ถามเรื่องขณะการเดินจงกรม

ในห้อง 'ทุกข์และปัญหาชีวิต' ตั้งกระทู้โดย devil005, 26 มิถุนายน 2018.

  1. devil005

    devil005 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2017
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +27
    เวลาเดินจงกรม ขณะที่กำหนดจิตให้นึกถึงการ ยก ยาง เหยียบ อยู่สักแป๊บ ก็เหมือนมีอีกจิต ไปคิดอย่างอื่นแบบนี้ แต่ก็รู้สึกว่าเรากำลังยก ยาง เหยียบอย่างถูกต้องไม่ได้หลุดไป เหมือนมี 2 จิต เลยค่ะ เพราะอะไรค่ะ ขอบคุณค่ะ
     
  2. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,366
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,869
    รู้สึกเหมือนว่ามี 2 อันนี้ผมถือว่าแยบคายดีละครับ หากเข้าใจว่ามันเป็นอันเดียวกันนี้
    แสดงว่ายังไม่แยบคาย คือยังแยกไม่ออก เป็นการขาดโยนิโสมนสิการ

    นึกคิด ปรุงแต่ง ในลักษณะที่เราไม่จำเป็นที่จะต้องไปคิดเองนั้น
    ก็เปรียบเสมือนกับ ผมรู้ร่างกายทั่วทุกอิริยาบถ แล้วเดินออกจากบ้านไปกระทบกับแดดแล้ว
    เกิดเป็น เวทนา ร้อนที่ร่างกาย ในส่วนที่เกิดขึ้นตรงนี้คือผมนั้นไม่ได้คิดขึ้นมาเอง
    แต่เป็นในส่วนของร่างกายที่ นึกคิด ปรุงแต่ง ให้เกิดขึ้น ก็จะเป็นการแบ่งส่วน
    รู้ (ร่างกาย + เวทนาร้อนที่เกิดขึ้น หรือ ร่างกายนึกคิด ปรุงแต่งนั้นหละ)

    จิต = รู้
    สัมปชัญญะ = รู้สึก

    รู้นี้ไม่ได้มี 2 เพียงแต่ว่าในส่วนที่เรามีสัมปชัญญะร่างกาย นั้นทำให้เรารับทราบถึงความ
    นึกคิด ปรุงแต่ง ของร่างกายเราได้ทั่วถึง

    และในอีกกรณีหนึ่ง สมมุติ ผมไปนั่งชมการแข่งขันฟุตบอลอยู่
    พื้นที่ทั้งสนามฟุตบอลที่มีผู้เล่นกำลังแข่งขันกันอยู่ คือพื้นที่ร่างกายที่นึกคิด ปรุงแต่ง กันอยู่
    ส่วนผมที่เป็นผู้เข้าชม คือ จิต ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง

    ก็จะมีในส่วนทั้งที่นึกคิดขึ้นมาเองที่ผมไม่ได้เข้าไปกระทำอะไรเพราะนั่งชมเฉยๆ
    และอีกส่วนคือ ผมเข้าไปสมรู้ร่วมคิดกับในสนามด้วย
    ชมเฉยๆอาจจะไม่ถึงใจขอแจมเรื่องในสนามซักหน่อย ก็จะประมาณนั้น
    แต่หากจะว่ากันตามจริงมันก็คือการเข้าไป เผือก อย่างหนึ่งนี้หละ

    ก็จะพอสังเกตได้ว่า ความนึกคิด ปรุงแต่ง นั้นจะพอมีให้สังเกตได้ 2 ประเภท
    ในสนามส่วนหนึ่ง ผู้เข้าชมส่วนหนึ่ง

    เวลาผมสังเกตนี้ผมจะใช้คำว่า รู้ร่างกาย ส่วนกำหนดจิต หรือ กำหนดรู้ แบบ
    ซ้ายหนอ ขวาหนอ ย่างหนอ อะไรทำนองนี้ผมจะไม่ค่อยได้ใช้เท่าไหร่
    คือผมจะไม่ค่อยได้ใช้คำบริกรรมอะไรๆ

    การสังเกตที่ค่อยๆแยกออกเป็นเรื่องๆเป็นในส่วนโยนิโสมนสิการ ช้วยแก้ความหลงได้
    หากขาดในส่วนโยนิโสมนสิการไป ทั้งหมดของสนาม ทั้งผู้เข้าชมทั้งหมด
    ก็เป็นคนเดียวกันนี้หละเสมือนกับการ หยิบซื้อลำไยในตลาด หยิบมาก้านเดียวแต่ติดมาทั้งพวง

    ปัญหาที่ติดตามมานั้นมีแน่เพราะเราจะไปเอา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    มาเหมารวมไปว่ามันเป็นตัว รู้ ซึ่งมันเป็นตัวปรุงแต่งที่มีของมันเอง ซึ่งมันก็ไม่ได้รู้ตัวของมันเอง

    เปรียบเสมือน หิน ใช่ว่ามันจะรู้ตัวมันเองว่ามัน เป็น หิน
    สิ่งที่ถูกรู้ใช่ว่ามันจะรู้ตัวของมันเองว่ามันเป็นอะไร

    เท่านี้ละกันครับ ขอให้มีความสุขครับ
     
  3. devil005

    devil005 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2017
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +27
  4. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,366
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,869
    สั้น ยาว / ลึก ตื้น / กว้าง แคบ / หนา บาง

    ในส่วนต่างๆเหล่านี้คือการ กะประมาณ แต่ทีนี้ความเข้าใจนั้นจะยังไม่ใช่การกะประมาณครับ

    หากผมหายใจเข้าสั้น / ตื้น การทำงานสัญญา หรือ ความจำ ในช่วงเวลาลมที่ผ่านมานั้นคือ สั้น
    หากผมหายใจเข้ายาว / ลึก การทำงานสัญญา หรือ ความจำ ในช่วงเวลาลมที่ผ่านมานั้นคือยาว

    หากผมกินน้ำมะนาว เมื่อน้ำมะนาวสัมผัสกับลิ้นก็เกิดเคมี หรือ สังขารกาย ในส่วนของลิ้น
    สังขาร ก็ปรุงแต่งการ รับรู้ขึ้นมาหรือเรียกว่าวิญญาณ การรับรู้ก็รับรู้ในส่วนของรูปธาตุ 4
    กับอารมณ์ของธาตุ 4 และทั้งรูปและอารมณ์ที่รับทราบมาแล้ว ก็จะถูกเก็บไว้ที่สัญญา

    สัญญา ก็จะได้ความรู้ตามความเป็นจริงว่า เปรี้ยว นั้นมีรูป มีนาม เป็นแบบนี้นะ

    ภูมิ = พื้นที่ รู้ = ก็รู้หนะหละ

    ทีนี้ในแง่ทางธรรม ไม่ใช่ว่าคุณต้องมีภูมิรู้ หรือ วิชาความรู้ รอบโลกก่อนนะครับ
    ถึงจะได้ความเข้าใจ หากร่างกายคุณไม่ได้พิกลพิการ พื้นที่รู้
    คุณนั้นย่อมมีไม่ได้ต่างอะไรจากคนอื่นๆ เพียงแค่คุณมี สติ สัมปชัญญะ ทั่วทั้งร่างกาย

    อย่าเพิ่งประเมิน ศักยภาพ ตัวเราเองไว้ต้อยต่ำครับ

    คุณอยู่ในสภาพนี้อยู่หรือ คุณถึงว่าคุณมีพื้นที่รู้น้อย


    1366972754-Mananangga-o.gif

    ลิ้น ผมก็รับรสได้ เปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด ขม จืด เหมือนกับคุณนั้นหละครับ

    การตัดสินว่า คนหายใจสั้น เป็นคนต้อยต่ำกว่า คนหายใจที่ยาวกว่าเพราะมีระยะทาง
    การรับรู้ลมในช่วง ที่ไม่เท่ากัน ในส่วนนั้นเป็น สักกายะทิฐิ ครับ

    สักกายะทิฐิ คือการ สำคัญตัว

    สำคัญตัวไว้ว่าสูงกว่าเขา
    สำคัญตัวไว้ว่าเสมอเขา

    สำคัญตัวไว้ว่าต่ำกว่าเขา

    หายใจสั้นเป็นผู้ตื้นเขินไม่ลึกซึ้ง หายใจได้ยาวเป็นผู้ลึกซึ้งเป็นผู้ไม่ตื้นเขิน
    อันนี้ล้วนแล้วแต่ สำคัญตัวตามระยะสัญญา แต่เพียงแค่นั้น

    ไม่ว่าจะสั้น/ตื้น หรือ ลึก/ยาว ก็เพียงแต่รับทราบตามความเป็นจริงไว้แต่เพียงแค่นั้น

    ธรรมะ เป็น อนัตตา ขอให้มีความสุขครับ
     
  5. JAKANUSSATI

    JAKANUSSATI สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2018
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +2
    ผมขออนุญาตร่วมตอบกระทู้ด้วยนะครับ ผมรู้น้อยขอตอบแบบบ้านๆตามที่พอจะเคยสัมผัสได้นะครับ

    สิ่งที่คุณเป็น คือ จิตคุณมีกำลังพอจะทำแค่รู้ได้ ทำให้จิตรู้แยกต่างหากจากความปรุงแต่งจิต..

    ..เป็นสภาวะที่เกิดจาก ตัวรู้ ทำความรู้โดยแยกจากตัวปรุง ..เกิดจากชั่วขณะหนึ่งที่จิตเรานิ่งมีกำลังตามสติที่ทำเพียงระลึกรู้ จิตไม่ทำเจตนาเข้าไปหาอารมณ์ทำเพียงสักแต่ว่ารู้ ..ทำให้ตัวปรุงแต่งอันเกิดจากจิต คือ ความคิด วิตก (คำบริกรรม ยก ย่าง เหยียบ) และ ความแนบอารมณ์สิ่งที่เราบริกรรมกำกับอยู่ ได้แก่อาการของกายที่เคลื่อนไหวไป คือ วิจาร มีในส่วนหนึ่ง, จิตทำการสั่งกาย คือ เจตนาที่สั่งกายให้ไหวไปก็อยู่ ณ ที่หนึ่ง ทำงานของมันไปตามสังขาร ส่วนตัวที่รู้สิ่งทั้งหมดการทำงานของขันธ์อยู่นั้น คือ มโน เป็นจิต เป็นตัวรู้ของเรา ที่อยู่ท่ามกลางการทำงานเหล่านั้นของขันธ์

    ซึ่งจะเกิดมีทั่วไปกับคนที่จิตสงบนิ่งรวมตั้งมั่นตั้งแต่ขณิกะสมาธิละเอียด ความสงบใจ ไปจนถึง อุปจาระฌาณ

    ..เหมือนคนที่บริกรรมพุทโธ พอจิตนิ่ง เหมือนตนไม่ได้บริกรรม ไปรู้ตามอยู่สิ่งหนึ่ง แต่คำบริกรรมก็ยังดำเนินไปของมันอยู่ตราบที่จิตยังสั่งทำ ยังแนบอารมณ์กับลมหายใจอยู่
    ..หากทำแค่รู้จนผ่านจุดนี้ไปได้ จะเข้าอุปจาระฌาณละเอียดได้ มีความคิดอยู่แต่จะวูบนิ่งแช่รู้สลับกัน จนเข้าอัปปนาสมาธิได้ครับ ..ให้จำคลองเก่าจำคลองเก่าที่เคยทำได้นี้ ..ก่อนเข้าเราทำยังไง พอเข้าได้เราทำยังไง จิตตั้งอยู่แบบไหน จึงมีกำลังรู้แบบนั้นได้ ..แล้วทำสะสมไปเรื่อยๆ จิตจะถึงพุทโธได้ ..ที่สำคัญจะรู้ทันทีว่า ธรรมของพระพุทธเจ้าคือของจริง จะหมดความสงสัยในพระพุทธเจ้าทันทีครับ

    ขออนุโมทนาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2018

แชร์หน้านี้

Loading...