เรื่องเด่น นานาเรื่องราวหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย Wannachai001, 16 กันยายน 2014.

  1. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,707
    IMG_20170903_093215.jpg IMG_20170919_133814.jpg
    (จากธัมมวิโมกข์ กุมภาพันธ์ 2534 หน้า 40)
     
  2. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,707
    king9-2.jpg 447.jpg 1431767889-1122477198-o.jpg 2a874527bc2e35cf53046ebf5be2dccb.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ตุลาคม 2017
  3. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,707
    การฉันเอกา

    IMG_20171022_145114.jpg IMG_20171022_145140.jpg

    การฉันสำรวม

    IMG_20171022_145209.jpg IMG_20171022_145249.jpg
     
  4. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,707
    title.jpg

    ประสบการณ์พระธุดงค์กับ "พญานาค"

    ผู้เฝ้าขุมทรัพย์ที่ "น้ำตกห้วยยาง"

    .....น้ำตกห้วยยาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ น้ำตกจุดนั้นเห็นคนที่เขาเดินไปดูบนยอดเขา เขาบอกว่ามันตกไหลไปทางของพม่า เดิมทีเดียวมันเป็นอ่าง เวลานี้ไม่เป็นอ่างเสียแล้ว อ่างเอิ่งเสียหมด

    ทั้งนี้ ก็เพราะว่าไอ้หินมันพังลงมาหมด ทับอ่างยับเยิน เดี๋ยวนี้ไม่เป็นอ่างเสียแล้ว น้ำตกก็ไม่เป็นรอยน้ำตก เห็นเป็นน้ำไหลรินๆ

    สมัยก่อนโน้นน้ำตกสวยมาก ทั้งที่เขาบอกว่าน้ำตกนี่ไหลไปทางพม่า ทางของเราน้อยก็จริงแหล่ แต่ทว่าของเราก็สวยไม่น้อยเหมือนกัน

    ตานี้เมื่ออาตมาไปเที่ยวจำ พ.ศ. ไม่ได้ ไปที่ตำบลห้วยยาง ปรากฏว่าเจ้าของบ้านเขาชวนไปดูน้ำตกว่า ทางนี้ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙" ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ทำทางเข้าไปถึงน้ำตก มีความยาวเป็น ๕ กิโลเมตร หรือ ๗ กิโลเมตรก็ไม่ทราบ วัดระยะทางได้ไม่แน่นัก เป็นทางลูกรัง

    อาตมาก็ไปเที่ยวที่น้ำตกห้วยยาง เที่ยวนั้น..มีพระไปเที่ยวด้วยกันหลายองค์ เมื่อเข้าไปเที่ยว ก็เห็นบรรดาพระหนุ่มๆ แล้วก็เณรกับพวกชาวบ้านทั้งหมดด้วยกัน ก็เห็นจะ ๒๐ กว่าคน ลงไปเล่นในอ่างน้ำ

    อาตมาเป็นพระแก่ เหลาเย่แล้ว ถ้าจะลงไปเล่นกับเขาบ้างมันก็น่าจะไม่สวย ก็เลยไม่ลงไปเล่น ไปนั่งดูเฉยๆ ดูน้ำตกมันกระเพื่อมๆ ก็ปรากฏว่าเห็นจุดที่น้ำกระเพื่อมกับหิน มันเป็นช่องโปร่ง คือน้ำกระเพื่อมลงมากๆ เห็นไอ้หินตรงนั้นมันเปิด มันเป็นช่องโปร่งข้างใน

    จึงได้ให้สัญญาณกับบรรดาเพื่อนที่ไปด้วยกัน บอกว่าลองเอามือแหย่ลงไปที่หินซิ ที่ผาหินข้างหน้านั่นน่ะ เห็นน้ำกระเพื่อมๆ ฉันสงสัยว่าข้างในมันจะเป็นโพรง

    ก็มีพระองค์หนึ่งท่านมีความกล้า ก็ลองเอามือแหย่เข้าไป บอก "เป็นโพรงจริงๆ ขอรับ"
    สั่งว่า "เอามือช้อนขึ้นไปเหนือน้ำพบหินไหม ?"

    แกบอกว่า "ไม่กระทบ"
    ก็บอกว่า "ลองดำเข้าไปดูซิ"

    ฉันเข้าใจว่ามันเป็นถ้ำใหญ่ สงสัยว่าหินมันทับกันอยู่นี่นะ หินมันไม่เกาะกัน หินที่แปะอยู่มันไม่เกาะสนิทเหมือนหินที่อื่น

    ตามธรรมดาหินเขามันเกาะกันเป็นเนื้อสนิท แต่นั่นดูเป็นรอยๆ ชอบกล แต่ว่าหินมันทับกันไว้มันก็ต้องทับกันนานแล้ว นับเป็นร้อยๆปี ถึงอย่างไรก็ดีรอยก็ยังเป็นที่สังเกตได้ชัด...

    พิสูจน์ความจริง

    .....ทุกคนก็มอง
    ดู เห็นว่าเป็นจริงตามนั้น จึงได้แนะนำให้คนที่ลงไปเล่นน้ำลองดำแล้วโผล่เข้าไปข้างในนั้น แต่เอามือเกาะข้างนอกไว้ เผื่อว่ามีอันตรายจะได้ไม่หลงทาง


    แกก็ดำเข้าไปหินนั่น มีความกว้างของเนื้อหินประมาณ ๒ ฟุตเศษๆ เข้าไปหัวก็โผล่ได้สบายๆ หายใจได้สะดวก เป็นทางโล่ง ถ้ำใหญ่

    แกจึงออกมารายงานว่า "มีครับ มีถ้ำใหญ่มากเป็นโพรงใหญ่หายใจได้สะดวก"
    ก็เลยบอกว่า "ลองเดินเข้าไปดูซิ ในนี้มีทรัพย์นะ ในนี้น่ะมีทรัพย์มาก เป็นทรัพย์ของชาวกุยบุรี เพราะว่าในสมัยนั้นชาวเมืองปาได้อพยพมาอยู่ที่กุยบุรีนี่ ปรากฏว่าถูกชาวเมืองนครศรีธรรมราชมารุกราน

    ชาวเมืองปาสู้ไม่ได้ พ่อเมืองจึงเอาทรัพย์มาฝังไว้ในนี้ เป็นทรัพย์มหาศาล มีทั้งทองคำ เพชรนิลจินดา และพระพุทธรูปทองคำด้วย ไม่เชื่อเธอลองเข้าไป"

    เขาถามว่า "อาจารย์รู้ได้ยังไง"
    ก็ตอบเขาว่า "ฉันนั่งนึกๆ มันเล่นโก้ๆ มันมีหรือไม่มีก็ไม่รู้ ทางที่ดีละก็ พวกเธอลองมุดเข้าไปดูซี มันจะมีหรือไม่มี เราพิสูจน์กันได้เดี๋ยวนี้แหละ"

    เขาก็ไม่กล้าเข้าไป เมื่อเขาไม่กล้า ก็บอก "เอ้า...ถ้ายังงั้นฉันจะลงน้ำด้วย"

    แต่ความจริงฉันไม่เคยคิดว่า จะลงน้ำด้วยหรอก วันนี้น่ะ เพื่อเป็นการพิสูจน์อารมณ์ของฉันว่า จะตรงหรือไม่ตรง จะหลอกหรือเปล่า ฉันก็อยากรู้เหมือนกัน ของมันพิสูจน์ง่ายๆ จึงเอาผ้าผลัดน้ำเดินเข้าไปแล้วก็มุดเข้าไปในนั้น...


    ScreenHunter_1002.jpg

    พบขุมทรัพย์มหาศาล

    .....เมื่อพวกนั้นก็ตามเข้าไปเป็นแถว เดินเข้าไปได้ประมาณสัก ๔ เมตร ก็ปรากฏว่าถึงหน้าผา เป็นผาต่ำก็ตะกายขึ้นไปเพราะมันขึ้นง่ายๆ แล้วก็เป็นทางลาด เดินเข้าไปประมาณ ๑๐ เมตร ก็ปรากฏ่ามีช่องย่อมๆ ก็ไม่ย่อมนักหรอก ๔ คน เดินเรียงกันได้แบบสบายๆ

    พอเดินเข้าไปได้อีกหน่อยเดียว ปรากฏว่าเจอะงูตัวหนึ่ง ใหญ่เท่าเสาบ้านเห็นจะได้ เสาที่เขาปลูกบ้าน ใหญ่ขนาดนั้น แกนอนขด พอเราเดินเข้าไปแกก็ชูหัวมาดู เป็นงูหงอน ก็เลยรายงานแกบอกว่า

    "พี่ชาย..ไม่เอาอะไรหรอก ขอชมหน่อยนะ"



    สมบัติชาวกุยบุรี

    พอเดินเข้าไปหน่อยก็ไปพบพระพุทธรูปองค์หนึ่ง โตมาก หน้าตักประมาณ ๒๔ นิ้ว ทั้งแท่นทั้งองค์เป็นทองคำทั้งหมด ทองสุกอร่าม เข้าไปก็กราบๆ แล้วก็จับ พอจับพระ พี่งูแกก็ชูหัวดูอีก ก็เลยรายงานแกอีก บอกว่า

    "พี่ชาย..ขอลองจับดูเท่านั้นน่ะ ไม่เอาไปหรอก เอาไปก็เอาไปไม่ไหว เพราะแบกไม่ไหว ทองคำทั้งองค์แบบนี้ คนหมดนี่ก็เอาไปไม่ได้"

    ก็เลยให้พระกับฆราวาสที่ไปด้วยกัน ลองอธิษฐานยกพระพุทธรูป ความจริงทองคำหนาใหญ่ขนาดนั้นไม่มีทางจะยกขึ้น แต่ผลจากการอธิษฐานเห็นผลอย่างอัศจรรย์

    ถ้าสิ่งใดจะเป็นไปตามความประสงค์ ยกได้เบาหวิวเลย สิ่งใดจะไม่เป็นไปตามความประสงค์ แม้แต่เขยี้ยนก็ไม่เขยื้อน

    ทีนี้ เมื่อทดลองกันดีแล้ว ก็จะเดินเข้าไปข้างในอีก พี่งูแกก็ชูตัวขึ้นมาได้สัก ๒ วาได้กระมัง ไอ้สูงสองวานั่นยังไม่ได้ครึ่งของขนดของแกหรอก ท่าทางแกขดตัวนั้นยาวมาก ก็เลยบอกว่า

    "พี่ชายขอชมข้างในนะ ไม่เอาอะไรเลย รับรองว่าไม่เอาอะไรเลย เฝ้าอยู่หน้าประตูนี่ก็แล้วกัน ฉันไปไหนก็ไปไม่รอด ฉันต้องกลับทางนี้ ถ้าใครเอาของมาแม้แต่นิดเดียวก็ทำอันตรายได้"

    พวกที่ไปด้วยกันแกเห็นงูชูหัว แกก็ชักสั่นๆ ไปตามๆ กัน แต่ความจริงก็รู้กันอยู่แล้วว่า งูนั้นไม่ใช่งูเนื้อ เป็นงูลม งูลมในที่นี้หมายถึงผี

    เมื่อเดินเข้าไปอีกที ก็ปรากฏว่าเข้าไปพบทรัพย์มหาศาล มีทองคำแท่ง โอ้โฮ...ถ้าจะพูดเป็นน้ำหนักก็ แหม...เป็นตั้งร้อยๆ ตัน เพราะกองสูงถนัด

    แล้วมีเครื่องประดับแพรวพราวเยอะแยะ เพชรนิลจินดา มีมงกุฏของกษัตริย์ แล้วก็มีพระแสงคู่มือของกษัตริย์ พระแสงอาญาสิทธิ์ละมั้ง เห็นด้ามเป็นทองคำ ฝักเป็นทองประดับเพชร มันแพรวพราวไปหมดนี่

    แก้วตั้งหลายอย่าง อาจจะเป็นพวกที่เขาเรียกว่าแก้ว ๙ ประการ นพรัตน์อะไรก็ได้ไม่ทราบว่าอะไรกันแน่ ทุกสิ่งทุกอย่างยังอยู่ครบถ้วนบริบูรณ์ เงินก็มาก ทองก็มาก เพชรนิลจินดาก็มาก

    เวลาชม ก็สั่งทุกคนว่าห้ามแตะต้องเป็นอันขาด ถ้าใครแตะต้องเข้าละก็ฉันไม่รับรองชีวิต เพราะยังไงๆ พี่งูนี่แกจัดการเสร็จ แกไม่ยอมให้เราเอาไปแน่

    เมื่อชมกันเป็นที่พอใจแล้ว เป็นอันว่าไม่มีใครเอามา กลับออกมา มาถึงก็ขอบใจพี่งูเขา เขาก็มองดูทุกคน พวกเราก็ลากลับ กลับออกมาแล้วก็บอกกับพวกนั้นว่า

    ถ้ำนี้เป็นถ้ำของชาวเมืองปา "ชาวเมืองปา" ก็คือชาวไทยที่อพยพมาจากเมืองปาในประเทศจีนโน้น สมัยที่ถูกพวกจีนรุกราน ไอ้เมืองปากับเมืองลุงนี้ ความจริงน่าจะเรียกเมืองป้ากับเมืองลุง จะเพี้ยนกันไปหรือเปล่าก็ไม่ทราบ

    เมื่อเขาอพยพลงมาแล้วก็มาทางนี้ จากอินเดียลงมาแล้วก็มาพม่ามามอญ ทีนี้บางส่วนที่เราเรียกกันว่า "ไทยใหญ่" ก็ยึดพม่าได้ ยึดมอญได้เข้าปกครอง

    บางพวกก็อพยพเข้ามาทางสายนี้ ทางเพชรบุรี แล้วก็ขยับขยายหากินกันตลอดมา มาหากินอยู่ที่กุยบุรี ตั้งเมืองขึ้นที่กุยบุรี จับกลุ่มกันอยู่ที่นั่น

    สงสัยว่าคนไทยมีวัฒนธรมเจริญแล้ว มีพระเจ้าแผ่นดินปกครอง และมีพ่อบ้านพ่อเมืองมาก่อน ก็หากินกันอย่างสุขสำราญ

    แต่ทว่าก็อาศัยพวกไทยที่มาอยู่เป็นกลุ่มเป็นก้อนกันนั้น มีความสมบูรณ์พูลสุข มีการค้าดี มีแร่ธาตุเป็นเครื่องขาย มีหนังสัตว์ ขนสัตว์เป็นสินค้าขาย ก็ร่ำรวยกันมาก การค้ามีทั้งทางบกและทางเรือ

    ทีนี้พวกนครศรีธรรมราช พวกปาฏลีบุตร พวกนี้เขาเห็นว่าเขามีอำนาจมาก เขาก็เลยมารุกราน จะเอาอาณาเขต ไทยเรามีกำลังน้อยกว่า สู้ไม่ได้

    เมื่อเวลาที่จะหนี จะอพยพเตลิดเปิดเปิงไปก็เลยต้องเอาของมาเก็บไว้ที่นี่ก่อน นี่เรื่องราวของถ้ำห้วยยางก็น่ากลัวจะหมดกันเพียงเท่านี้นะ

    อ้อ...วันนั้นก็บอกพวกทั้งหลายเหล่านั้น บอกว่า สำหรับถ้ำนี้อีกปีสองปีเขาก็จะปิดแล้ว เพราะว่าพวกเราเข้าไปเห็นของๆ เขาเข้า การเห็นของๆ เขานี่ พวกเราเห็นพวกเราอาจจะทำอะไรไม่ได้

    แต่ว่าถ้าคนนี่เห็นอะไรเข้ารู้ถึง ๒ คนขึ้นไป เขาถือว่าไม่เป็นความลับ เราอาจจะพูดไป หรืออาจมีคนสันดานไม่ดีมาทำลายทรัพย์สินของเขา เขาเกรงว่าจะมีอันตราย

    ถ้าหากว่าพวกเราอยากจะดูกันละก็ ปีหน้ามาดูได้ แต่หลังจากปีหน้าไม่ได้โอกาสจะได้ดู เป็นอันว่าหลังจากปีนั้น ๑ ปีก็ปรากฏว่า ไอ้หินที่น้ำไหลๆ มานั่น มันพังทะลายลงมาทับอ่างเอิ่งหมด

    เวลานี้ก็ไม่ปรากฏว่าเป็นน้ำตก อ่างนั้นก็ไม่มีแล้ว ถ้าใครตั้งใจจะไปขุดไปค้นเอาทรัพย์ก็เห็นท่าจะหมดปัญญา เว้นเสียแต่จะเอารถแทร็กเตอร์ไปทำลายภูเขาละก็ว่าไม่ได้

    แต่ก็ไม่แน่นัก ถ้าเขาไม่ให้ แทร็กเตอร์ก็อาจจะเครื่องดับ ดีไม่ดีคนทำลายอาจจะตายก็ได้ สำหรับเรื่องนี้ก็ยุติแต่เพียงเท่านี้ สวัสดี...


    a09d948990da7d93180d9614a0d1c224--king-thailand.jpg

    หลวงพ่อเล่า..รัชกาลที่ ๙ และที่ ๑๐

    .....เรื่อง "น้ำตกห้วยยาง" แต่ทว่าประวัติศาสตร์เดิมสูญหายไป พ่อเคยย่องเข้าไปข้างใน เห็นสมบัติมาก ตอนกลางคืนเทวดาท่านมาบอกว่า ถ้ามีคนพบก็ต้องปิด ต่อมาหินเลยพังทลายทับอ่างน้ำจนหมด สภาพเดิมทีเดียวสวยสดงดงามมากเป็นที่น่าทัศนารมย์ เป็นที่น่าชื่นใจ หนทางที่เดินทางเข้าไป

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงออกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ พ่อพบสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๘ ท่านมาบอกว่าทองที่เห็น ทรัพย์สินที่เห็น มันยังเป็นของน้อย เพราะว่าเป็นทรัพย์สินส่วนที่เป็นของพระมหากษัตริย์ที่จะทรงไว้ใช้สอย

    แต่ว่าทองแท่งสำรองไว้ใช้ในการใช้จ่าย จังหวัดเพชรบุรีแถบนี้ สมัยก่อนพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเล มีเกาะมีแก่งมาก แผ่นดินมันจะงอกเข้ามาทีละหน่อย

    ถ้าจะว่ากันจริง ๆ คนที่อยู่ในแถวนี้จริง ๆ ก็ต้องบอกว่าอยู่กันมาตั้งแต่ต้นกัป จะนับเวลากันจริง ๆ ไม่รู้กี่ล้านปี มันไม่ใช่พันปี หมื่นปี แสนปี นับเป็นร้อยๆ ล้านปี

    ตั้งแต่เริ่มกัปมา คนที่พูดภาษาอย่างนี้ก็อยู่ดินแดนแถบนี้อยู่แล้ว ที่ฝรั่งเขาค้นพบว่าที่นั่นก่อนที่นี่ ที่นี่ก่อนที่นั่นไม่จริง ไอ้ที่นี่มันยังจะก่อนที่ฝรั่งเข้าใจไปตั้งเยอะ

    ขุดกันให้ดีค้นกันให้ดี ปีหนึ่งแผ่นดินมันสูงขึ้นเท่าไร มันทับถมสิ่งทั้งหลายที่ตายไปแล้วที่พังไปแล้ว ความจริงดินแดนแห่งนี้ที่เรียกกันว่า "แหลมทอง" หรือเป็น "เมืองทอง" ก็เพราะมีทรัพยากรมาก

    (หมายเหตุ : หลวงพ่อกล่าวคำว่า "แหลมทอง" หรือ "เมืองทอง" ตรงกับหลวงพ่ออ่ำกล่าวถึง "สุวัณณภูมิ" ว่าคนไทยอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้มาตั้งแต่ต้นกัปแล้ว)

    นอกจากน้ำมัน ก็มีแร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีค่า มีเพชร นิล จินดา มีเงิน และแร่ทองคำมากมาย คนที่มีปัญญายังจะใช้ได้ต่อไปอีกนาน ถ้าคนทุกคนในเขตนี้ที่เรียกกันว่า คนไทยมีใจรักชาติ มีความซื่อสัตย์สุจริต หวังความเจริญของบ้านเมือง

    ต้องการให้บ้านเมืองเจริญจริง ๆ ทรัพยากรมันจะได้มากไปกว่านี้ ที่ยังไม่ขึ้นมา ไม่ใช่เทวดา..กัน ไม่ใช่ผี..กัน ไม่ใช่อย่างนั้น มันเป็นมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่นี่แหละ...กัน

    ถ้าคนไทยดีขึ้นเมื่อไรทรัพยากรทั้งหลายก็จะปรากฏมากขึ้นเท่านั้น ถ้าดีเต็มที่ มันก็เกิดขึ้นมาเต็มที่ ดีน้อยมันก็เกิดน้อย ดีมากมันก็เกิดขึ้นมาก

    คำว่า "ดี" ในที่นี้ ไม่ใช่ว่ามันลอยขึ้นมาเอง ต้องอาศัยการใช้ปัญญาที่ได้ศึกษามาให้เต็มที่ มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อประเทศชาติ

    อย่างกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ มีเท่าไรใช้เท่านั้น มีเท่านี้ก็ใช้เลยไปเท่าโน้น ค้นคว้าหาของดีกันมาให้ได้ ตอนนี้แหละ..ของทั้งหลายเหล่านั้นมันจะขึ้นมาเอง ใช้กันให้มันครบถ้วน

    และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีปัญญามาก เงินก็ใช้น้อย คนที่มีปัญญามาก เขาใช้เงินน้อย คือใช้ปัญญาช่วยด้วย ใช้แรงงานของคนช่วยด้วย

    อย่างคนโบราณเขาก็รู้จักใช้น้ำมันเหมือนกัน ตั้งแต่โยนกนคร, สุโขทัย, หรือว่ากรุงศรีอยุธยา เขาก็ยังไม่ได้ใช้น้ำมันต่างประเทศ เขาใช้น้ำมันในประเทศเอาขึ้นมาใช้

    ทองก็เหมือนกันเขาก็ใช้ทองในประเทศ เขาไม่ได้ซื้อทองนอกประเทศ ทองในประเทศเขายังส่งไปขายนอกประเทศ ของทั้งหลายเหล่านี้มันมีมาแล้ว ใช้กันมาแล้วแต่อดีตกาล

    ประเทศไทยเป็น "เมืองทอง" จริง ๆ มีทรัพยากรมหาศาล ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ กุยบุรี เมืองพง ปราณบุรี เพชรบุรี มองลงไปใต้ภาคพื้นปฐพี มีทองคำธรรมชาติ เพชรนิลจินดา ทั้งแร่ธาตุที่มีค่า น้ำมันก็มีมาก ทรัพย์สมบัติที่เป็นทรัพย์สินที่ฝังไว้ก็มีมาก เป็นทรัพย์ธรรมชาติก็มีมาก เฉพาะจังหวัดภูเก็ต มีเพชรซึ่งมาจากแร่ที่มีความสำคัญคล้ายนิวเคลียร์มีมาก แร่อย่างอื่นก็มีมาก

    นอกจากนั้น เขตน้ำมันใหญ่ติดอยู่กับเกาะภูเก็ตเป็นแหล่งใหญ่มาก เป็นทะเลเทือกยาว ถ้าเราเจาะน้ำมันจุดนี้ได้ ดึงมาใช้เท่าไรที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ถ้าจะใช้สัก ๔,๐๐๐ ปี น้ำมันตุ่มนี้มันยังไม่มีความรู้สึก ว่ามันจะหมดลงไป

    ขอบรรดาลูกรักทั้งหลาย..ที่มีจิตประกอบไปด้วยศรัทธา มีบารมีครบถ้วนทั้ง ๑๐ ประการ มีจิตใจหวังซึ่งพระนิพพานเป็นอารมณ์ จงพิสูจน์ดูเมื่ออารมณ์เข้าถึงจุดนั้น และก็จงทราบว่าเวลานั้นพ่อไม่ได้ใช้ฌานสมาบัติ

    เป็นแต่เพียงว่านอนทำใจสบาย ให้มันว่างจากอารมณ์แห่งความโลภ ความโกรธ ความหลง จิตเป็นอุเบกขารมณ์ ใจเป็นสุขแบบเบา ๆ

    จิตในเวลานั้นจึงอยู่ในช่วงของ "อุปจารสมาธิ" และอีกประการหนึ่ง การเห็นของพ่อ ก็เป็นการแสดงของท่านพวกนั้น ไม่ใช่พ่อตั้งใจจะเห็น

    การเห็นมีได้ ๒ อย่าง สำหรับคนที่ได้ "ทิพยจักขุญาณ" เขาบังคับการเห็นได้ ต้องการจะเห็นใครที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้

    ถ้าท่านที่ไม่ได้ "ทิพยจักขุญาณ" แต่ทว่าท่านผู้ต้องการให้เห็น จะมาพูดมาคุยด้วยก็เห็นได้เหมือนกัน ด้วยอานุภาพของเทวดาหรือพรหม จงจำไว้ว่าการเห็นเป็นเช่นนี้...



    เรื่องทั้งหมดด้านบนนำมาจากกระทู้เรื่อง ประสบการณ์พระธุดงค์กับ "พญานาค" ในเวบวัดท่าซุงตามลิงค์ด้านลาสงครับ

    http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=2441
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2017
  5. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,707









     
  6. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,707













     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ตุลาคม 2017
  7. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,707




     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2017
  8. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,707




     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2017
  9. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,707
    DSC05475xxx.jpg DSC05419xxx.jpg
     
  10. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,707
    IMG_20171028_140953.jpg

    เลี่ยมกรอบแบบ 6 in 1 มาครับ
     
  11. berbapor

    berbapor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,845
    ค่าพลัง:
    +21,862
    วัสดีครับพี่วรรณและเพื่อนๆสมาชิกทุกๆท่านเข้ามาติดตามข่าวสารหลวงพ่อครับเหมือนเดิมครับ
     
  12. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,707
    IMG_20171022_145557.jpg IMG_20171022_145947.jpg IMG_20171022_150319.jpg
     
  13. berbapor

    berbapor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,845
    ค่าพลัง:
    +21,862
    สวัสดีครับพี่วรรณและเพื่อนๆสมาชิกทุกๆท่านเข้ามาติดตามข่าวสารหลวงพ่อครับเหมือนเดิมครับ
     
  14. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,707


     
  15. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,707


    หลวงพ่อละสังขารในวันนี้วันที่ 30 ตุลาคม เมื่อ 25 ปีที่ผ่านมาครับ
     
  16. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,707
    1.jpg kapook_world-961194.jpg kapook_world-961198.jpg kapook_world-961208.jpg kapook_world-961209.jpg kapook_world-961214.jpg kapook_world-961216.jpg kapook_world-961217.jpg kapook_world-961220.jpg kapook_world-961228.jpg a87b2178f85b6fa4b1005daa06f8c6b8.jpg 2a874527bc2e35cf53046ebf5be2dccb.jpg a09d948990da7d93180d9614a0d1c224--king-thailand.jpg tnews_1508480010_4310.jpg
     
  17. berbapor

    berbapor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,845
    ค่าพลัง:
    +21,862
    สวัสดีครับพี่วรรณและเพื่อนๆสมาชิกทุกๆท่านเข้ามาติดตามข่าวสารหลวงพ่อครับเหมือนเดิมครับ
     
  18. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,707
    ลอยกระทง.. เพื่อวัตถุประสงค์อะไร ?

    เรียบเรียงโดย..พระอาจารย์ชัยวัฒน์ อชิโต วัดท่าซุง

    ........ประเพณีลอยกระทง เพื่อวัตถุประสงค์อะไร มีเหตุผลเป็นประการใด ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านโปรดใช้วิจารณญาณไปด้วย เพราะจะได้อ้างเหตุอ้างผลไปตามหลักฐานพยาน ส่วนจะเชื่อหรือไม่ จะเป็นความจริงแค่ไหน เราต้องไปพิสูจน์กัน อย่าหลับหูหลับตาอ้างเอาแต่ความคิดของตนเอง มิฉะนั้น...เราจะไม่รู้คุณค่าว่า เรามีของดีอยู่ในประเทศไทยอีกมากมาย

    .......เมื่อพูดถึงการ “ลอยกระทง” คนไทยทุกคนแม้แต่ลูกเด็กเล็กแดงก็รู้จักกัน โดยเฉพาะประเทศไทยมีการรักษาประเพณีนี้มานานแล้ว แต่รูปแบบการจัดงานในปัจจุบันนี้ มีเทคโนโลยี สมัยใหม่เข้ามามาก จึงมีการจัดแสดงแสงและ สีเข้ามาประกอบ ทำให้เกิดบรรยากาศอันดีที่ จะทำให้ผู้ชมต้องย้อนกลับไปในภาพอดีตอีก ครั้งหนึ่ง แต่ถ้าจะสืบสาวราวเรื่องความเป็นมาต่างๆ เช่นถามว่า...

    “ประวัติการ ลอยกระทง มีความเป็นมาอย่างไร? ลอยเพื่อวัตถุประสงค์จะบูชาอะไร? และ นางนพมาศ เป็นใคร? มีประวัติความ เป็นมาอย่างไร? ถึงได้คิดประดิษฐ์กระทงให้มีลักษณะเป็นรูปทรง “ดอกบัว” อย่างนี้..?”

    ชาวไทยทุกคนที่เคย “ลอยกระทง” มาแล้ว นับตั้งแต่เล็กจนโต ต้องอดหลับอดนอนไม่รู้สักกี่ครั้ง อาจจะเคยรู้คำตอบได้เป็นอย่างดี แต่คงจะมีไม่น้อยที่ลอยแล้วไม่รู้ว่าลอยเพื่ออะไรกันแน่....เพียงแต่ขอให้ได้รับความสนุกสนาน หรือชมความสวยสดงดงาม จากการจัดประกวด“กระทง” หรือประกวด “นางนพมาศ” เท่านั้น ก็พอใจ โดยเฉพาะผู้เขียนเอง เมื่อประมาณปีพ.ศ.๒๕๓๖ บังเอิญได้ยินคำตอบทางโทรทัศน์ จาก “ดอกเตอร์” ท่านหนึ่งว่า “ลอยกระทง เพื่อลอยเคราะห์..ลอยโศก” แล้วกัน..!

    สำหรับ “ภาพประกอบการศึกษา” ก็เหมือนกัน ซึ่งไว้ใช้ในการสอนเด็กนักเรียนเรื่อง “การลอยกระทง” โดยได้อธิบายไว้ในภาพวาดหลายประเด็น เช่น เพื่อบูชาและขอขมา “พระแม่คงคา” เพื่อบูชา “รอยพระพุทธบาท” ใน นาคพิภพ และเพื่อบูชา “พระอุปคุต” เป็นต้น


    พลิกประวัติศาสตร์และโบราณคดี

    ในตอนนี้ “ผู้เขียน” ก็ไม่มีความรู้อะไรแต่ก็อยากจะ “รณรงค์วัฒนธรรมไทย” ต่อไป ในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่งที่เป็นห่วงเป็นใย ในวัฒนธรรมประเพณีของคนไทยบางคนที่กำลังจะถูกย่ำยีเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

    ซึ่ง “ผู้เขียน” มีเจตจำนงที่จะฟื้นฟูประเพณี “ลอยกระทง” เพื่อให้ตรงกับความประสงค์ของโบราณราชประเพณี ที่สืบต่อกันมานานหลายชั่วคนแล้ว ซึ่งเป็นประเพณีอันดีงามผสม ผสานกับความศรัทธาในพระพุทธศาสนา

    เพราะว่าวัฒนธรรมไทยย่อมผูกพันกับสถาบัน “ชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์” มานานแล้ว โดยเฉพาะประเพณีลอยกระทงนี้เป็นประเพณีที่เชิดหน้าชูตาของประเทศ ย่อมเป็นที่รู้จักไปในนานาประเทศ แม้กระทั่งเพลง “ลอยกระทง” ฝรั่งบางคนยังร้องได้เลย..!

    จึงนับเป็นที่ภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่เรามีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เพราะมีแต่ประเทศ ไทยเท่านั้น ที่ยังรักษารูปแบบประเพณีนี้มานาน แล้ว ซึ่งประเทศอื่นๆ ไม่มีประเพณีเช่นนี้มา ก่อนเลย อีกทั้งรอยพระพุทธบาทที่อยู่กลางทะเล ก็มีอยู่ในประเทศไทยแต่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ “นางนพมาศ” คิดประดิษฐ์กระทงเป็นรูป “ดอกบัว” นั้น ก็เป็นการบ่งบอกเอาแล้วว่า เพื่อบูชา “รอยพระพุทธบาท” เป็นแน่แท้...

    เพราะ “ดอกบัว” เป็นสัญลักษณ์เฉพาะผู้ที่ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นดังจะสังเกตได้ว่า “พระพุทธรูปปางลีลา” ทุกองค์ มักจะนิยมสร้างเป็นรูป "ดอกบัว" ไว้เพื่อรองรับฝ่าพระบาททั้งสองข้าง ฉะนั้น เพื่อให้ สมเหตุสมผลตามข้อวินิจฉัย ผู้เขียนจึงใคร่ขอ นำหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทุกยุคทุกสมัยมา ยืนยันเป็นคำเฉลย จากคำถามที่ตั้งไว้ว่า... “เราลอยกระทงเพื่อบูชาอะไรกันแน่..?”



    สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

    ในหนังสือ “พระราชพิธีสิบสองเดือน” อันเป็นพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕พระองค์ทรงมีพระราชวินิจฉัยในเรื่องนี้เอาไว้ว่า...

    “..สมมุติว่าเอาโคมนั้นลอยไปตาม “ลัทธิพราหมณ์” ที่พอใจลอยอะไรๆ จัดอยู่เช่นกับ“ลอยบาป..ล้างบาป” จะถือว่าเป็น “ลอยเคราะห์ลอยโศก” อย่างใดไปได้ดอกกระมัง การก็ตรงกันกับ “ลอยกระทง” บางทีสมมติว่าลอยโคมข้อความตาม “กฎมณเฑียรบาล” มีอยู่แต่เท่านี้

    ส่วน พระราชพิธี ซึ่งได้ประพฤติอยู่ในปัจจุบันนี้ นับว่าเป็น พระราชพิธีพราหมณ์ มิได้เกี่ยวข้องด้วยพระพุทธศาสนาสืบมา การที่ยกโคมขึ้นนั้น ตามคำโบราณกล่าวว่า ยกขึ้นเพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ “พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม”

    แต่ครั้นเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงนับถือพระพุทธศาสนา ก็กล่าวว่าบูชา พระบรมสารีริกธาตุ “พระจุฬามณี” ในดาวดึงสพิภพ และบูชา “พระพุทธบาท” ซึ่งได้ปรากฏอยู่ ณหาดทราย เรียกว่า “นะมะทานที” อันเป็นที่ “ฝูงนาคทั้งปวง” สักการบูชาอยู่...”



    สมัยกรุงศรีอยุธยา

    จากหนังสือ “คำให้การขุนหลวงหาวัด” มีใจความว่า...
    “...ในสมัย สมเด็จพระเอกทัศราชา ครองกรุงศรีอยุธยา ครั้งถึงเพ็ญเดือน ๑๑ ออกพระวรรษา พระองค์เสด็จทรงประทีปเสด็จอยู่บนเรือขนาน แล้วถวายธูปเทียนดอกไม้ และกระทงกระดาษตามเทียนและเรือต่างๆ เป็นอัน มาก แล้วพระองค์อุทิศถวายพระพุทธบาทใน “นัมทานที” แล้วก็ลอยกระทงอุทิศส่งไปเป็นอันมากเต็มไปทั้งแม่น้ำ แล้วจุดดอกไม้เพลิงที่ริมคงคาต่างๆ เป็นอันมาก...”

    ส่วน คณะทูตชาวลังกา ที่เคยเข้ามาขอพระสงฆ์ในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าบรมโกฏฐ์ เมื่อ พ.ศ.๒๒๙๓ ได้บันทึกไว้เป็น “จดหมายเหตุ” ถึงข้าราชการไทยได้อธิบายเรื่องนี้ว่า“...พระราชพิธีอันนี้ทำเพื่อการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ (ซึ่งบรรจุไว้ในพระจุฬามณีเจดีย์) ในดาวดึงสพิภพ และบูชารอยพระพุทธ บาท ซึ่ง “พญานาค” ได้กราบทูลอัญเชิญสมเด็จ พระพุทธองค์ให้ทรงประดิษฐานไว้เหนือหาด ทราย “ฝั่งแม่น้ำนัมทานที”



    สมัยกรุงสุโขทัย

    สำหรับหลักฐานชิ้นนี้มีความสำคัญมากเพราะเป็นต้นกำเนิดประเพณีนี้ ผู้เขียนจึงขอนำเอกสารที่บันทึกไว้โดยท่านเจ้าของเรื่องโดยตรง นั่นก็คือ... หนังสือเรื่อง “นางนพมาศ” หรือ “ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์” นั่นเอง โดยได้บรรยายพระราชพิธีต่างๆ ในราชสำนัก ซึ่งพระอรหันต์ทั้งหลายสมัยนั้นได้แนะนำไว้ และได้พรรณนาสภาพบ้านเมืองในสมัยนั้นไว้ว่า...

    “...เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงแล้วได้ ๑๘๓๐ พรรษา นครสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองสมบูรณ์พูลสุขด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร ไพร่ฟ้าหน้าใส (ขณะที่เขียนเรื่องนี้ ไพร่ฟ้ากำลังหน้า แห้ง เพราะของแพงจาก...ค่าเงินบาทลอยตัว) พลเมืองมีความสุขสบาย มีวัฒนธรรมและศีลธรรมอันดีงามโดยถ้วนหน้า

    พระมหากษัตริย์ก็ปกครองโดยธรรม ทรงไว้ซึ่ง “ทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ” ทรง พัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า มีถนนหนทางที่งามสะอาด และทรงสร้างปราสาทราชมณเฑียร สถานอันงามวิจิตรมีจตุรมุขทั้ง ๔ ด้าน ด้านหน้านั้นมีพระที่นั่งมุขกระสันติดเนื่องกันกับสนามมาตยา หน้ามุขเด็จขนานนามต่างๆ เป็นทั้งมณฑปพระพุทธรูปและเทวรูป

    ตึกตำแหน่งเรือนหลวงเรือนสนมกำนัลเหล่านี้ ล้วนวิจิตรไปด้วยลายปูนปั้น ลายจำหลักวาดเขียนลงรักปิดทองแลอร่ามตา มีพระแท่นที่ฉากกั้น เครื่องปูลาดอาสนบัลลังก์กั้นเศวตฉัตรห้อยย้อยด้วยระย้า ประทีปชวาลาเครื่องชวาลา เครื่องราชูปโภคงามยิ่งนัก...”

    นอกจากนั้นยังกล่าวถึง วัดมหาธาตุ เทวสถาน ราชอุทยาน ไม้ดอกนานาชนิด ผลไม้ ไร่นาที่ทำกิน ผาสุขสบายถ้วนหน้า ปราศจากพาลภัยอันตรายจากโจรผู้ร้าย มีการละเล่น ขับพิณดุริยางค์ มีการประกวดร้อยกรองทำนองอันไพเราะ เห่กล่อมชาวนครให้ชื่นชมสมสวาทตราบเท่าเข้าแดนสุขาวดี

    นอกจากนี้นางยังได้กล่าวถึงความประพฤติของนางสนม ซึ่งมีทั้งประพฤติดีและชั่ว เช่นสามัญชนทั้งหลาย กล่าวถึงพระเกียรติคุณและพระราชจริยาวัตรขององค์ “สมเด็จพระร่วงเจ้า” เป็นการกล่าวเฉลิมพระเกียรติ ด้วยความจงรักภักดีอย่างสูงสุด และกล่าวถึงตระกูลต่างๆ ว่า ฝ่ายทหารมี ๔ ตระกูล ฝ่ายพลเรือนก็มี ๔ ตระกูล

    ความรู้ในทางโลก ได้กล่าวถึงชาติและภาษาต่างๆ กล่าวถึงการแบ่งอาณาเขตในชมพูทวีป ส่วนในทางศาสนาได้กล่าวถึงพุทธศาสนาศาสนาพราหมณ์ และลัทธิศาสนาอื่นบ้าง เป็นต้น สำหรับเรื่องการ “ลอยกระทง” ได้มีพรรณนาไว้ดังนี้...


    ประวัติการลอยกระทง

    สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีนั้น มีพระราชพิธี “จองเปรียง” ในวันเพ็ญเดือน ๑๒เป็นนักขัตฤกษ์ ชักโคม ลอยโคม ประชาชนพลเมืองชายหญิงต่างตกแต่ง โคมชัก โคมแขวน โคมลอย ทุกตระกูลทั่วทั้งพระนครเพื่อถวายพระมหากษัตริย์ให้ทรงสักการะ พระจุฬามณี บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

    ส่วนพระสนมกำนัลฝ่ายใน ก็ทำโคมลอยด้วยบุปผาชาติเป็นรูปต่างๆ ประกวดกัน เพื่อถวายให้ทรงอุทิศบูชารอยพระพุทธบาท ณ ฝั่งแม่น้ำ นัมทานที แต่ “นางนพมาศ” พระสนมเอกของ “พระร่วงเจ้า” นั้น ได้ประดิษฐ์โคมลอย (คือกระทง) อย่างงดงามเป็นพิเศษ

    สมเด็จพระร่วงเจ้าทอดพระเนตรเห็นโคมงามประหลาดของนางนพมาศ ก็ทรงพอพระทัยมาก จึงรับสั่งให้ถือเป็นประเพณีว่า ในวันเพ็ญเดือน ๑๒ นี้ ให้ประดิษฐ์ “โคมลอย” เป็นรูป “ดอกบัว” ไปสักการบูชารอยพระพุทธบาท ณ ฝั่งแม่น้ำนัมทานที ซึ่งต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อ เรียกว่า “ลอยกระทงทรงประทีป”

    หลังจากนั้น พระมหากษัตริย์ก็ถวาย ดอกไม้เพลิง บูชาพระรัตนตรัยทุกพระอารามหลวงแล้วทรงทอด ผ้าบังสุกุลจีวร ถวายพระภิกษุสงฆ์ บรรดาขุนนางและประชาราษฎร์ก็ดำเนินตามพระยุคลบาท เป็นที่สนุกสนานกันทั่วหน้า เมื่อพระร่วงเจ้าทรงลอยกระทงแล้ว ลงเรือพระที่นั่งประพาสชมแสงจันทร์ และเสด็จทอดพระเนตรโคมไฟ โปรดให้ “นางนพมาศ” โดยเสด็จด้วย ทรงรับสั่งให้นางผูกกลอนให้ พวกนางบำเรอขับถวาย

    เมื่อทรงสดับบทกลอนแล้ว จึงรับสั่งถามว่าที่ต้องการให้พวก “เจ้าจอมหม่อมห้าม”มาด้วยนั้น เห็นว่าจะได้ประโยชน์อย่างใด..? นางก็กราบทูลสนองว่า เพื่อเปิดโอกาสให้นาง เหล่านั้น ได้แต่งกายด้วยเสื้อผ้าแพรพรรณที่ สวยงาม ได้ออกหน้าสักครั้งหนึ่ง ก็จะชื่นชมยินดีมีความสุข และจะรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอยู่ไม่รู้วาย บรรดาเครื่องอาภรณ์ที่ได้ทรงโปรดพระราชทานไปแล้วนั้น ก็จะได้มีโอกาสตกแต่งกันในครั้งนี้

    ครั้นได้ทรงสดับดังนั้นก็ทรงพอพระทัยในคืนต่อมาก็ทรงโปรดให้บรรดานางในได้ตามเสด็จโดยทั่วหน้ากัน และเป็นประเพณีนับแต่นั้นมา...




    ประวัตินางนพมาศ


    ".........ตามประวัติ “นางนพมาศ” ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ บิดามีนาม “โชตรัตน์” มีบรรดาศักดิ์ว่า.. “ออกพระศรีมโหสถ ยศกมเลศ ครรไลยหงส์ พงศ์มหาพฤฒาจารย์” มีเกียรติยศยิ่งกว่านักปราชญ์ราชบัณฑิตทั้งปวง รับราช การในฐานะเป็นปุโรหิต ณ กรุงสุโขทัย มี หน้าที่บังคับบัญชากิจการตกแต่งพระนคร มี การทำพระราชพิธี ๑๒ เดือน เป็นต้น

    ..........ส่วนมารดาชื่อ “นางเรวดี” เมื่อนางจะตั้งครรภ์นั้น ฝันว่าได้เยี่ยมพระบัญชรสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ชมแสงจันทร์จนตกใจตื่น แม้ พระศรีมโหสถก็ฝันว่า ได้เห็นดอกไม้นานาพันธุ์แย้มบานเกสรอยู่สะพรั่งในมิใช่ฤดูกาล และมี กลิ่นหอมระรื่นตลบอบอวล

    ความฝันทั้งสองนี้พยากรณ์ว่า จะได้บุตรเป็นหญิง จะมีวาสนาพรั่งพร้อมไปด้วยสติปัญญาและเกียรติยศ เป็นที่พึ่งแก่วงศ์ญาติทั้งหลาย ครั้นถึงวันจันทร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันเพ็ญ กลางเดือน ๓ ปีชวด อันเป็นเวลาที่ภาคพื้นอากาศปราศจากเมฆ พระจันทร์ทรงกลดแสง ประภัสสร รัศมีขาวเจือสีเหลืองอ่อน กาลนั้น นางก็คลอดจากครรภ์มารดา

    หมู่ญาติมิตรทั้งหลายก็นำเครื่องทองชนิดต่างๆ มาทำขวัญ เช่น ดอกไม้ทอง สนอบเกล้าทอง จุฑาทอง ประวัตรทอง กุณฑลทอง ธุรำทอง วลัยทอง ของ ๗ สิ่งนี้เฉลิมขวัญท่านบิดาจึงให้นามว่า “นพมาศ” (มีผู้แปลว่า “ทองเนื้อเก้า”) แล้วอาราธนาพระมหาเถรา นุเถระ ๘๐ องค์ จำนวน ๗ วัด มาเจริญพระพุทธมนต์ในบท “มงคลสูตร รัตนสูตร” และ“มหาสมัยสูตร” จนครบ ๗ วันแล้วอัญเชิญ “พราหมณาจารย์” ผู้ชำนาญในไตรเพทอีก ๖๐ คน มากระทำพิธีชัยมงคลอีก ๓ วัน เพื่อสมโภชธิดาผู้เกิดใหม่ให้มีความสวัสดิมงคล เสร็จแล้วก็ถวายไทยธรรมแก่พระ เถระ ด้วยไตรจีวรกับของที่เป็นบริวารทั้งหลาย และสักการะหมู่พราหมณ์ด้วยทรัพย์เป็นอันมาก ในการเลี้ยงดูนางเมื่อเยาว์วัย บิดามารดาก็ได้ คัดเลือกเอาแต่ผู้ที่มีความเฉลียวฉลาดในวิชา ต่างๆ ให้เป็นผู้ดูแล พี่เลี้ยงก็จะสอนให้ร้อย กรองให้วาดเขียน เป็นต้น

    ครั้นจำเริญวัยอายุได้ ๗ ปี บิดาก็ให้ศึกษาวิชาต่างๆ เป็นต้นว่า อักษรไทย อักษรสันสกฤต ภาษาบาลี พอแปลได้ เรียนคัมภีร์ไตรเพท แต่งกลบทกลอน กาพย์ โคลง ฉันท์และลิลิต เรียนตำรับโหราศาสตร์ ดาราศาสตร์และตำราพยากรณ์ จนอายุได้ ๑๕ ปี ก็มีความ ชำนิชำนาญเฉลียวฉลาด รู้คดีโลกและคดีธรรม นับเป็นสตรีนักปราชญ์ได้ผู้หนึ่ง

    นางนพมาศจึงเป็นยอดหญิงสุโขทัย ที่มีความเฉลียวฉลาดในวิชาการต่างๆ มีความชำนาญในด้านภาษา วรรณคดี การขับร้อง ดนตรี บทกวีต่างๆ และมีรูปโฉมงดงามอีกด้วย จนเป็นที่ยกย่องสรรเสริญกันโดยทั่วไป มีความตอนหนึ่งที่ท่านได้บันทึกชีวิตส่วนตัวไว้ว่า...

    “...วันคลอดจากครรภ์มารดา พื้นอากาศก็ปราศจากเมฆ พระจันทร์ก็ทรงกลดแสงประภัสสร รัศมีขาวเจือสีเหลืองอ่อน เสวยฤกษ์บุษยวันเพ็ญ เดือน ๓ ปีชวด ประกอบกับมีฉวีวรรณเรื่อเรืองเหลือง ประดุจชโลมลูบด้วยแป้งสารภีทั่วทั้งกรัชกาย จึงให้นามข้าน้อยนี้ว่า... “นพมาศ” จากความงามทั้ง ๓ ประการของนางคือ งามรูปสมบัติ งามทรัพย์สมบัติ และปัญญาสมบัติ จึงทำให้ชาวเมืองสุโขทัยต่างก็สรรเสริญทุกเช้าค่ำ กิตติศัพท์นี้ก็แพร่หลายเล่าลือต่อๆกันไป จนมีทิศาปาโมกข์ผู้หนึ่ง ได้ผูกกลอนสรรเสริญนางนพมาศขึ้นไว้ ๓ บท



    ตำแหน่งพระสนมเอก

    อันกลอนทั้ง ๓ บทนี้ บรรดาหญิงชายทั้งหลาย ต่างก็พากันขับร้องและดีดพิณยลโฉม คุณความดีของนางอยู่โดยทั่วไป จนแม้พนัก งานบำเรอพระเจ้าแผ่นดินก็จดจำได้ จนกระ ทั่งถึงวันหนึ่งได้ขับเพลงพิณบทนี้บำเรอถวาย สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ครั้นได้ทรงสดับก็พอ พระทัยแล้วสอบถามว่า เป็นความจริงหรือแกล้ง สรรเสริญกันไปเอง

    ท้าวจันทรนาถภักดี ผู้เป็นใหญ่ฝ่ายในได้กราบทูลว่าเป็นความจริง นางอายุได้ ๑๕ ปี ควรจะได้เป็นพระสนมกำนัลอยู่ในพระราชฐาน สมเด็จพระร่วงเจ้า จึงมีรับสั่งให้นำนางนพมาศ เข้ามาเป็นพระสนมอยู่ในพระราชวัง เพื่อเป็น เกียรติยศแก่ “ออกพระศรีมโหสถ” ผู้บิดา ท้าวจันทรนาถฯ รับพระราชบัญชาก็มาแจ้งให้ พระศรีมโหสถทุกประการ

    เมื่อพระศรีมโหสถได้ทราบดังนั้น ก็ รู้สึกอาลัยธิดายิ่งนัก แต่ก็ได้ทราบมาแล้วแต่ ต้นว่า นางนี้เกิดมาสำหรับผู้มีบุญ จึงยินยอม ตามพระราชประสงค์ และจะได้เลือกหาวันอัน เป็นมงคล เพื่อนำธิดาของตนขึ้นทูลถวายต่อไป นับตั้งแต่นั้นมาชีวิตของนาง จึงได้หันเหเข้ามา อยู่ในแวดวงของสตรีผู้สูงศักดิ์ เพื่อสนองพระ เดชพระคุณสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภายในพระราช สำนัก

    ครั้นถึงวันอันเป็นมงคล พระศรีมโหสถได้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ และเชิญพราหมณ์มาทำพิธีให้เป็นสวัสดิมงคล แล้วเชิญหมู่ญาติมิตรมาประชุม นางนพมาศก็ทำการเคารพหมู่ญาติมิตรทั้งหลายนั้น บรรดาญาติมิตรต่างก็พากันอวยชัยให้พรแก่นางนพมาศนานาประการ



    นกเบญจวรรณ ๕ สี

    แต่ก่อนที่นางจะเข้าไปเป็นบาทบริจาริกาในพระราชสำนักนั้น พระศรีมโหสถ ผู้เป็นบิดาได้ตั้งปัญหาถาม เพื่อจะทดลองสติปัญญาความสามารถของนางว่า...

    “นกเบญจวรรณอันประดับด้วยขน ๕ สี เป็นที่งดงามอยู่ในป่าใหญ่ ครั้นมนุษย์ดักเอามา ได้ก็นำมาเลี้ยงไว้ในบ้านจนเป็นที่รัก เพราะมี ขนสีงามถึง ๕ สี ก็เจ้าเป็นมนุษย์เมื่อเข้าไปอยู่ในพระราชฐาน จะประพฤติตนให้บรรดาคนทั้งหลายรักใคร่เจ้า เช่น นกเบญจวรรณ ได้หรือไม่?...”

    นางนพมาศก็ตอบว่า
    “ลูกสามารถจะประพฤติตนให้เป็นที่รักใคร่แก่บุคคลเหล่านั้น โดยยึดสุภาษิต ๕ ประการ เช่นเดียวกับสีของ “นกเบญจวรรณ” ทั้ง๕ คือ:-

    ประการที่ ๑ จะเจรจาถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน มิให้เป็นที่รำคาญระคายโสตผู้ใด

    ประการที่ ๒ จะกระทำตนให้ละมุนละม่อม ไม่เย่อหยิ่งจองหอง ทั้งจะตกแต่งร่างกายให้สะอาดและสุภาพเรียบร้อย

    ประการที่ ๓ จะมีน้ำใจบริสุทธิ์สะอาดไม่อิจฉาพยาบาทปองร้าย หรือดูหมิ่นดูแคลนผู้ใด

    ประการที่ ๔ ถ้าปรากฏว่าผู้ใดเมตตารักใคร่โดยสุจริตใจ ก็จะรักใคร่มีไมตรีตอบมิให้เกิดการกินแหนงแคลงใจได้

    ประการที่ ๕ ถ้าได้เห็นผู้ใดทำความดีความชอบในราชการ และทำถูกต้องขนบธรรมเนียมทั้งคดีโลกคดีธรรม ก็จะจดจำไว้เป็นเยี่ยงอย่างแล้วประพฤติและปฏิบัติตามสิ่งที่ดีนั้น ถ้าได้กระทำอย่างนี้แล้ว ก็จะต้องมีผู้เอ็นดูรัก ใคร่ ขอท่านบิดาอย่าวิตกเลย...”

    พระศรีมโหสถและบรรดาญาติมิตรทั้งหลาย เมื่อได้ฟังถ้อยคำนางนพมาศดังนั้นแล้วก็ชื่นชมยินดีชวนกันสรรเสริญอยู่ทั่วไป ลำดับ ที่ ๒ พระศรีมโหสถได้ตั้งปัญหาถามต่อไปว่า


    ข้อปฏิบัติให้มีผู้เมตตา ๑๒ ประการ

    “การที่จะเข้าไปอยู่ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดินนั้นจะสามารถประพฤติตนให้ถูกพระราชอัธยาศัยในขัตติยประเพณี ซึ่งมีอยู่ในตระกูลอันสูงศักดิ์ได้หรือไม่ เพราะสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินมีพระอัครมเหสีถึง ๒ พระองค์ และนางพระสนมกำนัลอีกเป็นอันมาก เจ้าจะกระทำตนให้ทรงพระเมตตาได้หรือ?...”

    นางนพมาศตอบว่า “ลูกสามารถกระทำได้ แต่ใจหาคำนึงว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระเมตตาหรือไม่แต่ว่าจะอาศัยสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ เป็นเครื่องช่วยเหลือให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเมตตาเองกล่าวคือ:-

    ๑. จะอาศัย “ปุพเพกะตะปุญญะตา” ซึ่งได้สร้างสมมาแต่ชาติก่อนสนับสนุน

    ๒. ตั้งใจจะประกอบความเพียรอย่างสุดความสามารถ ไม่เกียจคร้านในราชกิจการงานทั้งปวง

    ๓. จะใช้สติปัญญาพิจารณาสิ่งผิดและชอบ แล้วเว้นไม่กระทำสิ่งที่ผิด มุ่งแต่จะประพฤติในสิ่งที่ชอบ

    ๔. จะใช้ความพินิจพิจารณา สอดส่องให้รู้พระราชอัธยาศัย แล้วจะประพฤติให้ต้องตามน้ำพระทัยทุกประการ มิถือเอาใจตัวเป็นประมาณ

    ๕. จะประพฤติและปฏิบัติการงานโดยสม่ำเสมอ ไม่ทำงานลุ่มๆ ดอนๆ

    ๖. จะรักตัวของตัวเองยิ่งกว่ารักผู้อื่น

    ๗. จะไม่เกรงกลัวผู้ใดให้ยิ่งไปกว่าเจ้านายของตนเอง

    ๘. จะไม่เข้าด้วยกับผู้กระทำผิด

    ๙. จะเพ็จทูลข้อความใดๆ ลูกจะกราบทูลแต่ข้อความที่เป็นจริงเท่านั้น

    ๑๐. จะไม่นำพระราชดำริอันใด ที่เป็นความลับออกเปิดเผยเป็นอันขาด

    ๑๑. จะวางใจให้มั่นคงต่อกิจการงานทั้งปวง ไม่โลเลและแชเชือน

    ๑๒. จะจงรักภักดีต่อองค์สมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวโดยไม่เสื่อมคลาย


    คุณสมบัติ ๗ ประการ

    ........อนึ่ง ลูกเป็นคนใหม่เพิ่งจะเข้าไปถวายตัว ยังหารู้ขนบธรรมเนียมสิ่งใดไม่ ฉะนั้นเพื่อสามารถปฏิบัติการงานในหน้าที่ให้ลุล่วงไปจนได้ ลูกจึงจะวางวิธีของลูกไว้ดังนี้

    ๑. ในขั้นต้น ลูกจะต้องระวังรักษาตัวกลัวต่อความผิด ไม่ทำอะไรวู่วามลงไป

    ๒. จะต้องคอยสังเกตผู้ที่โปรดปรานคุ้นเคยพระราชอัธยาศัย ว่าประพฤติและปฏิบัติอย่างไร จักได้จดจำนำมาปฏิบัติต่อไป

    ๓. เมื่ออยู่นานไป ได้รู้เช่นเห็นช่องในกิจการบ้างแล้ว ก็จะได้พากเพียรเฝ้าแหนมิให้ขาดได้

    ๔. เมื่อใดสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรัสใช้การงานแม้เพียงเล็กน้อย ก็จะตั้งใจกระทำให้ดีที่สุด สมพระราชหฤทัยประสงค์ให้จงได้

    ๕. ต่อไปถ้าได้เห็นว่าทรงพระเมตตาขึ้นบ้างแล้ว แม้สิ่งใดจะมิได้ทรงรับสั่งใช้แต่สามารถจะกระทำได้ ก็จะกระทำโดยมิได้คิดเหนื่อยยาก เลย

    ๖. เมื่อตระหนักแน่แก่ใจว่าทรงโปรดอย่างใดแล้ว ก็จะได้ชักชวนคนทั้งหลาย ให้ช่วย กันกระทำในสิ่งที่ชอบพระราชอัชฌาสัย

    ๗. เมื่อได้กระทำดังนี้แล้ว หากจะไม่ทรงพระเมตตา ก็จะไม่น้อยเนื้อต่ำใจอย่างใด จะนึกเพียงว่าเป็น “อกุศลกรรม” ที่ได้กระทำไว้แต่ปางหลังเท่านั้น และจะคงกระทำความดีอยู่เช่นนั้นโดยมิเสื่อมคลาย...” แล้วนางได้ยกอุทาหรณ์นิทานเรื่อง “นกกระต้อยตีวิด” และเรื่อง “ช้างแสนงอน” มาเล่าประกอบด้วย พระศรีมโหสถและบรรดาญาติมิตรทั้งหลาย ต่างได้ฟังก็มีความยินดีใน สติปัญญาของนางเป็นอันมาก และพากันสรร เสริญอำนวยพรอยู่ทั่วกัน...

    การกระทำเพื่อความมีชื่อเสียง

    ในวาระสุดท้ายท่านบิดาได้ตั้งปัญหาถามต่อไปว่า...

    “ลูกจะคิดสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างไร ให้ตนเองมีชื่อเสียงปรากฏอยู่ในแผ่นดิน?...”

    นางนพมาศก็ตอบว่า
    “อันจะกระทำการสนองพระเดชพระคุณพระเจ้าแผ่นดิน จนมีชื่อเสียงปรากฏเลื่องลือนั้นสำหรับสตรีกระทำได้ยากนัก ถ้าเป็นบุรุษอาจจะกระทำได้หลายประการ เช่น ทำการรณรงค์สงคราม ทำกิจการงานพระนคร ในสิ่งที่ยากลำบากให้สำเร็จได้ด้วยดี หรือวินิจฉัยถ้อยความให้เป็นไปโดยยุติธรรม หรือจะหาของวิเศษอัศจรรย์มาทูลเกล้าถวาย เหล่านี้เป็นต้น

    แต่ราชการฝ่ายสตรีที่สำคัญก็คือราชการ ในพระราชวัง ซึ่งก็ตกเป็นพระราชภาระของพระอัครมเหสีทั้งสองอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นใน ส่วนตัวของลูกก็จะมีแต่ความจงรักภักดี ตั้งใจสนองพระเดชพระคุณด้วยความกตัญญูกตเวทีอันสะอาดบริสุทธิ์

    แม้ในการนั้นหากจำเป็นจะต้องเสียทรัพย์สินส่วนตัวมากเพียงใด หรือแม้ถึงกับจะต้องเสียสละเลือดเนื้อหรือชีวิตก็ดี ก็เต็มใจอุทิศถวายสนองพระเดชพระคุณโดยมิได้อาลัย

    อนึ่ง ในการปฏิบัติให้ทรงพระเมตตานั้นลูกปรารถนาที่จะให้ทรงโปรดปรานแต่ในความดีของลูกเท่านั้น การที่จะใช้เสน่ห์เล่ห์กลเวทมนตร์คาถา และกลมารยาต่างๆ เพื่อให้ทรงเมตตาโปรดปรานนั้น ลูกจะละเว้นไม่ประพฤติเป็นอันขาด หรือแม้ลูกจะได้ดีมียศถาบรรดา ศักดิ์เพียงใดก็ดี ก็จะยิ่งกระทำความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป จะไม่กำเริบใจว่าทรงรักใคร่แล้วเล่นตัว หรือกดขี่เหยียดหยามผู้อื่น...”

    แล้วนางได้ยกอุทาหรณ์นิทานเรื่อง “นางนกกระเรียนคบนางนกไส้ช่างยุ” มาประกอบด้วย ในที่สุดนางก็สรุปว่า...

    “อันนิทานที่ยกมาเล่านี้ ก็เพื่อให้ผู้ฟังจำไปสอนใจตนเองว่า อย่าประพฤติเป็นคนต้นตรงปลายคด และการคบมิตรก็ต้องคบที่เป็นกัลยาณมิตร นักปราชญ์จึงจะสรรเสริญ

    อันว่าการคิดถูกและคิดผิด พูดจริงและ พูดเท็จ ใจซื่อและใจคด ยั่งยืนและโลเล เรียบร้อยและเล่นตัว สุภาพและดีดดิ้น ปกติและ มารยา มักตื่นและมักหลับ มีสติและหลงลืมอุตสาหะและเกียจคร้าน ทำดีและทำชั่ว หรือกัลยาณมิตรและบาปมิตร

    บรรดาของคู่กันเหล่านี้ จะประพฤติอย่างหนึ่ง และละเสียอย่างหนึ่งเช่นนี้ ลูกก็สามารถจะเป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฏอยู่ในแผ่นดินได้...”

    พระศรีมโหสถและบรรดาญาติมิตรผู้นั่งฟังอยู่ ณ ที่นั้นก็แซ่ซ้องสาธุการอยู่ทั่วกัน ในคืนนั้น นางเรวดีผู้มารดาก็ได้ให้โอวาท แก่นางอีกเป็นอันมาก กล่าวคือ..มิให้ตั้งอยู่ใน ความประมาท ให้เคารพแก่ผู้ควรเคารพ ให้ประพฤติจริตกิริยาในเวลาเฝ้าแหนหมอบคลานให้เรียบร้อย ให้แต่งกายเรียบร้อยงามสะอาดต้องตาคน ประพฤติตนให้ถูกใจคนทั้งหลายฝากตัวแก่เจ้าขุนมูลนาย คอยระวังเวลาราชการอย่าให้ต้องเรียกหรือต้องคอย ต้องหูไวจำคำให้ มั่น อย่าถือตัวหยิ่งจองหอง ให้เกรงกลัวอัครมเหสี ทั้งสอง เป็นต้น นางนพมาศก็รับคำเป็นอันดี

    ครั้นรุ่งเช้าเป็นวันศุกร์เดือน ๑๒ ขึ้น๑๐ค่ำ จุลศักราช ๖ ปีมะโรง ฉ ศก อันเป็นเวลา ที่นางมีอายุนับปีได้ ๑๗ ปี นับเดือนได้ ๑๕ ปี กับ ๘ เดือน ๒๔ วัน นางเรวดีผู้มารดา ได้ให้แต่งกายอันประดับด้วยอาภรณ์นานาชนิดมาคำนับลาบิดาและบรรดาญาติแล้วขึ้นระแทะ ไปกับมารดา มีบ่าวไพร่ติดตามไปพอสมควรเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง

    นางเรวดีได้นำไปยังจวน “ท้าวจันทรนาถภักดี” และ “ท้าวศรีราชศักดิ์โสภา” ซึ่ง เป็นใหญ่ในชะแม่พระกำนัล เพื่อนำขึ้นเฝ้า สมเด็จพระร่วงเจ้า อันมีพานข้าวตอกดอกมะลิ พานข้าวาร พานเมล็ดพันธุ์ผักกาด พานดอก หญ้าแพรก ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายด้วย

    สมเด็จพระร่วงเจ้าทรงรับและมีพระราชปฏิสันถารกับนางเรวดีพอสมควร และพระราชทานรางวัลพอสมควรแก่เกียรติยศ แล้วทรงพระกรุณาโปรดให้นางนพมาศเข้ารับราชการในตำแหน่ง“พระสนม” นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา...


    ฉะนั้น ด้วยคุณความดีที่นางได้นำมาเป็นหลักปฏิบัติดังกล่าวนี้ ต่อมานางนพมาศได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “ท้าวศรีจุฬาลักษณ์” ตำแหน่งพระสนมเอก จึงได้รับการยกย่องเชิดชูว่า เป็นแบบอย่างของกุลสตรีไทย ที่สืบทอดวัฒนธรรมและจริยประเพณี เพื่อผูกพันกับสถาบันชาติศาสนา และพระมหากษัตริย์ นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ก็ยังมีการจัดริ้วขบวนแห่นางนพมาศ ลอยกระทงทรงประทีป จุดดอกไม้เพลิง เพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ณ ริมฝั่งน้ำนัมทา โดยยึดถือเป็นประเพณีประจำ ชาติไทยกันตลอดมา

    ผู้เขียนได้ลำดับประวัติ “รอยพระพุทธบาท” และ “การลอยกระทง” มาจนถึงประวัติความเป็นมาของ “นางนพมาศ” ก็เพื่อชี้แจงแสดงเหตุผลประกอบไปด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อันพอที่จะสรุปได้ว่าการลอยกระทงนั้น เป็นการลอยเพื่อบูชา “รอยพระพุทธบาท ณ นัมทานที” แต่เพียงประเด็นเดียวเท่านั้น ซึ่งมีความเกี่ยวพันกันมา อันเป็นปริศนามานานหลายร้อยปีแล้ว

    Koh-Kaew-Phuket4.jpg

    ด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นที่มาของการจัดกิจกรรม “ตามรอยพระพุทธบาท” เพื่อฟื้นฟูประเพณี “ลอยกระทง” และฟื้นฟูประเพณีการสักการบูชา “พระจุฬามณี” ตลอดถึงการสร้างพระพุทธรูป “ปางประทับรอยพระบาท” ณ นัมทานที” ขนาดสูง ๙ ศอก และสร้างป้ายจารึก “ประวัติรอยพระพุทธบาท” เพื่อไว้เป็นอนุสรณ์ ณ เกาะแก้วพิสดาร จ.ภูเก็ต กันต่อไป (ปัจจุบันนี้ ปี พ.ศ.๒๕๔๓ ได้สร้างไว้อีกองค์หนึ่งที่ วัดพระร่วง อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย)
    4(1).jpg

    ในฐานะที่ได้ร่วมกันทำหน้าที่ “รณรงค์วัฒนธรรมไทย” โดยการจัดงานพิธีลอยกระทงในวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๗ เพื่อสมโภชรอยพระพุทธบาท ที่มีอายุกาลครบถ้วน ๒๕๖๐ ปีพอดี อีกทั้งเป็นการเปิดเผยให้ชาวโลกรู้ว่า การที่เราลอยกระทงมาตั้ง ๗๐๐ กว่าปี ด้วยการฝากพระแม่คงคาตลอดมา

    บัดนี้ เราได้ไปลอยถึงที่อันประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไว้อย่างแท้จริงแล้ว จึงเป็นการรณรงค์ให้ชาวไทยทั้งหลายได้ทราบว่า รอยพระพุทธบาทแห่งนี้ มีความเกี่ยวข้องกับประเพณี “ลอยกระทง” อันเป็นเส้นผมบังภูเขากันมานานแล้ว

    ฉะนั้น ในนามคณะศิษยานุศิษย์ทั่วทุกภาคของพระเดชพระคุณ “หลวงพ่อพระราชพรหมยาน” วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี จึงได้ร่วมแรงร่วมใจกันไปจัดงาน “พิธีลอยกระทง” เพื่อ บูชารอยพระพุทธบาท ณ เกาะแก้วพิสดาร และ “พิธีลอยกระทงสวรรค์” เพื่อบูชา “พระเกศแก้ว” และ “พระเขี้ยวแก้ว” บนพระจุฬามณีเจดียสถาน ณ “แหลมพรหมเทพ”
    เพื่อคงไว้เป็นแบบอย่างของการอนุรักษ์โบราณราชประเพณีนี้ อันมีความสัมพันธ์กับรอยพระพุทธบาท หวังให้อนุชนรุ่นหลังได้ช่วยกันสืบสาน “รอยไทย” ไว้คงอยู่คู่เมืองไทยตลอดไป...


    ข้อสรุป

    ข้อมูลทั้งหลายเหล่านี้ที่ได้นำมาอ้างอิง หวังว่าคงจะเป็นคำตอบที่ชัดเจน พอที่จะสรุป “ฟันธง” ลงไปได้จากคำถามที่ว่า.. “ลอยกระทง เพื่อวัตถุประสงค์อะไร...?” ก็คงจะลอยเพื่อบูชา “รอยพระพุทธบาทที่ ๕ ณ นัมทานที” แต่เพียงประเด็นเดียวเท่านั้นที่เป็นคำตอบ



    ......................................................................

    เรื่อง"ลอยกระทง...เพื่อวัตถุประสงค์อะไร ?" นำมาจากเวบตามรอยพระพุทธบาท และท่านสามารถหาอ่านบทความเรื่องอื่นๆได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้ครับ



    http://tamroiphrabuddhabat.com/xmb/viewthread.php?tid=523

    http://tamroiphrabuddhabat.com/xmb/forumdisplay.php?fid=8





     
  19. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,707
    ภายในงานนิทรรศการที่ พิพิธภัณฑ์ศิลปะ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

    S__96288818.jpg S__96288819.jpg
     
  20. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,707
    วินิจฉัยข้อมูลจากทั้งสองเว็บ

    .....เมื่อตอนที่แล้ว ท่านผู้อ่านได้อ่านข้อมูลจากเว็บพลังจิตแล้ว คงได้ใจความที่ระบุชัดเจน อันแสดงถึงผู้โพสต์และผู้อ่านข้อมูลในเว็บนี้ ทุกคนต่างก็เข้าใจในเรื่องนี้ตลอดมา จึงขอยกคำพูดมาอ้างอิงอีกครั้ง พร้อมทั้งยังมีวงเล็บเพิ่มเติมไว้ด้วยว่า


    "...ในส่วนของตำราพระร่วงนี้ ถ้าบุคคลอื่นได้ตำรานี้ไป ก็ไม่สามารถทำวัตถุมงคลต่างๆ (เป่ายันต์เกราะเพชร) ได้ถึงอานุภาพสูงสุด อย่างเก่งก็ไม่เกิน 10 % เพราะท่านเจ้าของตำราคือ "ท่านผกาพรหม" ท่านไม่อนุญาติ ดังนั้นตามคติคนเรียนวิชาแต่โบราณ คงสิ้นสุดสายการสืบทอดวิชา..."

    ข้อความเหล่านี้ ย่อมถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจของผู้โพสต์ได้ดีว่า การทำ "วัตถุมงคล" ต่างๆ ตลอดถึงการ "เป่ายันต์เกราะเพชร" อย่างเก่งก็ไม่เกิน 10 % เพราะท่านเจ้าของตำราไม่ช่วย

    (นี่เป็นการยืนยันอย่างชัดเจน ส่วนการที่หลวงพ่อบอกให้พระในวัดท่าซุงครอบครู เพื่อจะให้สืบวิชาต่อไปนั้น จึงเป็นเพียงแค่ลีลาของท่านเท่านั้น พระที่เข้าใจดีท่านจึงไม่ได้ทำพิธีนี้ ดังในบทความ "เสียงจากถ้ำ" ที่ ท่านพระครูภาวนาพิลาศ (หลวงตาวัชรชัย) เล่าไว้มีใจความตอนหนึ่งว่า..

    ".....ก็อย่างที่หลวงตาเขียนเล่า "เรื่องในบ้านใหญ่" เปะปะ เล่าลำดับเหตุการณ์มาถึงตอนที่ ๕ นี้ ก็พอดีมาถึงช่วงครบรอบวันเกิด ๖๐ ปี ของ ท่านพระครูปลัดอนันต์ พทฺธญาโณ เจ้าอาวาสวัดท่าซุงองค์ปัจจุบัน

    ทำให้นึกถึงเหตุการณ์เรื่องราวย้อนหลังกว่า ๒๐ ปีก่อนหน้านี้ อยากจะบันทึกเล่าไว้เกี่ยวกับท่านอาจารย์โดยตรง ท่านพระครูปลัดอนันต์ พทฺธญาโณ เจ้าอาวาสวัดท่าซุงองค์ปัจจุบัน

    "...ผมลืมเล่าให้ทุกท่านฟังอยู่เรื่องหนึ่ง คือก่อนหลวงพ่อท่านจะมรณภาพสัก ๑ เดือน หลวงพ่อเรียกผมเข้าไปหา..พูดเรื่องยันต์เกราะเพชรว่า...

    "...เออ..นันต์ จำไว้ไปบอกกันด้วย หลวงปู่ปานเคยบอกว่า คนที่จะเป็นอาจารย์เป่ายันต์เกราะเพชรให้ศิษยานุศิษย์ได้นั้น จะต้องมีความสามารถเป็นพิเศษ ที่จะรู้กฎของกรรมเฉพาะหน้าของศิษย์ทั้งหลาย จะได้บอกให้จิตทำอารมณ์ให้ตรงกับที่ท่านผู้เป็นใหญ่ ผู้มีทิพยอำนาจผู้ประสาทพิธีลงมา เพราะฉะนั้นต้องมีใจเป็นทิพย์มั่นคง ไม่ถอยหลังแล้ว คือ ...

    - ต้องเป็นพระอรหันต์วิชชา ๓ เป็นอย่างน้อย หรือ...
    - ต้องเป็นพระโพธิสัตว์บารมีเต็มแล้วอย่างหลวงปู่ปาน เป็นต้น..."

    จึงจะรับคำสั่งจากท่านเบื้องบน มีสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นประธาน แล้วประสาทบอกอารมณ์ควบคุมอารมณ์ศิษย์ที่เข้าพิธีได้

    แล้วพระอาจารย์อนันต์ก็พูดต่อว่า "...ผมพร้อมที่จะจัดพิธีเป่ายันต์ให้ แต่ผมเป่าไม่ได้ เพราะผมไม่ได้เป็นพระอรหันต์เหมือนหลวงพ่อ และก็ไม่ได้เป็นพระโพธิสัตว์บารมีเต็มแล้วเหมือนหลวงปู่ปาน

    เอ้า...ใครเป็นพระอรหันต์วิชชา ๓ เป็นอย่างน้อย หรือเป็นพระโพธิสัตว์บารมีเต็มแล้วบ้าง.. ยกมือขึ้นนะครับ... ผมจะน้อมจัดพิธีเป่ายันต์ถวาย มีไหมครับ ?"

    ในขณะบัดนั้นก็เงียบสนิท...ไม่มีมือยกรับรองตัวเอง แล้วพระอาจารย์ก็บอกว่า

    "...ในเมื่อยังไม่มี ผมก็ยังไม่กล้าจัดเป่ายันต์ เพราะจะขัดคำครูบาอาจารย์ พวกเรามาเร่งความเพียรกัน ใครเป็นพระอรหันต์เมื่อไร เป็นพระโพธิสัตว์พร้อมจะตรัสรู้เมื่อไรบอกผมด้วย จะได้จัดพิธีถวาย..."

    ตั้งแต่วันนั้นมา...ในวัดท่าซุงก็ไม่พูดถึงเรื่องจัดงาน "เป่ายันต์เกราะเพชร" อีกเลย...

    ข้อสังเกต

    ...ข้อที่ ๑. ผู้โพสต์บอกต่อไปอีกว่า "ท่านเจ้าของตำราคือ "ท่านผกาพรหม" แต่ถ้อยคำที่หลวงพ่อเล่าบอกเพียงว่า "ท่านเป็นพรหมชั้นที่ ๘" เท่านั้น โดยไม่ได้ระบุว่าท่านชื่ออะไร

    ส่วนในการปลุกเสกทุกครั้ง หลวงพ่อท่านเพียงแต่บอกว่า "ท้าวมหาชมพู" และ "ท้าวผกาพรหม" จะมาปิดท้ายรายการทุกครั้ง" อันนี้ถ้าใครมีหลักฐานเป็นคำพูดของหลวงพ่อจริง กรุณานำมาอ้างอิงเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องด้วย ขอขอบคุณครับ

    ...ข้อที่ ๒. ผู้โพสต์บอกว่า หลวงพ่อฯ ท่านสั่งห้ามว่า ถ้าได้ธงผืนนี้ไปแล้ว ห้ามปลุกโดยเด็ดขาด เพราะอานุภาพสูงมาก ถ้าไปปลุกธงมหาพิชัยสงครามนี้ อาจถึงตายได้ครับ อันนี้ก็ไม่เคยได้ยินด้วยหูตนเอง ทุกข้อกรุณาอ้างอิงหลักฐานจาก "วัดท่าซุง" โดยตรงด้วย

    ...ข้อที่ ๓. ตามที่บอกว่า "หลวงพ่อฤาษีท่านได้ถวายในหลวงไปตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๐" อันนี้ผู้เขียนก็ไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกัน เพราะยังไม่เคยได้ยินพระที่ใกล้ชิดหลวงพ่อพูดเรื่องเหล่านี้เลย

    สรุปความว่า...อย่าเพิ่งเปิดประเด็นหลายเรื่องเลยนะ เอาข้อที่กังขากันในระหว่างลูกศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุงก่อน ลองเปิดดูเว็บทั้งสองนี้ก็แล้วกันว่า ภาพที่ตบแต่งหรือข้อมูลที่โพสต์ไปนั้น มีความเหมาะสมแค่ไหน แล้วเดี๋ยวตอนหน้าค่อยกลับมาคุยกันใหม่นะ

    @ ๑. http://palungjit.org/threads/๙๙๙๙๙๙๙๙๙-ผ้ายันต์มหาพิชัยสงคราม-วัดท่าซุง-ราคาพิเศษ-พระเกจิอาจารย์อื่นๆ.369592/page-39#post-879238 2

    @ ๒. http://www.tnews.co.th/contents/351004



    บทความด้านบนนี้นำมาจากกระทู้ "จดหมายจาก...พระเดชพระคุณหลวงพ่อ "พระราชพรหมยาน" ของเวบวัดท่าซุง ตามลิงค์ด้านล่างนี้ครับ

    http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=2379#21

    หมายเหตุ : โปรดเปรียบเทียบชื่อของหลวงพี่อาวุโสของวัดท่าซุงที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าพิธีครอบครูในงานเป่ายันต์เกราะเพชรครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม 2535 ที่ลงในเวบด้านล่างนี้กับรายชื่อในธัมมวิโมกข์ฉบับเดือนสิงหาคม 2535 ดูครับ

    http://www.tnews.co.th/contents/351004

    รายชื่อในคอลัมภ์ "ข่าวศูนย์" รวบรวมเขียนโดย จามร ซึ่งเป็นนามปากกาของหลวงพี่อาจินต์ ธัมมจิตโต

    IMG_20171101_120411.jpg IMG_20171101_120452.jpg IMG_20171101_120515.jpg

    (จากธัมมวิโมกข์ เดือนสิงหาคม 2535 หน้า 11)
     

แชร์หน้านี้

Loading...