ ซึ่งใช้ อานาปานสติ เป็น ก็ ร่ำแต่อานาปานสติไปเลย


    อานาปานสตินั้น จะมี อุปการะธรรม คือ การอ่านสัทธรรม การสวดมนต์
    ของคุณ จัดเป็นเทคนิคการอ่านพระไตรปิฏก จดจำพระไตรปิฏก ซึ่งจะ
    แตกต่างจาก กรรมฐานพระป่า ที่เน้น ถีบพระไตรปิฏกเข้าตู้ ยกไว้เหนือหัว

    อันนี้ไปวิจัยเอาเองว่า


    ทำไมการอ่านหนังสือ การอ่านพระไตรปิฏก การฟังธรรม จึงจัดเป็น อุปการธรรม
    ของ อานาปานสติ

    อานาปานสติ คิดไม่ได้ ดำริไม่ได้ แล้วทำไม การอ่านหนังสือจึงเป็น อุปการธรรม อัปปนาโกศล

    คนฝึกหัดอานาปานสติเป็น จะทราบ ...แต่ถ้าเป็น พวกฤาษีชีไพร มันจะหัวเราะ



    ปล. อย่างไรก็ดี ความเป็น พหูสูต จะมีแค่ จดจำธรรมบทได้แค่สองวรรค แล้วทำได้ตามนั้น(กำหนดรู้อริยสัจจ)
    เท่านี้ จัดว่าเป็น พหูสูต ที่เหลือ 84000 จะขยายออกมาจาก สองวรรคที่ปฏิบัติเห็นผลเหล่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 สิงหาคม 2016
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อานาปานสติ จะเป็น กรรมฐานที่ อนุโลมไปตาม กิเลส มากที่สุด

    จะปราศจาก หรือ แทบเหมือนจะไม่มี ตัวกั้นกิเลส เลย

    แต่การเห็นกระบวนการเหล่านั้น การที่มัน ย้ำหัวอก จิ๊กๆๆๆๆๆๆ นั่นแหละ
    คือ อุคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต ของ อานาปานสติ แต่จะต้องเห็น เฉพาะที่
    มัน จิ๊กๆๆๆ ถ้าขึ้น กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร เริ่มไหลเป็นเรื่องเป็น
    ราว มีการวางแผน จะถือว่า เสร็จมันไปแล้ว

    แต่เป็นการเสร็จมันไปแล้ว ที่เอามากำหนดรู้ โทษ ซึ่งจะต้อง บริหารเอาเอง
    ถ้าเป็น โพธิสัตว์ละก้อ จะต้องรู้ว่า "หนทางยาวไกล" มีอยู่แน่นอน [ เป็น ปัญญาชนิดหนึ่ง ]

    อานาปานสติ ที่ผลิกตกไปสู่ จิตตานุปัสสนา จะไม่ทัน ราคะ

    อานาปานสติ ที่ผลิกตกไป ธรรมานุปัสสนา จะไม่ทัน โทษะ

    อานาปานสติ ที่ผลิกตกไป เวทนา กาย จะไม่ทัน โมหะ

    เวลาจิตไม่ทัน อกุศลมูลใด ให้กำหนดรู้มาที่ สติปัฏฐานก่อนหน้า
    ที่เผลอปรุงการปฏิบัติ

    แท้จริงแล้ว ทุกปฏิปทา อานาปานสติ มีหน้าที่ กำหนดรู้ ว่าเป็น อุปกิเลส10
     
  10. 1817

    1817 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2016
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบพระคุณท่านนิวรณ์และทุกๆท่านครับที่กรุณาชี้แนะครับ
     
  11. alkuwaiti

    alkuwaiti เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,257
    การภาวนาต้องมีจุดมุ่งหมาย มีเป้าหมายในการภาวนา ซึ่งมีหลายเป้าหมาย เช่น หวังได้ฌาน , หวังได้วิชาต่างๆ , หวังสำเร็จกรรมฐาน หรือหวังบรรลุธรรม ถ้าภาวนาแล้วไม่คิดอะไร ไร้เป้าหมาย ง่วง ตื่น จดจ่อ ฟุ้งซ่าน วนเวียนสลับกันไป มันก็แค่ช่วยส่งเสริมกำลังกายและกำลังสมาธิเท่านั้น ก็เหมาะดีสำหรับฆราวาสผู้ครองเรือน เพราะมันก็ช่วยให้การทำงาน การดำรงชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น มีสมาธิและสติกำกับดีขึ้น แต่กับพระสงฆ์แล้วจะมามัวปฏิบัติแบบนี้คงก้าวหน้าได้ยาก

    จขกท.ทำได้แค่นั้นแหละครับ ถ้าจะมากกว่านี้ก็ต้องเปลี่ยนชีวิตตัวเองตามไปด้วย เพราะยุคสมัยนี้ไม่ง่ายเหมือนยุคพุทธกาลแล้ว
     
  12. 1817

    1817 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2016
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบพระคุณ ท่านalkuwaiti ที่ช่วยชี้แนะครับผม
     
  13. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,294
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    แน่ใจหรอว่าถามคุณนิวรณ์แล้วจะปฏิบัติได้ผล

    แต่เราปฏิบัติตามคุณนพกานต์แล้วได้ผลอ่ะ

    บวกกับเราจำคำสอนครูบาอาจารย์อยู่ตลอด ทั้งๆที่ไม่ได้ไปกราบบ่อยๆ

    และก้อพึ่งพาบารมีพระรัตนตรัยเป็นหลัก

    วิมุตติรสที่เราเคยตั้งกระทู้ถาม ว่าควรเข้าถึงอย่างไร ทุกวันนี้เราก้อเข้าถึงวิมุตติสุขได้แล้ว เข้าใจสภาวะมากขึ้น

    เราเน้นสติ เวลาทำทาน ก้อมีจาคะนุสสติ สำรวจศีล5ทุกวัน ถามตัวเองทุกวันว่าควรปรับปรุงแก้ไขตัวเองอย่างไร

    ซึ่งทุกวันนี้เราก้อคิดว่าเรายังปฏิบัติได้ไม่ดีพอ ไม่เพอร์เฟ็กอ่ะ อยากเพอร์เฟ็กพอที่จะเป็นลูกศิษย์สายลป. มั่น
     
  14. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,294
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    คุณนิวรณ์ชอบพาคนหลงนะ พายเรือในอ่าง ทำไมชอบสร้างกรรมหนักสอนธรรมะมั่วๆ

    ดิฉันปฏิบัติตามคำสอน ลพ. พุธ ท่านไม่เห็นกล่าวเหมือนคุณนิวรณ์เลย

    ดิฉันติดนอน ก้อแก้ที่นิสัยให้ขยันทำงาน แต่ถ้าร่างกายต้องการพักผ่อน แล้วเราฝืนทำสมาธิก้อไม่มีประโยชน์ เมื่อคืนดิฉันก้อนอนไปพร้อมกับบริกรรมพุทโธ ก้อหลับไปเอง

    การทำสมาธิมีหลายอย่าง ไม่ใช่นั่งหลับตาอย่างเดียว กรรมฐานก้อตั้ง40กอง เลือกช่วงเวลาที่ร่างกายตื่นตัวแล้วค่อยปฏิบัติธรรม

    แต่ลพ. พุธสอนว่า การมีสติจดจ่ออยู่กับกิจวัตรงานที่ทำก้อคือการฝึกสมาธินอกวิธีการ ให้มีสติกำหนดรู้อยู่ที่จิต เพราะอะไรเกิดขึ้นจิตย่อมรับรู้ ทำตามลพ. พุธใช้ปัญญาอบรมสมาธิเวลาฟุ้งไม่หยุด ให้ใช้สติกำหนดรู้ดูความคิดที่เกิดดับ จิตจะสงบเอง ไม่ต้องจับลมหายใจ

    ฟังยูทูบ การฝึกสมาธิที่เป็นองค์แห่งฌาน ของลพ. พุธ เข้าใจง่าย ท่านเทศน์ละเอียดลึกซึ้ง ตอนเดียวจบ ได้ความรู้มากมาย
     
  15. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,294
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    อ้ออ ลืมไปว่าคุณนิวรณ์ชอบถามเองตอบเอง ถ้าติดตามอ่านบอร์ดนี้ทุกวัน แล้วยังมีคนกล้าศรัทธาถาม แสดงว่าผิดปกติแล้วแหละ 5555

    (ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ดิฉันอยู่ฝ่ายตัวเอง)
     
  16. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    แข่งกันดีก็ยังดีกว่าแข่งกันเลวเอาเถอะต่างก็ต้องเรียนรู้
     
  17. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ขาดการ "สติ"ในการกำหนดรู้

    องค์กัมมัฏฐานของโยมคืออะไร ถ้าเป็นอานาปาน ก็ควรเฝ้าติดตามกำหนด อัสสาสะ ปัสสาสะ

    เมื่อจิตเริ่งลงภวังค์ ด้วยสมาธิมากแต่ขาดการกำหนดรู้ ความหดหู่ ง่วงก็ได้ช่อง.

    ลองตั้งใจกำหนดรู้อย่างต่อเนื่อง โดยตั้งจิตไว้ที่ฉันทะ คือยินดีในการกำหนดรู้ ยินดีในการประกอบความเพียรดู

    ก็จะแก้ความง่วงซึมได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...