หัวใจของสติปัฏฐานสี่

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สติจงมา, 11 พฤษภาคม 2017.

  1. สติจงมา

    สติจงมา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2017
    โพสต์:
    47
    กระทู้เรื่องเด่น:
    20
    ค่าพลัง:
    +191
    [​IMG]

    "อีกอย่างหนึ่ง
    สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ"

    "อีกอย่างหนึ่ง
    สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่ แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ"

    "อีกอย่างหนึ่ง
    สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย ระลึกเท่านั้น
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ"

    "อีกอย่างหนึ่ง
    สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย ระลึกเท่านั้น
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ อยู่ ฯ"

    http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=10&A=6257&Z=6764


    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  2. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,426
    ค่าพลัง:
    +3,207
    สาธุค่ะ เพิ่งเจอสภาวะธรรมมาหมาดๆ เมื่อมีสิ่งมากระทบ ขณะเดินจงกรม รู้สึกในเวทนาเห็นอารมณ์ก่อเกิดขึ้น ในอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นมากระทบให้เราเห็น ถ้าจิตเรานิ่งจริงๆ เราจะเห็นได้เลยค่ะว่า ทิฐิและตัณหาจะแฝงมาพร้อมกับอารมณ์ที่เกิดขึันด้วย

    แต่เราไม่ได้สักว่าระลึกรู้ เรากลับไปปรุงแต่งต่อเพิ่มความเห็นเข้าไป ที่จริงแล้วให้เพียงแค่อาศัยสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าระลึกเท่านั้น

    ทีนี้ทิฐิอันเป็นความเห็นผิดก่อให้เกิดตัณหา เป็นเหตุใหัเกิดอารมณ์ การเห็นอยู่ รู้อยู่ แล้ววางจิตนิ่งเฉย ไม่ใส่ใจต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้น มันก็ละวางไป

    การไปเห็นอารมณ์ที่ผุดขึ้นมา เห็นว่านี้แหละเป็นเหตุแห่งทุกข์ ทุกข์เพราะความเห็นผิด คิดผิดระหว่างการละวางเฉยต่ออารมณ์ กับการพิจารณาอารมณ์ ว่ามาจากทิฐิอย่างไร ? แล้วเติมความเห็นการกระทำที่ถูกต้องไปใหม่ ท่านจะเลือกอย่างไร

    ถ้าเห็นแล้วสักว่าแต่ระลึก. สักว่าแต่รู้ นิสัยที่เก็บเอาไว้เป็นอุปนิสัย จะหายไปไหม?

    แต่ถ้าพิจารณาให้เห็นอารมณ์สร้างสัมมาทิฐิให้เห็นเกิดการกระทำใหม่ที่ถูกตัองและดีกว่าในการกระทำต่อผู้อื่น เป็นการลดละนิสัย

    แต่ว่ามันจะเป็นการสร้างภพเกิดขึ้นมาใหม่ คือ. การคิดการดำริมีนิสัยที่ดีงาม

    ถ้าสร้างสัมมาทิฐิใหม่ เพื่อให้เกิดการกระทำที่ถูกต้องดีงามในการปฏิบัติตามมรรค8 คือ สัมมาวายาโม เพื่อให้เกิด สัมมาวาจา และสัมมากัมมันโต

    หรือว่า เห็นแล้วสักแต่ว่ารู้อยู่ ปฏินิสัคโค จาคะสลัดอารมณ์นีัออกไป เมื่อเกิดขึันมาเฉยนิ่งสงบอย่างเดียว

    ที่หลวงปู่บอกว่า "แยกรูปถอดด้วยวิชามรรคจิต". เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้หมด พ้นเหตุเกิด

    คิดว่าอย่างไรกันค่ะ?
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ก็ขึ้นกับว่า เวลา ฟังการบรรยาย ฟังแล้วไปคิดว่า เป็นการบัญญัติ หรือเปล่า

    ถ้า ฟังแล้วคิดว่า เป็นการมาบอกบัญญัติ ให้ไปทำอะไรให้เหมือน มันจะ
    หัวเสีย ว่า คนบรรยายมาพูดอะไร ของมันทำไม่ได้ ไม่เคยเห็น

    แต่ถ้า ฟังแล้ว ฟังเอาไปเป็นแง่มุมว่า คนเขาฝึกได้อย่างนั้น มี !!

    แล้วเขาก็พยายามพูดเป็น อุบายให้ไป อบรมจิต เพื่อการเข้าไปเห็นเอง ประจักษ์
    เอง มันจะเกิด โยนิโสมนสิการ กระทำไว้ในใจด้วยดี

    ไม่ใช่ การตั้งท่า จะสมอ้างว่าเห็น แต่จะ เฝ้นจังหวะที่มันเกิด แล้ว หากจิตมีวิหารธรรม
    มันจะมี โอกาส ที่จะเห็นได้

    นะ

    มาลองฟัง

    สติ ไม่เกิดร่วมกับ อกุศล

    ดังนั้น เวลาไปเห็นกิเลส กิเลสตัวนั้น จะต้อง ดับ ขาดหาย ไม่เกิดอาการ
    คว้ามาเป็นเรา เราเป็น เรามี มีเรา แล้วตามด้วยการคิด แก้ตามหลัง หรือ
    จะไปย้อนแก้ที่เหตุ

    สติ ไม่เกิดร่วมกับ อกุศล แต่ ควันที่เกิดจากวิบาก มันจะยังคงเกิด
    เพราะ เหตุมันยังอยู่

    เหตุ มันจะขาด ก็ต่อเมื่อ เกิดการเห็นอริยสัจจ

    เหตุ มันจะยังไม่ขาด แต่มันก็มี รสชาติเหมือนพ้นกิเลส แม้นกิเลส
    จะปรากฏ แต่ก็เพียงอาสัยระลึก เห็นความเกิด ความดับ ความล้มเหลว(แต่ไม่ท้อ)
    และไม่เพลี้ยงพล้ำ ด่างพล้อย ตำหนิตนได้ด้วยศีล

    เหตุ มันขาด แต่ ไฟที่มันจุดติดเนี่ยะ มันจะมี วิบาก ปรากฏ อีกนิดหน่อย

    แต่มันจะต่างกัน กับ กิเลสกัด กิเลสเอาไปกิน

    เหตุ มันขาด ก็ตอนทีเกิด สติ ไปแล้ว ไม่ใช่ เกิดสติเห็น แล้ว มานั่งนึก ทำไงดี
    จะย้อนไปละที่เหตุ ไหม ( นั่น ทำกรรมใหม่ไปแล้ว คนละเหตุ กันแล้ว ) ยังไง
    จะถูก มาวิจารณ์กัน เพื่อสร้างความดี .....................โหลยโถ้ย !!!
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ฟังไป หนึ่ง มุขนัยแล้ว

    ว่าด้วย อุบายในการไปกำหนดรู้ " สติ ไม่เกิดร่วมกับ อกุศล " ดังนั้น
    หากเกิดสติ ไม่มีแล้ว จะต้องไป นั่งย้อน ละเหตุ อีก

    มาต่อด้วย " สติ เกิดร่วมกับ จิตกุศลทุกดวง " อันนี้ เวลาเกิดสติ
    แต่ การปรุงแต่งนั้นเป็นการปรุงแต่ฝ่ายดี อันนี้ เหตุ มันไม่ต้อง
    ไปละ มันละไม่ได้ แถม เขาให้อนุโลม ปฏิโลม ให้มันเกิดต่อเนื่อง
    แต่จะต้อง ฝึกเห็นความเกิดดับ

    อันนี้จะต้องเปลี่ยนฐาน ไปดู สังขารการปรุงแต่งไม่ได้ เพราะมัน
    เป็นการปรุงแต่งฝ่ายดี เขาให้ฝึกเพิ่ม ทำให้มากๆ แล้วอาศัย
    เห็นความเกิดดับ จากเวทนา ความพอใจ

    หรือ อาศัยเห็น อาการจิตมันปรารภความเพียร กำหนดรู้ อันนี้
    คือกำหนดเห็น สติ ปรากฏ กับ สติไม่ปรากฏ จัดเป็นการ ดูจิต

    หรือถ้าเก่งกว่านั้น ก็ให้ดูธรรม ...ซึ่ง ตรงนี้ไม่ขอเล่า เพราะ
    คนถาม มีอาการเมาธรรมแฝงอยู่ จึงเป็นของแสลง ต้องห้าม
    พาดูธรรม
     
  5. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    นี่ ...ท่าน นิวรณ์
    โพสแรก....บอกว่า สติไม่เกิดร่วมกับ อกุศลจิต...(ความเข้าใจ..อ่อนด้อยมากเลย..ขอบอก)..แล้วไป ควานหา วิธีดับที่เหตุ ที่ผ่านมาแล้ว (ไม่ทันน่ะสิ)

    มาโพสที่สอง..บอกว่า ถ้าสติเกิดพร้อมกุศลจิต ก็แนะนำให้ ตามรู้ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป..อย่างต่อเนื่อง..ไม่ต่อง ควานหาเหตุเพื่อดับ (อันนี้ เข้าใจถูก)

    แต่..ทำไม โพสแรก..ไม่แนะนำให้ ตามดูตามรู้ ให้ครบสภาวะพระไตรลักษณ์ล่ะ...จะมาสอนให่เลือกดูตามแต่ กุศลจิต..ได้ไง..(ใครมันจะกำหนด ให้แต่กุศลจิตเกิดเพียงอย่างเดียวได้ล่ะ..ติงต๊องเปล่า)


    อิอิ..ตามไม่ทัน ไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ..ทำไม่เป็น..หรือยังไง..จึงแนะนำ แบบนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2017
  6. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    มีราคะเกิดขึ้น ก็รู้ว่า มีราคะเกิดขึ้น
    มีราคะตั้งอยู่ ก็รู้ว่ามีราคะตั้งอยู่
    ราคะดับไป ก็รู้ว่าราคะดับไป

    ...อ้าวราคะ เป็น อกุศลจิตนี่นา...แล้วสติรู้ทันได้แบบนี้...(นิวรณ์ ทำไม่เป็นหรือครับ)....อิอิ

    กลับไปอ่าน มาใหม่ไป๊..ชิ้วๆๆๆๆๆ
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    แต่สำหรับจิตยิ้ม

    มุขนัยนี้น่าจะ เหมาะสม

    ว่าด้วย สักกายทิฏฐิ

    จิตยิ้ม สังเกต ความรู้สึกตัวนึง

    ตั้งแต่เด็ก จนโต จนห้าสิบ หกสิบ

    จนเกิดสติ จนเหนธรรม จนแจ้งนิพพาน
    จะเกิดใหม่ไหม จะตายอีกรอบหรือเปล่า

    มันจะมี ความรู้สึกอยู่ อันนึง ไม่เคยเปลี่ยน

    ตัวนั้นแหละ สักกายทิฏฐิ


    เข้าใจธรรม เกิดสติ ย้อนไปละเหตุ แต่.....
    เจ้าความรู้สึกตัวนั้น ไม่กระเทือน พิจารณา
    เอาว่า จะยังไง
     
  8. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    มีโทสะเกิดขึ้น ก็รู้ว่ามีโทสะเกิดขึ้น
    มีโทสะตั้งอยู่ ก็รู้ว่ามีโทสะตั้งอยู่
    โทสะดับไป ก็รู้ว่าโทสะดับไป
    ...
    โทสะนี่ ก็ อกุศลจิตนะครับ...ตามดูตามรู้ ด้วยสติ...ไม่ได้ ไม่ทัน ไม่เป็น...งั้นเหรอครับ

    นิวรณ์ครับ...เลิกสอนเถอะครับ...อิอิ
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    แล้ว ขอแจ้งให้ทราบนิดนึง

    ตอนทึ่หลวงปู่ดูลย์ ชรามากแล้ว

    มันมี กระบวนการ จัดหาหนังสือ ยัดใส่
    มือให้หลวงปู่อ่านออกอากาส

    แล้วเขาก้ อัดเทป ถอดเทปออกมาอีกที

    พอถอดเทปออกมา ก้ตีพิมพ์ บอกว่าเทสนาหลวงปู่

    สุดท้ายสำนักพิมพ์เขาตามมาเจอ เกิดการฟ้องร้อง

    แต่จนแล้วจนรอด ก้ยังมีบางส่วนบางตอน
    ตัดออกมา แล้วบอกว่า หลวงปู่ประพันธ์

    ถ้าลองกลับไปหาประวัติการเรียนหนังสือ
    ของหลวงปู่

    ระวัง!!! จิตเหี่ยวเอาดื้อๆ


    ปล.ลิง ในแง่ สุขุมรูป ปรมณูธาตุ พระที่ใกล้
    ชิดก้ไม่ปฏิเสธว่า หลวงปู่กล่าวสอน แต่ที่เหมือน
    กันคือ เล่าเฉพาะบุคคล ไม่มีเรื่องออกอากาส
    ก้เลยปฏิเสธไม่ขาด บางอย่างก้ฟังได้ ฟังดี
    หากเอาเปนมุขนัย พิจารณา ความรู้สึกตัวนั้นๆ
     
  10. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    เกิดสติ ย้อนไปละเหตุ..(อ่านแล้ว ดีเนาะ ให้ไปละเหตุ..แต่วิธีพูด บอกว่า ให้ย้อนไปละเหตุ นี่สิ...ใครย้อนได้)

    การหาเหตุแห่งทุกข์ ด้วย สติปัฏฐานสี่ โดยการ ดู รู้ เห็น ตามจริง เพื่อ เห็นเหตุ.....มันก็ไม่ได้ชี้บอกว่า ให้ ใคร ทุกคน ต้อง ย้อนหาไปละที่เหตุ เลยนะ
     
  11. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ผมยอมรับนะ ว่าผมไม่เคยฟังเทศน์ฟังธรรมของหลวงปู่ดุลย์ เลย

    ได้ยินได้ฟังก็แต่ ที่ เหล่าลูกสิด ยกมา ยกย่อง ชมเชย กัน...
    ผมก็ แจกแจงตามที่ เห็น ก็เท่านั้น
     
  12. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,426
    ค่าพลัง:
    +3,207
    แต่สำหรับตัวเองค่ะ ที่ผ่านมาตนเองจะจำสัญญาอารมณ์ที่ผ่านมาได้ตลอดเลยค่ะ ว่าเรามีอารมณ์แบบนี้ เนื่องจากเรามีความเห็นอย่างไร แล้วเรามีการกระทำอย่างไร ทำแล้วทุกข์บีบคั้นใจเราแบบไหน?

    แม้กระทั่งการพูด การคุยที่ไม่มีสติ ก็กลับไประลึกได้ค่ะ ขณะที่พูดนั้นมันไม่ได้เรื่องเลยมีคำแต่ว่าสักแต่พูดไป พูดไปแล้วคำพูดไม่เหมาะสมเลย ไม่น่าทำเลย ก็ระลึกย้อนไปก็ดเพราะขณะที่เราพูดความรู้สึกตัวไม่ได้อยูกับตัวเองเลยนะค่ะ มีแต่ความอยากที่จะพูด

    ส่วนมากแล้วการลดละอารมณ์และนิสัย จะเป็นในลักษณะกลับมาพิจารณาอารมณ์ เห็นเหตุของทุกข์ ที่ทำให้เกิดโทษแก่ตนเอง และผู้อื่นและพิจารณาละวาง ปรับปรุงตนเองบ้าง. ไม่เอานิสัยอย่างนี้บ้าง และใช้ความนิ่งขันติอดทนบ้าง ก็แล้วแต่เหตุและผลที่พิจารณาได้ค่ะ
     
  13. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ก็อีตานิวรณ์ ก็บอกแล้วไง ว่า...มันเป็นคนละเหตุการณ์ ไปแล้ว

    จะมาเรียกว่า เป็นการย้อนไปละเหตุ ที่เป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วได้ไง

    ที่แกยกมา เขาเรียก ระลึก น้อม โยนิโส มาสอนจิตในปัจจุบัน ต่างหาก เพื่อป้องกัน เหตุใหม่

    แต่สติปัฏฐานจริงๆ คือ ต้อง ตามดูตามรู้ให้ทัน ทุกเหตุการณ์ จะกุศลจิต หรืออกุศลจิต หรือ ไม่เกิดอารมณ์ใดใด ก็ต้องรู้ทัน เขาถึงเรียกว่า เป็นการรักษาสภาวะความสงบให้ต่อเนื่อง สะสม ให้เป็นฌาณ เพิ่มระดับความสงบให้ มากขึ้นของสติ...เพื่อรู้ทันในสิ่งที่ละเอียด ขึ้นๆ ยิ่งๆ ขึ้นไป
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    โอ้โฮ

    กว่าจะง้างออกมาได้ เล่นเอาเกือบตายจากกัน


    ยกตัวนี้เข้ามาเลย ตัวอยากพูด

    แต่ห้ามตำหนิ จิต ตัวนี้เด็ดขาด ให้พิจารณาเปน อุป...นิจ....สัยยะ

    อุป คือ มันปรากฏ

    นิจ คือ เนืองๆ นานๆเกิดที หรือ เกิดถี่ ได้หมด

    สัย คือ มัน นอนมา

    รู้ไปซื่อๆ ไม่ต้องไปดับ

    แต่.....

    ให้ หาอุบายว่า ทำเหตุอะไร ตัวนี้เบาบางลง

    ให้ หาอุบายว่า วางจิตอย่างไร จึงเหนมันปรากฏ
    เปนสิ่งถูกรู้ถูกดู

    แล้วไม่ต้องไปตรึกอะไร เพื่อแก้มัน

    เพราะการตรึกอะไรเพื่อแก้มัน มันเปนกลลวง
    ให้คว้าขึ้นมาเปนเรา ของเรา

    ขยันกลับไปที่ การเหน การประกอบอะไร
    แบ้วมันบรรเทา เบาบาง หรือ ถูกกำหนดรู้ชัด(เกิดดับ)

    เหน อุบายที่ทำให้มันบางลง เกิดดับ แทน

    แล้วจะ อ๋อ

    ทุกขเท่านั้นที่เกิด ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป

    ที่มันตั้งไม่ได้ เพราะที่ตั้ง ตัวมันไม่เที่ยง

    แต่เพราะตั้งแต่เด็ก จนโต จนห้าสิบ จนหกสิบ
    จนแจ้งอรรถ แจ้งธรรม เกิดสติ เราปล่อย
    ให้บางอย่าง มันย้อมหลอกว่ามี ไม่เคยสะเทือน
     
  15. ศิษย์โง๋

    ศิษย์โง๋ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +66
    ไม่เบา ไม่เบา ถ้าเป็นตามนี้จริงๆ เป็นโดยอัตโนมัติ ไม่มีสัญญาอุปทานอะไรเข้ามาเกี่ยวข้องจริง ถึงขั้นนี้จริงๆแล้วไม่ต้องไปถามใครแล้วนะครับ
    และที่อีตานิวรณ์ พิมพ์มาบนหัวผมเนี่ย "หาอุบายว่า ทำเหตุอะไร ตัวนี้เบาบางลง" ,"หาอุบายว่า วางจิตอย่างไร จึงเหนมันปรากฏ"
    คือ มันเกินสภาวะนั้นมาแล้วนะครับท่านพี่ อุบง อุบาย บายศรีสู่ขวัญ จะมาอะไรตอนนี้หละครับ เขาไปไกลแล้ววว

    ตานิวรณ์บอกว่า "ขยันกลับไปที่ การเหน การประกอบอะไรแบ้วมันบรรเทา เบาบาง หรือ ถูกกำหนดรู้ชัด(เกิดดับ)"
    อันเนี้ย พยายามเข้าไปแทรกแซง คนละเรื่องเลย มันเป็นอัตโนมัติ Automatic ไปแล้ว

    จิตยิ้ม Said "ก็ระลึกย้อนไปก็ดเพราะขณะที่เราพูดความรู้สึกตัวไม่ได้อยูกับตัวเองเลยนะค่ะ มีแต่ความอยากที่จะพูด"
    ตามข้อความที่คุณจิตยิ้มบอกมา ผมดูจากตรงนี้นะครับ

    จิตยิ้ม Said " ส่วนมากแล้วการลดละอารมณ์และนิสัย จะเป็นในลักษณะกลับมาพิจารณาอารมณ์ เห็นเหตุของทุกข์ ที่ทำให้เกิดโทษแก่ตนเอง "
    และตรงนี้


    อุปมาว่า คุณจิตยิ้มอยู่ชั้นมัธยม 3 แต่ตานิวรณ์ พยายามสอนคุณจิตยิ้มให้ท่อง ABC

    ก็น่าจะประมาณนี้นะครับ ดูดอมยิ้มดีฝ่า^^
     
  16. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    แยกเป็นสองโหมดนะครับคุณจิตยิ้ม

    โหมดนี้เป็นโหมดสงบ(พอ) จึงรู้ตามความเป็นจริง เห็นทุกข์ เห็นทุกข์นี่มันไม่ได้พูดอะไรเยอะ พอไปเห็นปั๊บมันรู้เลย ทันที ที่ไปขยายต่อมันก็ห้ามไม่ได้ มันเป็นการทบทวนทำความเข้าใจไป แต่ถ้ามีครั้งต่อๆไป มันจะค่อยๆ เงียบกว่านั้น เพราะการติดใจจะน้อยลงจนถึงไม่มี ไม่ติดใจอะไร รู้ละไปเฉยๆอย่างนั้น แต่อย่าไปหมายว่าจะให้รู้ให้เห็นอย่างเดิมอีก บางทีมันติดใจก็อยากได้อยากเห็นแบบนั้นบ่อยๆ ซึ่งมันไม่เที่ยง ความคาดหวัง ความมีอนาคตอนางอมันเกิด ก็คือไม่อยู่กับปัจจุบัน เรียนรู้ เท่าทันสังขารไปน่ะครับ


    ตรงนี้มันเป็นเรื่องของความสงสัย ความสงสัยเอาไปกิน ให้รู้เท่าทันนิวรณ์ปรากฏ ที่กล่าวอย่างนี้อย่าไปตีความว่า ผมให้มุ่งไปที่การละนิวรณ์เพื่อมุ่งทำฌานอะไรอย่างนั้นนะ ไม่ใช่นะครับ ไม่ต้องไปคิดไกลขนาดนั้น นิวรณ์เกิด..ค่อยรู้ทันไป ไม่เกิด..ก็ไม่ต้องไปคอยตั้งท่าจะละนิวรณ์ แค่รู้เท่าทันเมื่อนิวรณ์ปรากฏก็พอ สงบ/ไม่สงบก็แล้วแต่เหตุปัจจัย เกิดดับ ความสำคัญคือรู้ทุกข์เห็นทุกข์ตามความเป็นจริง ซึ่งถ้าแจ้งในทุกข์ได้จริงๆ สัมมาทิฏฐิเกิดแล้ว ก็จะรู้เองว่าต้องทำยังไงต่อ จะรู้เองโดยไม่จำเป็นต้องไปถามใครอีกครับ (เพราะเห็นทุกข์ถูกตัวไงครับ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2017
  17. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    จุนทะ ! ทิฏฐิทั้งหลาย มีอย่างเป็นอเนก เกิดขึ้นในโลก เนื่องเฉพาะด้วยวาทะว่าตนบ้าง เนื่องเฉพาะด้วยวาทะว่าโลกบ้าง.
    ทิฏฐิเหล่านั้นเกิดขึ้นในอารมณ์ใด และตามนอนอยู่ในอารมณ์ใด และไม่หมกมุ่นอยู่ในอารมณ์ใด, เมื่อบุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริง ซึ่งอารมณ์นั้นอย่างนี้ ว่า “ นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม), นั่น ไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ), นั่น ไม่ใช่อัตตาของเรา (น เมโส อตฺตา) ” ดังนี้ :
    ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นการละซึ่งทิฏฐิเหล่านั้น เป็นการสลัดคืนซึ่งทิฏฐิเหล่านั้น.

    - มู. ม.๑๒/๗๒/๑๐๑.

    " อนุสัยเจ็ดสลาย เมื่อขาดความยึดมั่นในอารมณ์แห่งปปัญจสัญญา "

    ภิกษุ ! สัญญา (ความสำคัญมั่นหมายที่ซ้ำซากจนเป็นอนุสัย)๑ ชนิดต่าง ๆ อันเป็นเครื่องทำความเนิ่นช้า (ปปญฺจสญฺญา) ย่อมกลุ้มรุมบุรุษ เพราะมีอารมณ์ใดเป็นต้นเหตุ ; ถ้าสิ่งใด ๆ เพื่อความเป็นอารมณ์นั้น มีไม่ได้ (ด้วยเหตุใดก็ตาม) เพื่อบุรุษนั้นจะพึงเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมก แล้วไซร้ : นั่นแหละคือที่สุดแห่งราคานุสัย แห่งปฏิฆานุสัย แห่งทิฏฐานุสัย แห่งวิจิกิจฉานุสัย แห่งมานานุสัย แห่งภวราคานุสัย แห่งอวิชชานุสัย. ....
     
  18. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,426
    ค่าพลัง:
    +3,207
    สาธุค่ะ อนุโมทนาทุกความคิดเห็น
    เป็นสิ่งที่รู้สึกดีมากเลยค่ะ เมื่ออ่านทุกความคิดเห็น

    คิดอย่างไรค่ะ เมื่อบุคคลนั้นสงสัยว่าใช่โสดาบันหรือไม่
    แต่ก็มีคำตอบใหัตัวเองว่า...ยังไม่ใช่!!!!!!
    โสดาบันจะมีความสงสัยในตนเองไหมค่ะ:D
     
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ความสงสัยในตัวเอง

    ความ เหมือนว่าตรึกอย่างนี้ใกล้ละ

    ความ ทำอย่างนี้ใช่แน่คราวก่อนมันจะ มันจะ

    ความ เท่านี้ใช่ อย่างอื่นเปล่า


    พวกนี้ คือ อาการ ลูบคลำ สีล พรต
     
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    สงสัยว่าเปน

    สงสัยว่าใช่

    โดยบัญญัติ เปน ความสงสัย

    โดย ปรมัตถ ราก ก้ อยากจะพูด ตัวเดิม

    แก่น กลวง คือ ตัวที่เที่ยงมาแต่เกิด บรรลุ
    ก้ยังไม่สะเทือน แถมยัง มารับเอาทุกอย่าง
    ที่ สงสัยว่าจะ สงสัยว่าใช่ สงสัยว่าเปน

    ดังนั้น สิ่งๆนั้น หน้าที่ของมันคือ ต้อนรับ อุปาธิ

    ตรายใดมี อุปาธิ ตราบนั้น ตายก่อนตาย ไม่เหน
     

แชร์หน้านี้

Loading...