♥ มาแต่งกลอนแก้เหงากันนะ ♥

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย kib_jang, 21 มีนาคม 2008.

  1. ขุนวัง

    ขุนวัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2015
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +726
    LetGonotdefeat.jpg

    ขอบคุณ
    บทความให้กำลังใจ
    supatornผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    การปล่อยวาง

    "การปล่อยวาง"ปล่อยนั้น..........อย่างไร
    "การปล่อย"คือออกไกล...........ขุ่นข้อง
    เป็นการปล่อยใจใน..................ปลอดโปร่ง
    วนวุ่นวังคิดต้อง.......................ปล่อยให้ ใจสบาย

    "การวาง"กายว่าพ้น..................จากมือ
    จับสิ่งใดทุกข์ฤา.......................พักไว้
    เพียงวางหนักแบกคือ...............วางทุกข์ ภายนอก
    เป็นเหตุออกทุกข์ได้................สุขทั้ง กายใจ

    ทุกข์นอกในว่างไว้...................เบาลง ปล่อยวาง
    พลางสงบมั่นคง......................หลักตั้ง
    ใจกายว่างยืนยง......................จับต่อ
    เหตุก่อปัญหารั้ง......................กลับแก้ คลี่คลาย

    ปล่อยภายในสติตั้ง...................ทำมี
    เสริมส่งปัญญาดี......................
    พรักพร้อม
    นับลมหนึ่งวิธี...........................เรียกส-ติมา
    สงบกายาซ้อม.........................รับร้อน ปัญหา

    "ปัญญานอก"ใฝ่รู้.....................ตำรา ทางโลก
    บัณฑิตอีกครูบา.......................ช่วยแก้
    อีกคบเพื่อน
    กัลยา....................ณมิตร ธรรมเฮย
    พิชิตปัญหาแท้........................หากพร้อม ปัจจัย

    "ปัญญาใน"ใฝ่รู้........................มรรคธรรม เห็นชอบ
    จงอยู่ศีลเขตกรรม....................เริ่มต้น
    สมาธิใจพลัน...........................สงบ
    ต่อเนื่องจบจิตด้น.....................สืบได้ ปัญญา.

    การหนี

    "การหนี"คือปล่อยทิ้ง...............ลับลา
    เที่ยวดื่มเพลินสุรา...................เพื่อย้อม
    อยากคลายเรื่องปัญหา............ทุกข์ทับ กลับลืม
    พอสร่างเมาคืนล้อม.................ทุกข์ซ้ำ ทบทวี



    ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน
    ปล่อย
    [ปฺล่อย] ก. ทําให้ออกจากสิ่งที่ติดอยู่ ผูกอยู่ หรือข้องอยู่ เป็นต้น เช่น ปล่อยนักโทษ ปล่อยนก

    วาง
    ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นจากมือหรือบ่าเป็นต้นด้วยอาการกิริยาต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เช่น วางข้าวของเรียงเป็นแถว วางกับดักหนูวางกระดานลงกับพื้น วางเสาพิงกับผนัง


    พรักพร้อม
    [พฺรัก] ว. รวมอยู่พร้อมหน้ากัน ใช้ในลักษณะเช่นญาติพี่น้องมากันพรักพร้อม รวมอยู่พร้อมทุกอย่าง เช่น เตรียมข้าวของไว้ให้พรักพร้อม พร้อมพรัก ก็ว่า.

    .....................
    กัลยาณมิตรธรรม 7 (องค์คุณของกัลยาณมิตร, คุณสมบัติของมิตรดีหรือมิตรแท้ คือท่านที่คบหรือเข้าหาแล้วจะเป็นเหตุให้เกิดความดีงามและความเจริญ ในที่นี้มุ่งเอามิตรประเภทครูหรือพี่เลี้ยงเป็นสำคัญ — qualities of a good friend)
    1. ปิโย (น่ารัก ในฐานเป็นที่สบายใจและสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าไปปรึกษา ไต่ถาม — lovable; endearing)
    2. ครุ (น่าเคารพ ในฐานประพฤติสมควรแก่ฐานะ ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งใจ และปลอดภัย — estimable; respectable; venerable)
    3. ภาวนีโย (น่าเจริญใจ หรือน่ายกย่อง ในฐานทรงคุณคือความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง ทั้งเป็นผู้ฝึกอบรมและปรับปรุงตนอยู่เสมอ ควรเอาอย่าง ทำให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ — adorable; cultured; emulable)
    4. วตฺตา จ (รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไรอย่างไร คอยให้คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี — being a counsellor)
    5. วจนกฺขโม (อดทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถามคำเสนอแนะวิพากษ์วิจารณ์ อดทน ฟังได้ไม่เบื่อ ไม่ฉุนเฉียว — being a patient listener)
    6. คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา (แถลงเรื่องล้ำลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อน ให้เข้าใจ และให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป — able to deliver deep discourses or to treat profound subjects)
    7. โน จฏฺฐาเน นิโยชเย (ไม่ชักนำในอฐาน คือ ไม่แนะนำในเรื่องเหลวไหล หรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย

    ที่มา: พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
    http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=278
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2017
  2. ล้อเล่น

    ล้อเล่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    4,924
    ค่าพลัง:
    +18,649
    การหนี

    "การหนี"คือปล่อยทิ้ง...............ลับลา
    ท่องเที่ยวในมรรคคา................ฝึกฝน
    ดูลมหายใจพา........................สงบ....เงียบดี
    หนีความวุ่นวายพ้น..................ว่าเข้า....ภวังค์ คนละหนีอิอิ
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,346
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    ครอกครอกหนืดฟี้ฟี้ หลับไหล
    ความทุกข์ร้อนจากไป ชั่วครู่
    ยามตื่นจิตแกว่งไกว กลุ้มได้ อีกนา
    จึงจําต้องฝึกอยู่ ทุกเมื่อ เชื่อวัน
    :):D
     
  4. ล้อเล่น

    ล้อเล่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    4,924
    ค่าพลัง:
    +18,649
    ลางวันเวลามี.............กลับแกว่ง
    คิดมีแต่ปรุงแต่ง.........สับสน
    ยามยุ่งหยุดแค่แบ่ง.....จิตรวม..เจอหลับ
    สติวิ่งซ่อนซ้น.............จึ่งได้....เริ่มใหม่
     
  5. ขุนวัง

    ขุนวัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2015
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +726

    อันว่าวายวุ่นพ้น.......................ลับลา "การหนี"
    กำหนดลมใจพา......................ฝึกนั้น
    เรียก"หนี"ว่า"ปล่อย"นา............เอยท่าน:D
    เหตุเพราะทุกข์ในคั้น...............บีบเค้น เบาคลาย

    ภวังค์กลายครอกฟี้..................ก็ดี
    เพียงเบี่ยงทุกข์วิธี...................พักร้อน
    ฤาหลบเปลี่ยนชีวี....................พักผ่อน กายา
    พักร่าง"วาง"เตรียมพร้อม.........เพื่อตั้ง หลักชัย:D


    อยู่ปัญหาภัยเรื่องร้อน...............เหมือนเย็น
    อยู่วุ่นนอกไม่เห็น....................ขุ่นข้อง
    นอกในต่างแยกเป็น.................คนละ ส่วนเฮย
    จับแยกปล่อยนอกต้อง.............อาจร้อน เย็นใน

    ลูกศรใดปักนั้น........................เพียงกาย
    เจ็บทุรนทุราย.........................นอกได้
    หากรักษ์จิตใจสบาย................สงบ
    ศรอื่นหมื่นปักให้.....................เจ็บช้ำ เพียงกาย

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2017
  6. ขุนวัง

    ขุนวัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2015
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +726
    LoveBinding (1).jpg
    ขอบคุณ
    บทความให้กำลังใจ
    supatornผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต


    ทุกข์เพราะยึด

    รัก-แรก
    เกิดโตมา พบรัก แต่แม่พ่อ
    เติบโตต่อ พบรัก ทุกแห่งหน
    แต่ทุกรัก นำยึด เป็นของตน
    ย่อมทุรน ไม่สมหวัง อยู่ร่ำไป

    รัก-ธรรมมา
    ไม่มีรัก ไม่มีทุกข์ หมายความว่า
    ไม่ทุกข์ถ้า ไม่นำพา ยึดมั่นใด
    ทุกข์ทุกสิ่ง อนิจจา ชราภัย
    ต้องบรรลัย มองให้เห็น เป็นธรรมมา

    รัก-เมตตา
    รักพ่อแม่ รักษ์วงศ์ ทำความดี
    ชื่นชีวี พ่อแม่ สมสอนพา
    ยามท่านอยู่ ทำหน้าที่ บุตรธิดา
    มรณา อุทิศแผ่ แต่ความดี

    รัก-รักษา

    หากรักทรัพย์ ห่วงในสิน ขยันหา
    ไม่นำพา ทางเสื่อม หมดราศี
    ใช้ให้ถูก ออมเก็บ เป็นวิธี
    คบเพื่อนดี เป็นเศรษฐี ถ้วนหน้าไป

    รัก-พ้นทุกข์
    ดุจน้ำใส ไหลบน ใบบัวบอน
    กระเด็นดอน ไม่ซึมซาบ นั้นฉันใด
    อยู่ในโลก ไม่ติดโลก ไม่ว่าใคร
    หฤทัย ท่านนั้น พ้นทุกข์เอย.

    .............................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2017
  7. ขุนวัง

    ขุนวัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2015
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +726
    รักผูกพันยึดรั้ง.....................โศกา
    หมองหม่นตรมอุรา..............
    .หมกไหม้
    หากรักเปลี่ยนแปรมา............หวังสุข กันเฮย
    พลันแผ่เมตตาให้.................โศกเศร้า ฤามี


    ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน
    หมกไหม้
    ว. ร้อนระอุ เช่น ตกนรกหมกไหม้ มีความทุกข์มาก เช่น หัวอกหมกไหม้.
     
  8. ขุนวัง

    ขุนวัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2015
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +726
    images-2.jpg
    @เหตุอดีตเสกให้......................ดีมา
    ผลปัจจุบันพา............................ชื่นได้
    เหตุปัจจุบันตรา.........................สืบต่อ
    ผลอนาคตไซร้..........................สุขได้ เหตุดี


    ปัจจุบันเพียรกิจย้ำ.......................ใคร่ครวญ
    ถูกหลักตามกระบวน.....................ศาสตร์ล้ำ
    "
    จิตฝักใฝ่"ทบทวน.......................ต่อเนื่อง นานนา
    ดีชอบ
    พอใจค้ำ............................เสร็จได้ ผลสม


    ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน
    ศาสตร ศาสตร์
    [สาดตฺระ สาดสะตฺระ สาด] น. ระบบวิชาความรู้ มักใช้ประกอบหลังคําอื่น เช่น วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์มนุษยศาสตร์. (ส.).

    ใคร่ครวญ
    [ไคฺร่คฺรวน] ก. ตรึกตรอง พิจารณา คิดทบทวน.
    ........................
    อิทธิบาท 4
    (คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ, คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย - path of accomplishment; basis for success)
    1. ฉันทะ (ความพอใจ คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป - will; aspiration)
    2. วิริยะ (ความเพียร คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย - energy; effort; exertion)
    3. จิตตะ (ความคิด คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำและสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป - thoughtfulness; active thought)
    4. วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผลและตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น - investigation; examination; reasoning; testing)

    ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
    http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=213
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มิถุนายน 2017
  9. ขุนวัง

    ขุนวัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2015
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +726
    Cheeruplife.jpg
    ขอบคุณ
    บทความให้กำลังใจ
    supatornผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต



    (บังเอิญไม่มีในโลก)

    ความบังเอิญเหตุนั้น..................ไม่มี
    ทุกข์สุขทุกชีวี..........................ผ่านพ้น
    เลวทรามประณีตดี....................พินิจ ตนนา
    อดีตเหตุใดค้น.........................สืบปั้น ปัจจุบัน

    (เคราะห์บาป-เคราะห์ดี)

    อันเคราะห์บาปสาปให้..............ทุกข์ยาก
    เรืองรุ่งกลับลำบาก...................ริ่งร้าย
    เคราะห์ดีเปลี่ยนอยู่ฟาก............เย็นรื่น รมย์นา
    ดีเหตุดลสุดท้าย.......................ยากไร้ บรรเทา

    (ชั่วคู่ร้อน-ดีคู่เย็น)

    ลำเนาชั่วคู่ร้อน.........................เหตุทำ
    เกิดจากบาปเคราะห์นำ..............จึ่งได้
    ส่วนเย็นคู่บุญกรรม....................ดีเหตุ
    สังเขปนิยามคู่ไว้.......................ชั่วร้อน ดีเย็น

    (เหตุชั่ว-ผลร้อน)

    ทุกข์ลำเค็ญชั่วไว้......................แต่ใด
    นานผ่านทุกข์ใจไป....................เท่านั้น
    ปัจจุบันฤทัย.............................ทรงอยู่ ศีลธรรม
    สติปัญญาครั้น..........................ครบพร้อม ดีนา

    (ดีไล่ชั่ว-สุขได้-พอเย็น)

    อุปมาความเน่าน้ำ.....................ชั่วพา
    เติมใส่ดีใสธารา........................เรื่อยให้
    น้ำเสียเน่าจากลา......................คืนสู่ ใสแล
    ดุจใส่ดีไล่ไซร้..........................ชั่วร้าย จางลง

    (ทรงศีล-ตั้งความเห็นให้ตรง)

    ศีลทรงดำริชอบตั้ง....................มรรคดี
    สติปัญญามี..............................พรักพร้อม
    กุศลใฝ่วิธี.................................ละบาป บุญทำ
    เป็นเหตุนำคลายร้อน.................เคราะห์ร้าย กลายดี.



    รื่นรมย์
    ว. สบายใจ บันเทิง เช่น สวนสาธารณะปลูกต้นไม้ไว้สวยงามน่ารื่นรมย์.

    ลำเค็ญ
    ว. ลําบาก ยากแค้น เช่น เขามีชีวิตลำเค็ญ.
    ....................................
    มรรค แปลว่า ทาง ในที่นี้หมายถึง ทางเดินของใจ เป็นการเดินออกจากความทุกข์ ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์และเวไนยสัตว์ทั้งหลายหลงยึดถือ และประกอบขึ้นใส่ตนด้วยอำนาจของอวิชา คือ ความไม่รู้ ซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ หนทางดำเนินไปที่ประกอบพร้อมเพรียงกันเกี่ยวพันกันทุกข้อ ซึ่งย่อลงมาก็คือ สติปัฏฐาน ๔ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย
    ๑. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ
    ๒. สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ
    ๓. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ
    ๔. สัมมากัมมันตะ คือ ทำการงานชอบ
    ๕. สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ
    ๖. สัมมาวายามะ คือ มีความเพียรชอบ
    ๗. สัมมาสติ คือ ระลึกชอบ
    ๘. สัมมาสมาธิ คือ ตั้งใจชอบ
    http://www.phuttha.com/พระพุทธเจ้า/ตรัสรู้/อริยมรรคมีองค์-๘
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2017
  10. ขุนวัง

    ขุนวัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2015
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +726
    สะเดาะเคราะห์ฮ่าร้อย.................เข้ามา :D
    เชิญแห่จูงมือพา........................จัดให้:cool:
    เคราะห์ไม่หนักราคา...................เหลือครึ่ง:rolleyes:
    เคราะห์หนักสลึงครึ่งไซร้............อย่าได้ ต่อรอง:cool:

    (ต่อรองได้แสดงว่าเคราะห์ไม่หนักจริงนะสิ :D)

    **ฮ่า เป็นคำเอกโทษ คำเดิมคือ ห้า
    ดังนั้น "ฮ่าร้อย" จึงมาจาก "ห้าร้อย"

    IMG_20170326_002813.JPG
    ขอบคุณ
    ห้องสนุกสุขหรรษา..เข้ามายิ้มหัว
    ตั้งกระทู้โดย เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา,
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มิถุนายน 2017
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,346
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    Poem.gif :):):D
     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,346
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    วันนี้วันสุนทรภู่
    Suntornpoo.jpg
    สุนทรภู่ ยอดกวีแห่งแผ่นดินสยาม..
    ประวัติสุนทรภู่...



    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



    พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2398) เป็นกวีชาวไทยที่มีชื่อเสียง ได้รับยกย่องเป็น มหากวีแห่งรัตนโกสินทร์ หรือ เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย เกิดหลังจากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 4 ปี และได้เข้ารับราชการเป็นกวีราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาลักษณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต



    สุนทรภู่เป็นกวีที่มีความชำนาญทางด้านกลอน ได้สร้างขนบการประพันธ์กลอนนิทานและกลอนนิราศขึ้นใหม่จนกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ผลงานที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่มีมากมายหลายเรื่อง เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศสุพรรณ เพลงยาวถวายโอวาท กาพย์พระไชยสุริยา และ พระอภัยมณี เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่า เป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนนิทาน และเป็นผลงานที่แสดงถึงทักษะ ความรู้ และทัศนะของสุนทรภู่อย่างมากที่สุด งานประพันธ์หลายชิ้นของสุนทรภู่ได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการ เรียนการสอนนับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เช่น กาพย์พระไชยสุริยา นิราศพระบาท และอีกหลายๆ ส่วนในเรื่อง พระอภัยมณี



    ปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบ 200 ปีชาตกาล สุนทรภู่ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้ เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านงานวรรณกรรม ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่างๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ ไว้ที่ ต.บ้านกร่ำ อ.แกลง จ.ระยอง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นกำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ นิราศเมืองแกลง วันเกิดของสุนทรภู่คือวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็น วันสุนทรภู่ ซึ่งเป็นวันสำคัญด้านวรรณกรรมของไทย มีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่างๆ โดยทั่วไป



    ประวัติ ต้นตระกูล



    บันทึกส่วนใหญ่มักระบุถึงต้นตระกูลของสุนทรภู่เพียงว่า บิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มารดาเป็นชาวเมืองอื่น ทั้งนี้เนื่องจากเชื่อถือตามพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่อง ชีวิตและงานของสุนทรภู่ ต่อมาในภายหลัง เมื่อมีการค้นพบข้อมูลต่างๆ มากยิ่งขึ้น ก็มีแนวคิดเกี่ยวกับต้นตระกูลของสุนทรภู่แตกต่างกันออกไป นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่า ฝ่ายบิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ เมืองแกลง จริง เนื่องจากมีปรากฏเนื้อความอยู่ใน นิราศเมืองแกลง ถึงวงศ์วานว่านเครือของสุนทรภู่ แต่ความเห็นเกี่ยวกับตระกูลฝ่ายมารดานี้แตกออกเป็นหลายส่วน ส่วนหนึ่งว่าไม่ทราบที่มาแน่ชัด ส่วนหนึ่งว่าเป็นชาวฉะเชิงเทรา และส่วนหนึ่งว่าเป็นชาวเมืองเพชร ก.ศ.ร. กุหลาบ เคยเขียนไว้ในหนังสือ สยามประเภท ว่า บิดาของสุนทรภู่เป็นข้าราชการแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ชื่อขุนศรีสังหาร (พลับ) ข้อมูลนี้สอดคล้องกับบทกวีไม่ทราบชื่อผู้แต่งซึ่ง ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ พบที่อนุสาวรีย์สุนทรภู่ จ.ระยอง ว่าบิดาของสุนทรภู่เป็นชาวบ้านกร่ำ ชื่อพ่อพลับ ส่วนมารดาเป็นชาวเมืองฉะเชิงเทรา ชื่อแม่ช้อย ทว่าแนวคิดที่ได้รับการยอมรับกันค่อนข้างกว้างขวางคือ ตระกูลฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชร สืบเนื่องจากเนื้อความใน นิราศเมืองเพชร ฉบับค้นพบเพิ่มเติมโดย อ.ล้อม เพ็งแก้ว เมื่อ พ.ศ. 2529



    วัยเยาว์



    สุนทรภู่ มีชื่อเดิมว่า ภู่ เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลาเช้า 2 โมง (ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329) ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง ซึ่งเป็นบริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน นี้ เชื่อว่าหลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำอันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้นสุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง สุนทรภู่ยังมีน้องสาวต่างบิดาอีกสองคน ชื่อฉิมและนิ่ม



    เชื่อกันว่า ในวัยเด็กสุนทรภู่ได้ร่ำเรียนหนังสือกับพระในสำนักวัดชีปะขาว (ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานนามในรัชกาลที่ 4 ว่า วัดศรีสุดาราม อยู่ริมคลองบางกอกน้อย) ตามเนื้อความส่วนหนึ่งที่ปรากฏใน นิราศสุพรรณ ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดีตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม จากสำนวนกลอนของสุนทรภู่ เชื่อว่าผลงานที่มีการประพันธ์ขึ้นก่อนสุนทรภู่อายุได้ 20 ปี (คือก่อนนิราศเมืองแกลง) เห็นจะได้แก่กลอนนิทานเรื่อง โคบุตร



    สุนทรภู่ลอบรักกับนางข้าหลวงในวังหลังคนหนึ่ง ชื่อแม่จัน ชะรอยว่าหล่อนจะเป็นบุตรหลานผู้มีตระกูล จึงถูกกรมพระราชวังหลังกริ้วจนถึงให้โบยและจำคุกคนทั้งสอง แต่เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2349 จึงมีการอภัยโทษแก่ผู้ถูกลงโทษทั้งหมดถวายเป็นพระราชกุศล หลังจากสุนทรภู่ออกจากคุกก็เดินทางไปหาบิดาที่เมืองแกลง จังหวัดระยอง การเดินทางครั้งนี้สุนทรภู่ได้แต่ง นิราศเมืองแกลง พรรณนาสภาพการเดินทางต่างๆ เอาไว้โดยละเอียด และลงท้ายเรื่องว่า แต่งมาให้แก่แม่จัน "เป็นขันหมากมิ่งมิตรพิสมัย" ในนิราศได้บันทึกสมณศักดิ์ของบิดาของสุนทรภู่ไว้ด้วยว่า เป็น "พระครูธรรมรังษี" เจ้าอาวาสวัดป่ากร่ำ กลับจากเมืองแกลงคราวนี้ สุนทรภู่จึงได้แม่จันเป็นภรรยา



    แต่กลับจากเมืองแกลงเพียงไม่นาน สุนทรภู่ต้องติดตามพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ในฐานะมหาดเล็ก ตามเสด็จไปในงานพิธีมาฆบูชา ที่ อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2350 สุนทรภู่ได้แต่ง นิราศพระบาท พรรณนาเหตุการณ์ในการเดินทางคราวนี้ด้วย



    สุนทรภู่กับแม่จันมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อหนูพัด ได้อยู่ในความอุปการะของเจ้าครอกทองอยู่ ส่วนหนุ่มสาวทั้งสองมีเรื่องระหองระแหงกันเสมอ จนภายหลังก็เลิกรากันไป



    หลังจาก นิราศพระบาท ที่สุนทรภู่แต่งในปี พ.ศ. 2350 ไม่ปรากฏผลงานใดๆ ของสุนทรภู่อีกเลยจนกระทั่งเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2359



    กวีราชสำนัก



    สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์เมื่อ พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 มูลเหตุในการได้เข้ารับราชการนี้ ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจแต่งโคลงกลอนได้เป็นที่พอพระทัย ทราบถึงพระเนตรพระกรรณจึงทรงเรียกเข้ารับราชการ แนวคิดหนึ่งว่าสุนทรภู่เป็นผู้แต่งกลอนในบัตรสนเท่ห์ ซึ่งปรากฏชุกชุมอยู่ในเวลานั้น อีกแนวคิดหนึ่งสืบเนื่องจาก "ช่วงเวลาที่หายไป" ของสุนทรภู่ ซึ่งน่าจะใช้วิชากลอนทำมาหากินเป็นที่รู้จักเลื่องชื่ออยู่ ชะรอยจะเป็นเหตุให้ถูกเรียกเข้ารับราชการก็ได้



    เมื่อแรกสุนทรภู่รับราชการเป็นอาลักษณ์ปลายแถว มีหน้าที่เฝ้าเวลาทรงพระอักษรเพื่อคอยรับใช้ แต่มีเหตุให้ได้แสดงฝีมือกลอนของตัว เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแต่งกลอนบทละครในเรื่อง "รามเกียรติ์" ติดขัดไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯ เลื่อนให้เป็น ขุนสุนทรโวหาร การต่อกลอนของสุนทรภู่คราวนี้เป็นที่รู้จักทั่วไป เนื่องจากปรากฏรายละเอียดอยู่ในพระนิพนธ์ ชีวิตและงานของสุนทรภู่ ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บทกลอนในรามเกียรติ์ที่สุนทรภู่ได้แต่งในคราวนั้นคือ ตอนนางสีดาผูกคอตาย และตอนศึกสิบขุนสิบรถ ฉากบรรยายรถศึกของทศกัณฐ์ สุนทรภู่ได้เลื่อนยศเป็น หลวงสุนทรโวหาร ในเวลาต่อมา ได้รับพระราชทานบ้านหลวงอยู่ที่ท่าช้าง ใกล้กับวังท่าพระ และมีตำแหน่งเข้าเฝ้าเป็นประจำ คอยถวายความเห็น เกี่ยวกับพระราชนิพนธ์และพระนิพนธ์วรรณคดีเรื่องต่างๆ รวมถึงได้ร่วมในกิจการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเป็นหนึ่งในคณะร่วมแต่ง ขุนช้างขุนแผน ขึ้นใหม่



    ระหว่างรับราชการ สุนทรภู่ต้องโทษจำคุกเพราะถูกอุทธรณ์ว่าเมาสุราทำร้ายญาติผู้ใหญ่ แต่จำคุกได้ไม่นานก็โปรดพระราชทานอภัยโทษ เล่ากันว่าเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงติดขัดบท พระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทอง ไม่มีใครแต่งได้ต้องพระทัย ภายหลังพ้นโทษ สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 เชื่อว่าสุนทรภู่แต่งเรื่อง สวัสดิรักษา ในระหว่างเวลานี้



    ในระหว่างรับราชการอยู่นี้ สุนทรภู่แต่งงานใหม่กับแม่นิ่ม มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ชื่อพ่อตาบ



    ออกบวช(ช่วงตกยาก)



    สุนทรภู่รับราชการอยู่เพียง 8 ปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นสุนทรภู่ก็ออกบวช แต่จะได้ลาออกจากราชการก่อนออกบวชหรือไม่ยังไม่ปรากฏแน่ชัด แม้จะไม่ปรากฏโดยตรงว่าสุนทรภู่ได้รับพระบรมราชูปถัมภ์จากราชสำนักใหม่ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ก็ได้รับพระอุปถัมภ์จากพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นอยู่เสมอ เช่น ปี พ.ศ. 2372 สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรเจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว พระโอรสในเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ปรากฏความอยู่ใน เพลงยาวถวายโอวาท นอกจากนั้นยังได้อยู่ในพระอุปถัมภ์ของพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ และกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ซึ่งปรากฏเนื้อความในงานเขียนของสุนทรภู่บางเรื่องว่า สุนทรภู่แต่งเรื่อง พระอภัยมณี และ สิงหไตรภพ ถวาย



    กุฏิวัดเทพธิดารามที่สุนทรภู่บวชจำพรรษา เป็นสถานที่ค้นพบวรรณกรรมที่ทรงคุณค่ามากมายเช่น พระอภัยมณี ฯลฯ ที่ท่านเก็บซ่อนไว้ใต้เพดานหลังคากุฏิของท่าน



    สุนทรภู่บวชอยู่เป็นเวลา 18 ปี ระหว่างนั้นได้ย้ายไปอยู่วัดต่างๆ หลายแห่ง เท่าที่พบระบุในงานเขียนของท่านได้แก่ วัดเลียบ วัดแจ้ง วัดโพธิ์ วัดมหาธาตุ และวัดเทพธิดาราม งานเขียนบางชิ้นสื่อให้ทราบว่า ในบางปี ภิกษุภู่เคยต้องเร่ร่อนไม่มีที่จำพรรษาบ้างเหมือนกัน ผลจากการที่ภิกษุภู่เดินทางธุดงค์ไปที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ปรากฏผลงานเป็นนิราศเรื่องต่างๆ มากมาย และเชื่อว่าน่าจะยังมีนิราศที่ค้นไม่พบอีกเป็นจำนวนมาก



    งานเขียนชิ้นสุดท้ายที่ภิกษุภู่แต่งไว้ก่อนลาสิกขาบท คือ รำพันพิลาป โดยแต่งขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม พ.ศ. 2385



    ช่วงปลายของชีวิต



    ปี พ.ศ. 2385 ภิกษุภู่จำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม คืนหนึ่งหลับฝันเห็นเทพยดาจะมารับตัวไป เมื่อตื่นขึ้นคิดว่าตนถึงฆาตจะต้องตายแล้ว จึงประพันธ์เรื่อง รำพันพิลาป พรรณนาถึงความฝันและเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่ได้ประสบมาในชีวิต หลังจากนั้นก็ลาสิกขาบทเพื่อเตรียมตัวจะตาย ขณะนั้นสุนทรภู่มีอายุได้ 56 ปี



    หลังจากลาสิกขาบท สุนทรภู่ได้รับพระอุปถัมภ์จากเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ รับราชการสนองพระเดชพระคุณทางด้านงานวรรณคดี สุนทรภู่แต่ง เสภาพระราชพงศาวดาร บทเห่กล่อมพระบรรทม และบทละครเรื่อง อภัยนุราช ถวาย รวมถึงยังแต่งเรื่อง พระอภัยมณี ถวายให้กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพด้วย เมื่อถึงปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาเจ้าฟ้าน้อยขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สุนทรภู่จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร มีบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหาร ช่วงระหว่างเวลานี้สุนทรภู่ได้แต่งนิราศเพิ่มอีก 2 เรื่อง คือ นิราศพระประธม และ นิราศเมืองเพชร



    สุนทรภู่พำนักอยู่ในเขตพระราชวังเดิม ใกล้หอนั่งของพระยามนเทียรบาล (บัว) มีห้องส่วนตัวเป็นห้องพักกั้นเฟี้ยมที่เรียกชื่อกันว่า "ห้องสุนทรภู่" เชื่อว่าสุนทรภู่พำนักอยู่ที่นี่ตราบจนสิ้นชีวิต เมื่อปี พ.ศ. 2398 สิริรวมอายุได้ 69 ปี



    ทายาท



    สุนทรภู่มีบุตรชายสามคน คือพ่อพัด เกิดจากภรรยาคนแรกคือแม่จัน พ่อตาบ เกิดจากภรรยาคนที่สองคือแม่นิ่ม และพ่อนิล เกิดจากภรรยาที่ชื่อแม่ม่วง นอกจากนี้ปรากฏชื่อบุตรบุญธรรมอีกสองคน ชื่อพ่อกลั่น และพ่อชุบ



    พ่อพัดนี้เป็นลูกรัก ได้ติดสอยห้อยตามสุนทรภู่อยู่เสมอ เมื่อครั้งสุนทรภู่ออกบวช พ่อพัดก็ออกบวชด้วย เมื่อสุนทรภู่ได้มารับราชการกับเจ้าฟ้าน้อย พ่อพัดก็มาพำนักอยู่ด้วยเช่นกัน ส่วนพ่อตาบนั้นปรากฏว่าได้เป็นกวีมีชื่ออยู่พอสมควร เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น ตระกูลของสุนทรภู่ได้ใช้นามสกุลต่อมาว่า ภู่เรือหงส์



    เรื่องนามสกุลของสุนทรภู่นี้ ก.ศ.ร. กุหลาบ เคยเขียนไว้ในหนังสือสยามประเภท อ้างถึงผู้ถือนามสกุล ภู่เรือหงส์ ที่ได้รับบำเหน็จจากหมอสมิทเป็นค่าพิมพ์หนังสือเรื่อง พระอภัยมณี แต่หนังสือของ ก.ศ.ร. กุหลาบ ไม่เป็นที่ยอมรับของราชสำนัก ด้วยปรากฏอยู่บ่อยครั้งว่ามักเขียนเรื่องกุ เรื่องนามสกุลของสุนทรภู่จึงพลอยไม่ได้รับการเชื่อถือไปด้วย จนกระทั่ง ศจ.ผะอบ โปษะกฤษณะ ยืนยันความข้อนี้เนื่องจากเคยได้พบกับหลานปู่ของพ่อพัดมาด้วยตนเอง


    อุปนิสัย



    ตำราโหราศาสตร์ผูกดวงชะตาวันเกิดของสุนทรภู่ไว้เป็นดวงประเทียบ พร้อมคำอธิบายข้างใต้ดวงชะตาว่า "สุนทรภู่ อาลักษณ์ขี้เมา" เหตุนี้จึงเป็นที่กล่าวขานกันเสมอมาว่า สุนทรภู่นี้ขี้เหล้านัก ในงานเขียนของสุนทรภู่เองก็ปรากฏบรรยายถึงความมึนเมาอยู่หลายครั้ง แม้จะดูเหมือนว่า สุนทรภู่เองก็รู้ว่าการมึนเมาสุราเป็นสิ่งไม่ดี ได้เขียนตักเตือนผู้อ่านอยู่ในงานเขียนเสมอ การดื่มสุราของสุนทรภู่อาจเป็นการดื่มเพื่อสังสรรค์และเพื่อสร้างอารมณ์ ศิลปิน ด้วยปรากฏว่าเรือนสุนทรภู่มักเป็นที่ครึกครื้นรื่นเริงกับหมู่เพื่อนฝูงอยู่ เสมอ นอกจากนี้ยังเล่ากันว่า เวลาที่สุนทรภู่กรึ่มๆ แล้วอาจสามารถบอกกลอนให้เสมียนถึงสองคนจดตามแทบไม่ทัน เมื่อออกบวช สุนทรภู่เห็นจะต้องพยายามเอาชนะใจตัวเองให้ได้ ซึ่งในท้ายที่สุดก็สามารถทำได้



    สุนทรภู่มักเปรียบการเมาเหล้ากับการเมารัก ชีวิตรักของสุนทรภู่ดูจะไม่สมหวังเท่าที่ควร หลังจากแยกทางกับแม่จัน สุนทรภู่ได้ภรรยาคนที่สองชื่อแม่นิ่ม นอกจากนี้แล้วยังปรากฏชื่อหญิงสาวมากหน้าหลายตาที่สุนทรภู่พรรณนาถึง เมื่อเดินทางไปถึงหย่อมย่านมีชื่อเสียงคล้องจองกับหญิงสาวเหล่านั้น นักวิจารณ์หลายคนจึงบรรยายลักษณะนิสัยของสุนทรภู่ว่าเป็นคนเจ้าชู้ และบ้างยังว่าความเจ้าชู้นี้เองที่ทำให้ต้องหย่าร้างกับแม่จัน ความข้อนี้เป็นจริงเพียงไรไม่ปรากฏ



    ขุนวิจิตรมาตราเคย ค้นชื่อสตรีที่เข้ามาเกี่ยวพันกับสุนทรภู่ในงานประพันธ์ต่างๆ ของท่าน ได้ชื่อออกมากว่า 12 ชื่อ คือ จัน พลับ แช่ม แก้ว นิ่ม ม่วง น้อย นกน้อย กลิ่น งิ้ว สุข ลูกจันทน์ และอื่นๆ อีก ทว่าสุนทรภู่เองเคยปรารภถึงการพรรณนาถึงหญิงสาวในบทประพันธ์ของตนว่า เป็นไปเพื่อให้ได้อรรถรสในงานประพันธ์เท่านั้น จะถือเป็นจริงเป็นจังมิได้



    อย่างไรก็ดี การบรรยายความโศกเศร้าและอาภัพในความรักของสุนทรภู่ปรากฏอยู่ในงานเขียนนิราศของ ท่านแทบทุกเรื่อง สตรีในดวงใจที่ท่านรำพันถึงอยู่เสมอก็คือแม่จัน ซึ่งเป็นรักครั้งแรกที่คงไม่อาจลืมเลือนได้ แต่น่าจะมีความรักใคร่กับหญิงอื่นอยู่บ้างประปราย และคงไม่มีจุดจบที่ดีนัก ใน นิราศพระประธม ซึ่งท่านประพันธ์ไว้เมื่อมีอายุกว่า 60 ปีแล้ว สุนทรภู่ได้อธิษฐานไม่ขอพบกับหญิงทิ้งสัตย์อีกต่อไป



    อุปนิสัยสำคัญอีกประการหนึ่งของสุนทรภู่คือ มีความอหังการ์และมั่นใจในความสามารถของตนเป็นอย่างสูง ลักษณะนิสัยข้อนี้ทำให้นักวิจารณ์ใช้ในการพิจารณางานประพันธ์ซึ่งยังเป็นที่ เคลือบแคลงอยู่ว่า เป็นผลงานของสุนทรภู่หรือไม่ ความอหังการ์ของสุนทรภู่แสดงออกมาอย่างชัดเจนอยู่ในงานเขียนหลายชุด และถือเป็นวรรคทองของสุนทรภู่ด้วย เช่น



    อย่างหม่อมฉันอันที่ดีและชั่ว ถึงลับตัวแต่ก็ชื่อเขาลือฉาว



    เป็นอาลักษณ์นักเลงทำเพลงยาว เขมรลาวลือเลื่องถึงเมืองนคร



    หรืออีกบทหนึ่งคือ



    หนึ่งขอฝากปากคำทำหนังสือ ให้สืบชื่อชั่วฟ้าสุธาสถาน



    สุนทราอาลักษณ์เจ้าจักรพาฬ พระทรงสารศรีเศวตเกศกุญชร



    เรื่องความอหังการ์ของสุนทรภู่นี้ เล่ากันว่าในบางคราวสุนทรภู่ขอแก้บทพระนิพนธ์ของกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ต่อ หน้าพระที่นั่งโดยไม่มีการไว้หน้า ด้วยถือว่าตนเป็นกวีที่ปรึกษา กล้าแม้กระทั่งต่อกลอนหยอกล้อกับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยที่ไม่ทรงถือโกรธ แต่กลับมีทิฐิของกวีที่จะเอาชนะสุนทรภู่ให้ได้ การแก้กลอนหน้าพระที่นั่งนี้อาจเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้สุนทรภู่ล่วงเกินต่อ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์โดยไม่ได้ตั้งใจ และอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สุนทรภู่ตัดสินใจออกบวชหลังสิ้นแผ่นดินรัชกาล ที่ 2 แล้วก็เป็นได้



    ทัศนคติ



    สุนทรภู่ให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างมาก และตอกย้ำเรื่องการศึกษาในวรรณคดีหลายๆ เรื่อง เช่น ขุนแผนสอนพลายงามว่า "ลูกผู้ชายลายมือนั้นคือยศ เจ้าจงอตส่าห์ทำสม่ำเสมียน" หรือที่พระฤๅษีสอนสุดสาครว่า "รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี"



    โดย ที่สุนทรภู่เองก็เป็นผู้สนใจใฝ่ศึกษาหาความรู้ และมีความรู้กว้างขวางอย่างยิ่ง เชื่อว่าสุนทรภู่น่าจะร่วมอยู่ในกลุ่มข้าราชการหัวก้าวหน้าในยุคสมัยนั้น ที่นิยมวิชาความรู้แบบตะวันตก ภาษาอังกฤษ ตลอดกระทั่งแนวคิดยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสตรีมากขึ้นกว่าเดิม



    สิ่งที่สะท้อนแนวความคิดของสุนทรภู่ออกมามากที่สุดคืองานเขียนเรื่อง พระอภัยมณี ซึ่งโครงเรื่องมีความเป็นสากลมากยิ่งกว่าวรรณคดีไทยเรื่องอื่นๆ ตัวละครมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ตัวละครเอกเช่นพระอภัยมณีกับสินสมุทรยังสามารถพูดภาษาต่างประเทศได้หลายภาษา นอกจากนี้ยังเป็นวรรณคดีที่ตัวละครฝ่ายหญิงมีบทบาททางการเมืองอย่างสูง เช่นนางสุวรรณมาลีและนางละเวงวัณฬาที่สามารถเป็นเจ้าครองเมืองได้เอง นางวาลีที่เป็นถึงที่ปรึกษากองทัพ และนางเสาวคนธ์ที่กล้าหาญถึงกับหนีงานวิวาห์ที่ตนไม่ปรารถนา อันผิดจากนางในวรรณคดีไทยตามประเพณีที่เคยมีมา



    ลักษณะความคิดแบบหัวก้าวหน้าเช่นนี้ทำให้ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรียกสมญาสุนทรภู่ว่าเป็น "มหากวีกระฎุมพี" ซึ่งแสดงถึงชนชั้นใหม่ที่เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อทรัพย์สินเงินทองเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นนอกเหนือไปจากยศถาบรรดาศักดิ์ งานเขียนเชิงนิราศของสุนทรภู่หลายเรื่องสะท้อนแนวคิดด้านเศรษฐกิจ รวมถึงวิจารณ์การทำงานของข้าราชการที่ทุจริตคิดสินบน ทั้งยังมีแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทความสำคัญของสตรีมากยิ่งขึ้นด้วย ไมเคิล ไรท์ เห็นว่างานเขียนเรื่อง พระอภัยมณี ของสุนทรภู่ เป็นการคว่ำคติความเชื่อและค่านิยมในมหากาพย์โดย สิ้นเชิง โดยที่ตัวละครเอกไม่ได้มีความเป็น "วีรบุรุษ" อย่างสมบูรณ์แบบ ทว่าในตัวละครทุกๆ ตัวกลับมีความดีและความเลวในแง่มุมต่างๆ ปะปนกันไป



    อย่างไรก็ดี ในท่ามกลางงานประพันธ์อันแหวกแนวล้ำยุคล้ำสมัยของสุนทรภู่ ความจงรักภักดีของสุนทรภู่ต่อพระราชวงศ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็ยังสูงล้ำเป็นล้นพ้นอย่างไม่มีวันจางหายไปแม้ในวาระสุดท้าย สุนทรภู่รำพันถึงพระมหากรุณาธิคุณหลายครั้งในงานเขียนเรื่องต่างๆ ของท่าน ในงานประพันธ์เรื่อง นิราศพระประธม ซึ่งสุนทรภู่ประพันธ์หลังจากลาสิกขาบท และมีอายุกว่า 60 ปีแล้ว สุนทรภู่เรียกตนเองว่าเป็น "สุนทราอาลักษณ์เจ้าจักรพาฬ พระทรงสารศรีเศวตเกศกุญชร" กล่าวคือเป็นอาลักษณ์ของ "พระเจ้าช้างเผือก" อันเป็นพระสมัญญานามของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สุนทรภู่ได้แสดงจิตเจตนาในความจงรักภักดีอย่างไม่เสื่อมคลาย ปรากฏใน นิราศภูเขาทอง ความว่า



    "จะสร้างพรตอตส่าห์ส่งบุญถวาย ประพฤติฝ่ายสมถะทั้งวสา



    เป็นสิ่งของฉลองคุณมุลิกา ขอเป็นข้าเคียงพระบาททุกชาติไป"



    ความรู้และทักษะ



    เมื่อพิจารณาจากผลงานต่างๆ ของสุนทรภู่ ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนนิราศหรือกลอนนิยาย สุนทรภู่มักแทรกสุภาษิต คำพังเพย คำเปรียบเทียบต่างๆ ทำให้ทราบว่าสุนทรภู่นี้ได้อ่านหนังสือมามาก จนสามารถนำเรื่องราวต่างๆ ที่ตนทราบมาแทรกเข้าไปในผลงานได้อย่างแนบเนียน เนื้อหาหลายส่วนในงานเขียนเรื่อง พระอภัยมณี ทำให้ทราบว่า สุนทรภู่มีความรอบรู้แตกฉานในสมุดภาพไตรภูมิ ทั้งเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่นำมาดัดแปลงประดิษฐ์เข้าไว้ในท้องเรื่อง เช่น การเรียกชื่อปลาทะเลแปลกๆ และการกล่าวถึงตราพระราหู



    นอกจากนี้ยังมีความรอบรู้ในวรรณคดีประเทศต่างๆ เช่น จีน อาหรับ แขก ไทย ชวา เป็นต้น นักวิชาการโดยมากเห็นพ้องกันว่า สุนทรภู่ได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีจีนเรื่อง ไซ่ฮั่น สามก๊ก วรรณคดีอาหรับ เช่น อาหรับราตรี รวมถึงเกร็ดคัมภีร์ไบเบิล เรื่องของหมอสอนศาสนา ตำนานเมืองแอตแลนติส ซึ่งสะท้อนให้เห็นอิทธิพลเหล่านี้อยู่ในผลงานเรื่อง พระอภัยมณี มากที่สุด



    สุนทรภู่ยังมีความรู้ด้านดาราศาสตร์ หรือการดูดาว โดยที่สัมพันธ์กับความรู้ด้านโหราศาสตร์ ด้วยปรากฏว่าสุนทรภู่เอ่ยถึงชื่อดวงดาวต่างๆ ด้วยภาษาโหร เช่น ดาวเรือไชยหรือดาวสำเภาทอง ดาวธง ดาวโลง ดาวกา ดาวหามผี ทั้งยังบรรยายถึงคำทำนายโบร่ำโบราณ เช่น "แม้นดาวกามาใกล้ในมนุษย์ จะม้วยมุดมรณาเป็นห่าโหง" ดังนี้เป็นต้น



    การที่สุนทรภู่มีความรอบรู้มากมายและรอบด้านเช่นนี้ สันนิษฐานว่าสุนทรภู่น่าจะสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลด้านเอกสารสำคัญซึ่งมี อยู่เป็นจำนวนค่อนข้างน้อยเนื่องจากเป็นช่วงหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาไม่ นาน ทั้งนี้เนื่องมาจากตำแหน่งหน้าที่การงานของสุนทรภู่นั่นเอง นอกจากนี้การที่สุนทรภู่มีแนวคิดสมัยใหม่แบบตะวันตก จนได้สมญาว่าเป็น "มหากวีกระฎุมพี" ย่อมมีความเป็นไปได้ที่สุนทรภู่ซึ่งมีพื้นอุปนิสัยใจคอกว้างขวางชอบคบคนมาก น่าจะได้รู้จักมักจี่กับชาวต่างประเทศและพ่อค้าชาวตะวันตก ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ เห็นว่าบางทีสุนทรภู่อาจจะพูดภาษาอังกฤษได้ ก็เป็นได้ อันเป็นที่มาของการที่พระอภัยมณีและสินสมุทรสามารถพูดภาษาต่างประเทศได้หลาย ภาษา รวมถึงเรื่องราวโพ้นทะเลและชื่อดินแดนต่างๆ ที่เหล่านักเดินเรือน่าจะเล่าให้สุนทรภู่ฟัง



    แต่ไม่ว่าสุนทรภู่จะได้รับข้อมูลโพ้นทะเลจากเหล่าสหายของเขาหรือไม่ สุนทรภู่ก็ยังพรรณนาถึงเรื่องล้ำยุคล้ำสมัยมากมายที่แสดงถึงจินตนาการของเขา เอง อันเป็นสิ่งที่ยังไม่ได้ปรากฏหรือสำเร็จขึ้นในยุคสมัยนั้น เช่น ในผลงานเรื่อง พระอภัยมณี มีเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ที่สามารถปลูกตึกปลูกสวนไว้บนเรือได้ นางละเวงมีหีบเสียงที่เล่นได้เอง (ด้วยไฟฟ้า) หรือเรือสะเทินน้ำสะเทินบกของพราหมณ์โมรา



    สุนทรภู่ได้รับยกย่องว่าเป็นจินตกวีที่มีชื่อเสียงผู้หนึ่งแห่งยุคสมัย ปรากฏเนื้อความยืนยันอยู่ในหนังสือ ประวัติสุนทรภู่ ของพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) ความว่า "...ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น ฝ่ายจินตกวีมีชื่อคือ หมายเอาสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเป็นประธานแล้ว มีท่านที่ได้รู้เรื่องราวในทางนี้กล่าวว่าพระองค์มีเอตทัคคสาวกในการสโมสร กาพย์กลอนโคลงฉัณท์อยู่ ๖ นาย คือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ๑ ท่านสุนทรภู่ ๑ นายทรงใจภักดิ์ ๑ พระยาพจนาพิมล (วันรัตทองอยู่) ๑ กรมขุนศรีสุนทร ๑ พระนายไวย ๑ ภายหลังเป็นพระยากรุง (ชื่อเผือก) ๑ ในหกท่านนี้แล ได้รับต้นประชันแข่งขันกันอยู่เสมอ..."



    ทักษะอีกประการหนึ่งของสุนทรภู่ได้แก่ ความเชี่ยวชำนาญในการเลือกใช้ถ้อยคำอย่างเหมาะสมเพื่อใช้พรรณนาเนื้อความใน กวีนิพนธ์ของตน โดยเฉพาะในงานประพันธ์ประเภทนิราศ ทำให้ผู้อ่านแลเห็นภาพหรือได้ยินเสียงราวกับได้ร่วมเดินทางไปกับผู้ประพันธ์ ด้วย สุนทรภู่ยังมีไหวพริบปฏิภาณในการประพันธ์ กล่าวได้ว่าไม่เคยจนถ้อยคำที่จะใช้ เล่าว่าครั้งหนึ่งเมื่อภิกษุภู่ออกจาริกจอดเรืออยู่ มีชาวบ้านนำภัตตาหารจะมาถวาย แต่ว่าคำถวายไม่เป็น ภิกษุภู่จึงสอนชาวบ้านให้ว่าคำถวายเป็นกลอนตามสิ่งของที่จะถวายว่า " อิมัสมิงริมฝั่ง อิมังปลาร้า กุ้งแห้งแตงกวา อีกปลาดุกย่าง ช่อมะกอกดอกมะปราง เนื้อย่างยำมะดัน ข้าวสุกค่อนขัน น้ำมันขวดหนึ่ง น้ำผึ้งครึ่งโถ ส้มโอแช่อิ่ม ทับทิมสองผล เป็นยอดกุศล สังฆัสสะ เทมิ"



    อันว่า "กวี" นั้นแบ่งได้เป็น 4 จำพวก คือ จินตกวี ผู้แต่งโดยความคิดของตน สุตกวี ผู้แต่งตามที่ได้ยินได้ฟังมา อรรถกวี ผู้แต่งตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง และ ปฏิภาณกวี ผู้มีความสามารถใช้ปฏิภาณแต่งกลอนสด เมื่อพิจารณาจากความรู้และทักษะทั้งปวงของสุนทรภู่ อาจลงความเห็นได้ว่า สุนทรภู่เป็นมหากวีเอกที่มีความสามารถครบทั้ง 4 ประการอย่างแท้จริง
    การสร้างวรรณกรรม



    งานประพันธ์วรรณคดีในยุคก่อนหน้าสุนทรภู่ คือยุคอยุธยาตอนปลาย ยังเป็นวรรณกรรมสำหรับชนชั้นสูง ได้แก่ราชสำนักและขุนนาง เป็นวรรณกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อการอ่านและเพื่อความรู้หรือพิธีการ เช่น กาพย์มหาชาติ หรือ พระมาลัยคำหลวง ทว่างานของสุนทรภู่เป็นการปฏิวัติการสร้างวรรณกรรมแห่งยุครัตนโกสินทร์ คือเป็นวรรณกรรมสำหรับคนทั่วไป เป็นวรรณกรรมสำหรับการฟังและความบันเทิง เห็นได้จากงานเขียนนิราศเรื่องแรกคือ นิราศเมืองแกลง มีที่ระบุไว้ในตอนท้ายของนิราศว่า แต่งมาฝากแม่จัน รวมถึงใน นิราศพระบาท และ นิราศภูเขาทอง ซึ่งมีถ้อยคำสื่อสารกับผู้อ่านอย่างชัดเจน วรรณกรรมเหล่านี้ไม่ใช่วรรณกรรมสำหรับการศึกษา และไม่ใช่สำหรับพิธีการ สำหรับวรรณกรรมที่สร้างขึ้นโดยหน้าที่ตามที่ได้รับพระบรมราชโองการ มีปรากฏถึงปัจจุบันได้แก่ เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม ในสมัยรัชกาลที่ 2 และ เสภาพระราชพงศาวดาร ในสมัยรัชกาลที่ 4 ส่วนที่แต่งขึ้นเพื่อถวายแด่องค์อุปถัมภ์ ได้แก่ สิงหไตรภพ เพลงยาวถวายโอวาท สวัสดิรักษา บทเห่กล่อมพระบรรทม และ บทละครเรื่อง อภัยนุราช



    งานประพันธ์ของสุนทรภู่เกือบทั้งหมดเป็นกลอนสุภาพ ยกเว้น พระไชยสุริยา ที่ประพันธ์เป็นกาพย์ และ นิราศสุพรรณ ที่ประพันธ์เป็นโคลง ผลงานส่วนใหญ่ของสุนทรภู่เกิดขึ้นในขณะตกยาก คือเมื่อออกบวชเป็นภิกษุและเดินทางจาริกไปทั่วประเทศ สุนทรภู่น่าจะได้บันทึกการเดินทางของตนเอาไว้เป็นนิราศต่างๆ จำนวนมาก แต่หลงเหลือปรากฏมาถึงปัจจุบันเพียง 9 เรื่องเท่านั้น เพราะงานเขียนส่วนใหญ่ของสุนทรภู่ถูกปลวกทำลายไปเสียเกือบหมดเมื่อครั้ง จำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม



    แนวทางการประพันธ์



    สุนทรภู่ชำนาญงานประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพอย่างวิเศษ ได้ริเริ่มการใช้กลอนสุภาพมาแต่งกลอนนิทาน โดยมี โคบุตร เป็นเรื่องแรก ซึ่งแต่เดิมมากลอนนิทานเท่าที่ปรากฏมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ล้วนแต่เป็นกลอนกาพย์ทั้งสิ้น นายเจือ สตะเวทิน ได้กล่าวยกย่องสุนทรภู่ในการริเริ่มใช้กลอนสุภาพบรรยายเรื่องราวเป็นนิทาน ว่า "ท่านสุนทรภู่ ได้เริ่มศักราชใหม่แห่งการกวีของเมืองไทย โดยสร้างโคบุตรขึ้นด้วยกลอนสุภาพ นับตั้งแต่เดิมมา เรื่องนิทานมักเขียนเป็นลิลิต ฉันท์ หรือกาพย์ สุนทรภู่เป็นคนแรกที่เสนอศิลปะของกลอนสุภาพ ในการสร้างนิทานประโลมโลก และก็เป็นผลสำเร็จ โคบุตรกลายเป็นวรรณกรรมแบบฉบับที่นักแต่งกลอนทั้งหลายถือเป็นครู นับได้ว่า โคบุตรมีส่วนสำคัญยิ่งในประวัติวรรณคดีของชาติไทย"



    สุนทรภู่ยังได้ปฏิวัติขนบการประพันธ์นิราศด้วย ด้วยแต่เดิมมาขนบการเขียนนิราศยังนิยมเขียนเป็นโคลง ลักษณะการประพันธ์แบบเพลงยาว (คือการประพันธ์กลอน) ยังไม่เรียกว่า นิราศ แม้นิราศรบพม่าที่ท่าดินแดง เดิมก็เรียกว่าเป็นเพลงยาวจดหมายเหตุ มาเปลี่ยนการเรียกเป็นนิราศในชั้นหลัง สุนทรภู่เป็นผู้ริเริ่มการแต่งกลอนนิราศเป็นคนแรกและทำให้กลอนนิราศเป็นที่ นิยมแพร่หลาย โดยการนำรูปแบบของเพลงยาวจดหมายเหตุมาผสมกับคำประพันธ์ประเภทกำสรวล กลวิธีการประพันธ์ที่พรรณนาความระหว่างเส้นการเดินทางกับประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิตก็เป็นลักษณะเฉพาะของสุนทรภู่ ซึ่งผู้อื่นจะประพันธ์ในแนวทางเดียวกันนี้ให้ได้ใจความไพเราะและจับใจเท่า สุนทรภู่ก็ยังยาก มิใช่แต่เพียงฝีมือกลอนเท่านั้น ทว่าประสบการณ์ของผู้ประพันธ์จะเทียบกับสุนทรภู่ก็มิได้ ด้วยเหตุนี้กลอนนิราศของสุนทรภู่จึงโดดเด่นเป็นที่รู้จักยิ่งกว่ากลอนนิราศ ของผู้ใด และเป็นต้นแบบของการแต่งนิราศในเวลาต่อมา



    อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากงานกลอน สุนทรภู่ก็มีงานประพันธ์ในรูปแบบอื่นอีก เช่น พระไชยสุริยา ที่ประพันธ์เป็นกาพย์ทั้งหมด ประกอบด้วยกาพย์ยานี กาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์ ส่วน นิราศสุพรรณ เป็นนิราศเพียงเรื่องเดียวที่แต่งเป็นโคลง ชะรอยจะแต่งเพื่อลบคำสบประมาทว่าแต่งได้แต่เพียงกลอน แต่การแต่งโคลงคงจะไม่ถนัด เพราะไม่ปรากฏว่าสุนทรภู่แต่งกวีนิพนธ์เรื่องอื่นใดด้วยโคลงอีก



    วรรณกรรมที่เคลือบแคลง



    ในอดีตเคยมีความเข้าใจกันว่า สุนทรภู่เป็นผู้แต่ง นิราศพระแท่นดงรัง แต่ต่อมา ธนิต อยู่โพธิ์ ผู้เชี่ยวชาญวรรณคดีไทยและอดีตอธิบดีกรมศิลปากร ได้แสดงหลักฐานพิเคราะห์ว่าสำนวนการแต่งนิราศพระแท่นดงรัง ไม่น่าจะใช่ของสุนทรภู่ เมื่อพิจารณาประกอบกับเนื้อความ เปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในชีวิตของสุนทรภู่ และกระบวนสำนวนกลอนแล้ว จึงสรุปได้ว่า ผู้แต่งนิราศพระแท่นดงรัง คือ นายมี หรือ เสมียนมี หมื่นพรหมสมพักสร ผู้แต่งนิราศถลาง



    วรรณกรรมอีกชิ้นหนึ่งที่คาดว่าไม่ใช่ฝีมือแต่งของสุนทรภู่ คือ สุภาษิตสอนหญิง แต่น่าจะเป็นผลงานของนายภู่ จุลละภมร ซึ่งเป็นศิษย์ เนื่องจากงานเขียนของสุนทรภู่ฉบับอื่นๆ ไม่เคยขึ้นต้นด้วยการไหว้ครู ซึ่งแตกต่างจากสุภาษิตสอนหญิงฉบับนี้



    นอกจากนี้ยังมีวรรณกรรมอื่นๆ ที่สงสัยว่าอาจจะเป็นผลงานของสุนทรภู่ ได้แก่ เพลงยาวสุภาษิตโลกนิติ ตำรายาอัฐกาล (ตำราบอกฤกษ์ยามเดินทาง) สุบินนิมิตคำกลอน และตำราเศษนารี



    การตีพิมพ์ เผยแพร่ และดัดแปลงผลงาน



    ในยุคสมัยของสุนทรภู่ การเผยแพร่งานเขียนจะเป็นไปได้โดยการคัดลอกสมุดไทย ซึ่งผู้คัดลอกจ่ายค่าเรื่องให้แก่ผู้ประพันธ์ ดังที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้สันนิษฐานไว้ว่า สุนทรภู่แต่งเรื่อง พระอภัยมณี ขายเพื่อเลี้ยงชีพ ดังนี้จึงปรากฏงานเขียนของสุนทรภู่ที่เป็นฉบับคัดลอกปรากฏตามที่ต่างๆ หลายแห่ง จนกระทั่งถึงช่วงวัยชราของสุนทรภู่ การพิมพ์ จึงเริ่มเข้ามายังประเทศไทย โดยมีสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฎทรงให้การสนับสนุน โรงพิมพ์ในยุคแรกเป็นโรงพิมพ์หลวง ตีพิมพ์หนังสือราชการเท่านั้น ส่วนโรงพิมพ์ที่พิมพ์หนังสือทั่วไปเริ่มขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 (ตั้งแต่ พ.ศ. 2401 เป็นต้นไป) โรงพิมพ์ของหมอสมิทที่บางคอแหลม เป็นผู้นำผลงานของสุนทรภู่ไปตีพิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2413 คือเรื่อง พระอภัยมณี ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างสูง ขายดีมากจนหมอสมิทสามารถทำรายได้สูงขนาดสร้างตึกเป็นของตัวเองได้ หลังจากนั้นหมอสมิทและเจ้าของโรงพิมพ์อื่นๆ ก็พากันหาผลงานเรื่องอื่นของสุนทรภู่มาตีพิมพ์จำหน่ายซ้ำอีกหลายครั้ง ผลงานของสุนทรภู่ได้ตีพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 จนหมดทุกเรื่อง แสดงถึงความนิยมเป็นอย่างมาก สำหรับเสภาเรื่อง พระราชพงศาวดาร กับ เพลงยาวถวายโอวาท ได้ตีพิมพ์เท่าที่จำกันได้ เพราะต้นฉบับสูญหาย จนกระทั่งต่อมาได้ต้นฉบับครบบริบูรณ์จึงพิมพ์ใหม่ตลอดเรื่องในสมัยรัชกาลที่ 6


    การแปลผลงานเป็นภาษาต่างๆ



    ผลงานของสุนทรภู่ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ดังนี้



    ภาษาไทยถิ่นเหนือ : พญาพรหมโวหาร กวีเอกของล้านนาแปล พระอภัยมณีคำกลอน เป็นค่าวซอตามความประสงค์ของเจ้าแม่ทิพเกสร แต่ไม่จบเรื่อง ถึงแค่ตอนที่ศรีสุวรรณอภิเษกกับนางเกษรา



    ภาษาเขมร : ผลงานของสุนทรภู่ที่แปลเป็นภาษาเขมรมีสามเรื่องคือ

    พระอภัยมณี ไม่ปรากฏชื่อผู้แปล แปลถึงแค่ตอนที่นางผีเสื้อสมุทรลักพระอภัยมณีไปไว้ในถ้ำเท่านั้น



    ลักษณวงศ์ แปลโดย ออกญาปัญญาธิบดี (แยม)



    สุภาษิตสอนหญิง หรือสุภาษิตฉบับสตรี แปลโดย ออกญาสุตตันตปรีชา (อินทร์)



    ภาษาอังกฤษ : พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ทรงแปลเรื่อง พระอภัยมณี เป็นภาษาอังกฤษทั้งเรื่อง เมื่อปี พ.ศ. 2495



    งานดัดแปลง ละคร



    มีการนำกลอนนิทานเรื่อง สิงหไตรภพ มาดัดแปลงเป็นละครหลายครั้ง โดยมากมักเปลี่ยนชื่อเป็น สิงหไกรภพ โดยเป็นละครโทรทัศน์แนวจักรๆ วงศ์ๆ และละครเพลงร่วมสมัยโดยภัทราวดีเธียเตอร์ นอกจากนี้มีเรื่อง ลักษณวงศ์ และ พระอภัยมณี ที่มีการนำเนื้อหาบางส่วนมาดัดแปลง ตอนที่นิยมนำมาดัดแปลงมากที่สุดคือ เรื่องของสุดสาคร



    ลักษณวงศ์ ยังได้นำไปแสดงเป็นละครนอก โดยศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติภาคตะวันตก จ.สุพรรณบุรี ในปี พ.ศ. 2552 มีกำหนดการแสดงหลายรอบในเดือนพฤศจิกายน



    ลักษณวงศ์ ยังได้นำไปแสดงเป็นละครนอก โดยศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติภาคตะวันตก จ.สุพรรณบุรี ในปี พ.ศ. 2552 มีกำหนดการแสดงหลายรอบในเดือนพฤศจิกายน



    ภาพยนตร์



    พ.ศ. 2509 ภาพยนตร์ พระอภัยมณี ฉบับของ ครูรังสี ทัศนพยัคฆ์ นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา - เพชรา เชาวราษฎร์



    พ.ศ. 2522 ภาพยนตร์การ์ตูน "สุดสาคร" ผลงานสร้างของ ปยุต เงากระจ่าง



    พ.ศ. 2545 ภาพยนตร์ พระอภัยมณี ผลิตโดย ซอฟต์แวร์ ซัพพลายส์ อินเตอร์เนชั่ลแนล กำกับโดย ชลัท ศรีวรรณา จับความตั้งแต่เริ่มเรื่อง ไปจนถึงตอน นางเงือกพาพระอภัยมณีหนีจากนางผีเสื้อสมุทร และพระอภัยมณีเป่าปี่สังหารนาง



    พ.ศ. 2549 โมโนฟิล์ม ได้สร้างภาพยนตร์จากเรื่อง พระอภัยมณี เรื่อง สุดสาคร โดยจับความตั้งแต่กำเนิดสุดสาคร จนสิ้นสุดที่การเดินทางออกจากเมืองการะเวกเพื่อติดตามหาพระอภัยมณี



    พ.ศ. 2549 ภาพยนตร์การ์ตูน เรื่อง สิงหไกรภพ ความยาว 40 นาที



    เพลง



    บทประพันธ์จากเรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีเกี้ยวนางละเวง ได้นำไปดัดแปลงเล็กน้อยกลายเป็นเพลง "คำมั่นสัญญา" ประพันธ์ทำนองโดย สุรพล แสงเอก บันทึกเสียงครั้งแรกโดย ปรีชา บุญยเกียรติ ใจความดังนี้



    ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน



    แม้อยู่ในใต้หล้าสุธาธาร ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา



    แม้เนื้อเย็นเป็นมหรรณพ พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา



    แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา เชยผากโกสุมปทุมทอง



    แม้เป็นถ้ำอำไพใคร่เป็นหงส์ จะร่อนลงสิงสู่เป็นคู่สอง



    ขอติดตามทรามสงวนนวลละออง เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป...



    อีกเพลงหนึ่งคือเพลง "รสตาล" ของครูเอื้อ สุนทรสนาน คำร้องโดยสุรพล โทณะวนิก ซึ่งใช้นามปากกาว่า วังสันต์[42] ได้แรงบันดาลใจจากบทกลอนของสุนทรภู่ เรื่อง นิราศพระบาท เนื้อหาดังนี้



    เจ้าของตาลรสหวานขึ้นปีนต้น เพราะดั้นด้นอยากลิ้มชิมรสหวาน



    ครั้นได้รสสดสาวจากจาวตาล ย่อมซาบซ่านหวานซึ้งตรึงถึงทรวง



    ไหนจะยอมให้เจ้าหล่นลงเจ็บอก เพราะอยากวกขึ้นลิ้นชิมของหวง



    อันรสตาลหวานละม้ายคล้ายพุ่มพวง พี่เจ็บทรวงช้ำอกเหมือนตกตาล...



    หนังสือและการ์ตูน



    งานเขียนของสุนทรภู่โดยเฉพาะกลอนนิทานเรื่อง พระอภัยมณี จะถูกนำมาเรียบเรียงเขียนใหม่โดยนักเขียนจำนวนมาก เช่น พระอภัยมณีฉบับร้อยแก้ว ของเปรมเสรี หรือหนังสือการ์ตูน อภัยมณีซาก้า อีกเรื่องหนึ่งที่มีการนำมาสร้างใหม่เป็นหนังสือการ์ตูนคือ สิงหไตรภพ ในหนังสือ ศึกอัศจรรย์สิงหไกรภพ ที่เขียนใหม่เป็นการ์ตูนแนวมังงะ



    ชื่อเสียงและคำวิจารณ์



    สุนทรภู่นับเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างวรรณคดีประเภทร้อยกรอง หรือ "กลอน" ให้เป็นที่นิยมแพร่หลาย ทั้งยังวางจังหวะวิธีในการประพันธ์แบบใหม่ให้แก่การแต่งกลอนสุภาพด้วย เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีรัตนโกสินทร์ ยกย่องความสามารถของสุนทรภู่ว่า "พระคุณครูศักดิ์สิทธิ์คิดสร้างสรรค์ ครูสร้างคำแปดคำให้สำคัญ"



    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือ "ประวัติสุนทรภู่" ว่าด้วยเกียรติคุณของสุนทรภู่ว่า "ถ้าจะลองให้เลือกกวีไทยบรรดาที่มีชื่อเสียงปรากฏมาในพงศาวดารคัดเอาแต่ที่ วิเศษสุดเพียง 5 คน ใครๆ เลือกก็เห็นจะเอาชื่อสุนทรภู่ไว้ในกวีห้าคนนั้นด้วย" เปลื้อง ณ นคร ได้รวบรวมประวัติวรรณคดีไทยในยุคสมัยต่างๆ นับแต่สมัยสุโขทัยไปจนถึงสมัยรัฐธรรมนูญ (คือสมัยปัจจุบันในเวลาที่ประพันธ์) โดยได้ยกย่องว่า "สมัยพุทธเลิศหล้าเป็นจุดยอดแห่งวรรณคดีประเภทกาพย์กลอน ต่อจากสมัยนี้ระดับแห่งกาพย์กลอนก็ต่ำลงทุกที จนอาจกล่าวได้ว่า เราไม่มีหวังอีกแล้วที่จะได้คำกลอนอย่างเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน และเรื่องพระอภัยมณี" โดยที่ในสมัยดังกล่าวมีสุนทรภู่เป็น "บรมครูทางกลอนแปดและกวีเอก" ซึ่งสร้างผลงานอันเป็นที่รู้จักและนิยมแพร่หลายในหมู่ประชาชน ทั้งนี้เนื่องจากกวีนิพนธ์ในยุคก่อนมักเป็นคำฉันท์หรือลิลิตซึ่ง ประชาชนเข้าไม่ถึง สุนทรภู่ได้ปฏิวัติงานกวีนิพนธ์และสร้างขนบการแต่งกลอนแบบใหม่ขึ้นมา จนเป็นที่เรียกกันทั่วไปว่า "กลอนตลาด" เพราะเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่ชาวบ้านนั่นเอง



    นิธิ เอียวศรีวงศ์ เห็นว่า สุนทรภู่น่าจะเป็นผู้มีอิทธิพลอย่างมากในสังคมกระฎุมพีช่วงต้นรัตนโกสินทร์ กระฎุมพีเหล่านี้ล้วนเป็นผู้เสพผลงานของสุนทรภู่ และเห็นสาเหตุหนึ่งที่ผลงานของสุนทรภู่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเพราะ สอดคล้องกับความคิดความเชื่อของผู้อ่านนั่นเอง



    นอกเหนือจากความนิยมในหมู่ประชาชนชาวสยาม ชื่อเสียงของสุนทรภู่ยังแพร่ไปไกลยิ่งกว่ากวีใดๆ ใน เพลงยาวถวายโอวาท สุนทรภู่กล่าวถึงตัวเองว่า



    "อย่างหม่อมฉันอันที่ดีและชั่ว ถึงลับตัวแต่ก็ชื่อเขาลือฉาว



    เป็นอาลักษณ์นักเลงทำเพลงยาว เขมรลาวลือเลื่องถึงเมืองนคร"



    ข้อความนี้ทำให้ทราบว่า ชื่อเสียงของสุนทรภู่เลื่องลือไปไกลนอกเขตราชอาณาจักรไทย แต่ไปถึงอาณาจักรเขมรและเมืองนครศรีธรรมราชทีเดียว



    คุณวิเศษแห่งความเป็นกวีของสุนทรภู่จึงอยู่ในระดับกวีเอกของชาติ ศจ.เจือ สตะเวทิน เอ่ยถึงสุนทรภู่โดยเปรียบเทียบกับกวีเอกของประเทศต่างๆ ว่า "สุนทรภู่มีศิลปะไม่แพ้ลามาตีน ฮูโก หรือบัลซัคแห่งฝรั่งเศส... มีจิตใจและวิญญาณสูง อาจจะเท่าเฮเนเลนอ แห่งเยอรมนี หรือลิโอปารดี และมันโซนีแห่งอิตาลี" สุนทรภู่ยังได้รับยกย่องว่าเป็น "เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย" งานวิจัยทุนฟุลไบรท์-เฮย์ส ของคาเรน แอนน์ แฮมิลตัน ได้เปรียบเทียบสุนทรภู่เสมือนหนึ่งเชกสเปียร์หรือชอเซอร์แห่งวงการวรรณกรรมไทย



    เกียรติคุณและอนุสรณ์



    ปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบวันเกิด 200 ปีของสุนทรภู่ องค์การยูเนสโกได้ ประกาศให้สุนทรภู่ เป็นบุคคลสำคัญของโลกทางด้านวรรณกรรม นับเป็นชาวไทยคนที่ 5 และเป็นสามัญชนชาวไทยคนแรกที่ได้รับเกียรตินี้ ในปีนั้น สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์จึงได้จัดพิมพ์เผยแพร่ หนังสือ "อนุสรณ์สุนทรภู่ 200 ปี" และมีการจัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้นเพื่อส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแพร่ ชีวิตและผลงานของสุนทรภู่ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น



    อนุสาวรีย์และหุ่นปั้น



    อนุสาวรีย์สุนทรภู่แห่งแรก สร้างขึ้นที่ ต.บ้านกร่ำ อ.แกลง จ.ระยอง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านบิดาของสุนทรภู่ โดยวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2498 อันเป็นปีที่ครบรอบ 100 ปีการเสียชีวิตของสุนทรภู่ และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 ภายในอนุสาวรีย์มีหุ่นปั้นของสุนทรภู่ และตัวละครในวรรณคดีเรื่องเอกของท่านคือ พระอภัยมณี ที่ด้านหน้าอนุสาวรีย์มี หมุดกวี หมุดที่ 24 ปักอยู่ ยังมีอนุสาวรีย์สุนทรภู่อีกแห่งหนึ่งตั้งอยู่ที่วัดศรีสุดาราม เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เชื่อว่าท่านได้เล่าเรียนเขียนอ่านเมื่อวัยเยาว์ที่ นี่ นอกจากนี้มีรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งสุนทรภู่ ตลอดจนหุ่นขี้ผึ้งในวรรณคดีเรื่อง พระอภัยมณี จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย จ.นครปฐม



    พิพิธภัณฑ์



    กุฏิสุนทรภู่ หรือพิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ ตั้งอยู่ที่วัดเทพธิดาราม ถ.มหาไชย กรุงเทพฯ เป็นอาคารซึ่งปรับปรุงจากกุฏิที่สุนทรภู่เคยอาศัยอยู่เมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่นี่ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย และมีการจัดกิจกรรมวันสุนทรภู่เป็นประจำทุกปี



    วันสุนทรภู่

    หลังจากองค์การยูเนสโกได้ประกาศยกย่องให้สุนทรภู่เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลกเมื่อปี พ.ศ. 2529 ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้จัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้น และกำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี เป็น วันสุนทรภู่ นับแต่นั้นทุกๆ ปีเมื่อถึงวันสุนทรภู่ จะมีการจัดงานรำลึกถึงสุนทรภู่ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ที่พิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ วัดเทพธิดาราม และที่จังหวัดระยอง (ซึ่งมักจัดพร้อมงานเทศกาลผลไม้จังหวัดระยอง) รวมถึงการประกวดแต่งกลอน ประกวดคำขวัญ และการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับสุนทรภู่ในโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ



    รายชื่อผลงาน



    งานประพันธ์ของสุนทรภู่เท่าที่มีการค้นพบในปัจจุบันมีปรากฏอยู่เพียง จำนวนหนึ่ง และสูญหายไปอีกเป็นจำนวนมาก ถึงกระนั้นตามจำนวนเท่าที่ค้นพบก็ถือว่ามีปริมาณค่อนข้างมาก เรียกได้ว่า สุนทรภู่เป็น "นักเลงกลอน" ที่สามารถแต่งกลอนได้รวดเร็วหาตัวจับยาก ผลงานของสุนทรภู่เท่าที่ค้นพบในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้



    นิราศ



    นิราศเมืองแกลง (พ.ศ. 2349) - แต่งเมื่อหลังพ้นโทษจากคุก และเดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง



    นิราศพระบาท (พ.ศ. 2350) - แต่งหลังจากกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีในวันมาฆบูชา



    นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ. 2371) - แต่งโดยสมมุติว่า เณรหนูพัด เป็นผู้แต่ง ไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดอยุธยา



    นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ. 2374) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผลงานเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง



    นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. 2375) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะตามลายแทงที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดอยุธยา



    นิราศอิเหนา (ไม่ปรากฏ, คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 3) - แต่งเป็นเนื้อเรื่องอิเหนารำพันถึงนางบุษบา



    รำพันพิลาป (พ.ศ. 2385) - แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรำพันความอาภัพของตัวไว้เป็น "รำพันพิลาป" จากนั้นจึงลาสิกขาบท



    นิราศพระประธม (พ.ศ. 2385) - เชื่อว่าแต่งเมื่อหลังจากลาสิกขาบทและเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่น เกล้าเจ้าอยู่หัว ไปนมัสการพระประธมเจดีย์ (หรือพระปฐมเจดีย์) ที่เมืองนครชัยศรี



    นิราศเมืองเพชร (พ.ศ. 2388) - แต่งเมื่อเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าไปธุระราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง นิราศเรื่องนี้มีฉบับค้นพบเนื้อหาเพิ่มเติมซึ่ง อ.ล้อม เพ็งแก้ว เชื่อว่า บรรพบุรุษฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชร



    นิทาน



    โคบุตร : เชื่อว่าเป็นงานประพันธ์ชิ้นแรกของสุนทรภู่ เป็นเรื่องราวของ "โคบุตร" ซึ่งเป็นโอรสของพระอาทิตย์กับนางอัปสร แต่เติบโตขึ้นมาด้วยการเลี้ยงดูของนางราชสีห์



    พระอภัยมณี : คาดว่าเริ่มประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 และแต่งๆ หยุดๆ เรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นผลงานชิ้นเอกของสุนทรภู่ ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นสุดยอดวรรณคดีไทยประเภทกลอนนิทาน



    พระไชยสุริยา : เป็นนิทานที่สุนทรภู่แต่งด้วยฉันทลักษณ์ประเภทกาพย์หลายชนิด ได้แก่ กาพย์ยานี 11 กาพย์ฉบัง 16 และกาพย์สุรางคนางค์ 28 เป็นนิทานสำหรับสอนอ่าน เนื้อหาเรียงลำดับความง่ายไปยาก จากแม่ ก กา แม่กน กง กก กด กบ กม และเกย เชื่อว่าแต่งขึ้นประมาณ พ.ศ. 2383 – 2385



    ลักษณวงศ์ : เป็นนิทานแนวจักรๆ วงศ์ๆ ที่นำโครงเรื่องมาจากนิทานพื้นบ้าน แต่มีตอนจบที่แตกต่างไปจากนิทานทั่วไปเพราะไม่ได้จบด้วยความสุข แต่จบด้วยงานสมโภชศพนางทิพเกสร ชายาของลักษณวงศ์ที่สิ้นชีวิตด้วยการสั่งประหารของลักษณวงศ์เอง



    สิงหไตรภพ : เชื่อว่าเริ่มประพันธ์เมื่อครั้งถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์ ภายหลังจึงแต่งถวายกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ และน่าจะหยุดแต่งหลังจากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพสิ้นพระชนม์ สิงหไตรภพเป็นตัวละครเอกที่แตกต่างจากตัวพระในเรื่องอื่นๆ เนื่องจากเป็นคนรักเดียวใจเดียว



    สุภาษิต



    สวัสดิรักษา : คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์



    เพลงยาวถวายโอวาท : คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว



    สุภาษิตสอนหญิง : เป็นหนึ่งในผลงานซึ่งยังเป็นที่เคลือบแคลงว่า สุนทรภู่เป็นผู้ประพันธ์จริงหรือไม่



    บทละคร



    มีการประพันธ์ไว้เพียงเรื่องเดียวคือ อภัยนุราช ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อถวายพระองค์เจ้าดวงประภา พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว



    บทเสภา



    ขุนช้างขุนแผน (ตอน กำเนิดพลายงาม)



    เสภาพระราชพงศาวดาร



    บทเห่กล่อมพระบรรทม



    น่าจะแต่งขึ้นสำหรับใช้ขับกล่อมหม่อมเจ้าในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ กับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เท่าที่พบมี 4 เรื่องคือ



    เห่เรื่องพระอภัยมณี



    เห่เรื่องโคบุตร



    เห่เรื่องจับระบำ

    เห่เรื่องกากี

    >>>>>>>>>>>>>>>>
     
  13. ขุนวัง

    ขุนวัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2015
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +726
    ขอยอกรนบเกล้า ..................บรมครู
    นามภู่กวีชู............................ลึกล้ำ
    ผลงานแต่งกลอนดู...............แบบอย่าง
    เขียนอ่านเดินตามย้ำ.............ฝึกได้ โคลงกลอน

    วันสุนทรภู่นี้..........................โอกาส
    เทิดประวัติประกาศ................กล่าวไว้
    กวีเอกสยามปราชญ์...............กลอนกาพย์ เสภา
    นิราศนานาได้........................แต่งขึ้น บันลือ

    บุญใดในอดีตได้....................ทุนนำ
    อุทิศกุศลกรรม.......................จิตตั้ง
    จงถึงท่านโดยพลัน.................นามภู่ เรือหงส์
    ประสบสุขเลิศขั้น....................สถิตฟ้า สวรรค์เทอญ.
     
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,346
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    บทละครเรื่องระเด่นลันได
    มาจะกล่าวบทไป
    ถึงระเด่นลันไดอนาถา
    เสวยราชย์องค์เดียวเที่ยวรำภา
    ตามตลาดเสาชิงช้าหน้าโบสถ์พราหมณ์
    อยู่ปราสาทเสาคอดยอดด้วน
    กำแพงแก้วแล้วล้วนด้วยเรียวหนาม
    มีทหารหอนเห่าเฝ้าโมงยาม
    คอยปราบปรามประจามิตรที่คิดร้าย

    เที่ยวสีซอขอข้าวสารทุกบ้านช่อง
    เป็นเสบียงเลี้ยงท้องของถวาย
    ไม่มีใครชังชิงทั้งหญิงชาย
    ต่างฝากกายฝากตัวกลัวบารมี
    พอโพล้เพล้เวลาจะสายัณห์
    ยุงชุมสุมควันแล้วเข้าที่
    บรรทมเหนือเสื่อลำแพนแท่นมณี
    ภูมีซบเซาเมากัญชา

    ครั้นรุ่งแสงสุริยันตะวันโด่ง
    โก้งโค้งลงในอ่างแล้วล้างหน้า
    เสร็จเสวยข้าวตังกับหนังปลา
    ลงสระสรงคงคาในท้องคลอง

    กระโดดดำสามทีสีเหงื่อไคล
    แล้วย่างขึ้นบันไดเข้าในห้อง
    ทรงสุคนธ์ปนละลายดินสอพอง
    ชโลมสองแก้มคางอย่างแมวคราว
    นุ่งกางเกงเข็มหลงอลงกรณ์
    ผ้าทิพย์อาภรณ์พื้นขาว
    เจียระบาดเสมียนละว้ามาแต่ลาว
    ดูราวกับหนังแขกเมื่อแรกมี
    สวมประคำดีควายตะพายย่าม
    หมดจดงดงามกว่าปันหยี
    กุมตระบองกันหมาจะราวี
    ถือซอจรลีมาตามทาง
    ...
    มาเอยมาถึง
    เมืองหนึ่งสร้างใหม่ดูใหญ่กว้าง
    ปราสาทเสาเล้าหมูอยู่กลาง
    มีคอกโคอยู่ข้างกำแพงวัง
    พระเยื้องย่างเข้าทางทวารา
    หมู่หมาแห่ห้อมล้อมหน้าหลัง
    แกว่งตระบองป้องปัดอยู่เก้กัง
    พระทรงศักดิ์หยักรั้งคอยราญรอน
    ..
    เมื่อนั้น
    นางประแดะหูกลวงดวงสมร
    ครั้นรุ่งเช้าท้าวประดู่ภูธร
    เสด็จจรจากเวียงไปเลี้ยงวัว
    โฉมเฉลาเนาในที่ไสยา
    บรรจงหั่นกัญชาไว้ท่าผัว
    แล้วอาบน้ำทาแป้งแต่งตัว
    หวีหัวหาเหาเกล้าผมมวย
    ได้ยินแว่วสำเนียงเสียงหมาเห่า
    คิดว่าวัวเข้าในสวนกล้วย
    จึงออกมาเผยแกลอยู่แร่รวย
    ตวาดด้วยสุรเสียงสำเนียงนาง
    พอเหลือบเห็นระเด่นลันได
    อรไทผินผันหันข้าง
    ชม้อยชม้ายชายเนตรดูพลาง
    ชะน้อยฤๅรูปร่างราวกับกลึง
    งามกว่าภัสดาสามี
    ทั้งเมืองตานีไม่มีถึง
    เกิดกำหนัดกลัดกลุ้มรุมรึง
    นางตะลึงแลดูพระภูมี
    ---
    เมื่อนั้น
    พระสุวรรณลันไดเรืองศรี
    เหลียวพบสบเนตรนางตานี
    ภูมีพิศพักตร์ลักขณา
    สูงระหงทรงเพรียวเรียวรูด
    งามละม้ายคล้ายอูฐกะหลาป๋า
    พิศแต่หัวตลอดเท้าขาวแต่ตา
    ทั้งสองแก้มกัลยาดังลูกยอ
    คิ้วก่งเหมือนกงเขาดีดฝ้าย
    จมูกละม้ายคล้ายพร้าขอ
    หูกลวงดวงพักตร์หักงอ
    ลำคอโตตันสั้นกลม
    สองเต้าห้อยตุงดังถุงตะเคียว
    โคนเหี่ยวแห้งรวบเหมือนบวบต้ม
    เสวยสลายาจุกพระโอษฐ์อม
    มันน่าเชยน่าชมนางเทวี
    นี่จะเป็นลูกสาวท้าวพระยา
    ฤๅว่าเป็นพระมเหสี
    อกใจทึกทักรักเต็มที
    ก็ทรงสีซอสุวรรณขึ้นทันใด
    ยักย้ายร่ายร้องเป็นลำนำ
    มีอยู่สองสามคำจำไว้ได้
    สุวรรณหงส์ถูกหอกอย่าบอกใคร
    ถูกแล้วกลับไปได้เท่านั้น
    แล้วซ้ำสีอิกกระดิกนิ้ว
    ทำยักคิ้วแลบลิ้นเล่นขบขัน
    เห็นโฉมยงหัวร่ออยู่งองัน
    พระทรงธรรม์ทำหนักชักเฉื่อยไป
    เมื่อนั้น
    นางประแดะตานีศรีใส
    สดับเสียงสีซอพอฤทัย
    ให้วาบวับจับใจผูกพัน
    ยิ่งคิดพิศวงพระทรงศักดิ์
    ลืมรักท้าวประดู่ผู้ผัวขวัญ
    ทำไฉนจะได้พระทรงธรรม์
    มาเคียงพักตร์สักวันด้วยรักแรง
    คิดพลางทางเข้าไปในห้อง
    แล้วตักเอาข้าวกล้องมาสองแล่ง
    ค่อยประจงลงใส่กระบะแดง
    กับปลาสลิดแห้งห้าหกตัว
    แล้วลงจากบันไดมิได้ช้า
    เข้ามานอบนบจบเหนือหัว
    เอาปลาใส่ย่ามด้วยความกลัว
    แล้วยอบตัวลงบังคมก้มพักตรา
    เมื่อนั้น
    ลันไดให้แสนเสนหา
    อะรามรักยักคิ้วหลิ่วตา
    พูดจาลดเลี้ยวเกี้ยวพาน
    งามเอยงามปลอด
    ชีวิตพี่นี้รอดด้วยข้าวสาร
    เป็นกุศลดลใจเจ้าให้ทาน
    เยาวมาลย์แม่มีพระคุณนัก
    พี่ขอถามนามท้าวเจ้ากรุงไกร
    ชื่อเรียงเสียงไรไม่รู้จัก
    เจ้าเป็นพระมเหสีที่รัก
    ฤๅนงลักษณ์เป็นราชธิดา
    รูปร่างอย่างว่ากะลาสี
    พี่ให้มีใจรักเจ้าหนักหนา
    ว่าพลางเข้าใกล้กัลยา
    พระราชาฉวยฉุดยุดมือไว้
    (ต่อ)
     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,346
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    (ต่อ)
    ทรงเอยทรงกระสอบ
    ทำเล่นเห็นชอบฤๅไฉน
    ไม่รู้จักมักจี่นี่อะไร
    มาเลี้ยวไล่ฉวยฉุดยุดข้อมือ
    ยิ่งว่าก็ไม่วางทำอย่างนี้
    พระจะมีเงินช่วยข้าด้วยฤๅ
    อวดว่ากล้าแข็งเข้าแย่งยื้อ
    ลวนลามถามชื่อน้องทำไม
    น้องมิใช่ตัวเปล่าเล่าเปลือย
    หยาบเหมือนขี้เลื่อยเมื่อยหัวไหล่
    ลูกเขาเมียเขาไม่เข้าใจ
    บาปกรรมอย่างไรก็ไม่รู้
    **
    ดวงเอยดวงไต้
    สบถได้เจ็ดวัดทัดสองหู
    ความจริงพี่มิเล่นเป็นเช่นชู้
    จะร่วมเรียงเคียงคู่กันโดยดี
    ถึงมิใช่ตัวเปล่าเจ้ามีผัว
    พี่ไม่กลัวบาปดอกนะโฉมศรี
    อันนรกตกใจไปไยมี
    ยมพระบาลกับพี่เป็นเกลอกัน
    เพียงจับมือถือแขนอย่าแค้นเคือง
    จะให้น้องสองเฟื้องอย่าหุนหัน
    แล้วแก้เงินในไถ้ออกให้พลัน
    นี่แลขันหมากหมั้นกัลยา
    พอดึกดึกสักหน่อยนะน้องแก้ว
    พี่จะลอดล่องแมวขึ้นไปหา
    โฉมเฉลาเจ้าจงได้เมตตา
    เปิดประตูไว้ท่าอย่าหลับนอน
    **
    ทรงเอยทรงกระโถน
    อย่ามาพักปลอบโยนให้โอนอ่อน
    ไม่อยากได้เงินทองของภูธร
    นางเคืองค้อนคืนให้ไม่อินัง
    ช่างอวดอ้างว่านรกไม่ตกใจ
    คนอะไรอย่างนี้ก็มีมั่ง
    เชิญเสด็จรีบออกไปนอกวัง
    อย่ามานั่งวิงวอนทำค่อนแคะ
    เพียงแต่รู้จักกันกระนั้นพลาง
    พอเป็นทางไมตรีกระนี้แหละ
    เมื่อพระอดข้าวปลาจึงมาแวะ
    น้องฤๅชื่อประแดะดวงใจ
    ท่านท้าวประดู่ผู้เป็นผัว
    ยังไปเลี้ยงวัวหากลับไม่
    แม้นชักช้าชีวันจะบรรลัย
    เร่งไปเสียเถิดพระราชา
    **
    เมื่อนั้น
    ลันไดยิ้มเยาะหัวเราะร่า
    เราไม่เกรงกลัวอิทธิ์ฤทธา
    ท้าวประดู่จะมาทำไมใคร
    พี่ก็ทรงศักดากล้าหาญ
    แต่ข้าวสารเต็มกระบุงยังแบกไหว
    ปลาแห้งพี่เอาเข้าเผาไฟ
    ประเดี๋ยวใจเคี้ยวเล่นออกเป็นจุณ
    **
    เมื่อนั้น
    นางประแดะเห็นความจะวามวุ่น
    จึงนบนอบยอบตัวทำกลัวบุญ
    ไม่รู้เลยพ่อคุณนี้มีฤทธิ์
    กระนั้นซิเมื่อพระเสด็จมา
    หมูหมาย่นย่อไม่รอติด
    ขอพระองค์จงฟังยั้งหยุดคิด
    อย่าให้มีความผิดติดตัวน้อง
    น้าวประดู่ภูธรเธอขี้หึง
    ถ้ารู้ถึงท้าวเธอจะทุบถอง
    จงไปเสียก่อนเถิดพ่อรูปทอง
    อย่าให้น้องชั่วช้าเป็นราคี
    ว่าพลางทางสลัดปัดกร
    ควักค้อนยักหน้าตาหยิบหยี
    นาดกรอ่อนคอจรลี
    เดินหนีมิให้มาใกล้กราย
    **
    เมื่อนั้น
    ลันไดไม่สมอารมณ์หมาย
    เห็นนางหน่ายหนีลี้กาย
    โฉมฉายสลัดพลัดมือไป
    มันให้ขัดสนยืนบ่นออด
    เจ้ามาทอดทิ้งพี่หนีไปได้
    ตัวกูจะอยู่ไปทำไม
    ก็ยกย่ามขึ้นไหล่ไปทั้งรัก
    **
    เมื่อนั้น
    ท้าวประดู่สุริย์วงศ์ทรงกระตัก
    เที่ยวเลี้ยงวัวล้าเลื่อยเหนื่อยนัก
    เข้าหยุดยั้งนั่งพักในศาลา
    วันเมื่อมเหสีจะมีเหตุ
    ให้กระตุกนัยน์เนตรทั้งซ้ายขวา
    ตุ๊กแกตกลงตรงพักตรา
    คลานไปคลานมาก็สิ้นใจ
    แม่โคขึ้นสัดผลัดโคตัวผู้
    พิเคราะห์ดูหลากจิตคิดสงสัย
    จะมีเหตุแม่นมั่นพรั่นพระทัย
    ก็เลี้ยวไล่โคกลับเข้าพารา
    **
    ครั้นถึงขอบรั้วริมหัวป้อม
    พระวิ่งอ้อมเลี้ยวลัดสกัดหน้า
    ไล่เข้าคอกพลันมิทันช้า
    เอาขี้หญ้าสุมควันกันริ้นยุง
    ยืนลูบเนื้อตัวที่หัวบันได
    แล้วเข้าในปรางค์รัตน์ผลัดผ้านุ่ง
    ยุรยาตรเยื้องย่างมาข้างมุ้ง
    เห็นกระบุงข้าวกล้องนั้นพร่องไป
    ปลาสลิดในกระบายก็หายหมด
    พระทรงยศแสนเสียดายน้ำลายไหล
    กำลังหิวข้าวเศร้าเสียใจ
    ก็เอนองค์ลงในที่ไสยา
    กวักพระหัตถ์ตรัสเรียกมเหสี
    เข้ามานี่พุ่มพวงดวงยี่หวา
    วันนี้มีใครไปมา
    ยังพาราเราบ้างฤๅอย่างไร
    **
    เมื่อนั้น
    นางประแดะฟังความที่ถามไถ่
    กราบทูลเยื้องยักกระอักกระไอ
    ร้อนตัวกลัวภัยพระภูมี
    ตั้งแต่พระเสด็จไปเลี้ยงวัว
    น้องก็นอนซ่อนตัวอยู่ในที่
    ไม่เห็นใครไปมายังธานี
    จงทราบใต้เกศีพระราชา
    เมื่อนั้น
    ท้าวประดู่ได้ฟังให้กังขา
    จึงซักไซ้ไล่เลียงกัลยา
    ว่าไม่มีใครมาน่าแคลงใจ
    ทั้งข้าวทั้งปลาของข้าหาย
    เอายักย้ายขายซื้อฤๅไฉน
    ฤๅลอบลักตักให้แก่ผู้ใด
    จงบอกไปนะนางอย่าพรางกัน
    **
    เมื่อนั้น
    นางประแดะตกใจอยู่ไหวหวั่น
    ด้วยแรกเริ่มเดิมทูลพระทรงธรรม์
    ว่าใครนั้นมิได้จะไปมา
    ครั้นจะไม่ทูลความไปตามจริง
    ก็เกรงกริ่งด้วยพิรุธมุสา
    สารภาพกราบลงกับบาทา
    วอนว่าอย่าโกรธจงโปรดปราน
    วันนี้มีหน่อกระษัตรา
    เที่ยวมาสีซอขอข้าวสาร
    น้องเสียมิได้ก็ให้ทาน
    สิ้นคำให้การแล้วผ่านฟ้า
    **
    เมื่อนั้น
    ท้าวประดู่ได้ฟังนึกกังขา
    ใครหนอหน่อเนื้อกระษัตรา
    เที่ยวมาสีซอขอทาน
    เห็นจะเป็นอ้ายระเด่นลันได
    ที่ครอบครองกรุงใกล้เทวฐาน
    มันเสแสร้งแกล้งทำมาขอทาน
    จะคิดอ่านตัดเสบียงเอาเวียงชัย
    จึงชี้หน้าว่าเหม่มเหสี
    มึงนี้เหมือนหนอนที่บ่อนไส้
    ขนเอาปลาข้าวให้เขาไป
    วันนี้จะได้อะไรกิน
    ถ้ามั่งมีศรีสุขก็ไม่ว่า
    นี่สำเภาเลากาก็แตกสิ้น
    แล้วมิหนำซ้ำตัวเป็นมลทิน
    จะอยู่กินต่อไปให้คลางแคลง
    เจ้าศรัทธาอาศัยอย่างไรกัน
    ฤๅกระนี้กระนั้นก็ไม่แจ้ง
    จะเลี้ยงไว้ไยเล่าเมื่อข้าวแพง
    ฉวยชักพระแสงออกแกว่งไกว
    **
    เมื่อนั้น
    นางประแดะเลี้ยวลอดกอดเอวได้
    เหมือนเล่นงูกินหางไม่ห่างไกล
    นึกประหวั่นพรั่นใจอยู่รัวรัว
    โปรดก่อนผ่อนถามเอาความจริง
    เมื่อชั่วแล้วแทงทิ้งเถิดทูนหัว
    อันพระสามีเป็นที่กลัว
    จะทำนอกใจผัวอย่าพึงคิด
    พระหึงหวงมิได้ล่วงพระอาญา
    ที่ให้ข้าวให้ปลานั้นข้าผิด
    น้องนี้ทำชั่วเพราะมัวมิด
    ทำไมกับชีวิตไม่เอื้อเฟื้อ
    น้องมิได้ศรัทธาอาศัย
    จะลุยน้ำดำไฟเสียให้เชื่อ
    ไม่มีอาลัยแก่เลือดเนื้อ
    แต่เงื้อเงื้อไว้เถิดอย่าเพ่อแทง
    (ต่อ)
     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,346
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    (ต่อ)
    เมื่อนั้น
    ท้าวประดู่เดือดนักชักพระแสง
    ถ้าบอกจริงให้กูอีหูแหว่ง
    จะงดไว้ไม่แทงอย่าแย่งยุด
    กูก็เคยเกี้ยวชู้รู้มารยา
    มิใช่มึงโสดามหาอุด
    มันเป็นถึงเพียงนี้ก็พิรุธ
    ถึงดำน้ำร้อยผุดไม่เชื่อใจ
    ยังจะท้าพิสูจน์รูดลอง
    พ่อจะถองให้ยับจนตับไหล
    เห็นว่ากูหลงรักแล้วหนักไป
    เอออะไรนี่หวาน้ำหน้ามึง
    หาเอาใหม่ให้ดีกว่านี้อีก
    ผิดก็เสียเงินปลีกสองสลึง
    กำลังกริ้วโกรธาหน้าตึง
    ถีบผึงถูกตะโพกโขยกไป
    **
    เมื่อนั้น
    นางประแดะเจ็บจุกลุกไม่ไหว
    ค่อยยืนยันกะเผลกเขยกไป
    เข้ายังครัวไฟร้องไห้โฮ
    ร้องดิ้นเร่าเร่าพ่อเจ้าเอ๋ย
    ลูกไม่เคยโกหกพกโมโห
    เสียแรงได้เป็นข้ามาแต่โซ
    กลับพาโลโกรธาด่าตี
    น้องก็ไร้ญาติวงศ์พงศา
    หมายพึ่งบาทาพระโฉมศรี
    โคตรพ่อโคตรแม่ก็ไม่มี
    อยู่ถึงเมืองตานีเขาตีมา
    ตะโพกโดกโดยเมียแทบคลาด
    ถีบด้วยพระบาทดังชาติข้า
    จะอยู่ไปไยเล่าไม่เข้ายา
    ตายโหงตายห่าก็ตายไป
    **
    เมื่อนั้น
    ท้าวประดู่ได้ฟังดังเพลิงไหม้
    ดูดู๋อีประแดะค่อนแคะได้
    กลับมาด่าได้อีใจเพชร
    เอาแต่คารมเข้าข่มกลบ
    กูจะจิกหัวตบเสียให้เข็ด
    ชะช่างโศกาน้ำตาเล็ด
    กูรู้เช่นเห็นเท็จทุกสิ่งอัน
    **
    ว่าพลางทางคว้าได้พร้าโต้
    ดุด่าตาโตเท่ากำปั้น
    ผลักประตูครัวไฟเข้าไปพลัน
    นางประแดะยืนยันลั่นกลอนไว้
    ผลักไปผลักมาอยู่เป็นครู่
    จะเข้าไปในประตูให้จงได้
    กระทืบฟากโครมครามความแค้นใจ
    อึกกระทึกทั่วไปในพารา
    **
    บัดนั้น
    พวกหัวไม้กระดูกผีขี้ข้า
    บ่อนเลิกกินเหล้าเมากลับมา
    ได้ยินเสียงเถียงด่ากันอื้ออึง
    จึงหยุดนั่งข้างนอกริมคอกวัว
    ว่าเมียผัวคู่นี้มันขี้หึง
    พอพลบคํ่าราตรีตีตะบึง
    อึงคะนึงนักหนาน่าขัดใจ
    แล้วคว้าก้อนอิฐปาเข้าฝาโผง
    ตกถูกโอ่งปาล้อแลหม้อไห
    พลางตบมือร้องเย้ยเผยไยไย
    แล้ววิ่งไปทางตะพานบ้านตะนาว
    **
    เมื่อนั้น
    ท้าวประดู่ตาพองร้องบอกกล่าว
    หยิบงอบครอบหัวตัวสั่นท้าว
    อ้ายพ่อจ้าวชาวบ้านวานช่วยกัน
    วัวน้ำวัวหลวงกูได้เลี้ยง
    อิฐมาเปรี้ยงเปรี้ยงเสียงสนั่น
    สาเหตุมีมาแต่กลางวัน
    คงได้เล่นเห็นกันอ้ายลันได
    ทั้งนี้เพราะอีมะเหเสือ
    จะกินเลือดกินเนื้อกูให้ได้
    ขว้างวังครั้งนี้ไม่มีใคร
    ชู้มึงฤๅมิใช่อีมารยา
    พระฉวยได้ไม้ยุงปัดกวัดแกว่ง
    สำคัญว่าพระแสงขึ้นเงื้อง่า
    เลี้ยวไล่ฟาดฟันกัลยา
    วิ่งมาวิ่งไปอยู่ในครัว
    **
    เหม่เหม่ดูดู๋อีประแดะ
    ทีนี้แหละเห็นประจักษ์ว่ารักผัว
    หากกูรู้ตัว
    หัวไม่แตกแตน
    ขว้างแล้วหนีไป
    มิได้ตอบแทน
    ยิ่งคิดยิ่งแค้น
    เลี้ยวแล่นไล่ตี
    **
    ทรงเอยทรงกระบอก
    น้องไม่เห็นด้วยดอกพระโฉมศรี
    ปาวังครั้งนี้
    มิใช่ชู้น้อง
    สืบสมดังว่า
    สัญญาให้ถอง
    วิ่งพลางทางร้อง
    ตีน้องทำไม
    **
    เหลือเอยเหลือเถน
    ขัดเขมรขบฟันมันไส้
    ปรานีมึงไย
    ใครใช้มีชู้
    ไม่เลี้ยงเป็นเมีย
    ไปเสียอย่าอยู่
    รั้ววังของกู
    ปิดประตูตีแมว
    **
    เมื่อนั้น
    นางประแดะเหนื่อยอ่อนลงนอนแซ่ว
    ยกมือท่วมหัวลูกกลัวแล้ว
    กอดก้นผัวแก้วเข้าคร่ำครวญ
    โอ้พระยอดตองของน้องเอ๋ย
    กระไรเลยช่างสลัดตัดเด็ดด้วน
    แม้นชั่วช้าจริงจังก็บังควร
    พ่อมาด่วนมุทะลุดุดันไป
    จงตีแต่พอหลาบปราบพอจำ
    จะเฝ้าเวียนเฆี่ยนซํ้าไปถึงไหน
    งดโทษโปรดเถิดพระภูวไนย
    น้องยังไม่เคยไกลพระบาทา
    ถึงไม่เลี้ยงเป็นพระมเหสี
    จะขอพึ่งบารมีเป็นขี้ข้า
    ไม่ถือว่าเป็นผัวเพราะชั่วช้า
    จะก้มหน้าเป็นทาสกวาดขี้วัว
    สิบคนเข้าไม่เท่าคนหนึ่งออก
    อยู่กับคอกช่วยใช้พ่อทูนหัว
    ร่ำพลางทางทุ่มทอดตัว
    ตีอกชกหัวแล้วโศกา
    **
    เมื่อนั้น
    ท้าวประดู่ได้ฟังนางราว่า
    ให้นึกสมเพชเวทนา
    น้ำตาไหลนองสักสองครุ
    หวนรำลึกนึกถึงอ้ายลันได
    กลับเจ็บใจไม่เหือดเดือดดุ
    โมโหมืดหน้าบ้ามุทะลุ
    กระดูกผุเมื่อไรก็ไม่ลืม
    กูไม่อยากเอาไว้ใช้สอย
    นึกว่าปล่อยสิงสัตว์วัดสามปลื้ม
    แต่ชั้นทอผ้ายังคาฟืม
    ดีแต่ยืมเขากินอีสิ้นอาย
    แม่เรือนเช่นนี้มิเป็นผล
    มันจะลวงล้วงก้นจนฉิบหาย
    ไปเสียมึงไปไม่เสียดาย
    กูจะเป็นพ่อหม้ายสบายใจ
    สาวสาวชาววังก็ยังถม
    ไม่ปรารมภ์ปรารี้จะมีใหม่
    เก็บเงินค่านมผสมไว้
    หาไหนหาได้ไม่ทุกข์ร้อน
    **
    เมื่อนั้น
    นางประแดะหูกลวงดวงสมร
    สุดที่จะพรากจากจร
    บังอรข้อนทรวงเข้ารํ่าไร
    **
    โอ้พ่อใจบุญของเมียเอ๋ย
    แปดคํ่าพ่อเคยเชือดคอไก่
    ต้มปลาร้าตั้งหม้อกับหน่อไม้
    เมียยังอาลัยได้อยู่กิน
    พระเคยรีดนมวัวให้เมียขาย
    แม้สายที่ยังไม่หมดลิ้น
    เหลือติดก้นกระบอกเอาจอกริน
    ให้เมียกินวันละนิดคิดทุกวัน
    แต่พอพลบรบเมียเข้ากระท่อม
    พ่อนั่งกล่อมจนหลับแล้วรับขวัญ
    ในมุ้งยุงชุมพ่อสุมควัน
    สารพันทรงศักดิ์จะรักเมีย
    จะกินอยู่พูวายสบายใจ
    พ่อมอบไว้ให้วันละสิบเบี้ย
    อกน้องดังไฟไหม้ลามเลีย
    จะทิ้งเมียเสียได้ไม่ไยดี
    เที่ยงนางกลางคืนพ่อทูนหัว
    จะให้ออกนอกรั้วลูกกลัวผี
    ก้นไต้ก้นไฟก็ไม่มี
    ผัดรุ่งพรุ่งนี้เถิดพ่อคุณ
    ถึงจะไม่ได้อยู่บนตำหนัก
    ขอพึ่งพักอาศัยเพียงใต้ถุน
    ยกโทษโปรดเถิดพ่อใจบุญ
    เสียแรงได้เลี้ยงขุนมีคุณมา
    **
    เมื่อนั้น
    ท้าวประดู่ได้ฟังชังน้ำหน้า
    น้อยฤๅอีขี้เค้าเจ้าน้ำตา
    ยังจะรํ่าไรว่ากวนใจกู
    เมินเสียเถิดหวาอีหน้ารุ้ง
    อย่าพูดอยู่ข้างมุ้งรำคาญหู
    ไสหัวมึงออกนอกประตู
    ขืนอยู่ช้าไปได้เล่นกัน
    ว่าพลางปิดบานทวารโผง
    เข้าในห้องท้องพระโรงขมีขมัน
    ยกหม้อตุ้งก่าออกมาพลัน
    พระทรงศักดิ์ชักควันโขมงไป
    **
    เมื่อนั้น
    นางประแดะทุกข์ร้อนถอนใจใหญ่
    แล้วข่มขืนกลืนกลั้นชลนัยน์
    จะอยู่ไปไยเล่าไม่เข้าการ
    แต่ทุบตีมิหนำแล้วซํ้าขับ
    ให้อายอับเพี่อนรั้วหัวบ้าน
    เช้าค่ำรํ่าว่าด่าประจาน
    ใครจะทานทนได้ในฝีมือ
    กูจะหาผัวใหม่ให้ได้ดี
    เอาโยคีกินไฟไม่ได้ฤๅ
    ไหนไหนชาวเมืองก็เลื่องฦๅ
    อึงอื้ออับอายขายพักตรา
    คว้าถุงเบี้ยได้ใส่กระจาด
    ฉวยผ้าแพรขาดขึ้นพาดบ่า
    ลงจากบันไดไคลคลา
    น้ำตาคลอคลอจรลี
    (ต่อ)
     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,346
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    (ต่อ)
    ครั้นมาพ้นคอกวัวรั้วตราง
    เหลียวหลังดูปรางค์ปราสาทศรี
    เคยได้ค้างกายมาหลายปี
    ครั้งนี้ตกยากจะจากไป
    หยุดยืนสะอื้นอยู่อืดอืด
    เดือนก็มืดเต็มทีไม่มีไต้
    ฝนตกพรำพรำทำอย่างไร
    ก็หยุดยืนร้องไห้อยู่ที่ร้าน
    **
    เมื่อนั้น
    โฉมระเด่นลันไดใจหาญ
    ครั้นพลบค่ำเข็นบันไดไว้นอกชาน
    ยกเชิงกรานสุมไฟใส่ฟืนตอง
    แล้วเอนองค์ลงเหนือเสื่อกระจูด
    นอนนิ่งกลิ้งทูดอยู่ในห้อง
    เสนาะเสียงสำเนียงพิราบร้อง
    ครางกระหึมครึ้มก้องบนกบทู
    แว่วแว่วเค้าแมวในกลีบเมฆ
    ดูวิเวกลงหลังคาเที่ยวหาหนู
    พระเผยบัญชรแลชะแง้ดู
    ดาวเดือนรุบรู่ไม่เห็นตัว
    พระพายชายพัดอุตพิด
    พระทรงฤทธิ์เต็มกลั้นจนสั่นหัว
    หอมชื่นดอกอัญชันที่คันรั้ว
    ฟุ้งตลบอบทั่วทั้งวังใน
    **
    หวนรำลึกนึกถึงนางประแดะ
    ที่นัดแนะแต่เย็นเป็นไฉน
    ดึกแล้วแก้วตาเห็นช้าไป
    จะร้องไห้รำพึงถึงพี่ชาย
    จำจะไปให้ทันดังสัญญา
    ได้ย่องเบาเข้าหานางโฉมฉาย
    จึงอาบนํ้าทาแป้งแต่งกาย
    สวมประคำดีควายสำหรับตัว
    แหงนดูฤกษ์บนฝนพยับ
    เดือนดับลับเมฆขมุกขมัว
    ลงบันไดเดินออกมานอกรั้ว
    โพกหัวกลัวอิฐคิดระอา
    หลายครั้งตั้งแต่มันทิ้งกู
    พระโฉมตรูเหลือบซ้ายแลขวา
    แล้วผาดแผลงสำแดงเดชา
    เดินมาตามตรอกซอกกำแพง
    **
    ประเดี๋ยวหนึ่งก็ถึงคอกโคขัง
    จะเข้าได้ดอกกระมังยังไม่แจ้ง
    เห็นกองไฟใส่สุมอยู่แดงแดง
    แอบแฝงฟังอยู่ดูท่าทาง
    เห็นทีท้าวประดู่ผู้ผัว
    จะนอนเฝ้าวัวอยู่ข้างล่าง
    แต่โฉมศรีนิรมลอยู่บนปรางค์
    กูจะขึ้นหานางทางล่องแมว
    จึงกลิ้งครกที่ใต้ถุนเข้าหนุนตีน
    พระโฉมฉายป่ายปีนอยู่แด่วแด่ว
    อกใจไม้ครูดขูดเป็นแนว
    จะเห็นรักบ้างแล้วฤๅแก้วตา
    พระประหวั่นพรั่นตัวกลัวจะตก
    ทำหนูกกเจาะเจาะเคาะข้างฝา
    ไฉนไม่คอยกันดังสัญญา
    อนิจจานอนได้ไม่คอยรับ
    **
    เมื่อนั้น
    ท้าวประดู่สุริย์วงศ์โก้งโค้งหลับ
    พอปราสาทสะเทือนไหวตกใจวับ
    ลุกขยับนิ่งฟังนั่งหลับตา
    คิดว่ามเหสีที่ถูกถอง
    แสบท้องหายโกรธเข้ามาหา
    ให้นึกสมเพชเวทนา
    สู้ทนทานด้านหน้ามาง้องอน
    จะขับหนีตีไล่ไม่ไปจาก
    อีร่วมเรือนเพื่อนยากมาแต่ก่อน
    แล้วคลี่ผ้าคลุมหัวล้มตัวนอน
    พระภูธรทำเฉยเลยหลับไป
    **
    เมื่อนั้น
    ลันไดล้วงสลักชักกลอนได้
    เปิดประตูเยื้องย่องเข้าห้องใน
    เข้านั่งใกล้ในจิตคิดว่านาง
    สมพาสยักษ์ลักหลับขึ้นทับบน
    ท้าวประดู่เต็มทนอยู่ข้างล่าง
    พระสรวมสอดกอดไว้มิได้วาง
    ช้อนคางพลางจูบแล้วลูบคลำ
    **
    เมื่อนั้น
    ท้าวประดู่ผุดลุกขึ้นปลุกปลํ้า
    ตกใจเต็มทีว่าผีอำ
    ต่างคนต่างคลำกันวุ่นไป
    เอ๊ะจริตผิดแล้วมิใช่ผี
    จะว่าพระมเหสีก็มิใช่
    ขนอกรกนักทักว่าใคร
    ตกใจฉวยตระบองร้องว่าคน
    ลันไดโดดโผนโดนประตู
    ท้าวประดู่ร้องโวยขโมยปล้น
    ตะโกนเรียกเสนาสามนต์
    มันไม่มีสักคนก็จนใจ
    ระเด่นโดดโลดออกมานอกรั้ว
    ผิดตัวแล้วกูอยู่ไม่ได้
    ก็ผาดแผลงสำแดงฤทธิไกร
    วิ่งไปตามกำลังไม่รั้งรอ
    **
    หมาหมูกรูไล่ไม่มีขวัญ
    ปล่อยชันสามขาเหมือนม้าห้อ
    เต็มประดาหน้ามืดหืดขึ้นคอ
    ต้องหยุดยั้งรั้งรอมาตามทาง
    ถึงโดยจะไล่ก็ไม่ทัน
    ผิดนักสู้มันแต่ห่างห่าง
    พอแว่วสำเนียงเหมือนเสียงคราง
    อยู่ในร้านริมข้างหนทางจร
    เอ๊ะผีฤๅคนขนลุกซ่า
    พระหัตถ์คว้าฉวยอิฐได้สองก้อน
    หยักรั้งตั้งท่าจะราญรอน
    นี่หลอกหลอนเล่นข้าฤๅว่าไร
    ครั้นได้ยินเสียงชัดเป็นสตรี
    จะลองฤทธิ์สักทีหาหนีไม่
    กำหมัดเยื้องย่องมองเข้าไป
    แก่สาวคราวไหนจะใคร่รู้
    **
    เมื่อนั้น
    นางประแดะนั่งซุ่มคลุมหัวอยู่
    สาละวนโศกาน้ำตาพรู
    เห็นคนย่องมองดูก็ตกใจ
    พอฟ้าแลบแปลบช่วงดวงพักตร์
    เห็นระเด่นรู้จักก็จำได้
    ทั้งสองข้างถ้อยทีดีใจ
    ทรามวัยกราบก้มบังคมคัล
    **
    เมื่อนั้น
    ระเด่นเห็นนางพลางรับขวัญ
    นั่งลงซักไซ้ไล่เลียงกัน
    ไฉนนั้นกัลยามาโศกี
    พี่หลงขึ้นไปหานิจจาเอ๋ย
    ไม่รู้เลยน้องแก้วแคล้วกับพี่
    พี่ไปพบท้าวประดู่ผู้สามี
    เกิดอึงมี่ตึงตังทั้งพารา
    มันจะกลับจับพี่เป็นผู้ร้าย
    จะฆ่าเสียให้ตายก็ขายหน้า
    เขาจะค่อนติฉินนินทา
    อดสูเทวาสุราลัย
    จะเอาเมียแล้วมิหนำซํ้าฆ่าผัว
    คิดกลัวบาปกรรมไม่ทำได้
    พี่ขอถามสาวน้อยกลอยใจ
    เป็นไฉนกัลยามาโศกี
    **
    เมื่อนั้น
    นางประแดะดวงยี่หวามารศรี
    สะอี้นพลางทางทูลไปทันที
    ทั้งนี้เพราะกรรมได้ทำไว้
    ครั้งนี้มิชั่วก็เหมือนชั่ว
    นางตีอกชกหัวแล้วร้องไห้
    ยังจะกลับมาเยาะนี่เพราะใคร
    ดูแต่หลังไหล่เถิดพ่อคุณ
    เขาขับหนีตีไล่ไสหัวส่ง
    เพราะพระองค์ทำความจึงวามวุ่น
    แต่รอดมาได้เห็นก็เป็นบุญ
    อย่าอยู่เลยพ่อคุณเขาตีตาย
    **(ต่อ)
     
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,346
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    (ต่อ)
    **
    เมื่อนั้น
    ลันไดได้ฟังนางโฉมฉาย
    เขม้นมองดูหลังยังไม่ลาย
    พระจูบซ้ายจูบขวาห้าหกที
    เอาพระหัตถ์ช้อนคางแล้วพลางปลอบ
    อย่าพะอืดพะออบเลยโฉมศรี
    จะละห้อยน้อยใจไปไยมี
    บุญพี่กับนางได้สร้างมา
    อันระตูฤๅจะคู่กับอนงค์
    มิใช่วงศ์อสัญแดหวา
    โฉมเฉลาเจ้าเหมือนบุษบา
    จรกาฤๅจะควรกับนวลน้อง
    ถ้าเป็นระเด่นเหมือนเช่นพี่
    จึงควรที่ร่วมภิรมย์ประสมสอง
    ตรัสพลางทางชวนนวลละออง
    เยื้องย่องนำหน้าพานางเดิน
    **
    ครั้นถึงจึงขึ้นบนตำหนัก
    ตงหักกลัวจะตกงกเงิ่น
    ค่อยพยุงจูงนางย่างดำเนิน
    ชวนเชิญโฉมเฉลาเข้าที่นอน
    ลดองค์ลงเหนือที่ไสยาสน์
    พระยี่ภู่ปูลาดขาดสองท่อน
    แล้วจึงมีมธุรสสุนทร
    อ้อนวอนโฉมเฉลาให้เข้ามุ้ง
    **
    โฉมเอยโฉมเฉิด
    เอนหลังบ้างเถิดจวนจะรุ่ง
    เสียแรงพี่รักเจ้าเท่ากระบุง
    จะไปนั่งทนยุงอยู่ทำไม
    เชิญมาร่วมเรียงเคียงเขนย
    อย่าทุกข์เลยพี่จะหามาเลี้ยงให้
    เรามั่งมีศรีสุขทุกข์อะไร
    เงินทองถมไปที่ในคลัง
    แต่ข้าวสารให้ทานพี่นี้ฤๅ
    ไม่พักซื้อได้ขายเสียหลายถัง
    ทั้งปลาแห้งปลาทูปูลัง
    เสบียงกรังมีมากไม่ยากจน
    ขี้คร้านขายนมวัวเหมือนผัวเจ้า
    พี่ได้เปล่าสารพัดไม่ขัดสน
    จงนั่งกินนอนกินสิ้นกังวล
    พี่จะขวนขวายหาเอามาเลี้ยง
    ว่าพลางทางตระโบมโลมเล้า
    อะไรเล่าฮึดฮัดเฝ้าฟัดเหวี่ยง
    อุแม่เอ๋ยมิให้เข้าใกล้เคียง
    จะตกเตียงลงไปแล้วแก้วกลอยใจ
    **
    เมื่อนั้น
    นางประแดะคลุ้มคลั่งผินหลังให้
    ถอยถดขยดหนีภูวไนย
    นี่อะไรน่าเกลียดเบียดคะยิก
    ลูกผัวหัวท้ายเขาไม่ขาด
    ทำประมาทเปล่าเปล่าเฝ้าหยุกหยิก
    ปัดกรค้อนควักผลักพลิก
    อย่าจุกจิกกวนใจไม่สบาย
    อย่าพักอวดสมบัติพัสถาน
    ไม่ต้องการดอกจะสู้อยู่เป็นหม้าย
    หนีศึกปะเสือเบื่อจะตาย
    เฝ้ากอดก่ายไปได้ไม่ละวาง
    **
    สุดเอยสุดลิ่ม
    เชิญผินหน้ามายิ้มกับพี่บ้าง
    เฝ้าถือโทษโกรธเกรี้ยวไปเจียวนาง
    ไม่เห็นอกพี่บ้างที่อย่างนั้น
    เหมือนนํ้าอ้อยใกล้มดใครอดได้
    พี่ก็ไม่มีคู่ตุนาหงัน
    ตั้งแต่นวดปวดท้องมาสองวัน
    ใครจะกลั้นอดทนพ้นกำลัง
    ทำไมกับลูกผัวกลัวมันไย
    ผิดก็เสียสินไหมให้ห้าชั่ง
    จูบเชื่อเสียก็ได้แล้วไม่ฟัง
    ลูบหน้าลูบหลังนั่งแอบอิง
    น้อยฤๅนมแต่ละข้างช่างครัดเคร่ง
    ปลั่งเปล่งใจหายคล้ายกล้วยปิ้ง
    อุ้มขึ้นใส่ตักรักจริงจริง
    อย่าสะบิ้งสะบัดตัดไมตรี
    ยิ่งดิ้นยิ่งกอดสอดสัมผัส
    อุยหน่าอย่ากัดพระหัตถ์พี่
    ปัดป้องว่องไวอยู่ในที
    จนล้มกลิ้งลงบนที่บรรทมใน
    อัศจรรย์ลั่นพิลึกกึกก้อง
    ฟ้าร้องครั่นครื้นดังปืนใหญ่
    เกิดพายุโยนยวบสวบสาบไป
    หลังคาพาไลแทบเปิดเปิง
    ฝนตกห่าใหญ่ใส่ซู่ซู่
    ท่วมคูท่วมหนองออกนองเจิ่ง
    คางคกขึ้นกระโดดโลดลองเชิง
    อึ่งอ่างเริงร่าร้องแล้วพองคอ
    นกกระจอกออกจากวิมานมะพร้าว
    ต้องฝนทนหนาวอยู่งอนหง่อ
    ขนคางหางปีกเปียกจนมอซอ
    ฝนก็พอขาดเม็ดเสร็จบันดาล
    **
    เมื่อนั้น
    นางประแดะหูกลวงห่วงสงสาร
    ได้ร่วมรักชักเชยก็ชื่นบาน
    เยาวมาลย์หมอบเมียงเคียงกาย
    แล้วเชิญหม้อตุ้งก่าออกมาตั้ง
    นางนั่งเป่าชุดจุดถวาย
    ทรงศักดิ์ชักพลางทางยิ้มพราย
    โฉมฉายขวั้นอ้อยคอยแก้คอ
    ถูกเข้าสามจะหลิ่มยิ้มแหยะ
    นางประแดะสรวลสันต์กลั้นหัวร่อ
    พระโฉมยงทรงขับรับเพลงซอ
    ฉลองหอทรงธรรม์แล้วบรรทม
    **
    มาจะกล่าวบทไป
    ถึงนางกระแอทวายขายขนม
    เจ้าเงินโปรดปรานพานอุดม
    นุ่งห่มผืนผ้าค่าบาทเฟื้อง
    ผูกดอกออกจากฟากเรือนนาย
    ลดเลี้ยวเที่ยวขายข้าวเหนียวเหลือง
    ตามตลาดเสาชิงช้ามาเนืองเนือง
    ปลดเปลื้องเฟื้องไพได้ทุกวัน
    กับโฉมยงองค์ระเด่นลันได
    รักใคร่กันอยู่ก่อนเคยผ่อนผัน
    เชื่อถือซื้อขายเป็นนิรันดร์
    เว้นวันสองวันหมั่นไปมา
    **
    วันเอยวันหนึ่ง
    คิดถึงลันไดจะไปหา
    นึ่งข้าวเหนียวใส่กระจาดยาตรา
    ตรงมาหาชู้คู่ชมเชย
    เที่ยวเตร็ดเตร่เร่ร้องแล้วท่องเที่ยว
    ซื้อข้าวเหนียวหน้ากุ้งกินแม่เอ๋ย
    ที่รู้จักทักถามกันตามเคย
    บ้างเยาะเย้ยหยอกยื้อซื้อหากัน
    พอเวลาตลาดวายสายแสง
    กระเดียดตระแกรงกรีดกรายผายผัน
    ทอดกรอ่อนคอจรจรัล
    มาปราสาทสุวรรณเจ้าลันได
    **
    ครั้นถึงจึงขึ้นบนนอกชาน
    เห็นทวารบานปิดคิดสงสัย
    ทั้งเสียงคนพูดกันอยู่ชั้นใน
    ทรามวัยแหวกช่องมองดู
    เห็นโฉมยงองค์ประแดะกับระเด่น
    คลี่ผ้าหาเล็นกันง่วนอยู่
    โมโหมืดหน้าน้ำตาพรู
    ดังหัวหูจะแยกแตกทำลาย
    นี่เมียอ้ายประดู่อยู่หัวป้อม
    ไยจึงมายินยอมกันง่ายง่าย
    ทั้งสีจักรยักหล่มถ่มร้าย
    มันจะให้ฉิบหายขายตน
    ชิชะเจ้าระเด่นพึ่งเห็นฤทธิ์
    แต่ผ้านุ่งยังไม่มิดจะปิดก้น
    จองหองสองเมียจะเสียคน
    คิดว่ายากจนเฝ้าปรนปรือ
    จึงแกล้งเรียกพลันเจ้าลันได
    ค่าข้าวเหนียวสองไพไม่ให้ฤๅ
    ผ่อนผัดนัดหมายมาหลายมื้อ
    แม่จะยื้อให้อายขายหน้าเมีย
    **
    เมื่อนั้น
    โฉมระเด่นลันไดแรกได้เสีย
    กำลังนั่งเคล้าเฝ้าคลอเคลีย
    ชมโฉมโลมเมียอยู่ริมมุ้ง
    ยกบาทพาดเพลาเกาสีข้าง
    สัพยอกหยอกนางอย่างลิงถุง
    แล้วยื่นมือมาจี้เข้าที่พุง
    นางสะดุ้งดุกดิกพลิกตะแคง
    เขาจะนอนดีดีเฝ้าจี้ไช
    ช่างกระไรหน้าเป็นเอ็นแข็ง
    จะนิ่งอยู่สักประเดี๋ยวทำเรี่ยวแรง
    มาแหย่แย่งกวนใจไปทีเดียว
    พอระเด่นได้ยินเสียงเรียกหา
    ก็รู้ว่าชู้เก่าเจ้าข้าวเหนียว
    จึงร้องว่าใครนั่นขันจริงเจียว
    จะมาเที่ยวจัณฑาลพาลเอาความ
    ค่าข้าวเหนียวสองไพข้าให้แล้ว
    มาทำเสียงแจ้วแจ้วไม่เกรงขาม
    ไม่ได้ติดค้างมาอย่าวู่วาม
    ลุกลามสิ้นทีมีแต่อึง
    **
    เมื่อนั่น
    นางทวายยิ่งพิโรธโกรธขึ้ง
    ยืนกระทืบนอกชานอยู่ตึงตึง
    หวงหึงด่าว่าท้าทาย
    นี่แน่อ้ายสำเร็จเจ็ดตะคุก
    มาลืมคุณข้าวสุกเสียง่ายง่าย
    กูเชื่อหน้าคิดว่าลูกผู้ชาย
    จึงสู้ขายติดค้างยังไม่รับ
    ช่างโกหกพกลมประสมประสาน
    จะประจานเสียให้สมที่สับปลับ
    แต่เบี้ยติดสองไพยังไม่รับ
    กูสิ้นนับถือแล้วอ้ายลันได
    **
    เมื่อนั้น
    ระเด่นตอบตามอัชฌาสัย
    เขาขี้คร้านพูดจาอย่าหนักไป
    ข้ารู้ใจเจ้าดอกกัลยา
    เจ้าพิโรธโกรธขึ้งเพราะหึงหวง
    จึงจาบจ้วงล่วงเกินเป็นหนักหนา
    ข้าผิดแล้วกลอยใจได้เมตตา
    เชิญเข้าเคหาปรึกษากัน

    **เรื่องระเด่นลันได ของ พระมหามนตรี (ทรัพย์) ปรากฏต้นฉบับอยู่ที่หอพระสมุดวชิรญาณแต่เพียงเท่านี้ ไม่จบเรื่อง ส่วนที่ขาดไปประมาณ ๒ หน้าสมุดไทยมีเนื้อความว่า นางทวายเข้าไปในเรือนเกิดทะเลาะกับนางประแดะ นางทวายไล่ตี นางประแดะลอดล่องหนีไป แล้วระเด่นลันไดโลมนางทวายจนเข้าห้อง
    *****************
    ขอบพระคุณที่มา :-
    http://vajirayana.org/บทละครเรื่องระเด่นลันได/บทละครเรื่องระเด่นลันได

     
  19. ล้อเล่น

    ล้อเล่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    4,924
    ค่าพลัง:
    +18,649
    โพสบ่ขึ้นนิ อิอิ
     
  20. ขุนวัง

    ขุนวัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2015
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +726
    บทละครเรื่องระเด่นลันได
    .....
    1497502017718.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...