เรื่องเด่น วีดีโอ ตาผ้าขาวสง่า ผู้บรรลุอนาคามี รู้วันสิ้นตนเอง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 15 สิงหาคม 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,376
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046


    FaithThaiStory :-
    Published on Aug 13, 2017
    หลวงปู่ชอบได้พบกับตาผ้าขาวสง่าครั้งแรกที่ถ้ำนายม จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งตาผ้าขาวมีความรู้พิสดารมาก และสามารถบรรลุธรรมถึงขั้นอนาคามี แต่ด้วยผลแห่งกรรมในอดีตชาติ จึงไม่สามารถบวชได้และต้องสิ้นชีวิตจากผลกรรมบางอย่าง

    ติดตามเรื่องราวได้ที่
    Facebook ภารกิจเที่ยววัด https://www.facebook.com/faith108
    เว็บไซต์หลัก http://www.faiththaistory.com
    **************************
    การปฏิบัติพระกรรมฐาน : บรรยายโดย อาจารย์ชัชวาลย์ ชิงชัย* การบรรยายครั้งที่ 17**



    อนาคามี: พระในเพศฆราวาส
    สำหรับวันนี้จะบรรยายให้ท่านทั้งหลายฟัง ในหัวข้อเรื่องอนาคามี : พระในเพศฆราวาส ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ฆราวาสสามารถที่จะบรรลุอริยบุคคลได้ทุกชั้น แต่พระโสดาบันและสกทาคามีนั้น ยังมีพฤติกรรมบางอย่างที่คล้ายๆ กับ ปถุชน เช่น ท่านยังมีครอบครัว มีสามี ภรรยา และลูก เพีงแต่ท่านมีศีล 5 บริสุทธิ์ ท่านละสังโยชน์ คือ กิเลสทั้ง 3 ตัวได้

    สิ่งที่สำคัญก็คือ สำหรับอริยบุคคล 2 ชั้นนี้ ท่านยังสามารถบริโภคความสุขได้ทั้ง 3 ประการ คือ
    1.กามสุข ความสุขจากกาม
    2.ฌานสุข ความสุขที่เกิดจากฌาน
    3.นิพพานสุข ความสุขที่ได้จากการเข้าถึงนิพพาน

    แม้ยังไม่สามารถเข้าถึงได้อย่างชนิดเต็มตัว แต่ท่านสามารถหน่วงเหนี่ยวอารมณ์แห่งนิพพานได้

    สำหรับอริยบุคคลชั้นสูงขึ้นไป คือ ในระดับพระอนาคามีและพระอรหันต์ ท่านไม่ได้บริโภคกามสุข ท่านบริโภคเฉพาะฌานสุขและนิพพานสุขเท่านั้น ทั้งนี้ก็สืบเนื่องมาจากการที่พระอนาคามีนั้นท่านสามารถละ สังโยชน์ คือ กิเลสเพิ่มได้อีก 2 ตัว ก็คือ กามราคะ ท่านสามารถตัดความรัก ความยินดีในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส และ สัมผัส ท่านสามารถตัดปฏิฆะ คือ ความโกรธเสียได้

    เมื่อท่านสามารถตัดความรักและความโกรธได้แล้ว จึงทำให้ท่านเป็นผู้มีศีลบริบูรณ์ แต่ศีลในที่นี้ไม่ได้
    เป็นศีลเหมือนอริยบุคคล 2 ระดับ ดังกล่าวแล้ว พระโสดาบันและพระสกทาคามีนั้น เป็นผู้ที่มีศีล 5 บริสุทธิ์โดยธรรมชาติ ส่วนพระอนาคามีนั้นมีอธิศีลเหมือนพระโสดาบัน แต่ข้อแตกต่างกันก็คือ พระอนาคามีมีศีล 8 โดยธรรมชาติหรืออาจเรียกได้ว่าศีลอุโบสถก็ได้


    ที่สำคัญก็คือ พระอนาคามีเป็นผู้ที่มีอธิจิตบริบูรณ์ คำว่า อธิจิต ก็หมายความว่า เป็นผู้ที่มีสมาธิที่
    สมบูรณ์
    ท่านทั้งหลายโปรดสังเกตว่า ในการฝึกสมาธินั้นมีกิเลสตัวสำคัญที่รุมล้อมทำร้ายจิตใจของเรา เรียกว่า นิวรณ์ทั้ง 5 ได้แก่

    1.กามฉันทะ ความพอใจในกาม
    2.ความพยาบาท ความขัดเคืองไม่พอใจ
    3.ถีนมิทธะ ความหดหู่และความเซื่องซึม
    4.อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านแระ รำคาญใจ
    5.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

    กิเลสตัวสำคัญที่สุด คือ กามราคะ หรือในนิวรณ์เรียกว่า กามฉันทะนั่นเอง แล้วก็พยาบาท ซึ่งในสังโยชน์เรียกว่า ปฏิฆะ ราคะกับโทสะ สองตัวนี้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในระดับกิเลสชั้นกลาง เพราะว่าเป็นกิเลสที่มารุมทำร้ายจิตใจ ทำให้จิตใจของเรานั้นไมีความสงบ เดี๋ยวจิตก็ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ของ ความรัก ความ
    โกรธ เมื่อเราสามารถตัดราคะและโทสะได้ พระอนาคามีจึงชื่อว่าเป็นผู้มี อธิจิตสิกขา คือ เป็นผู้ที่มีสมาธิจิตบริบูรณ์

    ส่วนปัญญาของท่านก็มีอยู่พอควร ถ้าท่านไม่มีปัญญา ท่านไม่สามารถละกิเลสในระดับหนึ่งได้ เพียงแต่ท่านยังมีกิเลสเบื้องสูงอีก 5 ตัวที่ท่านยังไม่สามารถละได้ ภาษาพระใช้คำว่า อุทธัมภาคิสังโยชน์ แปลว่า กิเลสที่เป็นไปในฝ่ายสูง คือ พระอนาคามียังละรูปราคะ คือ ความพอใจในรูปฌานไม่ได้ ยังละอรูปราคะ คือ ความพอใจในอรูปฌานไมได้ ยังละ มานะ คือ ความถือตนว่าดีกว่าเขา เสมอกว่าเขา หรือ ต่ำกว่าเขาไม่ได้ ยังละอุทธัจจะ คือ ความฟุ้งซ่านระดับเบื้องสูงไม่ได้ และที่สำคัญคือ ท่านยังละอวิชชา ความหลงไม่ได้

    เพราะฉะนั้น นี่คือ ภาระหนักสำหรับพระอนาคามี ที่ยังมีภาระกิจ คือ กิเลสละเอียด ที่จะต้องละต่อไป
    ครั้งที่แล้วได้อธิบายให้ท่านทั้งหลายฟังว่า ในศีล 8 นั้น ข้อที่น่าสนใจคือ ข้อที่ 3 ในศีล 5 ข้อ คือ กาเมสุมิจฉาจาร หมายความว่า เราจะไม่ยุ่งกับคู่ครองของคนอื่น แต่เราก็ยังมีเพศสัมพันธ์ปกติกับคู่ครองคือสามีและภรรยาของเราได้ แต่พอบรรลุอนาคามีนั้น สภาพจิตของท่านสูงขึ้น เนื่องจากตัดกามระคะได้


    ดังนั้น ศีลข้อที่สามจึงเปลี่ยนจาก กาเมาสุมิจฉาจารา เวรมณี มาเป็น อพรัหมจริยาเวรมณี คำว่า
    อพรัหมจริยาเวรมณี หมายความว่า ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องทางเพศทุกชนิด เพราะท่านไม่มีภารกิจที่ต้องทำในเรื่องเหล่านี้แล้ว เนื่องจากตัดถอนรากถอนโคนกามราคะได้หมดสิ้นแล้ว


    คำว่า กามราคะ ในศัพท์จิตวิทยา เรียกว่าสัญชาตญาณทางเพศ ซึงในเรื่องนี้มีมุมมองที่ขัดแย้งกันในทางความคิด เนื่องจากทางตะวันตกนี่ ไม่ว่าจะป็น อริสโตเติ้ล ซิกมันด์ ฟรอยด์ เขาถือว่ากิเลสเป็นสารัตถะ แก่นแท้ของความเป็มนุษย์ มนุษย์ไม่สามารถที่จะตัดทำลายกิเลสได้ เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์ตัดทำลายกิเลสหรือสัญชาตญานเหล่านี้ จะทำให้ความเป็นมนุษย์พิกลพิการ นี่คือ แนวคิดของทางตะวันตก ที่ถือว่ากิเลสกับมนุษย์ หรือกิเลสกับจิตเป็นตัวเดียวกัน

    แต่ในทางตะวันออกโดยเฉพาะในทางพระพุทธศาสนา ถือว่ากิเลสเป็นคนละตัวกับจิต กิเลสเป็น
    เจตสิก เป็นสิ่งที่เกิดร่วมกับจิต อาศัยอยู่ในจิต แต่ไม่ใช่จิต ถ้าจิตเปรียบเหมือนเป็นแก้วน้ำ กิเลสก็เป็นเหมือนกับน้ำที่อยู่ในแก้วนั่นเอง เพราะฉะนั้น แก้วน้ำกับน้ำ เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยกัน แต่ไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวกัน


    ในทางพระพุทธศาสนาจึงถือว่า เราสามารถตัดทำลายกิเลสอันเป็นอกุศล คือ ความไม่ดีได้และ
    เมื่อทำลายความชั่วในจิตให้หมดไปจากจิตใจได้แล้ว ในจิตใจก็เหลือไว้ซึ่งกุศลและเจตสิก ซึ่งเป็นคุณธรรมความดีเพื่อนจะอยู่เกื้อกูลชาวโลกต่อไป เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ท้งหลาย ท่านมีเมตตา มีกรุณา มีปัญญา มีคุณธรรมความดีต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่จะใช้เกื้อกูลชาวโลก


    สิ่งที่น่าสนใจอีกข้อหนึ่งคือ ข้อ วิกาลโภชนา เวรมณี พระอนาคามีปกติทานอหารไม่เกินเที่ยง อันนี้
    ก็น่าแปลกเหมือนกัน ซึ่งลางทานอาจสังสัยว่าทำไมทานน้อย มันก็สัมพันธ์กับศีลข้อที่ 3 คือ อพพัมจริยา ท่านงดเว้นเด็ดขาดจากเรื่องเพศทุกชนิด ก็ไม่ต้องใช้พลังงานมากมาย ทานอาหารมื้อเช้าบำรุงกำลัง ท้องว่างมาหลายชั่วโมง มื้อเพลไม่เกินเที่ยง บำรุงปัญญา ส่วนมื้อเย็นบำรุงกามรมณ์

    สำหรับพวกฆราวาสผู้เสพกาม จำเป็นที่จะต้องบริโภคอาหารในเวลาเย็น ถ้าไม่ทาน คุณพ่อ คุณแม่ก็คงไม่มีเรี่ยวแรงผลิตพวกเราให้ได้ออกมาชมโลกใบนี้ อันเป็นเรื่องธรรมดา เป็นปกติวิสัยของปุถุชนคนมีกิเลส แต่สำหรับพระอนาคามี ท่านไม่จำเป็นในเรื่องเหล่านี้แล้ว ศีลข้อต่อไปคือ ที่เราสมาทานว่า งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรีที่เป็นข้าศึกแก่กุศล คือ สิ่งที่ทำให้จิตใจเพลิดเพลินยินดี ตกไปในอารมณ์แห่งกามคุณ การทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง ท่านก็ตัดสิ่งเหล่านี้ได้หมด และข้อที่ 8 งดจากการนั่งนอนในที่นอนสูงใหญ่ หรูหราฟุ่มเฟือย สิ่งเหล่านี้ท่านสามารถที่จะตัดได้

    เรื่องของพระอนาคามีเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ท่านท้งหลายจะสังเกตว่า ในระดับของพระระดับโสดาบันและสกทาคามีนี้ เราจะเรียกท่านเหล่านี้ว่า เป็นชาวบ้านชั้นดีก็ได้ เป็นสุภาพบุรุษชน เป็นสุภาพสตรีชน เป็นคนผู้ชายผู้หญิงที่เป็นคนดี ที่ไม่ละเมิดศีล 5 แต่พระอนาคามี เราไม่อยากเรียกท่านว่าเป็นสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี ชั้นดี เพราะว่าท่านมีบุคคลิกภาพที่แปลกไป นั่นก็คือ ท่านมีชีวิตอยู่อย่างฆราวาสจริง แต่วิถีชีวิตของท่านไม่เหมือนฆราวาส จะเรียกท่านเหล่านี้ว่า อนาคาริก ก็ได้ คำว่า อนาคาริก ก็แปลว่า ผู้ไม่มีเรือน ไม่ครองเรือน

    ท่านทั้งหลายอาจบอกว่า ถ้าไม่ครองเรือน ก็หมายความว่า อนาคามีต้องออกบวชทิ้งหมดใช่หรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่มีความจำเป็นถึงขนาดนั้น เท่าที่ตรวจสอบจากหลักฐานในพระไตรปิฏก ก็พบว่าท่านเหล่านี้างส่วนเหมือนกันที่ไม่มีภาระทางโลกแล้ว ท่านก็ปลีกตัวออกไปบวช อย่างเช่น บิดา มารดา ของนางมาคันทิยา ฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้าได้บรรลุเป็นพระอนาคามี แล้วท่านก็เอาลูกสาวอันเป็นที่รักคนเดียว คือ นามมาคันทิยาไปฝากไว้กับน้องชาย จากนั้นก็ออกบวชเลย ไม่มีความห่วงใยทางเรือนแล้ว ก็มีบ้างที่ออกบวช หรือ อย่างวิสาขอุบาสก วิสาอุบาสก ฟังเทศน์ได้บรรลุเป็นอนาคามี แต่ท่านก็ไม่ได้ออกบวช

    ท่านทั้งหลายอาจตั้งคำถามว่า อนาคามี แปลว่า ผู้ไม่ครองเรือน ก็หมายความว่าเป็นผู้ที่ไม่มีลูกมี
    เมียใช่หรือไม่ ? ถ้าท่านบรรลุเป็นอนาคามี ท่านก็ไม่มีคู่ครอง หมายความว่า ท่านก็จะไม่ยุ่งเกียวฉันท์สามีภรรยากับคู่ครองของตนเอง ทีนี้ท่านทั้งหลายอาจถามว่า แล้วถ้าอย่างนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาจะป็น

    อย่างไร คำตอบก็คือ ท่านจะอยู่แบบพี่แบบน้อง

    ยกตัวอย่างกรณี วิสาขาอุบาสกที่ให้อิสระแก่ภรรยาคือนางธรรมทินนา แต่ตัวธรรมทินนาก็ถือโอกาสออกบวช แล้วก็ได้บรรลุเป็นอรหันต์สูงกว่าสามี อย่างนี้เป็นต้น ท่านก็จะมีชีวิตอยู่ทางโลกแต่ท่านามีพฤติกรรมไม่เหมือนกับชาวโลก จึงเรียกท่านว่าอนาคามี พระที่อยู่ในเพศฆราวาส เพราะว่าท่านไม่ยุ่งเกี่ยวในเรื่อง
    ทางเพศ ทีนี้ถ้าเรามามองในด้านสังคมวิทยา พระอนาคามีท่านก็ยังมีภาระอยู่นี่ ยกตัวอย่าง เช่น มีอนาคามีบางท่าน พี่พ่อแม่แก่ชราตาบอด ท่านก็ยังต้องประกออาชีพเป็นช่างปั้นหม้อ เลี้ยงตัวเอง บิดา มารดา ผู้ตาบอด นี้ก็ไม่ใช่สิ่งแปลประหลาด หรือว่าถ้าท่านมีลูกอยู่ ภรรยาไปมีสามีใหม่ ภรรยาไม่ประสงค์จะเลี้ยงลูก ท่านก็อาจจะรับภาระเลี้ยงลูกทำหน้าที่ความเป็นบิดามารดาได้ตามปกติ

    แต่ท่านจะไม่มีลักษณะของกามราคะ คือ รักในความยึด ในความหวง ในความห่วง ท่านมองสัตว์โลกทั้งหลายเหมือนกับเพื่อนร่วมชะตาเดียวกัน เป็นเพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย สิ่งสำคัญที่เด่นมากี่สุดสำหรับพระอนาคามี ที่อยากอธิบายให้ฟังก็คือว่า ตัวเมตตา คือ ความรัก ความปรารถนาดี เป็นจิตที่เด่นมากของอนาคามี เพราะว่าในจิตของ โสดาบันและสกทาคามี จะสังเกตได้ว่า ท่านเหล่านั้นก็ยังมีความโกรธ แต่ท่านไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาต พยาบาท ความโกรธยังมีอยู่เพราะท่านตัดไม่ได้ แต่พอมาเป็นพระอนาคามีท่านตัดความโกรธได้

    ศัตรูตัวสำคัญของเมตตาคือ ความรัก ความปรารถนาดี เป็นเมตตาที่ไม่แสดงอานุภาพออกมาได้
    อย่างแรงกล้า ก็เนื่องมาจากอุปสรรคสำคัญ 2 ประการ นั่นคือ โทสะ เมตตา เป็นคู่ปรับกับโทสะ ยามใดที่จิตมีเมตตา จิตก็ไม่มีพยาบาท หรือยามใดที่จิตมีความพยาบาท จิตไม่มีเมตตา เพราะฉะนั้น ตัวโทสะ เป็นตัวที่ทำให้เมตตาเศร้าหมอง เป็นศัตรูไกล คู่ปรับตัวสำคัญและสิ่งที่เป็นศัตรูใกล้ๆคอยกระแซะๆ ให้เมตตา ต้องสูญเสียความเป็นเมตตาก็คือ ราคะ ความกำหนัด ยินดี


    ลักษณะความกำหนัดยินดีมีมากมาย เป็นลักษระความกำหนัดยินดีทางเพศ มันกลายเป็นเมตตาไป
    ไม่ได้ เพราะมันเปลี่ยนจากเมตตาไปเป็นราคะ หรืออาจจะเป็นลักษระในเชิงเจ้าของก็ได้ว่า นี่ลูกเมียเรา เรารัก เราหวง เราห่วงอะไรต่างๆ


    อนาคามีสามารถเสพสุขได้เพียง 2 สุข คือ ฌานสุขและนิพพานสุข ท่านทั้งหลาย อาจจะบอกว่าถ้าอย่างนั้นก็แพ้โสดาบ้นและสกคาทามี เพราะว่าโสดาบัน สกทาคามี เสพสุขได้ทั้ง 3 สุข เป็นกามสุขก็เสพได้ ฌานสุขก็ได้ นิพพานสุขก็ได้ แต่พอมาเป็นอนาคามีเสียกามสุขไปแล้ว อย่างนั้นก็เสียเปรียบ อันที่จริงถือว่า ไม่เป็นการเสียเปรียบแต่เป็นการได้เปรียบมากกว่า

    เพราะในทางพระพุทธศาสนา ถือว่าการเสพกามสุขนั้น ก็เหมือนกับเสพทุกข์ การกอดกามสุขนั้นก็
    เหมือนกับการกอดกองไฟ พระพุทธเจ้าท่านตรัสตำหนิติเตียนโทษของกามไว้มากมาย ว่ากามทั้งหลายมีรสอร่อย มีทุกข์มาก กามทั้งหลายเป็นของเผ็ดร้อน กามทั้งหลายเป็นเหมือนกับการทานอาหารที่ผสมกับยาพิษ อุปมาเปรียบความทุกข์ที่เกิดจากกามนี้มีมากและก็ตรัสไว้เยอะเป็ฯการตรัสตำหนิติเตียนกาม


    เพราะฉะนั้นผู้ใดก็ตามที่ยังเสพกามอยู่ ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่ายังเสพทุกข์อยู่ ยังหนีจากความทุกข์ไปไม่ได้ ในสมัยพุทธกาลนี่มีเยอะมากมายที่พระโสดาบันต้องมีความทุกข์จากครอบครัว ยกตัวอย่างง่ายๆ พระโสดาบันผู้หนึ่งภรรยาเป็ฯผู้ไม่อิ่มในเรื่องของกาม ก็ไปมีชู้ ท่านก็เศร้าโศรกเสียใจ ไปปรับทุกข์กับพระพุทธเจ้าก็มี ในสมัย
    พุทธกาลนี่ยังไม่มีโรคเอดส์ระบาด ท่านทั้งหลายลองจินตนาการดูว่า ถ้าคู่ครองของพระโสดาบันไปสำส่อนในเรื่องทางเพศนี่ พระโสดาบันจะเอาตัวรอดได้หรือไม่? เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าขบคิดทีเดียวว่า แม้แต่ตัวเองจะบรรลุเป็นโสดาบันและสกทาคามีแล้วแตก็ไม่ใช่ว่าตัวเองจะปลอดภัย ยังมีโสดาบันยังมีสิทธิ์ติดเอดส์ได้เหมือนกัน ถ้าคู่ครองของตนยังไม่ดีอย่างนี้

    แต่ถ้าใครก็ตามหลีกหนีออกจากกาม เป็นผู้ไม่ครองเรือน อนาคาริก แปลว่า เป็นผู้ไม่มีเรือน คำ
    ว่าไม่มีเรือน คำว่าไม่มีเรือนนี่ ไม่ได้หมายความว่าต้องออกบวชเสมอไป อยู่ในชีวิตฆราวาสก็ได้ อยู่ในครอบครัวก็ได้ แต่ไม่ยุ่งเกี่ยวในเชิงสัมพันธ์สวาททางเพศ แต่ยังมีความรู้สึกที่เป็นมิตร มีความรู้สึกที่เกื้อกูล ต่อมนุษยชาติ แต่ในทางสังคมวิทยานี่ อาจจะโจมตีได้ว่า อนาคามีมีข้อไม่ดี เป็นการทำลายสถาบันครอบครัว ทำให้มนุษยชาติต้องเสื่อมสูญและสูญชาติพันธุ์ อันนี้เขาอาจโจมตีได้ แต่ก็เป็นเรื่องของเขา เพราะว่าคนในโลกนี้จะมีอนาคามีซักกี่เปอร์เซนต์ โลกนี้มีคนอยู่ ห้าหกพันล้านคน คนที่เป็นพระอนาคามีมีน้อย เพราะฉะนั้น ข้อโจมตีหรือข้อวิจารณ์ในเรื่องนี้ก็คงเอามาเป็นประเด็นไม่ได้ สำหรับเรื่อง อนาคามี: พระในเพศฆราวาส ในวันนี้พอสมควรแก่เวลา ขอให้ท่านทั้งหลาย ตั้งสติ คือ ตัวรู้ไว้ที่ดวงตาทั้งสองข้าง แล้วก็ลืมตาขึ้นช้าๆ ออกจากสมาธิฯ

    *ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จตุจักร กรุงเทพ 10900 โทรศัพท์
    579-5566-8 ต่อ 506 โทรสาร 942-8719 อีเมลล์ fhumcwc@ku.ac.th
    **จัดโดยคณะอนุกรรมการกิจการพิเศษ ศูนย์พุทธศาสนาศึกษา มก. บรรยาย ณ พุทธเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ เมื่อ
    วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2544
    ขอบพระคุณที่มา :-
    https://solardogwp.wordpress.com/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 สิงหาคม 2017
  2. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    ตำรานะอ่านได้ พอใช้เป็นแนวทางได้
    ก็ดีกว่าไม่มีอะไรให้มาเป็นข้อสะกิดเลย
    แต่ที่สำคัญคืออย่าไปยึดนะครับ
    เพราะมันไม่ใช่ตัววัดที่แท้จริง
    ในทางกิริยาของตัวจิตนะครับ
    ไม่งั้นพวกเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
    หรือต่อมเพศไม่ทำงาน
    หรือบรรดาพวกที่โสดแบบ
    ไม่มีวาทะหรือไม่มีความเข้าใจในการใช้ชีวิตคู่
    เช่น อยู่กินกันมานาน จนมองว่าเรื่องเพศไม่ใช่เรื่องสำคัญ
    ในการดำรงชีวิตแล้ว ก็เข้าข่ายซิครับ
    หรือถ้าพูดแบบแรงๆก็คือ
    กลุ่มบุคคลที่ไม่มีใครเอาเป็นสามี ด้วยกมลสันดานไม่ดี
    และเอามาเป็นภรรยาทั้งหลายด้วยกมลสันดานอกุศล
    ก็จะสามารถจัดอยู่ในระดับอนาคามีได้ทั้งนั้นซิครับ
    หรือสมมติบุคคลคนหนึ่ง อยู่ในศีล ๕ มาตลอดเวลา
    ยังไม่เจอคนถูกใจ ไม่ได้ปรุงเรื่องกามราคะ
    ก็เป็นอนาคนมีได้แล้วนะหรือ
    หรือไม่พวกที่อยากสวย อยากหล่อ อยากเท่ห์
    มาอ่านบทความแบบนี้เข้า
    เห็นว่ามีข้อห้าม ข้อละอะไร
    ก็สามารถที่จะกด จะข่ม
    เพื่อให้ตัวเองมีคุณสมบัติเข้าถึงได้ซิครับ
    พอเข้าใจความหมายว่า อ่านได้แต่อย่าไปยึดหรือยังครับ



    ไม่งั้นเราจะพลาดเอาได้ง่ายๆ
    ถ้าจะชัวสุดการที่จะวัดว่าจิตตนเอง
    อยู่ระดับไหนนั้น ให้มาดูการคลายตัว
    เองได้ของจิตตัวเองจะชัวกว่าครับ
    ซึ่งการที่เราจะเข้าถึงตรงนี้ได้
    ก็ต้องมาจากการเจริญสติในชีวิตประจำวันมาก่อน
    บวกกับกำลังสมาธิสะสมที่คอยหนุน
    บวกกับมีปัญญาทางธรรมขึ้นมาบ้าง
    ถึงจะพอเข้าใจกิริยาที่จิตคลายตัวเองได้ครับ

    คลายตัวเองได้ของจิตคือ การที่จิต
    ไม่ยึดเกาะกับอะไรเลยนั่นหละครับ
    เคยไปทำบุญไหมครับ แล้วรู้สึกว่า
    มันโล่งๆ โปร่งๆเบาๆ บ้างก็เย็นด้วยที่หน้าอก
    หรือลิ้นปี่ การคลายตัวเองได้ของจิตก็อย่างนั้นหละครับ
    เพียงแต่ว่า มันสามารถเกิดขึ้นเองได้ตามธรรมชาติครับ

    เอาแบบง่ายๆ วิธีการสังเกตุ
    เหมือนที่เราเข้าใจว่า พระอรหันต์หรือท่าน
    ที่พ้นแล้วจิตท่านไม่ยึดเกาะอะไรเลยได้ตลอดเวลา
    ทั้งวัน ทั้งๆที่ท่านนั้นก็ยังใช้ชีวิตปกติ
    และยังอยู่บนโลกใบนี้ ในสภาพแวดล้อม
    ทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนปกตินั่นหละครับ
    ถ้าระดับที่จิตไม่เกิดเลย(คือไม่ดึงอะไรมายึด)
    มีระยะเวลาตลอดที่ท่านลืมตา
    เราก็มาประมาณว่า ระดับต่างๆ
    ก็ย่อมมีระยะเวลาที่ จิตคลายตัวเองได้
    โดยธรรมชาติในระหว่างวันได้เท่าไรนั่นเองครับ
    อย่าไปยึดเทียบเอากับสภาพแวดล้อมแบบทางโลกนะครับ
    เพราะเราไม่ได้ไปเทียบกับท่านที่ห่มเหลือง
    เราพูดกันในมุมของฆารวาส
    ง่ายสุดในการดู
    ก็คือ ให้ดูว่า จิตดวงใด
    ที่สามารถเข้าสู่สภาวะดับได้โดยธรรมชาติ
    นั้นคือเข้าถึงระดับอนาฯได้
    และจิตดวงใด เริ่มคลายตัวเองได้โดยธรรมชาติ
    นั่นคือเริ่มเข้าเขตโสดาฯได้
    ย้ำว่า เริ่มเข้า จะเข้าได้ลึกแค่ไหน
    ก็ต้องมาละกิเลสละเอียด
    เหมือนๆกันทุกระดับนั้นหละครับ
    ถ้าตราบใดจิตยัง ละไม่ได้หมดจริงๆ
    หรือยังเกิด ยังสัดซ่าย ปรุงแต่งได้อยู่
    มีมีอะไรมากระทบ ไม่ว่า ทางตา หู
    จมูก ปาก ลิ้น กายและใจครับ
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,376
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    SadhuinDhamma.jpg
     
  4. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    ในอดีตมีฆารวาสมากมาย
    เช่น ท่านโง้วกิมโคย ที่เรียกกันว่า อาแปะโรงสี
    มีลูกหลานเต็มบ้านเต็มเมืองโน้นครับ
    แถวเยาวราชรู้จักกันดี
    ท่าน อ.ชื่อย่อ พ
    อ.บางท่าน ยังได้ถ่ายทอดวิชากับพระก็มี
    ดังนั้น อย่าไปยึดหลักการนะครับ
    ว่าระดับโน้นนั้นนี่จะต้อง มีวิถีชีวิตแบบโน้นนี่นั้น
    เป็นเพียงตำรา ใช้อ้างอิงได้ แต่อย่าไปยึดมาก
    จนกว่า เราจะฝึกจนสามารถรู้ได้ด้วยตนเอง
    ไม่งั้น เด่วเผลอไปปรามาส ด้วยเห็นว่าไม่ตรงกับหลักการ
    มันจะส่งผลต่อการปฏิบัติและการพัฒนาคุณภาพทางจิตเรา
    ได้อย่างคาดไม่ถึงครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...