ตอนนี้เชื่อแล้วหรือยัง.. ปัญญา ใช้ระงับ ความชั่วได้

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย VisionPower, 7 ธันวาคม 2017.

  1. VisionPower

    VisionPower เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    1,168
    ค่าพลัง:
    +485
    ตอนนี้เชื่อแล้วหรือยัง.. ปัญญา ใช้ระงับ ความชั่วได้
    (ไม่ได้บอกว่าใช้ความเก่งนะ)

    ส่วนความโง่ .. ย่อมเป็นเหตุให้มีโอกาสทำความผิด ทำความชั่ว ได้ง่าย

    แต่คนไทยมักชอบ เอาคนโง่ๆ ไว้ เพราะว่าดูปลอดภัย 5555
    (เพราะตัวเองโง่ กลัวจะโดนหลอกเข้าเองด้วย นั้นเอง 555)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ธันวาคม 2017
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อรณวิภังคสูตร (๑๓๙)
    [๖๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
    ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มี-
    *พระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอรณวิภังค์แก่เธอทั้งหลาย
    พวกเธอจงฟังอรณวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้น
    ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    [๖๕๔] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่ง
    สุขอาศัยกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ
    ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่อง
    ประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย
    ประโยชน์ ความปฏิบัติปานกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้นั้น อันตถาคต
    รู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้มีจักษุ ทำให้มีญาณ เป็นไป
    เพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน พึงรู้จัก
    การยกยอและการตำหนิ ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกยอ ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงแต่
    ธรรมเท่านั้น พึงรู้ตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งความ
    สุขภายใน ไม่พึงกล่าววาทะลับหลัง ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า พึงเป็นผู้
    ไม่รีบด่วนพูด อย่าพูดรีบด่วน ไม่พึงปรักปรำภาษาชนบท ไม่พึงล่วงเลยคำพูด
    สามัญเสีย นี้อุเทศแห่งอรณวิภังค์ ฯ
    [๖๕๕] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งสุขอาศัยกาม
    อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ
    ด้วยประโยชน์ และไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบตนให้
    ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นั่น เรา
    อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ความประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุข
    โดยสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ
    ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ
    มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด การไม่ตามประกอบ ความประกอบเนืองๆ
    ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็น
    ของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มี
    ทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติ
    ชอบ ความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ
    ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ
    มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด การไม่ตามประกอบความเพียรเครื่อง
    ประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย
    ประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความ
    เร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประกอบเนืองๆ
    ซึ่งสุขอาศัยกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ
    ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่อง
    ประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย
    ประโยชน์ นั่น เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
    [๖๕๖] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความปฏิบัติปานกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุด
    ๒ อย่างนี้นั้น อันตถาคตรู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้มีจักษุ
    ทำให้มีญาณ เป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อ
    นิพพาน นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว มรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐนี้แล คือ
    ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีพชอบ
    ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
    ความปฏิบัติปานกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้นั้น อันตถาคตรู้พร้อมด้วย
    ปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้มีจักษุ ทำให้มีญาณ เป็นไปเพื่อความเข้าไป
    สงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน นั่น เราอาศัยมรรคมีองค์ ๘
    อันประเสริฐดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
    [๖๕๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงรู้จักการยกยอและการตำหนิ ครั้น-
    *รู้แล้ว ไม่พึงยกยอ ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น นั่น เราอาศัยอะไร
    กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรเป็นการยกยอ เป็นการตำหนิ และไม่
    เป็นการแสดงธรรม คือ เมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใดตามประกอบความประกอบ
    เนืองๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน
    เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้น
    ทั้งหมดมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด
    ดังนี้ ชื่อว่าตำหนิชนพวกหนึ่ง เมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใดไม่ตามประกอบความ
    ประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลว เป็น
    ของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
    ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความ
    เร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ดังนี้ ชื่อว่ายกยอชนพวกหนึ่ง เมื่อกล่าวว่า
    ชนเหล่าใดประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อัน
    เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด
    มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด ดังนี้
    ชื่อว่าตำหนิชนพวกหนึ่ง เมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใดไม่ตามประกอบความเพียรเครื่อง
    ประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย
    ประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ
    ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ดังนี้ ชื่อว่ายกยอชนพวกหนึ่ง เมื่อกล่าวว่า
    ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังละสัญโญชน์ในภพไม่ได้แล้ว ชนเหล่านั้นทั้งหมด มีทุกข์
    มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด ดังนี้ ชื่อว่า
    ตำหนิชนพวกหนึ่ง เมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งละสัญโญชน์ในภพได้แล้ว
    ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความ
    เร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ดังนี้ ชื่อว่ายกยอชนพวกหนึ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อย่างนี้แล เป็นการยกยอ เป็นการตำหนิ และไม่เป็นการแสดงธรรม ฯ
    [๖๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ไม่เป็นการยกยอ ไม่เป็นการ
    ตำหนิ เป็นการแสดงธรรมแท้ คือ ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดตามประกอบ
    ความประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลว
    เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
    ชนเหล่านั้นทั้งหมด มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน
    เป็นผู้ปฏิบัติผิด กล่าวอยู่ว่า อันความตามประกอบนี้แล เป็นธรรม มีทุกข์
    มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด ดังนี้ ชื่อว่า
    แสดงแต่ธรรมเท่านั้น ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดไม่ตามประกอบความ
    ประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลว เป็น
    ของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
    ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มี
    ความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ กล่าวอยู่ว่า อันความตามประกอบนี้แล เป็น
    ธรรม ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน
    เป็นความปฏิบัติชอบ ดังนี้ ชื่อว่า แสดงแต่ธรรมเท่านั้น ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า
    ชนเหล่าใดประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์
    ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด มีทุกข์ มี
    ความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด กล่าวอยู่ว่า อันความ
    ตามประกอบนี้แล เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน
    เป็นความปฏิบัติผิด ดังนี้ ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใด
    ไม่ตามประกอบ ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่
    ของพระอริยะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความ
    คับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ กล่าวอยู่ว่า อัน
    ความไม่ตามประกอบนี้แล เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ
    ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ ดังนี้ ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น ไม่
    กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังละสัญโญชน์ในภพไม่ได้แล้ว ชนเหล่านั้น
    ทั้งหมด มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด
    กล่าวอยู่ว่า เมื่อยังละสัญโญชน์ในภพไม่ได้แล้วแล ภพย่อมเป็นอันละไม่ได้
    ดังนี้ ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
    ละสัญโญชน์ในภพได้แล้ว ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ
    ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ กล่าวอยู่ว่า ก็เมื่อละ
    สัญโญชน์ในภพได้แล้วแล ภพย่อมเป็นอันละได้ ดังนี้ ชื่อว่าแสดงแต่ธรรม
    เท่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ไม่เป็นการยกยอ ไม่เป็นการตำหนิ เป็น
    การแสดงธรรมแท้ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงรู้จักการยกยอและการตำหนิ ครั้นรู้แล้ว
    ไม่พึงยกยอ ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น นั่น เราอาศัยเนื้อความดังนี้
    กล่าวแล้ว ฯ
    [๖๕๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงรู้ตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว พึง
    ประกอบเนืองๆ ซึ่งความสุขภายใน นั่น เราอาศัยอะไร กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย กามคุณนี้มี ๕ อย่างแล ๕ อย่าง เป็นไฉน คือ รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุอัน
    น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ
    กำหนัด เสียงที่รู้ได้ด้วยโสต ... กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ... รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา ...
    โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบ
    ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด นี้แลกามคุณ ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข
    โสมนัสใดแล อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้น สุขโสมนัสนี้ เรียกว่าสุขอาศัย
    กาม สุขของปุถุชน สุขในที่ลับ ไม่ใช่สุขของพระอริยะ เรากล่าวว่า ไม่พึง
    เสพ ไม่พึงให้เจริญ ไม่พึงทำให้มาก พึงกลัวสุขนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข
    เกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌาน ... อยู่ เป็นผู้วางเฉย เพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะ
    อยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ... อยู่ เข้าจตุตถฌาน ... อยู่
    นี้เรียกว่า สุขอาศัยเนกขัมมะ สุขเกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความสงบ
    สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ เรากล่าวว่า พึงเสพให้มาก พึงให้เจริญ พึงทำให้มาก
    ไม่พึงกลัวสุขนี้ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงรู้ตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว พึงประ-
    *กอบเนืองๆ ซึ่งความสุขภายใน นั่น เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
    [๖๖๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงกล่าววาทะลับหลัง ไม่พึงกล่าวคำ
    ล่วงเกินต่อหน้า นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในประการ
    แรกนั้น พึงรู้วาทะลับหลังใด ไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
    ไม่พึงกล่าววาทะลับหลังนั้นเป็นอันขาด แม้รู้วาทะลับหลังใดจริง แท้ แต่ไม่
    ประกอบด้วยประโยชน์ ก็พึงสำเหนียกเพื่อจะไม่กล่าววาทะลับหลังนั้น และรู้
    วาทะลับหลังใดจริง แท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น พึงเป็นผู้รู้จักกาล
    เพื่อจะกล่าววาทะลับหลังนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในประการหลังนั้น พึงรู้คำล่วง
    เกินต่อหน้าใด ไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่พึงกล่าวคำ
    ล่วงเกินต่อหน้านั้นเป็นอันขาด แม้รู้คำล่วงเกินต่อหน้าใด จริง แท้ แต่ไม่
    ประกอบด้วยประโยชน์ ก็พึงสำเหนียกเพื่อจะไม่กล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้น และ
    รู้คำล่วงเกินต่อหน้าใด จริง แท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น พึงเป็น
    ผู้รู้จักกาลเพื่อจะกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้น ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงกล่าววาทะ
    ลับหลัง ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า นั่น เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
    [๖๖๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงเป็นผู้ไม่รีบด่วนพูด อย่าพูดรีบด่วน
    นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในประการแรกนั้น เมื่อรีบด่วน
    พูด กายก็ลำบาก จิตก็แกว่ง เสียงก็พร่า คอก็เครือ แม้คำพูดของผู้ที่รีบด่วนพูด
    ก็ไม่สละสลวย ไม่พึงรู้ชัดได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในประการหลังนั้น เมื่อไม่
    รีบด่วนพูด กายไม่ลำบาก จิตก็ไม่แกว่ง เสียงก็ไม่พร่า คอก็ไม่เครือ แม้คำ
    พูดของผู้ที่ไม่รีบด่วนพูด ก็สละสลวย พึงรู้ชัดได้ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงเป็น
    ผู้ไม่รีบด่วนพูด อย่าพูดรีบด่วน นั่น เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
    [๖๖๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงปรักปรำภาษาชนบท ไม่พึงล่วง
    เลยคำพูดสามัญเสีย นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร
    เล่า เป็นการปรักปรำภาษาชนบท และเป็นการล่วงเลยคำพูดสามัญ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภาชนะนั่นแลในโลกนี้ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปาตี ในบาง
    ชนบท เขาหมายรู้ว่า ปัตตะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปิฏฐะ ในบาง
    ชนบท เขาหมายรู้ว่า สราวะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า หโลสะ ในบาง
    ชนบท เขาหมายรู้ว่า โปณะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า หนะ ในบางชนบท
    เขาหมายรู้ว่า ปิปิละ ภิกษุพูดปรักปรำโดยประการที่ชนทั้งหลายหมายรู้เรื่องภาชนะ
    นั้นกันดังนี้ ในชนบทนั้นๆ ตามกำลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า
    อย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นการปรักปรำภาษาชนบท และเป็นการล่วงเลยคำพูดสามัญ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า เป็นการไม่ปรักปรำภาษาชนบท และเป็นการไม่
    ล่วงเลยคำพูดสามัญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภาชนะนั่นแลในโลกนี้ ในบางชนบท
    เขาหมายรู้ว่า ปาตี ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปัตตะ ในบางชนบท เขา
    หมายรู้ว่า ปิฏฐะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า สราวะ ในบางชนบท เขาหมาย
    รู้ว่า หโลสะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า โปณะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า
    หนะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปิปิละ ภิกษุพูดโดยประการที่ชนทั้งหลาย
    หมายรู้เรื่องภาชนะกันดังนี้ ในชนบทนั้นๆ อย่างไม่ใช่ความแน่ใจว่า เป็นอัน
    ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พูดแก่ข้าพเจ้าหมายถึงภาชนะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้
    แล ชื่อว่าเป็นการไม่ปรักปรำภาษาชนบท และเป็นการไม่ล่วงเลยคำพูดสามัญ
    ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงปรักปรำภาษาชนบท ไม่พึงล่วงเลยคำพูดสามัญ นั่น
    เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
    [๖๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ความประกอบเนืองๆ
    ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุขเพราะสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็น
    ของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์
    มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น
    ธรรมนี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์ แต่การไม่ตามประกอบความประกอบเนืองๆ ซึ่ง
    โสมนัสของคนที่มีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของ
    ปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์
    ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ
    เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์ ฯ
    [๖๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ความเพียรเครื่องประกอบ
    ตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
    นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติ
    ผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์ แต่การไม่ตามประกอบความ
    เพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ
    ด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มี
    ความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์ ฯ
    [๖๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ความปฏิบัติปานกลาง
    อันตถาคตรู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้มีจักษุ ทำให้มีญาณ
    เป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน นี้เป็น
    ธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความ
    ปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์ ฯ
    [๖๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น การยกยอ การตำหนิ
    และไม่ใช่เป็นการแสดงธรรม นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ
    มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์
    แต่การไม่ยกยอ การไม่ตำหนิ การแสดงแต่ธรรมเท่านั้น นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์
    ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ
    เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์ ฯ
    [๖๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น กามสุขนี้ใด เป็น
    สุขอากูล สุขของปุถุชน สุขไม่ประเสริฐ ธรรมนั้นมีทุกข์ มีความคับใจ มี
    ความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึง
    มีกิเลสต้องรณรงค์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น สุขอาศัยเนกขัมมะ สุข
    เกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ นี้เป็นธรรมไม่มี
    ทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ
    เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์ ฯ
    [๖๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น วาทะลับหลังซึ่งไม่เป็น
    จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มี
    ความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมี
    กิเลสต้องรณรงค์ แม้วาทะลับหลังซึ่งจริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
    นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความ
    ปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้ก็ยังมีกิเลสต้องรณรงค์ ส่วนวาทะลับหลังซึ่งจริง
    แท้ ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความ
    แค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มี
    กิเลสต้องรณรงค์ ฯ
    [๖๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น คำกล่าวล่วงเกินต่อหน้า
    ซึ่งไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความ
    คับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรม
    นี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์ แม้คำกล่าวล่วงเกินต่อหน้าซึ่งจริง แท้ แต่ไม่ประกอบ
    ด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน
    เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์ แต่คำกล่าว
    ล่วงเกินต่อหน้าซึ่งจริง แท้ ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มี
    ความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะ
    ฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์ ฯ
    [๖๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น คำที่ผู้รีบด่วนพูด นี้เป็น
    ธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด
    เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์ แต่คำที่ผู้ไม่รีบด่วนพูด นี้เป็น
    ธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความ
    ปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์ ฯ
    [๖๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น การปรักปรำภาษาชนบท
    และการล่วงเลยคำพูดสามัญ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ
    มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์
    แต่การไม่ปรักปรำภาษาชนบท และการไม่ล่วงเลยคำพูดสามัญ นี้เป็นธรรมไม่มี
    ทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติ
    ชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์ ฯ
    [๖๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แลว่า
    เราทั้งหลายจักรู้ธรรมยังมีกิเลสต้องรณรงค์ และรู้ธรรมไม่มีกิเลสต้องรณรงค์ ครั้น
    รู้แล้ว จักปฏิบัติปฏิปทา ไม่มีกิเลสต้องรณรงค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แหละ
    กุลบุตรสุภูติ ปฏิบัติปฏิปทาไม่มีกิเลสต้องรณรงค์แล้ว ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ อรณวิภังคสูตร ที่ ๙
     
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ว่าด้วยอรณวิหารญาณ ญาณทั้ง ๔ มีอรณวิหารญาณเป็นต้น ท่านยกขึ้นแสดงในลำดับแห่งญาณนี้ เพราะเกิดแก่พระอริยะทั้งหลายผู้บรรลุอริยผลด้วย มรรคญาณนี้เท่านั้น.
    ก็ในญาณทั้ง ๔ แม้นั้น ท่านยกอรณวิหารญาณขึ้นแสดงก่อน เพราะเกิดติดต่อกันไปแก่พระอรหันต์นั่นแล, และต่อแต่นั้น ท่านก็ยกนิโรธสมาปัตติญาณขึ้นแสดง เพราะนิโรธสมาบัตินั้นเป็นธรรมมีสัมภาระมาก แม้ในเมื่อเกิดแก่พระอนาคามีและพระอรหันต์ และเพราะนิโรธสมาบัติเป็นธรรมอันท่านสมมุติว่าเป็นนิพพานโดยพิเศษ, ต่อจากนั้น ท่านก็ยกปรินิพพานญาณขึ้นแสดงว่า ทีฆกาลิกะ - มีกาลนาน เพราะตั้งอยู่จดกาลเป็นที่ปรินิพพานในระหว่างกาลปรินิพพาน, ในลำดับต่อจากนั้นท่านก็ยกสมสีสัฏฐญาณขึ้นแสดงว่า รัสสกาลิกะ - มีกาลสั้น เพราะตั้งอยู่จดกาลเป็นที่ปรินิพพาน ในลำดับแห่งการสิ้นกิเลสทั้งปวงของพระอรหันต์ผู้สมสีสะ.
    บรรดาคำเหล่านั้น จ อักษรในคำว่า สนฺโต จ พึงแปลควบเข้ากับบทแม้ทั้ง ๓ ดังนี้คือ ทสฺสนาธิปเตยฺยํ จ, สนฺโต วิหาราคโม จ, ปณีตาธิมุตฺตตา จ.
    (พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้)
    คำว่า ทสฺสนํ - การเห็น ได้แก่ วิปัสสนาญาณ,
    ความเป็นใหญ่นั่นแหละ ชื่อว่าอาธิปเตยยะ ความเป็นแห่งความเป็นใหญ่,
    อีกอย่างหนึ่ง เพราะบรรลุถึงโดยอธิปติ จึงชื่อว่า อาธิปเตยฺยํ - ความเป็นแห่งความเป็นใหญ่, ทัสนะคือวิปัสสนาญาณนั้นด้วย เป็นอาธิปเตยยะด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่าทัสนาธิปเตยยะ - วิปัสสนาญาณเป็นอธิปติ.๑-
    ____________________________
    ๑- วีมังสาธิปติ.

    ธรรมใดย่อมอยู่ ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่าวิหาระ, หรือว่าพระโยคีบุคคลย่อมอยู่ด้วยธรรมนั้น ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่าวิหาระ เป็นเครื่องอยู่ของพระโยคีบุคคล, ธรรมใดอันพระโยคีบุคคลย่อมถึงทับคือย่อมบรรลุ ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่าอธิคมะ - ธรรมอันพระโยคีบุคคลบรรลุ, วิหารธรรมนั่นแหละเป็นองค์คุณที่บรรลุ ฉะนั้น จึงชื่อว่าวิหาราธิคมะ - วิหารธรรมที่บรรลุ.
    ก็วิหาราธิคมนั้นเป็นนิพพุตะดับสนิทเพราะเว้นจากการเบียดเบียนของกิเลส ฉะนั้น จึงชื่อว่าสันตะ - สงบ.
    ก็สันตะนั้นคืออรหัตผลสมาปัตติปัญญา.
    เพราะอรรถว่าสูงสุดและเพราะอรรถว่าไม่ทำให้เร่าร้อน จึงชื่อว่าปณีตะ.
    อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าปณีตะ - เพราะนำไปสู่ความเป็นประธาน.
    การมีใจน้อมไป คือมีจิตส่งไปแล้วในปณีตะมีผลสมาบัตินั้นเป็นอย่างยิ่ง ชื่อว่าปณีตาธิมุตตะ - น้อมใจไปในผลสมาบัติ, ความเป็นแห่งการน้อมใจไปในผลสมาบัตินั้น ชื่อว่าปณีตาธิมุตตตา - ความน้อมใจไปในผลสมาบัติอันประณีต.
    ก็ปณีตาธิมุตตตานั้นเป็นบุรพภาคปัญญามีอันน้อมใจไปในผลสมาบัติแล.
    คำว่า อรณวิหาเร - ในวิหารธรรมอันไม่มีกิเลสเป็นข้าศึก ได้แก่วิหารธรรมมีกิเลสไปปราศแล้ว.
    จริงอยู่ กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ย่อมรุกราน บดขยี้ เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น ราคาทิกิเลสนั้นจึงชื่อว่ารณา ผู้เบียดเบียน.
    อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายย่อมร้องไห้คร่ำครวญร่ำไรด้วยราคาทิกิเลสเหล่านั้น ฉะนั้น ราคาทิกิเลสเหล่านั้นจึงชื่อว่ารณา - กิเลสเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้คร่ำครวญ,
    วิหารธรรมแม้ทั้ง ๓ อย่าง ท่านได้กล่าวไว้แล้ว.
    รณะคือกิเลสเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้คร่ำครวญไม่มีแก่ธรรมนี้ ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าอรณะ, พระอริยบุคคลย่อมนำธรรมอันเป็นข้าศึกออกได้ด้วยธรรมนั้น ฉะนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่าวิหาระ นำธรรมที่เป็นข้าศึกออก. อรณธรรมนั้นก็ชื่อว่าวิหารธรรม.
    ในนิทเทสวาระ๒- ปฐมฌานเป็นต้น ท่านสงเคราะห์ไว้ในปณีตาธิมุตตตาเหมือนกัน. ก็เพราะประสงค์จะเข้าผลสมาบัติ จึงเข้าฌานมีปฐมฌานเป็นต้นออกแล้ว เห็นแจ้งธรรมที่สัมปยุตกับฌาน,
    ก็อรณปฏิปทาอันใดอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วในอรณวิภังคสูตร๓- อรณปฏิปทาแม้นั้น ก็พึงทราบว่าท่านสงเคราะห์ด้วยข้อนี้แล.
     
  4. zalievan

    zalievan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    3,268
    ค่าพลัง:
    +5,219
    ปัญญาใช้ดับความชั่วได้ก็ต่อเมื่อ คนพูดกับคนฟังเข้าใจตรงกันว่า ปัญญาที่ว่านี้หมายถึง อะไร ครับ

    การที่จะนับสิบได้ ต้องเริ่มจาก 0
    อยู่ ๆ ไปริ่มนับสิบเลย ก็ไม่รู้ว่า ระหว่างทางมันมีเลขไหนแหละครับ

    นับ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ให้ตรงกันแล้วคุยกันมันจะรู้เรื่องกว่า
     
  5. VisionPower

    VisionPower เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    1,168
    ค่าพลัง:
    +485
    ประเทศไทยก็ยังแปลความหมายผิดๆ ให้หลงกันต่อไปนั้นล่ะ
    ก็อยู่กันแบบนี้ล่ะ แล้วก็หลอกๆ กันว่าเราจะเจริญแล้ว 55555

     
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ผมสงสัยและเสียใจอยู่อย่างหนึ่งในผลกระทบความไม่เท่าเทียมการโกงกินคอรัปชั่น ยกตัวอย่างเช่น ว่าประเทศไทยเรามีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอยู่มากโข การส่งออกก็อันดับต้นๆใน200ประเทศแต่คนไทยกลับยากจน ข้าวสารไม่พอติดยุ้งข้าวติดถังไว้กินกันบางบ้านไม่มีอาหารเลยจนต้องฆ่าตัวตายก็มี รายได้จากการขายข้าวต่อปี น้อยกว่าการเก็บค่าทางด่วนอีกต่อปี อันนี้ผมคิดเองนะ สงสารคนไทยครับ คนรวยมีที่เป็นหมื่นแสนล้านไร่ต่อคน แต่คนจนที่ซุกหัวนอนไม่มีเลย นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้พี่ๆน้องๆหมดอาลัยตายอยากหรือเปล่าครับ ผมอยากให้มี สามหน่อโพธิศรี ทรงเสด็จมาปราบพยศความโลภคนจริงๆ ไม่อยากให้โทษกันเอง
     
  7. VisionPower

    VisionPower เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    1,168
    ค่าพลัง:
    +485
    เงินทองไม่ได้ช่วยคนได้ถาวร หรอกครับ ต่อให้มีมากแค่ไหน
    ถ้าหารจำนวนคนทั้งประเทศ มันไม่พอเลยนะ กลายเป็นเศษเงินเลย

    ดังนั้น การพึ่งพาตนเองได้ การมีที่พอเพาะปลูกมีผลผลิตพอเลี้ยงครอบครัวได้
    นั้นคือสิ่งที่ยั่งยืน .. พยายามอย่าไปหลงกับมายา สิ่งของเครื่องใช้
    ที่กระแสสังคมมันหลอก ที่เขาโชว์นั้นก็เพื่อให้เกิดการซื้อหา แล้วคนผลิตก็จะร่ำรวย

    ดังนั้น การมีปัญญา ปัญญาคือรู้ผลลัพธ์ว่าชีวิตเรา ควรจะต้องทำตัวอย่างไร
    เพื่อที่จะปลอดภัยจากกระแสสังคม และมีความสุขอย่างพอเหมาะกับตัวเอง
    (ในทางกลับกัน ถ้าปล่อยถลำไปตามกระแสสังคม ซึ่งแรกๆ จะดูดี
    แต่สุดท้ายมีโอกาสหลงทางไปก่อทุกข์มหันได้ง่ายๆ นะ)
    ยังไม่ต้องนึกไปไกลถึงปัญญาที่จะไปร่ำไปรวยหรอก เอาปัญญารักษาตัวเอง
    รักษาความดีของตัวเองนี้ล่ะ คนดีมีปัญญาด้วยกัน ย่อมรู้ ย่อมมองออก และเข้าจะชมเชย
    ส่วนคนโง่ แม้มีเงินทองมาก เค้าก็ดูไม่ออกหรอกนะ

    สังคม .แบบไทยๆ (ทางโลก) ไม่ได้ช่วยหาทางออกให้คนทั่วไป .. อย่าเพิ่งไปหวังพึ่งมาก
    เพราะถ้าพิจารณาระดับความคิดแล้ว ไม่ได้ล้ำเลิศมาก พอจะหวังพึ่งได้ ดังนั้น อย่าไปหวังพึ่งมาก
    พึ่งตัวเองได้นั้นล่ะ ประเสริฐ เพราะอะไร? เพราะเมื่อพึ่งตนได้ เราย่อมมีกำลัง
    ที่จะช่วยคนอื่นได้ อย่างน้อยก็คนในครอบครัว เพราะไม่เช่นนั้น เราก็ต้องปล่อย
    ให้เป็นภาระของสังคมซึ่งเป็นการซ้ำเติมกันไปอีก เพราะในยุคนี้คนมันจะลำบากขึ้นเรื่อยๆนะ


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ธันวาคม 2017
  8. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ไม่มีระบบอะไรที่จะทำให้คนตีบตัน ได้บรรลุถึงความฉลาด (ปัญญา)ได้คราวละเป็นฝูงๆ

    และความพยายามที่จะค้นหาหรือ
    พัฒนาระบบให้คน ได้บรรลุถึงปัญญาเป็นล๊อตๆ ก็ยังไม่เคยปรากฎว่าใครทำได้สำเร็จ
    จนกว่าจะค้นให้
    พบวิธีตรวจสอบว่าสาเหตุที่ทำให้คน
    เขลาทึบกันที่ละค่อนประเทศนั้นมาจากอะไรเสียก่อน
    จึงค่อยคิดค้นหามาแก้จุดด้อยนั้น
     
  9. VisionPower

    VisionPower เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    1,168
    ค่าพลัง:
    +485
    เรียกหน่วยเป็น .. ฝูง เลยเหรอลุง .. ฮาเลยครับ
     
  10. zalievan

    zalievan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    3,268
    ค่าพลัง:
    +5,219
    เมื่อคนเราพูดถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่มีความหมายกว้าง ๆ

    สามัญสำนึกของเรามักจะเชื่อมโยงสิ่งที่ใกล้ตัวของเราที่สุดมาก่อนเสมอ
    เช่น สิ่งที่ตัวเองเคยชิน สิ่งที่ตัวเองได้รับข้อมูลมา สิ่งที่ตัวเองประมวลผลได้ว่าหมายความว่าอย่างนั้น
    คนใกล้ธรรมก็คิดไปในทางธรรม คนใกล้โลกีย์ก็คิดไปทางด้านโลกีย์ คนคดก็คิดไปทางด้านคดโกงฉ้อฉล

    ผมว่าวิธีแก้ปัญหาก็คือพูดโดยให้รายละเอียดมากที่สุดน่ะนะ จะได้เข้าใจให้มันตรงกันไปเลย
    แม้บางคนจะมองว่าเป็นการกระทำโง่ ๆ ก็เถอะ
     
  11. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    จะดี จะชั่ว จะเขลาหรือมีปัญญาแจ่มใส
    ล้วนมีกรรมเป็นปัจจัยกำหนดนำหน้าพา
    ดำเนินไป
    คนที่จะต่อสู้หรือเอาชนะวิบากกรรมได้
    ก็ต้องมีปัญญาเห็นธรรม เคารพธรรม
    และใช้ปัญญาสร้างกรรมปัจจุบัน
    ที่เป็นกุศลกรรมอย่างเดียว
    ก็จะพอบรรเทาผ่อนหนักเป็นเบา
    ผ่อนทุกข์มากเป็นทุกข์น้อยได้ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...