เหรียญชินราชคุ้มเกล้า หลังภปร.พ.ศ. 2521

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 8 พฤษภาคม 2019.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,148
    ค่าพลัง:
    +21,318
    ชีวประวัติและปฏิปทา


    พระคุณเจ้าหลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    จากหนังสือ ฐานสโมปูชา

    ที่ระลึก ในมหามงคลพิเศษ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้

    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

    เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปพระราชทานเพลิงศพ

    พระเดชพระคุณหลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    ณ เมรุวัดป่าสัมมานุสรณ์ อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

    วันจันทร์ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙

    คุณหญิงสุรีพันธ์ มณีวัต ผู้เขียนและเรียบเรียง

    lp-chob-32-01.jpg

    หน้าที่ ๑

    bar-1.jpg


    ๑. ชาติภูมิ

    khunying-sureepun.jpg
    คุณหญิงสุรีพันธ์ มณีวัต

    ผู้เขียนและเรียบเรียง

    พระคุณเจ้าหลวงปู่ชอบ ฐานสโม มีชาติกำเนิดในสกุล “แก้วสุวรรณ” เดิมชื่อ “บ่อ” เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๔ ตรงกับวันพุธ ขึ้นห้าค่ำ เดือนสาม ปีฉลู ณ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

    โยมบิดาชื่อ “มอ” โยมมารดาชื่อ “พิลา” ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๔ คน เป็นชาย ๒ คน เป็นหญิง ๒ คน มีชื่อเรียงกันตามลำดับคือ

    ๑. ตัวท่าน

    ๒. น้องสาว ชื่อ พา แก้วสุวรรณ

    ๓. น้องสาว ชื่อ แดง แก้วสุวรรณ

    ๔. น้องชายคนสุดท้อง ชื่อ สิน แก้วสุวรรณ

    ทั้งน้องสาวและน้องชาย รวม ๓ คนนี้ ปัจจุบันถึงแก่กรรมไปตามกาลเวลาหมดแล้ว

    โยมบิดามารดาเล่าให้ท่านฟังว่า บรรพบุรุษต้นตระกูลของท่านนั้น เดิมมีถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ที่ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย มีอาชีพหลักคือการทำนา แต่โดยที่พื้นที่เป็นภูเขาเป็นส่วนใหญ่ การทำนาต้องอาศัยไหล่เขา ยกดินเป็นขั้นบันไดเป็นชั้น ๆ ไป จึงจะปลูกข้าวได้ แม้จะลงแรงทำงานหาเลี้ยงกันอย่างไม่ยอมเหนื่อย ต้องทำไร่ตามดอยเพิ่มเติม แต่ก็ไม่ค่อยพอปากพอท้อง โดยเฉพาะบางปีถ้าฝนแห้งแล้ง ข้าวไม่เป็นผล พืชล้มตาย ก็อดอยากแร้นแค้น จึงได้คิดโยกย้ายไปแสวงหาถิ่นทำกินใหม่ ซึ่งจะเป็นที่ราบลุ่มอันไม่เป็นที่ดอยที่เขาเช่นแต่ก่อน

    ตระกูลของท่านพากันอพยพหนีความอัตคัดฝืดเคือง มาหาภูมิลำเนาใหม่ ผ่านหุบเหวภูเขาสูงของอำเภอด่านซ้าย ผ่านป่าดงพงทึบของ ภูเรือ ภูฟ้า ภูหลวง ได้มาพบชัยภูมิใหม่เหมาะ คือที่ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง ยังเป็นที่รกร้างว่างเปล่าใกล้หุบห้วย เหมาะแก่การเพาะปลูก จึงช่วยกันหักร้างถางป่าออกเป็นไร่นาสาโท คงยึดอาชีพหลักคือการทำนาเช่นเดิม

    ณ ที่บ้านโคกมนแห่งนี้เอง ที่ เด็กชายบ่อ บุตรชายคนหัวปีของสกุลแก้วสุวรรณได้ถือกำเนิดมา เป็นประดุจพญาช้างเผือกที่มีกำเนิดจากกลางไพรพฤกษ์ ทำให้ชื่อป่าที่เกิดของพญาช้างเผือกนั้นเป็นที่รู้จักขจรขจายไปทั่วสารทิศ...ฉันใด หลวงปู่ก็ทำให้ชื่อหมู่ “บ้านโคกมน” บ้านที่เกิดของท่านเป็นที่รู้จัก เป็นที่จาริกแสวงบุญของบรรดาชาวพุทธทั่วประเทศ...ฉันนั้น


    ๒. ปฐมวัย

    ชีวิตตอนเป็นเด็กของท่าน นับว่ามีภาระเกินวัย ด้วยเกิดมาเป็นบุตรหัวปี ต้องมีหน้าที่ช่วยบิดามารดาทำงานในเรือกสวนไร่นา พร้อมทั้งต้องทำหน้าที่พี่ใหญ่ ดูแลน้อง ๆ หญิงชายทั้งสามด้วย

    บ้านโคกมนในปัจจุบันนี้ แม้ว่าผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านจะคุยให้เราฟังว่า มีความเจริญขึ้นกว่าเมื่อเจ็ดสิบแปดสิบปีก่อนอย่างหาที่เปรียบมิได้ แต่ในสายตาของเราชาวกรุง ก็ยังเห็นคงสภาพเป็นบ้านป่าชนบทอยู่มาก ดังนั้นหากจะนึกย้อนกลับไปสมัยที่ท่านยังเป็นเด็กเล็กอยู่ ณ ที่นั้น บ้านเกิดของท่านก็ยังคงมีลักษณะเป็นบ้านป่าเขาที่น่าเห็นใจอย่างยิ่ง สมาชิกทุกคนในครอบครัว ต้องช่วยกันตัวเป็นเกลียวโดยไม่เลือกว่าผู้ใหญ่หรือเด็ก ระหว่างที่พวกผู้ใหญ่ต้องไถ หว่าน ปักกล้า ดำนา เด็ก ๆ ก็ต้องเลี้ยงควาย คอยส่งข้าวปลาอาหาร เด็กโตหรือลูกหัวปีอย่างท่าน ก็ต้องช่วยในการไถ ปักกล้า ดำนาด้วย ขณะเดียวกันก็ต้องคอยดูแลน้อง ๆ กลับจากทำนา ก็ต้องช่วยกันหาผักหญ้า หน่อหวาย หน่อโจด หน่อบง หน่อไม้ รู้จักว่ายอดอ่อนของต้นไม้ชนิดใดในป่าในท้องนาควรจะนำมาเป็นอาหารได้ เช่น ยอดติ้ว ใบหมากเม่า ผักกระโดน...

    โดยมากเด็กชายบ่อจะพอใจช่วยบิดามารดาทางด้านเรือกสวนไร่นามากกว่า กล่าวคือ จะช่วยเป็นภาระทางด้านเลี้ยงควาย ไถนา เกี่ยวข้าว หาผักหญ้า แต่ด้านการหาอาหารที่ต้องเกี่ยวเนื่องด้วยชีวิตผู้อื่น เช่น การจับปู ปลา หากบ เขียด มาเป็นอาหารประจำวันอย่างเด็กอื่น ๆ นั้น ท่านไม่เต็มใจจะกระทำเลย ยิ่งการเล่นยิงนก กระรอก กระแต ที่เด็กต่าง ๆ เห็นเป็นของสนุกสนานนั้น ท่านจะไม่ร่วมวงเล่นด้วยอย่างเด็ดขาด พูดง่าย ๆ ท่านไม่มีนิสัยทาง “ปาณาติบาต” มาแต่เด็กนั่นเอง

    ความลำบากยากแค้นในการดำรงชีวิตขณะนั้นเป็นเช่นไร เราคงจะพออนุมานกันได้ โดยในสมัยหลัง เมื่อท่านและหลวงปู่หลุยมาคุยกันถึงการครองชีพที่จังหวัดเลย ระยะที่ท่านทั้งสองเป็นเด็กเล็ก ซึ่งเมื่อบรรดาศิษย์ได้ยินเข้าก็อดที่จะนึกสงสารน้ำตาร่วงไปด้วยไม่ได้ พวกเด็ก ๆ ต้องจับปู จับปลาในนาในหนองน้ำ ปลาเล็กปลาน้อย ลูกกบเขียดใช้ได้ทั้งนั้น วันหนึ่งได้เขียดมาเพียงตัวเล็ก ๆ ก็ต้องปิ้งให้น้อง ๆ กิน โดยจัดแบ่งเก็บไว้สำหรับบิดามารดาด้วย น้อง ๆ ยังเป็นเด็กเล็ก ไม่ต้องใช้แรงงานอะไร ฉะนั้นจึงแบ่งให้เพียงขาเดียว

    ไม่ใช่ไก่ ไม่ใช่กบ ไม่ใช่ปลาตัวใหญ่อะไร แต่เป็นเขียดตัวเล็กผอมกระจ้อยร่อย....!! ดังนั้นเมื่อน้อง ๆ ได้รับส่วนแบ่งเพียงเขียดปิ้งขาเดียวจึงร้องไห้ วอนขอพี่ชายให้เพิ่มอีก โดยจะขอกินทั้งตัว

    แม้จะสงสารน้อง ๆ ใจจะขาด แต่พี่ชายใหญ่ก็ต้องฝืนใจทำเป็นดุเสียงแข็ง

    “จะกินล้างกินผลาญอะไรกัน ตั้งเขียดทั้งตัว ! ไม่ได้...ขาเดียวพอแล้ว !”

    ปกติท่านเป็นคนว่านอนสอนง่าย ไม่เป็นที่หนักใจของบิดามารดา และเป็นคนไม่ชอบเล่นคลุกคลีกับหมู่คณะเพื่อนฝูง มีนิสัยเงียบขรึมมาแต่เล็กแต่น้อย ไม่ค่อยพูดเล่นหัว เพื่อนถามคำหนึ่งก็ตอบคำหนึ่ง เล่นคนเดียวเงียบ ๆ มากกว่าจะสนุกสนานเฮฮา ถ้าหากจะมีการเล่นและคุยกับเพื่อนฝูงบ้าง ก็มักชอบเล่นแต่กับเพื่อนที่มีอายุน้อยกว่า เล็กกว่าเสมอ

    ท่านแสดงนิสัยองอาจ เด็ดเดี่ยวมาตั้งแต่เด็ก โดยไปไหนชอบไปคนเดียว ไม่อาศัยหมู่พวก ซึ่งนิสัยองอาจเด็ดเดี่ยวที่ฝังตัวมาแต่เล็กแต่น้อยนั้น ก็ได้ปรากฏชัดเจนในภายหลัง เมื่อท่านเข้าสู่เพศครองผ้ากาสาวพัสตร์แล้ว ก็ออกเดินธุดงค์จาริกแสวงธรรมไปในป่าดงพงทึบแต่ลำพังองค์เดียวอย่างไม่หวั่นเกรงภัยอันตรายใด ๆ เหมือนพญาช้างสารที่ละโขลงบริวาร พอใจท่องเที่ยวไปในราวป่าอย่างโดดเดี่ยวเดียวดายฉะนั้น

    ท่านใช้ชีวิตระหว่างเป็นเด็ก อย่างปกติของเด็กชนบทสมัยนั้น โดยเติบโตมากับทุ่งนาและท้องทุ่งไร่สวน การศึกษาในโรงเรียนนั้นไม่มีโอกาสเลย เพราะยังไม่มีโรงเรียนให้ ความจริงอย่าว่าแต่แถวบ้านโคกมนเมื่อเจ็ดสิบกว่าปีก่อนจะไม่มีโรงเรียนเลย แม้แต่ในกรุงเทพมหานคร...พระนครหลวงของเมืองไทยในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ก็ยังมีโรงเรียนเพียงไม่กี่แห่ง แต่อย่างไรก็ดี เด็กชายบ่อก็ยังสนใจในการศึกษาเล่าเรียน จนสามารถพออ่านหนังสือออกและเขียนหนังสือได้บ้าง ซึ่งก็นับว่าเก่งพอใช้แล้ว สำหรับเด็กชนบทในหมู่บ้านห่างไกลจังหวัดเช่นนั้น

    ท่านเล่าว่า ความรู้ในการอ่านเขียนนี้ ท่านเรียนได้มาจากพระภิกษุในวัด ซึ่งทำให้ชีวิตของท่านคุ้นเคยกับวัดมาตั้งแต่เล็ก

    ๓.จิตโน้มน้าวไปสู่ธรรม

    เมื่อท่านอายุครบ ๙ ขวบ ย่างขึ้นปีที่สิบ โยมบิดาก็ถึงแก่กรรม มารดาแต่ผู้เดียวต้องทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัว รับผิดชอบเลี้ยงดูลูกเล็กถึง ๔ ปาก ๔ ท้อง เด็กชายบ่อในฐานะพี่ชายคนโตก็กลายเป็น “ผู้ชายที่มีอายุมากที่สุด” แห่งบ้านไปโดยอัตโนมัติ แม้จะมีอายุเพียง ๑๐ ขวบ แต่เด็กชายบ่อก็รู้คิด ช่วยมารดาในกิจการงานทั้งปวง การใดซึ่งเคยเป็นหน้าที่ของพ่อบ้าน เช่น งานออกแรงกลางแจ้ง ในด้านเรือกสวนไร่นา ท่านก็มิได้ปล่อยให้ตกเป้นภาระของมารดาแต่ฝ่ายเดียว เด็กชายบ่อก็พยายามช่วยแบ่งเบาทำหน้าที่ “ผู้ชายแห่งบ้าน” ไปด้วย ขณะเดียวกันก็ต้องคอยดูแลน้องเล็ก ๆ แทนมารดาด้วย ความลำบากตรากตรำในฐานะมี่เป็นเด็กชนบทในหมู่บ้านห่างไกลความเจริญมีอยู่มากแล้ว แต่ก็ยังถูกโชคเคราะห์กระหน่ำซ้ำเติมอีก โดยให้ครอบครัวนี้ต้องขาด “พ่อบ้าน” ไปอีก จึงทำให้เด็กชายบ่อมีภาระเกินวัย ที่เป็นเด็กพูดน้อยอยู่แล้ว ก็ดูจะเพิ่มความเงียบขรึมมากขึ้นไปอีก
    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-chob/lp-chob-hist-01.htm
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญเมตตาหลวงปู่ชอบ ปี 2523 ให้บูชา200บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    ลป.ชอบ.JPG ลป.ชอบหลัง.JPG
     
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,148
    ค่าพลัง:
    +21,318
    หลวงปู่หลอด ปโมทิโต

    วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนา)

    ลาดพร้าว บางกะปิ กรุงเทพฯ (2458 – ปัจจุบัน)

    ที่มา : http://www.kaskaew.com

    bar-1s.jpg

    นามเดิม หลอด ขุริมน

    เกิด วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2458 ปีเถาะ จ.ศ. 1277 กำเนิด ณ บ้านขาม ต.หัวนา อ.หนองบัวลำภู จ. อุดรธานี

    โยมบิดา คุณพ่อบัวลา ขุริมน

    โยมมารดา คุณแม่แหล้ (แร่ ขุริมน) มีพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน 3 คน คือ

    1. นายเกิ่ง ขุริมน (ถึงแก่กรรม)

    2. นางประสงค์ ขุริมน (ถึงแก่กรรม)

    3. พระครูปราโมทย์ธรรมธาดา (หลวงปู่หลอด ปโมทิโต)

    การศึกษา

    เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่ มีอายุครบเกณฑ์ที่จะเข้าศึกษาเล่าเรียนในชั้นประถมศึกษา คุณพ่อบัวลาจึงได้พาไปฝากเรียนที่โรงเรียนประชาบาลวัดบ้านหิน ตำบลหัวนา อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำหมู่บ้าน จนกระทั่งท่านได้จบการศึกษาตามหลักสูตรในสมัยนั้น คือชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พออ่านออกเขียนได้ ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่อายุได้ 16 ปี ก็เรียกได้ว่ากำลังหนุ่มแน่น มีกำลังแรงงานดี จึงเป็นแรงสำคัญของทางบ้านในการทำเรือกสวนไร่นา แต่ก็เป็นอันต้องมีเหตุให้เกิดความเศร้าเสียใจเป็นอย่างมาก เมื่อคุณแม่แหล้ผู้เป็นมารดาล้มป่วยอย่างหนัก และถึงแก่กรรมในที่สุด พระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านตั้งใจไว้ว่าจะบรรพชา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่มารดาเมื่อถึงเวลาอันสมควร

    บรรพชา

    เมื่อหลวงปู่อายุได้ 18 ปี ก็ได้มีโอกาสเข้าบรรพชาเป็นสามเณรสมดังใจตั้งมั่นที่วัดศรีบุญเรือง ตำบลหัวนา อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระอธิการคูณ เจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ และเมื่อบวชเณรอยู่ได้ไม่นาน บิดาก็มาเสียชีวิตไป เมื่อคุณพ่อบัวลามาด่วนจากไปเสียอีกคน หลวงปู่ท่านจึงต้องลาสิกขาออกมาเพื่อช่วยพี่ ๆ ทำเรือกสวนไร่นาต่อไป

    อุปสมบท

    เมื่อความคิดอยากจะบวชอีกครั้งยังมีอยู่ ยังไม่ลบเลือนไปจากจิตใจ สองปีต่อมาหลวงปู่จึงได้หาโอกาสที่จะปล่อยวางงานและภาระทางบ้าน เพื่อมาบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา

    พระเดชพระคุณหลวงปู่ได้ก้าวเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ สังกัดมหานิกาย ณ พัทธสีมาวัดธาตุหันเทาว์ ตำบลบ้านขาม บ้านเกิดของหลวงปู่นั่นเอง เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2479 ตรงกับวันจันทร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือนสาม ปีจอ โดยมีพระอาจารย์ชาลีวัดโพธิ์ชัยสะอาด บ้านจิก อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์ขาน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้พำนักที่วัดธาตุหันเทาว์ ในขณะนั้นมีพระอาจารย์มหาตัน สุตตาโนเป็นเจ้าอาวาส

    เมื่อหลวงปู่บวชได้แล้วประมาณ 3 เดือน พอขึ้นเดือนมิถุนายน หลวงปู่ก็ได้มีโอกาสพบกับพระอาจารย์มณฑา ซึ่งท่านเดินทางมาจากวัดบ้านโกทา จังหวัดขอนแก่น และก็ได้ปรึกษากันว่าจะพากันไปศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ ในตัวจังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีพระเดชพระคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลอยู่ นับว่าเป็นสำนักเรียนที่มีชื่อเสียงที่สุดในภาคอีสานในขณะนั้นก็ว่าได้

    พรรษาที่ 1-3 (พ.ศ.2479-2482) หลวงปู่ได้เดินทางมาถึงวัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี ในเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ.2479 เมื่อหลวงปู่ได้พำนักอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านจึงได้สมัครเรียนนักธรรม และพระบาลีตามประกาศของสำนักเรียนในวัดโพธิ์ฯ เมื่อเปิดเรียนไม่นาน หลวงปู่ก็ลาออกจากการเรียนพระบาลี เหลือแต่นักธรรมอย่างเดียว

    แปรญัตติเป็นธรรมยุติ

    เนื่องจากการที่ท่านเป็นพระมหานิกาย จึงทำให้เกิดความไม่สะดวกต่อการทำสังฆกรรม เช่นการลงประชุมฟังพระปาติโมกข์ หลวงปู่ก็มิได้ลงร่วมฟังสังฆกรรมดังกล่าว เมื่อเป็นเช่นนั้น หลวงปู่ท่านรู้สึกไม่ค่อยสะดวกและสบายใจเท่าไรนัก จึงได้ตัดสินใจที่จะขอแปรญัตติเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2479 โดยมีท่านเจ้าคุณพระเทพกวี (จูม พนฺธโล) ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ที่พระธรรมเจดีย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูศาสนูปกรณ์ วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และท่านพระครูประสาทคณานุกิจ วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ปโมทิโต” หมายถึง ผู้มีความบันเทิง ผู้ปลื้มใจ ผู้มีใจอันเบิกบาน ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่มีอายุ 21 ปี

    การอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ในยุคโน้น นับว่าเป็นโชคดีแก่ชีวิตหลายอย่าง เพราะนอกจากจะเป็นสำนักเรียนที่มีชื่อเสียงแล้ว ยังมีพระเถระผู้ใหญ่ ผู้มีบทบาท และมีชื่อเสียงโด่งดังในด้านการปกครอง ด้านการเผยแผ่ ตลอดทั้งด้านสมถะและวิปัสสนามาพำนักอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์อยู่เรื่อยมา จึงทำให้หลวงปู่ได้มีโอกาสได้พบเห็นและฟังการอบรมจากพระเถระเหล่านั้นมากท่านและหลายครั้ง และมีหลักในการปฏิบัติกับตนได้เป็นอย่างดี

    หลวงปู่ได้อยู่วัดโพธิสมภรณ์ไปถึงเดือนมิถุนายน 2481 หลวงปู่ได้เดินทางกลับไปวัดธาตุหันเทาว์ และก็ได้ถูกมอบหมายหน้าที่ให้เป็นครูสอนนักธรรมตรี ซึ่งขณะนั้นกำลังขาดแคลนครูสอน ท่านเจ้าคุณพิศาลเถระ เจ้าคณะหนองบัวลำภู จึงได้ขอร้องให้หลวงปู่อยู่จำพรรษาที่วัดธาตุหันเทาว์ เพื่อเป็นครูสอนนักธรรม หลวงปู่ท่านเลยรับคำอยู่ช่วยสอนนักธรรมตรีจนออกพรรษาและสอบธรรมสนามหลวงประจำปี 2481 แล้วเสร็จ ท่านจึงได้เดินทางกลับมาที่วัดโพธิสมภรณ์เหมือนเดิม เพื่อมาศึกษานักธรรมโทต่อที่วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี และสอบได้ในปีนั้นเอง จากนั้นก็สมัครสอบนักธรรมเอกในปีต่อมา

    พรรษาที่ 4 (พ.ศ.2483) ในพรรษาที่ 3 ปี พ.ศ. 2482 หลังจากออกพรรษาและสอบนักธรรมเสร็จ หลวงปู่ท่านได้มีโอกาสพบกับเพื่อภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อพระอาจารย์วิฤทธิ์ ปุญฺญมาโน ซึ่งท่านเคยอยู่วัดโพธิสมภรณ์มาก่อน และก็ได้ชวนหลวงปู่ให้ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมด้วยกัน ก็เป็นอันตกลง และในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2482 จึงได้พากันออกเดินธุดงค์โดยมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ตั้งจุดหมายปลายทางคือ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งต้องผ่านไปทางบ้านปากดง บ้านหนองขุ่ม บ้านนาแอ่ง การเดินธุดงค์ครั้งนี้ หลวงปู่มีความประทับใจไม่รู้ลืม ที่ได้สัมผัสกับธรรมชาติ เสียงของสัตว์นานาชนิด ป่าดงพงไพรยังอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำที่ใสและเย็นสดชื่นให้ได้เห็นมากแห่ง เป็นสิ่งที่หายากยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากการทำลายป่าและความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ การเดินธุดงค์ในครั้งนี้เป็นการเดินธุดงค์หาวิเวกเพื่อปฏิบัติธรรมจริง ๆ หากพบสถานที่ใดที่มีความสงบวิเวก เหมาะแก่การปฏิบัติบำเพ็ญเพียรแล้ว ก็จะพักปฏิบัติธรรมอยู่ระยะหนึ่ง จึงค่อยย้ายจากไปหาที่ใหม่ เพื่อจะได้ไม่ติดในสถานที่ และจิตใจจะได้มีการตื่นตัว แปลกที่อยู่เสมอ ทำให้การทำความเพียรได้ผลดีมาก

    ท่านเดินทางธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ และหยุดพักปฏิบัติธรรมในที่เห็นว่าสมควร และในที่สุดก็ได้มาพักอยู่ที่วัดสามัคคีพัฒนา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งอาจารย์โชติ กาญจโน เป็นเจ้าอาวาส เป็นอันว่าในพรรษาของปี พ.ศ. 2483 พรรษาที่ 4 ของหลวงปู่ ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ และในพรรษานี้เอง หลวงปู่ได้ตั้งสัจจะปวารณาถือเนสัชชิก (อาการสาม ยืน เดิน นั่ง) โดยเอาแบบอย่างการปฏิบัติของหลวงปู่ซามา โดยจะไม่ยอมให้หลังแตะพื้น จะเป็นอย่างไรจะไม่ยอมให้หลังนี้สัมผัสพื้นเลย หลวงปู่ท่านปฏิบัติอยู่อย่างนี้ตลอดพรรษามิได้ขาด และการปฏิบัติของท่านก้าวหน้าไปด้วยดี

    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-lord/lp-lord_hist_03.htm

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระผงรูปเหมือนไตรมาสหลวงปู่หลอดปี 36 ให้บูชา300บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    ลป.หลอด.JPG ลป.หลอดหลัง.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2022
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,148
    ค่าพลัง:
    +21,318
    __1_395-jpg.jpg

    ประวัติและปฏิปทา
    พระเนกขัมมมุนี (หลวงปู่ก้าน ฐิตธมฺโม)

    วัดราชายตนบรรพต (วัดเขาต้นเกด)
    ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


    พระเนกขัมมมุนี (หลวงปู่ก้าน ฐิตธมฺโม) มีนามเดิมว่า ก้าน ด้วงเด่น เกิดเมื่อวันพุธที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ปีวอก ณ บ้านโผงเผง ต.โผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง โยมบิดาชื่อ เจียม ด้วงเด่น โยมมารดาชื่อ กุล ด้วงเด่น ท่านจบการศึกษาประถมศึกษาปีที่ ๓ จากโรงเรียนประชาบาล จ.อ่างทอง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๓ คน หลวงปู่เป็นคนกลาง ซึ่งต่อมาทั้งพี่ชายและน้องชายของหลวงปู่ต่างก็พากันออกบวช

    เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ โยมบิดา-มารดาได้ทำการอุปสมบทให้หลวงปู่ตามประเพณี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ณ พัทธสีมาวัดถนนสุทธาราม ต.โผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง

    ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ท่านสอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก

    ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ นายบักเซ้ง แซ่อื้อ ถวายที่ดินที่ครอบครองที่มีอยู่แต่เดิมให้หลวงปู่ก้าน

    วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๕ หลวงปู่จึงได้ขออนุญาตสร้างวัดให้ถูกต้องตามกฎหมาย และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ โดยเรียกขานอย่างเป็นทางการว่า “วัดราชายตนบรรพต” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดต้นเกด” ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยและพระนามาภิไธยของทั้งสองพระองค์ประดิษฐานไว้ที่หน้าบันอุโบสถ และทรงปลูกต้นศรีตรังไว้ที่หน้าอุโบสถ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๗ อีกด้วย หลังจากที่สร้างวัดเพื่อเป็นที่ปฏิบัติธรรมของหลวงปู่และเป็นของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปแล้ว หลวงปู่ก้านก็ไม่เคยย้ายไปอยู่ที่วัดอื่นใดอีกเลย

    หลวงปู่ก้าน เป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่มีเมตตา เป็นที่เคารพศรัทธาของลูกศิษย์ที่เป็นสงฆ์และฆราวาส จะเห็นได้จากในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาจะมีพุทธศาสนิกชนพากันหลั่งไหลเข้าวัด เวียนเทียน ฟังเทศน์ ฟังธรรมจากหลวงปู่ ไม่เว้นแม้กระทั่งวันตรุษ วันประเพณีต่างๆ รวมไปถึงวันคล้ายวันเกิดและวันสำคัญต่างๆ ของหลวงปู่ก้านก็จะมีพระเถรานุเถระผู้ใหญ่ร่วมกันสวดมนต์ถวายพรแด่หลวงปู่เป็นประจำทุกปี

    สำหรับประวัติของหลวงปู่ก้านโดยละเอียดนั้น ค่อนข้างหาอ่านได้ยากเพราะท่านยังไม่อนุญาตให้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ แต่เราสามารถศึกษาประวัติของหลวงปู่ก้านได้ โดยผ่านประวัติของหลวงปู่ฉลวย สุธมฺโม เนื่องจากท่านทั้งสองเป็นสหธรรมิกคู่บารมีกันค่ะ หลวงปู่ก้านท่านเดินทางไปมอบกายถวายตัวเป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) จ.สกลนคร พร้อมกับหลวงปู่ฉลวย ก่อนที่ท่านทั้งสองจะได้ทำญัตติกรรมใหม่เป็นพระภิกษุธรรมยุติกนิกาย ณ พัทธสีมาวัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ เวลา ๒๐.๔๒ น. โดยมี ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ร่วมกัน และพระครูประสาทคณานุกิจ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ โดยได้รับนามฉายาว่า “สุธมฺโม” และ “ฐิตธมฺโม” ตามลำดับ ในขณะนั้นหลวงปู่ฉลวยมีอายุ ๔๒ ปีแล้ว
    หลวงปู่ก้าน ฐิตธมฺโม
    เมื่อครั้งยังเป็น พระครูวิศาลสมาธิวัตร


    นอกจากนี้หลวงปู่ก้านยังเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมกับหลวงปู่ฉลวยช่วยกันสร้างวัดป่ากลางโนนภู่ (เดิมชื่อ วัดป่าบ้านภู่ หรือวัดกลางบ้านภู่) บ้านกุดก้อม ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร สถานที่อันเป็นที่ตั้งของ “พิพิธภัณฑ์ศาลาที่พักอาพาธพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ พ.ศ. ๒๔๙๒”

    หลังจากหลวงปู่ฉลวย-หลวงปู่ก้านได้ญัตติกรรมใหม่ในคณะธรรมยุติกนิกายแล้ว ท่านทั้งสองก็ได้พำนักจำพรรษาที่วัดป่ากลางโนนภู่ อีก ๑ พรรษา ได้สร้างเสนาสนะและเทศนาธรรมสั่งสอนชาวบ้านให้เกิดศรัทธาความเลื่อมใส ส่วนในการปฏิบัติภาวนานั้น หลวงปู่ฉลวยจะมีนิมิตภาพเจดีย์ของวัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา ปรากฏอยู่เสมอ ท่านจึงเกิดความสงสัยว่าวัดใหญ่ชัยมงคลกับท่านนั้นมีความสัมพันธ์อะไรกันหนอ เมื่อออกพรรษาแล้วหลวงปู่ฉลวยจึงชักชวนหลวงปู่ก้านออกเดินธุดงค์กลับมายัง จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีสามเณรติดตามมาด้วยองค์หนึ่ง สำหรับวัดป่ากลางโนนภู่หลวงปู่ฉลวยได้นิมนต์ พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินโน มาเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา

    สำหรับ “พิพิธภัณฑ์ศาลาที่พักอาพาธพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ พ.ศ. ๒๔๙๒” วัดป่ากลางโนนภู่ บ้านกุดก้อมนั้น เป็นอาคารไม้ซึ่งเป็นกุฏิที่ท่านพระอาจารย์มั่นใช้พักในคราวอาพาธระยะสุดท้าย เป็นเวลา ๑๐ วัน ก่อนจะไปมรณภาพที่วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร ในคืนเดียวกับที่ได้อาราธนาองค์ท่านมายังวัดป่าสุทธาวาส ภายในพิพิธภัณฑ์ศาลาที่พักอาพาธพระอาจารย์มั่นฯ มีการจัดแสดงบริขารของท่านพระอาจารย์มั่นที่องค์ท่านเคยใช้ในคราวมาพักอาพาธอยู่ที่วัดแห่งนี้ อันได้แก่ แคร่คานหามที่ได้ใช้อาราธนาองค์ท่านจากวัดป่าบ้านหนองผือ มาที่วัดป่ากลางโนนภู่แห่งนี้, เตียง, มุ้ง, กลด, ที่นอน, ประทุน ฯลฯ รวมทั้ง ยังได้จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับชีวประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ตลอดจนเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป, รูปหล่อเหมือนท่านพระอาจารย์มั่น, ภาพถ่ายประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าที่หาชมได้ยาก, พระบรมสารีริกธาตุ, อัฐิธาตุของท่านพระอาจารย์มั่น, อัฐิธาตุของพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายพระป่ากรรมฐาน, อัฐิธาตุของอดีตเจ้าอาวาส คือ พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน และพระอาจารย์กว่า สุมโน เป็นต้น

    เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน) แห่งวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี ได้เมตตามาเป็นองค์ประธานเปิดพิพิธภัณฑ์ศาลาที่พักอาพาธพระอาจารย์มั่นฯ และบรรจุอัฐิธาตุของท่าน พร้อมทั้งมารับผ้าป่าช่วยชาติในคราวเดียวกัน นับแต่นั้นมาพิพิธภัณฑ์ศาลาที่พักอาพาธพระอาจารย์มั่นฯ แห่งนี้จึงกลายเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ทางพระพุทธศาสนาสืบต่อมา
    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=29551
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญหลวงปู่ก้าน วัดเขาต้นเกตุ
    ให้บูชาองค์ละ 300บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-jpg.jpg %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,148
    ค่าพลัง:
    +21,318
    พระอธิการสง่า ติกขวีโร เจ้าอาวาสวัดเขาไม้แดง เปิดเผยว่าวันนี้ทางวัดเขาไม้แดง พร้อมด้วยคณะศิษยานุศิษย์ และญาติ ได้กำหนดประกอบพิธีบรรจุสังขารหลวงพ่อในรูปหล่อทองเหลืองยืนเดินธุดงค์ ขนาดสูง 3.36 เมตร ตามความประสงค์ของหลวงพ่อที่ได้สั่งการไว้ก่อนมรณภาพให้บรรจุสังขารของท่านไว้ในรูปหล่อทองเหลืองยืนเดินธุดงค์ที่จัดสร้างไว้เมื่อครั้งทำบุญอายุครบอายุ 60 ปี ตั้งแต่ปี 2530 และในวันที่ 17พ.ย.2554 นี้ จะประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทานถวายแด่หลวงพ่อ

    พระครูธรรมกิจโกวิท" หรือ "หลวงพ่อยงยุทธ ธัมมโกสโล" เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองชลบุรี มีเมตตาธรรมสูง มักน้อยถือสันโดษ มีพลังจิตที่เข้มขลังอาคมที่แก่กล้า นามของท่านจึงขจรขจายไปไกลทั่วภาคตะวันออก มีนามเดิมว่า จำปี แก้วไพรำ เกิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2470 ในเรือนแพจอดอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา เขตอำเภอไชโย จ.อ่างทอง โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายเชียงและนางถุงเงิน แก้วรำไพ ครอบครัวมีพี่น้อง 5 คน

    เมื่อช่วงวัยเด็ก พ่อกับแม่ได้ไปฝากกับญาติผู้ใหญ่คนหนึ่ง คือ พระครูโกวิทนวการ หรือหลวงปู่โห้ เจ้าอาวาสวัดวงษ์ภาศนาราม เพื่อให้ได้ศึกษาเล่าเรียน ก่อนได้เข้ารับการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดมะขาม กระทั่งจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 หลังจากนั้นก็ได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนปัทมโรจน์ ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดอ่างทอง จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

    ต่อมาท่านได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ยงยุทธ" หลังจากนั้นได้เดินทางมาศึกษาต่อที่โรงเรียนวุฒิศึกษา แถวฝั่งธนบุรี จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 ก่อนที่จะทำงานที่วิทยุการบินแห่งประเทศไทย

    เมื่ออายุ 23 ปี ได้ลางานพักผ่อน 15 วัน และท่านตัดสินใจบวช เพื่อทดแทนคุณบิดามารดา ณ วัดบ้านป่า อ.ไชโย จ.อ่างทอง โดยมีพระครูโกวิทนวการหรือหลวงปู่โห้ เจ้าอาวาสวัดวงษ์ภาศนาราม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูวิบูลสังฆกิจ เจ้าคณะอำเภอไชโย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระอธิการตี๋ เจ้าอาวาสวัดประสาท เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า ธัมมโกสโล ครั้นใกล้ครบกำหนดลางาน 15 วัน ปรากฏว่า พระยงยุทธไม่ยอมลาสิกขาบท ตัดสินใจบวชต่อ เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย อีกทั้งมุ่งมั่นฝึกฝนกัมมัฏฐาน จนเกิดความสุขสงบทางใจ

    ท่านได้มีโอกาสศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐาน จากหลวงปู่ลิ้ม วัดไทรใต้ จ.นครสวรรค์ และครูจาบ สุวรรณ เป็นฆราวาส เชี่ยวชาญด้านกสิณมาก ในปี พ.ศ.2502 ท่านได้ออกเดินธุดงค์ผ่านมา จ.ชลบุรี พบว่าบริเวณเขาไม้แดงนั้น มีความร่มรื่นอาณาบริเวณเงียบสงบ ท่านตัดสินใจจะสร้างวัดที่เขาไม้แดง เริ่มจากพัฒนาสร้างศาสนสถานชั่วคราว เป็นกุฏิที่พักสงฆ์ หรือศาลาโรงธรรมอื่นๆ ทำด้วยไม้และมุงด้วยจาก

    เรื่องราวที่พระอาจารย์ยงยุทธ ได้ทราบไปถึง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ให้ความสนับสนุนส่งเสริม มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ทหารจำนวนหนึ่งไปตรวจสอบสถานที่และทำรายงานมาเสนอทางราชการ แต่ผ่านไปเพียง 3 เดือน จอมพลสฤษดิ์ ได้ถึงแก่อสัญกรรม ทำให้แผนพัฒนาวัดเขาไม้แดงหยุดชะงักไป

    หลวงพ่อยงยุทธ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูธรรมกิจโกวิท ด้วยความที่หลวงพ่อยงยุทธ เป็นผู้ที่มีชาวบ้านให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก หลวงพ่อยงยุทธจึงได้สร้างวัตถุมงคลเอาไว้หลายรุ่น ทั้งเหรียญพระ รูปหล่อ ฯลฯ ได้รับความเลื่อมใสจากบรรดาทหาร ที่นิยมหาพระเครื่องของหลวงพ่อยงยุทธไปคล้องคอติดตัว เพื่อความเป็นสิริมงคล เมื่อย่างเข้าสู่วัยชรา ท่านก็มีโรคประจำตัว คือ โรคหัวใจ ต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ในวันที่ 1 พ.ย.2545 ด้วยโรคถุงน้ำดีอักเสบและโรคหัวใจ หลวงพ่อยงยุทธ ธัมมโกสโล ได้มรณภาพด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันที่ 17 พ.ย.2545 เวลา 05.45 น. สิริอายุ 75 ปี 2 เดือน พรรษา 52


    การจากไปของท่านได้สร้างความเศร้าสลดแก่คณะศิษย์และผู้ที่ศรัทธาในตัวหลวงพ่อเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ สังขารของหลวงพ่อยงยุทธ คณะกรรมการวัดเขาไม้แดง ได้บรรจุไว้ในโลงแก้ว ตั้งในกุฏิของท่าน เพื่อให้คณะศิษย์ได้มากราบไหว้

    554000015299803.jpg

    554000015299801.jpg https://mgronline.com/local/detail/9540000144594
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญหลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง ปี 2540
    ให้บูชาองค์ละ 150บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ(ปิดรายการ)

    ลพ.ยงยุทธ.JPG ลพ.ยงยุทธหลัง.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2020
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,148
    ค่าพลัง:
    +21,318
    พระครูพิศิษฏ์สังฆการ (ครูบาผัด ผุสฺสิตธมฺโม)



    1.jpg



    ประวัติครูบาผัด ผุสฺสิตธมฺโม

    พระครูพิศิษฏ์สังฆการ (ครูบาผัด ผุสฺสิตธมฺโม)
    วัดศรีดอนมูล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
    ถือเป็นพระเกจิอันดับ ๑ ใน ๙ ของพระเกจิแห่งล้านนา มีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนมากมาย และงานเผยแผ่ศาสนา อีกมากมายเช่นกัน และยังเป็นผู้สืบทอดวิชาทำตะกรุดมหากาสะท้อนกลับ และตะกรุดหัวใจพุทธคุณ ๑๐๘ ตะกรุดมหาลาภ ที่โด่งดังมาจนถึงขณะนี้


















    2.jpg
    อัฐิธาตุของครูบาผัด แปรสภาพตกผลึกขาวใส คล้ายหยก



    3.jpg
    อัฐิธาตุของครูบาผัดตกผลึกคล้ายหยก

    http://www.santidham.com/tatu1st/tatu/present/k-pad/k-pad.html

    ประวัติครูบาผัด ผุสสิตธัมโม
    c314b-jpg.jpg
    พระครูพิศิษฏ์สังฆการ หรือ ครูบาผัด ผุสฺสิตธมฺโฒ เมื่อครั้งยังเป็นฆราวาสมีนามว่า นายผัดเจริญเมือง มี ภูมิลำเนาเดิม อยู่ที่บ้านป่าแคโยง หมู่ 5 ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่เกิดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2468 ปีฉลู เป็นบุตรคนที่ 3 ของนายคำตั๋น เจริญเมือง กับนางจี๋ เจริญเมือง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4 คน ดังนี้
    1. นายอ้าย เจริญเมือง (เสียชีวิตแล้ว) 2. นายจอน เจริญเมือง (เสียชีวิตแล้ว) 3. นายผัด เจริญเมือง (พระครุพิศิษฏ์สังฆการ) 4. นางเกี๋ยงคำ พิสุทธิ์ (เสียชีวิตแล้ว)
    เมื่ออายุได้ 15 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2483 ปีมะโรงที่วัดป่าแคโยง ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ โดยมีพระอธิการอินตา วัดสันกลาง ต.ดอนแก้ว อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาได้ อุปสมบทเป็นพระภิษษุสงฆ์ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2488 ปีระกา ขณะอายุได้ 20 ปี ที่ วัดกองทราย ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ โดยมีพระอธิการมั้น นนฺโท วัดป่าเปอะ อ.สารภี เชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า ผุสฺสิตธมฺโม ต่อมาได้จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าแคโยง ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของครุบาผัด
    เนื่องจากครูบาผัดท่านมีความรู้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านยาสมุนไพรรักษาโรคต่าง ๆ มากมายโดยเฉพาะโรคไต ซึ่งสมัย ก่อนจะเป็นโรคนี้กันมาก คือมีอาการทางร่างกายที่เห็นได้ชัดเจนคือตัวบวม หรือทางลานนาเรียกว่าตัวพอง ผอมเหลือง ในปี พ.ศ.2493 ท่านครูบาผัดได้ไปรักษาโรคให้ชาวบ้านแถววัดศรีดอนมูลอยู่เป็นประจำ ซึ่งมีคุณพ่อช่อ ชัยมงคล และ ชาวบ้านบริเวณนั้น เป็นคนไข้ของท่าน ประกอบกับทางวัดศรีดอนมูลขาดผู้ปกครองวัด คณะศรัทธาวัดศรีดอนมูลจึงนิมนต์ ครูบาผัดให้มาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดศรีดอนมูล โดยได้ไปกราบนมัสการขอจาก พระครูพุทธาทิตยวงศ์ เจ้าอาวาสวัดป่าแคโยง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ (ขณะนั้นท่านเป็นเจ้าคณะอำเภอสารภี) จากนั้นครูบาผัดจึงเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีดอนมูลตั้งแต่นั้นมา และได้พัฒนาวัดศรีดอนมูลเรื่อยมาจนเป็นที่รู้จักอย่างดีของสาธุชนทั้งหลายถึงทุกวันนี้ ท่านได้ทำนุบำรุงพระศาสนา สร้าง และบูรณะซ่อมแซมภายในวัดศรีดอนมูลและพัฒนาชุมชนบริเวณรอบวัดศรีดอนมูลเรื่อยมา นากจากนี้ท่านยังเป็นปรมา- จารย์ต้นตำรับของตะกรุดกาสะท้อนและวัตถุมงคลด้านเมตตา ด้านป้องกันภัยต่าง ๆ หลายอย่าง ซึ่งเป็นที่เลื่องลือกันไปทั่ว
    ในปี พ.ศ.2537 ขณะนั้นครูบาผัดมีอายุได้ 69 ปีท่านป่วยกะทันหันถึงกับต้องเข้าโรงพยาบาลและผ่าตัดสมองเป็นการ ด่วนซึ่งคณะแพทย์ได้บอกให้กับคณะศรัทธา และพระลูกวัดทุกคนเตรียมทำใจไว้ด้วย เพราะการผ่าตัดครั้งนี้มีความเสี่ยงสูง ทำให้ครูบาน้อย เตชปญฺโญ ไม่สบายใจเป็นอย่างยิ่ง ครูบาน้อยพยายามหาวิธีที่จะทำให้ครูบาผัดซึ่งเป็นพระอาจารย์มีชีวิต ยืนยาวต่อไป ท่านได้ค้นคว้าทางธรรมะจนได้ศึกษาธรรมค้นพบวิธีจากหนังสือที่ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย เขียนเอาไว้ ครูบาน้อยจึงได้ทำการปฏิบัติทันที คือการเข้านิโรธกรรม ตามแบบของครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย โดยตั้ง สัจจะอธิษฐานถวายชีวิตไว้กับพระพุทธศาสนาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และปฏิบัติเข้านิโรธกรรมทันที ซึ่งครั้งนี้ เป็นครั้งแรก ท่านยึดปฏิบัติเป็นเวลา 3 วัน และน่าประหลาดใจยิ่งนัก เมื่อท่านได้ปฏิบัติไปเพียง 2 วันเท่านั้น อาการของ ครูบาผัดก็หายอย่างรวดเร็วราวกับปาฏิหาริย์
    ครูบาผัดท่านมีเมตตาสูง ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้สูงอายุ และศรัทธาทั่วไป ท่านได้รับการกล่าวขานเสมอว่า ไปหา หลวงปู่ เด็กทุกคนที่ไปหาจะได้รับความอิ่มเอิบใจกันถ้วนหน้า เพราะหลวงปู่จะให้ขนมนมเนยและสตางค์ติดกลับไป เป็นขวัญถุงเสมอทุกครั้งที่ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ครูบาผัดจะมีอารมณ์ดีสดชื่นแจ่มใสอย่างเห็นได้ชัดเจน เนื่องจากท่าน ได้เห็น ลูกศิษย์ท่านเข้านิโรธกรรมและเมื่อออกนิโรธกรรมครูบาผัดจะนำครูบาน้อยปะพรมน้ำมนต์แผ่เมตตาแก่คณะ ศรัทธาญาติโยมที่มาร่วมทำบุญบำเพ็ญกุศล ทุกครั้ง จนถึงครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550(เป็นการ เข้านิโรธกรรมเป็นปีที่ 14)และแล้วในวันที่ 18 ตุลาคม 2550 หลวงปู่ต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อรักษาอาการป่วยอีกครั้ง แต่การไปครั้งนี้ทำให้คณะศรัทธาญาติโยมต้องสูญเสียหลวงปู่ไปอย่างไม่มีวันกลับมาอีกเลย เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2550 เวลา 15.39 น. รวมสิริอายุได้ 82 ปี 5 เดือน 14 วัน
    http://www.watsridonmoon9.com/th/news-activities/detail/27

    ศพไม่ไหม้- ศิษย์แห่ร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพครูบาผัด วัดศรีดอนมูล จ.เชียงใหม่

    พบมหัศจรรย์ศพไม่ไหม้ชาวบ้านเชื่อเพราะอิทธิฤทธิ์ตะกรุดกาสะท้อน

    ครูบาน้อยศิษย์เอกต้องทำพิธีล้างอาคม ศพจึงไหม้จนหมด

    ศิษยานุศิษย์กว่าครึ่งแสนร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพ"ครูบาผัด" เกจิอาจารย์ล้านนา

    ต้นตำรับตะกรุดกาสะท้อน ฮือฮารอบๆวัดฝนตกหนักแต่บริเวณพิธีลมพัดเย็นสบาย

    ไม่มีฝนแม้แต่เม็ดเดียว ขณะที่ช่วงเผาศพทั้งปราสาทและโลงต่างไหม้ไฟหมด

    ทว่าสังขารครูบาผัดกลับไม่ไหม้ไฟ "ครูบาน้อย"ศิษย์เอกต้องนั่งอธิษฐานจิต

    ล้างอาคมพระอาจารย์ จากนั้นไฟจึงเผาสรีระครูบาผัดจนหมด

    เป็นที่อัศจรรย์แก่ลูกศิษย์จนต้องก้มกราบ พร้อมกับเปล่ง"สาธุ"ดังกระหึ่ม

    เมื่อเวลา 15.30 น.วันที่ 30 มี.ค.ที่เมรุชั่วคราวบริเวณลานอเนกประสงค์เจดีย์ 9 คณาจารย์

    วัดศรีดอนมูล ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ มีพิธีพระราชทานเพลิงศพพระครูพิศิษฏ์สังฆการ

    หรือครูบาผัด ผุสฺสิตธมฺโม เกจิอาจารย์ชื่อดังล้านนา เจ้าตำรับตะกรุดกาสะท้อน

    โดยมีนายชูชาติ กีฬาแปง รองผู้ว่าฯ เชียงใหม่ ประธานฝ่ายฆราวาส

    เป็นผู้อัญเชิญผ้าไตรพระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

    จำนวน 5 ผืน และอัญเชิญไฟหลวงพระราชทานเข้าประกอบพิธี

    ฝ่ายสงฆ์มีพระเทพวิสุทธิคุณ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธาน

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พิธีพระราชทานเพลิงศพครูบาผัดครั้งนี้มีประชาชนและศิษยานุศิษย์

    จากทั่วสารทิศมาร่วมพิธีกว่าครึ่งแสนคน ทำให้บริเวณเมรุชั่วคราว

    พื้นที่กว่า 30 ไร่แคบลงไปถนัดตา โดยช่วงทำพิธีเพื่ออัญเชิญผ้าไตรพระราชทาน

    และไฟหลวงพระราชทานนั้น เกิดลมพายุพัดตลอดเวลา ขณะเดียวกันรอบๆ

    วัดศรีดอนมูลเกิดพายุและฝนตกอย่างหนัก แต่บริเวณพิธีพระราชทานเพลิงศพครูบาผัด

    กลับไม่มีฝนมีแต่ลมพัดสร้างความเย็นสบายแก่ผู้มาร่วมพิธีเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง

    ทุกคนต่างยกมือท่วมหัวสาธุ เพราะเชื่อว่าเป็นบุญญาบารมีของครูผาผัด

    หลังเสร็จพิธีอัญเชิญผ้าไตรพระราชทานและไฟหลวงพระราชทานแล้ว พระสงฆ์

    ประชาชนและศิษยานุศิษย์ร่วมกันวางดอกไม้จันทน์ จากนั้นพระราชทานเพลิง

    โดยใช้พลุและดอกไม้ไฟนานาชนิดตามประเพณีแบบโบราณเพื่อเผาทั้งปราสาทนกหัสดีลิงค์

    โดยมีรถดับเพลิงของเทศบาลตำบลชมภู คอยดูแลไม่ให้เพลิงลุกลามจำนวน 5 คัน

    ทั้งนี้ขณะที่ไฟกำลังลุกไหม้ปราสาทนกหัสดีลิงค์และลามไหม้โลงศพแก้วบรรจุสังขารครูบาผัด

    จนเป็นจุณไปในพริบตา ปรากฏว่าสรีระของครูบาผัดที่นอนสงบอยู่ในโลงแก้ว

    กลับไม่ไหม้ไฟทั้งที่เปลวเพลิงลุกโหมรุนแรงตลอดเวลา ประชาชนและศิษยานุศิษย์ที่เฝ้าดู

    ต่างฮือฮาและพากันก้มลงกราบพร้อมกับเปล่งคำว่า "สาธุ" ดังกระหึ่ม

    กระทั่งไฟได้ไหม้ปราสาทนกหัสดีลิงค์และโลง ศพจนหมดแล้วแต่กลับเหลือ

    สรีระของครูบาผัดนอนทอดยาวบนกองเพลิงไม่ได้ไหม้ไฟไปด้วย

    จากนั้นคณะกรรมการวัดและศิษยานุศิษย์จึงร้องขอให้พระครูสิริศีลสังวร

    หรือครูบาน้อย เตชปัญโญ ศิษย์เอกครูบาผัด นั่งอธิษฐานจิต

    เพื่อล้างอาคมในตัวครูบาผัดให้หมดสิ้นไปเพื่อไฟพระราชทานจะได้ไหม้ส่งดวงวิญญาณ

    ไปสู่สัมปรายภพ เมื่อครูบาน้อยนั่งจิตอธิษฐานเพลิงก็ค่อยๆไหม้สรีระครูบาผัดไปเรื่อยๆ

    จนหมดเป็นที่น่าอัศจรรย์แก่ผู้อยู่ร่วมงานหลายหมื่นคน

    นายภัทร กองคำ คณะกรรมการวัดศรีดอนมูล เปิดเผยว่า

    สาเหตุที่สรีระของครูบาผัดไม่ไหม้ไฟนั้น น่าเชื่อว่าเป็นเพราะวิชาอาคมในตัวของครูบาผัด

    ยังล้างออกไปไม่หมด ตอนที่ครูบาผัดมรณภาพทางครูบาน้อย

    ศิษย์เอกก็ได้นำน้ำสมป่อยล้างวิชาอาคมออกจากตัวครูบาผัดแล้วครั้งหนึ่ง

    คาดว่ายังคงมีวิชาอาคมบางส่วนยังล้างไม่ออก โดยเฉพาะวิชาตะกรุดกาสะท้อนที่แรงกล้าติดตัวท่าน

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญครูบาผัด
    ให้บูชา100บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ
    ครูบาผัด.JPG ครูบาผัดหลัง.JPG
     
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,148
    ค่าพลัง:
    +21,318
    เบอร์บัญชีผมครับ
    เบอร์บัญชีธ.กรุงไทย KTB125-0-08923-9 supachai thu

    โอนเงินแล้วช่วยแจ้งวันเวลาที่โอนในกระทู้เพื่อง่ายในการตรวจสอบ หรือทางPMไม่ต้องโพสหลักฐานให้เสียเวลา สมัยนี้โลกออนไลน์ตรวจสอบง่ายหลอกกันยาก แล้วจะรีบดำเนินการจัดส่งEMSไปให้โดยด่วนนะครับ..หลายรายการก็ค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ติดต่อได้ที่ 08..1.70..4..72..64
     
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,148
    ค่าพลัง:
    +21,318
    เหรียญไตรภาคี วัดปรก จ.สมุทรสงคราม ปี 2519

    เหรียญรุ่นนี้จัดสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ให้ประชาชนได้ร่วมทำบุญ เพื่อนำรายได้สมทบเพื่อจัดสร้างศาลาการเปรียญใน ปี 2519 มีความพิถีพิถันทั้งในเรื่องของวัตถุมงคล รายละเอียดต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่บนหน้าเหรียญ ตลอดจนกระทั่งพิธีปลุกเสก

    การสร้างเหรียญรุ่นนี้ ได้มีการอัญเชิญบารมีของสุดยอดพระเกจิอาจารย์ที่เป็นที่นับถือของเรา ๆ ท่าน ๆ ทั้งสามภาค
    ได้แก่ หลวงพ่อทวด เกจิอาจารย์ภาคใต้ สมเด็จพุฒาจารย์โต เกจิอาจารย์ภาคกลาง และ ครูบาศรีวิชัย เกจิอาจารย์ภาคเหนือ โดยได้นำใบหน้ารูปเหมือนของท่านมาเป็นแบบของเหรียญด้านหน้า และเป็นที่มาของชื่อเหรียญ ไตรภาค

    ด้านหลังของเหรียญ ตรงกลางเป็นยันต์น้ำเต้า ซึ่งเป็นอักขระยันต์สัญลักษณ์ของเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์ ด้านล่างเป็นอักขระคาถาของหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม จ.สมุทรสงคราม ซึ่งปรากฏอยู่บนเหรียญรุ่นแรกของท่าน สำหรับอักขระคาถารอบเหรียญ เป็นของหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี ซึ่งปรากฏอยู่ด้านหลังเหรียญรุ่นแรกของท่านเช่นเดียวกัน
    โดยเหรียญนี้ได้เข้าพิธีพุทธาพิเศกครั้งแรกที่วัดสวนดอก เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2519 โดยมีพระเถราจารย์สายเหนือเข้าร่วมพิธีดังรายนามต่อไปนี้
    1. หลวงปู่คำแสน วัดสวนดอก
    2. หลวงปู่คำแสน วัดดอนมูล
    3. หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง
    4. ครูบาอินทรจักรสังวร วัดน้ำบ่อหลวง
    5. ครูบาชุ่ม วัดวังมุ่ย
    6. ครูบาธรรมาชัย วัดทุ่งหลวง
    7. ครูบาคำตัน วัดดอนจีน
    8. ครูบาอินถา วัดเชียงมั่น
    9. ครูบาไฝ วัดพันอ้น

    ต่อมาทางผู้สร้างคือพระอาจารย์เจิมได้นำเหรียญทั้งหมดไปให้ครูบาอาจารย์สายพระอาจารย์มั่นปลุกเศกเดี่ยวดังนี้
    1. หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่
    2. หลวงพ่อครูบาพรหมจักสังวร วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน
    3. หลวงพ่อครูบาสิริธรรมวารี วัดศรีโสดา เชียงใหม่
    4. หลวงปู่ผั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
    5. หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต ขอนแก่น
    6หลวงปู่อ่อน วัดป่านิโครธาราม อุดรธานี
    7หลวงปู่ชอบ วัดป่าสัมมานุสรณ์ เลย

    และมาเข้าพิธีพุทธาพิเศกที่วัดเพิ่มเติมอีกเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2519 โดยมีรายนามพระเถราจารย์ที่เข้าร่วมพิธีดังนี้
    1. พระราชสมุทรเมธี(หลวงพ่อเจริญ) วัดอัมพวัน
    2. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    3. หลวงปู่บุญ วัดวังมะนาว
    4. หลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆษิตาราม
    5. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
    6. หลวงพ่อนวม วัดเขาสมอระบัง
    7. หลวงพ่อหนู วัดภุมรินทร์
    8. หลวงพ่อแดง วัดบางเกาะเทพศักดิ์
    9. หลวงพ่อเพิ่ม วัดสรรเพชญ์

    เหรียญดี มีประสบการณ์ครับ
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญไตรภาคี
    ให้บูชา100บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ(ปิดรายการ)

    ไตรภาคี.JPG ไตรภาคีหลัง.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 เมษายน 2020
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,148
    ค่าพลัง:
    +21,318
    หลวงปู่บางพระเถระรามัญ “เทพเจ้าแห่งมอญกระทุ่มมืด”

    วันนี้ขอเสนอ ชีวประวัติของพระเถราจารย์รามัญ ผู้เสมือนดั่งเทพเจ้าของชาวมอญกระทุ่มมืด พระเถระรูปนี้ก็คือ

    S__27754499.jpg

    “พระครูปัญญานนทคุณ (บาง ปัญญาทีโป)”
    อดีตเจ้าอาวาสวัดสโมสร(เภี่ยเกริงหม่อมแช่ม) ต.ไทรใหญ่ อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี

    พระครูปัญญานนทคุณ หรือ หลวงปู่บาง ปัญญาทีโป ท่านมีนามเดิมว่า บาง นามสกุล นุชสุภาพ เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๐ ท่านถือกำเนิดในครอบครัวชาวมอญแห่งบ้านคลองหม่อมแช่ม ต.ไทรใหญ่ อ.บางบัวทอง (ขณะนั้นยังไม่ได้ตั้งเป็นอำเภอไทรน้อย) จ.นนทบุรี เป็นบุตรของโยมพ่อคำ นุชสุภาพ และโยมแม่กุหลาบ นุชสุภาพ ท่านมีพี่น้องร่วมสายโลหิต ๒ คน โดยท่านเป็นบุตรชายคนโต เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๗๐ บิดามารดาของท่านได้ย้ายครอบครัวไปอยู่ที่ปากลัด อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ หลวงปู่บางก็ได้ย้ายตามไปด้วย ในวัยเด็กท่านได้ศึกษาตำราหนังสือไทยที่วัดแหลม โดยมีพระมังกร ซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติกันกับท่านเป็นผู้สอนให้ ต่อมาท่านได้เข้าศึกษาวิชาสามัญที่โรงเรียนอนุบาลวัดกลางสวน โดยภายหลังโรงเรียนได้ถูกยุบไปเพราะมีเด็กนักเรียนน้อย บิดามารดาท่านจึงพาไปฝากเรียนกับพระอาจารย์เติม ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดกลางสวนในขณะนั้น
    ท่านได้เรียนตำราหนังสือภาษามอญจนอ่านออกเขียนได้โดยคล่อง ต่อมาบิดามารดาท่านจึงได้พาไปฝากเรียนกับหลวงตาสว่าง ซึ่งมีศักดิ์เป็นตาของท่าน ที่วัดสุทธาโภชน์ กิ่งอำเภอลาดกระบัง จ.พระนคร ต่อมาหลวงตาสว่างได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหม่อมแช่ม(วัดสโมสร) ท่านจึงได้ติดตามหลวงตาสว่างมาอยู่ที่วัดสโมสรด้วย แต่ท่านก็ยังเดินทางไปเรียนวิชาที่วัดกลางสวนด้วย กระทั่งเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ ท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดกลางสวน อ.พระประแดง โดยมีพระอธิการเติม วัดกลางสวน เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อท่านบวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านได้อยู่ศึกษาธรรม และไสยเวทย์รามัญกับพระอาจารย์เติมได้ ๑ พรรษา ภายหลังท่านต้องกลับมาดูแลหลวงตาสว่างที่วัดสโมสร เนื่องจากชราภาพและตามองไม่เห็น เมื่อท่านมาอยู่ที่วัดสโมสร ซึ่งในขณะนั้น มีพระอาจารย์เจิ๊ด เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งในขณะนั้นทางวัดสโมสรได้เปิดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม พอดี ท่านจึงได้เข้าเรียนพระปริยัติธรรม ที่สำนักวัดสโมสร จนท่านสามารถสอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ซึ่งในขณะท่านมีอายุได้ ๑๗ ปี ต่อมาพระอาจารย์เจิ๊ด จึงได้แต่งตั้งให้สามเณรบางเป็นครูสอนนักธรรมชั้นตรี โดยท่านได้สอนหนังสือมอญควบคู่ไปด้วย พอท่านมีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ท่านจึงได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดกลาง ต.บางผึ้ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ โดยมี พระครูธรรมวิธานปรีชา(พระมหาทองก้อน กงทอง) วัดกลาง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดอุย วัดกลาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระสมุห์จีบ วัดกลาง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ โดยมีฉายาทางธรรมว่า “ปัญญาทีโป”

    S__27754510.jpg

    เมื่อท่านอุปสมบทเป็นพระแล้ว ท่านก็ได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดสโมสร เพื่อร่ำเรียนพระปริยัติธรรมต่อ จนท่านสอบไล่ได้นักธรรมชั้นโท ในปี พ.ศ.๒๔๘๕ ต่อมาพระอาจารย์เจิ๊ด จึงได้แต่งตั้งให้พระภิกษุบาง เป็นครูสอนนักธรรมทั้ง ชั้นโท และชั้นตรี ท่านก็ได้สอนหนังสือมอญแก่เด็กวัดร่วมด้วยเรื่อยมาตลอด และเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๑ พระอาจารย์เจิ๊ด ท่านได้ถึงกาลมรณะภาพ พระอาจารย์บาง จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดสโมสร เมื่อท่านจัดการธุระในงานปลงศพพระอาจารย์เจิ๊ด เรียบร้อยแล้ว ท่านก็ยังได้เทียวไปเทียวมากับวัดกลางสวนอยู่สม่ำเสมอ เพื่อไปปรนนิบัติต่อพระอาจารย์เติม จนถึงวาระสุดท้าย ซึ่งทำให้เห็นว่าหลวงปู่บาง ท่านมีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณเป็นอย่างมาก ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสโมสร เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๒ ณ วัดละหาร
    S__27754502.jpg

    เมื่อท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสโมสรแล้ว ท่านได้พัฒนาเสนาสนะภายในวัด และช่วยอุปถัมภ์ชาวบ้านในด้านต่างๆ และยังส่งเสริมในด้านการศึกษามาโดยตลอด จนเมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๗ ท่านจึงได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ และคุณงามความดีที่ท่านได้สร้างไว้ ท่านจึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นตรี ที่ พระครูปัญญานนทคุณ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งนับว่าเป็นสมภารรูปแรกของวัดสโมสร ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ชั้นพระครู นำความปราบปลื้มยินดีมาสู่ชาวบ้านคลองหม่อมแช่มเป็นอย่างมาก และท่านก็ยังได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท และชั้นเอก ในปี พ.ศ.๒๕๒๔ และปีพ.ศ.๒๕๓๑ ตามลำดับอีกด้วย
    หลวงปู่บาง ปัญญาทีโป ท่านเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในด้านพระปริยัติธรรม และพระวินัย เป็นอย่างดี ท่านมีความชำนาญในด้านงานช่างไม้ และประเพณี วัฒนธรรม ภาษามอญ ในช่วงที่ท่านยังร่างกายแข็งแรงดีอยู่นั้น หลวงปู่ท่านได้สนับสนุนส่งเสริมให้พระสงฆ์และชาวบ้านนั้นช่วยกันอนุรักษ์สืบทอดประเพณีวัฒนธรรมแบบมอญไว้อย่างเข้มแข็ง ท่านเป็นผู้ที่มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณเป็นเลิศ ท่านเป็นพระที่สมถะ มักน้อย สันโดษ พูดน้อย มีจริยวัตรงดงามตามแบบพระสงฆ์มอญ เป็นที่น่าเลื่อมใสอย่างยอ่ง วัตรปฏิบัติของท่านสามารถเป็นต้นแบบที่ใช้สั่งสอนลูกศิษย์ได้ตลอดเวลา ท่านเป็นพระที่ชาวบ้านให้การเคารพศัทธาอย่างสุดใจ ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายชนิด เพื่อใช้แจกเป็นขวัญกำลังใจให้แก่บรรดาลูกศิษย์ที่เคารพศรัทธาในตัวท่าน วัตถุมงคลของท่านที่เป็นที่รู้จักกันดีว่าพุทธคุณนั้นครอบจักรวาฬ ได้ทั้งเหนียว แคล้วคลาด และเมตตา อาทิเช่น ผ้าขอดแดงไตรมาส ซึ่งเด่นในด้านแคล้วคลาดปลอดภัย, เหรียญกลมมีห่วง รุ่นแรก ปีพ.ศ.๒๕๑๗ เด่นในด้านมหาอุตม์,พระผงพิมพ์สมเด็จ พิมพ์ต่างๆ เด่นในด้านเมตตา, และอีกหลายชนิดที่ไม่ได้กล่าวถึงล้วนแต่มีประสบการณ์ทั้งสิ้น
    พระครูปัญญานนทคุณ หรือ หลวงปู่บาง ปัญญาทีโป ท่านได้มีอาการอาพาธตามวัยสังขาร ที่ล่วงโรยไปตามกาลเวลา ทำให้ท่านนั้นเดินไม่ค่อยไหว แต่ท่านก็ยังปฏิบัติกิจของสงฆ์ได้ปกติ แต่ต้องใช้ไม้เท้าช่วยพยุง ต่อมาภายหลังสังขารท่านได้ล่วงโรยไปมาก ท่านจึงต้องนั่งรถเข็น โดยมีพระลูกศิษย์เป็นผู้ปรนนิบัติ กระทั่งเมื่อช่วงปลายปี พ.ศ.๒๕๔๘ ท่านได้อาพาธอีกครั้ง โดยมีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว และในที่สุดความโศกเศร้าอาลัยของชาวมอญกระทุ่มมืดก็บังเกิด เมื่อได้ทราบข่าวว่า หลวงปู่บาง ปัญญาทีโป ท่านได้ละสังขารลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ สิริรวมอายุได้ ๘๗ ปี พรรษา ๖๖

    S__27754509.jpg

    หลังจากที่หลวงปู่บาง ปัญญาทีโป ได้มรณะภาพแล้วนั้น ทางคณะศิษยานุศิษย์จึงได้ร่วมกันจัดพิธีศพให้หลวงปู่บางตามธรรมเนียมแบบรามัญอย่างสมเกียรติ และได้จัดให้มีพิธี พระราชทานเพลิงศพ พระครูปัญญานนทคุณ (บาง ปัญญาทีโป) เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ ปราสาททรงมอญชั่วคราววัดสโมสร ซึ่งเมื่อครั้งงานปลงศพหลวงปู่บาง นี้ทางวัดฯได้จัดให้มีการจุดลูกหนู(ฮะตะน็อย)ตามธรรมเนียมงานปลงศพพระสงฆ์มอญ มีการรำสามถาดตามความเชื่อของชาวมอญ ได้จัดสร้างปราสาททรงมอญและจัดให้มีพิธียกยอดฉัตรปราสาทตามแบบภูมิปัญญามอญ มีการแสดงมหรสพสมโภชน์อย่างยิ่งใหญ่ มีประชาชนทั้งชาวไทย และชาวมอญ จากทั่วสารทิศหลั่งไหลมาร่วมงานกันอย่างคับคลั่ง ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันแสดงถึงคุณงามความดีที่หลวงปู่บางได้กระทำไว้เมื่อครั้งยังดำรงขันธ์อยู่นั่นเอง
    S__27754504.jpg S__27754505.jpg S__27754503.jpg

    เรียบเรียงโดย : ขุนแผน แดนรามัญ
    ขอขอบคุณแหล่งที่มา
    – ข้อมูลประวัติโดย จากหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ พระครูปัญญานนทคุณ(บาง ปัญญาทีโป) วัดสโมสร,อาจารย์พิศาล บุญผูก
    – ข้อมูลภาพโดย วัดสโมสร อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี , คุณหนึ่ง วัดสุท , คุณวายุ จิรายุ , คุณ Chok Dee ,

    http://thebuddh.com/?p=39830
    ในพิธีพระราชทานเพลิงศพ พระครูปัญญานนทคุณ หรือ หลวงปู่บาง ปัญญาทีโป อดีตเจ้าอาวาสวัดสโมสร ต.ไทรใหญ่ อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี

    ซึ่งเป็นพระเกจิที่ชาวมอญกระทุ่มมืดให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา คนไทยเชื้อสายมอญจากชุมชนต่างๆ ที่ทราบข่าว ต่างเดินทางมาร่วมงานจากทุกชุมชนมอญหลายหมื่นคน

    ก่อนพิธีพระราชทานเพลิงศพจะเริ่มขึ้น มีชายร่างเล็กท่านหนึ่งปรากฏกายขึ้นในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่บาง พร้อมๆ กับขบวนรถยาวเหยียด เขาผู้นั้น คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ซึ่งกำหนดการของนายกฯ นั้น คณะกรรมการวัดทราบล่วงหน้าอย่างไม่เป็นทางการเพียงไม่ถึง ๒๐ ชั่วโมง



    โดยในวันงาน นอกจากข้าราชการต้องมาเข้าแถวคอยต้อนรับแล้ว สิ่งหนึ่งดูเหมือนจำเป็นอย่างยิ่ง คือ การเกณฑ์กำลังตำรวจทั้งจังหวัดมารักษาความปลอดภัยราวกับว่า วัดสโมสรตั้งอยู่ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่แท้ที่จริงแล้วเหตุ ที่ต้องเกณฑ์ตำรวจมาทั้งจังหวัด เพราะเป็นช่วงเดียวกับม็อบเสื้อแดงได้ประกาศไว้ว่า จะแสดงการต่อต้านนายกรัฐมนตรีทุกแห่งที่ไปร่วมงานอย่างที่เป็นข่าว

    ประเด็นหนึ่ง ที่คนไทยเชื้อมอญหลายท่านมาร่วมงานในครั้งนี้ มีคำถามตามมา คือ นายอภิสิทธิ์มาด้วยความเคารพศรัทธาหลวงปู่บางจริง หรือมาอาศัยงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่บางสร้างคะแนนเสียงให้แก่ตนและพรรคกันแน่

    ในกรณีที่มาด้วยความศรัทธาหลวงปู่บางจริง ตลอด ๑๐๐ วันของการสวดศพหลังมรณภาพ และอีก ๓ ปี ที่เก็บศพไว้บำเพ็ญกุศล ซึ่งมีการสวดศพทุกๆ วันพระ อย่าว่าแต่การปรากฏตัวให้เห็นในงานสวดพระอภิธรรมเลย พวงหรีดสักพวงยังไม่มีให้เห็นเลย

    และใช่ว่านายอภิสิทธิ์จะใช้งานศพหลวงปู่บางสร้างภาพความศรัทธาโชว์คนไทยเชื้อสายมอญเพียงคนเดียว ยังมีนักการเมืองทั้งระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด ระดับประเทศ นักการเมืองจากต่างถิ่น รวมทั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หลายท่าน ก็มางานศพโดยมีจุดประสงค์เดียวกับนายกรัฐมนตรี

    พระราชวิจิตรปฏิภาณ พระนักเทศน์ชื่อดังจากวัดสุทัศนเทพวราราม กทม. หรือ "เจ้าคุณพิพิธฯ" บอกว่า ไม่เฉพาะการไปร่วมงานศพหลวงปู่บางของนายอภิสิทธิ์เท่านั้น นักการเมืองทุกระดับ ยิ่งเป็นนักการระดับที่นำหน้าคำว่า รัฐมนตรี เหตุของการไปร่วมงานศพจริงๆ นั้น มีอยู่ ๓ อย่าง คือ

    ๑.ศรัทธาจริง เมื่อทราบข่าวพระมรณภาพ ไม่ว่าทางวัดหรือเจ้าภาพจะเชิญหรือไม่เชิญ ก็จะไปร่วมงานในฐานะลูกศิษย์ที่ศรัทธา ทั้งนี้ จะวางตัวเช่นเดียวกับลูกศิษย์อื่นๆ คือ ไม่ไปเพิ่มภาระ ไม่สร้างความวุ่นวาย รวมทั้งไม่ต้องให้วัดจัดการต้อนรับ

    ๒.มาเพื่อหาเสียง ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า งานพระราชทานเพลิงศพพระนั้น ไม่ว่าจะเป็นระดับไหนจะมีประชาชนไปร่วมงานมาก เมื่อเป็นนักการเมืองไม่ไปไม่ได้ มิเช่นนั้นคะแนนเสียงจะหายหมด บางคนไปเพื่อรักษาคะแนนเสียงเดิม บางคนไปเพื่อหาคะแนนเสียงใหม่เพิ่มเติม ทั้งนี้จะมีนักการเมืองท้องถิ่นคอยประสานให้มีบทบาทในพิธีการสำคัญๆ เช่น จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย หรือ ทอดผ้าบังสุกุล เป็นต้น

    และ ๓.ไปด้วยความเกรงใจ ส.ส. นักการเมืองท้องถิ่น โดยไม่มีความศรัทธา หรือเกี่ยวข้องกับพระเกจิอาจารย์นั้นๆ แม้แต่น้อย การไปร่วมงานลักษณะนี้ มักจะไปเพื่อเป็นเกียรติ เพื่อรักษาหน้าเจ้าภาพผู้เชิญ รวมทั้งเพื่อสร้างฐานเสียงทางการเมือง ทั้งนี้ไม่ต้องถามเรื่องปัจจัยทำบุญ เพราะผู้เชิญได้หน้าแล้ว ถือว่าการไปร่วมงานดังกล่าวเป็นตามวัตถุประสงค์ผู้เชิญแล้ว

    พร้อมกันนี้ เจ้าคุณพิพิธฯ ยังพูดไว้อย่างน่าคิดว่า “วัดหรือเจ้าภาพใดที่เชิญ ส.ส. รัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รวมทั้งนักการเมืองทุกระดับ ขอจงภาวนาว่า ขออย่าให้ได้รับเงินช่วยงานจากท่านเหล่านี้เลย เพราะหากคำนวณจากเงินเดือนที่นักการเมืองได้รับแต่ละเดือน กับที่ต้องไปช่วยเหลืองานบุญ ทำงานเท่าไรก็ไม่พอเงินเดือน เว้นแต่ไปทุจริตโกงกินโครงการต่างๆ เท่านั้น ถึงจะมาช่วยเหลืองานบุญได้ และเงินที่เขาทุจริตมานั้น ก็เป็นเงินจากภาษีอากรของประชาชนทั้งนั้น เขาโกงเงินเรามาช่วยเรา เท่ากับเรามีส่วนโกงเงินของเราด้วย"

    อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางการสร้างภาพลวงตาในความศรัทธาหลวงปู่บางของนายอภิสิทธิ์ และนักการเมือง ยังมีศรัทธาที่ศรัทธาจริงโดยมิได้เสแสร้งปรุงแต่งอีกนับหมื่นศรัทธา โดยเฉพาะศรัทธาของลูกศิษย์ที่มาตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารและน้ำในวันพระราชทานเพลิงศพ ที่มีมากกว่า ๕๐ ราย บางรายเลี้ยงตั้งแต่เช้าจนกระทั่งถึงเย็น ในขณะที่เงินทำบุญผ่านธนาคารบัญชี “นายวีรพงษ์ ศรีสุวัฒนาสกุล” ได้นำมาร่วมตั้งโรงทานทุกบาททุกสตางค์ถึง ๖ วัน

    สำหรับศรัทธาของผู้ตั้งโรงทาน ที่อดจะเขียนถึงไม่ได้ คือ ศรัทธาของแรงงานมอญ ที่ทำงานอยู่ใน อ.บางเลน จ.นครปฐม ทั้งชายและหญิงกว่า ๑๕๐ คน โดยทุกคนจะพร้อมใจกันแต่งกายแบบ มอญ หรือ ชุดประจำชาติ พร้อมกับเข็มกลัดหงส์สัญลักษณ์แห่งมอญ กลัดที่เสื้อทุกคน

    นายเวย์ อายุ ๔๙ ปี จากเมืองเจอิงสกี (ใกล้ๆ กับย่างกุ้ง) ประเทศพม่า เข้ามาทำงานในประเทศไทยกว่า ๒๕ ปี ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะผู้นำศรัทธาของแรงงานมอญในครั้งนี้ บอกว่า คติความเชื่อของมอญที่อยู่ในประเทศไทย และมอญที่อยู่ในพม่าเหมือนกัน คือ การได้ไปร่วมงานเผาศพพระที่มีจริยวัตรอันงดงาม ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยธรรมนั้น จะได้บุญมากกว่าไปร่วมงานใดๆ เมื่อทราบข่าวก็รวบรวมเงินกันมาตามกำลังศรัทธา ได้เงินมา ๑๖,๐๘๐ บาท โดยมีความคิดตรงกันว่า จะนำเงินมาตั้งโรงทานบริการน้ำดื่มตลอดทั้งงาน

    การไปร่วมงานบุญของแรงงานมอญพม่านั้น ประการแรกจะเลือกไปทำบุญวัดมอญก่อน ทั้งนี้จะได้รับความสะดวกเรื่องการสื่อสารด้วยภาษามอญ ขณะเดียวกันก็จะได้รับการต้อนรับจากคนไทยเชื้อสายมอญเป็นอย่างดี โดยจะแต่งชุดประจำชาติมอญไปร่วมงานทุกครั้ง ซึ่งก่อนหน้านี้เคยไปช่วยงานวัดเจดีย์หอย จ.ปทุมธานี ร่วมทั้งไปร่วมงานหลวงพ่ออุตตมะ จ.กาญจนบุรี มาแล้วด้วย ถ้าเป็นวัดไทยก็จะแต่งตัวธรรมดาให้กลมกลืนกับคนไทย แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยไปเท่าไรนัก เพราะไม่สะดวกในหลายๆ เรื่อง

    “ผมต้องขอขอบคุณนายจ้างคนไทยทุกๆ ท่านที่เห็นความสำคัญของการทำบุญ โดยอนุญาตให้หยุดงานพร้อมๆ กัน เมื่อเห็นว่าวัดใดวัดหนึ่งมีประเพณีหรือตรงกับเทศกาลสำคัญๆ แต่สิ่งหนึ่งที่คอยขวางอุปสรรค คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งๆ ที่รู้ว่า เราไปทำบุญก็กลับมาขวางบุญ หาเรื่องจับเสียอย่างนั้น ในข้อหาว่าออกนอกพื้นที่โดยไม่ได้รับอนุญาต ภายหลังเมื่อนายจ้างรู้ก็ช่วยทำหนังสือขออนุญาตออกนอกพื้นที่ให้”

    เรื่อง... "ไตรเทพ ไกรงู"
    ภาพ... "ประเสริฐ เทพศรี"

    https://www.komchadluek.net/news/lifestyle/5867

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญลป.บาง วัดสโมสร
    ให้บูชา100บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    ลป.บาง.JPG ลป.บางหลัง.JPG
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,148
    ค่าพลัง:
    +21,318
    รูปหล่อเนื้อผงผสมเกษาหลวงพ่อทองบุญ วัดทองธรรมิการาม จ.สมุทรสาคร

    ให้บูชาบาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    ลป.ทอง.JPG ลป.ทองกล่อง.JPG ลป.ทองหลัง.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2022
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,148
    ค่าพลัง:
    +21,318
    เหรียญลพ.พุฒ วัดกลางบางพระ
    ให้บูชา100บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    ลพ.พุฒ.JPG ลพ.พุฒใหญ่.JPG
     
  11. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,148
    ค่าพลัง:
    +21,318
    บอร์บัญชีผมครับ
    เบอร์บัญชีธ.กรุงไทย KTB125-0-08923-9 supachai thu

    โอนเงินแล้วช่วยแจ้งวันเวลาที่โอนในกระทู้เพื่อง่ายในการตรวจสอบ หรือทางPMไม่ต้องโพสหลักฐานให้เสียเวลา สมัยนี้โลกออนไลน์ตรวจสอบง่ายหลอกกันยาก แล้วจะรีบดำเนินการจัดส่งEMSไปให้โดยด่วนนะครับ..หลายรายการก็ค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ติดต่อได้ที่ 08..1.70..4..72..64
     
  12. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,148
    ค่าพลัง:
    +21,318
    พระสมเด็จปรกโพธิ์ฐานแม่ธรณีกองทุนหลวงพ่อปาน ฝังพระธาตุข้าวบิณฑ์

    ให้บูชา300บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ พระชนะมาร.JPG พระชนะมารหลัง.JPG
     
  13. thaicat2013

    thaicat2013 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    594
    ค่าพลัง:
    +1,014
    จองครับ
    เหรียญหลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง ปี 2540
    ให้บูชาองค์ละ 150บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ
     
  14. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,148
    ค่าพลัง:
    +21,318
    รับทราบครับ โอนแล้วแจ้งบอกที่อยู่จัดส่งได้เลยครับ
     
  15. Nantana

    Nantana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    304
    ค่าพลัง:
    +206
    เหรียญหลวงปู่ครูบาชัยวงศ์
    ขอจองครับ แจ้ง pm พร้อมนี้
     
  16. thaicat2013

    thaicat2013 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    594
    ค่าพลัง:
    +1,014
    โอนตังแล้วครับ รายละเอียดตาม PM
     
  17. thaicat2013

    thaicat2013 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    594
    ค่าพลัง:
    +1,014
    โอนตังแล้วครับ รายละเอียดตาม PM
     
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,148
    ค่าพลัง:
    +21,318
    จัดส่ง EI782735455 TH นครปฐม
    ขอบคุณครับ
     
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,148
    ค่าพลัง:
    +21,318
    4-u0917433-635619607902294586-1-jpg.jpg

    http://forum.uamulet.com/view_topic.aspx?bid=4&qid=53311

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    ล๊อคเก็ตอายุยืนหลวงปู่เล็กวัดทำนบ ออกวัดกุฎ
    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ(ปิดรายการ)

    %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81-jpg.jpg %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg 5%E0%B8%9B-%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-jpg.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2020
  20. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,148
    ค่าพลัง:
    +21,318
    วันนี้จัดส่ง
    EI783753304TH ดุสิต
    ขอบคุรครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...