ผลที่เกิดขึ้นในโลกนี้ ล้วนมาจาก “กรรม” ทั้งสิ้น

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 26 สิงหาคม 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,308
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    LpLee500Mara.jpg
    อาจารย์ยอด : ขี้เมาเผาวัด [กรรม] new

    อาจารย์ยอด
    Published on Jul 12, 2018


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ธันวาคม 2018
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,308
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ธันวาคม 2018
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,308
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    อาจรย์ยอด : เชือดไก่ เชือดคน [กรรม] new

    อาจารย์ยอด

    Published on Dec 28, 2018
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ธันวาคม 2018
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,308
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    ตาจุนโกงวัด, พระงก [กรรม]
    อาจารย์ยอด

    Published on Jan 12, 2017
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,308
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    กฎแห่งกรรม คือ กฎแห่งการกระทำ เป็นกฎแห่งเหตุและผล เป็นกฎของธรรมชาติ คือ ธรรมฝ่ายใดเกิดขึ้นในใจก็ทำกรรมฝ่ายนั้น เกิดกุศลธรรมก็ประกอบกุศลกรรม เกิดอกุศลธรรมก็ประกอบอกุศลกรรม อย่างนี้เรียกว่า ธรรมชาติ กฎแห่งกรรมเป็นเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต คือ ประกอบเหตุอย่างนี้ต้องไปมีผลอย่างนั้น ประสบผลอย่างนี้เพราะประกอบเหตุมาอย่างนั้น กรรม คือ การกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ จะดีหรือชั่ว เจตนาหรือไม่ จะน้อยหรือมาก ทุกเพศทุกวัย ล้วนมีผลทั้งสิ้นที่ไม่มีผลไม่มีเลย ผลบางอย่างปรากฏในปัจจุบันทันตาเห็น บางอย่างเห็นผลตอนตายไปแล้ว กฎแห่งกรรมนี้ไร้ความปรานี ไม่มีข้อยกเว้นให้กับใครๆ ไม่จำกัดเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาใดก็ตามในโลก จะอยู่บนดิน บนน้ำ บนอากาศ ดวงจันทร์ ดวงดาว ก็หนีกฎแห่งกรรมไม่พ้น แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราในสมัยที่ยังเป็นพระบรมโพธิสัตว์นักสร้างบารมีก็ยังต้องเสวยวิบากกรรม เพราะกรรมติดตามตัวเราไปทุกที่ทุกสถานเหมือนเงาติดตามตัว เมื่อเรายังหนีตัวเราไม่พ้น เราก็หนีกฎแห่งกรรมไม่พ้นเหมือนกัน กฎหมายหรือกฎเกณฑ์อะไรบางอย่างในโลกที่มนุษย์สมมติกันขึ้นมา ยังหลีกเลี่ยงเปลี่ยนแปลงได้ ปีนี้ใช้อย่างนี้ปีหน้าเปลี่ยนไปอีกอย่าง แต่กฎแห่งกรรมไม่เคยเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้น “ ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว ทำดีได้ชั่วไม่มี ทำชั่ว ได้ดีก็ไม่มี”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 เมษายน 2020
  6. spspace

    spspace สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +4
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,308
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    หลวงพ่อฤาษีลิงดํา(พระราชพรหมยาน)
    พระธรรมเทศนา เรื่อง กรรมเป็นเครื่องจำแนกสัตว์


    แสดงเมื่อวันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ 2525

    นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

    กัมมัง สัตเต วิภชตีติ

    ณ โอกาสบัดนี้ อาตมภาพจะแสดงพระสัทธรรมเทศนาในธัมมิกคาถาเพื่อเป็นเครื่องโสรจ สรงองคศรัทธาบารมี ที่บรรดาท่านนริศราทานบดีทั้งหลายได้พร้อมใจกันมาบำเพ็ญกุศลประจำปักษ์ คือวันพระ 8 ค่ำ เดือน 3 ตรงกับวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2525 เป็นต้น การที่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชน ได้พากันมาบำเพ็ญกุศลประจำปักษ์นี้ก็เพราะว่า บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย มีความเลื่อมใสในองค์ศมเด็จพระชินศรี พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเหตุ จึงได้พากันมาปฏิบัติความดีตามคำแนะนำขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ คำว่าความดีในที่นี้ที่บรรดาท่านพุทธบริษัททำแล้ว เรียกว่าตรงกับ บุญกิริยาวัตถุ ที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วบรมศาสดาจารย์ ทรงแนะนำไว้ตามที่องค์สมเด็จพระจอมไตร ตรัสไว้เหตุที่ทำให้เกิดบุญนั้น โดยย่อมี 3 ประการคือ

    1. ทานมัย บุญที่สำเร็จด้วยการบริจาคทาน
    2. สีลมัย บุญที่สำเร็จด้วยการรักษาศีล
    3. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
    วันนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยถ้วนหน้า ได้ทำแล้วทั้ง 3 ประการคือ

    ทานมัย บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายได้พากันถวายเครื่องสักการวรามิสแด่องค์สมเด็จพระพุทะปฏิมากรก็ดี ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณร เหล่าพระในพุทธศาสนาก็ดี อย่างนี้จัดว่าเป็น ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน

    สำหรับ สีลมัย นั้น บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ทำแล้วกล่าวคือ สมาทานอุโบสถศีล

    ในด้านการ ภาวนามัย โดยการตั้งใจสดับรับรสพระเทศนา คำว่า ภาวนานี้ก็แปลว่า เจริญ ไม่ได้หมายความว่า นโม พุทโธ ธัมโม สังโฆ เสมอไป การทำจิตใจน้อมไปตามธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนอย่างนี้ จัดเป็นเจริญ ภาวนามัย คือ ใจเจริญขึ้นด้วยอำนาจความดี

    ต่อไปนี้อาตมภาพจะนำเอาพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินศรีที่กล่าวไว้ในตอนต้นว่า กัมมัง สัตเต วิภชติ ซึ่งแปลเป็นใจความว่า กรรมย่อมเป็นเครื่องจำแนกสัตว์

    คำว่า กรรม ในที่นี้ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย องค์สมเด็จพระจอมไตรกล่าวถึงการกระทำ การทำดี เรียกว่า กุศลกรรม ทำชั่วเรียกว่า อกุศลกรรม ทำดีเป็นปัจจัยของความสุข ทำชั่วเป็นปัจจัยของความทุกข์ ในที่นี้มีบุคคลหลายคนมากท่านด้วยกันกล่าวว่า ทำชั่วมีความสุข ทำดีก็มีความทุกข์ก็มีมากอย่างนี้องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเคยจำแนกกฎของกรรมไว้ 12 ประการ แต่จะนำมากล่าวแต่เพียงโดยย่อ

    กรรม 12 ประการคือ

    1. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในชาตินี้
    2. อุปัชชเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในชาติหน้า
    3. อปราปรเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในชาติต่อจากชาติหน้าไป ไม่กำหนดว่าเมื่อไร
    4. อโหสิกรรม กรรมที่ได้มีแล้ว กรรมที่เลิกให้ผล
    กรรมที่ให้ผลตามชนิดหรือตามกิจของตน 4 คือ

    1. ชนกกรรม กรรมนำให้เกิด คือ กรรมดีก็นำให้เกิดในภพชาติที่ดี กรรมชั่วก็นำให้เกิดในภพชาติที่ชั่ว
    2. อุปถัมภกกรรม กรรมที่อุดหนุนกรรมเดิม คือ ถ้าชนกกรรมเป็นกรรมดี นำให้เกิดดี อุปถัภกกรรมก็หนุนให้ดีเรื่อยไป
    3. อุปปีฬกกรรม กรรมที่บีบครั้นกรรมเดิม คือทำกรรมเดิมให้อ่อนลงไปทั้งในส่วนดี ทั้งในส่วนชั่ว
    4. อุปฆาตกกรรม หรือ อุปัจเฉทกรรม กรรมที่เข้าไปฆ่าหรือตัดกรรมเดิม เช่นกรรมเดิมที่ดีนำให้เกิดดี แต่มีอุปฆาตกกรรม หรือ อุปัจเฉทกกรรม เข้าไปตัดเสียไม่ให้ดี
    กรรมที่ให้ผลตามกำลัง 4 คือ

    1. ครุกรรม กรรมหนักหรือกรรมมีกำลังมาก ฝ่ายดีท่านว่า ได้แก่ ฌานสมาบัติ ฝ่ายชั่ว เรียกว่า อนันตริยกรรม
    2. พหุลกรรม หรือ อาจิณกรรม กรรมที่ทำเสมอๆ
    3. กตัตตากรรม กรรมที่สักแต่ว่าทำ
    4. อาสัณกรรม กรรมใกล้ กรรมที่จวนแจ หมายความว่า เวลาที่ใกล้จะตายถ้าทำกรรมอะไรกรรมนั้นก็ให้ผลก่อน
    ที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารกล่าวว่า กรรมบางอย่างให้ผลในปัจจุบัน พึ่งทำเดี๋ยวนี้ รับผลเดี๋ยวนี้ กรรมบางอย่างให้ผลในวันต่อไปคือ ทำเดี๋ยวนี้ไม่มีผลแต่จะให้ผลในวันต่อไป กรรมบางอย่างทำชาตินี้ยังไม่ให้ผล แต่ให้ผลชาติหน้าต่อไป กรรมบางอย่างต้องรอให้ผลหลายชาติ พันชาติ จึงให้ผลก็มี นี้เป็นอันว่าคำว่ากรรมนี้ องค์สมเด็จพระมหามุนีกล่าวว่า อย่างไรๆ ก็ให้ผลแน่ แต่ว่าต้องรอเวลา กรรมบางประกอบทำปัจจุบันก็เห็นผลทันตา เช่น ด่าเขาเดี๋ยวนี้ เขาก็ด่าเดี๋ยวนี้ อย่างนี้ก็มีในปัจจุบัน บางครั้งเราด่าเขาในปัจจุบัน แต่เขายังไม่ด่าเราวันหลังเขาด่าเราตอบก็มี กรรมบางอย่างทำกับเขาในปีนี้ แต่ยังไม่ให้ผลปีนี้ปีต่อไปจึงจะให้ผล หมายความว่า คนที่ถูกกระทำเขาจองล้างจองผลาญไว้เงียบๆ จะทำเมื่อโอกาสอันพึงมีกับเขา

    นี่บรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกฎของกรรมไว้อย่างนี้ เป็นอันว่า กรรมที่องค์สมเด็จพระชินศรีกล่าวอย่างนี้อาตมภาพจะขอนำเรื่องราว ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงไว้ในพระไตรปิฏก มาแสดงแก่พุทธบริษัทบางเรื่อง ความจริงเรื่องมีอยู่มากความมีว่า เมื่อองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปรารภเรื่องราวของ โฆสกเทพบุตร แต่ความจริงเรื่องนี้มีมาในเรื่อง พระนางสามาวดี สำหรับ โฆสกเทพบุตร นี้ บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายแปลว่า กึกก้อง คือมีเสียงดังมาก เสียงที่ดังมากเรียกว่า โฆส อัน โฆสกเทพบุตร นี้ก็เป็นเทวดาท่านหนึ่งแต่ว่าเป็นเทวดาที่มีจริยาต่างจากเทวดาอื่นโดยเฉพาะเรื่องเสียง คือว่าตามธรรมดาท่านคุยแบบธรรมดาๆ นี้เสียงดังไป 10 โยชน์ ถ้าเปล่งเสียเต็มที่ดังก้องทั้ง ดาวดึงส์ ทั้ง ดาวดึงส์ ได้ยินหมดเมื่อองค์พระบรมสุคตกล่าวประวัติความเป็นมาของ โฆสกเทพบุตร ในอดีตกาล กาลก่อนโน้น ท่านก็ไม่ตรัสว่า พระพุทธเจ้าองค์ใด สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดากล่าวว่าสำหรับ โฆสกเทพบุตร นี้ เดิมทีเธอเป็นชาวบ้านธรรมดามีภรรยา 1 คน ลูกน้อยอยู่ 1 คน ในครั้งหนึ่งนั้น เมื่อเกิดโรคระบาดเกิดขึ้นโรคระบาดนี้ตามประสาพวกเราเรียกว่า ห่าลง ห่ากิน ห่ามากินคน เพราะฉะนั้นสมัยนั้นเขาก็มีการถือกันว่า ถ้าจะหนีห่า จะหนีออกทางประตูบ้านไม่ได้ ถ้าหนีออกทางออกของบ้านไมได้ ห่ามันรู้ ห่ามันจะเห็น จะต้องงัดฝาเรือนออกทางหลังบ้านไม่ออกทางเดิมฉะนั้น นายโกตุหลิกะ คือชายคนนี้กับภรรยา เห็นว่าชาวบ้านมีโรคห่ากันมีโรคระบาดตายกันมากจึงเกิดความกลัว ทีนี้ภาษาโบราณว่า ต้องหนีโรคห่าสองคนสามีภรรยาจึงงัดฝาบ้านแล้วมีลูกน้อยอีก 1 คน เอาของที่พึงจะหาบหามได้ใส่หาบแล้วก็เดินทางมา ขณะที่เดินทางมาในป่า รอนแรมมาในป่าหลายวันสำพยาอาหารที่นำติดตัวมาก็หมด ก็ยังไม่ถึงเมืองที่จะไปข้างหน้า สองคนตายายอดอาหารก็มีความหิวกระหาย กำลังก็ตกไปผู้ตามมามีลูกน้อย 1 คนและสองคนสามีภรรยา สามีภรรยาก็ผลักกันอุ้มลูก ให้ภรรยาอุ้มบ้าง ภรรยาเหนื่อยบ้างก็ให้สามีอุ้มบ้างต่อมาวันหนึ่ง นายโกตุหลิกะ จึงปรารภกับภรรยาว่า ขณะนี้ ดูกรน้องหญิง ว่าเด็กคนนี้เราเองเวลานี้ก็ไม่มีกิน หิวก็หิว ร่างกายแรงก็จะหมดไป ยังลูกน้อยคนนี้มันทำความลำบากกายลำบากใจแก่เรามาก ปล่อยให้มันตายในป่าไม่ดีหรือ สำหรับภรรยามีความรักในลูกมาก แกก็ไม่ยอม โกตุหลิกะ ก็บอกเรายังเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่สามารถจะทำลูกขึ้นมาได้อีก ภรรยาก็ไม่ยอม

    มาวันหนึ่งในเวลาตอนเย็น โกตุหลิกะ จึงขอรับลูกมาจากภรรยาบอกว่าเธออุ้มมานานแล้ว ฉันจะอุ้มให้บ้าง ก็พยายามเดินให้ไกลๆ เดินช้าๆ ปล่อยให้ภรรยาเดินไปข้างหน้าไกลแสนไกล เมื่อเวลาใกล้พลบค่ำ ก็ทำทีเหมือนว่าจะปัสสาวะที่พุ่มไม้ แล้วปล่อยให้ภรรยาเดินไปไกลอีก เขาก็เอาเด็กน้อยซึ่งเป็นลูกชายมันวางไว้บนไม้ หมดไว้ แล้วก็เดินไป กว่าไปถึงภรรยาก็นาน เวลาก็เป็นเวลาค่ำ ภรรยาเหลียวมาไม่เห็นลูกน้อย ก็ถามว่า ลูกไปไหน เขาบอกว่าพี่เอาไปวางไว้ที่พุ่มไม้ ปล่อยให้มันตายไป เพราะเราไม่สามารถจะเลี้ยงมันได้ตัวเราเองก็ไม่มีจะกิน เราก็อุ้มไม่ไหว ภรรยามีความเสียใจ เสียดายในลูกมีความรักอยากให้ลูกกลับมา กว่าจะกลับมาถึงในเวลาค่ำคืน ก็กว่าจะหาพบก็นานแสนนาน ปรากฏว่าลูกน้อยก็ตายเสียแล้วก็เป็นอันว่า สองคนผัวเมียก็เดินทางต่อไป เมื่อออกจากป่าก็ถึงยังบ้านคหบดีมหาเศรษฐีท่านหนึ่ง ทั้งสองคนสามีภรรยาต่างคนต่างก็หิวโหยมาก ก็มีความคิดตรงกันว่า เราสองคนนั้น เข้าไปในบ้านท่านมหาเศรษฐี มาขอรับจ้างท่านท่านจะให้ค่าจ้างเท่าไหร่ไม่สำคัญ มีความต้องการอย่างเดียวคือ มีข้าวกินอิ่มๆ เพียง 1 วันก็พอแล้ว เวลานี้เราอดข้าวมาหลายวัน รับจ้างท่านแค่พอข้างกินก็พอเมื่อตัดสินใจดังนี้แล้ว สองตายายก็เข้าไปหาท่านมหาเศรษฐี บางแห่งตามบาลีท่านเรียก คหบดี แปลว่า คนรวย เมื่อเข้าไปแล้ว ท่านมหาเศรษฐีกำลังบริโภคอาหารอยู่พอดี สำหรับอาหารที่มหาเศรษฐีบริโภคคือ ข้าวมธุปายาส เป็นข้าวที่มีรสเลิศ เป็นของที่มีราคาแพงมาก เวลาท่านกินอาหารก็กินบ้าง แบ่งสุนัขกินบ้างก็ว่ากันไปสองตายายคือ โกตุหลิกะ สองคนเข้าไปหาท่านมหาเศรษฐี ขอฝากตัวฝากเนื้อฝากตัวเป็นทาสรับใช้ท่าน ท่านก็ไม่ว่ากระไร เพราะว่าเขามิได้เรียกร้องค่าจ้างแรงงานเป็นราคา แต่ว่าในเวลาตอนต้น ท่านพิจารณาเห็นว่าสองคนนี้หิวโหยมา จึงได้ถามว่า ต้องการจะบริโภคอาหารก่อนไหม ดูท่าทางเธอหิวโหยอิดโรยมาก เขาก็บอกต้องการอาหาร ท่านมหาเศรษฐีบอกให้คนรับใช้นำอาหารมาสองส่วนคือ ส่วนหนึ่งเป็นของสามี อีกส่วนหนึ่งเป็นของภรรยา เป็นอาหารสำรับ เป็นธรรมดาๆ ที่คนในบ้านกินกัน แต่ก็เป็นอาหารชั้นดีเหมือนกันสำหรับภรรยามีความรักในสามีมาก เวลาเขาเอาอาหารมาให้สามีกินก่อน กินส่วนของตนหมดไปเพราะความหิว สำหรับภรรยายังไม่ได้กิน ภรรยาจึงถามว่าคุณต้องการกินอีกไหม อิ่มพอหรือยังเขาบอกยังไม่พอ ภรรยาจึงเอาส่วนของตัวไปให้สามีกินต่อไป สามีก็กินไป ไฟธาตุไม่ย่อย ตามพระบาลีท่านว่าไว้อย่างนั้นในที่สุด นายโกตุหลิกะ ก็ขาดใจตาย ในก่อนที่จะขาดใจตายเพราะลมแตกขึ้น เมื่อ นายโกตุหลิกะ ขาดใจตาย ในก่อนที่จะขาดใจตาย ขณะที่เขากินอาหาร มันไม่ดีเท่าอาหารสุนัข คือสุนัขตัวเมียตัวนั้น มันกินอาหารเท่ากับท่านมหาเศรษฐีกิน คือ ข้าวมธุปายาส เพราะท่านแบ่ง ข้าวมธุปายาส ที่ท่านกินให้กับมัน นายโกตุหลิกะ เวลาที่กินอาหารเข้าไปนั้น ก็นั่งนึกนอนนึกสนใจในสุนัขว่าเจ้าสุนัขตัวนี้มันเป็นสัตว์เดรัจฉาน แต่ว่ามีความดีกว่าเรา กินอาหารบริบูรณ์สมบูรณ์ กินอาหารเลิศกว่าเรา ความจริงเราเกิดเป็นสุนัขเศรษฐีดีกว่าที่เราเป็นคนก็อาศัยที่ตนมีความสนใจในสุนัขจีงเป็นเหตุ

    องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์จึงตรัสว่า เมื่อจิตออกจากร่างก็เลยเข้าไปอยู่ในท้องสุนัข คือในบรรดาท่านพุทธบริษัทที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ ขึ้นชื่อว่ากรรมขึ้นอยู่กับการตั้งใจเป็นสำคัญเพราะฉะนั้นการที่บรรดาพุทธบริษัททุกท่านเจริญพระกรรมฐาน ทุกคนตั้งใจว่าเฉพาะพระนิพพานเป็นอารมณ์ ดูตัวอย่าง ท่านโกตุหลิกะ ที่เขาตั้งใจยึดเอาสุนัขเป็นอารมณ์ ออกจากจิตจากความเป็นคนเข้าท้องสุนัข ถ้าทุกคนลองตั้งใจเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ จิตออกจากร่างเมื่อใด ก็ไปนิพพานเมือนั้น

    รวมความว่า นายโกตุหลิกะ ตายจากความเป็นคนก็เป็นลูกของสุนัขสำหรับภรรยาก็อยู่รับใช้เศรษฐีต่อมา ปรากฏว่าในบ้านของมหาเศรษฐีนั้น ท่านมีความเคารพในพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ในกาลต่อมา ภรรยาของนายโกตุหลิกะ ก็มีโอกาสปฏิบัติความดีในพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงจัดอาสนะบ้าง จัดบ้านบ้าง น้ำใช้ น้ำฉันบ้าง อาหารบ้าง อังคาสเจตนาถวายพระปัจเจกพุทธเจ้าบ้างตามกาลที่ท่านมหาเศรษฐีถวาย ในวันใดเงินทองที่เธอได้จากมหาเศรษฐีให้พระปัจเจกพุทธเจ้ามา เธอก็ทำอาหารผสมถวายพระปัจเจกพุทธเจ้าจัดว่าเป็นบุญมาก กล่าวถึง นายโกตุหลิกะ ความจริงเขาฆ่าลูกชายตนเอง เมื่อตายแล้วจากการฆ่าคนน่าจะเกิดเป็นสัตว์นรก ต้องตกนรกเป็นแน่ แต่ทว่ากรรมในข้อนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย กรรมเฉพาะหน้ามีอยู่ สมเด็จพระบรมครูกล่าวว่าเมื่อจิตใจที่ออกจากร่าง เมื่อตายแล้วกล่าวคือ เมื่อจิตเศร้าหมอง นำไปสู่อบายภูมิถ้าจิตผ่องใสไปสู่สุคติ ฉะนั้นเวลานี้ นายโกตุหลิกะ ฆ่าลูกชายมาไม่กี่วัน แต่ด้วยกำลังใจของเขานั้น เวลาก่อนจะตายจิตไปอยู่ที่สุนัข พอใจในสุนัข จิตไปเกาะอยู่ที่รูปสุนัขอยู่ก่อน เมื่อสุนัขคลอดบุตรออกมา ลูกของสุนัข อดีตจากความเป็นตน ก็มีความรู้ภาษาคนมาก เกือบจะรู้ทุกอย่าง

    เวลาใดที่พระปัจเจกพุทธเจ้าเข้ามาจากป่า จาก ภูเขาคันธมาทน์ ที่มหาเศรษฐีได้อาราธนาไว้ เวลาที่ท่านมหาเศรษฐีไปนิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้ามาฉันในเวลาเช้า ก็นำนายสุนัขแสนรู้ไปด้วย สถานใดที่เป็นพุ่มไม้ ถ้าสัตว์ร้ายอาศัยได้ท่านมหาเศรษฐี และก็ทำเสียงดังๆ ด้วยการไล่สัตว์ เพื่อป้องกันอันตรายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งในกาลบางวันที่ท่านมหาเศรษฐีไปไม่ได้ ท่านก็จะส่งสุนัขแสนรู้ไปนิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้า เจ้าจงไปนมนต์พระปัจเจกพุทะเจ้ามาบ้านเราเพื่อฉันภัตตาหาร เจ้าสุนัขก็ไป พอไปถึงพุ่มไม้ที่ท่านมหาเศรษฐีเคยเอาไม้ตีก็ส่งเสียดัง มันก็เห่ากรรโชกบ้าง หอนบ้าง ไล่บ้าง เมื่อมาถึงหน้าสํานักพระปัจเจกพุทะเจ้า มันก็เห่าบ้างหอนบ้าง แสดงถึงความเคารพว่าวันนี้มันมาตามเมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้ารู้กิริยาสุนัข ก็ออกมาจากสำนัก แล้วก็เดินตามเจ้าสุนัขก็นำหน้า บางครั้งพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ลองใจ มาถึงทางเลี้ยวบ้าน ท่านไม่เลี้ยวแกล้งเดินผ่านไป เจ้าสุนัขตัวแสนรู้ก็รีบไปกั้นหน้าบ้าง หลังบ้าง เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าไม่เลี้ยวกลับมา มันก็ดึงผ้าสบง จีวรด้วยปาก พระปัจเจกพุทธเจ้าก็เข้ามาในบ้านตามความต้องการของมันเป็นอันว่า เจ้าสุนัขตัวนี้มีความกตัญญูกตเวทีต่อเจ้าของ เพราะมันเป็นสุนัขแสนรู้ และมีความรักในพระปัจเจกพุทธเจ้ามาก จัดเป็น ปัจเจกพุทธานุสสติกรรมฐาน อย่าลืมนะ จิตที่ระลึกถึงพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี พระพุทธเจ้าก็ดีเป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน จิตนึกถึงพระธรรมเป็น ธัมมานุสสิกรรมฐาน จิตนึกถึงพระสงฆ์เป็น สังฆานุสสติกรรมฐาน แต่เจ้าสุนัขตัวนี้มันไม่รู้ว่าพุทธานุสสติกรรมฐาน ดีหรือไม่ดี เพียงใดก็ไม่ทราบ มันทราบแต่เพียงว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นที่รักของนายมัน มันก็เลยรักมั่ง และท่านก็ดีกับมันมันจึงเกิดความรักพระปัจเจกพุทธเจ้าอันความรักความพอใจที่เกิดขึ้น แม้จะเป็นพระหรือไม่ก็ตามเป็นกุศลเหมือนกับคนเรากินน้ำ แต่ไม่รู้จักน้ำว่าเป็นน้ำ ตัวเรากินน้ำแล้วคิดว่าเป็นน้ำ มันก็เป็นน้ำ ตัวเรากินเกลือเราไม่รู้จักรสเค็ม มันก็ต้องเค็ม ข้อนี้ฉันใดก็เหมือนกันไม่รู้ว่าจิตนั้นเป็นบุญ มันก็เป็นกุศล บรรดาท่านพุทธบริษัท เมื่อ นายโกตุหลิกะ หรือหมาตัวนั้นมันสนใจตามรักพระปัจเจกพุทธเจ้า นึกถึงอยู่เสมอ ความนึกถึงเรียกว่า อนุสสติก คือว่ามี พุทธานุสสติกรรมฐาน ต่อมาเมื่อถึงฤดูฝน พระปัจเจกพุทธเจ้าถึงเวลาจำพรรษา ก็ลาท่านมหาเศรษฐีไป ภูเขาคันธมาทน์ เวลาไปท่านก็เหาะไป เจ้าสุนัขตัวนี้มีความเสียดายอาลัยในพระปัจเจกพุทธเจ้ามาก ก็เกิดอาการทั้งเห่า ทั้งหอน เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าลับตาไป มันก็ตายทันที เพราะเสียใจที่พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่อยู่ อาศัยที่มันมีความเคารพในพระปัจเจกพุทธเจ้าอย่างนี้ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ
    เมื่อตายจากความเป็นสุนัขธรรมดาก็กลายเป็นเทวดา มีนามว่า โฆสกเทพบุตร อยู่บนสวรรค์ชั้น ดาวดึงสเทวโลก ในบรรดาท่านพุทธบริษัทเห็นว่ากรรมย่อมเป็นเครื่องจำแนกสัตว์ มันไม่แน่นักว่าการทำบาปฆ่าสัตว์นี้ ผลบาปจะให้ผลทันทีทันใด เห็นได้ว่าในเวลานี้ กรรมได้แยกไปเสียแล้วคือ

    1. การฆ่าลูกตายแทนที่จะไปเกิดเป็นสัตว์นรก หรือใช้กฎของกรรมซึ่งกันและกัน ก็ยังก่อนได้ไปเกิดเป็นสุนัข กรรมที่ฆ่าลูกยังให้ผลไม่ทันเพราะบุญกุศลนั้นเข้ามาก่อนในกาลนั้นยังเกิดมาเป็นเทวดาบรรดาท่านพุทธบริษัท นี่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่าอกุศลกรรมซึ่งทำมาแล้วในกาลก่อน ความชั่วที่ทำมา แล้วมันมากน้อยเท่าไหร่ก็ตาม ปล่อยมันไป อย่าตามนึกถึง ให้นึกถึงแต่ความดีตามที่องค์สมเด็จพระชินศรีกล่าวว่า จิตเต ปริสุทเธ สุคติ ปาฏิกังขา ถ้าเรานึกถึงแต่ความดีเข้าไว้ จะไปสู่สุคติ อย่างน้อยก็ไปสวรรค์ อย่าง โฆสกเทพบุตร อย่างกลางก็ไปเป็นพรหมอย่างดีที่สุดก็ไปนิพพาน
    ฉะนั้นองค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดา จึงได้ทรงแนะนำให้บรรดาพุทธบริษัทใช้ อนุสสติ ได้ตามปกติว่า อนุสสติ จริงๆ มี 10 อย่าง มีพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ เป็นต้น ว่ากันด้วย อนุสสติ ต่อไป เพราะเวลาเทศน์ก็หมด ยังไม่เล่าดีกว่า

    ขอเล่าต่อไปว่า โฆสกเทพบุตร เกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้น ดาวดึงสเทวโลก แล้วพอหมดบุญวาสนาบารมี หมดจากความเป็นเทวดา ตอนนี้กรรมของลูกก็ตามมาทัน ก็บังเกิดเป็นลูกของหญิงแพศยาอยู่ก็หลายชาตินั่นแหละ จากคนมาเป็นสุนัข จากสุนัขมาเป็นเทวดาสองชาติชาติที่ 3 กรรมฆ่าลูกได้ตามมาทัน ที่ทิ้งลูกไม่ได้ฆ่าลูก เพราะไม่ได้บีบคอให้ตาย เป็นลูกโสเภณี ตามธรรมดาผู้หญิงโสเภณี เขารักแต่ลูกผู้หญิงเพราะสืบสกุลได้ ถ้าลูกผู้ชายเขาไม่รัก เมื่อคลอดออกมาเป็นลูกชาย เขาทิ้งไว้ที่กองขยะ ปรากฏว่า เวลานั้นสุนัขบ้าง ก็ไปล้อมอยากจะกิน อยากจะกัด แต่ว่ากรรมของเด็กคนนี้ไม่ให้ถูกทำลายจากสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็เป็นการบังเอิญอย่างยิ่ง เวลาเช้าท่านมหาเศรษฐีจะต้องไปเฝ้าพระราชาตามระเบียบ ตามประเพณีและขุนนางผู้ใหญ่ เวลาก่อนที่จะเข้าเฝ้าพระราชาก็ถึงสำนักของปุโรหิตเสียก่อนมหาเศรษฐีจึงได้ถามปุโรหิตว่า อาจารย์ เมื่อคืนมีฤกษ์งามยามดี มีดาวอะไรดีๆ เกิดขึ้นบ้าง ท่านปุโรหิตก็บอกว่า เออ ท่านมหาเศรษฐี เมื่อวานนี้ฤกษ์ดีมาก ถ้าเด็กคนใดเกิดเมื่อคืนนี้จะได้เป็นมหาเศรษฐีใหญ่ในเมืองนี้พอดีท่านมหาเศรษฐีมีภรรยากำลังตั้งครรภ์พอดี ความจริงเขาก็ไม่น่าสงสัยเพราะอยู่ด้วยกัน แต่มีความสงสัยขึ้นมาว่า ภรรยาของเราคลอดบุตรแล้วหรือยังเราก็มาจากบ้าน ก็เลยใช้คนใช้ว่า เอ้า ไปดูซิเมียของเราคลอดลูกหรือยัง เจ้าคนใช้ก็วิ่งไป แล้วก็กลับมาบอกว่า ยังครับ เมื่อเฝ้าพระราชาเสร็จกลับไปถึงให้นางทาสีออกสืบ (ทาสีไม่ได้แปลว่าชั่วนะ ทาสีนี่ผู้หญิงที่มีผิวดำ) เมื่อไปสืบดูว่า เมื่อคนนี้มีลูกใครมันเกิดขึ้นมาบ้าง เพราะถ้าลูกใครมันเกิดขึ้นมาแล้ว เราจะซื้อเอามาเป็นลูกของเรา นางทาสีก็ไปสืบใกล้ๆ กับตลาด กับชาวบ้านบ้าง ก็ไม่เห็นมีลูกใครเกิดทราบอยู่จุดเดียวว่า มีลูกของหญิงแพศยาของโสเภณีเขาเกิด แต่เขานำไปทิ้งไว้แล้วก็มีคนเก็บเอาไปเลี้ยง มีคนสงสารเขาก็เก็บเอาไปเลี้ยง

    ท่านมหาเศรษฐีรู้เข้าสั่งให้นางทาสีเอาเงิน 1,000 ตำลึง ไปซื้อไอ้เด็กกาลีมันเกิดในวันนี้ มันจะเป็นมหาเศรษฐีใหญ่มันก็จะตัดหน้าลูกชายเรา เรื่องนี้คิดว่าไม่จบแน่ ญาติโยมพุทธบริษัท เอาเป็นว่า เก็บมาเลี้ยงไว้โดยไม่ตั้งใจจะเลี้ยงตั้งใจจะฆ่า ว่าสั่งฆ่าโดยเจตนาโดยตรง ก็กลัวว่าจะเสียศักดิ์ศรีความเป็นผู้ใหญ่ความเป็นมหาเศรษฐีในกาลเช้ามืด จึงให้นางทาสีนำไปวางที่ปากคอวัว ซึ่งวัวของแกมีนับร้อยซึ่งว่าวัวทั้งหมดออกมาจะต้องเหยียบเด็กคนนี้ตาย แต่ว่าอาศัยความดีของเด็กคนนี้ อาศัยที่ว่าเป็นสุนัข มีความจงรักภักดีแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า กรรมดียังให้ผลโดยในคืนตอนเช้ามือตามธรรมดาว่า วัวหัวหน้าฝูงต้องออกมาทีหลัง วันนั้นวัวหัวหน้าออกมาก่อนมายืนคล่อมเด็กเอาไว้ วัวทั้งหลายออกมาจะต้องเบียดเสียดวัวตัวนั้น ไม่มีตัวใดเหยียบเด็กตายต่อมาท่านมหาเศรษฐีถามนางทาสีว่า เด็กตายหรือยัง นางแอบดูอยู่ก็บอกว่า เด็กยังไม่ตาย ไอ้เจ้าวัวตัวใหญ่ตัวหัวหน้าฝูงมายืนคล่อมไว้ แกบอกว่าถ้าอย่างนั้นเอาเด็กมา กลับมาคิดฆ่ามันใหม่บรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย อันขึ้นชื่อว่า กรรมย่อมเป็นเครื่องจำแนกสัตว์มันย่อมให้ผลช้าไปหน่อย สำหรับ โกตุหลิกะ แทนที่จะถูกฆ่าในชาติต่อมา กลับถูกติดตามฆ่าในชาติที่ 3 เรื่องนี้ยังไม่จบแน่เวลาก็จะไม่พอ ยังไม่ถูกฆ่าตาย โดยถูกคิดฆ่าประมาณ 7 ครั้ง ครั้งสุดท้าย แทนที่จะถูกฆ่าตาย กลับเป็นมหาเศรษฐีถูกฆ่าตาย แต่พูดต่อวันนี้ไม่ได้เพราะหมดเวลาก็ขอยุติพระธรรมเทศนาเอาไว้ตรงเพียงเท่านี้
    ในที่สุดพระธรรมเทศนานี้อาตมภาพขอตั้งสัตยาธิษฐานอ้าง คุณพระศรีรัตนตรัย มีพระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และ สังฆรัตนะ ทั้ง 3 ประการ ขอจงดลบันดาลบรรดาพุทธบริษัททุกๆ ท่าน มีแต่ความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล และจงเจริญไปด้วยจตุรพิธพรชัยทั้ง 4 ประการคือ อายุ วรรณะ สะขะ พละ และ ปฏิภาณ หากทุกท่านมีความปรารถนาสิ่งใด ก็ขอให้ได้สิ่งนั้นสมความปรารถนาทุกประการอาตมภาพรับประทานวิสัชนาในกรรมคาถาก็ขอยุติพระธรรมเทศนา ลงคงไว้แต่เพียงเท่านี้ เอวัง ก็มีด้วยประการนี้
    .......................... EndLineMoving.gif
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 เมษายน 2022
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,308
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    นางจันปลาสด ตาชูหมูสด [กรรม] new

    อาจารย์ยอด:-

    Published on Sep 6, 2017
     
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,308
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    อาจารย์ยอด : ลักขโมยเงินวัด [กรรม]

    อาจารย์ยอด
    Published on Nov 19, 2016
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,308
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,308
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    อาจารย์ยอด : ขบวนกรรมค้าสัตว์ป่า [กรรม] new

    photo.jpg
    อาจารย์ยอด

    Published on Sep 21, 2017
     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,308
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    อาจารย์ยอด : รุกที่ธรณีสงฆ์ [กรรม] new

    อาจารย์ยอด
    Published on Oct 2, 2017
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,308
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    ........... boon like a drop of water.jpg
     
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,308
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,308
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ธันวาคม 2018
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,308
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    อาจารย์ยอด : คุณยายแม้นผู้ใจบุญ [กรรม]

    อาจารย์ยอด
    Published on Dec 21, 2013
     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,308
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    มงคล ที่ ๒๕ มีความกตัญญู

    (มงคลชีวิต 38 ประการ ฉบับทางก้าวหน้า)

    คนตาบอด ย่อมมองไม่เห็นโลก
    แม้ดวงอาทิตย์จะส่องสว่างอยู่ฉันใด
    คนใจบอด ย่อมมองไม่เห็นพระคุณ
    แม้จะได้รับความเมตตากรุณาจากผู้มีอุปการคุณฉันนั้น
    ความกตัญญู คือ อะไร ?



    ความกตัญญู คือความรู้คุณ หมายถึงความเป็นผู้มีใจกระจ่าง มีสติปัญญาบริบูรณ์ รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นกระทำแล้วแก่ตน ผู้ใดก็ตามที่ทำคุณแก่ตนแล้ว ไม่ว่าจะมากก็ตามน้อยก็ตาม เช่น เลี้ยงดู สั่งสอน ให้ที่พัก ให้งานทำ ฯลฯ ย่อมระลึกถึงด้วยความซาบซึ้งอยู่เสมอ ไม่ลืมอุปการคุณนั้นเลย


    อีกนัยหนึ่ง ความกตัญญู หมายถึงความรู้บุญหรือรู้อุปการะของบุญที่ตนทำไว้แล้ว รู้ว่าที่ตนเองพ้นจากภัยอันตรายทั้งหลาย ได้ดีมีสุขอยู่ในปัจจุบัน ก็เพราะบุญทั้งหลายที่เคยทำไว้ในอดีตส่งผลให้ จึงไม่ลืมอุปการะของบุญนั้นเลย และสร้างสมบุญใหม่ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

    รวมความแล้ว กตัญญูจึงหมายถึงการรู้จักบุญคุณ อะไรก็ตามที่เป็นบุญหรือมีคุณต่อตนแล้ว ก็ตามระลึกนึกถึงด้วยความซาบซึ้งไม่ลืมเลย คนมีกตัญญูถึงแม้จะนัยน์ตาบอดมืดทั้งสองข้าง แต่ใจของเขาใสกระจ่างยิ่งกว่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์รวมกันเสียอีก
    สิ่งที่ควรกตัญญู

    สิ่งที่ควรแก่ความกตัญญู คือทุกสิ่งที่มีบุญแก่เรา ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น ๕ ประการ ได้แก่

    ๑. กตัญญูต่อบุคคล คือใครก็ตามที่เคยมีพระคุณต่อเรา ไม่ว่าจะมากน้อยเพียงไร จะต้องกตัญญูรู้คุณท่าน ติดตามระลึกถึงเสมอด้วยความซาบซึ้ง พยายามหาโอกาสตอบแทนคุณท่านให้ได้ โดยเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์ บิดามารดา ครู อุปัชฌาย์อาจารย์ พระมหากษัตริย์หรือผู้ปกครอง ที่ทรงทศพิธราชธรรม จะต้องตามระลึกนึกถึงพระคุณของท่านให้จงหนัก

    ให้ปฏิบัติตัวให้เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติและเป็นพุทธมามกะสมชื่อ

    ๒. กตัญญูต่อสัตว์ คือสัตว์ที่มีคุณต่อเรา เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ที่ใช้งาน จะต้องใช้ด้วยความกรุณาปรานี ไม่เฆี่ยนตีมันจนเหลือเกิน อย่าใช้งานหนักจนเป็นการทรมาน ขณะเดียวกันต้องเลี้ยงดูให้อาหารอย่าให้อดอยาก ให้ได้กินได้นอนได้พักผ่อนตามเวลา ตัวอย่างในเรื่องกตัญญูต่อสัตว์นี้มีอยู่ว่า

    ในสมัยก่อนพุทธกาล วันหนึ่งพระเจ้ากรุงราชคฤห์เสด็จประพาสอุทยาน และได้บรรทมหลับในอุทยานนั้น ขณะนั้นมีงูเห่าตัวหนึ่งเลื้อยเข้ามาและกำลังจะฉกกัดพระองค์ เผอิญมีกระแตตัวหนึ่งเห็นเข้าแล้วร้องขึ้น พระองค์จึงสะดุ้งตื่นและไล่งูให้พ้นไป ทรงระลึกถึงคุณของกระแตว่าเป็นผู้ช่วยชีวิตพระองค์ไว้ จึงรับสั่งให้พระราชทานเหยื่อแก่กระแตในอุทยานนั้นทุกวัน และห้ามไม่ให้ใครทำอันตรายแก่กระแตในอุทยานนั้น คนทั้งหลายจึงเรียกอุทยานนั้นว่า เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน แปลว่า ป่าไผ่อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต ซึ่งต่อมาก็คือ เวฬุวันมหาวิหาร วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนานั้นเอง

    ๓. กตัญญูต่อสิ่งของ คือของสิ่งใดก็ตามที่มีคุณต่อเรา เช่นหนังสือ ธรรมะ หนังสือเรียน สถานศึกษา วัด ต้นไม้ ป่าไม้ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการหาเลี้ยงชีพ ฯลฯ จะต้องปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้ให้ดี ไม่ลบหลู่ดูแคลน ไม่ทำลาย

    ตัวอย่างเช่น ไม้คานที่ใช้หาบของขาย เมื่อเจ้าของตั้งตัวได้ ร่ำรวย ขึ้นก็ไม่ทิ้ง ยังคิดถึงคุณของไม้คานอยู่ ถือเป็นของคู่ชีวิตช่วยเหลือตนสร้าง

    ฐานะมา จึงเลี่ยมทองเก็บไว้เป็นที่ระลึก ไว้เป็นเครื่องเตือนใจ อย่างนี้ก็มี

    มีกล่าวไว้ในเตมียชาดกว่า

    “อย่าว่าถึงคนที่เราได้พึ่งพาอาศัยกันเลย แม้แต่ต้นไม้ที่ได้อาศัยร่มเงาก็หาควรจะหักกิ่งริดก้านรานใบของมันไม่ ผู้ใดพำนักอาศัยนั่งนอนใต้ร่มเงาของต้นไม้ใดแล้ว ยังขืนหักกิ่งริดก้านรานใบ เด็ดยอด ขุดรากถากเปลือก ผู้นั้นชื่อว่าทำร้ายมิตร เป็นคนชั่วช้าเลวทราม จะมีแต่อัปมงคล เป็นเบื้องหน้า”

    ๔. กตัญญูต่อบุญ คือรู้ว่าคนเราเกิดมามีอายุยืนยาว ร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณดี สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความสุขความเจริญ มีความก้าวหน้า มีทรัพย์สมบัติมาก ก็เนื่องมาจากผลของบุญ จะไปสวรรค์กระทั่งไปนิพพานได้ ก็ด้วยบุญ กล่าวได้ว่า ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยบุญ ทั้งบุญเก่าที่ได้สั่งสมมาดีแล้ว และบุญใหม่ที่เพียรสร้างขึ้นประกอบกัน จึงมีความรู้คุณของบุญ มีความอ่อนน้อมในตัว ไม่ดูถูกบุญ ตามระลึกถึงบุญเก่าให้จิตใจชุ่มชื่น และไม่ประมาทในการสร้างบุญใหม่ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

    ๕. กตัญญูต่อตนเอง คือรู้ว่าร่างกายของเรานี้เป็นอุปกรณ์สำคัญที่เราจะใช้อาศัยในการทำความดี ใช้ในการสร้างบุญกุศลนานาประการ เพื่อความสุขความเจริญก้าวหน้าแก่ตนเอง จึงทะนุถนอมดูแลร่างกาย รักษาสุขภาพให้ดี ไม่ทำลายด้วยการกินเหล้า เสพสิ่งเสพย์ติด เที่ยวเตร่ดึกๆ ดื่นๆ และไม่นำร่างกายนี้ไปประกอบความชั่ว เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เจ้าชู้ อันเป็นการทำลายตนเอง
    ความกตัญญูจำเป็นอย่างไร
    Grateful.jpg
    ในการสร้างความดี ?

    การที่คนเราจะมีความคิดใฝ่ดี ตั้งใจทำความดีสร้างสมคุณธรรมให้เกิดขึ้นในตัว เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่ที่ยากยิ่งกว่านั้นก็คือ ทำอย่างไรจึงจะ รักษาความตั้งใจที่ดีนั้นไว้ โดยไม่ท้อถอยไม่เลิกกลางคัน เพราะในการทำความดีย่อมมีอุปสรรค มีปัญหาขัดขวางมากมาย ไหนจะปัญหาภายนอกจากคนรอบข้าง จากสิ่งแวดล้อม ไหนจะปัญหาภายในจากกิเลสรุมล้อมประดังกันเข้ามา เราจะเอาตัวรอด ยืนหยัดสู้ปัญหาทั้งหลายที่เข้ามาผจญได้โดยไม่ท้อถอย ก็ต้องมีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวใจไว้ นั่นคือความกตัญญู

    ไปโรงเรียน เรียนหนังสือ แม้จะยากแสนยาก ท้อถอยจะเลิกเสียก็หลายครั้ง เพื่อนฝูงบางคนชวนไปเที่ยวเตร่เฮฮา ดูน่าสนุกกว่ามาก แต่เมื่อนึกถึงคุณพ่อคุณแม่ คิดว่าท่านอุตส่าห์ทะนุถนอมเลี้ยงดูเรามาจนเติบใหญ่ ลำบากลำบนในการทำมาหากิน เพื่อส่งเสียให้เราได้เล่าเรียน ท่านฝากความหวังไว้กับตัวเรา อยากเห็นตัวเราได้ดีมีความเจริญก้าวหน้าในชีวิต พอคิดได้เท่านี้ ความกตัญญูก็จะเกิดขึ้นมีแรงสู้มีกำลังใจ แม้จะยากแสนยาก แม้จะเหนื่อยแสนเหนื่อย ก็กัดฟันสู้มุมานะ ตั้งใจเรียนให้ดีให้ได้ ไม่ยอมประพฤติตัวไปในทางเสื่อมเสียแก่วงศ์ตระกูล ให้คุณพ่อคุณแม่ครูบาอาจารย์ได้อายโดยเด็ดขาด

    แม้ในหมู่ผู้ปฏิบัติธรรม ผู้ตั้งใจจะทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา แน่นอนว่าในการทำงานนั้น จะต้องมีการกระทบกระทั่งกัน คนเราหลายคนก็หลายความเห็น ต่างคนก็ต่างตั้งใจดีกันทั้งนั้น แต่ความคิดความอ่านความสามารถอาจไม่เท่ากัน และบางครั้งก็เกิดทิฏฐิมานะ คิดไปว่า “ถึงแกจะหนึ่งแต่ฉันก็แน่เหมือนกัน” ทำให้ไม่ยอมกัน ที่เป็นเช่นนี้ เพราะต่างก็กำลังฝึกฝนตนเองอยู่ กิเลสในตัวก็ยังมี ยังไม่ได้หมดไป ดังนั้นถ้าไม่รู้จักควบคุมให้ดี จึงมีโอกาสขัดใจกันได้ หรือบางทีออกไปทำงานเผยแผ่ธรรมะ ก็พบกับคนที่ยังไม่เข้าใจ ไม่เห็นด้วย พูดนินทาว่าร้าย เยาะเย้ยถากถางเอาบ้าง เพราะเหตุนี้จึงมีนักปฏิบัติธรรม นักเผยแผ่ธรรมะ รวมทั้งผู้ที่ตั้งใจทำงานเพื่อสังคมส่วนรวมหลายๆ คน เบื่อหน่ายท้อถอย และเลิกราไปกลางคันอย่างน่าเสียดาย

    แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีความกตัญญูเป็นพื้นใจแล้ว เมื่อความท้อถอย ความเบื่อหน่ายเอือมระอาเกิดขึ้น เพียงแต่นึกว่า ที่ตัวเราได้มีโอกาสเรียนรู้ธรรมะ รู้การสร้างบุญกุศล รู้วิธีการดำเนินชีวิตอันประเสริฐ รู้บุญรู้บาปอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงเสียสละอุทิศชีวิตทุ่มเทค้นคว้าจนตรัสรู้หลักอริยสัจจ์ คือความจริงอันประเสริฐทั้งหลายมาสอนเรา เมื่อคิดถึงชีวิต เลือดเนื้อ ความเพียรพยายามที่พระองค์ได้ทรงทุ่มเทลงไป ตลอดระยะเวลาที่ทรงบำเพ็ญบารมีอยู่นานถึง 20 อสงไขยกับแสนกัปป์ ว่ามากมายมหาศาลเพียงใด (เวลากัปป์หนึ่งอุปมาได้กับมีภูเขาหินรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ กว้าง ๑๖ กิโลเมตร ยาว ๑๖ กิโลเมตร สูง ๑๖ กิโลเมตร ทุก ๑๐๐ ปี มีเทวดาเอาผ้าทิพย์บางเบา มาลูบครั้งหนึ่ง เมื่อใดภูเขาลูกนี้สึกหมด เรียบเสมอพื้นดิน ระยะเวลานั้นเท่ากับกัปป์หนึ่ง ; ๑ อสงไขย = ๑๐๑๔๐ คือจำนวนที่มีเลข ๑ และมีเลข ๐ ต่อท้าย ๑๔๐ ตัว) ตลอดจนคิดถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่ท่านอุตส่าห์ถ่ายทอดคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อๆ กันมา และอบรมสั่งสอนให้เราได้ทราบได้รู้ถึงคำสอนของพระองค์ โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก คิดเพียงเท่านี้ ความท้อถอยก็หาย ความเหนื่อยหน่ายก็คลาย แม้ความตายก็ไม่หวั่น เกิดกำลังใจที่จะทำความดีต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด

    ความกตัญญูจึงเป็นคุณธรรมที่สำคัญยิ่ง ที่จะประคองใจของเราให้ดำรงมั่นอยู่ในคุณธรรมอันยิ่งๆ ขึ้นไป
    อานิสงส์การมีความกตัญญู

    ๑. ทำให้รักษาคุณความดีเดิมไว้ได้

    ๒. ทำให้สร้างคุณความดีใหม่เพิ่มได้อีก

    ๓. ทำให้เกิดสติ ไม่ประมาท

    ๔. ทำให้เกิดหิริโอตตัปปะ

    ๕. ทำให้เกิดขันติ

    ๖. ทำให้จิตใจผ่องใส มองโลกในแง่ดี

    ๗. ทำให้เป็นที่สรรเสริญของคนดี

    ๘. ทำให้มีคนอยากคบหาสมาคม

    ๙. ทำให้ทั้งมนุษย์และเทวดาอยากช่วยเหลือ

    ๑๐. ทำให้ไม่มีเวรไม่มีภัย

    ๑๑. ทำให้ลาภผลทั้งหลายเกิดขึ้นโดยง่าย

    ๑๒. ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย
    “บุคคลผู้อกตัญญู ย่อมถึงอนิฏฐผล

    มีนินทาเป็นต้น

    ส่วนบุคคลผู้กตัญญู แม้พระศาสดา ก็ทรงสรรเสริญ”

    มังคลัตถทีปนี ภาค ๒ ข้อ ๓๗๘ หน้า ๓๙๓

    หนังสือมงคลชีวิต 38 ประการ ฉบับทางก้าวหน้า

    โดย พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2017
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,308
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    ................. Ahosikarma.jpg
     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,308
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    awayFromDhamma.jpg
     
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,308
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    มงคลที่ 1.ไม่คบคนพาล
    อย่าคบมิตร ที่พาล สันดานชั่ว
    จะพาตัว เน่าดิบ จนฉิบหาย
    แม้ความคิด ชั่วช้า อย่ากล้ำกราย
    เป็นมิตรร้าย ภายใน ทุกข์ใจครัน
    มงคลที่ ๑ : ไม่คบคนพาล

    ท่านว่าลักษณะของคนพาลมี ๓ ประการคือ

    ๑. คิดชั่ว คือการมีจิตคิดอยากได้ในทางทุจริต มีความพยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ คือเห็นผิดเป็นชอบ

    ๒. พูดชั่ว คือคำพูดที่ประกอบไปด้วยวจีทุจริตเช่น พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ

    ๓. ทำชั่ว คือทำอะไรที่ประกอบด้วยกายทุจริตเช่น การฆ่าสัตว์ ลักขโมย ฉ้อโกง ฉุดคร่าอนาจาร ประพฤติผิดในกาม

    รูปแบบของคนพาล มีข้อควรสังเกตุคือ

    ๑. ชอบแนะนำไปในทางที่ผิด หรือที่ไม่ควรแนะนำ อาทิเช่น แนะนำให้ไปเล่นการพนัน ให้ไปลักขโมย ให้กินยาบ้า ให้เสพยา ชวนไปฉุดคร่าอนาจาร เป็นต้น เหล่านี้ถือว่าเป็นพาล

    ๒. ชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ อาทิเช่น ไม่ทำงานตามหน้าที่ของตนให้เรียบร้อย แต่กลับชอบจะไปก้าวก่ายยุ่งกับหน้าที่การงานของผู้อื่น หรือไปจับผิดเพื่อนร่วมงาน แกล้ง ยุยง นินทาว่าร้ายกันและกัน เป็นต้น

    ๓. ชอบทำผิดโดยเห็นสิ่งผิดเป็นของดี อาทิเช่น การสูบยาได้เป็นฮีโร่ เห็นคนที่ซื่อสัตย์เป็นคนโง่ไม่กินตามน้ำ ชอบรับสินบน ทุจริตในหน้าที่ หรือช่วยพวกพ้องให้พ้นจากความผิด เป็นต้น

    ๔. จะโกรธเคืองเมื่อพูดเตือน อาทิเช่น การเตือนเรื่องการเที่ยวเตร่ เตือนเรื่องการดื่มเหล้า กลับบ้านดึก เตือนเรื่องการคบเพื่อนเป็นต้น คนพวกนี้จะโกรธเมื่อได้รับการตักเตือน และไม่รับฟัง

    ๕. ไม่มีระเบียบวินัย อาทิเช่น ไม่เข้าคิวตามลำดับก่อนหลัง แต่ชอบแซงคิวอย่างหน้าด้านๆ ทิ้งขยะลงคลอง หรือข้างทาง ไม่เคารพกฏหมายของบ้านเมือง หรือของท้องถิ่น เป็นต้น

    ขอบพระคุณที่มา :- http://fungdham.com/mongkhol38/mongkhol38-01.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...