เรื่องโม้ๆ ของผู้โง่เขลา

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ธรรม-กาล, 3 พฤศจิกายน 2018.

  1. แสน1

    แสน1 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ตุลาคม 2018
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +161
    รถตุ้กก่อนจะกลับ เห็นป้าย จปร. เลยคิดได้ว่า ตนเองกำลังฝัน

    รถตุ้กๆกลับมาจอดหน้า รร. มีป้อชายสักห้าคน ไม่ใส่เสื้อแต่ใส่ชฎา ใส่สร้อยสังวาลย์ สวมรองเท้าแบบมีกีบ

    บางคนก็ทำท่ายิงธนู บางคนถือดาบเรียวๆ
    บางคนถือหอก ...

    แล้วทั้งหมดก็วิ่งข้ามถนนมารอบๆข้างรถตุ้กๆที่ผู้ฝันนั่งอยู่ หรึ่งในนั้นพูดว่า ไหนๆอันตราย ใครจะมาทำอันตรายท่าน

    ผู้ฝันเลยบอกว่าไม่มี

    คนนั้นเลยพูดว่า อ้าว ท่านภาวนา เทวานังปิยะตังสุตตะวา ก็แปลว่า เทวดาอันเป็นที่รัก เมื่อได้ยินเสียงภาวนา ช่วยมาหาหน่อย มาคุ้มครองหน่อย
    ฝันๆ ขณะนอนใกล้ๆ รร จปร.
     
  2. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    กระทู้นี้ไม่ถอดจิตกับเค้าบ้างหรอ เดี๋ยวตกเทรนด์นะ

    ล้อเล่นค่ะ:D
     
  3. ธรรม-กาล

    ธรรม-กาล รอยต่อของลมหายใจ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +65
    แตกต่างบ้างสิ ถอดแต่จิต เดี๋ยวไม่มีคนมาอ่าน ฮา
     
  4. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    ขอยืมพื้นที่เจ้าของกระทู้โม้บ้าง คงไม่เป็นอะไรนะคะ:D
     
  5. ธรรม-กาล

    ธรรม-กาล รอยต่อของลมหายใจ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +65
    เชิญเลยครับผม
     
  6. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    ลบทิ้งแล้วนะ เปลืองพื้นที่

    มันเป็นเรื่องเก่าที่บันทึกไว้นานหลายปีแล้ว ตั้งแต่ที่ยังมีความลุ่มหลงตามกิเลส ความทะยานอยาก ยึดมั่นถือมั่นในตัวในตนอย่างหนาแน่น มีความอยากรู้อยากเห็นอยากเป็นอยากมีเหมือนใครหลายๆ คน แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป การสั่งสมสุตตะมากเข้า จินตะมากเข้า เข้าถึงภาวนาในระดับหนึ่ง ความคิดความเห็นกับเรื่องราวต่างๆ ที่เคยบันทึกไว้มันช่างเวิ่นเว้อ ดูตลกสิ้นดี นี่เราทำอะไรอยู่ หันกลับมาถามตนเอง จึงได้มองเห็นว่านั่นคือสิ่งที่ทุกคนล้วนต้องได้พบเจอ และข้ามผ่านมันไปให้ได้

    ขอเป็นกำลังใจให้กับนักสู้ผู้มีความแน่วแน่ในภาวนาปฏิปทาทุกท่านนะคะ

    เจริญในธรรมค่ะ
     
  7. ธรรม-กาล

    ธรรม-กาล รอยต่อของลมหายใจ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +65
    ในสมัยเด็ก เคยสงสัย คำว่า "กรรม" ที่ผู้ใหญ่ชอบใช้กัน อะไรคือกรรม แล้วทำไมชาตินี้ถึงต้องใช้กรรม แต่พอลองศึกษา และลองพิจารณาเทียบเคียง พร้อมๆกับหัดฝึกสติไปด้วย มีบางอย่างชวนให้คิดและพิจารณามากขึ้น ถ้ากรรมคือผลจากการกระทำ ชาติปัจจุบัน ผลของเศษกรรมอันนี้น่าจะส่งผลกับเราตั้งแต่ตอนเกิด คือทำให้เราเกิดที่ไหน ชาติไหนตระกูลไหน มีโรคมีภัยติดตัวมาหรือไม่ อันนี้น่าจะเห็นชัดสุด ว่ากรรมบันดาลให้คนเราเกิดในจุดที่แตกต่างกัน อะไรแบบนั้น แต่พอเกิดขึ้นมาเป็นตัวเป็นตนแล้ว กรรมจะส่งผลให้กับเรา ในอีกแบบ เป็นคนขี้โรค มีการทำให้เกิดสถานการที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หรือดลใจให้เราต้องกระทำอันนั้นต่อ นี่แหละคือผลของกรรม
    ถ้ามองกันจริงๆ กรรมในอดีตจะส่งผลให้เราน้อยครั้ง แต่กรรมอื่นๆที่เราทำในปัจจุบันนี่แหละส่งผลให้กับเราบ่อยครั้งมาก แต่ไม่มีใครสนใจกันเลย ทำอะไรผิดพลาดโยนไปหาอดีตที่มองไม่เห็นหรือจำไม่ได้หมดเลย แต่ไม่มองปัจจุบัน ว่าเหตุในปัจจุบันนี่แหละสร้างผลในอนาคต ไม่ว่าจะใกล้หรือไกลก็ตาม (หมอดูเลยได้ตังเยอะ เพราะมีแต่บอกให้แก้กรรมกันเยอะแยะ)
    แบบไหนหรือ ยกแบบเห็นได้ชัดๆ เอาการกินข้าวนี่แหละเห็นชัดดี เกิดเป็นมนุษย์ มีกรรมคือหิวอยู่ทุกวัน บันดาลให้เราต้องทานข้าว แต่เราจะทำยังไงให้ได้อาหารมาละ ตรงนี้ก็ไม่ขออธิบายเพราะยกมาก็เป็นเรื่องราวที่ต้องอธิบายกันยืดยาวเพราะเศษกรรมก็มีผลกับตรงนี้ เอาที่เห็นชัดๆ ถ้าเราไม่กิน เราก็หิว ถ้ากินก็อิ่ม นี่แหละชัดดี สร้างเหตุด้วยการกิน มีผลทำให้หายหิว ถ้าไม่กินละ ก็หิวก็ผอม หรืออดตาย นี่ก็สร้างเหตุในปัจจุบันและรับผลในปัจจุบัน
    ถ้าไม่อ่านหนังสือ ก็ไม่มีความรู้ ถ้าไม่เดินก็ไม่ไปไหน ตรงนี้ไม่มีคนคิดถึง แปลกดีเนอะ นี่ อะไรก็โทษไปที่กรรมทั้งหมด ยกอดีตเป็นผู้รับเคราะห์ไป แต่ปัจจุบันลืมดูตัวเอง หลงตัวเองอยู่ พอคิดแบบนี้ เรานี้สร้างกรรมไปเยอะมาก กรรมที่เกิดจากการคิด การพูด การทำ

    การคิดมีผลของการคิดด้วยหรือ มีสิ ไม่ต้องคิดว่าคนนั้นคนนี้จะรู้ เรานี่รู้ตัวเองดีเลยแหละ เวลาคิดอะไรไม่ดี ผลที่เห็นชัดถ้ามีสติดูอารมณ์ตัวเองทัน จะรู้สึกไม่ดีในอก ร้อนอกบ้าง เจ็บคอบ้าง แน่นอกบ้าง มากบ้างน้อยบ้างตามกำลังสติ ถ้าคิดแบบนี้นานๆ จะสื่อออกมาทางการพูด แววตา กับสีหน้า ผลออกมาระยะกลางแล้ว ย้ำคิดเข้าไปอีกๆ ออกมาทางการกระทำเลยคราวนี้ หรือบางคนก็นอนไม่หลับ เครียด เกิดโรคกับตัวเอง นี่ก็กรรมที่เกิดจากความคิดเช่นกัน ตรงนี้อยากให้พิจารณากันมากๆ จริงๆแล้วความคิดมีผลกับเรามากที่สุด เกลียดตัวเอง เบื่อโลก อกหักรักคุด ก็คิดแต่เรื่องเก่าๆ เลยเศร้าทุกข์ ร้องไห้ นี่แหละกรรมที่เกิดจาการคิดทั้งนั้น เอาที่เห็นง่ายๆ ชัดๆเลยก็แบบนี้ไม่ต้องไปมองหรือกลัวว่าใครจะมาแอบอ่านความคิดเราหรอก ดูตัวเองนั้นแหละดีที่สุด
    ส่วนเหตุจากวาจากับทางกายคงไม่ต้องกล่าวกัน มีหลายคนเล่ามาเยอะแยะ ผมก็โม้แต่เรื่องราวที่พิจารณาของตัวเองให้ได้มาอ่านกันก็พอ โม้ในเรื่องที่ตัวเองพิจารณาแบบคนโง่ๆ เพราะคนที่ฉลาดเขาคงมองเห็นได้เยอะกว่านี้ ฮา
     
  8. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    :D:D:D:D:D
     
  9. แสน1

    แสน1 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ตุลาคม 2018
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +161
    เมื่อคิดบ่อยๆ ก็จะทำตามความคิด เมื่อทำบ่อยๆ ก็จะกลายเป็นนิสัย

    ถ้ามีใครมาบอกให้ปล่อยวาง คนที่ยังมืดอยู่ก็ไม่รู้ไม่เข้าใจหรอก ก็จะหลับหูหลับตาแบกก้อนหินก้อนนั้นอย่างไม่ยอมปล่อย

    จนกระทั่งมันหนักจนเหลือที่จะทนนั่นแหละ ถึงจะยอมปล่อย แล้วก็จะรู้สึกได้ด้วยตัวเอง ว่ามันเบามันสบายแค่ไหนที่ปล่อยมันไปได้ต่อมาเราอาจจะไปแบกอะไรอีกก็ได้

    แต่ตอนนี้เราพอรู้แล้วว่า ผลของการแบกนั้นเป็นอย่างไร เราก็จะปล่อยมันได้โดยง่ายขึ้น ความเข้าใจในความไร้ประโยชน์ของการแบกหาม และความเบาสบายของการปล่อยวางนี่แหละ
     
  10. แสน1

    แสน1 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ตุลาคม 2018
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +161
    การตื่นในภวังค์
    เล่าให้ฟังแล้วกัน พอภาวนาจนคำภาวนาหายไป จิตจะตกภวังค์ อาจจะวูบเหมือนตกจากที่สูง หรืออื่นๆตามที่จะเป็น
    การตื่นในภวังค์คือการตัดกระแสภวังค์ให้ได้ เพื่อให้เป็นเอคคตาจิตหรือจิตรวม
    อ่านดูแล้ว น่าจะง่ายแต่ตอนปฏิบัติจริง ขั้นตอนนี้ยากถึงยากที่สุด
     
  11. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    สมาธิสู่ฌาน ฌานสู่ปัญญา

    “สมาธิ” ความหมาย คือ การหลอมรวมกระแสจิต ให้เป็นหนึ่งเดียว

    “ฌาน” ความหมาย คือ ภาวะจิตอิสระจากการดับหายของสิ่งร้อยรัด

    “ปัญญา” คือ ภาวะระลึกรู้ของจิตภายหลังการดับหายไปของสิ่งร้อยรัด

    จะเห็นได้ว่า ทั้งสามประการนี้ มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ไม่ใช่หนึ่งเดียวกัน แต่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน กล่าวคือ เมื่อจิตหลอมรวมกระแสให้เป็นหนึ่งเดียวได้ เช่น จดจ่ออยู่สิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ ก็จะได้ “สมาธิ” จากนั้น จิตมีความสงบสงัด จิตจึงคลายการยึดมั่นโดยธรรมชาติ สิ่งต่างๆ ภายนอกจะค่อยๆ ดับไปหายจากการยึดมั่นของจิต จิตจึงเดินเข้าสู่ภาวะ “ฌาน” คือ การดับหายไปของสิ่งร้อยรัดภายนอก เช่น การร้อยรัดของใจ การรู้ตัว จนเข้าสู่ภาวะอิสระจากกายใจ ไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น จากนั้น หากจิตได้สติทันก่อนการดับไปของสรรพสิ่ง แล้วจิตน้อมศรัทธาก้าวลงสู่ความว่างไป ความสูญไปของสรรพสิ่งนั้น จิตค้นพบความสุขสงบอันแท้จริง จิตค้นพบและแยกแยะได้ว่าเครื่องร้อยรัดได้หายไปแล้ว เกิด “ปัญญา” เข้าใจสภาวธรรม ในที่สุด จะเห็นได้ว่าจะเข้าสู่ฌานต้องมีสมาธิก่อน และก่อนจะได้ปัญญาต้องเข้าสู่ภาวะฌานก่อน คือ การดับหายไปของเครื่องร้อยรัด ซึ่งหากเครื่องร้อยรัดดับหายไปโดยพละห้าไม่เข้มแข็ง ก็จะไม่เกิดดวงตาเห็นธรรม แต่ถ้าหากพละห้าสมังคี หรือประสานร่วมกันดี ก็จะได้ “ปัญญา” รู้แจ้งในภาวการณ์ดับหายนั้น
     
  12. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    ปกติ จิตมีสภาวะของการทรงสภาพตนเอง ด้วยการเกาะรวมกัน เสมือนฝูงผึ้ง กระแสจิตที่เกาะรวมกันทำให้ทรงจิตได้ จิตไม่ตก จิตมีความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่แกว่ง ไม่ไขว้เขว ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ซัดส่าย ไม่ฟุ้งกระจาย มีความเชื่อมั่นในการดำเนินไปของชีวิตแต่ละช่วง โดยธรรมชาติ

    เด็กจะถูกสอนให้เชื่อ และยึดมั่นในสิ่งที่ผู้ใหญ่เชื่อ ซึ่งความเชื่อมั่นที่ผ่านมาทั้งหมดในชีวิตจนเติบใหญ่ ต่อให้ประสบความสำเร็จเป็นผู้ยิ่งใหญ่ปานใด ก็เป็นเพียง “สมมุติ” ทั้งสิ้น กล่าวคือ เกิดจากการเรียนรู้ทางสังคม ที่ไม่ได้มีการพิสูจน์สัจธรรมอันเที่ยงแท้มาก่อน แต่ได้สมมุติสิ่งต่างๆ ขึ้นมาเรียกกัน เช่น สมมุติว่าสิ่งนี้เรียกว่าโต๊ะ สิ่งนี้เรียกว่าเก้าอี้ เมื่อพังลงไป ก็สมมุติเรียกว่า “พัง” หรือ “ดับหาย” แท้แล้ว ไม้ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นโต๊ะหรือเก้าอี้นั้น ก็ยังไม่สูญสลายไปไหน แต่มีความแปรเปลี่ยนเป็นอนิจจัง แยกจากกันเป็นชิ้นๆ สภาพนั้นไม่เรียกสมมุติว่าโต๊ะอีก เรียกเป็นสมมุติว่าเศษไม้ เป็นต้น

    ดังนั้น โดยตัวมันเองไม่มีอะไรหายไปเลย แค่แปรเปลี่ยนอนิจจังเท่านั้น แต่ที่เราเรียกว่าดับหายนั้น เป็น “สมมุติ” ที่ตั้งมาเรียกกันเท่านั้น ทว่า จิตของเราไปหลงสมมุติ มีสัญญาใจกับตนเองว่า “ดับแล้วทุกข์” ดังนั้น บางท่านเมื่อโต๊ะทำงานพังลง ก็มีความวุ่นวายใจ เกิดทุกข์ โมโหใส่คนที่ทำพังทันที เป็นต้น สิ่งนี้ เกิดจาก “สัญญา” และการยึดมั่นนั่นเอง ทำให้เราเป็นทุกข์เพราะหลง “สมมุติ” นั่นเอง แต่หากเราไม่ยึดมั่นไว้ จิตของเราจะแกว่ง ไขว้เขว และลังเลไม่แน่ใจ ไม่รู้จะเชื่อมั่นอะไรดี ก็จะมีอาการเหมือนคนที่แพแตก
     
  13. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    ในพระพุทธศาสนาให้เราศรัทธาในการ “สูญหายไปของสมมุติ” เช่น การสูญดับไปของชีวิต หรือโต๊ะเก้าอี้ ฯลฯ เพราะการสูญหายไปของสมมุตินี้เอง จะทำให้ธรรมแท้ อันเป็นวิมุติปรากฏแสดงตนขึ้นมา จนเกิดปัญญาเข้าใจสรรพสิ่งในที่สุด เมื่อจิตศรัทธาในการสูญไปของสมมุติ ก็จะเข้าใจ “อนิจจัง” ยอมรับอนิจจัง ก็จะไม่ทุกข์ เพราะเข้าใจว่าสิ่งต่างๆ เป็นสมมุติย่อมมีความเป็นอนิจจังและดับหายไปในวันหนึ่ง

    จะเข้าสู่ภาวะนี้ได้ ต้องทำให้ “สมมุติแตกดับ” เสียก่อน ทำให้ผู้ถูกทำลายสมมุติที่ยึดมั่นแต่เดิมนั้น มีอาการ “จิตตก” หรือเสียศูนย์ในสิ่งที่เชื่อมั่น ขาดความมั่นใจในตนเองได้ หรือภาวะจิตตกสูญ หรือก้าวลงสู่ความว่าง หากได้ “สติ” ศรัทธาในการดับไปของสมมุติ ณ ขณะนี้เอง เห็นความสงบสุขเย็นของการหายไปของสมมุตินั้น เข้าสู่ภาวะจิตเดิมแท้ สามารถเข้าใจจิตและดึงพลังจิตมาใช้ได้ทั้งด้านพลังและปัญญา คลายการยึดมั่นถือมั่นใดๆ จะเรียกว่าการบรรลุอรหันต์ นั่นเอง ดังนั้น การมีปัญญาเห็นธรรม ย่อมแตกต่างจากการมีความรู้ความเข้าใจธรรม
     
  14. nan_nori

    nan_nori เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2018
    โพสต์:
    470
    ค่าพลัง:
    +799
    เทวานังปิยะตัง สุตตะวา อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโนท้าวเวสสุวรรณโณ มรณังสุขัง อะระหังสุขะโต นะโมพุทธายะแล้วต่อด้วยชินบัญชรรร ใช่ก่อนเริ่ม ชะยาสะนากะตาพุทธา ใช่ไหมคะ 555
     
  15. ธรรม-กาล

    ธรรม-กาล รอยต่อของลมหายใจ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +65
    วันนี้ได้อ่าน พระไตรปิฏกแปล เจอประโยคหนึ่ง เป็นประโยคคำถามที่ทำให้รู้สึกสว่างวาบในหัว เหมือนเจอคำตอบที่ค้างคาในใจ คำว่าปิติ กับอาการตื้นตัน ก็ปรากฏเช่นกัน พอพิจารณาตามไปเรื่อยๆ ความรู้ที่ศึกษามาก็มาปะติดปะต่อ จนเข้าใจ

    อาจฟังดูเว่อวัง อาจฟังดูโม้ๆ แต่ มันก็เรื่องโม้ๆนี่เนอะ กลัวอะไร

    คนที่เพียรเพ่ง เพียรฝึกสติ ไม่ว่าจะอานาปาน หรือสติปัฏฐาน อาจเข้าใจมากขึ้นเหมือนผม คนที่อ่านๆหรือศึกษามาก็เข้าใจเหมือนกัน แต่ความรู้สึกต่างกัน

    ต่างยังไง เหมือนฝึกหัดอะไรสักอย่างแต่คนละสาขา คนที่หวังในสาขาตัวเองจะคร่ำเคร่งและต้องการคำตอบอย่างมาก หาหนทางและวิธีการมามากมาย แต่สิ่งที่ได้มันไม่ใช่คำตอบที่ชัดเจน แต่ครั้นพอเจอประโยคง่ายๆ ที่เป็นคำสามัญธรรมดามาก แต่เขาคนนั้นจะรู้สึกตื้นตัน ดีใจจนถึงร้องไห้หรือกระโดดโลดเต้นก็มี ส่วนคนที่ไม่ใส่ใจเรื่องคำถามนั้นมาก พอเจอคำตอบก็คงบอกแค่ว่า อ๋อ แล้วก็ละความใส่ใจไป

    สำหรับผม คนที่ฝึกหัดเพ่งสติอยู่ โดยอานาปานและสติปัฏฐาน พอไปเจอประโยคคำถามที่ว่า ใครคือกำลังเดิน ใครกำลังหายใจ แค่คำนี้เอง แต่ความรู้สึกบางอย่างในหัวมันโล่ง อาการนี้คืออะไร เหมือนว่า อ๋อ มันเป็นแบบนี้

    ขอขยายความ ในความรู้สึก กับเทียบอาการกับการอุปมาในหนังสือที่อ่านแล้วตรงกัน

    ในเวลาที่เราหายใจ รูป คือรูจมูก เกิดการสัมผัสกับลมเข้าและลมออก
    คำถามคือใครกำลังหายใจ รูจมูกก็ไม่ใช่ การสัมผัสก็ไม่ใช่ ความคิดก็ไม่ใช่ ความจำได้ก็ไม่ใช่ ความรับรู้ก็ไม่ใช่ อ้าวแล้วเราอยู่ไหนกันละ

    เหมือนลูกสูบลมที่กำลังสูบลมเข้าออก ลูกสูบไม่ใช่เรา ลมไม่ใช่เรา ใครคือคนสูบลมกันละ

    ความรู้ในครั้งนี้ทำให้รู้เลยว่า นี่คืออาการพื้นฐาน ที่เป็นจุดเริ่มต้นของจริง ปัญหาคือรู้แล้วจะเอาไปใช้ต่อได้ยังไงอันนี้ก็ค่อยตามต่อแต่มั่นใจว่าเราเดินถูกทางแล้ว รู้แค่นี้ก็ดีใจมาก

    หากคนอ่านอ่านแล้วรู้สึกเช่นผมก็คงดีรู้เหมือนเข้าใจหลักการบวกลบคูณหาร แต่จะเอาไปใช้งานยังไงหรือจะปล่อยให้ลืมเลือน อันนี้ก็แล้วแต่บุคคล สำหรับผมต้องใช้ความรู้ความเห็นนี้ต่อยอดไปอีกแน่นอน
     
  16. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    ภายนอก-ภายในคือสิ่งเดียวกัน. โยนิโสธรรมภายนอกน้อมสู่ภายใน โยนิโสธรรมภายในออกไปสู่ภายนอก ธรรมทุกธรรมล้วนมีสภาพธรรมอย่างเดียวกัน เฉกเช่นใบไม้ในกำมือกับใบไม้ทุกใบที่อยู่ในป่า ล้วนมีสภาพธรรมที่เหมือนกัน

    เพียรให้หมดเขา หมดเรา เหลือเพียงเราที่มิใช่เรา

    เจริญในธรรมค่ะ
     
  17. แสน1

    แสน1 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ตุลาคม 2018
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +161
    เญยยธรรม เป็นของละเอียดลึกซึ้ง
    สัมผัสได้ด้วยใจบริสุทธิ์ ของผู้ที่ปฏิบัติได้

    คนธรรมดา ยากที่จะตามเข้าไปพิสูจน์ให้รู้

    เญยธรรม เป็นวิชานอกเหนือไปจากปรัชญา หรือตำราใดๆ

    ธรรมบางอย่างจะมาพิสูจน์ด้วยวัตถุธาตุย่อมไม่ได้

    ต้องพิสูจน์ด้วย มโนธาตุที่บริสุทธิ์ รู้ได้ด้วยภาษาใจ
    ก็เป็นความรู้เฉพาะตน พระพุทธองค์ทรงกล่าวมาเป็นคำพูดเพื่อใช้เป็นเครื่องเทียบเคียงให้เหล่าศิษย์สาวก
    พระอริยสงฆ์ศิษย์สายพระอาจารย์มั่น
    ได้เน้นให้เพียรปฏิบัติมากกว่า เพียรศึกษาตำรา โดยให้ใช้ กายและใจเป็นเครื่องวัด;
     
  18. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    เญยธรรม คือ สภาพธรรมทั้งหมด ซึ่งเมื่อแสดงโดยนัยที่พระพุทธเจ้า ทรงมีพระปัญญา รู้ เญยธรรมทั้งหมด คือ มีพระปัญญารู้ความจริงของสภาพธรรมทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นสังขารธรรม คือ สภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป คือ จิต เจตสิก และ รูปทั้งหมด ลักษณะของสภาพธรรมเหล่านั้น บัญญัติ เรื่องราวที่สมมติจากสิ่งที่มีจริงทั้งหมด และพระนิพพานอันเป็นความจริงแท้สูงสุด ก็อยู่ในสภาพธรรมทั้งปวงที่พระพุทธเจ้าทรงรู้ เป็น เญยยธรรม สภาพธรรมทั้งหมดนั่นเอง นี่แสดง คำว่า เญยยธรรม โดยนัยของสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงรู้ด้วยพระปัญญา พระองค์ทรงรู้ทั้งหมด แต่อีกนัยหนึ่งที่สำคัญ เญยยธรรม มุ่งหมายถึง สภาพธรรมที่เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ที่เป็น จิต เจตสิก รูป ว่าเป็นสภาพธรรมที่ควรรู้ยิ่งบ้าง เช่น อภิญญเญยยธรรม เป็นสภาพธรรมที่ควรกำหนดรู้ กำหนดรู้ด้วยปัญญา ปริญญาเญยยธรรม เป็นต้น เญยยธรรมในที่นี้จึงมุ่งหมายถึงสภาพธรรมที่มีจริงที่เป็น จิต เจตสิก รูป ว่าเป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่งด้วยปัญญา รู้ว่าสภาพธรรมที่มีในชีวิตประจำวัน คือ จิต เจตสิกและรูป เป็นธรรมไม่ใช่เรา ซึ่งการเจริญสติปัฏฐาน อริยมรรคมีองค์ 8 ก็ต้องรู้เญยยธรรมคือ จิต เจตสิกและรูปว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา แต่ไม่ใช่รู้บัญญัติและกำหนดรู้พระนิพพาน โดยนัยนี้ เญยยธรรมจึงมุ่งหมายถึง สภาพธรรมที่มีจริงที่ควรรู้ยิ่ง คือ จิต เจตสิกและรูปเท่านั้น พระธรรมจึงมีการแสดงหลากหลายนัย ตามที่กล่าวมา

    เจริญในธรรมค่ะ
     
  19. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    เนื่องด้วยเญยธรรมเป็นของละเอียดลึกซึ้งสุขุมมาก อันเกิดจากใจบริสุทธิ์ของท่านผู้ที่ได้อบรมฝึกฝนมาดีแล้ว จึงยากที่ปุถุชนธรรมดา ๆ อย่างพวกเราทั้งหลาย ที่จะตามเข้าไปพิสูจน์ให้รู้แล้วเข้าถึงอรรถรสของเญยธรรมนั้นได้ทั่วถึง เพราะเญยธรรมเป็นวิชชานอกเหนือไปจากปรัชญาแลตำราใดๆ ทั้งหมด ธรรมและวินัยบางอย่างจะมาพิสูจน์ด้วยวัตถุธาตุย่อมไม่ได้ต้องพิสูจน์ด้วยมโนธาตุที่บริสุทธิ์เท่านั้นจึงจะรู้้ได้ด้วยภาษาใจ แล้วก็เป็นความรู้เฉพาะตน (ปัจจัตตัง) อีกด้วย แม้ถึงกระนั้นก็ตามพระองค์ก็ยังได้ทรงบัญญัติไว้ด้วยภาษาคำพูดให้พวกเราได้รู้แลได้ปฏิบัติตามจนกระทั่งบัดนี้ จึงนับว่าเป็นบุญอักโขแก่พวกเรามิใช่น้อย ฉะนั้นผู้ที่มีการศึกษามากหรือการศึกษาน้อยก็ดี ปฏิบัติมามากหรือปฏิบัติมาน้อยก็ดี เมื่อเราชำระจิตของตนยังไม่บริสุทธิ์พอจะเป็นพื้นฐานรับรองของเญยธรรมแล้ว จะมาพิสูจน์ซึ่งเญยธรรมด้วยตัวหนังสือหรือด้วยการเทียบในหลักปรัชญานั้นๆ หาได้ไม่ ดีไม่ดีอาจเกิดเป็นมิจฉาทิฏฐิขึ้นมาก็ได้ การพิสูจน์นั้นหากไปตรงกับเญยธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าก็ดีไป หากไม่ไปตรงกันเข้าก็อย่าพึงคัดค้านหรือยกโทษคำสอนของพระองค์ก่อนเลย จะเป็นบาปเปล่า จงทำตนเป็นเถรตรงศึกษาจดจำแลนำไปปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ ทำตนให้เป็นเหมือนตู้ทึบเก็บพระไตรปิฎกของพระองค์ไว้ เพื่อประโยชน์ความสุขแก่โลกแลอนุชนภายหลังก็ยังจะดีกว่า"

    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
     
  20. อนัตตา

    อนัตตา เล่นกับเงา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +1,822
    เห็นว่าเจ้าของกระทู้เจริญสติปัฏฐานสี่อยู่ ก็เลยนำมาฝากค่ะ ถ้าว่างๆ ก็ลองคลิ๊กเข้าไปอ่านและศึกษาดูนะ

    https://bit.ly/2S2xptj
     

แชร์หน้านี้

Loading...