กู่หลวง วัดเจดีย์หลวง

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย พิลก, 21 เมษายน 2020.

  1. BENATO

    BENATO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2013
    โพสต์:
    2,582
    ค่าพลัง:
    +1,917
    ได้ความรู้ดี ๆ อีกแล้วครับ สาธุ
     
  2. กิ่งสน

    กิ่งสน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,068
    ค่าพลัง:
    +2,327
    ขอบคุณความรู้ที่เจ้าของกระทู้นำมาลง พอดีวันนี้คิดถึงวัดเจดีย์หลวงล่ะได้อ่านพอดี นึกถึงหลวงตาจันทร์ด้วย
     
  3. พิลก

    พิลก สะหรีธรรมจักรพรรดิติลก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +31
    ตำนานเล่าว่า

    ในสมัยพญาแสนเมืองมา รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย
    พ่อค้าที่ไปเมืองพุกาม ได้มาพักที่ใต้ต้นนิโครธ
    ต้นที่พระเจ้ากือนาเป็นรุกขเทวดารักษาอยู่
    รุกขเทวดานั้นจึงฝากความไปถึงพระเจ้าแสนเมืองมาพระโอรสว่า
    พระองค์ไปเกิดในสวรรค์ไม่ได้
    ให้พระเจ้าแสนเมืองมาสร้างพระเจดีย์องค์หนึ่งที่กลางเมือง
    สูงพอที่คนอยู่ไกล 2000 วา มองเห็น แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้
    จะได้ไปเกิดบนสวรรค์

    พญาแสนเมืองมาจึงโปรดให้
    ถางที่บริเวณกลางเมือง ทางใต้ของคุ้ม
    สร้างต้นโพธิด้วยเงิน ใบโพธิด้วยทองสูงเท่าพระองค์
    หล่อพระพุทธรุปทำด้วยทององค์หนึ่งและเงินองค์หนึ่งประดิษฐานที่ใต้ต้นโพธิ
    แต่งเครื่องบูชาแล้วก่อเจดีย์ครอบไว้ แต่ไม่แล้วเสร็จ พญาแสนเมืองมาเสด็จสวรรคต

    พญาสามฝั่งแกนโอรสพญาแสนเมืองมา ขึ้นครองล้านนาด้วยพระชนมายุ 13 ชันษา
    พระนางติโลกะจุดามหาเทวี มเหสีพญาแสนเมืองมา จึงเป็นเป็นผู้สำเร็จราชการ
    ได้ก่อสร้างมหาเจดีย์หลวงต่ออีก 5 ปีจึงแล้วเสร็จ
    เป็นเจดีย์สูง 39 วา มีซุ้มโขง 4 ด้านพระดิษฐานพระพุทธรูป ปะดับลวดลายนาค 5 เศียร
    มุมทั้งสี่มีรูปปั้นราชสีห์
    ในเดือนสิบ วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ พ.ศ. 1954 พระนางติโลกะจุฑา ได้ทรงกระทำพิธีปก(ปิด)ยอดเจดีย์ด้วยทองคำ ประดับรัตนมณีไว้บนยอดพระเจดีย์
    เรียกว่ากู่หลวง สามารถมองเห็นในระยะ 5 พันวาอย่างชัดเจน
     
  4. พิลก

    พิลก สะหรีธรรมจักรพรรดิติลก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +31
    ในสมัยพระเจ้าติโลกทรงโปรดให้หมื่นด้ามพร้าคต หรือสิงหโคต
    สร้างปราสาทอยู่ตรงกลางเจดีย์หลวง
    ทำบันไดบันไดนาค 5 เศียร ทั้งสี่ด้านรวม 8 ดัว
    ขยายฐานทำเจดีย์สูงขึ้นถึง 50 วา มองเห็นได้ในระยะ 6000 วา

    มีช้างแปดตัว ใส่ยันต์ลงในหัวช้าง
    นับจากนับตามลำดับตั้งแต่ตัวที่อยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ทิศอีสาน)
    เวียนมาตามทิศตะวันออก มีดังนี้
    เมฆบังวัน (เกิดอาเพธท้องฟ้ามืดมิด ศัตรูตกใจ)
    ข่มพลแสน (ข่มให้ศัตรูไม่อาจครองสติ ระส่ำระสาย)
    ดาบแสนด้าม (มีดาบเป็นแสนก็สู้ไม่ได้)
    หอกแสนลำ (หอกแสนเล่ม ... ลำ)
    ก๋องแสนแหล้ง (ปืนแสนกระบอก)
    หน้าไม้แสนเปียง
    แสนเขื่อนก๊าน (ช้างแสนเชือกแพ้)
    ไฟแสนเต๋า (ร้อนเหมือนมีเตาไฟแสนเตา)

    จากร่องรอยพบว่ามีช้างทั้งหมด 28 ตัว
    ตัวเดียวที่เหลืออยู่คือทางด้านทิศใต้
    มีอุโมงค์เชื่อมช้างทั้งแปดและขึ้นไปยังยอด
    โดยก่อเจดีย์ครอบอุโมงค์ขึ้นไป
    ในอุโมงค์ ใส่ยนตร์ผัดและยนตร์ฟันไว้ ... ป้องกันการบุกรุก อย่าได้เข้าไป
    (ทางเข้าอุโมงค์ ปัจจุบันอยู่ใต้นาคตัวซ้ายของเจดีย์ด้านทิศเหนือ ตำนานว่ามีทางลับไปออกที่ถ้ำเชียงดาวได้)

    สมัยพญายอดเชียงราย
    ปิดทองซุ้มพระเจ้าทั้งสี่ด้าน บูชาตามประทีบ ครองได้ 9 ปีก็สละราชสมบัติให้พญาแก้ว

    สมัยพญาแก้ว
    บูรณะทองจังโก
    สร้างปราสาทประดิษฐานพระแก้วมรกต ที่อัญเชิญลงมาจากเจดีย์

    ต่อมาสมัยพระมหาเทวีจิระประภา รัชกาลที่ 15 แห่งราชวงศ์มังราย
    เกิดฝนตกหนัก และแผ่นดินไหว
    ทำให้ส่วนยอดของเจดีย์หักพังเหลือเพียงครึ่งองค์
    และเกิดรอยร้าวที่ไม่สามารถแก้ไขได้จึงถูกทิ้งมานานถึงสี่ร้อยกว่าปี
     

แชร์หน้านี้

Loading...